Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เมื่อพ้นจากวิปัสนูฯแล้ว จะเจริญวิปัสสนาได้เต็มที่

mp3 for download : เมื่อพ้นจากวิปัสนูฯแล้ว จะเจริญวิปัสสนาได้เต็มที่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิปัสนูฯ (วิปัสนูปกิเลส – ผู้ถอด)เกิดจากความฟุ้งซ่าน หรือส่งจิตออกนอกนั่นเอง ถ้าเมื่อไหร่มีสติรู้ทันว่าฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านดับอัตโนมัติ เพราะความฟุ้งซ่านเป็นกิเลสสู้สติไม่ได้ สติเกิดเมื่อไหร่กิเลสดับเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเมื่อไหร่รู้ทันว่าจิตฟุ้งออกไปนะ ฟุ้งไปอยู่กับความสว่างเนี่ย ความฟุ้งซ่านจะดับนะ จิตจะทวนกระแสเข้ามาหากายหายใจของเราเอง ภาวะแห่งความรู้ตื่นเบิกบานก็จะกลับมาอีก

เนี่ยพอเราฝึกไปจนชำนิชำนาญผ่านตัวนี้ได้ เราจะรู้ว่าอันนี้เป็นวิปัสสนูปฯ ไม่ใช่ทาง ทางคือต้องมีจิตตั้งมั่น ที่หลวงพ่อบอกว่า “จิตถึงฐาน” “จิตถึงฐาน” น่ะนะ คือจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้จริงๆ ไม่งั้นจิตไม่ถึงฐาน จิตไปอยู่ข้างหน้า ไปอยู่กับความว่างความสว่าง อันนั้นเดินต่อไม่ได้ ไม่ใช่ทาง ก็รู้เลยว่าจุดที่เป็นทางนี่นะ จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่หยุดนิ่ง ถ้าปรากฎการณ์ทั้งหลายหยุดนิ่ง นี่เป็นสมถะแล้ว จิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง ปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอย่างสบายๆ จิตเบา จิตนุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่ว ว่องไว แต่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ไหลไป ตั้งมั่นเป็นคนดูสบายๆ เหมือนเรานั่งดูเขาเล่นกีฬา ดูอย่างสบายๆ ไม่ลงไปคลุกกับเขานะ ไม่อินกับเขา ดูสบายๆ

พอมาถึงตรงนี้นะ มีธรรมะอยู่หมวดหนึ่ง ชื่อ “วิสุทธิ” ใครเคยได้อ่านบ้าง “วิสุทธิ ๗” ธรรมะเรื่องวิสุทธิ ๗ นี่นะอยู่ในพระสูตรที่โดดเด่นเป็นหนึ่งเลยนะ สูตรหนึ่งเลย คือ “รถวินีตสูตร” (อ่าน รถวินีตสูตร – ผู้ถอด) “รถ ๗ ผลัด” รถ ๗ ผลัดก็คือวิสุทธิ ๗ ประการนั่นเอง
คนไหนที่ผ่านวิปัสนูฯไปแล้วนะ รู้ว่าวิปัสนูฯไม่ใช่ทาง จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเห็นรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหวเปลี่นยแปลงเกิดดับได้ ตรงนี้ถ้าเทียบในวิสุทธิ ๗ นะ ก็ได้วิสุทธิที่ชื่อว่า “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” ชื่อยาวเป็นปี๊บเลยนะ

“มัคคามัคคะ” มาจากอะไร มาจากคำว่า มรรค กับ อมรรค มรรค อมรรค, มรรค อมรรค จะออกเสียงเป็นคำสนธิ จะออกเสียงกลายเป็นมัคคา มัคคามัคคะ มรรค กับ อมรรค รู้ว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง คนที่ได้ “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” คือคนที่พ้นจากวิปัสนูฯแล้ว ถัดจากนั้นนะ เจริญวิปัสสนาได้เต็มที่แล้ว เรียกว่า “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ”


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้ามทะเลทั้งสี่ แล้วจะถึงจิตหนึ่ง (๗) ภาวนาสุดท้าย จิตเป็นหนึ่ง ธรรมเป็นหนึ่ง

mp 3 (for download) : ข้ามทะเลทั้งสี่ แล้วจะถึงจิตหนึ่ง (๗) ภาวนาสุดท้าย จิตเป็นหนึ่ง ธรรมเป็นหนึ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด

เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง

เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย

ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ

ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ  สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
File: 500408B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง

mp 3 (for download) : ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ผู้ใดเข้าใจอริยสัจจ์ก็จะข้ามภพข้ามชาติ ใครไม่เข้าใจอริยสัจจ์ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิด เข้าใจย้ากยาก ฟังเหมือนเข้าใจง่าย

ยกตัวอย่างบอกว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ กายกับใจเป็นทุกข์ ฟังแล้วง่ายใช่มั้ย แต่กว่าจะรู้สึกว่ากายกับใจเป็นทุกข์นั้นยากที่สุดเลย เพราะเรารู้สึกว่ากายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตเป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เราไม่ได้เห็นเลยว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆน่ะ เราไม่เห็นน่ะ เนี่ยเรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์

หรือเราเห็นว่า ถ้ามีตัณหาแล้วจิตจะมีความทุกข์ คือมีความอยากขึ้นมานะ จิตดิ้นรนขึ้นมาแล้วจิตทุกข์ แต่กับคนทั่วไปอย่างนี้ก็ไม่เห็นนะ คนทั่วไปเห็นว่ามีความอยากยังไม่ทุกข์ ถ้าไม่สมอยากถึงจะทุกข์ แต่ถ้าสมอยากแล้วมีความสุข เนี่ย(ปัญญา-ผู้ถอด)ตื้นขนาดนี้

ผู้ปฏิบัติเห็นว่า ถ้ามีความอยากถึงจะมีความทุกข์ นี่ก็ยังตื้นนะ ยังไม่ใช่รู้ธรรมะแท้ๆ ถ้ารู้ธรรมะแท้ๆเราจะรู้เลย จะมีความอยากหรือไม่มีความอยาก ขันธ์ก็เป็นทุกข์ กายนี้ใจนี้ก็เป็นทุกข์ล้วนๆโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ถ้ามีความอยากซ้ำขึ้นมา อยากให้ขันธ์มีความสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ล่ะก็ จิตใจจะดิ้นรนและมีความทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งนะ เรียกว่าทุกข์ซ้อนทุกข์ ทุกข์แล้วทุกข์อีก ทุกข์ไม่เลิก

นิโรธ นิพพาน ก็ไม่เข้าใจ ตอนที่หลวงพ่อเรียนสมัยเด็กๆ กระทรวงศึกษาฯแต่งตำรา นิพพานแปลว่าตาย นิโรธก็คือนิพพาน เพราะฉะนั้นนิโรธคือตาย เราก็บอก เออ! ทุกข์ สมุทัย มรรค อะไรนี้นะ ไม่น่ารังเกียจนะ แต่นิโรธนี้น่ารังเกียจที่สุดเลย ขอไม่เอา ภาวนาขอไม่เอานิพพานนะ กลัวตาย

นิโรธนี้ก็ลึกซึ้งนะ นิโรธ พวกเราแปลตามตำราก็ว่า “ความดับทุกข์” แต่ในสภาวะ ถ้าเราภาวนาจนจิตหลุดพ้นแล้ว เราไม่รู้สึกว่าดับทุกข์หรอก แต่เรารู้สึกพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ยังดำรงขันธ์อยู่เนี่ยนะ นิโรธเนี่ยคือความพ้นทุกข์ ไม่ใช่ความดับทุกข์ เพราะว่าอะไร เพราะว่าขันธ์ยังอยู่ ขันธ์เป็นตัวทุกข์ ขันธ์ของพระอรหันต์ก็ทุกข์เช่นเดียวกันกับขันธ์ของญาติโยมทั้งหลายนั่นเอง

เพราะฉะนั้นนิโรธไม่ใช่ความดับทุกข์ แต่เป็นความพ้นทุกข์ หมายถึงจิตมันพ้นออกจากขันธ์ จิตมันไม่ยึดถือขันธ์ เพราะฉะนั้นขันธ์จะแปรปรวนอย่างไร จิตไม่ทุกข์ด้วย

มรรคก็เหมือนกันนะ เข้าใจยาก มรรคของเรามี ๘ ถ้ามรรคมี ๘ ก็เรียกว่ามักมาก มรรคในความเป็นจริงมี ๑ มรรคมี ๑ แต่มีองค์ประกอบ ๘ คล้ายๆแมงมุม ๑ ตัว มีขา ๘ ขา ไม่ใช่ขา ๑ ขา คือแมงมุม ๑ ตัว ขา ๒ ขา คือแมงมุม ๑ ตัว ไม่ใช่ เนี่ยธรรมะนะลึก ลึกมาเลย ค่อยๆเรียนไป ค่อยๆเรียน

หรืออย่างนิโรธนะ นิโรธ นิโรธพอลึกซึ้งถึงที่สุดเนี่ย แปลว่าความไม่เกิดขึ้นของทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นอีกของทุกข์ อันนั้นเป็นพระอรหันต์ที่นิพพาน(หมายถึง ดับขันธปรินิพพาน – ผู้ถอด)แล้ว ไม่มีความเกิดขึ้นอีกของทุกข์ เพราะฉะนั้นเราแปลว่าดับทุกข์ๆ เราก็คิดว่าเหมือนไฟไหม้นะ ไหม้ขึ้นมาแล้วหมดเชื้อแล้วมันก็ดับไป แต่โดยสภาวะแล้ว ถ้ายังดำรงขันธ์อยู่มันก็พ้นทุกข์ ถ้าสิ้นขันธ์ไปแล้วก็คือ ทุกข์ไม่เกิดอีก คือความไม่เกิดขึ้นของทุกข์


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๕
File: 501118.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เห็นกรรมฐานใดอัศจรรย์เหมือนอานาปานสติ ลึกล้ำ จนถึงขนาดยอมรับเต็มปากเต็มคำ เต็มหัวใจเลย มันเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ ไม่ใช่กรรมฐานของคนทั่วๆไปจะเล่นได้ชำนิชำนาญหรอก

ทีนี้ พวกเราเล่นไม่ได้ทั้งหมด เราก็เลือกเอาส่วนที่เล่นได้ หายใจแล้วรู้สึกตัวไป หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิด คอยรู้ทัน ทำตรงนี้ให้ได้ หายใจไป จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา พอจิตเป็นผู้รู้แล้วจะดูกายดูใจก็ดูไปเลย ไม่ต้องไปเข้าฌานก็ได้ เอาแค่ว่าหายใจไป เห็นกายมันหายใจ ไม่ใช่ตัวเราหายใจ หายใจไปจิตใจมีความสุขความทุกข์ เห็นมันสุขมันทุกข์ของมันได้เอง หายใจไปแล้วก็เกิดกุศลบ้าง เกิดอกุศลบ้าง เช่น เกิดฟุ้งซ่าน หายใจแล้วมีฟุ้งซ่านมีไหม ส่วนใหญ่นั่นแหละหายใจแล้วฟุ้งซ่าน ใช่ไหม ก็ดูไป จิตมันฟุ้งซ่าน เราเป็นแค่คนดู ดูไปๆมันก็เลิกฟุ้งของมันไปเอง ฟุ้งซ่านมันก็ไม่เที่ยง เห็นแต่ของไม่เที่ยง มีความสงบเกิดขึ้น หายใจสบายๆ มันสงบขึ้นมา มันก็อยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หายไปอีก นี้เราฝึกแค่นี้ก็พอแล้ว

หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้ทัน มันจะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา ถัดจากนั้นเห็นร่างกายหายใจ ไม่ใช่ตัวเรา อันนี้เดินปัญญาด้วยการดูกาย ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิตก็หายใจไป มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ เฉยๆก็รู้ หายใจไปแล้วจิตเป็นกุศลก็รู้ จิตเป็นอกุศลก็รู้ บางทีเห็น ทุกอย่างชั่วคราวไปหมด

ฝึกไปอย่างนี้ เรียกว่า ปัญญานำสมาธิ มันนำสมาธิอย่างไร ความจริงมันมีสมาธิอยู่แล้ว แต่มันมีในขั้นขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล อริยมรรค อริยผล ไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา อริยมรรค อริยผล เกิดในฌานจิตเท่านั้น เกิดในรูปฌานก็ได้ เกิดในอรูปฌานก็ได้ แต่จะไม่เกิดในวิถีจิตปกติของมนุษย์นี้

