Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การปฏิบัติในรูปแบบ เจริญสมถะและวิปัสสนา

mp 3 (for download) : การปฏิบัติในรูปแบบ เจริญสมถะและวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราไหว้พระสวดมนต์นะ พอสมควร ระลึกถึงครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ระลึกแล้วจิตใจสงบจิตใจมีความสุข ก็ภาวนาต่อ ถ้าวันไหนมันยังไม่สงบ ก็ทำสมถะกรรมฐาน พุทโธไปเรื่อยๆ สงบก็พุทโธ ไม่สงบก็พุทโธ ช่างมัน อย่าไปหวังว่าจะสงบ พุทโธๆไป จิตใจฟุ้งซ่านก็รู้ไป รู้เฉยๆ อย่าไปยุ่ง อย่าไปแทรกแซง รู้ด้วยความสบายใจ อยู่กับความวุ่นวาย ด้วยความสบายใจไป พออยู่อย่างนั้นได้นะ ใจจะสงบอย่างรวดเร็วเลย หรือรู้ลมหายใจถ้าไม่ชอบพุทโธก็รู้ลมหายใจ หรือดูท้องพองยุบ ขยับมือทำจังหวะอะไรก็ได้ แล้วก็รู้ทันใจที่สบายๆ รู้ไปอย่างสบายๆ ถ้าใจมันหนีไปใจมันหลงไป ไม่ห้าม ไม่ไปดึงคืน ให้แค่รู้ทัน ตอนที่หลงไปนี่เรียกว่า หย่อนไป ตอนที่พยายามไปดึงคืน พยายามบังคับไม่ให้ไป เนี่ย ตึงเกินไป ทางสายกลางอยู่ที่รู้ว่ามันหลงไป

ทำในรูปแบบ ทำกรรมฐานในรูปแบบสักอย่างหนึ่ง เช่น พุทโธ หายใจ พองยุบ ทำจังหวะมือ อะไรก็ได้นะถ้าจิตเคลื่อนไปแล้วรู้ จิตเคลื่อนแล้วรู้ แป๊บเดียวจิตก็จะตั้งมั่นได้สมาธิขึ้นมา ถ้าได้สมาธิแล้ววันไหนเหน็ดเหนื่อยมาก ก็พักผ่อนอยู่กับความสุขความสงบของสมาธิ มีสติไม่ขาดสติ ไม่เคลิ้ม รู้เนื้อรู้ตัว บางทีร่างกายหายไป ความรู้สึกตัวก็ยังอยู่ ไม่เคลิ้มลืมเนื้อลืมตัวไป ได้พักผ่อน ได้พักผ่อน

แต่วันไหนถ้าเราไหว้พระสวดมนต์แล้วจิตใจสงบมีเรี่ยวมีแรงแล้วนะ ก็อย่ามัวพักผ่อน เสียเวลา เจริญปัญญาไปเลย ถ้าเราพุทโธๆอยู่ เราเจริญปัญญาด้วยการ เห็นจิตที่มันปรุงไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันไหลไป มันฟุ้งซ่าน พอรู้ทันมันก็ตั้งมั่นมันสงบ เดี๋ยวก็ฟุ้ง เดี๋ยวก็สงบ เดี๋ยวฟุ้ง เดี๋ยวสงบ แสดงความไม่เที่ยงให้เกิดขึ้นให้เห็นประจักษ์ขึ้นมานะ พุทโธไป เดี๋ยวมีความสุข บางทีพุทโธไปจิตใจไม่มีความสุขก็เห็นอีกนะ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ไม่สุข เดี๋ยวเฉยๆ หมุนเวียนไปเรื่อย มีแต่ของไม่เที่ยง อย่างนี้เรียกว่าเจริญปัญญา

หรือเราดูลมหายใจเข้า ดูลมหายใจออก เราไม่ได้สบายอยู่กับลมหายใจสบายอยู่กับลมหายใจเป็นสมถะ เราหายใจไปเราเห็น ร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายกับใจนี้คนละอันกัน ร่างกายไม่ใช่เราหรอกเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า อย่างนี้เรียกว่าเดินปัญญา เห็นร่างกายมันหายใจมันไม่ใช่ตัวเรา เดินปัญญาอยู่ หรือขยับมืออะไรก็ได้มันก็จะเห็นร่างกายมันทำงาน ใจมันอยู่ต่างหาก ใจเป็นคนดู แยกกายแยกใจ ค่อยๆ ทำไป เนี่ยก็เดินปัญญา เดินปัญญาด้วยการดูกาย เห็นร่างกายมันทำงาน ไม่ใช่ตัวเรา เดินปัญญาด้วยการดูจิต มันจะเห็นเลยจิตใจนะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ใช่ตัวเรา ดูไปเรื่อย

ในการทำในรูปแบบนะ ไหว้พระสวดมนต์ แล้ววันไหนฟุ้งซ่านทำความสงบให้จิตสบายในอารมณ์อันเดียว วันไหนมีกำลังพอแล้วเดินปัญญา ดูความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจไปเลย อย่าไปสงบอยู่เฉยๆ ไม่มีมรรคผลนิพพานจะเกิดขึ้นหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอังคารที่ ๒๓ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
File: 560723A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

居士法谈 阿姜巴山 四念住禅修营

ฆราวาสธรรม ธนุสรณ์ ภควัมบดี (คุณหมอม่อน) เจริญสติปัฏฐานสี่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๐๑๔

Video Link : youtu.be/zoZ2todPeN0

与阿姜塔努宋的小参(2014年11月29 日)(第三段) 首届泰国四念住禅修营——导师:隆波帕默尊者

地点:泰国法政大学芭提雅培训中心 时间:2014年11月27日——12月8日

详情可以查阅或者下载的网址:http://www.dhamma.com/zh

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางใครทางมัน

mp3 for download :ทางใครทางมัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากวัดพระธาตุโกฏิแก้ว
เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ มโน มยา

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีความสุขมั้ย เวลาเขาส่งการบ้านนั้นน่ะ เป็นลีลาของแต่ละคน เวลาเราฟังคนอื่นเขาส่งการบ้าน เราไม่ค่อยเข้าใจ รู้สึกมั้ย เพราะอะไร เพราะเราเข้าใจในส่วนที่เราทำ พอเราส่งการบ้าน คนอื่นเขาก็ไม่ค่อยเข้าใจ เพราะทางใครทางมันนะ

ถ้าเราภาวนาไปสุดขีดแล้ว เหมือนเราขึ้นภูเขาไปสู่จุดสูงสุดยอดแล้ว พอเรามองรอบทิศทาง เราจะรู้เลยว่าทางขึ้นเขาเยอะแยะไปหมดเลย ทางใครทางมันนะ ไม่มีหรอกว่า ทางไหนดีกว่าทางไหน สายไหน สายไหน เรื่องของเด็กๆ ภาวนาเป็นแล้วไม่มีสายหรอก คล้ายๆคัมภีร์วิทยายุทธ์ยังไงก็ไม่รู้นะ ถ้าฝึกสุดขีดแล้วไม่มีกระบวนท่า จำไว้นะ ถ้ามีกระบวนท่าอยู่น่ะ ยังฝึกไม่เต็มที่หรอก ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง

ต่อไปนี้ก็ไปฝึกวิทยายุทธตอนกินข้าวนะ ดูซิว่ากิเลสเกิดกี่ครั้งนะ เดี๋ยวมาตอบนะ ไปกินข้าวเนี่ยแล้วกลับมาเจอหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่ง แล้วมาตอบหลวงพ่อให้ชื่นใจทีสิว่า กิเลสเกิดกี่ครั้ง อย่าบอกว่าครั้งเดียวนะ คือเผลอตลอดเลย ตั้งแต่ออกไปจนกลับเข้ามานะ เอาหลายๆครั้งหน่อยนะ เอ้า..ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907A
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อยังจนอริยทรัพย์ ก็ต้องขยันภาวนา

mp3 (for download) : เมื่อยังจนอริยทรัพย์ ก็ต้องขยันภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราก็ต้องขยันหน่อย เพราะว่าจน บางคนเขาประเภทคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด เขาฟังธรรมะประโยค สองประโยค เขาปิ๊งแล้ว เราไม่ปิ๊ง เราแป๊ก ฟังแล้วแป๊ก แป๊ก

