Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ควรทำเช่นไรในยุคที่ข่าวสารพาให้ใจร้อนวุ่นวาย ?

ควรทำเช่นไรในยุคที่ข่าวสารพาให้ใจร้อนวุ่นวาย ?

เป็นชาวเมืองก็อย่างนี้แหละครับ
พอมีเหตุมีเรื่องวุ่นวายยุ่งยาก จิตใจก็ย่อมปรุงแต่งไปตามเหตุตามปัจจัย
การภาวนาจึงมาอยู่ตรงที่ ภายนอกสำรวมกายวาจาไว้
ภายในก็หัดรู้สภาวะที่กำลังปรากฏไปเรื่อยๆ

ส่วนการติดตามข่าวสารก็ยังจำเป็นนะครับ
ชาวเมืองอย่างเราๆจะตัดการรับรู้ข่าวสารไม่ได้หรอกครับ
แต่ให้มีสติในการติดตามข่าวสารด้วยนะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๒) ไม่คลุกคลี

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๒) ไม่คลุกคลี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่คลุกคลี กายวาจาใจของเรานะอย่าไปคลุกคลีกับคนอื่นมาก วุ่นวายอยู่กับคนอื่นมากเนี่ย เสียเวลา เนิ่นช้าแน่นอน บางคนภาวนานะ ห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ อย่างนิสัยพระโพธิสัตว์ถึงได้เนิ่นช้า อย่างนั้นต้องเป็นอสงไขยแสนมหากัปป์อะไรอย่างนี้นะ หลายๆอสงไขย มันห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ มันก็คลุกคลไปเรื่อย มันอยากไปช่วยเขานะ

เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากพ้นทุกข์เร็วๆนะ อย่าคลุกคลีมาก คลุกคลีเท่าที่จำเป็น ไปกินเลี้ยง เลี้ยงลูกค้า เป็นการคลุกคลีมั้ย ไม่ใช่นะ เป็นการทำหน้าที่ พาลูกน้องไปเลี้ยง ไม่ได้เรียกว่าคลุกคลีนะ เป็นการทำหน้าที่ คลุกคลีหมายถึง ไม่จำเป็นอะไรเลยก็ไปยุ่งกับคนอื่นตลอดเวลา ว่างๆไม่มีอะไรนะก็ขับรถไปคุยกับเขา รถติดมากก็โทรฯไปคุยกับเขา อะไรอย่างนี้ อยู่ไม่ได้ อยู่เฉยไม่ได้ ไม่มีใครคุยด้วยก็เข้าห้องแชต คุยกับหมากับแมวที่ไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน วุ่นวายอยู่กับคนอื่น วุ่นวายอยู่กับสิ่งอื่นตลอดเวลา ใจออกนอกตลอดนะ อย่างนี้ภาวนาอย่างไรก็เนิ่นช้า

นี่พวกเรามาสำรวจตัวเองนะ เรามักน้อยมั้ย เราสันโดษมั้ย เราคลุกคลีกับคนอื่นเกินจำเป็นมั้ย หลวงพ่อไม่คลุกคลีนะ แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่เป็นโยม ทำงานทำเต็มที่นะ ถ้าหมดเวลางานของเราแล้วนะ ไม่มีธุระต้องไปเลี้ยงต้องไปอะไรอย่างนี้นะ ไม่มีธุระแล้วเนี่ย กลับบ้าน อาบน้ำอาบท่านะ พักผ่อนพอมีเรี่ยวมีแรง ก็ภาวนา มันก็ไม่ช้าหรอก ถ้าคลุกคลีมากก็ช้า

ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ดูจิต ดูความหิว เพื่อสุขภาพ

ดูจิต ดูความหิว เพื่อสุขภาพ

ถาม : ความหิวเป็นวิญญาณขันธ์ใช่หรือไม่ครับ เราจะภาวนาโดยใช้การพิจารณาความหิว(ท้องหิว)ได้หรือไม่
ถ้าน้ำหนักเราเกินพอดีอยู่ และได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอแล้ว 

ตอบ : ความหิวไม่ใช่วิญญาณขันธ์ครับ แต่วิญญาณขันธ์เป็นตัวไปรู้ความหิว
เมื่อหิวก็มาดูตามจริง (ไม่ใช่คิดๆเอา) ว่า ร่างกายจำเป็นต้องได้อาหารหรือไม่
ถ้าต้องการก็ทานอาหารไปตามปกติและตามปริมาณที่สมควร
ไม่ใช่ทานอาหารไปเพราะความอยากทาน
เมื่อรู้สึกอยากทานอาหาร และไม่ใช่เวลาที่ร่างกายต้องการอาหารตามปกติ
ก็ให้มาหัดดูจิตที่อยากทานอาหารไปนะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๑) มักน้อย สันโดษ

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๑) มักน้อย สันโดษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราปฏิบัติธรรมได้ตามที่พระพุทธเจ้าสอน เราจะพ้นทุกข์ในเวลาที่ไม่ช้าเกินไป เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ไม่เนิ่นช้า มันอยู่ที่ตัวเราเองว่าจะเนิ่นช้าหรือไม่ช้า

ถ้าเราไม่อยากจะเนิ่นช้านะ อันแรกคือ ก็มาปรับพฤติกรรมของตัวเอง ปรับจิตใจของเราเองนะ ให้มันเหมาะกับการปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักคำว่ามักน้อย ต้องรู้จักคำว่าสันโดษ ต้องรู้จักคำว่าวิเวก ไม่คลุกคลี ต้องรู้จักการปรารภความเพียร ต้องรู้จักการเจริญสติ การเจริญสมาธิ การเจริญปัญญา ถ้าเรารู้จักในสิ่งเหล่านี้แล้ว เราจะไม่ช้าหรอกนะ

มักน้อยเป็นอย่างไร มักน้อยหมายถึง มีความต้องการน้อย ยกตัวอย่างพระ พระต้องมักน้อย พระมีอาหารมากเฉพาะวัดนี้นะ บางวัดอาหารไม่ถูกปาก คือไม่มีอะไรเข้าปากเลย อดๆอยากๆ มักน้อยหมายถึงว่า ฉันเท่าที่ร่างกายจะอยู่ได้ อย่างนี้เรียกว่ามักน้อย มักมากหมายถึงว่า เท่าไหร่ก็ไม่พอใจ อยากได้เยอะไม่มีที่สิ้นสุดเลย

สันโดษหมายถึงอะไร สันโดษหมายถึงว่า ยินดีพอใจ ในสิ่งที่ได้มา ฆราวาสเนี่ย สันโดษ แต่อาจจะไม่ต้องมักน้อยแต่ต้องสันโดษ ตัวพระนี่ต้องมักน้อย ต้องสันโดษ

มักน้อย มีความปราถนาน้อย คือ ต้องการอะไร ต้องการแค่ Basic Minimum Need เท่านั้นเอง ที่คนเราต้องการ พวกเราอาจจะมากกว่านั้นนิดหน่อย ที่ในหลวงพูดคำว่า “พอๆ” นะ ก็คือคำว่ามักน้อย

ทีนี้ฆราวาสอยากรวยได้มั้ย อยากรวยได้ ไม่ต้องมักน้อยแบบพระ อยากรวยก็ได้ แต่อยากมีเมียหลายคนไม่ได้ ผิดศีล อยากรวยได้ เช่นตั้งเป้าหมายว่าปีนี้เราจะทำกำไรสัก ๕ ล้านบาท ตั้งใจไว้อย่างนี้ แล้วลงมือทำเต็มที่เลย ได้ ๑๐ ล้านบาท เราก็พอใจแล้ว เราได้ทำเต็มที่แล้ว ได้มา ๑๐ ล้านบาท หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ทำเต็มที่สุดฝีมือแล้ว ได้มา ๕ ล้านบาท พอใจแล้ว ยินดีพอใจมีความสุขแล้ว ที่ได้ทำงานนะ ก็พอใจ หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ได้ ๑ ล้านบาท หรือขาดทุน พอใจแล้ว มีความพอใจแล้ว คือ ได้ทำเต็มทีทำสุดฝีมือแล้ว มีความสุขที่ได้ทำงานแล้ว นี่เรียกว่าสันโดษนะ มีความสุขพอใจแล้ว ที่ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเต็มที่เต็มฝีมือแล้ว ไม่ได้ละเลย แต่มันได้แค่นี้แหละ

บางคนทำบริษัทฯ กำลังดีๆ ค้าขายกำลังดีๆ เขาเผาบ้านเผาเมือง เผาบริษัทฯเราไปด้วยอะไรอย่างนี้ ทำอย่างไรล่ะ ทำอะไรไม่ได้ ถูกเผาไปแล้วนะ ก็ยังพอใจ ยังเหลือชีวิตรอดอยู่กับประสบการณ์ หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ไม่มีอะไรเหลือแล้ว ก็ยังเหลือชีวิตอยู่กับประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์ชีวิตแพงนะ เป็นทรัพยากรที่แพงมากเลย พวกเราบางคน ลำบากยากจนลงอะไรเนี่ย อย่าไปนึกว่าเรากลับไปที่ศูนย์ เราไม่ได้กลับไปที่จุดตั้งต้นที่ศูนย์หรอก ตราบใดเรายังมีชีวิตอยู่ ทุกคราวที่เกิดปัญหาชีวิตนะ ก็คือการได้ประสบการณ์มาแล้วนะ

มีความมักน้อยนะ คือปราถนาน้อย มีความสันโดษ ยินดีพอใจตามมีตามได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เทคนิคการเริ่มหัดดูจิตโดยใช้วิหารธรรม

เทคนิคการเริ่มหัดดูจิตโดยใช้วิหารธรรม

ถาม : เวลาเริ่มนั่งให้เริ่มดูที่จิตเลยหรือเปล่าคะ หรือเริ่มที่วิหารธรรม ก่อน ตอนนี้รู้ว่าติดว่า ความพอดีอยู่ที่ไหน หรือว่าหนูต้องลองเองเรื่อยๆจนจำได้ว่า ความพอดีมันอยู่ตรงนี้เอง เพราะถ้าเป็นอย่างนี้จริง หนูจะสงสัยว่าทำไมบางครั้งตามรู้อยู่แต่ก็ไม่เบิกบาน ขันมันจะยึดรวมกันให้ได้คะ เพราะความเข้าใจในระดับน้อยๆของหนูตอนนี้คือ ถ้าหนูจับหลักถูก หนูก็จะรู้อย่างเบิกบานทุกครั้ง ถึงไม้เวลา จิตจะไปหมายรู้ทุกหรือสุขเข้า แต่ปัญหาคือ มันไม่ได้เบิกบานทุกครั้งสิคะ ขันธ์มันไม่แยกกัน

ตอบ : เริ่มนั่งก็ทำใจให้สบายๆ แล้วมารู้อยู่กับวิหารธรรมที่เลือกใช้ไป
ที่สำคัญนั่งแล้วอย่าทำให้เกิดสภาวะเกิดอาการตามที่คิดว่าจะเกิด
เช่น อย่าไปคิดว่านั่งแล้วต้องเบิกบาน พอไม่เบิกบานก็ออกแรงหาทางทำให้เบิกบาน
ถ้าทำแบบนี้ก็เท่ากับ ทำตามความอยากทำตามตัณหา
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า ให้ทำตามตัณหาเพื่อจะพ้นทุกข์
แต่บอกว่า ให้ละตัณหาซึ่งเป็นสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เพราะฉะนั้น นั่งแล้วจิตจะเป็นอย่างไร ก็ให้เพียง แค่รู้แค่ดู
แค่รู้แค่ดูก็เพื่อให้เห็นว่า จิตไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

องค์ธรรม ๕ ประการ ที่ทำให้สำเร็จง่าย

mp 3 (for download) : องค์ธรรม ๕ ประการ ที่ทำให้สำเร็จง่าย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีองค์ธรรม ๕ ประการของคนภาวนานะ ถ้ามีครบ ๕ ประการก็สำเร็จง่าย อันแรกมีศรัทธา ต้องศรัทธาในพระพุทธเจ้า ศรัทธาในพระธรรมในพระสงฆ์ ไม่ใช่ศรัทธาพระองค์นั้นองค์นี้นะ เวลาศรัทธาเนี่ย ต้องศรัทธาพระพุทธเจ้าเป็นหลักไว้

นอกจากมีศรัทธา เชื่อมั่นว่าคำสอนของท่านจะพาให้พ้นทุกข์ได้ สุขภาพต้องดีพอ ถ้าจะมาเริ่มภาวนาตอนอัลไซเมอร์กินแล้วเนี่ยนะ ไม่ได้ผลแล้ว สุขภาพต้องพอแข็งแรงพอประมาณ แต่ไม่่ใช่ฟิตเปรี๊ยะ วิ่งร้อยเมตรใน ๙ วินาที ไม่จำเป็นหรอก ถ้าสุขภาพไม่ดี ภาวนายาก ใจมันกังวล ไม่มีแรง ยิ่งโรคบางอย่างนั่งแล้วเบลอ เบลอๆทั้งวัน ภาวนาลำบาก งั้นพวกเรารีบภาวนาตั้งแต่ยังแข็งแรงอยู่ แต่ถ้าเราภาวนาจนชำนาญตั้งแต่แข็งแรงแล้ว ต่อไปเป็นโรคนะ เบลอๆ(ก็)ยังภาวนาได้นะ เป็นโรคอะไรก็ยังภาวนาของเราอยู่ได้ ไม่ลำบาก

นอกจากนี้ก็ต้องอะไรนะ อ้อ ซื่อๆ เนี่ยเพราะเพิ่งเทศน์ให้ฟังตะกี๊นี่เอง ต้องซื่อนะ แต่ละคนชอบปั้น ปั้นหน้า ใส่หน้ากาก หลอกตัวเองก่อน แล้วหลอกคนอื่นทีหลัง อย่างนี้ภาวนายาก เพราะเรามองไม่เห็นกิเลส กิเลสซ่อนหมดเลย งั้นนึกว่าเราเป็นคนดี งั้นอย่างหลวงพ่อถามเวลาส่งการบ้าน เห็นกิเลสอย่างโน้น เห็นกิเลสอย่างนี้ เอ้อหลวงพ่อว่าอย่างนี้ดีนะ ถ้าเห็นกิเลสได้วันนึงก็สู้กิเลสได้ ไม่เห็นนะมันสู้ไม่ไหวหรอก กิเลสเอาไปกินหมด ซื่อๆ ภาวนาไม่ดี ก็รู้ว่าไม่ดีนะ จะถามครูบาอาจารย์ก็อย่าใส่หน้ากากมาถาม ถ้าถามซื่อๆนะ แบบ เรามีกิเลสอย่างนี้ เราจะสู้ยังไง จนมุมแล้วยังไม่รู้จะช่วยตัวเองได้ไง อย่างนี้ครูบาอาจารย์เต็มใจช่วยเลย ซื่อๆนะ ต้องเรียนกันด้วยใจจริงๆเลย เรียนด้วยจิตใจที่เสแสร้ง ใส่หน้ากาก ไม่ได้ผลหรอก ต้องซื่อๆ

ถัดจากนั้นก็ต้องขยัน ปรารภความเพียร พูดภาษาสมัยใหม่นะก็คือทำในรูปแบบด้วย ไม่ทำในรูปแบบเลยนะ จิตใจก็จะย่อหย่อน สมาธิก็จะตก ถึงจุดหนึ่งภาวนาไม่ได้จริง งั้นแบ่งเวลาทำในรูปแบบไว้ทุกวันนะ ๑๐ นาทีก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย เบื้องต้นหลวงพ่อขอ ๑๐ นาทีเท่านั้นแหล่ะ พอ ๑๐ นาทีเราทำได้ชำนิชำนาญ มีความสุขที่ได้ทำนะ มันเพิ่มเองนะ เดี๋ยวนี้ใครเคยนั่งภาวนา หรือเดินจงกลม รวมๆแล้ววันนึงได้ชั่วโมงนึงบ้างมีมั้ย ยกมือซิ นี่ชักเยอะแล้วนะ ถูกหลอกมาตั้งแต่ ๑๐ นาทีนั่นแหล่ะ ถ้าหลวงพ่อสตาร์ทที่หนึ่งชั่วโมง พวกเราถอยไปหมดแล้ว พวกเราไม่มีแรง วันๆก็เหนื่อยจะตายแล้ว ยังจะมาเกณฑ์ให้ภาวนาอีก แค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว แต่พอเราหัดวันละเล็กวันละน้อยนะ ชำนิชำนาญขึ้นมา ภาวนาแล้วมีความสุข ขยันน่ะ ยิ่งเพิ่มขึ้นๆเรื่อยๆเลยนะ

นอกจากปรารภความเพียร ทำในรูปแบบนะ เจริญปัญญา นี่ข้อ ๕ ข้อ ๑ มีศรัทธา ข้อ ๒ มีสุขภาพที่พร้อม ไม่ถึงขนาดต้องแข็งแรงเต็มที่หรอก แล้วก็ซื่อๆ ไม่เสแสร้ง ไม่โอ้อวด แล้วก็ขยันภาวนา ทำในรูปแบบทุกวัน เด็ดเดี่ยว จะปวดจะเมื่อยยังไงก็ต้องทำ

เนี่ยหลวงพ่อพุธ ท่านเคยเล่าว่ามีพระนะ ท่านตั้งใจเดินจงกลมทุกวัน ท่านเดินๆไปแล้วท่านเดินไม่ไหว เท้าท่านแตกหมดแล้ว ท่านคลาน คลานจงกลม คลานไปคลานมานะ มือก็แตกหัวเข่าก็แตกแล้วนะ กระดุกกระดิกไม่ได้นะ ท่านนั่งขยับไปขยับมานะ ลงนอนก็นอนพลิกไปพลิกมา คนก็รู้สึกโอ้พระองค์นี้ อาการหนักแล้ว นอนกระสับกระส่าย ความจริงท่านนอนพลิกไปพลิกมานะ ท่านพยายามรู้สึกตัว เนี่ยเด็ดเดี่ยวจริงๆ

นี่ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟัง บอก ให้เอาเป็นแบบอย่าง เนี่ยมีความเพียร ข้อ ๕ ก็คือ ต้องเจริญปัญญา มีความเพียรแบบวัวแบบควาย ไม่ได้ ต้องเจริญปัญญา พอเราพากเพียรไปแล้ว จิตเราสงบ จิตเราตั้งมั่นแล้วนะ ต้องเจริญปัญญาด้วยการแยกธาตุแยกขันธ์ เห็นกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนรู้ จิตใจเคลื่อนไหวก็คอยรู้เอานะ อะไรเกิดขึ้นสุขทุกข์ดีชั่วเกิดขึ้น คอยรู้เอา

