Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

mp3 (for download):วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีที่เราจะฝึก(ให้จิตตั้งมั่น) เราก็ใช้สตินี่แหล่ะ สติเป็นตัวที่คอยรู้ทัน อย่างตอนที่เราฝึกให้มีศีล เราใช้สติรู้ทันจิตที่มีกิเลสนะ กิเลสเกิดกับจิตรู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ศีลก็เกิด ตรงนี้เราก็เหมือนกัน เราก็อาศัยสติรู้ทันจิตนะ จิตไหลไปคิด รู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน หรือจิตไหนไปอยู่ที่เท้า รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องรู้ทัน จิตของเรานะ เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานะ เดี๋ยวเคลื่อนไปทางตา เคลื่อนไปทางหูนะ เคลื่อนไปทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เคลื่อนไปทางใจ ส่วนใหญ่เคลื่อนไปคิด ถ้าเป็นนักปฏิบัติจะเคลื่อนไปเพ่งนะ เคลื่อนนะเคลื่อนไป ๒ แบบ ถ้าไม่เคลื่อนไปคิด ก็เคลื่อนไปเพ่งนิ่ง ๆอยู่ที่เดียวนะ

เบื้องต้นให้เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปเคลื่อนมา ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา ต้องทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งขึ้นมา จะดูท้องพองยุบก็ได้ จะพุทโธก็ได้ จะหายใจก็ได้นะ แล้วคอยรู้ทันจิตไว้ เช่น เราพุทโธ พุทโธ ไป จิตเราไหลไปคิด ลืมพุทโธแล้วหนีไปคิดเรื่องอื่นแล้ว เรารู้ทันว่าจิตหนีไปคิดแล้ว เรารู้ลมหายใจนะ หายใจเข้า หายใจออก จิตหนีไปคิด เรารู้ทันว่า โอ้ ลืมลมหายใจแล้วหนีไปคิดแล้วนะ

ตรงที่เรารู้ทันว่าจิตไหล หนีไปคิด จิตจะตั้งมั่นขึ้นชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นเอง เรียกว่า “ขณิกสมาธิ”นะ สมาธิจะเกิดขึ้นเป็นขณะ ๆ แต่ตัวนี้สำคัญมาก อย่าดูถูกว่าหนึ่งขณะจิตไม่สำคัญนะ เวลาที่เกิดอริยมรรคเนี่ย เกิดหนึ่งขณะจิตเท่านั้นนะ ไม่มีสองขณะจิตเลย ในขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น เกิดชั่วแว๊บเดียวเท่านั้นเอง งั้นหนึ่งขณะเนี่ยเราอย่าดูถูก เราต้องมาฝึกจิตให้ตั้งมั่นเป็นขณะ ๆ ขึ้นมาไม่ใช่ตั้งแล้วสงบ ซึม ๆ อยู่เฉย ๆนะ ตั้งซึมมา ๓ วัน ๓ คืน ก็ซึมอยู่อย่างนั้นแหละ อย่างนั้นจะไม่ใช่สมาธิที่เอาไว้เดินปัญญานะ สมาธิที่เราจะใช้เดินปัญญาเนี่ย สมาธิธรรมดานี่เองนะ ใจเราไหลไป เรารู้ทัน ใจเราไหลไป เรารู้ทัน เบื้องต้นทำกรรมฐานอย่างหนึ่งก่อน ช่วยให้เรารู้ทันจิตที่ไหลไปได้ง่ายขึ้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ อยุธยาพาร์ค เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

File: 560425.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๓

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิ มี ๒ ชนิด ต้องมีสมาธิชนิดจิตตั้งมั่น จึงจะเจริญวิปัสสนาได้

mp 3 (for download) : สมาธิ มี ๒ ชนิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จากนั้นเราก็มาฝึกใจของเราให้มันมีสมาธิขึ้นมา สมาธิมันมี ๒ ชนิดนะ

สมาธิชนิดที่ ๑ จิตมันสงบเฉย ๆ เช่น เราดูท้องพองยุบไปนะ จิตเราก็นิ่งอยู่ที่ท้อง ไม่ไปไหนเลย ซึมอยู่ที่ท้อง นิ่งอยู่ที่ท้องอย่างเดียว ได้สมถะนะ เป็นสมาธิชนิดที่จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” ไว้ใช้ทำสมถกรรมฐาน ทำความสงบได้ แต่เดินปัญญาไม่ได้ หรืออย่างเราเดินจงกรมเนี่ย จิตเราไปจับอยู่ที่เท้านะ เท้าขยับ กริ๊ก ๆ ๆ นี่รู้หมดเลยนะ เห็นเท้าตลอดเลย ไม่ลืมเท้าเลย จิตจ่ออยู่ที่เท้าอันเดียว การที่จิตจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียวเนี่ยทำให้จิตสงบนะ แต่ว่าจะไม่เดินปัญญา จิตจะนิ่งอยู่เฉย ๆ มันมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสมาธิที่ดีที่วิเศษนะ แต่อาภัพ ไม่ค่อยมีใครรู้จักหรอกนะ กระทั่งพวกที่บอกว่าทำวิปัสสนา วิปัสสนานะทำไม่ได้จริงหรอก เพราะไม่ได้มีสมาธิที่ถูกต้อง

ถ้าจะเจริญปัญญาได้นะ ต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง คือ สมาธิที่จิตตั้งมั่นนะ (สมาธิชนิดที่ ๒ เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน” – ผู้ถอด) สมาธิเนี่ยนะ ถ้าเราไปดูพจนานุกรมนะ สมาธิแปลว่าความตั้งมั่นของจิตนะ สมาธิไม่ได้แปลว่าสงบ พวกเราน่ะมักง่าย ชอบไปคิดว่าสมาธิแปลว่าสงบ สมาธิไม่ได้แปลว่าสงบ สมาธิแปลว่าความตั้งมั่น จิตของเราปกติไม่ตั้งมั่นนะ มันแฉละซ้ายแฉลบขวาตลอด เดี๋ยวก็ไหลไปอดีต ไปคิดถึงอดีต เดี๋ยวก็ไหลไปอนาคต คิดถึงอนาคตใช่ไหม อยู่บ้านก็คิดถึงจะมาอยุธยาพาร์ค จะมาฟังเทศน์ ฟังซักพักนึง จิตกลับบ้านไปแล้ว ตัวยังไม่ได้กลับ จิตมันไม่ได้อยู่กับตัวเองนะ มันแฉลบซ้ายแฉลบขวานะเดี๋ยวก็แฉลบไปทางโน้น แฉลบไปทางนี้ตลอดเวลา ตามองเห็น จิตก็แฉลบไปดู หูได้ยินเสียง จิตก็แฉลบไปฟัง ใจคิดจิตก็แฉลบไปคิดนะ จิตแฉลบไป แฉลบมาทั้งวันเลย ตรงที่จิตมันแฉลบไปแฉลบมา วิ่งไปวิ่งมานี่แหละ เรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตมันไม่มีความสงบนะ แล้วก็ไม่ตั้งมั่น จิตมันแกว่งซ้ายแกว่งขวา แกว่งไปอดีต แกว่งไปอนาคต แกว่งไปทางตา แกว่างไปทางหู แกว่งไปทางใจนะ กวัดแกว่งอยู่ตลอดเวลา

เราต้องมาฝึกนะ ทำไงให้จิตมันตั้งมั่นขึ้นมาให้ได้ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญมากเลย ก่อนที่จะเจริญปัญญานะ นี่หลวงพ่อบอกตรง ๆ เลย ก่อนที่เราจะไปเจริญปัญญา ไปรู้รูปรูปนามได้เนี่ย จิตต้องตั้งมั่นเสียก่อน ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่น เจริญปัญญาไม่ได้จริงหรอก จะกลายเป็นไปเพ่งหมดเลย เช่น เราดูท้องพองท้องยุบ จิตเราไม่ตั้งมั่น จิตมันจะไหลลงไปอยู่ที่ท้องนะ ไปนิ่งอยู่ที่ท้องเลย แล้วเราเดินจงกรม ยกเท้า ย่างเท้า จิตมันจะไปอยู่ที่เท้าเลย มันจะไม่เดินปัญญา มันจะสงบเฉย ๆ ปัญญาจะไม่เกิด ปัญญานั้นต้องเห็นไตรลักษณ์นะ ก่อนจะเห็นไตรลักษณ์ได้ จิตต้องตั้งมั่นขึ้นมา เป็นคนดูให้ได้ซะก่อน ถ้าจิตไม่เป็นคนดู จิตเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่งอยู่นะ จะไม่มีปัญญาเกิดขึ้นเลย ต้องถอนตัวเองออกมาเป็นคนดูให้ได้นะ

 

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ อยุธยาพาร์ค เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

File: 560425.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑๕

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กิเลสเหมือนน้ำ ปล่อยให้มันไหลมาแล้วเราเป็นแค่คนดู

mp 3 (for download) : กิเลสเหมือนน้ำ ปล่อยให้มันไหลมาแล้วเราเป็นแค่คนดู

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ศัตรูร้ายของชีวิตเราเลยนะ คือกิเลสทั้งหลายนี่แหละ กิเลสมันย่ำยีหัวใจเราตลอดเวลา แล้วมีสติปัญญานะ ปลดเปลื้องมันออกไปได้ มันก็พ้นทุกข์ไป ถูกกิเลสย่ำยีอยู่ ก็ทุกข์ไปเรื่อย แต่สู้กิเลส ไม่ได้สู้แบบวัวแบบควาย แบบวัวกระทิงไล่ขวิด อย่าไปไล่ขวิดกิเลส กิเลสเหมือนน้ำนะ เหมือนน้ำในแม่น้ำ ถ้ามันไหลไปเรื่อยๆ มันไม่ค่อยทำลายอะไร นานๆ ก็มีน้ำบ่าใหญ่ๆ มาทีนึง อย่างน้ำไหลมาในแม่น้ำ เราไปกั้นเขื่อน เกิดพลังงานมหาศาลเลย

กิเลสเหมือนกันนะ ถ้าปล่อยให้มันไหลมาแล้วเราเป็นแค่คนดูสบายๆ อย่าไปเผลอลืมดูจนมันตัวใหญ่ เหมือนน้ำบ่าใหญ่ๆ มาแล้ว อย่างนั้นก็ยับเยินเหมือนกัน แต่ถ้ากิเลสตัวเล็กตัวน้อยผ่านมาเนี่ยนะ เราคอยมีสติรู้ทันไว้ กิเลสมันก็ไม่มีโอกาสตัวใหญ่ กิเลสตัวใหญ่มันก็มาจากกิเลสตัวเล็กๆ นั่นแหละ

เหมือนไฟไหม้นะ ก่อนมันจะไหม้บ้านไหม้เมืองได้ มาจากไฟนิดเดียว ไม้ขีดก้านเดียว หรือไฟช๊อตอยู่ติ๊ดเดียว เจอทีแรก เอามือตบยังดับเลย กิเลสถ้าเรามีสติไวๆ นะ กิเลสผุดขึ้นมาปุ๊บ รู้ทัน กิเลสก็สลายตัวไป ไม่มีโอกาสตัวโต

เราเฝ้ารู้มันไปนะ เห็นมันไหลไป ไหลไป เราไม่ไปขวางมัน ถ้าเราขวางกิเลสเมื่อไหร่นะ เหมือนเราไปกั้นเขื่อนในแม่น้ำอย่างนี้ มันเกิดแรงดันมหาศาล เขื่อนแตกเมื่อไหร่ก็แย่


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๒


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๒
File: 520903.mp3
ระหว่างวินาทีที่ ๕๕ ถึงนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๓

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พละ ๕ ของพระเสขบุคคล (๕) ปัญญา

mp 3 (for download) : พละ ๕ ของพระเสขบุคคล (๕) ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กำลังของพระอริยะเสขบุคคล ตัวที่ ๕ คือปัญญาเหมือนกัน แต่เป็นปัญญาที่เข้าใจในสรรพสิ่งทั้งหลาย สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ เนี่ยในพระไตรปิฎกมีตัวนี้ด้วยนะ เป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยเรียนเรื่องปัญญาเห็นความเกิดดับ

ท่านสอนเลยว่า ปัญญาของเสขบุคคลนั้น จะเห็น ตามเห็นความเกิดดับของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ของเราเป็นปัญญาอะไรก็ไม่รู้ เลอะๆเทอะๆใช่มั้ย เรากลัวโง่ แหมเห็นแต่เกิดดับมันน้อยไป ตัวปัญญาของพระอริยะท่านยังเน้นมาที่เห็นเกิดดับเลย ของเรานะ หลวงพ่อปราโมทย์สอนน้อยเหลือเกิน ให้ดูว่า ตัวนี้มา สุขมาสุขก็ไป ทุกข์มาทุกข์ก็ไป โลภโกรธหลงมาแล้วก็ไป หลวงพ่อปราโมทย์สอนน้อยเหลือเกิน แค่นี้มันจะพอเหรอ มันจะพ้นทุกข์เหรอ

