Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

mp 3 (for download) : ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจเราอยากให้หาย ทำไมใจเราอยากให้หาย เพราะมันอยากดี อยากสุข อยากสงบ จิตใต้สำนึกนี้มันรักตัวเอง มันรักกาย รักใจนี้เหนียวแน่น คิดว่ากายกับใจเป็นเราเหนียวแน่นมาก อยากให้ดี อยากให้สุข อยากให้สงบ แล้วหาทางทำ มีความอยากเกิดขึ้น กับมีความหลงผิดว่ากายกับใจเป็นเรา ก็ไปหลงรักมันเข้า ไปยึดถือมันเข้า เสร็จแล้วก็เลยอยาก เกิดตัณหา เกิดอยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ เกิดการกระทำกรรมการสร้างภพ กำหนดโน้นกำหนดนี้หาทางแก้ไขหาทางรักษาไปเรื่อย สิ่งที่เกิดขึ้นมา คือ ทุกข์นั่นเอง ทุกข์แต่เกิด คือ อวิชชามีอยู่ ไม่รู้ความจริงของกายของใจ คิดว่าเป็นตัวเรา ยึดถือเหนียวแน่นว่าเป็นเรา ก็เกิดตัณหา มีอวิชชาก็เลยมีตัณหาขึ้นมา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราสงบ อยากให้ตัวเราดี อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ อยากให้ตัวเราบรรลุมรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่า อยาก กับคำว่า ตัวเรา พอมีความอยากเกิดขึ้นจิตใจก็ดิ้นรนทำงาน ทำอย่างนี้น่าจะดีๆ ทำอย่างนี้น่าจะไม่ดี จิตใจจะทำงานดิ้นไปเรื่อยๆ

จิตใจที่ทำงาน จิตใจที่ดิ้นรน จิตใจที่เกิดภาระทางใจขึ้นมา มีความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์ทางใจก็เกิดเพราะว่าใจมันดิ้น พอยิ่งดิ้นแล้วก็ทุกข์นะ พอทุกข์ก็ยิ่งดิ้นอีก อยากให้หาย นี้เข้าวงจรของมัน ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้นนะ ใครๆก็พยายาม ทำอย่างไรมันจะดี ทำอย่างไรมันจะสุข ทำอย่างไรจะสงบ ดิ้นไปเรื่อยๆน่าสงสารนะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ละความเห็นผิดได้ ละอวิชชาได้ ตัณหาจะดับเอง ละความเห็นผิดในว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษนะ

พวกเราไม่สามารถจะเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์ได้ ไม่ใช่ภูมิที่พวกเราจะเห็นได้ สิ่งที่พวกเราเห็นได้ขณะนี้ก็คือ กายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นได้แค่นี้แหล่ะนะ เกินกว่านี้เห็นไม่เป็น เห็นไม่ได้ รู้ไม่ได้ด้วยใจ ตราบใดที่ยังเห็นว่า กายเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง จิตเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันก็ยังมีการดิ้นรนต่อไปอีก เรียกว่า ตราบใดไม่รู้ว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เรียกว่า ไม่รู้ทุกข์นะ ตัณหา คือ ตัวสมุทัยก็ยังมีอีก ใจมันดิ้นหาความสุข ดิ้นหนีความทุกข์ไปเรื่อยๆ เพราะยังมีทางเลือกอยู่ ถ้ามารู้กายรู้ใจมากเข้าๆ วันหนึ่งรู้แจ้งแทงตลอดลงในขันธ์ ๕ ในกายในใจ ในรูปในนามอันนี้ นี่ทุกข์ล้วนๆนะ เห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่ใช่ตัวเราเลย ใจจะวาง มันจะไม่อยากให้กายนี้ใจนี้มีความสุขอีกต่อไปแล้ว เพราะกายนี้ใจนี้ทำอย่างไรก็ไม่สุขหรอก มันเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ล้วนๆ มันรู้ด้วยปัญญาแล้วทำให้สุขไม่ได้ พอรู้ว่าทำให้สุขไม่ได้ มันจะวางจะปล่อยวาง แต่ถ้ายังมีทางเลือก มีสุขกับมีทุกข์ มันจะเลือกเอาสุขจะเลือกหนีทุกข์ ใจก็ดิ้นไปเรื่อยๆ

นั้นอยู่ที่ความเข้าใจของเรานี่เอง ถ้าเมื่อใดเราสามารถเข้าใจรูปนามกายใจ ขันธ์ ๕ อะไรของเรานี้ ว่ามันไม่เที่ยงนะ มันเป็นตัวทุกข์แท้ๆนะ มันบังคับไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่อาศัยเกิดขึ้นมาชั่วคราวแล้วก็แตกสลายไป ทั้งรูปทั้งนามเป็นอย่างนี้แล้ววาง ใจจะหมดความดิ้นรน เรียกว่า ตัณหาถูกละไป รู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อใด สมุทัย คือ ตัณหาถูกละโดยอัตโนมัติ อัตโนมัติแล้วไม่ขึ้นมาอีกแล้ว เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว

ของพวกเรา ภาวนาที่อยู่ครึ่งๆกลางๆนะไม่ใช่ปุถุชนธรรมดาๆ เราจะเห็นว่าถ้ามีความอยากแล้วมีความทุกข์ ถ้าเกิดความอยากนะใจก็ดิ้นรน ใจเป็นทุกข์ เราเห็นได้แค่นี้นะ เรายังไม่เห็นหรอกว่าที่ดิ้นรนก็เพราะว่า มันรักตัวเองๆ เพราะมันเห็นว่า กายนี้ใจนี้เป็นของดีของวิเศษ ถ้าเมื่อใดมันเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานะ มันเลิกรักตัวเอง มันก็จะเลิกดิ้นรน หมดตัณหาที่จะเที่ยวหาความสุข เที่ยวหนีความทุกข์ ตัณหาพูดย่อๆเลยนะ จริงๆแล้วก็คือ การวิ่งหาความสุข วิ่งหนีความทุกข์นั่นเอง ดิ้นรนไป พอดิ้นรนแล้วก็ทุกข์มากกว่าเก่า ใจเป็นทุกข์อึดอัดขัดข้องขึ้นมา

นั้นหน้าที่เรามีนิดเดียวนะ รู้กายรู้ใจๆ อย่างที่เขาเป็น รู้ไปเรื่อยๆ รู้จนวันหนึ่งมันอิ่ม รู้จนวันหนึ่งมันพอนะ มันพอ มันพอของมันเอง ตรงที่มันพอของมันเอง มันวางของมันเองๆ  ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ ไม่มีใครทำได้เลยสักคนเดียวในโลกนี้ จิตเขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เมื่อเขามีปัญญาแก่รอบในกองทุกข์จริงๆ ต้องเห็นขันธ์ ๕ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เมื่อไหร่เขาวางของเขาเองแหล่ะ

นี่พวกเราเห็นไม่ได้ เราก็เห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เราเห็นได้แค่นี้ เห็นแค่นี้ก็ยังดี รู้สึกปัญญามันก็เกิดเป็นลำดับๆไป มันก็จะเห็นเลย ความสุขก็ชั่วคราวนะ ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วคราว พอชั่วคราวๆไปเรื่อยในที่สุด จิตหยุดความดิ้นรน นี่พอจิตหยุดความดิ้นรน จิตจะไปเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน เห็นนิพพาน นิพพานนี่ไม่มีตัวมีตนอะไร มีความสงบ สันติ ถ้าฝึกลำดับๆไปนะ วันหนึ่งมันรู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจแล้วก็พ้นแล้ว มันรู้ทุกข์นั่นแหล่ะ ละสมุทัย ทำนิโรธ คือ นิพพานให้แจ้งขึ้นมาต่อหน้าต่อตา การรู้ทุกข์จนละสมุทัย แจ้งนิโรธนี่แหล่ะ เรียกว่า มรรค เรียกว่า การเจริญมรรค การเจริญมรรคจริงๆ ก็คือ การรู้ทุกข์นั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491124B.mp3
Time: 1.54 – 8.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความสุขเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้จริง

mp3 (for download) : ความสุขเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

อย่างคนไหนภาวนากับหลวงพ่อมาช่วงหนึ่ง รู้สึกไหม ความสุขยังน่าเบื่อเลย ใครรู้สึกไหมว่า ความสุขก็พึ่งพาอาศัยไม่ได้นะ นี่เราภาวนาไปเราเห็นเลย ความสุขของชั่วคราว แต่เดิมเราคิดจะเอาความสุขเป็นที่พึ่งที่อาศัยนะ เราอยากได้ความสุข เราดิ้นรนหาความสุขตลอดชีวิตเลย คิดว่าทำอย่างนี้แล้วจะมีความสุข คิดว่าดูอันนี้แล้วจะสุข คิดว่าฟังอันนี้แล้วจะสุขนะ คิดว่าคิดเรื่องนี้แล้วจะสุข สุดท้ายนะ ความสุขอันนั้นก็อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป นี้พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก โอ้ ความสุขก็เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้นะ เป็นของชั่วครั้งชั่วคราว มีเหตุก็เกิดขึ้นมา เดี๋ยวหมดเหตุก็ดับไปอีก

ไม่มีอะไรที่จะพึ่งพาอาศัยได้เลยในโลกนี้นะ วิ่งหาความสุขแทบตายเลย เสร็จแล้วความสุขก็ไม่ได้ให้อะไรมากกว่าว่า วันหนึ่งมันก็ผ่านไป นี่เฝ้าดูลงไปนี้นะ ในที่สุด ใจมันจะค่อยๆเบื่อ เพราะเห็นตามความเป็นจริงนะจะเบื่อ เบื่อสุข และเบื่อทุกข์เท่าๆกัน เบื่อกุศลและอกุศลเท่าๆกัน เพราะมีปัญญาเห็นความจริงทุกอย่างเกิดแล้วดับหมดเลย อุตส่าห์มาฟังธรรมนะจิตแช่มชื่นเบิกบาน สังเกตไหม กลับบ้านวันสองวันก็หายแล้วนะ หรือบางคนกลับไปนิดเดียวก็หายแล้ว บางคนไม่ทันจะออกจากวัดก็หายแล้วนะ ทุกอย่างนะมันชั่วคราวหมดเลย เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้จริงหรอก เห็นแล้วเบื่อนะ พอเบื่อหน่ายใจมันก็คลายความยึดถือลง อย่างเราเห็นว่าความสุขก็น่าเบื่อนะ แต่เดิมนะอยากได้ความสุข พอเห็นว่าความสุขก็ของน่าเบื่อพึ่งพาไม่ได้นะ ความดิ้นรนที่จะหาความสุขมันก็ลดลง