มันรู้ได้ทุกคนแหล่ะ แต่ละเลยที่จะรู้ ไม่ใช่รู้ไม่ได้ ความโกรธเป็นไง ทุกคนก็รู้ เพียงแต่ตอนโกรธเนี่ย มัวแต่ดูคนที่ทำให้เราโกรธ ไม่ดูใจที่กำลังโกรธ แค่นั้นเอง เวลารักขึ้นมา ทุกคนก็รู้ว่าความรักเป็นยังไง ความโลภเป็นยังไงเราก็รู้ แต่เวลาเรารักเราโลภขึ้นมานะ เราไปคิดถึงคนที่เรารัก เราไม่รู้ว่าใจกำลังรักอยู่ ถ้ารู้ว่าจิตกำลังรักอยู่ นี้เราก็ภาวนาแล้ว มันต่างกันนิดเดียวเอง

คนที่ไม่ภาวนาเค้าดูออกนอก ไปดูคนอื่นไปดูสิ่งอื่น ผู้ภาวนานะรู้ทันจิต รู้ทันใจของตัวเอง ก็แค่นั้นเอง ไม่ได้วิเศษวิโสลึกลับซับซ้อนอะไรหรอก ไม่ยาก ทุกคนรู้จิตใจตัวเองได้อยู่แล้ว แต่ไม่รู้ ไม่ยอมรู้เท่านั้นเอง

งั้นดูบ่อยๆนะ นี่เรียกว่าเจริญปัญญา แยกธาตุแยกขันธ์ แยกรูปแยกนามเรื่อยไป ถึงวันนึงมันก็แจ้งขึ้นมา ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ไม่ใช่ตัวเรา กุศลอกุศลไม่ใช่ตัวเรา จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ไม่ใช่ตัวเรา นี่ถ้าทำได้ ๕ อย่างนะ ๕ อย่างนี้แล้วก็ไปรอด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
Track: ๓
File: 540716B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การแทรกแทรงในการภาวนาเป็นเช่นไร?

การแทรกแทรงในการภาวนาเป็นเช่นไร?

คำว่าแทรกแซง หมายถึง พอเกิดสภาวะใดขึ้นแล้วเราไม่ได้เพียงแค่รู้แค่ดูไปเท่านั้น
แต่จะหาทางทำให้สภาวะนั้นเป็นไปตามที่เราคิดอยากให้เป็น
เช่น พอสัญญาทำงานแล้วเห็นอาการริ้วๆขึ้นมา
ถ้าเราแค่รู้แค่ดูไปแล้วอาการริ้วๆนั้นหายไปเอง ก็ไม่ใช่การแทรกแซงครับ
หรือพอฟังซีดีหลวงพ่อ(เทศน์)แล้วเกิดปิติขนลุกอยากร้องไห้
ถ้าเราแค่รู้แค่ดูไปก็ไม่เป็นการแทรกแซงครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยากทำได้ให้ถามหญิงต่ำหูก อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย

กาmp 3 (for download) : อยากทำได้ให้ถามหญิงต่ำหูก อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้เรื่องมั้ย คอยดูนะ คอยดูเอา ไม่ยากหรอก เชื่อหลวงพ่อสิ ถ้ายากก็ไม่มีใครเขาทำได้หรอก ทางอีสานนะ โย เขามีคำพังเพย คำสอนโบราณ เขาบอกว่า.. สำเนียงไม่เหมือนนะ สำเนียงไม่ถูกนะ แต่ว่าภาษาเขาบอกว่า “อยากทำได้ให้ถามหญิงต่ำหูก อยากทำถามเด็กเลี้ยงควาย คนหลายคนกินน้ำบ่อเดียว เดินทางเดียวไม่เหยียบรอยกัน”

อยากทำได้ถามหญิงต่ำหูก หญิงต่ำหูกคือผู้หญิงทอผ้า อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย ดูสิ เออ.. ฟังแล้วงงๆมั้ย เอาไปคิดเองมั้ย โอ๊ะ..เดี๋ยวนี้ทำไมขี้เกียจทำการบ้านเนาะ

อ้อ.. คนนี้ไม่ได้บ้านอยู่ไกลนะ อยู่ภูเขานี่เอง “อยากทำได้ถามหญิงต่ำหูก” ผู้หญิงทอผ้าไม่ใช่สาวฉันทนาตามโรงงานนะ พวกนั้นไปถามมันไม่รู้เรื่องหรอก เคยเห็นผู้หญิงทอผ้าแบบโบราณมั้ย ที่นั่งใช้กี่กระตุกอย่างนี้ กระตุกๆไปเรื่อย กระตุก เอาฟืมกระแทก

สังเกตดู เวลาเขาทอผ้าเนี่ย เขาจะรู้อยู่เฉพาะหน้า เขาไม่ว่อกแว่กไปที่อื่น นึกออกมั้ย คำว่าถามผู้หญิงทอผ้าก็คือ ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน รู้กายรู้ใจอยู่กับปัจจุบันนั้นเอง แล้วการทอผ้าก็ไม่ใช่ทอทีเดียวเสร็จใช่มั้ย ไม่ใช่กระแทกทีเดียวเสร็จ เขาทำซ้ำๆ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นแหละ จนกว่าจะได้ผ้าทั้งผืนยาวๆนี่กระแทกไปไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้ง หมายถึงว่าให้เราตามรู้ตามดูเนืองๆ ดูไปเรื่อยๆ นะ ไม่ต้องรีบร้อนนะว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ กรรมฐานเนี่ยทำกันทั้งชาติเลย ตามรู้ตามดูจิตใจของเราไปเรื่อย รู้เฉพาะหน้าอยู่อย่างนี้ รู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก นี่ถามผู้หญิงทอผ้าเป็นอย่างนี้

ดีแล้ว อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย พวกเราชอบมาถามว่า ที่ทำอยู่นี่ถูกมั้ยคะ อย่ามาถามหลวงพ่อนะ หลวงพ่อไม่ใช่เด็กเลี้ยงควาย หรือถาม จะทำยังไงถึงจะถูก โน่น ไปถามเด็กเลี้ยงควายเอา ถ้าไปถามเด็กเลี้ยงควายมันจะตอบว่าไง “ไม่รู้ ทำไม่เป็นหรอก ทำไม่ได้หรอก” นี่แหละสุดยอดกรรมฐานเลย

รู้อยู่เฉพาะหน้า อย่าทำอะไรขึ้นมาอีกนะ ไม่ใช่ว่า จะทำยังไง จะเอาจิตไปตั้งไว้ที่ไหนดี เด็กเลี้ยงความไม่คิดแล้วนะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดมากนะ รู้ลงไปตามที่เขาเป็นเลย ไม่ต้องหาทางทำให้ถูกนะ รู้ว่ามันผิดเมื่อไหร่ มันถูกเมื่อนั้นแหละ เพราะฉะนั้นที่ถูกนะ ไม่มีทางทำได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณอรัญวาสี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘ หลังฉันเช้า


สวนโพธิญาณอรัญวาสี
CD: สวนโพธิญาณอรัญวาสี แผ่นที่ ๙
Track: ๒
File: 480529B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๑ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๕๕ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การอุทิศส่วนกุศล

การอุทิศส่วนกุศล

ถาม : หลังจากนั่งสมาธิ หรือสวดมนต์เสร็จ จำเป็นต้องอุทิศส่วนกุศลไหม
บางท่านแน้นส่วนนี้มาก ว่าการอุทิศส่วนกุศลจะทำให้เจ้ากรรมนายเวรของเรานั้นอโหสิกรรมให้เราเร็วๆ

.
ตอบ : จำเป็นไหม?
ไม่จำเป็นครับ

แต่ถ้าถามว่าควรทำไหม?
ต้องมาดูว่าจะทำเพื่อประโยชน์อะไร
ถ้าทำเพื่อให้จิตเป็นกุศลจากการทำสิ่งที่เป็นกุศลก็ควรทำ
แต่ถ้าเพียงเพื่อหวังว่าทำแล้วตัวเองจะรอดพ้นจากวิบากกรรม
ที่ต้องได้รับเพราะเคยทำกรรมไม่ดีไว้ อันนี้ก็ไม่ควรทำ
เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครทำกรรมอะไรไว้แล้วจะไม่ได้ผลของกรรมนั้น
เพียงเพราะการกุทิศส่วนกุศลครับ

ส่วนเรื่อง อโหสิกรรม นั้น
เป็นการที่จิตใจไม่ถือโทษอีกฝ่ายจนต้องมาผูกพยาบาทกันต่อไป
แม้จะอโหสิกรรมกันแล้ว แต่คนที่ทำกรรมไม่ดี
ก็ยังต้องได้รับของกรรมไม่ดีที่ได้ทำไว้นะครับ
และทางที่ดีผมคิดว่า เรามีใจ อโหสิกรรม ให้ผู้อื่นเอาไว้จะดีที่สุดครับ
เพราะจะเป็นการทำจิตเราเองให้ถึงพร้อมด้วยกุศล
และพร้อมจะปฏิบัติภาวนาเพื่อความพ้นทุกข์ต่อไปได้

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : ลพ.อินทร์ถวาย เข้าเยี่ยม คุณแม่จันดี ที่ รพ. บำรุงราษฎร์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555

ลพ.อินทร์ถวายฯ นำคณะเข้าเยี่ยมอาการป่วย เนื่องจากโรคไตเรื้อรัง ของคุณย่าจันดี โลหิตดี(น้องสาวแท้ๆขององค์ลต.มหาบัว ญาณสัมปันนโน)
ลพ.อินทร์ฯบอกแก่คุณย่าว่า” ให้ทรงธาตุขันธุ์ เพื่อช่วยกันสร้างเจดีย์หลวงตาฯที่วัดป่าบ้านตาดให้สำเร็จก่อนนะคุณแม่ ประมาณ 2 ปีเอง”
คุณย่ายกมือประนมพร้อมกล่าวว่า”สาธุ”
(คุณย่าต้องการพักผ่อนมากๆ ไม่ควรเข้าเยี่ยมมาก แต่หากจะเข้าเยียมไม่ควรเกินเวลา 18.45 น. )

การเข้ารับการรักษาของคุณแม่จันดีจำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ทราบมาว่าทุกวันนี้ก็ได้มาจากผู้มีจิตศรัทธามาบริจาคกันที่ รพ. 

ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ที่ มีจิตศรัทธาที่เคารพในหลวงตามหาบัว คุณแม่จันดี หลวงพ่ออินทร์ถวาย และหลวงพ่อปราโมทย์ ได้ร่วมใจกันดูแลอุปัฏฐาก

คุณแม่จันดีผู้ซึ่งหลวงตาฯได้รับรองคุณธรรมแล้ว กันด้วยเทอญ

กราบขออนุโมทนากับทุกท่านครับ ^/\^

สำหรับผู้ไม่สะดวกไปสามารถร่วมบริจาคได้ที่ บช.ออมทรัพย์ ธ.กรุงเทพ สาขาอุดรฯ 284-7-40422-1 ชื่อบช. นางจันทน์ดี พิมพ์สี (ชื่อตามบัตรปชช.ของคุณแม่)

กรุณาคลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย

  

  

 ขอขอบคุณ Facebook  วัดป่านาคำน้อย(ลพ.อินทร์ถวาย สันตุสสโก) สำหรับข่าวสารและภาพ

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณแม่จันดี >>>

Dhammada News : แจ้งข่าวคุณแม่จันดี มารับการรักษา ณ รพ.บำรุงราษฎร์

.

