Author Topic: มหัศจรรย์ในสติปัฎฐานสูตร  (Read 2534 times)

Offline บูรพาไร้พ่าย

  • Newbie
  • *
  • Posts: 2
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
เผอิญได้มีโอกาสไปค้น มหาสติปัฎฐานสูตร ก็พบว่ามีที่น่าสังเกตุครับ

หมวด กายานุปัสสนา

   [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ
เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด
ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น
อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน
ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบอิริยาปถบรรพ

หมวด เวทนานุปัสสนา


[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร
เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา
เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข
เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี
อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี
อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน
ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่
แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ

จบเวทนานุปัสสนา


จากข้างต้น ถ้าเป็นหมวด กายานุปัสสนา หรือเวทนานุปัสสนา ในพระไตรปิฎกท่านจะใช้คำว่า
"รู้ชัด" ซึ่งครูบาอาจารย์เคยสอนว่า การดูกาย หรือเวทนา แท้ๆนั้นต้องทำสมถะมาก่อน จึงจะรู้ชัดได้
แนววัดป่าที่เป็นสมถะยานิกท่านจะทำสมถะให้ได้ก่อน จนถึงฌานสอง จนมีจิตผู้รู้หรือธรรมเอก
แล้วท่านก็เอาผู้รู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นดู
กายละเวทนาครับ แต่ดูจิตจะทำค่อนข้างยากเพราะผู้ที่ทำสมถะเก่งจิตจะมีความนิ่งตั้งมั่น
ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง

ในขณะที่

หมวด กายานุปัสสนา สัมปชัญญะบรรพ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ
ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก
ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน
การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง
การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง
ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี
อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบสัมปชัญญบรรพ


จากหมวดสัมปชัญญะ จะเห็นว่าท่านจะใช้คำว่า "ย่อมทำความรู้สึกตัว" ในการก้าว
, แล, ถอย, คู้เข้า เหยียดออก ซึ่งตรงกับแนวของหลวงพ่อเทียนเลยทีเดียว

ส่วน หมวดจิตตานุปัสสนา

 [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
จบจิตตานุปัสสนา


ในขณะที่หมวดของจิต ท่านจะใช่แค่ว่า "จิตมีกิเลสก็รู้ว่ามีกิเลส" เพราะการทำจิตตานุปัสสนา
เป็นการทำอนุสติคือกิเลสเกิดก่อนแล้วเราค่อยตามรู้ นับว่าเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ในพระไตรปิฎกจริงๆที่
สอนครบทุกแนวครับ

มาตั้งกระทู้เล่าสู่กันฟังครับ  ;D

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
มหาสติปัฏฐานสูตร องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงวิธีการเจริญสติปัฏฐานอย่างครอบคลุมที่สุดแล้วครับ (แต่การแปลมา อาจมีปัญหาได้บ้าง จนอาจเกิดเป็นปัญหาทางเทคนิคได้) เช่น พระไตรปิฎกบางฉบับ มีการแปล "ปริญญาญัง" ว่า "กำหนดรู้" ครับ

แต่ถ้าหากแปลตรงไปตรงมาแล้ว จะเห็นได้ชัดครับว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสัพพัญญูแท้จริง ทรงแสดงได้ครบถ้วน สมบูรณ์ ทั้งอรรถ และพยัญชนะ จริงครับ

จากที่คุณ บูรพาไร้พ่าย ยกขึ้นมานั้น ผมขอให้ความเห็นไว้ว่า หากมิใช่ผู้ที่มีพื้นฐานเจริญสติปัฏฐานก่อนแล้วล่ะก็ ย่อมสังเกตไม่เห็นหรอกครับ

การดูกายนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีฌาน หรือ มีจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาก่อนจริง เพราะเหตุว่า หากจิตไม่มีฌาน หรือจิตไม่ตั้งมั่นก่อนแล้ว เมื่อรู้กาย จิตจะไหลลงไปรวมอยู่ที่กาย ตามความเคยชินของจิต ซึ่งโดยปกติก็จะจมแช่อยู่กับกายอยู่แล้วครับ และเมื่อจิตมีฌานเป็นองค์ประกอบ จิตย่อม "รู้ชัด" เหมือนการส่องด้วยกล้องที่มีกำลังขยายสูง ทำด้วยเลนส์แก้วชั้นดี ก็ย่อมรู้ชัดเป็นธรรมดา และที่สำคัญ เป็นการรู้ชัดที่ "ตรงตามความเป็นจริง" ด้วยครับ

สำหรับจิตตานุปัสสนา ผมเองก็ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกด้วยว่า แม้ว่าจิตจะวิจิตรพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กลับไม่ยาวสักเท่าใดนัก ต่างจากกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไม่น้อยเลยนะครับ เป็นอีกเรื่องที่น่าแปลกใจเหมือนกัน
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline nitivit

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 73
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • ดูอย่างเดียว

สำหรับจิตตานุปัสสนา ผมเองก็ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกด้วยว่า แม้ว่าจิตจะวิจิตรพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กลับไม่ยาวสักเท่าใดนัก ต่างจากกายานุปัสสนาสติปัฏฐานไม่น้อยเลยนะครับ เป็นอีกเรื่องที่น่าแปลกใจเหมือนกัน

ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะจิตมันมีสารพัดพฤติกรรม และเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่่อย ๆ
อีกทั้งเป็นนามธรรมที่แต่ละคนจะรู้สึกไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ทำให้การบัญญัติอาจมีคลาดเคลื่่อนได้
พระพุทธเจ้าท่านจึงพยายามสื่อสารเป็นบัญญัติให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
และสรุปว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นและดับไปเท่านั้น
("พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่")
ซึ่งไม่เหมือนกับอาการทางกายที่ง่ายกับการสื่อสารด้วยบัญญัติ เพราะนั่งใคร ๆ ก็เข้าใจตรงกันว่านั่งเป็นอย่างไร
"สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช