Author Topic: ใจถึง ถึง  (Read 3914 times)

Offline Aporn

  • Newbie
  • *
  • Posts: 24
  • คะแนนความนิยม: +1/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
ใจถึง ถึง
« on: Tue 24 May 11, 08:28:34 »
สวัสดีคะคุณลุง วันนี้มีคำถามค่ะ หลวงพ่อเคยพูดบ่อยๆ ว่า ต้องใจถึง ถึง นะ คือหนูก็ยังไม่เข้าใจว่า ใจถึงยังไง แล้วทำไมต้องใจถึง หนูมาพิจารณาเองว่า เมื่อวิญญาณไปรับรู้เรื่องราว หรือเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ จนกำลังจะสร้างกระบวนการของ ภพ ชาติ ชรา มรณะ นั้น ให้เรารีบละเสีย  อาการที่ให้เรารีบละเสียนี่คือความใจถึง ใช่มั้ยคะ ใจถึงที่จะไม่ไปรับรู้อารมณ์-เรื่องราว และปรุงต่อ  ใจถึงที่จะวางอารมณ์นั้นๆ ใช่มั้ยคะ  รบกวนคุณลุงพิจารณาคำถามของหนูด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
Re: ใจถึง ถึง
« Reply #1 on: Wed 25 May 11, 05:44:55 »
Quote
สวัสดีคะคุณลุง วันนี้มีคำถามค่ะ หลวงพ่อเคยพูดบ่อยๆ ว่า ต้องใจถึง ถึง นะ คือหนูก็ยังไม่เข้าใจว่า ใจถึงยังไง

ที่หลวงพ่อท่านบอกว่าให้ใจถึงๆนั้น ท่านบอกให้กับคนที่ติดดี คนที่ติดการปรุงแต่งใจให้ดี คนที่คอยประคองรักษาใจให้ดี คนที่คอยทำใจให้นิ่ง คนที่ข่มใจไว้ไม่ให้กิเลสแสดงตนออกมา ท่านเหล่านี้มีทิฎฐิว่า จะต้องคอยรักษาใจด้วยการทำใจให้ดีไว้ตลอด เพื่อให้ใจไม่ไหลไปที่ชั่ว ข้อดีก็คือ ทำให้เป็นคนดี แต่ข้อเสียก็คือ ใจจะมีแต่นิ่ง (แต่มีความโกรธเกิดขึ้นได้ง่าย และไม่รู้ตัว ไม่รู้สึกตัว รู้ไม่ทันตัวเอง) ทำให้ไม่เห็นไตรลักษณ์ (แม้มีความโกรธเกิดขึ้น ก็ไม่รู้ตัว และยังเข้าใจว่าตนกำลังทำความดีอยู่นั่นเอง คือ พลาดให้กับกิเลสแล้ว ทั้งในระดับทิฎฐิ ทั้งในระดับพฤติกรรม)

สิ่งที่หลวงพ่อบอกให้ใจถึงๆก็คือ ให้ปล่อยการบังคับจิตใจ เพื่อให้จิตได้มีโอกาสเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ไปตามธรรมชาติ ธรรมดา ของตัวเขาเอง เพื่อให้เราได้สังเกตเห็นความเป็นจริงตามธรรมดาของตัวเขาเอง แล้วเราก็จะเห็นว่าจิตเป็นไตรลักษณ์ จิตก็จะเห็นจิตว่าจิตก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จนวันหนึ่ง จิตยอมรับความเป็นจริงได้จริงๆ อย่างหมดจด ว่าตัวเขาเองก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ สิ่งใดมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไป ไม่มีสิ่งใดเลยที่เกิดแล้วไม่ดับ เขาก็จะสรุปได้ว่า ตัวเรา-ตัวตน ที่เที่ยงแท้ถาวรไม่มีเลย ก็จะได้ดวงตาเห็นธรรมครับ

Quote
หนูมาพิจารณาเองว่า เมื่อวิญญาณไปรับรู้เรื่องราว หรือเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใดๆ จนกำลังจะสร้างกระบวนการของ ภพ ชาติ ชรา มรณะ นั้น ให้เรารีบละเสีย

ตรงนี้เป็นกระบวนการที่คิดเอาเองนะครับ ไม่ใช่กรรมฐานครับ ปล่อยให้สลายหายไปกับสายลมและแสงแดดได้เลยครับ ไม่มีอะไรเป็นสาระหรือใช้เป็นแนวทางของการปฏิบัติได้เลยครับ

Quote
อาการที่ให้เรารีบละเสียนี่คือความใจถึง ใช่มั้ยคะ

อาการที่ให้เรารีบละเสีย ก็คือ ให้เรารู้สึกตัวขึ้นมา มีสภาวะเกิดขึ้น ให้รู้ทัน รู้ทันสภาวะจนเกิดการรู้ทันได้เองแล้ว ต่อไปเมื่อรู้ทันก็คอยสังเกตว่าจิตมีความชอบ จิตมีความไม่ชอบ หรือจิตเฉยๆ ก็ให้รู้ทัน รู้อย่างนี้ครับ แล้วจะรู้สึกตัวขึ้นมาได้เองในวันหนึ่ง ตรงนี้ต่างหากล่ะครับ ที่เป็นความหมายของคำว่า "ให้รีบละเสีย" หากภาวนามาถึงจุดนี้จะเข้าใจได้เลยว่า ที่ให้รีบละเสียก็คือ ให้รีบละออกจากการจมอยู่ในสภาวะนั้น ให้รีบละจากการเคล้าเคลียในอารมณ์ในสภาวะนั้น ให้รีบละจากการอาลัยอาวรณ์ในอารมณ์ในสภาวะนั้นครับ ซึ่งก็คือ ให้รู้สึกตัวขึ้นมา (สำนวนอันหลังนี้ จะได้ยินหลวงพ่อปราโมทย์ท่านพูดบ่อยเหมือนกันอยู่ช่วงหนึ่ง ก็คือความหมายของคำว่า "ให้รีบละเสีย" นั่นล่ะครับ)