.
.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิดนั่นแหละจึงรู้

mp 3 (for download) : คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิดนั่นแหละจึงรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีที่ใจจะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เนี่ย หนีไม่พ้นการดูจิตหรอก

ถึงจะหัดพุทโธๆนะ ก็ต้องรู้ทันจิต ถึงจะรู้ลมหายใจก็ต้องรู้ทันจิต ถึงจะดูท้องพองยุบก็ต้องรู้ทันจิต ถ้าไปรู้พุทโธ ถ้าไปรู้ลมหายใจ ถ้าไปรู้ท้อง ก็ได้สมถะ ได้จิตที่ไปแนบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพราะฉะนั้นการดูจิตเนี่ย จะชอบหรือไม่ชอบ ก็ต้องดูจิต ไม่งั้นเราจะไม่ได้จิตที่เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขึ้นมา

วิธีที่เราจะได้ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นะ เราก็ทำกรรมฐานเหมือนเดิม แต่เรารู้ทันจิต แต่เดิมเราพุทโธให้จิตสงบอยู่กับพุทโธ หายใจให้จิตสงบอยู่กับลมหายใจ ดูท้องพองยุบให้จิตไปอยู่ที่ท้อง สงบอยู่ที่ท้อง เดินจงกรมให้จิตสงบอยู่ที่เท้า เมื่อก่อนเราทำสมาธิกันแบบนี้

เดี๋ยวนี้เอาใหม่ เราพุทโธๆ จิตหนีไปคิด เรารู้ทัน จิตไปเพ่งจนกระทั่งจิตนั้นนิ่งๆอยู่ เรารู้ทัน หายใจอยู่ จิตหนีไปคิด เรารู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ เรารู้ทัน เนี่ยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เคลื่อนไปคิดกับเคลื่อนไปเพ่ง

การเคลื่อนไปของจิตนั้น เคลื่อนได้สองแบบเท่านั้นแหละ เคลื่อนไปคิดกับเคลื่อนไปเพ่งนะ เป็นหลักๆเลย ส่วนเคลื่อนไปดู เคลื่อนไปฟัง เคลื่อนไปดมกลิ่น เคลื่อนไปลิ้มรส อะไรเนี่ย มีน้อย ส่วนใหญ่ก็เคลื่อนไปคิด แต่พอคิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็เคลื่อนไปเพ่ง ให้เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปเคลื่อนมานี่แหละ แล้วอย่าไปบังคับมัน อย่าไปห้ามมันนะ ทันทีที่เรารู้ว่าจิตเคลื่อน จิตจะตั้งมั่นอัตโนมัติขึ้นมา

เนี่ยครูบาอาจารย์หลายองค์เลย ท่านสอนลงมาตรงจุดนี้ แต่ท่านไม่ได้พูดด้วยสำนวนที่หลวงพ่อพูด ท่านพูดด้วยสำนวนของท่าน แต่ละองค์ๆ บางทีเราคนละยุคคนละสมัย เราฟังยาก

ยกตัวอย่างหลวงปู่ดูลย์บอก “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ก็อาศัยคิด” เนี่ย ฟังแล้วเหมือนปริศนาธรรมนะ ความจริงแล้วท่านพูดตรงๆเลย ขณะที่คิดไม่รู้ ขณะที่รู้ไม่ได้คิด แต่ต้องปล่อยให้จิตคิด ไม่ใช่ห้ามจิตไม่ให้คิด

พอจิตคิดไปแล้วจิตก็เคลื่อน พอจิตเคลื่อนเราก็รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่น ตรงที่จิตตั้งมั่น จิตหลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นจิตรู้เนี่ยหลุดออกมาจากโลกของความคิดแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว พระอรหันต์ก็คิด แต่ว่าจิตของท่านไม่เคลื่อน จิตไม่เคลื่อน แต่พวกเราถ้าคิดนะจิตจะไหลเลยนะ เราไม่ห้ามนะ

หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “คิดเท่าไหร่ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด” ก็ให้มันคิดไป แต่คิดแล้วจิตเคลื่อนไปนะ จิตเกิดอะไรขึ้นแล้วคอยรู้ทัน ก็จะเห็นเลย พอรู้ทันว่าจิตเคลื่อน จิตตั้งมั่น

หรือหลวงพ่อเทียนสอนให้ขยับมือ ท่านบอกเขย่าธาตุรู้ ปลุกความรู้สึกตัวขึ้นมา ท่านสอนว่า “เมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ” ต้นทางของการปฏิบัติก็คือจิตที่ตั้งมั่นนั่นเองนะ

เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมาฝึกนะ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ๆ พูดด้วยสำนวนที่แตกต่างกัน ถ้าครูบาอาจารย์รุ่นก่อนจะบอกว่า มีผู้รู้ สมัย ๓๐ ปีก่อน หลวงพ่อเข้าไปหาครูบาอาจารย์ ท่านจะพูดว่า ต้องมีจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ พูดเหมือนๆกันหมดทุกวัดเลย ไปหาองค์ไหนก็บอกให้มีจิตผู้รู้

เราก็ฝึกให้จิตเป็นผู้รู้ จิตเป็นผู้รู้จิตจะหลุดออกจากโลกแห่งความคิด วิธีให้ได้จิตผู้รู้ก็คือ รู้ทันจิตที่ไหลไป ไหลไปคิดรู้ทัน ไหลไปเพ่งรู้ทัน เราก็จะได้จิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา ตรงนี้แหละเป็นต้นทางของการที่จะเจริญปัญญา จะชอบดูจิตหรือไม่ชอบดูจิต ก็ต้องทำตรงนี้

เพราะฉะนั้นพวกเราทุกคน ก็ต้องให้จิตตั้งมั่น ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตหลุดออกจากโลกของความคิด แต่ไม่ได้ห้ามความคิด คิดได้ คิดแล้วรู้ทันว่าจิตเคลื่อนไป จิตก็ตั้งมั่น เวลาลงมือปฏิบัตินะ รู้ลมหายใจ จิตเคลื่อนไปที่ลมหายใจ ให้รู้ทันว่าจิตเคลื่อนไปที่ลมหายใจ จิตก็จะตั้งมั่น ให้รู้ทันจิตที่เคลื่อนนะ จิตจะตั้งมั่น นี่แหละคือการเรียนเรื่องจิต แล้วจิตจะเกิดสมาธิขึ้นมา


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๑
File: 550715.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ความใจลอย

ความใจลอย

ใจลอยเป็นสภาวะตามปกติของทุกคนครับ
จะมาหัดภาวนาหรือไม่หัดก็ใจลอยพอๆกัน
ต่างกันตรงที่คนที่หัดภาวนา จะรู้ตัวได้บ่อยว่าเมื่อกี้ใจลอยไป
แล้วเห็นได้ว่า ใจลอยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ส่วนคนที่ไม่ได้ภาวนาเค้าไม่ได้สนใจเลยว่าใจลอยไป