เราเห็นความทุกข์นะก็เป็นของชั่วคราวอีกนะ แต่เดิมเกลียดมันไม่อยากให้มีเลย ดิ้นรนใหญ่ ดิ้นเท่าไหร่ก็หนีมันไม่พ้นนะ ในที่สุดใจเป็นกลางกับมันนะ อยู่กับมันได้ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดี ทั้งชั่วนะ เบื่อตัวเองก็หนีไม่ได้ เบื่ออย่างไรไปไหนก็เอากายเอาใจไปด้วย เอาสุขเอาทุกข์ไปด้วย เอาดีเอาชั่วไปด้วย ไปไหนก็เอาไปด้วย นี่เฝ้าดูนะ ใจมันจะเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายแล้วก็คลายความยึดถือ ความสุขก็ยึดไม่ได้ ความทุกข์ก็ยึดไม่ได้ ห้ามไม่ได้นี่ ไม่รู้จะห้ามอย่างไรนะ กุศลทั้งหลายก็ยึดเอาไว้ไม่ได้ สั่งให้มีตลอดก็ไม่ได้นะ อกุศลนะห้ามมันไม่ฟังหรอก มันจะมามันก็มานะ นี้เฝ้าดูของจริงไปนี้นะ ใจก็เบื่อหน่ายคลายกำหนัด คลายความผูกพันในสุขในทุกข์ ในดีในชั่วนะ พอสิ่งใดเกิดขึ้นมาใจก็รู้ด้วยความเป็นกลาง ใจที่รู้ด้วยความเป็นกลาง เพราะมีปัญญาแล้วเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว ใจที่เป็นกลางนี้ ใจจะไม่ดิ้น หมดความดิ้นรนของจิตนะ จิตที่หมดความดิ้นรนนะ จะมีความสงบสุข

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ 33

521211

9.17 – 12.03

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

mp 3 (for download) : ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

พักนี้นะก็คือ ขี้เกียจขี้คร้าน ปล่อยตัวปล่อยใจตามโลกไป ความเพียรนี้มันเกิดจากความโลภก่อน อยากได้ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ อยากได้มรรคผลนิพพาน เสร็จแล้วก็เกิดความดิ้นรนในใจเรา พยายามที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดานะ ดิ้นรน ส่วนมากก็จะดิ้นรนบังคับตัวเองเท่านั้นแหล่ะ ดิ้นรนบังคับกาย บังคับใจ จะให้มันเรียบร้อย เพราะฉะนั้นตรงที่พักอยู่กับเพียรอยู่นี้ เป็นความสุดโต่ง ๒ ด้านนะ อันนี้มันมาจากพระสูตรอันหนึ่ง มีเทวดาองค์หนึ่ง รู้สึกจะพระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ มั้ง ไม่รู้นะ จำไม่ได้ถนัดแล้ว นานแล้วนะ มีเทวดาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปถามพระพุทธเจ้า บอกข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร ข้ามห้วงกิเลสได้อย่างไร พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ อันนี้แกล้งชมนะ ให้กำลังใจ ความจริงเทวดามันก็ทุกข์นั่นแหล่ะนะ แต่ว่าเทวดาองค์นี้ท่านสำคัญตนว่าเป็นพระอริยะ ก็เลยมาถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ข้ามได้อย่างไร ในใจก็ว่า ฉันข้ามมาแบบนี้ พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้โดยไม่พักอยู่ และไม่เพียรอยู่ เทวดาฟังแล้วงงเลย ไม่พักอยู่เทวดาเข้าใจ พัก หมายถึง ขี้เกียจขี้คร้านไม่ภาวนา แต่พระพุทธเจ้าบอก ท่านข้ามโอฆะได้โดยไม่เพียรด้วย เทวดางงนะ ก็เลยถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ให้พระองค์ช่วยขยายความ พระพุทธเจ้าก็ขยายความบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราข้ามโอฆะได้ โดยไม่พัก และไม่เพียร นี้เทวดาฟังเท่านี้ได้พระโสดาบัน มีใครได้หรือยัง ฟังเหมือนเทวดาแล้วนะ ได้มั้งไหม ยังไม่ได้ ไม่ได้ต้องขยายอีกนะ เผื่อจะได้

คำว่า พักอยู่ นี้หมายถึง การที่ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส หมายถึงอะไร หมายถึง กามสุขัลลิกานุโยค เพลิดเพลินไปในอารมณ์ทางโลกๆ เพลินไปในการดู ในการฟัง ในการดมกลิ่นลิ้มรส ในการสัมผัสต่างๆนะ เพลินอยู่กับโลก นี่เรียกว่า พักอยู่ แล้วจมลงใช่ไหม ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่แล้วจะจมลง ก็คือ ถ้าเราหลงตามโลก ตามกิเลสไป จิตใจเราจะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ลงถึงอบายจนได้ แล้วก็เพียร แปลว่าอะไร เพียร หมายถึง การบังคับตัวเองนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ นี่พูดแบบสุภาพนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย ทันทีที่คิดถึงการปฏิบัตินี้ ถ้าไม่บังคับกาย ก็บังคับใจ ยกตัวอย่าง สมมุติเราจะนั่งสมาธิ เราจะต้องเริ่มด้วยการบังคับกายก่อน ต้องนั่งให้มันเท่ๆ เสร็จถัดจากนั้นบังคับใจ เนี้ยนั่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆนะ ท่านบอกทำแล้วจะลอยขึ้น ลอยไปไหน ลอยไปพรหมโลก เพราะฉะนั้นทำไปๆ ก็ไปสร้างภพสร้างชาติขึ้นอีก

ทางสายกลางนั้น ไม่พักอยู่ คือ ไม่หลงตามกิเลสไป ไม่เพียร คือ ไม่เอาแต่นั่งเพ่งตัวเอง อย่างบางคนดูท้อง พอง ยุบ ก็ไปเพ่งท้อง เดินจงกรมก็ไปเพ่งเท้า ไปรู้ลมหายใจก็ไปเพ่งลมหายใจ นั่นเรียกว่า เพียรอยู่ เพียรอยู่แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไร ได้ความดี ถ้าพักอยู่ได้ความชั่ว ทั้งดีและชั่วก็นำไปสู่ภพภูมิใหม่ ภพความชั่วก็นำไปสู่อบายภูมิ ภูมิที่ตกต่ำ ความดีก็นำไปสู่ สุขคติภูมิ ไม่ได้นำไปสู่นิพพาน แต่เราทำชั่วไม่ได้นะ ถ้าทำชั่วเราจะไปอบายภูมิ หน้าที่ของเราเดินในทางสายกลาง ทางสายกลาง ก็คือ การมีสติรู้กายตามที่มันเป็น มีสติรู้จิตใจ ตามที่จิตใจเขาเป็น ดูเข้าไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: 27
File: 511018B.mp3
Time: 29.57 – 34.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ยอมรับความจริงได้จะไม่ทุกข์

mp3 (for download) : ยอมรับความจริงได้จะไม่ทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ทุกอย่างมันผ่านมาก็ผ่านไป ทุกอย่างเกิดได้ก็ดับได้ ไม่มีนะของถาวร สุขถาวรไม่มี ทุกข์ถาวรไม่มี กุศลอกุศลถาวรไม่มี เห็นไปเรื่อย ใจมันก็ค่อยยอมรับความจริงมากขึ้นๆ จิตใจที่ยอมรับความจริงจะไม่ทุกข์นะ  จะทุกข์น้อยลงๆ จิตใจที่ไม่ยอมรับความจริงนั่นแหละทุกข์

อย่างเราต้องแก่ เรายอมรับไม่ได้ว่าแก่ ก็กลุ้มใจนะ

เราต้องเจ็บ เรายอมรับไม่ได้ว่าเจ็บ ก็กลุ้มใจ

เราจะต้องตาย พอใกล้ตายแล้วยอมรับไม่ได้ ก็กลุ้มใจ

เราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เรายอมรับไม่ได้เราก็เป็นทุกข์ขึ้นมา

เราต้องเจอสิ่งที่เราไม่รักบ้าง ถ้าเรายอมรับความจริงตรงนี้ไม่ได้ เราก็ทุกข์ขึ้นมา

การที่เรามาเจริญวิปัสสนาจนกระทั่งเราเห็นความจริงว่าทุกอย่างมาแล้วก็ไป ทุกอย่างมาแล้วก็ไป บังคับมันไม่ได้หรอก สิ่งทั้งหลายนะถ้ามีเหตุมันก็เกิด ถ้าหมดเหตุมันก็ดับไป ใจมันยอมรับตรงนี้ได้ มันจะมีความสุขขึ้นเยอะเลย เพราะมันยอมรับสภาวะที่กำลังปรากฎต่อหน้าต่อตาได้แล้ว

จะแก่ขึ้นมา อืม มันธรรมดาก็ไม่ทุกข์นะ จะเจ็บขึ้นมาก็ธรรมดา มันก็เจ็บแต่กาย ใจมันไม่เจ็บไปด้วย นี่เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ จนปัญญามันเกิด ใจก็ยอมรับความจริง ยอมรับความจริงว่าทุกอย่างในชีวิตเรานี้ไม่เที่ยงนะ ทุกอย่างในชีวิตมีแต่ความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ความสุขก็ถูกบีบคั้น มีความสุขอยู่ได้เดี๋ยวเดียว ความสุขก็หายไปแล้ว ทุกอย่างผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เป็นไปตามเหตุ ไม่ใช่ตามที่เราสั่งได้ เฝ้ารู้จนใจยอมรับตรงนี้นะ ใจก็ค่อยคลายความดิ้นรนลงไป คลายความดิ้นรนลงไปก็เข้าสู่ความสงบสันติมากขึ้นๆ   ภาวนาแล้วเข้าสู่ความสงบสันติ

การเข้าสู่ความสงบสันติทำได้หลายแบบ ทำด้วยสมถะก็ได้ แต่มันสงบชั่วครั้งชั่วคราว แต่ถ้าเจริญปัญญาจนจิตมีปัญญานะ จิตยอมรับความจริงว่าสภาวะทั้งหลายมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ทั้งกายทั้งใจ ทุกสิ่งทุกอย่างไหลมาไหลไป ยอมรับตรงนี้ได้ ใจจะค่อยคลายความทุกข์นะ ใจจะเข้าสู่ความสงบ

มันสงบได้อย่างไร เช่น  ความทุกข์เกิดขึ้น คนซึ่งใจยอมรับความจริงไม่ได้ก็จะดิ้น เวลามีความทุกข์นี่ใจจะดิ้นรนใหญ่เลย หนีความทุกข์ ดิ้นๆ ยิ่งดิ้นยิ่งทุกข์นะ พอมีความสุขขึ้นมา ใจก็หลงระเริง ดิ้นรนนะอยากให้มันอยู่นานๆ พอมันไม่อยู่ก็ทุกข์อีกแล้ว ใจมันทำงานขึ้นมามันก็ทุกข์

แต่พอยอมรับความจริงนะ ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ความสุขเกิดขึ้นก็ไม่หลงระเริง ใจก็สงบสบาย ความทุกข์เกิดขึ้นก็ไม่ทุรนทุราย รู้ว่ามันอยู่ชั่วคราว ใจก็สงบ ใจก็สบาย เราภาวนาไปนะ สุดท้ายเราได้ความสงบ ได้ความสบาย ได้สันติสุข สันติสุขนั้นแหละคือนิพพาน

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่๓๑

ไฟล์ 520718

เวลา 17min21-20min28

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

mp 3 (for download) : ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง

จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง

ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501020A.mp3
Time: 25.10 – 32.06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ทำหน้าที่ต่างกัน เราต้องรู้ว่าอะไรใช้สู้กับอะไร

mp3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา มีหน้าที่ต่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศีล สมาธิ ปัญญา ทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน

‘ศีล’ นี่ละอะไร ละการทำผิดทำบาปทางกาย ทางวาจา ‘สมาธิ’ ละการผิดทำบาปทางใจ ‘ปัญญา’ ละความเห็นผิด คนละอันกันนะ เพราะฉะนั้น เราจะเอาศีลมาละความเห็นผิดนี่ละไม่ได้ เอาสมาธิมาละความเห็นผิดนี่ละไม่ได้ มันละด้วยปัญญา ต้องรู้ว่าอันไหนใช้เครื่องมืออันไหน

กิเลสมีหลายชั้น ปัญญาละกิเลสที่ละเอียดที่สุด กิเลสที่ละเอียดที่สุดคือความเห็นผิด เห็นไหม ไม่ใช่แค่ ราคะ โทสะ โมหะ นะ มันคือหัวหน้าโมหะ ความเห็นผิดคือตัวอวิชชา เพราะฉะนั้นเราจะล้างด้วยปัญญา ‘อวิชชา’ คือความไม่รู้ ล้างด้วย ‘ปัญญา’ คือความรู้ เป็นคู่ปรับกัน รู้ความจริงของกายของใจ รู้แจ้งลงมาในกายในใจ ทีนี้จะรู้แจ้งลงมาให้กายในใจได้ จิตใจต้องตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว มีสมาธิก่อน ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ลืมเนื้อลืมตัวไป ปัญญาไม่เกิดหรอก หรือมีสมาธิแล้วก็ไปพอใจ นิ่งว่างอยู่ในสมาธินะ ไม่ยอมดูกายดูใจ มันก็ไม่เกิดปัญญา เพราะปัญญาคือการเห็นความเห็นจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้นะ ว่าอะไรใช้สู้กับอะไร

CD สวนสันติธรรม 33

521226A

15.32 – 16.57

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อไม่เคยเถลไถลจนลืมการปฏิบัติ

mp3 (for download) : หลวงพ่อปฎิบัติอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราส่งการบ้านนะ ไปหาอย่างหลวงปู่เทสก์นี่ ส่งการบ้านท่าน ออกจากท่านมานะ บทสนทนาธรรมหมดแล้ว ออกมา มีพระตามออกมานะ พระเคยมาถามหลายองค์เลย หลายครั้งด้วย ”โยมทำได้ยังไง พระทำสิบปียี่สิบปีไม่ได้เท่าโยม” (หลวงพ่อปราโมทย์) บอก “ผมทำทั้งวันนะ” ทำตั้งแต่ตื่นจนหลับนะ มีบ้างน่ะ เถลไถล ไปเที่ยวไปเล่น มีบ้าง ไม่ไช่ว่าซีเรียส ปฏิบัติตลอดเวลา แต่ไม่เคยไปเถลไถลจนกระทั่งลืมการปฏิบัติเลย ตามรู้กายตามรู้ใจของเราไปเรื่อยๆนะ

CDสวนสันติธรรมแผ่นที่ ๓๑

ไฟล์ 520718

เวลา 11min35-12min16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ให้ฝึกจิตเดินปัญญาด้วยการแยกธาตุแยกขันธ์

mp3 (for download) : วิธีฝึกจิตให้เดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้บางคนนี่ที่อินทรีย์แก่กล้านะ พอทำความรู้ตัวขึ้นมาปุ๊บ จิตตั้งมั่นมันรู้ตัวปุ๊บ เริ่มเดินปัญญาได้เองนะ มันเห็นกายแยกออกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู เห็นเวทนาแยกเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู เห็นสังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุศลนะแยกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู แยกออกมาได้ แล้วเห็นจิตนั้นเกิดดับเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง นี่บางคนที่เค้าทำมาแล้วนะพอจิตตั้งมั่นปุ๊บมันเห็นเองเลย นี้บางคนไม่เป็น บางคนไม่เป็นก็ต้องฝึกเอา

วิธีฝึกก็คือช่วยมันหัดแยกธาตุแยกขันธ์ ช่วยมัน วิธีช่วยทำอย่างไรดี นั่งก็ได้นะ นั่งให้สบายนะ เอาให้สบายสุดๆเลยนั่ง แต่อย่างนั่งหลับก็แล้วกัน สมมติว่านั่งสมาธิแล้วสบายก็นั่งสมาธิไป นั่งเก้าอี้แล้วสบายก็นั่งเก้าอี้ไปนะ มีเก้าอี้ตัวละแสนนั่งแล้วแทบจะปลิวแทบจะลอยก็นั่งไป ไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้เกี่ยวกับท่านั่งหรอก หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะว่า ไม่เกี่ยวกับอิริยาบถเลย ท่านบอกเอาหัวทิ่มพื้นนะเท้าชี้ฟ้า ก็ภาวนาได้ นี่ไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนั่งให้สบายไปก่อน นั่งให้สบายนะแล้วค่อยๆสังเกตไป ร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆหัดดู บางคนมันรู้เอง ถ้าคนไหนมันไม่รู้เองนะก็ช่วยมันหน่อย บางทีครูบาอาจารย์ ให้พิจารณากาย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่ พิจารณา ๆ ไป ช่วยมัน ช่วยมันดูเพื่อให้เห็นว่าร่างกายเป็นส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง หรือถ้าเราไม่พิจารณาเรานั่งดูเอาเลยก็ได้ เห็นร่างกายที่หายใจออก เห็นร่างกายที่หายใจเข้า เห็นร่างกายที่นั่ง ดูไปอย่างนี้ หรือร่างกายจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จริงๆได้ทุกอิริยาบถนะ แต่เอานั่งไว้ก่อน หรือใครถนัดเดินก็เดินไว้ก่อน ยกเว้นนอนนะ นอนนี่เอาไว้ทีหลังอย่าเพิ่งเลย หัดง่ายเกินไป งั้นเอายืน เอาเดิน เอานั่งไว้ก่อน ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ

อย่างหลวงพ่อถนัดนั่ง หลวงพ่อก็นั่งดูเห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้ ดูไปๆ จะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ร่างกายกับใจนั้นเป็นคนละอันกัน นี่มันเริ่มแยกแล้ว เริ่มแยกขันธ์แล้ว รูปขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นามขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นั่งต่อไปเรื่อยๆ นั่งให้สบาย นั่งเก้าอี้ตัวละหมื่น ตัวละแสนอะไรก็นั่งไป นั่งไปๆ สักพักหนึ่งก็เมื่อย มีไหมนั่งเก้าอี้แพงๆแล้วไม่เมื่อย ที่หลวงพ่อสังเกตนะ เก้าอี้ยิ่งแพงยิ่งนั่งแล้วเมื่อย เราคงไม่มีบุญนะ เวลาไปเทศน์ที่ไหนนะเค้าจะจัดเก้าอี้ที่นั่งแล้วยุบไปครึ่งตัว โผล่หัวออกมาหน่อยนึง โอ๊ยเมื่อยจะตาย นั่งเกร็งไว้ตลอดเลย นั่งลงไปนะประเดี๋ยวนึงก็เมื่อยขึ้นมา พอเมื่อยเราค่อยๆสังเกตนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความเมื่อย ร่างกายยังไม่ได้ขยับเลย เมื่อกี้ไม่เมื่อย ตอนนี้ชักเมื่อยขึ้นมาแล้วนี่ ค่อยดูอย่างนี้ เราจะเห็นว่าความเมื่อยกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เห็นว่าเวทนากับกายนี้เป็นคนละส่วนกันจริงๆ จิตเป็นคนดู นี่เราแยกได้สามขันธ์แล้วนะ

ทีแรกนั่งไปหรือเดินไปแล้วเห็นว่าร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดูนี่แยกกายกับจิตออก ถัดจากนั้น แยกต่อไปอีก นั่งไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ มันเกิดปวดเกิดเมื่อยขึ้นมา เราเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามา เข้ามาทีหลังหรอก ทีแรกไม่ปวดไม่เมื่อยนะ ความปวดความเมื่อยแทรกเข้ามา เป็นอีกขันธ์หนึ่ง ร่างกายกับความปวดเมื่อยคนละอันกัน จิตเป็นคนดู นี่ได้สามขันธ์แล้วนะ

ต่อไปพอร่างกายมันปวดมันเมื่อยมากขึ้นๆ จิตชักจะกระสับกระส่ายแล้ว ถ้าเราดูเป็นเราจะเห็นว่าจิตไม่ได้เมื่อย กายก็ไม่ได้เมื่อย ความปวดความเมื่อยนั้นแทรกเข้ามาอยู่ในกาย จิตไม่ได้เมื่อยเลยนะ จิตไม่เกี่ยวเลยแต่จิตกระสับกระส่ายเพราะจิตมันรักกาย มันรักว่า นี่ร่างกายของเรา ว่านั่งอย่างนี้เดี๋ยวจะเป็นอัมพาตนะ ยังไม่เคยเห็นใครนั่งสมาธิเป็นอัมพาตสักคนเลยนะ มีแต่ไปทำอย่างอื่นเป็นอัมพาต นี่เราค่อยดูไป พอมันเจ็บมันปวดมากขึ้นๆนะ ใจมันกระสับกระส่าย เราจะเห็นเลยนะว่า เมื่อกี้ใจมันเฉยๆนะ ตอนนี้ใจมันกระสับกระส่าย ใจกับความกระสับกระส่ายมันคนละอันกันอีก นี่ค่อยดูอย่างนี้ ทีแรกก็ดูกายนะกับจิต มีจิตเป็นคนรู้คนดู ต่อมาความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามาในกายเราก็เห็นความปวดความเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่กาย พอมันปวดเมื่อยมากนะความกระสับกระส่ายแทรกเข้ามาในจิต พอมีสติรู้ทันอีกก็เห็นว่า ความกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่จิต ความกระสับกระส่ายกับความปวดเมื่อยก็คนละอันกัน ความปวดอยู่ที่กายนะแต่ว่าใจมันทุรนทุรายขึ้นมา กังวลขึ้นมา กลุ้มใจขึ้นมา หงุดหงิดขึ้นมา โมโหขึ้นมา นี่มันมาเกิดที่ใจ แล้วมันก็ไม่ใช่ใจด้วย ความโกรธก็ไม่ใช่ใจ ความหงุดหงิดก็ไม่ใช่ใจ ใจเป็นคนดู นี่หัดแยกมันอย่างนี้นะ นี่ได้สี่ขันธ์แล้ว ได้ร่างกายนะ ขันธ์หนึ่ง เวทนาความปวดความเมื่อยขันธ์หนึ่ง ความทุรนทุรายของจิตใจนี่เป็นสังขารขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง จิตเป็นคนดูอีกขันธ์หนึ่ง สัญญาขันธ์อย่างเพิ่งไปยุ่งกับมัน ยุ่งกับสัญญาเร็วเกินไปเดี๋ยวบ้า เรียกสัญญาวิปลาส เอาไว้ก่อน งั้นเวลาท่านสอนท่านจะสอน กาย เวทนา จิต เห็นไหมจะสอนตรงนี้ แต่สัญญาเว้นไว้ก่อนอย่าเพิ่งไปยุ่ง บางคนไปยุ่งกับสัญญานะ พยายามดัดแปลงสัญญาเช่น เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ อย่างนั้นอย่าไปยุ่งกับมัน ให้รู้ รู้ลูกเดียวนะ รู้ลงในกาย รู้เวทนา รู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลของจิต แล้วก็รู้จิตใจของเราแต่ละส่วนๆ นี่หัดแยกอย่างนี้นะ ถ้ามันไม่แยกเองก็ช่วยมันแยก ตามวิธีที่หลวงพ่อเล่านี่ นั่งดูมันไป ค่อยๆพิจารณาค่อยๆแยกนะ

