Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนธรรมะเพื่อปฎิบัติ ไม่ใช่เพื่อคุยเล่นสนุกๆ เพื่อคุยอวดกัน

mp 3 (for download) : เรียนธรรมะเพื่อปฎิบัติ ไม่ใช่เพื่อคุยเล่นสนุกๆ เพื่อคุยอวดกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เอื้อเฟื้อภาพโดย ชมรมสารธรรมล้านนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นสรุปนะพวกเรา การที่เรามาศึกษาธรรมะ ศึกษาเพื่อปฏิบัติ ไม่ใช่ศึกษาเล่นสนุกๆ ธรรมะเป็นของสูง เป็นของหายาก

สมัยพุทธกาลมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ได้ยินจากพวกพ่อค้าว่า “พุทโธ โลเก อุุปปันโน พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ธัมโม โลเก อุปปันโน พระธรรมเกิดขึ้นแล้วในโลก สังโฆ โลเก อุปปันโน พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก” ท่านแทบช็อกเลย ถามซ้ำว่า อะไรนะ พูดอะไรนะ ถามตั้งสามรอบนะ พอรู้เนี่ยนะ ท่านสั่งพ่อค้าเลยบอก ให้ไปบอกพระมเหสีนะ เอารางวัลให้ไปแล้วก็ยกราชบัลลังก์ให้พระมเหสีปกครองไป ท่านขึ้นม้าหนีเลย ออกจากเมืองเลย ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

เพราะท่านเห็นความสำคัญ ว่าโอกาสที่พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นนั้นยากแสนยาก โอกาสที่พระธรรมจะปรากฎลงมาสู่โลกมนุษย์นั้นยากแสนยาก โอกาสที่พระสงฆ์คือปุถุชนคนธรรมดาจะพัฒนาตนเองขึ้นไปสู่ความบริสุทธิ๋หมดจดนั้นยากแสนยาก เป็นโอกาสที่ยากแสนยากที่จะเกิดขึ้น เวลานี้พวกเราได้รับโอกาสอันนั้นแล้วนะ หน้าที่เรารีบปฏิบัตินะ เราเรียนธรรมะเพื่อจะเอาไปปฏิบัติ ไม่ใช่เพื่อฟังเล่นสนุกๆ เพื่อเอาไปคุยอวดกัน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่  ๔๙ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เกิดมาทำไม?

เกิดมาทำไม?

คำถามเรื่อง เกิดมาทำไม เป็นคำถามยอดนิยม
แต่หาคำตอบที่แน่นอนตายตัวไม่ได้
เพราะต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างมีปณิธานของตน

ถ้าเราสังเกตจิตใจของเราให้ดี เราจะพบว่า
ที่เราถามคำถามนี้ ก็เพราะเรารู้สึกอย่างแน่นแฟ้นว่า
เรามีอยู่ เราเกิดมาแล้ว เราจะทำอะไรดี

เพราะความสำคัญมั่นหมายอย่างจริงจังในความมีอยู่ของ เรา นี้แหละ
จึงเกิดทิฏฐิหรือความเห็นต่างๆ ขึ้นมามากมาย
เช่น (เรา)ตายแล้วเกิด (เรา)ตายแล้วสูญ
สิ่งนี้สมควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่สมควรแก่เรา ฯลฯ

ผู้สนใจพระพุทธศาสนานั้น
แทนที่จะนั่งคิดว่า เราเกิดมาทำไม
(ซึ่งจะได้คำตอบที่วนเวียน หาข้อยุติแน่นอนไม่ได้
เพราะเป็นเพียงเรื่องของความคิดเห็น)
ลองเปลี่ยนเป็นการศึกษาพิจารณาลงไปใน
สิ่งที่เห็นว่าเป็นเรา คือกายกับใจ หรือขันธ์ 5 นี้
เพื่อแยกแยะออกมาให้เห็นชัดๆว่า เรา มีอยู่จริงหรือไม่
อย่างนี้จึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากพระพุทธศาสนาครับ

อันนี้ผมเสนอในจุดยืนของชาวพุทธเท่านั้นครับ
แต่ไม่ใช่ว่าคำถามของท่านไม่ดี
เพราะคำถามว่าเกิดมาทำไมนั้นดีแน่
นักปราชญ์ทั้งหลายจึงถามกันมาโดยตลอด
เพียงแต่ถามแล้ว มันหาข้อยุติที่ชี้ว่าเป็น ความจริง ไม่ได้
เพราะจะได้เพียง ความเห็น เท่านั้น

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิพพานอยู่ที่ไหน ?

mp 3 (for download) : นิพพานอยู่ที่ไหน ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ ตากล้อง ข้างธรรมาสน์

หลวงพ่อปราโมทย์ : นิพพานไม่ได้เกิดขึ้น นิพพานมีอยู่แล้ว นิพพานไม่เคยหายไปไหน สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ พระนิพพานไม่เกิด เพราะฉะนั้นพระนิพพานไม่ดับ นิพพานไม่ใช่อุดมคติ ไม่ใช่โลกอุดมคติที่นักปราชญ์สร้างขึ้นมา เพื่อหลอกล่อให้เราทำความดี บางคนโง่คิดแค่นั้นเอง

นิพพานมีจริงๆ คือสภาวะที่พ้นจากตัณหา สภาวะที่พ้นจากกิเลส สภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง สภาวะที่พ้นจากการเสียดแทง เป็นสภาวะที่อิสระ เป็นสภาวะที่โปร่งเป็นอิสระ มีความสุขอันมหาศาล ไม่มีอะไรเหมือน มีอยู่จริงๆสภาวะนี้ ไม่ใช่อุดมคติเอาไว้หลอกเด็กให้ทำดี ต้องเหนือดีนะถึงเจอ

แต่ก่อนจะเหนือดีได้ต้องดีให้เต็มที่ก่อน เพราะงั้นสิ่งที่ต้องทำนะ ละความชั่ว ละบาปอกุศลทั้งปวง เจริญกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ผ่องแผ้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่  ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จุดพลาดของนักภาวนา

จุดพลาดของนักภาวนา

จุดพลาดของนักภาวนาจุดหนึ่ง
ที่ทำให้ก้าวหน้าไม่ได้หรือได้ช้า คือ ความรู้สึกที่ว่า
ภาวนาแล้วจิตจะต้องมีสภาวะที่ดีๆ ก็เลยมุ่งจะทำจิตให้ดีไว้
ทั้งที่จิตจะดีหรือไม่ดีก็ไม่ตาม ต่างก็เป็นไตรลักษณ์เหมือนกัน
ดังนั้นเวลาที่จิตไม่ดี ถ้าแค่รู้แค่ดูจิตที่ไม่ดีได้
ก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้
แต่ถ้ามัวแต่จะทำให้จิตดี หรือมัวแต่จะรักษาจิตที่ดีไว้
ก็จะไม่เห็นไตรลักษณ์

เพราะฉะนั้นจำหลักนี้ไว้นะครับว่

“จิตจะดีก็ได้ จิตจะไม่ดีก็ได้ขอเพียงให้แค่รู้แค่ดูไปเท่านั้นพอแล้ว”

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล (๓) เมื่อรู้แล้ว รู้ด้วยความเป็นกลาง

mp 3 (for download) : การดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล (๓) เมื่อรู้แล้ว รู้ด้วยความเป็นกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ข้อที่ ๓ นะ ข้อที่ ๓ คือ เมื่อรู้แล้ว อันแรกอะ ก่อนจะรู้อย่าไปดักไว้ อันที่ ๒ ระหว่างรู้อย่าถลำลงไปจ้อง อันที่ ๓ เมื่อรู้แล้วนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง อย่าไปหลงยินดียินร้ายกับมัน ถ้าหลงยินดีหลงยินร้ายเนี่ย จิตจะเข้าไปแทรกแซง

เช่น เห็นความสุขเกิดขึ้นแล้วก็ยินดีนะ ก็จะเผลอเพลินไป หรืออยากให้ความสุขอยู่นาน ๆ พอความทุกข์เกิดขึ้นก็เกลียดมัน อยากให้มันหายเร็ว ๆ นะ เนี่ยใจที่มันไม่เป็นกลาง มันจะทำให้จิตเกิดการดิ้นรน เพราะฉะนั้นถ้าใจไม่เป็นกลางนะ ให้มีสติรู้ทัน มีสติรู้ไป มันยินดีขึ้นมาก็รู้ทัน มันยินร้ายขึ้นมาก็รู้ทัน ในที่สุดใจจะเป็นกลาง

รู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตที่เป็นกลางนะ นี่คือกฎข้อที่ ๓ คือ รู้แล้วไม่แทรกแซง มันสุขก็ได้ มันทุกข์ก็ได้ มันดีก็ได้ มันชั่วก็ได้ มันสว่างก็ได้ มันมืดก็ได้ มันหยาบก็ได้ มันละเอียดก็ได้ สภาวะทั้งหลายนั้นเสมอภาคกันในการทำวิปัสสนา เพราะสภาวะทั้งหลายนั้นไม่ว่าจะสุข ทุกข์ ดี ชั่ว หยาบ ละเอียดนะ ก็ล้วนแสดงไตรลักษณ์ เกิด-ดับเหมือน ๆ กันทั้งสิ้น ไม่ใช่จะเอาอันหนึ่ง จะเกลียดอีกอันหนึ่งนะ

ใจของเราเนี่ย พอเห็นอะไรก็แล้วนะ มันจะรักอันหนึ่ง จะเกลียดอันหนึ่งอยู่เสมอแหล่ะ เช่น รักสุข เกลียดทุกข์ รักดี เกลียดชั่วนะ รักความสงบ เกลียดความฟุ้งซ่าน เนี่ยใจเราไม่เป็นกลาง เนี่ยอาจารย์อนันต์ วัดมาบจันทร์ นะ ท่านก็สอนมา ท่านบอก หลวงพ่อชาสอนมาว่า เวลาดูจิตเนี่ย ให้ดูด้วยความไม่ยินดี ไม่ยินร้ายเนี่ยหลวงพ่อชาสอนมาอย่างนี้นะ หลักอันเดียวกันน่ะ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ๆ ที่ท่านภาวนาเก่ง ๆ นะ ท่านสอนเหมือนกันหมดเลย

หลวงปู่ดุลย์ก็สอนอย่างเดียวกันนะ องค์ไหนๆ ก็สอนอย่างเดียวกันนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงปู่เทสก์ใช้สำนวนบอกรู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงพ่อชาบอกรู้ด้วยความไม่ยินดีไม่ยินร้ายนะ บางองค์ก็ว่ารู้แล้วสักว่ารู้นะ รู้แล้วไม่แทรกแซง ก็คือสิ่งเดียวกันนั่นเอง มันเป็นยังไง รู้แล้วเป็นอย่างนั้น นี่สำนวนอาจารย์สุรวัฒน์ จิตเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น กายเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ใครไม่รู้จักอาจารย์สุรวัฒน์  พยายามรู้จักไว้นะ เพราะแกเป็นกัลยาณมิตร แกต้องน่วมแน่ ๆ เลยรอบเนี่ย… ใครฟุ้งซ่านยกมือหน่อย เห็นไหม เออ…มีผู้ร้ายปากแข็งหลายคนนะ… ฟุ้งทั้งนั้นแหล่ะนะ จำได้ไหมข้อที่ ๑…

ข้อที่ ๑ เนี่ยมันผิดพลาดตรงที่อยากปฏิบัติ..อยากปฏิบัติ ก็ไปจ้องรอดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น มันก็เลยไม่มีอะไร นอกจากความนิ่งความว่าง

ข้อที่ ๒ นะ อยากรู้ให้ชัด ก็เลยถลำลงไปจ้อง ไปเพ่งเอาไว้ ไม่ให้คลาดสายตา มันก็นิ่งเหมือนกัน กลายเป็นการเพ่ง

ข้อที่ ๓ นะ อยากดี อยากให้พ้นทุกข์ อยากดีนะ อยากให้สุข อยากให้สงบ อยากให้พ้นจากความฟุ้งซ่าน ก็เข้าไปแทรกแซงนะ แล้วก็เลยไม่เป็นกลาง

แล้วสรุปง่าย ๆ นะ ต่อไปนี้ สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็รู้มันอย่างที่เป็นมันเป็น รู้แล้วก็อย่าเข้าไปแทรกแซงนะ รู้สบาย ๆ รู้อยู่ห่าง ๆ รู้แบบคนวงนอก รู้ด้วยความเป็นกลาง หัดรู้อย่างนี้เรื่อย ๆ

