Author Topic: ดูความเป็นตัวเรา ดูยังไง  (Read 11983 times)

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
เรียน คุณลุงถนอมค่ะ

เมื่อตอนที่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ  หนูรู้สึกว่ามีตัวเรายืนพื้นอยู่  แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน   มาระยะนี้หนูเห็นความรู้สึกว่า เป็นเรากำลังทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น เรากำลังขับรถ  เรากำลังนั่ง เป็นต้น  และต่อจากนั้นก็หนีไปรับอารมณ์อื่น   
แต่ขณะที่อินอยู่กับการพูดคุย  หรืออินกับการทำงาน หรือคิดเรื่องต่างๆที่ต้องจดจ่อ  จะรู้สึกว่ามีแต่เรื่องราวเหล่านั้น  ไม่ได้รู้สึกว่ามีตัวเรา
ก็เลยสงสัยว่า  โดยหลักปริยัติแล้วขณะนั้นมันปรุงแต่งไปจนเป็นภพ ชาติแล้วใช่ไหมคะ   มันก็ควรจะมีความเป็นตัวเป็นตนของเราแล้วใช่ไหมคะ  แต่หนูไม่รู้สึกถึงความเป็นตัวเราในขณะนั้น    แม้ว่าจะมีบางขณะที่สลับมารู้สึกถึงตัวเองบ้าง 
 
ขอรบกวนคุณลุงช่วยแจกแจงสภาวะให้หน่อยค่ะ  และหนูกำลังดูอะไรคลาดเคลื่อนไปหรือเปล่า

กราบขอบพระคุณค่ะ  _/|\_

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ตามหลักปริยัติแล้ว ความเป็นตัวตน หรือความเป็นตัวเรา มิได้มีอยู่ หรือมิเคยมีอยู่ ไ่ม่ว่าในกาลไหนๆ ซึ่งปรากฎเอาไว้ใน ธรรมนิยามสูตรว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ครับ

สพฺเพ สงฺขารา ก็หมายถึง สังขารธรรมทั้งหลาย หมายถึงธรรมะฝ่ายปรุงแต่งทั้งหมด มีลักษณะไม่คงที่ (ไม่เที่ยง) มีลักษณะเสื่อมดับทำลาย (ทุกข์) ส่วน สพฺเพ ธมฺมา หมายถึง ธรรมะทุกอย่าง หมายถึง "ทุกๆสิ่ง" ไม่ใช่ตัวตน ไม่มียกเว้นสิ่งใดๆเลย

ใน "สพฺเพ ธมฺมา" หรือที่ว่า "ทุกๆสิ่ง" นั้น หมายถึง สังขารธรรม กับ วิสังขารธรรม (หรือธรรมะที่พ้นความปรุงแต่ง) ได้แก่ นิพพาน เอาไว้ด้วยครับ ดังนั้น ในธรรมนิยามสูตรได้ยืนยันเอาไว้เลยครับว่า ไม่มีตัวตนในที่ไหนๆทั้งสิ้น หรือหากพูดในความหมายที่หยาบๆสำหรับปุถุชนก็ต้องบอกว่า ไม่มีตัวเราในที่ไหนทั้งสิ้น ไม่มีตัวกูในที่ไหนทั้งสิ้น

แต่ทีนี้ ตัวเรา หรือ ตัวกู มาจากไหน?

หากลองสังเกตลงไปจริงๆแล้ว เราจะพบว่า ตัวเรา หรือ ตัวกู นี้ ความจริงมันคือ "ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา" หาใช่ "ความเป็นตัวเราที่แท้จริง" ไม่ สำหรับปุถุชนแล้ว ความรู้สึกเป็นตัวเราจะเด่นชัดอยู่ตลอดเวลา เกิดดับสืบเนื่องอยู่ตลอดเวลา แทบไม่มีเวลาใดที่เว้นว่างจากการมี "ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา" นี้เลยครับ แต่เมื่อเป็นนักภาวนาที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้ถูกต้องจริงๆแล้ว จึงจะพบว่า "ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา" ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา

นักภาวนาบางท่าน ที่เจริญสติปัฏฐานไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอน หากแต่ไปแทรกแซงจิต ไปปรุงแต่งจิต ก็ยังมีทิำฎฐิประหลาดๆได้ครับ เช่น มีทิฎฐิว่า "ตัวเรามีอยู่ ต้องทำลายตัวเรา" แต่หากเป็นนักภาวนาที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้ถูกต้อง แต่ยังเป็นปุถุชนอยู่ จะเห็นว่า "ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา" ไม่มีอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี

ดังนั้น สิ่งที่คุณ PlaDao รู้สึกอยู่ นั้นถูกต้อง ทั้งส่วนที่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ กับเมื่อปฎิบัติไปแล้วช่วงหนึ่ง ทุกๆคนก็จะเป็นดังที่คุณ PlaDao พบนั่นเองครับ

