Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Topics - จองชัย

Pages: [1]
1
เช้าวันหนึ่ง ขณะที่กำลังนั่งสมาธิ พิจารณา ขันธ์5 ตามต่อเนื่องไปจนถึง ปฎิจจสมุทบาท ไปถึง ภพ ชาติ ยังไม่ถึง ชรา ฉับพลันนั้นเอง ก็เกิดความรู้วาบขึ้นมา เป็นความรู้ กึ่งความรู้สึกว่า
โอ..เจ้าการเกิดนี่เอง คือต้นเหตุแห่งทุกข์ การตัดเหตุแห่งทุกข์ก็คือการหยุดการเกิด ซึ่งก็คือ สมุทัย นั่นเอง ..ไม่ว่าการเกิดของ ขันธ์ใด ๆ ก็ตาม ล้วนเป็นทุกข์ ตามมาด้วยความรู้สึก ปิติ
วันนั้นทั้งวัน ก็คิด ๆ ๆ ว่า ก็ธรรมพื้น ๆ ร่ำเรียนมาแต่เล็กคือ อริยสัจ 4 ทำไมเรากลับรู้สึก ปลื้มปิติ เหลือเกิน กับสิ่งที่ได้รู้ 

หลังจากนั้น สี่วันได้มีโอกาสไปกราบหลวงพ่อ ทวี ที่วัดป่าอรัญวิเวก เชียงราย ก็ได้มีโอกาส สอบถามหลักการ และรายละเอียดการปฎิบัติภาวนา จากท่าน เรียกว่าซักถามเอาให้ละเอียด
ชนิดไม่มีเกรงใจครูอาจารย์กันละครับ บรรดาข้อสงสัยต่าง ๆ ที่มีในหัวอก ก็ได้กราบเรียนสอบถามท่านจนหมด แถมได้คำแนะนำการปฎิบัติ กลับออกมาด้วยความรู้สึกแช่มชื่น

เช้าวันถัดมา ก็มีอีกครั้ง ลพ.ท่านได้ให้คำแนะนำว่า พิจารณากายก้อดูอาการ 32 ภายนอกก็ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง  แค่เริ่มตั้งต้น เกศา เท่านั้นแหละครับ คำตอบมันพร่างพรูออกมาจากข้างใน
ก็เกศานี้ มันมิได้เที่ยงแท้ งอกยาว แล้วก็ร่วงหล่น หล่นแล้วก็งอกใหม่ ผมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็ไม่ใช่ผมที่มีในอดีต มิใช่เส้นเดียวกันกับผมเมื่อตอนคลอดออกมา และผมปัจจุบันนี้ ก็มิใช่คงอยู่
ถาวรถึงอนาคต มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป งอกออกมาได้ก็ด้วยเหตุ (มีรากผม) ฯลฯ ไปจรด หนัง ล้วนแต่มีคำอธิบายปรากฎแก่จิต เป็นลักษณะของการรู้ มิใช่คิด ... ตามมาด้วย ปิติ อีกเช่นกัน

และไม่กี่วันมานี้เอง ขณะพิจารณาขันธ์ 5 อีกครั้ง จากสิ่งที่พร่ำคิด คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เกิดความรู้แว่บขึ้ันมาอีกครั้งหนึ่่ง ว่า ก็เพราะมันไม่เที่ยง มันย่องต้องแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
กายไปยึดไว้ถือไว้ ย่อมน่ำมาซึ่งความทุกข์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปล่อยวาง ไม่ยึดถือ ย่อมไม่ทุกข์ และเมื่อปล่อยวางไปแล้ว สิ่งนั้น ก็คือ อนัตตาในความรู้สึกของเรานั่นเอง เพราะเมื่อเรา
ไม่ยืดถือ มันก็ว่างเปล่าในความรู้สึกของเรา นั่นไงคือคำว่า อนัตตา ในความหมาย

ถึงตอนนี้ รู้แล้วละครับว่า ภวนามยปัญญา เป็นอย่างไร เข้าใจในสิ่งที่ ลพ.ปราโมทย์ พร่ำสอนมาตลอดแล้วละครับ