ที่นี้พอมันแยกแล้วนะ ขันธ์แต่ละขันธ์จะไม่ใช่ตัวเราแล้วจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นเลย ร่างกายถ้ามันแยกออกมาจากจิตเมื่อไร ร่างกายจะไม่ใช่ตัวเรา จะรู้สึกนะเป็นความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด จะรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจที่เป็นสุข ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นกุศล-อกุศลนี่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวเรา ตัวจิตเองที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ไม่ใช่เรา เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา คำว่าเรา หมายถึง เราถาวร มีเราที่เป็นอมตะ นี่เรียก อัตตา อัตตาหมายถึงมีตัวตนเราถาวร ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา

ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย

ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน

CD สวนสันติธรรม 33

521226A

17.46 – 28.09

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติ จากไม่มีศีลก็มีศีล จากไม่มีสมาธิก็มีสมาธิ จากไม่มีปัญญาก็มีปัญญา

mp3 (for download) : มีสติก็มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าดูจิตเป็นนะ เคยไม่มีศีล ก็จะมีศีล ไม่มีสมาธิ ก็จะมีสมาธิขึ้นมา หัดดูจิตดูใจของเรา มีสติรักษาจิตไปเรื่อย รู้ทันจิตไป กิเลสเกิดขึ้นรู้ทัน กิเลสเกิดขึ้นรู้ทัน ถ้าฝึกอย่างนี้เรื่อยนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตไม่ผิดศีลหรอก จิตไม่ผิดศีล กาย วาจาก็ไม่ผิดศีล รักษาใจไว้ได้ตัวเดียว กายวาจา ก็เรียบร้อยไปด้วย คนเราทำผิดศีลทางกาย ทางวาจาได้นั้น ก็เพราะว่ากิเลสครอบงำจิต กิเลสครอบงำจิตเพราะว่าไม่มีสติรู้ทัน เราอยากรักษาศีลให้สบาย ไม่ลำบาก อย่างคนไม่มีสติรักษาศีลยากที่สุดเลย เดี๋ยวก็เผลอ เดี๋ยวก็เผลอ เผลอแล้วก็ทำผิดศีลอีก ศีลกระพร่องกระแพร่ง ศีลโกโรโกโสอย่างนั้นใช้ไม่ได้ มีสติรู้ทันจิตบ่อยๆไว้ กิเลสเกิดรู้ทัน กิเลสเกิดรู้ทัน อย่างราคะเกิดแล้วรู้ทัน ราคะครอบงำจิตไม่ได้ ก็ไม่เป็นชู้กับใคร ไม่มีกิ๊ก มีอะไรหรอก ไม่ขโมยใครหรอก มันอัตโนมัติขึ้นมาอย่างนี้ โทสะเกิดขึ้นมีสติรู้ทันนะ โทสะครอบงำจิตไม่ได้ มันก็ไม่ฆ่าไม่ตีใคร เห็นมั๊ยสำคัญนะ มีสติรักษาจิตเอาไว้ คอยรู้ทันจิตไปเรื่อย กิเลสครอบงำไม่ได้ก็มีศีลขึ้นมา จิตใจฟุ้งซ่านได้ก็เพราะกิเลสนั่นแหล่ะ จิตใจทำผิดศีลได้ก็เพราะกิเลส จิตใจฟุ้งซ่านได้ก็เพราะกิเลส มันมีสติอยู่นะ จิตใจมันฟุ้งขึ้นมารู้ทัน ความฟุ้งซ่านก็ดับไป จิตมันคิดไปในเรื่องกาม มีกามฉันทะนิวรณ์ จิตมันตรึกไป คิดไปในกาม มีสติรู้ทันนะ กามฉันทะก็ดับไป ใจมันตรึกไปในทางพยาบาท คิดไปในทางพยาบาท มีสติรู้ทันนะความพยาบาทก็ดับไป มีสติรู้ทันใจมันฟุ้งซ่านรู้ทัน ใจมันหดหู่รู้ทัน ใจมันลังเลสงสัยรู้ทันขึ้น กิเลสพวกนี้จะดับไป

กิเลสระดับนี้ เรียกว่า นิวรณ์ เป็นกิเลสชั้นกลาง ถ้านิวรณ์มันทำงานขึ้นมาได้ มันจะกลายเป็นกิเลสอย่างหยาบ เป็น ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นมา ถ้า ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแล้วมันครอบงำจิต จะผิดศีล แต่ถ้านิวรณ์เกิดนะ ยังไม่แรงถึงขั้น ราคะ โทสะ โมหะ จะเสียสมาธิไป จิตจะฟุ้ง จิตจะเคลื่อนไป ลืมกายลืมใจแล้ว ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว งั้นเรามีสติรู้ทันจิต จิตมีนิวรณ์เกิดขึ้น กามฉันทะ ความพอใจในกามเกิดขึ้น พยาบาทเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความลังเลสงสัย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นคอยรู้ทันลงไป  กิเลสนิวรณ์มันก็ดับ อยู่ไม่ได้หรอก มันสู้สติไม่ได้ มีสติเมื่อไหร่มันไม่มีกิเลสหรอก

นี่เราก็ล้างความฟุ้งซ่านของจิตไป จิตไม่หลงปรุง หลงคิด หลงนึกไป จิตอยู่กับเนื้อกับตัว ตั้งมั่น หลุดออกจากโลกของความคิดได้  แม้สมาธิทำไปนะ เราจะหลุดออกจากโลกของความคิด และนิวรณ์นั้นมันลากให้เราปรุงไป ลากให้เราคิดไป คิดไปในกาม คิดไปในพยาบาท คิดฟุ้งซ่าน คิดหดหู่ คิดสงสัย นิวรณ์มันลากให้เราหลงไปคิดให้จิตฟุ้งซ่าน มีสติรู้ทันจิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วตอนนี้ พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว คราวนี้เดินปัญญาได้ เห็นมั๊ยสำคัญนะ มีสติรู้จิตไป กิเลสหยาบครอบงำไม่ได้ กายวาจาเรียบร้อย มีสติรู้ทันกิเลสอย่างกลางๆ เรียกว่า นิวรณ์  นิวรณ์นี่เป็นตัวกระตุ้น ถ้าปล่อยมันรู้ไม่ทันมัน จะกลายเป็นกิเลสหยาบ ถ้ารู้ทันมันใจก็สงบ ใจไม่ฟุ้งซ่านไปหลงไปอยู่ในโลกของความคิด เรียบร้อยใจสบายอยู่กับเนื้อกับตัว คราวนี้ก็เดินปัญญา

หลักของการเดินปัญญาเนี้ย ต้องแยกรูป แยกนาม แยกกาย แยกใจให้ได้นะ หลายคนที่พอมีสติขึ้นมาปุ๊บ รูปนามกายใจมันแยกเอง พวกที่มีบารมีนี่ มีสะสมมาแล้วเคยภาวนามาแล้ว พอใจรู้สึกตัวปุ๊บนี่ มันจะเห็นเลยร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเองเลย เห็นความรู้สึกสุขทุกข์อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเองนะ เห็นกุศล เห็นอกุศลอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง นี่มันเห็นได้เองนะ คนซึ่งมีบารมี อบรมมา อินทรีย์แก่กล้ามา บางคนไม่แก่กล้า พอรู้ตัวแล้วรู้อยู่เฉยๆ รู้ว่างๆอยู่นะ ไปเอาความว่าง น่าสงสาร ภาวนากับความว่าง เรียกว่า มักน้อยในเรื่องไม่ควรมักน้อย ต้องรู้กายต้องรู้ใจนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างอื่นเลย งั้นบางทีทำสมาธินะรู้ตัว ใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว รู้ตัว สว่าง ว่าง สบาย จิตไปค้างอยู่ตรงนี้ขี้เกียจขี้คร้านไม่เดินปัญญาต่อ อย่ามาคุยเรื่องมรรคผลนิพพาน บางคนเข้าใจผิดนะ บอกให้ประคองจิตให้ว่าง ไปงั้นนะ ว่างไปถึงที่หนึ่งแล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานไปได้ด้วยปัญญา

หลวงพ่อปราโมย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒
ก่อนฉันเช้า

CD สวนสันติธรรม 33
file: 521226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญปัญญาอย่างเดียว ทิ้งบารมีตัวอื่น ๆ ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้

mp3 (for download) : เจริญปัญญาอย่างเดียว ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนจะข้ามภพข้ามชาติได้ บารมีต้องเต็ม บารมีต้องครบ บารมีมีสิบตัว

บารมีที่เกิดจากการเจริญปัญญานี่ ‘ปัญญาบารมี’ บารมีอื่นๆ ก็ต้องทำอย่างอื่นด้วย อย่างเจริญเมตตาใช่ไหม ‘เมตตาบารมี’ เราตั้งใจปฏิบัติก็ต้องมี ‘ขันติ’ มี ‘อธิษฐานบารมี’ ตั้งใจมั่น มี ‘สัจจะ’ รักในความจริง มี ‘ทาน’ การเสียสละ นี่สิ่งเหล่านี้นะเป็นบารมีทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าดูถูก ไม่ใช่จะเจริญปัญญาอย่างเดียว ทิ้งบารมีตัวอื่นไปหมดเลย ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้หรอก บารมีทุกตัวนะจะส่งทอดเราขึ้นไป มันจะทำให้เราลดละความเห็นแก่ตัว ลดละความรักตัวเอง

ในนาทีสุดท้ายที่จะข้ามภพข้ามชาติจริงๆ ต้องเต็ม ถ้ากะพร่องกะแพร่งนะ ใจจะถอนเลย ใจสู้ไม่ได้ นาทีจะข้ามภพข้ามชาตินะ มันจะเห็นทุกข์มหาศาลเลย สำหรับคนทรงฌานนะจะเห็นทุกข์มหาศาลเลย ลำบากมาก เหมือนจะตาย นี่พอเหมือนจะตายขึ้นมานี่ ถ้าบารมีไม่พอนะ มันจะถอย อย่างเราตั้งใจไว้แล้วว่าเราจะสู้ตาย พอมันจะตายจริงๆ นะ ใจถอยแล้ว ไม่เอาดีกว่า รักษาชีวิตรอดไว้ เดี๋ยวค่อยภาวนาเอาใหม่ นี่บารมีไม่พอ อธิษฐานบารมีไม่พอ ไม่มีสัจจะกับตัวเองด้วย ไม่มีขันติด้วย ไม่มีทานบารมี กล้าสละชีวิตเพื่อธรรมะด้วย กลับมาอยู่กับโลกดีกว่า นี่ขาดเนกขัมมะบารมี เวียนกลับมาสู่กามอีก กลับมาสู่โลกอีก ไม่มีปัญญาบารมี ไม่รู้แจ้งอริยสัจ

เพราะฉะนั้นเราต้องสะสมทั้งหมดเลยนะ คุณความดีทั้งหลาย ทาน ศีล ภาวนา ภาวนามีสมถะ มีวิปัสสนา

CD สวนสันติธรรม 33

521226A

8.08 – 10.06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

mp 3 (for download) : สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สติปัฏฐานมีสองส่วน ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ และทำให้เกิดปัญญา

ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ ให้ตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิตไป

ส่วนที่ทำให้เกิดปัญญานี้นะ รู้กายลงไปเป็นปัจจุบัน แล้วก็ตามรู้จิต จะต่างกันนะ

ฉนั้นในขั้นที่เราจะกระตุ้นให้สติเกิด ก็ตามรู้ทั้งกายทั้งจิตนั่นแหล่ะ อย่าไปดูลงปัจจุบันที่กาย เพราะถ้าดูลงปัจจุับันที่กาย จะไปเพ่งกายอัตโนมัติเลย

ในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา“  “ปัสนา” คือการเห็น ตามเห็นเนืองๆ ซึ่งกาย   ตามเห็นน่ะ เป็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ทีนี้ตามเห็นไปเรื่อยๆ แล้วมันเกิดสติ แล้วจิตมันจำสภาวะได้ กำลังเผลอๆ อยู่นี่ เกิดขยับตัววับนะ สติก็เกิดแล้ว หรือกำลังเผลอๆ อยู่ เกิดความรู้สึกทุกข์อะไรแว๊บขึ้นมานะ สติก็เกิด  หรือกำลังเผลออยู่ จิตเป็นกุศลอกุศลขึ้นมา สติก็เกิด  คนไหนเคยตามรู้กายเนืองๆ พอร่างกายเคลื่อนไหวปุ๊บ สติเกิด  คนไหนตามรู้จิตเนืองๆ พอจิตเคลื่อนไหว สติก็เกิด

พอสติเกิดแล้ว คราวนี้มารู้กายลงเป็นปัจจุบัน รู้สึกเลย ตัวที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นรูปธรรมอันนึงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีธาตุไหลเข้า ธาตุไหลออกตลอด แล้วธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นกายนี้ ก็เปลี่ยนแปลงตลอด

รู้ลงปัจจุับันนะ ถ้าดูจิตก็ตามดูัมันไปเรื่อยๆ  ดูกายมีสอง step  ถ้าดูจิตนะ ดูตั้งแต่ต้นจนจบ ดูอย่างเดียว ดูอย่างเดียวกัน แต่ตอนดูก็ให้สติเกิดเอง ก่อนดูให้สติเกิดเอง อย่าจงใจให้เกิด  จงใจให้เกิดแล้วกลายเป็นเพ่งจ้อง  ระหว่างรู้ก็อย่าถลำลงไปรู้ ให้สักว่ารู้ ให้สักว่าเห็น ดูแบบคนวงนอก ไม่มีส่วนได้เสีย ดูกายเหมือนเราดูกายคนอื่น  ดูจิตใจเหมือนเราดูจิตใจคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย

จิตมันโกรธขึ้นมานะ ก็ดูเหมือนเห็นคนอื่นโกรธ เห็นความโกรธไหลมาไหลไป ดูอย่างไม่มีส่วนได้เสีย ดูอยู่ห่างๆ มันจะเหมือนเราอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปคลุกกับมัน เหมือนเราอยู่บนยอดตึำกนะ มองลงมา เห็นรถวิ่งเต็มถนนนะ  รถจะชนกันข้างล่างนะ ก็ไม่ได้มากระเทือนถึงเราที่เป็นแค่คนดู   จิตใจเป็นกุศลอกุศล จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรเนี่ย ก็ไม่กระเทือนเข้ามาถึงคนดู

พอรู้แล้วก็อย่าไปแทรกแซงมัน ก่อนจะรู้อย่าจงใจรู้  ระหว่างรู้นะให้สักว่ารู้ อย่าถลำลงไปรู้  รู้แล้วอย่าแทรกแซง  เกือบทั้งหมดก็แทรกแซง เจอกุศลก็อยากให้เกิดบ่อยๆ เกิดแล้วก็อยากให้อยู่นานๆ  เจอสุขก็อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้อยู่นานๆ  เจออกุศล เจอทุกข์ก็อยากให้หายไปเร็วๆ หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น  ตรงที่เข้าไปแทรกแซงมีปัญหามาก ลำพังกายนี้ใจนี้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง  มันเรื่องของกายเรื่องของใจ เรื่องของธาตุเรื่องของขันธ์ ไม่เกี่ยวกับเรา  ถ้าเมื่อไรเราหลงยินดียินร้าย  อย่างความโกรธเกิด อยากให้หาย  พออยากให้หายนะ ใจมันจะดิ้น  ใจจะดิ้นรนขึ้นมาทำงาน   พอใจดิ้นรนทำงาน ความทุกข์เกิดซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก อันนี้เป็นความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109A.mp3
Time: 3.25 – 7.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จุลโสดาบัน ปิดอบายภูมิได้หนึ่งชาติ

mp 3 (for download) : จุลโสดาบัน ปิดอบายภูมิได้หนึ่งชาติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะฉะนั้น มีสติบ่อยๆ มีสติบ่อยๆนะ มันจะไม่ไปทุคติหรอก ถ้าสติอัตโนมัติเลย เหมือนโอ่งอย่างนี้ ถ้าไม่เสื่อมไปจากตรงนี้นะ ชาติต่อไปนี่ไม่ไปทุกขคติหรอก มันปิดอบายภูมิไปได้ หนึ่งชาติ ชาติเดียวนะ ปิดได้หนึ่งชาติ เพราะจิตที่เดินมาถึงอย่างนี้นะ เรียกว่าจิตมันได้ จุลโสดาบัน จุลโสดาบันไม่ใช่พระโสดาบัน จุลโสดาบัน คือคนที่ภาวนาจนได้ ถึงสัมมสนญาณ สัมมสนญาณ นี่คือการที่เห็นไตรลักษณ์นั่นเอง เห็นแต่ว่าไม่ได้เห็นด้วยการเข้าไปประจักษ์ความเกิดดับต่อหน้าต่อตา อย่างโอ่งภาวนา โอ่งเห็นสภาวะที่เกิดดับต่อหน้าต่อตานี่เลยสัมมสนญาณไปอีก เรียกว่าอุทยัพพยญาณ เพราะฉะนั้นถ้าเราภาวนานะเราเห็นไตรลักษณ์ที่ยังเจือด้วยการคิดอยู่ เจือด้วยการคิดอยู่ นี่เรียกว่าได้ สัมมสนญาณ ในตำรานะ บอกว่าปิดอบายได้ชาติหนึ่ง มาดูดูก็เป็นไปได้เหมือนกัน เพราะว่าสติมันเริ่มเกิดขึ้นอัตโนมัติแล้ว เกิดเร็วขึ้นๆนะ เพียงแต่ว่ามันยังไม่หยั่งลงไปเห็นสภาวะเกิดดับ พอสติเกิดเร็วๆนี่เวลาเราฝันร้าย รู้สึกมั้ย สติเกิดอัตโนมัติเลย เพราะฉะนั้นเวลาจะตาย พอนิมิตไม่ดีเกิดนะสติเกิดอัตโนมัติเลย เห็นนิมิตที่ไม่ดีดับไปเกิดนิมิตที่ดีแทน เพราะฉะนั้นหัดดูจิตดูใจไว้นะหัดดูไป ใช้ประโยชน์ได้เยอะเลย ใช้ในชีวิตประจำวันนี้ก็ได้นะ ใช้ไปมรรคผลนิพพานก็ได้ ถ้ายังไม่มรรคผลนิพพาน ไม่ถึงนิพพานในชีวิตนี้ เอาไปใช้ประโยชน์ตอนจะตาย ไปช่วยตัวเองตอนจะตายได้

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109B.mp3
Time: 26.17 – 28.07

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นักปฎิบัติพลาดที่คิดว่าการปฎิบัติคือการทำ

mp3 (for download) : นักปฎิบัติพลาดเพราะคิดว่าต้องทำอะไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

นักปฎิบัตินะจะพลาดตรงที่คิดว่าการปฎิบัติคือการต้องทำ แล้วก็หวังว่าถ้าทำดี ๆ แล้วจะบรรลุ ไม่บรรลุหรอก คนละเรื่องกัน เราบรรลุได้เพราะจิตมันหยุดการกระทำ จิตหยุดการกระทำได้ถ้าเรารู้ทัน จิตชอบแอบไปทำงาน ดูออกใช่ไหม แอบไปทำงานทั้งวันเลย ถ้ารู้ทันมันก็หยุด มันก็ดับลงชั่วขณะ เดี๋ยวมันก็ขึ้นมาทำงานใหม่ ขึ้นมาอีกก็รู้อีก ในที่สุดเราก็เห็นเลย จิตเป็นของบังคับไม่ได้ เค้าจะทำงานก็ทำ พอเรารู้ทันเค้าก็ดับไป เราจะบังคับตัวเองให้รู้ตลอดเวลาก็ไม่ได้ มีแต่คำว่าไม่ได้

CD สวนสันติธรรม 10

481029A

1.29 – 2.08

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตพระอรหันต์ไม่ไหลไป โดยที่ไม่ต้องบังคับไว้

mp3 for download: จิตพระอรหันต์ไม่ไหลไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราหัดสังเกตการปฏิบัติ มันไม่มีอะไรมากหรอกนะ ให้สังเกตใจของเราไว้ให้ดี ใจของเราทำงานสองแบบ แบบหนึ่งคือไหลไป ไหลไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไหลไปหาอารมณ์ตลอดเวลา คนทั้งโลกและก็สัตว์ทั้งหลาย ยกเว้นพวกพระพรหมณ์นะ คนทั้งโลกและสัตว์ทั้งหลายยกเว้นพระพรหมณ์ จิตมันไหลไป เดี๋ยวก็หลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกาย หลงไปรู้อารมณ์ทางใจ หลงไปคิด ไปนึก ไปปรุง ไปแต่ง นี่ คนทั่วๆไป สัตว์ทั่วไปเป็นอย่างนี้ เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น ทำไมมันต้องไหลไป เพราะมันหิว มันหิวอารมณ์ มันอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย สัมผัสทางใจ อยากได้สิ่งเหล่านี้ ได้มาเป็นอาหารหล่อเลี้ยงความเป็นตัวเป็นตน เรากลัวว่าตัวเราจะหายไปจากโลก ออกไปสัมผัสสิ่งต่างๆนะเป็นอาหารมาหล่อเลี้ยงความเป็นตัวเป็นตน เหมือนร่างกายนี้กินข้าว ใจก็เที่ยวหิวอารมณ์ ร่างกายกินอาหารนะใจก็กินอารมณ์เพื่อจะหล่อเลี้ยงตัวเองไว้ มันกลัวตัวเองหายไป เพราะอย่างนั้นถ้าเราสังเกตให้ดีไม่ว่าเราจะทำอะไร เราจะคิด เราจะทำ เราจะพูดนะ เบื้องลึกที่อยู่ข้างหลังก็คือ เพื่อเสริฟ (Serve) อัตตาตัวตัน ส่งเสริมอัตตาตัวตน รักษาอัตตาตัวตน เราหวงตัวเอง นี่คนทั้งโลกเป็นอย่างนี้ สัตว์ทั้งโลกเป็นอย่างนี้ งั้นจิตใจจะแส่ส่ายตลอดเวลา มันส่ายไปก็มีแรงผลักดันที่เรียกว่า ตัณหา ผลักดันใจให้วิ่งไปที่โน้น วิ่งไปทางนี้ วิ่งไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิ่งไปเพราะมันหิว มันก็เลยอยากวิ่ง อยากได้ มันหิวอารมณ์ อยากจะเสพเวทนานั่นแหละ มันก็เลยเกิดตัณหา มันอยากได้เวทนา อยากเสพอารมณ์ อารมณ์นั้นนำความสุขมาให้ ก็อยากได้สุข จิตใจก็เกิดตัณหา เกิดแรงดิ้น ทะยานออกไป จิตใจอยากจะหนีความทุกข์นะจิตใจก็ดิ้นออกไป ดิ้นออกไปเรื่อยๆ มีความสุขเพื่อตัวเราจะได้มีความสุข หนีความทุกข์เพื่อตัวเราจะได้พ้นทุกข์ ลึกๆเลยตัวเรา