แต่ที่ต้องขอปรับความเข้าใจอีกส่วนก็คือ การปรุงแต่งไปเป็นภพ เป็นชาติ ไม่ใช่การปรุงแต่งไปเป็น "ตัวเรา" นะครับ คำว่า ภพในภาษาไทยนั้น ภาษาบาลีใช้คำว่า ภว (พะวะ) หรือ ภโว ส่วนภาษาสันสกฤติใช้คำว่า "สภาวะ" เห็นอะไรหรือยังครับ ที่เราๆชอบไปส่งการบ้านหลวงพ่อกันว่า เห็นสภาวะอย่างนั้น เห็นสภาวะอย่างนี้ ความจริงแล้ว คือการเห็น สังขารธรรมที่ปรุงแต่งขึ้นมา เห็นกิเลสที่ปรุงแต่งขึ้นมา จนสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่มี "ความรู้สึกเป็นตัวเรา" ถูกปรุงแต่งขึ้นมาครับ

การปรุงแต่งจนเกิด "สภาวะ" ตามที่เราชอบส่งการบ้านกับหลวงพ่อนั้น หากปรุงแต่งถึงเพียงแ่ค่นี้ "ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา" ยังไม่เกิดหรอกครับ หากแต่เมื่อไรที่จิตยังคงไม่มีสติ และปรุงแต่งต่อ จิตจะหลง จิตจะไหล เข้าไปแนบแน่น เข้าไปเกาะ กับสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาต่อแล้วล่ะก็ ถัดจากนั้นจะเกิดความยึดถือ ว่าสิ่งนี้ๆเป็นของเรา สิ่งนี้ๆเป็นตัวเรา "ความรู้สึกเป็นตัวเรา" จึงจะเกิดขึ้นครับ เกิดขึ้นกันตรงนี้แหละครับ

ดังนั้น นักภาวนาที่เจริญสติปัฏฐานได้ถูกต้องช่วงหนึ่งแล้ว บางขณะ จิตที่มีสติ (เพราะจดจำสภาวธรรมนั้นได้อย่างแม่นยำ) เกิดขึ้นตามหลังการเกิดขึ้นของกิเลส จิตไม่ไหลไปเกาะกับสภาวธรรม ความรู้สึกเป็นตัวเราก็ไม่เกิดขึ้น

เมื่อความรู้สึกเป็นตัวเราไม่เกิดขึ้น นักภาวนาก็จะเห็นได้ว่า บางครั้ง ไม่มีตัวเรา มีแต่สภาวธรรมเกิดขึ้น หากเห็นซ้ำๆก็จะเห็นว่า ความเป็นตัวเรา (หรือความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นคราวๆไป เห็นซ้ำๆไปเรื่อยๆ จิตจะเริ่มยอมรับความจริงที่ว่า ตัวเราไม่ได้มีอยู่จริงๆ ความรู้สึกว่าตัวเราเที่ยง(มาแต่ไหนแต่ไร) เป็นเพียงแค่สภาวะหนึ่งๆ เหมือนๆกับสภาวะอื่นๆ แต่บางท่านไม่ได้เห็นอย่างนี้นะครับ เพราะบางท่านไปเห็นความรู้สึกว่าเป็นตัวเรานั้น เกิดขึ้นแนบแน่น หนักแน่น ที่จิตผู้รู้ก็มีนะครับ ซึ่งแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันอยู่ก็ตาม แต่กระบวนการของการภาวนาและการตัด (คือ อริยมรรค) เหมือนๆกัน คือ เข้าไปเห็นความจริงที่จิต ว่าจิตก็มีความเกิดดับเหมือนๆสภาวธรรมอื่นๆ จะเกิดอริยมรรคขึ้นที่จิต เหมือนๆกันครับ

สำหรับที่คุณ PlaDao ถามว่า เวลาที่คุย เวลาที่อิน กับเรื่องต่างๆ ทำไมถึงมีแต่เรื่องราว แต่ไม่ได้รู้สึกว่ามีตัวเรา ก็เพราะ ในขณะนั้นที่จิตเกิดความรู้สึกตัวขึ้น เป็นการเกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจ เกิดขึ้นเพราะจิตไปสัมผัสกับสภาวธรรมที่จิตเขาจดจำสภาวธรรมนั้นได้แม่นยำ จึงเกิดจิตที่มีสติขึ้น จิตที่มีสติจริงๆเกิดขึ้นมาแล้ว ในขณะนั้น ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราไม่ได้มีอยู่ เพราะเป็นจิตที่มีสติ ดังนั้น คุณ PlaDao เห็นถูกแล้ว ส่วนเวลาอื่น เช่น เวลาขับรถ เวลานั่ง หากจงใจที่จะปฏิบัติ จงใจที่จะรู้ ความรู้สึกเป็นตัวเราจะยังคงถูกปรุงขึ้นมาครับ เพราะมีความจงใจเป็นเหตุ (ตรงนี้แหละครับ ที่นักภาวนาพวกหนึ่งจึงมีความเห็นว่า ตัวเรานั้นมีอยู่ แล้วต้องทำลายไป แท้จริงแล้ว ตัวเรามีอยู่ เพราะมีความจงใจปฏิบัติครับ) แต่เพราะเราต้องฝึกฝนการเจริญสติปัฏฐาน ทำให้เรายังต้องพึ่งความจงใจนะครับ เพราะหากไม่จงใจจะปฎิบัติแล้ว เราก็คงไม่ได้ฝึกฝนการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นแน่ เพียงแต่เราต้องรู้จักใช้ให้พอดีๆ เหมือนกับการเติมเกลือลงในอาหารนั่นแหละครับ ใส่มากไปก็ทานไม่ได้ ใส่แต่น้อยๆ พอดีๆ ครับ