ทีนี้ ถ้าเราเข้าฌานไม่เป็น ไม่ต้องตกใจ เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ถึงเวลาก็ทำความสงบ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม รู้ทันจิตที่หนีไป หมดเวลาก็มารู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวันต่อไป ถึงวันที่ สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง แล้วเกิด อริยมรรค อริยผล ขึ้น อันนี้เรียกว่า ใช้ปัญญานำสมาธิ

ลึกซึ้งมาก เรื่องอานาปานสติ แต่ว่าเราฝึกง่ายๆอย่างที่หลวงพ่อบอก ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องสนใจถึงขนาด ทำอย่างไรจะเกิดฌานจิต ทำอย่างไรจะไปเดินวิปัสสนาในอุปจาระ เห็นมันไหวๆขึ้นมา แต่ส่วนมากพวกเราก็ทำได้อันนี้ คนจำนวนมากก็ทำได้ นั่งสมาธิแล้วก็เห็น ใจสงบไปเห็นมันปรุงขึ้นมา เกิดดับไป บางทีไม่รู้ว่าอะไรเกิดอะไรดับ ไม่มีชื่อ ถ้ายังมีชื่ออยู่จิตยังฟุ้งซ่านมาก บางทีเห็นแค่สิ่งบางสิ่งเกิด แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที ประเภทหนึ่งในแสน หายาก ส่วนถ้าฝึกในชีวิตประจำวัน เดินปัญญาอยู่นี้ ง่าย พอทำได้สำหรับฆราวาส ที่วันๆเต็มไปด้วยความวุ่นวายนะ หายใจไป อย่าหยุดหายใจ หายใจไว้ก่อน เอ้า ต่อไปส่งการบ้าน

541106B.17m57-22m17

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

mp3 (for download): ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

โยม : คำว่ามัชฌิมาปฏิปทานี่นะฟังมาหลายแห่งเหลือเกิน หลวงพ่อว่ามันคืออะไรคะ ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป แล้วถ้าปฏิบัติไปๆ เกิดขี้เกียจขึ้นมาแล้วก็มาบอกว่า เฮ้ยวันนี้มันตึงเกินไป หรือว่าอะไรทำนองนี้นะคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง ครั้งหนึ่งมีเทวดาองค์หนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เทวดาองค์นี้น่ะแกคิดว่าแกเป็นพระโสดาบันแล้ว เวลาลงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วรัศมีของเทวดานี้สว่างไปหมดเลย คนมีบุญไปแล้วสว่าง ไปถึงก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า บอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะคือห้วงน้ำห้วงกิเลส คือพูดง่ายๆ พระองค์เป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าท่านก็พูดเพราะนะ ท่านบอกว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านผู้ไม่มีความทุกข์ เพราะกำลังหลงอยู่ในความสุขนั่นแหละ ท่านเลยพูดเอาใจเสียหน่อย ถ้าท่านบอกว่าสัตว์โลกผู้มีความทุกข์เทวดาคงไม่ฟังต่อละ อารมณ์ไม่ดี ท่านบอก “ดูก่อนท่านนิรทุกข์ ตถาคตข้ามโอฆะได้เพราะไม่พักอยู่และไม่เพียรอยู่ นี่เทวดาที่คิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์นะ คิดว่าตัวเองก็แน่เหมือนกัน ฟังแล้วสะอึกเลย

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านข้ามกิเลสได้โดยไม่พักและไม่เพียร ถ้าไม่พักนี่น่ะก็พอรู้เรื่องใช่มั้ย แต่ไม่เพียรนี่แปลก เทวดาก็เลยบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช่วยขยายความหน่อย ท่านก็สอนต่อ บอกว่า “ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเมื่อใดเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเมื่อไรเราเพียรเราจะฟูขึ้น” เราจะลอยขึ้น เทวดาก็ได้ธรรมะนะ ได้โสดาบัน เราได้หรือยัง ฟังเหมือนกันนะ ยังไม่ได้ ตรงนี้นะเทวดาเข้าใจ พวกเรายังไม่เข้าใจ ก็มีคำอธิบาย คำอธิบายธรรมะอธิบายพระไตรปิฎกเรียกว่าอรรถกถา

คำว่าพักอยู่นี่ก็คือ การปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส อันนี้มีอีกอันหนึ่ง มีอีกชื่อหนึ่งว่า “กามสุขัลลิกานุโยค” การปล่อยตัวให้ชุ่มด้วยกาม สิ่งที่เรียกว่ากามก็คือความเพลิดเพลินไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทั้งหลาย ฉะนั้นเมื่อไหร่เราหลงโลกเมื่อนั้นเราหย่อนไป เราหย่อนไป เราพักแล้ว เราไม่มีความเพียรเลย ใช้ไม่ได้ ข้ามฝั่งไม่ได้ ถ้าตรงที่ว่ามีความเพียรแล้วฟูขึ้น คำว่ามีความเพียรท่านอธิบายว่า หมายถึง “อัตตกิลมถานุโยค” การคอยควบคุมบังคับตัวเองตลอดเวลา

ดังนั้นถ้าปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลสก็สุดโต่งไปข้างกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าบังคับกายบังคับใจ ทำกายทำใจให้ลำบาก ก็สุดโต่งมาข้างทำความเพียรแบบทรมาณตัวเอง อัตตกิลมถานุโยค ทางสายกลางไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทางสายกลางก็คือทางของศีล ของสมาธิ ของปัญญา นั้นเอง คนมีศีล ถ้าถือศีลไม่เป็นนะก็จะสุดโต่งมาข้างบังคับตัวเอง ถ้าถือศีลแล้วไม่ฉลาดพอก็ถือศีลตามใจกิเลส มีสมาธิก็เหมือนกัน มีสมาธิก็ชอบบังคับจิตตัวเองให้นิ่ง นี่สุดโต่งไปข้างบังคับ อีกพวกนึงทำสมาธิแล้วก็มีความสุข เคลิบเคลิ้มไป นี่หลงตามกิเลส หรือเจริญปัญญา คอยคิดค้นคว้าพิจารณามาก จิตฟุ้งซ่านตามกิเลสไป ไปบังคับจิตให้นิ่งๆ ไม่ให้คิดพิจารณาเลย ข่มไว้เฉยๆ ก็ทรมานตัวเองไปอีก

ทางสายกลางอยู่ตรงไหน ทางสายกลางอยู่ตรงที่มีศีลก็ไม่สุดโต่งไปสองข้าง มีสมาธิก็ไม่สุดโต่ง มีปัญญาก็ไม่สุดโต่งสองข้าง พูดอธิบายยากนะ แต่ลงมือปฎิบัติไม่ยาก คอยรู้ทันใจตัวเองไว้ให้ได้ก็แล้วกัน ถ้ารู้ทันใจตัวเองไม่ได้นะ ไม่บังคับตัวเองก็ตามใจกิเลส ถ้ารู้ทันใจตัวเองได้นะก็ไม่เข้าไปติดสองฝั่งนี้ เช่นนั่งสมาธิอยู่ พอนั่งสมาธิอยู่พอเมื่อยหลังนะก็บอกตัวเองเลย อย่านั่งต่อไปเลยนอนดีกว่า ถ้านั่งต่อไปเป็นอัตตกิลมถานุโยค ทรมานตัวเอง นี่ถูกกิเลสหลอกแล้ว หรือเตลิดเปิดเปิงนะวันๆ นึง มีนะบางคนบอกว่าใช้ชีวิตให้เต็มอิ่มมีความสุขนะ แล้ววันนึงมันก็เบื่อไปเอง เสพสุขให้มากๆ เลยแล้ววันนึงก็เบื่อ นี่ไม่รู้จักธรรมะหรอก กิเลสนั้นเสพเท่าไหร่มันก็ไม่เบื่อ เบื่ออันนี้มันจะไปเอาอันอื่น ยากนะ ถ้าไม่รู้ทันใจตัวเอง

ถ้าเรารู้ทันใจตัวเองได้เราถึงจะเข้าทางสายกลางได้ รู้ว่าขณะนี้สุดโต่งไปแล้วในข้างตามใจกิเลส รู้ว่าขณะนี้สุดโต่งไปแล้วในข้างบังคับตัวเอง ต้องรู้ลงที่ใจให้ได้

โยม : คะ งั้นพอจะเข้าใจด้วยระดับปัญญานิดๆ ว่ามันต้องอยู่ที่การพิจารณาในลักษณะการปฎิบัติ คงไม่ใช่จะมาแปลว่ามัชชิมาหมายถึงกลาง คงไม่ใช่อย่างนั้นนะเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ใช่นะ ต้องดูสภาวะที่แท้จริง ถ้าเมื่อไหร่จิตยังโหยหาอาลัยอาวรณ์ในรูป ในเสียง ในรส ในกลิ่น ในสัมผัส เนี่ยนะ กามสุขัลลิกานุโยค ถ้าเมื่อไหร่บังคับกายบังคับใจ เมื่อนั้นอัตตกิลมถานุโยค

คนทั่วไปซึ่งไม่เคยภาวนาเนี่ยจะสุดโต่งไปในกามสุขัลลิกานุโยค พวกที่ไม่เคยภาวนานะ จะเตลิดไปด้านนี้เลย พวกนี้จะจมลง คือจมลงสู่อบาย ส่วนนักปฎิบัติเนี่ยชอบบังคับกายบังคับใจ คิดถึงการเดินจงกรมก็ต้องรีบตั้งท่าเดิน ถามว่าตอนท่าเดินจงกรมเนี่ย เดินธรรมชาติไหม ไม่นะ บังคับตัวเองนะ บังคับกาย บังคับกายต้องเริ่มต้นจาก..เข้าที่ก่อนนะ ถัดจากนั้นบังคับใจ..บังคับได้ที่ค่อยเดิน เนี่ยบังคับเรียบร้อยแล้วทั้งกายทั้งใจ เวลาที่เราจะนั่งสมาธิ เริ่มต้นบังคับกายก่อน ต้องงี้ เสร็จแล้วก็บังคับใจต่อ ดัดแปลงใจ สุดท้ายก็คือไม่บังคับกายก็บังคับใจ ถ้าทำได้ที่ก็บังคับทั้งกายทั้งใจ

แต่การปฎิบัติแบบไม่บังคับกายบังคับใจทำอย่างไร รู้สึกลงไป นั่งอยู่รู้ว่านั่งอยู่ หายใจอยู่รู้ว่าหายใจอยู่ ตามที่พระพุทธเจ้าสอนนะพอดี พระพุทธเจ้าสอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดินอยู่ให้รู้ว่าเดินอยู่ ไม่ใช่ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาเดินต้องทำท่าอย่างนี้ ไม่เคยพูดเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านสอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีราคะให้รู้ว่ามีราคะ เห็นไหม ง่ายๆ มีราคะรู้ว่ามีราคะ นี่แหละทางสายกลาง ท่านไม่เคยสอนนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้ามมีราคะ ห้ามได้ไหม ห้ามไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีราคะไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็เบื่อไปเอง ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้

เพราะงั้นเมื่อไหร่รู้ได้นะ “รู้นั้นแหละกลาง เกินจากรู้ไม่กลางหรอก”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลตำรวจ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ โรงพยาบาลตำรวจ
File: 540330
ระหว่างนาทีที่  ๔๓ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีปัญญารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนั้นแหละอริยมรรค

mp3 (for download): มีปัญญารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนั้นแหละอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มีปัญญารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนั้นแหละอริยมรรค

มีปัญญารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนั้นแหละอริยมรรค

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเรามีปัญญาเกิดขึ้นอย่างแท้จริงจะทำลายตัณหาไป ตัณหามันเกิดจากโง่ ตัณหามาไหน มาจากโง่ มาจากอวิชชานั่นเอง ตราบใดที่ยังมีอวิชชา มีความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้แจ้งในอะไร อวิชชาไม่ใช่ไม่รู้แจ้ง ว่า กฟผ. อยู่ตรงไหน จะเลี้ยวรถยังไง นั่นไม่ใช่อวิชชา เป็นความไม่รู้ธรรมดา อวิชชาคือความไม่รู้อริยสัจ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ เราเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวเรา เป็นของดีของวิเศษ เราไม่เคยเห็นขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ ไม่รู้สมุทัย

