Author Topic: คุณลุงค่ะ อาการแบบนี้นี่ติดเพ่งรึเปล่าค่ะคุณลุง  (Read 9824 times)

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
สวัสดีค่ะคุณลุง คือว่า ช่วงนี้หนูรู้สึกแน่นตรงกลางหน้าผากอะคะ เหมือนมีคนมากด
เหมือนเป็นศูนย์รวมของอะไรสักอย่างเลยอะคะ เป็นบ่อยๆ เวลานั่งสมาธิคะ
แต่หนูก็นึกถึงที่หลวงพ่อสอนตลอดนะคะ เพ่งก็ว่าเพ่งแล้วจะหายเพ่ง
หนูก็รู้ๆๆๆ ไปแบบนี้ บางทีจิตเกิดดับเร็วมาก เหมือนรู้ตลอด หนูก็สงสัยค่ะว่า
หนูเพ่งรึเปล่าเนี่ย หนูก็จะมารู้เพ่งอีกเหมือนที่หลวงพ่อบอก แต่อาการมันไม่หายอะคะคุณลุง
หนูไม่ทราบว่าอาการนั้นคือเวทนา หรือว่าหนูไปเพ่งไว้อ่ะคะ
ยังไงรบกวนคุณลุงด้วยนะคะ ขอขอบคุณคุณลุงล่วงหน้าเลยนะคะ _/l\_ อิอิ ^^
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
เวลาที่เราภาวนาแล้วเราอึดอัดนะครับ แสดงว่ามีอาการเพ่งแล้ว บางทีถ้าเพ่งแรงๆก็จะเป็นเหมือนมีก้อนอะไรบางอย่างจุกอยู่ หรือกระจุกอยู่บางส่วนของร่างกาย บางคนก็กลางอก บางคนก็แถวๆคอ แต่ถ้าเป็นบริเวณศีรษะ มักจะเป็นอาการศีรษะหนักๆ บางทีก็เข้าขั้นปวดหัวเลย

คนที่ฝึกการเพ่งมาบางคน จะมีโรคประจำตัวคือ ปวดศีรษะง่ายๆ บางคนพกยาพาราเซตามอลไว้ประจำตัวเลยก็มี (แต่ที่เป็นเพราะเห็นโรคอย่างอื่นก็มีนะครับ ไม่ใช่เพราะติดเพ่งเพียงอย่างเดียว)

ที่เคยเห็น บางคนเพ่งทั้งตัว ตามเนื้อตามตัวเลยเหมือนมนุษย์เหล็ก หรือไม่ก็เหมือนคนที่เขาฝึกมวยจีนเส้าหลินอย่างหนัก คือ เนื้อตัวจะแกร่งๆ แต่ประสาทตึงเครียดไปหมด เห็นแล้วกลัวระเบิดออกมาเป็นเสี่ยงๆ (แต่จริงๆก็ไม่ได้ระเบิดหรอกนะครับ แต่มีความตึงเครียดอยู่ภายในร่างกายไปหมดเลย)

การเพ่ง เป็นกุศล ทำให้เรารู้ว่าเพ่งแล้วไม่หาย อีกทั้งยังมีสิ่งหนึ่งที่ซ้อนกันอยู่ด้วย ก็คือ วิบากจากการเพ่ง อาการที่บรรยายมาทั้งหมดข้างบนนั้น เป็นผลของการเพ่ง ไม่ใช่การเพ่งเอง นะครับ วิบากหรือผลของการเพ่ง ทำให้เกิดสิ่งที่ว่านั้นขึ้น และเมื่อมันเกิดกับร่างกาย ซึ่งเป็นรูปหยาบ จึงต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง กว่าจะหายไป แต่หากเรามีความอยากให้อาการอึดอัด หรือเครียด หรือเป็นก้อนเหล่านั้นให้หาย สิ่งที่ตามมาก็คือ เราจะเกิดความพยายามทำให้หาย ก็เป็นการทำให้เกิดความเครียดครั้งใหม่ขึ้น