สรุปว่า การภาวนาไม่ได้คลาดเคลื่อนนะครับ เห็นตามความเป็นจริงอยู่แล้วครับ เพียงแต่สมมุติฐานที่ตั้งเอาไว้ในใจนั้น ไม่ได้ตรงกับความเป็นจริงครับ ก็ขอให้ภาวนาต่อไป แล้วตัวสมมุติฐานที่ตั้งเอาไว้ในใจ ก็จะค่อยๆเปลี่ยนไปคล้อยตามกับความเป็นจริงได้เอง จนวันหนึ่งในที่สุด ก็ไม่ต้องมีสมมุติฐานใดๆ เพราะได้พบกับความจริงฝ่ายหลุดพ้นทั้งหมดครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ  _/|\_

คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
สาธุค่ะคุณลุง  _/|\_   

หนูยังงงๆตรง paragraph นี้ค่ะ 
“สำหรับที่คุณ PlaDao ถามว่า เวลาที่คุย เวลาที่อิน กับเรื่องต่างๆ ทำไมถึงมีแต่เรื่องราว แต่ไม่ได้รู้สึกว่ามีตัวเรา ก็เพราะ ในขณะนั้นที่จิตเกิดความรู้สึกตัวขึ้น เป็นการเกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจ เกิดขึ้นเพราะจิตไปสัมผัสกับสภาวธรรมที่จิตเขาจดจำสภาวธรรมนั้นได้แม่นยำ จึงเกิดจิตที่มีสติขึ้น จิตที่มีสติจริงๆเกิดขึ้นมาแล้ว ในขณะนั้น ความรู้สึกว่าเป็นตัวเราไม่ได้มีอยู่ เพราะเป็นจิตที่มีสติ ดังนั้น คุณ PlaDao เห็นถูกแล้ว ส่วนเวลาอื่น เช่น เวลาขับรถ เวลานั่ง หากจงใจที่จะปฏิบัติ จงใจที่จะรู้ ความรู้สึกเป็นตัวเราจะยังคงถูกปรุงขึ้นมาครับ เพราะมีความจงใจเป็นเหตุ (ตรงนี้แหละครับ ที่นักภาวนาพวกหนึ่งจึงมีความเห็นว่า ตัวเรานั้นมีอยู่ แล้วต้องทำลายไป แท้จริงแล้ว ตัวเรามีอยู่ เพราะมีความจงใจปฏิบัติครับ) แต่เพราะเราต้องฝึกฝนการเจริญสติปัฏฐาน ทำให้เรายังต้องพึ่งความจงใจนะครับ เพราะหากไม่จงใจจะปฎิบัติแล้ว เราก็คงไม่ได้ฝึกฝนการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นแน่ เพียงแต่เราต้องรู้จักใช้ให้พอดีๆ เหมือนกับการเติมเกลือลงในอาหารนั่นแหละครับ ใส่มากไปก็ทานไม่ได้ ใส่แต่น้อยๆ พอดีๆ ครับ”


คือที่ “หนูเห็นความรู้สึกว่า  เป็นเรากำลังทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น เรากำลังขับรถ  เรากำลังนั่ง เป็นต้น  และต่อจากนั้นก็หนีไปรับอารมณ์อื่น”  นั้น     มันรู้ขึ้นมาตอนที่จิตหนีจากอารมณ์อื่นมารู้กาย  และเกิดรู้สึกขึ้นมาว่า “เรา”   ตอนนั้นทำให้หนูเข้าใจว่า ความเป็นเรานั้นเป็นเพียงความคิด  แท้จริงกายก็อยู่ส่วนกายไม่ใช่เรา   ส่วนความรู้สึกว่า “เรา” และเรื่องราวอื่นนอกจากนั้นก็เป็นเพียงนามธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

คำถามคือว่า   การรู้เห็นสภาวะที่ว่านี้  หนูกำลังจงใจดูหรือว่า หนูกำลังเห็นว่าความเป็นตัวเราเป็นสิ่งที่ถูกรู้


ส่วนที่ว่า “แต่ขณะที่อินอยู่กับการพูดคุย  หรืออินกับการทำงาน หรือคิดเรื่องต่างๆที่ต้องจดจ่อ  จะรู้สึกว่ามีแต่เรื่องราวเหล่านั้น  ไม่ได้รู้สึกว่ามีตัวเรา”   นั้น ขณะหนูกำลังหลงยาวค่ะ  นานๆก็จะรู้สึกถึงร่างกายบ้าง  แต่ไม่ได้สนใจว่ามีตัวเราหรือไม่มีตัวเรา       

จากคำอธิบายของคุณลุง  หนูเข้าใจว่าอย่างนี้ค่ะ... จริงๆแล้วหนูกำลังหลงจนไม่รู้ไม่เห็นว่า  มีการปรุงความเป็นเราสลับอยู่...    เข้าใจอย่างนี้ถูกไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ 
_/|\_ _/|\_ _/|\_

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
คำถามคือว่า   การรู้เห็นสภาวะที่ว่านี้  หนูกำลังจงใจดูหรือว่า หนูกำลังเห็นว่าความเป็นตัวเราเป็นสิ่งที่ถูกรู้

ตอนนั้น นึกขึ้นได้ว่า ต้องรู้กาย จึงมีความจงใจมารู้ที่กาย ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ความรู้สึกตัวเกิดก่อนหน้าที่จะนึกได้ว่า ต้องรู้กาย แล้วล่ะครับ พอจงใจมารู้กาย ก็จะเกิด "เรารู้" ขึ้นมาครับ


ส่วนที่ว่า “แต่ขณะที่อินอยู่กับการพูดคุย  หรืออินกับการทำงาน หรือคิดเรื่องต่างๆที่ต้องจดจ่อ  จะรู้สึกว่ามีแต่เรื่องราวเหล่านั้น  ไม่ได้รู้สึกว่ามีตัวเรา”   นั้น ขณะหนูกำลังหลงยาวค่ะ  นานๆก็จะรู้สึกถึงร่างกายบ้าง

ครับ ตอนนั้นรู้ขึ้นเองโดยอัตโนมัติ รู้ขึ้นเองเฉยๆ เลยเห็นแต่สภาวะ ไม่ได้ปรุงแต่สภาวะ เรารู้ ขึ้นมา เพราะไม่ได้จงใจ เกิดจากจิตเกาะกับอารมณ์จนนาน จิตเลยถอยมาเป็นผู้รู้ผู้ดูแว่บหนึ่ง เป็นการรู้โดยไม่จงใจครับ

และสำหรับตอนนี้ ไม่ต้องไปดูว่า ไม่เห็นการปรุงความเป็นเราขึ้นมานะครับ อย่าไปตั้งแง่มุมว่า จะหลุดพ้นได้ ต้องเห็นความเป็นเราเกิดขึ้นและดับลงเท่านั้น อย่าไปกะเกณฑ์อย่างนั้นครับ เพราะหากเป็นอย่างนั้น จะเกิดความจงใจที่จะดู จะเกิดความดิ้นรนที่จะดู จะเกิดความลังเลสงสัย เพราะเราไปตั้งเป้า ว่าจะหลุดพ้นจะต้องรู้เห็นอย่างนั้นอย่างนี้ ความจริงแล้ว ในขั้นของปุถุชน ที่จะฝึกฝนตนเองให้ถึงอริยภูมิ แค่เห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา นะครับ จะใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวเรา ก็ช่าง แค่รู้ แค่เห็น ตามความเป็นจริง ที่แสดงไตรลักษณ์ไปเรื่อยๆ ก็พอแล้วครับ

เวลาที่ความสงสัยเกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันว่ากำลังสงสัย เวลาที่มีความร้อนใจที่จะรู้คำตอบ ต้องการรู้ให้แน่ชัด ก็ให้รู้ทัน ว่าร้อนใจนะครับ การรู้เห็นว่าเราเกิดดับ ไม่ใช่ตำตอบสำเร็จรูปนะครับ แต่การรู้เห็นว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นมีความดับไป เป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งใดเกิดแล้วไม่ดับ อย่างนี้สิครับ ที่เป็นกุญแจสำคัญของการภาวนาในระดับปุถุชนครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ  _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
กราบขอบพระคุณค่ะ คุณลุงถนอม _/|\_

หายไปหลายวัน เพราะไม่สบายค่ะ 
ช่วงนี้รู้สึกว่า  จิตไม่ยอมดูอะไรเลย  เหมือนมันเบื่อที่จะดู  เหมือนจับจด  ดูๆปล่อยๆ เหมือนไม่ได้อะไร  เหมือนภาวนาไม่เป็น
ก็พยายามรู้มันไปอย่างนั้นค่ะ  แต่ก็หวั่นใจว่าจะกลายเป็นปล่อยปละละเลย 

ต้องปรับอะไรไหมคะ ทุกวันก็ทำตามรูปแบบอยู่ค่ะ

รบกวนคุณลุงอีกนิดนะคะ _/|\_

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
เวลาที่ไม่สบายนะครับ จิตใจมักจะสลดหดหู่ และไม่มีกำลัง ให้ดูความไม่ชอบใจไว้นะครับ ดูเรื่อยไป แล้วเราจะสังเกตเห็นว่า ความไม่ชอบใจไม่ใช่ตัวจิต แต่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้าครับ แต่หากมีความไม่ชอบใจแล้วไม่ยอมดูนะครับ พยายามไปดูสิ่งอื่นๆ จิตจะไม่มีกำลัง เพราะไม่รู้ทันกิเลสที่กำลังครอบงำจิตใจอยู่น่ะครับ แล้วจิตก็จะมีอาการดิ้นรน บางทีดิ้นรนน้อยๆนะครับ ไม่แรงมาก แต่ก็ทำให้จิตกระสับกระส่าย ไม่มีกำลัง แล้วเราก็ดูไม่ออก รู้ไม่ทันนะครับ