อีกพวกหนึ่งเห็นว่าจิตดิ้นไปเรื่อยๆไม่ดี ก็เลยเพ่งเอาไว้ ไม่อยากให้มันไหลไปก็เพ่งเอาไว้นะ จิตพระอรหันต์นะไม่ไหลไปโดยที่ไม่ต้องเพ่งเอาไว้ นี่ ความประหลาดอยู่ตรงนี้ จิตของคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์นะ มันจะไหลไป ถ้าจะไม่อยากให้ไหลไปก็ต้องเพ่งเอาไว้ กดมันไว้ให้นิ่งๆ ไม่ให้มันไหล คล้ายมันยังมีแรงดิ้น เมื่อมันมีแรงดิ้นนะก็ไปกดมันเอาไว้ ไม่ให้มันกระดุกกระดิก กดมันเอาไว้ ถ้าดิ้นแล้วมันไปหาอารมณ์มามันไม่ชอบเดี๋ยวกลัวว่ามันจะมีความทุกข์ สู้ใจนิ่งๆไม่ได้ นี่พวกนักปฏิบัติทั้งหลายก็คือพวกนักกดจิตกดใจ กดกาย ไม่กดใจก็กดกาย เพ่งกายเพ่งใจ บังคับกายบังคับใจเพราะกลัวจิตมันไหลไป หาความทุกข์มาใส่ตัวเอง อยากให้มันนิ่ง นี่โดยสัญชาตญานเลย ทันทีที่คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไรนะก็บังคับตัวเองให้นิ่งเมื่อนั้น อย่างคุณที่อยู่วัดนี่ ก็บังคับตัวเองให้นิ่ง เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายนะจิตมันไหลไปอย่างเดียว ส่วนผู้ปฏิบัตินี่เห็นว่าจิตมันไหลไปแล้วก็ไปบังคับให้มันนิ่ง งั้นจิตมันเลยมีสองแบบ ไม่ไหลไปก็นิ่งๆ กดเอาไว้ ถ้าไม่ไหลก็ต้องกด ไม่ไหลก็ต้องกด แต่สำหรับพระอรหันต์แล้วจิตไม่ไหลไปโดยที่ไม่ต้องกด ไม่มีงานต้องทำ ไม่มีงานต้องระวัง ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องเจริญสติ ถ้าจิตมันไม่ไหลไปเอง ทำไมจิตมันไม่ไหลไป เพราะจิตมันฉลาด จิตมันมีปัญญามันรู้รูป รู้นาม รู้กาย รู้ใจ รู้อายตนะภายในภายนอก รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแต่ทุกข์ล้วนๆ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของเป็นทุกข์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของเป็นทุกข์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ บางคนเค้าแบ่งอย่างนี้ก็เป็นทุกข์อีก อะไรๆ ก็ทุกข์หมดเลย ฐาตุ 18 ก็เป็นทุกข์ แล้วแต่จะมองนะ แต่แจ่มแจ้งในกองทุกข์นั่นเอง คนที่เป็นพระอรหันต์นะคือคนที่แจ่มแจ้งในกองทุกข์ รู้เลย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ ความรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวทุกข์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหมดนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวทุกข์ นี่อย่างนี้ ไม่มีอย่างอื่นนอกจากตัวทุกข์ เมื่อเห็นมันเป็นตัวทุกข์ ไม่มีตัวดี ตัววิเศษ ไม่มีช่องโหว่ที่จะรอดจากความทุกข์เลย ใจก็หมดแรงดิ้น หมดความหิวโหย ไม่รู้จะหิวทำไมมีแต่ทุกข์ เหมือนเรารู้ว่านี่เป็นยาพิษ เห็นว่านี่มันคือยาพิษ เราไม่ไปกินมัน คนทั้งหลายกินอารมณ์เข้าไป เพราะไม่รู้ว่ามันเป็นยาพิษ เพราะฉะนั้นกินอารมณ์เข้าไปที่เป็นยาพิษเข้าไป มันเลยต้องตายแล้วตายอีก เวียนว่ายตายเกิด แต่พระอรหันต์นะมีปัญญา เห็นความจริงของรูปธรรม นามธรรม เห็นความจริงของขันธ์ห้า เห็นความจริงของอายตนะภายในภายนอก เห็นความจริงของธาตุทั้ง 18 ธาตุ ธาตุ 18 มันก็คือ อายตนะภายในภายนอก และก็ความรับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมแล้วอย่างละ 6 อย่างละ 6 นะรวมกันเป็น 18 นี่ ธาตุ 18 นะ เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆนะ ทุกข์ล้วนๆนะไม่รู้จะบำรุงรักษามันไว้ทำไม ตัวจิตเองก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ไม่เห็นจะต้องไปบำรุงรักษา ไม่เห็นจะต้องไปหวงแหนมันเลย ก็ปัดมันทิ้งไปหมดนะ สลัดมันทิ้ง ไม่ยึดถือมัน เมื่อไม่ยึดถือมันนะไม่ต้องระวังรักษามันด้วย มีปัญญาเห็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย จิตจะไม่มีการไหลไปนะ จิตไม่มีการไหลไป ไหลมานะ จิตเสถียร จิตเสถียร ไม่ไหลไป ไม่ไหลมา รู้ตื่นเบิกบาน ไม่มีงาน คือไม่ต้องไปกด ไม่ต้องไปบังคับ ไม่ต้องไปควบคุมไม่มีงานทำ ก็สบายนะ สบาย

เพราะอย่างนั้น จิตพระอรหันต์นะ ไม่ไหลไปโดยที่ไม่ต้องบังคับไว้ ส่วนจิตของผู้ปฏิบัตินะ ถ้าไม่บังคับไว้ก็ไหลไป นี่เราคิดว่าเราบังคับไว้เราจะเป็นพระอรหันต์รึ ไม่มีทางเลย ทางที่จะทำให้เป็นพระอรหันต์ได้ ก็คือต้องรู้ความจริงลงมาในขันธ์ห้า อายตนะ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่รู้ด้วยใจ โผฏฐัพพะ คือสิ่งที่มากระทบร่างกายได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นถ้ารู้แจ้งสิ่งเหล่านี้นะ เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ล้วนๆเลยมีปัญญาแจ้งนะ ใจมันจะหมดแรงดิ้น หมดการไหลไป มันจะไหลไปทางตาทำไมในเมื่อรูปไม่ใช่ของดีของวิเศษ ในเมื่อตาก็ไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันจะไหลไปทางหูทำไมในเมื่อเสียงไม่ใช่ของดีของวิเศษ หูไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันจะไหลทางใจในเมื่อ ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ใจไม่ใช่ของดีของวิเศษ เพราะฉะนั้น มันจะไม่ไหลไปเพราะมันมีปัญญาว่ามันมีแต่ทุกข์นะ ไหลไปทีไรก็มีแต่ทุกข์ ไหลไปทีไรก็มีแต่ทุกข์ ตัวขันธ์ห้า เองก็เป็นทุกข์ ไหลออกไปเสพอารมณ์ อารมณ์ทั้งหลายก็เป็นทุกข์อีก เห็นอย่างนี้ เลยไม่ดิ้นเลยหมดแรงดิ้น ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องรักษานะ เคยมีคนนึงมาถามหลวงพ่อ บอกว่า พระอรหันต์นี่คือคนที่มีสติรักษาจิตตลอดเวลาใช่มั้ย ไม่ใช่พระอรหันต์ไม่รักษาจิตต่างหาก เค้าถามอีกทีว่า พระอรหันต์ขาดสติใช่มั้ย ไม่ต้องมีสติรักษาจิตแล้วนี่ พระอรหันต์ขาดสติใช่มั้ย ไม่ใช่อีก ถ้าขาดสติมันเป็นกิเลสนะ พระอรหันต์ไม่ได้มีกิเลสนี่ พระอรหันต์ไม่ได้ขาดสติ แต่พระอรหันต์ไม่ได้เอาสติไปรักษาจิต เพราะว่าปล่อยวางจิต ไม่ต้องรักษามันทิ้งมันไปแล้ว แต่ขาดสติมั้ย ไม่ขาดสตินะ ยืน เดิน นั่ง นอน รู้สึกตลอดเลย

กระทั่งกลางคืนนี่ คนทั้งหลายฝันแต่พระอรหันต์คิด ไม่เหมือนกัน คนทั้งหลายฝันเพราะว่าเวลาใจของเราคิดนี่มันจะสร้าง อิมเมจขึ้นมาตลอดเวลา จะมีอิมเมจ มีภาพในใจขึ้นมา สังเกตมั้ยเวลาเราคิดเราจะสร้างภาพในใจขึ้นมา เวลาพระอรหันต์คิดมันจะไม่มีอิมเมจ อันนี้หลวงพ่อก็ไม่ใช่คนสังเกตเห็นคนแรกนะ นายตุลย์ ดังตฤณนะ วันหนึ่งมาคุยกับหลวงพ่อบอกว่า ผมเที่ยวสังเกตจิต ไม่บอกนะว่าจิตใคร เวลาคิดไม่มีอิมเมจ แต่สังเกตจิตอาจารย์มหาบัวก็ไม่มีอิมเมจ สังเกตจิตพระบางองค์ก็ไม่มีอิมเมจ คิดเฉยๆ คิดจากความว่าง คิดแล้วก็ว่างอยู่อย่างนั้นเอง เมื่อมันไม่มีอิมเมจแล้วก็คือ มันเหลือแต่ความคิดล้วนๆ ไม่สร้างอะไรที่เกินจากการคิดขึ้นมา ไม่มีความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีภาพใดๆ เกิดขึ้น เวลาที่คนเราฝันนั้นก็คือเวลาที่คนเราคิดนั่นเอง แต่คนเราคิดทั่วๆไปนะ เราคิดอย่างมีอิมเมจอยู่ มันก็เลยเป็นตุเป็นตะเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เวลาพระอรหันต์นอนหลับนี่ บางทีจิตก็คิด รู้ว่าจิตคิดนะ แต่ไม่มีภาพแห่งความเป็นตัวเป็นตนใดๆผุดขึ้นมาเลย คิดไม่มีรูปนะ คิดไม่มีรูป ไม่มีนาม คิดอยู่ในความว่างๆ มันไม่ทุกข์นะเพราะมันไม่ได้ยึดอะไร มันไม่ปรุงอะไร เพราะฉะนั้นพวกเรา นี่หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะ วันหนึ่งพวกเราจะเจอสิ่งที่เล่านี้ วันนี้ยังไม่เจอ แต่วันหนึ่งข้างหน้าจะเจอ ถ้าอดทนถ้าพากเพียร เจริญสติปัฏฐานไปเรื่อย มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ทำไมมีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อย ต่อไปก็จะแจ่มแจ้งเอง ทั้งกายทั้งใจทั้งรูปทั้งนาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ล้วนแต่เป็นรูปเป็นนามทั้งสิ้นเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เป็นรูปธรรม ใจเป็นนามธรรม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นรูปธรรม ธรรมารมณ์มีทั้งรูปธรรมและนามธรรม นี่มีแต่รูปธรรม นามธรรมทั้งหมดเลย เพราะงั้นแจ่มแจ้งในกองรูป กองนาม แจ่มแจ้งเพราะไม่ยึดถือมัน บางทีท่านก็เรียกรูปนามว่า โลก คำว่าโลกนะโลก ถามว่าโลกคืออะไร โลกคือรูปกับนาม บางทีท่านบอกโลกคือหมู่สัตว์ หมู่สัตว์จริงๆ คืออะไร ก็คือ รูปกับนาม พระพุทธเจ้าเป็น โลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก รู้แจ้งโลก คือรู้แจ้งรูปกับนาม ไม่ใช่รู้แจ้งภูมิศาสตร์นะ คนละเรื่องกัน รู้แจ้งโลก คือ รู้แจ้งรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้นว่านี้เป็นกองทุกข์ล้วนๆ เพราะอย่างนั้นใจท่านไม่ไหลไป โดยที่ไม่ต้องบังคับไว้ แล้วท่านก็มาสอนให้คนอื่นมารู้โลกตามท่าน มารู้รูป รู้นามตามท่าน จนรู้รูปรู้นามแจ่มแจ้งเป็นพระอรหันต์ ใจก็ไม่ไหลโดยที่ไม่ต้องบังคับไว้ ใจก็ไม่ปรุงไม่แต่งนะ คิดได้ คิดนึกได้ แต่ไม่สร้างอิมเมจ ไม่สร้างความเป็นตัวเป็นตนใดๆขึ้นมา ว่าง ว่าง