ตัณหาเกิดขึ้นในใจ ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น ใจเกิดความยากตลอดเวลาไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น อย่างเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง อยากได้กลิ่น อยากลิ้มรส อยากกระทบสัมผัสทางกาย อยากคิด อยากนึก อยากปรุง อยากแต่งทางใจ ตัณหามี ๖ ช่องนะ ๖ ช่องทาง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าเรามันเกิดขึ้นมาเราก็ไม่รู้ไม่เห็น มันครอบงำใจของเรา ใจก็จะดิ้นรน ปรุงแต่ง ใจก็จะทุกข์ขึ้นมา นี่มีตัณหาก็มีทุกข์ขึ้นมา

จะล้างตัณหาได้ต้องให้เห็นความจริง รู้ทุกข์ให้แจ่มแจ้ง รู้ขันธ์ให้แจ่มแจ้ง คือมีปัญญานั่นเอง ถ้ามีปัญญารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว ก็จะละสมุทัยอัตโนมัติ ถ้าละสมุทัยได้เมือไหร่ก็แจ้งนิโรธ คือแจ้งพระนิพพานเมื่อนั้นอัตโนมัติ เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ในขณะจิตที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ขณะนั้นแหละคือขณะแห่งอริยมรรค ตอนที่รู้ทุกข์นั่นแหละเกิดอริยมรรค ตอนที่รู้ทุกข์นั่นแหละละสมุทัย ละความอยากเด็ดขาด ตอนที่ละสมุทัย ตอนที่รู้ทุกข์ละสมุทัยเกิดอริยมรรค ขณะนั้นแหละแจ้งนิโรธ คือ แจ้งพระนิพพาน นั่นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เวลาแจ้ง แจ้งในขณะจิตเดียว ไม่ใช่ว่าวันนี้รู้ทุกข์ พรุ่งนี้ไปละสมุทัย มะรืนไปแจ้งนิโรธ มะเรื่องไปเจริญมรรคนะ ไม่ใช่เวลาเกิดเกิดในขณะจิตเดียว เรียกว่า “มรรคสมังคี” รวมพลังลงมาในจุดเดียวกัน รวมลงที่จิตจุดเดียว ไม่ไปอยู่ที่อื่นหรอก

นี่เราต้องเจริญปัญญาให้มาก การที่เรามีสติ คอยระลึกรู้ความจริงของกายของใจเรื่อยไป ของรูปนามนั่นเอง มันจะทำลายความเห็นผิดเป็นลำดับ ลำดับไป ทำลายความโง่นั่นเอง หายโง่เมื่อไหร่ ตัณหาจะไม่เกิด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย นนทบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันจันทร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
File: 540530
ระหว่างนาทีที่  ๙ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

>> วันเพ็ญเดือนวิสาขะ มหัศจรรย์เหนือโลกธาตุ <<

ความหมาย คำว่า “วิสาขบูชา” หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก ” วิสา – ขบุรณมีบูชา ” แปลว่า ” การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ” ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ – สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา – มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
วะยะธัมมา สังขารา สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมาวาจา นี่เป็นพระวาจาครั้งสุดท้ายของเราตถาคต

ธรรมะเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ที่ขอแนะนำสำหรับ วันวิสาขะบูชา

>> อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์ <<

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักของการปฎิบัติ อันแรกสุดเลย ท่านบอกให้รู้ทุกขฺ์ หลักของอริยสัจจ์ ความจริงของพระอริยะทั้งหลาย ความจริงข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ให้รู้ อะไรคือทุกข์ ขันธ์ ๕ คือ ทุกข์ คือ กายกับใจเราเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นรู้ลงที่กายที่ใจนี้

รู้ไปเพื่ออะไร เพื่อวันหนึ่งเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ เรารู้เลยกายกับใจนี้จริงๆ เป็นของโลกนะ เป็นสมบัติของโลก ยกตัวอย่างร่างกายของเรานี้เป็นแค่วัตถุธาตุเท่านั้นเอง อาศัยธาตุของพ่อแม่เป็นจุดเริ่มต้น อาศัยอาหาร อาศัยน้ำ อาศัยอากาศ อะไรอย่างนี้ หล่อเลี้ยง ตัวโตขึ้นมา แต่ละวันก็มีธาตุไหลเข้าไหลออก กินอาหารแล้วขับถ่าย หายใจเข้าแล้วหายใจออก อะไรอย่างนี้ เฝ้ารู้เฝ้าดู

วันหนึ่งแจ่มแจ้ง ร่างกายของเรานี่กับวัตถุทั้งหลายนี่ อันเดียวกันนั่นแหละ ความไม่รู้มันทำให้เราแบ่งแยกเอา มาเป็นกายของเรา นี่เป็นใจของเรา มันมีตัวเราขึ้นมา มันก็อยากหาความสุขให้ตัวเรา อยากจะสุขถาวร อยากจะอย่างโน้น อยากอย่างนี้ เกิดการดิ้นรน เกิดการปรุงแต่งตั้งมากมาย เพื่อที่จะหาความสุขมาให้ต้วเรา

ถ้าเฝ้ารู้ ลงไปที่กาย เฝ้ารู้ลงไปที่ใจ วันหนึ่งเห็น ตัวเราไม่มี ตัวเราไม่มี การที่ ถ้ามันมีตัวเรานี่คือ ‘อวิชชา’ นั่นเอง ความไม่รู้ทุกข์ อวิชชาข้อที่ ๑ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวเราจริงๆเป็นแค่ รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ หรือเป็นวิญญาณธาตุ เป็นธาตุรู้ เป็นของโลก ไม่ใช่ของเรา

เนี่ย เฝ้ารู้กาย เฝ้ารู้ใจ มันจะเห็นความจริงนะ มันจะสลัดคืนความยึดถือกาย ยึดถือใจ มันหวง มันรัก มันอยากให้ดี อยากให้สุขถาวร เฝ้ารู้ พอไม่ใช่ของเรา เห็น เบื้องต้นเห็นไม่ใช่ของเราก่อน ไม่ใช่ของเรานี้เรียกว่าพระโสดาบัน พระโสดาบันเห็น กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เป็นของโลก แต่ว่า คล้ายๆเป็นสมบัติคนอื่นนะ แต่งกนะ ไม่คืนหรอก

มาเฝ้ารู้เฝ้าดู เราคิดว่าเป็นของดีของวิเศษ กายนี้ ใจนี้ เป็นของดีของวิเศษ เฝ้ารู้เฝ้าดู นานไป นานไป ปัญญาแจ้งนะ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย กายนี้หาความสุขตรงไหนก็ไม่เจอ จิตนี้หาความเที่ยง หาการบังคับได้สักนิดหนึ่งก็ไม่มี มีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย พอเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย เห็นตรงที่พระพุทธเจ้าบอกล่ะ เห็นทุกข์ละ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

พวกเราไม่มีทางเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เลย เราเห็นว่ามันทุกข์บ้าง สุขบ้าง กายนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง จิตนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ถ้าเจริญสติเข้มข้นขึ้นจริงๆ เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆ แล้วมันจะสลัดคืน มันจะเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันคล้ายๆเรา หยิบของมาอันหนึ่ง เรานึกว่านี่ของวิเศษเลย วันหนึ่งมาหัดสังเกตมัน อ้าว.. มันไม่ใช่ของดีหรอกนี่ นะ อาจจะเป็นจิ้งจก ตุ๊กแก อะไรนี่ มันเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันจะสลัดทิ้ง

คำว่า ‘สลัดทิ้ง’ ภาษาบาลีเรียกว่า ‘ปฏินิสสัคคะ’ การสลัดคืน จะสลัด ใจเราจะหมดภาระทางใจนะ มันจะโล่งไปหมดเลย ความทุกข์มันจะเข้ามาไม่ถึงใจอีกแล้ว คือความอยาก การดิ้นรนทางใจทั้งหลายไปหมดเลย เป็นเพราะรู้ความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราจริงๆนะ แบกเอาไว้ก็เป็นทุกข์ล้วนๆ

ท่านจึงสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คนทั้งหลายนี้แบกภาระ แบกทุกข์นี้ไปเรื่อยๆ คนยังต้องแบกของหนัก ไม่พ้นจากความทุกข์ แต่พระอริยะเจ้าทั้งหลายเนี่ย วางภาระ วางของหนักลงแล้ว คือวางความยึดถือกายยึดถือใจลงแล้ว แล้วไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงอยู่ที่ตรงนี้

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งนะ ก็จะละสมุทัยไปโดยอัตโนมัติ ที่ท่านสอนอริยสัจจ์ บอกว่า ให้รู้ทุกข์ ให้ละสมุทัย ถ้าเรารู้ทุกขฺ์แจ่มแจ้งเลย เห็นกายเห็นใจนี้ เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ นะ มันปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความดิ้นรน ความทะยานอยากของใจ ที่จะอยากให้จิตใจเรามีความสุข จิตใจเราดี อย่างโน้นอย่างนี้นะ ความดิ้นรน ความทะยานอยาก พวกนี้ถูกทำลายไปหมด จิตใจมันจะมีอิสรภาพ ทุกวันนี้เราตกเป็นทาสของความอยาก ความอยากเป็นเจ้านายตัวจริง สั่งให้เราทำอะไรต่ออะไรทั้งวันเลย เพื่อจะให้มันมีความสุข เพื่อจะหาความสุข

เฝ้ารู้ลงมาเห็นจริง จิตใจนี้ทุกข์ ไม่ใช่ตัวดี ปล่อยวางได้ ความอยากที่จะให้จิตใจนี้ดี อยากให้จิตใจนี้สุข ก็หมดไป สมุทัยเป็นอันถูกละไป การดิ้นรนต่างๆก็หมดไป ภาระทางใจ การงานทางใจ ก็หมดไปเลย จิตใจเข้าถึงภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง พ้นจากภาระ ภาวะแห่งความพ้นความปรุงแต่งนั้นแหละเรียกว่านิโรธ นิโรธ หรือ นิพพาน

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยก็เป็นอันถูกละไป นิโรธก็แจ้งขึ้นตรงนั้นเลย เพราะฉะนั้นการรู้ทุกข์นี้แหละ คือการเจริญอริยมรรค นี่คืออริยสัจจ์ ๔ นะ อริยสัจจ์ ๔

รู้ทุกข์ รู้กาย รู้ใจ รู้จนเห็นความจริง กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวดี เป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความอยากจะให้กายนี้ ใจนี้ มีความสุขถาวร ก็หมดไป หมดการดิ้นรน หมดความอยาก สมุทัยถูกละ จิตใจเข้าถึงความสงบสุข พ้นจากการดิ้นรน แผดเผา ของความอยาก พ้นจากการยึดถือทุกข์ เรียกว่า ‘นิโรธ’ หรือ ‘นิพพาน’

นิพพานมีหลายนัยยะ อันหนึ่งก็คือ ‘วิสังขาร’ พ้นการปรุงแต่ง พ้นจากรูปนาม พ้นจากตัวทุกข์ อีกอันหนึ่งคือ ‘วิราคะ’ พ้นจากความอยาก ก็คือ พ้นจากตัณหา พ้นจากตัวสมุทัย

เพราะฉะนั้น การรู้ทุกข์ สำคัญที่สุด ถ้าพวกเราละเลย เราไม่เรียน เรื่องการรู้ทุกข์ หรือ การรู้กาย รู้ใจ จะห่างไกลจากศาสนาพุทธมากเลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สวนโพธิญาณ
หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๑๕
File: 480821A
นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๑

อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/อริยสัจ_4

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/budda/theme_2.html

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระอนาคามียังเห็นว่าจิตเป็นต้วสุข

mp3 for download : พระอนาคามียังเห็นว่าจิตเป็นต้วสุข

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พระอนาคามียังเห็นว่าจิตเป็นต้วสุข

พระอนาคามียังเห็นว่าจิตเป็นต้วสุข

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่พวกเราทำอยู่ทุกวันนี้นะเรียกว่า “เบื้องต้นแห่งมรรค” ยังไม่ใช่ตัวมรรค เบื้องต้นของมรรค หรือ “บุพภาคมรรค” มรรคในส่วนเบื้องต้น คือการที่หัดเจริญสติรู้กายรู้ใจไป อาศัยการหัดรู้กายรู้ใจเนี่ยก็ค่อยๆเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา แก่รอบขึ้นเป็นลำดับๆไป สุดท้ายก็จะแจ้งเลย ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์ ขันธ์ ๕ ตัวสุดท้ายนะ ที่ใจยอมรับว่าเป็นตัวทุกข์ก็คือตัวจิต

