Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : สวดมนต์เพื่ออะไร?

สวดมนต์เพื่ออะไร?

 จริงๆ แล้วบทสวดมนต์ส่วนหนึ่ง
จะเป็นการสาธยายคำสอนเรื่องต่างๆ ที่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อสวดให้เกิดอานิสงส์อื่นๆ
เช่นเพื่อความอยู่เป็นสุข เพื่อความพ้นจากอันตรายต่างๆ

การใช้ประโยชน์จากบทสวดมนต์จึงต้องเลือกว่าเราจะสวดเพื่ออะไร
แต่ที่ดีที่สุดคือ ให้สวดเพื่อใช้เป็นเครื่องฝึกสติ ฝึกจิตให้มีสมาธิ(มีความตั้งมั่น)
และเพื่อนำความรู้จากบทสวดไปใช้เพื่อเจริญปัญญาต่อไป
ส่วนอานิสงส์อื่นๆ ให้เป็นเรื่องรองลงไปครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กำหนดการแสดงธรรมนอกสถานที่ หลวงพ่อปราโมทย์ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

คลิ้กที่ภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

วันอาทิตย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๑๒:๐๐-๑๓:๓๐ น.
โรงเรียนสตรีภูเก็ต
(ติดต่อ คุณ วัลลีย์ บำรุงถิ่น 083-644-5338)

วันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๙:๓๐ – ๑๐:๓๐ น.
วิทยาลัยเทคนิค
ชัยนาท 056-411-276, 056-411-583

วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๑๓:๓๐ – ๑๕:๓๐ น.
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อ.สัตหีบ
(ติดต่อ พ.คมสัน วสุวานิช 083-448-1777)

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๘:๓๐ – ๑๐:๐๐ น.
ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)

วันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๙:๐๐ น.
ราชกรีฑาสโมสร โดย กลุ่มธรรมทาน
(สำรองที่นั่ง 02-717-5111)

cr: Mayom Dhamma Dhammayom (ธรรมชีวี)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๓๑ มกราคม ๒๕๕๖)

    New Files Updated วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖

  • 560115: กลุ่มบริษัทชัยรัชการ แสดงธรรมเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๑๐) เบื้องต้นฝึกให้มีตัวรู้ขึ้นมาได้เอง

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๑๐) เบื้องต้นฝึกให้มีตัวรู้ขึ้นมาได้เอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิต จะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : หลวงปู่เทสก์เน้นสอนเรื่องใด

หลวงปู่เทสก์เน้นสอนเรื่องใด

หลวงปู่เทสก์เน้นสอนเรื่องใด

หลวงปู่เทสก์ท่านเป็นพระป่าที่สอนเน้นอยู่ 2 – 3 จุดเท่านั้นครับ คือเรื่อง จิตกับใจ เรื่องหนึ่ง และเรื่องมิจฉาสมาธิ กับสัมมาสมาธิ อีกเรื่องหนึ่ง

ท่านสอนว่า จิตเป็นธรรมชาติที่รู้และเสวยอารมณ์ด้วย เมื่อเราปฏิบัติมากเข้า จิตรู้ความจริงแล้วก็วางอารมณ์ รวมเข้ามาเป็นใจ คือเป็นธรรมชาติรู้อารมณ์เฉยๆ

ท่านสอนว่ามิจฉาสมาธิเป็นความสงบเคลิบเคลิ้ม เหมือนความสงบของเด็กไร้เดียงสา ต่างจากสัมมาสมาธิที่เป็นความสงบแบบผู้ใหญ่ ที่ทำงานเสร็จแล้ว มาหยุดพักผ่อน

คือจิตที่เจริญวิปัสสนา รู้ความเกิดดับของรูปนามไปจนถึงจุดหนึ่ง จิตจะตัดกระแสการเจริญวิปัสสนานั้น รวมสงบเข้ามาพักอยู่ภายใน อาจจะพักในอุปจารสมาธิ หรืออัปนาสมาธิก็ได้ พอมีกำลังแล้วก็ออกไปทำงานใหม่ เมื่อเจริญวิปัสสนาพอสมควรแก่ธรรมแล้ว คราวนี้จิตจะรวมเองเข้าถึงอัปปนาสมาธิ มีความสงบ รู้ อยู่ภายใน แล้วเกิดมรรคญาณขึ้น ด้วยจิตที่ประกอบด้วยอัปปนาสมาธิชั้นใดชั้นหนึ่ง

มรรคญาณจะต้องประกอบด้วยอัปปนาสมาธิ แต่ไม่ใช่อัปปนาสมาธิจะต้องประกอบด้วยมรรคญาณครับ

โดยคุณ สันตินันท์  (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อ วัน จันทร์ ที่ 22 มกราคม 2544

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๙) ตามรู้เพื่อจะเห็นไตรลักษณ์

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๙) ตามรู้เพื่อจะเห็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทัน เรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้ จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ผู้เข้าถึง จิตแท้ ธรรมแท้

ผู้เข้าถึง จิตแท้ ธรรมแท้

ผู้ปฏิบัติที่เข้าถึงจิตแท้ธรรมแท้นั้น มีถึง 3 ลักษณะ

คือ 1. ผู้เดินทางปัญญาวิปัสสนา ไม่ข้องแวะสิ่งอื่น

 (แต่จิตที่เดินวิปัสสนาต้องเป็นจิตที่เป็นสัมมาสมาธินะครับ)

2. ผู้ที่ทำฌานก่อน แล้วน้อมไปเจริญวิปัสสนา

และ 3. ผู้ที่ทำฌานด้วย เจริญปัญญาด้วย

แต่ประเภทหลังนี้ชาตินี้มักไม่ค่อยทำฌาน แต่ได้ฌานมาแต่ชาติก่อนๆ

ชาตินี้มาเจริญปัญญา แล้วเกิดทั้งความแตกฉานในธรรมอันละเอียดด้วย

ฌานของเก่าที่เคยทำไว้ก็ยังให้ผลได้ด้วย

(ในภายหลังจากที่หลวงพ่อได้บวชแล้ว ท่านได้สอนเพิ่มเติมว่าแท้จริงยังมีประเภทที่4 ซึ่งอยู่ใน ยุคนัทธสูตร-ผู้เรียบเรียง)

แต่ทุกประเภท อาการที่จิตเข้าถึงธรรม เช่นการเกิดมรรค ผล ปัจจเวกขณะ

จะใกล้เคียงกันมาก ผิดตรงผลที่เกิดหลายขณะสั้นยาวไม่เท่ากันเท่านั้น

ถ้าเกิดผลสั้น ก็มักจะขาดความแตกฉาน เพราะจิตผ่านแว้บไปเท่านั้น

แต่สังโยชน์นั้นขาดเท่าๆ กันครับ

เนื่องจากมันขาดที่มรรค ไม่ใช่ขาดที่ผลซึ่งแตกต่างกัน

 

สิ่งที่ผมเล่ามานั้น มันเป็นการพิจารณาเดินปัญญาของจิตที่มีกำลังฌานสนับสนุน

คุณไม่ต้องไปคิดว่า จะต้องรู้อย่างเดียวกันนั้นจึงจะผ่านไปได้

เหมือนคนที่จะไปเชียงใหม่นั้น บางคนขึ้นเครื่องบินแว้บเดียวไปถึงแล้ว

ส่วนผมเป็นประเภทเดินเท้าบ้าง ลงเรือบ้าง เดินทางไปเชียงใหม่ด้วยเวลายาวนาน

ก็จะรู้ภูมิประเทศรายทางมากกว่าคนที่ขึ้นเครื่องไปน่ะครับ

แต่เมื่อไปถึงเชียงใหม่ ก็จะเห็นว่าเพื่อนๆ เขาไปเที่ยวเชียงใหม่กันจนเบื่อแล้ว

ส่วนเราเพิ่งงุ่มง่ามไปถึง

 

ในทางปฏิบัตินั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่องค์ความรู้

แต่สิ่งสำคัญคือ รู้ ซึ่งหมายถึงรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง

ด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง ไม่ถูกกิเลสครอบงำ

เวลาจะปฏิบัติขีดวงไว้แค่นี้ก็พอแล้วครับ

ส่วนความรู้ความเห็นที่หยาบละเอียดต่างกันนั้น ไม่สำคัญเท่าความพ้นทุกข์หรอกครับ

 

โดยคุณ สันตินันท์  (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

 เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๘) หลงไปก่อนแล้วค่อยรู้ว่าหลง

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๘) หลงไปก่อนแล้วค่อยรู้ว่าหลง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำ กรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธรู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809Aระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ทำลายสักกายทิฏฐิต้องอาศัยจิตเสื่อม

ทำลายสักกายทิฏฐิต้องอาศัยจิตเสื่อม

เรามองกันว่า จิตเสื่อมไม่ดี จิตเจริญมันดี
ทั้งๆ ที่การทำลายสักกายทิฏฐินั้น จะทำลายได้ก็ต้องอาศัย “จิตเสื่อม”
ผู้ปฏิบัตินั้น รักและหวงแหนจิตผู้รู้กันมาก
พยายามปัดกวาดสิ่งสกปรก ประคับประคองบำรุงสติสัมปชัญญะยิ่งกว่าเลี้ยงลูกอ่อน
แล้วไม่ว่าจะรักษาศีล บำเพ็ญภาวนาปานใด
ความเสื่อมของจิตผู้รู้ก็ยังกล้ำกลายเข้ามาอีกจนได้
คือมองไม่เห็นจิตผู้รู้ เห็นแต่ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

การที่จิตเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญนั้น
ถึงจุดหนึ่งจิตจะรู้แจ้งแทงตลอดในความเป็นจริงว่า
แม้ตัวจิตเองก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
                       
ขณะเดียวที่เห็นว่าจิตไม่ใช่เรานั้น สักกายทิฏฐิก็ขาดแล้ว
แล้วก็จะเข้าใจว่า จริงๆ ยังมีธรรมชาติที่ผ่องใสอันหนึ่ง
มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้นแหละ
ที่เจริญและเสื่อมก็คือขันธ์เท่านั้นเอง

จิตที่ฉลาดแล้ว สะอาดแล้ว ไม่เจริญและเสื่อมไปด้วย (แต่ไม่ใช่ไม่เกิดไม่ดับนะครับ)
เหมือนน้ำในท่อน้ำครำ ที่น้ำสะอาดก็ยังคงอยู่
ที่มันสกปรกนั้นไม่ใช่น้ำสกปรก
แต่เป็นเพราะมีสิ่งอื่นเข้ามาแทรกปน
พอแยกสิ่งที่แทรกปนออก น้ำก็สะอาดอย่างเก่า
น้ำที่สะอาดจึงไม่เคยหายไปไหน เพียงแต่บางคราวเรามองไม่เห็นเท่านั้น
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า จิตนั้นผ่องใส แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา

เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ผมฟังครูบาอาจารย์มา
ท่านว่าพระอนาคามีนั้น จิตผู้รู้จะเด่นดวงอย่างยิ่ง
ไม่เศร้าหมอง เพราะกามไม่มีอำนาจดึงดูดแล้ว
บางท่านหาทางพัฒนาต่อไปไม่ได้ เพราะดูอย่างไรก็เห็นแต่จิตที่ไม่เสื่อม
ความยึดถือจิตจึงยังคงอยู่เรื่อยๆ ไป
ต่อเมื่อสังเกตเห็นว่า บางครั้งจิตก็ยังหมองไปนิดๆ เพราะกิเลสชั้นละเอียดคือความไม่รู้
คือมองเห็นความเสื่อมของจิตนั่นเอง
แล้วสามารถแยกเอากิเลสละเอียดออกจากจิตได้อีก
จิตจึงถึงความบริสุทธิ์ที่แท้จริง ไม่ตกอยู่ใต้แรงดึงดูดใดๆ อีก

ที่จริงผมไม่ได้เข้ามาตอบกระทู้นี้ เพราะเห็นว่าตอบกันดีอยู่แล้วน่ะครับ
  แล้วเรื่องอย่างนี้ หากอธิบายแจกแจงละเอียดเกินไป
 ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ก็จะนิ่งนอนใจกับภาวะจิตเสื่อม
เพราะปัญญาที่เป็นสัญญาจากการอ่านมันล้ำหน้าไปแล้ว
ว่า จิตเสื่อมเป็นเรื่องธรรมชาติ แบบเดียวกับการเป็นสิว
แต่เมื่อ คุณ เปิดประเด็นที่ละเอียดไว้ ก็เลยต้องตกบันไดพลอยโจนครับ
   แต่ก็อยากบอกน้องๆ และหลานๆ ว่าอย่างนิ่งนอนใจกับภาวะจิตเสื่อม
เราจะต้องพยายามต่อสู้แก้ไขจนเต็มที่
เพื่อพิสูจน์ความจริงให้จิตเห็นว่า
จิตนั้นเป็นอัตตาหรืออนัตตากันแน่
 หากไม่พิสูจน์กันสุดชีวิตจิตใจ จิตมันไม่เชื่อหรอกครับว่า จิตเป็นอนัตตา

ส่วนอุบายวิธีที่จะแก้ปัญหาจิตเสื่อม ขอให้พยายามพิจารณากันเองเองเถอะครับ
กุศลธรรมทั้งหลายนั้น เอามาใช้ได้ทั้งนั้น
เช่นสัจจะ อธิษฐาน ขันติ ทาน สมถะ วิปัสสนา ฯลฯ
แต่อุบายวิธีในการแก้ปัญหานั้น เราต้องพัฒนาขึ้นตลอดเวลา
เพราะกิลเสมันมีพัฒนาการเหมือนกัน
เช่นคราวนี้เราแก้ความฟุ้งซ่านได้ด้วยการทำสมถะ
อีกวันหนึ่งเอาสมถะมาแก้ ก็ไม่สำเร็จเสียแล้ว
คล้ายกับกิเลสเป็นเชื้อโรคที่ดื้อยาชนิดนั้นไปแล้ว
เราก็ต้องผลิตยาตัวใหม่ มาต่อสู้กับมันอีก

อุบายวิธีในการต่อสู้กับกิเลส จึงมีมากมายนับไม่ถ้วน
ดังนั้นที่ถามหาวิธี ก็คงตอบไม่ได้หรอกครับ
ลองนึกถึงภาพพระโพธิสัตว์ของฝ่ายมหายานสิครับ
พระโพธิสัตว์มีจำนวนมาก แต่ละองค์บางทีก็มีตั้งพันกร
เพื่อจะต่อสู้กับกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด
ดังนั้น ไม่มีอุบายสำเร็จรูปหรอกครับ ที่จะสู้กับจิตเสื่อม

แต่ถ้าจะกล่าวอย่างย่นย่อ “โยนิโสมนสิการ” ครับ
ที่จะผลิตอาวุธมาแก้ปัญหาจิตเสื่อมของเราได้เสมอ
ก็ต้องสู้กันจนมารและพระโพธิสัตว์ตายไปพร้อมๆ กันแหละครับ

โดยคุณ สันตินันท์  (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

 เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2542

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๗) วิธีฝึกใจให้เป็นผู้รู้

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๗) วิธีฝึกใจให้เป็นผู้รู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธะ”แปลว่าอะไร พุทธะ แปลว่า”รู้” พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยว ใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ)


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๕ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ลมหายใจ

ลมหายใจ

 เมื่อยังมีลมหายใจอยู่ ก็หัดรู้ว่าร่างกายหายใจอยู่กันบ้างนะ เพราะมันคือทางหนึ่งที่จะกลับมามีสติ รู้สึกตัว แล้วจิตจะตั้งมั่น

เห็นความจริงว่ากายและใจนี้ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนที่จะให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ …

เมื่อเห็นความจริงได้ก็จะคลายความยึดถือ ละความยินดียินร้ายในโลกไปได้ ตรงที่ละความยินดียินร้ายได้

 ตรงนั้นแหละที่จะไม่ทุกข์เพราะอะไรๆในโลก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๗ มกราคม ๒๕๕๖)

    New Files Updated วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖

  • 551117: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕
  • 551110: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๑o เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕
  • 551109: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕
  • 560120: ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน) ครั้งที่ ๕๖ แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒o เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖
  • 551027: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕
  • 551020: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕
  • 551014B: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕
  • 551014A: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๖) วิธีทำสมถะเพื่อต่อวิปัสสนา

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๖) วิธีทำสมถะเพื่อต่อวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้ พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอ ใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึก นะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๕) อารมณ์ของสมถะ สบาย-สุข-สงบ

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๕) อารมณ์ของสมถะ สบาย-สุข-สงบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : มหัศจรรย์แห่งรู้

มหัศจรรย์แห่งรู้

ในขณะที่ รู้ โดยไม่เผลอนั้นเอง จะเห็นความเกิดดับของอารมณ์ชัดเจน
โดยจิตสักแต่ว่า รู้ ไม่เข้าไปแทรกแซง
จิตในขณะนั้น ตั้งมั่น ไม่เลื่อนไหลไปสู่อดีตและอนาคต
เป็นกลาง ปราศจากความยินดีและยินร้ายต่ออารมณ์
และเรียนรู้ความเป็นไปของอารมณ์ ตามที่อารมณ์เป็นไป
อารมณ์จะแสดงความเคลื่อนไปตลอดเวลา (อนิจจัง)
จะแสดงความตั้งอยู่ไม่ได้ (ทุกขัง)
และเห็นชัดว่ามันไม่ใช่ตัวเรา (อนัตตา) เพราะเป็นแค่สิ่งที่ถูกรู้
บังคับบัญชามันไม่ได้
จิตที่ได้เรียนรู้ความจริงโดยต่อเนื่องนั้น
จนมีปัญญาเพิ่มพูนขึ้น สามารถสลัดความยึดถืออารมณ์ออกไปได้

ผู้ปฏิบัติจะเห็นเลยว่า
กระทั่งจิตก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับ “ตัวเรา” เลยแม้แต่น้อย
ถ้าไม่เห็นจิตเป็นเราแล้ว อดีต อนาคต ชาตินี้ ชาติหน้า ก็หมดความหมาย
เพราะแม้แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ยึดถือเลย

โดยคุณ สันตินันท์  (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๔) ทำสมถะก็ต้องมีสติ

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๔) ทำสมถะก็ต้องมีสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ” ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว

ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกรมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ต้องตั้งเป้าหมายให้เหมาะสม

ต้องตั้งเป้าหมายให้เหมาะสม

ถาม : ผมเคยปฎิบัติธรรมมาหลายวิธีแต่จิตใจไม่เคยสงบเลย รู้สึกถึงความต้องการในตอนปฏิบัติรู้สึกมีการบีบคั่นตัวเองทำให้เกิดความเครียด ผมควรปฏิบัติอย่างไรครับ?

ตอบ : ถ้าตั้งเป้าจะเอาจิตสงบ แต่ไม่สามารถทำได้ เราก็ตั้งเป้าใหม่เป็น ปฏิบัติเพื่อให้เกิดสติเกิดปัญญา ซึ่งการจะให้เกิดสติเกิดปัญญา ก็ไม่ต้องไปบีบคั้นให้จิตสงบมากมายอะไรเลย แต่อาศัยการรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน รู้ทันจิตที่ไม่สงบ ก็จะเกิดสติเกิดปัญญาได้ ลองอ่านวิธีปฏิบัติสองเล่มนี้ดูนะครับ แล้วจะเข้าใจว่า คนที่ทำจิตสงบแบบสมถะไม่ได้ จะฝึกสติเจริญปัญญาได้อย่างไร
http://02.learndhamma.com/surawat/books/to_straight_up_your_mind.pdf
http://00.wimutti.net/surawat/books/Mindfulness-SelfAwareness-not-that-hard.pdf

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๓) ภาวนาให้ “รู้สึกตัว”

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๓) ภาวนาให้ “รู้สึกตัว”

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคย ได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้

ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้

สิ่งที่คุณพบนั้น เป็นเช่นนั้นจริงครับ
ในการปฏิบัตินั้น ไม่เพียงจะพบสิ่งที่คุณยกตัวอย่างมานั้น
หากแต่จะพบขันธ์ 5 แจกแจงออกไปได้อย่างน่าอัศจรรย์
โดยเฉพาะสังขารขันธ์นั้น มีมากมายเหลือเกินแม้ในภาวะอันหนึ่งๆ
เช่นในขณะที่จิตสักแต่รู้เห็นอารมณ์นั้น
จะมีเจตสิกธรรมเป็นอันมาก
เช่นสติ สัมปชัญญะ อุเบกขา เอกัคคตา ปัญญา ฯลฯ

 ในการปฏิบัตินั้น เราไม่จำเป็นต้องคอยจำแนกชื่อ ว่าสภาวะอันนี้ ชื่อว่าอย่างนี้
 เพราะเราจะพบสภาวะต่างๆ มากมายในขณะหนึ่งๆ
ขืนพยายามจำแนกชื่อ จิตจะฟุ้งซ่านจนปฏิบัติต่อไปไม่ได้
เพราะแทนที่จะรู้ กลับจะกลายเป็นคิดไป
เราเพียงรู้สภาวะเหล่านั้น รู้หน้าที่และบทบาทของมัน เท่าที่จิตรู้ในขณะนั้นก็พอ
ในทางปฏิบัติ เพื่อตัดข้อยุ่งยาก เราจึงมักสรุปย่อสภาวะทั้งหลาย
ลงเหลือเพียง ผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ก็พอครับ

เมื่อรู้ชัดว่า อันใดเป็นผู้รู้ อันใดเป็นสิ่งที่ถูกรู้แล้ว
ไม่เพียงจะเห็นความเกิดดับของอารมณ์เท่านั้น
 ยังเห็นกลไกการทำงานของจิตตามหลักของปฏิจจสมุปบาทด้วย
คือพบว่าเมื่อจิตรู้อารมณ์แล้ว เกิดเวทนาแล้ว
กิเลสจะแทรกตามเวทนา และกระตุ้นให้จิตเกิดตัณหาหรือความทะยานอยาก
จิตจะเคลื่อนออกยึดถืออารมณ์ เกิดภพขึ้น
แล้วก็เกิดตัวตนขึ้นมากระโดดโลดเต้นในภพนั้น
 อย่างที่คุณสุรวัฒน์บอกว่าเห็นตัวตนนั่นแหละครับ

เมื่อปฏิบัติแล้วเห็นได้ขนาดนี้ ผมก็รู้สึกยินดีด้วยครับ
ขอให้เจริญในธรรมครับ

โดยคุณ สันตินันท์  (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : E-Books รวมหนังสือหลวงพ่อปราโมทย์ (iPad / iPhone / Android)

for IOS (iPad & iPhone) คลิ้กที่นี่
for Android คลิ้กที่นี่

iPhone :-

iPad :-

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 41234