บางคนนั้น โดยปกติก็จ้องจนเครียดอยู่แล้ว พอร่างกายเกิดอาการอันเป็นผลจากการเพ่ง ก็ยิ่งตามรู้ตามดู (ตามความเข้าใจของตน ว่านี่คือตามรู้ตามดู) แต่ปรากฎว่า ไม่ได้ตามรู้ตามดูจริง หากแต่เป็นการจ้องเข้าไปอีก ก็เลยทำให้อาการต่างๆยังคงเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง คล้ายๆกับคนที่อยากจะดับไฟ เลยไปคว้าน้ำมันไปราดเข้าไปในกองไฟอีก กองไฟก็ไม่ดับสักที

วิธีการที่ดีกว่าก็คือ พอรู้ตัวว่าเพ่งแล้ว ก็ให้ไปสนใจเรื่องอื่นๆเลยดีกว่า อะไรที่ทำแล้วเผลอง่าย ก็ให้ทำอันนั้น (แต่ต้องเป็นวิธีการที่เป็นกุศลนะครับ) เช่น อ่านหนังสือธรรมะ ฟังซีดี (แต่ฟังซีดีนั้น ไม่แน่ว่าจะได้ผลเสมอไป เพราะลุงถนอมน่ะครับ ตอนที่ติดปัญหาเรื่องเพ่ง ลุงถนอมก็ฟังซีดีไม่ได้เหมือนกัน อ่านหนังสือธรรมะก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน) ปลูกต้นไม้ ปลูกดอกไม้ ให้อาหารปลา ก็จะทำให้จิตผ่อนคลายไปได้

วิธีการเหล่านั้น ก็เหมือนกับว่า เราเห็นกองไฟลุกอยู่ เราก็ไม่เอาน้ำมันไปราดกองไฟ แต่เราไม่มีน้ำนี่ เราก็แค่ปล่อยให้กองไฟดับไป แล้วก็เอาเชื้อเพลิงอื่นๆที่อยู่ใกล้ๆกองไฟ เอาไปให้ห่างๆจากกองไฟ พอกองไฟไร้เืชื้อแล้ว มันก็ดับเอง

นั่นคือวิธีการรับมือ เมื่อเจออาการเครียด หรือมึนศีรษะ หรือจุกเป็นก้อนที่กลางอกหรือที่คอ แต่ไม่ได้ทำให้สาเหตุหายไปนะครับ ถ้าสาเหตุไม่หายไป ปัญหานี้จะกลับมาอีก

สาเหตุของปัญหานี้ก็คือ ต้องปรับความเข้าใจในเรื่องของการภาวนาเสียใหม่ครับ ซึ่งประกอบไปด้วย 2 เรื่องก็คือ
1. ทิฎฐิ ความคิดความเห็น ที่วางไว้ยังไม่ตรงนัก
2. ความตั้งใจ ที่มากไป

ความคิดความเห็น ที่ว่า ยังวางไว้ไม่ตรงนักก็คือ มีความเห็นว่า ต้องรู้อารมณ์ให้ชัด รู้ให้เยอะๆ รู้อารมณ์แล้วจิตจะดี ความจริงแล้ว การรู้อารมณ์นั้น จะชัดก็ได้ จะไม่ชัดก็ได้ เพราะการรู้ชัดแล้วรู้ว่ารู้ชัดก็ดูจิตเหมือนกัน คือ รู้ว่าจิตมีโมหะน้อย(หรือไม่มี อะไรทำนองนี้สักอย่าง) หรือการรู้ไม่ชัดแล้วรู้ว่ารู้ไม่ชัด ก็คือ รู้ว่าจิตมีโมหะมาก

พอรู้แล้ว ก็เออ... ปล่อยไป ไม่ต้องไปพิจารณาอะไรให้วุ่นวาย ไม่ต้องคิดอะไรให้มาก แต่ถ้าจิตเขาไม่ปล่อยไป มีความพยามยามเข้าไปทำ ก็ไม่ห้าม ปล่อยเขา เราก็มองลงไปในแง่ที่ว่า เขาทำเขาเอง ทำเอง ทุกข์เอง ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทุกๆครั้งที่เกิดวงรอบนี้ (ไม่เกิด ก็ไม่ต้องไปกระตุ้นให้เกิดด้วยการหวนคิดถึงเข้าก็แล้วกันนะครับ)

แต่ถ้าจิตเขาทำ รู้แล้ว แล้วยังคิดต่อ เพราะความเคยชินหรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ให้รู้ ว่าเอ้อ... เขาทำของเขาเอง พอรู้ถึงตรงนี้แล้ว จิตเองมักจะละความสนใจไปสนใจสิ่งอื่นแล้วล่ะครับ ยังไม่เคยเห็นใครที่จะวนเวียนได้อย่างนี้ยาวนาน แต่เมื่อละไปแล้ว บางทีจิตก็จะหวนนึกขึ้นมาได้ใหม่ แล้วก็อยู่ในวงรอบนี้อีก

หากเป็นอย่างนี้ การเดินจงกรมอาจเหมาะนะครับ เพราะร่างกายเคลื่อนไหว และการต้องระวังการทรงตัว ทำให้จิตยากจะจดจ่ออยู่ที่ใดที่หนึ่งนานๆครับ และบางทีการเดินแล้วให้สายตาทอดยาวไปไกล สุดขอบฟ้า ก็อาจทำให้จิตคลายตัวออกมาได้นะครับ ตรงนี้ต้องค่อยๆลองดูครับ ดูว่า ทำอย่างไหนแล้วจิตใจผ่อนคลาย จิตใจมีความสบายใจ ก็ให้ทำอันนั้น พอใจมีความสบายใจแล้ว ก็รู้ทันว่าใจกำลังสบาย เกิดความชอบใจแล้วก็รู้ทันว่าชอบใจ

รู้่ทันตรงไหน ก็ตรงนั้น ส่วนที่พลาดไปในอดีต อย่าไปพยายามแก้ไข เพราะมันจบไปหมดแล้วครับ

เมื่อพบวิธีการที่เหมาะกับตนเองแล้ว ก็จะได้ใช้วิธีการนั้นต่อไป

ถ้าทำตามที่แนะนำไปได้แล้ว ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาข้อที่สอง ที่ว่า ตั้งใจมากไป ไปด้วยครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ
_/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคุณลุงมากๆเลยนะคะ เข้าใจอะไรมากขึ้นเยอะเลยคะ

หนูว่าหนูต้องจ้องเข้าไปมากๆ เหมือนที่คุณลุงบอกว่าเอาน้ำมันไปราดไฟแน่ๆเลยคะ แหะๆ
คือหนูตั้งใจจะนั่งขัดเพชรให้ได้ทุกวันอะคะ แต่สงสัยตอนนี้อาจจะต้องล้มกระดานไปสักพักแล้วละคะ
เพราะในระหว่างวันบางทีก็มีแน่นๆกลางหน้าผากด้วยอะคะ อาการท่าจะหนัก แหะๆ

แต่ก่อนหนูจะเดินจงกรมประมาณสิบนาที นั่งสมาธิประมาณสิบนาทีค่ะ
ซึ่งตอนเดินจงกรมนี่หนูจะหลงนานมาก รู้สึกตัวไม่กี่ครั้งผิดกับนั่งสมาธิที่จะรู้ตัวได้
บ่อยกว่ามาก เลยตัดเดินจงกรมทิ้งไปเลยอะคะ เพราะคิดว่าคงไม่ถูกจริตเท่าไหร่
แต่ตอนนี้หนูคงต้องตัดนั่งสมาธิทิ้งไป คงต้องรอให้ไฟดับก่อนคะ แหะๆ
แล้วค่อยมาเริ่มนั่งสมาธิพร้อมเดินจงกรมใหม่อีกรอบค่ะ


ไว้หนูลองทำดูแล้ว ได้ผลยังไงจะมารายงานคุณลุงนะคะ อิอิ ขอขอบคุณคุณลุงมากๆๆๆอีกครั้งนะคะ  _/l\_


พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
อนุโมทนาด้วยนะครับ

ถ้าจำไม่ผิดนะครับ การรู้ชัดเกินไปนี่ก็จัดเข้าอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเหมือนกัน คือ สติกล้าแข็งเกินไปน่ะครับ บอกแล้วอย่าตกใจนะครับ เมื่อเราเจริญวิปัสสนากันเต็มที่แล้ว เราจะพบว่า แม้เพชรจะใส จนส่งประกายแวววาม สวยงามสุดบรรยาย แต่เราก็จะพบว่า การถือเพชรนั้นเป็นภาระ ตัวเพชรเองก็มีน้ำหนัก ขว้างทิ้งไปได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

ถ้าถึงที่สุดไป ต้องขว้างเพชรทิ้งไปแล้ว ถามจริงๆเถอะ มานั่งขัดเพชรอยู่ทำไม แค่ดูความเป็นจริงของเพชรกันดีกว่า... ถ้าเป็นเพชรที่ดีจริง ถามจริงๆเหอะ ทำไมต้องขัดด้วย ^___^
« Last Edit: Tue 5 Oct 10, 19:12:50 by ลุงถนอม »
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
โหห คุณลุง คมกริบ เลยค่ะ โดนไปเต็มๆเลยคะ

หนูกลัวมากที่สุดก็วิปัสสนูปกิเลสนี่ละคะ เคยได้ยินหลวงพ่อท่านพูด
หนูก็ไปหาอ่านเพิ่มเติมเพื่อจะที่ได้คอยระวัง เพราะเหมือนตัวเองจะเกิดอาการแบบนั้น
แต่จำไม่ได้ว่าอันไหนอะคะ พอไปหาอ่านก็ปรากฏว่าไม่ค่อยเข้าใจเลยค่ะ
เช่น ปิติ กับอุเบกขา ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส เล่นเอาหนูงงไปไหนไม่เป็นเลยค่ะ แหะๆ

ขอขอบคุณคุณลุงมากๆเลยนะคะ  "ถ้าเป็นเพชรที่ดีจริง ถามจริงๆเหอะ ทำไมต้องขัดด้วย"
โดนใจไปเต็มๆเลยค่ะ _/l\_

ปล. หนูนั่งขัดเพชรตามที่หลวงปู่สิมท่านสอนนะคะ เผื่อใจจะแกร่งขึ้นมาบ้างคะ อิอิ ^^
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ที่หลวงปู่สิมท่านให้ "ขัดเพชร" ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้นะครับ ว่าท่านสอนอะไร เพื่ออะไร และสอนใคร น่ะครับ แต่เนื่องจากลุงถนอมไม่ได้ฟังที่ท่านแสดงธรรมตรงนั้น จึงไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไม

แต่ให้เดานะครับ หากไม่ใช่ว่าท่านสอนให้หมั่นเพียรเจริญสติแล้ว ก็คงเป็นการสอนตามวิธีของพระป่าให้กับใครสักคนหรือกลุ่มหนึ่ง ที่มีจริตที่จะเดินตามวิถีของพระป่า ที่มีโอกาสและเวลาที่จะทำความสงบได้ ซึ่งเมื่อทำความสงบจนจิตตั้งมั่นได้แล้ว (ตามปกติมักได้ยินครูบาอาจารย์กล่าวไว้ว่า ต้องได้ถึงฌานที่ ๒ เพราะไม่มีวิตกวิจารณ์ หรือองค์ภาวนาใดๆ ก็จะมีจิตผู้รู้เด่นดวงขึ้นมา) จึงค่อยมาพิจารณากาย

การพิจารณากายนั้นมี 2 แบบ แบบแรกสำหรับท่านที่คุ้นเคยในการเดินวิปัสสนามาก่อน จิตจะพิจารณากายในมุมมองของไตรลักษณ์ได้เอง ไม่ต้องโน้มน้าวหรือชักจูงใดๆ แต่ถ้าบางท่านจิตไม่คุ้นเคยการเดินวิปัสสนามาก่อน จิตเขาจะไม่พิจาณาอะไร ไม่มองอะไรในมุมมองของไตรลักษณะเลย จิตจะตั้งเด่นดวงอยู่เฉยๆ ไม่เห็นว่าอะไรเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ถ้าเป็นแบบนี้ต้องคิดนำ เพื่อนำร่อง หรือไกด์ ให้จิตเขาหัดเห็นในแ่ง่มุมของไตรลักษณ์ เมื่อเขาคุ้นเคยแล้ว ต่อๆไปเขาก็จะพิจารณารูปนามในความเป็นไตรลักษณ์ได้เองครับ

