Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๐) อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๐) อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์นะ ให้เค้าแยกของเค้าเอง อย่าไปดึงออกมา ถ้าดึงออกมานะ จิตจะแข็งทื่อเลย จิตจะไม่พอใจนะ มีความขุ่นเคืองลึกๆอยู่ เพราะถูกบังคับ เหมือนติดคุกอยู่เฉยๆ ก็ตั้งอยู่อย่างนี้ เนี่ย พอร่างกายจะเคลื่อนไหว เคลื่อนแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) พยักหน้าแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยอย่างนี้มันเกินไป

ให้รู้สบายๆ ยิ้มรู้สึกไหม ยิ้ม รู้สึกไปตัวอะไรยิ้ม เหมือนเห็นคนอื่นยิ้มเลยนะ คอยรู้สึกอย่างนี้นะ สุดท้ายมันจะเห็นเลย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความสุขความทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศลอกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า  จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา เพราะสั่งไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ แล้วจิตทำงานได้เอง วิ่งไปดูได้เอง วิ่งไปฟังได้เอง วิ่งไปคิดได้เอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๔๖ถึง นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความสุขเหมือนภาพลวงตา

mp 3 (for download) : ความสุขเหมือนภาพลวงตา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เราต้องมาหัดศึกษาตนเองนะ จนเราเห็นความจริงของ “สิ่ง” ที่เราเรียกว่า “ตัวเรา”

ถ้าเราเห็นความจริงของสิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” แล้วนะ ความทุกข์จะกระเด็นไปต่อหน้าต่อตา กระเด็นเลย อยู่ไม่ได้หรอก ความทุกข์จะไปอยู่ในใจเราไม่ได้อีกต่อไป ใครๆก็อยากได้ความสุขนะ ดิ้นรน ทำอย่างนั้นจะสุข ทำอย่างนี้จะสุข แต่ไม่รู้วิธีที่จะขจัดความทุกข์ออกจากใจ ความสุขมันก็อยู่ไม่ได้ พื้นที่ในใจเราถูกความทุกข์แย่งเอาไปหมด

ยกตัวอย่างเราตอนเด็กๆนะ เราก็หวังว่าเรียนหนังสือจบนะ เราจะมีความสุข เป็นเด็กนักเรียนหรือนักศึกษาแพทย์อะไรอย่างนี้ เหนื่อยมาก คิดว่าเรียนจบแล้วจะมีความสุขนะ เรียนจบเข้าจริงๆนะ คิดว่าต้องทำงานหาเงิน ต้องหาตำแหน่งหาเงิน มีตำแหน่งสูงๆมีเงินมากๆจะมีความสุข มันก็ไม่ค่อยมีความสุข จะต้องมีครอบครัวที่ดีอย่างโน้นอย่างนี้มีลูกมีหลานอะไรอย่างนี้ จะมีความสุข สุดท้ายมันก็ไม่มีความสุขอีกนะ

เราวิ่งหาความสุขนะตั้งแต่เด็กๆ จนวันตาย ก็ยังหาไม่เจอ มันเหมือนภาพลวงตา คนเจ็บหนักๆหลวงพ่อเคยเจอนะ นอนดิ้นอยู่บนเตียงในโรงพยาบาลนะ เขย่าลูกกรงเตียงนะ เมื่อไหร่จะตายเสียทีโว้ย เพราะว่ามันทุกข์มาก เนี่ยแสวงหาความสุขตลอดชีวิตเลย สุดท้ายคิดว่าตายแล้วจะมีความสุขอีก เนี่ยมันมีแต่คำว่า “ถ้า” “ถ้าอย่างนี้จะได้อย่างนี้ ถ้าอย่างนี้จะมีความสุข ถ้าอย่างนี้จะมีความสุข”

ถ้าเราไม่รู้เลยว่า ถ้าเมื่อใดเราขจัดความทุกข์ออกจากใจเราได้ ความสุขมันก็เกิดขึ้นเอง ไม่ต้องไปหามันหรอกนะ หาเท่าไหร่ก็หาไม่ได้ มันเหมือนภาพลวงตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เมื่อ วันพุธที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

CD: แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
File: 551128
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความจริงของความทุกข์

mp 3 (for download) : ความจริงของความทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : นมัสการเจ้าค่ะหลวงพ่อ (หลวงพ่อปราโมทย์ : อยู่ไหน) อยู่นี่ค่ะ ไม่ได้ส่งการบ้านมาประมาณ ๙ เดือนแล้วค่ะ ช่วงที่ผ่านมา ใหญ่ๆก็มีเรื่องที่ทำให้ทุกข์ใจอยู่มากน่ะค่ะ แล้วทีนี้ เผลอไปทีไรใจก็จะเข้าไปอยู่ในโลกของการปรุงแต่งเรื่องที่ทำให้เราทุกข์ ซึ่ง..

