Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

Dhammada News : มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ขอเชิญฟังธรรมบรรยาย โดยหลวงพ่อปราโมทย์ ในวันที่ 6 ต.ค. 55

แผนที่การเดินทาง >>

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clips ธรรมะ : วิธีทำสมาธิขณะจิตฟุ้งซ่าน

 

วิธีทำสมาธิขณะจิตฟุ้งซ่าน

.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๒/๖) : สมาธิชนิดที่ ๒: สมาธิเพื่อความตั้งมั่นของจิต

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๒/๖) : สมาธิชนิดที่ ๒: สมาธิเพื่อความตั้งมั่นของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิชนิดที่ ๒ คือความตั้งมั่นของจิต อันนี้แหล่ะเอาไว้เดินปัญญา เคล็ดลับมีนิดเดียว ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ง่ายๆแค่นี้เอง

เห็นมั้ยหลักปฏิบัติแต่ละข้อๆนะ หลวงพ่อสรุปออกมาให้เหลือนิดเดียวแหล่ะ ง่ายๆ ถ้าเรารู้จิตที่เคลื่อนไป จิตที่ไหลไป จิตที่ส่งออก หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตส่งออกนอก ถ้าเรารู้ทันจิตที่ส่งออกไป จิตที่เคลื่อนไป จิตที่ไหลไป จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้บังคับ

งั้นความตั้งมั่นของจิต ไม่ใช่ตั้งอยู่โดยการบังคับเอาไว้ ถ้าเราบังคับจิตไม่ให้ไหล จิตจะเครียด จิตไม่มีความสุข จิตก็ไม่สงบหรอก (ถ้า)ตั้งไว้แข็งๆ สมถะก็ไม่ได้ เดินปัญญาก็ไม่ได้ ไม่ได้ทั้งสมถะ ไม่ได้ทั้งวิปัสสนา

ให้เรารู้ทันจิตที่ไหลไป อย่าบังคับว่าห้ามไหล ถ้าห้ามมันไปบังคับมัน สมถะก็ไม่ได้เพราะไม่มีความสุข วิปัสสนาก็ไม่ได้(เพราะ)จิตมันเครียด จิตไม่ใช่ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ง่ายมากนะ แค่รู้ทันว่าจิตเคลื่อนไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่  ๔๑ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : การทำสมาธิในชีวิตประจำวัน

การทำสมาธิในชีวิตประจำวัน

การทำสมาธิในชีวิตประจำวันมี 2 ลักษณะครับ
อย่างแรกเป็นการเอาจิตจดจ่อรู้งานที่ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่วอกแวกไปที่อื่น
อันนี้เป็นหลักการทำสมถะแท้ๆ อย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งเป็นสภาพที่จิตตั้งมั่น รู้อารมณ์ด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่ส่งกระแสวิ่งตามอารมณ์ไป
อันนี้เป็นหลักของการทำวิปัสสนา อีกอย่างหนึ่ง

ถ้าเราทำงานที่ไม่ต้องใช้ความคิด เช่นการปั่นสามล้อ การทำนา
เราสามารถทำสมาธิทั้งสองประเภทนั้นได้ครับ
แต่ถ้าเราต้องทำงานที่ใช้ความคิด ต้องจดจ่อกับงาน
ในขณะที่จิตมีสติจดจ่อกับงาน เราทำได้แค่อย่างแรกเท่านั้น

แต่ไม่ใช่ว่า คนที่ทำงานความคิดจะทำวิปัสสนาในชีวิตประจำวันไม่ได้
หากเราหัดอ่านจิตอ่านใจตนเองให้ชำนาญอยู่เสมอๆ
เวลาที่เราจดจ่อทำงานนั้น หากเกิดสิ่งแปลกปลอมขึ้นกับจิต
เช่นความเครียด ความเบื่อหน่าย ความเกียจคร้าน
ความอยากให้งานเสร็จ และ ความดีใจที่งานใกล้เสร็จ เป็นต้น
เราจะรู้ทันสิ่งแปลกปลอมนั้นทันที แล้วสามารถปล่อยวางมันออกไป
เหลือแต่การทำงานล้วนๆ ซึ่งก็จะได้งานที่มีคุณภาพดีครับ

ดังนั้น แม้เราจะทำงานความคิด เราก็สามารถดำเนินสมถะ สลับกับวิปัสสนาไปได้เรื่อยๆ
พองานเสร็จ หรือได้เวลาพัก เราก็กลับมาอยู่กับความรู้ตัว
อ่านจิตอ่านใจของตน ทำวิปัสสนาจริงจังต่อไป
หรือในระหว่างเดินทางไปทำงาน และเดินทางกลับบ้าน
ก็พยายามใช้เวลาช่วงนี้ อ่านจิตใจให้สม่ำเสมอไว

ผมเห็นว่า การทำงานความคิด และการใช้ชีวิตในเมือง
ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนา ทั้งที่เป็นสมถะและวิปัสสนา
และไม่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุมรรคผลขั้นต้นๆ ด้วย

คุณมีความคิดที่ดีงามแล้วครับ
ที่จะพยายามปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันให้ได้
เพียงแต่ผมอยากฝากเพิ่มเติมนิดเดียวว่า
เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อพยายามปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ นะครับ
แต่เราปฏิบัติเพื่อรู้อารมณ์และสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
ถ้าจิตรู้จริงแล้ว จิตเขาปล่อยวางของเขาเอง
ความพยายามจะปล่อยวางนั้น ไม่ควรกระทำหรอกครับ

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

ณ วันที่  27 มี.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : ขอเชิญฟังธรรมบรรยาย โดยหลวงพ่อปราโมทย์ ณ บ้านขนมนันทวัน เขาวัง จ.เพชรบุรี ในวันที่ 2 ต.ค. 2555