ขนาดพระพุทธเจ้ายังสอนนะว่า ปัญญาของพระเสขบุคคล โสดาฯ สกทาคาฯ อนาคาฯ คือการเห็นว่า สิ่งต่างๆเนี่ยเกิดแล้วก็ดับไป ปัญญาเขาอยู่ตรงนี้ต่างหากล่ะ ไม่ใช่ปัญญาเรื่องอื่น เพราะฉะนั้นที่หลวงพ่อสอนนี้นะ เหลือเฟือแล้วนะ เหลือเฟือแล้ว กลั่นกรองเอาธรรมะอันมากมายมหาศาลออกมาเพื่อการปฏิบัตินะ เหลือเฟือที่จะปฏิบัติน่ะ ถ้าเข้าใจในสิ่งที่หลวงพ่อสอนเนี่ย จะทำไปได้สุดสายเลย ทำไปได้อย่างสุดทางเลย พ้นทุกข์ได้เลย เพราะนี่กลั่นกรองมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง นี่ท่านสอน พระเสขะบุคคล มีปัญญาเห็นความเกิดดับอยู่ ปัญญาตัวอื่นไม่สำคัญเลยนะ ปัญญาที่เห็นความเกิดดับต่างหากที่สำคัญ

กับปุถุชนก็เหมือนกันแหละ ขนาดปัญญาของพระอนาคาฯท่านยังให้เห็นเกิดดับเลย แล้วทำไมเราจะไม่เห็นเกิดดับบ้าง อย่าดูถูกว่าการเห็นเกิดดับนี้มันตื้นไปต่ำไปน้อยไป

แปลกมั้ยพระพุทธเจ้าไม่พูดถึงพละของสติและสมาธิกับพระเสขะ ของปุถุชนนะ ท่านพูดถึง ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แต่ของพระเสขะบุคคล ท่านพูดถึง ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ไม่พูดถึงสติและสมาธินะ เพราะสติและสมาธิเป็นเครื่องมืออยู่แล้ว ต้องทำอยู่แล้ว ทำเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว ต้องฝึกต้องซ้อมเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องคุยแล้วนะ เพราะจะต้องภาวนาถึงขั้นสติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ ก็ไม่ต้องพูดแล้วนะว่าจะเร่งกว่านั้นอย่างไร ก็ค่อยๆฝึกเอา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๒
File: 561110A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๕

ตัดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ถอดคลิปส์และตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รักษาศีลแล้วจะมีความสุข

mp 3 (for download) : รักษาศีลแล้วจะมีความสุข

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขั้นต้นเลยขั้นต้น ก่อนที่เราจะมาฝึกให้เห็นความจริงของกายของใจได้ ขั้นต้นสุดเลย เราควรจะมารักษาศีลห้าให้ได้ก่อน งั้นหลวงพ่อจะลงมือพูดถึงเรื่องการปฏิบัติแล้วนะ พวกเราตั้งใจฟังให้เป็นลำดับ ๆ ไป คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นขั้นเป็นตอน งดงามมากเลย เบื้องต้นพวกเรารักษาศีลห้า เอาศีลห้าเท่านั้นแหละ ไม่ต้องศีลแปด ศีลสิบอะไรยุ่งยากนะ ศีลห้าก็พอแล้ว สำหรับการบรรลุมรรคผลนะ รักษาศีลห้าไว้

การที่เรารักษาศีลห้าไว้เป็นประจำเนี่ย จิตใจเราจะมีความสุขความสงบเกิดขึ้น คนที่ทำผิดศีลเนี่ย เพราะว่ากิเลสมันครอบงำใจนะ อย่างคนจะไปทำร้ายคนอื่นนะ โกรธแค้น อาฆาต ทำร้ายเขา อะไรอย่างเนี่ย หรือไปขโมยของเขา อะไรอย่างเนี่ย จิตใจไม่มีความสุข ไม่มีความสงบ ระหว่างคนจะทำร้ายคนอื่นกับ คนที่มีความเมตตา พวกเรานึกอยากออกไหมว่าใครจะมีความสุข มีความสงบมากกว่ากัน คนที่คิดร้ายกับคนอื่นนะ กับคนที่มีเมตตาต่อคนอื่นนะ คนที่มีความเมตตานะ จิตใจมีความสุข มีความสงบนะ

การที่เรารักษาศีล เราไม่ทำร้ายคนอื่น ไม่อะไรเนี่ย ฝึกไปเรื่อย จิตใจเราจะมีความเมตตาเกิดขึ้น เราไม่ลักไม่ขโมยของใคร อยากลักอยากขโมยของคนอื่น จิตใจไม่มีความสุข ความสงบ มันวุ่นวาย ก่อนจะขโมยก็ต้องวางแผน ระหว่างขโมยก็กลัวเขาจะมารู้มาเห็นนะ ขโมยไปแล้วก็ต้องมาปกปิดอะไรอย่างเนี้ย ชีวิตไม่มีความสงบ ไม่มีความสุขนะ จะเป็นชู้กับเขา ชีวิตก็ไม่มีความสงบ ซื่อสัตย์อยู่ในคู่ของเรานะ สงบอยู่ ไม่วุ่นวาย คนโกหก หลอกลวง จิตใจไม่สงบ คนพูดความจริง จิตใจสงบง่ายกว่าเยอะเลย คนขี้เหล้าเมายา จิตใจไม่สงบหรอก ฟุ้งซ่าน เห็นไหม คนฝึกสติ รู้กายรู้ใจไปเรื่อย ไม่หลงกับสิ่งเสพติดต่าง ๆ จิตใจจะสงบง่ายกว่า

หากเรารักษาศีลห้าให้ดีนะ ใจเราจะเริ่มมีความสุข ความสงบเกิดขึ้นนะ แทนที่เราจะคิดนะ คนทั่ว ๆ ไปนะ เขาคิดว่าการรักษาศีล ทำให้เกิดความทุกข์ ต้องรักษาศีล ทำให้มีความทุกข์มาก ในความเป็นจริงแล้วกลับข้างกันเลย ถ้าเรารักษาศีลได้ เราจะมีความสุข เราไม่ต้องคิดทำร้ายใคร ก็มีความสุข ไม่ได้ขโมยใครเราก็มีความสุข ไม่ได้เป็นชู้กับใคร เราก็มีความสุข ไม่ต้องปลิ้นปล้อนตอหลดตอแหลนะ เราก็มีความสุข แล้วสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ อยุธยาพาร์ค เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

File: 560425.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๔๐

ตัดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ถอดคลิปส์โดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รักษาศีลด้วยการรู้ทันใจ เราจะไม่ผิดศีล

mp3 (for download) : รักษาศีลด้วยการรู้ทันใจ เราจะไม่ผิดศีล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศีลต้องตั้งใจรักษาเอาเอง ถึงไปขอกับพระ พอขอเสร็จก็คุยแข่งกับพระ ไม่มีศีลหรอก ศีลด่างพร้อยไปหมดแล้ว การรักษาศีลที่ดีต้องรักษาที่ใจของเรา คนทำผิดศีลได้นะ เพราะกิเลสมันครอบงำใจ อย่างคนที่ไปฆ่าเค้า ไปตีเค้า ไปด่าเค้า เพราะความโกรธมันครอบงำใจของเรา คนที่ไปขโมยเค้าไปเป็นชู้กับเค้า ไปปลิ้นปล้อนหลอกลวงเค้า เพราะความโลภมันครอบงำใจของตัวเอง ถ้าเราคอยรู้ทันใจของเรานะ เนี่ยเป็นศาสตร์ของการปฏิบัติซึ่งเหมาะกับคนยุคของเรา คือการที่รู้ทันใจของตัวเองไว้

ถ้าเรารู้ทันใจของตัวเองไว้นะ อย่างใจมันโกรธขึ้นมาเรารู้ทัน ความโกรธจะหายไปโดยอัตโนมัติ นี่เป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมากเลย ถ้าใจของเรามีความอยากเกิดขึ้นเรารู้ทัน ความอยากจะดับอัตโนมัติ เราไม่ต้องดับมันนะ หน้าที่ของเราง่ายนิดเดียวเลย ถ้าใจเราโกรธขึ้นมา เราก็รู้ว่าตอนนี้โกรธแล้ว รู้เฉยๆนะ ไปลองดูว่ามันจะหายไปไหม มันจะหายได้เองนะแปลกมากเลย หรือใจเราโลภขึ้นมา อยากโน่นอยากนี่ขึ้นมานะ ให้รู้ทันลงไปความอยากนั้นจะหายไป เรารักใครซักคนนึงนะ เรารู้ทันว่าใจกำลังรักอยู่นะ ความรักนั้นจะหายไป จะเป็นอุเบกขาไปหมด ให้เราคอยรู้ทันใจตัวเองบ่อยๆ ถ้าเรารู้ทันใจตัวเองบ่อยๆนะ คนที่ไม่เคยรักษาศีล จะมีศีลอัตโนมัติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๕

File: 551016
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

mp3 for download : ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขออนุญาตท่านอาจารย์ครับ หลวงพ่อจะมาเยี่ยมครูบาอาจารย์เฉยๆนะ มาเยี่ยมหลวงพ่อ.. กับหลวงพ่อคำเขียน ๒ องค์ ไม่ได้มาเทศน์หรอก เทศน์ไม่ได้ ผิดธรรมเนียม ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่กว่าอยู่ต้องนิมนต์ท่านเทศน์หรอก แต่นี่ท่านอนุญาตนะ ครูบาอาจารย์อนุญาตให้เราเทศน์ เราก็เทศน์ได้ แต่เทศน์แล้วต้องทำนะ จะให้หลวงพ่อเทศน์เปล่าๆ บาปนะ คือเราให้พระเหนื่อยฟรีๆแล้วขี้เกียจ

อย่าขี้เกียจนะ ความทุกข์มันบีบคั้นเราอยู่ทั้งวันทั้งคืน คนมีปัญญาถึงจะมองเห็น คนไม่มีปัญญาก็จะเห็นแต่มีความสุขนะ หลงระเริงไปเรื่อยๆ วนไปวันหนึ่งๆนะ เดี๋ยวก็เดือนเดี๋ยวก็ปี ไม่นานก็ตาย สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป น่าเสียดายที่สุดเลย

พวกเรามีบุญนะ พวกเราอุตส่าห์มาวัด มาหาครูบาอาจารย์ มาอะไรนี่ ได้รักษาศีล ได้ฟังธรรม ก็ต้องมาปฏิบัติ ธรรมะที่เราจะปฏิบัตินะ ก็มีทานมีศีลมีภาวนานะ ทำทานก็ไม่ใช่ว่าต้องเสียเงินเสียทองนะ ยกตัวอย่างเราโกรธคน คนเขาด่าเรา เราอภัยให้เขาอะไรอย่างนี้ ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง คนเขาไม่มีความรู้ แล้วเราให้ความรู้เขา ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง ทานก็มีหลายอย่าง ไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไร ให้ความรู้เขาให้ความเข้าใจนะ ได้บุญแรง

ต้องรักษาศีล ของเรามาอยู่วัด อุตส่าห์แต่งขาว เรามีสตินะ แต่งชุดขาวๆ ขาดสติเดี๋ยวก็เลอะแล้ว เพราะฉะนั้นท่านให้แต่งขาวๆไว้ก็ดี จะกระดุกกระดิก จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวนะ รู้สึก คอยรู้สึกไว้เรื่อยๆนะ เวลาโมโหใครขึ้นมา รู้ทันที่ใจเรา

มาอยู่วัดมาหาความสุขความสงบ หาความดีให้ตัวเอง ฝึกจิตฝึกใจของเราทุกวันๆนะ ภาวนาไปพุทโธๆไปก็ยังดี หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติ คอยรู้ทันใจตัวเองไว้เสมอๆ ถ้าเรามีสติรู้ทันใจของเราได้บ่อยๆนะ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเราได้นะ กิเลสจะครอบงำใจเราไม่ได้ ถ้ากิเลสมันครอบงำจิตใจของเราไม่ได้นะ เราจะไม่ผิดศีลหรอก คนมันทำผิดศีลนะเพราะมันถูกกิเลสหลอกเอาไป

ยกตัวอย่างมันไปฆ่าเขามันไปตีเขานะ เพราะโทสะมันครอบงำใจ คอยหลอกลวงเขาอะไรอย่างนี้ หรือไปเป็นชู้กับเขาอะไรอย่างนี้ ก็เพราะโลภะครอบงำใจ เพราะฉะนั้นมันมาจากกิเลสทั้งนั้นเลยนะ ทำให้เราทำผิดศีลผิดธรรมเพราะฉะนั้นเรารักษาศีลให้มั่นคงแข็งแรงนะ ทุกคนต้องมีศีล ถ้าเราไม่มีศีลนะ เราเสียความเป็นมนุษย์แล้ว เราจะไปอบาย

ทีนี้เรามีศีลเท่านั้นไม่พอนะ เราต้องมีฝึกใจของเราให้สงบบ้าง ใจของเราร่อนเร่หนีเที่ยวทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยอยู่กับเนื้อกับตัวเลย เรามาฝึกให้จิตใจอยู่กับตัวเอง การฝึกให้ใจอยู่กับตัวเองนี้แหละที่เรียกว่าฝึกให้มีความสงบมีความตั้งมั่นมีสมาธิขึ้นมา เราก็เอาสตินี้แหละมารู้ทันใจ เป็นวิธีที่ง่ายๆนะ ถ้าใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน ใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน รู้อย่างนี้บ่อยๆนะ พอใจเราไหลไปแว้บมันจะรู้สึกขึ้นมา ใจมันจะตื่น มันจะตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิเบื้องต้น สมาธิที่เรามีสติรู้ทีละแว้บๆ เขาเรียกว่าขณิกสมาธินะ สมาธิชั่วขณะเท่านั้นแหละ ได้สมาธิชั่วขณะก็ดีกว่าไม่มีเลย

คนไหนมีบุญมีวาสนานะ ภาวนาทุกวัน รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนะ พุทโธไป ภาวนาไป จิตใจไม่หนีไปที่อื่น จิตสงบอยู่กับลมหายใจ นั่นแหละจะได้สมาธิที่ละเอียดที่ปราณีตขึ้นไป ได้อุปจารสมาธิ ได้อัปนาสมาธิ จิตใจจะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ใจจะเป็นผู้รู้นะ ใจไม่ใช่ผู้หลงคิด ใจที่ไม่มีสมาธิจะเป็นใจผู้หลงคิด ใจที่มีสมาธิมีความตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวจะเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนะ มันจะมีความสุขอยู่ในตัวเอง

เพราะฉะนั้นเราฝึกจิตฝึกใจของเรานะให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ฝึกไปเรื่อย จะอยู่กับพุทโธก็อยู่นะ จะอยู่ในลมหายใจก็อยู่ ถ้าทำได้ก็ดีจะได้ความสุขความสงบที่ปราณีต ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าเสียใจ ให้อาศัยสติคอยรู้ทันจิตเป็นขณะๆไปก็ได้สมาธิเหมือนกัน แต่เป็นสมาธิแค่ขณิกสมาธิชั่วขณะ ดีกว่าไม่มีเลย ก็เหมือนกับคนยากคนจนนะ มีเงินร้อยบาท สองร้อยบาท สิบบาท ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย ไม่มีเงินล้านเงินแสนอย่างคืนอื่นก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้มีฌานมากมายอย่างคนอื่นก็ไม่ต้องเสียใจ ได้ความสงบที่เป็นขณะๆอย่างนี้ก็พอที่จะไปมรรคผลนิพพานได้นะ

ทีนี้พอจิตใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ใจลอยล่องลอยหนีไปเรื่อยแล้วเนี่ย ให้มาคอยเจริญปัญญาต่อ เห็นมั้ยมามีศีลมีสมาธิแล้วมามีปัญญา มีศีลเพราะมีสติรู้ทันกิเลสนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็มีศีลขึ้นมา มีสติที่รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป จิตก็สงบขึ้นมาได้สมาธิ ถัดจากนั้นพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วต้องเดินปัญญา ถ้าเราไม่ได้เจริญปัญญาเราจะไม่ได้คุณค่าของศาสนาพุทธหรอก เพราะการรักษาศีล การทำสมาธิเนี่ย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้านะ นักปราชญ์ทั้งหลายเขาก็สอนกันได้

ต้องมาเจริญปัญญาให้ได้ มาทำวิปัสสนานะ ถึงจะเป็นชาวพุทธแท้ๆได้รับประโยชน์จากพระศาสนาอย่างแท้จริง การเจริญปัญญาคือการเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราเองก็คือกายกับใจนะ เพราะฉะนั้นเราคอยมีสติรู้อยู่ที่กายมีสติรู้อยู่ที่ใจ รู้ไปอย่างสบายๆ รู้ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่มีสมาธิหนุนหลัง เพราะฉะนั้นจิตใจของเราต้องตั้งมั่นนะ สงบ ตั้งมั่น แล้วมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ

เห็นกายทำงานเห็นใจทำงานไปเรื่อย ควรจะเห็นเหมือนเห็นคนอื่นนะ ร่างกายยืนเดินนั่งนอน เหมือนจะรู้สึกเหมือนกับว่าคนอื่นยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เห็นร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า เนี่ยร่างกายมันหายใจไม่ใช่เราหายใจ จะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราจะเห็นเป็นเพียงวัตถุเท่านั้น เป็นก้อนธาตุนะ มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก หายใจเข้าหายใจออก ก็แค่วัตถุเท่านั้นเอง ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา

มาดูจิตดูใจนะ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เฝ้ารู้ไปเรื่อย พวกเราเป็น.. ส่วนใหญ่คนรุ่นนี้เป็นพวกคิดมาก จิตคิดทั้งวันนะ คิดไปแล้วเดียวก็สุข คิดไปแล้วเดี๋ยวก็ทุกข์ มีมั้ยคิดแล้วทุกข์ บางทีเขาด่าเรามาสิบปีแล้วนะมาคิดใหม่ทุกข์ใหม่ เออ.. เป็นมั้ย โกรธใหม่ก็ได้ เรื่องตั้งนานแล้วนะ คิดซ้ำก็เป็นอีกนะ เนี่ยใจของเราชอบหลง หลงๆไปนะ ให้เราคอยมีสติรู้ทันนะ รู้ทันใจ ใจหลงไปคิดเรื่องนี้-รู้ทัน คิดแล้วเกิดความสุขก็รู้ทันว่ามีความสุขแล้ว ความทุกข์เกิดขึ้นในใจเราก็รู้ทันนะ กุศล-อกุศล โลภโกรธหลงอะไรเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ทัน รู้เฉยๆ

ในขั้นของการเดินปัญญา ไม่เหมือนในขั้นของการทำสมาธิ ขั้นการทำสมาธินี่นะ จิตไม่ดีทำให้ดี จิตไม่สุขทำให้สุข จิตไม่สงบทำให้สงบ แต่ในขั้นปัญญาเนี่ย จิตไม่ดีรู้ว่าไม่ดี จิตไม่สุขรู้ว่าไม่สุข จิตไม่สงบรู้ว่าไม่สงบ รู้ลูกเดียวเลย รู้อย่างที่มันเป็นนะ เราจะเห็นเลยความสุขที่เกิดขึ้นในใจเราก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราวนะ โลภโกรธหลงอะไรๆก็ชั่วคราว นี่หัดดูลงไปนะ ทุกอย่างในชีวิตนี้เป็นของชั่วคราว นี่ล่ะคือการการเดินปัญญานะ ดูลงไป ค้นคว้าพิจารณาลงไปนะ

ถ้าจิตมันไม่ยอมดูของมันเองก็ต้องช่วยมันคิดช่วยมันพิจารณาก่อนในเบื้องต้น ยกตัวอย่างพิจารณาร่างกายนะ เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุเป็นขันธ์ นี่คือช่วยมันคิดก่อน แต่ถ้าจิตมันมีปัญญามีกำลังพอนะ มันจะเห็นเอง ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา จิตใจที่สุขจิตใจที่ทุกข์นั้น ความสุขความทุกข์ นั้นก็ไม่ใช่เรา จิตเป็นธรรมชาติรู้ จิตรู้ว่ามีความสุข จิตรู้ว่ามีความทุกข์ ตัวที่รู้นี้ก็ไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี ฝึกไปเรื่อยๆนะแล้วเราจะเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก

ภาวนาจนล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา มีตัวตน ถ้าตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ล่ะ ก็ขันธ์ ๕ มันทุกข์นะ ไม่ใช่เราทุกข์อีกต่อไปแล้ว เนี่ยเฝ้ารู้เฝ้าดูต่อไปนะ สติปัญญาแก่รอบขึ้นไปเรื่อย มันจะเห็นเลยว่าขันธ์ ๕ มีแต่ทุกข์ล้วนๆ อย่างพวกเราตอนนี้ปัญญาเราไม่พอ ศีลสมาธิปัญญาต้องฝึกให้แก่รอบนะ วันหนึ่งถึงจะพอ ถ้าพอจริงจะเห็นเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ

พวกเราไม่เห็นหรอก พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ใช่ม้้ย เห็นมั้ยว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เห็นอย่างนี้ใช่มั้ย นี่เราไม่รู้จริงหรอก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ท่านไม่ได้บอกว่าทุกข์บ้างสุขบ้างนะ เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนหรอก เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้พ้นทุกข์หรอกนะ เพราะฉะนั้นต้องรู้ลงไปในกายรู้ลงไปในใจบ่อยๆ อย่าใจลอยนะ รู้สึกอยู่ในกายรู้สึกอยู่ในใจบ่อยๆนะ วันหนึ่งเราจะเห็นได้ว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย

ยกตัวอย่างนั่งอยู่ก็ทุกข์นะ เดินอยู่ก็ทุกข์ นอนอยู่ก็ทุกข์ หิวก็ทุกข์ อิ่มก็ทุกข์ ง่วงก็ทุกข์นะ เจ็บป่วยขึ้นมาก็ทุกข์ นั่งอยู่เฉยๆก็คัน มีมั้ยนั่งแล้วไม่คัน คันก็ทุกข์นะ ทีนี้พวกเราพอทุกข์นะ เราก็เปลี่ยนอิริยาบถปับเลย เรายังไม่ทันจะรู้สึกเลยว่าทุกข์ ยกตัวอย่างคันขึ้นมารีบเกาเลย ยังไม่ทันรู้ตัวเลยว่าคันนะ เกาไปก่อนแล้ว เราก็ไม่เห็นทุกข์ มันเมื่อยขึ้นมาเราก็ขยับซ้ายขยับขวานะ เรายังไม่ทันรู้สึกเลยว่าเมื่อยนะ ยังไม่ทันรู้เลยว่ากายนี้เป็นทุกข์ ขยับหนีความทุกข์ไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนที่จะขยับตัวนะ รู้สึกตัวเสียก่อน ก็จะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลยนะ

จิตใจนี้ก็เหมือนกันนะ คอยรู้ทันบ่อยๆจะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ถ้าเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่ก็ข้ามโลกได้แล้วนะ ถ้ายังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้างก็ไปไหนไม่รอดหรอก

ก็ฝึกเอานะ ขั้นแรกเลย รักษาศีล อุตส่าห์แต่งขาวๆน่ะ อย่าปากร้ายนะ ปากร้ายนี้มันมาจากใจร้ายก่อน ใช่ม้้ย แล้วมันลดลงมา เพราะฉะนั้นเรามีศีลไว้ก่อนนะ ต่อไปเราก็มาฝึกใจให้สงบ กายสงบวาจาสงบแล้วด้วยศีล ฝึกให้ใจสงบด้วยสมาธิ แล้วก็ขั้นสุดท้ายฝึกให้จิตเกิดปัญญาด้วยวิปัสสนา กิเลสมี ๓ ขั้นนะ กิเลสอย่างหยาบเนี่ยคือ โลภ โกรธ หลง ของหยาบที่สุด สู้ด้วยศีลนะ กิเลสอย่างกลางชื่อนิวรณ์ สู้ด้วยสมาธิ ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ใจไม่ฟุ้งไป จิตมีสมาธิ นิวรณ์ครอบงำไม่ได้ กิเลสที่ละเอียดที่สุดนะ คือความเห็นผิด คืออวิชา ความเห็นผิด คือมิจฉาทิฎฐิ เราสู้ด้วยความเห็นถูก รู้ลงในกายรู้ลงในใจดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร จริงๆมีแต่ทุกข์นะ ดูไป เอ้า..เท่านี้เนาะ เทศน์แค่นี้ก็ถึงนิพพานแล้วล่ะ เหลือแต่ทำเอา ก่อนจะถึงนิพพาน ศีล ๕ ก่อนเน่อ เดี๋ยวหลวงพ่อต้องไปแล้วล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓

File: 530308
Whole track

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะมีปัญญา ต้องหัดเจริญปัญญา

Video link : youtu.be/nRfMG5t5-OE

ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันอยู่ที่ว่า.. นักปฏิบัติก็ยังมีจำนวนพอสมควรนะ แต่ว่ามันอยู่ตรงที่ว่าภาวนาผิด ไปเพ่ง ไปจ้อง เพ่งจ้องนิ่งเอาไว้เฉยๆ ไปเพ่งไปจ้องให้จิตมันนิ่ง หรือบังคับร่างกายบังคับจิตใจ ไม่ทำให้เกิดปัญญา ต้องปล่อยให้กายมันทำงานแล้วมีสติตามรู้ไป คอยเห็นว่าร่างกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปล่อยให้จิตมันทำงาน มีสติตามรู้ จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่ เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา มาแล้วก็ไป มาแล้วก็ไป ถ้าดูได้อย่างนี้นะ ก็ใช้เวลาไม่นานหรอก พอเราภาวนาไปถึงจุดหนึ่ง จิตมันจะปิ๊ง ปิ๊งขึ้นมานะ รู้ ไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไปแล้ว