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันห้ามไม่ได้นะ (โยม : ค่ะ) เราไปห้ามมัน มันก็ไม่ฟังหรอก แต่มันไม่ได้ทุกข์ตลอดไปหรอก หนูอย่าไปกังวลเลย ไม่มีหรอกความทุกข์ถาวรนะ ความทุกข์มันก็อยู่ชั่วคราว ถึงวันหนึ่งมันก็ผ่านไป ใจเย็นๆ เดี๋ยวมันก็ไป

โยม : ค่ะ แล้วก็พอดีมีอยู่วันหนึ่ง หนูสังเกตว่าจริงๆแล้วมันเหมือนกับว่าใจมันมีความอยากที่จะเข้าไปยึดการปรุงแต่งอย่างนี้อยู่ (หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่) แล้วหนูไม่เข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่าทำไม ทั้งๆที่มันเห็นว่า ยึดเมื่อไหร่ก็ทุกข์แล้วทำไมมันยังถึงเข้าไปยึดอยู่ล่ะคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อ้าว.. มันยังไม่รู้จริงนะ มันยังคิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆนะ แล้วก็มันคิดว่าถ้าเรายึดเราก็จะทุกข์นะ เพราะฉะนั้นเราอยากจะไม่ยึด อะไรอย่างนี้ ยังภาวนาไม่พอหรอก ถ้าเราภาวนาพอนะ ใจไม่ยึดถือในสิ่งแรกเลยที่จะไม่ยึดนะ ไม่ยึดจิตนะ พอไม่ยึดจิตอันเดียวก็ไม่ยึดกาย แล้วก็ไม่ยึดอะไรในโลกอีก ถ้ายังยึดอยู่ที่จิตจะยังมี(การหมายว่าเป็น-ผู้ถอด)ตัวเราอยู่นะ ยึดอยู่ อยากให้มันมีความสุข รู้สึกมั้ยว่าหนูยังอยากได้ความสุข รู้สึกมั้ย (โยม : ค่ะ) เพราะฉะนั้นยังยึดอยู่นะ ถึงอยากได้ความสุข เพราะมันมีตัวเรา เราอยากมีความสุข ใจเรายังยึดอยู่ ไม่ใช่ว่าไม่ยึดหรอก ทั้งๆที่ทุกข์นั่นแหละ ก็ยังอยากให้หายทุกข์ เพราะเราไม่รู้ความจริงของชีวิต ว่าชีวิตนี้คือตัวทุกข์นะ เพราะเราจะไม่รู้ความจริงของชีวิต เราอยากให้มันหาย เราไปอยากในสิ่งซึ่งไม่มีวันมี คือเราอยากได้ความสุขในโลก มันไม่มีหรอก มันมีสำหรับคนหลง คนซึ่งมีสติปัญญาแก่รอบจริงๆ จะรู้ว่าโลกนี้ทุกข์ เพราะฉะนั้นเขาจะไม่แสวงหาความสุขในโลกนี้ เพราะไม่มี ส่วนใจหนูยังหาอยู่ รู้สึกมั้ย หนูท่องคาถาของหลวงพ่อไว้นะ “ไม่นานมันก็ผ่านไป” ท่องไว้ (โยม : ค่ะ) ใจเราสงบลงมาแล้วค่อยมาเจริญสติเจริญปัญญาใหม่ ตอนนี้ใจเราไม่มีสมาธิพอ เจริญปัญญาไม่ได้จริงหรอก เพราะมันทุกข์มาก

โยม : แล้วเวลาที่มันทุกข์ขึ้นมาค่ะหลวงพ่อ มันไม่ค่อยยอมดู แต่มันจะหนีทุกข์ (หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นล่ะ มันหนี) คือ มันก็รู้แล้วเหมือนกันน่ะค่ะว่า ถ้ามันวิ่งไปหาสิ่งอื่นภายนอกมาเพื่อจะดับทุกข์ มันจะไม่หายทุกข์จริงๆ แต่ว่า.. (หลวงพ่อปราโมทย์ : มันทนไม่ได้) ขา..

