Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

รู้สึกตัวเพื่อตัดชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ


mp 3 (for download) : รู้สึกตัวเพื่อตัดชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้สึกตัวเพื่อตัดชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

รู้สึกตัวเพื่อตัดชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คอยรู้ไปเรื่อยนะ มีสติรู้สึกขึ้นมา สะสมไปทีละเล็กทีละน้อยอย่างนี้ ไม่รีบร้อน ไม่ต้องไปพยายามทำสติให้เกิดตลอดเวลา เราไม่ต้องการสติตลอดเวลา เราต้องการสติทีละแว้บเดียว

เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นแว้บแล้วหลงไปอีก เราก็รู้สึกอีกแว้บนึงแล้วค่อยหลงไปอีก แล้วฝึกอย่างนี้นะ ไม่ใช่รู้สึกๆๆไม่มีหลงเลย ถ้ารู้สึกๆๆไม่มีหลงเลยน่ะคือการทำฌาน เพราะจิตที่จะเกิดซ้ำซากมีสติซ้ำซากอยู่ได้อย่างเดียวตลอดนานๆเนี่ยคือฌานจิตเท่านั้น จิตธรรมดาๆไม่เป็นอย่างนั้นหรอก ให้รู้ขึ้นแว้บนึงแล้วหลง รู้แว้บนึงแล้วก็หลง ตรงนี้สำคัญ

ไม่ต้องฝึกให้รู้สึกตัวตลอดเวลา แต่ฝึกให้รู้สึกบ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ฝึกบ่อยๆไม่ใช่ให้ต่อเนื่องยาวนาน ทีละแว้บนี่แหล่ะ มันจำเป็นยังไง คนในโลกนี้นะไม่เคยมีสติ ไม่เคยรู้สึกตัว คนในโลกอยู่ในความฝันตลอดเวลา ฝันทั้งวันทั้งคืนทั้งตื่นทั้งหลับ แล้วมันจะเกิดความสำคัญผิดขึ้นมา ว่ามันมีตัวเราจริงๆ

พวกเรารู้สึกมั้ยในนี้มีเราอยู่คนนึง เราคนนี้นะกับเราตอนเด็กๆก็ยังเป็นเราคนเดิม รู้สึกมั้ยมันมีเราอยู่คนหนึ่ง เรามาตั้งแต่เด็กนะจนวันนี้ยังเป็นคนเก่าอยู่ เราคนเดิมหรอกหน้าตาต่างหากที่เปลี่ยนไปแต่ข้างในนี้มีเราที่คงเดิมอยู่คนหนึ่ง เนี่ยเพราะอะไร เพราะเราไม่เคยเห็นมันเกิดดับ เราไม่เคยเห็นจิตเกิดดับ ถ้าเราเห็นจิตเกิดดับเราจะรู้ว่าไม่มีเราหรอก ข้างในนี้

งั้นที่เราหัดรู้สึกตัวขึ้นมานะเพื่อตัดชีวิตให้ขาดเป็นท่่อนๆ ถ้าชีวิตเรายาวอย่างนี้อันเดียวเนี่ย หลง หลงตั้งแต่เกิดจนตาย ตั้งแต่นี้หลงมาเรื่ิอยๆๆจนหมดเวลาตาย เราจะรู้สึกมีเราคงที่อยู่ เหมือนเราดูการ์ตูนนะ มีโดเรมอนใช่มั้ยมีอิคคิวซัง หลวงพ่อรู้จักแค่รุ่นเนี่ยหลังจากนั้นไม่รู้จักแล้ว โดเรมอนมันเดินไปเดินมาได้ นี่เป็นภาพลวงตาจริงๆมันเป็นรูปแต่ละช็อตแต่ละช็อต รูปแต่ละรูปแต่ละรูป แล้วมันเกิดดับต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว เราเลยรู้สึกมีเรา ถ้าเราเห็นรูปแต่ละรูปเกิดแล้วหายไปๆ เราจะไม่รู้สึกว่ามีโดเรมอนตัวจริงขึ้นมา โดเรมอนไม่มีจริง

การที่เราฝึกให้มีสติขึ้นมานี่ก็เหมือนกัน เราจะเห็นเลยเดี๋ยวจิตก็หลงไปเดี๋ยวจิตก็รู้สึก เดี๋ยวจิตก็หลงไปเดี๋ยวจิตก็รู้สึก พอจิตมันหลงไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่งนะ หลงไปทางทวารทั้งหก หลงไปทางตาหูจมูกลิ้นกาย หลงไปทางใจคือหลงไปคิด หรือบางทีก็หลงไปเพ่ง นี่หลงทางใจ แล้วตามมามีสติมันจะรู้ว่าเมื่อกี๊นี้หลงแต่จิตที่หลงนั้นดับไปแล้ว จะเห็นเลยจิตที่รู้กับจิตที่หลงเนี่ยเป็นคนละดวงกัน

การที่เราเห็นจิตที่รู้กับจิตที่หลงเป็นคนละอันกันเนี่ย เรียกว่าสันตติคือความสืบเนื่องเนี่ยขาดลงแล้ว การภาวนาจนสันตติขาดเนี่ยนะ คือการทำวิปัสสนาที่แท้จริงแล้ว งั้นเราจะเห็นจิตเนี่ยเกิดแล้วก็ดับนะ เช่นจิตที่หลงไปพอเรารู้สึกตัวเราจะเห็นเลยจิตที่หลงดับไปแล้วเกิดจิตที่รู้สึก แล้วจิตที่รู้สึกอยู่ได้แว้บเดียวก็หลงใหม่ เห็นมั้ย แล้วก็รู้สึกขึ้นมาอีกครั้งนึง คราวนี้รู้สองทีเลย รู้ว่าจิตที่รู้สึกตัวอันแรกนั้นดับไปแล้วเกิดจิตที่หลง จิตที่หลงก็ดับไปแล้วอีก เกิดมีจิตรู้สึกตัวอันใหม่

เนี่ยฝึกดูไปเรื่อยนะจะเห็นนะมีแต่เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ขาดเป็นช่วงๆ หรือถ้าสติระลึกรู้กายนะจะเห็นเลยร่างกายที่หายใจออกร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน ร่างกายที่คู้ที่เหยียดเนี่ย เกิดดับตลอดเวลา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๖
Track: ๑
File: 510717.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

(Visited 997 times, 2 visits today)

Comments are closed.