พระอนาคาฯยังเห็นว่าจิตเป็นตัวสุขอยู่ เพราะอะไร เพราะพระอนาคาฯมีสมาธิบริบูรณ์ จิตตั้งมั่น เด่นดวง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ทั้งวันทั้งคืนอย่างนั้นเอง ไม่ต้องรักษาด้วย ก็เลยรู้สึก โอ้..ตรงนี้ดีจังเลย ถ้าเมื่อไหร่ตรงนี้หายไปนะก็เป็นทุกข์ ถ้ายังอยู่กับจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็มีความสุข นี่เรียกว่าปัญญาไม่แก่รอบนะ ยังเห็นว่าจิตผู้รู้เป็นตัวสุขอยู่ ถ้าเป็นจิตผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ถึงจะเป็นตัวทุกข์ ถ้าปัญญาระดับพระอรหันต์นะ จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็นตัวทุกข์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

mp3 (for download) : อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักของการปฎิบัติ อันแรกสุดเลย ท่านบอกให้รู้ทุกขฺ์ หลักของอริยสัจจ์ ความจริงของพระอริยะทั้งหลาย ความจริงข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ให้รู้ อะไรคือทุกข์ ขันธ์ ๕ คือ ทุกข์ คือ กายกับใจเราเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นรู้ลงที่กายที่ใจนี้

รู้ไปเพื่ออะไร เพื่อวันหนึ่งเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ เรารู้เลยกายกับใจนี้จริงๆ เป็นของโลกนะ เป็นสมบัติของโลก ยกตัวอย่างร่างกายของเรานี้เป็นแค่วัตถุธาตุเท่านั้นเอง อาศัยธาตุของพ่อแม่เป็นจุดเริ่มต้น อาศัยอาหาร อาศัยน้ำ อาศัยอากาศ อะไรอย่างนี้ หล่อเลี้ยง ตัวโตขึ้นมา แต่ละวันก็มีธาตุไหลเข้าไหลออก กินอาหารแล้วขับถ่าย หายใจเข้าแล้วหายใจออก อะไรอย่างนี้ เฝ้ารู้เฝ้าดู

วันหนึ่งแจ่มแจ้ง ร่างกายของเรานี่กับวัตถุทั้งหลายนี่ อันเดียวกันนั่นแหละ ความไม่รู้มันทำให้เราแบ่งแยกเอา มาเป็นกายของเรา นี่เป็นใจของเรา มันมีตัวเราขึ้นมา มันก็อยากหาความสุขให้ตัวเรา อยากจะสุขถาวร อยากจะอย่างโน้น อยากอย่างนี้ เกิดการดิ้นรน เกิดการปรุงแต่งตั้งมากมาย เพื่อที่จะหาความสุขมาให้ต้วเรา

ถ้าเฝ้ารู้ ลงไปที่กาย เฝ้ารู้ลงไปที่ใจ วันหนึ่งเห็น ตัวเราไม่มี ตัวเราไม่มี การที่ ถ้ามันมีตัวเรานี่คือ ‘อวิชชา’ นั่นเอง ความไม่รู้ทุกข์ อวิชชาข้อที่ ๑ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวเราจริงๆเป็นแค่ รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ หรือเป็นวิญญาณธาตุ เป็นธาตุรู้ เป็นของโลก ไม่ใช่ของเรา

เนี่ย เฝ้ารู้กาย เฝ้ารู้ใจ มันจะเห็นความจริงนะ มันจะสลัดคืนความยึดถือกาย ยึดถือใจ มันหวง มันรัก มันอยากให้ดี อยากให้สุขถาวร เฝ้ารู้ พอไม่ใช่ของเรา เห็น เบื้องต้นเห็นไม่ใช่ของเราก่อน ไม่ใช่ของเรานี้เรียกว่าพระโสดาบัน พระโสดาบันเห็น กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เป็นของโลก แต่ว่า คล้ายๆเป็นสมบัติคนอื่นนะ แต่งกนะ ไม่คืนหรอก

มาเฝ้ารู้เฝ้าดู เราคิดว่าเป็นของดีของวิเศษ กายนี้ ใจนี้ เป็นของดีของวิเศษ เฝ้ารู้เฝ้าดู นานไป นานไป ปัญญาแจ้งนะ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย กายนี้หาความสุขตรงไหนก็ไม่เจอ จิตนี้หาความเที่ยง หาการบังคับได้สักนิดหนึ่งก็ไม่มี มีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย พอเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย เห็นตรงที่พระพุทธเจ้าบอกล่ะ เห็นทุกข์ละ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

พวกเราไม่มีทางเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เลย เราเห็นว่ามันทุกข์บ้าง สุขบ้าง กายนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง จิตนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ถ้าเจริญสติเข้มข้นขึ้นจริงๆ เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆ แล้วมันจะสลัดคืน มันจะเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันคล้ายๆเรา หยิบของมาอันหนึ่ง เรานึกว่านี่ของวิเศษเลย วันหนึ่งมาหัดสังเกตมัน อ้าว.. มันไม่ใช่ของดีหรอกนี่ นะ อาจจะเป็นจิ้งจก ตุ๊กแก อะไรนี่ มันเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันจะสลัดทิ้ง

คำว่า ‘สลัดทิ้ง’ ภาษาบาลีเรียกว่า ‘ปฏินิสสัคคะ’ การสลัดคืน จะสลัด ใจเราจะหมดภาระทางใจนะ มันจะโล่งไปหมดเลย ความทุกข์มันจะเข้ามาไม่ถึงใจอีกแล้ว คือความอยาก การดิ้นรนทางใจทั้งหลายไปหมดเลย เป็นเพราะรู้ความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราจริงๆนะ แบกเอาไว้ก็เป็นทุกข์ล้วนๆ

ท่านจึงสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คนทั้งหลายนี้แบกภาระ แบกทุกข์นี้ไปเรื่อยๆ คนยังต้องแบกของหนัก ไม่พ้นจากความทุกข์ แต่พระอริยะเจ้าทั้งหลายเนี่ย วางภาระ วางของหนักลงแล้ว คือวางความยึดถือกายยึดถือใจลงแล้ว แล้วไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงอยู่ที่ตรงนี้

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งนะ ก็จะละสมุทัยไปโดยอัตโนมัติ ที่ท่านสอนอริยสัจจ์ บอกว่า ให้รู้ทุกข์ ให้ละสมุทัย ถ้าเรารู้ทุกขฺ์แจ่มแจ้งเลย เห็นกายเห็นใจนี้ เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ นะ มันปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความดิ้นรน ความทะยานอยากของใจ ที่จะอยากให้จิตใจเรามีความสุข จิตใจเราดี อย่างโน้นอย่างนี้นะ ความดิ้นรน ความทะยานอยาก พวกนี้ถูกทำลายไปหมด จิตใจมันจะมีอิสรภาพ ทุกวันนี้เราตกเป็นทาสของความอยาก ความอยากเป็นเจ้านายตัวจริง สั่งให้เราทำอะไรต่ออะไรทั้งวันเลย เพื่อจะให้มันมีความสุข เพื่อจะหาความสุข

เฝ้ารู้ลงมาเห็นจริง จิตใจนี้ทุกข์ ไม่ใช่ตัวดี ปล่อยวางได้ ความอยากที่จะให้จิตใจนี้ดี อยากให้จิตใจนี้สุข ก็หมดไป สมุทัยเป็นอันถูกละไป การดิ้นรนต่างๆก็หมดไป ภาระทางใจ การงานทางใจ ก็หมดไปเลย จิตใจเข้าถึงภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง พ้นจากภาระ ภาวะแห่งความพ้นความปรุงแต่งนั้นแหละเรียกว่านิโรธ นิโรธ หรือ นิพพาน

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยก็เป็นอันถูกละไป นิโรธก็แจ้งขึ้นตรงนั้นเลย เพราะฉะนั้นการรู้ทุกข์นี้แหละ คือการเจริญอริยมรรค นี่คืออริยสัจจ์ ๔ นะ อริยสัจจ์ ๔

รู้ทุกข์ รู้กาย รู้ใจ รู้จนเห็นความจริง กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวดี เป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความอยากจะให้กายนี้ ใจนี้ มีความสุขถาวร ก็หมดไป หมดการดิ้นรน หมดความอยาก สมุทัยถูกละ จิตใจเข้าถึงความสงบสุข พ้นจากการดิ้นรน แผดเผา ของความอยาก พ้นจากการยึดถือทุกข์ เรียกว่า ‘นิโรธ’ หรือ ‘นิพพาน’

นิพพานมีหลายนัยยะ อันหนึ่งก็คือ ‘วิสังขาร’ พ้นการปรุงแต่ง พ้นจากรูปนาม พ้นจากตัวทุกข์ อีกอันหนึ่งคือ ‘วิราคะ’ พ้นจากความอยาก ก็คือ พ้นจากตัณหา พ้นจากตัวสมุทัย

เพราะฉะนั้น การรู้ทุกข์ สำคัญที่สุด ถ้าพวกเราละเลย เราไม่เรียน เรื่องการรู้ทุกข์ หรือ การรู้กาย รู้ใจ จะห่างไกลจากศาสนาพุทธมากเลยนะ

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๑๕
File: 480821A
นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

mp 3 (for download) : การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
Track: ๑๑
File: 510202.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๐ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

mp 3 (for download) : ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นคนรู้คนดู พวกเราหลายคนทำกรรมฐานมากมาย แต่สงสัยว่าทำไมมันไม่เกิดมรรคผลนิพพานตัวจริง เพราะมันไม่มีปัญญานั่นเอง ไม่มีปัญญาเห็นความจริงของรูปนาม มันคิดแต่จะบังคับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งลูกเดียวนะ ไม่ใช่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์

ทำไมไม่มีปัญญา เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นสำคัญนะ อย่างพระอยู่กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องคอยควบคุม บางวันจิตตามรู้กายตามรู้ใจมากเข้าๆ จิตกระจายๆ ออกไปนี่ ต้องเพิ่มสมถะละ เพิ่มความสงบให้ใจตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วขี้เกียจขี้คร้านอีก ต้องไล่อีกแล้ว ให้ออกมารู้กายมารู้ใจนะ

เนี่ยเวลาทำกรรมฐานก็คล้ายๆ เราขับรถยนต์นะ บางเวลาก็เหยียบเบรก เนี่ยทำสมถะ บางเวลาเหยียบคันเร่งเจริญปัญญา รถมันถึงจะไปถึงที่หมายได้ งั้นเราคอยดูนะ คอยดูกายคอยดูใจไป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นแค่คนดู

หลายคนทำมาหลายปีทำไมไม่ได้ผล หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ อย่างตอนนี้ฝึกพองยุบเยอะ ฝึกพองยุบแล้วเห็นท้องพองท้องยุบนะ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นจิตเราจะไหลไปตั้งอยู่ที่ท้อง จิตไปตั้งอยู่ที่ท้องเรียกว่าไปตั้งแช่ไม่ใช่ตั้งมั่น เข้าไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ จิตตั้งมั่นเนี่ยมันจะอยู่ต่างหากจากอารมณ์ มันจะเห็นเลยร่างกายที่พองร่างกายที่ยุบเป็นของถูกดู จิตอยู่ต่างหาก ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อน

เพราะฉะนั้นก่อนจะเกิดวิปัสสนาญาณนะ ญาณตัวแรกเลยนะเขาเรียกว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ” นามรูปปริจเฉทญาณคือแยกรูปกับนาม เห็นเลยเห็นท้องมันพองท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่นอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ใจถลำไปอยู่ที่ท้องนะ ตรงนี้ชอบดูลมหายใจก็ถลำไปอยู่ที่ลมหายใจ ขยับมือทำจังหวะก็ไปเพ่งใส่มือ จิตไหลไปอยู่ที่มือ เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ดูท้องจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูอิริยาบถสี่เพ่งมันทั้งตัวเลย อันนั้นเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตถลำลงไปตั้งแช่ในอารมณ์ จิตต้องตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สักว่ารู้อารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์นี่เป็นอันหนึ่ง ไหลเข้าไปรวมแช่อยู่กับอารมณ์เป็นอีกอันหนึ่ง