นักปฏิบัติสมัยก่อนนะ ติดสมถะกันแทบทั้งนั้นเลย ทำแต่สมาธิ สงบ นิ่ง เฉยเลย หวังว่าทำสมาธิมากๆแล้วจะหลุดพ้น จะเกิดปัญญา ไม่เกิดหรอก นี่หลวงพ่อเห็นเว็บของติกน่ะ พัลวันน่ะ ตึก ไปเอาที่หลวงพ่อเคยพูดบ่อยๆ ที่ไตรภพสัมภาษณ์หลวงตา เอามาลงนะ ไปดูสิ มีพยานแล้วนะ เมื่อแต่ก่อนเราพูด บางคนก็บอกว่าเราแต่งเองหรือเปล่าวะ หลวงตาจะเอามาพูดเหรอ มีหลักฐานแล้วนะ นั่นถอดมาคำต่อคำเลย ถามว่า ถ้ามีศีลมีสมาธิแล้ว มันจะมีปัญญามั้ย ไม่มี คนละเรื่องกัน แล้วทำยังไงจะเกิดปัญญา ก็ต้องเดินปัญญาสิ ต้องพิจารณา พิจารณาเนี่ยไม่ใช่.. แต่เบื้องต้นมันก็คิดเอานะ สำหรับคนที่ติดความสงบก็ต้องคิดเอา เบื้องปลายแล้วการพิจารณาไม่ได้แปลว่าคิดแล้ว หลวงพ่อพุธ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย – ผู้ถอด) ท่านอธิบายดี พิจารณาคือตัววิจารณ์ (พิจารณา เป็นศัพท์ที่มีรากมาจากภาษาสันสกฤต วิจาร เป็นศัพท์ที่มีรากมาจากภาษาบาลี มีความหมายอย่างเดียวกัน – ผู้ถอด) ใจมันเคล้าเคลียเรียนรู้อยุ่อย่างนั้น เรียกว่า พิจารณา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลท่าพระ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๙ – นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๕
youtu.be/vkRxfKOP9P0

หลวงตามหาบัวแสดงธรรมในรายการทไวไลท์โชว์

ไตรภพ : อยู่บนศีล สมาธิ แล้วปัญญามันจะมาเอง?

หลวงตาฯ : หา.. อะไรจะมาเอง?

ไตรภพ : ปัญญาจะมามั้ยขอรับพระคุณเจ้า ถ้ามีศีล มีสมาธิตั้งมั่นแน่วแน่ ปัญญาจะมามั้ยขอรับ

หลวงตาฯ : ไม่มา

ไตรภพ : แล้วปัญญาจะมาได้อย่างไรขอรับ?

หลวงตาฯ : ก็พิจารณาทางด้านปัญญา

ไตรภพ : สาธุ..

หลวงตาฯ : คือศีลต้องเป็นศีล แต่เป็นเครื่องหนุนให้สมาธิเกิดขึ้นได้อย่างง่าย เช่น ผู้ปฏิบัติตัวด้วยศีลอันบริสุทธิ์แล้วนะ จิตจะไม่เป็นกังวลระแคะระคายในตัวของตนว่าเป็นผู้มีศีลด่างพร้อยอะไรๆ เพราะศีลสมบูรณ์แล้วก็มีความอบอุ่น จิตก็ไม่เป็นกังวล เมื่อจิตไม่เป็นกังวลแล้วทำสมาธิก็ลงได้เร็ว ลงได้เร็วแล้วเป็นสมาธิแน่วแน่เข้าไป สมาธิเป็นหลายขั้นหลายภูมิในภาคปฏิบัติ สำหรับทางด้านปริยัติที่เราจดจำมานั้น กับภาคปฏิบัติผิดกันมาก ต้องได้ผ่านทางภาคปริยัติและภาคปฏิบัติแล้วจะพูดได้อย่างฉาดฉาน คนเรานะ…

รายการทไวไลท์โชว์
ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๑
เวลา ๑๖:๐๐ น. – ๑๗:๐๐ น.
นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๕
youtu.be/TXZnYbYbpOg

ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนทำสมาธิ ส่วนใหญ่ไปติดสงบนะ เพ่งลูกแก้ว เพ่งพระพุทธรูป เพ่งไฟ เพ่งอยู่อย่างนั้น จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว นั่นเป็นสมถะ แค่สมถะเท่านั้นเอง ยังไม่ถึงจิตตั้งมั่นด้วยซ้ำไป พอจิตตั้งมั่นแล้วก็ยังต้องมาแยกขันธ์อีก แยกขันธ์แล้วต้องมาดูขันธ์แสดงไตรลักษณ์ ที่ทำกรรมฐานหลายสิบปีแล้วยังไม่ได้ผล ก็เพราะเรื่องนี้แหละ ไปติดความนิ่ง สงบเฉยๆ ว่างๆ เห็นโน่นเห็นนี่นะ นั่งเห็นโน่นเห็นนี่ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลท่าพระ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๐ – นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๕
youtu.be/vkRxfKOP9P0

ดูเพิ่มเติม : การแยกขันธ์เป็นขั้นเจริญปัญญา http://wp.me/pNG1y-6gM #หลวงพ่อปราโมทย์ (Re-airing) http://www.dhammada.net/2013/12/06/24104/

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คุณของพระพุทธเจ้ามีมากมายอเนกประการ

mp3 for download :คุณของพระพุทธเจ้ามีมากมายอเนกประการ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : แล้วมาดูสิ่งที่ท่านสอนเรา ขนาดท่านสอนแล้วนะ เรายังต้องปฏิบัติแทบเป็นแทบตายนะ ล้มลุกคลุกคลาน เหมือนจะผ่านได้ ถึงขั้นได้ธรรมะ ก็ต้องสู้เอา นี่นะท่านเก่งจริงๆ ท่านมีกรุณามาก ธรรมะเนี่ยปราณีตลึกซึ้ง ท่านอุตส่าห์เอามาสอนคนหยาบๆอย่างพวกเราได้ เราไต่ตามท่านไป กระดื๊บๆตามท่านไป จนได้รู้ได้เห็นจริงตามท่านได้ จะรู้เลยว่าความกรุณาของท่านใหญ่โต (มหากรุณา – ผู้ถอด) อยากจะให้เราเป็น.. ทุ่มเทนะ ถ่ายทอดธรรมะ แต่เราทำได้ไม่อย่างท่าน ใจมันไม่เหมือนกัน

เราจะรู้ว่าพระพุทธเจ้า มีพระปัญญาอันเลิศเลย มีความบริสุทธิ์เป็นเลิศเลย เทียบกับใจของเราที่บริสุทธิ์ขึ้นมา สะอาดขึ้นมาเป็นลำดับๆ จะรู้ว่าท่านมีกรุณาสูงมากเลย ที่อุตส่าห์เอาธรรมะที่ยากเย็นแสนเข็ญนะ ที่คนเขลาทั้งหลายเนี่ย หรือคนที่กิเลสหนาทั้งหลายเนี่ย รู้ตามไม่ได้ อุตส่าห์เอามาสอนคนที่มีกิเลสให้รู้ตามได้ ท่านต้องอดทนมากเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
CD ส่วนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๒
File : 561110A
ระหว่างเวลา นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตผู้รู้ ไม่ใช่นิพพาน

mp3 for download : จิตผู้รู้ ไม่ใช่นิพพาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางทีอ้างหลวงปู่นะ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล – ผู้ถอด) อ้างว่าฝึกตามที่หลวงปู่สอนนะ มั่วซั่วเลย ไปเอาปลายทางมาเป็นต้นทาง ต้องฝึกต้นทาง ต้องมีญาณเห็นจิตเหมือนตาเห็นรูป

ตาเห็นรูป ท่านไม่ได้บอกว่าตาเห็นผู้หญิงผู้ชายนะ ท่านสอนให้เห็นสภาวะนั้น คือ ลูกตามันมองเห็นสภาวธรรมคือรูป จิตก็เหมือนกัน จิตก็..เราดูจิตไป เราเห็นจิตเหมือนกับตาเห็นรูปน่ะ ตาของเราคือญาณทัสนะ เราเห็นจิต ก็เป็นนามธรรม ถ้าเห็นจิตก็เป็นตัวนามธรรม จิตไม่ใช่จิตหรอก เป็นนามธรรมอันหนึ่งเท่านั้นเอง เกิดแล้วก็ดับไปๆ ค่อยๆฝึกไปนะ ค่อยๆฝึกไป

หัดแยกธาตุแยกขันธ์เข้า กายส่วนกาย ความสุขความทุกข์ส่วนของความสุขความทุกข์ กุศล อกุศล ก็แยกออกไปส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนรู้คนดูก็อยู่ไปอีกส่วนหนึ่ง กระทั่งตัวรู้เองก็เกิดดับ จิตผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตผู้รู้ไม่ได้เที่ยง

บางคนนึกว่าจิตผู้รู้นี้แหละคือพระนิพพาน เนี่ยภาวนามานะ เพื่อจะมามีจิตผู้รู้แล้วคิดว่า ตัวผู้รู้นี้แหละคือนิพพาน นี่ครูบาอาจารย์ท่านสอนนะ (หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ – ผู้ถอด) ว่า ใครเห็นว่า ผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ ใครเห็นว่าจิตเที่ยงเป็นมิจฉาทิฎฐิ ใครเห็นว่าตัวรู้นี้เป็นนิพพานล่ะก็ เข้าใจผิด ท่านบอกว่า ฟากผู้รู้ไป คือพ้นไป ไม่มีที่กำหนดหมาย ถ้าหมายๆอยู่ก็พอเหมือนๆ

เพราะฉะนั้นถ้ายังจงใจไปรู้ไปดู จงใจรักษา จงใจประคอง ก็เป็นตัวปลอม ไม่ใช่นิพพานตัวจริง มีภายนอก มีภายใน เป็นนิพพานตัวปลอม มีสิ่งซึ่งเป็นคู่ มีข้างนอกมีข้างใน มีสงบมีไม่สงบ ธรรมะที่เป็นคู่ๆไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นธรรมที่เป็นหนึ่ง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๓๐ ถึงนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ลักษณะของจิตผู้รู้

mp3 for download : ลักษณะของจิตผู้รู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ : เนี่ยเราค่อยๆดูนะ เราจะเห็นเลย จิตก็เกิดดับไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ร่างกายก็ถูกรู้ถูกดู จิตก็ถูกรู้ถูกดู อะไรๆก็ถูกรู้ถูกดู ตัวเราไม่มี แล้วตัวผู้รู้ผู้ดูล่ะ ผู้รู้ผู้ดีคือจิตที่มีสมาธิ ประกอบด้วยปัญญา เกิดโดยไม่ได้ชักชวน มีองค์ประกอบนะ ลักษณะของจิตผู้รู้ผู้ดู เป็นมหากุศลจิต จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูเป็นมหากุศลจิต มีความสุขก็ได้มีอุเบกขาก็ได้ แต่จะไม่มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นจิตผู้รู้เนี่ย มีความสุขก็ได้ มีอุเบกขาก็ได้ แต่ไม่มีความทุกข์

บางดวงประกอบด้วยปัญญา บางดวงรู้เฉยๆไม่ประกอบด้วยปัญญา ตัวรู้บางทีก็ไปเห็นไตรลักษณ์ ตัวรู้บางทีไม่เห็นไตรลักษณ์แต่ไปเห็นสภาวะ เห็นตัวรูป เห็นตัวเวทนา ตัวสังขาร ตัวจิต อะไรอย่างนี้ ไปรู้ตัวมัน ไม่เห็นว่ารูปเป็นไตรลักษณ์ จิตตัวรู้ตัวนี้ไม่ประกอบด้วยปัญญา บางครั้งบางคราวหรอกที่เห็นไตรลักษณ์ รูปนี้ตรงอยู่ใต้ไตรลักษณ์ รูปนี้ไม่ใช่เรานี่หว่า รู้สึกแว้บขึ้นมา ตัวรู้ตัวนี้ประกอบด้วยปัญญา เรียกว่า ญาณสัมปยุต ตัวรู้ตัวนี้จะมีคุณภาพเมื่อเกิดได้เอง ถ้าต้องหาทางทำให้เกิดนะ จะมีกำลังอ่อน เป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน เดินปัญญาได้ไม่แท้จริง ตรงที่มันเกิดได้เองนี้เรียกว่า อสังขาริกัง ถ้าต้องโน้มน้าวจูงใจให้เกิดจะเรียกว่า สสังขาริกัง อสังขาริกังถึงจะมีพลัง

