Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ทำอย่างไรจึงจะละอวิชชาได้ ?

ทำอย่างไรจึงจะละอวิชชาได้ ?

ถ้าไล่มาตามปฏิจจสมุปบาท ก็มีตั้งแต่ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ … แต่ที่ต้องละกันจริงๆคือ อวิชชา เพราะถ้าอวิชชาดับที่เหลือก​็ดับหมด ^_^ ดังนั้นโจทย์ข้อเดียวก็คือ ทำอย่างไรจึงจะละอวิชชาได้

โจทย์ข้อนี้มีวิธีทำได้หลาย​วิธี แต่ว่า แต่ละวิธีต้องอยู่ในกรอบของ​ มีสติรู้รูปนามที่กำลังปราก​ฏด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็น​กลาง … หรือต้องมีจิตที่เป็นปกติ เมื่อจิตเป็นปกติในขณะที่รู​ป นามปรากฏ จิตก็จะมีความตั้งมั่นเป็นก​ลาง ถ้าจิตไม่ปกติหรือยังยินดีย​ินร้าย จิตก็จะไม่ตั้งมั่นไม่เป็นก​ลาง เมื่อจิตตั้งมั่นได้เป็นกลา​งได้ปัญญาคือการเห็นแจ้งไตร​ลักษณ์ก็จะเกิดขึ้น จนในที่สุดก็จะละอวิชชาได้ เข้าใจ อริยสัจจ์-ปฏิจสมุปบาทได้อย​่างแจ่มแจ้งแท้จริง ^_^

บอกตัวเองว่า “มีสติรู้รูปนามที่กำลังปรา​กฏด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็​นกลางกันต่อไปนะครับ แล้วจะมีสักวันที่ละอวิชชาไ​ด้ เข้าใจอริยสัจจ์-ปฏิจสมุปบา​ทได้อย่างแจ่มแจ้ง” ^_^

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หน้าที่ของชาวพุทธ

mp3 (for download): โอวาทหลวงพ่อแด่ชาวพุทธทุกคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาท

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราต้องช่วยกันนะ ช่วยกัน ฟังธรรมะแล้วค่อยๆสังเกตลงในกายในใจของตัวเอง ช่วยตัวเองก่อนนะ ต่อๆไปก็จะได้ช่วยคนรอบๆตัวเรา ในภาพรวมก็จะได้ช่วยสังคมให้มันร่มเย็น อย่างน้อยสังคมนี้ร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ ยังมีจุดที่เย็นๆเหลืออยู่สักจุด สองจุด เล็กๆก็ยังดีนะ อยู่ในบ้านเราน่ะ ค่อยๆฝึกไป

ชาวพุทธทุกวันนี้ร่อยหรอสุดขีดแล้วนะ ศาสนาพุทธตกอยู่ในอันตรายที่น่ากลัวที่สุดแล้ว ศาสนาพุทธแท้ๆที่สืบทอดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเถรวาทเหลือนิดเดียวแล้ว เหลืออยู่ไม่กี่ประเทศ เหลือยู่ในเมืองไทย ในลังกา ในพม่า อะไรอย่างนี้

ในเมืองไทยแล้ว จริงศาสนาพุทธแทบจะเรียกได้ว่าสูญไปแล้ว หรือเกือบๆจะสูญไปแล้ว เราอย่าภูมิใจว่ามีชาวพุทธเก้าสิบกว่าเปอร์เซนต์ เก้าสิบกว่าเปอร์เซนต์นั้นเป็นคนไม่มีศาสนาต่างหาก (คนเหล่านี้-ผู้ถอด)อะไรก็ได้ ขอให้รวยก็แล้วกัน ใช่มั้ย พร้อมจะนับถืออะไรก็ได้ เอาอะไรมาห้อยก็ได้นะ ไหว้มันหมดแหละ หมู หมา กา ไก่ วัวสามขาก็ไหว้ ใช่มั้ย อะไรๆเกิดขึ้นมาเราก็นับถือหมด เทวดงเทวดา มนุษย์สร้างเทวดาแล้วมนุษย์ก็กลัวเทวดา แล้วมนุษย์ก็ไปไหว้เทวดา เราขายพระพุทธเจ้าได้นะ ขอให้รวยก็แล้วกัน

เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วเราไม่ใช่ชาวพุทธ คนส่วนมากไม่ใช่ชาวพุทธ พวกเรานี้ชาวพุทธนะ เพราะพวกเราศึกษาธรรมะ ถ้าคนไหนไม่ได้ศึกษาธรรมะไม่ใช่ชาวพุทธหรอก เป็นชาวพุทธแต่ชื่อ เป็นพุทธในทะเบียนบ้านหรือในบัตรประชาชน ไม่ใช่พุทธตัวจริง พุทธตัวจริงมีนับตัวได้เลย นับจำนวนได้เลย มีไม่เท่าไหร่หรอก หลวงพ่อกะว่าคงมีเพียงระดับหลักหมื่นเท่านั้นมั้ง คือพุทธที่ต้องศึกษาธรรมะนะ ถ้าเป็นพุทธเฉยๆ พุทธตามบรรพบุรุษอะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่หรอก

ทุกวันนี้สติปัญญาของคนตกต่ำลงเรื่อยๆ ยกตัวอย่างคนสมัยโบราณคนนับถือเทวดา นับถือเทพใช่มั้ย พอเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมา คนไม่ได้นับถือเทวดา คนนับถือธรรมะ ธรรมะคืออะไร ธรรมะคือความจริง คนยอมรับความจริง ดำรงชีวิตสอดคล้องกับความเป็นจริงแล้วก็ไม่ทุกข์ ไม่ใช่ให้คนอื่นช่วย คนเรารู้เลยว่า เราช่วยตัวเองได้ เราต้องพึ่งตัวเอง เราทำอะไรเราก็ต้องได้รับผลอย่างนั้น

มนุษย์พอเปลี่ยนจากเชื่อเทวดา เชื่อเทพเจ้า มาเชื่อในธรรมะ มนุษย์ก็จะไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิต หรือใครมาบงการ เราจะเชื่อกรรม กรรมคือการกระทำของเราเอง กำหนดชีวิตของเราเอง

เนี่ยถ้าเราทำกรรมฐานนะ รู้สึกกายรู้สึกใจ เราจะรู้เลย ชีวิตเราเปลี่ยนจริงๆนะ มันเปลี่ยนจริงๆ เราทำกรรมชั่ว เราก็เดือดร้อนจริงๆ มนุษย์ที่พัฒนาแล้วนะ พัฒนาทางสติปัญญาแล้วจะไม่เชื่อเรื่องอำนาจภายนอกนะ แต่ยอมรับเรื่องกรรมและผลของกรรมซึ่งเราทำเอง

แล้วมนุษย์ถ้าอยากให้มีสติปัญญามากขึ้น ก็ต้องศึกษาธรรมะ เรียกว่าไตรสิกขา ศึกษาเรื่องศีล ศึกษาเรื่องจิต ศึกษาเรื่องการเจริญปัญญา เมื่อศึกษาแจ่มแจ้งแล้ว จิตใจก็ไม่ยึดถืออะไร จิตใจดำรงชีวิตสอดคล้องอยู่กับธรรมะล้วนๆเลย คราวนี้ จิตธรรมะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แยกจากกัน เนี่ยมีความสุขล้วนๆ นี่เป็นพัฒนาการที่สูงที่สุดแล้วที่มนุษย์เคยมีมา แต่พวกเราเคยมีสิ่งเหล่านี้ เรากำลังสูญเสียไป

ยกตัวอย่างเราเคยมีพระพุทธเจ้า ต่อมาเราก็ลดลงมาเหลือพระพุทธรูป ท่านพุทธทาสท่านเคยพูดไว้นานแล้ว แล้วท่านทายไว้ด้วย ต่อไปไม่ใช่พระพุทธรูป ต่อไปจะนับถือรูปเจว็ดต่างๆนะ ซึ่งไม่ใช่อะไรที่เป็นศาสนาพุทธ

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้นนะ แล้วก็จะเกิดต่อไปอีก หน้าที่ของเราทุกคน ทุกคนมีความสำคัญนะ สำคัญต่อตนเอง สำคัญต่อครอบครัว สำคัญต่อสังคมที่แวดล้อมอยู่ และสำคัญที่จะสืบทอดศาสนาต่อไปอีก ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้มีโอกาสฟังธรรมะ เหมือนที่พวกเรามีโอกาส

เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาธรรมะ วิธีรักษาธรรมะที่ดีที่สุด คือ การศึกษาธรรมะ จนธรรมะเข้าไปสู่ใจของเรา ธรรมะที่ต้องศึกษาให้รู้เรื่อง คือเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน เรื่องสมถกรรมฐานเป็นของง่าย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้าก็มีสมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นต้องฟังเรื่องวิปัสสนา ก็คือการที่เรามีสติ รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาแล้วคอยรู้กายอย่างที่มันเป็น รู้จิตใจอย่างที่มันเป็น รู้มากเข้าๆนะ จนเห็นผลของการปฏิบัติ เมื่อเราเห็นผลแล้วเนี่ย เราจะเชื่อมั่น ศรัทธา ในศาสนาพุทธอย่างแน่นแฟ้น เชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่นแฟ้น คนที่จะเชื่ออย่างแน่นแฟ้นก็คือคนที่เห็นผลของการปฏิบัติแล้ว คือพระโสดาบันขึ้นไป

เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าประมาทนะ ศรัทธาของพวกเราส่วนใหญ่ซึ่งเป็นปุถุชนนี้ ยังเป็นศรัทธาที่ยังกลับกลอกได้ ตอนนี้นับถือพุทธนะ แต่อีกหน่อยอาจจะไม่นับถือก็ยังได้นะ เพราะฉะนั้นต้องพากเพียรศึกษาลงมาในกายในใจนี้ ถ้าศึกษาจนเริ่มเห็นผลแล้วนะ ให้เอาไปตัดคอซะถ้าไม่บอกว่าพระพุทธเจ้าโกหกเนี่ย ยังไงก็ไม่ยอม เพราะว่ารู้แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้โกหก ธรรมะที่ท่านสอนเป็นของจริงล้วนๆ ปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์จริงๆ เห็นได้ด้วยตนเองจริงๆ

เพราะฉะนั้นพวกเราพากเพียรไปนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

CD: แสดงธรรมที่ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
File:
500916
ระหว่างนาทีที่  ๒๔ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นาทีทองของผู้ปฏิบัติ

mp 3 (for download) : นาทีทองของผู้ปฏิบัติแนวสมถยานิก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

นาทีทองของผู้ปฏิบัติ

นาทีทองของผู้ปฏิบัติ

หลวงพ่อปราโมทย์ : สัมมาสมาธิ จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างมีความสุข ไม่ขาดสติ สงบก็สงบลงไปนิ่มๆ รู้เนื้อรู้ตัว ไม่ใช่หล่นวูบเลย ลืมตัวเองไปนะ ไม่ใช่

เสร็จแล้วพอถอยออกมาจากสมาธิ มารู้กาย มารู้ใจ โดยเฉพาะถ้าจิตถอยออกมาจากสมาธินะ เป็นนาทีทองของผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติโดยเอาสมถะนำหน้า ให้รู้ลงไปถึงความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย ในขณะนั้น จิตเมื่อตะกี้นี้มีปีติตอนนี้ไม่มี จิตเมื่อตะกี้นี้มีความสุขตอนนี้ไม่มี จิตเมื่อตะกี้นี้เฉยๆต้องนี้ชักไม่เฉยแล้ว วิ่งไปวิ่งมา เนี่ยเราจะเริ่มเห็นความไม่เที่ยง

หลวงพ่อพุธท่านเคยสอน บอกว่า ตรงนี้คือนาทีทองนะ พวกเรารู้จักแต่นาทีทองที่จะไปซื้อของ จะไปจับฉลาก เราไม่รู้จักนาทีทองของการปฏิบัติ

นาทีทองของการปฏิบัติ ตอนที่จิตถอยออกจากความสงบ หรือตอนที่ตื่นนอน คนไหนทำฌานไม่ได้นะ ตอนที่ตื่นนอนมาปุ๊บเนี่ย ให้รีบมีสติ รู้ทันจิตใจของตนเองที่กำลังเปลี่ยแปลงไป ต่อหน้าต่อตา นี่คือนาทีทองของการปฏิบัตินะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

โครงการหัวใจบริสุทธิ์ : อ่านและ Download หนังสือหัวใจบริสุทธิ์ ฉบับ E-Book

คลิ๊กที่รูปเพื่ออ่านออนไลน์ หรือ >>> คลิ๊กตรงนี้ <<<

Download >> หนังสือหัวใจบริสุทธิ์

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เมื่อเกิดการเสื่อมถอยจนเหมือนภาวนาไม่เป็น

เมื่อเกิดการเสื่อมถอยจนเหมือนภาวนาไม่เป็น

ถาม : ในบางช่วงผมภาวนาจนเห็นได้ว่าสติมีความรวดเร็วในการรับรู้เวลาเผลอไปก็จะมีสติได้ดี แต่ก็จะเป็นได้อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะมีอาการเหมือนการภาวนาเสื่อมถอยลงไป จนผมไม่รู้จะภาวนายังไง เหมือนสิ่งที่เคยภาวนาเป็นหายไป คล้าย ๆ กับผมภาวนาไม่เป็นมาก่อนเลย ก็จะเป็นอย่างนี้อีกประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะกลับไปเริ่มมีสติรับรู้ได้อีก สลับกันอย่างนี้มาตลอดเลยครับ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนหลัง โดยที่ผมก็ไม่ได้ไปเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติแต่อย่างใด

ตอบ : :D

เวลาที่เกิดรู้สึกเหมือนภาวนาไม่เป็น ก็ไม่ต้องตกใจ
ไม่ต้องดิ้นรนทำให้กลับมาเหมือนเดิมนะครับ
เพราะยิ่งดิ้นรนก็ยิ่งถดถอย
ถ้าเพียงยอมรับว่าช่วงนี้สติไม่เกิด
แล้วก็ค่อย ๆ หัดตามรู้ตามดูไปตามปกติ
ถึงเวลาก็ทำตามรูปแบบไปตามปกติ
เดี๋ยวก็จะกลับมาเกิดสติได้เองครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังธรรมจากหลวงพ่อปราโมทย์ ณ วันที่ 16 ส.ค. 54

ณะนิติศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้จัดโครงการฟังธรรมอบรมจิตนำสุขสู่ชีวิตและสังคม  หัวข้อ “ธรรมะสำหรับประชาชนผู้ใช้กฎหมาย”  แก่บุคคลทั่วไป  โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ในวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2554  เวลา 13.00 – 14.00 น.  ณ  ห้องอเนกประสงค์ 307 ชั้น 3 อาคารพินิตประชานาถ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แสดงธรรมโดย พระอาจารย์ ปราโมทย์  ปาโมชฺโช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือแจ้งความประสงค์เข้าร่วมฟังธรรมบรรยายดังกล่าว ได้ที่ โทรศัพท์ 0-2218-2017 ต่อ 517, 215 และ 216  โทรสาร 0-2218-2050  หรือ E-Mail : culaw4dhamma@gmail.com

ขอเชิญ Download >>> แบบตอบรับ โครงการฟังธรรมอบรมจิตนำสุขสู่ชีวิตและสังคม เนื่องในโอกาสเข้าพรรษาประจำปี 2554

อ้างอิง : http://www.law.chula.ac.th/

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

mp 3 (for download) : ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัว ท่านไปเยี่ยมหลวงปู่เทสก์ ท่านถามหลวงปู่เทสก์ บอกว่า หลวงปู่ ที่สุดของศีลคืออะไร ที่สุดของสมาธิคืออะไร ที่สุดของปัญญาคืออะไร

หลวงปู่เทสก์ตอบในหลวงนะ ที่สุดของศีลคือเจตนาวิรัติ เจตนางดเว้นทำชั่ว ที่สุดของสมาธิคืออัปนาสมาธิ ที่สุดของปัญญาคือไตรลักษณ์

ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ เรียกได้ว่าไม่มีปัญญาจริงหรอก เป็นปัญญาตื้นๆซึ่งไม่พอที่จะต่อสู้กับกิเลส เพราะฉะนั้นที่เราภาวนาเนี่ย ก็เพื่อให้เกิดปัญญา ปัญญาก็คือการเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่าเป็นไตรลักษณ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ทนอยู่ไม่ได้ เราบังคับไม่ได้ เป็นไตรลักษณ์

พอเห็นตามความเป็นจริงแล้วอะไรจะเกิดขึ้น เมื่อเห็นตามความเป็นจริงจะเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก

เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจทิศทางของการปฏิบัติให้ดี เราไม่ได้ภาวนาเอานิ่งเอาสงบ การนิ่งการสงบเป็นการพักผ่อน เราต้องภาวนาให้เกิดปัญญา เห็นความจริงของกายของใจ อยากเห็นความจริงของกายของใจไม่ใช่คิดเอาเอง ต้องดูความจริง ดูของจริง ว่ากายจริงๆเป็นอย่างไร จิตใจจริงๆเป็นอย่างไร ไปนั่งคิดเอาเองไม่ได้ผลหรอก

การนั่งคิดเอาเองว่าร่างกายเป็นของสกปรกเปื่อยเน่าอะไรอย่างนี้ เสร็จแล้วมันก็ข่มราคะได้ชั่วคราว เดี๋ยวราคะก็เกิดอีก นี้มันเน่านะแต่ตอนนี้มันยังไม่เน่า มันยังสวยอยู่ นี่จะไปอย่างนี้ จะรู้สึกอย่างนี้

แต่ถ้าเราเห็นราคะเกิดขึ้นมาแล้ว แล้วราคะเบียดเบียนจิตใจ สติรู้ทันราคะดับไปเลย ไม่ต้องไปกังวลว่าจะมีราคะเพราะไปเห็นสาวสวยหรอก การเห็นสาวสวยก็เรามีบุญเราก็ได้เห็นของสวย ช่วยไม่ได้ ใช่มั้ย การที่เราได้เห็นของสวยหรือของไม่สวย มันอยู่ที่วิบาก ทำบุญมาดีเราก็เห็นของสวย เช่น เราเห็นสาวๆสวยๆอะไรอย่างนี้ ก็คนมันมีบุญน่ะ ไม่ใช่เห็นแต่ของน่าเกลียด

แต่ว่าเมื่อเราไปกระทบ นัยน์ตามองเห็นสาวสวยแล้วจิตเกิดราคะ ปัญหามันอยู่ตรงนี้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เห็นของสวย จิตเกิดราคะแล้วจะทำอย่างไร ถ้าไปพิจารณาสาว ว่าสาวนี้สกปรก ไม่งาม มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ มีรูรั่วใหญ่ๆ ๙ รู มีรูรั่วเล็กๆนับไม่ถ้วน มีของโสโครกไหลออกมาเป็นนิตย์ พิจารณาอย่างนี้ ก็ข่มราคะได้ชั่วคราว อันนี้เรียกว่าสมถกรรมฐาน แต่ถ้าเห็นสาวสวย จิตเกิดราคะ รู้ว่ามีราคะ จิตก็ไม่ใช่เรา ราคะก็ไม่ใช่เรานะ ภาพที่มองเห็นคือสาวก็ไม่ใช่เรา อะไรๆก็ไม่มีเรา อันนี้เรียกว่าเดินวิปัสสนา ถอดถอนความเห็นผิดลงไป มันจะแก้ปัญหาได้ถาวร

เพราะฉะนั้นที่เรามาเรียน ๓ วัน ๔ วัน เรียนเพื่อให้รู้วิธีนะ รู้วิธี เราต้องรู้เป้าหมาย วิธี เป้าหมายของเราก็คือ เราจะต้องรู้กายรู้ใจ จนเห็นความจริงของกายของใจว่าเป็นไตรลักษณ์ จนหมดความยึดถือกายยึดถือใจ จิตก็จะเข้าถึงวิมุติหลุดพ้น เป้าหมายของเรา ส่วนวิธีการก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน

การเจริญสติปัฏฐานมี ๒ ส่วน ส่วนที่เป็นสมถะ กับส่วนที่เป็นวิปัสสนา อย่านึกนะว่าทำสติปัฏฐานแล้วจะต้องเป็นวิปัสสนาเสมอไป ถ้ารู้กายถ้ารู้ใจ แต่ไม่เห็นไตรลักษณ์ ไม่เรียกว่าวิปัสสนานะ เป็นสมถะ ถ้าเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ถึงจะเป็นวิปัสสนา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ทำอย่างไรจะให้จิตตั้งมั่นได้ยาวนานขึ้น ?

ทำอย่างไรจะให้จิตตั้งมั่นได้ยาวนานขึ้น ?

ถาม : ทำอย่างไรจึงจะมีจิตตั้งมั่นได้ยาวขึ้น โดยปราศจากกิเสสของความอยาก หรือการเพ่ง การฝึกสมถะกรรมฐานตามสมควรหรือพอดีในแต่ละวัน จะช่วยให้จิตตั้งมั่นได้นานขึ้นหรือไม่ ?

ตอบ : หากคิดจะทำ คิดจะหาทางทำให้ตั้งมั่นได้ยาวนานขึ้น
แม้แต่จะทำสมถะเพื่อจะให้จิตตั้งมั่นยาวนานขึ้น ก็ผิดหลักแล้วครับ
ผิดเพราะ เราไม่ได้หัดภาวนาเพื่อจะเอาจิตที่ตั้งมั่นยาวนานหรอกครับ
แต่เพื่อให้เห็นว่าจิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
หากสามารถทำจิตให้ตั้งมั่นได้ตามที่อยาก จิตก็เป็นอัตตาซิครับ

แค่เห็นจิตตั้งมั่น เห็นจิตไม่ตั้งมั่น ไปอย่างมีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเป็นกลาง
ก็จะเห็นจิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เกิดปัญญาขึ้นได้แล้วครับ


สติ ที่เราฝึกให้มีบ่อย ๆ นี่
ก็เพื่อเป็นเครื่องมือไว้ใช้ในการดูจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ไม่ตั้งมั่น
(หรือใช้ดูกาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐาน ๔)
สติไม่สามารถทำให้จิตตั้งมั่นได้ยาวนานนะครับ
เพราะยังไงจิตก็เกิดดับที่ละขณะ
แต่ถ้าทำสมถะจนถึงฌาน จะช่วยให้จิตตั้งมั่นเกิดดับต่อเนื่องกันยาวนานได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การตามดูจิต

mp 3 (for download) : การตามดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การตามดูจิต

การตามดูจิต

โยม : อยากเรียนถามอาจารย์ว่า การดูจิตน่ะครับ ไม่ทราบว่า สิ่งที่เราตามไปดูมันคือจิตที่แว้บไปแว้บมาใช่มั้ยครับ แล้วสิ่งที่ดูนี้คืออะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ดูนั้นคือจิตนั่นเอง เราใช้จิตดูจิต จิตดวงใหม่ไปดูจิตดวงก่อนที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เช่น จิตตะกี้นี้เผลอไป เกิดจิตดวงใหม่ไปรู้ว่าจิตตะกี้นี้เผลอไป เป็นจิตคนละดวงกัน ท่านถึงใช้คำว่า “จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง” จิตนั่นแหละเป็นคนเห็นจิต แต่ว่าเป็นจิตคนละดวง ไม่ใช่จิตดวงเดิม ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ทั้งวันทั้งคืน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๖
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔๖ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : ขอเชิญร่วมกันช่วยวัดป่าโนนจ่าหอม เนื่องจากพื้นวัดถล่ม

ขอเชิญร่วมกันช่วยวัดป่าโนนจ่าหอม เนื่องจากพื้นวัดถล่ม

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : มีปากเสียงด่าว่า บิดามารดามีผลต่อการภาวนาหรือไม่?

มีปากเสียงด่าว่า บิดามารดามีผลต่อการภาวนาหรือไม่?

ถาม : มีปากเสียง ด่า พ่อ แม่  มีผลทำให้ยากในการปฏิบัติถึงนิพพาน หรือบาปบุญอย่างไรครับ?

ตอบ : การที่จิตมีกิเลสแล้วแสดงออกทางกายวาจา ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง
หากเป็นบ่อยๆ จิตก็ยากจะสงบ ยากจะตั้งมั่น ยากจะรู้สึกตัว
แต่กรณีนี้หากตั้งใจจะไม่ทำอีก ก็จะเป็นการดี แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติภาวนาต่อไป
ก็สามารถเจริญในธรรมไปได้ตามลำดับครับ
แต่ถ้ายังไม่พยายามที่จะสำรวมกายวาจา หนทางก็ย่อมยากลำบาก
และถ้าพลาดไปทำกรรมหนักก็จะถึงกับปิดกั้นมรรคผลในชาตินี้ได้นะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีสติ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

mp 3 (for download) : ต้องมีสติและสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องมีสติ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

ต้องมีสติ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเรารุ่นหลังๆคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติมากขึ้นๆ แทนที่สติจะระลึกรู้กาย สติระลึกรู้ใจ เราเอาสติไปกำหนดกายกำหนดใจ เช่นกำหนดลมหายใจ กำหนดอิริยาบถ ๔ กำหนดเวทนา กำหนดไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

สติจริงๆคือความระลึก ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของกาย ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของใจ ถ้าเมื่อไหร่เราใจลอย เราจะระลึกไม่ได้ถึงความมีอยู่ของกายของใจ กายกับใจมีอยู่ แต่เหมือนกับหายไป สังเกตมั้ยตอนที่ใจลอย คือตอนที่ดูพระพุทธรูปเมื่อตะกี้นี้ กายก็ยังมีอยู่นะ แต่เราลึมมันไป จิตใจก็มีอยู่แต่เราลืมมันไป นี่เรียกว่าขาดสตินั่นเอง ลืมกายลืมใจ สติเป็นเครื่องระลึกรู้ความมีอยู่ของกายความมีอยู่ของใจ ศัตรูของสติคือความขาดสติ ความเผลอความหลงนั่นเอง ความใจลอยนั่นเอง ความเหม่อ

ทีนี้พอเรามีสติแล้ว ใจเราต้องมีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิคือใจตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าเห็น ตั้งมั่นแบบนุ่มนวล อ่อนโยน ตั้งมั่นแบบเบาๆนะ เรียกว่ามีลหุตา ใจเราเบา มีมุทุตา ใจเราอ่อนโยนนุ่มนวล มีกัมมัญญตาควรแก่การงาน คือไม่ถูกกิเลสครอบงำ ยกตัวอย่างภาวนาด้วยความอยากปฏิบัติ อยากได้มรรคผลนิพพาน อยากปฏิบัติ เรียกว่ามีกิเลสครอบงำ จิตไม่ควรแก่การงาน จิตดวงนั้นเป็นอกุศล

จิตที่เป็นกุศล คล่องแคล่ว ว่องไว เรียกว่าปาคุญญตา ไม่ใช่ซึมทื่อๆ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย น้อมจิตให้ซึมทื่อ นั่นทำลาย ปาคุญญตา ลงไปแล้ว จิตที่ซึมทื่อเป็นอกุศลจิต เอาจิตที่เป็นอกุศลมาเจริญวิปัสสนาไม่ได้ จิตที่เป็นกุศล มีอุชุกตา คือซื้อๆ ซื่อตรงในการรู้อารมณ์ กายเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้น จิตเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้น ซื่อๆ เพราะฉะนั้นเราต้องมีจิตที่มีสัมมาสมาธิ จิตของเราต้องสบาย ต้องผ่อนคลาย รู้เนื้อรู้ตัว ไม่หลงไม่เผลอไป ครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า “จิตผู้รู้”

จิตผู้รู้ก็ไม่ใช่จิตที่แข็งกระด้าง ไม่ใช่จิตที่ทื่อๆ ซึมๆ จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่าลืมคำว่าเบิกบาน อย่าลืมคำว่าตื่น ยกตัวอย่างนั่งอยู่นะ แล้วบอกว่ารู้อยู่นะ แต่ซึมๆอยู่นี้เรียกว่าไม่ตื่น นั่งอยู่แล้วแข็งกระด้าง ไม่เบิกบาน นั่นไม่ใช่จิตผู้รู้ นั่นเป็นจิตผู้เพ่ง เพราะฉะนั้นเราต้องมีจิตที่มีคุณภาพนะ มีสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่น อ่อนโยน นุ่มนวล เบา เป็นกลาง สบาย คล่องแคล่วว่องไว ซื่อตรง ในการรู้กายรู้ใจ

พอเรามีจิตชนิดนี้ขึ้นแล้ว เวลามีสติระลึกรู้กาย เราจะเห็นความจริงของกาย การเห็นความจริงของกายเรียกว่าปัญญา มีสติระลึกรู้จิตใจ แล้วก็จะเห็นความเป็นจริงของจิตใจ แล้วก็จะเห็นความจริงของจิตใจ การเห็นความจริงนั้นแหละเรียกว่าปัญญา

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเครื่องมือ คือ สติ มีสัมมาสมาธิ มีปัญญา สติเป็นความระลึกได้ถึงกายถึงใจ ไม่ลืมกายไม่ลืมใจ ไม่เผลอ ไม่ใจลอยไป

สัมมาสมาธิ ใจเบา ใจนุ่มนวล ใจอ่อนโยน ไม่ใช่ไปเพ่งกายเพ่งใจ เพราะฉะนั้นพวกเผลอไปก็คือพวกขาดสติ พวกเพ่งกายเพ่งใจก็คือพวกขาดสัมมาสมาธิ เพ่งแล้วใจทื่อๆ ถ้าเราไม่เผลอไปกับเราไม่เพ่งไว้ เรียกว่าเรามีสติ เรามีสัมมาสมาธิ เมื่อใดมีสัมมาสมาธิมีสติแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เราจะเห็นทันทีว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา หลวงพ่อขอย้ำว่า เห็นทันทีนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๑
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : สาระควรรู้เกี่ยวกับการดูจิต(จิตตานุปัสสนา)ในชีวิตประจำวัน

สาระควรรู้เกี่ยวกับการดูจิต(จิตตานุปัสสนา)ในชีวิตประจำวัน

ถาม : ถ้าผมจะฝึกสมถะคู่ไปกับการดูจิต(จิตตานุปัสสนา)ในชีวิตประจำวันจะเป็นการดีไหมครับ ?

ตอบ : การทำความสงบหรือทำสมถะ เป็นสิ่งที่ควรทำครับ
เพราะจะช่วยให้จิตสงบ และมีกำลังมาหัดดูกายดูจิตได้ง่ายขึ้น
แต่ควรเลือกเอาอารมณ์กรรมฐานที่เนื่องด้วยกายด้วยจิตตัวเองนะครับ
เพราะถ้าไปใช้อารมณ์ภายนอก เช่นเพ่งกสิณ
จะทำให้จิตยากที่จะกลับมาดูกายดูจิตครับ

ถาม : การที่ผมใช้วิธีดูกาย ขณะเดินในชีวิตประจำวันคู่ (กับการดูจิต) ไปด้วยจะได้ดีไหมคับ ?

ตอบ : การดูกายเคลื่อนไหวในขณะใช้ชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ควรทำมากๆ ครับ
แต่ต้องดูแบบมีจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูกายเคลื่อนไหว
อย่าส่งจิตไปจดจ่อแนบอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น อย่าส่งจิตไปแนบอยู่ที่เท้าหรือขา
แต่ให้มีจิตเป็นคนดูกายโดยรวมที่กำลังขยับกำลังเคลื่อนไหวครับ
ซึ่งพอดูๆ ไป เดี๋ยวจิตก็จะหนีไปคิด
(อย่าพยายามฝืนหรือบังคับจิตไม่ให้คิดนะครับ)
แล้วพอรู้ว่าจิตหนีไปคิดได้แล้ว ก็ให้มาดูกายต่อไปใหม่

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

mp 3 (for download) : ภาวนาแล้วติดว่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

โยม : ทุกครั้งที่ทำก็จะมี รู้สึก เหมือนเจอแต่ที่ว่างน่ะครับ แบบไม่ได้รู้สึกอะไรมากเท่าไหร่

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าอยู่ๆดูลงไปทีไรก็ว่าง ยังจงใจดูอยู่ เลิกปฏิบัติซะ แล้วให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา พอกระทบแล้วปล่อยให้จิตใจเกิดความรู้สึก ปฏิกริยาทั้งหลายเนี่ย รู้สึกขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน อย่าไปจงใจปฏิบัติด้วยการทำความรู้สึกตัวไว้ตลอดเวลา ถ้าจงใจทำความรู้สึกตัว มันจะเหมือนแกล้งรู้สึกนะ จะรู้สึกๆตลอดเวลาเลย จะกลายเป็นการเพ่งเอาไว้ จะโล่งๆ ใจมันจะโล่งๆไม่มีอะไร แต่ถ้าเราไม่ได้เจตนาจะรู้สึกเนี่ย เผลอๆไป เห็นคนนี้ก็ดีใจ เดินๆอยู่งูเลื้อยผ่านมาแล้วตกใจ มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา

ของคุณมันเป็นประคองไว้นิดนึง มันก็เลยเฉย คอยดูนะ สังเกตมั้ย เรายังจงใจรักษาจิตไว้ อย่ารักษามัน เราไม่มีหน้าที่รักษาจิตนะ หน้าที่ของการรักษาจิตเป็นหน้าที่ของสติ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ทันทีที่สติเกิดเนี่ย สติจะรักษาจิตโดยอัตโนมัติ รักษาอย่างไร ถ้าจิตในขณะนั้นเป็นอกุศลอยู่ อกุศลจะดับ รักษาอย่างไร อกุศลจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ในขณะที่มีสติ รักษาอย่างไร ทันทีที่มีสติ จิตก็เกิดกุศลเรียบร้อยแล้ว แล้วก็กุศลจะเกิดมากขึ้นๆ สติจะเกิดได้เร็วขึ้นๆนะ

เพราะฉะนั้นสตินั่นแหละมีหน้าที่รักษาจิต เราไม่มีหน้าที่รักษา ถ้าเมื่อไหร่เราคิดจะรักษาจิต อยากรู้สึกตัวตลอดเวลาเนี่ย เราจะไปเพ่งจิต มันเลยกลายเป็นการเพ่ง ไม่ใช่การรักษาจิตอะไรหรอก กลายเป็นการเพ่งให้จิตนิ่งๆ อย่าไปรักษามันอย่างนั้น ให้หัดฝึกไปจนสติเกิด แล้วสติก็รักษาจิตของเขาเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๔
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รถตู้ฟรี เดือนสิงหาคม

รถตู้ฟรี เพื่อไปฟังธรรม สวนสันติธรรม

รถตู้ฟรี เพื่อไปฟังธรรม สวนสันติธรรม


หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม

ไม่มีการแสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม

รถตู้โดยกลุ่มธรรมดา.net ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางกลุ่มธรรมดา.net

รถตู้โดยกลุ่มธรรมทาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางรถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น

รถตู้โดยลุงเมา (คณะเจ้าภาพหลากหลาย) กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางรถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น

รถตู้โดยชมรมพุทธศาสน์ กฟผ. กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางรถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น

1. รถตู้โดยกลุ่มธรรมดา.net

สิงหาคม พ.ศ.2554 (ดูรายการรถตู้ฟรีโดยเ้จ้าภาพท่านอื่น คลิ้กที่นี่)

วัน เวลา นัดพบ วันที่รับสมัคร
วันอาทิตย์ที่ 7 ส.ค. 54 5.00 น. ปั๊มปตท. รังสิต 25 ก.ค. – 3 ส.ค. 54
วันอาทิตย์ที่ 14 ส.ค. 54 5.00 น. ปั๊มปิโตรนาส เจริญนคร 1 – 10 ส.ค. 54
วันเสาร์ที่ 20 ส.ค. 54 5.00 น. ปั๊มเอสโซ่ สถานีอารีย์ 8 – 17 ส.ค. 54
ของด รอบบางแค เนื่องจากหลวงพ่อมีกำหนดไปเทศน์ที่บ้านจิตสบายในวันอาทิตย์ที่ 28 ส.ค. 54 5.00 น.
5.10 น.
ปั๊มเอสโซ่ บางแค
ปั๊มปตท. พระราม 2
x-x-x

แผนที่
(คลิ้กที่ภาพ เพื่อดูแผนที่ขนาดเต็ม)

แผนที่ ปั๊มพ์ ปตท.รังสิต

แผนที่ ปั๊มพ์ ปตท.รังสิต

แผนที่ ปั๊มเอสโซ่บางแค

แผนที่ ปั๊มเอสโซ่บางแค

ปั๊มปตท.พระราม 2

ปั๊มปตท.พระราม 2


โดยมีรายละเอียดและการสำรองที่นั่ง ดัง นี้
1. กรุณาสำรองที่นั่งภายในวันเวลาที่ รับสมัคร โดยส่งชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และจำนวนที่นั่งที่ต้องการจองมาที่

    คุณเอ้ หมายเลขโทรศัพท์: 089-445-6269 (เวลา บ่าย 2 ถึง 2 ทุ่ม ทุกวัน)
    คุณดี หมายเลขโทรศัพท์: 089-694-2994
    โดยโทรศัพท์ หรือ ส่งข้อความเท่านั้น กรุณาอย่าฝากข้อความ

2. ทางกลุ่มฯของดรับบริจาคหรือเรี่ยไร สมทบทุนทุกกรณี หากมีการเรี่ยไรจากผู้ให้บริการ จะไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มฯ และทุกท่านมีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องสมทบทุนได้ และหากมีกรณีเช่นนี้ขอความกรุณาแจ้งมาทางเมล์ของกลุ่มฯด้วยครับ

3. หากมีปัญหาจากการให้บริการ หรือไม่ได้รับความสะดวกประการใด หรือมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาติดต่อมาที่ van.dhammada.net@gmail.com ได้

4. อนึ่งขอให้ทุกท่านตรงต่อเวลาและใน กรณีที่มีเหตุจำเป็นจะยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้สิทธิ์ในการเดินทางด้วยครับ

2. รถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น

รายการรถตู้ฟรีเพิ่มเติม เพื่อเดินทางไปฟังธรรมที่สวนสันติธรรม (ดูรายการรถตู้ฟรีของ Dhammada.net คลิ้กที่นี่)

วันและเวลาออกเดินทาง จุดนัดพบ การสำรองที่นั่ง คณะเจ้าภาพ
5.30 น. อาทิตย์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน Mc Donald’s ที่ แมกซ์วาลู ศรีนครินทร์
(เปิด 24 ชม.)
ติดต่อ02-717-5111
ที่คุณกบ หรือ
คุณหนิงเท่านั้น
กลุ่มธรรมทาน
5.00 น. อาทิตย์ที่ 1 ของทุกเดือน ปั๊ม ปตท สนามเป้า ข้าง ททบ. 5
ตรงข้าม รพ.พญาไท 2
ติดต่อ ลุงเมา
084-360-6881,
086-780-4368,
086-556-2623
บ้านขนมนันทวัน จ.เพชรบุรี
5.00 น. อาทิตย์ที่ 2 ของทุกเดือน บ.สาลี่เอกชัย จ.สุพรรณบุรี
5.00 น. เสาร์หรืออาทิตย์ที่ 3
ของทุกเดือน
บ.ชัยรัชการ จก.
โตโยต้า บางนา-ตราด กม. 16
5.00 น. อาทิตย์ที่ 4 ของทุกเดือน กลุ่มเพื่อน ทพญ. ยาหยี,
ทพญ. จ๊ะจ๋า,
คุณ เจษฎ์จรรย์
5.00 น. อาทิตย์ที่ 5 ของทุกเดือน (ถ้ามี) คุณสุปรียา (น้อง)
5.00 น. อาทิตย์ที่ 2 ของทุกเดือน ม.เอเชียอาคเนย์ ม.เอเชียอาคเนย์
5.00 น. เสาร์ที่ 2 ของทุกเดือน
(กรุณาสำรองที่นั่ง
ก่อน 12.00 น.ของวันพฤหัสที่ 2 ของเดือน)
หน้าป้อมยาม กฟผ. ถ.จรัญสนิทวงศ์ ติดต่อ คุณใกล้รุ่ง
080-465- 4924
เวลา 9.00-20.00 น.
ทุกวัน หรือ
mdc@egat.co.th
กิจกรรมพัฒนาจิต
อ. บางกรวย จ. นนทบุรี
ชมรมพุทธศาสน์ กฟผ.

เนื่องจากเป็นการเดินทางของหมู่คณะ ขอให้ทุกท่านตรงต่อเวลา และในกรณีที่มีเหตุจำเป็นจะยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกล่วงหน้าเพื่อให้ผู้อื่นได้มีโอกาสเดินทางแทน
หมายเหตุ
1. จะไม่มีการเดินทางตามตารางข้างต้นหากวันเดินทางที่กำหนดไว้ตรงกับวันที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรมปิด
2. รอบรถตู้ข้างต้นของดรับบริจาคหรือเรี่ยไร ทุกกรณี หากญาติธรรมมีความประสงค์จะร่วมบุญ กรุณาติดต่อเจ้าภาพโดยตรง หากมีการเรี่ยไรให้ช่วยค่าใช้จ่ายจากคนขับรถตู้ ขอความกรุณาแจ้งมาทาง santi.vangroup@gmail.com
3. หากมีข้อร้องเรียน คำถาม หรือมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาติดต่อมาที่ santi.vangroup@gmail.com หรือ mdc@egat.co.th (ในกรณีที่เป็นรถตู้ของชมรมพุทธศาสน์ กฟผ.)

ขออนุโมทนาคณะเจ้าภาพและญาติธรรมผู้แสวงหาธรรมะทุกท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : หลักในการภาวนา (แนวดูจิต-จิตตานุปัสสนา)

หลักในการภาวนา (แนวดูจิต-จิตตานุปัสสนา)

หลักในการภาวนาคือ ในขณะนั้นเห็นอะไรก็ให้แค่รู้ไป
เช่นเห็นว่าจิตไม่มีโทสะ ก็ให้รู้ว่าจิตไม่มีโทสะเท่านั้นเองครับ
หรือพอเห็นว่าจิตไม่มีโทสะ แล้วเกิดสงสัย ก็ให้รู้จิตสงสัยไปเลยครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง

mp 3 (for download) : การดูจิตเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : กรรมฐานดูจิตดูใจ เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง เพราะเราเป็นนักคิด แต่ละคนเป็นนักคิด ในอภิธรรมก็สอนนะ พวกที่ทิฏฐิจริต พวกชอบคิดน่ะคิดมาก เหมาะกับการดูจิต

หลวงปู่ดูลย์เคยบอกหลวงพ่อนะ ก่อนท่านมรณภาพไม่นาน ท่านเคยบอกไว้ บอกว่า ต่อไปการดูจิตจะรุ่งเรืองในเมือง ตอนนั้นเราฟังเราก็ไม่เชื่อหรอกนะ แต่เราเคารพครูบาอาจารย์เราก็ไม่เถียง ถามว่าในใจเชื่อมั้ย ไม่ค่อยเชื่อ เพราะไปที่ไหนก็มีแต่คนดูกาย แทบทุกคนนะมีแต่เรื่องดูกาย เวลานี้มันเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ไม่ใช่ว่าอะไรหรอก เพราะว่าสังคมมันเปลี่ยน

แต่เดิมสังคมเราเป็นสังคมเกษตร คนชนบทเยอะ คนทำไร่ทำนาอะไรอย่างนี้ สิ่งที่เขาปราถนาในชีวิตนะ คือความสุขความสงบในชีวิต อะไรอย่างนี้ วันๆไม่อยากจะคิดมาก จิตใจที่เป็นพวกตัณหาจริตเนี่ย รักความสุขรักความสงบรักความสบาย อะไรพวกนี้ ต้องพิจารณากาย ต้องมารู้กาย เพราะฉะนั้นคำสอนรุ่นก่อนที่ครูบาอาจารย์พาทำมาก็คือ ทำความสงบเข้ามาแล้วมาพิจารณากาย ถูกต้องเหมาะสมกับการปฏิบัติของคนกลุ่มหนึ่งนะ กลุ่มที่เป็นตัณหาจริต

ส่วนกลุ่มของพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมากเนี่ย จะไปทำความสงบขึ้นมาก่อน จิตจะไม่ยอมสงบเพราะจิตจะชอบฟุ้งซ่าน ก็เลยต้องดูจิตใจเอา

ในอภิธรรมสอนนะ บอกว่าพวกตัณหาจริตเนี่ยให้รู้กายไป เพราะกายนี้จะสอนให้เห็นความจริงว่าไม่สวยไม่งาม ไม่สุขไม่สบาย พวกตัณหาจริตรักสุขรักสบาย รักสวยรักงาม พอมาดูกายแล้วก็จะหมดความยึดถืออย่างรวดเร็ว แต่การดูกายมีเงื่อนไข ต้องทำสมาธิก่อน เพราะฉะนั้นในแนวครูบาอาจารย์วัดป่า ท่านให้ทำสมาธิก่อนนั้นถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อทำสมาธิแล้วก็ออกมารู้กาย ดูกายไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ทำสมาธิเพื่อจะทำสมาธินะ ทำสมาธิแล้วต้องค้นคว้ารู้อยู่ในร่างกายนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกไปเรื่อย นี่แนวหนึ่ง สำหรับคนซึ่งรักสุขรักสบาย รักสวยรักงาม

อีกแนวหนึ่งสำหรับพวกคิดมาก เขาเรียกว่าพวกทิฎฐิจริต ในอภิธรรมสอนบอกว่า ทิฎฐิจริตนี้เหมาะกับการดูจิต แล้วก็การดูจิตเนี่ยเหมาะกับวิปัสสนายานิก เหมาะกับคนที่ดูเลยไม่ต้องทำฌาน ดูเข้าไปก่อน แล้วสมาธิเกิดทีหลัง

เพราะฉะนั้นการที่ทำความสงบแล้วดูกายจนเกิดปัญญาขึ้นมา ก็เป็นการปฏิบัติแบบที่เรียกว่า ใช้สมาธินำปัญญา ส่วนการดูจิตดูใจนี้นะ แล้วก็เกิดความสงบขึ้นทีหลังเนี่ย ใช้ปัญญานำสมาธิ

การปฏิบัติมีหลายแนวทาง ทางใครทางมัน แล้วแต่ว่าความสะดวกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ทางใดผิดนะ ในที่สุดทุกคนก็จะมีทั้งสมาธิและปัญญา เข้าถึงวิมุติหลุดพ้นอันเดียวกัน

พอขึ้นไปถึงยอดเขาได้แล้ว คราวนี้จะรู้แล้วว่าทางขึ้นเขาไม่ได้มีเส้นเดียวอย่างที่เราเคยคิดไว้ ยกตัวอย่างคนที่กำลังไต่เขาขึ้นไป จะคิดว่าทางขึ้นเขาที่ดีที่สุดคือเส้นที่เราเดินอยู่นี่แหละ เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์องค์ใดนะ ถ้าท่านขึ้นยอดเขาไปแล้วเนี่ย เวลาท่านสอนท่าจะสอนกว้างขวาง บางคนท่านก็สอนดูกาย บางคนท่านก็สอนดูจิต ท่านรู้ว่าทางเดินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ต้องลอกเลียนแบบกัน

หลวงพ่อเลยไม่จัดคอร์ส เพราะจริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน ใครเหมาะอย่างไรก็ไปทำเอา หลวงพ่อมีแต่ไล่ ไปสิโน่นภูเขา เรือนว่าง ใช่มั้ยนี่ถ้าสมัยโบราณ เดี๋ยวนี้ไม่มี ไปสิบ้านของเธอเองน่ะ บ้านใครบ้านมันไปทำเอา

ฝึกเอานะ ไม่ยากหรอก ถ้าจะเอาสมาธิก็ทำสมาธิ พอจิตถอยออกจากสมาธิ มีสติรู้ทัน ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตไป เจริญสติในชีวิตประจำวันเลย

จะได้เหมือนที่หลวงปู่มั่นบอกว่า ให้ทำความสงบไว้ แล้วก็พิจารณากาย แล้วก็มาเจริญสติในชีวิตประจำวัน ถ้าเอาแต่ความสงบนะก็เนิ่นช้า เอาแต่พิจารณาก็ฟุ้งซ่าน ส่วนการปฏิบัติที่สำคัญที่สุดก็คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ตัวนี้ล่ะที่ทำให้บรรลุมรรคผล หรือไม่บรรลุมรรคผล ไม่ใช่นั่งสมาธิเก่งหรือไม่เก่งนะ คนละเรื่องกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๔
ระหว่างนาทีที่ ๔๓ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จิตส่งออกนอกเมื่อตาเห็นรูป

จิตส่งออกนอกเมื่อตาเห็นรูป

ถาม : เมื่อวันก่อนตาเห็นคนกำลังพูดอยู่ แต่เหมือนสติเค้าไปรับรู้ถึงคนนั้นเป็นรูปที่เคลื่อนไหว อย่างนี้ถือเป็นจิตส่งออกนอกรึป่าวคะ ?

ตอบ : ต้องสังเกตว่า ขณะนั้นจิตออกไปอยู่ที่คนซึ่งกำลังเห็นอยู่หรือไม่
ถ้าจิตไปอยู่ที่คนนั้น ก็แสดงว่าส่งออกนอกไปแล้วครับ

แต่ถ้าส่งออกแล้ว หากสติเกิดได้ จิตก็จะกลับมาอยู่กับกายกับใจตัวเอง
ก็อาจรู้สึกได้ว่าคนนั้นเป็นรูปภายนอกที่เคลื่อนไหวอยู่ได้ครับ

ถาม : คือว่าถ้าตาไปเห็นรูป สติที่ระลึกรู้ก็ถือว่า จิตส่งออกนอกแล้ว อย่างนั้นใช่มั้ยค่ะ ?

ตอบ : โดยปกติของทั่วไปอย่างผมหรือคุณ
ในแวบแรกที่ตาเห็นรูป จิตจะส่งออกนอกไปก่อนเสมอ
แต่ถ้าจิตจำสภาวะที่ส่งออกนอกได้ ก็จะเกิดสติจากการเห็นว่าจิตส่งออกนอก
พอเกิดสติ จิตที่ส่งออกนอกจะดับไป เกิดเป็นจิตที่มีสติ
จิตที่มีสติจะตั้งมั่นอยู่กับกายกับใจตัวเอง(ไม่ส่งออกนอก)ในขณะที่กำลังเห็นรูปได้ชั่วขณะหนึ่งครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อิทธิบาท ๔ ธรรมะที่ให้ความสำเร็จ

mp 3 (for download) : อิทธิบาท ๔ ธรรมะที่ให้ความสำเร็จ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อิทธิบาท ๔ ธรรมะที่ให้ความสำเร็จ

อิทธิบาท ๔ ธรรมะที่ให้ความสำเร็จ

หลวงพ่อ : พอมาเจอหลวงปู่ดูลย์ ท่านบอกให้ดูจิต พอได้ยินคำว่าดูจิตมันตื่นเต้น เราทำไมไม่เคยดูจิตตัวเอง ทำไมเราไม่เคยรู้จิต เราก็มาตามดู รู้สึกแต่ละวันไม่เคยเหมือนกันเลย แต่ละวันไม่เคยเหมือนเลย บางวันสุข บางวันทุกข์ บางวันดี บางวันร้าย เดี๋ยวโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหลง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ใหม่ๆก็อยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ หาทางเข้าไปจัดการ วันไหนจัดการได้ก็กูเก่ง-กิเลสเกิดอีกแล้ว วันไหนจัดการไม่ได้กูแย่-นี่ก็กิเลสอีกแล้ว

ฝึกอยู่ 3 เดือน ไปหาหลวงปู่อีก หลวงปู่บอกมัวแต่หลงไปยุ่งอยู่กับการแก้อาการ ใช้ไม่ได้ ก็เลยมาตามรู้ตามที่เขาเป็น มันสนุกที่ได้รู้ การที่เราได้สนุกที่ได้รู้กาย สนุกที่ได้รู้ใจ เรียกว่ามีฉันทะ มีความสุขที่ได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่ง คือในการปฏิบัติต้องมีฉันทะ คือมีความพอใจ มีความสุข ที่จะได้รู้จิตรู้ใจตัวเอง หรือบางคนรู้กาย ก็มีความสุขที่จะได้รู้กาย

เมื่อมีความสุขที่ได้รู้จิตรู้ใจ รู้กาย มันจะเกิดวิริยะขึ้นเอง จำไว้นะเกิดเอง (หมายถึง ไม่ได้จงใจบังคับให้เกิด – ผู้ถอด) ถ้ามีฉันทะแล้ววิริยะเกิดเอง จะขยันดู เพราะมันมีความสุขที่ได้ดู ทุกครั้งที่ดู ทุกครั้งที่มีสติ ทุกครั้งที่รู้สึกตัว มันก็เกิดความสุขผุดขึ้นมาในโดยอัตโนมัติ อัตโนมัตินะไม่ใช่แกล้งทำให้สุข จะมีความสุขทันทีเลย เพราะจิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เพราะฉะนั้นเราฝึกจนสติเกิด จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีความสุข มีความสุขแล้วจะขยันดู ยิ่งดูยิ่งมีความสุขนะ ดูไปเรื่อยๆ วิริยะเกิด จิตใจก็จะจดจ่อ คอยจะเรียนรู้ตนเอง เรียกว่า จิตตะ วันๆเคล้าเคลียแต่เรื่องการปฎิบัติ เรียกว่าวิมังสาเวลาทำงานก็เหมือน เอ้อ.. ทำๆไป พออยู่ไปวันๆนะ แต่โตเร็ว หลวงพ่อทำงานหลายแห่งนะ แต่โตเร็วมากเลย เพราะเวลาเราทำ เราสมาธิเยอะ จิตใจมันจดจ่อ

ยกตัวอย่าง เวลาทำงานเมื่อก่อนอยู่องค์การโทรศัพท์ ยังมีมามั้ยวันนี้ อ้อ..มา บางวันนะ เจ้านายหลายคน ผู้อำนวยการ รองหลายคน มาล้อมโต๊ะไว้เลย ให้เราคีย์ คีย์ใส่คอมพ์เลยนะ ไม่มีร่างนะ คีย์ใส่คอมพิวเตอร์เสร็จ พรินท์ออกมาเลย เซ็นเลย ทำงานได้เร็วขนาดนั้นถ้าใจมีสมาธิ แต่ว่าทำเล่นๆไปอย่างนั้นแหละ งานหลักของเราจริงๆนะคืองานภาวนา เราเรียนรู้แล้วสนุกที่ได้เรียนรู้กาย สนุกที่ได้เรียนรู้ใจ

เหมือนบางคนสนุกที่จะเล่นไพ่ใช่มั้ย เล่นทั้งคืน สามีห้ามก็ไม่ฟัง ทำได้ บางคนอ่านเพชรพระอุมา อ่านทั้งคืนอ่านได้นะ แล้วแต่นะบางคนอ่านกำลังภายใน ดูทั้งคืนได้ อะไรที่ชอบจะทำได้นาน หรือชอบดูบอลใช่มั้ย หน้าบอล ตาจะโหลๆ เวลามีบอลน่ะ บอลโลก หน้าจะเหี่ยวๆ ตาโหลๆ เพราะอะไร เพราะมีความสุข

เพราะฉะนั้นถ้าเรามีฉันทะนะ เราจะมีความสุขที่จะปฏิบัติ เราจะขยันปฎิบัติ จิตใจจะจดจ่อ จิตใจจะเคล้าเคลียการปฏิบัติ นี่เรียกว่ามีอิทธิบาท อิทธิบาทเป็นธรรมะที่ให้ความสำเร็จ ความสำเร็จจะเกิดอย่างรวดเร็วเลย ไม่เนิ่นช้า ๗ วันมีนะ ๗ เดือนก็มี ๗ ปี ยังไม่เห็นตัว

เพราะฉะนั้นต้องหัดนะ หัดไปให้มีความสุข อย่าเคร่งเครียด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๖
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เกณท์การวัดความก้าวหน้าในการภาวนา

เกณท์การวัดความก้าวหน้าในการภาวนา

ถาม : ผมอยากได้เกณท์การวัดผลครับว่ามีความก้าวหน้าบ้างหรือเปล่า?

ตอบ : เบื้องต้นก็สังเกตว่าเราเห็นกายเห็นจิต(หรือเห็นกิเลส)ตัวเองได้บ่อยหรือไม่
ถ้าเห็นได้บ่อยก็ก้าวหน้ามาถูกทางแล้ว
ต่อไปก็สังเกตดูว่า เมื่อเห็นกายเห็นจิต(หรือเห็นกิเลส)ตัวเองแล้ว
จิตเองมีความตั้งมั่น เป็นกลางมากขึ้นหรือไม่
ถ้าตั้งมั่น เป็นกลางมากขึ้น ก็ก้าวหน้าขึ้น

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 41234