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยากดูสภาวะให้ละเอียด

mp3 for download: อยากดูสภาวะให้ละเอียด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : พอเห็นเกิดดับรวดเร็วเนี่ยครับ กลับอยากไปดูรายละเอียดของมันนะครับ แล้วก็…แล้วก็หลงไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เอาสินะ

โยม : ครับผม

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้เท่าที่รู้ได้

โยม : แต่ผมบังคับมันไม่ได้ครับ คือ…พอเห็นเกิดดับปุ๊บ ผมก็อยากจะไปดูรายละเอียดครับผม

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอ้อ ให้รู้ว่าอยากเลย ไม่บังคับหรอก ถ้ามันจะดูก็ช่างมันนะ แต่รู้ทันว่าใจอยาก

โยม : ครับ แต่อาการที่เกิดคือ พอพยายามเข้าไปดูครับ จะหลงเลยทันทีครับ แล้วก็หลงนานด้วยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเรารู้ตั้งแต่ต้นทางของมัน ต้นทางคืออยากดู

โยม : ครับผม

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้ารู้ความอยาก ใจก็ไม่ถลำเข้าไปดู ถ้ารู้ไม่ทันถลำไป ห้ามไม่ได้ เพราะใจมันอยาก งั้นดูที่ต้นทางนะ (ดู)ที่ความอยาก นึกออกมั้ย

โยม : นึกออกครับ กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๘
File: 531225B
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๔๓วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จะพ้นทุกข์ได้ต้องเจริญสติปัฎฐานสี่

จะพ้นทุกข์ได้ต้องเจริญสติปัฎฐานสี่

ไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ติดอะไรๆในโลก เป็นเรื่องของสภาวะที่พ้นจากทุกข์ได้แล้ว เป็นผลที่มีเหตุให้เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็ได้แสดงธรรมไว้ชัดเจนแล้วว่า

ทางสายเอกที่จะนำไปสู่ผลที่เป็นความพ้นทุกข์ ละความยินดียินร้ายในโลกเสียได้ ทางนั้นคือ การเจริญสติปัฏฐานสี่

ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าไม่ต้องทำอะไรเลย การยกเอาอะไรก็ตามมากล่าวอ้างเพื่อจะไม่ต้องทำอะไรเลยนั้น เป็นแค่ความเห็นผิดไปจากทางสายเอกเท่านั้น

ซึ่งถ้าหากว่าคนเราไม่ต้องทำอะไรเลยก็หมดความยึดถือได้แล้วละก็ พระพุทธเจ้าก็คงไม่ตรัสบอกหรอกว่า บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๕)

    New Files Uploaded วันเสารที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

  • 550815: สโมสรพุทธธรรมนำทอง เอไอเอ แสดงธรรมเมื่อวันพุธที่ ๑๕ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
  • 550724: วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ แสดงธรรมเมื่อวันอังคารที่ ๒๔ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาแล้วเห็นทุกข์หมายถึงอะไร

mp3 for download: ภาวนาแล้วเห็นทุกข์หมายถึงอะไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : หลวงพ่อคะ ที่หลวงพ่อบอกว่า ภาวนาไปซักพักจะเห็นกายมันเป็นทุกข์ค่ะ ทุกข์ที่ว่าเนี่ย ใช่ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้ม

โยม : แต่หนูมีปัญหาคืิอว่าที่หนูภาวนามาค่ะ ไม่เห็นทุกข์ค่ะ เห็น…ถ้าดูไปที่จิตใจมันจะเห็นจิตใจที่มีความสุขกับเฉยๆค่ะ ก็เลยสงสัยว่า…

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือทุกข์ ตัวทุกข์ ทุกขังนะ มันทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ไม่สบายกายสบายใจ แต่ในนี้มีไม่สบายกายไม่สบายใจ ไม่มี ตัวนี้เป็นทุกขเวทนา ส่วนทุกข์ ทุกข์ในไตรลักษณ์ ทุกขังเนี่ย หมายถึงภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้ สังเกตมั้ยความสุขก็ทนอยู่ไม่ได้

โยม : อันนี้เห็นค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เห็นมั้ย เฉยๆก็ทนอยู่ไม่ได้

โยม : ใช่ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันเนี้ย เห็นทุกข์

โยม : อ๋อ อันนี้เรียกว่าเห็นทุกข์แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอ้อ

โยม : แต่ว่าหนูไม่รู้จักมันเฉยๆใช่มั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่รู้ชื่อมันเท่านั้นน่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๘
File: 531225B
ระหว่างนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๔๕วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เจริญสติโดยการดูกายเคลื่อนไหว

เจริญสติโดยการดูกายเคลื่อนไหว

การดูกายเคลื่อนไหวในการเจริญสติหรือวิปัสสนานั้น
มีหลักว่า ให้ดูโดยไม่เพ่งจ้อง โดยที่จิตไม่ไหลไปแช่อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง
ถ้าจิตเพ่งจ้องหรือไหลไปแช่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่นเพ่งหรือไหลไปแช่ที่มือ
จะรู้สึกเหมือนร่างกายมีเฉพาะมือ ไม่รู้สึกมีกายโดยรวมอยู่
การเพ่งดูแบบนี้ สามารถใช้ทำความสงบได้ แต่ยังไม่ใช่การทำวิปัสสนาครับ
ถ้าจะทำวิปัสสนา หากจิตเพ่งหรือไหลไปแช่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ก็ให้รู้ว่าเพ่งรู้ว่าจิตไหลไป
แล้วหัดดูไปแบบรู้สึกกายโดยรวมที่มีมือกำลังเคลื่อนไหวอยู่ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้สภาวะแล้ว ให้รู้ทันจิตลงไปอีกชั้น

mp 3 (for download) : รู้สภาวะแล้ว ให้รู้ทันจิตลงไปอีกชั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติระลึกรู้รูปรู้นาม คือเห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ในกายในใจนี้ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นอยู่

เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นในใจ ทีแรกเห็นความโกรธเกิดขึ้นในใจ จิตยังไม่เป็นกลาง ไม่ชอบ อยากให้ความโกรธหายไป นี้เรียกไม่เป็นกลาง เห็นความโลภความหลงเกิดขึ้น ไม่ชอบ เห็นกุศลเกิดขึ้น ชอบ เห็นความทุกข์เกิดขึ้น ไม่ชอบ เห็นความสุขเกิดขึ้น ชอบ เห็นสภาวะมั้ย เห็น แต่ไม่เป็นกลาง