เกิดมาจนต้องขยัน ถ้าเรายังจนด้วยอริยทรัพย์เราก็ต้องขยันภาวนาเอา เดี๋ยววันหนึ่งเราก็รวยขึ้นมาได้ ส่วนท่านที่รวยไปก่อนแล้วท่านก็นิพพานไปหมดแล้ว ทิ้งสมบัติไว้กับโลกไม่ได้เอาไปด้วยหรอก อยู่ที่เราไปเก็บเกี่ยวเอา สมบัติเป็นของกลาง ธรรมะก็ของกลางของโลก ไม่ได้เอาไปนิพพานด้วยหรอก

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องอดทนให้มากนะ พยายามดูไปเรื่อย ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ ทุกวันต้องฝึกให้ใจอยู่กับตัว วิธีฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็คือ อย่าใจลอยนาน ถ้าใจลอยเมื่อไหร่ก็ลืมกายลืมใจ อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสมาธิ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

วิธีที่จะไม่ให้ใจลอยนานก็ต้องซ้อมต้องฝึก ทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา พุทโธก็ได้ รู้ลมหายใจก็ได้ อะไรก็ได้นะ สักอย่างหนึ่งขึ้นมา เลือกที่ทำแล้วสบายใจ วิธีที่ทำแล้วเครียดไม่ต้องไปทำ

ยกตัวอย่างบางคนไปดูท้องพองยุบแล้วเครียด เกร็ง เครียด โรคจิตจะกินแล้วนะ ก็ไม่ต้องเอา กรรมฐานมีตั้งเยอะแยะ เราก็เลือกกรรมฐานที่ทำแล้วสบายใจ บางคนรู้ลมหายใจแล้วขาดสติ เคลิ้ม เห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็ไม่เอา

เอาสมาธิที่มันรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ให้เคลิ้มไม่ให้หลงไป ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน แล้วคอยรู้ทันจิต ไม่ใช่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้จิตสงบ ปรับนิดนึง เราคุ้นเคยแต่ว่าจะทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเพื่อให้จิตสงบ อย่างนั้นมันสมถกรรมฐาน ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญานะ ต้องคอยรู้ทันจิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๗) ต้องฝึกซ้อมการปฏิบัติในรูปแบบทุกวัน

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๗) ต้องฝึกซ้อมการปฏิบัติในรูปแบบทุกวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเรามาดูให้เห็นของจริงนะ ดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีกไป มีใจตั้งมั่น แต่ใจที่ตั้งมั่นเป็นคนดูเนี่ย อยู่ได้ไม่นาน ประเดี๋ยวเดียวก็จะกลายเป็น ผู้คิดผู้นึก ผู้ปรุงผู้แต่ง ผู้ไปดูผู้ไปฟัง ผู้ไปดมกลิ่นไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกายอีก

สังเกตไหม ใจเรารู้สึกตัวได้ ได้นิดเดียวใช่ไหม เวลาหลง หลงยาว รู้สึกไหม เวลาหลง หลงยาว เวลารู้สึกตัวเนี่ย สั้น ใช่ไหม เวลาหลงเนี่ยยาว

เพราะงั้นเราต้องมาคอยฝึกทุกวันนะ ทำในรูปแบบไป นั่งสมาธิไป เดินจงกรมไป จิตไหลไปแล้วรู้ทัน นั่งสมาธิไป เดินจงกรมไป จิตไหลแล้ว รู้ทัน ซ้อมให้ได้ทุกวันๆนะ อย่างน้อย วันนึง ๑๐ นาที ๑๕ นาที ก็ยังดี

แล้วจะดียิ่งกว่านั้นอีกนะ ถ้ามีวันละหลายๆรอบ รอบละไม่ต้องนาน ถ้านานเดี๋ยวเครียด เดี๋ยวขี้เกียจ รอบละ ๕ นาทีก็ได้

ตื่นนอนมานะ รู้ทันจิตที่ไหลไปคิดเนี่ยซัก ๕ นาที

ไปถึงที่ทำงานแล้ว ก่อนจะลงมือทำงานนะ ไหว้พระซะหน่อย แล้วก็คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิดซัก ๕ นาที แล้วค่อยทำงาน

ก่อนจะกินข้าวนะ เดินไปตัก ไปซื้อข้าวกินอะไรนี้ ก็รู้ทันจิตที่มันไหลไปไหลมา กินข้าวก็รู้ทันจิตที่ไหลไปไหลมา จิตก็ค่อยมีกำลังนะ

ถ้าเราฝึกวันนึงได้หลายๆรอบเนี่ย จิตจะมีพลังมากเลย จิตจะตั้งมั่น เด่นดวงอยู่อย่างนั้นน่ะทั้งวันได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะงั้นเรามาฝึกนะ พุทโธไป หายใจไป ดูท้องพองยุบไปตามถนัด แล้วคอยรู้ทันจิต จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตลงมาเพ่งอยู่ที่อารมณ์อันนั้นนะ มาอยู่กับพุทโธ มาอยู่กับลมหายใจ มาอยู่กับท้อง จิตเคลื่อนไปอยู่(กับ)สิ่งเหล่านี้ รู้ทัน

การที่เราคอยรู้ทันจิต ที่เคลื่อนไปเคลื่อนมาเนืองๆเนี่ย ทันทีที่รู้ทัน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ เพราะจิตที่เคลื่อนเนี่ยนะ คือจิตที่มีโมหะ จิตที่เคลื่อนเป็นจิตที่มีโมหะ โมหะชนิดที่เรียกว่า “อุทธัจจะ” ความฟุ้งซ่าน จิตมันฟุ้งไปในความคิดบ้าง ฟุ้งไปที่ลมหายใจบ้าง ฟุ้งไปที่ท้องบ้าง ฟุ้งไปที่เท้าบ้าง

ถ้าเมื่อไหร่เรามีสติ รู้ทันนะ ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้บังคับ ถ้าเราบังคับ จิตจะตึงเครียด ถ้าจิตตึงเครียด จิตเป็นอกุศล ไม่ใช่จิตที่ดีเลย เพราะงั้นอย่าไปข่ม อย่าไปกด อย่าไปบังคับ อย่าไปกดขี่ข่มเหงจิตใจ แล้วให้คอยรู้ทันเท่านั้น ว่าจิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่ง รู้ทัน ให้รู้ทันเฉยๆ

ทันทีที่รู้ทันนะ เราจะเริ่มเก็บคะแนนของความรู้สึกตัวไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจิตไหลไปคิด เคลื่อนไปคิด เรารู้ว่าจิตเคลื่อนไปคิด จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติเลย แต่ถ้าเคลื่อนไปเพ่งนะ เวลาไปดูเนี่ย บางทีถลำตามไปอีก เลยไม่ขึ้นมาเลยก็มี แต่ถ้ารู้ว่าจิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง จิตจะขึ้นมาได้นะ ขึ้นมาเอง แต่ส่วนใหญ่พอไปดูซ้ำนะ มันก็ซ้ำลงไปอีก ไปอยู่ที่ท้องหนักขึ้น ไปอยู่ที่ลมหนักขึ้น