พวกเรานะสำรวจใจตัวเองให้ดี ใน ๓  ข้อเนี่ย พวกเราผิดตัวไหนบ้างนะ หลวงพ่อถามที่วัดมาแล้วนะ คำถามนี่ ใครยกมือถามหลวงพ่อ หลวงพ่อถามเลย ใน ๓ ข้อเนี่ย ผิดข้อไหน พอตอบได้นะ ไม่ต้องมาถามหลวงพ่อ รู้แล้วนี่ ถ้ารู้ว่าผิดนะ มันก็ถูกของมันเองแหล่ะนะ พอเข้าใจไหม ไม่ยากนะ ง่าย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลาลุงชิน (ศาลากาญจนาภิเษก)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักดราช ๒๕๕๒

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๓
File: 520920
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๗ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : ทางสายกลางในการปฎิบัติภาวนา

ทางสายกลางในการปฎิบัติภาวนา

ทางสายกลางหรือความไม่สุดโต่งในการปฏิบัตินั้น
ต้องพิจารณาเอาที่จิตใจตนเองครับ
เพราะการปฏิบัติที่เป็นกลางของแต่ละคนไม่เท่ากัน
วิธีพิจารณาง่ายๆ ที่พระป่าท่านใช้กันก็คือ การสังเกตตนเองว่า
นอนแค่ไหนจึงจะพอ คือไม่ง่วงเหงาเพราะพักน้อยไป
ไม่ซีมเซาเพราะนอนมากไป
กินแค่ไหนจึงจะทำความเพียรสบาย
อยู่ในอิริยาบถใด มากน้อยเพียงใด การปฏิบัติทางจิตจึงคล่องแคล่ว

แม้กลางที่เป็นพฤติกรรมของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน
แต่ความเป็นกลางทางจิตนั้น เท่ากันทุกคน
เช่น เป็นกลางคือ เป็นปัจจุบัน ไม่เอนเอียงไปข้างอดีต หรืออนาคต
เป็นกลางต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า ไม่หลงยินดียินร้าย
และเป็นภาวะที่เหนือดี เหนือชั่ว เหนือความปรุงแต่งทั้งฝ่ายบวกและฝ่ายลบ
คือถ้าพบว่าจิตมีกิเลสแล้วเกลียด ก็สุดโต่งไปข้างหนึ่ง
ถ้าจิตหลงเชื่อ วิ่งตามกิเลส ก็สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง

รวมความแล้วก็คือ จิตไม่มีความโต่งในทุกๆ ด้าน ระหว่างธรรมที่เป็นคู่ทั้งหลาย

สำหรับผู้ปฏิบัติในขั้นที่ละเอียดเข้าไปนั้น
นอกจาก รู้ แล้ว ก็ไม่ใช่ความเป็นกลาง
เพราะในภาวะ รู้ นั้น ศีลก็เป็นศีลอันโนมัติ
สมาธิและปัญญาก็ประชุมลงที่เดียวกันเป็นอัตโนมัติ
ไม่ไหลไปสู่อดีตและอนาคต เป็นกลาง ปราศจากความยินดียินร้าย

สรุปแล้ว ทางสายกลางที่เป็นพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
เป็นเรื่องที่ต้องสังเกตเอาเอง
ว่าทำอย่างใด อกุศลจะลดลง กุศลจะเจริญขึ้น
ส่วนกลางของจิตนั้น เหมือนกันทุกคน
คือ รู้ ที่ไม่ ปล่อยจิต ให้เพลิดเพลินยินดีไปกับอารมณ์
หรือเพ่งอารมณ์ เพื่อ บังคับจิต ให้แนบกับอารมณ์อันเดียว

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล (๒) ขณะที่ดู อย่าถลำลงไปจ้อง

mp 3 (for download) : การดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล (๒) ขณะที่ดู อย่าถลำลงไปจ้อง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : กาลที่ ๒ หรือลำดับที่ ๒ คือ ขณะที่ดู ก่อนดูไม่ไปดักดู ขณะดูอย่าถลำลงไปจ้องนะ ดูแบบคนวงนอก นี่เป็นกฏข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง ดูแบบคนวงนอกนะ

ส่วนใหญ่พอเราเห็นสภาวะธรรมเกิดขึ้นแล้ว มันจะมีตัณหา ตัณหาก็คืออยากรู้ให้ชัด พออยากรู้ให้ชัดแล้วมันจะถลำลงไปจ้องนะ คล้าย ๆ เราดู ก่อนนี้ใครเคยดูหนังจีนไหม หนังจีนสมัยก่อนนะ กำลังภายใน จ้าวยุทธภพอะไรแบบเนี่ย มันชอบมีบ่อน้ำกลม ๆ เนี่ย ใครเคยเห็นไหม ที่มีขอบปูนนะ แล้วผู้ร้ายชอบจับเอานางเอกไปโยนลงบ่อเนี่ย บางทีก็เอาคัมภีร์ไปโยนลงบ่อ คล้าย ๆ กันนะ เวลาเราจะดูของที่อยู่ก้นบ่อเนี่ย เราชะโงกลงไปดูจนหัวทิ่มลงบ่อไป อย่างนี้ใช้ไม่ได้

เราต้องดูอยู่ห่างๆ ดูอยู่ปากบ่อ อย่าถลำลงไปจนตกบ่อ พวกเราเวลาที่ดูจิตดูใจเนี่ย เราอยากดูให้ชัด ชะโงกลงไป ชะโงกลงไป ในที่สุดจิตมันถลำลงไปเพ่ง กลายเป็นเพ่งอีกล่ะ ใช่ไหม อยากดูไปดักดูนะ ก็กลายเป็นการเพ่ง พอกำลังดูอยู่ อยากดูให้ชัด ถลำลงไปจ้องอีกนะ ก็กลายเป็นการเพ่งนะ กลายเป็นเพ่งทั้งนั้นเลย

เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ก่อนจะรู้เนี่ย อย่าไปดักรู้ ให้สภาวะเกิดแล้ว ค่อยรู้เอา ให้มันโกรธขึ้นมาแล้วรู้ว่าโกรธ โลภขึ้นมาแล้วรู้ว่าโลภ ใจลอยแล้วรู้ว่าใจลอย

สภาวะที่ ๒ ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้น ดูอยู่ห่าง ๆ อย่าถลำตามความโกรธไป อย่าไปจ้องใส่มัน

หลวงพ่อเคยทำผิดนะ เห็นกิเลสโผล่ขึ้นมา แล้วเราจ้อง พอเราจ้องแล้วมันหดลงไป หดลึก ๆ ลงไปอยู่ข้างในนะ เราก็ตามลงไป กะว่าวันเนี่ยจะตามถึงไหนถึงกันนะ ตามลึกลงไป ควานหามันใหญ่เลย บุญนักหนานะ ไปเจอหลวงปู่สิมเข้า หลวงปู่สิมท่านเตือน ผู้รู้ ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่ ที่แท้ตกบ่อไปแล้ว ไม่เห็น ตกบ่อนะ

