Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขา คือต้องรู้เท่าทันจิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขาคือต้องรู้เท่าทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสมาธินั้นมี ๒ ชนิด เราต้องเรียนให้ชัดเจนนะ ส่วนมากนะ คนที่ทำสมาธินะ รุ่นก่อนนี้นะ เกือบทั้งหมดเลย ทำสมาธิออกนอก ไปพุทโธ จิตไปอยู่ที่พุทโธ ไปรู้ลมหายใจ จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ จิตไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกลม จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่เคยรู้ทันจิตตนเองเลย การที่ไม่รู้ทันจิตตนเองนี่ เรียกว่า ข้ามบทเรียนสำคัญของพระพุทธเจ้าไปบทนึง ชื่อ “จิตตสิกขา” เราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา

เพราะงั้นต่อไปนี้ เราทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา เคยพุทโธก็ใช้พุทโธได้นะ เคยหายใจ ก็ใช้ลมหายใจได้ เคยดูท้องพองยุบ ก็ใช้ท้องพองยุบได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าทำแล้วมันสบายใจนะ เพียงแต่กลับนิดนึง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่กับพุทโธ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ท้อง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่มือ ที่เท้า “ให้คอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป” พุทโธๆจิตเคลื่อนไปที่อื่น เช่น เคลื่อนไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน

จิตมันจะเคลื่อนไปใน ๒ ลักษณะเท่านั้นเอง คือเคลื่อนหลงไปในโลกของความคิด กับเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ ถ้าจิตเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ นั่นคือ การทำสมถะกรรมฐาน จะได้ความสงบเฉยๆ จะไม่มีปัญญา ถ้าจิตเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด อันนั้นหลงไปเลย สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ ใช้ไม่ได้เลย เวลาที่จิตหลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๙) เบื้องต้นทำกรรมฐานที่ทำแล้วมีความสุข

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๙) เบื้องต้นทำกรรมฐานที่ทำแล้วมีความสุข

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีฝึก ต้องหากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำ เบื้องต้น ต้องทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง กรรมฐานอะไรก็ได้ ที่เราทำแล้วมีความสุข ถ้าทำแล้วเครียด ไม่เอาเลยนะ

อย่างบางคน ไปเดินจงกรมแล้วเครียด เดินแล้วเครียดนะ เดินแล้วตึงไปหมดเลย เครียดไปหมด หลังยอก-คอยอก แขนขาตึงไปหมดนะ อย่างนั้นแสดงว่า ไม่เหมาะกับจริตของเรา

กรรมฐานต้องดูตัวเอง ว่าเราอยู่กับกรรมฐานชนิดไหน แล้วจิตใจมีความร่มเย็นเป็นสุข ให้เอากรรมฐานอย่างนั้นแหล่ะ แต่ว่า ไม่ใช่น้อมจิต ไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน แล้วให้จิตร่มเย็นเป็นสุขอยู่เฉยๆ การน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งนะ เป็นการทำสมถะกรรมฐาน เพื่อพักผ่อนเท่านั้นเอง จิตใจมีความสุข มีความสงบ มีความดี แต่จะไม่เดินปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรม ยังไง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรม ยังไง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อสองสามวันก่อนนะ มีเด็กหนุ่มๆคนนึง ไปถามหลวงพ่อที่วัดหลวงพ่อ บอกว่า ผมจะฝึกเดินจงกรมจะเดินยังไง? หลวงพ่อเรียกเลย บอก เอ้า ออกมาเดินหน้าชั้น มีที่อย่างนี้ ออกมาเดินเลย ให้คนเป็นร้อยเนี่ยดูฃ

มันก็ใจเด็ดนะ ไอ้หนุ่มนี้ลุกออกมาจริงๆ ลุกเดินก้มๆๆออกมา หลวงพ่อก็รีบบอก อย่าเพิ่งเดิน รู้สึกมั้ย ที่เดินมาสามสี่ก้าวเนี่ย ไม่ได้รู้สึกตัวเลย เพราะอะไร เพราะคิดว่าตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ เดี๋ยวต้องมาเข้าหัวทางจงกรมก่อน ถึงจะเริ่มการปฏิบัติ เดินอยู่ทุกๆก้าวนี่ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ เห็นมั้ย แยกการปฏิบัติกับชีวิตออกจากกันแล้ว

แท้จริงการปฏิบัติทำกันตลอดเวลานะ เท่าที่มีสติจะทำได้ ไม่ใช่ไปแบ่ง ว่าช่วงนี้คือเวลาปฏิบัติ ช่วงนี้ไม่ต้องปฏิบัติ คำว่า “ไม่ต้องปฏิบัติ” ต้องไม่มีอยู่ในสารบบของเราเลย ถ้าอยากได้มรรคผลจริงๆ งั้นลุกขึ้นมา หลวงพ่อเรียกให้มาเดินจงกรม

ถ้าหลวงพ่อเรียกให้เดินจงกรม ก็หมายถึงว่า ทุกก้าวที่เดินมานี่แหล่ะ เดินจงกรมทั้งหมด แต่ไม่ใช่เดินย่องๆมานะ ไม่ใช่การเดินจงกรมคือการย่องๆๆอย่างนั้น ไม่ใช่นะ ทุกก้าวที่เดินปกตินี่แหล่ะ ถ้ามีสติ เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย ถ้าขาดสติ ถึงมาเดินกลับไปกลับมา เดินงุ่มง่ามช้าๆ ก็ไม่เรียกว่าเดินจงกรม เรียกว่าเดินสะเปะสะปะโดยขาดสติ เพราะฉะนั้นเมื่อไรมีสติ ทุกก้าวที่เดินนั่นแหล่ะ คือการเดินจงกรม

นี้หนุ่มคนนี้เค้าไม่เดินจงกรม คือไม่เจริญสติ หลวงพ่อเรียกให้มาเดินโชว์ ก็ลุกขึ้นมา ขาดสติเลย ลืมเนื้อลืมตัว ตื่นเต้นไม่รู้ว่าตื่นเต้น อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ ร่างกายกำลังเดินอยู่ ไม่รู้ว่าร่างกายเดินอยู่ อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้

เอ้า พอเดินมาถึงหัวทางจงกรม ทำอะไรรู้มั้ย วางฟอร์ม (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ นักปฏิบัติชอบทำอย่างนี้ เวลาที่ไม่ได้คิดว่าเป็นเวลาปฏิบัตินะ ก็หลงไปเลย เผลอไปเลย พอคิดถึงการปฏิบัตินะ ก็บังคับกายบังคับใจทันทีเลย

นี่แหล่ะคือความสุดโต่งสองด้าน ที่พระพุทธเจ้าห้าม สุดโต่งอันที่ ๑ ชื่อ “กามสุขัลลิกานุโยค” การหลงตามกิเลสนี่เอง อย่างเราหลงตามกิเลส เช่น เราหลงไปทางตา หลงไปทางหู หลงไปดูเค้าลืมตัวเอง หลงไปฟังเค้าคุยกันลืมตัวเอง หลงไปคิดแล้วก็ลืมตัวเอง นี่หลงตามกิเลส เป็นความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว

พอคิดเรื่องปฏิบัติก็เริ่มบังคับกายบังคับใจ วางฟอร์มขรึมๆ พวกเราเป็นมั้ย นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย นี่พูดแบบเกรงใจนะ เกือยร้อยละร้อยน่ะ คือนักวางฟอร์ม ต้องทำขรึม งั้นมันจะดูสง่างามดี น่านับถือ

หารู้ไม่ว่า เดินช็อปปิ้งก็เดินจงกรมได้ เดินข้ามทางม้าลาย ก็เดินได้ แต่อย่าไปเดินย่องๆนะ รถทับเอา เดินปกติ เหมือนที่พ่อที่แม่สอนให้เดินนั่นแหล่ะ แต่เติมสติลงไป เติมความรู้สึกตัวลงไป อย่าใจลอย

