Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Topics - ลุงถนอม

Pages: [1] 2 3
1
"ยามดีก็ใช้ ยามไข้ก็รักษา" เป็นภาษิตที่ได้ยินมานาน และควรเป็นภาษิตประจำใจนักบริหารทุกคน อย่าเอาแต่ประโยชน์จากลูกจ้างเพียงถ่ายเดียว เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในสังคม ทำให้เกิดการเคียดแค้นระหว่างกันแทนที่จะเป็นความสมัครสมานสามัคคี

2
กรรม บ่งบอกถึงความจริงจังของชีวิต ที่ต้องอยู่กับความจริง กรรมไม่ใช่สิ่งที่ทำไปแล้ว แล้วขอยกเลิกเพื่อเล่นใหม่ได้เหมือนกับการเล่นเกมส์ เพราะกรรมทั้งดีและชั่ว เมื่อทำไปแล้วต้องไปรับผลในภายภาคหน้า แม้จะเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่หากยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ก็ยังต้องรับวิบากที่ตามมา และอาจไม่ได้รับครั้งเดียวแล้วจบด้วยซ้ำไป

3


วันนี้ ตื่นอย่างสดชื่น ด้วยธรรมนี้

"หลายคนคิดว่า ความรักคือสิ่งที่ดีที่สุด ควรมอบให้กัน มีให้กันและกัน แต่ทุกคนหารู้ไม่ว่า ความรัก คือ สิ่งที่เลวร้ายที่สุด เพราะความรักทำให้คนแทบจะทุกคน ทำอะไรก็ได้เพื่อคนที่เรารัก แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่เลวทราม สกปรกโหดร้ายขนาดไหน ความสกปรกโหดร้ายมันน้อยไปสำหรับคนที่เรารัก แต่ถ้าทุกหัวใจจะเปลี่ยนจากรักมาเป็นสงสาร เมตตา ผู้อื่นที่ไม่ใช่คนที่เรารัก ให้ใจของเรากับผู้อยู่ใกล้-ไกล มองไปกว้างๆ หยิบยื่นความสงสารจากใจให้เขาบ้าง ลองทำดูสักครั้ง แล้วหันกลับมาดู ถามหัวใจของเราเองว่าจริงไหม ภัยที่ร้ายกาจที่สุดคือ รัก เมื่อไม่มีรักความลำเอียงก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นธรรมที่ทุกคนใฝ่หาจะเบ่งบานแทนไฟแห่งภัยร้าย คือ รัก"

คุณแม่จันดี โลหิตดี ^/\^

ผมไม่ใช่ผู้ชายที่ไร้รัก แต่เป็นผู้ชายที่รู้ รู้ถึงพิษสงแห่งความรัก ว่ามันร้ายกาจเพียงใด อาณาจักรทั้งอาณาจักรล่มสลายลงไปได้ในพริบตา เพียงเพราะกษัตริย์ปล่อยให้ความรักครอบงำ นำพามานะและทิฎฐาให้เคลื่อนเข้าทำลายอาณาจักรของตนเอง

ผู้คนล้มตายไปเท่าไหร่ เพื่อ "ความรัก"

ที่สำคัญ "ตายแล้วตายอีก" ดังทีหลวงพ่อปราโมทย์ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่า "ทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ ไม่ใช่ทุกปางตาย แต่ทุกข์จนตายจริงๆ ตายแล้วตายอีก"

-/\- -/\- -/\- กราบนมัสการ ครูบาอาจารย์ทั้งสองท่านครับ

ขอเก็บเป็นโน้ตไว้ เพราะอ่านแล้วถึงใจจริงๆครับ

4
ผู้ที่ยังละสักกายทิฎฐิไม่ได้ เมื่อพบกับอกุศลกรรมวิบาก จะเชื่อว่ามีเจ้ากรรมนายเวร แต่ผู้ที่ละได้แล้วจะเห็นว่า เป็นไปตามกฎแห่งกรรม

5


Quote
ส่วนเรื่อง อโหสิกรรม นั้น
เป็นการที่จิตใจไม่ถือโทษอีกฝ่ายจนต้องมาผูกพยาบาทกันต่อไป
แม้จะอโหสิกรรมกันแล้ว แต่คนที่ทำกรรมไม่ดี
ก็ยังต้องได้รับของกรรมไม่ดีที่ได้ทำไว้นะครับ
และทางที่ดีผมคิดว่า เรามีใจ อโหสิกรรม ให้ผู้อื่นเอาไว้จะดีที่สุดครับ
เพราะจะเป็นการทำจิตเราเองให้ถึงพร้อมด้วยกุศล
และพร้อมจะปฏิบัติภาวนาเพื่อความพ้นทุกข์ต่อไปได้

อาจารย์ สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
Surawat Sereewiwattana



สมการทางคณิตศาสตร์ (-1) x (-1) = +1

คนเราก็เลยคิดว่า โกหกซ้อนโกหก จะเป็นความจริง โดยเฉพาะเมื่อพร่ำพูดกันไปเรื่อยๆ หรือพูดซ้ำๆกันตลอดเวลา และพากันเชื่อในความเชื่อที่ว่า เมื่อเชื่อในสิ่งที่เชื่อ เชื่อมากๆ ต่อไปความเชื่อจะเป็นความจริง