2
หลายวันมานี้ พอเดินจงกรมไปสักพัก พอจิตเริ่มตั้งมั่นในความรู้สึกสัมผัสก้จะพบว่า ในทุกสัมผัสที่รับได้ ไม่ว่าจะจากเท้าสัมผัสพื้น หรือเสียงที่กระทบหู ลมเย็นที่กระทบกาย จะส่งสัญญาณแปลบ ๆ มาปรากฎที่กลางอก เสมอ จึงได้พิจารณารู้ปรากฎแห่งอาการแปลบ ๆ ที่กลางอกนั้นไป แต่ก็มีเผลอหลุดไปคิดบ้าง และจะสังเกตุได้ว่า ยามที่เผลอ อาการแปลบ ๆ ที่กลางอกจะหายไป และเมื่อจิตกลับมารู้มาตั้งมั่นอีกครั้ง ก็จะพบว่า อาการแปลบ ๆ นี้จะกลับมาปรากฎ เบาค่อยนั้นขึ้นอยู่กับ สัมผัสที่เข้ามากระทบ เช่น ขณะที่เดินนั้นมีเสียงประทัดมากระทบ ก็จะเกิดอาการแปลบวาบ แรง ๆ หรือยามทิ้งน้ำหนักลงไปที่เท้าแรง ๆ ก็จะปรากฎอาการแรง

ในส่วนของชีวิตประจำวัน เมื่อมีอะไรมากระทบจิตจนเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่า จะถูกใจ ดีใจ เสียใจ โกธร เมื่อจิตรู้และมองดูความรู้สึกเหล่านั้น ก็จะพบว่า ในทุก ๆ อารมณ์ที่ปรากฎนั้นล้วนจะพุ่งตรงมาที่กลางอก ปรากฎเป็นความรู้สึกแปลบ ๆ เช่นนี้ทุกครั้งครับ

อยากสอบถามลุงถนอมเกียวกับอาการดังกล่าวครับว่า เราควรพิจารณาอย่างไรกับอาการดังกล่าวครับ


3
ก่อนหน้านี้ ทันทีที่รู้สึกตัวว่าหลงไปคิด ก็จะมีเสียงในจิตต่อทันทีด้วยการวิจารณ์จิตตัวหลงไปคิดว่า "นั่นแน่ ไหลไปคิดแล้ว" หรือบางทีก็จะมีเสียงพระอาจารญ์ปราโมช ดังแว่วขึ้นมาในจิตว่า "จิตไหลไปคิดก็รู้" แถมด้วยบางทีก็วิพากษ์วิจารณ์จิตตัวที่ไปตัวก่อนหน้า (ซึ่งดับไปแล้ว) เสียยกใหญ่ แต่เมื่อครั้นอ่านหรือฟังมากขึ้น กลับรู้สึกว่า เสียงที่ดังขึ้นในจิตนั้น น่าจะเป็น จิตผู้คิดตัวถัดมาลงมือปฎิบัติการเสียมากกว่า จะเป็นจิตผู้รู้ที่ตื่นขึ้นมาจริง ๆ ยิ่งเมื่อได้อ่านกระทู้ http://www.dhammada.net/coffee/index.php/topic,52.msg301.html#msg301 ก็ยิ่งรู้สึกว่า น่าจะเป็นเช่นนี้

ขอถามลุงถนอมว่า เสียงที่ดังขึ้นมาในจิต หลังจากจิตผู้รู้ตื่นขึ้นมารู้ว่าจิตไหลไปคิดนั้น เป็นจิตตัวคิดตัวถัดมาที่เพิ่งเกิด หรือ คือจิตผู้รู้ตัวจริงครับ

4
ลุงถนอมครับ

วานนี้ช่วงหัวค่ำ ก็ได้เดินจงกรมตามปรกติ แต่ได้เพิ่มอุปกรณ์ฟังเอมพีสาม ฟังบรรยายธรรมไปด้วย ก็เดินประมาณ หนึ่ง ชั่วโมง เริ่มมีความรู้สึกอุ่น ๆ ที่หน้าผาก คล้ายจะเพ่ง แต่ก็พยายามไม่สนใจ เสร็จจากจงกรม ก็พักผ่อนเล็กน้อย อาบน้ำ ก็ไปไหว้พระสวดมนต์ และนั่งสมาธิต่ออีกราวสามสิบนาที เสร็จก็ เข้านอน แต่วันนี้ กลับรู้สึกตึงอุ่น บริเวณหน้าผาก
ตลอดเวลา คล้ายจิตไปจับอยู่บริเวณนั้น พยายามผ่อนคลายอย่างไรก็ไม่หาย

พอมีคำแนะนำไหมครับ

Pages: [1]