นี่พวกเราส่วนมากจิตไหลเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์ ไม่มีปัญญาจริงหรอก เกิดปัญญาไม่ได้ มันแช่ไปด้วยกัน ยกตัวอย่างให้ฟังนะ คล้ายๆ เรา ถ้าเรายืนอยู่บนบกริมคลองริมแม่น้ำ เราอยู่บนบกเราไม่ได้ตกน้ำ เราจะเห็นเลยในน้ำเดี๋ยวก็มีอันโน้นลอยมาอันนี้ลอยมา เดี๋ยวกอผักตบลอยมา เดี๋ยวท่อนไม้ลอยมา เดี๋ยวหมาเน่าลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไปเพราะว่าเราอยู่บนบก

แต่ถ้าเราตกลงไปในน้ำเราลอยไปกับมันนะ เห็นมันอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นมันอยู่ทั้งวัน ดูท้องก็เห็นท้องทั้งวันอยู่ทั้งวันนั่นแหละ ลอยไปด้วยกัน งั้นต้องเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

อย่างสายอภิธรรม อาจารย์แนบก็ชอบสอน ต้องเป็นคนดูละครนะ เป็นคนดูละครอย่าโดดเข้าไปในเวทีละคร ถ้าพูดสมัยใหม่คนรุ่นเราชอบดูฟุตบอล เราต้องดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์นะ อย่าไปดูฟุตบอลอยู่กลางสนามฟุตบอล เดี๋ยวถูกเขาเตะเอานะ ถูกกิเลสเตะเอา

งั้นเราต้องดูอยู่ห่างๆ เนี่ยเรียกว่าเราตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยินดียินร้ายกับมัน เป็นกลางในการรู้ จิตใจอ่อนโยนนุ่มนวล ตั้งมั่น คล่องแคล่วว่องไวนะ ไม่ไหลเข้าไป เนี่ยอย่างนี้จิตใจถึงจะมีปัญญาจริงเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ เพราะจิตมันไม่หลงตามไป จะเห็นแต่ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ถ้าไหลคู่กันไปมันคือการเพ่ง มันจะแนบอยู่ที่อันเดียวนะ เป็นการเพ่ง ได้สมถะ ได้แต่สมถะ

ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ทางวัดป่าท่านจะเรียกว่าจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นคนดู เป็นคนดูกาย ดูเวทนา ดูกุศลอกุศล ก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นกุศลอกุศลล้วนแต่เกิดแล้วก็ดับ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู ปัญญาถึงจะเกิด

งั้นสติเป็นเครื่องระลึกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแปลกปลอมขึ้นในกายในใจ สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการไปรู้อารมณ์ไม่ถลำลงไป ปัญญาก็จะเห็นความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา นี่สติสมาธิปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างนี้นะถึงจะเกิดมรรคเกิดผลได้ ทำไมเกิดมรรคเกิดผลได้เพราะว่ามีปัญญาแก่รอบแล้ว มีสมาธิบริบูรณ์ขึ้นมานะ ศีลสมาธิปัญญาพร้อมมูลขึ้นมานะ อริยมรรคถึงจะเกิด ตัวหนึ่งมากตัวหนึ่งน้อยกะพร่องกะแพร่งไม่เกิดหรอก งั้นต้องมีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางสักว่ารู้สักว่าเห็นนะ ถึงจะเห็นความจริงของกายของใจ ฟังเหมือนยากนะแต่ง่าย


แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
ลำดับที่: ๘
File: 491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วันใดมีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕ โดยอัตโนมัติ

มีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕

มีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕

mp3 (for download) : วันใดมีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕ โดยอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าวันใดปัญญาเราเห็นว่าขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ  ใจจะปล่อยวางขันธ์ห้าโดยอัตโนมัติ ไม่ยึดถือขันธ์ห้า มีความสุขล้วนๆเลยคราวนี้ เพราะพ้นจากตัวทุกข์มาได้

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้หาความสุขนะ  ท่านสอนวิธีให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกข์คือพ้นจากอะไร? พ้นจากทุกข์คือพ้นจากขันธ์ ขันธ์นั่นแหล่ะตัวทุกข์  ถ้าเมื่อไรใจพ้นจากขันธ์ ก็พ้นจากทุกข์ ใจจะพ้นจากขันธ์ได้ด้วยปัญญาเห็นจริง ว่าขันธ์เป็นทุกข์

ปัญญาจะเกิดได้ ก็ต้องอาศัยสมาธิ ใจตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว คอยรู้ลงในกายในใจเนืองๆ เราค่อยๆ ฝึกของเราไปนะ  เดินไป ทุกวี่ทุกวันนะ สำรวจตัวเองไป  องค์มรรคแปดประการอันไหนของเรายังย่อหย่อน เราก็พัฒนาขึ้นมา


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๔
ลำดับที่ ๑
File: 530228A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๐
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

mp 3 (for download) : การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เคยมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านหลงป่าเข้าพม่าไป แล้วก็เปียกฝนสามวันสามคืน เดินหลงทาง ข้าวก็ไม่มีจะฉัน ปอดบวม เข้าไปหลบฝนอยู่ในถ้ำ ก็ยังภาวนา แล้วรู้สึกว่าคราวนี้ต้องตายแน่ๆเลย ถึงแข็งแรงนะ จะรอดออกจากป่าหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะหลงทาง

ท่านก็ภาวนาของท่านไปเรื่อย กะว่าถ้าตายแล้วจิตใจจะห่วงอะไรมั้ย ร่างกายนี้ไม่ห่วงแล้ว ดูจิตดูใจก็ไม่ห่วงแล้ว ใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง พร้อมจะตายแล้ว จิตใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง ท่านก็ดูไปเรื่อยๆ เอ๊ะ! ไม่ยึดอะไรเลย ทำไมมันมีอะไรก็ไม่รู้ แปลกๆ สังเกตไปเรื่อยๆ ยึดความไม่ยึดอะไร ท่านเห็นว่าท่านยึดความไม่ยึดอะไร ยึดความว่างไว้ ตรงนี้ขาดปั๊บลงไป จิตท่านสว่างจ้าขึ้นมา

ท่านก็นึกว่า ในถ้ำ อยู่ในถ้ำมืดๆนะ กลางคืนนะ นึกว่าสว่างแล้ว ดูนาฬิกา ก็ยังไม่สว่างนะ ยังกลางคืนอยู่ มองข้างนอกก็มืดตึ๊ดตื๋อเลย ในถ้ำทั้งถ้ำนี่สว่าง แล้วท่านก็หายป่วย เสร็จแล้วตอนเช้า ฝนหยุดแล้ว ออกไปจากถ้ำ หิวนะ หิว ไม่มีอะไรฉันหลายวัน เจอลิงมันถือมะละกอ แล้วมันทำมะละกอตกลงมาที่พื้น แล้วมันก็มองหน้าท่านนะ มองมะละกอ มองหน้า

ท่านก็นึกว่า เอ๊… มันไม่กล้าหยิบกระมัง คงกลัวท่านว่า พอก้มลงหยิบเดี๋ยวท่านเล่นงาน ท่านเลยกลับเข้าถ้ำ เป็นเรา เราจะแย่งลิงกินใช่มั้ย เราก็จะมีเหตุผลเราต้องเอาตัวรอดไว้ก่อน จะได้มีแรงภาวนาต่อไปอีก ใช่มั้ย ท่านไม่เอา ท่านกลับเข้าถ้ำไป ลิงถึงได้มาเก็บมะละกอคืนไป

เข้าไปพักหนึ่งถึงได้ออกมา ปรากฎว่าลิงมาอยู่ที่พื้นดินละ ถือมะละกอ คราวนี้มันกลิ้งมาให้ท่านแล้วก็หนีขึ้นต้นไม้ไปเลย ลองดูมะละกอลูกนี้นะ มีรอยนกเจาะๆไว้ด้วย อุตส่าห์ไปเก็บมาให้นะ ท่านบอกว่าตั้งแต่เกิดมาไม่เคยฉันอะไรอร่อยเท่านั้นเลย ฉันเสร็จแล้วเลยเดินกลับมาเมืองไทยได้ หลงเข้าป่าพม่าไป

ที่หลงเพราะท่านไปเดินตามลำห้วยไป นึกว่าลำห้วยนี้จะไหลเข้าฝั่งไทย กลายเป็นลำห้วยนี้ไหลไปพม่า ตามไป ตามไป ต้นไม้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เลยรู้ว่าไม่ใช่เมืองไทยแน่ เมืองไทยเข้ามาต้องเหลือแต่ต้นมันสำปะหลัง

ภาวนานะ ภาวนา ต้องทำ ฝึกไปเรื่อยๆ มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ไม่ใช่ภาวนาแล้วเคร่งเครียดนะ ถ้าภาวนาแล้วเคร่งเครียดแสดงว่าทำิผิด ถ้าภาวนาถูกจะมีแต่ความสุข มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน นั่งอยู่เฉยๆก็มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา คุณมนเคยเป็นใช่มั้ย มันมีความสุข

ความสุขมันเกิดจากการมีสติ รู้ลงในกาย รู้ลงในใจ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆนะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้น มากขึ้น เป็นเรื่องประหลาดนะ รู้ทุกข์แล้วมีความสุข รู้ทุกข์แล้วพ้นทุกข์ มีแต่ความสุขล้วนๆ

ใครๆก็อยากละทุกข์ทั้งนั้นเลย พระพุทธเจ้ากลับสอนให้รู้ทุกข์ ทุกข์อยู่ที่กายรู้ลงในกาย ทุกข์อยู่้ที่จิตใจรู้ลงในใจ รู้ไปเรื่อย จนวันหนึ่งไม่ยึดถือในกายในใจ ไม่ยึดถืออะไรเลย รวมทั้งไม่ยึดถือความไม่ยึดถือด้วยนะ เหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อเล่า เสร็จแล้วท่านไปยึดความไม่มีอะไร พอท่านผ่านตรงนี้นะ จิตใจของท่านก็เปลี่ยนไปเยอะแยะ

ท่านกลับเข้ามาในเมืองนะ พอดีมีโยมคนหนึ่งรู้จักท่าน นิมนต์ท่านไปฉัน ก็มีคนรู้จักกับหลวงพ่อบอกว่าเนี่ย ท่านมาจากป่าละ เลยไปหาท่าน ไปที่บ้านเขานั่นแหละ เป็นตึกแถวนะ ไม่เจอหลายปี นานๆเจอทีหนึ่ง

ท่านก็เล่า การภาวนานะ เวลานักปฏิบัติเจอกัน สนทนาธรรมด้วยเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ น่าฟังมากเลย น่าฟัง มันเป็นเรื่องของการต่อสู้กับกิเลสของตัวเองนั้นแหละ ไม่ใช่สู้คนอื่นนะ สู้กิเลสของเราเอง ล้มลุกคลุกคลาน ตอนสู้นะ ปางตาย

แต่ตอนสู้ขาดมาแล้ว มันขำนะ มันขำว่า แต่ก่อนทำไมมันโง่นะ ของง่ายๆเท่านี้เอง ไม่เข้าใจ สอบผ่านได้แล้วมันจะขำตัวเอง บางทีรู้สึกสมเพชตัวเองนะ ทำไมมันโง่หลายนะ โง่หลาย ของง่ายเท่านี้ไม่เห็น เห็นแล้วรู้ เห็นแล้วนะ ยังไม่เข้าใจ ง่ายกว่าที่นึกนะ

การภาวนา ถ้าเมื่อไรภาวนาแล้วรู้สึกยาก สังวรไว้เลยว่าผิดแน่นอน การภาวนาถ้าถูกต้อง จะต้องง่าย จิตใจมีสติ จิตใจมีสัมมาสมาธิ รู้ตื่น เบิกบาน เห็นกายตามความเป็นจริง เห็นใจตามความเป็นจริง มีแต่ความสุขล้วนๆเลย ค่อยๆภาวนา มันไม่ได้ยากเย็นเหมือนที่เราวาดภาพไว้ เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้ผิดธรรมดา ธรรมะคือธรรมดานั่นเอง

เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ ธรรมดาของกาย ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมดาของใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน เรียนจนเห็นธรรมดา เรียนไปเรื่อย เห็นไปเรื่อย จนใจยอมรับความเป็นธรรมดาของกายของใจ ยอมรับแล้วมันไม่เที่ยงนี่ จะไปยินดียินร้ายอะไรกับมัน มันเป็นทุกข์นะ มันไม่ใช่เป็นสุข มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่บังคับได้

หลายคนภาวนาแทนที่จะมุ่งมาให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกือบทั้งหมดที่ภาวนาแล้วล้มลุกคลุกคลานนะ ภาวนาเื่พื่อจะให้มันเที่ยง เพื่อจะให้มันสุข เพื่อจะบังคับมันให้ได้

ยกตัวอย่างภาวนาแล้วอยากให้จิตใจสงบถาวร ให้สุขถาวร ให้ดีถาวร อะไรอย่างนี้ ภาวนาแล้วจะเอา อยากได้ อยากได้ความสุข อยากได้ความสงบ อยากได้ความดี สุข สงบ ดี ธรรมดาก็ไม่ได้นะ อยากถาวรด้วย ลืมไปว่าถาวรไม่มี มีแต่อนิจจัง ไม่ถาวร มีแต่ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีความสุขที่แท้จริงในกายในใจนี้

ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ภาวนาไปแล้ว ร่างกายมีความสุขนะ ไม่ใช่นะ จิตใจก็ยังทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด ธรรมดานั่นเอง ความสุขมันอยู่ตรงที่ ไม่ได้ยึดถือขันธ์ต่างหาก ไม่ยึดถือในกาย ไม่ยึดถือในใจ เป็นอิสระ อิสระจากกายจากใจ ความสุขมันอยู่ที่พ้นขันธ์ ไม่ใช่ความสุขอยู่ที่ดัดแปลงขันธ์สำเร็จแล้ว

พวกเราภาวนา รู้สึกมั้ย อยากดี อยากสุข อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่าอยากนะ มีแต่คำว่าอยาก ลืมไปว่าความอยากเกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดทีนั้น พอความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้น จิตก็ดิ้น จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีความอยากจิตก็ไม่ดิ้น จิตไม่ดิ้นจิตก็ไม่ทุกข์

แต่ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้แจ้งในกายในใจนี้ว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ มันยังรักกายรักใจ มันคิดว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา คิดอย่างนี้ มันอยากให้เรามีความสุข อยากให้เรามีความสงบ อยากให้เราดี อยากให้เราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมีความอยากแล้วใจก็ดิ้น ใจก็ดิ้นแล้วใจก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังละอวิชาไม่ได้นะ ตัณหาคือความอยากก็จะไม่หมดไป

จะหมดเป็นคราวๆพอมีสติรู้ทันนะ ก็ดับไป พอขาดสตินะ ก็กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเลยต้องมีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา แต่พอภาวนาจนถึงที่สุดแ้ล้วนี่ มีปัญญา มีวิชาเกิดแล้ว มันไม่ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมา ไม่ต้องรักษาจิตน่ะ แล้วถามว่ามีสติมั้ย มีก็มีไปอย่างนั้นล่ะ ไม่ได้มีเพื่อรักษาจิต เพราะจิตนั้นไม่ต้องรักษา เพราะคืนโลกคืนธรรมชาติเขาไปแล้ว

เนี่ยธรรมะนะ เป็นสิ่งที่เราึนึกไม่ถึง นึกไม่ถึง เราภาวนา เราก็หวังว่าวันหนึ่งจิตของเราจะดี จะสุข จะสงบ ถาวร วาดภาพพระอรหันต์ไว้อย่างนั้น จริงๆไม่ได้เป็นอย่างที่นึกหรอก คนที่วางขันธ์ไปแล้ว กับคนที่มีขันธ์อยู่ ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน ของเราคิดแต่ว่าทำอย่างไรจะดี ของท่านรู้ว่าวางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว วางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาอะไรต่อไป

ถามว่ากิเลสเกิดขึ้นมาครอบงำจิตใจได้มั้ย ไม่ได้นะ จิตใจเข้าถึงภาวะที่อะไรก็ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะว่ามีปัญญารู้ทุกข์นี่แหละ สำคัญ ใช่รู้อย่างอื่นนะ ในขณะที่เราต่อสู้ ตะลุมบอนไป จิตใจเกิดปัญญา เกิดสติ เกิดสมาธินะ เกิดคุณงามความดีแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง มันอิ่มอกอิ่มใจ แต่สักพักหนึ่งมันก็พบว่าไม่ใช่นะ มันเสื่อมไปอีก

มีสติก็ขาดสติได้นะ มีสมาธิก็ขาดสมาธิได้ มีปัญญาก็โง่ได้อีก เนี่ยยังของกลับกลอก ยังของแปรปรวนอยู่ จิตใจก็ถูกกิเลสย้อมได้อีก แ้ล้วมันยังรู้สึกลึกๆว่ายังขาดอะไรอย่างหนึ่งที่ยังไม่ีรู้แจ้ง ตราบใดที่ยังขาดอันนี้อยู่เนี่ย จิตยังไม่เลิกดิ้นรนค้นคว้า จนวันหนึ่งจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์ พอจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตคืนกายคืนจิตให้โลก มันคืนกายไปก่อนนะ สุดท้ายมันหวงอยู่ที่จิตอันเดียวนี่แหละ พอคืนจิตให้โลกไปแล้ว ไม่ียึดถืออะไรในโลกอีก งานตรงนั้นก็หมดลงตรงนั้นเอง เข้าถึงความสุขที่นึกไม่ถึง

สวนสันติธรรม
CD: 19
File: 500310A.mp3
Time: 4.02 – 14.47

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิโรธมีห้าระดับ

นิโรธมีห้าระดับ

นิโรธมีห้าระดับ

mp 3 (for download) : นิโรธมีห้าระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ใจของเราบางครั้ง ก็เข้าถึงนิโรธเหมือนกัน เช่น เรารู้สึกตัวขึ้นมา กิเลสดับวับลงไป ใจโล่ง ว่าง สว่าง ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีอะไร ชั่วแว่บหนึ่งนั้น มันก็เป็นนิโรธเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ถึงขนาดนิพพาน นิโรธมี ๕ ระดับ

ยกตัวอย่าง ถ้าเรามีสติ ระลึกรู้สภาวะปั๊บ ใจเข้าถึงนิโรธ กิเลสดับลงไปตรงนั้น ความทุกข์ดับลงไปนะ มันเป็นนิโรธชนิดที่สอง มีห้าอัน นิพพานเป็นนิโรธอันที่ห้า ชนิดที่สามก็คือ นิพพานในขณะที่เกิดมรรค คือนิโรธในขณะที่เกิดอริยมรรค หรือบางทีก็วิมุติ ใช้คำเดียวกัน วิมุติมีห้าอัน นิโรธมีห้าอัน

อีกอัน อันที่สี่ก็คือ การเห็นนิโรธหรือนิพพานในขณะที่เกิดอริยผล อันที่ห้าก็คือนิพพาน อันที่หนึ่งก็คือ การสงบจากกิเลสเพราะการทำสมถะ ก็ถือว่าเป็นนิโรธเหมือนกัน เป็นวิมุติเหมือนกัน เป็นวิมุติขั้นต้นที่สุดเลย ข่มลงไปด้วยสมถะ

อันที่สอง รู้ด้วยสติ แล้วมันไม่ปรุงแต่งชั่วแว้บหนึ่ง แว้บเดียว ทีนี้เราไม่สามารถทรงอยู่กับแว้บเดียวนี้ได้ เพราะความปรุงแต่งอันใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเลย เพราะฉะนั้นก็สู้กันได้ทีละขณะ ทีละขณะ เป็นคราวๆไป

ตอนเกิดอริยมรรค อริยผล เวลาเกิด เกิดคู่กัน ต่อเนื่องกันเลย เกิดอริยมรรค อริยผล จิตไปเห็นนิพพาน คราวนี้เห็นนานหน่อย เห็นสองสามแว้บ นี่ขนาดนานนะ สองสามแว้บ เห็นแค่นั้น ไม่เห็นเยอะหรอก แล้วความปรุงแต่งก็กลับเข้ามาห่อหุ้มจิตใหม่ ได้สกิทาคาฯก็หลุดออกมาอีก เห็นนิพพานอีกสองสามแว้บนะ

ครูบาอาจารย์ท่านถึงบอกว่า เอ๊ะ เคยเห็นนะ แต่ไม่เข้าใจน่ะ บางครั้ง พอได้โสดาฯ สกิทาคาฯ ได้อนาคาฯแล้วเนี่ย บางครั้งใจก็เข้าไปรู้นิพพานได้ แต่ปุถุชนเข้าไปรู้นิพพานไม่ได้นะ เข้าไปรู้ได้แค่ช่องว่าง ที่พวกเราชอบบอกว่าไปอยู่กับสุญญตา สุญญตา น่ะ นั่นสุญญาตาตัวปลอม มันแค่ช่องว่าง ที่จริงไม่ใช่สุญญตา มันคืออากาสาฯ อากาสานัญจายตนะ

แต่ว่าพระอริยะบุคคลเนี่ย ถ้ามนสิการถึงนิพพานแล้วเห็นได้ เห็นได้เป็นคราวๆ บางครั้งก็ภาวนา รู้กายรู้ใจ แล้วก็เพิกถอน วางกายวางใจลงไป ใจก็ไปเห็นนิพพาน พอเห็นนิพานแล้วก็ถอยออกมานะ ไม่รู้ว่าจะเอาไว้ใช้ประโยชน์อะไร ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร ท่านถึงบอกว่าท่านด่าตัวเองว่า “โง่แท้น้อ” เห็นอยู่นะแต่ไม่รู้ ไม่เข้าใจมัน ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นภาวนามากๆเข้า ในที่สุด เกิดความเข้าใจ เข้าใจในนิพพาน เรียกว่ามีวิมุติญาณทัสนะแจ่มแจ้ง ก็พบว่า อ้อ ไม่เคยหายไปไหนเลย เราต่างหากละเลยไม่สนใจ ไม่เห็นประโยชน์

หลวงปู่ดูลย์เคยบอก เรื่องประหลาดนะ หลวงปู่ดูลย์เนี่ย อยู่บ้านนอก อยู่ป่า อยู่เขามาตลอดชีวิตนะ ไม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อะไร ท่านวิจารณ์ไอน์สไตน์ได้นะ ท่านคงพิจารณาของท่านเอง บอกว่า ไอน์สไตน์นั้นเก่งนะ เก่ง สามารถพิจารณาพิจารณาไปถึงนิพพานได้ แต่เขาไม่เห็นประโยชน์ เขาไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร เขาเลยไม่เอา ท่านวิจารณ์อย่างนี้

สิ่งที่ปิดบังนิพพานไว้นะ ก็มี รูปนาม ขันธ์ ๕ กับสมมุติบัญญัติ ไอน์สไตน์เก่งนะ ถึงขนาดมองว่า ตัวเราที่แท้จริงเป็นแค่เศษธุลีในจักรวาล เล็กนิดเดียวไม่มีนัยะอะไร เป็นแค่เศษธุลีในจักรวาล แต่ความสำคัญตัว สำคัญมั่นหมายขึ้นมา ว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ มนุษย์ก็เลยแยกตัวเองออกจากสิ่งที่แวดล้อม เกิดเรา เกิดเขา เกิดสิ่งแวดล้อมขึ้นมา

ไอน์สไตน์มองไปเห็นว่าตัวตนที่แท้จริงไม่มีหรอก เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลชั่วขณะ สัมพัทธ์ชั่วขณะแล้วก็ดับสลาย นี่หลวงปู่ดูลย์ท่านวิจารณ์นะ ประหลาด เรายังไม่เคยอ่านเลย

อีกองค์นะ วิจารณ์เรื่องเบอร์มิวด้า ประหลาดนะ พระอยู่ในป่า ไม่เคยรู้หนังสือไม่เคยอะไร ทีนี้หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ไอน์สไตน์ ไม่รู้มรรค แล้วก็ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร เขารู้จักแต่ประโยชน์ที่จะเอาออกมาทำงานทางโลกนี่


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๘
Track: ๑
File: 500114A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่นคือวิมุตติ ไม่ใช่อย่างอื่น

ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่นคือวิมุตติ ไม่ใช่อย่างอื่น

ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่นคือวิมุตติ ไม่ใช่อย่างอื่น

mp3 for download : ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่น ไม่ใช่อย่างอื่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตั้งหลักให้ดี มิใช่ภาวนาเพื่อให้เกิดความดี ความสุข ความสงบ หลวงพ่อมาหัดทำใหม่ๆก็ผิดเหมือนกันล่ะ ตั้งเป้าผิด ตั้งเป้าผิดนะ ตอนเด็กๆหัดภาวนาตั้งแต่เจ็ดขวบ หัดรู้ลมหายใจ ตั้งเป้าไว้เลยว่าจะต้องสงบ เอาความสงบเป็นสรณะนะ