แต่ความจริง มันไม่ใช่ (-1) x (-1) หรอก หากแต่จะเป็น (-1) + (-1) ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ -2 ต่างหาก

ไม่ว่าจะเชื่ออย่างไร มีความเห็นอย่างไร ใจจะน้อมให้เชื่ออย่างไรก็ตาม ความจริงก็ย่อมเป็นความจริงวันยังค่ำ โดยเฉพาะในเรื่องของ "สัจจธรรม" ย่อมเป็น "สัจจธรรม" วันยังค่ำ ไม่มีจิตของมนุษย์ดวงใจจะบิดผันให้แปรเป็นอื่นไปได้

หากใครเชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ ที่ไม่สอดคล้องตามความเป็นจริงตามธรรม (สัจจธรรม) เชื่ออย่างแน่นแฟ้นแล้ว ย่อมจะนำพาตนเองไปสู่ความเสียหายในอนาคต และหากปฏิญาณตนว่าเป็นโพธิสัตว์ด้วยแล้ว แล้วพาคนอื่นให้ไปพบกับความวิบัติไปพร้อมกับตน ด้วยความเชื่อผิดๆ เป็นความเชื่อที่เป็นมิจฉาทิฎฐิด้วยแล้ว จะยิ่งเป็นสิ่งที่น่าอดสูใจที่สุด เพราะเท่ากับว่าตนเองบำเพ็ญในสิ่งที่ตรงข้ามกับเส้นทางของพระโพธิสัตว์ คือ เอาความเห็นของตนเองเป็นใหญ่ มิใช่ทำไปด้วย "มหากรุณา"

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิเคย "บัญญัติ" การเจริญสติปัฏฐาน ๔ หากแต่ทรงค้นพบเส้นทางที่จะไปถึงความหลุดพ้น ไปถึงความดับทุกข์สิ้นเชิง ซึ่งจะต้องฝึกฝนตนเองอยู่ใน "สติปัฏฐาน ๔" นี้เท่านั้น พระพุทธองค์ไม่เคยทรงกล่าวเลยว่า มีเส้นทางอื่นที่สอง ที่จะไปถึงความพ้นทุกข์ ไปถึงความสิ้นทุกข์สิ้นเชิงเลย

เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไปถึงขั้นแยกธาตุแยกขันธ์ เห็นกายเห็นใจแปรปรวนเกิดดับไปทั้งวัน ความเห็นที่ว่าจะสามารถทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะต้องไม่รับผลจากการกระทำของตนจะไม่มี เพราะจะเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่า เมื่อมีการกระทำก็จะมีการรับผลของกรรม ไปพร้อมๆกับการเห็นการเกิดการดับการแปรปรวนของกายใจไปทั้งวัน รวมทั้งเมื่อรับผลของกรรมไปแล้ว ตราบใดที่ผลของกรรมนั้นไม่สิ้นสุด ก็ไม่อาจเข้าไปแก้ไขอะไรได้ สิ่งที่เป็นไปได้ก็มีแต่ ไม่กระทำกรรมใหม่ที่ไปส่งเสริมเกื้อหนุนให้วิบากของกรรมไม่ดีมีผลขยายต่อเนื่องต่อไป เท่านั้นเอง

ไม่จำเป็นต้อง "ดูจิต" หรอก ก็สามารถเห็นได้อย่างนี้ แต่หากฝึกตนด้วยการ "ดูจิต" จะเห็นได้ง่าย เห็นได้มาก เห็นได้ชัดเจน เพราะจิตนั้นคล่องแคล่วว่องไว แปรปรวนเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นว่าจิตเป็นอนัตตาไปพร้อมๆกับจะเห็นว่ากฎแห่งกรรมก็เป็นอนัตตา ไม่อาจควบคุม ไม่อาจสั่งให้เป็นไปตามปราถนาได้ และไม่อาจล้อเล่นท้าทายได้เลย

ถ้าถือดีกับกฎแห่งกรรม กิเลสนั้นแหละจะพาให้ไปพบกับผลของกรรมด้านเลวร้ายที่สุดที่ไม่อยากพบ จนกว่าเมื่อใดจะสิ้นทิฎฐินี้แล้ว การภาวนาในพระพุทธศาสนาจึงจะเดินต่อไปได้ ส่วนผลของกรรมนั้นจะยังต้องรับต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุด หรือเป็นพระอรหันต์ที่ดับขันธปรินิพพานแล้วเท่านั้น


6
จิตก็งั้นๆ เกิดแล้วก็ดับ (เหมือนๆกับสิ่งอื่น)

7
การแสวงหา ทำให้เกิดความวุ่นวาย ตั้งแต่เล็กที่สุดจนถึงใหญ่ที่สุด อย่างไม่มีหยุดพัก และนำมาซึ่งความขัดแย้งและเบียดเบียนไปทั่ว ไม่มีเว้น

