Author Topic: เมื่อจิตผู้รู้ตื่น จิตผู้คิดก็ลงมือปฎิบัติการ  (Read 2762 times)

Offline จองชัย

  • Jr. Member
  • **
  • Posts: 27
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นักภาวนาระดับอนุบาล
ก่อนหน้านี้ ทันทีที่รู้สึกตัวว่าหลงไปคิด ก็จะมีเสียงในจิตต่อทันทีด้วยการวิจารณ์จิตตัวหลงไปคิดว่า "นั่นแน่ ไหลไปคิดแล้ว" หรือบางทีก็จะมีเสียงพระอาจารญ์ปราโมช ดังแว่วขึ้นมาในจิตว่า "จิตไหลไปคิดก็รู้" แถมด้วยบางทีก็วิพากษ์วิจารณ์จิตตัวที่ไปตัวก่อนหน้า (ซึ่งดับไปแล้ว) เสียยกใหญ่ แต่เมื่อครั้นอ่านหรือฟังมากขึ้น กลับรู้สึกว่า เสียงที่ดังขึ้นในจิตนั้น น่าจะเป็น จิตผู้คิดตัวถัดมาลงมือปฎิบัติการเสียมากกว่า จะเป็นจิตผู้รู้ที่ตื่นขึ้นมาจริง ๆ ยิ่งเมื่อได้อ่านกระทู้ http://www.dhammada.net/coffee/index.php/topic,52.msg301.html#msg301 ก็ยิ่งรู้สึกว่า น่าจะเป็นเช่นนี้

ขอถามลุงถนอมว่า เสียงที่ดังขึ้นมาในจิต หลังจากจิตผู้รู้ตื่นขึ้นมารู้ว่าจิตไหลไปคิดนั้น เป็นจิตตัวคิดตัวถัดมาที่เพิ่งเกิด หรือ คือจิตผู้รู้ตัวจริงครับ
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือที่เราจะยึดถือสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ว่านั่นเป็นของเรา เราเป็นนั่น

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
จิตผู้รู้ คือ จิตที่ทำหน้าที่รู้ เมื่อทำหน้าที่รู้ ในขณะนั้นจะไม่ได้ทำอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นการคิด หรือการปรุงแต่งใดๆครับ

การที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นในใจ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น เป็นธรรมชาติ ธรรมดา ของจิต ซึ่งเป็นจิตของบุคคลทั่วไป ที่ถนัดจะวิพากษ์วิจารณ์ เรียกได้ว่า เป็นความเคยชินที่จะให้ความเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ครับ

ไม่ต้องไปเห็นจิตก่อนหน้านั้นว่าเป็นอย่างไรหรอกครับ แค่เห็นคนอื่นเขาทำบางอย่าง ก็จะเกิดความคิด ความเห็น หรือเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นได้เหมือนกันครับ ส่วนจิตผู้รู้นั้น จริงๆแล้ว เงียบสนิทครับ ในขณะที่เกิดจิตผู้รู้ขึ้น ในขณะนั้นจะนิ่ง เงียบ สนิท แต่เกิดขึ้นเป็นชั่วขณะสั้นๆจนบางครั้งอาจมองไม่เห็นเลยนะครับ และโดยทั่วไปแล้ว จิตผู้รู้จะไม่ปรากฎขึ้นให้เห็นได้โดยง่ายหรอกครับ แต่ต้องอาศัยเทคนิคเพิ่มเติมครับ

เทคนิคเพิ่มเติมที่ว่าก็คือ เมื่อเราเห็นสภาวะต่างๆ ตรงตามความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน หรือต่อเนื่องกับปัจจุบัน (ที่เรียกว่า ปัจจุบันสันตติ คือ เกิดขึ้นปุ๊บ แล้วก็รู้ทันตามมาติดๆ) บ่อยๆเข้า เราจะสังเกตเห็นอย่างหนึ่งว่า สภาวะต่างๆเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ถูกรู้ เป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างหาก อยู่ไกลจากเราออกไป