เพราะฉะนั้นเราต้องมาฝึกตัวรู้นะ ฝึกมีตัวรู้ขึ้นมา แล้วขันธ์มันจะแยกตัวออกไป หรืออายตนะมันก็จะแยกออกไป ตาก็ส่วนตา ตาไม่ใช่เรา หูก็ส่วนหู หูไม่ใช่เรา จมูกลิ้นกายก็ไม่ใช่เรา ใจก็ไม่ใช่เรา ถ้ามีตัวรู้ขึ้นมานะ ขันธ์ ๕ ก็ไม่ใช่เรา ร่างกายก็ส่วนร่างกาย ส่วนของรูป ความสุขทุกข์ทั้งหลายก็ส่วนของเวทนา ไม่ใช่ร่างกายไม่ใช่จิต สังขารทั้งหลาย ความปรุงดีปรุงชั่วทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เวทนาความสุขทุกข์ด้วย ตัววิญญาณกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๕ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ลักษณะของจิตที่ถึงฐาน

mp 3 (for download) : ลักษณะของจิตที่ถึงฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตที่ถึงฐานนะ จะเบา นุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่ว ว่องไว ถ้ามีลักษณะ หนัก แน่น แข็ง ซึม ทื่อ แสดงว่ายังไม่ใช่จิตที่ถึงฐานจริง ยังไม่ใช่ของจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
Track: ๘
File: 551209B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การแยกขันธ์เป็นขั้นเจริญปัญญา

mp3 for download : การแยกขันธ์เป็นขั้นเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ะดูว่าตัวเราไม่มีนะ ก็ต้องมาทำให้ฆนะนี้แตกออก คือแยกธาตุแยกขันธ์นั้นเอง ที่หลวงพ่อพูดเรื่อยๆว่าให้แยกธาตุแยกขันธ์ แยกรูปออกไปส่วนหนึ่ง รูปก็ส่วนรูปนะ คือ ร่างกายนี้แยกออกไปอยู่ต่างหาก ความสุขความทุกข์ก็แยกออกไปอยู่ต่างหาก ความจำได้หมายรู้ก็แยกออกไปอยู่ต่างหาก ความปรุงดีปรุงชั่วก็แยกออกไปอยู่ต่างหาก หรือความรับรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ก็แยกไปอยู่ต่างหาก คือแยกขันธ์นั่นเอง

วิธีแยก จะแยกได้นะ ต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง การแยกขันธ์เนี่ยเป็นขั้นเจริญปัญญาแล้ว ไม่ใช่ขั้นสมถะนะ การแยกขันธ์เป็นขั้นเจริญปัญญา ขั้นที่ดูท้องพองท้องยุบ ท้องพองทองยุบอะไรเหล่านี้ ยังไม่ได้แยกขันธ์จริง ยังไม่ได้ถึงวิปัสสนาจริงหรอก ไม่ได้เดินปัญญาจริงหรอก จะเดินปัญญาต้องเริ่มต้นด้วยการแยกธาตุแยกขันธ์ ตัวปัญญาเนี่ยมี ๑๖ ขั้นตอน เรียกว่า โสฬสญาณ ใครเคยได้ยินมั้ย โสฬสญาณ

โสฬสญาณ โสฬสแปลว่า ๑๖ ญาณ ๑๖ ตัว ญาณแปลว่า ปัญญา ปัญญานี้มี ๑๖ ขั้นตอนนะ ขั้นที่ ๑๔ คือ มรรคญาณ ขั้นที่ ๑๕ คือ ผลญาณ อันนี้เป็นส่วนของโลกุตระ (โลกุตรธรรม – ผู้ถอด) ขั้นที่ ๑๖ เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ อันนี้จิตถอยออกมาจากโลกกุตระแล้ว จิตเข้าทบทวนโลกกุตระที่เกิดขึ้น นี่คือญาณ ๑๖ ขั้นนะ ขั้นสุดท้าย ขั้นท้ายๆเป็นเรื่องของการบรรลุมรรคผล แต่ขั้นที่ ๑ ชื่อ นามรูปเฉทญาณ มีปัญญาแยกรูปนาม เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างปัญญาตัวนี้ให้ได้ขึ้นก่อนนะ ถ้าเราไม่สามารถแยกรูปแยกนามได้เนี่ย เราจะทำวิปัสสนาไม่ได้จริง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560511A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๐
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ก่อนจะเจริญวิปัสสนา ต้องเตรียมความพร้อมของจิต

mp3 for download : ก่อนจะเจริญวิปัสสนา ต้องเตรียมความพร้อมของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :เพราะฉะนั้นบทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน เราต้องทำให้ครบ บทเรียนที่ ๑ ศีลสิกขา ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศล ๕ ประการ บทเรียนที่ ๒ เรียกว่า จิตตสิกขา ใช่มั้ย เรียนเรื่องจิต ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิตไป พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ พองยุบก็ได้ ขยับมือก็ได้ อะไรเหมือนกันหมด แล้วรู้ทันจิต ถึงจะเรียกว่าจิตตสิกขา เรียนรู้เรื่องจิต สิ่งที่ได้จากจิตตสิกขาก็คือสมาธิที่ถูกต้อง สมาธิที่จิตตั้งมั่น เมื่อมีสมาธิที่จิตตั้งมั่นแล้วก็ถึงบทเรียนสุดท้ายคือปัญญาสิกขา เพราะฉะนั้นเราต้องไปเตรียมจิตให้พร้อมเสียก่อนนะ ถึงจะไปเดินปัญญา

อยู่ๆไปเดินปัญญาเรื่อยไปนะ มันจะไปเพ่ง ยกตัวอย่างบางคนไปดูท้องพองยุบนะ บอกว่าจะไปเจริญปัญญา ไม่ได้เตรียมจิตให้พร้อมก่อน ไปดูท้องพองยุบเนี่ย จิตจะเคลื่อนไปเพ่งอยู่ที่ท้องเลย กลายเป็นสมถะ แล้วก็เกิดนิมิตรเกิดอะไรขึ้นมานะ นึกว่าเกิดวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณเพราะไม่ได้เดินวิปัสสนา เป็นสมถะรวดๆเลย

เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมจิตของเราให้พร้อมนะ ให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตที่ตั้งมั่นคือจิตที่มันไม่ไหลไป ไม่ไหลไปโดยที่ไม่ได้บังคับไว้ ถ้าบังคับไม่ให้ไหลไป จิตจะแน่นๆ จิตจะเป็นอกุศล แต่ถ้ามันรู้ เรารู้เท่าทัน ว่าจิตหลงไป จิตไหลไป มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง จิตที่ตั้งมั่นจะมีสภาวะ(ลักษณะ-ผู้ถอด)ที่เบา ถ้าหนักๆเนี่ย ไม่ใช่แล้ว จะมีความเบา มีความนุ่มนวลอ่อนโยน ถ้าแข็งๆเนี่ย ไม่ใช่ จะมีความคล่องแคล่วว่องไว ถ้าซื่อบื้อ ไม่ใช่ จะรู้อารมณ์อย่างซื่อตรง หมายถึงอะไรเกิดขึ้นก็รู้ สักว่ารู้สักว่าเห็นไป เนี่ยเราต้องมีจิตชนิดนี้ขึ้นมาให้ได้ เราถึงจะไปเจริญปัญญา

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องเตรียมความพร้อมของจิตซะ ไปฝึกกรรมฐานอันใดอันหนึ่งแล้วคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปบ่อยๆ ไม่ห้ามว่าห้ามเคลื่อน อย่าไปห้าม ให้เคลื่อนแล้วรู้ว่าเคลื่อน ถ้าห้ามเคลื่อนจะกลายเป็นการเพ่งให้จิตนิ่ง จิตจะแน่นๆ หนักๆแน่นๆ แข็งๆ ซึมๆทื่อๆไป ใช้ไม่ได้เลย เป็นจิตอกุศลไปเลยนะ เพราะฉะนั้นให้แค่ แค่ว่า ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตหนีไปที่อื่นก็รู้นะ จิตหนีไปอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ไปเพ่งนิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ก็รู้

ต่อไปเราจะฝึกจนเราชำนาญได้ทั้งสองอย่าง เวลาที่เราต้องการพักผ่อนนะ เราก็น้อมจิตของเราให้ไปอยู่ในอารมณ์กรรมฐานอย่างเดียว สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว อันนี้ได้สมถะ เวลาที่เราจะเจริญปัญญา เราก็มีความรู้สึกตัวขึ้นมา ให้มีจิตตั้งมั่นเป็นคนดูขึ้นมา ใจเบา นุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่ว ว่องไว ควรแก่การงาน และซื่อตรงในการรู้อารมณ์ เนี่ยมีจิตตัวนี้ขึ้นมา ไม่ไหลไป โดยที่ไม่ได้ประคองไว้ ไม่ไหลไปโดยที่ไม่ได้ประคองไว้ แล้วเราจะใช้จิตชนิดนี้แหละ ไปเจริญปัญญา คือการเรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรม


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๗ ถึงนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

mp3 for download : วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :เนี่ยพวกเรา จุดสำคัญนะ ก่อนที่พวกเราจะก้าวไปสู่การเจริญปัญญาซึ่งว่ากันเป็นของดีของวิเศษ ในทางพระพุทธศาสนา เราต้องมาปรับจิตใจของเราก่อน ให้พร้อม ต้องมาเตรียมความพร้อมของจิตเสียก่อน จิตที่จะไปเจริญปัญญาได้ต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง

สมาชิกทั้งสองชนิดมีประโยชน์ทั้งคู่ สมาธิเพื่อความสงบก็มีประโยชน์ แต่ประโยชน์ของสมาธิเพื่อความสงบนั้นน่ะ ทำให้จิตใจสดชื่น มีเรี่ยวมีแรงนะ ส่วนสมาธิที่ใช้เจริญปัญญานั้นทำให้จิตใจฉลาด คนละแบบกัน มีประโยชน์ทั้งคู่ ถ้าเราทำสมาธิได้ทั้งสองชนิด ดีที่สุด ถ้าทำชนิดแรกไม่ได้นะ ทำไปเพื่อความสงบไม่ได้ ทำอย่างที่สองได้ ก็ยังเอาตัวรอดได้

ในสมัยพุทธกาลนะ ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านก็อธิบายให้พวกพระฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มี ๖๐ องค์ได้วิชา ๓ วิชา ๓ ก็คือ ระลึกชาติได้ รู้ว่าใครตายแล้วไปเกิดที่ไหน แล้วก็ล้างกิเลสได้ ๓ อย่าง พระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย มี ๖๐ องค์ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ต้องทรงฌานนะ ต้องทรงฌาน ในบรรดา ๕๐๐ องค์

นอกจากวิชา ๓ แล้วนะ ยังมีพวก อภิญญา ๖ นะ เช่นได้หูทิพย์ ตาทิพย์ รู้วาระจิตคนอื่นอะไรอย่างนี้ มีทิพยโสต ทิพยจักษุ เจโตปริยญาณ จำไม่ได้แล้ว มีหลายอัน พระอรหันต์ที่ได้อภิญญา ๖ มี ๖๐ องค์ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้อภิญญา ๖ น่ะ ต้องทรงฌานนะ เพราะฉะนั้นรวม ๒ กลุ่มนี้ ได้ ๑๒๐ จาก ๕๐๐ (รวมเป็นร้อยละ ๒๔ – ผู้ถอด)

ก็ยังมีพระอรหันต์อีกจำพวกหนึ่ง ท่านเรียกว่า อุภโตภาควิมุติ อุภโตภาควิมุตินั้นไม่เหมือนพระอรหันต์ทั่วๆไป คือตอนที่บรรลุมรรคผลเนี่ย ท่านเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์ทั่วๆไปเนี่ย บรรลุมรรคผล เข้ารูปฌาน พวกที่เข้าถึงอรูปฌานก็ดับรูป ดับรูปธรรมด้วยอรูปฌาน ดับนามธรรมทั้งหลายด้วยวิปัสสนาญาณ เลยเรียกว่า “ดับโดยส่วนทั้งสอง” คือ ดับทั้งรูปทั้งนาม ดับทั้งรูปทั้งนามไม่ใช่ไม่มีอะไรเหลือ ว่างเปล่า นะ ไม่มีอะไรเลยเรียกว่าพรหมลูกฟัก ไม่ใช่ ยังมีจิตอยู่ แต่ไม่มีความปรุงแต่งหยาบๆอย่างที่พวกเราเห็น คือท่านปล่อยวางความยึดถือทั้งในรูปธรรมและในนามธรรมได้ แต่ปล่อยรูปธรรมไปเพราะเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์จำพวกนี้มี ๖๐ องค์เหมือนกัน

รวมทั้ง ๓ ชนิดนะ ๖๐ + ๖๐ + ๖๐ ได้เท่าไหร่ ๑๘๐ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๓๖ – ผู้ถอด) พระอรหันต์ที่เหลือ ๓๒๐ (คิดเป็นร้อยละ ๖๔ – ผู้ถอด) คือคนซึ่งธรรมดาๆอย่างพวกเรานี่แหละ ไม่ใช่ว่าทรงฌานอย่างชำนิชำนาญมาก่อน อาจจะเดินปัญญาไป จิตไม่ได้ทรงฌาน เดินปัญญารวดไปเลย แห้งแล้ง พระอรหันต์ที่ปฏิบัติไปนะ บรรลุมรรคผลนิพพานไปด้วยใจที่แห้งแล้ง หมายถึงไม่มีความชุ่มฉ่ำหรอก เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ภาวนาไปเนี่ย ใจไม่ได้พัก เพราะฉะนั้นจะทุกข์ยากเยอะเลย ทุกข์มากนะ ภาวนาแล้วจะรู้สึกแห้งแล้ง เรียกว่าพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ ไม่ได้ทรงฌาน แต่ตอนที่เป็นพระอรหันตแล้วนะ ตอนที่เป็นพระโสดาบันแล้วน่ะ จะได้ฌานอัตโนมัติ อย่างน้อยจะได้ปฐมฌานขึ้นมา แต่ตอนที่เดินไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลเนี่ย ไม่ได้ทำฌาน

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ พวกเราจะไปสรุปตามใจชอบนะว่า ต้องนั่งสมาธิเข้าฌานได้ก่อน ถึงจะเจริญปัญญาได้ บางคนสรุปแบบนี้นะ ใช้ไม่ได้เลยนะ มันขัดกับพระไตรปิฎกเลย คนส่วนน้อยหรอก ที่ทรงฌาน คนส่วนมากก็คือคนอย่างพวกเรานี้แหละ แล้วทำไมถึงไปบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ท่านที่บรรลุมรรคผลโดยทรงฌาน ท่านก็มีสมาธิอย่างที่สองด้วย ถ้ามีสมาธิแต่อย่างแรกน่ะ จะบรรลุมรรคผลไม่ได้หรอก

สมาธิสองชนิดต่างกันอย่างไร สมาธิอย่างแรกที่เป็นไปเพื่อความสุขความสงบนั้นน่ะ มันมีลักษณะที่ว่า มีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตไปรวมสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพราะฉะนั้นไม่เดินปัญญา ยกตัวอย่าง พุทโธ พุทโธ พุทโธ นะ จิตอยู่กับพุทโธไม่หนีไปไหนเลย สงบอยู่กับพุทโธ นี่คือสมาธิชนิดที่หนึ่ง ไปรู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปไหนเลย จิตจับอยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเลย นี่คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปดูท้องพองยุบ เห็นท้องพองท้องยุบ จิตจับเข้าไปที่ท้อง ไม่ไปไหนเลย สงบอยู่กับท้องเท่านั้นเอง นี่เป็นสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า จิตไปเพ่งอยู่ที่เท้า หรือเพ่งอยู่ที่ร่างกายทั้งร่างกาย นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง

ปกติจิตของคนเรานะ จะส่ายตลอดเวลานะ จะวิ่งหาอารมณ์ตลอดเวลา เดี๋ยวก็วิ่งไปทางตา ไปหาอารมณ์ทางตา เรียกว่า รูปารมณ์ คือ อารมณ์คือรูป บางทีก็วิ่งไปหาอารมณ์ทางหู คือเสียงนะ บางทีก็ไปหากลิ่น หารส หาสิ่งที่มาสัมผัสร่างกาย บางทีก็วิ่งไปนึกคิดปรุงแต่งทางใจ ถ้าทางใจเรียกว่า ธรรมารมณ์ จิตของเราจะจับจดในอารมณ์ต่างๆนะ วิ่งไปจับอารมณ์นั้นทีหนึ่ง วิ่งไปจับอารมณ์นี้ทีหนึ่ง มันวิ่งไปเพราะอะไร เพราะมันเที่ยวแสวงหาความสุข มันไปดูรูป มันหวังว่าจะมีความสุข มันไปฟังเสียง มันหวังว่าจะมีความสุข ไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกาย ไปคิดนึกทางใจ หวังว่าจะมีความสุข แล้วมันไม่อิ่ม มันไม่เต็ม มันก็วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นต่อไปอีกนะ คล้ายๆหมาตัวหนึ่งนะ หมาจรจัด ไม่มีใครเลี้ยง ก็วิ่งไปทางนี้ ได้กินอาหารนิดหน่อยนะ คุ้ยขยะได้อาหารมานิดหน่อยนะ ไม่อิ่มน่ะ ก็ต้องวิ่งไปที่อื่นอีก ไปคุ้ยที่อื่นนะ บางทีกินได้หน่อยหนึ่งไม่อิ่มนะ ก็วิ่งต่อไปอีก

จิตของเราที่มันไม่ได้ทรงสมาธินะ ไม่ได้ทรงสมาธิชนิดที่ใช้พักผ่อนน่ะ เป็นจิตที่หิวอารมณ์ จิตของเราเหมือนหมาจรจัด ไม่เต็ม ไม่อิ่ม จะหิวโหยอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แล้วมันจะวิ่งพล่านไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลาเลย

มันก็มีวิธีการที่จะทำให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวนะ ให้เราเลือกอารมณ์กรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แทนที่จะปล่อยให้จิตสะเปะสะปะ เที่ยวหาอารมณ์ร่อนเร่ไปตามยถากรรม เราก็มาดูว่าจริตนิสัยของเรา ควรจะทำกรรมฐานอะไรเพื่อให้จิตมีความสุข เคล็ดลับของการทำสมถกรรมฐาน สมาธิชนิดที่ ๑ สมาธิที่ใจสงบเนี่ย อยู่ที่การเลือกอารมณ์ ว่าเรารู้จักเลือกอารมณ์ที่เหมาะกับจริตนิสัยของเรามั้ย ยกตัวอย่างคนไหนช่างคิดมากก็อาจจะหายใจ รู้ลมหายใจไป คนไหนขี้โมโหมากก็อาจจะเจริญเมตตาไป คนไหนความยึดความคิดความเห็นรุนแรงอะไรมากนะ ทะเลาะกับเขาไปทั่ว อาจจะคิดถึงความตายขึ้นมาก็ได้ คนไหนบ้ากามมากก็มาคิดถึงร่างกาย ที่เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ ไม่สวยไม่งาม อย่างนี้ใจมันได้อารมณ์ที่พอเหมาะ มันจะสงบ

สรุปง่ายๆว่า ถ้าเรารู้จักเลือกอารมณ์ ที่จิตไปรู้แล้วมีความสุข จิตก็มีจะมีความสุขอยู่ในอารมณ์อันนั้นแล้วไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อันอื่น คล้ายๆหมาตัวนี้่วิ่งๆมานะ มาเจอคนใจบุญ คนใจบุญให้อาหารกินเต็มอิ่มเลย หมานี้ไม่ต้องวิ่งพล่านไปที่อื่นแล้ว หมาก็อยู่กับที่นะ เดี๋ยวนอนไป ตื่นขึ้นมา หิวอีกแล้ว คนก็ให้กินอีก ไม่หนีไปไหนเลย สุดท้ายเป็นหมาขี้เกียจ นอนอยู่อย่างนั้แหละ พวกที่ติดสมาธินั้นแหละ เปรียบเทียบรุนแรงไปมั้ย พวกที่หิวอารมณ์นะ ก็เหมือนหมาจรจัดนะ พวกที่ติดสมาธิก็เหมือนหมาที่มีเจ้าของ ได้กินอิ่มก็ไม่ไปไหน มีแต่ความสุขอยู่แค่นั้นเอง

เพราะฉะนั้นอยู่ที่การเลือกอารมณ์นะ ทำได้ ควรจะทำ ถ้าทำแล้วจิตใจะมีเรี่ยวมีแรง มีประโยชน์นะ ไม่ใช่ไม่มี สมถกรรมฐานมีประโยชน์ ถ้าเราได้พักอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นครั้งเป็นคราว และเราไม่ได้ติดอยู่ในอารมณ์อันนั้น จิตจะมีกำลัง แต่ถ้าไปติดสมถะเนี่ย จะไม่เดินปัญญา

ตรงที่บางคนมาหาหลวงพ่อนะ สมัยก่อน ซึ่งพวกเรายังไม่ได้จิตที่รู้ที่ตื่นกันนั้น คนที่มาหาหลวงพ่อยุคแรกๆนะ เป็นพวกติดเพ่งมาแทบทั้งนั้น เพราะสมัยโบราณนะ คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็นั่งเพ่งเอาเมื่อนั้น เหมือนที่เจ้าชายสิทธัตถะท่านทำนั้นแหละ ออกจากวังมา สิ่งแรกที่ท่านทำก็คือ ไปนั่งสมาธิกับฤๅษี พวกเราเมื่อสักสิบปีก่อน มักจะติดเพ่งกันเป็นส่วนใหญ่ พอไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องแก้การที่ติดเพ่งนี่ก่อน บางคนนั้นหลวงพ่อบอกว่าให้หยุดการทำสมาธิไว้ก่อน พอได้ยินอย่างนี้ก็เลยคิดว่าหลวงพ่อไม่ให้ทำสมาธิ ที่จริงก็คือ ทำสมาธิมาผิดนั่นเอง ต้องแก้ก่อน เสร็จแล้วก็ต้องมาฝึกให้ใจมันตื่นขึ้นมา ตรงที่ใจมันตื่นนั้นแหละ เราได้สมาธิอย่างที่สอง เพราะฉะนั้นถ้าพวกเราคนไหนติดเพ่งนิ่งๆว่างๆนะ สบายอยู่แค่นั้น

แค่นั้นไม่พอนะ แค่นั้นมันเหมือนหมาที่เจ้าของใจดีแค่นั้นเอง ต้องมาฝึกสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดแรกน่ะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง จิตรวมเข้ากับอารมณ์อยู่ด้วยกัน พักผ่อนอยู่ในอารมณ์ที่สบาย สมาธิอย่างที่สองเนี่ย จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นแสนเป็นล้านก็ได้ อารมณ์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเลย แต่จิตเป็นหนึ่ง เป็นแค่คนดู ไม่ใช่คนสงบนิ่งนะ เป็นแค่คนดู

คือเราต้องมาฝึกจิตให้เป็นคนดูให้ได้ ถอยออกมาจากปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรม ส่วนใหญ่ของคนเราก็คือ เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมแล้ว จิตจะไหลเข้าไปรวมกับปรากฎการณ์นั้น ยกตัวอย่างเวลาเราดูโทรทัศน์ จิตจะไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ หรือเวลาที่เราคิดถึง ดูโทรทัศน์ ดูข่าว ดูอะไรนะ พูดถึงนายกฯหญิงสวยงามอะไรอย่างนั้นนะ ใจเราไปคิดถึงเขา ใจเราลอยไป ใจเราลอยแล้วลืมตัวเราเอง เนี่ยใจที่มันล่องลอยแล้วมันลืมตัวมันเองเนี่ย คือใจที่ขาดสมาธิชนิดอย่างที่สอง เป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น คนที่ขาดสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นเนี่ย มีร่างกายก็ลืมร่างกายมีจิตใจก็ลืมจิตใจของตัวเอง มัวแต่ไปดูรูป แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปฟังเสียง แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปดมกลิ่นแล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง

ก่อนหลวงพ่อบวชนะ หลวงพ่อก็ไป เป็นฆราวาสนี่ ก็เดินตามศูนย์การค้าอะไรก็ไปบ้าง ไปซื้อของอะไรเนี่ย จะมีที่ขายน้ำหอมน่ะนะ พวกเราเห็นมั้ย พวกผู้หญิงก็จะไปยืนเป็นแถวเลยนะ แล้วก็เอามาทามือนะ ดมๆ ดมๆ ไปเรื่อยนะ ในขณะที่ดมน้ำหอม นึกออกมั้ย รู้อะไร รู้กลิ่นของน้ำหอม ใช่มั้ย ในขณะนั้นเราลืมกายลืมใจของตัวเอง หรือเราเห็นคนโทรศัพท์มั้ย เดินโทรฯ ทำท่าแปลกๆ ขณะที่คุย เม้าธ์ เพลินไปนะ ร่างกายเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ จิตใจของตัวเองเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ มันลืมตัวมันเอง สภาวะที่จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจลืมตัวเอง ลืมกายลืมใจของตัวเอง นี่แหละคือสภาวะที่จิตขาดสมาธิชนิดที่จิตใจตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นสมาธิอย่างที่สองเนี่ยนะ ถ้าจะพูดง่ายๆก็คือสภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ร่อนเร่ไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นจิตเป็นหนึ่ง ไม่ได้มี ๖ คือ วิ่งไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ แต่รู้สึกตัวอยู่ เป็นหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้นเคลื่อนที่ ทั้งที่รูปธรรมนามธรรมนี้ เคลื่อนที่ผ่านความรับรู้ของจิตไปเรื่อยๆ เช่นตามองเห็นรูป ใจก็เป็นคนดู ก็เห็นรูปเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างหาก ใจเป็นคนดู เมื่อไรขาดสติ จิตก็ปรุงแต่ง เห็นรูป โอ้สวย ใจมีราคะ ไม่รู้ทัน ถ้าใจตั้งมั่น ใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ก็จะเห็นว่า ตอนนี้เกิดราคะอยู่ ตอนนี้เกิดโทสะอยู่ เนี่ยใจมันต้องตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจลืมเนื้อลืมตัว มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ จิตใจที่ลืมเนื้อลืมตัว ก็คือจิตใจที่ไม่มีสมาธิอย่างที่สอง ไม่มีความตั้งมั่นของจิต