แผนที่ >>>

อ้างอิง >>> http://www.bannuntawan.com/news.php

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๑/๖) : สมาธิชนิดที่ ๑: สมาธิเพื่อการพักผ่อน

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๑/๖) : สมาธิชนิดที่ ๑: สมาธิเพื่อการพักผ่อน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่ต้องแยกให้ออกนะ ระหว่างสมถะกับวิปัสสนา เมื่อวานหลวงพ่อสอนหลักของสมถะให้แล้ว เราต้องทำ การทำสมถะเป็นการชาร์จพลังของจิต ถ้าจิตไม่มีพลัง เดินปัญญาลำบาก

สมถะมี ๒ ชนิด ชนิดที่ ๑ เอาไว้พักผ่อน ชนิดที่ ๒ ฝึกให้จิตตั้งมั่น เพื่อจะได้เดินปัญญา จะเอาสมาธิชนิดพักผ่อนไปเดินปัญญา(จะทำ)ไม่ได้ เพราะถ้าเดินปัญญามันก็ไม่ได้พักผ่อน

สมาธิพักผ่อนนั้นจิตเป็น ๑ อารมณ์เป็น ๑ อยู่กับพุทโธอยู่กับลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น ไม่ไปแสวงหาอารมณ์อันอื่น จิตก็จะสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เคล็ดลับอยู่ที่การเลือกอารมณ์ ที่เหมาะกับนิสัยของเรา (เหมาะกับ)จิตใจของเรา

อารมณ์ใดที่เป็นกุศล อยู่แล้วมีความสุข ก็เอาอันนั้น อารมณ์บางอย่างอยู่ด้วยมีความสุขแต่เป็นอกุศล (ก็)ไม่เอา มันดูมีสมาธิแต่สมาธิจะเป็นมิจฉาสมาธิไป ไม่ดี

ยกตัวอย่าง ดูบอล มีความสุขไปดูบอล มีสมาธิจดจ่อในการดูบอลนะ ดูได้ทั้งคืนเลย เป็นสมาธิออกนอกไปหมด เป็นมิจฉาสมาธิ เลือกอารมณ์ที่เป็นกุศลไว้ หรือไม่ยั่วกิเลส คนไหนอยู่กับพุทโธมีความสุข(ก็ให้)อยู่กับพุทโธไป คนไหนอยู่กับลมหายใจมีความสุข ก็อยู่กับลมหายใจไป คนไหนดูท้องพองยุบมีความสุข ก็อยู่กับท้องพองยุบ ใครขยับมือทำจังหวะแล้วมีความสุข (ก็)ขยับมือไป อย่าบังคับจิตให้สงบ

มันมีเคล็ดลับหลายตัว อันแรกเลือกอารมณ์ที่มีความสุข แล้วก็มนสิการถึงอารมณ์อันนั้น คำนึงถึงอารมณ์นั้นเรื่อยๆ สบายๆ ไม่ไปบังคับจิตให้ไปจ่อเครียดๆอยู่กับอารมณ์ ถ้าบังคับจิต จิตจะไม่มีความสุข ไม่สงบหรอก เคล็ดลับของสมาธิคือ มีความสุขมันถึงจะสงบ

ท่านถึงสอนบอกว่า ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ นี่คือสมาธิชนิดแรก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่  ๐๑ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จิตอกุศลและจิตกุศล

จิตอกุศลและจิตกุศล

จิตเราจะมีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลที่่คอยครอบงำจิตอยู่ แต่ส่วนมากจะเป็นอกุศลซะมากกว่า จึงเป็นธรรมดาที่เราจะเกิดอกุศลจิตในการทำสิ่งต่างๆ แม้จะเป็นการทำบุญให้ทานอะไรก็ตาม ดังนั้นอะไรที่เป็นการทำบุญให้ทาน เมื่อมีโอกาสก็ทำไปตามสมควรตามพอดี ไม่มากไปไม่น้อยไปนะครับ ส่วนทำแล้วจิตจะเป็นอย่างไรก็ให้มีสติตามรู้ตามดูไปครับ เพราะแม้จิตจะเป็นอกุศลแต่มันก็แสดงไตรลักษณ์เสมอเหมือนกับจิตที่เป็นกุศล การเห็นจิตอกุศลจึงพลิกมาเดินปัญญาได้เช่นกันครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : พระโสดาบันกับโสฬสญาน

พระโสดาบันกับโสฬสญาน

สำหรับคำถามที่ว่า
จะเป็นพระโสดาบันจะต้องผ่านญาณทั้ง 16 ขั้นหรือเปล่า
ขอเรียนว่าต้องผ่านวิปัสสนาญาณ 16 ครับ แต่ไม่ใช่ 16 ขั้น
เพราะในข้อเท็จจริงแล้ว โสฬสญาณ หรือญาณ 16 ขั้น
เป็นตำราที่แต่งขึ้นในชั้นหลัง โดยเรียบเรียงขยายความมาจากปฏิสัมภิทามัคค์ในพระสูตร
ซึ่งในพระสูตรต้นตำรับนั้น ท่านระบุถึงชื่อญาณไว้เป็นอันมากก็จริง
แต่ท่านจับชื่อญาณเข้าเป็นกลุ่มๆ ประมาณกลุ่มละ 3 ชื่อ
โดยระบุว่าญาณเหล่านี้มีชื่อต่างกัน แต่มีเนื้อหาอันเดียวกัน
แต่ตำราชั้นหลังพยายามแยกย่อย ให้แต่ละญาณมีความหมายต่างกันด้วย