คำว่าใจลอยก็คือขาดสตินั่นเอง อาการของมันก็คือ เราไปหลงคิดไป เรามัวแต่รู้เรื่องที่เราคิดนั่นแหล่ะ เรียกว่าใจลอย ถ้าเมื่อไหร่ใจเราแอบไปคิดปุ๊บ รู้ทันว่าคิด เรียกว่ามีสติแล้ว เราจะรู้กายเราจะรู้ใจได้ทันที

เพราะฉะนั้นเราต้องปฏิบัติ ในชีวิตประจำวันให้ได้นะ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ต้องรู้สึกตัว ต้องรู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหว คอยรู้สึก แต่ไม่ใช่วางฟอร์มไปเพ่งให้มันนิ่งๆ ไม่ใช่เดินให้มันผิดธรรมดา ไม่ใช่ตามบังคับใจให้นิ่งผิดธรรมดา รู้ไปตามธรรมดานั่นแหล่ะ เพราะอะไร เพราะเราต้องการเห็นความเป็นธรรมดา ของกายของใจ ธรรมดานั่นแหล่ะ ธรรมะล่ะ

ธรรมดาของกายของใจ ก็คือกายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ เนี่ยต้องการให้เห็นธรรมดา คือแค่นี้เอง พอเห็นแล้ว ต่อไปรู้ความจริง เออ กายกับใจมันไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ได้พระโสดาบันนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒ (วันอาทิตย์ที่ ๑๘ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙)
File: 490618.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๔๖ ถึง นาทีที่ ๓๙ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำเล่นๆได้ของจริง ทำจริงๆได้ของเล่น

mp 3 (for download) : ทำเล่นๆได้ของจริง ทำจริงๆได้ของเล่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : นมัสการหลวงพ่อค่ะ ไม่ได้มากราบหลวงพ่อหลายเดือนแล้วนะคะ มีอยู่วันนึงนะคะ ครึ่งวันเลย คือมีความทุกข์มาก แล้วก็ไม่ได้ทำอะไร แต่มันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเลยค่ะ ก็เลยคิดว่าตัวเองเดินจงกรมมากไปรึเปล่า ก็เลยหยุด มันมีอยู่ช่วงนึงค่ะ แต่ช่วงนี้หยุดมาซักพักนึงแล้ว ไม่ทราบว่าหย่อนไปมั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ยังไม่หย่อนนะ แต่มากกว่านี้จะหย่อนแล้ว

โยม : อ๋อ…ค่ะ ใช้ขยับนิ้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขยับไป

โยม : ขยับนิ้วช่วงวันน่ะค่ะแทน เพราะว่ารู้สึกเดินจงกรม แล้วเราตั้งใจมากเลยค่ะ แล้วมันก็เครียด

หลวงพ่อปราโมทย์ : แล้วเราขยับไป ขยับเล่น ขยับเล่นนะ ถ้าเดินจงกรมก็ต้องเดินเล่น อะไรๆก็ต้องเล่นนะ ทำเล่นๆได้ของจริง ทำจริงๆได้แต่ของเล่น ของเล่นเช่น ได้หูทิพย์ตาทิพย์ รู้วาระจิตอะไรนี้ ทำเล่นๆ รู้กายเล่นๆ ดูซิกายมันทำอะไร กายมันก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ดูเล่นๆ ดูจนเห็นความจริงเลย ไม่ใช่เรา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
Track: ๑๐
File: 510315.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๕๕ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมแล้วเพ่ง

mp 3 (for download) : เดินจงกรมแล้วเพ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โยม : กระผมพยายามเดินจงกรม มาได้สักพักหนึ่งนะครับ (หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..) พอคิดว่าเราจะเดินจงกรมปุ๊บ มันก็ปวดต้นคอ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. งั้นไม่เอานะ อย่าไปทำอย่างนั้นเลย

โยม : ผมเลยอยากมากราบเรียนถามหลวงพ่อ ขออุบายหรือวิธี (หลวงพ่อปราโมทย์ : ไปเดินเล่น) ไปเดินเล่น???

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. เดินเล่นนะ เดินชมนกชมไม้ แต่ระวังอย่าไปเดินข้างถนน เดี๋ยวรถเหยียบเอา เดินชมนกชมไม้ไปนะ แล้วใจเราสบาย เราก็รู้ ใจเรากลุ้มใจ เราก็รู้ เดินไปแล้วใจเราใจลอยไปคิดเรื่องอื่น เราก็รู้ (โยม : ครับ) ไปฝึกเล่นๆ

โยม : ไปเดินเล่นนะครับ

(เสียงฮา..)

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออนะ แต่ไม่ใช่เดินเรื่อยเปื่อยนะ ไม่ใช่เดินใจลอยไปเรื่อย คือพอเราคิดเรื่องปฏิบัติแล้วเรามาเดินจงกรมเนี่ย พอเริ่มเข้าทางจงกรม เราก็เริ่มเพ่งแล้ว การบังคับตัวเองแล้วมันเครียด มันเครียดแล้วปวดหัว ปวดไหล่ ปวดคอ อะไรอย่างนี้ ปวดลูกตา นะ (โยม : ครับ) ก็ไม่ดี (โยม : ครับ) การภาวนาจริงๆ คำว่าการเดินจงกรมน่ะ คำว่าจงกรมแปลว่าเดิน เพราะฉะนั้นทุกก้าวที่เดินนะ เดินไปแล้วเห็นร่างกายมันเดิน พอใจลอยรู้ว่าใจลอย แค่นั้นเราก็เรียกว่าเดินจงกรมแล้ว ส่วนการเดินกลับไปกลับมานี้เป็นการเดินในรูปแบบนะ อาจจะเดินเรื่อยเปื่อยก็ได้ ใจลอยไปที่อื่น หรือเดินทรมานตัวเองก็ได้ ไม่ได้เดินจงกรมที่แท้จริง ไม่ได้มีสติ นะ เพราะฉะนั้นไปทำเล่นๆนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
Track: ๕
File: 520426B
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๖ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรม เดินด้วยความรู้สึกตัว

mp 3 (for download) : เดินจงกรมด้วยความรู้สึกตัว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาเราเดินไปนะ เราเดินเอาความรู้สึกตัว เราไม่เดินเอาระยะทาง เราไม่เดินเอาเวลา บางคนเดินเอาระยะทาง รีบจ้ำๆใหญ่ คนโบราณเรียก เหมือนตามควาย จ้ำๆ จ้ำๆ ไปนะ กะว่าเดินได้ครบหนึ่งพันรอบแล้วจะเลิก รีบจ้ำให้มันครบแล้วสบายใจ พวกหนึ่งเอาเวลา จะเดินสามชั่วโมงนะ เดิน..เมื่อไหร่จะถึงสามชั่วโมงสักที วันไหนถึงแล้วก็สบายใจ เราไม่ได้เอาอย่างนั้น เราเดินเอาสติ

เพราะฉะนั้นเราเดินไป เดินไปสบายๆ หายใจช้าลงหน่อยนึงก็ได้ หรือถูกจริตที่จะเคลื่อนไหวเร็วๆก็ได้ ช้าก็ได้ เร็วก็ได้ อะไรก็ได้ทั้งนั้นแหละ เคลื่อนไหวไป พอใจลอยปื๊บไป.. รู้สึกตัว แล้วก็เดินต่อไปอีก ถ้ามันลอยรุนแรง ก็รู้สึกตัวยืนเลย ก็ได้ หยุดเลย รู้สึกตัวขึ้นมา แล้วก็เดินเอาใหม่ เดินไปสุดทางจงกรม อย่างเพิ่งหันกลับมา ตอนนี้เป็นจุดอ่อนที่กิเลสจะโจมตี ตรงสุดทางเนี่ย รู้สึกตัวขึ้นมาเสียก่อน ค่อยๆหันกลับมา หันกลับมาอย่าเพิ่งเดิน ถ้าหันกลับมาแล้วจะเดินทันทีเนี่ย จิตมันจะเดินไปก่อนขา มันจะไม่สัมพันธ์กัน กายไปทางหนึ่ง จิตไปทางหนึ่ง ใช้ไม่ได้

เวลาเราหันกลับมา เรารู้สึกตัว ให้สบายๆ แต่ไม่ใช่แข็งนะ ไม่ใช่อย่างนี้นะ อย่างนี้จะไปตีกับเขาละ เหมือนพวกซามูไร อย่างนั้นไม่ได้นะ จะฟันหัวเขาละ รู้สึกตัวสบายๆ ก็ก้าวเดินไป เดินไปพอใจลอยก็จะหยุดก็ได้ รู้สึกตัวใหม่ ก็เดินใหม่ เดินไปเรื่อย เพราะฉะนั้นความรู้สึกตัวมันจะตั้งขึ้น ตั้งขึ้น

ถึงจุดหนึ่งเราก็จะเห็นโดยที่ไม่ได้เจตนาจะเห็น ร่างกายที่กำลังเดินอยู่นี้เป็นรูปมันเดิน มิใช่เราเดิน ร่างกายนี้เป็นรูปเดิน ใจเป็นคนดู เฝ้ารู้เฝ้าดูไป เห็นมันเดิน ถึงจุดนี้มีสิ่งที่ต้องระวังก็คือ พอรู้กายมันเดินไปนานนี่จิตชอบถลำเข้าไปเพ่งกาย เราก็รู้ทันว่าจิตถลำลงไปแช่ที่กายแล้ว รู้สึกตัวใหม่ หยุดเดิน แล้วรู้สึกตัว แล้วค่อยเดินไป เห็นร่างกายมันเดินไปอีก

หรือว่าเดินๆอยู่ กุศล-อกุศล อะไรเกิดขึ้นในจิตในใจ เราก็คอยรู้ทัน เพราะฉะนั้นการปฎิบัติ รู้กายไปรู้ใจไป เอากายเป็นเครื่องสนับสนุนความรู้สึกตัว จะทำง่าย ถ้าดูจิตล้วนๆเลย จะทำได้กับบางคนนะ บางคนดูจิตล้วนๆก็ได้ ทีนี้ถ้ากำลังเรายังไม่พอ ใจเราไม่ตั้งมั่น เราก็เอาการเคลื่อนไหว เอาการปฏิบัติในรูปแบบเป็นตัวช่วย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณอรัญวาสี เมื่อครั้งพำนักที่สวนโพธิญาณอรัญวาสี
ในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๘ ก่อนฉันเช้า


สวนโพธิญาณอรัญวาสี
CD: สวนโพธิญาณอรัญวาสี แผ่นที่ ๑๐
Track: ๑
File: 480911A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๖) จดเริ่มต้นของการฝึกเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรามาหัดถอดตัวเอง ทำอย่างไรดี ขั้นแรกเลยนะ เราต้องรู้สึกตัวให้เป็นก่อน ถ้าใจเราลอย ใจเราฟุ้งซ่าน คิดโน่นคิดนี่นะ เราไม่สามารถเรียนรู้เรื่องตัวเราเองได้ สังเกตมั้ย เวลาที่เราใจลอย เราจะไปคิดถึงคนอื่น คิดถึงสิ่งอื่น หรือถ้าคิดถึงตัวเราเอง ก็จะไปคิดถึงเวลาอื่น เช่น คิดถึงตัวเราในอดีต คิดถึงตัวเราในอนาคต มันจะหลงไปหาสิ่งอื่นตลอด

ลองดูก็ได้ ในขณะนี้ ตั้งใจฟังหลวงพ่อ รู้สึกมั้ย ขณะที่ตั้งใจฟังหลวงพ่อเนี่ย ร่างกายเรามีมั้ย ร่างกายเรามีอยู่นะ แต่เราไม่รู้สึก เราลืมร่างกายของเราไป ในขณะนี้จิตใจของเราก็มี แต่พอมาจดจ่อมาฟังธรรมะของหลวงพ่อนะ เราลืมจิตใจของเราเอง สุขหรือเปล่าก็ไม่รู้ ทุกข์หรือเปล่าก็ไม่รู้ เป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่รู้

เมื่อไรใจลอยนะ เมื่อนั้นไม่สามารถรู้กาย ไม่สามารถรู้ใจ ของตัวเองในปัจจุบันได้ ใจลอยอาจจะรู้กายรู้ใจนะ แต่รู้ด้วยการคิดๆเอา คิดถึงเราเมื่อวานซืน คิดถึงเราเมื่อตอนเด็ก คิดถึงคนโน้นคิดถึงคนนี้ มันไม่ใช่ตัวจริงในปัจจุบันนี้ เมื่อไรใจลอย เมื่อนั้นลืมตัวเอง เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามรู้สึกตัวเอง ไม่ลืมตัวเอง

นี่คือจุดตั้งต้นเลยนะ ของการที่จะเจริญปัญญา ถอดตัวเองออกเป็นชิ้นๆได้เนี่ย ขั้นแรกต้องไม่ลืมตัวเอง ถ้าเราลืมตัวเอง เราก็ถอดตัวเองออกเป็นชิ้นๆไม่ได้ เหมือนเเราจะเป็นช่างซ่อม เราลืมรถยนต์ไปนะ ไม่ได้สนใจรถยนต์เลย รถยนต์ก็กองอยู่อย่างนั้น ไม่ได้ถอดออกมาเป็นชิ้นๆเสียที

เพราะฉะนั้นขั้นแรกเลยของการปฏิบัติเนี่ย ต้องอย่าใจลอย วิธีฝึกที่จะไม่ให้ใจลอยทำอย่างไร ขั้นแรกหัดพุทโธก็ได้นะ หัดหายใจก็ได้ จะดูท้องพองยุบก๊ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้สักอย่างหนึ่ง เราถนัดพุทโธเราก็ใช้พุทโธ ถนัดรู้ลมหายใจเราก็รู้ลมหายใจ ถนัดดูท้องพองยุบเราก็ดูท้องพองยุบ ถนัดที่จะขยับมือทำจังหวะ อย่างสายหลวงพ่อเทียนขยับมือ เราก็ขยับมือไป อะไรก็ได้ หางานขึ้นมาให้จิตทำสักอย่างหนึ่ง จะพุทโธ จะรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบ จะขยับมือทำจังหวะ จะไปเดินจงกรม อะไรก็ได้ ทั้งนั้นเลย แล้วคอยรู้ทันจิต

550409.13m06-15m29

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๓ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตจะเสื่อมหรือเจริญก็ต้องภาวนาไปเรื่อย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: 451117B_decay2

หลวงพ่อปราโมทย์: พยายามจะให้มันดีทุกวัน กะว่าถ้ามันดีตลอดยาวๆ วันนึงเราจะรู้ธรรม ไม่รู้หรอก คนละเรื่องเลย ถ้าขืนมันดีตลอดนี่ซวยตายเลย ต้องใช้คำนี้ เพราะเราจะเกิดความหลงผิดว่าจิตนี้เป็นตัวตนของเรา บังคับได้ แต่งเอาได้ตามใจชอบ

แต่จิตมันไม่ยอมแมว (โยมผู้ส่งการบ้านหลวงพ่อ – ผู้เรียบเรียง) หรอก มันก็จะเป็นไปตามที่มันเป็นน่ะ คือเจริญแล้วเสื่อมๆ ผู้ปฏิบัติก็ตกใจ พอเสื่อมแล้วตกใจ ดิ้นใหญ่ ดิ้นพราดๆๆๆ หาทางแก้ใหญ่ แก้ไปแก้มามันดีขึ้นมาอีก โอ๊ย ฉันแก้เก่ง ความจริงไม่ต้องแก้มันก็ดีเองแหละ เพราะว่าไอ้เสื่อมมันก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน พอมันดี โอ๊ยรักษาๆ รักษายังไงก็เสื่อมอีก เพราะมันของเสื่อม

เพราะฉะนั้นจับหลักให้ดี ทำความเข้าใจให้ดี เราจะเฝ้ารู้มันแต่ละวัน วันนี้จิตเจริญรู้ว่าเจริญ เจริญแล้วเกิดภูมิใจรู้ว่าภูมิใจนะ กิเลสหลอกต่อละ วันนี้จิตเสื่อม รู้ว่าจิตเสื่อม เสื่อมแล้วเศร้าหมองก็ถูกหลอกอีกละ

ทำไปเรื่อยเลย จะเห็นแต่เจริญแล้วเสื่อมๆ ถึงจุดนึงเนี่ย ใจเรายอมรับความจริงว่าขันธ์ห้าโดยเฉพาะตัวจิตเนี่ย เป็นของที่บังคับไม่ได้หรอก นั้นน่ะคือการเข้าใจธรรมะจะเกิดขึ้นมา ต้องทำความเข้าใจตัวนี้นะ ตัวนี้ตัวสัมมาทิฐิ ให้เห็นสภาพธรรมทั้งหลายเนี่ยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รวมทั้งจิตของเราด้วย

เพราะฉะนั้นแมวเดินจงกรมไป ทำแล้วเดินไป จิตเจริญก็เดิน เสื่อมก็เดิน เหมือนหลวงพ่อชาสอนน่ะขยันก็ปฏิบัติ ขี้เกียจก็ปฏิบัติ แต่บางคนเจ้าเล่ห์พอได้ยินหลวงพ่อสอนบอกว่าจิตเจริญแล้วเสื่อมๆนะ เขาก็เดินจงกรม 3 วัน เจริญละ ตอนนี้ไม่เดินขอไปเที่ยวก่อน เดี๋ยวมันต้องเสื่อมอีก ฉันจะดูว่ามันจะเสื่อมยังไง อย่างนี้ไม่ได้กินหรอก เพราะว่าจิตมันจะเกิดความสำคัญผิดเข้าไปอีกว่าถ้าเราทำมันก็เจริญ มันเสื่อมเพราะเราไม่ทำต่างหากล่ะ เพราะฉะนั้นมีหน้าที่ทำให้สม่ำเสมอนะ เดินไปเรื่อยๆ เดินไป จะเดินจะยืนจะนั่งอะไรก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันมันไปเรื่อย มันมีความสุข มันมีความทุกข์ มันเจริญมันเสื่อมรู้มันไปเรื่อยๆ เจริญกะเสื่อมมันเป็นธรรมะที่เท่าเทียมกันนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑
File: 451117B
ระหว่างนาทีที่ ๘วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไร ?

mp3 (for download): เดินจงกรมอย่างไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เดินจงกรมอย่างไร ?

เดินจงกรมอย่างไร ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : เดินจงกรมหมายถึงอะไร คำว่าจงกรมจริงๆแปลว่า “ก้าวไป” เพราะฉะนั้นทุกก้าวที่เดินนั้นแหละ “จงกรม” เพียงแต่ว่าคนทั่วๆไปเขาเดินสะเปะสะปะ เดินไปแล้วจิตใจมันหนีไป เราเดินด้วยความรู้สึกตัว ทุกก้าวที่เดินด้วยความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรม เพราะฉะนั้นจุดสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ท่าเดินนะ จุดสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นเรามาดูนะ ว่ารู้สึกตัวจริงมั้ย เอาล่ะสิ

โยม : เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เดินไปด้วยความรู้สึกตัวนะ เคล็ดลับของการเดินจงกรมเนี่ยมันอยู่ตรงที่สุดทาง ตอนสุดทาง จะหลงไม่หลงก็ตอนที่สุดทางนั้นแหละ แต่ทางจงกรมไม่ควรยาวเกินไป ไม่ควรสั้นเกินไปนะ ถ้าสั้นไปเวียนหัว ถ้ายาวไปก็จะหลงอยู่กลางทาง อ่ะหยุดก่อน

สมมุติว่าเราจะเริ่มเดินจงกรม ทันทีที่เข้าสู่เส้นทางจงกรมนะ อย่าบังคับกาย อย่าบังคับใจ ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติพอคิดถึงการเดินจงกรมปุ๊บ บังคับจิตให้แข็งๆขึ้นมา จะเครียดขึ้นมา อันนี้ผิดธรรมชาติแล้ว เราต้องการดูกายทำงานดูใจทำงานอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่ไปเดินบังคับตัวเองจนเครียด

เพราะฉะนั้นมาถึงต้นทางเดินจงกรมนะ ทำความรู้สึกตัวให้สบาย แล้วก็เห็นร่างกายมันเดิน ไม่ใช่เดินจงกรมจะหมายถึง “เราเดิน” นะ เดินจงกรมเนี่ย เดินแล้วเห็น “ร่างกายมันเดิน” ใจเราเป็นคนดู ฝึกให้ได้อย่างนี้ ถึงจะดีที่สุด เอ้า…ลองเดินดูสิ แล้วใจเป็นคนดู ใจเป็นธรรมชาติมั้ย

โยม : เป็นธรรมชาติเจ้าค่ะ นิ่งๆนิดนึงเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ นะ มันเกินธรรมชาติไป มันก็เป็นธรรมชาติเหมือนกัน เป็นธรรมชาติของคนที่ตื่นเต้น ถ้าตอนที่เราไปเดินสุดทางจงกรมนะ เราอย่าเพิ่งหมุนตัว เดินไปสุดทางแล้วเราก็หยุดก่อน แล้วก็หมุนตัว แล้วก็หยุดก่อน ถ้าเดินไปสุดทางแล้วหมุนตัวปั๊บนะ จิตกระเด็นหนีไปเลย เราคอยดูนะ คอยดูนะ

เนี่ยทำความรู้สึกตัวให้สบายขึ้นมาก่อน แล้วหมุนตัว ไม่เร็วไม่ช้าไป นี่แน่ใจนะว่าไม่ช้าไป พอหมุนเสร็จแล้วก็รู้สึกตัวอีก แล้วค่อยเดิน ไม่งั้นจิตมันจะเดินก่อนขา ใครเคยเห็นจิตเดินก่อนขาบ้าง

โยม : หลวงพ่อคะ นี่ถือว่าเห็นกายมันเดินหรือเป็นสมถะคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เป็นสมถะ เอ้า… ไป เดินกลับที่ไป.. เพ่งมั้ย ตอนนี้เพ่งมั้ย

โยม : เพ่งเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. ก็เป็นสมถะสิ คือตราบใดที่ยังเพ่งอยู่นะ เป็นสมถะ ถ้าเห็นกายมันเดินใจเป็นคนดูนะ กายไม่ใช่เราหรอก เป็นวัตถุธาตุที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ เนี่ยเจริญปัญญา ทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำเพื่อถอนความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน มีเรา มีเขา เพราะฉะนั้นถ้าเมื่อไรเห็นว่าไม่มีเรานะ กายมันเดิน ไม่ใช่ “เราเดิน” กายมันนั่ง ไม่ใช่ “เรานั่ง” รู้สึกอย่างนี้จริงๆ จิตมันเดินวิปัสสนาอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๖๐ วินาทีที่ ๐๕ ถึง นาทีที่ ๖๓วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขาดสติคือขาดความเพียร

Mp3 for download: 451117A_no sati no pawana

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขาดสติ คือขาดความเพียร

ขาดสติ คือขาดความเพียร

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงปู่มั่นท่านบอกว่ามีสติคือมีความเพียร ขาดสติคือขาดความเพียร เพราะฉะนั้นอย่างเราไปเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน ถ้าเราเดินแบบไม่มีสติก็คือไม่ได้ทำความเพียรอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑

File: 451117A
Track: ๑๑
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อไรเดินอย่างมีสติเรียกว่าเดินจงกรม

mp3 for download: เมื่อไรเดินอย่างมีสติเรียกว่าเดินจงกรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เมื่อไรเดินอย่างมีสติเรียกว่าเดินจงกรม

เมื่อไรเดินอย่างมีสติเรียกว่าเดินจงกรม

หลวงพ่อปราโมทย์: สรุปง่ายๆนะเด็กๆทั้งหลาย การภาวนาไม่ยากอะไร อย่าไปคิดว่าต้องเดินจงกรม ต้องนั่งสมาธิทั้งวันทั้งคืน ไม่ใช่

เมื่อไรเดินอย่างมีสตินะเรียกว่าเดินจงกรม เพราะฉะนั้นเมื่อเราเดินไปโรงอาหารเนี่ยนะ เดินอย่างรู้เนื้อรู้ตัวไปเนี่ย เราปฎิบัติธรรมอยู่แล้ว เรานั่งอยู่ ตอนนี้เราก็นั่งอยู่ใช่มั้ย ถ้าเรานั่งใจลอยก็ใช้ไม่ได้ ถ้าเรานั่งแล้วคอยรู้ทัน จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้ทัน ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้ไปเรื่อยๆ นี่ก็เรียกว่าเราปฎิบัติอยู่แล้ว เรานั่งสมาธิอยู่แล้ว ส่วนนั่งท่านี้แล้วก็เคลิ้มๆไปนะ หรือไปนั่งเครียดๆอยู่ ไม่เรียกว่าปฏิบัติหรอก ไม่เรียกว่านั่งสมาธิ เดินจงกรมแล้วก็ใจลอยไป หรือว่าใจเครียดๆขึ้นมา ก็ไม่เรียกว่าเดินจงกรมนะ

หัดปฏิบัติธรรมเมื่อมีสติ มีสติคอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของใจตัวเองไป ฝึกนะ หลวงพ่อฝึกใช้เวลาไม่นานหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520528A.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป

mp3 for download: มีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิหารธรรม

วิหารธรรม

โยม: นมัสการหลวงพ่อค่ะ คือที่ปฎิบัติที่อยู่ที่นี่มาค่ะ คือถ้าจะให้ดูจิตเลย จะรู้สึกว่าดูยาก เพราะว่าจะค่อนข้างฟุ้ง ก็เลยจะพยายามทำสมาธิ โดยการเดินจงกรม แล้วก็ ตรงนี้จะรู้สึกว่า จิตรวมได้ดีกว่า

หลวงพ่อปราโมทย์: ดีสินะ เดินจงกรมไป แล้วจิตเคลื่อนไปก็รู้ทัน เดินจงกรมไปจิตเคลื่อนไปก็รู้ทัน จิตก็จะสงบเข้ามา เรียกว่าเรามีวิหารธรรมไว้อันหนึ่งนะ พวกเรา หลวงพ่อคุยรวมๆเลย ทุกคนจะได้ทำได้ มีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป เดินจงกรมไปจิตไหลไปเพ่งกายก็รู้ จิตไหลไปคิดก็รู้ อย่างนี้ก็ใช้ได้แล้ว

นั่งพุทโธ พุทโธ ไปนะ หรือเดิน พุทโธ ไปก็ได้ พุทโธไปเรื่อย พุทโธแล้วจิตสงบก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตหลงไปที่อื่นก็รู้ นะ หายใจไปก็ได้ หายใจทั้งวัน นะ หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปแล้วจิตมันเพ่งลมหายใจก็รู้ จิตหนีไปก็รู้ ในที่สุดจิตก็สงบ จิตถ้าไม่แส่ส่ายออกไป จิตก็สงบนะ ก็สงบเข้ามา

เพราะฉะนั้นเรามีสติ เรามีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง ก็จะช่วยให้ใจมันตั้งมั่น ไปเดินเอาก็ได้ ดี

โยม: ค่ะ แล้วที่นี้ เรา ตอนที่นั่งสมาธิน่ะค่ะ มีสภาวะเกิดขึ้นน่ะค่ะ หลวงพ่อ ก็คือ จากตอนแรกที่จะรู้สึกว่าดูท้องที่พองขึ้นแล้วก็ยุบ ตามที่เราหายใจ แล้วสักพักหนึ่งจะรู้สึกว่า มันจะแยกกันน่ะค่ะ ระหว่างท้องที่ยุบกับพอง แล้วที่นี้เราจะมีจิตเหมือนว่า ตามดูเข้าไป เหมือนรถที่วิ่งต่อกันไป แต่ว่าจะว่าง มีช่องว่าง

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ นะ อย่าโดดลงไปกลางถนนก็แล้วกัน

โยม: ค่ะ ทีนี้มันจะรู้สึกว่าบีบคั้นตรงนั้น ที่เราเห็นจิตมันตามกายที่มันเคลื่อนไหวได้เอง

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ ใจต้องตั้งมั่น ถ้าใจเราไม่ตั้งมั่นนะ เราถลำลงไปอยู่ที่ท้อง ตัวนี้จะเครียดได้ นะ ถ้าใจเราอยู่ห่างๆนะ สบายๆ มันจะเห็นเหมือนคนอื่นพองยุบนะ ไม่ใช่เราพองยุบละ จะเห็นว่ากายมันพอง กายมันยุบ กายนี้ไม่ใช่เราหรอก จะเห็นอย่างนี้

โยม: อย่างนี้ที่เรามองเห็น เห็นว่า เห็นจิตที่วิ่งตามกายที่เคลื่อนไหว ผิดหรือถูกคะ

หลวงพ่อ: อย่างนั้นก็ดี ถูกที่รู้ทันว่าจิตถลำลงไป นะ ตรงนั้นถูก ถ้าจิตถลำลงไปให้รู้ทัน จะตั้งมั่นขึ้นมา จิตก็ไม่ถลำ ตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู คราวนี้จะเห็นทันทีเลยว่ากายไม่ใช่เราละ ถ้าเมื่อไรจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ สติระลึกรู้สิ่งใด สิ่งนั้นจะไม่ใช่เราเลย ไปทำอีก ไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๗
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

mp3 for download: วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าสอนให้รู้กาย พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ใจ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนกำหนดนะ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ “ทุกขัง อริยสัจจัง ปริญญาญัง” ทุกข์เป็นสิ่งควรรู้รอบ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรรู้รอบ รู้รอบ คือ รู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา

รู้ด้วยสติ คือ รู้ถึงตัวสภาวะของมัน รู้ด้วยปัญญาก็จะเห็นลักษณะของมัน รู้ด้วยสติก็คือ เห็นสภาวะ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น เห็นความโกรธโผล่ขึ้นมา รู้ด้วยปัญญาก็คือ เห็นว่าความโกรธนั้นไม่เที่ยง ความโกรธนั้นเป็นทุกข์ ความโกรธมิใช่ตัวเรา บังคับไม่ได้ ห้ามไม่ได้ รู้ด้วยปัญญาก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นแหละ ถ้ารู้ด้วยสติก็เห็นรูปนาม รู้ด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นต้องรู้ด้วยสติและปัญญา

รู้ด้วยสติอย่างเดียวไม่ได้ บางคนไปเดินจงกรมนะ เอาจิตไปจ่อไว้ที่เท้า เท้าเคลื่อนไหวอย่างไรรู้หมดเลย อันนั้นไม่มีปัญญา ถ้ารู้ด้วยปัญญาจะเห็นเลย ตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ตัวที่โกรธ ความโกรธนั้น ไม่ใช่ตัวเรา สภาวธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ว่าสภาวธรรมใดๆ จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเรา นี่อย่างนี้ถึงจะเรียกว่ามีปัญญา บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ถึงความบริสุทธิ์เป็นอย่างไร ถึงพระอรหันต์นั่นเอง

บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญานะ ปัญญาเกิดจากอะไร ปัญญาเกิดจากมีสติ รู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฎ แต่ปัญญามีสติรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญ ที่ให้เกิดปัญญา คือมีสัมมาสมาธิ

ในพระอภิธรรมถึงสอนว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิมิใช่มิจฉาสมาธิ สมาธิที่พวกเราฝึกอยู่เกือบทั้งหมดคือมิจฉาสมาธิ สมาธิเพ่ง สมาธิจ้อง สมาธิบังคับ สมาธิกำหนด สมาธิเครียดๆแข็งๆ สมาธิเคลิ้มๆ สมาธิลืมเนื้อลืมตัว สิ่งเหล่านี้เป็นมิจฉาสมาธิทั้งสิ้น

หรือสมาธิเข้าไปนอนแช่ รู้ลมหายใจก็ไปนอนอยู่กับลม แช่จิตลงไปแช่กับลม รู้ท้องพองยุบจิตไปแช่อยู่ที่ท้อง รู้เท้า ยกเท้า ย่างเท้า จิตไปแช่อยู่ที่เท้า ขยับมือ จิตไปไหลไปอยู่ในมือ อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าสัมมาสมาธิ ใจจะตั้งมั่น สักว่ารู้ สักว่าเห็นอยู่ ใจมันตั้งมั่นเป็นแค่คนดู สติระลึกไป แต่ใจเป็นคนรู้เฉยๆ ใจไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อ สติระลึกรู้ ใจไม่ปรุงแต่งต่อนะ ใจเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่อย่างนั้นเอง

พอใจมันไม่ปรุงแต่งต่อ มันจะเห็นความจริง ของสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งรูปธรรมนามธรรมที่เกิดขึ้น สภาวะทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวเราในสภาวะเหล่านั้น ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ อย่างนี้นะ เห็นไป วันหนึ่งก็จะแจ้งขึ้นมา


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
Track: ๑๑
File: 510202.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูกาย

ดูกาย

ดูกาย

mp 3 (for download) : การดูกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ฝึกมาแบบไหน

โยม: ดูกายค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูกายต้องมีใจที่ตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าดูนะ ใจต้องอยู่ต่างหากเป็นแค่คนดู ที่ฝึกอยู่พอใช้ได้แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว ตะกี้ใช้ได้ นี่ตรงนี้ใช้ได้

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าไปเพ่งนะ อย่าไปเพ่งกายให้ทื่อๆ ขึ้นมา ให้เราแค่เห็นร่างกายมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนดูกาย นี่หลวงพ่อพูดเหมาๆ นะ วันนี้มีเวลาครึ่งชั่วโมงเอง คนไหนดูกายนี่ให้เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นแค่คนดูร่างกายทำงาน อย่าเหลือแต่กายอันเดียว หลายคนภาวนาผิดนะ ไปรู้ลมหายใจ เหลือแต่ลมหายใจไม่มีความรู้สึกตัว จิตจมลงไปในลม บางคนดูท้องพองยุบนะ เหลือแต่ท้อง จิตไปเพ่งอยู่ที่ท้อง มันต้องมีจิตอยู่ต่างหาก

การแยกกายแยกใจนี่เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ’ ก่อนที่จะขึ้นวิปัสสนานี่ ญาณที่หนึ่งต้องมีนามรูปปริเฉทญาณ แยกรูปกับนามออกจากกันให้ได้ก่อน รูปธรรมอยู่ส่วนหนึ่งนะ นามธรรมเป็นคนดู เพราะฉะนั้นเราเห็นร่างกายที่เดินที่ยืนที่นั่งที่นอนนี่ไม่ใช่ตัวเรา มันจะเห็นทันทีเลย เพราะใจจะเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

เพราะฉะนั้นต้องพยายามนะ คนไหนที่หัดรู้กาย เวลาที่รู้ลมหายใจอย่างนี้อย่าให้จิตไหลไปจมอยู่ที่ลมหายใจ ให้จิตอยู่ต่างหาก จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายนี้หายใจไป จิตเป็นแค่คนดู บางคนดูท้องพองยุบก็ให้ร่างกายมันพองยุบไป จิตเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนเดินจงกรมก็เห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นคนดูอยู่ อย่าไปเพ่งใส่เท้านะ ถ้าไปเพ่งเท้าจนไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิต จิตไปรวมอยู่ที่เท้าเป็นสมถะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ที่ทำนะได้แค่สมถะ จิตถลำลงไป จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธินี่แหละเป็นของสำคัญมาก ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่สักว่าเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นี่ จิตจะถลำลงไป ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ มันจะไม่สามารถเห็นอารมณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง จิตมันจะไปแช่นิ่งๆ ซื่อบื้ออยู่กับอารมณ์ อย่างนั้นไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ

เพราะฉะนั้น คนไหนดูกายนะ รู้ไป ร่างกายเคลื่อนไหว ใจเราเป็นคนดูอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็จะเห็นเลย ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวของมันไปเรื่อย จิตใจมันก็ทำงานของมันไปเรื่อย บังคับไม่ได้สักอันเดียวทั้งกายทั้งใจ

ทำวิปัสสนาไม่ใช่รู้กายอันเดียวหรือรู้จิตอันเดียว ทำวิปัสสนาจริงๆ ไม่เหมือนสมถะ สมถะรู้อันเดียว ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่วิปัสสนานี่บางครั้งสติรู้กาย บางครั้งสติรู้จิต เลือกไม่ได้ เพราะสติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต เมื่อรู้กายเราก็ให้เห็นความจริงของกายนะ จิตเป็นแค่คนดูอยู่ เห็นความจริงร่างกายเป็นแค่วัตถุธาตุเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเราหรอก จะเห็นทันทีว่าไม่ใช่เรา แต่ถ้าเราไปเพ่งท้องพองยุบไปเรื่อยๆ มันจะไม่เห็นว่าไม่เป็นเรา มันจะสงบไปเฉยๆ เพราะฉะนั้นใจจะต้องตั้งมั่นเป็นแค่คนดูอยู่

 

 

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
Track: ๖
File:
500509.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัตินี่ถ้าเราแยกส่วนการปฏิบัติออกจากการดำเนินชีวิตปกติของเรา อย่ามาพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานเลย ชาตินี้ไม่ได้ ถ้ายังรู้สึกนะ เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ใช่เวลาปฏิบัติ ถ้ารู้สึกอย่างนี้อย่าพูดเรื่องมรรค ผล นิพพาน เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราได้ ก็ไม่ต้องพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานนะ อย่างไรก็ต้องได้ เพราะฉะนั้นต้องหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราให้ได้

เมื่อสักเดือนสองเดือนนะ มีคนไปเรียนกับหลวงพ่อที่ศรีราชา ศาลาหลวงพ่อใหญ่กว่านี้ตั้งเกือบเท่า วันนั้นคนเต็ม ยาว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า ผมอยากเดินจงกรม จะเดินอย่างไร อยากเดินจงกรม หลวงพ่อบอกว่า กล้าออกมาเดินโชว์ไหม เดินตรงนี้ กล้าไหม เด็กคนนี้กล้า ค่อยๆ แหวกคนออกมานะ แหวกเดินออกมา หลวงพ่อบอกว่าหยุดก่อน ใช้ไม่ได้แล้ว ทำไม ขาดสติ ที่ขาดสติก็ตอนที่แหวกคนออกมา จะมาเข้าทางจงกรม คิดว่าเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ คิดว่าตอนนี้ไม่ต้องปฏิบัติ เดี๋ยวเอาไว้เข้าทางจงกรมก่อนค่อยปฏิบัติ นี่เข้าใจผิดแล้ว แท้จริงแล้วทุกก้าวที่เดินถ้ามีความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย เดินอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมานะ ก็เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมด ถ้าเดินกลับไปกลับมาแล้วขาดสติ ก็เรียกเดินเรื่อยเปื่อย ถ้าเดินแล้วก็เพ่งเอาเพ่งเอา บังคับกาย บังคับใจ ก็เรียกเดินทรมาน ทรมานกายทรมานใจ ถ้าเดินแบบมีสติก็เรียกว่าเดินจงกรม