เพราะงั้นบางทีบอก ดูแล้วทำไมก็ไม่หายเพ่ง ก็(เพราะว่า)ดูแบบเพ่งๆ ยิ่งดูยิ่งเพ่ง แต่เวลาเผลอไปคิดเนี่ย ทันทีที่รู้ ว่าจิตเผลอไปคิด จิตจะดีดตัวผางขึ้นมา เป็นผู้รู้ทันทีเลย ทันทีที่จิตเป็นผู้รู้แล้ว มันจะรู้สึกกายได้ มันจะรู้สึกใจได้ มันจะกลับมาอยู่กับตัวเอง เรียกว่า จิตใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขา คือต้องรู้เท่าทันจิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขาคือต้องรู้เท่าทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสมาธินั้นมี ๒ ชนิด เราต้องเรียนให้ชัดเจนนะ ส่วนมากนะ คนที่ทำสมาธินะ รุ่นก่อนนี้นะ เกือบทั้งหมดเลย ทำสมาธิออกนอก ไปพุทโธ จิตไปอยู่ที่พุทโธ ไปรู้ลมหายใจ จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ จิตไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกลม จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่เคยรู้ทันจิตตนเองเลย การที่ไม่รู้ทันจิตตนเองนี่ เรียกว่า ข้ามบทเรียนสำคัญของพระพุทธเจ้าไปบทนึง ชื่อ “จิตตสิกขา” เราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา

เพราะงั้นต่อไปนี้ เราทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา เคยพุทโธก็ใช้พุทโธได้นะ เคยหายใจ ก็ใช้ลมหายใจได้ เคยดูท้องพองยุบ ก็ใช้ท้องพองยุบได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าทำแล้วมันสบายใจนะ เพียงแต่กลับนิดนึง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่กับพุทโธ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ท้อง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่มือ ที่เท้า “ให้คอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป” พุทโธๆจิตเคลื่อนไปที่อื่น เช่น เคลื่อนไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน

จิตมันจะเคลื่อนไปใน ๒ ลักษณะเท่านั้นเอง คือเคลื่อนหลงไปในโลกของความคิด กับเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ ถ้าจิตเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ นั่นคือ การทำสมถะกรรมฐาน จะได้ความสงบเฉยๆ จะไม่มีปัญญา ถ้าจิตเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด อันนั้นหลงไปเลย สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ ใช้ไม่ได้เลย เวลาที่จิตหลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๙) เบื้องต้นทำกรรมฐานที่ทำแล้วมีความสุข

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๙) เบื้องต้นทำกรรมฐานที่ทำแล้วมีความสุข

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีฝึก ต้องหากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำ เบื้องต้น ต้องทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง กรรมฐานอะไรก็ได้ ที่เราทำแล้วมีความสุข ถ้าทำแล้วเครียด ไม่เอาเลยนะ

อย่างบางคน ไปเดินจงกรมแล้วเครียด เดินแล้วเครียดนะ เดินแล้วตึงไปหมดเลย เครียดไปหมด หลังยอก-คอยอก แขนขาตึงไปหมดนะ อย่างนั้นแสดงว่า ไม่เหมาะกับจริตของเรา

กรรมฐานต้องดูตัวเอง ว่าเราอยู่กับกรรมฐานชนิดไหน แล้วจิตใจมีความร่มเย็นเป็นสุข ให้เอากรรมฐานอย่างนั้นแหล่ะ แต่ว่า ไม่ใช่น้อมจิต ไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน แล้วให้จิตร่มเย็นเป็นสุขอยู่เฉยๆ การน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งนะ เป็นการทำสมถะกรรมฐาน เพื่อพักผ่อนเท่านั้นเอง จิตใจมีความสุข มีความสงบ มีความดี แต่จะไม่เดินปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรม ยังไง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรม ยังไง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อสองสามวันก่อนนะ มีเด็กหนุ่มๆคนนึง ไปถามหลวงพ่อที่วัดหลวงพ่อ บอกว่า ผมจะฝึกเดินจงกรมจะเดินยังไง? หลวงพ่อเรียกเลย บอก เอ้า ออกมาเดินหน้าชั้น มีที่อย่างนี้ ออกมาเดินเลย ให้คนเป็นร้อยเนี่ยดูฃ

มันก็ใจเด็ดนะ ไอ้หนุ่มนี้ลุกออกมาจริงๆ ลุกเดินก้มๆๆออกมา หลวงพ่อก็รีบบอก อย่าเพิ่งเดิน รู้สึกมั้ย ที่เดินมาสามสี่ก้าวเนี่ย ไม่ได้รู้สึกตัวเลย เพราะอะไร เพราะคิดว่าตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ เดี๋ยวต้องมาเข้าหัวทางจงกรมก่อน ถึงจะเริ่มการปฏิบัติ เดินอยู่ทุกๆก้าวนี่ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ เห็นมั้ย แยกการปฏิบัติกับชีวิตออกจากกันแล้ว

แท้จริงการปฏิบัติทำกันตลอดเวลานะ เท่าที่มีสติจะทำได้ ไม่ใช่ไปแบ่ง ว่าช่วงนี้คือเวลาปฏิบัติ ช่วงนี้ไม่ต้องปฏิบัติ คำว่า “ไม่ต้องปฏิบัติ” ต้องไม่มีอยู่ในสารบบของเราเลย ถ้าอยากได้มรรคผลจริงๆ งั้นลุกขึ้นมา หลวงพ่อเรียกให้มาเดินจงกรม

ถ้าหลวงพ่อเรียกให้เดินจงกรม ก็หมายถึงว่า ทุกก้าวที่เดินมานี่แหล่ะ เดินจงกรมทั้งหมด แต่ไม่ใช่เดินย่องๆมานะ ไม่ใช่การเดินจงกรมคือการย่องๆๆอย่างนั้น ไม่ใช่นะ ทุกก้าวที่เดินปกตินี่แหล่ะ ถ้ามีสติ เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย ถ้าขาดสติ ถึงมาเดินกลับไปกลับมา เดินงุ่มง่ามช้าๆ ก็ไม่เรียกว่าเดินจงกรม เรียกว่าเดินสะเปะสะปะโดยขาดสติ เพราะฉะนั้นเมื่อไรมีสติ ทุกก้าวที่เดินนั่นแหล่ะ คือการเดินจงกรม

นี้หนุ่มคนนี้เค้าไม่เดินจงกรม คือไม่เจริญสติ หลวงพ่อเรียกให้มาเดินโชว์ ก็ลุกขึ้นมา ขาดสติเลย ลืมเนื้อลืมตัว ตื่นเต้นไม่รู้ว่าตื่นเต้น อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ ร่างกายกำลังเดินอยู่ ไม่รู้ว่าร่างกายเดินอยู่ อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้

เอ้า พอเดินมาถึงหัวทางจงกรม ทำอะไรรู้มั้ย วางฟอร์ม (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ นักปฏิบัติชอบทำอย่างนี้ เวลาที่ไม่ได้คิดว่าเป็นเวลาปฏิบัตินะ ก็หลงไปเลย เผลอไปเลย พอคิดถึงการปฏิบัตินะ ก็บังคับกายบังคับใจทันทีเลย

นี่แหล่ะคือความสุดโต่งสองด้าน ที่พระพุทธเจ้าห้าม สุดโต่งอันที่ ๑ ชื่อ “กามสุขัลลิกานุโยค” การหลงตามกิเลสนี่เอง อย่างเราหลงตามกิเลส เช่น เราหลงไปทางตา หลงไปทางหู หลงไปดูเค้าลืมตัวเอง หลงไปฟังเค้าคุยกันลืมตัวเอง หลงไปคิดแล้วก็ลืมตัวเอง นี่หลงตามกิเลส เป็นความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว

พอคิดเรื่องปฏิบัติก็เริ่มบังคับกายบังคับใจ วางฟอร์มขรึมๆ พวกเราเป็นมั้ย นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย นี่พูดแบบเกรงใจนะ เกือยร้อยละร้อยน่ะ คือนักวางฟอร์ม ต้องทำขรึม งั้นมันจะดูสง่างามดี น่านับถือ

