Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : น้ำแข็ง-น้ำเดือด

เรื่องของน้ำแข็ง…

เมื่อเอาน้ำไปใส่ช่องแช่แข็งเดี๋ยวมันก็กลายเป็นน้ำแข็ง

พอเอาออกมาเดี๋ยวมันก็ละลายกลายเป็นน้ำ

หากวันๆ มัวแต่เอาน้ำไปทำน้ำแข็ง

แล้วเอาออกมาวางไว้เฉยๆ มันก็เสียเวลาเปล่า

ต้องรู้จักเอาน้ำแข็งไปใช้ประโยชน์ด้วย

สมาธิแบบสมถะก็เปรียบเหมือนน้ำแข็งนั่นแหละ

ต้องรู้จักเอาไปใช้ประโยชน์คือ

เอาไปใช้เจริญปัญญาต่อ จึงจะพ้นทุกข์ได้

ถ้าวันๆ เอาแต่ทำสมถะจนจิตสงบ ออกมาก็ปล่อยทิ้งไม่ใช้เจริญปัญญา

เดี๋ยวจิตก็กลับไปฟุ้งอีก แบบนี้ก็พ้นทุกข์ไม่ได้หรอก

เรื่องของน้ำเดือด…

น้ำเดือดบนเตา เดือดแล้วยกลง น้ำก็เย็น

เย็นแล้วยกไปวางบนเตา น้ำก็เดือดอีก

ถ้าแค่ยกลง ยกขึ้นให้เดือดๆ เย็นๆ

ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

กิเลสก็เหมือนกัน

ถ้าปล่อยให้มันเดือดๆ เย็นๆ ไปตามยถากรรม

ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากมัน มีแต่จะถูกมันลากไปทำกรรมชั่ว

จะได้ประโยชน์จากมันมากสุดๆ

ก็ด้วยการหัดดูความไม่เที่ยงของมัน

หัดดูความไม่ใช่ตัวตนของมัน

หัดดูให้เห็นมันเดือดแล้วเดี๋ยวก็เย็น เย็นแล้วเดี๋ยวก็เดือดอีก

แต่อย่าไปปิดไปกดกิเลสมันแบบปิดฝากาต้มน้ำจนมิดเชียว

เพราะมันจะดันจนระเบิดตูมออกมาให้เจ็บแสบปวดร้อนหลายเท่าทวีคูณ

หมายเหตุ…

แรงบันดาลใจให้เขียนบันทึก

เรื่องของน้ำแข็ง – เรื่องของน้ำเดือด นี้ก็คือ

ได้นั่งฟังหลวงพ่อปราโมทย์แสดงธรรม

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 54 (จะมีอยู่ในซีดีสวนสันติธรรมแผ่นที่ 39)

ที่หลวงพ่อเปรียบจิตสงบจากการทำสมถะเหมือนน้ำแข็ง

ก็เลยเอามานั่งเขียนบันทึก แล้วก็เติมแต่ง

เอาเรื่องของน้ำเดือดมาเปรียบเหมือนกิเลสบ้าง

^_^

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ชม วีดีโอ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมเทศนา ณ บ้านจิตสบาย วันที่ 22 พฤษภาคม 2554

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมเทศนา ณ บ้านจิตสบาย
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2554


ตอนที่ 1/4


ตอนที่ 2/4


ตอนที่ 3/4


ตอนที่ 4/4

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

mp 3 (for download) : การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

โยม:  เวลาทำงานน่ะค่ะหรือว่าเวลาที่อยู่กับคนอื่น มีสติดูกายดูใจน้อย ไม่เหมือนกับอยู่คนเดียว หรือว่ามาอยู่ต่อหน้าหลวงพ่อ หรือว่าอยู่ในบรรยากาศที่มันสัปปายะน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตใจเรายังไม่แข็งแกร่ง เราต้องเลือกสิ่งที่สัปปายะ

บุคคลสัปปายะ ถ้าเราไปเจอพวก toxic ก่อกวนประสาท  ภาวนายาก

มีสภาพแวดล้อมสัปปายะ บางคนชอบอยู่ในเมืองนะ นั่งรถไปรถติด ๆ เนี่ยภาวนาดี อย่างนี้เรียกว่ารถติดเป็นสัปปายะของเขา มีนะพวกชาวเมืองน่ะให้ไปอยู่ป่านะฟุ้งซ่านหนักเลย พวกเราที่อยู่ในเมืองมาจนชินนะลองไปอยู่ป่าวันแรกเนี่ยมันจะฟุ้งสุดๆ เลย แล้วเราจะนึกไม่ถึงว่าป่านี้เสียงดัง กลางคืนเสียงดังมากเลย เสียงประหลาด ๆ เยอะ ใจจะฟุ้งได้ง่าย มันอยู่ที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน

อาหารก็สัปปายะนะ อาหารบางอย่างไม่เหมาะกับเรากินแล้วไม่สบาย จิตใจซึมกะทืออย่างนี้ใช้ไม่ได้

สภาพแวดล้อมที่อยู่ ที่อยู่ก็ต้องสัปปายะ บางทีเรามาอยู่วัดไม่มีธุระอะไร อยู่บ้านมันมีธุระนะ มันมีความรับผิดชอบ มาอยู่วัดมันเหมือนไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก มาอาศัยอยู่ ไม่ต้องไปดูแลอะไรมากมาย อยู่บ้านมันยังมีรายการเต็มทุกวัน ตอนนี้ทำอันนี้ ตอนนี้ทำอันนี้นะ คอยคิดล่วงหน้าไป แต่พออยู่วัดนานๆ ก็จะเหมือนอยู่บ้าน เริ่มคุ้น

เพราะฉะนั้น พระเวลาอยู่ที่ไหนนานๆ บางทีก็ต้องเปลี่ยนบรรยากาศ ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านก็ให้ไปธุดงค์ บางทีท่านไม่ไว้ใจให้ไปธุดงค์ ท่านพาไปเที่ยวยังมีเลย  พาไปเที่ยวสวนเสืออะไรอย่างนี้ก็มี หลวงพ่อไม่ได้พาพระไปสวนเสือ บางองค์ก็พาไปดูน้ำตก แต่คงไม่พาไปดิสโก้เธค

สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ จะกระตุ้นให้ใจคึกคักเข้มแข็ง เฉื่อยๆเนือยๆนะบางทีก็ต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบ้าง จะ Active ขึ้น เหมือนเราทำงานที่เดิมหลายๆ ปีรู้สึกไหมชักเฉื่อย อะไรๆ ก็รู้หมดแล้วไม่ค่อยยอมคิดอะไรใหม่ๆ พอเปลี่ยนงานแล้ว Active นะต้องคิดใหม่เยอะแยะเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File: 491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ถาม-ตอบเกี่ยวกับการรู้สึกตัวในเวลาระหว่างวัน

ถาม-ตอบเกี่ยวกับการรู้สึกตัวในเวลาระหว่างวัน

ถาม : จากช่วงแรก ๆ เมื่อเริ่มฝึกเวลานั่งรถไปทำงานมักจะรู้สึกตัวได้โดยไม่ได้ตั้งใจ ความรู้สึกมักเป็นเหมือนกับรู้ใจโปร่งโล่งและรู้สึกว่าได้ทั้งกายเหมือนตอนนั่งในรูปแบบแต่จิตมักจะพากย์ไปด้วยแต่ช่วงหลังความรู้สึกนี้มีเกิดบ้างแต่ความโปร่งและโล่งไม่เหมือนตอนแรกและไม่บ่อยกับไม่มีการพากย์ในบางครั้งหรือพากย์น้อย ประกอบกับมีความรู้สึกสั้นและเร็วผมพยายามดูและสังเกตว่าทำไมมันไม่พากย์ อยู่ช่วงหนึ่ง แต่ก็คิดไปว่าจิตคงเรียนรู้ได้และจำสภาวะได้เค้าเลยหยุดพากย์ ผมก็ไม่ได้ใส่ใจและรู้ต่อไปในระหว่างวันแบบนี้ ถูกไหมครับ

ตอบ : พากย์ก็รู้ว่าพากย์ ไม่พากย์ก็รู้ว่าไม่พากย์
ไม่ต้องไปพยายามดูเลยครับว่า ทำไมมันไม่พากย์
พอไปพยายามดู จิตที่รู้สึกตัวมันก็ดับไปทันทีแล้วไปจดจ้องดูอยู่
การไม่คอยดูว่า ทำไม จึงถูกแล้วครับ

เรื่องรู้สึกตัวแวบหนึ่งแล้วดับไป ก็ไม่ได้ผิดอะไร
ถ้าหัดรู้ไปจนชำนาญมากขึ้น ก็จะรู้แวบดับรู้แวบดับได้ถี่ขึ้นเอง
แล้วก็รู้สึกตัวแล้วจะไม่รู้สึกว่าโล่งโปร่งได้ชัดเจนเหมือนที่หัดใหม่ๆ
เพราะจิตจะคุ้นเคยที่รู้สึกตัวได้ปราณีตขึ้น
เหมือนขับรถใหม่ๆ เบรอกทีนึงหัวทิ่มหัวตำ
พอขับชำนาญแล้วก็จะเบรกได้นุ่มนวลนั่นแหละครับ
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปพยายามที่จะทำให้รู้สึกแล้วโล่งโปร่งเหมือนก่อนนะครับ
แค่รู้สึกตัวขึ้นได้แล้ว ก็มาหัดรู้สภาวะต่อด้วยความรู้สึกตัวไปเลย

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

mp 3 (for download) : ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์: บางวันก็สุขบางวันก็ทุกข์นะ ไม่ใช่ภาวนาเอาสุขทุกวัน ไม่เอาสงบทุกวัน เอาดีทุกวันไม่ใช่

ภาวนาเพื่อให้เห็นความจริง ความสุขก็ไม่เที่ยง ความสงบก็ไม่เที่ยง กุศลทั้งหลายก็ไม่เที่ยง ภาวนาให้เห็นของจริง แรกๆ พอไปเห็นว่าความสุขก็ไม่เที่ยง ไม่ยอมรับ ไม่ชอบอยากให้เที่ยง ก็ดิ้นใหญ่เลย เห็นว่าความสงบไม่เที่ยงก็ไม่ยอมรับนะอยากให้เที่ยง เห็นว่ากุศลทั้งหลายไม่เที่ยงไม่ยอมรับ อยากให้เที่ยง ใจเราไปอยากในของที่ไม่มีจริง ใจอย่าดิ้น ดิ้นเหนื่อยเปล่า

ใจเรามีสติตามรู้กายตามรู้ใจไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ของเป็นทุกข์ ของบังคับไม่ได้ทั้งหมด ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศล อกุศลก็ชั่วคราว ถ้าเห็นอย่างนี้นะใจจะเป็นกลาง เมื่อไรใจเข้าถึงความเป็นกลางใจก็เลิกดิ้น ไม่ดิ้นแล้ว ใจที่ไม่ดิ้นเนี่ยใกล้กับมรรคผลนิพพาน เพราะนิพพานเป็นความไม่ดิ้นเรียกว่าวิสังขาร ไม่ดิ้น นิพพานไม่มีความอยาก ไม่มีความหิวเรียกว่าวิราคะ ใจมันเต็มอิ่มไม่ดิ้น ก็ใกล้ถึงนิพพาน ฉะนั้นเราภาวนาไปจนใจเราเป็นกลาง

หลวงปู่เทสก์เคยสอนหลวงพ่อนะ บอก “ผู้ใดเข้าถึงความเป็นกลางจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”

เข้าถึงความเป็นกลาง เป็นกลางมีหลายแบบ เป็นกลางเพราะสมถะ อันนี้ไม่พ้นทุกข์หรอก พ้นชั่วคราว ใจเป็นกลางเพราะสมถะเป็นอุเบกขา อีกอัน เป็นกลางเพราะปัญญา ตัวนี้ตัวสำคัญเป็นกลางเพราะวิปัสสนา เห็นสุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วก็ชั่วคราว เป็นกลาง ใจไม่ดิ้น ตอนนี้ดูไปก็ยังดิ้นไปนะ ธรรมดา ดูไปมากๆ ดูไปก็ไม่ใช่เราหรอก ก็ไม่ดิ้น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File: 491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : คำแนะนำสำหรับมือใหม่ที่ชอบฟังหลวงพ่อเทศน์

คำแนะนำสำหรับมือใหม่ที่ชอบฟังหลวงพ่อเทศน์

ถาม : ยังไม่เคยปฎิบัติอย่างจริงๆจังๆนะคะ  ไม่ว่าจะนั่งสมาธิ  หรือเดินจงกรม  ยังติดที่จะชอบฟังหลวงพ่อเทศน์ เพราะสบายใจ  ฟังแล้วสบายใจจังนะคะ
ยังไงอาจารย์มีอะไรแนะนำสำหรับมือใหม่อย่างหนูไม่ค่ะ  ขอบคุณค่ะ

ตอบ : ฟังหลวงพ่อเทศน์แล้วสบายใจก็ฟังต่อไปนะครับ
ฟังมาแล้วคงจะได้ยินหลวงพ่อบอกให้รู้กายรู้ใจไปสบายๆ
คุณก็ค่อยหัดรู้สึกร่างกายที่เคลื่อนไหว
หัดดูด้วยใจที่สบายๆ ไม่ต้องพยายามที่จะรู้สึกอยู่ตลอดเวลา
เพราะรู้กายเคลื่อนไหวไปเดี๋ยวเดียว จิตจะหนีไปคิด
หลังจากจิตหนีไปคิดก็จะนึกได้ว่า เมื่อกี้ลืมรู้สึกร่างกาย
นึกได้แล้วก็กลับมารู้สึกกายใหม่ไปสบายๆ
ถ้าหัดแล้วเกิดเคร่งเครียด ก็หยุดพักไปทำอะไรให้สบายกายสบายใจก่อน
พอเริ่มสบายกายสบายใจแล้วก็มาหัดรู้สึกกาย หัดรู้ว่าเมื่อกี้เผลอลืมรู้สึกกายเอาใหม่
ให้หัดไปสบายๆ นะครับ รู้ได้บ้าง หลงไปคิดบ้าง เป็นเรื่องปกติ
ที่สำคัญคือ อย่าฝืนบังคับจิตให้เป็นไปตามที่เราต้องการนะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: เปลี่ยนแปลงการแจ้งข่าวสารผ่านทาง E-Mail (updated ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๔)

Member

Member

ทางเว็บไซต์ ธรรมดาด็อตเน็ต (Dhammada.net) กำลังเปลี่ยนแปลงการแจ้งข่าวถึงท่านสมาชิกผ่าน e-mail ครับ โดยใช้ google group แทนการส่งเมล์ออกจากเว็บไซต์ ธรรมดาด็อตเน็ต (Dhammada.net) ทั้งนี้เนื่องจากมีท่านสมาชิกให้ความสนใจกันมาก จนทำให้การส่ง e-mail ในแต่ละครั้ง เกินจำนวนที่ผู้ให้บริการ e-mail สาธารณะ ได้กำหนดไว้ ส่งผลให้ถูกมองว่าเป็น spam mail ทางเว็บไซต์ ธรรมดาด็อตเน็ต (Dhammada.net) จึงขอเปลี่ยนวิธีการแจ้งข่าวถึงสมาชิกเป็นการแจ้งผ่าน google group แทนครับ

ท่านสามารถเลือกรับการแจ้งข่าวสารผ่าน google group ครับ แต่เนื่องจาก Google Group จำกัดจำนวนสมาชิกแต่ละ Group ไว้ไม่เกิน 100 ท่าน ทางเว็บไซต์ Dhammada.net จะทะยอยเปิด Group เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการสมัครเข้ามาครับ

  1. Dhammada-News Group (Under Migration)
  2. Dhammada-News-01 Group (Full)
  3. Dhammada-News-02 Group (Full)
  4. Dhammada-News-03 Group (New)

หากสมาชิกเดิมท่านใดยังไม่ได้รับจดหมายเชิญชวนให้เข้าเป็นสมาชิกของ Group, หรือท่านที่สนใจและจะสมัครเข้าเป็นสมาชิก, และรวมทั้งสมาชิกท่านใดที่ได้ยืนยันการสมัครเข้ามาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับข่าวสารจาก Dhammada-News Group ในวันรุ่งขึ้น ขอความกรุณาสมัครใหม่ใน Group ลำดับล่างสุดเสมอครับ เพราะ Group ที่เปิดไว้ก่อนแล้ว อาจใกล้เต็มแล้วครับ

สำหรับการแจ้งผ่านระบบ e-mail เดิม จะยุติการส่งตั้งแต่วันนี้ (วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔) เป็นต้นไป ท่านที่เป็นสมาชิกในระบบ e-mail เดิม จะได้รับเมล์แนะนำจาก Dhammada-News Group ครับ ขอให้คลิ้กที่คำว่า You can accept this invitation by clicking the following URL: http://groups.google.com/group/dhammada-news/sub?… ในเมล์ที่ได้รับครับ (แต่หากไม่ได้รับ และ/หรือ ได้รับเล์แล้ว และได้ยืนยันการสมัครแล้ว แต่ยังไม่ได้รับข่าวสารจาก Dhammada-News Group ในวันรุ่งขึ้น ขอความกรุณาสมัครใหม่ ใน Google Group ในลำดับล่างสุดที่เปิดขึ้นใหม่ด้วยครับ – ต้องขออภัยในความไม่สะดวกต่อสมาชิกทุกท่านด้วยครับ)

วิธีการอื่นๆที่ท่านสามารถเลือกรับข่าวสารจาก ธรรมดาด็อตเน็ต (Dhammada.net)

  1. เป็น Follower ใน twitter ที่ dhammada_net เพื่อรับข่าวสารผ่านข้อความของ twitter
  2. เป็น Friend ใน FaceBook ที่ dhammada net (ใกล้เต็มแล้ว แนะนำให้ใช้ FaceBook ที่ Dhamma Dhammada แทนครับ) เพื่อรับข่าวสารผ่าน wall ของ FaceBook
  3. เป็น Friend ใน FaceBook ที่ Dhamma Dhammada (เปิดขึ้นใหม่ เพื่อรับ Friend เพิ่ม) เพื่อรับข่าวสารผ่าน wall ของ FaceBook
  4. กด Like ของ FaceBook Fan Page ที่ Dhammada Net Fan Page เพื่อข่าวสารผ่าน Updated Messages
  5. เป็นสมาชิกใน FaceBook Group ที่ Dhammada.net News ซึ่งจะได้รับการแจ้งข่าวสารผ่าน FaceBook คอลัมน์ซ้ายมือ

อนึ่ง Dhammada.net สนับสนุนการเข้าใช้ผ่านมือถือในหลายรุ่น ทั้ง Nokia, iPhone, BB ท่านสามารถเข้าผ่านมือถือได้ครับ

กลุ่มธรรมดา
contactus.dhammada.net@gmail.com
member.dhammada.net@gmail.com

๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓
Last updated: ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ทำอย่างไรดีเมื่อความเจ็บปวดของร่างกาย ทำให้ภาวนาไม่ได้

ทำอย่างไรดีเมื่อความเจ็บปวดของร่างกาย ทำให้ภาวนาไม่ได้

ถาม : ปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อด้วยการฟังซีดีมาประมาณปีกว่า ครั้งแรกที่รู้ว่าหลงไปคิด โกรธ ฯลฯ แล้วรู้สึกตัว แว๊ปเดียวที่รู้สึกจะรู้สึกดีมากค่ะ แต่หลายเดือนมานี้รู้สึกว่าสับสนมาก บวกกับความเจ็บปวดของร่างกายทำให้ฟุ้งซ่านมาก ปฏิบัติไม่ได้เลยค่ะ เลยจะขอแนวทางการปฏิบัติเวลาเราเจ็บปวดมาก ๆ ค่ะ

ตอบ  : ส่วนเวลาปวดมากๆ ก็ย้อนมาดูจิตที่มีความไม่ชอบไม่สบาย
หรือมาดูจิตที่ไหลไปแช่ในความปวด ดูจิตที่ดิ้นรนเพราะความปวดก็ได้ครับ
แล้วก็หายามาทานไปตามปกติ
พอความปวดลดลงก็มาดูจิตที่รู้สึกโล่งสบายขึ้น
ก็จะเห็นความปวดที่ไม่คงที่เดี๋ยวก็ปวดมากเดี๋ยวก็ปวดน้อย
จะเห็นจิตก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ดิ้นรนไม่ชอบ
เดี๋ยวก็มีความสบายขึ้นทุกข์น้อยลงดิ้นรนน้อยลง
ดูไปบ่อยๆ ก็จะค่อยๆ ยอมรับสภาวะที่เป็นได้มากขึ้น
แล้วจิตจะทุกข์น้อยลงไปได้เองครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปัญญามี ๓ ขั้น

mp 3 (for download) : ปัญญามี ๓ ขั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ปัญญามี ๓ ขั้น

ปัญญามี ๓ ขั้น

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัติมีสองอัน อันหนึ่งทำจิตให้สงบ อันหนึ่งทำจิตให้เกิดปัญญา เห็นความจริง

ทำจิตให้สงบเนี่ย ทำใจให้สบายก่อนแล้วก็ไปรู้อารมณ์อันเดียว สบายๆ เช่นรู้พุธโธ รู้ลมหายใจ สบายๆ อย่าอยากสงบนะ ทำใจให้สบายแล้วแป๊บเดียวจะสงบ นี่เคล็ดลับนะ

ส่วนการจะทำให้จิตรู้ความจริง เราต้องตามดูจิตใจของเราไปเรื่อย ไม่ไปบังคับเขา แล้วเราจะเห็นเลยจิตทำงานทั้งวันทั้งคืน จิตฟุ้งซ่าน เดี๋ยวก็ฟู เดี๋ยวก็แฟบ รู้สึกใช่ไหม ให้ตามรู้ไปเรื่อย ๆ ไม่เข้าไปแทรกแซง ตามรู้จนวันนึงเกิดปัญญาเห็นความจริงว่าจิตที่ทำงาน ฟูบ้างแฟ่บบ้างนะ เขาทำของเขาเอง เขาไม่ใช่ตัวเรา

ถ้าวันใดจิตใจยอมรับความจริงว่าจิตไม่ใช่เรานะ เราจะเข้าถึงธรรมะ ธรรมะก็คือตัวความจริงนั่นเอง ความจริงเบื้องต้นก็คือ ขันธ์ห้าไม่ใช่ตัวเรา ขันธ์ห้าเนี่ยถ้าเข้าไปหยิบฉวย เข้าไปยึดถือจะเป็นทุกข์ อันนี้ยังไม่เห็น แล้วขั้นสุดท้ายเป็นปัญญาขั้นสุดท้าย ขันธ์ห้านี่แหละเป็นตัวทุกข์

เพราะฉะนั้น ปัญญามีหลายขั้น ปัญญาเบื้องต้นเราก็เห็นว่าขันธ์ห้ามันทำงานของมันได้เอง ไม่ใช่ตัวเรา

ปัญญาขั้นกลางก็เห็นว่าถ้าใจเข้าไปหยิบฉวยขันธ์ห้าไว้ จิตจะเป็นทุกข์ ถ้าไม่หยิบจิตจะไม่ทุกข์

และปัญญาขั้นสุดท้ายเลย ปัญญาที่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ขันธ์ห้าหรือตัวจิตนี่แหละตัวทุกข์ จะอยากหรือไม่อยาก จะยึดหรือไม่ยึด ขันธ์ห้านี่และตัวทุกข์

ฉะนั้นปัญญาในทางพุทธศาสนา แบ่งเป็นชั้นๆ เป็นลำดับๆ ปัญญาแต่ละชั้นฟังเหมือนขัดๆ กัน ความรู้ความเข้าใจของเราที่เกิดขึ้น จะพัฒนาไปเรื่อยๆ ค่อยๆปรับ ค่อยๆเปลี่ยนไป ตามประสบการณ์ที่มากขึ้นๆ

ยกตัวอย่างเราภาวนาพอสติเราเกิดเรารู้ ถ้าเมื่อไรใจของเรารู้ ตื่น เบิกบาน มีความสุข ใจเราหลงไปคิดเป็นเรื่องไปปรุงไปแต่ง ใจจะมีความทุกข์  เราก็เข้าใจธรรมะ เข้าใจระดับนึง เมื่อใดเข้าใจว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ จะปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่ง จะอยากจะยึดหรือไม่ก็ทุกข์ อันนี้เรียกว่ารู้ทุกข์

ถ้าเมื่อไรรู้ทุกข์ เมื่อนั้นจะถึงธรรม เรียกว่าสิ้นโลกเหลือธรรม ถ้ารู้ว่าขันธ์เป็นทุกข์นะ มันจะวางขันธ์ลงไป ไม่ยึดถือขันธ์ สิ้นโลกเหลือธรรม เหลือธรรมะล้วน ๆ ธรรมะล้วน ๆ มีแต่ความเที่ยง ทั้งวันทั้งคืน ทั้งหลับทั้งตื่น ไม่เคยหายไป ธรรมะล้วน ๆ มีแต่ความสุข ไม่มีความทุกข์ ธรรมะล้วน ๆ เราไม่ได้เข้าไปครอบครอง เป็นอนัตตา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File: 491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การดูให้เห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่คิดเอา

การดูให้เห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่คิดเอา

ถาม : ได้ไปฟังหลวงพ่อเทศน์..หลวงพ่อท่านบอกว่าดูรูป-นามให้ดูเป็นไตรลักษณ์ด้วย(ไม่แน่ใจว่าใช้คำพูดถูกหรือไม่ค่ะ) เลยอยากเรียนถามว่า ถ้าหากเราหลงไปคิดแล้วรู้สึกตัว ให้เราคิดว่ามีหลงเกิดแล้วดับ หรือว่าจะต้องรู้สึกเองคะ

ตอบ : การดูให้เห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่คิดเอานะครับ
แต่ให้แค่รู้ซ้ำๆ ไปจนรู้สึกได้ว่ามีการเกิดดับ หรือรู้สึกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงครับ
อย่างที่ถามมานี้ ตรงแวบแรกตรงนั้นที่เห็นว่าหลงไปคิดแล้วที่หลงคิดดับไป
ตรงนั้นแหละครับที่เห็นความเกิดดับแล้ว ก็แค่รู้ไปเท่านั้น
ไม่ต้องเติมความคิดพูดกับตัวเองลงไปอีกครับ
แค่รู้แวบเดียวนี่แหละรับที่เป็นขณะของการเจริญสติและเห็นไตรลักษณ์
ให้มั่นรู้บ่อยๆแบบนี้แล้วต่อไปก็จะมีปัญญามากขึ้นไปตามลำดับครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สภาวธรรมที่ผุดขึ้นมาในกายในใจ คือครูที่จะสอนเรา

mp 3 (for download) : สภาวธรรมที่ผุดขึ้นมาในกายในใจ คือครูที่จะสอนเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สภาวธรรมที่ผุดขึ้นมาในกายในใจ คือครูที่จะสอนเรา

สภาวธรรมที่ผุดขึ้นมาในกายในใจ คือครูที่จะสอนเรา

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัติค่อย ๆ ศึกษาไปนะ คอยดูของจริงในใจของเราไปเรื่อยๆ ไม่มีใครสอนธรรมะเราได้ แต่สภาวธรรมที่ผุดขึ้นมาในกายในใจ อันนี้แหละคือครูที่จะสอนเรา คนอื่นสอนไม่ได้ หลวงพ่อก็สอนไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านก็ยังบอกว่า ท่านเป็นแค่คนบอกทาง บอกทางก็คือให้มารู้กาย รู้ใจ เรียกว่ารู้ทุกข์นะ ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็ละสมุหทัย ละสมุหทัย จิตก็ไม่ดิ้นรน เข้าถึงสันติสุข เรียกว่า นิโรธหรือนิพพาน นี่ท่านบอกทางให้ เราก็มีหน้าที่เดินทางไปเอง แล้วไปเรียนรู้ของจริงเอาเอง ธรรมะน่ะของใครของมันนะ ธรรมะที่หลวงพ่อพูดให้ฟังก็ธรรมะของหลวงพ่อ ของเราก็ต้องมีธรรมะเฉพาะตัวของเราเอง ไม่ลอกเลียนแบบกัน ดูจากของจริง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File:
491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : ขอเชิญฟัง อ.กำพล ทองบุญนุ่ม บรรยายธรรม ณ บ้านจิตสบาย พุทธมณฑลสาย 2 ในวันที่ 29 พ.ค. 54 นี้

ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายธรรมโดย

อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม (แนวเจริญสติ สายหลวงพ่อเทียน)

ในวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2554 เวลา 10.00-11.30 น.

ณ บ้านจิตสบาย พุทธมณฑลสาย 2

รถประจำทางที่ผ่าน สาย 157, 123, ปอ.พ.79

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 02-448-3392 เวลาทำการ 9.00 – 18.00 น. หยุดวันพุธ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง, การเดินทางและแผนที่  >>

Dhammada News : แนะนำบ้านจิตสบาย แหล่งเรียนรู้และภาวนาโดยการเจริญสติ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ขี้เกียจภาวนา

ขี้เกียจภาวนา

ถาม : ตั้งแต่มีการปรับเปลี่ยนงานที่รับผิดชอบ งานยุ่งมากกว่าเดิม ภาวนาได้น้อยลงมากและยอมรับว่าขี้เกียจเพิ่มมากขึ้นด้วยค่ะ  …จำเป็นต้องให้ความอดทนภาวนามากกว่าเดิม ช่วงนี้นอกจากขี้เกียจภาวนาแล้ว ยังขี้เกียจส่วดมนต์ด้วยค่ะ ความขี้เกียจเป็นกิเลสหรือไม่คะ ?

ตอบ : ขี้เกียจก็เป็นกิเลสตัวหนึ่ง
พอรู้สึกว่าขี้เกียจภาวนา ขี้เกียจสวดมนต์ก็อย่าไปเชื่อตามมัน
รู้ว่าขี้เกียจภาวนา รู้ว่าขี้เกียจสวดมนต์ แล้วให้ภาวนาให้สวดมนต์เลยครับ  :D

ความขี้เกียจบางทีมันก็มาจากร่างกายเหนื่อยจากการทำงานแล้วอยากพักสบายๆ
เพราะฉะนั้นเลิกงานแล้วให้พักร่างกายจิตใจให้สบายๆ บ้างนะครับ
พักแล้วจะมีแรงขยันภาวนาได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยสัจจ์เป็นธรรมะที่สำคัญที่สุด

mp 3 (for download) : อริยสัจจ์เป็นธรรมะที่สำคัญที่สุด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อริยสัจจ์เป็นธรรมะที่สำคัญที่สุด

อริยสัจจ์เป็นธรรมะที่สำคัญที่สุด

หลวงพ่อปราโมทย์: อริยสัจจ์น่ะสำคัญที่สุดเลย แต่ก่อนดูข้ามๆไปนะ รู้สึกตื้นๆ รู้สึกปฏิจจสมุปบาทอะไรเนี่ย แหมลึกซึ้ง ลึก น่าสนใจกว่าอริยสัจจ์ จริงๆถ้าไม่เห็นแจ้งอริยสัจจ์นะ ก็เกิดอีก สำคัญมากเลย

ถ้าเห็นอริยสัจจ์ เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้เรียกว่าดวงตาเห็นธรรม เห็นในกระบวนการของปฏิจจสมุปบาทมันทำให้เราเห็นว่าไม่มีคน ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นเป็นคราวๆ มันละสักกายทิฏฐิ

แต่ถ้ารู้แจ้งลงมาในรูปในนามได้นะ เรียกว่ารู้แจ้งอริยสัจจ์ ถึงจะพ้นได้ พระพุทธเจ้าแต่ละองค์ก็ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทไม่เท่ากัน บางองค์ท่านสาวไปแค่วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป และก็วกกลับมานามรูปเป็นปัจจัยของวิญญาณ พระวิปัสสี  พระสิขี พระเวสภู  อะไรพวกนี้ท่านดูแค่นี้ พระพุทธเจ้าเราสาวไปถึงอวิชชา ความจริงปัจจัยของอวิชชามีอีกอันหนึ่ง คืออาสวะ นี้ท่านไปถึงอวิชชาท่านกลับมา

อริยสัจจ์นะ ยิ่งศึกษายิ่งสนุก ลึก ลึก จริงๆ ตอนเราเด็กๆ เราก็นึกว่าเข้าใจ อ่าน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ นึกว่าเข้าใจอริยสัจจ์แล้ว ตอนบวชอยู่วัดชลประทานนะไปสวดมนต์แปลบอก ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ไม่ใช่ ไม่ใช่คนเกิดคนแก่หรอกเป็นทุกข์ กลายเป็นว่ารูปนามมันเป็นทุกข์ เราก็นึกว่าเข้าใจธรรมมากขึ้นแล้วนะ รูปนามเป็นทุกข์ ไม่ใช่เราเป็นทุกข์

เวลาภาวนาปฏิบัติไป ไม่ได้เห็นอย่างนั้นนะ เห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ไม่ได้เห็นว่าเป็นทุกข์หรอก  ภาวนากันนาน ๆ เมื่อไรเห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์ล้วนๆ ได้นะ มันบอกจะวางแล้ว วาง มันวางได้ด้วยปัญญาจริงๆ คำว่า“ปัญญา”ก็คือการที่เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์นั่นแหละ

เราต้องพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญาขึ้นมา มันเห็นเอง แกล้งทำให้เห็น ไม่เห็นหรอก ถ้าคิดจะทำให้เห็นนะ มันเจือด้วยความคิดแล้ว มันตกจากวิปัสสนาแล้ว

ช่วงที่เราภาวนาไป เราก็จะไม่รู้ว่าเราขาดอะไรมั่ง รู้สึกอย่างเดียวว่าความรู้ยังไม่พอ ยัง ลึกๆ จะรู้สึกตลอดเลยว่ายังรู้ไม่พอ ยังรู้ไม่พอ ถามว่าไม่รู้อะไรตอบไม่ถูก จนภาวนาไปถึงจุดหนึ่ง ถึงจะรู้ว่า อ้อ ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์นั่นเอง ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์นะ ข้ามภพ ข้ามชาติไม่ได้นะ

อริยสัจจ์ลึกที่สุดเลย อย่างเราไม่สามารถเห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์ เราเห็นว่าเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง ยังนึกว่ารู้อริยสัจจ์นะ ไม่รู้จริงหรอก หรือเราคิดว่ามีสมุทัย มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์  คนทั่วๆไปไม่ได้รู้สึกว่ามีตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่ได้มีความอยากแล้วทุกข์ไม่ใช่   คนทั่วๆไปรู้สึกแค่ว่าถ้าไม่สมอยากถึงจะทุกข์ ถ้าสมอยากแล้วไม่ทุกข์หรอก มีตัณหาแล้วสนองตัณหาได้ไม่ทุกข์ มันตื้นนะตื้นมากๆ

แต่ว่าพอเราลงมือภาวนาดูจิต ดูใจตนเองออก เราเห็นทันทีเลย ทันทีที่จิตเกิดตัณหาเกิดความอยาก เกิดความยึดถือขึ้นมา จิตมันจะหมุนติ้วๆนะ มันทำงาน จิตทำงานเรียกว่าภพ “ภพ” คำเต็มๆ ของภพคือ กรรมภพ นั่นเอง จิตมันทำงานขึ้นมา มันก็มีความทุกข์ขึ้นมา มันมีทุกข์เพราะมันมีภาระ ภาวนามากเข้าๆเลยถึงจะเห็น ถ้ามีความอยากก็จะมีความทุกข์นะ จะสมอยากหรือไม่สมอยากก็ทุกข์แล้ว จะเห็น