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันทนดูต่อไปไม่ได้ มันก็หนีไป แล้วคนในโลกก็หนีอย่างนั้นแหละ เขาไม่กล้าหันมาเผชิญกับความทุกข์ พระพุทธเจ้านะอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ทุกข์ เป็นนักปราชญ์คนเดียวล่ะมั้งที่สอนให้รู้ทุกข์ นอกนั้นมีแต่พาหนีทุกข์ทั้งนั้นเลย

โยม : คือมันรู้อยู่เหมือนกันแหละค่ะ รู้ว่าทางดับทุกข์ก็ไม่ได้อยู่เกินกายใจนี้ออกไปน่ะค่ะ แต่มันดูเหมือนมันอ่อนกำลัง…

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันทำไม่ได้หรอก มันทำไม่ได้นะ เพราะว่าสมาธิของเราไม่มีละ ตอนนี้ ใจเราเศร้าหมอง ใจเราฟุ้งซ่าน หนูสังเกตมั้ยเรื่องที่ทำให้เราทุกข์นะ เรายิ่งคิดถึงบ่อย เราอยากลืมแต่เรายิ่งคิด รู้สึกมั้ย เพราะในความเป็นจริงจิตเป็นอนัตตา เราสั่งจิตไม่ได้ว่าอย่าไปคิดเลย จิตจะคิด

โยม : แล้วก็หนูทำในรูปแบบสม่ำเสมอค่ะหลวงพ่อ แต่ก็คล้ายๆว่าจิตไม่มีกำลัง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่มีแรงนะ หนูท่องคาถาไปก่อน “ไม่นานมันก็ผ่านไป” ไปท่องคาถาบริกรรมไว้อย่างนี้แหละ (โยม : ค่ะ) พอมันมีแรงแล้วค่อยมาทำต่อ เพราะฉะนั้นเวลาที่ปฏิบัติเนี่ย เราต้องปฏิบัติตั้งแต่ก่อนจะทุกข์นะ ถ้าทุกข์หนักอยู่แล้วเนี่ยจะภาวนาไม่ไหว มันเหมือนเวลาที่เราหัดว่ายน้ำ เราต้องหัดว่ายน้ำก่อนที่จะตกน้ำ ต้องว่ายน้ำให้เป็นก่อน เดี๋ยวเรือล่มเราจะว่ายได้ เพราะถ้าเรือล่มแล้วมาหัดว่ายน้ำจะไม่ทัน ยกตัวอย่างตอนนี้ความทุกข์เข้าถึงตัวเราแล้ว เราจะมาฝึกกรรมฐานให้พ้นทุกข์ เราไม่มีแรงพอแล้ว แต่ว่าความทุกข์ก็ไม่ใช่ของถาวร ไม่นานเขาก็ผ่านไป ไม่มีหรอกคนที่ทุกข์ตลอดกาลน่ะไม่มีหรอก

โยม : ขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ :
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๐ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 541210B
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่  ๓๖ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรื่องของสมถะและวิปัสสนา

mp 3 (for download) : เรื่องของสมถะและวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาเข้าคอร์ส ๓ วัน สรุปได้มั้ย สมถะกับวิปัสสนาต่างกันอย่างไร จิตจะไม่เหมือนกันนะ สมถะนั้นจิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง หนึ่งต่อหนึ่ง one by one เวลารวมนะ จิตก็ไปรวมเข้ากับอารมณ์ นิ่งๆอยู่อย่างนั้น ถ้าวิปัสสนานะ จิตเป็นหนึ่งเป็นคนดู อารมณ์เท่าไหร่ก็ได้ อารมณ์ทั้งหลายมาแล้วก็ไปนะ ทุกอย่างผ่านมาผ่านไปใจเราเป็นคนดูอยู่

เพราะฉะนั้นจิตจะไม่เหมือนกัน ถ้าจิตไปแนบสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” เป็นสมถะ ถ้าจิตตั้งมั่น เห็นความเป็นไตรลักษณ์ ของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย เกิดดับหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย จิตเป็นแค่คนดูอยู่นะ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เนี่คือการเดินปัญญา เดินวิปัสสนา และปัญญาก็จะค่อยๆแก่รอบเป็นลำดับไป