หารู้ไม่ว่า เดินช็อปปิ้งก็เดินจงกรมได้ เดินข้ามทางม้าลาย ก็เดินได้ แต่อย่าไปเดินย่องๆนะ รถทับเอา เดินปกติ เหมือนที่พ่อที่แม่สอนให้เดินนั่นแหล่ะ แต่เติมสติลงไป เติมความรู้สึกตัวลงไป อย่าใจลอย

คำว่าใจลอยก็คือขาดสตินั่นเอง อาการของมันก็คือ เราไปหลงคิดไป เรามัวแต่รู้เรื่องที่เราคิดนั่นแหล่ะ เรียกว่าใจลอย ถ้าเมื่อไหร่ใจเราแอบไปคิดปุ๊บ รู้ทันว่าคิด เรียกว่ามีสติแล้ว เราจะรู้กายเราจะรู้ใจได้ทันที

เพราะฉะนั้นเราต้องปฏิบัติ ในชีวิตประจำวันให้ได้นะ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ต้องรู้สึกตัว ต้องรู้กาย ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหว คอยรู้สึก แต่ไม่ใช่วางฟอร์มไปเพ่งให้มันนิ่งๆ ไม่ใช่เดินให้มันผิดธรรมดา ไม่ใช่ตามบังคับใจให้นิ่งผิดธรรมดา รู้ไปตามธรรมดานั่นแหล่ะ เพราะอะไร เพราะเราต้องการเห็นความเป็นธรรมดา ของกายของใจ ธรรมดานั่นแหล่ะ ธรรมะล่ะ

ธรรมดาของกายของใจ ก็คือกายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ เนี่ยต้องการให้เห็นธรรมดา คือแค่นี้เอง พอเห็นแล้ว ต่อไปรู้ความจริง เออ กายกับใจมันไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ได้พระโสดาบันนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒ (วันอาทิตย์ที่ ๑๘ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙)
File: 490618.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๔๖ ถึง นาทีที่ ๓๙ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำเล่นๆได้ของจริง ทำจริงๆได้ของเล่น

mp 3 (for download) : ทำเล่นๆได้ของจริง ทำจริงๆได้ของเล่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : นมัสการหลวงพ่อค่ะ ไม่ได้มากราบหลวงพ่อหลายเดือนแล้วนะคะ มีอยู่วันนึงนะคะ ครึ่งวันเลย คือมีความทุกข์มาก แล้วก็ไม่ได้ทำอะไร แต่มันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาเลยค่ะ ก็เลยคิดว่าตัวเองเดินจงกรมมากไปรึเปล่า ก็เลยหยุด มันมีอยู่ช่วงนึงค่ะ แต่ช่วงนี้หยุดมาซักพักนึงแล้ว ไม่ทราบว่าหย่อนไปมั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ยังไม่หย่อนนะ แต่มากกว่านี้จะหย่อนแล้ว

โยม : อ๋อ…ค่ะ ใช้ขยับนิ้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขยับไป

โยม : ขยับนิ้วช่วงวันน่ะค่ะแทน เพราะว่ารู้สึกเดินจงกรม แล้วเราตั้งใจมากเลยค่ะ แล้วมันก็เครียด

หลวงพ่อปราโมทย์ : แล้วเราขยับไป ขยับเล่น ขยับเล่นนะ ถ้าเดินจงกรมก็ต้องเดินเล่น อะไรๆก็ต้องเล่นนะ ทำเล่นๆได้ของจริง ทำจริงๆได้แต่ของเล่น ของเล่นเช่น ได้หูทิพย์ตาทิพย์ รู้วาระจิตอะไรนี้ ทำเล่นๆ รู้กายเล่นๆ ดูซิกายมันทำอะไร กายมันก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ดูเล่นๆ ดูจนเห็นความจริงเลย ไม่ใช่เรา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
Track: ๑๐
File: 510315.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๕๕ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิชนิดลืมเนื้อลืมตัวไม่ใช่ทาง พ้นทุกข์ไม่ได้จริง

mp 3 (for download) :  สมาธิชนิดลืมเนื้อลืมตัวไม่ใช่ทาง พ้นทุกข์ไม่ได้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมัยพุทธกาลนะ เจ้าชายสิทธัตถะออกจากวังมา สิ่งแรกที่ท่านไปทำ ก็ไปเรียนกับฤาษี ทำสมาธิให้จิตนิ่งๆว่างๆนี้แหล่ะ แล้วท่านก็พบว่ามันไม่ใช่ทาง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์จริง วันนี้สงบ อีกวันก็ฟุ้งซ่านอีกแล้วนะ วันนี้ไม่มีกิเลส อีกวันนึงก็กิเลสมาอีกแล้ว ท่านก็พบว่ามันไม่ใช่ทาง ท่านก็ไปทรมานร่างกาย แล้วก็พบว่าไม่ใช่ทางอีก

สุดท้ายท่านก็พบทางสายกลางนะ เป็นสมาธิธรรมชาติที่ท่านมีมาตั้งแต่เด็ก เมื่อตอนท่านอายุ ๓ ขวบ มีพิธีแรกนาขวัญ พี่เลี้ยงเอาท่านไปไว้ใต้ต้นหว้า แล้วพี่เลี้ยงก็ไปดูพระเจ้าสุทโธทนะไถนา ขณะนั้นท่านอยู่คนเดียว ไม่มีใครกวนท่าน ท่านก็ลุกขึ้นนั่งสมาธิ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ไม่ได้หายใจแล้วให้จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไม่ได้หายใจแล้วก็จิตเคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว หายใจแล้วรู้สึกตัว จิตท่านตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมานะ ได้ปฐมฌานขึ้นมา

เนี่ยท่านระลึกถึงสมาธิชนิดนี้ขึ้นมาได้ ตอนท้ายๆของการปฏิบัติของท่าน ท่านก็มานั่งหายใจนะ หายใจด้วยความรู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เห็นร่างกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ใจค่อยสงบนะ แล้วก็ไม่ลืมเนื้อลืมตัว รู้สึกตัวอยู่ตลอดเลย สมาธิชนิดที่รู้สึกตัวเนี่ย กระทั่งบางทีภาวนาไปจนร่างกายหายนะ โลกธาตุดับนะ พายุกำลังตึงตังๆเนี่ย จิตเข้าสมาธิ รู้สึกตัวอยู่เนี่ย โลกดับไปเลย ไม่มีเลยพายุฟ้าผ่าอะไรเนี่ย ไม่มีรู้สึกเลยนะ แต่ความรู้สึกตัวไม่หายไป ยังรู้สึกตัวอยู่ตลอดสายของการปฏิบัติเลย ต้องมีสมาธิอย่างนี้ ถึงจะใช้ได้

ถ้าสมาธิที่ทำไป แล้วก็ลืมกายลืมใจ เคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว มันจะไปเจริญปัญญาได้ไง เพราะเจริญปัญญา คือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจ

งั้นพวกเราต้องมาฝึกนะ ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ ถ้าพูดถึงคำว่าสมาธินะ ที่จะใช้สมาธิที่ดีๆ พูดภาษาไทยง่ายๆ ก็คือฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว จะยืนเดินนั่งนอน ก็รู้สึกตัว จะหายใจออก จะหายใจเข้า ก็รู้สึกตัว มีความสุข ก็รู้สึกตัว มีความทุกข์ ก็รู้สึกตัว ใจมันโลภ ใจมันโกธรธ ใจมันหลง ก็รู้สึกอยู่ เห็นใจมันโกรธนะ เราเป็นคนดูเอง จิตใจเป็นคนรู้ ว่าความโกรธมันเกิดขึ้น จิตใจเป็นคนรู้ ว่าความโลภมันเกิดขึ้น ความหลงมันเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่านความหดหู่ มันเกิดขึ้น ใจเราเป็นแค่คนดูเอง ใจเราเป็นคนดู เห็นความสุขเกิดขึั้น เห็นความทุกข์เกิดขึ้น เห็นความสุขหายไป (เห็น)ความทุกข์หายไป

ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ คอยรู้สึกตัว แล้วก็ดูความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ของกายของใจเรื่อยไป นี่แหล่ะวิธีที่เราจะเรียนรู้ ความจริงของกายของใจได้นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เมื่อ วันพุธที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

CD: แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
File: 551128
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมแล้วเพ่ง

mp 3 (for download) : เดินจงกรมแล้วเพ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โยม : กระผมพยายามเดินจงกรม มาได้สักพักหนึ่งนะครับ (หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..) พอคิดว่าเราจะเดินจงกรมปุ๊บ มันก็ปวดต้นคอ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. งั้นไม่เอานะ อย่าไปทำอย่างนั้นเลย

โยม : ผมเลยอยากมากราบเรียนถามหลวงพ่อ ขออุบายหรือวิธี (หลวงพ่อปราโมทย์ : ไปเดินเล่น) ไปเดินเล่น???

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. เดินเล่นนะ เดินชมนกชมไม้ แต่ระวังอย่าไปเดินข้างถนน เดี๋ยวรถเหยียบเอา เดินชมนกชมไม้ไปนะ แล้วใจเราสบาย เราก็รู้ ใจเรากลุ้มใจ เราก็รู้ เดินไปแล้วใจเราใจลอยไปคิดเรื่องอื่น เราก็รู้ (โยม : ครับ) ไปฝึกเล่นๆ

โยม : ไปเดินเล่นนะครับ

(เสียงฮา..)

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออนะ แต่ไม่ใช่เดินเรื่อยเปื่อยนะ ไม่ใช่เดินใจลอยไปเรื่อย คือพอเราคิดเรื่องปฏิบัติแล้วเรามาเดินจงกรมเนี่ย พอเริ่มเข้าทางจงกรม เราก็เริ่มเพ่งแล้ว การบังคับตัวเองแล้วมันเครียด มันเครียดแล้วปวดหัว ปวดไหล่ ปวดคอ อะไรอย่างนี้ ปวดลูกตา นะ (โยม : ครับ) ก็ไม่ดี (โยม : ครับ) การภาวนาจริงๆ คำว่าการเดินจงกรมน่ะ คำว่าจงกรมแปลว่าเดิน เพราะฉะนั้นทุกก้าวที่เดินนะ เดินไปแล้วเห็นร่างกายมันเดิน พอใจลอยรู้ว่าใจลอย แค่นั้นเราก็เรียกว่าเดินจงกรมแล้ว ส่วนการเดินกลับไปกลับมานี้เป็นการเดินในรูปแบบนะ อาจจะเดินเรื่อยเปื่อยก็ได้ ใจลอยไปที่อื่น หรือเดินทรมานตัวเองก็ได้ ไม่ได้เดินจงกรมที่แท้จริง ไม่ได้มีสติ นะ เพราะฉะนั้นไปทำเล่นๆนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
Track: ๕
File: 520426B
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๖ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรม เดินด้วยความรู้สึกตัว

mp 3 (for download) : เดินจงกรมด้วยความรู้สึกตัว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาเราเดินไปนะ เราเดินเอาความรู้สึกตัว เราไม่เดินเอาระยะทาง เราไม่เดินเอาเวลา บางคนเดินเอาระยะทาง รีบจ้ำๆใหญ่ คนโบราณเรียก เหมือนตามควาย จ้ำๆ จ้ำๆ ไปนะ กะว่าเดินได้ครบหนึ่งพันรอบแล้วจะเลิก รีบจ้ำให้มันครบแล้วสบายใจ พวกหนึ่งเอาเวลา จะเดินสามชั่วโมงนะ เดิน..เมื่อไหร่จะถึงสามชั่วโมงสักที วันไหนถึงแล้วก็สบายใจ เราไม่ได้เอาอย่างนั้น เราเดินเอาสติ

เพราะฉะนั้นเราเดินไป เดินไปสบายๆ หายใจช้าลงหน่อยนึงก็ได้ หรือถูกจริตที่จะเคลื่อนไหวเร็วๆก็ได้ ช้าก็ได้ เร็วก็ได้ อะไรก็ได้ทั้งนั้นแหละ เคลื่อนไหวไป พอใจลอยปื๊บไป.. รู้สึกตัว แล้วก็เดินต่อไปอีก ถ้ามันลอยรุนแรง ก็รู้สึกตัวยืนเลย ก็ได้ หยุดเลย รู้สึกตัวขึ้นมา แล้วก็เดินเอาใหม่ เดินไปสุดทางจงกรม อย่างเพิ่งหันกลับมา ตอนนี้เป็นจุดอ่อนที่กิเลสจะโจมตี ตรงสุดทางเนี่ย รู้สึกตัวขึ้นมาเสียก่อน ค่อยๆหันกลับมา หันกลับมาอย่าเพิ่งเดิน ถ้าหันกลับมาแล้วจะเดินทันทีเนี่ย จิตมันจะเดินไปก่อนขา มันจะไม่สัมพันธ์กัน กายไปทางหนึ่ง จิตไปทางหนึ่ง ใช้ไม่ได้

เวลาเราหันกลับมา เรารู้สึกตัว ให้สบายๆ แต่ไม่ใช่แข็งนะ ไม่ใช่อย่างนี้นะ อย่างนี้จะไปตีกับเขาละ เหมือนพวกซามูไร อย่างนั้นไม่ได้นะ จะฟันหัวเขาละ รู้สึกตัวสบายๆ ก็ก้าวเดินไป เดินไปพอใจลอยก็จะหยุดก็ได้ รู้สึกตัวใหม่ ก็เดินใหม่ เดินไปเรื่อย เพราะฉะนั้นความรู้สึกตัวมันจะตั้งขึ้น ตั้งขึ้น

ถึงจุดหนึ่งเราก็จะเห็นโดยที่ไม่ได้เจตนาจะเห็น ร่างกายที่กำลังเดินอยู่นี้เป็นรูปมันเดิน มิใช่เราเดิน ร่างกายนี้เป็นรูปเดิน ใจเป็นคนดู เฝ้ารู้เฝ้าดูไป เห็นมันเดิน ถึงจุดนี้มีสิ่งที่ต้องระวังก็คือ พอรู้กายมันเดินไปนานนี่จิตชอบถลำเข้าไปเพ่งกาย เราก็รู้ทันว่าจิตถลำลงไปแช่ที่กายแล้ว รู้สึกตัวใหม่ หยุดเดิน แล้วรู้สึกตัว แล้วค่อยเดินไป เห็นร่างกายมันเดินไปอีก

หรือว่าเดินๆอยู่ กุศล-อกุศล อะไรเกิดขึ้นในจิตในใจ เราก็คอยรู้ทัน เพราะฉะนั้นการปฎิบัติ รู้กายไปรู้ใจไป เอากายเป็นเครื่องสนับสนุนความรู้สึกตัว จะทำง่าย ถ้าดูจิตล้วนๆเลย จะทำได้กับบางคนนะ บางคนดูจิตล้วนๆก็ได้ ทีนี้ถ้ากำลังเรายังไม่พอ ใจเราไม่ตั้งมั่น เราก็เอาการเคลื่อนไหว เอาการปฏิบัติในรูปแบบเป็นตัวช่วย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณอรัญวาสี เมื่อครั้งพำนักที่สวนโพธิญาณอรัญวาสี
ในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๘ ก่อนฉันเช้า


