Author Topic: กฎแห่งกรรม กับ สติปัฏฐาน ๔  (Read 3596 times)

Offline ลุงถนอม

  • Administrator
  • Super Member
  • *
  • Posts: 2,296
  • คะแนนความนิยม: +8/-0
  • Gender: Male
  • สติปัฏฐาน ๔ คือทางสายเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์


Quote
ส่วนเรื่อง อโหสิกรรม นั้น
เป็นการที่จิตใจไม่ถือโทษอีกฝ่ายจนต้องมาผูกพยาบาทกันต่อไป
แม้จะอโหสิกรรมกันแล้ว แต่คนที่ทำกรรมไม่ดี
ก็ยังต้องได้รับของกรรมไม่ดีที่ได้ทำไว้นะครับ
และทางที่ดีผมคิดว่า เรามีใจ อโหสิกรรม ให้ผู้อื่นเอาไว้จะดีที่สุดครับ
เพราะจะเป็นการทำจิตเราเองให้ถึงพร้อมด้วยกุศล
และพร้อมจะปฏิบัติภาวนาเพื่อความพ้นทุกข์ต่อไปได้

อาจารย์ สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
Surawat Sereewiwattana



สมการทางคณิตศาสตร์ (-1) x (-1) = +1

คนเราก็เลยคิดว่า โกหกซ้อนโกหก จะเป็นความจริง โดยเฉพาะเมื่อพร่ำพูดกันไปเรื่อยๆ หรือพูดซ้ำๆกันตลอดเวลา และพากันเชื่อในความเชื่อที่ว่า เมื่อเชื่อในสิ่งที่เชื่อ เชื่อมากๆ ต่อไปความเชื่อจะเป็นความจริง

แต่ความจริง มันไม่ใช่ (-1) x (-1) หรอก หากแต่จะเป็น (-1) + (-1) ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ -2 ต่างหาก

ไม่ว่าจะเชื่ออย่างไร มีความเห็นอย่างไร ใจจะน้อมให้เชื่ออย่างไรก็ตาม ความจริงก็ย่อมเป็นความจริงวันยังค่ำ โดยเฉพาะในเรื่องของ "สัจจธรรม" ย่อมเป็น "สัจจธรรม" วันยังค่ำ ไม่มีจิตของมนุษย์ดวงใจจะบิดผันให้แปรเป็นอื่นไปได้

หากใครเชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ ที่ไม่สอดคล้องตามความเป็นจริงตามธรรม (สัจจธรรม) เชื่ออย่างแน่นแฟ้นแล้ว ย่อมจะนำพาตนเองไปสู่ความเสียหายในอนาคต และหากปฏิญาณตนว่าเป็นโพธิสัตว์ด้วยแล้ว แล้วพาคนอื่นให้ไปพบกับความวิบัติไปพร้อมกับตน ด้วยความเชื่อผิดๆ เป็นความเชื่อที่เป็นมิจฉาทิฎฐิด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นสิ่งที่น่าอดสูใจที่สุด เพราะเท่ากับว่าตนเองบำเพ็ญในสิ่งที่ตรงข้ามกับเส้นทางของพระโพธิสัตว์ คือ เอาความเห็นของตนเองเป็นใหญ่ มิใช่ทำไปด้วย "มหากรุณา"

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิเคย "บัญญัติ" การเจริญสติปัฏฐาน ๔ หากแต่ทรงค้นพบเส้นทางที่จะไปถึงความหลุดพ้น ไปถึงความดับทุกข์สิ้นเชิง ซึ่งจะต้องฝึกฝนตนเองอยู่ใน "สติปัฏฐาน ๔" นี้เท่านั้น พระพุทธองค์ไม่เคยทรงกล่าวเลยว่า มีเส้นทางอื่นที่สอง ที่จะไปถึงความพ้นทุกข์ ไปถึงความสิ้นทุกข์สิ้นเชิงเลย

เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไปถึงขั้นแยกธาตุแยกขันธ์ เห็นกายเห็นใจแปรปรวนเกิดดับไปทั้งวัน ความเห็นที่ว่าจะสามารถทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะต้องไม่รับผลจากการกระทำของตนจะไม่มี เพราะจะเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่า เมื่อมีการกระทำก็จะมีการรับผลของกรรม ไปพร้อมๆกับการเห็นการเกิดการดับการแปรปรวนของกายใจไปทั้งวัน รวมทั้งเมื่อรับผลของกรรมไปแล้ว ตราบใดที่ผลของกรรมนั้นไม่สิ้นสุด ก็ไม่อาจเข้าไปแก้ไขอะไรได้ สิ่งที่เป็นไปได้ก็มีแต่ ไม่กระทำกรรมใหม่ที่ไปส่งเสริมเกื้อหนุนให้วิบากของกรรมไม่ดีมีผลขยายต่อเนื่องต่อไป เท่านั้นเอง

ไม่จำเป็นต้อง "ดูจิต" หรอก ก็สามารถเห็นได้อย่างนี้ แต่หากฝึกตนด้วยการ "ดูจิต" จะเห็นได้ง่าย เห็นได้มาก เห็นได้ชัดเจน เพราะจิตนั้นคล่องแคล่วว่องไว แปรปรวนเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นว่าจิตเป็นอนัตตาไปพร้อมๆกับจะเห็นว่ากฎแห่งกรรมก็เป็นอนัตตา ไม่อาจควบคุม ไม่อาจสั่งให้เป็นไปตามปราถนาได้ และไม่อาจล้อเล่นท้าทายได้เลย

ถ้าถือดีกับกฎแห่งกรรม กิเลสนั้นแหละจะพาให้ไปพบกับผลของกรรมด้านเลวร้ายที่สุดที่ไม่อยากพบ จนกว่าเมื่อใดจะสิ้นทิฎฐินี้แล้ว การภาวนาในพระพุทธศาสนาจึงจะเดินต่อไปได้ ส่วนผลของกรรมนั้นจะยังต้องรับต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุด หรือเป็นพระอรหันต์ที่ดับขันธปรินิพพานแล้วเท่านั้น

« Last Edit: Tue 28 Aug 12, 04:08:11 by ลุงถนอม »
คือความเรียบง่าย คือธรรมะ คือธรรมดา