ถ้ารวมญาณเป็นกลุ่มๆ แล้ว ก็มีไม่ถึง 16 ขั้นหรอกครับ
ซึ่งก็สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง
ที่บางคนพอสามารถจำแนกรูป หรือเจตสิก เป็นส่วนหนึ่งจากจิตผู้รู้ได้แล้ว
ก็เห็นความเกิดดับของอารมณ์เรื่อยไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง
แล้วจิตตัดกระแสเกิดมรรคผลไปเลยก็มี
บุคคลเหล่านี้ถ้าถามว่าผ่านญาณ 16 หรือไม่ ก็ต้องกล่าวว่าผ่าน
แต่ผ่านเร็ว เหมือนขึ้นเครื่องบินผ่าน วูบเดียวก็ถึงปลายทาง
จิตไม่มัวหยุดรีรอรับประกาศนียบัตรในการผ่านญาณเป็นขั้นๆ ไป
แบบนี้ก็มีครับ 

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตั้งมั่น: รู้ทันจิตคิด จะได้จิตรู้

mp 3 (for download) : รู้ทันจิตคิด จะได้จิตรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อเทียนท่านก็สอนดีนะ ท่านบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่คิด ต้องแยกให้ออก พวกเรามาวันแรกๆ บางคนแยกตรงนี้ไม่ออก ระหว่างการรู้เรื่องที่คิดกับการรู้ว่าจิตคิด ไม่เหมือนกัน

การรู้เรื่องที่คิด หมาคิด หมาก็รู้นะ ไม่ใช่อัศจรรย์อะไร หมามันจะคิดอะไร หมามันก็รู้ว่ายังคิดเรื่องอะไรอยู่ เป็นเรื่องสมมุติบัญญัติ แต่การที่รู้ว่าจิตกำลังอยู่ในอาการคิดน่ะ เป็นการรู้อารมณ์ปรมัตถ์ละ ให้เรารู้ว่าจิตคิด

ทีนี้คนไหนไม่ถนัดรู้ลมหายใจจนกระทั่งจิตมาหยุดแล้วก็จิตเคลื่อนไป รู้ทัน จิตเคลื่อนไป รู้ทัน เอาอย่างอื่นก็ได้ ขยับมือไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน พุทโธไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน ใช้หลักอันเดียวกัน คือ รู้ทันจิตที่หนีไปคิด

ถ้าเรารู้ทันจิตที่หนีไปคิด จิตคิดจะดับ จะเกิดจิตรู้ขึ้นมาแทน จิตตัวนี้แหละจะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คนที่ภาวนาได้นะ มีลักษณะร่วมกัน มีจิตที่ตั้งมั่น

หลังเนี่ย คำว่า “พุทโธ” คำว่า “จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” อะไรเหล่านี้ เริ่มหายไปจากวงกรรมฐาน มีแต่เรื่องทำสมาธิ ทำจิตให้สงบ เคลิบเคลิ้ม เห็นโน่นเห็นนี่ นึกว่าดี ดีอะไร เรื่องของกิเลสนะ ต้องฝึกให้จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่  ๔๘ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : นับหนึ่งเมื่อรู้สึกว่ากลับมาภาวนาไม่เป็นอีก

นับหนึ่งเมื่อรู้สึกว่ากลับมาภาวนาไม่เป็นอีก

นับหนึ่งจะเป็นการหัดรู้สึกตัวสบายๆ แล้วก็เมื่อทำอะไรไม่ได้ นึกอะไรไม่ออกก็ให้กลับมารู้สึกไว้เท่านั้น ไม่ต้องดิ้นรนจะทำอะไร

ไม่ต้องพยายามจะดูอะไร พอรู้สึกตัวอยู่เรื่อยๆ เดี๋ยวก็เห็นกายเห็นจิตดูกายดูจิตต่อได้เอง …

ซึ่งพอพวกเราเริ่มไปไม่เป็น นึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร หรือหลงไปดิ้นรนหาทางทำนั่นทำนี่ (บังคับกายบังคับใจ – ผู้เรียบเรียง)

หลวงพ่อก็จะบอกให้กลับมานับหนึ่งไว้ ^_^

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บุญใดประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญใหญ่

mp 3 (for download) : บุญใดประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญใหญ่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนมาชวนหลวงพ่อไปอินเดียนะ เราก็ขี้เกียจไป เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่อินเดีย แต่ไปได้ก็ดี ถ้าอินทรีย์เราไม่แข็งนะ การได้ไปไหว้สังเวชนียสถาน ที่ๆควรสังเวชที่ๆพึงสังเวช สังเวชนียสถานไม่ไช่แปลว่าที่ๆต้องไปกราบไหว้นะ เป็นที่ๆพึงสังเวช สังเวชใจ

เมื่อเราไปถึงที่นี้พระพุทธเจ้าเคยประสูติ ที่นี้ตรัสรู้ ที่นี้แสดงปฐมเทศนา ที่นี้ปรินิพพาน แล้วไปสังเวชยังไง สังเวชว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ เสร็จแล้วท่านก็แสดงธรรมะให้เราดู คือมีแล้วก็หายไป ธาตุขันธ์ของท่านหายไปแล้ว ใจเราก็จะต้องระลึกดู ขนาดพระพุทธเจ้ามีคุณธรรมสูงขนาดนั้น บริสุทธิ์หมดจดขนาดนั้น ท่านยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เลย เราเองวันนึงก็ต้องเป็นอย่างนั้น ใจก็น้อมกลับเข้ามาพิจารณาธรรมะ ไปเพื่อให้เห็นธรรมะ ไม่ใช่ไปไหว้เอาบุญ

ถ้าอยากได้บุญก็ต้องประกอบด้วยปัญญา เดินทางไปไหว้สังเวชนียสถานลำบาก ถามว่าได้บุญมั้ย ได้บุญที่ขวนขวายไป แต่ถ้าได้ปัญญาด้วย ไปแล้วมีความสังเวชใจ เพราะได้เห็นความจริงของชีวิต ชีวิตทั้งหลายเมื่อมีขึ้นมาแล้วก็แตกดับไป แม้เราเองวันหนึ่งข้างหน้าก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้าใจสังเวชในธรรมะนี้ขึ้นมาด้วยปัญญา บุญใดประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญใหญ่ บุญใดไม่ประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญเล็กน้อย

งั้นถ้าไปไหว้ๆแล้วกะว่าจะขึ้นสวรรค์ ก็ขึ้นเหมือนกันนะแต่สวรรค์ต้นๆหน่อย ถ้าไปไหว้แล้วเกิดปัญญา อาจจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์เพราะนิพพานไปก่อน นี้ถ้าเรายังไม่มีโอกาสไปนะ เราก็มาปฏิบัติเอา เราก็อยู่ใกล้พระพุทธเจ้าเหมือนกัน สิ่งใดที่ท่านห้ามเราก็ไม่ทำ สิ่งใดที่ท่านแนะนำเราก็ทำ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๐
File: 550505.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๖ กันยายน ๒๕๕๕)

    New Files Uploaded วันพุธที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

  • 550919: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 แสดงธรรมเมื่อวันพุธที่ ๑๙ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : การตรวจสอบว่าตนเองบรรลุโสดาบันแล้วหรือไม่?

การตรวจสอบว่าตนเองบรรลุโสดาบันแล้วหรือไม่?

การตรวจสอบตนเอง ก็มี 2 แบบ
แบบแรกเป็นการทราบชัดทันทีที่ผ่านการเกิดมรรคผลแล้ว
โดยผู้ที่ผ่านมรรคผล ที่เกิดผลญาณยาวนาน
และเคยเรียนรู้ปริยัติธรรม ว่าพระโสดาบันละสังโยชน์ใดได้บ้าง
และพระโสดาบันมีองค์คุณใดบ้าง (คือการเข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้น
การมีศีลบริสุทธิ์ และการไม่เที่ยวแสวงหาบุญกิริยาอื่นนอกหลักของพระศาสนา)
ในขณะที่ผ่านผลญาณออกมานั้น จิตจะพิจารณาทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นทันที
แล้วรู้ชัดด้วยตนเองในขณะนั้นเลยว่า เกิดอะไรขึ้นแล้ว

บุคคลชนิดนี้ จะไม่สนใจกระทั่งการไปสอบถามครูบาอาจารย์
แต่ก็จะคิดถึงครูบาอาจารย์ เพราะคิดถึงคุณของท่าน
เมื่อไปกราบครูบาอาจารย์ ก็จะไม่ไปเพื่อขอคำรับรอง
เพราะธรรมรับรองตนเองเรียบร้อยประจักษ์ใจไปแล้ว
(พวกที่ทำผิดแล้วมั่นใจมากๆ ก็มีเหมือนกันนะครับ
โดยเฉพาะพวกที่พลาดไปติดวิปัสสนูปกิเลส)

การตรวจสอบตนเองอีกชนิดหนึ่ง เป็นการสังเกตตนเองในภายหลัง
คือบางคนบรรลุพระโสดาบันโดยมีผลญาณเกิดในช่วงสั้นๆ
หรือผู้ที่ไม่เคยรู้ตำราเกี่ยวกับพระอริยบุคคล
แม้รู้ธรรมแล้ว สังโยชน์ขาดแล้ว แต่ก็พูดไม่ได้อธิบายไม่ถูก
ประเภทนี้ก็ต้องคอยสังเกตเอาในภายหลัง
และแม้ผู้ที่เกิดผลญาณยาวดังที่กล่าวมาแล้ว
ก็ควรตรวจสอบตนเองในภายหลังด้วย
เพื่อกันความเข้าใจผิดไปหลงติดวิปัสสนูปกิเลส

วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบตนเองภายหลังก็คือ
สังเกตที่จิตตนเอง โดยรู้ลงไปที่จิตตนเอง
ว่ายังเหลือ “ความเห็นว่าจิตเป็นตัวเรา” หรือไม่
เพราะพระโสดาบันนั้น ไม่มีความเห็นผิดว่าจิตเป็นเราเหลืออยู่เลย
และกระทั่งจิตยังไม่เป็นตัวเรา ก็ไม่ต้องพูดถึงเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร
เพราะสิ่งเหล่านั้นจะถูกเห็นเป็นตัวเราไปไม่ได้เลย
ถ้าไม่เห็นว่าจิตเป็นตัวเราเสียแล้ว

ถัดจากนั้นก็คอยดูว่า จิตมีความรักศีลเพียงใด มีความจงใจทำผิดศีลหรือไม่
เพราะพระโสดาบันนั้น จะไม่มีความจงใจทำผิดศีลเกิดขึ้นเลย

การตรวจสอบตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญมากนะครับ
หลายต่อหลายท่าน เจริญสติยังไม่ถูกต้องเลย
ปรมัตถธรรมก็ยังไม่เคยเห็น แต่อาศัยการเรียน ความจำ และความคิด
จู่ๆ ก็คิดว่า เราน่าจะเป็นพระโสดาบันแล้ว
หรือบางท่านจิตรวมด้วยสมถะ แล้วเข้าใจผิดก็มี
ต้องคอยสังเกตจิตใจตนเองให้มากๆ นะครับ ว่ายังเห็นว่าจิตเป็นเราหรือไม่

มาถึงจุดนี้แล้ว ผมก็มีความเห็นว่า การสังเกตตนเองในระยะยาว
ด้วยการรู้ให้ถึงจิตถึงใจตนเองจริงๆ
ไม่ใช่คิดๆ เอา แบบมีอคติเข้าข้างตนเอง
น่าจะเป็นวิธีที่มาตรฐานที่สุดในยุคนี้
ส่วนความเห็นของครูบาอาจารย์ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นครับ
ถ้าท่านรับรองว่าใช่ ก็มาดูกิเลสตนเองว่าใช่จริงหรือเปล่า
ถ้าท่านว่าไม่ใช่ แต่เราว่าใช่ ก็มาตรวจสอบว่าเราใช่จริงหรือเปล่า