สังเกตมั้ย พอหลวงพ่อหยุดพูดใจก็ไหลไป สังเกตมั้ย พอหลวงพ่อหยุดพูดปุ๊ป ใจก็ไหล ความจริงตอนหลวงพ่อพูดว่าไหลนะ ก็ไหลมาฟัง สลับกับไหลไปคิด สลับกันไปเรื่อยๆ บางทีก็ไหลมามองหน้าหลวงพ่อหน่อย ตอนหลวงพ่อหยุดพูดทีแรกนะก็ไหลมามองหลวงพ่อว่าทำไมหลวงพ่อหยุดไป พอเห็นหลวงพ่อฉันน้ำนะ ตอนนี้ได้โอกาสแล้ว ไหลไปคิด เห็นมั้ย จิตจะไหลไปเรื่อยๆ ให้รู้ทันนะ ไม่ใช่ให้บังคับให้นิ่ง อย่าไปบังคับให้นิ่ง อย่าไปกำหนด ถ้ากำหนดนั้นแหละ คือการบังคับ กำหนดเป็นภาษาเขมร กำหนดไม่ใช่ภาษาบาลีนะ กำหนดเป็นภาษาเขมร แปลว่ากดเอาไว้ กด กดเอาไว้ ข่มเอาไว้ ไม่ใช่การเจริญสติ เพราะฉะนั้น เราชอบพูดกันติดปากนะ กำหนดรู้รูป กำหนดรู้นาม ไปกำหนดทำไม กำหนดแปลว่ากด ให้ระลึกรู้รูป ระลึกรู้นาม นี่ ระลึกรู้ไม่ใช่ให้กด ระลึกรู้คือสติมันทำหน้าที่ระลึก กดนี่ กดไว้ข่มไว้มันทำด้วยกิเลส เพราะอย่างนั้นเราระลึกรู้นะ เราระลึกรู้ไป ระลึกรู้รูปธรรม นามธรรม มีเงื่อนไขอันหนึ่ง ระลึกด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง สักว่ารู้สักว่าเห็น จิตมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่น ถ้าเรามีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ มีสัมมาสมาธิ ใจตั้งมั่นในการรู้การเห็น เราจะเห็นรูปอยู่ห่างๆ อย่างร่างกายนี้เราเห็นร่างกายอยู่ห่างๆนะ จิตอยู่ต่างหาก ร่างกายอยู่ต่างหาก มีช่องว่างมาคั่น นี่คนเห็นตรงนี้มีเป็นพันๆแล้วนะที่เรียนกับหลวงพ่อ เราจะเห็นว่าเวทนาทั้งหลายกับจิตนะมีช่องว่างมาคั่น เวทนากับจิตไม่ได้เข้าไปแนบกันนะ จิตก็ไม่ได้เข้าไปแนบในกาย จิตไม่ได้เข้าไปแนบในเวทนา จิตไม่แนบในกุศล อกุศล การที่จิตมันไม่เข้าไปแนบนะ โดยที่เราไม่ได้จงใจบังคับนี่เรียกว่าจิตมันมีความตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่น จิตที่เข้าไปแนบเข้าไปเกาะอารมณ์นี้ไม่เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ เรียกว่ามิจฉาสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ต.ท่าพระ
อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอังคารที่ ๒๒ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510422

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

mp 3 (for download) : การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาดูจิตดูใจ ถ้าขึ้นวิปัสสนาแล้วก็จะเห็นความเกิดดับ เห็นจิตดวงนึงเกิดขึ้นดับไป มีช่องว่างมาคั่น ดวงนึงเกิดขึ้นดับไปมีช่องว่างมาคั่น หรือบางทีก็เห็นนามธรรมกระจายตัวออกไป เห็นจิตอยู่ต่างหากนะ เห็นความรู้สึกสุขรู้สึกรู้สึกทุกข์แยกออกไป เห็นความจำได้หมายรู้แยกออกไป เห็นกุศลและอกุศลทั้งหลายนี้แยกออกไป ไม่ใช่จิต แยกออกไปอีกนะ กระจายออกไป กระจายออกไป งั้นวิปัสสนานี่มันจะเห็น

วิปัสสนาแท้ๆมันจะเห็นสองอัน อันนึงเห็นสันตติ คือความสืบเนื่องมันขาด เห็นรูปอันนี้กับรูปอันนี้คนละรูปกัน เห็นคนละรูป เห็นนามอันนี้กับนามอันนี้คนละนาม สันตติมันขาด มันขาดอย่างไร เห็นนามอันนึงกับนามอันนึงขาดออกจากกันมีช่องว่างมาคั่น มีช่องว่างมาคั่น นี่สันตติขาด ไม่ใช่ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกันเหมือนสายน้ำ แต่เดิมเรานั่งดูจิตดูใจไปเราเหมือนเราดูน้ำไหลผ่านหน้าไป ไหลไปเรื่อยไม่มีช่องว่าง นี่ พอสติ สมาธิแก่กล้าขึ้นมามันเห็นนะ รูปนามมันเกิดดับได้ เกิดแล้วดับ อันใหม่กับอันเก่านี่คนละอันกัน เห็นต่อหน้าต่อตา ไม่ใช่คิดเอา ถ้ายังคิดเอาเรียกว่า สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณนี่ต้องอุทยัพพยญาณ ชื่อมันไม่ต้องจำก็ได้นะไม่สำคัญหรอก ชื่อมันยาว รวมชื่อสิบหกชื่อนะยาววากว่าๆ ไม่ต้องจำ

หรือเห็นฆนะ อันนึงเห็นสันตติขาด อันนึงเห็นฆนะ ฆนะแปลว่ากลุ่มก้อน เขียนด้วย ฆ ระฆัง น หนู ฆนะ มันแตก สิ่งที่เป็นกลุ่มเป็นก้อนนะมันแตกออกไป อย่างแต่เดิมเรารูปกับนามมันแยกออกจากกัน รูปก็แตกออกไปอีก สิ่งที่เป็นรูปแตกออกไปสี่อย่างเป็นธาตุสี่ นามก็แตกออกไปเป็นสี่อย่าง เป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกออกไปนะ นี่ ฆนะ มันแตก แล้วก็เห็นแต่ละอัน ๆ แต่ละสภาวะๆ มันแยกย้ายกันทำงาน แต่ละคนทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง เห็นมั๊ย กว่าจะขึ้นวิปัสสนาจริงๆไม่ใช่ง่ายนะ

สวนสันติธรรม
CD: 25
File: 510510.mp3
Time: 9.37 – 11.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

mp 3 (for download) : ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจมันจะปรุงแต่งเนี่ย ถ้าเมื่อไรเรารู้ทันการปรุงแต่งของเขาแล้ว มันจะหยุดไปเลย ขาดไป  งั้นอย่างหลวงพ่อจะบอกเรื่อยๆเลยว่า ตอนที่เราตื่นนอนใหม่ๆเนี่ย ตอนนี้เป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ ตื่นนอนแล้ว ตื่นปุ๊บเนี่ย คนทั่วไปชอบซึมๆ ต่อไปอีกช่วงนึง แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติจริงๆ ตอนตื่นนอนแล้วให้ีรีบรู้ทันเลย ให้รีบสังเกต จิตมันจะทำงาน

เวลาที่เราเข้าไปติดในสภาวะอะไรที่เราดูไม่ออก อย่างเราติดทั้งวันเลยนะ ติดอยู่อย่างนั้นน่ะ ตอนตื่นนอนให้รีบรู้เลย มันจะเห็นเลย มันไหลกระดึ๊บๆ เข้าไปช่องเดิมนั่นแหล่ะ พอเรารู้ทันว่ามันจะเข้าทางนี้นะ ต่อไปมันจะไม่เข้า ไม่เข้าเองละ อย่างใจเรา มันจะไหลเข้าไปถูกโมหะครอบ มันจะไหลเข้าไป  ถ้ารู้ทัน มันก็จะไม่เข้า  งั้นตรงตื่นนอนปุ๊บเีนี่ยนะ เป็นนาทีทองเลย คอยรู้สึกเอา

หลวงพ่อก็ใช้วิธีนี้สังเกตนะ เราไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้ๆ  หลวงพ่อปฏิบัติเนี่ย ไปเรียนกับครูบาอาจารย์ไม่มากหรอก แต่ใช้การสังเกตเอา  เราไม่มีโอกาสใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากนัก สามเดือนสี่เดือนไปหนนึง  อย่างตอนหลังๆเนี่ย ตอนมาภาวนาที่สวนบัวนะ ครูบาอาจารย์ตายไปหมดแล้ว ไม่เหลือละ องค์สุดท้ายที่เรียนกับท่าน คือหลวงปู่สุวัฒน์ ก็ไม่อยู่แล้ว  สิ่งที่ช่วยเราได้ คือ การสังเกตเอา  ฉนั้นถ้าขาดกัลยาณมิตรคือครูบาอาจารย์  โยนิโสมนสิการสำคัญที่สุดเลย  แล้วจุดที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดนะ คือตอนตื่นนอน  ตอนที่จิตมันเพิ่งเริ่มทำงานน่ะ  พอมันขึ้นจากภวังค์นะ เราคิดถึงการปฏิบัติปั๊บ มันจะเข้าช่องเดิมเลย