ความสงบเองก็เป็นของไม่แน่นอน ใช่มั้ย ยังเป็นสังขารอยู่ ยังเป็นของที่แปรปรวนอยู่ เราไปเอาความสงบเป็นเป้าหมายเนี่ยไปไม่รอดหรอก วันนี้สงบได้อีกวันหนึ่งก็ฟุ้งซ่านได้อีกนะ หรือจะเอาความดี ความดีก็ยังแปรปรวนได้อีก ใช่มั้ย วันนี้ดี พรุ่งนี้ร้ายได้อีก เนี่ยเราเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติไม่ได้หรอก มันเป็นของไม่แน่นอน เป็นของแปรปรวน

เราต้องปฏิบัติเอาแก่นสารสาระให้ได้นะ คือ ความหลุดพ้น ไม่ใช่เอาแค่ว่า.. พระพุทธเจ้าเคยเทียบนะ บางคนอยากได้แก่นไม้ แต่ว่าไปเอาใบไม้ ไปเก็บใบไม้มา เก็บกิ่งเล็กๆมา ท่านบอก เหมือนคนจะมาภาวนา จะมาบวชเนี่ย บางคนมาบวชแล้วไปติดที่ลาภสักการะที่ชื่อเสียง อย่างนี้เหมือนอยากได้แก่นไม้ แต่ได้แค่ใบไม้ ได้แค่กิ่งเล็กๆ อะไรอย่างนี้

บางคนก็ภูมิใจ มาบวชทั้งที หรือมาภาวนาทั้งที รักษาศีลได้ดี ท่านบอกศีลก็ยังไม่ใช่แก่น ศีลเหมือนสะเก็ดไม้ สะเก็ดไม้เปลือกๆมัน บางคนก็มุ่งเอาสมาธิ ท่านก็บอกว่าสมาธิก็ยังใช้ไม่ได้ รู้สึกจะข้ามขั้นไปอันหนึ่งแล้ว เปรียบอะไรอีกอัน กิ่งไม้หรืออะไร แล้วค่อยมาสะเก็ดไม้นะ คือยังไม่ถึงแก่นสักทีน่ะ

สิ่งที่ไม่ใช่แก่นของการปฏิบัตินะ อันแรกเลย ชื่อเสียง ลาภสักการะ นะ กระทั่งเป็นโยมอย่านึกว่าภาวนาแล้วไม่เอาชื่อเสียงนะ โยมที่ไปเปิดสอนเนี่ยเยอะแยะเลย นะ สอนถูกบ้าง สอนผิดบ้าง มีสารพัดนานาชนิดเลย บางคนไปเที่ยวสอนคนอื่นนะ แล้วก็บอกว่าเป็นสาขาของหลวงพ่อปราโมทย์ มีนะ เราฟังแล้วงงมากเลยนะ เราไปเปิดแฟรนไชส์ไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ฟังแล้วก็งงๆนะ ไม่มีนะ ขอแถลงการณ์หน่อย สวนสันติธรรมไม่มีสาขานะ ตรงนี้ มีคนมาเสนอที่ดิน เสนออะไรให้เสมอๆ หลวงพ่อไม่เอาสักอันหนึ่ง เราไม่มีความพร้อมที่จะขยายงานแบบนั้น ขยายแล้วคุณภาพไม่ดี ขยายทำไม เอาของหลอกลวงไปให้คนเขาได้ยังไง เพราะฉะนั้นไม่มีสาขานะ

เพราะฉะนั้นเราภาวนาไม่ได้เอาชื่อเสียง ไม่ได้เอาผลประโยชน์ เอาผลประโยชน์ก็มี บางคนเขาก็เอาผลประโยชน์ บางคนเอาชื่อเสียง พวกนี้ใช้ไม่ได้ ห่างไกลนะ ห่างไกลจากเป้าหมายที่แท้จริง

ไม่ได้ภาวนาเพื่อจะภูมิใจว่ามีศีล มีศีลเหนือคนอื่น สังเกตมั้ย บางคนชอบไปถือศีล ถือศีลเสร็จแล้วกลับมาดูถูกคนอื่นว่าไม่มีศีล เนี่ยเพิ่มกิเลสนะ อย่างนี้ ใช้ไม่ได้นะ ท่านบอกว่าใช้ไม่ได้ หรือบางคนเอาสมาธิ ทุกวันจิตสงบ ใจสว่าง โล่ง ว่าง สบาย อยู่กับความว่าง นี่ภาวนาแล้วเอาสมาธิ ท่านก็ว่ายังใช้ไม่ได้ สมาธิเหมือนกับอะไร เปลือกไม้หรืออะไรอย่างนี้ ท่านเทียบ บางคนจะเอาปัญญา ภาวนาแล้วอยากมีความรู้เยอะๆ อยากแตกฉาน นี่เหมือนเอาเนื้อไม้ ยังไม่ถึงแก่นไม้ ขนาดศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเรามุ่งมาปฏิบัติเพื่อสิ่งเหล่านี้ ก็เรียกว่ายังไม่เข้าเป้าเลย ยังไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริง

แล้วเราปฏิบัติเพื่ออะไร เพื่อวิมุติ ความหลุดพ้นจากความยึดถือ ในรูป ในนาม ในกาย ในใจ นี้ ไม่ยึดอะไรในโลก เพราะฉะนั้นเราภาวนาเพื่อให้เกิดวิมุตินะ จะมีวิมุติได้ต้องมีปัญญาเห็นความจริง ล้างความเห็นผิดไป มันไปยึดถืออยู่เพราะมันเห็นผิด ที่เห็นผิดเพราะมันคุ้นเคยที่จะเห็นผิด เห็นร่างกายทีไรก็รู้สึกตัวเราทุกที ใจมันโกรธขึ้นมาก็ว่าเราโกรธ ใจมันโลภก็ว่าเราโลภ ความจริง จิตมันปรุงความโลภขึ้นมา จิตมันปรุงความโกรธขึ้นมา มันไม่ใช่เราโลภเราโกรธหรอก เนี่ยเราหัดภาวนานะ หัดดูของจริง ไม่ใช่มุ่งเอาสิ่งที่ปลีกย่อย…

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๕ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกด้วย

จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกด้วย

จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกด้วย

mp3 (for download) : จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกไม้ด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ  จิตบรรลุของมันเอง  เมื่อศีล  สมาธิ  ปัญญานี้แก่รอบพอ  จะต้องสะสมนะ     ท่านบอกว่า ไม่เอาศีลเป็นเป้าหมาย ไม่เอาสมาธิ  ไม่เอาปัญญา    แต่ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ไม่เอาเลย เพียงแต่ว่าไม่เอามาเป็นเป้าหมาย    บางคนฟังหลวงพ่อบอกว่า  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  เป็นสะเก็ดไม้  เป็นเปลือกไม้  เป็นกระพี้ไม้   นั้นแสดงว่าไม่ต้องเอา  จะเอาวิมุติ  อยากหลุดพ้นอย่างเดียวไม่หลุดหรอก  ต้นไม้จะมีแก่นขึ้นมาได้  ต้องมีใบใช่ไหม  มีกิ่ง  มีเปลือก  มีกระพี้  ไม่อย่างนั้นจะมีแก่นขึ้นมาได้อย่างไร   เราจะภาวนาให้เกิดวิมุติ  เราก็ต้องมีเปลือกพวกนี้   ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ต้องอบรมไปเรื่อย  ให้แก่รอบนะ   แต่ไม่ใช่เป้าหมาย  มันคือเครื่องมือ เครื่องมือกับเป้าหมายไม่เหมือนกันนะ  อย่างเป้าหมายของหมอต้องรักษาโรคให้ได้  แต่หมอมีเครื่องมือเยอะแยะเลย  ถ้าหมอคนนี้เป็นหมอพิกลพิการทางจิตใจ  จะซื้อเครื่องมือมาเยอะเลย  แต่คนไข้จะอยู่หรือจะตายไม่สนหรอก  ขอให้ได้ใช้เครื่องมือ  อย่างนี้ก็ไม่ไหวใช่ไหม    เรียกว่าผิดเป้าหมายแล้ว    อย่างนั้นเป้าหมายเราจริง ๆ  การหลุดพ้นนะ   แต่เครื่องมือต้องสะสม  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ต้องสะสมไปเรื่อย

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยสัจจ์

อริยสัจจ์

อริยสัจจ์

mp3 for download: อริยสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เรียนธรรมะเรียนง่ายๆนะ เรียนแบบเป็นกันเอง สมัยพุทธกาลนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ก็สอนธรรมะได้ อยู่ที่ไหนก็พูดกันได้ธรรมะ ธรระมจริงๆเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนอะไร ฆราวาสก็ทำได้นะ ฆราวาสทำให้ถึงมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เรื่องที่ว่าเหลือวิสัยทำไม่ได้ แต่ว่าต้องจริงจังหน่อย แต่จริงจังก็ไม่ได้จริงจังแบบวัวแบบควายนะ เอาแรงเข้าทุ่ม ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าสอนหลักไว้แล้ว เราจะมาทำนอกหลักพระพุทธเจ้าแล้วก็จะบรรลุอะไรอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนเสียก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์ นี่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของท่าน อริยสัจจ์มีเรื่องทุกข์ คำว่าทุกข์ก็ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ ต้องเรียนนะ ทุกข์ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์คือกายกับใจ ท่านบอกว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ว่าโดยสรุปขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ทุกข์ให้รู้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราเนี่ย รู้กายรู้ใจลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอย่างอื่นกับกายกับใจนะ หน้าที่คือรู้กายรู้ใจ ถ้าเรารู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งเนี่ยถึงจะละอวิชาได้ อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์นั่นเอง คือไม่รู้ว่ากายกับใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราไปคิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษ แต่ถ้าเรามาเจริญสติรู้กาย เจริญสติรู้ใจ รู้มากเข้าๆเราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ตัวทุกข์ล้วนๆ พอมันเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์แจ่มแจ้งปุ๊บ สมุทัยจะเป็นอันถูกละอัตโนมัติเลย ฉะนั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ สมุทัยถูกละเมื่อนั้น จำไว้นะ ไม่ใช่ว่าละสมุทัยเมื่อไหร่ พ้นทุกข์เมื่อนั้นนะ ธรรมะมันคนละระดับกัน

พวกเราเรียนธรรมะมันมีหลายขั้นตอน อย่างคนทั่วๆไปเนี่ย สมุทัย คนทั่วๆไปเห็นว่า ถ้ามีความอยากแล้วไม่สมอยากแล้วจะทุกข์ ถ้าสมอยากแล้วไม่ทุกข์ เนี่ยคนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นมากเลย ถ้ามีความอยากแล้วก็ไม่สมอยากแล้วทุกข์ นักปฏิบัติจะละเอียดขึ้นมาหน่อย เห็นว่าถ้ามีความอยากเมื่อไรก็มีความทุกข์เมื่อนั้น จะสมอยากหรือจะไม่สมอยาก แค่มีความอยากขึ้นมาจิตก็เริ่มดิ้นรน มันจะดิ้นนะ หมุนติ้วๆ ทำงานขึ้นมา เพราะฉะนั้นทันทีที่เกิดความอยากความทุกข์ก็เกิด แล้วก็เลยคิดว่า ถ้าไม่อยากเนี่ยความทุกข์ก็ไม่มี กายกับใจนี้ก็ไม่ทุกข์ ถ้าอยากแล้วจิตใจจะมีความทุกข์ขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์จริง ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์จะรู้เลยว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ อย่างจิตใจของเราเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยากมันก็ทุกข์โดยตัวของมันเอง

ธรรมะลึกมากนะ แต่เดิมเราไม่เข้าใจธรรมะอย่างนี้ เราก็ดิ้นรนแสวงหาไปเรื่อยๆ ทำอย่างไรจิตใจของเราจะมีความสุขถาวร ทำอย่างไรเราจะดีถาวร ทำอย่างไรจิตจะสงบถาวร เนี่ยเราเที่ยวค้นหา จิตที่ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ซึ่งมันไม่มีในโลกนี้ มันมีแต่ของไม่เที่ยง มันมีแต่ของเป็นทุกข์ มันมีแต่ของบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เราจะไปหาอะไรที่บังคับให้ได้ ควบคุมให้ได้ แล้วมีความสุขด้วย เป็นตัวเราด้วย เราไปหาสิ่งซึ่งไม่มี เพราะฉะนั้นการดิ้นรนค้นคว้า ที่ภาวนา ที่ปฎิบัติกันนั้นน่ะ ที่มุ่งเอาความสุข ความสงบ ของจิตของใจนี่นะ ไม่มีทางละอวิชาได้เลย