สวนโพธิญาณอรัญวาสี
CD: สวนโพธิญาณอรัญวาสี แผ่นที่ ๑๐
Track: ๑
File: 480911A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๓/๖) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๓/๖) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เบื้องต้น ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นกรรมฐานอย่างเดิมที่เคยทำเพื่อให้เกิดความสงบก็ได้

ยกตัวอย่างหลวงพ่อ หายใจนะ หายใจแล้วจิตมีความสุขอยู่กับลมหายใจ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งก็คือลมหายใจ รู้ลมหายใจอันเดียวจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง นี่คือทำสมถะ ทีนี้ต่อมาเรามาฝึก หายใจแล้วจิตเคลื่อนไป เรารู้ทัน เราไม่ได้รู้ที่ลมหายใจ แต่หายใจแล้วรู้จิต นี่มันต่างกันตรงนี้ ถ้าเราทำกรรมฐานแล้วเรารู้อยู่ในอารมณ์ของกรรมฐานนั้นๆนะ จะได้สมถะ จะได้ความสงบ ถ้าเราทำกรรมฐานแล้วเรารู้ทันจิต จะได้จิตที่ตั้งมั่น

เพราะฉะนั้น พุทโธเหมือนเดิม ใครเคยพุทโธแล้วสงบนะ จิตอยู่กับพุทโธ ก็ปรับนิดเดียว พุทโธต่อไป แต่พุทโธไม่ใช่เพื่อให้จิตไปอยู่กับพุทโธ ไม่ใช่พุทโธให้จิตสงบ แต่พุทโธแล้วรู้ทันว่าจิตไหลไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไปเพ่งพุทโธไปเพ่งจิตเอาไว้ ก็รู้ทัน

คนไหนเคยฝึกอานาปานสติ จิตไปรวมกับลมหายใจแล้วมีความสงบขึ้นมา ก็ปรับนิดนึง ก็หายใจเหมือนเดิมแหละ แต่แทนที่จะรู้ลมหายใจ ก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจก็รู้ทัน อย่างนี้จะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา เพราะจิตผู้รู้ กับจิตผู้ไหลไปผู้หลงไปผู้ส่งออกไป จะตรงข้ามกัน จิตผู้รู้นั้นไม่ส่งไป ตั้งมั่น เด่นดวง อยู่

ใครเคยดูท้องพองยุบก็ดูไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน ใช้หลักเดียวกัน แต่ถ้าจิตเราไหลไปเกาะนิ่งอยู่ที่ท้อง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะ เอาไว้พักผ่อน

เพราะฉะนั้นปรับนิดเดียวเท่านั้นเอง คือเปลี่ยนการรู้อารมณ์มาเป็นการรู้จิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่  ๒๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

mp 3 (for download) : กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราต้องรู้กายรู้ใจอย่างเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน บ้านไม่ใช่คุก แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ เอาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นคุกขังใจ

เช่นเราจะอยู่กับลมหายใจ เราจะบังคับตัวเอง ให้รู้แต่ลมหายใจ ห้ามรู้อย่างอื่น ถ้ารู้อย่างอื่นถือว่าไม่ดี มันไม่ดีจริงนะในแง่ของสมถกรรมฐาน แต่ในแง่ของวิปัสสนากรรมฐานน่ะ เราไม่ได้เอาจิตไปติดคุก ทันทีที่พวกเราคิดถึงการปฏิบัติแล้วเราบังคับตัวเอง พอบังคับเมื่อไหร่เนี่ย จิตใจจะหนักๆแน่นๆแข็งๆขึ้นมาเลย ทื่อๆนะ แข็งขึ้นมา หาความสุขความสงบที่แท้จริงไม่ได้ มีแต่ความอึดอัดนะ จงใจปฏิบัติเมื่อไหร่อึดอัดเมื่อนั้นเลย จงใจไปรู้ลมหายใจก็อึดอัด จงใจไปรู้ท้องพองยุบก็อึดอัด ยกเท้าย่างเท้าแล้วจงใจไปรู้อยู่ที่เท้าก็อึดอัดอีก ทำอะไรๆมันก็อึดอัดไปหมดเลย

เพราะอะไร เพราะจิตมันไปติดคุก คนติดคุกมันมีความอึดอัดนะ แต่หลวงพ่อไม่เคยติดนะ อันนี้เดาๆเอา นะ ไม่เหมือนอยู่บ้าน อยู่บ้านสบาย มีธุระออกจากบ้านเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้กายรู้ใจเหมือนมันเป็นบ้าน หมายถึงว่ามันเป็นที่อาศัยระลึกของสติเท่านั้น เวลาไม่รู้จะรู้อะไรนะ ก็กลับมาอยู่บ้าน คนไหนใช้ลมหายใจเป็นบ้าน พอจิตใจไม่ต้องไปรู้กายเวทนาจิตธรรมอันอื่น เราก็กลับมารู้ลมหายใจ รู้เล่นๆ ไม่ใช่บังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจ ถ้าบังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจเป็นสมถะ

ถ้าจะอยู่อย่างอยู่เป็นบ้านเราก็หายใจไป หายใจออกก่อนนะ หายใจออก หายใจเข้า หายใจออกไป ใจเราอยู่ที่ลมหายใจเราก็รู้ หายใจไป หายใจไป ใจเราหนีไปที่อื่นเราก็รู้ เห็นมั้ย หายใจไป เราเห็นร่างกายนี้หายใจอยู่นะ เกิดสติเกิดปัญญาขึ้นมา เห็นร่างกายหายใจ ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเราหรอก จิตใจก็เหมือนกัน จิตใจที่ไปรู้ร่างกายที่หายใจเนี่ย แป๊บเดียวมันก็หนีไปคิดเรื่องอื่น หรือมันถลำลงไปเพ่งลมหายใจ หรือมันสุข หรือมันทุกข์ หรือมันดี หรือมันร้ายขึ้นมา

การที่เราเห็นอย่างนี้มากเข้าๆ มันก็จะเกิดปัญญา เห็นเลย จิตใจก็ไม่ใช่ตัวเราอีกละ เราบังคับมันไม่ได้ เดี๋ยวก็วิ่งไป เดี๋ยวก็วิ่งมา เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เนี่ยถ้าเรารู้อย่างนี้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรมนะ มันจะรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียว ถ้าบังคับจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นอย่างหลายคนดูท้องพองยุบ ดูท้องพองยุบแล้วเพ่งให้จิตแนบอยู่ที่ท้องเลย ห้ามหนีไปที่อื่น เอาท้องมาเป็นคุกขังจิตน่ะ จนจิตมันไม่ไปไหน มันเซื่องๆอยู่ที่ท้องเนี่ยนะ ได้ความสงบ เกิดปีติ ขนลุกขนพอง เกิดตัวลอยตัวเบาตัวโคลง ตัวใหญ่ตัวหนัก บางคนตัวหนักก็มีนะ บางคนก็ขนลุกซู่ซ่าๆ อันนี้เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

แต่ถ้าเรารู้ท้องพองยุบอย่างให้เป็นวิปัสสนา หัดเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เราจะเห็นร่างกายมันพองร่างกายมันยุบนะ รูปมันพองรูปมันยุบ ใจอยู่ต่างหาก ใจเป็นแค่คนดู เหมือนเราดูตัวเอง เห็นร่างกายมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เหมือนกันหมดนะ จะใช้อารมณ์กรรมฐานอะไร ยกตัวอย่างใช้ อิริยาบถ ๔ เนี่ย เราก็เห็นร่างกายมันยืน ร่างกายมันเดิน ร่างกายมันนอน ถ้าทำสัมปชัญญะบรรพะ ร่างกายมันคู้ร่างกายมันเหยียด มันเหลียวซ้ายแลขวา เราก็รู้สึกเอา รู้สึกแล้วเราก็เห็นเลย ไอ้ตัวที่เคลื่อนไหวเหลียวซ้ายแลขวาน่ะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก รูปมันเคลื่อนไหว ใจเป็นคนดู ตัวใจเองก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นเราจะเห็นทั้งรูป เห็นทั้งนามนะ ถ้าเห็นถูกต้อง ไม่ใช่เห็นอันใดอันหนึ่ง ไม่ใช่บังคับเอาอันใดอันหนึ่ง เนี่ยเรียกว่าอยู่เป็นวิหารธรรม บางทีสติก็ไปรู้กาย บางทีสติก็ไปรู้ใจ เราเลือกไม่ได้ ไม่ได้จงใจ มันจะสบาย รู้กายก็สบายใจนะ รู้จิตใจก็สบายใจอีก รู้ไปเรื่อยๆ สบาย เหมือนเราอยู่บ้าน ออกจากบ้านไปเที่ยวเมื่อไหร่ก็ได้ มีธุระจะไปเมื่อไหร่ก็ได้ เหนื่อยแล้วกลับมาอยู่้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน (ศาลากาญจนาภิเษก)
ครั้งที่ ๑๐
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕o


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๐
File: 500318
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการอยู่กับวิหารธรรม

mp 3 (for download) : วิธีการอยู่กับวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : เมื่อเดือนที่แล้วมาส่งการบ้านน่ะค่ะ หลวงพ่อบอกว่าตั้งใจดูมันมากเกินไปน่ะค่ะ (หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้อ) พอหลังจากนั้นมันเหมือนลงไปบ่อยน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือ การปฏิบัติที่ผิดมีสองอันนะ ความสุดโต่งสองด้าน ด้าหนึ่งหลงไปเผลอไป ด้านหนึ่งเพ่งไว้ประคองไว้บังคับไว้

ทีนี้ถ้าเราประคองไว้เรื่อยไปนะ เราก็ไม่ทำชั่ว แต่ไม่เกิดปัญญา แล้วเราปล่อย จิตหนีไป ปล่อยไปนะ ไปทำชั่วได้ แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิต เราจะได้ปัญญา

เพราะฉะนั้นการที่เราจะปล่อยให้จิตทำงานจนเกิดปัญญานี้ มีความเสี่ยงเหมือนกัน แต่ว่าถ้าจิตของหนูพอปล่อยปุ๊บเนี่ย แต่เดิมเราประคองมากเลย ถ้าเราปล่อยเมื่อไหร่มันจะฟุ้ง ฟุ้งแหลกลาญเลย

มันมีวิธี คล้ายๆว่า จะจับนะแต่แกล้งปล่อย คืออย่ามาจับมันเต็มที่ จับนิดๆ แตะๆเอาไว้ เช่น พุทโธๆไป หาเครื่องอยู่ให้จิต แต่ไม่ใช่พุทโธให้จิตนิ่ง พุทโธๆไป จิตหนีไปแล้ว รู้ทัน อ่ะ มาพุทโธใหม่ ที่หนีไปแล้วไม่ว่ากัน พุทโธๆ หนีไปอีก รู้ทัน หาเครื่องอยู่ให้จิตอยู่นะ แล้วก็ไม่บังคับว่าจิตจะต้องอยู่กับอารมณ์อันนั้น

บางคนรู้ลมหายใจ หายใจสบายๆไป จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปอยู่ที่ลมหายใจรู้ทัน นะ จิตเป็นยังไงรู้ทันไปเรื่อย อย่างนี้จะไม่หลงยาว ถ้าจิตไม่มีเครื่องอยู่น่ะ จิตจะหลงยาว

เพราะฉะนั้นมันจะมีการปฏิบัติที่ผิดอยู่ ๒ อันนะ ที่ถูกอยู่อันหนึ่ง ที่ผิดเนี่ย ปล่อยจิตให้หลงไปเลย นานๆเลยเนี่ย ผิดแน่นอน ที่ผิดอันที่สองเนี่ย ไปเพ่งจิตไว้ บังคับจิตไว้ จนมันเคลื่อนไหวไม่ได้ เครียดๆหนักๆนะ อันนี้ก็ผิดนะ

ที่ถูกก็คือ มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่ง ไม่ได้ถึงขนาดจับไว้ไม่ให้กระดุกกระดิก แต่มีเครื่องอยู่พอให้จิตได้อาศัย พุทโธไป หายใจไป พุทโธไป อะไรก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิต ไม่ใช่บังคับจิตให้นิ่ง แต่พุทโธไปหายใจไปเพื่อคอยรู้ทันจิต พุทโธๆจิตหนีไปคิด รู้ทัน พุทโธๆจิตมีความสุข รู้ทัน จิตมีความทุกข์ รู้ทัน พุทโธแล้วรู้ทันจิตไป จะไม่หลงนาน ถ้าเราไม่มีเครื่องอยู่จะหลงนาน…


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๘
File: 550429B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการใช้วิหารธรรม

mp 3 (for download) : หลักการใช้วิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก แล้วคนเดียวกันนะ แต่ละวันแต่ละเวลา ดูไม่เหมือนกันอีก แต่ว่ามันจะต้องมีวิหารธรรมมีฐานอันเดียว อย่ามีบ้านหลายบ้าน แต่บางช่วง สมมุติเราใช้จิตเป็นวิหารธรรม ดูจิตเรื่อยๆ แต่ดูไม่ไหวก็รู้จักเปลี่ยนมาดูกายบ้าง รู้จักมาทำความสงบบ้าง หรือดูกายอย่างเดียว ไม่ได้ไปจ้องอยู่ที่กาย เห็นร่างกายพองร่างกายยุบ จิตไหลไปอยู่ในกาย ไม่รู้ทันว่าจิตไหล ก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องรู้ทันว่าจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว

เพราะฉะนั้นการภาวนานะ ถึงแม้จะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน มีบ้านให้จิตอยู่ก็จริง แต่จิตออกนอกบ้านได้ บ้านไม่ใช่คุก บ้านนั้นถ้ามีธุระก็ออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่คุกห้ามออก นักปฏิบัติส่วนใหญ่นะ เปลี่ยนวิหารธรรมให้กลายเป็นคุกขังจิตแทบทั้งนั้นเลย เกือบร้อยละร้อยเลย ไปที่ไหนๆก็เห็นแต่แบบนั้นแหละ ไม่ใช่วิหารธรรมแต่เป็นคุก

ยกตัวอย่าง อยู่กับพุทโธก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากพุทโธ อยู่กับลมหายใจก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากลมหายใจ อยู่กับท้องพองยุบก็บังคับจิตต้องอยู่ที่ท้อง ห้ามหนีไปจากท้อง มีแต่บังคับจิต ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่บ้านแต่เป็นคุก

แต่ถ้าเราพุทโธๆเนี่ย มีอารมณ์มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตมันแส่ส่ายออกไป จิตมันเกิดสุขเกิดทุกข์ เกิดกุศลอกุศลรู้ทันมัน มันจะเห็นแต่ความเปลี่ยนแปลงของจิต เห็นเลยว่าจิตเป็นของบังคับไม่ได้นะ เห็นไตรลักษณ์ของจิต หรือรู้ลมหายใจอยู่นะ ให้จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา นี่ก็เป็นการเดินปัญญาด้วยการดูกายละ

ถ้าจิตแส่ส่ายหนีออกไป รู้ทันว่าจิตแส่ส่ายออกไป จิตจะตั้งมั่นได้สมาธิขึ้นมา หรือเดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เริ่มสังเกตเห็น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น บังคับไม่ได้จิตไม่ใช่เรา นี่เริ่มเดินปัญญาอีกละ

เพราะฉะนั้นเวลาภาวนานะ มันจะพลิกไปพลิกมา พลิกไปพลิกมา ระหว่างสมถะกับวิปัสสนานะ อย่างนี้ใช้ได้

แต่ถ้าไปจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะไม่เดินปัญญา เป็นคุกขังจิต จิตต้องอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น ห้ามไปอยู่ที่อื่น อย่างนั้นไม่ใช่ อย่างนั้นเป็นสมถะ ดีมั้ย ดีเหมือนกัน ถ้าทำวิปัสสนาไม่ได้

ถ้าทำวิปัสสนา ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตไม่ได้ดูกายไม่ได้ ให้ทำสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๙
File: 550601.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การทำตามรูปแบบ ทำได้ ๓ อย่าง

mp 3 (for download) : การทำตามรูปแบบ ทำได้ ๓ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราปฏิบัติในรูปแบบนั้น ยังทำได้ ๓ อย่าง

  • อันที่ ๑ ถ้าจิตฟุ้งซ่านมาก ทำความสงบ ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว
  • อันที่ ๒ เมื่อจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป ไหลไปคิด เราจะได้สมาธิชนิดที่ ๒ คือจิตตั้งมั่น
  • เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วเวลาที่เราทำในรูปแบบเนี่ย หัดรู้สภาวะไป

สภาวะของร่างกาย สภาวะของเวทนาคือความสุขทุกข์ สภาวะของสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภความโกรธความหลง ความวิตกกังวลต่างๆนะ ให้รู้ทัน แล้วก็รู้สภาวะของจิต จิตเดี๋ยวก็วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง วิ่งไปคิด

แต่ตอนที่ทำในรูปแบบเนี่ย มันจะปิดทวารไปบางส่วน ถ้าเรานั่งสมาธิอยู่นะ มันก็ไม่วิ่งทางตา ไม่วิ่งทางหู เหลือแต่ทางใจ ก็เห็นจิตไหลไปทางใจ เคลื่อนไปเคลื่อนมา ก็รู้ทันอาการของจิต เป็นการหัดรู้สภาวะ การทำในรูปแบบนี้แหล่ะ ฝึกไว้ให้ชำนาญนะ ต่อไปเราจะขึ้นสู่การเจริญปัญญา เจริญปัญญาได้

เมื่อมีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสติรู้เท่าทันสภาวะที่เกิดขึ้น การที่หัดรู้สภาวะนั่นแหล่ะ จะทำให้เกิดสติ การที่รู้ทันว่าจิตไหลไป จิตหลงไป จะทำให้เกิดสมาธิชนิดตั้งมั่น อาศัยสติและความตั้งมั่นของจิต ๒ อย่างนี้เป็นตัวช่วยกัน จะทำให้เกิดปัญญา คือการเห็นความจริงของกายของใจ

เพราะฉะนั้นต้องมี ๒ สิ่งนี้ อาศัยการทำในรูปแบบนี้มาช่วย เพราะฉะนั้นทำในรูปแบบนะ ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ทำความสงบ พุทโธๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ให้จิตสงบ ถ้าจิตสงบแล้ว ก็ทำกรรมฐานเดิมนั้นแหล่ะ แต่รู้ทันเวลาจิตมันเคลื่อนไป จิตมันไหลไป ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปไหลไป จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู พอจิตตั้งมั่นเนี่ย เราได้สมาธิแล้ว

ต่อไปเราก็มาพัฒนาให้เกิดสติ โดยรู้สภาวะนะ เห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายเดิน จิตเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย จิตเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ความเฉยๆ เกิดขึ้นในจิต จิตเป็นคนดู เห็นกุศลอกุศลเกิดขึ้นในจิต จิตเป็นคนดู เห็นจิตเคลื่อนไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตเป็นคนดู

ถ้าดูได้อย่างนี้ชำนิชำนาญนะ พอร่างกายขยับกริ๊กเดียวนะ สติเกิดเอง จะรู้สึกตัวขึ้นเองเลย ความรู้สึกแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายนิดเดียว สติเกิดเองเลย ความรู้สึกหรือกุศลอกุศลแปลกปลอมเข้ามาในจิตนิดเดียวนะ สติระลึกได้เลย จิตเคลื่อนทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนิดเดียวนะ สติระลึกได้เลย เมื่อเราได้ทั้งสติ ได้ทั้งสมาธิคือความตั้งมั่นแล้วเนี่ย เราเจริญปัญญาได้แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๒
File: 550421.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การปฎิบัติในรูปแบบควรทำสมถะ หรือวิปัสสนา

การปฎิบัติในรูปแบบควรทำสมถะ หรือวิปัสสนา

ทำรูปแบบจะเป็นสมถะ เป็นวิปัสสนา หรือจะฝึกสติก็ได้ครับ
แล้วแต่ว่าใครจะทำแบบไหน แต่ไม่ว่าจะทำแบบไหนก็ต้องทำด้วยใจสบายๆ
ไม่ฝืนกดข่มบังคับจิตจนหนักๆ ทื่อๆ
ดังนั้นที่ทำแล้วหนักๆ ทื่อๆ ก็แสดงว่าทำผิดไปแล้วครับ
ให้กลับไปทำแบบ เดินไปแล้วรู้ทันจิตที่หลง พุทโธแล้วรู้ทันจิตที่หลง
แค่รู้ว่าจิตหลงไปก็พอแล้วครับ ส่วนจะหลงนานบ้างก็เป็นธรรมดา
ไม่ใช่ว่าต้องไม่หลงนานนะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒๗) ถ้าฝึกด้วยการบริกรรมพุทโธ ให้บริกรรมพุทโธแล้วรู้ทันจิต

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๒๗) ถ้าฝึกด้วยการบริกรรมพุทโธ ให้บริกรรมพุทโธแล้วรู้ทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

โยม : กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ หนูไม่ได้ส่งการบ้านมา ๘ เดือนแล้วค่ะ มันก็เจริญแล้วเสื่อมสลับกันไปค่ะ แต่ว่า ๒-๓ เดือนนี้ กิเลสตัวลังเลสงสัยน่ะค่ะ มันเยอะน่ะค่ะ โดยเฉพาะลังเลสงสัยเกี่ยวกับคำบริกรรมพุทโธของหนูว่า เออ..มันถูกมั้ย (หลวงพ่อปราโมทย์ : หือ? สงสัยยังไง) ว่ามันใช่ทางมั้ย? เพ่งแล้วนะ อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : อ้อ.. สังเกตที่จิตเราสิ พุทโธนี่นะ พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตของเราไป ไม่ใช่พุทโธไปบังคับจิตให้นิ่ง พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตฟุ้งซ่าน รู้ทัน พุทโธ พุทโธ จิตสงบ รู้ทัน นะ ฝึกอย่างนี้ พุทโธแล้วรู้ทันจิต อย่าไปพุทโธแล้วบังคับจิตนะ

โยม : หนูบังคับหรือคะ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าบังคับมันจะแน่น หนูวัดได้ด้วยตัวเอง

โยม : คือ หลังๆมันก็ไม่แน่นน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันฟุ้งหรือเปล่า?

โยม : ค่ะ ค่ะ คือหลวงพ่อคะ คือว่าหนูน่ะ สมมุติว่าหลวงพ่อแนะนำให้น้องคนนี้ไปดูกายใช่มั้ยคะ แต่หนูมีความรู้สึกว่า หนูน่ะมาดูกายไม่เป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่จำเป็น ทางใครทางมัน

โยม : ค่ะ ก็คือทำความสงบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำความสงบนะ แล้วก็รู้ทันจิตไป (โยม : ค่ะ) เช่น พุทโธ พุทโธ ไป จิตสงบรู้ว่าสงบ พุทโธไป จิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน ให้จิตมีบ้านอยู่ อยู่กับพุทโธก็ได้ แต่พุทโธแล้วไม่ได้พุทโธบังคับจิต แต่พุทโธรู้ทันจิต

550409.56m56-58m25

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๕๖ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 512345