อย่างบวชปีแรก ปีแรกๆเนี่ย เช้าขึ้นมาจิตมันสว่างจ้าเลย แล้วสบายอยู่อย่างนั้นน่ะนะ  อยู่ไปหลายวันแล้ว อืม ไม่ใช่น่ะ นิพพานอะไรหมองๆได้  นิพพานจอมปลอม มีเข้าๆออกๆ ได้นะ   ครูบาอาจารย์เคยสอนว่า นิพพานไม่ใช่เข้าๆ ออกๆ นะ  เราสังเกต เอ มันไปหลงตรงไหนเนี่ย ไปเดินผิดตรงจุดไหนเนี่ย มองไม่ออก  งั้นค่อยๆสังเกตตั้งแต่ตื่นเลย อ๋อ มันผิดตั้งแต่ตื่น พอตื่นนอน ทันที่ที่คิดเรื่องปฏิบัติปุ๊บนะ มันจะไปหยิบฉวยจิตขึ้นมาดู กุ๊กกิ๊กๆ สองสามทีนะ แล้วก็ทำเป็นวางไป นี่ แกล้งวางได้ด้วยนะ โอ๊ย เจ้าเล่ห์แสนกลนะกิเลสน่ะ   มีการไปหยิบมาพลิกซ้ายพลิกขวาสองทีนะแล้ววาง  เราไม่เห็นตรงที่ไปหยิบฉวยขึ้นมาแล้วก็จงใจวางลงไป เราก็ โอ ว่างตลอด ๆ ของเก๊แท้ๆเลย  สภาวะอะไรที่รู้ทัน แล้วถึงจะผ่านได้  ถ้ารู้ไม่ทันก็ไปติดกับมันอยู่

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 491229A.mp3
Time: 1.00 – 4.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ ต่ออารมณ์

mp3 (for download) : ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม :นมัสการค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้ก็คือฝึกหัดตามดูอารมณ์นะคะ ก็คือส่วนใหญ่จะรู้ว่าหลงไปคิดค่ะ แต่อารมณ์อื่นจะเฉยๆ จะไม่ค่อยรู้สึกค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฉยเพราะเราไปประคองใจให้นิ่งหรือเปล่า?

โยม : ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้ามันเฉยเพราะว่าเรารักษาจิตเอาไว้นะ ใช้ไม่ได้  แต่ถ้าเฉยเพราะปัญญา ถึงจะใช้ได้ แต่เฉยเพราะปัญญาเนี่ย ต้องฝึกกันช่วงหนึ่ง เช่น มันเห็นว่าสุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วก็ชั่วคราว อะไรอย่างนี้ เห็นอย่างนี้บ่อยๆนะ ใจจะเป็นกลาง

ของคุณตอนนี้มันมีการกดอยู่นิดนึงนะ ถ้านิ่งถ้าเฉยเพราะตรงนี้ ละเพ่งเอา ยังเพ่งอยู่ แต่ว่ามาเพ่งเพราะว่ากลัวหลวงพ่อตอนนี้แหล่ะ อยู่ข้างนอกก็เพ่งน้อยกว่านี้

ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ แล้วตามดู การภาวนานะ ปลดปล่อยตัวเองออกมา  ปลดปล่อยตัวจริงของแต่ละคนออกมานะ ตัวจริงของแต่ละคนน่าเกลียดมาก ฉนั้นเราอย่าไปสร้างเปลือกที่สวยๆ แล้วหุ้มเอาไว้ หลอกตัวเองก่อน แล้วก็ไปหลอกคนอื่นทีหลัง

เราปลดปล่อยตัวแท้ๆ ของเรา ตัวชั่วร้ายในใจนะ อย่าไปกดมันไว้ อย่าไปเพ่งมันไว้นะ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไป แล้วเราไม่เพ่งอารมณ์ไว้เนี่ย แล้วตัวจริงๆ มันจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่เราถือศีลไว้ก่อน จิตใจจะชั่วร้ายยังไงนะ ก็ไม่ละเมิดไปถึงคนอื่น ต้องระวังตรงนี้

ต่อไปนี้ กิเลสใดๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ เรารู้ทัน รู้ทันไปเรื่อย มันจะค่อยสลายตัวไป

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

44.06 – 45.35

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ายังเจือด้วยความคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง

mp3 (for download) : ถ้ายังเจือด้วยความคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่พยายามจะรู้นะ จงใจรู้ก่อน เบื้องต้นจงใจรู้ จงใจรู้สติยังไม่เกิด แต่ว่าพอหัดตามรู้สภาวะมากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งสติมันเกิดนะ แล้วมันมีปัญญาขึ้นมาด้วย อย่างหลายคนหัดรู้สึกๆ ไปเรื่ือยนะ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ หรือโลภขึ้นมาก็รู้ โกรธขึ้นมาก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ หายใจออกหายใจเข้าก็รู้ หัดรู้ไปเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่ง อยู่ๆ ขึ้นมานี่ กำลังอาบน้ำอยู่ ส่วนใหญ่จะตอนอาบน้ำ พวกเราสังเกตไหม อาบน้ำ ถูสบู่ ถูขี้ไคล ถูตัว ถูๆ ไป สติปัญญามันเกิดขึ้นมา มันเห็นเลย ตัวที่กำลังลูบอยู่นี่เป็นวัตถุเท่านั้นเอง เป็นก้อนธาตุเท่านั้นเอง เนี่ีย มันเกิดปัญญาแล้วนะ มันมีสติที่ีแท้จริงนะ มันระลึกลงไป โดยที่ใจไม่เข้าไปแทรกแซง สักว่ารู้สักว่าเห็นจริงๆ ไม่ใช่พอระลึกรู้อันนี้ใจก็พากย์ต่อเลยว่า อันนี้คืออันนี้ อันนี้คืออันนี้

เพราะฉะนั้น พอสติมันระลึกนะ อย่างอาบน้ำอยู่ ถูสบู่อยู่ ปั๊บ มันระลึกขึ้นได้  นี่เป็นแค่รูปเท่านั้นเอง ไม่ใช่เรา บางคนพอเห็นว่าไม่ใช่เรานะ ใจสะเทือนขึ้นมาเลย ตกอกตกใจขึ้นมาเลยว่าตัวเราหายไป บางคนก็เบื่ือขึ้นมาเลย บางคนก็รู้แจ้งขึ้นมาว่าตัวเราไม่มี แล้วแต่ว่าจิตใจนั้นมีคุณภาพระดับไหน แต่ตอนนี้คนที่สามารถเห็นได้ว่า ร่างกายไม่ใช่ตัวเรามีไม่รู้จำนวนเท่าไหร่แล้วนะ มีเป็นพันๆ คนที่เรียน การที่เราเรียนจนสามารถเห็นโดยไม่เจตนาจะเห็น คือการรู้จริงๆ ถ้ายังเจือด้วยการคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง อย่างสมมติเรานั่งถูไปแล้วเราก็นั่งคิด นี่ไม่ใช่ตัวเรานะ นี่ไม่ใช่ตัวเรา นั่งคิดอย่างนี้ยังไม่รู้จริง

แต่ถ้าเราฝึกสติไปเรื่อย แล้วใจมันตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกให้ใจตั้งมั่นก็มีเหมือนกัน เราคอยสังเกตใจของเรา ใจของเราชอบไหลไปไหลมา เดี๋ยวไหลไปดู เดี๋ยวไหลไปฟัง เดี๋ยวไหลไปคิด ใจที่ไหลไปไหลมาเรียกว่า “ใจไม่ตั้งมั่น” แต่ใจที่ไม่ไหล แต่เข้าไปจ่อนิ่งๆอ ยู่กับอารมณ์อันเดียวก็ไม่เรียกว่าใจตั่งมั่น เรียกว่าเพ่งเอาไว้ ใจที่ตั้งมั่นนี่มันรู้เนื้อรู้ตัว ใจมันเบิกบาน ใจมันเบา ใจมันสบาย ใจมันทำตัวเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูเท่านั้นเอง

ใจมันจะเกิดสภาวะอย่างนี้ได้ เราหัดรู้ไป เวลาใจเราหลงไปคิด หลงไปดู หลงไปฟัง โดยเฉพาะหลงไปคิด ใจชอบหลงคิดทั้งวัน ใจหลงไปคิดเรารู้ ใจหลงไปคิดเรารู้ อันนี้จะฝึกได้ทั้งสติ ฝึกได้ทั้งสมาธิคือ ความตั้งมั่น ใจหลงไปคิดเราก็รู้สึกนะ เราก็เห็นเลย เมื่อกี้หลงไปคิดตอนนี้รู้ขึ้นมา คนละอันกัน รู้กับคิดนี่คนละอันกันนะ และตรงที่รู้ว่าหลงไปคิด ความหลงไปคิดดับไป ความหลงความไหลออกไปดับ ใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นชั่วขณะ เราค่อยๆ ฝึกไป การที่รู้ว่าใจหลงไปคิดๆ ฝึกบ่อยๆ สติและสมาธิจะมีขึ้นมาเป็นวิธีเรียนแบบรวบยอดเลย เรียนง่ายที่สุดเลยมีทั้งสติทั้งสมาธิรวบขึ้นมาในที่เดียวกันเลย

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

12.49 – 16.09

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเราจงใจให้สติเกิด เรียกว่ามีโลภเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

mp3 (for download) : ถ้าเราจงใจให้สติเกิด มีโลภะเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราหัดรู้สภาวะไปเรื่อย ๆ ถึงจุดหนี่งสติจะเกิดเอง ถ้าเราจงใจให้ เกิด เช่น เราตั้งใจ ต่อไปนี้เราจะไม่เผลอเลย เราก็มารู้ลมหายใจหายใจออก คอยรู้หายใจเข้าคอยรู้ เราจ้องไม่ให้เผลอไปที่อื่นเลย อันนี้มี โลภเจตนา ซ่อนอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติ มีความโลภนะ โลภอะไร โลภอยากจะดี อยากจะรู้สึกตัว อยากจะให้เกิดสติ อยากจะให้เกิดปัญญา มีความโลภอยู่

ตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่สติแท้ ๆ ไม่มีหรอก สติแท้ๆ ไม่เกิดร่วมกับโลภะหรอก ที่นี้เราต้องหัดจนกระทั้งจิตมันเคยชินที่จะเกิดสติ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ แล้ววันหนี่งสติเกิดเอง ตรงที่สติเกิดได้เองนี่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนท่านชอบใช้คำว่า มหาสติ พวกเราเคยได้ยินไหม มหาสติ มหาปัญญา บางทีครูบาอาจารย์ใช้ มหาสติ คือสติอัตโนมัติ มหาปัญญา ปัญญารู้แจ้งความจริงของกายของใจโดยอัตโนมัติ ก่อนจะมีปัญญาอัตโนมัติ ต้องฝึกให้มีสติอัตโนมัติก่อน ถ้าขาดสติไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น เราค่อยๆฝึกหัดดูสภาวะไปเรื่อย แล้ววันหนี่งจิตมันจะเห็นสภาวะได้เอง พอจิตมันเห็นสภาวะปุ๊บ โดยที่ไม่เจตนานะ จิตมันจ ะรู้เนื้อรู้ตัว มันจะตื่นขึ้นมาเต็มที่เลย มันจะเห็นความจริงเลยว่า สภาวะทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

11.07 – 12.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212