Quote
ใจถึงที่จะไม่ไปรับรู้อารมณ์-เรื่องราว และปรุงต่อ  ใจถึงที่จะวางอารมณ์นั้นๆ ใช่มั้ยคะ

ใจที่ไม่ไปรับรู้อารมณ์ เรื่องราว ก็คือ จิตที่มืดบอด จิตที่ซึม จิตที่ทื่อ จิตที่โดนอำนาจบังคับ กดข่ม เพื่อให้นิ่ง และไม่ได้เป็นจริงตามที่คิดด้วย จิตที่ไม่ปรุงต่อแท้จริงก็ไม่มีด้วย เพราะจิตนั้นเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ตลอดเวลา การเกิดแล้วก็ดับของจิตนั้น ก็คือการปรุงแต่ง จิตดวงก่อนเป็นเหตุปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น ดังนั้น ยังไงๆก็ต้องปรุงต่อ นอกจากนี้แล้ว เจตสิก ก็เป็นสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้น แล้วยังเกิดขึ้นพร้อมกับจิต แล้วดับลงพร้อมกับจิตด้วย ยังไงๆจิตก็ต้องปรุงแต่งต่อล่ะครับ แต่ที่เขาเห็นหรือเข้าใจว่า ทำอย่างนั้นแล้วจิตไม่ปรุงแต่งต่อ เพราะเขาไม่รู้จักสภาวะที่ชื่อ เฉยๆ ซึมๆ ทื่อๆ นั้นต่างหากล่ะครับ

สภาวะ เฉยๆ ซึมๆ ทื่อๆ นั้น ไม่ใช่ตัวจิตด้วยซ้ำ หากแต่เป็น เจตสิก ซึ่งก็คือสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้น และเจตสิกนั้นเอง กลับมาปรุงแต่งจิต อีกชั้นหนึ่ง จิตเกิดที่ไหน เจตสิกก็เกิดขึ้นที่นั่น ดังนั้น ไม่ปรุงแต่งต่อนั้นไม่มี

แต่สำหรับการดูจิต หลวงพ่อแค่ขอให้เราไม่ไปแทรกแซงกับสภาวะที่เกิดขึ้น เพื่อให้เราได้สังเกตเห็นความเป็นจริงของสภาวะ ว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ไม่ต้องไปดับมัน มันก็ดับของมันเอง (ที่มันดับของมันเอง เพราะมันตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ ทุกขังในไตรลักษณ์ คือ ความเสื่อม ความบีบคั้น ความทำลาย ทำให้สภาวะทั้งหลายเหล่านั้น ดับไปได้เอง แต่ถ้าหากเหตุปัจจัยยังส่งผลต่อเนื่องอยู่ ก็ยังมีเหตุให้เกิดใหม่ ก็จะเกิดใหม่แล้วดับลง เกิดใหม่แล้วดับลง จนกว่าเหตุและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดขึ้นมานั้น สิ้นไปแล้ว การเกิดจึงจะสิ้นสุด แต่ถ้าเมื่อใดเกิดขึ้นมาแล้ว ความดับย่อมตามมา เพราะเป็นสภาพธรรมดาของสรรพสิ่งที่มีความเกิดขึ้น ต้องดับลงเสมอ)

Quote
ใจถึงที่จะวางอารมณ์นั้นๆ ใช่มั้ยคะ

ใจถึงที่จะยอมไม่เข้าไปแทรกแซงจิต ไม่เข้าไปยุ่งกับอาการต่างๆของจิต (แต่ต้องมีศีล ๕ เอาไว้นะครับ เราไม่ทำผิดทางกายและวาจา เรามีเจตนาที่งดเว้นอกุศลกรรมทางกายและวาจา ส่วนทางใจ เราจะปล่อยให้จิตใจเขาเป็นไปอย่างที่เขาเป็น เพื่อเรียนรู้ความเป็นจริงของเขา โดยเบื้องต้น เราอาศัยการรู้จิตใจตามความเป็นจริง เป็นเครื่องมือของการฝึกเจริญสติ ต่อไปเมื่อสติเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องจงใจ ไม่ต้องน้อม เกิดขึ้นได้เองในชีวิตประจำวันแล้ว เราจึงจะอาศัยการรู้จิตใจตามความเป็นจริงเพื่อเจริญปัญญาอีกชั้นหนึ่งครับ

Quote
รบกวนคุณลุงพิจารณาคำถามของหนูด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ตอบให้แล้วนะครับ มีปัญหา สงสัยตรงไหน คุยกันได้ที่นี่เสมอครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ  _/|\_

 ;D
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา

Offline Aporn

  • Newbie
  • *
  • Posts: 24
  • คะแนนความนิยม: +1/-0
  • เมตตา สันติ เจริญสติ
Re: ใจถึง ถึง
« Reply #2 on: Wed 25 May 11, 08:13:37 »
อ่านแล้วทำไมน้ำตาซึมก็ไม่รุค่ะ....เข้าใจแจ่มแจ้งทุกถ้อยคำ  ขอบพระคุณค่ะคุณลุง

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
Re: ใจถึง ถึง
« Reply #3 on: Wed 25 May 11, 09:24:12 »
ด้วยความยินดีครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ _/|\_
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา