Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

นิพพานมี ๒ นิพพาน

mp 3 (for download) : นิพพานมี ๒ นิพพาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระโสดาฯ พระสกิทาคาฯ พระอนาคาฯ ยังไม่แจ้งพระนิพพาน แค่รู้จัก พระอรหันต์เนี่ยท่านแจ้งพระนิพพาน ท่านอิ่มของท่านอยู่อย่างนั้น ท่านมีความสุขของท่านอยู่อย่างนั้น ถึงได้กล่าวว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ” มีความสุขมาก

พระนิพพานมี ๒ พระนิพพาน นิพพานแรกคือนิพพานกิเลส อันนี้ตอนที่บรรลุพระอรหันต์นี้ ก็เข้าถึงพระนิพพาน นี่คือนิพพานกิเลส “สอุปาทิเสสนิพพาน” เวลาท่านจะสัมผัสพระนิพพาน ท่านเข้าสมาบัติที่เรียกว่า “ผลสมาบัติ” (อ่านว่า ผะ ละ สะ มา บัด – ผู้ถอด) คืออยู่กับพระนิพพาน ทรงอยู่กับพระนิพพาน นิพพานอีกชนิดหนึ่ง ชื่อ “อนุปาทิเสสนิพพาน” นิพพานขันธ์ อันแรกเป็นนิพพานกิเลส กิเลสตายก่อน

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเนี่ย วันที่ท่านตรัสรู้เนี่ย ท่านเข้าถึงพระนิพพานนะ เป็นกิเลสนิพพาน ไม่มีกิเลสแต่ยังมีขันธ์เหลืออยู่ ความทุกข์เนี่ยเข้ามาที่ขันธ์ได้ วิบากกรรมยังตามเข้ามาที่ขันธ์ได้ หนียังไม่พ้น ยกตัวอย่างท่านเล่า ว่าท่านกระหายน้ำ อยากดื่มน้ำ พระอานนท์ไม่ยอมตักให้ บอกว่าน้ำขุ่น อะไรอย่างนี้ ท่านก็บอกว่าไปตักมาเถอะๆ พอลงไปตักจริงๆน้ำก็ใสขึ้นมาเลย ทำไมท่านต้องกระหายน้ำ ท่านก็บอกไว้นะว่าท่านก็มีวิบาก ขนาดเป็นพระพุทธเจ้านะ ขันธ์ยังอยู่เนี่ย วิบากตามมาที่ขันธ์ ตามมาที่จิตไม่ได้แล้ว ตามมาที่ขันธ์ จิตไม่ทุกข์แล้ว ทำไมท่านต้องถ่ายเป็นเลือด ท่านต้องสิ้นขันธ์ปรินิพพานเนี่ย โดยถ่ายเป็นเลือด ทำไมท่านไม่นิพพานสบายๆ บุญบารมีตั้งเยอะนะ ก็เพราะวิบาก ท่านเคยเป็นหมอไปวางยาคนน่ะ เป็นหมอรักษาโรคนะ ไปวาง.. แต่หลวงพ่อจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว อยู่ในพระสูตรมี

ถึงนิพพานกิเลสไปแล้ว ขันธ์ยังเหลือเนี่ย วิบากจะตามมาที่ขันธ์ได้ แต่พอวันที่สิ้นขันธ์ อันนี้เป็นที่เรียกว่า “ปรินิพพาน” น่ะนะ สิ้นขันธ์ คราวนี้ไม่มีอะไรตามไปถึงแล้วนะ มีความสุขที่เรานึกไม่ถึง จิตนี้กับธรรม สลายตัวรวมเข้าด้วยกัน มีความสุขมาก

หมายเหตุ : อ่านเพิ่มเติมเรื่อง กรรมวิบากที่ตามมาทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่ทรงเล่าเอาไว้ ที่นี่


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๑๕
File: 550817B
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เป็นพระโสดาบันไม่เหลือวิสัยที่พวกเราจะทำได้

mp 3 (for download) : เป็นพระโสดาบันไม่เหลือวิสัยที่พวกเราจะทำได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เป็นพระโสดาบันไม่ใช่เรื่องยาก เป็นวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาๆอย่างพวกเราจะเป็นได้ ความสามารถของพวกเรานี้ ไม่น้อยกว่าคนในสมัยพุทธกาลหรอก แต่คนสมัยพุทธกาลเขาหิวโหยธรรมะนะ ของเราเนี่ยมันเอียนธรรมะ ในสมัยพุทธกาลนะก่อนนั้นไม่มีพระพุทธเจ้านะ พอมีพระพุทธเจ้าขึ้นมานะ ธรรมะของท่านเป็นของสดใหม่ ไม่เคยได้ยินไม่เคยได้ฟัง สังคมยุคนั้นมีแต่เรื่องอาตมัน มีเรื่องอัตตาตัวตน ท่านบอกว่าไม่มีตัวตน เป็นเรื่องแปลกใหม่แหวกแนวออกมา มันกระทบใจคนนะ แล้วตั้งใจศึกษา แปลกดีนะ ตั้งใจศึกษา ค้นคว้าเข้าไป ในที่สุดก็พ้นๆไป

พวกเราพอเกิดมาก็อยู่ในแวดวงชาวพุทธแล้วนะ ตื่นนอนมา เปิดวิทยุบางทีก็ได้ยินธรรมะ หมุนหนีไม่ทันก็เพราะมีธรรมะอยู่ วนเวียนออกมาจากบ้านก็เห็นพระมาเดินอะไรอย่างนี้ มันซ้ำซาก ใจมันดื้อด้าน คล้ายเรามีเชื้อโรคมากนะ เชื้อนี้ดื้อยาแล้ว เพราะฉะนั้นธรรมะจะเอาชนะเชื้อโรคที่ดื้อยานะ ก็ต้องสู้กันหนักหน่อยนะ พวกเราไม่ได้โง่กว่าสมัยพุทธกาลหรอก แต่สิ่งเร้า สิ่งยั่วยวนของเรานี้เยอะกว่าเขา นี่ส่วนหนึ่งนะ อีกส่วนหนึ่งใจของเราชินกับธรรมะนะ ฟังมาจนเพลินๆ

คนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เวลากินเหล้านะ ผู้ชายไทยทั้งหลายเนี่ย เวลากินเหล้านะแก้วแรกยังสุภาพเรียบร้อยนะ แก้วหนึ่งน้องนุช แก้วสองพุทธวาจา กินเหล้าเข้าไปนะแล้วคุยธรรมะกันนะ แก้วสามแกล้วกล้าพูดจาองอาจ อย่างนี้นะ ชักดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ คือมันชินกับธรรมะนะ เหล้ายังคาปากอยู่เลย พูดว่าจะไปนิพพาน เนี่ย แบบนี้ ใจมันจะเฉื่อยชาไม่สนใจจริง ถ้าเราสนใจให้จริง ตั้งอกตั้งใจภาวนาให้จริงจังนะ ฮึดๆไป สักพักเดียวแหละ ไม่เหลือวิสัยที่คนธรรมดาๆอย่างพวกเราจะทำได้หรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๑๐
File: 550804A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ก็ยังไม่ปล่อยวาง

mp 3 (for download) : ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ก็ยังไม่ปล่อยวาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใจลึกๆมันจะรู้สึกอยู่ตลอดเลยว่า อะไรน้อ..ที่ยังไม่รู้ มีสิ่งบางสิ่งที่ยังไม่รู้อยู่ เพราะไม่รู้สิ่งนี้แหละ จิตถึงไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ลึกๆมันจะรู้สึกอย่างนี้อยู่ตลอดนะ

ภาวนาบางวัน บางครั้งบางคราว จิตปล่อยวางจิต พอจิตปล่อยวางจิตเสร็จแล้วไม่นานนะ ก็ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมาดูต่อ เมื่อไหร่จะวางได้ ยกตัวอย่างไปหยิบพัดนี่ขึ้นมา แล้วก็มาคร่ำครวญ เมื่อไหร่จะวางได้ ทำยังไง(วะ)จะวางได้ น่ะ เนี่ย มันโง่อยู่อย่างนี้ มันโง่อยู่อย่างนี้ โอ๊ย..มันยากนะ กว่ามันจะเข้าใจ กว่าจะรู้นะว่าไม่รู้อะไรทำให้ไม่วาง ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์นั่นแหละ เรียกว่าอวิชา

เพราะฉะนั้นทางที่จะหลุดพ้นนะ ก็คือ ต้องทำวิชาให้เกิด อวิชาก็จะดับไป วิชาคือความรู้แจ้งอริยสัจจ์ ข้อที่ ๑ รู้ทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ รูปกับนาม หน้าที่ของเราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงเรื่อยไป การภาวนามีเท่านี้เอง การทำวิปัสสนากรรมฐานก็คือ การที่มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ ความจริงก็คือไตรลักษณ์นั่นเอง ดูอย่างนี้เรื่อยไป

พอมันรู้แจ้งนะ กายกับใจเป็นไตรลักษณ์แจ่มแจ้ง เรียกว่ารู้ทุกข์แจ้ง ทุกข์ล้วนๆเลยไม่เห็นดีวิเศษอะไรเลย จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลก หมดความยึดถือกายยึดถือใจ พอไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจปั๊บนะ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สมุทัยจะถูกละอัตโนมัติ ตัณหาจะไม่มีอีกแล้ว

ตัณหามันคือความอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ พอไม่ยึดกายไม่ยึดใจก็ไม่มีความอยากที่จะให้มันเป็นสุข ไม่มีความอยากให้มันพ้นทุกข์นะ ตัณหาไม่มี เมื่อตัณหาไม่มี ตัณหาไม่เกิด ตัณหาดับสนิทไม่มีอีกแล้วนะ นิโรธคือนิพพานก็ปรากฎ พระนิพพานคือความสิ้นตัณหา ขณะจิตที่รู้แจ้งนิพพานนั้นแหละ รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิพพานขึ้นมา ขณะนั้นแหละคือการเกิดอริยมรรคนะ

เส้นทางเดินของพระอริยะทั้งหลายท่านก็เดินอย่างนี้นะ ไม่เผลอไม่เพ่ง รู้กายรู้ใจไป ไม่ไปหลงติดอยู่ที่ใดที่หนึ่ง คอยรู้เรื่อยๆไป วันหนึ่งก็ถึง เกิดความเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจก็วาง รู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น หลุดพ้นก็จะรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือการประพฤติปฏิบัติจบแล้ว กิจที่ควรทำ-ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นไม่มีอีกแล้ว งานในทางศาสนาพุทธเป็นงานที่มีเวลาสิ้นสุด ไม่เหมือนงานในโลกที่ไม่มีวันสิ้นสุดนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๙
File: 520731A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕)

    New Files Updated วันศุกร์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

  • 550929: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กำหนดการแสดงธรรมนอกสถานที่ หลวงพ่อปราโมทย์ มกราคม ๒๕๕๖

คลิ้กที่ภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

กำหนดการแสดงธรรมนอกสถานที่
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

วันอังคารที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๙:๐๐-๑๐:๓๐ น.โตโยต้า ชัยรัชการ
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๘:๓๐ – ๑๐:๐๐ น.ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
วันพฤหัสที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๔:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
วันอังคารที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓:๓๐ น.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

cr: Mayom Dhamma Dhammayom (ธรรมชีวี)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ความซื่อตรงต่อพระธรรม

ความซื่อตรงต่อพระธรรม

เรื่องการปฏิบัตินั้น เราต้องปฏิบัติด้วยความซื่อตรงต่อพระธรรม
ไม่ใช่ปฏิบัติด้วยความภักดีต่อกิเลส
ผู้ปฏิบัติจำนวนหนึ่ง ปฏิบัติด้วยความต้องการแอบแฝง
เช่นอยากเด่น อยากดัง อยากได้รับคำชมเชยและการยอมรับจากหมู่เพื่อน
หรือปฏิบัติด้วยวิภวตัณหาอันเป็นไปตามอำนาจของโทสะ
คือเห็นโลกนี้เป็นฟืนเป็นไฟ จะต้องรีบหนีให้ได้ในวันนี้พรุ่งนี้ด้วยความไม่ชอบใจ

บ้างก็ไม่ซื่อตรงต่อแนวทางปฏิบัติที่พระศาสดาทรงวางไว้
คือแทนที่จะปฏิบัติโดยรู้เท่าทันความทุกข์ อันเป็นสัจจะสำคัญประการแรก
กลับมีตัณหา หรือความอยาก อันเป็นตัวสมุทัยที่จะละทุกข์
โดยไม่ทราบว่า การปฏิเสธทุกข์ ก็คือการปฏิเสธอริยสัจจ์ข้อแรก

ไม่มีใครหนีขันธ์ได้ ตราบใดที่ยังไม่นิพพาน
ปัญหาจึงอยู่ตรงที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะอยู่กับขันธ์ได้โดยไม่ทุกข์
ทำอย่างไร จึงจะอยู่กับโลกได้ โดยรู้ทันโลก แต่ไม่ทุกข์เพราะโลก

นักปฏิบัติไม่ใช่คนอ่อนแอท้อแท้แพ้กิเลส ไม่ใช่คนวิ่งหนีความจริง
แต่ต้องเข้าเผชิญกับทุกข์ อันเป็นความจริง ด้วยสติปัญญา
โดยดำเนินตามแนวทางที่พระศาสดาทรงพิสูจน์แล้วว่าเป็นทางพ้นทุกข์

สมัยที่ผมหัดปฏิบัติใหม่ๆ นั้น ก็ล้มลุกคลุกคลานมานับครั้งไม่ถ้วน
บางช่วงบางชาติก็ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจเข้าต่อสู้เพื่อแสวงหาสัจจธรรม
บางช่วงบางชาติก็ท้อแท้ทอดอาลัย อับจนหนทางที่จะปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์
แต่เมื่อได้พบหลวงปู่ดูลย์ ได้ฟังคำสอนเรื่องอริยสัจจ์
นับจากวันนั้น ผมลืมความเป็นนักปฏิบัติ ลืมการแสวงหาสัจจธรรม
ทุกวันๆ มีแต่เฝ้าเรียนรู้อยู่ภายในจิตใจด้วยความขยันขันแข็ง
โดยไม่ได้คิดว่า ทำไปแล้วจะรู้อะไร จะละอะไร จะได้อะไร
รู้แต่เพียงว่า ตอนนี้จิตถูกกิเลสครอบงำ
ตอนนี้จิตต่างคนต่างอยู่กับกิเลส
ตอนนี้จิตทะยานไปตามอำนาจของตัณหา
ตอนนี้จิตสงบเบิกบาน เป็นอิสระชั่วคราวจากตัณหาหยาบๆ
แต่ละวัน รู้เห็นวนเวียนอยู่เพียงเท่านี้
แต่มันเหมือนกับว่าจิตมีงานทำ ก็ทำเรื่อยไป
โดยไม่คิดว่า ทำไปแล้วจะได้เงินเดือนเมื่อไร

เมื่อพอจะช่วยตนเองได้แล้ว ผมพิจารณาถึงเพื่อนร่วมโลกนับแต่หมู่สัตว์ขึ้นมา
ก็เกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาเห็นว่า
สัตว์ส่วนมาก ไม่ผิดอะไรกับหอยทากตาบอด ที่คืบคลานวนเวียนอยู่ก้นเหว
ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะคลานพ้นจากหุบเหวนั้นขึ้นมาได้
เพราะสัตว์ส่วนมากนั้น พอใจกับภพของตนเสียแล้ว
ไม่ได้คิดเฉลียวใจว่า ยังมีทางออกที่ดีกว่าก้นเหวที่ตนรู้จัก
บางพวกที่ฉลาด เงยหน้าขึ้นเห็นแสงสว่างเบื้องบน
แต่ก็ท้อแท้ใจว่า จะต้องไต่หน้าผาสูงชันยากเย็นเสียเต็มประดา

มีน้อยกว่าน้อย ที่มองเห็นแสงสว่างเบื้องบนซึ่งพระศาสดาทรงบุกเบิกไว้
แล้วน้อยลงไปอีก ที่จะสวมหัวใจของพระมหาชนก
ในการว่ายน้ำข้ามห้วงมหรรณพ หรือไต่หน้าผาขึ้นจากก้นเหว

ผมเห็นใจและเข้าใจผู้ปฏิบัติที่เหนื่อยหน่ายท้อแท้ใจเป็นครั้งคราว
เพราะรู้ว่างานนี้ยาก เหมือนการว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรของพระมหาชนก
แต่ ทางทางนี้ ต้องเดินเอง
ก็ทำได้แค่ชวนผู้สนใจให้มาเดินเป็นเพื่อนกัน
ทุกวันนี้ก็มีเพื่อนมาร่วมเดินด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่
บางคนเดินช้า บางคนเดินเร็ว
บางคนเดินตรงทาง บางคนแวะข้างทาง
บางคนพอใจที่จะก้มหน้าก้มตาเดินไปเงียบๆ
ส่วนบางคน พอใจที่จะชักชวนเพื่อนให้มาเดินด้วยกันอีกมากๆ
ผมเองก็ยังต้องเดินอยู่เหมือนกัน ถึงจะไม่ลำบากเท่าเมื่อปฏิบัติแรกๆ
แต่ก็ยังต้องพยายาม ไม่อาจจะหยุดพักแบบนิ่งนอนใจได้

จะเดินแบบไหนก็ไม่เป็นไรหรอกครับ
ขอให้เดินให้ตรงเป้าหมาย และอย่าหยุดพักนานนักก็แล้วกัน

โดย คุณสันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

 เมื่อ วัน ศุกร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ารู้ถูกต้อง จิตจะไม่มีน้ำหนัก

mp 3 (for download) : ถ้ารู้ถูกต้อง จิตจะไม่มีน้ำหนัก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : นมัสการค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตขณะนี้เป็นอย่างไร (โยม : ตอนนี้หลงค่ะ) นอกจากหลงแล้วมีอะไรอีก (โยม : รู้สึกไม่ตั้งมั่นมั้ยคะ) เออ.. แล้วทำอะไรอยู่ ที่ไม่ตั้งมั่นแล้วทำยังไง (โยม : ก็พยายามปฏิบัติในรูปแบบมากขึ้น) ไม่ใช่ ในขณะนี้ ขณะนี้รู้สึกมั้ยว่าทำอะไรอยู่ กดเอาไว้ดูออกมั้ย (โยม : ไม่ออกค่ะ)

รู้สึกมั้ยใจเราอึดอัด ใจเราแน่นๆ ดูออกมั้ย (โยม : นิดหน่อยค่ะ) น่ะ นิดหน่อยก็แสดงว่ากดนิดหน่อย หนักมากก็แสดงว่ากดมาก ภาวนาจริงๆนะจะไม่ดัดแปลงใจ ใจเราเป็นอย่างไร รู้ ว่าเป็นอย่างนั้น ถ้าเรารู้โดยไม่ดัดแปลงนะ ใจจะไม่มีน้ำหนัก ถ้าเกิดความหนักใจขึ้นมา แสดงว่าแอบไปยึดไปถือ ของคุณนี่แหละที่.. หลงนะ เมื่อกี๊นี้หลงลงไปเพ่ง ถลำลงไป รู้สึกมั้ย จิตไหลลงไป ให้รู้ทันนะ รู้ทันมันจะขึ้นมาเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๒
File: 520704B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕)

    New Files Updated วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

  • 551213: โรงพยาบาลกรุงเทพ แสดงธรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับอ.สุรวัฒน์ : จิตกระจายอยู่นอกๆ

จิตกระจายอยู่นอกๆ

ถาม : การที่จิตกระจายอยู่นอกๆมันจะส่งผลต่อการปฏิบัติอย่างไรครับและ ทำอย่างไร หรือมีอุบายอะไรไม่ให้มันกระจายอยู่นอกๆครับ?

ตอบ : จิตกระจายอยู่นอกๆ จะไม่สามารถใช้เดินปัญญาต่อได้ครับ
เพราะจิตจะไปอยู่กับความรู้สึกเบาๆ สบายๆ
และไม่ใส่ใจที่จะมารู้ทันความเกิดดับของสภาวะต่างๆ
ซึ่งจิตที่อยู่นอกๆ แบบนี้ ก็เหมือนจิตอื่นๆ ที่เราต้องหัดรู้ทันมันครับ
ดังนั้นถ้าดูออกว่าจิตอยู่นอกๆ
จิตก็จะกลับเข้ามามีสติตั้งมั่นได้เองครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีดูว่าเพ่งหรือไม่?

mp 3 (for download) : วิธีดูว่าเพ่งหรือไม่?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : ตอนนี้มีปัญหาก็คือว่า บางทีนั่งๆอยู่ สติก็ไปรู้ว่าร่างกายมันกำลังหายใจอยู่ (หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..นั่นล่ะดี) แต่ว่าสงสัยว่า หนูเพ่งรูปหรือเปล่าคะหลวงพ่อ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เพ่งหรอก (โยม : ไม่เพ่งนะคะ) วิธีดูนะว่าเพ่งหรือเปล่าเนี่ย ดูที่ใจ ถ้าใจหนักๆแน่นๆขึ้นมาก็เพ่ง (โยม : ค่ะ) ถ้าใจโล่งโปร่งเบา รู้ตื่นเบิกบาน ก็ไม่ได้เพ่ง (โยม : ค่ะ)


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๘
File: 520710.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕)

    New Files Updated วันพุธที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

  • 551205: วัดศรีทวี จ.นครศรีธรรมราช แสดงธรรมเมื่อวันพุธที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ธรรม

ธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ธรรม

ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมที่มุ่งต่ออรรถต่อธรรมจริงๆ

มีการสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันตามกาลอันสมควรครับ

ไม่ใช่ว่า พอเจอหน้ากันก็มาเล่าๆ กันเสมอไปด้วยความฟุ้งซ่าน

หรือถึงขนาดปิดบังซ่อนเร้นการปฏิบัติของตน อันนั้นก็เกินไปหน่อย

 

ผมขอเล่าธรรมเนียมปฏิบัติในสายพระป่าที่เคยพบมา

เมื่อพระท่านมาพบกัน ท่านจะทักทายกันพอสมควร

จากนั้นถ้าไม่มีใครเริ่มชวนสนทนาธรรม ท่านก็จะนั่งกันเงียบๆ

แต่หากพระผู้ใหญ่เห็นสมควร ท่านก็อาจจะเล่าประสบการณ์ของท่าน

โดยมุ่งประโยชน์ของผู้ฟังเป็นสำคัญ

หากผู้ฟัง แม้จะเป็นพระผู้น้อย แต่ภูมิธรรมเสมอกันหรือสูงกว่า

พระผู้ใหญ่ท่านก็จะเปิดโอกาสว่า หากมีสิ่งใดจะแนะนำเพิ่มเติมก็ขอให้บอกกัน

ท่านไม่วางฟอร์มว่า ผู้อาวุโสจะต้องรู้ดีกว่าผู้น้อยเสมอไป

 

สำหรับพระผู้น้อยถ้าจะเล่าประสบการณ์ถวายผู้ใหญ่

ก็จะเริ่มจาก “การขอโอกาส” คือขออนุญาตเล่า/ถาม เสียก่อน

เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงเล่าถวาย

หากจะเล่าเพื่อสงเคราะห์พระผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติผิด ท่านก็จะขอโอกาสท้วงติง

หรือเล่าโดยเปรียบเทียบให้ผู้ใหญ่ได้คิดในจุดที่ติดอยู่

หากเป็นการเล่าเรื่องของท่านเอง ก็เพื่อให้พระผู้ใหญ่ท้วงติงสิ่งที่ผิด

หรือขออุบายธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นเพื่อนำไปปฏิบัติอีก

ไม่ใช่เล่าเพื่อยกหูชูหางตนเอง ขืนทำเช่นนั้นจะถูกฉีกหน้ากากขาดกลางศาลาเลย

 

ท่านเล่าประสบการณ์กันด้วยมารยาทอันงาม

และด้วยความเมตตาต่อกันมากครับ เห็นแล้วเย็นตาเย็นใจเหลือเกิน

แม้พวกเราฆราวาส หากมุ่งปฏิบัติเอาจริงเอาจัง

พระท่านเข้าใจ ท่านก็ปฏิบัติกับเราเหมือนพระองค์หนึ่ง

มีอะไรควรเล่า ควรบอก แม้แต่เรื่องของจิตที่ละเอียดลึกซึ้ง ท่านก็บอกให้

 

เคยแหย่ท่านว่า ท่านอาจารย์มาเล่าเรื่องอย่างนี้ให้ฆราวาสฟัง

จะไม่เป็นการผิดพระวินัยหรือ

ท่านตอบว่า “พระวินัยเอาไว้กำหราบคนหน้าหนา

ไม่ได้เอาไว้ปิดกั้นผู้ปฏิบัติธรรม”

โดย คุณสันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

 เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กิเลสละเอียดคล้ายกุศล

mp 3 (for download) : กิเลสละเอียดคล้ายกุศล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : กายเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้น จิตเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้น รู้สึกไปเรื่อย ดูไปเรื่อย สติปัญญาจะค่อยๆแก่รอบขึ้นๆ ภาวนาก็ดีขึ้น ผ่านเป็นลำดับๆไป พอภาวนาไปได้ช่วงหนึ่งนะ การปฏิบัติจะละเอียดขึ้น ไอ้ที่ผิดก็จะละเอียดตามไปด้วย

เผลอเนี่ยไม่ใช่เผลอไปไหนไกลนะ เผลอไม่ใช่เผลอตามกิเลส ไม่ได้เผลอไปในกาม แต่เผลอไปในรูปและอรูป เช่นเผลอไปเพ่งกาย ไปเพ่งเอา เพ่งกับเผลอเนี่ย รวมแล้วเผลอทั้งหมดนะ เผลอไปเพ่ง เพ่งกายเนี่ย จะหลงไปในรูป เพ่งความว่าง เพ่งจิตน่ะ หลงไปในนาม พอหลงไปแล้วก็เพลิน โดยเฉพาะเพ่งจิตนะ มันมีความสุขเยอะ มันว่าง..โล่ง..ว่าง.. ก็เผลอเพลิน มีราคะที่ละเอียด เรียกว่าอรูปราคะ ถ้าเพ่งกายแล้วประคองไว้พอดีๆมีความสุขกับการเพ่งกาย เรียกว่ามีรูปราคะ จิตจะเกิดรูปราคะ พอใจในการเพ่งรูป พอใจในการเพ่งนาม รวมแล้วหลงทั้งคู่ มีราคะทั้งคู่ อันหนึ่งก็ไปว่างเลย ไม่เดินต่อ อีกอันหนึ่งก็จ้องเอาๆไม่เลิก ลึกลงไปๆ อันหนึ่งหลงไปข้างนอก อันหนึ่งหลงเข้าข้างใน อันหนึ่งหลงไปในความหยาบ อีกอันหนึ่งหลงไปในความละเอียด ในความไม่มีอะไร หลงไปภายใน หลงไปภายนอก หลงในหยาบ หลงในละเอียด หลงในความสุขที่ปราณีต รวมความแล้วหลงทั้งนั้นเลย มีแต่หลง

ถ้าครูบาอาจารย์บอกให้ ก็พ้นง่าย แต่ถ้าครูบาอาจารย์ไม่บอก เราต้องสังเกตนะ แต่เดิมหลวงพ่อก็ภาวนาลำบาก อยู่ห่างครูบาอาจารย์ เวลาติดขัดทีหนึ่งต้องใช้ความสังเกตนานเลย กว่าจะเข้าใจ บางเรื่องสังเกตไม่เข้าใจ เจอครูบาอาจารย์ท่านก็บอกให้ เพราะฉะนั้นพวกเราคอยสังเกตไป ถ้าภาวนาแล้วใจโล่งใจว่าง มีแต่ความสุข ทำผิดแล้ว ต้องเห็นทุกข์สิ ไม่ใช่เห็นแต่สุข

ถ้าไปติดในความสุข รู้ทันว่ายินดีพอใจในความสุข มันก็ไม่ติด เห็นมั้ยราคะมันดับไป จิตก็ไม่ติด ตัวที่ทำให้ติดก็คือราคะ ราคะคือตัณหา เป็นยางเหนียว ทำให้เราติดอารมณ์ เพราะฉะนั้นถ้าจิตพอใจในความนิ่ง ความว่าง มีความสุขอยู่ในความนิ่งความว่าง รู้ทัน ราคะดับไป จิตก็ไม่ติดในภพที่มีราคะ จิตก็หลุดออกมา รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาได้

หรือจริงจังในการปฏิบัติมากเลย ดิ้นรนค้นคว้า ดิ้นรนค้นคว้ามากนะคือความฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านว่าทำยังไงว้าจะบรรลุพระอรหันต์เสียที ใจมันคิดว่าจะทำยังไง ตัวนี้เรียกว่า อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ถ้าดูไม่ดีจะนึกว่าเป็นปัญญา นึกว่าจิตเจริญปัญญา

เพราะฉะนั้นนะ กิเลสพอละเอียด หน้าเหมือนกุศล ดูสดใสซาบซ่ามากนะ เหมือนนางมารร้าย สวย แล้วก็หลอกคนเก่ง ดูยาก เราค่อยๆสังเกตนะ มันทนสติทนปัญญาเราไม่ได้หรอก ค่อยๆสังเกตไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๙
File: 520731A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๓ ถึง นาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : นักภาวนาอยู่อย่างไรในยุคที่การเมืองวุ่นวาย

นักภาวนาอยู่อย่างไรในยุคที่การเมืองวุ่นวาย

สำหรับผู้ที่มุ่งสู่ความพ้นทุกข์แล้ว บ้านเมืองจะปกครองด้วยระบอบใด ด้วยใคร

จะดีเลวร้ายเพียงใด ก็ให้มี “สติ” เป็นเครื่องคุ้มครองจิตอยู่เสมอ

เมื่อมีสติแล้วจะทำอะไรก็ทำอย่างมีศีลมีธรรม แล้วก็ทำตามกฎหมายที่บัญญัติไว้

เท่านี้ก็เพียงพอที่จะอยู่กับโลกได้ทุกสภาพแล้วครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๕)

    New Files Updated วันจันทร์ที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

  • 550923B: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕
  • 550923A: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕
  • 550922B: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕
  • 550922A: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗ แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความจริงของความทุกข์

mp 3 (for download) : ความจริงของความทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : นมัสการเจ้าค่ะหลวงพ่อ (หลวงพ่อปราโมทย์ : อยู่ไหน) อยู่นี่ค่ะ ไม่ได้ส่งการบ้านมาประมาณ ๙ เดือนแล้วค่ะ ช่วงที่ผ่านมา ใหญ่ๆก็มีเรื่องที่ทำให้ทุกข์ใจอยู่มากน่ะค่ะ แล้วทีนี้ เผลอไปทีไรใจก็จะเข้าไปอยู่ในโลกของการปรุงแต่งเรื่องที่ทำให้เราทุกข์ ซึ่ง..

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันห้ามไม่ได้นะ (โยม : ค่ะ) เราไปห้ามมัน มันก็ไม่ฟังหรอก แต่มันไม่ได้ทุกข์ตลอดไปหรอก หนูอย่าไปกังวลเลย ไม่มีหรอกความทุกข์ถาวรนะ ความทุกข์มันก็อยู่ชั่วคราว ถึงวันหนึ่งมันก็ผ่านไป ใจเย็นๆ เดี๋ยวมันก็ไป

โยม : ค่ะ แล้วก็พอดีมีอยู่วันหนึ่ง หนูสังเกตว่าจริงๆแล้วมันเหมือนกับว่าใจมันมีความอยากที่จะเข้าไปยึดการปรุงแต่งอย่างนี้อยู่ (หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่) แล้วหนูไม่เข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่าทำไม ทั้งๆที่มันเห็นว่า ยึดเมื่อไหร่ก็ทุกข์แล้วทำไมมันยังถึงเข้าไปยึดอยู่ล่ะคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อ้าว.. มันยังไม่รู้จริงนะ มันยังคิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆนะ แล้วก็มันคิดว่าถ้าเรายึดเราก็จะทุกข์นะ เพราะฉะนั้นเราอยากจะไม่ยึด อะไรอย่างนี้ ยังภาวนาไม่พอหรอก ถ้าเราภาวนาพอนะ ใจไม่ยึดถือในสิ่งแรกเลยที่จะไม่ยึดนะ ไม่ยึดจิตนะ พอไม่ยึดจิตอันเดียวก็ไม่ยึดกาย แล้วก็ไม่ยึดอะไรในโลกอีก ถ้ายังยึดอยู่ที่จิตจะยังมี(การหมายว่าเป็น-ผู้ถอด)ตัวเราอยู่นะ ยึดอยู่ อยากให้มันมีความสุข รู้สึกมั้ยว่าหนูยังอยากได้ความสุข รู้สึกมั้ย (โยม : ค่ะ) เพราะฉะนั้นยังยึดอยู่นะ ถึงอยากได้ความสุข เพราะมันมีตัวเรา เราอยากมีความสุข ใจเรายังยึดอยู่ ไม่ใช่ว่าไม่ยึดหรอก ทั้งๆที่ทุกข์นั่นแหละ ก็ยังอยากให้หายทุกข์ เพราะเราไม่รู้ความจริงของชีวิต ว่าชีวิตนี้คือตัวทุกข์นะ เพราะเราจะไม่รู้ความจริงของชีวิต เราอยากให้มันหาย เราไปอยากในสิ่งซึ่งไม่มีวันมี คือเราอยากได้ความสุขในโลก มันไม่มีหรอก มันมีสำหรับคนหลง คนซึ่งมีสติปัญญาแก่รอบจริงๆ จะรู้ว่าโลกนี้ทุกข์ เพราะฉะนั้นเขาจะไม่แสวงหาความสุขในโลกนี้ เพราะไม่มี ส่วนใจหนูยังหาอยู่ รู้สึกมั้ย หนูท่องคาถาของหลวงพ่อไว้นะ “ไม่นานมันก็ผ่านไป” ท่องไว้ (โยม : ค่ะ) ใจเราสงบลงมาแล้วค่อยมาเจริญสติเจริญปัญญาใหม่ ตอนนี้ใจเราไม่มีสมาธิพอ เจริญปัญญาไม่ได้จริงหรอก เพราะมันทุกข์มาก

โยม : แล้วเวลาที่มันทุกข์ขึ้นมาค่ะหลวงพ่อ มันไม่ค่อยยอมดู แต่มันจะหนีทุกข์ (หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นล่ะ มันหนี) คือ มันก็รู้แล้วเหมือนกันน่ะค่ะว่า ถ้ามันวิ่งไปหาสิ่งอื่นภายนอกมาเพื่อจะดับทุกข์ มันจะไม่หายทุกข์จริงๆ แต่ว่า.. (หลวงพ่อปราโมทย์ : มันทนไม่ได้) ขา..

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันทนดูต่อไปไม่ได้ มันก็หนีไป แล้วคนในโลกก็หนีอย่างนั้นแหละ เขาไม่กล้าหันมาเผชิญกับความทุกข์ พระพุทธเจ้านะอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ทุกข์ เป็นนักปราชญ์คนเดียวล่ะมั้งที่สอนให้รู้ทุกข์ นอกนั้นมีแต่พาหนีทุกข์ทั้งนั้นเลย

โยม : คือมันรู้อยู่เหมือนกันแหละค่ะ รู้ว่าทางดับทุกข์ก็ไม่ได้อยู่เกินกายใจนี้ออกไปน่ะค่ะ แต่มันดูเหมือนมันอ่อนกำลัง…

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันทำไม่ได้หรอก มันทำไม่ได้นะ เพราะว่าสมาธิของเราไม่มีละ ตอนนี้ ใจเราเศร้าหมอง ใจเราฟุ้งซ่าน หนูสังเกตมั้ยเรื่องที่ทำให้เราทุกข์นะ เรายิ่งคิดถึงบ่อย เราอยากลืมแต่เรายิ่งคิด รู้สึกมั้ย เพราะในความเป็นจริงจิตเป็นอนัตตา เราสั่งจิตไม่ได้ว่าอย่าไปคิดเลย จิตจะคิด

โยม : แล้วก็หนูทำในรูปแบบสม่ำเสมอค่ะหลวงพ่อ แต่ก็คล้ายๆว่าจิตไม่มีกำลัง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่มีแรงนะ หนูท่องคาถาไปก่อน “ไม่นานมันก็ผ่านไป” ไปท่องคาถาบริกรรมไว้อย่างนี้แหละ (โยม : ค่ะ) พอมันมีแรงแล้วค่อยมาทำต่อ เพราะฉะนั้นเวลาที่ปฏิบัติเนี่ย เราต้องปฏิบัติตั้งแต่ก่อนจะทุกข์นะ ถ้าทุกข์หนักอยู่แล้วเนี่ยจะภาวนาไม่ไหว มันเหมือนเวลาที่เราหัดว่ายน้ำ เราต้องหัดว่ายน้ำก่อนที่จะตกน้ำ ต้องว่ายน้ำให้เป็นก่อน เดี๋ยวเรือล่มเราจะว่ายได้ เพราะถ้าเรือล่มแล้วมาหัดว่ายน้ำจะไม่ทัน ยกตัวอย่างตอนนี้ความทุกข์เข้าถึงตัวเราแล้ว เราจะมาฝึกกรรมฐานให้พ้นทุกข์ เราไม่มีแรงพอแล้ว แต่ว่าความทุกข์ก็ไม่ใช่ของถาวร ไม่นานเขาก็ผ่านไป ไม่มีหรอกคนที่ทุกข์ตลอดกาลน่ะไม่มีหรอก

โยม : ขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ :
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๐ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 541210B
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่  ๓๖ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เวทนานุปัสสนา

เวทนานุปัสสนา

หากผู้ปฏิบัติมี จิตที่มีสติสัมปชัญญะแล้ว

เมื่อเอาสติไประลึกรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม อันใดก็ได้

สิ่งที่ถูกระลึกรู้จะแสดงไตรลักษณ์ทันที

ไม่ต้องรอว่าทำไปนานๆ แล้วจึงจะเห็นไตรลักษณ์

 

ตัวอย่างเช่นเกิดความทุกข์ทางกาย เช่นปวดฟัน

ถ้าดูเป็นจะเห็นชัดว่า ความปวดฟันไม่ใช่กาย แต่เป็นสิ่งที่แทรกอยู่ในกาย

ระดับความปวดก็ไม่คงที่ เดี๋ยวปวดมาก เดี๋ยวปวดน้อย อันนี้มันแสดงอนิจจัง

 (แต่เราไม่ต้องตามพากษ์นะครับ ไม่ต้องพากษ์ว่า อ้อ อย่างนี้อนิจจังนะ)

บางขณะความปวดก็ดับหายไป อันนี้แสดงทุกขัง

และไม่ว่ามันจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป มันก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา

อันนี้ก็แสดงความเป็นอนัตตาอยู่แล้ว

 

เมื่อจิตรู้เวทนาอยู่นั้น บางครั้งจิตก็เกิดโทสะเมื่อรู้ทุกข์เวทนา

บางคราวเกิดราคะเมื่อรู้สุขเวทนา บางคราวเกิดโมหะคือจับอารมณ์ได้ไม่ชัด

จากนั้นจะเกิดตัณหาคือความทะยานอยากเข้าไปยึดเวทนาที่รู้นั้น

แล้วความเป็น เรา ก็เกิดขึ้น จิตก็เสวยอารมณ์นั้นไป

ทุกข์ที่เกิดจากความเป็นตัวตนของจิตก็เกิดขึ้น

แล้วทุกข์เพราะความไม่สมอยากบ้าง

เพราะความพลักพรากจากอารมณ์ที่พอใจบ้าง

เพราะการพบอารมณ์ที่ไม่พอใจบ้าง

 

จิตก็ค่อยๆ สะสมความรู้ในหลักอริยสัจจ์ ที่เห็นว่า

ความอยากเป็นเหตุของความทุกข์

หมดอยาก จิตก็หมดทุกข์

คงเหลือแต่เวทนาล้วนๆ ไม่มีความทุกข์ของจิต

 

ส่วนที่คุณ บอกว่ารู้เวทนาจนดับไป แล้วไม่มีเวทนาจะดูนั้น

ที่จริงไม่ใช่ว่าไม่มีเวทนาหรอกครับ

เพราะเวทนามีอยู่เสมอ ไม่สุข ก็ทุกข์ หรือเป็นกลาง

ถ้าดูจนเวทนาสุขทุกข์ดับแล้ว

ก็รู้เวทนาคือความเป็นกลางเฉยๆ นั้นต่อไป

แม้อุเบกขาเวทนา ก็จะแสดงไตรลักษณ์เช่นเดียวกันครับ

 

มหาสติปัฏฐานนั้น เมื่อจะทำ ต้องทำให้ต่อเนื่องนะครับ

อย่าไปถูกกิเลสหลอก ว่าดูจนว่างๆ แล้ว หมดสิ่งที่จะดูแล้ว

ไม่มีอะไรจะรู้ ก็รู้ว่าง จนปล่อยวางความว่างอีกทีหนึ่งนะครับ

โดย คุณสันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

 เมื่อวันที่  12 พ.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรื่องของสมถะและวิปัสสนา

mp 3 (for download) : เรื่องของสมถะและวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาเข้าคอร์ส ๓ วัน สรุปได้มั้ย สมถะกับวิปัสสนาต่างกันอย่างไร จิตจะไม่เหมือนกันนะ สมถะนั้นจิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง หนึ่งต่อหนึ่ง one by one เวลารวมนะ จิตก็ไปรวมเข้ากับอารมณ์ นิ่งๆอยู่อย่างนั้น ถ้าวิปัสสนานะ จิตเป็นหนึ่งเป็นคนดู อารมณ์เท่าไหร่ก็ได้ อารมณ์ทั้งหลายมาแล้วก็ไปนะ ทุกอย่างผ่านมาผ่านไปใจเราเป็นคนดูอยู่

เพราะฉะนั้นจิตจะไม่เหมือนกัน ถ้าจิตไปแนบสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” เป็นสมถะ ถ้าจิตตั้งมั่น เห็นความเป็นไตรลักษณ์ ของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย เกิดดับหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย จิตเป็นแค่คนดูอยู่นะ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เนี่คือการเดินปัญญา เดินวิปัสสนา และปัญญาก็จะค่อยๆแก่รอบเป็นลำดับไป

เวลาที่เราเดินวิปัสสนา ไม่ใช่เราเดินวิปัสสนารวดเดียว ไม่มีม้วนเดียวจบนะ ยกเว้นท่านที่อินทรีย์ท่านแก่กล้าจริงๆ มีไม่มาก ในสมัยพุทธกาลก็มีอย่างพระพาหิยะอะไรอย่างนี้นะ บางท่านท่านฟังธรรมะทีเดียวก็บรรลุละ มีไม่มากเท่าไหร่กระทั่งในสมัยพุทธกาล สมัยเราคงหายาก ถ้าบารมีเยอะคงไม่มานั่งตาแป๋วๆอยู่แถวนี้นะ

เราค่อยๆเรียนไป ค่อยๆฝึก วันไหน..ทุกวันล่ะ ทุกวัน ช่วงไหนจิตใจฟุ้งซ่าน ดูจิตไม่ออกให้ดูกายไป ช่วงไหนดูจิตก็ไม่ได้ดูกายก็ไม่ได้ ก็ทำสมถะ พุทโธไป หายใจไป ให้จิตสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตจะได้มีแรง จิตเหมือนคนทำงาน ถ้าทำงาานอย่างเดียวไม่เคยได้พักเลย ก็หมดแรง ที่พักของจิตก็คือสมถะนั่นเอง เป็นที่พักสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ :
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๔ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๙
File: 540424B
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่  ๐๑ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑๐

ดาวน์โหลดไฟล์เสียงแสดงธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ทั้งหมดได้ที่นี่

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ดูเวทนาเพื่อเห็นไตรลักษณ์

ดูเวทนาเพื่อเห็นไตรลักษณ์

 ไตรลักษณ์ไม่ต้องกำหนดหรอกครับ
เพราะการเห็นไตรลักษณ์ต้องเห็นได้เอง
ไม่ใช่จงใจไปกำหนดหรือคิดนึกเอานะครับ
ดังนั้นเมื่อมีเวทนา ก็หัดดูเวทนาไป แล้วก็ให้มีสติรู้ว่าจิตเป็นอย่างไรไปเรื่อยๆ
ถ้าจิตไหลไปหาเวทนาก็ให้รู้ว่าจิตไหลไป
ถ้าจิตกระวนกระวายเพราะมีเวทนาก็ให้รู้ว่าจิตกระวนกระวาย
ถ้าจิตตั้งมั่นเห็นเวทนาถูกรู้อยู่ ก็ให้รู้ว่าจิตตั้งมั่น
รู้ทันจิตไปแบบนี้ ก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้เองครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : อาการของจิต

อาการของจิต

เวลาเราปฏิบัติกันจริงๆ เราจะเห็นอาการของจิต 2 อย่าง
อย่างหนึ่ง จิตเคลื่อนเข้าไปยึดอารมณ์ ไปเสวยอารมณ์ ยินดียินร้ายไปกับอารมณ์
อีกอย่างหนึ่ง จิตสักแต่ว่ารู้อารมณ์
ตรงนี้ไม่ค่อยอยากเรียกว่ามันเสวยอารมณ์เลยครับ
เพราะมันต่างคนต่างอยู่กับอารมณ์ จิตเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูเฉยๆ

มีจิตก็ต้องมีอารมณ์ แต่จิตจะหลงไปเสวยอารมณ์หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ผมเคยพบในพระสูตรบทหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ว่า
พระอรหันต์มีแต่เวทนาทางกาย แต่ไม่เสวยเวทนาทางใจ

อันนี้เป็นเรื่องคำพูดเท่านั้นครับ ที่ว่า “เสวยอารมณ์” มีความหมายเพียงใด
ถ้าหมายถึงว่า “จิตต้องรู้อารมณ์”
อันนั้นถูกต้องแล้ว เพราะจิตย่อมไม่ว่างจากอารมณ์
แม้แต่ความว่าง หรือความรู้สึกว่าว่าง ก็เป็นอารมณ์อันหนึ่ง
ที่ผู้ปฏิบัติต้องรู้แล้ววางเหมือนอารมณ์อื่นๆ นั่นเอง

แต่ถ้า “เสวย” หมายถึง “จิตต้องเข้าไปยึดถือ ยินดียินร้ายต่ออารมณ์”
อันนี้ก็ไม่เสมอไปหรอกครับ
เพราะจิตอาจจะสักว่ารู้ก็ได้ หลงยินดียินร้ายก็ได้
แล้วแต่คุณภาพของจิตในขณะนั้นเอง

โดย คุณสันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

 เมื่อวันที่  24 ส.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 41234