ปกติจิตของเราร่อนเร่ตลอดเวลานะ ถึงไปทำฌาน จิตก็ไหลไปรวมเข้ากับอารมณ์อันเดียว จิตไม่ได้ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเราต้องมาฝึกให้จิตตั้งมั่น วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น ก็คล้ายๆกับวิธีฝึกให้จิตสงบนั่นแหละ เวลาที่เราจะฝึกให้จิตสงบนะ เราก็เลือกอารมณ์ขึ้นสักอารมณ์หนึ่ง ที่มีความสุข แล้วน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น คนไหนพุทโธแล้วมีความสุขก็พุทโธไปเรื่อยๆ จิตมีความสุขกับพุทโธ จิตไม่หนีไปที่อื่น ได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่นนะ พุทโธไปแล้วรู้ทันจิต ไม่ได้น้อมจิตไปอยู่ที่พุทโธ แต่พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตนะ หรือรู้ลมหายใจ ก็ไม่น้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ใจจะเป็นสมาธิชนิดที่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่ถ้าเราหายใจไปแล้วจิตตั้งมั่นเป็นคนดู รู้ทันจิตอยู่ หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เราจะได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่น คือไม่เคลื่อน

เพราะฉะนั้นสมาธิจึงมีสองชนิดนะ ชนิดหนึ่งเคลื่อนไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ก็ได้สมถะได้ความสงบเฉยๆ เอาไว้พักผ่อน อีกอันนะจิตไม่เคลื่อน แต่อารมณ์นั้นเคลื่อน รูปก็เคลื่อนไหว เสียงก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง กลิ่นก็เปลี่ยนแปลง รสก็เปลี่ยนแปลง สิ่งที่มาสัมผัสร่างกายก็เปลี่ยนแปลง ตาหูจมูกลิ้นกายก็เปลี่ยนแปลง ใจของเราก็เปลี่ยนแปลง ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจนะ ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ก็เปลี่ยนแปลง แต่ใจของเราเป็นคนดู ใจเราเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น ใจเราเป็นคนดูอยู่ ไม่ได้ยากอะไร ถ้ารู้วิธีแล้ว ไม่ได้ยากอะไรเลย ให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทัน ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งแล้วคอยรู้ทันจิตไว้ การที่เราทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา จะทำให้เรารู้ทันจิตได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่ทำกรรมฐานเลย แล้วอยู่ๆจะไปรู้ทันจิต จิตมันจะส่ายไปในอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเราดูไม่ทัน

เพราะฉะนั้นเราก็หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง แต่เราไม่ได้น้อมจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานนั้น หาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่นะ แล้วเมื่อจิตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป มันหนีไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน มันเคลื่อนไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน จิตจะเคลื่อนไป ๒ แบบเท่านั้น ๑ เคลื่อนไปคิด หรือหลงไปทีอื่นซะ อันที่ ๒ เคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเรารู้ลมหายใจอยู่นะ จิตหนีไปคิดก็มีนะ ลืมลมหายใจไป จิตเคลื่อนไปเกาะที่ลมหายใจไป กลายเป็นสมถะกรรมฐาน ก็มีนะ ถ้าเคลื่อนไปเกาะอยู่ในอารมณ์อันเดียว กลายเป็นสมถะ เป็นสมาธิชนิดสงบ ถ้าเคลื่อนหนีไปคิดเลยนะ สมาธิชนิดสงบก็ไม่มีนะ ฟุ้งซ่านอย่างเดียว

แต่ว่าการเคลื่อนไปนั้นมีสองชนิด เคลื่อนไปหาอารมณ์อื่นเคลื่อนไปคิดเรื่องอื่น กับเคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้ารู้ทันว่าจิตเคลื่อน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับให้ตั้งมั่น เขาจะตั้งของเขาเอง แต่ถ้าสมาธิของเรายังไม่แข็งแรงนะ จะเคลื่อนแล้วรู้สึกขึ้นมา ตั้งได้แว็บเดียว แล้วก็เคลื่อนไปอีก บางทีเคลื่อนไปนานเลยนะ แล้วรู้สึกขึ้นมาอีกแล้ว ตั้งขึ้นมาอีกแว้บหนึ่ง จะเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องฝึกให้มากนะ ฝึกเพื่อให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวให้ได้ ถ้าจิตใจยังไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ยังเดินปัญญาไม่ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๗ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อก่อนคนไม่เข้าใจ คิดว่าหลวงพ่อไม่สอนสมาธิ

mp3 for download : เมื่อก่อนคนไม่เข้าใจ คิดว่าหลวงพ่อไม่สอนสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้ามีสมาธิที่สงบ สบาย เพลิดเพลิน นิ่งๆไป ไม่เกิดปัญญาหรอก ถ้านั่งสมาธิแล้วสงบ สบาย ว่างๆไป แล้วก็เกิดปัญญา บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ฤๅษีชีไพรที่เขาทำสมาธิอย่างนี้ก็จะบรรลุพระอรหันต์ก่อนพระพุทธเจ้า แต่สมาธิชนิดที่มีใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานเนี่ย ไม่มีในที่อื่นๆนะ มีอยู่แต่ในคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เอง

พวกเราต้องมาฝึกสมาธิให้ถูกชนิด ปัญญาถึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไม่มีสมาธิที่ถูกต้อง จะไปเจริญปัญญานั้น เป็นไปไม่ได้ ต้องมีสมาธิให้ถูกชนิด ตรงนี้แหละเป็นเรื่องที่สมัยก่อนไม่ค่อยมีใครพูดถึงเท่าไหร่ ไม่มีใครพูดถึง หลวงพ่อสอนใหม่ๆนะ มีแต่คน Anti เลยนะ หาว่าหลวงพ่อไม่สอนสมาธิ ความจริงแล้วสอนสมาธินะ สมาธิน่ะสอนทั้งสองแบบเลย สมาธิเป็นไปเพื่อความสงบก็สอน สมาธิเป็นไปเพื่อการเจริญปัญญาก็สอน แต่ทีนี้คนส่วนใหญ่ติดสมาธิชนิดสงบ นั่งแล้วก็เคลิ้ม ลืมเนื้อลืมตัว พอหลวงพ่อบอกให้นั่งรู้สึกตัว ก็รู้สึกว่าไม่ได้ทำสมาธินะ แล้วยังมาบอกว่า ถ้าไม่มีสมาธิจะมีปัญญาไม่ได้ ถ้าพูดให้เต็มยศก็ต้องบอกว่า ถ้าไม่มีสมาธิที่ถูกต้องก็มีปัญญาไม่ได้

เนี่ยพวกเรา จุดสำคัญนะ ก่อนที่พวกเราจะก้าวไปสู่การเจริญปัญญาซึ่งว่ากันเป็นของดีของวิเศษ ในทางพระพุทธศาสนา เราต้องมาปรับจิตใจของเราก่อน ให้พร้อม ต้องมาเตรียมความพร้อมของจิตเสียก่อน จิตที่จะไปเจริญปัญญาได้ต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๓ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์

mp3 for download : จิตผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :จิตต้นกำเนิดหรือจิตอวิชา หรือจิตผู้รู้ ตัวเดียวกัน ที่พวกเราต้องฝึกหาจิตผู้รู้นะ ให้มีจิตผู้รู้นะ นั่นแหละจิตผู้รู้นั้นแหละ ยังเป็นจิตอวิชาอยู่ แต่อาศัยมันก่อน แล้ววันหนึ่งก็ค่อยมาทำลายตัวนี้ไปอีกทีหนึ่งก่อน เนี่ยดูแล้วมันละเอี๊ยดละเอียดนะ มันสว่าง มันผ่องใสนะ มันมีอวิชาซ่อนอยู่ ถ้าหยาบๆขึ้นมานะ ไม่ใช่อวิชาแล้ว ตื้น กลายเป็นกิเลสหยาบๆแล้ว

ตรงที่จิตเข้าถึงความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้นแหละ อวิชาซ่อนอยู่ที่นั้นเอง ไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้ทุกข์ ทุกข์อะไร ไม่รู้ว่าตัวผู้รู้นี้แหละ ตัวทุกข์ มันบังกันอยู่นิดเดียวเอง ถ้าเห็นตัวผู้รู้เป็นตัวทุกข์ ก็เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไหร่นะ ก็หมดความยึดถือจิต มันจะสลัดคืนจิตให้โลกไปเลย จะสลัดคืนตัวรู้ คืนตัวรู้ให้โลกไป

พอสลัดตัวรู้ทิ้ง ตัณหาจะไม่เกิดอีก ทันที่รู้แจ้งทุกข์นะ มันจะสลัดตัวทุกข์ออกไป พอรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วมันจะสลัดทิ้งเอง สลัดคืน เรียกว่าสลัดคืน ปฏินิสสัคคะสลัดคืนจริงๆ คืนโลก เนี่ยคำแต่ละคำในพระไตรปิฎก ในตำรับตำรานะ ตรงเป๊ะๆเลย เห็นทุกข์แจ่มแจ้ง เห็นตัวจิตผู้รู้นี้แหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ก็สลัดคืนตัวผู้รู้ให้โลกไป ในขณะนั้นละสมุทัยเรียบร้อยแล้ว ความอยากจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว รู้ทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยในคราวเดียวกันเลย ในขณะนั้นแจ้งนิโรธคือพระนิพพานเลย ในขณะเดียวกัน ในขณะนั้นเกิดอริยมรรคเลย ในขณะเดียวกัน

อัศจรรย์ อัศจรรย์ที่สุดนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้า พวกเราต้องพากเพียรนะ ค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
File: 560111A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาแปลว่าการเห็นที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

mp3 for download : วิปัสสนาแปลว่าการเห็นที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :จิตของคนในโลกของสัตว์ทั้งหลายนั้น เป็นผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน วิธีที่จะให้เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ก็ทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง พุทโธ หายใจไป แล้วจิตเคลื่อนไปแล้ว รู้ (รู้ว่าจิตเคลื่อนไป-ผู้ถอด) เคลื่อนไปคิด รู้ (รู้ว่าเคลื่อนไปคิดแล้ว-ผู้ถอด) เคลื่อนไปเพ่ง รู้ (รู้ว่าเคลื่อนไปเพ่งแล้ว-ผู้ถอด) ต่อไปพอจิตเคลื่อน เรารู้ปุ๊บ สมาธิจะเกิด จะรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จะรู้จะตื่นจะเบิกบานเลยนะ

พอจิตเป็นผู้รู้ได้ คราวนี้ก็มารู้อะไร ก็รู้กายมันทำงาน รู้ใจมันทำงาน หรือก็เห็นความจริงของกายของใจ เกิดปัญญาได้ ถ้าจิตไม่ใช่ผู้รู้นะ ไปดูกาย ก็เป็นผู้เพ่งกาย ไปดูจิตก็เป็นผู้เพ่งจิต ได้แต่ความนิ่งๆว่างๆ ไม่ได้เรื่องอะไรหรอก กี่ปีกี่ชาติมันก็อยู่แค่นั้นแหละ เพราะฉะนั้นฝึกให้ใจเราเป็นผู้รู้ให้ได้นะ เป็นผู้รู้ถึงจะทำวิปัสสนาได้

วิปัสสนาแปลว่าการเห็น การเห็นถูกต้อง เห็นตามความเป็นจริง ใจเราเป็นคนรู้คนเห็น เราก็จะเห็นปรากฏการณ์ของรูปธรรม นามธรรม มันทำงานของมันได้เอง ค่อยๆฝึก ไม่ยากเกินไปหรอก หลวงพ่อน่ะฝึกได้ตัวรู้มาตั้งแต่เป็นโยมนะ ฝึกจนชำนิชำนาญ ใจไม่ค่อยเคลื่อนไปไหนหรอก ใจมันเป็นคนรู้ หลงก็หลงไม่นาน หลงมั้ย มีมั้ย มี ตอนเป็นโยมก็หลงอุตลุดเท่าๆกับโยมแหละ แต่ว่าหลงไม่นาน ไหลปุ๊บก็รู้ ไหลปุ๊บก็รู้ อยู่ที่ฝึกเอานะ นี่เป็นของขวัญปีใหม่นะ