เรื่องยกคำสอนของครูบาอาจารย์มาต้องระวังไว้นิดนึงนะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า ปุถุชนคนแก่ๆอย่างลุงถนอม ไปบอกอะไรที่ขัดกับครูบาอาจารย์เข้า สติปัญญาเท่าแสงสว่างของหิ่งห้อย 1 ตัว ที่ติดมั่ง ดับมั่ง เทียบไม่ได้กับสติปัญญาของหลวงปู่สิมท่านที่เด่นสว่างดุจพระอาทิตย์ในยามเที่ยงวันได้หรอกครับ ^__^!

อือมมมม หรือว่า ท่านสอนให้นั่งสมาธิด้วยท่านั่งขัดสมาธิเพชร ^0^ เก่งนะครับนี่ นั่งได้ ลุงถนอมไม่สามารถนั่งได้ครับ (แต่ครูสันตินันท์นั่งได้ ท่านเคยเล่าให้ฟัง)
« Last Edit: Tue 5 Oct 10, 19:58:13 by ลุงถนอม »
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
อธิบายเพิ่มเติมนะครับ ตัวปีติ และอุเบกขา เป็นสภาวะตามธรรมชาติของผู้ที่มีสมาธิเฉยๆ ไม่ได้มีปัญหาอะไรหรอกนะครับ แต่เมื่อใดที่หลงไปว่า เมื่อมีปีติแล้ว หรือมีอุเบกขาแล้ว นั่นคือผลของการเจริญวิปัสสนาจนถึงนิพพาน หรือความหลุดพ้น ตรงนี้ต่างหากล่ะครับที่เป็นวิปัสสนูปกิเลส ทำให้หยุดการภาวนาอยู่แค่นั้น พอใจที่จะเข้าไปถึงตรงนั้น (และรักษาสภาวะอย่างนั้นไว้) ไม่ถึงความพ้นทุกข์แท้จริง เพราะหากตายในปีติหรืออุเบกขา ก็ได้เป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อหมดกำลัง ก็ต้องกลับมาเกิดในภพภูมิอื่นใดต่อไป

ครูสันตินันท์เคยเล่าให้ฟังว่า พวกพรหม เมื่อจุติคือเคลื่อนมาจากภพของพรหม มักมาเกิดในอบายภูมินะครับ ไม่ใช่ค่อยๆมาเกิดในชั้นต่างๆค่อยๆเลื่อนลงมา หรือมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วย้อนกลับไปเป็นพรหมอีก

ตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าทำไม แต่พอเห็นพรหมที่เขาฝึกสมาธิแบบไม่มีความรู้สึกตัว ก็พอจะเข้าใจ เพราะเขาฝึกสมาธิที่มีแต่โมหะ ดังนั้นเมื่อละจากภพของพรหม แถมพกด้วยโมหะมาด้วย ก็น่าจะไปเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ง่ายๆ ก็เป็นอบายภูมิ หรือทุคติ นั่นแหละครับ
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
ค่ะคุณลุง หลวงปู่สิมท่านสอนให้นั่งสมาธิด้วยท่าขัดเพชรค่ะ หลวงปู่บอกไว้ค่ะว่า

"การนั่งขัดสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น
ดูเมื่อพระพุทธเจ้าเราจะได้ตรัสรู้นั้น พระองค์นั่งขัดสมาธิเพชรใต้ร่มไม้โพธิ์
จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า...
  ...นั่งขัดสมาธิเพชร ใจของเราต้องเป็นเพชร ไม่ใช่เป็นพลอย...พลอยตามกิเลส
เป็นเพชร คือว่า เป็นเหล็กเพชร ก็เรียกว่าตัดเหล็กต่างๆได้ เพชรนิลจินดามนุษย์
สมมติกันว่ามีราคาแพง แต่ยังสู้ใจเพชรพระพุทธเจ้าไม่ได้ ใจเพชรพระพุทธเจ้านั้น
นั่งขัดสมาธิเพชรทางร่างกายได้ เจ็บปวด ทุกขเวทนาอะไรๆทั้งหมดพระองค์สละตายลงไป
เราทุกคนก็ให้พยายามหัดนั่งสมาธิเพชร จิตมันจะได้เป็นเพชรบ้าง
เดี๋ยวนี้มันเป็นแต่พลอย กิเลสราคะมาก็พลอยตาม โทสะมาก็พลอย โมหะมาก็พลอย
พลอยตามมันไป"

