Author Topic: ธรรมที่มีอุปการะมาก คือต้นทางของการปฏิบัติ  (Read 5217 times)

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
เมื่อตั้งสมาธิแล้วเพ่งลงไปที่กาย การเห็นกายเห็นเวทนาไม่ใช่เรา ก็เกิดขึ้นได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสาธารณะ ไม่ใช่จะมีเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น การตั้งสมาธิแล้วเพ่งลงไปที่จิต จะเห็นแต่ว่าจิตเป็นเราๆ เพราะไปเห็นความนิ่งของจิต เห็นความเที่ยงของจิต จิตจะรู้สึกตามมาในภายหลัง(ตามมาติดๆ)ว่าเราเที่ยงเราคงที่มาแต่อดีต

สักกายทิฎฐินั้นมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า อัตตานุทิฎฐิ เพราะเป็นทิฎฐิ(หรือความเห็น)ที่ตามมาทีหลัีง(ตามมาทีหลังการรู้การเห็นของจิต หรือตามมาทีหลัีงการเกิดผัสสะ)ว่า จิตเป็นตัวเรา เราเที่ยง เรามีอยู่ในอดีต เที่ยงคงที่มาถึงปัจจุบัน และจะมีอยู่ต่อไปในอนาคต ไม่เกิดไม่ดับ คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง

สมาธิชนิดเพ่งอารมณ์(สมถะ) มีในทุกศาสนา ดังนั้นศาสนาอื่นๆก็เห็นได้ว่า กายและเวทนาไม่ใช่เรา แต่จะสำคัญมั่นหมายว่าจิตเป็นเราและมีตัวตนที่เที่ยง ในศาสนาอื่นจึงสามารถมองเห็นได้ว่ากายไม่ใช่เรา แต่ไม่เห็นว่าจิตไม่ใ่ช่เรา ดังคำของพระบรมศาสดาที่่ทรงแสดงไว้ว่า

Quote
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
(อ้างอิง อัสสุตวตาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=2519&Z=2566)

สมาธิที่จะทำให้เห็นได้ว่าจิตไม่เที่ยง ไม่คงที่ แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ เป็นสมาธิชนิดจิตตั้งมั่น มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นวิธีเดียวที่จะเห็นว่าจิตเกิดดับ ทำให้เห็นว่า กายใจ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา สมาธิชนิดจิตตั้งมั่น เริ่มต้นทางที่ มีสติ มีความรู้สึกตัว (สัมปชัญญะ) ธรรมที่มีอุปการะมาก อาศัยการรู้ทันสภาวะบ่อยๆ จนจิตเกิดความเคยชินที่จะรู้ทันสภาวะ แล้วรู้ทันจิตที่รู้สภาวะนั้นอีกชั้นในภายหลัง (คือ รู้ทันความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นตามมา) เมื่อเคยชินและชำนาญที่จะรู้สภาวะแล้ว สติที่มีสัมปชัญญะประกอบ ก็จะเจริญขึ้น

« Last Edit: Sun 11 Sep 11, 07:09:03 by ลุงถนอม »
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา