Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

สิ่งใดที่ถูกรู้ถูกดู จิตจะรู้สึกได้เอง ว่าไม่ใช่ตัวเรา

mp3 for download : สิ่งใดที่ถูกรู้ถูกดู จิตจะรู้สึกได้เอง ว่าไม่ใช่ตัวเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่างที่หลวงพ่อสอนแยกธาตุแยกขันธ์ ก็แยกออกไป รูปส่วนรูป พอแยกรูปออกไปปุ๊บ รูปไม่ใช่เราแล้ว เวทนาแยกออกไป เวทนาไม่ใช่เรา สัญญาแยกออกไป สัญญาไม่ใช่เรา สังขารวิญญาณแยกออกไป ไม่มีเราแล้ว เพราะฉะนั้นความที่ขันธ์ ๕ มารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน หรืออายตนะ ๖ มารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเนี่่ย อยู่ด้วยกันนะ สัญญาจะเข้าไปหมายว่ามีตัวเราขึ้นมา ถ้ามันแตกออกแล้วจะไปหมายว่าเป็นเราไม่ได้

ยกตัวอย่างพัดอันนี้ ใครรู้สึกว่าพัดเป็นตัวเราบ้าง มีมั้ย ไม่มีหรอก เพราะอะไร เพราะพัดเป็นสิ่งที่เราไปรู้เข้า เรายกมือของเราขึ้นมาดู ลองดูมือตัวเราเองซิ รู้สึกมั้ยว่ามือเป็นเรา ถ้าไม่คิดไม่เป็นหรอก ถ้าไม่คิดไม่เป็นหรอก ถ้าเราค่อยๆสังเกต ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู ตัวเราจะหายไปแล้ว ถ้าร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดูเนี่ย ร่างกายจะไม่เป็นเราอีกต่อไปแล้ว เพราะอะไร เพราะว่าอะไรก็ตามที่ถูกรู้ถูกดูเนี่ย จะไม่ถูกรู้สึกว่าเป็นตัวเราอีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่างเห็นพัดเนี่ย พัดเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู พัดไม่ใช่เราแล้ว ร่างกายเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู

แต่ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ ดูไปปุ๊บมันจะกลายเป็นร่างกายของเราแล้ว มันไปรวมเป็นก้อนเดียวกันแล้วก็มีตัวเราขึ้นมา แต่ถ้าไอ้ก้อนนี้แตกออก ขันธ์นี้แตกออกเป็นส่วนๆ ร่างกายก็คือส่วนของร่างกายเป็นส่วนของรูป ความรู้สึกสุขทุกข์ก็ส่วนของความรู้สึกสุขทุกข์ จิตเป็นคนไปรู้สุขรู้ทุกข์เข้า สุขทุกข์ก็ไม่ใช่เรา ความจำได้หมายรู้ จิตก็เป็นคนไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ใช่เรา สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว จิตไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ใช่เรา

จิตที่เกิดดับทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ มีจิตอีกตัวหนึ่ง(ที่เกิดขึ้นตามหลังไปติดๆ – ผู้ถอด)ไปรู้ จะรู้เลยว่าจิตที่เวียนเกิดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ท่านเรียกว่า “วิญญาณ” วิญญาณเป็นการหยั่งรู้อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ท่านเรียกว่าวิญญาณนะ ทำไมเป็นวิญญาณขันธ์ วิญญาณน่ะไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่ถูกรู้อีก มันก็เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ยกตัวอย่างเวลาเราสังเกตกายใจนะ เดี๋ยวก็วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด ดูก็ดูแว้บเดียว แล้วก็มาคิด

คิดก็คิดหน่อยหนึ่ง บางทีก็คิดยาว คิดมากกว่าดูนะ คิดมากกว่าดู คิดมากกว่าฟัง เพราะฉะนั้นที่ว่าพอฟังแล้วเราเข้าใจน่ะ อันนี้คิดเอาเองเกือบทั้งหมดเลย ระหว่างฟังกับคิดเนี่ย คิดมากกว่าฟัง ระหว่างดูกับคิดนะ คิดมากกว่าดูเสียอีก ดูนิดเดียวเอามาคิดตั้งยาว เพราะฉะนั้นมันมี Bias (ความลำเอียงหรืออคติ-ผู้ถอด) อยู่แล้วล่ะ ความรู้ที่เกิดจากการคิดเอา มันมีกิเลสซ่อนอยู่

เนี่ยเราค่อยๆดูนะ เราจะเห็นเลย จิตก็เกิดไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ร่างกายก็ถูกรู้ถูกดู จิตก็ถูกรู้ถูกดู อะไรๆก็ถูกรู้ถูกดู ตัวเราไม่มี


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

mp 3 (for download) : ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราเรียนกรรมฐาน เราค่อยๆฝึกไป ความสุขอันมหาศาลรอเราอยู่ข้างหน้า

แต่ถ้าเราฝึกผิดนะ ล้มลุกคลุกคลาน เหนื่อยยากนะลำบากมาก ฟังให้รู้เรื่องก่อนนะ หลวงพ่อมักจะมีซีดีแจกบ้าง แจกหนังสือแจกซีดีบ้างนะ ได้ไปแล้วพยายามฟังไว้ ฟังไปจนสติตัวจริงเกิดขึ้นมา แล้วจะรู้ว่าง่าย ง่าย ง่ายมาก เค้าฝึกกัน ๗ วัน ๗ เดือนไปนี้ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี ๖ เดือนก็มี ที่เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจขึ้นมา ดูมันเข้าไปบ่อยๆ แต่อย่าลืมตัวเอง

แต่ว่าพวกเราจะลืมกายลืมใจของเราเองทั้งวัน เพราะทั้งวันเราเอาแต่คิด ความคิดนี่แหล่ะปิดบังความจริงเอาไว้ ความคิดไม่ไช่ความจริง พอเราตื่นขึ้นมา เราก็นั่งคิดๆๆไปทั้งวัน ตั้งแต่เช้ายันค่ำ ค่ำยันดึก หลับไปก็ไปฝันต่อ ฝันก็คือคิดยามหลับนั่นแหล่ะ ส่วนความคิดคือความฝันเมื่อยามตื่น หลงๆไป

ธรรมชาติของจิตรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว พอมันไปรู้เรื่องราวที่คิดแล้วเนี่ย มันจะรู้กายรู้ใจตัวเองไม่ได้ อันนี้เป็นกฎธรรมชาตินะ เป็นกฏเลย เป็นกฎธรรมชาติ

เพราะฉะนั้นตราบใดที่เรายังหลงอยู่ในโลกของความคิดเนี่ย เราจะรู้กายรู้ใจไม่ได้ เราทำวิปัสสนาไม่ได้ หลวงพ่อเทียนนะท่านสอนดีนะ หลวงพ่อเทียน หลวงพ่อไม่ได้เรียนกับท่าน แต่อ่านธรรมะของท่านนะ ท่านสอนดี ท่านบอกว่า “ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ” รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด คนทั้งโลกนะรู้แต่เรื่องที่จิตคิด ไม่รู้ว่าจิตกำลังไปคิดอยู่

ทันทีที่เรารู้ว่าจิตกำลังไปคิดอยู่นะ เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน คือเราจะหลุดออกจากโลกของความคิด เกิดความรู้สึกตัวในฉับพลันเลย เราจะเห็นทันทีเลย กายนี้ไม่ใช่เรา เราจะเห็นทันทีเลย จิตนี้ไม่เที่ยง เห็นลงไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒ (วันอาทิตย์ที่ ๑๘ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙)
File: 490618.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ว่าจิตคิด จิตจะตื่น จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

Mp3 for download: รู้ว่าจิตคิด จิตจะตื่น จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิดไว้ จิตไหลไปคิดแล้วรู้ จิตไหลไปคิดแล้วรู้ มันจะเกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เพราะจิตที่หลงไปคิดนั้นคือจิตที่ฟุ้งซ่าน ทันทีที่รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตจะสงบโดยอัตโนมัติ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ไม่ฟุ้งซ่าน จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้นแหละ เฉพาะหน้านะ เห็นความฟุ้งซ่านไหลมา ขาดปั๊บไป จิตก็ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อยู่คนเดียว จิตจะตั้งทีละขณะๆนะ

เพราะฉะนั้นเราหัดไปนะ วันนี้ลองไปดูก็ได้นะจิตแพทย์ จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้ คอยดูเรื่อยๆ บางทีจิตก็ไหลไปดู บางทีจิตก็ไหลไปฟัง บางทีจิตก็ไหลไปคิด ส่วนใหญ่ไหลไปคิด เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทัน ถ้ารู้ทันจิตไหลไปคิดนะ จิตจะตื่นขึ้นมา ตรงทีจิตตื่นขึ้นมานี่แหละ เป็นต้นทางของการที่จะเดินปัญญาล่ะ หลวงพ่อเทียนถึงบอกว่า ตรงที่รู้ว่าจิตคิดนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด เราจะได้สมาธิชนิดที่สอง ที่เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน จิตจะตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้แหละ จะสามารถเห็นลักษณะ คือไตรลักษณ์ ของรูปธรรม นามธรรม ทั้งปวงได้ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นล่ะก็ ไม่เห็นลักษณะ คือความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ถึงได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เห็นลักษณะ นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๘
File: 531211
ระหว่างนาทีที่ ๒๙วินาทีที่
๕๕ ถึงวินาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตั้งมั่น: รู้ทันจิตคิด จะได้จิตรู้

mp 3 (for download) : รู้ทันจิตคิด จะได้จิตรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อเทียนท่านก็สอนดีนะ ท่านบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่คิด ต้องแยกให้ออก พวกเรามาวันแรกๆ บางคนแยกตรงนี้ไม่ออก ระหว่างการรู้เรื่องที่คิดกับการรู้ว่าจิตคิด ไม่เหมือนกัน

การรู้เรื่องที่คิด หมาคิด หมาก็รู้นะ ไม่ใช่อัศจรรย์อะไร หมามันจะคิดอะไร หมามันก็รู้ว่ายังคิดเรื่องอะไรอยู่ เป็นเรื่องสมมุติบัญญัติ แต่การที่รู้ว่าจิตกำลังอยู่ในอาการคิดน่ะ เป็นการรู้อารมณ์ปรมัตถ์ละ ให้เรารู้ว่าจิตคิด

ทีนี้คนไหนไม่ถนัดรู้ลมหายใจจนกระทั่งจิตมาหยุดแล้วก็จิตเคลื่อนไป รู้ทัน จิตเคลื่อนไป รู้ทัน เอาอย่างอื่นก็ได้ ขยับมือไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน พุทโธไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน ใช้หลักอันเดียวกัน คือ รู้ทันจิตที่หนีไปคิด

ถ้าเรารู้ทันจิตที่หนีไปคิด จิตคิดจะดับ จะเกิดจิตรู้ขึ้นมาแทน จิตตัวนี้แหละจะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คนที่ภาวนาได้นะ มีลักษณะร่วมกัน มีจิตที่ตั้งมั่น

หลังเนี่ย คำว่า “พุทโธ” คำว่า “จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” อะไรเหล่านี้ เริ่มหายไปจากวงกรรมฐาน มีแต่เรื่องทำสมาธิ ทำจิตให้สงบ เคลิบเคลิ้ม เห็นโน่นเห็นนี่ นึกว่าดี ดีอะไร เรื่องของกิเลสนะ ต้องฝึกให้จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่  ๔๘ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เนื้อแท้ของพุทธศาสนา คือ สัมมาทิฏฐิ

mp 3 (for download) : เนื้อแท้ของพุทธศาสนา คือ สัมมาทิฏฐิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาเรียนเรื่องรูปธรรมนามธรรมของตัวเอง เรียนจนมันเห็นความจริง มันไม่มีตัวเรา จริงๆมันไม่มีตัวเรามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่อาศัยจิตวิปลาส จิตวิปลาสคือคิดผิด สัญญาวิปลาสคือหมายผิด ทิฎฐิวิปลาสคือ(ความ)เห็นผิด ค่อยๆสะสมสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เกิดความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนขึ้นมา มันมาจากคิดผิดก่อน หมายรู้ผิดๆ คิดผิด ก็เลยรู้สึกสำนึกผิดๆ เห็นผิด มันสะสมความเห็นผิดมาตลอดในสังสารวัฏฏ์นี้ เพราะฉะนั้นความเห็นผิดนี้แหละ เป็นกิเลสที่ร้ายที่สุดเลย ความเห็นผิดนี้ชื่อว่า “อวิชา”

ค่อยๆฝึก มีศีลขึ้นมานะ สู้กิเลสหยาบๆได้ ที่ทำให้พฤติกรรมทางกายทางวาจาไม่เรียบร้อย มีสมาธิขึ้นมานะ สู้กิเลสอย่างกลาง คือพวกนิวรณ์ทั้งหลายที่ทำให้จิตไม่เรียบร้อย มีปัญญาสู้กับความโง่ ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด เป็นกิเลสที่ละเอียดที่สุด เพราะฉะนั้นที่เราฝึก สิ่งที่ได้คือหายโง่

ไม่ใช่ว่าฝึกแล้วได้อะไรมา ไม่ได้ฝึกแล้วเสียอะไรไป ไม่ใช่ว่าฝึกไปสำเร็จนะ แล้วเสียขันธ์ ๕ ไป เราไม่ได้เสียขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเรามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ไม่ได้ฝึกแล้วได้มรรคผลนิพพานมา ได้ครอบครองพระนิพพาน เป็นเจ้าของพระนิพพาน ฝึกแล้วไม่ได้อะไรมาไม่เสียอะไรไป ได้ความรู้ความเข้าใจ เสียความโง่ไป

เพราะฉะนั้นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาจริงๆคือตัวสัมมาทิฎฐิเท่านั้นเอง ความเห็นถูก ถ้ามีความเห็นถูกนะ ก็คิดถูก หมายถูก มันไม่ยากอะไรหรอกนะ ทุกวันนี้จมอยู่ในความทุกข์ก็เพราะคิดผิด หมายผิด เห็นผิด มาเรียนรู้ความจริงของธาตุของขันธ์ให้มาก ถ้าไม่มีการเรียนรู้ความจริงของธาตุของขันธ์ ของอายตนะ ของกายของใจ ของรูปของนาม อะไรพวกนี้นะ ยังไม่ได้ชื่อว่าเจริญปัญญาเลย

ถ้าไม่ได้เจริญปัญญาจะล้างความเห็นผิดไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวล้างความเห็นผิด ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย สมาธิทำให้จิตใจเรียบร้อย ปัญญาทำลายความเห็นผิด ทำให้เกิดความเห็นถูก

เพราะฉะนั้นถ้าใครเขาถามเรานะ อะไรเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานะ ตอบไปอย่างองอาจกล้าหาญเลยนะ สัมมาทิฎฐิ สัมมาทิฎฐินั้นแหละคือพระพุทธศาสนา เนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
Track: ๒๐
File: 550127.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๘) สมาธิสงบทำเพื่อพักผ่อน สมาธิจิตตั้งมั่นทำเพื่อเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๘) สมาธิสงบทำเพื่อพักผ่อน สมาธิจิตตั้งมั่นทำเพื่อเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตนั้นล่ะ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติธรรมดานะ เดี๋ยวมันก็วิ่งไปดู เดี๋ยวมันก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวมันก็วิ่งไปคิด เราไม่ห้ามมัน แต่ว่าเมื่อจิตวิ่งไปดูวิ่งไปฟังวิ่งไปคิด โดยเฉพาะการวิ่งไปคิดเกิดบ่อยที่สุด นั่งอยู่นี่รู้สึกมั้ยขณะที่ฟังหลวงพ่อพูดเนี่ย บางทีก็มองหน้าหลวงพ่อนิดนึงใช่มั้ย มองแล้วก็ตั้งใจฟัง ฟังได้นิดเดียวนะ แล้วก็สลับไปคิด สังเกตมั้ยทุกคนในห้องนี้ ฟังแล้วก็คิด ฟังแล้วก็คิด สลับกันอยู่ตลอดเวลา เราไม่เคยเห็นนะสิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติธรรม อย่างบางคนคิดมากไปเลย สงสัยเลยว่า หลวงพ่อพูดเรื่องอะไร งงไปเลย

สังเกตตัวเองดู ฟังแล้วก็คิด ฟังแล้วก็คิดนะ จิตหนีตลอด จิตไหลตลอด จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด โดยเฉพาะจิตไหลไปคิดเกิดบ่อยที่สุด เกิดมากที่สุด เกิดนานที่สุด วันๆหนึ่งเผลอไปคิดนานมั้ย นั้นแหละนานมากนะ บางคนเผลอตั้งแต่ตื่นจนหลับเลย เผลอทั้งวันเลย เผลอวันละครั้งเดียวเผลอตั้งแต่ตืนจนหลับ เรามาหัดปฏิบัตินะ จนกระทั่งเผลอได้วันละร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง เผลอไปแว้บรู้สึก แว้บรู้สึก แว้บรู้สึก เผลอเนี่ยสั้นลงแต่เผลอบ่อยๆเผลอสั้นๆ เนี่ยคนปฏิบัตินะ ต้องคอยสังเกตจิต

พุทโธไป พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดแว้บรู้ทันว่าจิตหนีไปคิด หายใจไปจิตหนีไปคิดแว้บรู้ทันว่าจิตหนีไปคิด ดูท้องพองยุบไปจิตหนีไปคิดรู้ว่าจิตหนีไปคิด การที่เรารู้ทันว่าจิตมันไหลมันเคลื่อนไปนั้นน่ะ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา จิตตั้งมั่นก็คือจิตทรงสมาธินั่นเอง จิตที่ไม่มีสมาธิก็คือจิตที่ฟุ้งซ่าน นั่นก็คือจิตที่วิ่งออกไปนั่นเอง หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก

เพราะฉะนั้นเรามาฝึกนะ ขั้นต้น พวกเราทำกรรมฐานอะไรให้ได้สักอย่างหนึ่ง แต่ไมได้ทำเพื่อการบังคับให้จิตนิ่ง เราทำเพื่อจะคอยรู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า รู้ทัน คอยรู้ทันจิตของตัวเองเนืองๆ นี่ล่ะบทเรียนที่เรียกว่า จิตตสิกขา เรียนเรื่องจิต ถ้าเราเรียนเรื่องจิตได้ถ่องแท้ เราจะได้สมาธิชนิดที่พร้อมสำหรับการเจริญปัญญา สมาธิสงบนั้นเอาไว้พักผ่อนให้มีเรี่ยวมีแรง สมาธิตั้งมั่่นเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่หลงไป ไม่ไหลไป เอาไว้เจริญปัญญา คนละงานกันนะ คนละชนิดของสมาธิ

550409.17m25-20m04

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงนี้แหละที่เป็นข้อแตกต่างอย่างยิ่งนะ ระหว่างการทำสมาธิแบบเอาความสงบเป็นที่ตั้ง กับทำสมาธิชนิดที่จะทำให้จิตถอยยออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูเพื่อจะเดินปัญญา สมาธิมันมี ๒ ชนิด

สมาธิชนิดแรก สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตของเราปกติฟุ้งซ่าน หนีไปโน้นหนีไปนี้อยู่ตลอดเวลา เรามาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนี มาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย จิตสงบอยู่กับพุทโธ ได้สมถกรรมฐาน ได้ความสงบ เรารู้ลมหายใจไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เราได้ความสงบได้สมถกรรมฐาน

แต่จะฝึกให้จิตตั้งมั่น ไม่ลืมตัวเอง ต้องฝึกอีกแบบหนึ่ง ทำสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิที่จิตสงบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว มีชื่อทางวิชาการ ชื่อว่าอารัมณูปนิชฌาน อารัมณะคืออารมณ์นั่นเอง จิตนี้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นอยู่กับพุทโธอย่างเดียวไม่หนีไปไหน ไม่นึกไม่คิดอะไร อยู่กับพุทโธ หายใจก็สงบอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่คิดไม่นึกไม่หนีไปไหน อย่างนี้ได้ความสงบเฉยๆ

มีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ชื่อลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดนี้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู จิตไม่หลงไปในโลกของความคิด ไม่หลงเผลอไป ไม่ไหลไป แต่ตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกก็ใช้พุทโธ ใช้ลมหายใจ เหมือนที่ใช้ฝึกทำความสงบนั่นแหละ แต่ปรับวิธีนิดหนึ่ง ถ้าจะทำความสงบเราก็พุทโธให้จิตอยู่กับพุทโธ หายใจให้จิตอยู่กับลมหายใจ ดูท้องพองยุบให้จิตไปอยู่ที่ท้อง เนี่ยจิตได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกจิตให้ตั้งมั่นนะ หัดพุทโธไปแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ไม่ได้บังคับจิตว่าห้ามไปไหน ไม่ได้บังคับจิตว่าต้องอยู่ที่เดียวนิ่งๆ

550409.15m29-17m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางบรรลุธรรม (๓) ขั้นแรกของการฝึก การเจริญวิปัสสนา

mp3 for download : ทางบรรลุธรรม (๓) ขั้นแรกของการฝึก การเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางบรรลุธรรม (๓) ขั้นแรกของการฝึก การเจริญวิปัสสนา

ทางบรรลุธรรม (๓) ขั้นแรกของการฝึก การเจริญวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือการเจริญปัญญา การทำวิปัสสนา ไม่ใช่อะไรที่ลึกลับอะไรหรอก มันคือการฝึกจิตให้มองต่างมุม เดิมจิตเคยมองแต่ว่า “มีตัวเรา มีตัวเรา” มองอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา เรามาฝึกจิตให้หัดมองต่างมุม ให้เห็นความจริง ว่าขันธ์ไม่ใช่ตัวเรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเรา หัดดูไปเรื่อยๆ

เบื้องต้นก็ช่วยมันคิดหน่อยนึงก็ได้ สำหรับบางคนซึ่งชาติก่อนๆไม่เคยเดินปัญญามา คนที่ถ้าไม่เคยเจริญปัญญามาแต่ปางก่อนนะ เคยแต่ทำสมาธินะ พอจิตมีกำลัง จิตตั้งมั่นขึ้นมา ขนาดจิตตั้งมั่นแล้วนะ เป็นผู้รู้ผู้ตื่นแล้วนะ มันยังไม่ยอมดูธาตุดูขันธ์ทำงานเลย มันก็ตื่นอยู่เฉยๆ ว่างอยู่เฉยๆ จิตอย่างนั้นใช้ไม่ได้ จิตไม่เดินปัญญา

ถ้ามันไม่เดินปัญญา ก็ต้องช่วยมันพิจารณา ช่วยมันคิด คิดนำให้มันหัดมองต่างมุม ดูบ้างว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยงนะ ร่างกายเป็นทุกข์ ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา สอนมัน พอมันหัดมองต่างมุม พอมันชำนาญในการมอง ต่อไปมันมองเอง ตรงที่พามันมองเนี่ย ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ตรงที่มันมองได้เองถึงจะเป็นวิปัสสนานะ

เพราะฉะนั้นบางคน ถ้าอินทรีย์ไม่แก่กล้านะ ต้องช่วยมันพิจารณา ถ้าอินทรีย์แก่กล้าจริงนะ ขันธ์มันแตกออกไปเลย พอจับตัวผู้รู้ได้แล้วขันธ์จะแตกออกไปนะ

เคยมีโยมคนหนึ่ง ไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เรียนตอนเช้า ตอนเย็นนะ ขันธ์แตกออกมาแล้ว มีตัวผู้รู้ เพราะตัวผู้รู้ทำมาได้ตั้งแต่เด็ก ทำสมถะ ทำลมหายใจ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นับหนึ่ง อะไรอย่างนี้ มีจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้ว แต่ต่อไม่เป็น ไม่รู้จะเดินปัญญายังไง ก็ไปอยู่แค่นั้นเอง

ไปเจอครูบาอาจารย์ท่านสอนมา ให้ไปดูจิตต่อ พอจะมาดูจิตก็มาดู จิตต้องอยู่ในร่างกาย เห็นร่างกาย ดูซิจิตอยู่ตรงไหน อยู่ในผมมั้ย อยู่ในขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูกมั้ย ไล่ๆ ไล่ไปเรื่อยๆ สุดท้ายร่างกายก็แยกไปอยู่ส่วนหนึ่ง เพราะจิตเป็นผู้รู้อยู่แล้ว

พอไปดูกายเข้า จงใจมาดูกายนี้ ก็เห็นกายแยกออกไปอยู่ต่างหาก มาดูเวทนาก็เห็นเวทนาแยกออกไปอยู่ต่างหาก มาดูสังขาร ความปรุงต่างๆของจิต ก็แยกออกไปอยู่ต่างหาก กระทั่งเรื่องราวที่คิดนะ คิด อย่างคิดบทสวดมนต์ พุทโธ สุสุทโธ กรุณา มหรรณโว คิดบทสวดมนต์นี้ จิตเป็นคนรู้ขึ้นมานะ ความคิดกับจิตก็แยกออกจากกัน พอจิตกับความคิดแยกออกจากกันได้นะ ตัวรู้มันก็ผุดขึ้นมาอีก เป็นตัวรู้ที่มีคุณภาพมาก ไม่ใช่รู้อยู่เฉยๆด้วย คราวนี้ รู้แล้วเห็นขันธ์ทำงานได้

540805.03m41-06m37


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 41
File (ประเทศไทย): 540805.mp3
File (สหรัฐอเมริกาและยุโรป): 540805.mp3

นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

mp3 for download : Mp3 for download 530522_3 times of suffering

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : สังเกตดูเถอะ ตัวที่ทำให้เราทุกข์มากนะ คือความคิดของเราเองนี่เอง คิดไปก่อนแล้วก็กังวลนะ ระหว่างเจอปัญหาก็มัวแต่คิดวุ่นวายว่าทำยังไงจะไม่มีปัญหา ทั้งๆที่ปัญหามีแล้ว แทนที่จะคิดแก้ปัญหา คิดลดความรุนแรงของปัญหา ก็กลายเป็นคิดว่าทำยังไงปัญหาจะไม่มี อยากให้มันไม่มี พอปัญหามันต้องมี ก็ทุกข์สิ พอความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็อาลัยอาวรณ์ คร่ำครวญถึงอดีตที่เสียไปแล้วก็ทุกข์อีก เพราะงั้นความทุกข์เกิดได้สามเวลาเลย สามกาล สามกาละ แต่ทั้งหมดเลยมาจากคิดเอานะ

เรามาฝึกใจง่ายๆเลย ทำยังไงเราจะหลุดออกจากโลกของความคิด เรามาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว ถ้าเราอยู่ในโลกของความรู้สึกตัวได้ เราจะไม่กังวลถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เราจะไม่คร่ำครวญถึงอดีต เราจะมีสติอยู่ในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าท่านยกย่องมากนะ บอกว่าอดีตก็ผ่านไปแล้วนะไม่คร่ำครวญถึง อนาคตยังมาไม่ถึง ให้มีสติ มีสติมีปัญญาอยู่กับปัจจุบัน นี่ท่านยกย่องมากเลย

คนที่มีชีวิตอย่างนี้ คนที่ชีวิตแบบนี้จะไม่ทุกข์หรอก งั้นเราพยายามฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน จิตจะไหลไปคิดเรื่องอดีต รู้ทัน จิตจะกังวลไปถึงอนาคต รู้ทัน รู้ทันจิตอยู่ในปัจจุบันนี้ เรียกว่ามีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องไปรู้ทันอะไรหรอก รู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบันนี่แหละ ถ้าเราไม่รู้ทันจิตในปัจจุบันนะ จิตก็จะหลงไปอดีตมั่ง ไปคร่ำครวญถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว หลงไปอนาคต ไปกังวลถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบัน ความทุกข์จะเข้ามาไม่ได้ อดีตมันก็ไม่มีนี่ เพราะใจไม่หลงไปคิด อดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความคิดล้วนๆเลย อดีตจบไปหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว เหลือแต่ความจำ นึกออกมั้ย อดีตเหลือแต่ความจำไม่ได้มีจริงละ เราไปจำแล้วเราก็เจ็บอกเจ็บใจเสียอกเสียใจ เพราะฉะนั้นใจเราหลงไป คิดถึงอดีต จำได้ แล้วคิดถึง ก็ทุกข์ ใจเรากังวล ปรุงแต่งไปถึงอนาคตก็ทุกข์อีก

พยายามมีสติอยู่กับปัจจุบัน รู้ทันใจของเรา ใจไหลไปอดีตก็รู้ ใจไหลไปอนาคตก็รู้ ใจกำลังคิดวุ่นวายอะไร ลืมกายลืมใจอยู่ในปัจจุบัน เราก็คอยรู้สึก เนี่ยรู้อยู่ในปัจจุบันนะ ความทุกข์จะเข้ามาไม่ได้ ถ้าไม่รู้อยู่ในปัจจุบันมันก็จะหลงไปอดีต ไปอนาคต

ความทุกข์สามกาลนะเราแก้ไปได้สองละ ถ้าเรามีสติอยู่กับปัจจุบันนะ ความทุกข์ในอดีตไม่มีละ ความทุกข์ในอนาคตไม่มีละ เหลืออันเดียว อยู่กับปัจจุบันนะ อยู่กับปัจจุบันมันมีจริง ปัจจุบันมีจริง อดีตอนาคตไม่มี อดีตจบไปแล้วไม่มีแล้ว อนาคตยังไม่เกิด แต่ปัจจุบันมีจริง เพราะงั้นความทุกข์ในปัจจุบันมีจริงๆ ไม่ใช่ความทุกข์ที่คิดเลื่อนๆลอยๆ

อะไรที่เป็นความทุกข์ของปัจจุบัน รูปธรรม นามธรรม กายกับใจเราเนี่ย เป็นตัวทุกข์ในปัจจุบันนี่เอง อย่างคนทุกข์ถึงอดีตใช่มั้ย จริงๆ คือทุกข์ในปัจจุบัน ใช่มั้ย คนกังวลถึงอนาคตก็คือกังวลอยู่ในปัจจุบัน งั้นถ้าเราอยู่กับปัจจุบันนะ เรามีสติ รู้จิตรู้ใจตัวเอง มันจะปรุงความทุกข์ขึ้นมารู้ทันมัน ความทุกข์ทางใจจะหายไป เหลือแต่ความทุกข์ทางร่างกาย เพราะงั้นความทุกข์ในปัจจุบันมีจริงๆ คือรูปธรรมนามธรรมมีจริงๆ ไม่ใช่ฝันๆเอา ไม่ใช่คิดๆเอา ไม่ใช่จำๆเอาแต่มันมีอยู่จริง

เวลามีความทุกข์นะ ไม่ได้ให้หนีทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ทุกข์ อะไรเป็นทุกข์ กายนี้เป็นทุกข์ ใจนี้เป็นทุกข์ งั้นเราคอยรู้ลงในกายรู้ลงในใจบ่อยๆนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕

File: 530522
Track:3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๐๕


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนากิเลสหนังไม่ถลอก เพราะภาวนาสนองกิเลส

mp3 for download : ภาวนากิเลสหนังไม่ถลอก เพราะภาวนาสนองกิเลส

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาวนากิเลสหนังไม่ถลอก เพราะภาวนาสนองกิเลส

ภาวนากิเลสหนังไม่ถลอก เพราะภาวนาสนองกิเลส

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราภาวนาหรือทำอะไรก็ตามนะ มันเป็นการประกาศว่า “ฉันยังอยู่” อยู่ที่รู้ทันนะจึงจะหมด “ฉัน” ลงไปได้ แม้กระทั่งตั้งอกตั้งใจเดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ บางทีก็ทำไปเพื่อประกาศ “อัตตา” นะ ไปดูให้ดีเถอะ ทำอะไรก็มีอัตตาแทรกอยู่ทั้งหมดเลย

ยกตัวอย่างครูบาอ๊า มีอยู่คราวหนึ่ง ตามหลวงพ่อไป ตอนนั้นจะไปศาลาลุงชินมั้ง ไปแวะฉันที่มอเตอร์เวย์ พอฉันเสร็จแล้วมีทิชชูนะ ทิชชู ทำทิชชูปั้นกลมๆอย่างนี้ โยนหลงถุงขยะปุ๊บ โยนปุ๊บไปเห็นเลย ตรงที่ปั้นทิชชูนะ นี่ก็กูเก่งนะ โยนนี่ก็กูเก่งนะ นี่แค่ทิ้งทิชชูนะ ทิ้งขยะนะ อัตตาตัวตนยังแทรกเข้ามาเลยนะ

เพราะฉะนั้นพวกเราเนี่ยไม่ต้องกลัวหรอก ทำอะไรก็จะมีอัตตาตัวตนแทรกทั้งนั้น ความสำคัญอยู่ที่รู้ทันหรือรู้ไม่ทัน ถ้ารู้ไม่ทันนะ ทุกสิ่งที่ทำแม้กระทั่งการปฏิบัติธรรมก็ทำเพื่อสนองกิเลสทั้งสิ้น จะเป็นอย่างที่อาจารย์มหาบัวบอกว่า “ภาวนาแล้วกิเลสหนังไม่ถลอกเลย” เพราะว่าจริงๆทำเพื่อ Serve มัน (หมายถึง ทำเพื่อสนองกิเลส สนองการมีอัตตาตัวตน – ผู้ถอด)

แต่ถ้ารู้ทันใจตัวเองนะ แจ่มแจ้งไปเรื่อย เห็นมั้ยจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งนะ ไม่ได้สนองกิเลส กิเลสแทรกเข้ามารู้ทัน แทรกเข้ามารู้ทัน ความเป็นตัวตนไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา ดูออกกันแล้วใช่มั้ย ความเป็นตัวตนเกิดขึ้นเป็นคราวๆ เกิดเมื่อไร เกิดเมื่อหลงคิด ต้องหลงคิดนะ หลงดูอยู่ยังไม่คิดเนี่ย ตัวตนยังไม่เกิดนะ

เพราะฉะนั้นมันจะผูดขึ้นมาๆแล้วเราไม่รู้ พอมันผุดขึ้นมาก็ภูมิอกภูมิใจนะ บางคนเคยเห็นม้้ยขี้โมโห แล้วมาเล่าด้วยความภูมิใจว่า ดิฉันเวลาโมโห เห็นช้างเท่าหมู ฮ่า ฮ่า ฮ่า อย่างนี้ มัน serve อัตตาตัวตนทั้งสิ้นเลย กระทั่งมีกิเลสใช่มั้ย ก็กูเก่งอีกล่ะเนี่ย

หรือบางคน พวกเด็กสาวๆชอบเป็นมากเลยนะ สวมวิญญาณนางเอก สวมวิญญาณนางเอกชอบคิดจิตนาการอะไรให้มันเศร้าๆ แล้วแสบๆเจ็บๆอยู่ในใจนี่ ชอบมากเลย มันเพื่ออะไร เพื่อประกาศว่าฉันยังอยู่นะ ฉันยังอยู่นะ ฉันยังอยู่นะ ทำแล้วน่าทุเรศนะ ทำสนองกิเลสน่ะ อย่าทำนะ ทำอย่างนั้นเป็นการฝึกตกนรกนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๑๑ ถึงนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

mp3 for download : จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

จิตส่งออกนอก จิตไม่ตั้งมั่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจนี่จิตส่งออกนอกนะจิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลม ให้รู้ทันเข้าไป จิตไหลไปแล้วจิตไม่ตั้งมั่น หรือเวลาเราดูท้องพองยุบนี่จิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ให้เรารู้ทัน อันนี้ก็จิตไม่ตั้งมั่น หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอกทั้งนั้นเลย จะเดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ให้รู้ทัน นี่หลวงปู่ดูลย์ก็เรียกจิตออกนอกเหมือนกัน จิตมันส่งไป จิตมันเคลื่อนไป

เพราะฉะนั้นไม่ว่าจิตมันจะเคลื่อนไปทางไหนคอยรู้ทัน ก็จะเคลื่อนไป ๒ อย่าง อันหนึ่งเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด ไปรู้เรื่องราวที่คิด เรียกว่าไปรู้อารมณ์บัญญัติ อีกอันหนึ่งเคลื่อนไปเพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งกายเพ่งใจ เพ่งลมหายใจ เพ่งท้องเพ่งมือเพ่งเท้า อันนี้ไปเพ่งรูปนะ เพ่งอารมณ์ปรมัตถ์นะ ตัวรูป แต่ก็เป็นสมถะอีก เพราะฉะนั้นมันมีจิตไหลไป ๒ อย่างนะ อันหนึ่งไหลไปในโลกของสมมุติบัญญัติคือหลงไปในโลกของความคิด อีกอันหนึ่งไปเพ่งรูปเพ่งนาม อันนี้ก็ไม่ใช่รู้เหมือนกันทั้งคู่แหละ จิตส่งออกนอกด้วยกันทั้งคู่เลยนะ ส่งไปอยู่ที่ลม ส่งไปอยู่ที่ท้อง ส่งไปอยู่ที่เท้า จิตออกนอกนะ นอกจากอะไร นอกจากรู้ คำว่าจิตส่งออกนอก คือนอกจากอะไร ไม่ใช่นอกร่างกายนะ จิตส่งออกนอกคือนอกจากการรู้ ตื่น เบิกบาน จิตที่ถึงฐานจริงๆน่ะ จิตไม่เคลื่อนไป โดยไม่ได้บังคับไว้ด้วยนะ

ให้เราคอยรู้ทันไป ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วรู้ทัน จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไปเพ่งก็รู้ทัน นี่จิตออกนอกหมดเลย จิตไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลางนะ พอเรารู้ทันว่าจิตมันไหลไป โดยเฉพาะไหลไปคิด ถ้าไหลไปคิดนะ ความไหลไปคิดจะดับทันทีเลย เพราะจิตที่ไหลไปคิดเนี่ยเป็นจิตมีโมหะ มีโมหะแทรกอยู่นะ มันมีความหลงแทรกอยู่ เป็นอกุศลนะจิตหลงไปคิดนะ

ทันทีที่สติระลึกรู้จิตที่หลงไปคิดปุ๊บ ความหลงคิดจะดับทันทีอัตโนมัติเลย เพราะมันเป็นอกุศล สติเกิดแล้วอกุศลอยู่ไม่ได้ ดับทันที แต่ตอนที่หลงไปเพ่งนะ ทั้งๆที่เพ่งอยู่นั้นแหละ จิตไม่ดับไม่ถอนออกมาจากการเพ่งนะ คนละแบบกัน เพราะการไปเพ่งรูปเพ่งนามนะ เป็นกุศลนะไม่ใช่อกุศลนะ เป็นการทำความดี บังคับตัวเอง ควบคุมตัวเอง เป็นการปรุงดี ส่วนหลงไปคิดนั้นเป็นการปรุงชั่วนะ เพราะฉะนั้นถ้ารู้ทันว่าหลงไปคิดปุ๊บนะ จะหายทันที แต่ถ้าเพ่งอยู่แล้วรู้ว่าเพ่งอยู่ ไม่หายหรอก ก็ต้องค่อยๆจงใจค่อยๆคลายออกๆ

ที่มันไปเพ่งนะเบื้องหลังมันคือโลภ อยากดี อยากรู้อยากเห็น อยากเป็นอยากได้ อยากปฏิบัติ อยากจะไม่ขาดสติ นี่มีความอยากซ่อนอยู่นะ ก็ไปนั่งเพ่งเอาๆ ถ้ารู้ทันใจที่อยากมันก็เลิกเพ่งไปเองน่ะ ทำลายต้นทางมันซะนะ มันก็ไม่เพ่ง ที่เพ่งเพราะอยาก เนี่ยรู้ทันเข้าไป ใจก็คลายการเพ่งออกนะ

ไม่เผลอไปหลงไปในโลกของความคิด ไม่ไปเพ่งไว้ ใจก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตื่น

mp3 (for download)จิตตื่นเป็นอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตตื่น

จิตตื่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : คำว่าจิตตื่นของหลวงพ่อหมายถึง จิตซึ่งรู้สึกตัวขึ้นมา รู้สึกกาย รู้สึกใจ (รู้สึกความมีอยู่ของกายในขณะนั้น รู้สึกความมีอยู่ของใจในขณะนั้น – ผู้ถอด) ไม่ไปหลงเพลิดเพลินอยู่ในโลกของความคิด

ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดนั้นเอง

เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง

ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก

แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะมันปรุงไม่เลิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอ(จิต-ผู้ถอด)จำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง (หมายถึง สติเกิดโดยที่ไม่ได้จงใจให้เกิด – ผู้ถอด)

ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป

เหมือนเรานั่งสบายๆ นั่งเล่น นอนเล่น อยู่ในบ้านเรา เรามองออกไปทางประตู มองออกไปทางหน้าต่าง เห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน เนี่ยความรู้สึกทั้งหลาย ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศลทั้งหลาย เหมือนมันเดินผ่านหน้าบ้าน เราอยู่ในบ้าน สบายๆ ไม่เดือดร้อนอะไรกับใครเขา

สิ่งที่ผ่านหน้าบ้านเรา บางทีก็เป็นของสวยของงาม บางทีก็เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว เช่นหมาขี้เรื้อนวิ่งมา อะไรอย่างนี้ หมาบ้าวิ่งมาเนี่ย ผ่านหน้าบ้านไป อารมณ์ก็เหมือนกันนะ อารมณ์บางทีก็อารมณ์ที่ดี บางทีก็อารมณ์ที่เลว ผ่านมา แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีหรืออารมณ์ที่เลว นักปฏิบัติที่แท้จริงจะเหมือนคนที่นอนเล่นในบ้าน ไม่วิ่งตามไป

ไม่ใช่เห็นสาวสวยเดินผ่านหน้าบ้าน ก็วิ่งตามเขาไปนะ เห็นหมาบ้าวิ่งมาก็วิ่งออกไปไล่ตีมัน จิตใจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น จิตใจจะแค่เป็นคนรู้คนดู แล้วก็สิ่งเหล่านั้นจะไม่แอบเข้าไปในบ้านเรา เหมือนผู้ร้ายไม่กล้าเข้าบ้าน เจ้าของบ้านยังตื่นอยู่ ใจเราตื่นขึ้นมานะ ผู้ร้ายคือกิเลสมันเข้ามาไม่ได้ แต่ถ้าใจเราหลับเมือไหร่นะ มันย่องเข้ามา ย่องเบา เบาจริงๆนะ ย่องเข้ามา ไม่ทันรู้สึกหรอก กว่าจะรู้สึกตัวก็คือ มันขึ้นมาขี่คอเรียบร้อยแล้วนะ ให้คอยรู้สึกนะ รู้สึก…

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

CD: แสดงธรรมที่ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
File:
500916
ระหว่างนาทีที่  ๑ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย

mp 3 (for download) : ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ

ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา

เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ

ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้

เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย

นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐

อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สภาวะมีสองอย่าง

Mp3 for download: two sapawa

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สภาวะมีสองอย่าง

สภาวะมีสองอย่าง

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเราฝึกจิตใจของเราถึงช่วงนึง เราจะพบว่ามันเกิดสภาวะสองอย่างเท่านั้นเอง สภาวะที่ขณะนี้รู้ตัว หรือว่าขณะนี้เผลอไปแล้ว

พอเผลอไปก็จะไปปรุงแต่งอะไรเยอะแยะ เช่น เผลอไปเรื่องโลกๆ คิดเรื่องโลกๆ ใหญ่เลย นี่เผลอไปจริงๆ เผลอไปนั่งคิดๆ รู้เรื่องที่คิดแต่ไม่รู้ตัวเอง ก็เผลอเหมือนกัน

เผลอไปนั่งเพ่ง ไปจับอารมณ์ขึ้นมาอันนึงแล้วก็เพ่งนิ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียว ก็ยังเผลอ ยังหลงอยู่อีก หรือน้อมใจเข้าหาความสงบ น้อมไปเรื่่อย น้อมจนซึม ซึมเคลิ้มๆ ครึ่งหลับครึ่งตื่น ส่วนใหญ่จะคิดว่าดี ไม่ดีหรอก มันขาดสติ เพราะฉะนั้นการที่น้อมใจ ปรุงแต่งใจนั้นทำได้หลายรูปแบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑
File: 451117A
Track: ๑๑
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

mp3 (for download): เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

โยม: ขอถามคำถามอาจารย์ ทั้งๆที่เราก็รู้อยู่แล้วนะ ว่า สังขารนี้ไม่เที่ยง นะ ตัวสังขารเป็นทุกข์อยู่นะครับ นะ แต่บางครั้งบางคราวเนี่ย ทำไมเรายังยึดติดกับมันอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะเราไม่เห็นจริงนะ เราเห็น กับจิตเห็น คนละอันกัน เราเห็นด้วยเหตุด้วยผล แต่จิตเราไม่ยอมเชื่อ จิตเราจะมี bias มากเลย รัก รักตัวเองอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นระหว่างเราเชื่อกับจิตเชื่อ ไม่เหมือนกัน ทุกวันนี้ที่เราภาวนากันแทบเป็นแทบตาย คอยรู้กาย คอยรู้ใจ ให้เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อให้จิตมันยอมรับความจริง มันจะต้องเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงวันหนึ่งมันถึงจะยอมจำนนกับข้อเท็จจริง จิตนั้นมันดื้อ เราไม่ค่อยดื้อนะ เราเจอความทุกข์ เราก็รู้สึกความทุกข์ไม่ดีแล้ว เราอยากนิพพาน แต่จิตไม่อยากนะ จิตอยากอยู่กับโลก เพราะจิตกับเรามันคนละตัวกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๒
File: 491222
ระหว่างนาทีที่  ๐๕ วินาทีที่ ๐๖ ถึง นาทีที่ ๐๖ วินาทีที่ ๐๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

mp 3 (for download) : สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เราบอกว่าเราฟังธรรมเข้าใจเนี่ย   ความจริงไม่ได้เข้าใจด้วยการฟัง แต่เข้าใจด้วยการคิดเอาเอง การคิดเอาเองของเราเนี่ย  คิดถูกก็ได้  คิดผิดก็ได้ งั้นธรรมที่ฟัง ๆ เอานะยังใช้ไม่ได้ ฟังเอาพอเป็นแนว เพื่อจะมารู้กาย รู้ใจ  ศัตรูของการรู้กาย รู้ใจ  เบอร์หนึ่งเลยคือการที่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกาย ลืมใจที่เป็นปัจจุบัน รู้สึกไหม ขณะที่เราคิดไปเนี่ย เรานั่งอยู่เราก็ลืมไป จิตใจเราเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล เราก็ไม่รู้ นึกออกไหม   เนี่ยอย่างขณะนี้ลืมกาย ลืมใจแล้ว ตรงที่ไหลแว๊บไป

เพราะฉะนั้นตราบใดที่คุณยังคิดไม่เลิกนะ  คุณไม่ได้ทำวิปัสสนาแน่นอน แล้วมันเป็นศัตรูด้วย   หลวงพ่อเลยไม่ส่งเสริมให้มานั่งคิดนั่งถามนะ ที่สงสัยได้เพราะคิดมาก   คิดมากก็สงสัยมาก สงสัยแล้วอยากถาม ถามไปแล้วก็จำเอาไว้แล้วหรือเอาไปคิดต่อ นะ มันจะเวียนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ  วิปัสสนาจริง ๆ ไม่ใช่การคิด วิปัสสนาจริงๆ ในอภิธรรมสอนนะเริ่มจากตัวอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณเนี่ยมันเห็นความเกิดดับของรูปนามนะ แล้วระบุไว้ด้วยว่า ต้องพ้นจากความคิดด้วย ถ้ายังเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเอา เช่นคิดเอาว่าจิตตะกี้กับจิตเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่าเป็นไตรลักษณ์ นี่ได้แค่สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นยังตราบใดที่ยังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนา

หลวงพ่อพุธเคยสอนนะบอกว่า “สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด” ความคิดเนี่ยคือศัตรูเบอร์หนึ่งเลย   มันทำให้เราลืมกายลืมใจตัวเอง ส่วนศัตรูเบอร์สองคือการที่บังคับกาย บังคับใจ นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับกาย บังคับใจ   เพ่งเอา ๆ นะ กำหนดเอา ๆ กายก็ทื่อ ๆ ใจก็ทื่อ ๆ  ถ้าเราบังคับกาย บังคับใจ จนมันทื่อ ๆ ไปแล้วไตรลักษณ์มันจะไปอยู่ที่ไหน มันไม่แสดงตัวขึ้นมา

ศัตรูของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันแรก  หลงไป เผลอไป ขาดสติ ลืมเนื้อ ลืมตัว ตามใจกิเลสไปนี้เรียกว่า  อกุศลาภิสังขารมั่ง   อปุญญาภิสังขารมั่ง   เรียกว่า  กามสุขัลลิกานุโยคบ้าง มีหลายชื่อ

ศัตรูหมายเลขสองคือการเพ่งกาย เพ่งใจ บังคับกาย บังคับใจ กำหนดกาย กำหนดใจ ควบคุมไว้ ทำกายทำใจให้ลำบากอันนี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร  ความปรุงแต่งฝ่ายที่เป็นบุญ  เรียกว่า กุศลาภิสังขาร ความปรุงแต่งที่เป็นกุศลเรียกว่า  อัตตกิลมถานุโยค  การบังคับตัวเอง

เนี่ยสองทางนี้แหละเป็นทางสุดโต่งสองด้านที่พระพุทธเจ้าห้าม ถ้าเรายังไปทำส่วนใหญ่ไปทำอย่างนั้นเองคือไปเพ่งเอา กำหนดเอา ใจแข็ง  ทื่อ ๆ จ้องเอาไว้ ๆ นั่นไม่ใช่การเจริญสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๖
File: 491106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

mp3 for download : สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้เราจะทำอย่างไรให้เราจะมีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาบริบูรณ์ ขึ้นมาได้นะ เราต้องหัดเจริญสตินะ ถ้าเจริญสติถูกต้อง ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเกิดขึ้นมา

สติที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดเนี่ย ต้องเป็นสติปัฏฐาน ความจริง ถ้าพูดตรงๆก็คือ สติธรรมดาเนี่ยทำให้มีศีลได้ สติธรรมดาทำให้มีสมาธิได้ แต่สติธรรมดาทำให้เกิดปัญญาไม่ได้ ต้องสติปัฏฐานถึงจะทำให้เกิดปัญญา