เราก็นึกว่าเข้าใจอริยสัจจ์แล้วนะ เพราะว่าท่านบอกสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ลึกๆ ก็ยังงงอยู่ว่าทำไมท่านเริ่มด้วยทุกข์ก่อน ท่านน่าจะสอนอริยสัจจ์ ๔ เริ่มด้วยสมุทัย และสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ น่าจะสอนสมุทัยก่อนว่า ถ้ามีตัณหาแล้วจะทุกข์ ตัวทุกข์ก็ไม่พูดเรื่องตัณหา ตัวทุกข์ กลับไปพูดเรื่องขันธ์ งั้นอริยสัจจ์ไม่ใช่เรื่องเข้าใจได้ง่ายๆเลย

นี้พอเราภาวนามาถึงจุดที่เราเห็นว่าถ้ามีตัณหา มีสมุทัยก็มีทุกข์ เราก็นึกว่าเข้าใจที่จริงยังไม่เข้าใจ เราจะเข้าใจอริยสัจจ์ต่อเมื่อเราภาวนาไปถึงจุดที่ว่า ถ้าไม่รู้ทุกข์ถึงจะเกิดสมุทัย ถ้าไม่รู้ทุกข์นะถึงจะเกิดสมุทัย ของเราคิดว่าถ้ามีสมุทัยจึงเกิดทุกข์ มันตื้นอยู่อีกชั้นนึง งั้นท่านถึงเอาทุกข์ขึ้นก่อน บอกทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ เมื่อไรรู้ทุกข์แล้วเมื่อนั้นละสมุทัย เมื่อไรละสมุทัยเมื่อนั้นแจ้งนิโรธ

ธรรมท่านเรียงร้อยได้สวยงามตรงกับการปฏิบัติ ท่านไม่ได้สอนไว้เพื่อให้คิดแบบนักปรัชญา ถ้าสอนอย่างนักปรัชญาก็จะเริ่มจากสมุทัย ท่านสอนจากการปฏิบัติ ปฏิบัติให้รู้รูปนามให้รู้ทุกข์ งั้นจุดเริ่มต้นคือให้รู้ทุกข์ ถ้ารู้ทุกข์แจ้ง เห็นว่าขันธ์นี้ไม่ใช่เราแล้ว  คืนขันธ์ให้โลก  คืนขันธ์ให้ธรรมชาติไป  ตัณหาหรือสมุทัยจะดับอัตโนมัติ จะไม่เกิดแล้ว ถ้ายังไม่เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ล้วนๆเนี่ย ตัณหาจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ มีอวิชชาอยู่ตัณหายังเกิดอีก มันเกิดเป็นระยะ ระยะไป

ตัณหาคืออะไร พูดง่าย ๆ เลยตัณหาก็คือความอยากให้ขันธ์นี้มีความสุข ความอยากจะให้ขันธ์นี้พ้นจากทุกข์ ทำไมมีความอยากอันนี้ขึ้นมา ก็เพราะมีความสำคัญมั่นหมายว่าขันธ์นี้คือเรา เราคือขันธ์ ฉะนั้นถ้าภาวนาจนเห็นว่า ขันธ์ไม่ใช่เราหรอก นี่กำลังเหยียบประตูไปสู่นิพพานแล้ว ได้โสดาบัน ดูต่อไปจนวางขันธ์ได้ พอวางขันธ์ได้แล้วสมุทัยหายไปเองนะ ไม่เกิดอีกว่าขันธ์ไม่ใช่เราแล้วจะไปอยากให้มันมีความสุขทำไม จะอยากให้มันพ้นทุกข์ทำไม ฉะนั้นเมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อนั้นจะละสมุทัย

ทันทีที่ละสมุทัย จิตจะเข้าถึงธรรมอีกชนิดหนึ่งคือพอเราวางความยึดถือจิต สลัดจิตคืนเรียก ปฏินิสสัคคะ สลัดรูปนามคืนคืนเจ้าของเดิมคือ  คืนโลกไปพอสลัดคืนไปแล้วเนี่ย ภาระที่จะต้องทำงานให้รูปนามมีความสุข พ้นทุกข์ ไม่มีอีก จิตใจเลยเข้าถึงสันติสุข เข้าถึงสันติสุข สันติสุขนั่นแหละคือนิพพาน

นิพพานมันไม่ได้อยู่ไกลนะ นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา เมื่อไรจิตมันสิ้นตัณหา เพราะมันรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง คืนกาย คืนใจ คืนขันธ์ให้โลกไปแล้วเนี่ย เมื่อนั้นจะเห็นนิพพานต่อหน้าต่อตาไม่ได้ยากอะไร เราไปวาดภาพนิพพานเอาไว้ซะไกลเลย คิดว่าต้องภาวนาอีกแสนๆ ชาติถึงจะเจอ ถ้าอย่างนั้นอีกแสนชาติ ยังไม่เจอ ยังมีความเห็นผิดอยู่

นิพพานจริงๆ พูดให้ง่ายๆ นิพพานจริงๆ คือความสิ้นตัณหาหรือวิราคะ จิตของเรามีตัณหาย้อมอยู่ตลอดเวลานะ  เดี๋ยวอยากดู  เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากได้กลิ่น เดี๋ยวอยากได้รส เดี๋ยวอยากได้โผฏฐัพพะที่ดีนี่  เดี๋ยวอยากได้ธรรมารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจอยากตลอดเวลา ความอยากนะหมุนอยู่ในอายตนะทั้ง ๖ ในเวลาเราภาวนานะ

แต่เดิมเราคิดว่าตัณหามี ๓ ตัว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา พอลงมือภาวนาจริง ๆ เราเห็นตัณหา ๖ ตัว เรียกว่ารูปตัณหา ความอยากได้รูป สัททตัณหา อยากได้ยินเสียง อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสที่ดี อยากได้ธรรมารมณ์ที่ดี   อยากได้ธรรมารมณ์ที่ดีเรียกว่า “ธรรมตัณหา”  ชื่อเพราะนะธรรมตัณหา “อยาก”  เช่นอยากรู้เรื่อง ก็คิด ๆ คิดไปนี่เรียกว่ามีธรรมตัณหา

พอจิตมันมีตัณหาขึ้นมาในอายตนะ ๖ มันก็เกิดการทำงานขึ้นมาที่จิต จิตก็หมุนจี๋ๆๆ ขึ้นมานะ ทำงานเป็นทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเราคอยรู้คอยดูนะ โอ้ วันหนึ่งละความยึดถือในกายในจิตได้ตัณหาจะไม่เกิดอีก ตัณหาไม่เกิดอีกนะ ภพก็ไม่เกิดขึ้น การทำงานทางใจไม่มีขึ้น ความจะไปหยิบฉวยเอารูปเอานามคือชาตินี้ขึ้นมาอีกก็ไม่มี ความทุกข์ไม่มี

ความทุกข์ไม่มีเพราะไม่มีขันธ์ ขันธ์นี้เป็นที่ตั้งของความทุกข์ด้วย เป็นตัวทุกข์ด้วยนะ ความทุกข์เมื่อจะตั้งก็ตั้งอยู่ในขันธ์ ตั้งอยู่ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง และตัวขันธ์ หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง ตัวมันก็เป็นตัวทุกข์นะ

งั้นธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนลึกนะ ลึกมาก แต่ว่ามีสติดูจิตลูกเดียวนั่นแหละจะเข้าใจได้ทั้งหมด 

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๖
File: 491106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทศชาติชาดก : ชาติที่ 7 พระจันทกุมาร (ขันติบารมี)

“คนจะข้ามภพข้ามชาติได้ บารมีต้องเต็ม บารมีต้องครบ บารมีมีสิบตัว”

(หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช)

ในครั้งโบราณ เมืองพารานสี มีชื่อว่า บุปผวดี มีกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเอกราชา พระราชบุตรองค์ใหญ่ พระนามว่า จันทกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช และ พราหมณ์ชื่อกัณฑหาล เป็นปุโรหิตในราชสำนัก กัณฑหาล มีหน้าที่ตัดสินคดีความอีกตำแหน่ง แต่กัณฑหาลเป็นคน ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มักจะรับสินบนจากคู่ความอยู่เสมอ ข้างไหนให้สินบนมาก ก็จะตัดสินความเข้าข้างนั้น

จนกระทั่งวันหนึ่ง ผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมร้องโพนทนา โทษของกัณฑหาล ได้ยินไปถึงพระจันทกุมาร จึงตรัสถาม ว่าเกิดเรื่องอะไร บุคคลนั้นจึงทูลว่า “กัณฑหาลปุโรหิต มิได้เป็นผู้ทรงความยุติธรรม หากแต่รับสินบน ก่อความ อยุติธรรมให้เกิดขึ้นเนืองๆ”

พระจันทกุมารตรัสว่า“อย่า กลัวไปเลย เราจะเป็นผู้ให้ ความยุติธรรมแก่เจ้า” แล้ว พระจันทกุมารก็ทรงพิจารณาความอีกครั้ง ตัดสินไปโดย ยุติธรรม เป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชนทั้งหลาย ฝูงชนจึง แซ่ซ้องสดุดีความยุติธรรมของพระจันทกุมาร พระเจ้าเอกราชาทรงได้ยินเสียงแซ่ซ้อง จึงตรัสถาม ครั้นทรงทราบจึงมีโองการว่า “ต่อไปนี้ ให้จันทกุมาร แต่ผู้เดียวทำหน้าที่ตัดสินคดีความทั้งปวงให้ยุติธรรม” กัณฑหาลเมื่อถูกถอดออกจากตำแหน่งหน้าที่ ก็เกิด ความเคียดแค้นพระจันทกุมาร ว่าทำให้ตนขาดผล ประโยชน์ และได้รับความอับอายขายหน้าประชาชน จึงผูกใจพยาบาทแต่นั้นมา

อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าเอกราช ทรงฝันเห็นสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เห็นความผาสุกสวยงาม ความรื่นรมย์ ต่างๆ นานา ในสรวงสวรรค์ เมื่อตื่นจากฝัน พระองค์ ยังทรงอาลัยอาวรณ์อยู่ และปรารถนาจะได้ไปสู่ ดินแดนอันเป็นสุขนั้น จึงตรัสถามบรรดาผู้ที่พระองค์ คิดว่าจะสามารถบอกทางไปสู่เทวโลกให้แก่พระองค์ได้

กัณฑหาลได้โอกาส จึงกราบทูลว่า “ข้าแต่พระราชา ผู้ที่ประสงค์จะไปสู่สวรรค์ มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นคือ ทำบุญให้ทาน และฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า”

พระราชาตรัส ถามว่า “ฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า หมายความว่าอย่างไร”

กัณฑหาลทูลตอบว่า “พระองค์จะต้องการกระทำการ บูชายัญด้วยพระราชบุตร พระมเหสี ประชาชนหญิงชาย เศรษฐี และช้างแก้ว ม้าแก้ว จำนวนอย่างละสี่ จึงจะไป สู่สวรรค์ได้”

ด้วยความที่อยากจะไปเสวยสุขในสวรรค์ พระเจ้าเอกราชาก็ทรงเห็นดีที่จะทำบูชายัญตามที่กัณฑหาล ผู้มี จิตริษยาพยาบาททูลแนะ พระองค์ทรงระบุชื่อ พระราช บุตรพระมเหสี เศรษฐี ประชาชน และช้างแก้ว ม้าแก้ว ที่จะ บูชายัญด้วยพระองค์เอง อันที่จริงกัณฑหาลประสงค์ร้าย กับพระจันทกุมารองค์เดียวเท่านั้น แต่ครั้นจะให้บูชายัญ พระจันทกุมารแต่ลำพัง ก็เกรงว่าผู้คนจะสงสัย จึงต้องให้ บูชายัญเป็นจำนวนสี่ พระจันทกุมารผู้เป็นโอรสองค์ใหญ่ ก็ทรงอยู่ในจำนวนชื่อที่พระเจ้าเอกราชาโปรดให้นำมาทำ พิธีด้วย จึงสมเจตนาของกัณฑหาล เมื่อช้าง ม้า และบุคคล ที่ถูกระบุชื่อ ถูกนำมาเตรียมเข้าพิธี ก็เกิดความโกลาหล วุ่นวาย มีแต่เสียงผู้คน ร้องไห้คร่ำครวญไปทั่ว

พระจันทกุมารนั้น เมื่อราชบุรุษไปกราบทูลก็ทรงถามว่า ใครเป็นผู้ทูลให้พระราชาประกอบพิธีบูชายัญ ราชบุรุษ ทูลว่ากัณฑหาล ก็ทรงทราบว่าเป็นเพราะความ ริษยาพยาบาทที่ กัณฑหาลมีต่อพระองค์เป็นสาเหตุ ในเวลาที่ราชบุรุษไปจับเศรษฐีทั้งสี่มาเข้าพิธีนั้น บรรดาญาติพี่น้องต่างพยายามทูลวิงวอนขอชีวิตต่อ พระราชา แต่พระราชาก็ไม่ทรงยินยอม เพราะมี พระทัยลุ่มหลงในภาพเทวโลก และเชื่องมงายในสิ่งที่ กัณฑหาลทูล ต่อมาเมื่อพระบิดาพระมารดาของ พระราชาเอง ทรงทราบก็รีบเสด็จมาทรงห้ามปรามว่า “ลูกเอ๋ยทางไปสวรรค์ที่ต้องฆ่าบุตรภรรยา ต้องเบียด เบียนผู้อื่นนั้น จะเป็นไปได้อย่างไร การให้ทาาน การ งดเว้นการเบียดเบียนต่างหาก เป็นทางสู่สวรรค์”

พระราชาก็มิได้ทรงฟังคำห้ามปรามของพระบิดา พระมารดา พระจันทกุมารทรงเห็นว่าเป็นเพราะ พระองค์เองที่ไปขัดขวางหนทางของคนพาลคือ กัณฑหาล ทำให้เกิดเหตุใหญ่ จึงทรงอ้อนวอนพระบิดา ว่า “ขอพระองค์โปรดประทานชีวิต ข้าพเจ้าทั้งปวงเถิด แม้จะจองจำเอาไว้ก็ยังได้ใช้ประโยชน์ จะให้เป็น ทาส เลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า หรือขับไล่ไปเสียจากเมืองก็ย่อมได้ ขอประทานชีวิตไว้เถิด”

พระราชาได้ฟังพระราชบุตร ก็ทรงสังเวชพระทัยจน น้ำพระเนตรไหล ตรัสให้ปล่อย พระราชบุตร พระมเหสี และทุกสิ่งทุกคนที่จับมาทำพิธี ครั้นกัณฑหาลทราบ เข้าขณะเตรียมพิธีก็รีบมาทูบคัดค้าน และ ล่อลวงให้ พระราชาคล้อยตามด้วยความหลงใหลในสวรรค์อีก พระราชาก็ทรงเห็นดีไปตามที่กัณฑหาล ชักจูง

พระจันทกุมารจึงทูลพระบิดาว่า “เมื่อข้าพเจ้ายังเล็กๆ อยู่ พระองค์โปรดให้พี่เลี้ยง นางนม ทะนุ บำรุงรักษา ครั้นโตขึ้นจะกลับมาฆ่าเสียทำไม ข้าพเจ้าย่อมกระทำ ประโยชน์แก่พระองค์ได้ พระองค์จะ ให้ฆ่าลูกเสีย แล้วจะอยู่กับคนอื่นที่มิใช่ลูกจะเป็นไปได้อย่างไร ในที่สุดเขาก็คงจะฆ่าพระองค์เสียด้วย พราหมณ์ที่สังหาร ราชตระกูล จะถือว่าเป็นผู้มีคุณประโยชน์ได้อย่างไร พราหมณ์นั้นคือผู้เนรคุณ” พระราชาได้ฟัง ก็สลดพระทัย สั่งให้ปล่อยทุกชีวิต ไปอีกครั้ง

แต่ครั้นพราหมณ์กัณฑหาลเข้ามากราบทูล ก็ทรงเชื่ออีก พระจันทกุมารก็กราบทูลพระบิดาว่า “ข้าแต่พระบิดา หากคนเราจะไปสวรรค์ ได้เพราะ การกระทำบูชายัญ เหตุใดพราหมณ์จึงมิทำบูชายัญ บุตรภรรยาของตนเองเล่า เหตุใดจึงได้ชักชวนให้คน อื่นกระทำ ในเมื่อพราหมณ์ก็ได้ทูลว่า คนผู้ใดทำ บูชายัญเองก็ดี คนผู้นั้นย่อมไปสู่สวรรค์ เช่นนั้นควรให้ พราหมณ์กระทำบูชายัญด้วยบุตรภรรยาตนเองเถิด” ไม่ว่าพระจันทกุมารจะกราบทูลอย่างไร พระราชา ก็ไม่ทรงฟัง

บุคคลอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง พระวสุลกุมารผู้เป็นราชบุตรของพระจันทกุมาร มาทูลอ้อนวอน พระเจ้าเอกราชาก็ไม่ทรงยินยอมฟัง ฝ่ายกัณฑหาลเกรงว่าจะมีคนมาทูลชักจูงพระราชาอีก จึงสั่งให้ปิดประตูวัง และทูลเชิญพระราชาให้ไป อยู่ในที่อันคนอื่นเข้าไปเฝ้ามิได้ เมื่อถึงเวลาทำพิธี มีแต่เสียงคร่ำครวญของราชตระกูล และฝูงชนที่ญาติ พี่น้องถูกนำมาเข้าพิธี ในที่สุด นางจันทาเทวีผู้เป็นชายา ของพระจันกุมาร ซึ่งได้พยายามทูลอ้อนวอนพระราชา สักเท่าไรก็ไม่เป็นผล ก็ได้ ติดตามพระจันทกุมารไป สู่หลุมยัญด้วย เมื่อกัณฑหาลนำถาดทองมาวางรอไว้ และเตรียมพระขรรค์จะบั่นคอพระจันทกุมาร

พระนางจันทาเทวีก็เสด็จไปสู่หลุมยัญ ประนมหัตถ์บูชา และกล่าวสัจจวาจาขึ้นว่า “กัณฑหาลพราหมณ์เป็น คนชั่วเป็นผู้มีปัญญาทราม มีจิตมุ่งร้ายพยาบาท ด้วยเหตุแห่งวาจาสัตย์นี้ เทวดา ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง จงช่วยเหลือเรา ผู้ไร้ที่พึ่ง ผู้แสวงหาที่พึ่ง ขอให้เราได้อยู่ร่วมกับสามีด้วยความสวัสดีเถิด ขอให้พระเป็นเจ้า ทั้งหลายจงช่วยสามีเราให้เป็นผู้ที่ศัตรูทำร้ายมิได้เถิด” เมื่อพระนางกระทำสัจจกริยา พระอินทร์ได้สดับ ถ้อยคำนั้น จึงเสด็จมาจากเทวโลก ทรงถือค้อนเหล็กมี ไฟลุกโชติช่วง ตรงมายังพระราชา กล่าวว่า “อย่าให้เรา ถึงกับต้องใช้ค้อนนี้ประหารเศียรของท่านเลย มีใครที่ ไหนบ้าง ที่ฆ่าบุตร ภรรยา และเศรษฐีคหบดีผู้ไม่มีความ ผิดเพื่อที่ตนเองจะได้ไปสวรรค์ จงปล่อยบุคคลผู้ปราศ จากความผิดทั้งปวงเสียเดี๋ยวนี้”

พระราชาตกพระทัยสุดขีด สั่งให้คนปลดปล่อยคน ทั้งหมดจากเครื่องจองจำ ในทันใดนั้นประชาชนที่รุม ล้อมอยู่ก็ช่วยกันเอาก้อนหิน ก้อนดินและท่อนไม้ เข้าขว้างปาทุบตีกัณฑหาลพราหมณ์จนสิ้นชีวิตอยู่ ณ ที่นั้น แล้วหันมาจะฆ่าพระราชา แต่พระจันทกุมารตรงเข้ากอด พระบิดาไว้ ผู้คนทั้งหลายก็ไม่กล้าทำร้าย ด้วยเกรง พระจันทกุมารจะพลอยบาดเจ็บ ในที่สุดจึงประกาศว่า “เราจะไว้ชีวิตแก่พระราชาผู้โฉดเขลา แต่จะให้ครองแผ่นดิน มิได้” เราถอดพระยศพระราชาเสียให้เป็นคนจัณฑาล แล้วไล่ออกจากพระนครไป

จากนั้นมหาชนก็กระทำพิธีอภิเษกพระจันทกุมารขึ้น เป็นพระราชา ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรม เมื่องทรงทราบว่าพระบิดาตกระกำลำบากอยู่นอกเมือง ก็ทรงให้ความช่วยเหลือพอที่พระบิดาจะดำรงชีพอยู่ได้ พระจันทกุมารปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมาจนถึงที่สุดแห่งพระชนม์ชีพ ก็ได้เสด็จไปเสวยสุข ในเทวโลก ด้วยเหตุที่ทรงเป็น ผู้ปกครองที่ดี ที่ทรงไว้ซึ่ง ความยุติธรรม ไม่หลงเชื่อ วาจาคนโดยง่าย และ ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อตรง

คติธรรม : บำเพ็ญขันติบารมี
เรื่องอาฆาตจองเวรนั้น ย่อมให้ทุกข์กลับคืนแก่ตนในที่สุด และความเขลาหลงในทรัพย์และสุขของผู้อื่นก็ย่อมให้ผลร้ายแก่ตัวได้ในไม่ช้าเช่นกัน


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

mp 3 (for download) : ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

โยม : ขอเรียนถามหลวงพ่อหน่อยครับ คือช่วงนี้ ไม่ทราบว่าสภาวะจิตของผมเป็นยังไงบ้างครับ มันเลวร้ายมากรึเปล่าครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เลวร้ายนะ ถ้าพูดตรงไปตรงมา สภาวะตอนนี้ดี แต่ก่อนนี้อึดอัดรู้สึกมั้ย แน่นกว่านี้เยอะเลย แต่ก่อนเพ่งลูกเดียว แล้วมีทิฏฐิด้วยว่า มีทฤษฎีน่ะ ทิฏฐิ คือทฤษฎี ว่าต้องเพ่ง ที่นี้เราคอยรู้สึกเอา รู้สึกเอา ทีแรกหลวงพ่อบอกให้รู้สึกตัวนะ ยังไม่มั่นใจ ต้องภาวนา ต้องมีรูปแบบ ต้องเพ่งไว้ กำหนดไว้ ตอนนี้ใจมันเริ่มคลายออก เริ่มเป็นความรู้สึกตัว ที่ภาวนาตอนนี้ถือว่ามีพัฒนาการนะ อย่างเวลาเราดูพัฒนาการทางจิตใจนี่ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส ดูแบบสภาพัฒน์นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๐
File: 491118B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาพเก่าๆของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น (หาดูยากมาก)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ชัด มีความหมาย ๒ นัยยะ

mp 3 (for download) : รู้ชัด มีความหมาย ๒ นัยยะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้ชัด มีความหมาย ๒ นัยยะ

รู้ชัด มีความหมาย ๒ นัยยะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : จริงๆไม่ได้ยากนะ ง่าย! เราไม่สามารถเห็นสภาวะได้ เราก็ชอบไปคิดว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้… เข้าใจผิด คิดว่าต้องเดินท่านั้น ต้องนั่งท่านี้ ต้องหายใจอย่างนั้นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน ท่านสอนแค่ว่านั่งอยู่ก็รู้ชัด ยืนอยู่ก็รู้ชัด เดินอยู่ก็รู้ชัด

คำว่า “รู้ชัด” ไม่ได้แปลว่ารู้ชัด ๆ รู้ชัดหมายถึงสองอย่าง อันแรกเลยรู้ว่ารูปนี้เคลื่อนไหว เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว อันที่สองรู้ชัดถึงความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนั้น รู้ว่าไอ้ตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่เราหรอก วัตถุมันกำลังเคลื่อนไหว

ยกตัวอย่าง หายใจเข้า หายใจออก ก็คอยรู้ รู้ว่าอันแรกก็รู้ว่าตอนนี้มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก การหายใจเข้าหายใจออกนี่มีสติรู้ มีปัญญาเข้าใจว่า ไอ้สิ่งที่ไหลเข้าไหลออก ไม่ใช่เราหายใจนะ ธาตุมันกระเพื่อม ธาตุมันไหว ธาตุมันไหลเข้า ธาตุมันไหลออก นี้ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์อะไร

เพราะฉะนั้นที่ว่าให้รู้ ให้รู้นี่ มันจะคลุมนัยยะ ๒ อย่าง

(๑) อันหนึ่ง มีสติรู้สภาวะ เช่นยืน เดิน นั่ง นอน หายใจเข้า หายใจออก มีสติระลึกรู้

(๒) มีปัญญาเข้าใจลักษณะของ รูปธรรมนามธรรมนั้น เช่นเราเข้าใจอย่างเราขยับ เราจะรู้สึกเลย ถ้าเรารู้สึกถูกต้องนะ ใจจะโปร่งๆ ไม่มีน้ำหนักนะ ถ้าใจเกิดมีน้ำหนักขึ้นมานี่…ของปลอม รู้ปลอม ถ้ารู้ถูกต้องใจจะไม่มีน้ำหนัก จะรู้สึกถึงความไหวอยู่ แล้วก็มีปัญญารู้ด้วย นี่แค่รูปเท่านั้นเอง รูปมันเคลื่อนไหว แต่ไม่ใช่คิดเอานะ เป็นความรู้สึก…วิปัสสนารู้สึกเอา ไม่ได้คิดเอา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันเสารที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๐
File:
491118B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๗ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จิตแส่ส่าย ชอบหาเรื่องใส่ตัวให้ทุกข์

จิตแส่ส่าย ชอบหาเรื่องใส่ตัวให้ทุกข์

ถาม : จากการตามดูกายใจตัวเอง สังเกตุว่าจิตใจตัวเองชอบแส่ส่ายไปคิดนึกปรุงแต่งแล้ว
ทำให้ตัวเองทุกข์บ้าง มีโทสะบ้าง กิเลสเกิดเยอะแยะ พอทุกข์แล้วก็เลยไม่ชอบ
ที่จะถามคือ เวลาจิตไปทำงานอะไรหรือไปนึกคิดปรุงแต่ง เราก็ตามดูไปเฉยๆเลย
ใช่ไหมค่ะ อย่าไปห้ามหรือคอยเตือนตัวเองว่าอย่านะ อย่าคิด ตามดูไปเฉยๆ อยากคิด
ก็ปล่อยมันคิดไป  ;D

ตอบ  : แค่รู้ว่าจิตหลงไปคิดนึกปรุงแต่งก็พอแล้วครับ
แล้วก็ไม่ใช่ปล่อยให้คิดฟุ้งไปเรื่อยๆ นะครับ
แต่ให้รู้ว่าจิตหลงไปคิด รู้ว่าฟุ้งซ่านไป รู้ไปสบายๆ
ก็จะเห็นว่า จิตที่นึกคิดปรุงแต่งเกิดแล้วเดี๋ยวก็ดับ
รู้ได้บ่อยๆ จิตก็จะสงบลงเองตามสมควร
และสงบเพียงพอที่จะเจริญสติปัญญาต่อได้ครับ

ถาม : หลักการคือ  ปรุง>รู้  ถ้าไม่ปรุงก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกไป พอลืมลมก็คือหลง แล้ว
กลับมารู้ใหม่ว่าเมื่อกี้หลง   ใช่ไหมค่ะ?

ตอบ : ถ้าดูลมเป็นเครื่องอยู่ พอหลงไปคิด หลงไปมอง หลงไปฟัง ฯลฯ
แล้วรู้ว่าหลง ก็กลับมารู้ลมสบายๆ ต่อไป
แล้วถ้าเกิดปรุงแต่งอารมณ์ทางใจขึ้นมา ก็มาหัดดูจิตไป
พออารมณ์ทางใจสงบลง ก็กลับไปรู้ลมสบายๆ ต่อไปครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: รถตู้ฟรี เดือนมิถุนายน เพื่อไปฟังธรรมสำนักสงฆ์สวนสันติธรรม

รถตู้ฟรี เพื่อไปฟังธรรม สวนสันติธรรม

รถตู้ฟรี เพื่อไปฟังธรรม สวนสันติธรรม


หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม

ไม่มีการแสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม


รถตู้โดยกลุ่มธรรมดา.net ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางกลุ่มธรรมดา.net

รถตู้โดยกลุ่มธรรมทาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางรถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น

รถตู้โดยลุงเมา (คณะเจ้าภาพหลากหลาย) กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางรถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น

รถตู้โดยชมรมพุทธศาสน์ กฟผ. กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางรถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น


1. รถตู้โดยกลุ่มธรรมดา.net

มิถุนายน พ.ศ.2554 (ดูรายการรถตู้ฟรีโดยเ้จ้าภาพท่านอื่น คลิ้กที่นี่)

วัน เวลา นัดพบ วันที่รับสมัคร
วันอาทิตย์ที่ 29 พ.ค. 54 5.00 น.
5.10 น.
ปั๊มเอสโซ่ บางแค
ปั๊มปตท. พระราม 2
16 – 26 พ.ค. 54
วันอาทิตย์ที่ 5 มิ.ย. 54 5.00 น. ปั๊มปตท. รังสิต 23 พ.ค. – 1 มิ.ย. 54
วันเสารที่ 18 มิ.ย. 54 5.00 น. ปั๊มเอสโซ่ สถานีอารีย์ 6 – 15 มิ.ย. 54
วันเสาร์ที่ 25 มิ.ย. 54 5.00 น. ปั๊มปิโตรนาส เจริญนคร 13 – 22 มิ.ย. 54
วันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย. 54 5.00 น.
5.10 น.
ปั๊มเอสโซ่ บางแค
ปั๊มปตท. พระราม 2
13 – 22 มิ.ย. 54

แผนที่
(คลิ้กที่ภาพ เพื่อดูแผนที่ขนาดเต็ม)

แผนที่ ปั๊มพ์ ปตท.รังสิต

แผนที่ ปั๊มพ์ ปตท.รังสิต

แผนที่ ปั๊มเอสโซ่บางแค

แผนที่ ปั๊มเอสโซ่บางแค

ปั๊มปตท.พระราม 2

ปั๊มปตท.พระราม 2


โดยมีรายละเอียดและการสำรองที่นั่ง ดัง นี้
1. กรุณาสำรองที่นั่งภายในวันเวลาที่ รับสมัคร โดยส่งชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และจำนวนที่นั่งที่ต้องการจองมาที่

    คุณเอ้ หมายเลขโทรศัพท์: 089-445-6269 (เวลา บ่าย 2 ถึง 2 ทุ่ม ทุกวัน)
    คุณดี หมายเลขโทรศัพท์: 089-694-2994
    โดยโทรศัพท์ หรือ ส่งข้อความเท่านั้น กรุณาอย่าฝากข้อความ

2. ทางกลุ่มฯของดรับบริจาคหรือเรี่ยไร สมทบทุนทุกกรณี หากมีการเรี่ยไรจากผู้ให้บริการ จะไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มฯ และทุกท่านมีสิทธิ์ที่จะไม่ต้องสมทบทุนได้ และหากมีกรณีเช่นนี้ขอความกรุณาแจ้งมาทางเมล์ของกลุ่มฯด้วยครับ

3. หากมีปัญหาจากการให้บริการ หรือไม่ได้รับความสะดวกประการใด หรือมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาติดต่อมาที่ van.dhammada.net@gmail.com ได้

4. อนึ่งขอให้ทุกท่านตรงต่อเวลาและใน กรณีที่มีเหตุจำเป็นจะยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้ผู้อื่นได้ใช้สิทธิ์ในการเดินทางด้วยครับ


2. รถตู้โดยคณะเจ้าภาพอื่น

รายการรถตู้ฟรีเพิ่มเติม เพื่อเดินทางไปฟังธรรมที่สวนสันติธรรม (ดูรายการรถตู้ฟรีของ Dhammada.net คลิ้กที่นี่)

วันและเวลาออกเดินทาง จุดนัดพบ การสำรองที่นั่ง คณะเจ้าภาพ
5.30 น. อาทิตย์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน Mc Donald’s ที่ แมกซ์วาลู ศรีนครินทร์
(เปิด 24 ชม.)
ติดต่อ02-717-5111
ที่คุณกบ หรือ
คุณหนิงเท่านั้น
กลุ่มธรรมทาน
5.00 น. อาทิตย์ที่ 1 ของทุกเดือน ปั๊ม ปตท สนามเป้า ข้าง ททบ. 5
ตรงข้าม รพ.พญาไท 2
ติดต่อ ลุงเมา
084-360-6881,
086-780-4368,
086-556-2623
บ้านขนมนันทวัน จ.เพชรบุรี
5.00 น. อาทิตย์ที่ 2 ของทุกเดือน บ.สาลี่เอกชัย จ.สุพรรณบุรี
5.00 น. เสาร์หรืออาทิตย์ที่ 3
ของทุกเดือน
บ.ชัยรัชการ จก.
โตโยต้า บางนา-ตราด กม. 16
5.00 น. อาทิตย์ที่ 4 ของทุกเดือน กลุ่มเพื่อน ทพญ. ยาหยี,
ทพญ. จ๊ะจ๋า,
คุณ เจษฎ์จรรย์
5.00 น. อาทิตย์ที่ 5 ของทุกเดือน (ถ้ามี) คุณสุปรียา (น้อง)
5.00 น. อาทิตย์ที่ 2 ของทุกเดือน ม.เอเชียอาคเนย์ ม.เอเชียอาคเนย์
5.00 น. เสาร์ที่ 2 ของทุกเดือน
(กรุณาสำรองที่นั่ง
ก่อน 12.00 น.ของวันพฤหัสที่ 2 ของเดือน)
หน้าป้อมยาม กฟผ. ถ.จรัญสนิทวงศ์ ติดต่อ คุณใกล้รุ่ง
080-465- 4924
เวลา 9.00-20.00 น.
ทุกวัน หรือ
mdc@egat.co.th
กิจกรรมพัฒนาจิต
อ. บางกรวย จ. นนทบุรี
ชมรมพุทธศาสน์ กฟผ.

เนื่องจากเป็นการเดินทางของหมู่คณะ ขอให้ทุกท่านตรงต่อเวลา และในกรณีที่มีเหตุจำเป็นจะยกเลิกการสำรองที่นั่ง กรุณาแจ้งยกเลิกล่วงหน้าเพื่อให้ผู้อื่นได้มีโอกาสเดินทางแทน
หมายเหตุ
1. จะไม่มีการเดินทางตามตารางข้างต้นหากวันเดินทางที่กำหนดไว้ตรงกับวันที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรมปิด
2. รอบรถตู้ข้างต้นของดรับบริจาคหรือเรี่ยไร ทุกกรณี หากญาติธรรมมีความประสงค์จะร่วมบุญ กรุณาติดต่อเจ้าภาพโดยตรง หากมีการเรี่ยไรให้ช่วยค่าใช้จ่ายจากคนขับรถตู้ ขอความกรุณาแจ้งมาทาง santi.vangroup@gmail.com
3. หากมีข้อร้องเรียน คำถาม หรือมีข้อเสนอแนะประการใด กรุณาติดต่อมาที่ santi.vangroup@gmail.com หรือ mdc@egat.co.th (ในกรณีที่เป็นรถตู้ของชมรมพุทธศาสน์ กฟผ.)

ขออนุโมทนาคณะเจ้าภาพและญาติธรรมผู้แสวงหาธรรมะทุกท่าน


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 41234