8
หิวก็เรื่องหนึ่ง ตะกละก็เรื่่องหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน หิวเป็นเรื่องของกาย ตะกละเป็นเรื่องของกิเลส

9
ถ้าจิตใจยังหวั่นไหวต่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จนไม่อาจรักษาสัจจะไว้ได้ ก็อย่าคิดเดินทางไกลเลย เพราะจะเป็นการเดินทางไกลที่ยังไกลต่อเป้าหมายมากเกินกว่าที่จะคาดคิดจินตนาการถึง

10
เมื่อตามรู้ตามดูกิเลแจนเข้าถึงจิต เห็นรู้แล้วดับ รู้แล้วดับ จะรู้สึกว่า โลกทั้งโลกล้วนแต่เกิดแล้วดับ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตนได้สักสิ่งเดียว

11
ขาดสติอันเดียว ก็ขาดธรรมะแล้ว #ลพ.ปราโมทย์ RT @Sirijit

12
เดือนตุลาคม ตลอดจนเดือนพฤศจิกายน ลุงถนอมหนีน้ำท่วมนะครับ ประกอบกับหน้าที่การงานมีการเปลี่ยนแปลง งานเยอะเป็น 2 เท่า ทำให้ว่างเว้นจาก update ที่นี่ไป ต้องขออภัยด้วยครับ

13
ถ้ายังรักที่จะสนุกกับโลก ไม่เพียรถ่ายถอนกิเลสอนุสัย อย่าพูดเลยว่ามาเกิดสร้างบารมีเพื่อเดินทางไกล ไม่เข้าใกล้มาตรฐานโพธิสัตว์แม้แต่น้อย

14
เมื่อตั้งสมาธิแล้วเพ่งลงไปที่กาย การเห็นกายเห็นเวทนาไม่ใช่เรา ก็เกิดขึ้นได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องสาธารณะ ไม่ใช่จะมีเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น การตั้งสมาธิแล้วเพ่งลงไปที่จิต จะเห็นแต่ว่าจิตเป็นเราๆ เพราะไปเห็นความนิ่งของจิต เห็นความเที่ยงของจิต จิตจะรู้สึกตามมาในภายหลัง(ตามมาติดๆ)ว่าเราเที่ยงเราคงที่มาแต่อดีต

สักกายทิฎฐินั้นมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า อัตตานุทิฎฐิ เพราะเป็นทิฎฐิ(หรือความเห็น)ที่ตามมาทีหลัีง(ตามมาทีหลังการรู้การเห็นของจิต หรือตามมาทีหลัีงการเกิดผัสสะ)ว่า จิตเป็นตัวเรา เราเที่ยง เรามีอยู่ในอดีต เที่ยงคงที่มาถึงปัจจุบัน และจะมีอยู่ต่อไปในอนาคต ไม่เกิดไม่ดับ คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง

สมาธิชนิดเพ่งอารมณ์(สมถะ) มีในทุกศาสนา ดังนั้นศาสนาอื่นๆก็เห็นได้ว่า กายและเวทนาไม่ใช่เรา แต่จะสำคัญมั่นหมายว่าจิตเป็นเราและมีตัวตนที่เที่ยง ในศาสนาอื่นจึงสามารถมองเห็นได้ว่ากายไม่ใช่เรา แต่ไม่เห็นว่าจิตไม่ใ่ช่เรา ดังคำของพระบรมศาสดาที่่ทรงแสดงไว้ว่า

Quote
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
(อ้างอิง อัสสุตวตาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=2519&Z=2566)

สมาธิที่จะทำให้เห็นได้ว่าจิตไม่เที่ยง ไม่คงที่ แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ เป็นสมาธิชนิดจิตตั้งมั่น มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นวิธีเดียวที่จะเห็นว่าจิตเกิดดับ ทำให้เห็นว่า กายใจ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา สมาธิชนิดจิตตั้งมั่น เริ่มต้นทางที่ มีสติ มีความรู้สึกตัว (สัมปชัญญะ) ธรรมที่มีอุปการะมาก อาศัยการรู้ทันสภาวะบ่อยๆ จนจิตเกิดความเคยชินที่จะรู้ทันสภาวะ แล้วรู้ทันจิตที่รู้สภาวะนั้นอีกชั้นในภายหลัง (คือ รู้ทันความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นตามมา) เมื่อเคยชินและชำนาญที่จะรู้สภาวะแล้ว สติที่มีสัมปชัญญะประกอบ ก็จะเจริญขึ้น


15
มีลูกศิษย์ถามหลวงพ่อพุธว่า "นั่งสมาธิแล้วเห็นอดีต เห็นอนาคตได้ไหม?" หลวงพ่อตอบว่า "ได้ แต่ไม่เป็นไปทุกคน บางคนไม่รู้อะไรเลย เช่นอาตมานี้ไม่รู้อะไรเลย รู้แต่จิตของตัวเอง และสภาวะความจริงที่เกิดขึ้นกับจิต" RT @sophony

Pages: [1] 2 3