เวลาที่เราเดินวิปัสสนา ไม่ใช่เราเดินวิปัสสนารวดเดียว ไม่มีม้วนเดียวจบนะ ยกเว้นท่านที่อินทรีย์ท่านแก่กล้าจริงๆ มีไม่มาก ในสมัยพุทธกาลก็มีอย่างพระพาหิยะอะไรอย่างนี้นะ บางท่านท่านฟังธรรมะทีเดียวก็บรรลุละ มีไม่มากเท่าไหร่กระทั่งในสมัยพุทธกาล สมัยเราคงหายาก ถ้าบารมีเยอะคงไม่มานั่งตาแป๋วๆอยู่แถวนี้นะ

เราค่อยๆเรียนไป ค่อยๆฝึก วันไหน..ทุกวันล่ะ ทุกวัน ช่วงไหนจิตใจฟุ้งซ่าน ดูจิตไม่ออกให้ดูกายไป ช่วงไหนดูจิตก็ไม่ได้ดูกายก็ไม่ได้ ก็ทำสมถะ พุทโธไป หายใจไป ให้จิตสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตจะได้มีแรง จิตเหมือนคนทำงาน ถ้าทำงาานอย่างเดียวไม่เคยได้พักเลย ก็หมดแรง ที่พักของจิตก็คือสมถะนั่นเอง เป็นที่พักสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ :
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๔ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๙
File: 540424B
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่  ๐๑ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑๐

ดาวน์โหลดไฟล์เสียงแสดงธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ทั้งหมดได้ที่นี่

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปแนวทางการปฎิบัติธรรม

mp 3 (for download) : สรุปแนวทางปฎิบัติธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือศีล คือสมาธิ คือปัญญา

การจะฝึกให้มีศีล ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศล ทางกายทางวาจาไว้ก่อน เบื้องต้นตั้งใจงดเว้นไว้ก่อนนะ เพื่อจะได้ศีล ศีล ๕ ศีล ๘ อะไรพวกนี้ ต่อมามีสติให้มาก รู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นกับจิต ถ้าเรามีสติรู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นกับจิตได้นะ ศีล ๑ จะเกิดขึ้น คือศีลอัตโนมัติจะเกิดขึ้นเลย เพราะถ้าคนทำผิดศีลได้ เพราะกิเลสมันครอบงำจิต แต่ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ เราจะทำผิดศีลไม่ได้โดยอัตโนมัติเลย การรักษาศีลจะเป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่ศีล ๕ อีกต่อไปแล้ว จะรักษาจิตอันเดียวนั่นเอง ไม่ให้กิเลสย้อมได้นะ ไม่ผิดศีลหรอกกี่สิบข้อ มันก็ไม่ผิดหรอก

ถัดไปก็มาเรียนเรื่องจิตของตนเองนะ ถ้าจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข จะได้ความสงบ ถ้าจิตรู้ทันจิตที่ไหลไป จะได้จิตที่ตั้งมั่น นี่ ฝึกมาจนกระทั่งเราถึงเวลาเค้าให้มีจิตตั้งมั่น วันไหนไม่มีเรี่ยวมีแรง ก็ฝึกให้จิตสงบ แต่ทางที่ดีทุกวันก็แบ่งเวลาชาร์ตแบ็ตนิดนึง หรือทำจิตให้สงบบ้าง แล้วก็มาฝึกให้จิตตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่นแล้วเจริญปัญญา

วิธีเจริญปัญญาก็คือ อาศัยสตินี่แหล่ะ รู้รูป รู้นาม รู้กาย รู้ใจ รู้สภาวะแต่ละตัวๆนั่นแหล่ะ รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง ทีแรกจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วนะ เราไปเห็นสภาวะเช่น เห็นความโลภเกิดขึ้น จิตยังไม่เป็นกลาง ตั้งมั่นนะ เห็นความโลภอยู่ห่างๆ จิตอยู่ส่วนจิต แต่จิตยังเกลียดความโลภ จิตไม่เป็นกลาง ให้รู้ทันจิตที่ไม่เป็นกลาง จิตจะเป็นกลางขึ้นมา พอความดีเกิดขึ้น เห็นความดีอยู่ห่างๆ จิตอยู่ต่างหาก จิตกับความดีแยกออกจากกัน

แล้วจิตมันเกิดยินดีในความดี ให้รู้ทันความยินดีที่เกิดขึ้น ความยินดีจะดับ จิตจะเป็นกลาง เวลาสุขเกิดขึ้นนะ ให้รู้ทัน เห็นสุขอยู่ห่างๆ สุขกับจิตนั้นเป็นคนละอันกัน พอมีความสุขเกิดขึ้น จิตมันยินดีขึ้นมาให้รู้ทัน พอมีความทุกข์เกิดขึ้น จิตยินร้ายขึ้นมาให้รู้ทัน การที่เรารู้ทันสภาวะ นี่เป็นจุดที่หนึ่ง อันที่สองเมื่อรู้ทันสภาวะแล้ว รู้ทันจิต ถ้าจิตมีความยินดีให้รู้ทัน จิตมีความยินร้ายให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วจิตจะเข้าสู่ความเป็นกลาง

มันจะเข้ามาสู่ประโยคที่หลวงพ่อบอก ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะไม่เห็นความจริงของกายของใจ คือไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะงั้นถ้าพูดสั้นที่สุดเลยก็คือ ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง แค่นี้แหล่ะคือคำว่าวิปัสสนา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดรา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่  ๑๒ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๐๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนธรรมะเพื่อปฎิบัติ ไม่ใช่เพื่อคุยเล่นสนุกๆ เพื่อคุยอวดกัน

mp 3 (for download) : เรียนธรรมะเพื่อปฎิบัติ ไม่ใช่เพื่อคุยเล่นสนุกๆ เพื่อคุยอวดกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เอื้อเฟื้อภาพโดย ชมรมสารธรรมล้านนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นสรุปนะพวกเรา การที่เรามาศึกษาธรรมะ ศึกษาเพื่อปฏิบัติ ไม่ใช่ศึกษาเล่นสนุกๆ ธรรมะเป็นของสูง เป็นของหายาก

สมัยพุทธกาลมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ได้ยินจากพวกพ่อค้าว่า “พุทโธ โลเก อุุปปันโน พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ธัมโม โลเก อุปปันโน พระธรรมเกิดขึ้นแล้วในโลก สังโฆ โลเก อุปปันโน พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก” ท่านแทบช็อกเลย ถามซ้ำว่า อะไรนะ พูดอะไรนะ ถามตั้งสามรอบนะ พอรู้เนี่ยนะ ท่านสั่งพ่อค้าเลยบอก ให้ไปบอกพระมเหสีนะ เอารางวัลให้ไปแล้วก็ยกราชบัลลังก์ให้พระมเหสีปกครองไป ท่านขึ้นม้าหนีเลย ออกจากเมืองเลย ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

เพราะท่านเห็นความสำคัญ ว่าโอกาสที่พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นนั้นยากแสนยาก โอกาสที่พระธรรมจะปรากฎลงมาสู่โลกมนุษย์นั้นยากแสนยาก โอกาสที่พระสงฆ์คือปุถุชนคนธรรมดาจะพัฒนาตนเองขึ้นไปสู่ความบริสุทธิ๋หมดจดนั้นยากแสนยาก เป็นโอกาสที่ยากแสนยากที่จะเกิดขึ้น เวลานี้พวกเราได้รับโอกาสอันนั้นแล้วนะ หน้าที่เรารีบปฏิบัตินะ เราเรียนธรรมะเพื่อจะเอาไปปฏิบัติ ไม่ใช่เพื่อฟังเล่นสนุกๆ เพื่อเอาไปคุยอวดกัน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่  ๔๙ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเป็นใหม่ๆจะมีความสุขเรื่อยๆ พอชำนาญมากเข้าจะเห็นแต่ทุกข์

mp 3 (for download) : ภาวนาเป็นใหม่ๆจะมีความสุขเรื่อยๆ พอชำนาญมากเข้าจะเห็นแต่ทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณ ภาพจากชมรมกัลยาณธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฝ้ารู้ลงไปนะ ดูลงไป ถ้าเราไม่หลงโลก ธรรมะมันแสดงตัวอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เราหลงโลกก็เฮๆฮาๆ เพลินๆนะ หมดเวลาไปวันนึงๆ เวลาภาวนาก็อย่าไปเครียด เครียดมากก็ภาวนายาก ภาวนาให้มันสบาย แต่ไม่ใช่กระดี๊กระด๊า ภาวนาให้มันมีความสุข ไม่ใช่เพลินไป กระดี๊กระด๊าเฮๆฮาๆ สนุกนะ เอาพอดีๆ มีสติ มีใจตั้งมั่นก็มีความสุขผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ ใครเคยภาวนาแล้วมีความสุขผุดเป็นระยะบ้าง มีมั้ยยกมือซิ ใหม่ๆจะเป็นอย่างนั้นแหล่ะ ต่อไปจะเห็นแต่ทุกข์นะ

งั้นหัดใหม่ๆจะมีความสุขเยอะเลย ทำไมมีความสุข เพราะมันมีสมาธิ มีจิตที่ตั่งมั่นขึ้นมา แต่เดิมมันไม่มีสมาธิ มีแต่จิตที่หลง หัดทีแรกนะ เราจะเห็นเลย จิตมันจะมีความสุขผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ มันเป็นความสุขของสมาธิ แต่เดิมจิตของเราไม่มีสมาธิ จิตเราฟุ้งอย่างเดียว พอมาหัดรู้สึกตัว รู้สึกตัวนะ พอรู้สึกตัวได้ความสุขจะโชยขึ้นมา เพราะงั้นหัดใหม่ๆ จะมีความสุขมากเลย เมื่อเทียบกับคนในโลก ซึ่งมันมีแต่ความทุกข์ มีความเครียดผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ แต่เราพอรู้สึกตัวปุ๊บ ความสุขก็ผุดขึ้นเป็นระยะ

แต่พอเราหัดภาวนามากเข้าๆนะ มันจะเปลี่ยน มันจะเห็นว่ามีแต่ทุกข์นะ ตอนนี้ใครเห็นทุกข์เยอะขึ้นแล้ว ยกมือซิ ไหนทางนี้มีมั้ย ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะแก่เพราะเจ็บเพราะตาย หรือทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะอยากได้มรรคผลเร็วๆ แล้วไม่ได้ ทุกข์เพราะมีปัญญา หรือทุกข์เพราะมีตัณหา ถ้าทุกข์เพราะมีปัญญา แล้วเราเห็นกายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ นี่ไง มีปัญญานะ เห็นทุกข์ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป

แต่ถ้าทุกข์เพราะตัณหานะ จะอีกแบบนึง กิ๊กก๊อกหน่อย อยากแล้วไม่ได้ อยากแล้วไม่ได้อย่างอยาก ก็ทุกข์ ถ้าอยากแล้วไม่ได้อย่างอยากแล้วทุกข์ ทุกข์ธรรมดา ทุกข์เพลนๆใครก็เป็น แมวจะไปจับนกจับไม่ได้ แมวมันก็ทุกข์แล้ว

เราภาวนานะ เราก็จะเห็นทุกข์เต็มไปหมดเลย มองไปทางไหนก็จะเห็นแต่ความทุกข์ ใจก็จะคลายออกจากโลก ถ้าเราไม่เห็นทุกข์ เราจะหลงกับโลก เพลิน มีชีวิตหมดไปปีนึงๆนะ แป๊บเดียว ว่างเปล่าไม่ได้อะไรมาเลย ถ้าเรามีสติ มีใจที่ตั้งมั่น ดูกายดูใจทำงาน เราจะเห็นทุกข์มากขึ้นๆ เพราะเห็นทุกข์นะ จะเบื่อ แล้วคลายความยึดถือ แล้วก็หลุดพ้นไป


CD: บ้านเนินแสนสุข จ.ชลบุรี วันพุธที่ ๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550808.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางสายกลางของจิต

mp 3 (for download) : ทางสายกลางของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิที่จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ที่จิตนั้นแหละ เป็นสมาธิที่สำคัญ แต่เราต้องไม่บังคับมัน ไม่บังคับให้มันตั้งอยู่ที่จิตนะ เอาแค่ว่ารู้ทันว่ามันไหล แล้วมันจะกลับมาพอดีๆ ถ้าเราจงใจให้มันไปตั้งอยู่ที่จิต มันจะตึงเครียดเกินไป

พระโพธิสัตว์ได้ยินพระอินทร์ดีดพิณ ๓ สายนะ ในตำราว่าอย่างนั้น สายที่ ๑ ตึงเกินไป สายพิณก็ขาด สายที่ ๒ นั้นหย่อนไป หย่อนเกินไป ไม่ไพเราะ สายที่ ๓ นี่พอดี ดีดแล้วไพเราะ มันก็คือการดำเนินของจิตนั่นแหละ