ก็คอยสังเกตความไม่ชอบใจไว้ เวลาที่ไม่สบายน่ะครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ  _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
ปกติถ้าเรารู้ทันว่ากิเลสตัวไหนครอบงำเราอยู่ มันจะหายไปใช่ไหมคะ  พอไปดูความไม่ชอบใจอย่างที่คุณลุงแนะนำ มันก็ไม่หายจากสภาวะซึมๆที่ว่า 
แต่พอไปดูความหดหู่ รู้สึกว่ามันจะโปร่งขึ้นมาสักพัก  แล้วเผลอๆก็กลับไปอีก   เป็นอย่างนี้ไม่ทราบว่าเราดูถูกตัวรึเปล่า แต่เหตุมันยังไม่หมดมันก็เลยถูก
ความหดหู่ครอบงำอีก  เข้าใจถูกไหมคะ

(พอดีว่า ช่วงนี้นอกจากไม่สบายแล้ว ยังมีเรื่องราวน่ากังวลหลายเรื่องเกิดขึ้นด้วย)

 _/|\_ _/|\_ _/|\_

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
สาธุครับ คุณ Pladao ดูได้ถูกต้องแล้วครับ คือ ดูกิเลสตัวที่กำลังครอบงำจิต เมื่อดูได้ถูกต้องจริง คือ ดูโดยไม่ได้จงใจจะดู หรือ ดูโดยไม่ได้ไปบังคับให้กิเลสหาย กิเลสจะดับเอง เพราะเกิดจิตดวงใหม่ที่มีสติ เป็นกุศล ทำให้กิเลส อันเป็นกุศล ไม่เกิดใหม่ (แต่ขณะจิตถัดๆมาจะเกิดอีกก็ได้ เมื่อเหตุยังมีอยู่ เช่น ความไม่สบายกายเป็นเหตุ ทำให้จิตหดหู่ ครับ)

แต่หลักสำคัญนะครับ เราไม่ได้ดูเพื่อให้กิเลสหายไปตลอด (ไม่กลับมาใหม่) แต่เราดูเพื่อที่จะรู้ว่า กิเลสเกิดขึ้นมาได้ ก็ดับได้ กิเลสเป็นของชั่วคราว ไม่อยู่ถาวร ครับ

หมายเหตุ ความหดหู่ เป็นกิเลสตระกูลเดียวกับพวกโทสะ ซึ่งรวมถึงความไม่ชอบใจด้วย แต่ถึงจะเป็นตระกูลเดียวกันก็ตาม แต่ก็มีลักษณะเฉพาะของกิเลสที่ไม่เหมือนกันครับ

อนุโมทนาที่ดูได้อย่างนี้นะครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
สาธุค่ะคุณลุงถนอม _/|\_ _/|\_ _/|\_

หลายวันมานี้สังเกตเห็นปฏิกิริยาของจิตที่มีต่ออารมณ์ที่มากระทบ  บางอารมณ์เมื่อกระทบแล้วจิตก็ไม่มีปฏิกิริยาอะไร  บางอารมณ์กระทบแล้วรู้สึกกังวล 
พอเห็นความกังวล  ความกังวลก็หายไป  บางทีก็เห็นความคิดที่กำลังจะเกิดต่อทันทีแต่พอรู้ทันก็หายไป  สรุปคือได้เห็นว่าความกังวลเป็นสิ่งที่ถูกรู้

ต่างจากก่อนหน้านี้ที่มักจะรู้เห็นแต่ความคิดมากมายที่เกิดขึ้น  ถ้าเป็นความคิดธรรมดาทั่วๆไป รู้แล้วเห็นแล้วก็ดับไป  หรือรู้สึกเพียงแค่ว่าจิตโกรธ จิตมีความสุขฯลฯ   แต่บางอารมณ์หรือบางความคิดที่เรายังให้ความสำคัญอยู่มาก มันก็ถูกกิเลสตัวชอบไม่ชอบครอบงำจนเละเทะ ปรุงแต่งจนวิตกกังวลใหญ่โต   
ไม่เคยเห็นปฏิกิริยาของจิตที่เกิดขึ้นจะๆ  ต่อจากการรับอารมณ์  ทำให้รู้สึกว่าที่ทำอยู่มันวนเวียนอยู่กับที่

จากความแตกต่างที่เล่ามาทำให้เข้าใจว่าก่อนหน้านี้ เราไปเห็นแต่สิ่งที่ถูกรู้  ไม่เห็นอาการของผู้รู้  --ใช่ไหมคะ?
พอได้เห็นปฏิกิริยาของจิตที่มีต่ออารมณ์ที่มากระทบ ทำให้ขณะนั้นรู้สึกได้ว่า ที่แท้ผู้รู้มันเบาๆโปร่งๆ   และทำให้เห็นว่า ผู้รู้ที่เคยมีนั้นมันหนักๆตันๆ  ทำให้เกิดความเข้าใจว่ามันถูกปฏิกิริยาคือความรู้สึกชอบไม่ชอบนั่นแหละห่อหุ้มอยู่  มันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าคะ? 