ปีใหม่ ถ้าทำได้อย่างที่หลวงพ่อบอกอย่างนี้นะ บางทีไตรมาสแรกอาจจะได้โสดาฯ ไตรมาสแรกไม่ได้ก็ได้ไตรมาสที่สอง ที่สาม ที่สี่ ยังไม่ได้ ปีต่อไปก็เอาให้ได้ เอ้า.. ไปกินข้าว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จะได้สมาธิที่ใช้เจริญปัญญา

mp3 for download : ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จะได้สมาธิที่ใช้เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้าไหว้พระสวดมนต์แล้วสงบได้ ก็ไหว้พระสวดมนต์ ถ้ามันไม่ไหวจริงๆนะ หาหนังสือมาอ่านก็ได้ ให้ใจมันคลาย พอใจมันคลายแล้วก็มาไหว้พระสวดมนต์ มารู้ลมหายใจแล้วก็มารู้ทันจิตไป ใจไหลแล้วรู้ ใจไหลแล้วรู้ ต่อไปจากนี้นะ จะง่าย ไม่ต้องเริ่มต้นไกลเลย คิดถึงพระพุทธเจ้านิดหน่อยก็พอแล้ว ใจสบาย มีความสุข คิดถึงพระพุทธเจ้าแล้ว แค่นะโมตัสสะ ยังไม่ทันภะคะวะโต จิตก็สงบแล้วนะ ค่อยๆฝึก

จิตสงบเพราะว่าอะไร เพราะว่าชำนาญในการรู้ทันจิตที่เคลื่อน พอรู้ทันจิตที่เคลื่อนปุ๊บ จิตก็ตั้งมั่นเลย เคล็ดลับอยู่ตรงที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนนะ การทำสมาธิชนิดที่ถูกต้องน่ะ ไม่ใช่เคล็ดลับอยู่ที่น้อมใจไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขเป็นสมาธิชนิดที่เป็นสมถะ ถ้าจะใช้สมาธิชนิดที่สองที่เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน” เนี่ย ให้รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป ไม่ห้าม พุทโธๆไปก็ได้ จิตเคลื่อนแล้วรู้ ไม่ใช่ว่าพุทโธไปแล้วห้ามจิตเคลื่อน จิตแข็งๆอย่างนั้นผิดนะ

ค่อยๆฝึกนะ เอาสมาธิขึ้นมาให้ได้ พอได้สมาธิแล้วก็ดูไป ร่างกายก็อยู่ส่วนร่างกาย ใจเป็นคนดู จิตที่ตั้งมั่นแล้วมันจะกลายไปเป็นคนดูได้ เขาถึงเรียกว่า “ผู้รู้” ไง มันเป็น “ผู้รู้” มันไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง เพราะฉะนั้นเรามาฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ให้ได้นะ จิตของคนในโลกของสัตว์ทั้งหลายนั้น เป็นผู้นึกผู้คิดผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน วิธีที่จะทำให้เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธ หายใจ อะไรก็ได้ แล้วพอจิตเคลื่อนไปแล้วรู้ เคลื่อนไปคิด รู้ เคลื่อนไปเพ่ง รู้ ต่อไปจิตพอเคลื่อนเรารู้ปุ๊บ สมาธิจะเกิด จะรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จะรู้ จะตื่น จะเบิกบานเลย พอจิตเป็นผู้รู้ได้ คราวนี้ก็มารู้อะไร ก็รู้กายมันทำงาน รู้ใจมันทำงาน ก็เห็นความจริงของกายของใจ เกิดปัญญาได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ได้สมาธิที่มีสติมีจิตตั้งมั่น มาใช้เจริญปัญญา

mp3 for download : ได้สมาธิที่มีสติมีจิตตั้งมั่น มาใช้เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :เมื่อเราได้สมาธิ (ชนิดจิตตั้งมั่น – ผู้ถอด) ใจเราจะเป็นคนดู ใจจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคนดู มันจะเห็นรูปธรรมนามธรรมมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป ตรงที่เรามีใจเป็นคนดูได้เนี่ย เราถึงจะเจริญปัญญาได้ ถ้าใจยังไม่เป็นผู้ดูแต่เป็นผู้แสดงเสียเองนะ ไม่ได้เรื่องหรอก ยังเจริญปัญญาไม่ได้จริง

ยกตัวอย่างคนที่ยังไม่ได้ภาวนานะ เวลาโกรธเนี่ย จะไม่รู้เลยว่าตัวเองโกรธ พวกนี้ต่ำสุดเลย จะรู้แต่คนที่ทำให้โกรธ ไอ้คนนี้ทำให้โกรธ ไปสนใจเขา นักปฏิบัติเบื้องต้นนี้จะรู้ว่ากำลังโกรธอยู่

พอปฏิบัติเก่งขึ้นมาก็จะรู้เลยว่า ความโกรธกับจิตนั้นเป็นคนละอันกันนะ จะเห็นว่าจิตไม่ได้โกรธหรอก แต่จิตเป็นตัวที่กำลังรู้ว่าโกรธอยู่ เห็นสภาวะความโกรธนั้นแยกออกไปต่างหากน่ะ ถ้าเห็นอย่างนี้ได้นะ มันจะไม่ใช่ “เราโกรธ” แล้ว จะเห็นว่าความโกรธมีอยู่ แต่ไม่ใช่เราโกรธ ความโลภมีอยู่แต่ไม่ใช่เราโลภ ความหลงมีอยู่แต่ไม่ใช่เราหลง ความสุขมีอยู่แต่ไม่ใช่เราสุข ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่ใช่เราทุกข์ ร่างกายมีอยู่แต่ไม่ใช่ร่างกายของเรา จะเห็นแต่ว่า สภาวธรรมทั้งหลาย รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย มีอยู่ แต่ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเราหรอก เป็นแค่สภาวะ ร่างกายก็เป็นแค่สภาวะของรูปธรรม ความสุขความทุกข์ก็เป็นแค่สภาวะอีกอย่างหนึ่งทางนามธรรม เรียกว่าเวทนา ความจำได้หมายรู้ก็เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง ความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง (มีชื่อเรียกว่า สังขารขันธ์ – ผู้ถอด) เนี่ยเราฝึกไปเรื่อยนะ ถ้าใจเราตั้งมั่นขึ้นมา เราถึงจะเห็นได้ว่า มันเป็นแค่สภาวะมันไม่ใช่เราหรอก ไม่อินเข้าไป

ของเรา เวลาทำอะไรใจยังอินมั้ย เช่นดูหนังดูอะไรเนี่ยนะ ยังมีลุ้นมั้ย เชียร์คนนี้ ไม่เชียร์คนนี้ มีมั้ย ดูบอลล์ ใครชอบดูบอลล์บ้าง ใครดูบอลล์ แล้วต้องเลือกข้างมั้ย ถ้าไม่เลือกข้างไม่สนุกนะ ต้องเลือกข้าง แล้วอย่าไปเลือกข้างที่เก่งมากนะ เลือกข้างที่เก่งมากก็จืดชืดนะ ต้องลุ้นหน่อยๆ แบบสูสีอะไรอย่างนั้นถึงจะสนุก ผิดกันมากดูไม่สนุก เราเนี่ยไม่มีการดูอะไรทุกอย่าง อย่างที่เป็นกลาง เราจะต้องเอียงข้าง มีอคตินะ แล้วก็ใส่อารมณ์ลงไป แล้วก็ลุ้นอันนี้ เกลียดอันนี้ ชอบอันนี้ เกลียดอันนี้ ชอบอันนี้ เกลียดอันนี้ อยู่อย่างนี้เรื่อยๆนะ ไม่เป็นกลางหรอก เราจะไม่สามารถเห็นความจริงได้

ยกตัวอย่างเวลาเราเห็นเขาชกมวยนะ ถ้าเราเชียร์ข้างไหนนะ เราจะรู้สึกเองแหละว่านักมวยของเราชกเก่ง ชกถูกนะ แต่กรรมการไม่เห็น อะไรอย่างนี้ หรือเชียร์บอลล์ เราเชียร์ฝั่งหนึ่งนะ อีกข้างหนึ่งแฮนด์บอลล์แล้วแต่กรรมการไม่เห็นน่ะ แหมเราเห็นชัดกว่ากรรมการอีก อยู่ห่างตั้งหลายสิบเมตรนะ แหมเห็นได้ใกล้เคียงได้ชัดเจน อะไรอย่างนี้ เนี่ยอคติล่ะ

เพราะฉะนั้นถ้าใจของเราเป็นกลางจริงๆ เราจะเห็นทุกอย่างตรงตามความจริง ถ้าใจเราไม่เป็นกลางเราจะเห็นแบบมีอคติ ลำเอียงเพราะรักก็ได้ เพราะชอบคนนี้ ลำเอียงเพราะเกลียดก็ได้ ลำเอียงเพราะกลัวก็ได้ ลำเอียงเพราะหลงก็ได้ หลงก็ทำให้ลำเอียงได้

ยกตัวอย่างบางยุคนะ บ้านเมืองมีหลายอุดมการณ์ เราลำเอียงเพราะหลง คือเราชอบอันนี้ ชอบอุดมการณ์นี้ ไม่ชอบอุดมการณ์นี้ ไอ้ข้างนี้พูดอะไรเราเห็นด้วยหมดเลย ไอ้ข้างนี้พูดอะไรเราไม่เห็นด้วยหมดเลย ทั้งๆที่เราไม่สนใจเลยว่า ข้อมูลที่แท้จริงคืออะไร นี่ล่ะ ลำเอียง ความลำเอียงมันเกิดขึ้นตลอดเวลา

ใจของเราต้องถอนตัวออกมาให้ได้นะ จากสถานการณ์ตอนนั้น ถอนตัวออกมาเป็นแค่คนดู เราไม่ใช่คู่ชกของนักมวย เราไม่ใช่คู่แข่งขันของนักฟุตบอล เราเป็นคนดู เป็นกรรมการ เป็นคนดูเฉยๆ ใครจะแพ้ใครจะชนะ ไม่สำคัญ เราเป็นแค่คนดู เนี่ยถ้าถอนตัวออกมาเป็นคนดูที่ซื่อตรงได้นะ เราจะเห็นความจริงทุกอย่างได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนะ เพราะฉะนั้นตัวใจที่ถอนตัวออกมาเป็นคนดูได้เนี่ยสำคัญมากเลย เนี่ยแหละคือสมาธิที่แท้จริง สมาธิที่ใช้เดินปัญญา

ส่วนสมาธิที่เขาฝึกกันส่วนใหญ่ ที่นั่งแล้วเห็นโน้นเห็นนี้นะ อันนั้นมีมาก่อนพระพุทธเจ้า สมาธิอย่างนั้นไม่ได้เอาไว้เดินปัญญา หลวงพ่อก็ทำเป็น ตั้งแต่เจ็ดขวบก็ทำได้แล้ว นั่งสมาธินะ แล้วออกเที่ยวสวรรค์เที่ยวอะไรนะ แต่นรกไม่ไป เรื่องอะไรจะไป ไปก็ไปดูของสวยสิ ใช่มั้ย ไปดูของไม่สวยไปดูทำไม นั่งสมาธิทีแรกก็ไม่ได้ไปไหนหรอก นั่งสมาธิรู้ลมหายใจนะ ลมยาว.. หายใจอยู่ไม่นาน ลมก็ตื้นๆตื้นๆ ละเอียดนะ ถ้าไม่สองสามวันก็อาทิตย์หนึ่ง จำไม่ได้แล้ว ลมหายใจกลายเป็นแสงสว่าง แต่แสงสว่างนั้นแทนที่ใจจะอยู่กับแสงนะ แล้วก็สงบเข้าฌงเข้าฌาน ไม่ไปหรอก มีแสงขึ้นมาแล้วเกิดสนใจ อยากดูสวรรค์อะไรอย่างนี้ ฉายแสงออกไปเหมือนสป็อตไลต์ จิตก็ตามแสงออกไปเลย แล้วนิมิตรมันเกิดน่ะ เห็น เห็นจริงๆ แต่ของที่ถูกเห็นนั้น จริงหรือไม่จริง ไม่รู้หรอก จิตของเราอาจจะหลอนเอาทั้งหมดเลยก็ได้ เชื่อถือไม่ได้หรอกนะ ใจไหลออกไป สมาธิอย่างนี้ ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานเลย เป็นสมาธิที่ออกไปข้างนอก ไปเพลิดเพลินกับโลกภายนอก หรือโลกในจินตนาการของตนเอง

ฝันไปเห็นนางกินรอย่างนี้ สังเกตมั้ยคนไทยเวลาเห็นเทวดานะ ก็แต่งตัวแบบคนไทย ไม่เห็นมีเทวดาใส่สูทมาเยี่ยมเลยนะ ทำไมเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่ามันชินอย่างนั้น ทีนางฟ้าที่ไปวาดในโบสถ์นะ นางฟ้าไม่เคยใส่เสื้อเลย อะไรอย่างนี้ ถ้าฝรั่งมีนางฟ้าแต่งตัวแบบนั้นต้องทุกข์ทรมาณมากเลย เพราะมันหนาว ต้องแต่งตัวเยอะๆ ถึงจะเป็นนางฟ้าได้ ผ้ารุงรังอะไรอย่างนี้ มีอะไรเยอะแยะ เนี่ยมันเป็นโลกของจินตนาการนะ จริงเท็จไม่สำคัญหรอก สำคัญคือจิตออกนอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๒ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 1712345...10...Last »