พอรู้ทัน อ้อ…ใจมันถอนขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เห็นสภาวะผ่านไปผ่านมา คล้าย  ๆ เราเห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราอยู่ในบ้าน ใจเราไม่วิ่งตามเขาไปนะ ถ้าใจเราหลงตามอารมณ์ไป หลงตามสภาวะไป มันจะรู้ได้ไม่ชัดหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๓
File: 520920
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Video Clips: มหาวิทยาลัยหอการค้า ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยหอการค้า
เมื่อวันอังคารที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
เวลา ๑๓ นาฬิกา ๓๐ นาที

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กำหนดแสดงธรรมนอกสถานที่ หลวงพ่อปราโมทย์ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

CR: Mayom Dhamma Dhammayom

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : มรรคผลเริ่มต้นที่ไหน

มรรคผลเริ่มต้นที่ไหน

พวกเรามักถูกสอนว่า การปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้มรรคผลนั้น 
ต้องอาศัยการสะสมบารมีมาเนิ่นนาน 
ถ้าไม่มีบารมี ก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ 
แล้วก็พาลท้อแท้ใจ คิดว่าทางนี้ยังไกลนัก ค่อยๆ เดินไปก็แล้วกัน 
เพราะขืนรีบเร่งเกินไป จะเหนื่อยตายเสียกลางทาง

ในความเป็นจริงแล้ว จุดเริ่มต้นของมรรคผลนั้นหายากจริง 
ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ทรงเปิดเผยไว้ เราไม่มีทางหาพบได้เลย 
แต่เมื่อหาพบและลงมือทำแล้ว 
มรรคผลไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัยที่เราจะทำได้โดยเร็ว

จุดตั้งต้นของมรรคผลอยู่ที่ไหน 
ขอเรียนว่า อยู่ที่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงการเจริญสติ 
หากเจริญสติถูกต้องแล้ว พระพุทธเจ้าท่านรับประกันว่า 
จะได้ผลโดยเร็ว บางคนก็ 7 ปี บางคนก็ 7 เดือน บางคนก็ 7 วัน

การปฏิบัติธรรมหรือการเจริญสติ ไม่ใช่การก้าวเดินไปทีละขั้น 
เพราะมันไม่ขั้นอะไรหรอก 
มีแต่ว่า (1) เจริญสติถูกต้องอยู่ หรือ (2) เผลอสติไปแล้ว 
มีอยู่เท่านี้จริงๆ

ถ้าเจริญสติถูกต้อง ก็จัดว่าเดินอยู่ในทาง(มรรค) ที่จะก้าวไปสู่ผลคือความพ้นทุกข์ 
เจริญสติทุกวัน ก็คือเข้าใกล้มรรคผลไปทีละน้อย 
เจริญสติต่อเนื่องมากที่สุด ก็คือการออกวิ่งไปในทางที่ไม่ไกลเกินไปนัก 
แต่ถ้าเผลอสติ ก็เหมือนเดินออกนอกทาง หรือกลับหลังหันออกจากผลที่ต้องการ

การเจริญสติเป็นอย่างที่ คุณ กล่าวไว้จริงๆ 
นั่นคือ ไม่ลำบากเหลือวิสัยหรือต้องทุกข์ทรมานใดๆ 
แต่ก็ไม่สบายแบบตามใจกิเลส 
มันมีแต่ทางสายกลาง คือการรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ 
ด้วยความเป็นกลางเรื่อยไปเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การรู้ เป็นสิ่งที่ต้องพากเพียรเรื่อยไป 
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า 
“บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร” 
เห็นไหมครับว่า ท่านสอนธรรมตรงไปตรงมาที่สุดแล้ว

ดังนั้น ถ้าเจริญสติถูกวิธีแล้ว ก็เหลืออย่างเดียว 
คือเพียรทำให้มาก เจริญให้มาก อันเป็น “กิจของมรรคสัจจ์” 
ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้ตรงๆ แบบไม่ต้องตีความ อีกเช่นกัน

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล (๑) ก่อนจะดู อย่าดักดู

mp 3 (for download) : การดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล (๑) ก่อนจะดู อย่าดักดู

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณ ภาพจาก ชมรมสารธรรมล้านนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักการดูจิตที่ถูกต้อง จำไว้ง่าย ๆ นะ มันต้องดูถูกต้องใน ๓ กาล กาละนะ กาละ กอไก่ สระอา ลอลิง กาล ต้องดูถูกต้องใน ๓ กาลนะ ซึ่งยากมากเหมือนกันนะ ที่เราจะดูให้ถูกต้องทั้ง ๓ กาล

กาลที่ ๑ หมายถึงก่อนจะดู ก่อนจะดูเนี่ย อย่าไปดักไว้ อย่าไปเฝ้าดู อย่าไปจ้องเอาไว้ก่อน อย่าไปรอดูนะ ให้สภาวะธรรมใด ๆ เกิดขึ้นกับจิตก่อน แล้วค่อยมีสติรู้ไป เรียกว่าตามรู้นะ ให้มันโกรธขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้มันโลภขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโลภ ให้ใจลอยไปก่อน แล้วรู้ว่าใจลอย นี่คือกฎข้อที่ ๑

ถ้าเราไปดักดูแล้วมันจะนิ่ง ทำไมเราต้องไปดักดู หลายคนพอคิดถึงการดูจิต ก็จ้องปึกเลย แล้วทุกอย่างก็นิ่งหมดเลยนะ มันเกิดจากความอยากดู ตัณหามันเกิดก่อน อยากปฏิบัติ อยากดูจิต พออยากดูจิตก็เข้าไปจ้อง ไปรอดู พอเข้าไปจ้องไปรอดู มันคือการเพ่งนะ เมื่อไรเพ่ง เมื่อนั้นจิตก็นิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์ ไม่แสดงความจริงให้ดู

ฉะนั้น กฎข้อที่ ๑ นะให้สภาวะธรรมเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยมีสติตามรู้ไป ตามรู้อย่างกระชั้นชิด อย่าไปดักรอดูด้วยความโลภที่อยากปฏิบัตินะ นี่ข้อที่ ๑ อย่าดักดู

พวกเรามีคนไหนดักดูไหม เวลาดูจิต เอ้าช่วยยกมือ โชว์ตัวหน่อย พวกดักดู ดักทุกคนแหล่ะ พวกที่ไม่ยกเพราะดูไม่ออก หรือไม่ก็ขี้เกียจยกนะ ส่วนใหญ่พอคิดถึงการปฏิบัติก็เริ่มควาน ๆ ก่อนใช่ไหม เริ่มนึกจะดูอะไรดี ควาน ๆ ๆ อย่างนั้น เจออันนี้แหล่ะว้า จ้องไปอย่างนั้น จ้อง… ใจก็จะนิ่ง ๆ กลายเป็นเพ่งจิต ไม่ใช่ดูจิตล่ะ ฉะนั้นจะไม่เพ่งจิตนะ อันแรกเลยอย่าไปดักดู ให้สภาวะเกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยรู้

 


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๓
File: 520920.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : เทคนิคการเข้าฌานในแต่ละขั้น

เทคนิคการเข้าฌานในแต่ละขั้น

จะให้เข้าฌานง่าย อย่าไปคิดเพิ่มวิตกวิจารครับ มันจะยิ่งเข้ายาก
ให้มีวิตกคือตรึกนึกอย่างสบายๆ ถึงอารมณ์อันใดอันหนึ่งที่เราถนัดอย่างต่อเนื่อง
เช่นรู้ลมหายใจ ก็รู้ไปอย่างสบายๆ ธรรมดาๆ
มีสติพอดีๆ อย่าให้แข็งเกินไปเพราะจิตจะกระด้างไม่เข้าฌาน
อย่าให้อ่อนเกินไปเพราะจะเคลิ้ม
หากประคองสติให้พอดีๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ในอารมณ์อันเดียวนั้น (เอกัคคตา)
จนจิตเกิดวิจาร คือจิตเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์(เช่นลมหายใจ) โดยเราไม่ได้ตั้งใจ
แต่จิตเขาเคล้าเคลียของเขาเองด้วยความคุ้นชินและพอใจ(มีฉันทะ)
จิตจึงจะปรุงปีติสุขขึ้นมาครับ
อันนี้บัญญัติเรียกว่าปฐมฌาน

เมื่อจิตเกิดปีติสุขแล้ว ให้เปลี่ยนสติมาระลึกรู้ปีติสุขที่เกิดขึ้นนั้น
ทิ้งอาการเคล้าเคลียหรือตรึกนึกถึงอารมณ์เบื้องต้นที่ทำมา
ทำความรู้ตัวขึ้นภายในอีกชั้นหนึ่งว่า แม้ปีติสุขก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้
จิตผู้รู้อันเป็นธรรมอันเอกนั้น ดำรงอยู่ต่างหากจากปีติสุข
อันนี้คือทุติยฌาน

ปีติอันเป็นของหยาบ หวือหวาก็จะดับไป
จิตจะเหลือเพียงความสุขอันประณีตเป็นเครื่องระลึกของสติ
ในขณะที่จิตรู้ความสุขนั้น ตัวจิตเองจะเป็นอุเบกขา หรือเป็นกลางต่อความสุขอีกชั้นหนึ่ง
อันนี้คือตติยฌาน

แล้วจิตก็จะเห็นความสุขนั้นดับไป เหลือเพียงความว่างๆ ในจิตใจ
จิตมีสติอันบริสุทธิ์ เป็นกลางวางเฉย รู้ความว่างนั้นอยู่
อันนี้คือจตุตถฌาน

หากมีอารมณ์แปลกปลอมแม้เพียงเล็กน้อยผ่านมา
สติจะเห็นได้ชัดเจนถึงสิ่งแปลกปลอมนั้น
เห็นเหมือนแขกที่จรมาจรไป เกิดแล้วดับไป
ส่วนจิตผู้รู้ก็ไม่เข้าไปก้าวก่ายอารมณ์ คงทำตัวเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดีเท่านั้น

ฌาน 4 ที่พระพุทธเจ้าสอน จึงไม่ใช่ฌานเพื่อการเสพสุขอย่างเดียว(จะเสพก็ได้)
แต่เป็นฌานที่เป็นไปเพื่อความมีสติสัมปชัญญะ
เป็นไปเพื่อจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ พร้อมที่จะดำเนินวิปัสสนาต่อไป

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเป็นใหม่ๆจะมีความสุขเรื่อยๆ พอชำนาญมากเข้าจะเห็นแต่ทุกข์

mp 3 (for download) : ภาวนาเป็นใหม่ๆจะมีความสุขเรื่อยๆ พอชำนาญมากเข้าจะเห็นแต่ทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณ ภาพจากชมรมกัลยาณธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฝ้ารู้ลงไปนะ ดูลงไป ถ้าเราไม่หลงโลก ธรรมะมันแสดงตัวอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เราหลงโลกก็เฮๆฮาๆ เพลินๆนะ หมดเวลาไปวันนึงๆ เวลาภาวนาก็อย่าไปเครียด เครียดมากก็ภาวนายาก ภาวนาให้มันสบาย แต่ไม่ใช่กระดี๊กระด๊า ภาวนาให้มันมีความสุข ไม่ใช่เพลินไป กระดี๊กระด๊าเฮๆฮาๆ สนุกนะ เอาพอดีๆ มีสติ มีใจตั้งมั่นก็มีความสุขผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ ใครเคยภาวนาแล้วมีความสุขผุดเป็นระยะบ้าง มีมั้ยยกมือซิ ใหม่ๆจะเป็นอย่างนั้นแหล่ะ ต่อไปจะเห็นแต่ทุกข์นะ

งั้นหัดใหม่ๆจะมีความสุขเยอะเลย ทำไมมีความสุข เพราะมันมีสมาธิ มีจิตที่ตั่งมั่นขึ้นมา แต่เดิมมันไม่มีสมาธิ มีแต่จิตที่หลง หัดทีแรกนะ เราจะเห็นเลย จิตมันจะมีความสุขผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ มันเป็นความสุขของสมาธิ แต่เดิมจิตของเราไม่มีสมาธิ จิตเราฟุ้งอย่างเดียว พอมาหัดรู้สึกตัว รู้สึกตัวนะ พอรู้สึกตัวได้ความสุขจะโชยขึ้นมา เพราะงั้นหัดใหม่ๆ จะมีความสุขมากเลย เมื่อเทียบกับคนในโลก ซึ่งมันมีแต่ความทุกข์ มีความเครียดผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ แต่เราพอรู้สึกตัวปุ๊บ ความสุขก็ผุดขึ้นเป็นระยะ

แต่พอเราหัดภาวนามากเข้าๆนะ มันจะเปลี่ยน มันจะเห็นว่ามีแต่ทุกข์นะ ตอนนี้ใครเห็นทุกข์เยอะขึ้นแล้ว ยกมือซิ ไหนทางนี้มีมั้ย ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะแก่เพราะเจ็บเพราะตาย หรือทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะอยากได้มรรคผลเร็วๆ แล้วไม่ได้ ทุกข์เพราะมีปัญญา หรือทุกข์เพราะมีตัณหา ถ้าทุกข์เพราะมีปัญญา แล้วเราเห็นกายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่ไง มีปัญญานะ เห็นทุกข์ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป

แต่ถ้าทุกข์เพราะตัณหานะ จะอีกแบบนึง กิ๊กก๊อกหน่อย อยากแล้วไม่ได้ อยากแล้วไม่ได้อย่างอยาก ก็ทุกข์ ถ้าอยากแล้วไม่ได้อย่างอยากแล้วทุกข์ ทุกข์ธรรมดา ทุกข์เพลนๆใครก็เป็น แมวจะไปจับนกจับไม่ได้ แมวมันก็ทุกข์แล้ว

เราภาวนานะ เราก็จะเห็นทุกข์เต็มไปหมดเลย มองไปทางไหนก็จะเห็นแต่ความทุกข์ ใจก็จะคลายออกจากโลก ถ้าเราไม่เห็นทุกข์ เราจะหลงกับโลก เพลิน มีชีวิตหมดไปปีนึงๆนะ แป๊บเดียว ว่างเปล่าไม่ได้อะไรมาเลย ถ้าเรามีสติ มีใจที่ตั้งมั่น ดูกายดูใจทำงาน เราจะเห็นทุกข์มากขึ้นๆ เพราะเห็นทุกข์นะ จะเบื่อ แล้วคลายความยึดถือ แล้วก็หลุดพ้นไป


CD: บ้านเนินแสนสุข จ.ชลบุรี วันพุธที่ ๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550808.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : นักภาวนา กลัวเจ็บ กลัวตาย แต่กล้าหาญเบิกบาน

นักภาวนา กลัวเจ็บ กลัวตาย แต่กล้าหาญเบิกบาน

ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ใช่ว่าไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวตาย ไม่กลัวพลัดพราก
กระทั่งพระอริยบุคคลชั้นต้นๆ ก็ยังกลัวเหมือนกัน
ดังนั้น การที่จิตคุณ (นักภาวนาท่านนึงที่ป่วยเป็นโรคร้าย)จะหวั่นไหวบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดาที่สุด

แต่นักปฏิบัติจนเข้าสายเลือดนั้น
เมื่อเวลาเผชิญหน้ากับภัย แบบหนีไม่ได้แล้วจริงๆ
จิตจะหมุนตัวติ้วๆ ขึ้นมาเป็นอัตโนมัติ
เพื่อพิจารณาถอดถอนตนเองออกจากกองทุกข์
จะพ้น หรือไม่พ้น ก็สู้กันแค่ตายเท่านั้น

ผมรู้จักฆราวาสนักปฏิบัติรุ่นอาวุโสจำนวนมาก
ท่านหนึ่งคือป้าตุ๊ โฆวินทะ เป็นผู้อุปัฏฐากหลวงปู่เทสก์มาตั้งแต่ท่านยังหนุ่ม
ช่วงวัยชรา ป้าตุ๊เจ็บป่วยต้องผ่าตัดหลายครั้ง
เวลารอการผ่าตัด ญาติมิตรก็จะพากันไปเยี่ยม แล้วร้องโถๆๆ สงสารคุณป้า
แต่ป้าก็มีชีวิตอยู่จนได้เผาศพคนที่ร้องโถๆ นั้นเสียหลายคน
เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว เวลามีใครไปเยี่ยม
ป้าตุ๊จะเปิดแผลที่ผ่าตัดให้ดู หัวเราะเอิ๊กอ๊ากที่ถูกตัดอวัยวะไปทีละส่วน

ในเวลาเจ็บไข้ หลวงปู่จะส่งพระตัวแทนของท่านมาเยี่ยม
พระก็จะกลับไปเล่าถวายหลวงปู่และชาววัด
ถึงลวดลายนักปฏิบัติของป้าตุ๊ เป็นที่ชื่นชมกันไปทั่ว
ในตอนจะตายนั้น ป้าตุ๊ซึ่งนอนลุกไม่ขึ้นมานานแล้ว
ได้ลุกขึ้นไปหยิบรูปหลวงปู่เทสก์มาถือไว้ แล้วตายด้วยความเบิกบาน

ที่หินหมากเป้งตอนนี้ก็มีป้าเฉลาอีกคนหนึ่ง
เป็นโรคเดียวกับคุณ และผ่าตัดมาหลายปีแล้ว
ในเวลาเจ็บไข้และผ่าตัดนั้น
ป้าเฉลาก็เล่าว่า จิตใจเกิดความห้าวหาญมาก
ไม่เหมือนเวลาที่รู้ว่าเป็นโรคใหม่ๆ ที่จิตท้อแท้ลง
เพราะนักปฏิบัตินั้น พอจวนตัวเข้าจริงๆ มักจะสลัดความท้อแท้ทิ้ง
แล้วเจริญสติรู้เวทนาและจิตไปอย่างอัตโนมัติ

สรุปแล้ว นักปฏิบัติก็ยังกลัวเจ็บ กลัวตาย กลัวพลัดพราก
แต่เมื่อจวนตัวเข้าจริงๆ มักจะแตกต่างจากบุคคลทั่วไป
ตรงที่มีสติสัมปชัญญะเข้าเผชิญหน้ากับอันตรายทุกอย่าง
ด้วยความองอาจกล้าหาญ สมเป็นศิษย์มีครูโดยอัตโนมัติ

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2543 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕)

    New Files Uploaded วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

  • 551016: บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แสดงธรรมเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กิเลสละเอียดดูยาก

mp 3 (for download) : กิเลสละเอียดดูยาก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :แต่เดิมนั้นกิเลสหยาบๆเล่นงานเราสะบักสะบอม พอเราหัดเจริญสติมากเข้ามากเข้าเนี่ย กิเลสหยาบๆทำอะไรไม่ได้แล้ว พอใจไหว กิเลสปรุง กิเลสแว๊บขึ้นมา สติปัญญามันทำงานอัตโนมัติ กิเลสดับไป คราวนี้กิเลสต้องแปลงรูปแปลงโฉมใหม่ แปลงรูปแปลงโฉมให้ดูดี จิตใจของเราเป็นบุญเป็นกุศลนะมันปลื้ม ปลื้มในบุญในกุศล พอใจในความสุข พอใจในความสงบ พอใจในความว่าง พอใจที่ได้เป็นคนดี สิ่งเหล่านี้ก็กิเลสทั้งสิ้นแหล่ะ แต่ดูยาก ดูยากว่าเป็นกิเลส

อย่างเราภาวนานะ ใจเราว่างๆสบาย มีความสุขนะ มีความสุขได้ ความสุขไม่ใช่กิเลส แต่พอมีความสุขปั๊บเนี่ย ถ้าสติปัญญาไม่พอนะ ราคะจะแทรกเข้ามาในความสุขทันทีเลย มันจะเกิดพออกพอใจขึ้นมา

เมื่อวานไปที่ศาลาลุงชิน ก็มีคนมาเล่า ว่าเค้ามีสติมีสมาธิมีปัญญาอย่างนู้นอย่างนี้มากมายนะ เข้าใจธรรมะอย่างนู้นอย่างนี้มากมาย หลวงพ่อก็บอกซื่อๆนะตามนิสัยหลวงพ่อ บอก ไม่ใช่หรอก คิดมากไป ปัญญาล้ำหน้า พอปัญญาล้ำหน้าแล้วเนี่ย คิดธรรมะ โอ๊ ชั้นเข้าใจแล้วๆ มันมีความสุขขึ้นมา พอมีความสุขนะ พอใจแล้ว พอใจ โอ๊ อยู่ตรงนี้แหล่ะ เห็นมั้ยโลกธาตุว่างเปล่า ต้องทำตาลอยๆนิดนึง โลกธาตุว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย แต่เวลาเจอคนอื่นนะ ก็จะเปลี่ยนลูกตาเป็นอย่างนี้ นี่ ชั้นแน่มากเลย ชั้นแน่ชั้นหนึ่ง

แต่คนนี้ดีนะ คนนี้ไม่ดื้อ หลวงพ่อก็บอกให้ จิตมันจำสภาวะได้ ว่าจิตที่โล่งๆว่างๆเป็นไง อยู่ๆมันก็น้อมเข้าไปตรงนั้นเลย จิตอย่างนี้มันขี้เกียจ จิตชนิดนี้ขี้เกียจที่จะรู้กายรู้ใจ แกเลยสารภาพ ใช่ครับใช่ ผมขี้เกียจเดี๋ยวนี้มันไม่ยอมรู้กายรู้ใจแล้ว มันรู้กายรู้ใจมันเห็นแต่ทุกข์นี่ มันหลบแว๊บเลย พอเห็นกายเห็นใจ มันทิ้งปุ๊บเลยมันไปอยู่กับว่างๆเลย ว่างๆนี่ก็คิดพิจารณาแล้วมันเกิดขึ้นมา แล้วก็ยินดีพอใจอยู่ตรงนี้ นี่ก็กิเลสนะ นี่ก็ติดแล้ว ติดอยู่แล้ว

มีอะไร มีรูปราคะบ้าง อรูปราคะบ้าง ถ้าพิจารณามาเนี่ยไม่มีรูปเป็นอารมณ์ใช่มั้ย ใช้การคิดใช้การพิจารณาจิตใจเงียบลงไป มีความสุขขึ้นมานะ ยินดีพอใจในความไม่มีอะไรเลย เป็นอรูปราคะ

เนี่ยกิเลสพอมันละเอียดเข้าจริงนะ ดูยากมาก ต้องอาศัยความช่างสังเกตของเรา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤษภายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๓
File: 510519.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : การพิจารณาธรรมมี 2 ระดับ

การพิจารณาธรรมมี 2 ระดับ

เรื่องการพิจารณานั้นมันมี 2 ระดับครับ

ระดับแรก เป็นขั้นที่เราจงใจพิจารณา เป็นการน้อมนึกเอา
เช่นน้อมนึกพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เป็นไตรลักษณ์
หรือพิจารณาลงไปที่สิ่งที่เรายึดถือ ว่าเป็นไตรลักษณ์
ขั้นนี้เป็นอุบายวิธีอบรมจิต ให้รู้จักวางเสียบ้างชั่วขณะ
เพื่อรวมสงบเข้ามาภายใน (เป็นการทำสมถะ)
เมื่อจิตรวมลงแล้ว หากจิตพอใจจะสงบ
มันจะไปสงบตัวอยู่เฉยๆ เป็นการพักผ่อนในภูมิของสมถะ
หรือมันอาจจะดำเนินวิปัสสนาอันเป็นระดับถัดไปก็ได้
แต่หากมันรวมแล้ว ไปค้างคานิ่งเฉยอยู่เพียงนั้นทุกที
ไม่ใช่การพักผ่อนในภูมิสมถะเป็นครั้งคราว
ก็อาจจะต้องพิจารณาจิตและอารมณ์ภายในต่อไปอีก
เพื่อไม่ให้ไปติดอยู่เพียงแค่นั้น

ระดับที่ 2 เป็นการดำเนินเองของจิตที่รวมลงเป็นสัมมาสมาธิแล้ว
คือจิตเขาจะพิจารณาแยกรูปนาม หรืออารมณ์ที่จิตไปรู้ไปเห็นโดยอัตโนมัติ
เหมือนที่จิตผมวิ่งออกไปพิจารณามูลสุนัขจนกระจายออกเป็นอนัตตา
หรือบางครั้งจิตก็รู้อารมณ์ภายใน พิจารณาแยกแยะอารมณ์ภายในลงเป็นไตรลักษณ์
ขอย้ำตรงที่ว่า จิตเขาดำเนินเอง ไม่ใช่เราจงใจพิจารณา
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านจึงสอนว่า
“วิปัสสนาแท้เริ่มที่หมดความจงใจ”
ในขั้นนี้ เราไม่สามารถจงใจกระทำอะไรต่อไปได้หรอกครับ 

โดย คุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2542

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ที่ดูจิต ก็เพื่อให้จิตเห็นว่าทุกอย่างล้วนตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์

mp 3 (for download) : ที่ดูจิต ก็เพื่อให้จิตเห็นว่าทุกอย่างล้วนตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือกุศล หรือความสุข หรือความทุกข์ หรือร่างกาย ล้วนแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นตัวร่วมของทุกส่ิงทุกอย่าง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เราจะเรียนสภาวะแต่ละตัวๆ