เมื่อเห็นว่าสภาวะต่างๆที่เกิดดับ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ เป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างหาก อยู่ไกลๆออกไป ได้บ่อยๆแล้ว เราจะเริ่มสังเกตเห็น ว่ามี "ผู้รู้" ตั้งมั่นอยู่ เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ที่กำลังรู้สิ่งอื่นอยู่ (แต่จะเห็นเพียงแว่บเดียวเท่านั้น)

ตรงนี้ต่างหากล่ะครับ ที่เป็น "จิตผู้รู้"

อย่าใจร้อนแสวงหา "จิตผู้รู้" นะครับ เพราะหากแสวงหา "จิตผู้รู้" แล้วจะไม่มีทางพบเด็ดขาดครับ แล้วอาจต้องหลุดไปเข้าสู่กระบวนการของการเจริญอรูปฌานอีกต่างหากครับ ลุงถนอมเคยพลาดเข้าอากาสานัญจายตนะในวันแรกที่เรียนกับครูสันตินันท์มาแล้วครับ มัวแต่ไปไล่หาจิต ดีที่ครูสันตินันท์ท่านบอกให้ถอยยออกมา ไม่งั้นมีหวังได้ติดกับดักไปอีกหลายกัปป์เหมือนกันครับ
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline จองชัย

  • Jr. Member
  • **
  • Posts: 27
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นักภาวนาระดับอนุบาล
 _/|\_  _/|\_  _/|\_

ขอบพระคุณลุงถนอมที่เมตตาครับ

ผมขออนุญติทบทวนในคำตอบของลุงนะครับ

นั่นแสดงว่า เพียงชั่วขณะจิตที่รู้สึกตัว ณ ตรงนั้น เวลานั้น จิตผู้รู้ตื่น ถูกต้องไหมครับ เพียงแต่ว่า จิตผู้รู้นั้นจะหายไปแทบจะในทันทีที่รู้ เพราะจิตดวงอื่นเกิดขึ้นต่อ



ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือที่เราจะยึดถือสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ว่านั่นเป็นของเรา เราเป็นนั่น

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ครับ ในขณะที่รู้สึกตัว จะเกิดขึ้นเพียงแว่บเดียว ในขณะนั้น จิตรู้อะไร ก็จะรู้ ด้วยความเป็นกลาง แล้วขณะจิตถัดมา ก็จะรู้อารมณ์อื่นด้วยความไม่เป็นกลางต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการปรุงแต่งของจิตขึ้น ไปตามความเคยชิน เช่น เคยชินที่จะค้นคว้า ก็จะวกกลับมาค้นคว้า หาดูว่า เมื่อตะกี้นี้เกิดอะไรขึ้น (ซึ่งจะทำให้ตกจากวิปัสสนา หรือเกิดจิตผู้หลง ในทันที) เป็นต้น

ปัญหาสำคัญจริงๆนั้น อยู่ตรงที่ อย่าตั้งจิตไว้ผิด ว่าจะต้องหาจิตผู้รู้นะครับ แม้ว่าวิปัสสนาจะเกิดขึ้นได้ จะต้องแยกนามรูป เห็นรูป เห็นนาม เป็นสิ่งที่ถูกรู้ มีจิตผู้รู้เป็นคนดูก็ตาม แต่หลักจริงๆหาใช่ต้องทำให้มี หรือสร้าง จิตผู้รู้ แต่สาระสำคัญจริงๆอยู่ที่ รู้ลงปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง ครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ  _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline จองชัย

  • Jr. Member
  • **
  • Posts: 27
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นักภาวนาระดับอนุบาล
 _/|\_ _/|\_ _/|\_

สาธุ ขอขอบพระคุณมากครับ

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือที่เราจะยึดถือสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ว่านั่นเป็นของเรา เราเป็นนั่น