หนูได้ฟังธรรมของหลวงปู่ท่าน เพราะได้ยินหลวงพ่อท่านเล่าถึงหลวงปู่คะ
หนูเลยมีโอกาสได้พบพ่อแม่ครูบาอาจารย์เพิ่มอีกหลายท่านเลยค่ะ
ถึงหนูจะเพิ่งได้ฟังธรรมของหลวงปู่ท่านเมื่อไม่กี่เดือนนี้เองก็ตามคะ อิอิ ^^

หนูเข้าใจเรื่องปิติกับอุเบกขาขึ้นเยอะเลยค่ะ ก่อนหน้านี้เข้าใจผิดมาตลอดเลย แหะๆ
พอมีปิติเกิดแล้วก็ ตายแล้ววิปัสสนูป หนูช่างอ่อนด้อยจริงๆเลยค่ะ แหะๆ
ว่าแต่พวกพรหมนี่แอบน่ากลัวจังเลยนะคะ อันที่จริงหนูกลัวการเกิดค่ะ
ตอนนี้เกิดเป็นอะไรก็ไม่เอาแล้วค่ะ แต่การที่จะไม่เกิดอีกนี่ยากมากๆเลยนะคะ แหะๆ
แต่ยังไงหนูก็จะตั้งหน้าตั้งตาสร้างเหตุต่อไปอย่างเต็มกำลังค่ะ
ขอขอบคุณคุณลุงมากๆๆๆๆอีกครั้งนะคะ  _/l\_
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
นึกไว้แล้วเชียวครับ ว่าจะต้องเป็นนั่งสมาธิเพชร

ท่านสอนให้เข้มแข้ง เด็ดเดี่ยว ทำได้ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ

_/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
ขอขอบคุณคุณลุงมากๆๆๆๆๆๆอีกครั้งนะคะ
หนูจะเพียรสร้างเหตุอย่างเต็มกำลังค่ะ อิอิ _/l\_
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline หลี่จิ้ง

  • Global Moderator
  • Full Member
  • *
  • Posts: 56
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • Gender: Male
  • Dhammada.net คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

_/|\_

เข้ามาอ่านครับ ผมเองก็ได้ประโยชน์เช่นกัน 'โมทนา และสาธุครับ
นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
สวัสดีค่ะคุณลุง หนูขอรายงานผลการปฏิบัติค่าาา

หนูรู้สึกว่า วิบากจากการเพ่งลดลงมากเลยค่ะ
แต่ก็ยังมีบ้าง แต่ไม่หนักเหมือนก่อนหน้านี้ค่ะ อิอิ
ตอนนี้หนูก็เดินจงกรม เท่าๆกับเวลาที่นั่งสมาธิค่ะ
(ตอนแรกว่าจะตัดนั่งสมาธิทิ้ง เดินจงกรมเพิ่ม
แต่ตัดไม่ลงค่ะ อิอิ) และจากนี้ ถึงแม้ตอนเดินจงกรม
หนูจะหลงนาน แต่ก็จะพยายามมีสติ รู้ตัว เท่าที่จะทำได้
จะไม่ทิ้งการเดินจงกรมเหมือนที่ผ่านมาละคะ ^^