จิตที่หย่อนเกินไป ก็คือจิตที่ไหลไปหาอารมณ์ ไปเพลินอยู่กับอารมณ์ ยกตัวอย่างกระทั่งเรานั่งสมาธินะ แล้วจิตเคลิ้มเพลินกับอารมณ์ อันนั้นย่อหย่อนเกินไป ตามใจกิเลสแล้ว เวลาจิตไหลไปเพลินอยู่กับอารมณ์อันเดียวนะ มันมีความสุข มีความเพลินดเพลิน มีความพอใจ มีราคะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่เห็นอะไรจะติดอยู่กับสมาธิอย่างนั้นน่ะ เมื่อไรที่สมาธิเสื่อมนะจะอารมณ์ร้ายกว่าคนปกติ เพราะว่ามันสงบมันสบายมานาน พอมันเคลื่อนออกมากระทบโลกข้างนอก มันทนไม่ไหวเลย มันร้อนแทบจะระเบิดเลย นี่อย่างนี้เรียกว่าหย่อนไปนะ มันไหลออกนอกไป เพลิดเพลินไป ตามใจกิเลสไป

ส่วนสายพิณที่ว่าตึงเกินไป ก็คือบังคับกายบังคับใจตัวเอง ยกตัวอย่างพวกเราจะนั่งสมาธิเนี่ย ส่วนมากชอบนั่งบังคับตัวเอง บังคับไม่ให้จิตคิด ไม่ให้จิตนึก ไม่ให้จิตปรุง ไม่ให้จิตแต่ง ไม่ให้จิตเคลื่อน จะรักษาจิตให้นิ่งให้ว่างอยู่ตลอดเวลา อันนั้นตึงเกินไปนะ

เราต้องพอดีๆเอาแค่ว่าจิตเคลื่อนแล้วรู้ทัน จิตเคลื่อนแล้วรู้ทัน มันจะเกิดสมาธิที่พอดีๆ สมาธิที่พอดีเนี่ยนะ สภาวะของจิตเนี่ยมันจะตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัว จิตจะเบา จิตจะอ่อนโยน นุ่มนวล จิตจะคล่องแคล่วว่องไวในการเจริญปัญญา ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง ไม่ซึม ไม่ทื่อ จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งหลาย ทั้งรูปธรรมนามธรรมอย่างที่มันเป็นโดยไม่เข้าไปแทรกแซง นั่นแหละคือสภาวะที่มันเป็นทางสายกลางจริงๆของจิต

คำว่าทางสายกลาง ทางสายกลาง ไม่ใช่ทางข้างนอกที่ร่างกายดำเนินไป แต่มันคือทางที่จิตดำเนินไป
จิตต้องไม่หย่อนเกินไป ถ้าจิตหย่อนเกินไป จิตก็ไหลตามกิเลส หลงไปหาอารมณ์ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ จิตต้องไม่ตึงเกินไป ถ้าจิตตึงเกินไปก็บังคับกายบังคับใจ เช่นบังคับจะต้องนั่งไม่กระดุกกระดิกเลยนะ บังคับมากๆอะไรอย่างนี้นะ หวังว่าไม่กระดุกกระดิกได้แล้วจะดี ไม่กินได้แล้วจะดี ไม่นอนได้แล้วจะดี อันนี้บังคับกายมากไป บังคับจิตมากไปก็จะบังคับไม่ให้จิตคิด ไม่ให้จิตนึก ไม่ให้จิตปรุง ไม่ให้จิตแต่ง ไม่ให้จิตเคลื่อน ถ้าคิดจะห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนไปเลย ตึงเกินไป เพราะฉะนั้นเราไม่ห้ามนะ จิตจะเคลื่อนก็ได้ แต่เคลื่อนแล้วเรามีสติรู้ทัน

ห็นมั้ยว่าถ้าเราไม่รู้ทันก็หย่อนไป ถ้าเราบังคับไม่ให้เคลื่อนก็ตึงไป แต่ถ้ามันเคลื่อนแล้วเรามีสติรู้ทัน ตรงนี้แหละกลางๆ พอดีๆ จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมานะ รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อจิตตั้งมั่นเด่นดวงรู้เนื้อรู้ตัวได้แล้วเนี่ย มันจะตั้งอยู่กับจิต จิตเคลื่อนนิดเดียวก็เห็น จิตเคลื่อนนิดเดียวก็เห็น สภาวะมันจะคล้ายๆอย่างนี้นะ สมมุตินิ้วนี้ นิ้วชี้อันนี้ เหมือนเป็นจิตนะ เนี่ยจิตมันจ่อนะ พอมันเคลื่อนนะ เคลื่อนนิดเดียว สติมันเห็น มันเหมือนตั้งบนปลายเข็มนิดเดียว จิตขยับตัวกริ๊กเดียวนะ หลุดออกจากความรู้สึกตัว หลุดออกจากฐานนะ จะเห็นละ มันจะกลับมาตั้งของมันเอง แต่ถ้าบังคับนะ ไม่ให้ไปไหนเลย จับไว้ให้แน่นนะ ตึงเกินไป ถ้าหนีไปแล้วไม่รู้ หย่อนเกินไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๓
File: 550916
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเอาแต่เจริญปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ ศีลสมาธิต้องถึงพร้อมด้วย