ในชั่วขณะนั้นได้รู้สึกขึ้นมาแว่บหนึ่งว่าแท้จริงแล้วสิ่งต่างๆ มันเป็นของบนโลกนี้ทั้งหมด  ความเป็นเราเป็นเพียงความคิด  และเมื่อไหร่ที่มีความอยากที่จะให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้  หรือให้ค่าให้ความสำคัญ ก็เท่ากับว่าเพื่อที่จะให้มีตัวตนของเราไปรับผลเหล่านั้น 

แต่ตอนนี้มันก็กลับมาเผลอนานอีกแล้วค่ะ  แล้วความรู้ความเข้าใจที่ได้มาก็เหลือเพียงแค่สัญญา  ทุกอย่างก็คลุกเคล้าปะปนกันเหมือนเดิม   รู้สึกว่าการจะเห็นได้ว่า "ปฏิกิริยาของจิตที่มีต่ออารมณ์ต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่ถูกรู้" มันยากจังเลยค่ะ ส่วนมากจิตกับกิเลสมันมักจะรวมเป็นเนื้อเดียวกัน   

รู้สึกว่าจิตไม่ตั้งมั่นพอและขาดความต่อเนื่อง  ขอรบกวนลุงถนอมช่วยแนะนำด้วยนะคะ

กราบขอบพระคุณค่ะ
 _/|\_ _/|\_ _/|\_

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
อนุโมทนาสาธุครับ _/|\_

เห็นสิ่งต่างๆตรงตามความเป็นจริงได้แล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นเทคนิคที่ต้องแนะนำ แต่ต้องกลับมาปรับพื้นฐานด้านกำลังครับ ก็คือ ต้องอยู่กับวิหารธรรมให้สม่ำเสมอ ต้องมีกรรมฐานที่เป็นของตนเองที่ต้องมีวินัย ฝึกฝนทุกวันครับ

เมื่อฝึกฝนทุกวันสม่ำเสมอแล้ว การภาวนาจะดีก็ได้ จะเสื่อมก็ได้ ก็รู้ตามความเป็นจริงครับ เราไม่ได้เอาเจริญ เราไม่ได้ปฏิเสธความเสื่อม หากแต่เราภาวนารู้เห็นตามความเป็นจริงว่า สิ่งต่างๆที่มีความเกิดขึ้นมา ย่อมเสื่อมไป ดับไป เป็นธรรมดาครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_

มีคำแนะนำเล็กน้อยนะครับ "เมื่อใดที่รู้สึกว่าการภาวนายาก ก็หมายความว่า เราถูกความอยากภาวนาให้ดี อยากหลุดพ้น ครอบงำแล้ว"
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
สาธุค่ะคุณลุงถนอม  _/|\_ _/|\_ _/|\_

หลังจากที่รู้จัก “การรู้”  ตามที่เล่าให้ลุงถนอมฟังแล้ว  ก็รู้สึกว่าการรู้มันเบาสบาย ความที่เข้าใจว่าขันธ์ ๕ เขาทำงานของเขาเอง  ทำให้รู้แบบเหมือนไม่ได้ปฏิบัติ   แต่พอการรู้มันเสื่อมลงส่วนหนึ่งมาจากเทศกาลปีใหม่ที่ต้องร่วมและอยากร่วมตามสมควรทำให้การปฏิบัติในรูปแบบตกหล่นไป   ก็เริ่มเผลอนานหลงนานขันธ์ ๕เป็นเราเต็มอัตรา  ปัญหาก็เริ่มมาเพราะอยากให้รู้ได้เหมือนเดิม  ก็เริ่มดิ้น เริ่มเพ่ง ดักรู้สารพัด  จนหนักๆแข็งๆ  ตอนนี้ก็พยายามตามรู้ความดิ้นรนที่เกิดขึ้น  --อย่างนี้ถูกไหมคะ


อีกอย่างคือไปอ่าน (กระทู้เก่าเล่าใหม่) เพ่ง, เผลอ, ว่าง และนานาสาระการดูจิต โดยคุณ สันตินันท์
มีท่อนหนึ่งที่คิดว่ากำลังเป็นอยู่ด้วยคือ “หลงไปกับการสร้างความรู้ตัว  คือไม่รู้เท่าทันจิต ที่กำลังสร้างความรู้ตัวขึ้นมานั่นเอง  บางคนใช้เวลาเกือบปีครับ กว่าจะเข้าใจตรงนี้ได้ แต่บางคนใช้เวลาไม่มาก ….”   
--มันเรื่องเดียวกับการดิ้นรนอยากรู้ ก็เลยไป เพ่ง ดักรู้หรือเปล่าคะ


แล้วตอนที่เผลอนานหลงนาน  หากเราพยายามทำความรู้ตัวให้เร็ว  พอทำบ่อยๆมันเหมือนเพ่งเลยค่ะ – จริงๆแล้วพอเผลอนานแล้วเราจะระวังอย่างไรคะ  หรือต้องเพียรอยู่กับวิหารธรรม 

พอเริ่มเรียบเรียงคำถามก็เหมือนกับเริ่มได้คำตอบเอง  --แต่ก็ยังอยากได้ฟังคำแนะนำอยู่ค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ
 _/|\_ _/|\_ _/|\_

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ปัญหาก็เริ่มมาเพราะอยากให้รู้ได้เหมือนเดิม  ก็เริ่มดิ้น เริ่มเพ่ง ดักรู้สารพัด  จนหนักๆแข็งๆ  ตอนนี้ก็พยายามตามรู้ความดิ้นรนที่เกิดขึ้น  --อย่างนี้ถูกไหมคะ

ถูกแล้วครับ แล้วพอจิตสงบลงไปได้บ้างแล้ว หากมีโอกาสทำสมถะ ก็ทำนะครับ ทำอย่างที่เคยทำแล้วทำให้จิตสงบ มีกำลังได้เร็ว ไม่กระสับกระส่าย หรือฟุ้งซ่าน แส่ส่าย ก็เอาอันนั้นครับ จะสวดมนต์ก็ได้ จะหายใจก็ได้ จะบริกรรม (เช่นพุทโธ) ก็ได้ หรือจะรู้กายเคลื่อนไหว รู้ท้องพองยุบ เดินจงกรม ได้ทั้งนั้นครับ เอาที่ถนัดนะครับ

มันเรื่องเดียวกับการดิ้นรนอยากรู้ ก็เลยไป เพ่ง ดักรู้หรือเปล่าคะ

มันก็กิเลสตัวเดียวกันแหละครับ ลุงถนอมเพิ่งไปส่งการบ้านหลวงพ่อมา ก็ยังพลาดเรื่องนี้เหมือนกันครับ

แล้วตอนที่เผลอนานหลงนาน  หากเราพยายามทำความรู้ตัวให้เร็ว  พอทำบ่อยๆมันเหมือนเพ่งเลยค่ะ – จริงๆแล้วพอเผลอนานแล้วเราจะระวังอย่างไรคะ  หรือต้องเพียรอยู่กับวิหารธรรม

ก็ต้องทำตามรูปแบบอย่างสม่ำเสมอครับ และหากว่าทำแล้วยังเป็นอยู่ ก็อย่าตกอกตกใจครับ ธรรมชาติแสดงอนัตตาให้ดู แสดงให้เห็นว่า แม้แต่ผลการภาวนา ก็ยังบังคับเอาให้ดีตลอดเวลาไม่ได้เลย

ขอให้เจริญในธรรมครับ  _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
เรียน คุณลุงถนอมค่ะ  _/|\_

พักนี้ไม่มั่นใจว่าที่ทำอยู่นี่  มันยังอยู่ในทางหรือหลงเข้าป่าไปแล้ว  เพราะแม้กระทั่งจะถามครูบาอาจารย์ก็ยังไม่รู้จะถามว่าอย่างไร

ขอเล่าสภาวะที่เป็นอยู่ให้ฟังดีกว่านะคะ  คือมันรู้เหมือนไม่รู้  รู้แบบไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งที่ถูกรู้  ก็แค่แว่บไปแว่บมา  รู้สึกไม่ได้ปัญญาอะไร  สิ่งที่ถูกรู้ไม่อยู่ห่างเท่าแต่ก่อน (คือมันอยู่ใกล้ผู้รู้กว่าเดิมเยอะ)  อยู่กับวิหารธรรมได้ไม่นานก็หลง  แต่ก็พยายามรู้สึกตัว  ทำตามรูปแบบทุกวันค่ะ  รู้สึกว่าลึกๆมีความเข้าใจว่า “สิ่งต่างๆมันก็เป็นของมันอย่างนี้เอง” อยู่เป็นแบ๊คกราวน์ เกือบตลอด 

วิเคราะห์ตัวเองว่า...  เป็นเพราะจิตไม่ตั้งมั่นมีนิวรณ์กลุ้มรุม  และเป็นเพราะความรู้สึกที่ว่า “สิ่งต่างๆมันก็เป็นของมันอย่างนี้เอง” มันเลยทำให้ไม่สนใจจะดูอารมณ์ต่างๆ  เหมือนที่เคยเล่าให้ลุงถนอมว่า รู้สึกเหมือนไม่ได้ปฏิบัติ  แต่ความที่ตัวเองไม่มีความตั้งมั่นพอ  มันก็เลยหลงตามไปอารมณ์ไป  ไม่เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ห่างๆ    เหลือแค่สัญญาว่า “สิ่งต่างๆมันก็เป็นของมันอย่างนี้เอง”   โดยไม่ได้เห็นจากสภาวะจริง ๆ...   

ขอรบกวนลุงถนอมช่วยแนะนำด้วยนะคะ   
 _/|\_ _/|\_ _/|\_

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
เท่าที่เล่าให้ฟังมา เป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งในการภาวนานะครับ เพียงแต่เป็นความก้าวหน้าที่เราไม่ได้เป็นไปตามใจเราครับ

คือมันรู้เหมือนไม่รู้ นั่นล่ะครับ คือรู้ชั้นดี

รู้แบบไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งที่ถูกรู้ นั่นล่ะครับ เมื่อไม่สนใจรายละเอียดเฉพาะของสภาวะ จิตก็จะได้เห็นสามัญลักษณะของสภาวะ (สามัญลักษณะ = ไตรลักษณ์) อันเป็นสุดยอดปัญญาในพระพุทธศาสนา (ตามมติ หรือความเห็น ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่ได้กล่าวถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

รู้สึกไม่ได้ปัญญาอะไร ความจริงได้อยู่ แต่ไม่ได้หวือหวาหรือเห็นสิ่งแปลกใหม่ที่ตื่นตาตื่นใจ แต่เป็นการเห็นปัญญาที่ทุกคนมองข้ามไป หากไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้ ใครๆก็พากันมองข้ามกันไปหมด

สิ่งที่ถูกรู้ไม่อยู่ห่างเท่าแต่ก่อน (คือมันอยู่ใกล้ผู้รู้กว่าเดิมเยอะ) ก็นั่นล่ะครับ เพระาสภาวะละเอียดขึ้น ไม่ได้หยาบๆอย่างแต่ก่อน ก็เลยรู้สึกได้ไม่ชัดเจนนัก ก็คล้ายกับว่า แยกออกไปไม่ห่าง ไม่สำีัคัญอะไรว่าห่างหรือไม่ห่าง อยุ่ที่รู้ หรือไม่รู้

อยู่กับวิหารธรรมได้ไม่นานก็หลง วิหารธรรมก็แสดงความไม่เที่ยง ผลของการอยู่กับวิหารธรรมก็แสดงความไม่เที่ยง ความไม่เป็นไปตามอำนาจปราถนา (เป็นอนัตตาอย่างหนึ่ง)

สึกว่าลึกๆมีความเข้าใจว่า “สิ่งต่างๆมันก็เป็นของมันอย่างนี้เอง” อยู่เป็นแบ๊คกราวน์ เกือบตลอด แล้วจะบอกว่าไม่มีปัญญาได้อย่างไรครับ นี่ล่ะครับตัวปัญญาตตัวสำคัญครับ ขอให้เพียรต่อไปครับ มาถูกทางแล้ว แต่ทีนี้อาจต้องทำความสงบด้วยนะครับ ทำความสงบด้วยความรู้เนื้อรู้ตัวครับ

เหลือแค่สัญญาว่า “สิ่งต่างๆมันก็เป็นของมันอย่างนี้เอง”   โดยไม่ได้เห็นจากสภาวะจริง ๆ... ก็ไม่เชิงหรอกนะครับ ขอให้ภาวนาต่อไปครับ และรักษาการทำตามรูปแบบที่เหมาะกับจริตของตนด้วยครับ อย่าให้จิตเดินปัญญาแต่อย่างเดียวนะครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ  _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline PlaDao

  • Newbie
  • *
  • Posts: 15
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
ขอบพระคุณค่ะคุณลุงถนอม _/|\_

เมื่อมาพิจารณาสภาวะของตัวเองที่เป็นอยู่เทียบกับคำแนะนำของลุงถนอม   ก็เลยมีสภาวะที่อยากเล่าเพื่อสอบถามเพิ่มอีกนิดหน่อยนะคะ

คือที่ว่าช่วงนี้ “รู้แบบไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งที่ถูกรู้”  นั้นคือ  ไม่สนใจความคิดปรุงแต่งต่างๆที่เกิดขึ้น  มันจะตามความคิดไปแป๊บนึงแล้วก็รู้สึกตัว แล้วก็เฉยๆ   
บางความคิดก็ทำให้กังวล บางความคิดก็ทำให้เบิกบาน  พอรู้ตัวมันก็เฉยๆ  แต่ทั้งหมดนี้มันไม่ได้เห็นอย่างชัดเจนนะคะ   การเกิดดับก็ไม่ชัด     
บางขณะที่คิดได้ก็พยายามน้อมไปดูความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้นกับจิตเมื่อมีการกระทบอารมณ์  ก็ไม่ได้เห็นชัดเจนอะไร  และส่วนมากมันจะเฉยๆกับสิ่งที่ถูกรู้ 
แม้กระทั่งจะหลงตามอารมณ์ไป มันก็จะกลับมาเฉยๆ  เหมือนกับว่าหลงก็หลงไป ไม่สนใจ  มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง 

รู้สึกเหมือนกับว่ากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือเงื่อนใหม่ๆในการภาวนาค่ะ  แต่ยังปรับตัวให้เข้ากับสภาพเหล่านี้ไม่ได้  และรู้สึกงงๆ
เพราะ ส่วนที่เคยเห็นได้ชัดมันก็ไม่สนใจจะดู   สิ่งใหม่ๆก็ไม่ค่อยจะเห็น  ไม่รู้ว่าควรจะทำอะไรต่อไป   เวลาทำตามรูปแบบก็ไม่สงบค่ะเหมือนพยายามจะหาจะดูอะไรสักอย่าง   

เขียนมาถึงตรงนี้รู้สึกว่าตัวเองถ่ายทอดสภาวะที่เป็นอยู่ได้ชัดเจนกว่าครั้งก่อนค่ะ

อยากสอบถามลุงถนอมว่า 
- การรู้มาที่ความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นที่จิตเมื่อกระทบอารมณ์ คือสภาวะที่ละเอียดขึ้น กว่าความคิดปรุงแต่งที่เคยเห็นใช่ไหมคะ   
- ส่วนสภาวะหยาบๆที่จิตมันไม่สนใจจะดูแล้วก็ปล่อยมันไปตามนั้นใช่ไหมคะ
- ความยินดียินร้ายที่ยังเห็นได้ไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง  เราควรที่จะน้อมไปดูไหมคะ

- หรือว่าทั้งหมดที่ถามมานี้คือการไปสนใจในรายละเอียดมากเกินไป   ควรที่จะถอยออกมาดูอยู่ห่างๆอย่างที่มันเป็นเท่านั้นเอง

 _/|\_ _/|\_ _/|\_