หนูขอขอบคุณคุณลุงมากๆๆๆๆเลยนะคะ _/l\_
หนูจะเพียรภาวนาต่อไปอย่างไม่ย่อท้อค่ะ ^^
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ถ้าเดินจงกรมแล้วหลงนาน ก็เป็นผลจากการนั่งสมาธิด้วยการเพ่งนั่นแหละครับ ร่างกายนิ่งๆก็พอจะกำหนดตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในร่างกายให้จิตคอยรู้อยู่ตำแหน่งเดียว ด้วยเข้าใจผิดว่า การมีสมาธิคือการบังคับจิตให้อยู่กับที่ แต่ความจริงแล้ว การทำสมาธิก็เหมือนกับการที่คนๆหนึ่งทำงานมาอย่างเหนื่อยอ่อน ต้องการพัก เขาก็จะอยู่ในอิริยาบถที่สบายๆ แล้วปล่อยใจให้อยู่กับความสุข เมื่อจิตใจมีความสุขแล้วก็ไม่กระสับกระส่าย จิตใจจะคอยคลอเคลียอยู่กับอารมณ์อันใดอันหนึ่งด้วยความพึงพอใจในความสุขนั้น เมื่อใดที่ใจเป็นหนึ่ง (เอกัคตา) จิตก็จะเป็นสมาธิระดับฌานโดยอัตโนมัติ

แต่ถ้าเคยนั่งสมาธิด้วยการเพ่งมานานๆ หากนั่งสมาธิโดยไม่เพ่ง ก็จะมีอาการเผลอไปคิดยาวไปเลยครับ จะรู้สึกตัวครั้งหนึ่งยากกว่าการเดินจงกรมนะครับ ลองลดเวลานั่งสมาธิลง แล้วเพิ่มการสวดมนต์ (สวดไป รู้สึกตัวไป) น่าจะทำให้การเผลอนานนั้นลดลงได้นะครับ

อีกอย่าง ในชีวิตประจำวัน ก็ต้องคอยรู้สึกตัวไว้ด้วยนะครับ อย่าปล่อยให้ตัวเองหลงกับโลกไปเป็นวันๆครับ เวลาฝึกตามรูปแบบเพียงวันละไม่กี่นาที ถึงวันละชั่วโมง ยังไม่พอแก่การเตรียมตัวเพื่อเจริญวิปัสสนาหรอกนะครับ เพราะวันหนึ่งๆ หักจากเวลาหลับวันละ 8 ชม.แล้ว เรายังมีเวลาเหลือให้กิเลสเล่นงานเราอีกถึง 15 ชม.ครับ เรื่องนี้หลวงพ่อปราโมทย์ท่านคอยเตือนพวกเราอยู่เสมอๆครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline เด็กน้อย

  • Full Member
  • ***
  • Posts: 62
  • คะแนนความนิยม: +0/-0
  • นโม วิมุตฺตานํ นโม วิมุตฺติยา
สวัสดีค่ะคุณลุง หนูขอขอบคุณมากๆๆเลยนะคะที่คุณลุงคอยให้คำแนะนำหนูเสมอๆเลย รบกวนคุณลุงมากๆเลยค่ะ แหะๆ

ช่วงนี้หนูรู้สึกตัวเวลาเดินจงกรมได้บ่อยขึ้นแล้วคะ หนูสวดมนต์เป็นประจำเช้าเย็นค่ะ ตอนสวดมนต์ก็คอยรู้สึกตัวไป
เท่าที่จำทำได้เหมือนที่คุณลุงบอกค่ะ ช่วงนี้หนูมักจะรู้สึกเหนื่อยๆจากการเรียน และการบ้านมากๆๆเลยค่ะ ช่วงสอบด้วยอะคะ
บางทีก็ไม่อยากดู แต่เหมือนมันเป็นเอง อยากพัก อยากทำความสงบแต่มันก็จะคอยๆรู้มากกว่าอะคะ (ไม่รู้ว่ารู้จริงรึเปล่านะคะ แหะๆ)
หนูก็กลัวจะเพ่งนะคะ แต่บางทีรู้สึกเหนื่อยมากๆอะคะ เลยอยากพัก แต่สรุปว่าก็ไม่ได้พักเท่าไหร่ค่ะ แหะๆ
พักตอนเดียวคือตอนนอนค่ะ ถ้าไม่นอนก็รู้สลับกับหลงทั้งวันค่ะ แต่หลงนี่มากกว่ามากๆๆๆๆเลยนะคะ อิอิ

หนูจะเพียรภาวนาต่อไปนะคะคุณลุง ขอขอบคุณคุณลุงอีกครั้งนะคะ ^^
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย" ^^