ท่านอาจารย์มหาบัวท่านวิจารณ์บอกว่า ภาวนาแบบนี้นะ กิเลสหนังไม่ถลอกเลย ไม่ถลอกจริงๆนะ ไม่ใช่แกล้งว่า เพราะอะไร เพราะมันภาวนาตอบสนองกิเลส ภาวนาเพื่อว่าวันหนึ่ง “กู”จะได้มีความสุขถาวร “กู”จะดีถาวร “กู”จะสงบถาวร ไปภาวนาเอาของซึ่งไม่มี เพราะว่าปัญญาเรายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์

ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์นี้นะจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นอย่างนี้ มันจะหมดสมุทัย หมดความอยากโดยอัตโนมัติ ตัณหามันจะเป็นอะไร้ ตัณหามันก็แค่ว่า อยากให้กายให้ใจมีสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ตัณหามันก็มีอยู่เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นเมื่อใดเราเห็นกายเห็นใจนี้ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง ถ้าเห็นอย่างนี้นะ ตัณหาจะถูกละอัตโนมัติ ไม่เกิดขึ้นมา ทันทีที่ตัณหาไม่เกิด จิตใจก็เข้าถึงสันติสุขในฉับพลันนั้นเลย สันติสุขก็คือนิพพาน หรือก็คือนิโรธนั่นเอง ตัวสันตินั้นแหละ ตัวนิโรธ ตัวนิพพาน เมื่อไรจิตหมดตัณหาจิตก็หมดความดิ้น จิตที่หมดความดิ้นรนก็มองเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรนคือนิพพานปรากฎอยู่ต่อหน้าต่อตา

ในขณะที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนกระทั่งละสมุทัยแจ้งนิโรธ ในขณะนั้นแหละเรียกอริยมรรค เพราะฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน ไม่ใช่ว่ารู้ทุกข์วันหนึ่ง ละสมุทัยวันหนึ่ง แจ้งนิโรธวันหนึ่ง ไม่ใช่ เกิดในขณะจิตเดียว


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๒
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๙
File: 510628.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

งานหลักของเราคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏ

mp 3 (for download) : งานหลักของเราคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเมื่อไหร่เราปฏิบัติโดยการเข้าไปแทรกแซงเรื่อยๆนะ เช่น โกรธขึ้นมากำหนด โลภขึ้นมากำหนดนะ นานๆ เราจะรู้สึกว่าเราบังคับจิตได้ จะรู้สึกคึกคักห้าวหาญ ไม่กลัวกิเลสแล้ว กิเลสมาทีไรกำหนดแล้วจอดหมดทุกทีเลย จิตนี้เป็นอัตตาขึ้นมาแล้ว ได้พอกพูนความเห็นผิดว่าจิตเป็นตัวเป็นตน เป็นสิ่งบังคับได้ขึ้นมา จะไม่ใช่วิปัสสนานะ วิปัสสนาจะรู้กายอย่างที่เขาเป็นรู้ใจอย่างที่เขาเป็น เห็นจิตเห็นใจทำงานของเขาไปเรื่อย เราบังคับไม่ได้ เขาไม่เที่ยง เขาทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งนานๆ ไม่ได้ ดูไป ใจเห็นความจริงใจถึงยอมรับนะ ยอมรับแล้วมรรคผลมันจะเกิด

พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าเพราะรู้ตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงหมายถึงรู้รูปนามนะ รู้รูปนามตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงคือไตรลักษณ์นั่นเอง รู้ว่ารูปนามตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวเรา

เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย จอยรู้สึกไหม มันน่าเบื่อ สุขก็น่าเบื่อนะ ทุกข์ก็น่าเบื่อนะ ดีก็น่าเบื่อ ชั่วก็น่าเบื่อนะ อะไรๆ ก็น่าเบื่อ หยาบก็น่าเบื่อ ละเอียดก็น่าเบื่อ เพราะมันของไม่เที่ยงทั้งหมดเลยนะ เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด คลายกำหนัดนี่มาจาก ภาษาไทยฟังแล้วแปลยาก ภาษาบาลีเรียกว่า “วิราคะ” หมายถึงใจเราไม่เข้าไปผูกพันกับมัน ใจไม่เข้าไปผูกพันในความสุข เพราะรู้ว่าความสุขชั่วคราว ไม่ไปหลงยินดีว่ามันจะต้องถาวร อยากให้มันถาวร ไม่มีอย่างนี้ จะไม่ดิ้นรนเพื่อจะรักษาความสุขแล้ว ใจไปเห็นความทุกข์เข้า ก็ไม่ผูกพันกับความทุกข์ ไม่ใช่คิดว่าความทุกข์เป็นตัวเราของเรานะ งั้นต้องไปหาทางละ ใจจะไม่เข้าไปผูกพันกับสภาวะที่มันไปรู้เข้า ใจมันคลายออก

เพราะรู้ตามความเป็นจริงก็เลยเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายเลยคลายกำหนัดคือคลายความผูกพัน คลายความรักใคร่ในสภาวะอันหนึ่ง เกลียดสภาวะอันหนึ่ง เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น หลุดพ้นจากอะไร จากรูปจากนามนั่นเอง ที่ชมพูเห็น จิตมันไปคว้าจิตขึ้นมา มันไม่หลุดพ้นนะ มันปล่อยไม่ได้ ถ้ามันเห็นความจริง จิตนี่ทุกข์ล้วนๆ นะ มันจะทิ้ง เรียกเห็นไตรลักษณ์ จิตแจ่มแจ้งแล้วมันทิ้งเลย มันทิ้ง

เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น อะไรหลุดพ้นอะไร จิตหลุดพ้นจากความถือมั่นในขันธ์นั่นเองนะ จิตหลุดพ้นจากกิเลสที่ห่อหุ้มจิตที่เรียกว่า “อาสวะ” กิเลสที่ห้อหุ้มจิต จิตหลุดพ้นออกมา เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้เลยนะ รู้ด้วยตัวเองนะ ของมันเคยยึดเคยถือไว้หนักๆ นะ มันหลุดแล้วมันวาง เห็นต่อหน้าต่อตา มันวางจริงๆ เพราะมันไปเห็นธรรมที่พ้นจากความเกิดความตาย

เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ก็จะรู้ธรรมะที่พ้นออกไป เรียกว่า “วิมุตติญาณทัสสนะ” รู้ธรรมะแห่งความหลุดพ้น รู้นิพพานนั่นเอง

แล้วก็รู้อีกนะว่าชาติสิ้นแล้วคือความเกิดสิ้นแล้ว ความเกิดคืออะไร คือการที่ใจเราเข้าไปหยิบฉวยรูปนามนั่นเอง ใจที่เราเข้าไปหยิบฉวยจิตนี่ คว้าปั๊บเข้ามาหยิบฉวยเข้ามา นี่แหละคือความเกิดคือชาติ ใจเข้ามาหยิบฉวยกายก็เกิดชาติ ใจหยิบฉวยจิตก็เกิดชาติ พอเบื่อหน่ายคลายกำหนัดก็หลุดพ้น รู้ว่าหลุดพ้นแล้วนะ รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว ไม่หยิบฉวยอะไรขึ้นมาอีกแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือการประพฤติปฏิบัติธรรมเนี่ย

การศึกษาธรรมะเนี่ย ศึกษาจบแล้ว ศึกษาจบแล้ว จบในศีลในจิตในปัญญา ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ไม่ใช่ศีลสมาธิปัญญานะ เราพูดเล่นคล่องๆ ปากหรอกศีลสมาธิปัญญา

ไตรสิกขาคือศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา แจ่มแจ้งแล้วรู้หมดแล้ว

ศีลเนี่ยเป็นการศึกษาเพื่อสู้กิเลสหยาบๆ เพื่อให้จิตนี่มีความตั้งมั่นเพียงพอพร้อมที่จะมาเรียนรู้จิต คือทำจิตตสิกขา

จิตตสิกขาเนี่ย จิตจะสงบจากนิวรณ์จากกิเลสชั้นกลาง พร้อมที่จะไปเจริญปัญญา มันจะรู้ว่าจิตยังไงที่ข่มนิวรณ์ได้ จิตยังไงข่มนิวรณ์ได้แล้วพร้อมที่จะเจริญปัญญาด้วย จิตที่ข่มนิวรณ์ได้คือจิตที่ทำสมถะ จิตที่ข่มนิวรณ์แล้วพร้อมจะเจริญปัญญาคือจิตที่พร้อมต่อการทำวิปัสสนา ไม่เหมือนกัน

พอถึงปัญญาสิกขาก็คือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจจนละกิเลสขั้นละเอียดคือความหลงผิดได้ละอวิชชาได้

งั้นศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ชำแหละกิเลสเป็นชั้นๆ ๆ เข้ามานะ จนกระทั่งจิตใจเราบริสุทธิ์หมดจดแล้ว หมดงานต้องทำเรียกว่าเรียนจบ เรียกว่าจบหลักสูตร ที่ว่าพรหมจรรย์อยู่จบแล้วหมายถึงว่าเรียนจบหลักสูตรแล้ว คนที่เรียนจบหลักสูตรเรียกว่า “อเสขบุคคล” คือคนที่ไม่ต้องเรียนอีกแล้ว คือพระอรหันต์นั่นเอง

พวกเราเป็นนักเรียนนะ พวกเรายังเป็นนักเรียน พระโสดาบันน่ะเป็นนักเรียนจริงๆ พระโสดาบันน่ะเป็นนักเรียน พวกเรานั้นเป็นคล้ายๆ นักเรียนเตรียมอนุบาลนะ ยังไม่ถึงขั้นเป็นนักเรียน เพราะพระโสดาบันขึ้นไปนี่ถึงจะเรียกว่าเป็น “เสขบุคคล” เป็นนักเรียน พระอรหันต์เรียกอเสขบุคคล ไม่ต้องเรียน ส่วนเราเป็น “กัลยาณปุถุชน” เป็นปุถุชนที่ดี ปุถุชนแปลว่าหนา กิเลสหนานั่นแหละ ไม่ใช่อะไรหนานะ กิเลสหนา ไม่ใช่สมองหนา กะโหลกหนานะ กิเลสหนาหมายถึงว่ากิเลสนี่มีแรงมาก ลากจูงจิตใจเราไปลงนรก เราก็ยอมไปกับมันนะ เอาความหอมหวานมาหลอกมาล่อ

งั้นเราค่อยศึกษาไปนะ จนกระทั่งวันหนึ่งงานเสร็จแล้วนะ เสร็จแล้ว ใจไม่ไปหยิบฉวยอะไรอีกแล้ว มันพ้นทุกข์แล้ว มันเห็นนิพพานเต็มบริบูรณ์ต่อหน้าต่อตา นี่พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจที่ควรทำเนี่ยควรทำในอะไร ในสังสารวัฏนี่เอง

พวกเราที่เวียนว่ายในสังสารวัฏนะ เรามีงานหลักของเรานะคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏให้ได้นะ นี่คืองานหลักของเรานะ ไม่ใช่ร่อนเร่ไปในสังสารวัฏเวียนเกิดเวียนตายไปเรื่อยๆ งั้นงานไม่มีที่สิ้นสุดเลย

กิจที่ควรทำก็คือการข้ามภพข้ามชาตินั่นเอง ได้ทำเสร็จแล้วทำหมดแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก เพราะตรงนี้ไม่มีอะไรจะต้องทำแล้ว กายกับใจเราคืนให้ธรรมชาติคืนให้โลกเขาไปแล้ว จิตใจจะมีแต่ความสุขนะ มีความสุขมีความสงบมีความเบิกบานถาวรอยู่อย่างนั้น จะหลับตื่นยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆ นะ เพราะว่าจิตใจไม่ถูกขยำขยี้ จิตใจของเราถูกปู้ยี่ปู้ยำนะ ปู้ยี่ปู้ยำด้วยตัวเองนี่แหละ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116B.mp3
Time: 27.39 – 34.48

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212