ที่สำคัญก็คือ ถ้าเราคิดว่าใช่ แล้วมารู้ทีหลังว่าไม่ใช่
ก็อย่าท้อแท้จนเตลิดเปิดเปิงเลิกปฏิบัติไปเลย ก็แล้วกันครับ 

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

ณ วัน พฤหัสบดี ที่ 23 พฤศจิกายน 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาเหมือนพายเรือทวนน้ำ หยุดเมื่อไรถอยเมื่อนั้น

mp 3 (for download) : การภาวนาเหมือนพายเรือทวนน้ำ หยุดเมื่อไรถอยเมื่อนั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้วิธีปฏิบัติแล้วก็ต้องไปทำเอาเอง เราจะมาปฏิบัติเฉพาะตอนมาอยู่วัด มาเข้าคอร์สอะไรนี่ ไม่พอ เพราะกิเลสไม่เคยหยุดซักวันเลย ไม่มีวันหยุดชดเชย ไม่มีวันหยุด long weekend ไม่มีทั้งสิ้นเลย กิเลสทำงานทั้งวัน กิเลสทำงานทั้งคืน ถ้าเราละเลย ใจเราก็ถดถอยไปเรื่อยๆ การภาวนามันเหมือนพายเรือทวนน้ำ หยุดเมื่อไหร่ก็ถอยเมื่อนั้น จนกว่าเราจะพายข้ามแก่งไปได้นะ ข้ามไปได้แล้วก็พ้นไป ต้องอดทน ทนมากๆเลย ถ้าทำแล้วก็เว้น ทำแล้วก็เว้น คิดว่าการปฏิบัติต้องเข้าคอร์สต้องอยู่วัด ใช้ชีวิตธรรมดาไม่ต้องปฏิบัติ ก็ผ่านไป มีเวลามาเข้าวัดใหม่ก็มาปฏิบัติใหม่ ไม่ได้กินหรอก

งั้นการปฏิบัติเป็นงานที่หยุดไม่ได้ หลวงพ่อถึงบอกตั้งแต่วันแรกแล้ว ว่าต้องรู้่ว่างานหลักในชีวิตของเรา คือการปฏิบัติธรรม พูดอย่างนี้บางคนยังไม่เห็นประโยชน์ของการปฏิบัตินะ ก็รู้สึกว่ามันมากไป ปฏิบัตินิดๆหน่อยๆ เป็นคนดีของสังคมก็พอแล้ว มันก็ดีเหมือนกันปฏิบัตินิดหน่อย เป็นคนดีนะ แต่มันก็ยังทุกข์อีก

เมื่อก่อนหลวงพ่อมีหัวหน้าคนนึง สมัยหลวงพ่อออกไปศึกษาธรรมะ หัวหน้ากองหัวเราะเลย ว่าสนใจอะไร ทำไมเธอสนใจอะไรมากขนาดนี้ อ่านหนังสือธรรมะอะไรนี้ ถึงเวลาปฏิบัติ ถึงเวลาทำอย่างนู้นนี่ เวลาไปเที่ยว ก็ไปเที่ยววัด จริงๆไม่ได้ไปเที่ยว ไปฟังธรรมไปปฏิบัติ (หัวหน้ากอง)เค้าบอกว่า เรียนศาสนาพุทธเรียนนิดๆหน่อยๆพอรู้หลักแล้วเอามาapplyใช้ในชีวิต เนี่ยคนไม่รู้จักธรรมะ คิดว่าธรรมะ apply ได้ ธรรมะถ้า apply เมื่อไหร่นะ กลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปเมื่อนั้นเลย เราก็ไม่เถียงนะ ไม่เถียง

เวลาผ่านมาถึงวันนี้เรามีความสุข เค้าก็คงเป็นอย่างชาวโลก สุขบ้างทุกข์บ้างไปเรื่อยๆ เวลาผ่านไปมันเป็นเครื่องพิสูจน์เอง ว่าสิ่งที่เราทุ่มเทพากเพียรปฏิบัติมานั้น มันคุ้มค่าขนาดไหน ตอนเริ่มต้น คน ๒ คนเริ่มต้น คนนึงเอาจริง คนนึงไม่เอาจริง ผ่านไปปีนึง ๒ ปี ยังดูไม่มากนะ บางคนพัฒนาช้าก็ยังดูแตกต่างไม่มาก ถ้าบางคนพัฒนาเร็วก็แตกต่างมากเลย เป็นฟ้ากับดิน ผ่านไปหลายๆปี เป็นฟ้ากับเหว เตี้ยลงไปอีก เพราะคนที่ไม่ประพฤติปฏิบัติธรรม มันไม่อยู่กับที่หรอก จิตมันจะเสื่อมลงไปเรื่อย จิตมันไหลลงที่ต่ำ เพราะงั้นมันไม่ใช่อยู่พื้นดินแล้วมันจะเป็นพื้นดินตลอดกาล คนนึงปฏิบัตินะเหมือนขึ้นที่สูงไปเรื่อย คนนึงไม่ยอมปฏิบัตินะ มันจะต่ำลงไปเรื่อย มันไม่อยู่กับที่ด้วยซ้ำไป

เวลาผ่านไปหลายๆปีเราจะรู้เลย เราจะนึกถึงย้อนหลังไป ด้วยความอิ่มอกอิ่มใจ ว่าเป็นบุญของเราเหลือเกินที่ได้ปฏิบัติ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๗
File: 550429A
ระหว่างวินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : อานิสงส์จากการเจริญภาวนา

 อานิสงส์จากการเจริญภาวนา

ถาม : การปฏิบัติภาวนาตามรู้ดูจิตที่ญาติธรรมหลายท่านกำลังปฏิบัติกันอยู่นี้ ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ก็คงเห็นผลกันตามควรแก่การปฏิบัติแต่ถ้าการปฏิบัติของเรายังไม่บรรลุมรรคผล นิพพาน หรือแม้แต่โสดาบัน เมื่อเราได้ละขันธ์จากโลกนี้ไป อะไรคืออานิสงส์ที่พอหวังได้ครับ

ตอบ : ไม่เพียงแค่การดูจิตนะครับ แต่ไม่ว่าปฏิบัติภาวนาจะด้วยสติปัฏฐานใดก็ตาม
ถ้าปฏิบัติได้ถูกคือ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ
จะทำให้จิตไปสู่มรรคผลนิพพานในภายภาคหน้าได้
และถ้าในชาตินี้ปฏิบัติจนสามารถมีสติได้อัตโนมัติเนืองๆ
จะทำให้จิตดวงสุดท้ายเป็นจิตที่เป็นกุศล และจะไม่ไปเกิดในอบายได้
หรือที่ตามตำราบอกว่าปิดอบายได้หนึ่งชาติครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

mp 3 (for download) : กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราต้องรู้กายรู้ใจอย่างเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน บ้านไม่ใช่คุก แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ เอาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นคุกขังใจ

เช่นเราจะอยู่กับลมหายใจ เราจะบังคับตัวเอง ให้รู้แต่ลมหายใจ ห้ามรู้อย่างอื่น ถ้ารู้อย่างอื่นถือว่าไม่ดี มันไม่ดีจริงนะในแง่ของสมถกรรมฐาน แต่ในแง่ของวิปัสสนากรรมฐานน่ะ เราไม่ได้เอาจิตไปติดคุก ทันทีที่พวกเราคิดถึงการปฏิบัติแล้วเราบังคับตัวเอง พอบังคับเมื่อไหร่เนี่ย จิตใจจะหนักๆแน่นๆแข็งๆขึ้นมาเลย ทื่อๆนะ แข็งขึ้นมา หาความสุขความสงบที่แท้จริงไม่ได้ มีแต่ความอึดอัดนะ จงใจปฏิบัติเมื่อไหร่อึดอัดเมื่อนั้นเลย จงใจไปรู้ลมหายใจก็อึดอัด จงใจไปรู้ท้องพองยุบก็อึดอัด ยกเท้าย่างเท้าแล้วจงใจไปรู้อยู่ที่เท้าก็อึดอัดอีก ทำอะไรๆมันก็อึดอัดไปหมดเลย

เพราะอะไร เพราะจิตมันไปติดคุก คนติดคุกมันมีความอึดอัดนะ แต่หลวงพ่อไม่เคยติดนะ อันนี้เดาๆเอา นะ ไม่เหมือนอยู่บ้าน อยู่บ้านสบาย มีธุระออกจากบ้านเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้กายรู้ใจเหมือนมันเป็นบ้าน หมายถึงว่ามันเป็นที่อาศัยระลึกของสติเท่านั้น เวลาไม่รู้จะรู้อะไรนะ ก็กลับมาอยู่บ้าน คนไหนใช้ลมหายใจเป็นบ้าน พอจิตใจไม่ต้องไปรู้กายเวทนาจิตธรรมอันอื่น เราก็กลับมารู้ลมหายใจ รู้เล่นๆ ไม่ใช่บังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจ ถ้าบังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจเป็นสมถะ

ถ้าจะอยู่อย่างอยู่เป็นบ้านเราก็หายใจไป หายใจออกก่อนนะ หายใจออก หายใจเข้า หายใจออกไป ใจเราอยู่ที่ลมหายใจเราก็รู้ หายใจไป หายใจไป ใจเราหนีไปที่อื่นเราก็รู้ เห็นมั้ย หายใจไป เราเห็นร่างกายนี้หายใจอยู่นะ เกิดสติเกิดปัญญาขึ้นมา เห็นร่างกายหายใจ ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเราหรอก จิตใจก็เหมือนกัน จิตใจที่ไปรู้ร่างกายที่หายใจเนี่ย แป๊บเดียวมันก็หนีไปคิดเรื่องอื่น หรือมันถลำลงไปเพ่งลมหายใจ หรือมันสุข หรือมันทุกข์ หรือมันดี หรือมันร้ายขึ้นมา

การที่เราเห็นอย่างนี้มากเข้าๆ มันก็จะเกิดปัญญา เห็นเลย จิตใจก็ไม่ใช่ตัวเราอีกละ เราบังคับมันไม่ได้ เดี๋ยวก็วิ่งไป เดี๋ยวก็วิ่งมา เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เนี่ยถ้าเรารู้อย่างนี้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรมนะ มันจะรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียว ถ้าบังคับจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นอย่างหลายคนดูท้องพองยุบ ดูท้องพองยุบแล้วเพ่งให้จิตแนบอยู่ที่ท้องเลย ห้ามหนีไปที่อื่น เอาท้องมาเป็นคุกขังจิตน่ะ จนจิตมันไม่ไปไหน มันเซื่องๆอยู่ที่ท้องเนี่ยนะ ได้ความสงบ เกิดปีติ ขนลุกขนพอง เกิดตัวลอยตัวเบาตัวโคลง ตัวใหญ่ตัวหนัก บางคนตัวหนักก็มีนะ บางคนก็ขนลุกซู่ซ่าๆ อันนี้เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