งั้นเบื้องต้นที่เรารู้เราเห็นนะ จิตเรายังไม่เข้าถึงความเป็นกลางจริง ให้เรารู้เท่าทันจิตของตนเองเข้าไปอีกชั้นนึง เช่นเมื่อตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์ จิตมีความสุข เรารู้ว่ามีความสุข นี่ชั้นที่หนึ่ง ถ้ามีความสุขแล้ว เกิดความยินดีพอใจในความสุข ให้เรารู้ทันเข้าไปที่จิตอีกครั้งนึง รู้เข้าไปลึกเข้าไปอีกชั้นนึง

เวลามีความทุกข์เกิดขึ้น รู้ว่ามีความทุกข์ นี่เป็นชั้นที่หนึ่ง เห็นเลยความทุกข์มันเกิดขึ้นกับจิต พอมีความทุกข์เกิดขึ้นกับจิตแล้ว รู้ลึกซึ้งลงไปอีกชั้นนึง จิตไม่ชอบ

อย่าไปนั่งถามนะ ว่าชอบหรือไม่ชอบ ยินดีหรือยินร้าย ไม่ต้องถามมันหรอก แต่ฟังหลวงพ่อพูดไว้อย่างนี้แหล่ะ เดี๋ยวถึงเวลาจิตมันจะไปดูของมันเอง ถ้าไม่พูดนำร่องให้นะ จิตไม่ค่อยยอมดู เห็นแค่มีสุขเกิดขึ้น มีทุกข์เกิดขึ้น ก็พอใจแค่นี้แหล่ะ แต่จิตยังไม่เป็นกลาง จิตยังยินดี จิตยังยินร้าย ไม่เห็นหรอก

อาศัยการได้ฟังธรรม รู้ว่าต้องรู้ทันจิตอีกชั้นนึง ว่ามันยินดียินร้ายมั้ย อย่าไปถามมันนะ ไม่ใช่ว่า เอ๊ะ ตอนนี้ยินดีหรือตอนนี้ยินร้าย ตอนนั้นไม่ยินดีตอนนั้นไม่ยินร้าย ตอนนั้นกำลังสงสัยอยู่ ยังไม่มียินดียินร้ายอะไรหรอก สงสัย(อยู่)

เอาแค่ได้ยินแล้วว่า ต้องรู้ทันนะ ด้วยความเป็นกลาง ไม่ยินดีไม่ยินร้าย แต่การจะไม่ยินดีไม่ยินร้ายนั้น ไม่ได้เกิดจากการบังคับห้ามยินดีห้ามยินร้าย ไม่ใช่ เพียงแต่ว่าจิตยินดีให้รู้ทัน จิตยินร้ายให้รู้ทัน เท่านี้เอง

ถ้ารู้ทันแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือความยินร้ายยินร้ายจะดับไป ความยินดียินร้ายเป็นราคะ เป็นโทสะอยู่ พอไปรู้ทันความยินดียินร้ายตัวนี้ กิเลสจะดับทันที ราคะโทสะดับทันที แค่สติรู้ทันว่ามีราคะ มีความพอใจยินดี แค่สติรู้ทันว่ามีโทสะ คือความยินร้ายไม่พอใจ ราคะโทสะจะดับเอง จิตจะเป็นกลาง

แต่อันนี้ยังเป็นกลางเพราะสติ เป็นกลางเพราะสติไปรู้ทันความยินดียินร้าย ยังไม่ใช่ความเป็นกลางที่เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติ เป็นแค่ทางผ่านขั้นแรกๆเท่านั้นเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
Track: ๒๒
File: 550204.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ปัญญาตัวจริง (ภาวนามยปัญญา)

ปัญญาตัวจริง (ภาวนามยปัญญา)

ปัญญาตัวจริงจะเกิดเมื่อจิตสรุปรวบยอดได้ว่า รูปนามล้วนแต่เป็นไตรลักษณ์
ซึ่งในการที่จิตจะสรุปได้ก็ไม่ได้อาศัยกระบวนการคิด
แต่อาศัยประสบการณ์จากการมีสติตั้งมั่นรู้สภาวะด้วยจิตที่เป็นกลาง
เห็นสภาวะเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนซ้ำแล้วซ้ำอีกจนจิตยอมรับจริงๆ
ดังนั้นเวลาที่เราได้ยินได้ฟังได้อ่านหรือนึกคิดเรื่องไตรลักษณ์
แล้วรู้สึกเราเข้าใจไม่ติดขัดนั้น จึงยังเป็นเพียงปัญญาจากการคิดการฟัง
ยังไม่ใช่ปัญญาตัวจริงที่เรียกว่าภาวนามยปัญญา
จึงต้องเพียรเจริญปัญญา (ทำวิปัสสนา) ต่อไปอีกจนเกิดภาวนามยปัญญา
และเกิดมรรคจิต ผลจิต พ้นทุกข์ในที่สุดครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับทำสมาธิให้สงบง่าย

mp3 for download: เคล็ดลับทำสมาธิให้สงบง่าย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธินี่ เคล็ดลับมันมี วิธีที่จะสงบง่าย (คือ)อย่าอยากสงบ ทำอย่างสบายใจ ทำแบบพักผ่อน แต่ไม่ใช่ทำใจอ่อนๆนะ อย่างใจอ่อนๆอย่างนี้เดี๋ยวก็หลับ ทำไปด้วยความรู้สึกตัว หายใจไปด้วยความมีความสุข หายใจไปอย่างมีความสุขเรื่อยๆ ทำใจให้มีความสุขไว้ แล้วหายใจไป ไม่นานก็สงบ แต่ถ้าทำหวังผลนะ ไม่สงบ ใจจะฟุ้งไปบังคับมัน ไปกดขี่จิตใจจะให้สงบ ไม่สงบหรอก สมาธิจำเป็นนะ ถ้าสมาธิไม่พอ ใจไม่ตั้งมั่น ใจไม่เข้าฐาน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๘
File: 531225B
ระหว่างนาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๔๙วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 512345