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้จักลักษณะเฉพาะก่อน จนกระทั่งเราเห็นเลยว่า ความโลภเกิดขึ้นแล้ว แล้วก็จะเห็นว่าความโลภที่เกิดขึ้น มีอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ ต่อมีความไม่โลภเกิดขึ้น ความไม่โลภมีอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ ความโกรธเกิดขึ้น ความโกรธมีอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ จิตกลายเป็นจิตไม่โกรธ จิตไม่โกรธอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ อาจจะกลายเป็นจิตหลง หรือเป็นจิตโลภ หรืออาจเป็นจิตโกรธครั้งใหม่ก็ได้

การที่เราเห็นสภาวะแต่ละตัวๆ เกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่านะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ทำไป ถึงวันหนึ่งจิตมันจะสรุปขึ้นมาได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
เราเรียนทีละอันๆ ทุกปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น สอนไตรลักษณ์ สอนเรื่องเดียวกันทั้งสิ้นเลย
วันหนึ่งจิตเข้าใจแล้วว่าทุกอย่างตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตจะหมดความเห็นผิดว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนถาวร ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนถาวรเลย สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ นี่คือภูมิธรรมของพระโสดาบันที่เห็นว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับเป็นธรรมดา

ต่อไปก็ดูสภาวะแต่ละตัวๆต่อไปอีก ต้องดูเป็นตัวๆไป จะมาดูทั้งกลุ่ม ดูขันธ์ ๕ ดูทั้งก้อนนี้ จะไม่เห็นเกิดดับ เพราะมันรวมกันอยู่ มันช่วยกันอยู่ มันหนุน มันเสริม มันหลอกลวงกันอยู่ สัญญามันเข้าไปหลอกอยู่ แต่ถ้าสภาวะแยกออกเป็นตัวๆไปแล้วนี่นะ แต่ละตัวแสดงไตรลักษณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ดูไปนาน.. จิตสรุปได้เลยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย

ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ในเบื้องต้นก็จะรู้ว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับหมด ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร เป็นพระโสดาบัน ก็ดูทุกสิ่งทุกอย่างแสดงไตรลักษณ์ต่อไป

ในที่สุดก็จะรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างหาสาระแก่นสารไม่ได้ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์คือมันไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย มันเป็นทุกข์เพราะมันไม่เที่ยง บางท่านมองเห็นว่ามันเป็นทุกข์เพราะมันถูกบีบคั้น บางท่านมองเห็นว่ามันเป็นทุกข์เพราะว่ามันบังคับไม่ได้ เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้

การที่จะเห็นความจริงของธาตุของขันธ์นะว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถึงจุดหนึ่งแล้วจิตจะปล่อยวางความยึดถือในธาตุในขันธ์ ก็บรรลุพระอรหันต์กันตรงนี้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่  ๓๔ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : มีสติตั้งมั่นจนแยกขันธ์

มีสติตั้งมั่นจนแยกขันธ์

ถาม : การมีสติในชีวิตประจำวัน ก็คือการรู้สึกตัว ไม่ลืมตัว ไม่อยู่ในโลกของความคิด ของอารมณ์ ไม่เพ่งไม่เผลอ คอยรู้ทันอารมณ์ความรู้สึกใช่ไหมคะ

ทั้งหมดนั้นเป็นเหตุของจิตตั้งมั่นใช่ไหมคะ พอจิตตั้งมั่น แล้วสติระลึกรู้อารมณ์ขันธ์ถึงแยกออกมา หนูกำลังหลงไปคิดอยู่น่ะค่ะ ว่าทำยังไงขันธ์ถึงแยก ?

ตอบ : ถ้าพยายามจะมีสติ พยายามจะไม่ลืมตัว 
พยายามจะไม่ไปอยู่ในโลกของความคิด ก็ไม่ใช่ครับ
แต่ต้องรู้ทันจิตที่ลืมตัว รู้ทันจิตที่ไปอยู่ในโลกของความคิด
รู้ทันจิตที่เกิดกิเลส (ไม่ใช่ต้องไม่เกิดกิเลส)
เมื่อรู้ทันไปเรื่อยๆ จิตจะตั้งมั่นเอง จะแยกขันธ์เอง 
ไม่ใช่เราไปแกล้งทำให้ตั้งมั่นแกล้งทำให้แยกขันธ์

ดังนั้นให้หัดแค่รู้ทันจิตที่กำลังเป็นอยู่เอาไว้
จิตจะเป็นอย่างไรก็ให้รู้ทันไปสบายๆ ตอนนี้หัดเท่านี้ไปก่อนนะครับ
แล้วจะกลับมาตั้งมั่นแยกขันธ์ต่อได้เอง
ถ้าทำมากกว่านี้ก็จะไม่กลับมาตั้งมั่นหรอกครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะเอามรรคผลต้องใจแข็ง

mp 3 (for download) : จะเอามรรคผลต้องใจแข็ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนบ่นว่า ปฏิบัติธรรมมาตั้งนานแล้ว ไม่บรรลุมรรคผลซักที ก็ดูไม่เห็นจะปฏิบัติอะไรซักเท่าไหร่นะ วันนึงขาดสติเยอะกว่ามีสติ ต้องฝึกนะ ตอนนี้ คือลำพังจะปฏิบัติธรรมนะพอให้อยู่กับโลกได้สบายๆ ไม่ยากหรอก แต่ถ้าคิดจะเอามรรคผลนิพพาน ต้องใจแข็งกว่านั้น อย่าไปหลงกับโลก

อะไรที่เป็นโลก รูปเสียงกลิ่นรสโผฐฐัพพะ เป็นโลกข้างนอกนะ ธรรมารมณ์เป็นโลกภายใน ปรุงไปเรื่อย ถ้าเราหลงกับโลก ทั้งโลกข้างนอกโลกข้างใน เราก็ลืมกายลืมใจ พยายามรู้สึกกายพยายามรู้สึกใจให้มากๆ รู้สึกสบายๆ การรู้สึกกายรู้สึกใจ เรารู้สึกให้พอดี ไม่ตึงไปไม่หย่อนไป ถ้าหย่อนไปก็เผลอไป จิตเผลอไป ไหลไป เคลื่อนไป ถ้าตึงไปก็บังคับไว้ใจแข็งๆ ร่างกายแข็งๆใจแข็งๆ ตึงเครียด

งั้นเราต้องมาฝึก ค่อยๆฝึกให้มันพอดี


CD: บ้านเนินแสนสุข จ.ชลบุรี วันพุธที่ ๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550808.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 512345