หลวงพ่อก็ให้เดินต่อ คราวนี้เขาก็ไม่เดินใจลอยแล้ว เขาเดินค่อยๆ รู้สึกตัวมานะ กำลังพอดีเลย พอเริ่มเข้าทางจงกรมปุ๊บ เริ่มวางฟอร์มแบบนักปฏิบัติ วางฟอร์ม ทำขรึม บอกนี่ผิดไปอีกข้างหนึ่งแล้ว สิ่งที่ผิดหลวงพ่อพูดบ่อยๆ สุดโต่งมีสองอัน อันหนึ่งเผลอไป ตอนเดินออกมาทีแรก เผลอไป เรื่อยเปื่อย พอเริ่มลงมือปฏิบัติ บังคับกาย บังคับใจ สุดโต่ง

พอเราบังคับกายบังคับใจนะ กายก็นิ่งผิดความเป็นจริง จิตก็นิ่งผิดความเป็นจริง เราต้องการดูให้เห็นความจริงต่างหาก ไปทำจนมันผิดความจริง แล้วจะเอาความจริงที่ไหนไปดู เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ตามที่เขาเป็นจริงๆ นะ อย่าไปดัดแปลอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานไม่ได้เอาไว้ฝึกดัดแปลง แต่เอาไว้ดูเพื่อให้เห็นความจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา พอรู้ความจริงแล้วมันจะปล่อยวาง แต่ถ้าไปบังคับไปทำขรึม ทื่อๆ ไว้นะ ยิ่งแก่ยิ่งเก่งนะ ยิ่งแก่ยิ่งเพ่งเก่ง ใครด่าก็เฉย ใครชมก็เฉยนะ ฝึกจนกระทั่งมีรู้สึกเหมือนตนเองเป็นต้นไม้และก้อนหิน ไร้ความรู้สึก ฝึกอย่างนั้นน่าสงสาร เหนื่อย บางคนเพ่งมากๆๆ เพ่งไปกันจนพิกลพิการนะ ต้องหอบหิ้วกันมาให้เราแก้ให้ มันก็แก้ยากนะ

เพราะฉะนั้นอย่ารีบร้อน อย่าใจร้อนรีบปฏิบัติมากนัก ฟังให้รู้เรื่องหน่อย แล้วค่อยลงมือทำ เรียนก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓
File:
490716.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฎิบัติในรูปแบบเป็นเครื่องช่วยไม่ให้ลืมตัวเอง

mp3 (for download) : ต้องทำในรูปแบบ มีวิหารธรรม จึงจะรู้สึกตัวได้บ่อยๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ลืมตัวเอง แล้วบอกว่ารักตัวเอง ลืมตัวเองบ่อยที่สุดแล้วเมื่อไรจะรู้เรื่องของตัวเอง เรามาเรียนเรื่องตัวเองให้ได้นะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมตัวเองนาน คอยรู้สึกกายคอยรู้สึกใจบ่อยๆ

ทำอย่างไรจะรู้สึกได้บ่อยๆ มีวิธีนะ มีเครื่องช่วย ต้องซ้อมรู้สึก ทุกวันๆ นะ พยายามซ้อมไว้ หากรรมฐานมาทำสักอันหนึ่งก่อน จะพุทโธก็ได้ ใครถนัดพุทโธก็เอาพุทโธ คำว่าถนัดพุทโธหมายถึงพุทโธแล้วสบายใจ พุทโธแล้วใจสงบร่มเย็น เอ้า พุทโธ ใครถนัดลมหายใจแล้วจิตใจ..(เสียงระฆัง) ฟังเสียงระฆังแล้วดูสิ จิตไหวไหม รู้สึกไหม มีความไหวไหม ไม่สำคัญนะ ไม่ใช่ต้องไปนั่งฟังอะไรแล้วดูไหวๆ ให้ความรู้สึกมันเกิดแล้วค่อยรู้เอา เพราะฉะนั้น คนไหนถนัดรู้ลมหายใจนะ ก็รู้ลมหายใจไป รู้ไปแล้วมีความสุขนะ รู้ไปสบายๆ รู้ไปแล้วจิตใจเป็นอย่างไรก็คอยรู้ทันเอานะ นี่คอยฝึกอย่างนี้ บางคนดูท้องพองยุบก็ได้ กรรมฐานทั้งหลายนั้นเสมอภาคกันนะ ไม่ใช่ว่าหลวงพ่อบอกกรรมฐานอันนี้ดี กรรมฐานอันนี้เลว ไม่ใช่ กรรมฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก ทางใครทางมัน

ของเราถนัดพุทโธเราพุทโธ ถนัดสัมมาอรหังได้ไหม ได้ ทำไมจะไม่ได้ เหมือนกันนั่นเอง ถนัดนะมะพะทะได้ไหม นะมะพะทะก็ได้ แต่อย่าไปนะมะเลียะพะนะ คอยรู้สึกนะ รู้สึกๆ ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งก่อน ไปเดินจงกรมก็ได้ เดินจงกรมแล้วจิตขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวคอยรู้สึกนะ ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งก่อน สวดมนต์ก็ได้ อรหังสัมมา สัมพุทโธ ภควา ใจหนีแว๊บไป ภควาแล้วหนีไปที่อื่นเลย หนีไปตั้งหลายวานะ รู้ทันอีกจิตหนีไปแล้ว แล้วมานึกต่อ เมื่อกี้ถึงไหน บางคนสวดด้วยไขสันหลัง สวดจนชินนะ สวดๆๆ จนจบชินบัญชรแล้ว ลืมตัวตลอดเวลาเลย ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี สวดด้วยไขสันหลังนะมันชำนาญ

เพราะฉะนั้น เราทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งก่อนนะ เพื่อเป็นเครื่องสังเกตจิต จิตเราไปอยู่ที่กรรมฐานอันนี้เราก็รู้ทัน จิตหนีจากกรรมฐานนี้เราก็รู้ทัน จิตรู้กรรมฐานอันนั้นแล้ว จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตเกิดกุศล จิตเกิดอกุศล เราก็คอยรู้ทันจิตไปเรื่อยๆ นี่เป็นวิธีที่ง่ายๆ นะ จะได้ทั้งสมาธิได้ทั้งปัญญา เราหัดสวดไปนะ สติก็ได้นะ อย่างสมมุติเราหัดสวดมนต์ไป หรือหัดดูท้องพองยุบ หัดเดินจงกรม รู้อิริยาบถสี่ หัดดูลมหายใจ หัดบริกรรมนะ ทำมาอันหนึ่งก่อนที่เราถนัด บางคนถนัดหลายอย่างรวมกัน หายใจไปพุทโธไปด้วย ทำได้ไหม ก็ทำได้ มีเครื่องอยู่ที่จิตใจเราคุ้นเคยไว้อันหนึ่งนะ ที่อยู่แล้วสบาย แล้วพอจิตมันวิ่งไปที่เครื่องอยู่อันนั้นเราก็รู้ จิตมันลืมเครื่องอยู่อันนั้นเราก็รู้ นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ

อย่างหลวงพ่อนะ หลวงพ่อถนัดรู้ลมหายใจ ฝึกมาแต่เด็ก ฝึกลมหายใจนะ หายใจออก หายใจเข้า แต่เดิมหายใจเข้า หายใจออกนะ หายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ ฝึกอย่างนี้แหละ เข้าพุทออกโธไปเรื่อย แล้วทำไม่เป็นแล้ว ทำได้แค่นั้น จนมาเจอหลวงปู่ดูลย์นะ ท่านสอนให้ดูจิต ต่อมาบางวันเราเหนื่อยๆ ขึ้นมา เราหายใจนะ แล้วมันดูจิตประกอบไปด้วย เลยรู้วิธีนี้ทำให้จิตมีแรง เช่น เราหายใจไป หายใจไปเรื่อยนะ จิตวิ่งไปเกาะลมหายใจแล้ว เรารู้ทันว่าจิตไปเกาะลมหายใจ หายใจไปๆ นะ จิตฟุ้งซ่าน ลืมลมหายไปแล้ว รู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่าน หายใจไปแล้วจิตมีปิติ รู้ว่าจิตมีปิติ หายใจแล้วจิตมีความสุข รู้ว่าจิตมีความสุข หายใจแล้วจิตมีอุเบกขา ไม่สุขไม่ทุกข์ขึ้นมา รู้ว่าจิตมีอุเบกขา หายใจแล้วก็รู้ทันจิตไปเรื่อยๆ นะ

คนไหนถนัดพองยุบก็ดูพองยุบแล้วรู้ทันจิตนะ คนไหนถนัดบริกรรมก็บริกรรมแล้วก็รู้ทันจิต ฝึกอย่างนี้นะ อย่างน้อยฝึก แต่ละวันแบ่งเวลาฝึกแบบนี้ไว้บ้าง ถ้าทำได้ทั้งวันดีที่สุดเลย แต่ถ้าทำไม่ได้ก็แบ่งเวลาไว้ช่วงหนึ่ง สิบนาที สิบห้านาที ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลยนะ ซ้อมอย่างนี้ทุกวัน การที่เราคอยเห็นจิตไหลไปทางนี้ จิตไหลไปทางนี้นะ จิตสุขจิตทุกข์ จิตดีจิตชั่ว จิตปิติ จิตอย่างโน้นจิตอย่างนี้ รู้ทันไปเรื่อยนะ สติมันจะไวขึ้น เพราะจิตมันจะจำสภาวะได้แม่นแล้วสติจะไว เรารู้ทันอย่างนี้นะ สติก็จะเกิดไวขึ้น

เรามีอารมณ์กรรมฐานอันหนึ่ง แล้วเรารู้ทันจิตเป็นเรื่อยๆ จิตเคลื่อนไปเรารู้ทัน เคลื่อนไปเรารู้ทัน จิตจะค่อยๆ ตั้งมั่นขึ้นมา ทำกรรมฐานอันนี้แหละก็จะมีสมาธิขึ้นมาด้วย จิตจะสงบ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมานะ พอจิตสงบ จิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว เป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เราก็จะเห็นเลย ร่างกายหายใจนะ ส่วนหนึ่งนะ จิตเป็นคนดู เริ่มเดินปัญญาแล้ว แยกกายแยกใจแล้วนะ หรือเห็นว่าจิตมีปิติ ปิติไม่ใช่จิตหรอก ปิติเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ปิติกับจิตคนละอันกัน พอมีความสุขเกิดขึ้น ก็เห็นอีกความสุขกับจิตก็คนละอันกัน ความสงบกับความฟุ้งซ่านก็ไม่ใช่จิตอีก

เฝ้ารู้ลงไปนะ มันจะค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย แยกกายกับใจ แยกกายกับจิตนะ แยกเวทนากับจิต แยกกุศลอกุศล ความปรุงแต่งทั้งหลาย กับจิต ค่อยๆ แยกไปเรื่อย นี่คือการที่ฝึกเดินปัญญานะ เพราะฉะนั้น เราทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน แล้วก็รู้ทันจิตเป็นเรื่อยนะ จะได้ทั้งสติ ได้ทั้งสมาธิ แล้วก็เป็นฐานเบื้องต้นที่จะทำให้เกิดปัญญา เพราะจิตที่มีสมาธิแล้วนั่นแหละ ถึงจะเกิดปัญญา จิตที่ไม่มีสมาธิจะไม่มีปัญญา จำไว้นะ แต่สมาธิต้องเป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่สมาธิลืมเนื้อลืมตัว ไม่ใช่สมาธิโงกๆ เงกๆ อะไรอย่างนั้น

เราค่อยฝึกนะ ให้การบ้านทุกๆ คนไปฝึกเอา แบ่งเวลาไว้ส่วนหนึ่ง ในวันหนึ่งๆ นะ สิบนาที สิบห้านาทีอะไรก็ได้ เบื้องต้นเอาเท่านี้ก่อน ก็ยังดี ดีกว่าไม่เอาเลย เอาสักสิบนาทีก็ได้ พุทโธไป หายใจไป ดูท้องพองยุบไป เดินจงกรมไป ทำในรูปแบบนั้นแหละ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไปเรื่อยๆ ต่อไปจิตจะรู้สภาวะได้แม่นนะ สติเกิดเร็วขึ้นๆ แล้วจิตพอเลื่อนไปปุ๊บ พอรู้ทันจิตก็ตั้งมั่น สมาธิก็เกิดง่ายขึ้นๆ โดยที่ไม่ได้บังคับนะ พอจิตมีสมาธิมันจะเห็นเลย กายอยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง สังขารอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ขันธ์กระจายออกไปนะ แต่ละอันไม่มีเราขึ้นมาแล้ว นี่เป็นการเดินปัญญา ไปทำเอานะ แล้วต่อไปก็เพิ่มเวลาขึ้นทีละหน่อยๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ 33
file :
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตล้วนๆไม่ไหว ทำอย่างไร?

mp3 (for download) : ดูจิตล้วนๆไม่ไหว ทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เอ้า ต่อไปตรวจการบ้าน พวกอยู่วัดทำไมเยอะมาก วันนี้ เอ้าเชิญ คนไหนก่อน พวกอยู่วัดนะ คนไหนไม่อยากส่งการบ้านไม่ส่งก็ได้นะ ไม่ว่า

โยม: นมัสการหลวงพ่อค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มาส่งการบ้านกับหลวงพ่อนะคะ แต่ได้ฟังซีดีของหลวงพ่อแล้วก็พยายามที่จะหัดดูจิตของตัวเองนะคะ สังเกตตัวเองว่า เวลาที่ตัวเองเดินจงกรมเนี่ยเราจะมีสติมากกว่า ในขณะที่เรา เวลานั่งปฎิบัติ เหมือนเราจะพยายามกด แล้วก็ข่มบังคับตัวเองน่ะค่ะ มันทำให้รู้สึกหนักๆแน่นๆที่กลางหน้าอก แล้วมันก็ไม่เดินปัญญา ก็อยากจะขอให้หลวงพ่อช่วยแนะนำด้วยน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: แนะนำนะ เดินให้เยอะๆเข้าไว้ ยังมีแรงเดินก็เดินเข้าไป เราภาวนาแบบไหนดีเราก็ทำอย่างนั้น แต่ถ้าเราเดินจนเมื่อยแล้วจะทำอย่างไร เราก็นั่งขยับ ไม่นั่งนิ่งๆนะ นั่งขยับไป ขยับอย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ เราไม่ถนัดกระบวนท่าของหลวงพ่อเทียน เราบัญญัติกระบวนท่าเองก็ได้ แต่อย่าให้น่าเกลียดมากนะ บางคนบัญญัติกระบวนท่าเขกหัวตัวเองป๊อกๆๆ ใครเขามาเห็น เขาก็ดูถูก(หมิ่น)ศาสนาพุทธไปเลย พอบรรลุพระอรหันต์ก็ปัญญาอ่อนพอดี ขับไม้ขยับมือไป ขยับนิ้ว อะไรอย่างนี้ เคลื่อนไหวไป เอากายมาช่วยให้รู้สึกไว้

เพราะฉะนั้น ถ้าเราภาวนานะ เราดูจิตล้วนๆไม่ไหว เราเอากายมาช่วย ดูกายที่เคลื่อนไหว อย่างดูกายนิ่งๆ…

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510451A
Time: นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่