แต่ถ้าเรารู้ท้องพองยุบอย่างให้เป็นวิปัสสนา หัดเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เราจะเห็นร่างกายมันพองร่างกายมันยุบนะ รูปมันพองรูปมันยุบ ใจอยู่ต่างหาก ใจเป็นแค่คนดู เหมือนเราดูตัวเอง เห็นร่างกายมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เหมือนกันหมดนะ จะใช้อารมณ์กรรมฐานอะไร ยกตัวอย่างใช้ อิริยาบถ ๔ เนี่ย เราก็เห็นร่างกายมันยืน ร่างกายมันเดิน ร่างกายมันนอน ถ้าทำสัมปชัญญะบรรพะ ร่างกายมันคู้ร่างกายมันเหยียด มันเหลียวซ้ายแลขวา เราก็รู้สึกเอา รู้สึกแล้วเราก็เห็นเลย ไอ้ตัวที่เคลื่อนไหวเหลียวซ้ายแลขวาน่ะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก รูปมันเคลื่อนไหว ใจเป็นคนดู ตัวใจเองก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นเราจะเห็นทั้งรูป เห็นทั้งนามนะ ถ้าเห็นถูกต้อง ไม่ใช่เห็นอันใดอันหนึ่ง ไม่ใช่บังคับเอาอันใดอันหนึ่ง เนี่ยเรียกว่าอยู่เป็นวิหารธรรม บางทีสติก็ไปรู้กาย บางทีสติก็ไปรู้ใจ เราเลือกไม่ได้ ไม่ได้จงใจ มันจะสบาย รู้กายก็สบายใจนะ รู้จิตใจก็สบายใจอีก รู้ไปเรื่อยๆ สบาย เหมือนเราอยู่บ้าน ออกจากบ้านไปเที่ยวเมื่อไหร่ก็ได้ มีธุระจะไปเมื่อไหร่ก็ได้ เหนื่อยแล้วกลับมาอยู่้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน (ศาลากาญจนาภิเษก)
ครั้งที่ ๑๐
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕o


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๐
File: 500318
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เตรียมจิตให้พร้อมสำหรับการเจริญสติปัฏฐาน (๒) แนะนำ!!!

เตรียมจิตให้พร้อมสำหรับการเจริญสติปัฏฐาน (๒)

คำว่า การดูจิต ที่แท้ก็คือ
การเตรียมจิตให้พร้อมสำหรับการเจริญสติปัฏฐาน อย่างหนึ่ง
และการเจริญสติปัฏฐานต่อไป ด้วยการระลึกรู้ เวทนา จิต ธรรม อีกอย่างหนึ่ง
คือสามารถสังเกตจนรู้ว่า ขณะนั้น
1. จิตรู้อารมณ์อย่างเป็นวิหารธรรม หรือเพ่งจ้องอารมณ์
2. รู้ว่าจิตถูกกิเลสตัณหาครอบงำหรือไม่
3. รู้ว่าตนเองรู้ตัว หรือเผลอไปแล้ว เพราะถูกโมหะครอบงำเอาแล้ว
4. รู้ว่าตนมีสติรู้ทันอารมณ์ที่กำลังปรากฏ หรือขาดสติ
หรือตามรู้ได้หลังจากอารมณ์เกิดไปช่วงหนึ่งแล้ว
5. รู้ว่าจิตเป็นกลาง หรือไม่เป็นกลางต่ออารมณ์

การดูจิตจึงเป็นการเตรียมความพร้อมของจิต เพื่อเจริญสติปัฏฐานต่อไป
เพราะเมื่อดูจิตเป็นแล้ว จิตจะเห็นขันธ์ 5 หรือกาย เวทนา จิต ธรรม
สักแต่เป็นของเกิดๆ ดับๆ เป็นของทนอยู่ถาวรไม่ได้
และไม่ใช่ตัวเราแต่เป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น เมื่อเห็นมากเข้า
จิตจึงจะฉลาดและรู้จักปล่อยวางอารมณ์
ซึ่งก็คือโลก คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธัมมารมณ์
หรือคืออุปาทานขันธ์ 5 นั่นเอง
อันนี้จิตจะพัฒนาของเขาไปเองครับ

เมื่อหัดดูจิตจนรู้ตัวเป็นแล้ว ก็ต้องเจริญสติปัฏฐานต่อไป
เพื่อเป็นเครื่องสนับสนุนความรู้ตัวและปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
เหมือนอย่างพระสูตรข้างบน (ไม่ได้นำมาแสดง – ผู้เรียบเรียง) ท่านเจริญสติปัฏฐานโดยใช้อานาปานสติ
หรือใช้ลมหายใจเป็นเครื่องระลึกของสตินั่นเอง
เริ่มต้นก็ให้รู้ลมหายใจไปอย่างสบายๆ
ต่อมาก็สำเหนียก หรือสังเกตได้ว่า จิตผู้รู้ลมหายใจมีอยู่ต่างหาก
แล้วก็รู้จิตรู้ใจของตนเอง(ดูจิต)ต่อไปอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญสติปัฏฐาน ทำให้ละมิจฉาทิฎฐิ ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิ

mp 3 (for download) : การเจริญสติปัฏฐาน ทำให้ละมิจฉาทิฎฐิ ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกที่ไม่เห็นปฏิจจสมุปบาทเนี่ย จะมีมิจฉาทิฎฐิชนิดหนึ่ง ชื่อ “อัตตทิฎฐิ” อัตตทิฏฐิก็คือ ตัวเรามีอยู่จริงๆ ตัวเรามีจริงๆ พวกเราทั้งหลายที่ไม่ใช่พระโสดาบันนะ ยังมีอัตตทิฎฐิอยู่ เห็นว่าตัวเรามีจริงๆ

เรารู้สึกมั้ย ในนี้ ในกายในใจเนี้ย ในเนื้ยมีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนนี้กับเราตอนเด็กๆ ก็ยังเราคนเดิม เราคนนี้กับเราเย็นนี้ หรือเย็นพรุ่งนี้ อีกปีหน้า ก็ยังเป็นเราคนเดิม เรารู้สึกมีเราอยู่ตัวหนึ่ง

แต่ถ้าเราเห็นปฏิจจสมุปบาทนะ เราเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจที่เขาปรุงแต่งสืบเนื่องกันไปทั้งรูปธรรมนามธรรมที่เขาปรุงต่อกันไป เราจะรู้ว่าตัวตนถาวรไม่มีหรอก ความรู้สึกเป็นตัวเป็นตนนั้นเกิดจากหลงไปก่อน แล้วก็ไปปรุงแต่งขึ้นมา ตัวตนจริงๆไม่มี

ตอนนี้คนที่ภาวนากับหลวงพ่อแล้วเห็นว่า ตัวตนจริงๆไม่มี มีเป็นพันแล้วนะ พวกนี้คือพวก Candidate ที่จะได้ธรรมะ แต่ไม่บอกนะว่าชั่วโมงของการ Candidate นานแค่ไหน ไม่ใช่ว่า เอาละว้า ชั้นเห็นแล้วว่าความเป็นตัวตนเกิดแล้วดับไปเป็นคราวๆ เอาละสบายแล้ว หลวงพ่อบอกว่า Candidate แล้ว ชาตินี้นอนเล่นๆไปก่อน ชาติหน้าก็ลืม

เพราะฉะนั้นเราต้องภาวนา เห็นมั้ย เรารู้สึกกายรู้สึกใจ มีสติรู้กายรู้ใจ เราเห็นเลย ตัวตนจริงๆไม่มีหรอก มีแต่กระบวนการทำงานปรุงแต่งความเป็นตัวตนขึ้นมาเป็นคราวๆ

ทีนี้การที่เราเจริญสติปัฏฐาน หรือมีสติรู้กายรู้ใจ มันจึงละมิจฉาทิฎฐิทั้งหมดไป แล้วก็ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิทั้งหมด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗
File: 511019.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เตรียมจิตให้พร้อมสำหรับการเจริญสติปัฏฐาน (๑) แนะนำ!!!

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เตรียมจิตให้พร้อมสำหรับการเจริญสติปัฏฐาน (๑)

จิตที่พร้อมจะเจริญสติปัฏฐานได้จริง จะต้องเป็นจิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1.เป็นจิตที่สามารถระลึกรู้อารมณ์ จะเป็นกาย เวทนา จิตหรือธรรมอะไรก็ได้
อย่างเป็น  วิหารธรรม คือเครื่องรู้ เครื่องอยู่ เครื่องระลึกของสติ
แต่ส่วนมากเราเอาอารมณ์มาเป็นคุกขังจิตกัน
(แบบที่คุณหมอ Lee เล่าว่าเพ่งลงไปให้จิตหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว)
มากกว่าจะเอามาเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่อันสบายของจิต

2. จิตต้องมี  ตบะ หรือความเพียรแผดเผากิเลสให้เร่าร้อน
การปฏิบัติต้องปฏิบัติด้วยความรู้เท่าทันกิเลส
ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสตัณหาชักนำให้ปฏิบัติ
คือปฏิบัติไปด้วยความอยากมี อยากเป็น อยากเห็น อยากรู้ อยากพ้น สารพัดอยาก
เมื่อกิเลสชักจูงให้ปฏิบัติแล้ว ที่จะเอาชนะกิเลสนั้นยากนักครับ
เพราะไม่รู้ทันปัจจุบันว่า กำลังมีกิเลสตัณหา
มัวแต่เฝ้ารอจะต่อสู้กับกิเลสตัณหา ที่คิดว่าประเดี๋ยวจึงจะมา

3. จิตจะต้องมี สัมปชัญญะ ซึ่งทางกายหมายถึงการรู้ความเคลื่อนไหวของกาย
ทางจิตหมายถึงการรู้ความเคลื่อนไหวของจิต
ไม่ถูกโมหะครอบงำ จนไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

4. จิตจะต้องมี สติ คือรู้เท่าทันสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ซึ่งเรื่องสตินั้นผู้กำหนดอิริยาบถย่อยมักจะมีกันอยู่แล้ว
ที่ขาดคือขาดความรู้ตัวจริงๆ เท่านั้น

5 จิตจะต้อง  สลัดความยินดียินร้ายในโลก
คือเป็นกลางต่อ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์ได้
แต่ผู้ปฏิบัติส่วนมากไม่รู้เท่าจิตใจของตน
จิตหลงยินดียินร้ายแต่รู้ไม่ทัน คิดว่าตนเป็นกลางแล้ว 

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คำสอนของคุณแม่จันดี : ความพอใจ / ความไม่พอใจ

นักปฏิบัติ หลงติดอยู่ที่ความพอใจ และไม่พอใจ เป็นเครื่องอยู่
เอาความพอใจ และไม่พอใจเป็นเครื่องอยู่
เมื่อพอใจ ได้สมใจก็เป็นสุข
เมื่อไม่พอใจก็เกิดทุกข์
แต่ทั้งสุขและทุกข์ ก็ยังเป็นเงื่อนของสมมุติ

ไม่มีใครคิดที่จะอยู่ตรงกลาง ระหว่างสุขกับทุกข์
เพราะตรงนั้นไม่มีทั้งความพอใจ และไม่พอใจ
แต่เป็นความพอ พอดี
ผู้ที่หลงเพลิน เล่นอยู่กับความพอใจ และไม่พอใจ
จึงได้หนังสือเดินทางแห่งการท่องเที่ยวของภพชาติติดตัวไปตลอด
ความพอใจ และไม่พอใจ เป็นอาหารชั้นยอดเยี่ยมของกิเลส

คุณแม่จันดี โลหิตดี

CR: กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 41234