ยกตัวอย่าง เรามีสตินะ กิเลสเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้น เรารู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้นะ ศีลมันเกิดขึ้นเอง ยังไม่ทันจะเห็นความเป็นไตรลักษณ์เลย ยังไม่ได้เห็นว่า โลภ โกรธ หลง เป็นไตรลักษณ์เลยนะ แค่รู้ทันมัน มันดับไปเองแล้ว เพราะมีสติเมื่อไหร่นะ อกุศลจะดับทันที เมื่ออกุศลดับไปนะ อกุศลครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็ไม่ผิดศีล เห็นมั้ย แค่มีสติธรรมดานี่แหละ ก็ไม่ผิดศีลได้

ยกตัวอย่าง มันเกลียดคนนี้มากเลย เห็นแล้วเกลียดมากเลย มันเกิดรู้ทันว่าเกลียดขึ้นมานะ ยังไม่ทันจะเห็นว่าความเกลียดก็เป็นไตรลักษณ์ จิตที่ไปรู้ความเกลียดก็เป็นไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นน่ะ แค่มีสติขึ้นมาความเกลียดก็ดับไป ความเกลียดครอบงำจิตไม่ได้ ก็ไม่ฆ่าเขา ไม่ตีเขา ไม่ด่าเขา อะไรอย่างนี้ ศีลก็มีขึ้นมา

ไปเห็นของคนอื่น สวยๆงามๆ ใจมันอยากได้ เกิดรู้ทันว่าอยากได้ เนี่ยยังไม่ทันมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์เลยว่า ความอยากก็เป็นไตรลักษณ์ จิตที่รู้จิตที่มีความอยากขึ้นมา ก็เป็นไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้ สิ่งที่เราไปอยากเข้าก็เป็นไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นหรอก แค่มีสติขึ้นมานะ เห็นใจมันอยาก ความอยากก็ดับไปแล้ว

ทำไมมันดับได้เอง เพราะเมื่อไรมีสติเมื่อนั้นจิตเป็นกุศล จิตที่เป็นกุศล ไม่เกิดร่วมกับอกุศล อกุศลต้องดับไปเอง ไม่ต้องทำอะไร มันดับของมันเอง ตรงนี้ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนานะ ถึงขั้นมีสติรู้ทันก็ดับไป

หรือจิตใจของเราแส่ส่าย วิ่งซ้ายวิ่งขวาตลอดเวลา วิ่งร่อนเร่ไปเรื่อย เรามีสติรู้ทันนะ ใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา หรือไปกำหนด มีสติไปจับอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข จิตจะสงบ จิตของเราปกติร่อนเร่ตลอดเวลา หนีไปหนีมาๆ เรื่อย ทำไมมันหนีได้ล่ะ มันถูกอารมณ์มายั่ว เที่ยวหาความสุข เที่ยวหนีความทุกข์ไปเรื่อย เรารู้ทันๆนะ ใจมันจะตั้งขึ้นมา เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นใจที่วิ่งไปวิ่งมานะ รู้เฉยๆนะ ใจก็จะตั้ง เพราะคนที่รู้เนี่ย ไม่ได้วิ่ง คนที่วิ่งไม่ได้รู้ จิตดวงที่วิ่งนั้นวิ่งไปแล้ว จิตอีกดวงหนึ่งเป็นคนรู้ ก็แยกออกมา ตัวที่วิ่งก็ดับไป เกิดตัวที่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นมีสตินะใจก็ตั้งมั่น ใจก็สงบได้เอง ยังไม่ได้ขึ้นวิปัสสนาเลย

แต่จะมีสติที่จะใช้ทำวิปัสสนา เดินปัญญา เรียกว่าเจริญปัญญา ต้องเป็นสติปัฏฐาน สติอื่นๆใช้ไม่ได้ มีคนหนึ่งเขียนจดหมายมาเล่าให้หลวงพ่อฟัง เขียนมายาวมากเลย เขียนมายาวมาก ไม่เคยเจอใครเขียนจดหมายมายาวเท่านี้ พอๆกับหนังสือเล่มหนึ่งเล็กๆ อ่านซะเหนื่อยเลย ก็เป็นเรื่องคอยรู้ทันนะ แล้วก็คอยคิดพิจารณา ยกตัวอย่างเห็นร่างกายก็พิจารณาเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ อะไรอย่างนี้ อันนี้ยังคิดอยู่ ยังเจือด้วยการคิดอยู่ ตราบใดที่ยังเจือด้วยการคิดจะไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก

ต้องทำสติปัฏฐานให้เป็นนะ คอยรู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ แล้วก็รู้ความเป็นจริงของกายของใจ ตามดูมันไปอย่างที่มันเป็น นี่คือการเจริญสติปัฏฐานนะ เบื้องต้นคอยรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ อย่าไปเพ่งใส่มัน แค่รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ รู้สึกไปเรื่อยนะ พอเรารู้สึกบ่อยๆ รู้สึกไปเรื่อยนะ ทีแรกเรารู้สึกจะรู้สึกเป็นจุดๆ แต่ที่เรารู้สึกที่ละจุดๆ ทีละขณะๆ เนี่ย พอมากๆเข้านะ มันจะเริ่มเห็นแล้ว ขณะนี้กับอีกขณะหนึ่ง มันเริ่มไม่เหมือนกัน มันจะเริ่มเห็นสภาวะเนี่ยมันเปลี่ยนๆๆไปเรื่อย

ยกตัวอย่างร่างกายนะ อยู่ตรงนี้ๆๆๆ มันก็เปลี่ยน หายใจออก หายใจเข้า เนี่ยมันเปลี่ยนนะ จิตก็เหมือนกัน จิตมันก็ขยับ ปั๊บๆๆๆ มันเปลี่ยนไปเรื่อย

ยกตัวอย่างความโกรธเกิดขึ้นนะ เห็น พุ่งขึ้นมาปึ๊บๆๆๆ ถึงหน้าแล้ว เรียกว่าเลือดขึ้นหน้า นี่โกรธแรง พอไปเห็น เดี๋ยวมันก็ลง ปุ๊บๆๆๆ เดี๋ยวก็ขึ้นอีก พอคิดอีก ขึ้นอีก พอไปรู้มัน มันก็ลง เราเห็น โอ๊ะ! มันเปลี่ยนแปลงแฮะ มันขึ้นๆลงๆได้เองแฮะ การที่เห็นมันเปลี่ยนแปลงเรียกว่าเห็นอนิจจังนะ เห็นเลยมันไม่คงทนอยู่ที่ใดที่หนึ่งนะ(ไม่คงทนอยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่งนะ-ผู้ถอด) เรียกว่าทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ เห็นว่ามันเป็นของมันเอง ถ้าเราคิดขึ้นมานะ โทสะก็เกิด พอไปรู้ทัน ไม่ได้คิดนะแต่ว่ารู้ทัน โทสะก็ดับ พอมีสติโทสะก็ดับ พอมีพยาบาทวิตก*โทสะก็เกิด เห็นมั้ย มันเป็นเองมัน ไม่ใช่เรา

นี่เราเดินปัญญา แต่ไม่ใช่คิดนะ ที่พูดให้ฟังเนี่ย ไปรู้เอา ทีแรกเราจะรู้เป็นจุดๆอย่างนี้ แต่รู้บ่อยๆแล้วเราจะเห็นว่ามันเปลี่ยน ไม่ใช่ดูไม่ให้คลาดสายตานะ บางคนเข้าใจผิด คิดว่าต้องจ้องไม่ให้คลาดสายตา เช่นดูพัดเนี่ย จ้องๆๆ อย่างนี้ไม่ใช่หรอกนะ

เวลาที่สติระลึก มันจะรู้ระลึกตรงนี้ได้แว้บหนึ่ง แล้วมันดับไป มันมาระลึกตรงนี้อีกแว้บหนึ่งแล้วมันดับ ระลึกตรงนี้อีกแว้บแล้วมันดับ มันจะเห็นน่ะว่ารูปแต่ละรูปมันเกิดดับได้ นามธรรมแต่ละอันก็เกิดดับวับๆๆๆไป อย่างนี้เรียกว่าเราเจริญปัญญาแล้ว มีปัญญา เห็นอะไร เห็นไตรลักษณ์

ทำสติปัฏฐาน มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ใจตั้งมั่นเป็นคนดู เราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจ เราเห็นปัจจุบันนะ เป็นขณะๆไป พอเห็นหลายๆอันนะ ต่อๆกันไปเรื่อยนะ ตามรู้เนืองๆ ท่านถึงบอกให้รู้เนืองๆ ไม่ใช่รู้ครั้งเดียว ถ้ารู้ครั้งเดียวไม่พอนะ ต้องรู้เนืองๆ

รู้เนืองๆไม่ใช่ว่า วันนี้โกรธแล้วรู้ พรุ่งนี้โกรธรู้อีก อย่างนั้นไม่ใช่ ถ้าความโกรธผุดขึ้นมาก็รู้ไปๆ เห็นมันดับไปนะ เดี๋ยวตัวอื่นเกิดขึ้นมาแล้วก็รู้..เห็นมันดับไป นี่รู้เนืองๆ แต่ไม่ได้จ้อง ถ้าจ้องเนี่ยรู้แบบไม่ให้คลาดสายตานะ ผิดนะ

*พยาบาทวิตก ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น, ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พวกช่างคิดต้องดูจิต

mp3 for download : พวกช่างคิดต้องดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พวกช่างคิดต้องดูจิต

พวกช่างคิดต้องดูจิต

โยม :กราบนมัสการหลวงพ่อครับ กระผมเป็นคนชอบคิดนะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เหรอ น่าสงสารนะ ถ้าชอบคิดน่าสงสารนะ ว่าไง

โยม : เดิมอยากจะนั่งสมาธิ แต่ทำไม่ค่อยได้ ก็เลยเลือกปฏิบัติที่จะดูความเผลอ แล้วก็รู้สึกตัวมา โดยอาศัยกายมาเป็นวิหารธรรมครับ ไม่ทราบว่าถูกจริตของผม?”

หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้ม.. ใช้ได้สิ ถูกจริตอยู่แล้วล่ะ เราพวกช่างคิดก็ต้องดูจิตเอา พวกช่างคิดไปดูกายไม่ได้หรอกนะ เพราะใจไม่ตั้งมั่น ไม่มีสมาธิพอ จะดูกาย จะดูเวทนา จิตต้องมีสมาธิพอ จิตของคุณดีขึ้น คุณรู้สึกมั้ย มันโปร่งโล่งเบาขึ้น

เราอย่าไปวาดภาพเอาเองนะว่า ก่อนจะปฏิบัติต้องทำสมาธิ การปฏิบัตินั้นมีตั้งหลายแนวทาง พวกหนึ่งใช้สมาธินำปัญญา ทำความสงบเขัามาแล้วไปพิจารณากาย ไปรู้กาย รู้เวทนา พวกหนึ่งใช้ปัญญานำสมาธิ คือดูจิตเข้าไปเลย อีกพวกหนึ่งใช้สมาธิและปัญญาควบคู่กัน อันนี้สำหรับคนที่ชำนาญ ทำสมาธิอยู่นะ แล้วดูความเกิดดับอยู่ภายใน เห็นองค์ฌานทั้งหลายเกิดดับๆอยู่ข้างใน อันนั้นถ้าเราทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร มันมีตั้งหลายแนวทาง

เราใช้ปัญญานำสมาธิได้ เราก็มีสติรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเลย รู้สึกมั้ยจิตก็สงบขึ้น เห็นมั้ย จะไปนั่งสมาธิจะให้จิตสงบมันไม่ยอมสงบหรอก แต่เรามีปัญญานำ คือ ไม่ใช่คิดนำนะ ปัญญานำ กับคิดนำ คนละเรื่องกันเลยนะ คิดนำใช้ไม่ได้นะ ปัญญานำหมายถึงมีสติดูของจริงเลย ดูของจริงในใจเราที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเกิดดับไปเรื่อย ดูไปเรื่อยๆนะ ใจจะสงบเอง ใจจะตั้งมั่น สมาธิเกิดขึ้นเอง ที่ฝึกอยู่ใช้ได้นะ ใจก็สงบ ใจก็ตั้งมั่น เพียงแต่ตอนนี้ประคองไว้นิดหน่อย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พอขันธ์กระจายตัวออกไปเนี่ย ปัญญามันจะเกิดได้

mp3 for download : พอขันธ์กระจายตัวออกไปเนี่ย ปัญญามันจะเกิดได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พอขันธ์กระจายตัวออกไปเนี่ย ปัญญามันจะเกิดได้

พอขันธ์กระจายตัวออกไปเนี่ย ปัญญามันจะเกิดได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจทั้งสิ้น มิใช่จิตหรอก ราคะไม่ใช่จิตนะ เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในจิต โทสะก็ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในจิต โมหะก็ไม่ใช่จิตอีก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา ปัญญา เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่จิตทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในจิต เรียกว่า “สังขาร”

สิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในจิตมีสองอัน มีเวทนากับสังขาร สัญญานี้เป็นตัวแปลความหมาย ไม่ต้องเรียนเยอะ เรียนเยอะแล้วเดี๋ยวเวียนหัว ถึงสัญญานี้พร้อมจะเพี้ยนแล้ว เพราะจริงๆขณะนี้ พูดตรงๆนะ พวกเรามีสัญญาวิปลาส ไม่ได้แปลว่าบ้านะ สัญญาวิปลาสคือการหมายรู้ผิดๆ จิตวิปลาสคิดผิดๆ สัญญาวิปลาสหมายรู้ผิดๆ ทิฏฐิวิปลาสมีความเห็นผิดๆ พวกเรามีวิปลาสเยอะแยะเลย หลายอย่าง ตอนนี้ยังดูยาก เพราะฉะนั้นค่อยๆหัดดูของจริง หัดเจริญสติ หัดภาวนาไปนะ วันหนึ่งหายวิปลาสได้ หายบ้าได้ ความเห็นก็เห็นถูก ความคิดก็คิดถูก การหมายรู้ ก็หมายรู้ถูกๆ จะถูกขึ้นมา ค่อยฝึกเอา

เพราะฉะนั้นตอนนี้ สิ่งที่เราต้องหัดรู้อันแรกเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง เวทนา ความสุขความทุกข์ในกาย ความสุขความทุกข์ ความเฉยๆในใจ อันนี้อยู่อีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า “เวทนา” ความปรุงดี ความปรุงชั่ว ความปรุงกลางๆไม่ดีไม่ชั่ว อันนี้เกิดขึ้นที่ใจเรียกว่า “สังขาร” เป็นสามอันแล้วนะ มีรูป มีเวทนา มีสังขาร มีจิตเป็นคนรู้คนดู ฝึกให้ได้อย่างนี้นะ

พอขันธ์กระจายตัวออกไป ปัญญามันจะเกิดได้ ถ้าขันธ์มันมารวมตัวกัน มันรวมเป็นกลุ่มเป็นก้อน มันจะรู้สึกว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ แต่ถ้าขันธ์นี้แยกตัวออกไป กระจายออกไป มันจะเห็นรูปที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นี้ไม่มีเรา ตัวที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นี้ไม่ใช่เราแล้ว เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งเคลื่อนไหว ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เห็นทันทีเลย

เห็นได้เพราะอะไร? อันที่หนึ่ง สติระลึกรู้รูปที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ มีสติระลึกรู้รูปนี้ ถ้าใจลอยจะเห็นไม่ได้ ใจลอยก็ลืมกายลืมใจ เพราะฉะนั้นอันที่หนึ่ง มีสติรู้รูปที่กำลังเคลื่อนไหว อันที่สอง ใจนั้นมีสัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ใจมันอยู่ต่างหาก มันแยกออกมาอยู่ต่างหาก เป็นแค่คนดู มันจะเห็นว่าตัวที่เคลื่อนไหวอยู่นี้ ไม่ใช่เราเลย เป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้นเอง สิ่งใดถูกรู้ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา

พวกเราเห็นไหม พัดนี้ถูกพวกเรารู้อยู่ รู้สึกไหม? มีใครเห็นพัดเป็นตัวเรา มีไหม? ไม่มีนะ ยกเว้นคนชื่อพัชนะ ถามว่าพัดเป็นเราไหม พัชเป็นเราค่ะ

ดูลงไปเรื่อยๆนะ ในที่สุดจะเห็นเลย รูปที่เคลื่อนไหวอยู่ รูปที่หยุดนิ่งอยู่ รูปที่หายใจ รูปที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่ ไม่ใช่ตัวเราหรอก ไม่ใช่คนด้วย เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ดูอย่างนี้

ดูความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์เกิดขึ้น ความสุขเกิดขึ้นมา ใครเห็นความสุขเป็นเราก็เพี้ยนแล้ว ความปวดขาเกิดขึ้น ใครเห็นความปวดเป็นเราก็เพี้ยนแล้ว ไม่เป็นหรอก ดูง่ายนะ จะเห็นว่าไม่ใช่เรา

ตัวที่เหนียวแน่นที่สุดว่าเป็นเราคือจิตนะ เหนียวแน่นอันดับสองที่ว่าเป็นเราคือกาย คือตัวรูป ส่วนตัวที่เหลือนี่เป็นตัวที่ดูง่ายว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าดูตัวมันยากนะ มันละเอียด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
ลำดับที่ ๗
File: 530606A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212