mp3 (for download) : ภาวนาเอาแต่เจริญปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ ศีลสมาธิต้องถึงพร้อมด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระพุทธเจ้าให้แนวทางพวกเราไว้แล้ว การปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ครบ จะเอาแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ เอาศีลอย่างเดียวไม่ได้ เอาสมาธิอย่างเดียวไม่ได้ เอาสองอย่างก็ไม่ได้ เอาศีลกับสมาธิแล้วหวังว่าจะบรรลุมรรคผลก็ไม่ได้ จะเอาสมาธิกับปัญญา ๒ อย่างแล้วจะบรรลุมรรคผลก็ไม่ได้ ต้องถึงพร้อม พระพุทธเจ้าถึงสอนว่าต้องให้ถึงพร้อม ทำกุศลให้ถึงพร้อม

พวกเราจำโอวาทปาฏิโมกข์ได้มั้ย ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ผ่องแผ้ว ฟังแล้วมีงาน ๓ อย่าง แต่ทั้ง ๓ อย่างนะมันงานเดียวกัน อะไรที่เป็นตัวบาปตัวอกุศล ราคะโทสะโมหะ ให้ขจัดพวกนี้ไปให้หมด ทำกุศลให้ถึงพร้อม อะไรเป็นตัวกุศล อโลภะอโทสะอโมหะเป็นตัวกุศล ตัวอกุศลก็โลภะโทสะโมหะ ตัวกุศล อโลภะอโทสะอโมหะ คำว่ากุศล

เพราะงั้นถ้าเมื่อไหร่ละชั่วนะ มันก็ดีของมันเองแหล่ะ อัตโนมัติเลย มันเป็นงานเดียวกันนั่นแหล่ะ แล้วถ้าเราสามารถเข้าถึงอโลภะอโทสะอโมหะได้ จิตก็ผ่องแผ้วแล้ว เพราะนั้นที่ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ผ่องแผ้ว เอาเข้าจริงก็งานเดียวกัน งานล้างกิเลสออกจากใจเรา กิเลสออกจากใจเรามันก็ดีแล้ว ดีแล้วมันก็ผ่องแผ้วขึ้นมา นี่เครื่องมือในการล้างกิเลสนะ คือศีลสมาธิปัญญา ไม่ใช่อันใดอันหนึ่งหรอก

เหมือนอย่างเป็นหมอนะ ไม่ใช่มีแต่เข็มฉีดยาอันเดียวแล้วรักษาได้ทุกโรค ทำไม่ได้ มีมีดผ่าตัดอยู่เล่มเดียวรักษาทุกโรคก็ทำไม่ได้ ต้องมีเครื่องมือนานาชนิดรักษาโรค เป็นหมอมีเครื่องมือหลายอย่าง คนไข้อาการแบบนี้ก็ใช้เครื่องมืออย่างนี้ อาการหนักมากแล้วรถชนมากะรุ่งกะริ่ง ตัด เอาเลื่อยตัดเอาอะไรตัด

กิเลสเนี่ยเหมือนกันนะ กิเลสอย่างหยาบสู้ด้วยศีล กิเลสอย่างกลางใช้สมาธิเอา กิเลสอย่างละเอียดต้องใช้ปัญญาสู้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 550122
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติธรรมเหมือนพาลูกไปโรงเรียน

mp3 (for download) : ปฎิบัติธรรมเหมือนพาลูกไปโรงเรียน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ : >เราสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานไม่ได้ จิตเป็นอนัตตา แต่เราฝึกฝนเราให้การเรียนรู้กับจิตได้ งั้นการที่เรามาหัดปฏิบัติธรรมเนี่ย มันก็คือการพาจิตไปเข้าโรงเรียนนั่นเอง ให้การเรียนรู้

เหมือนเราพาลูกไปโรงเรียน เราไปฉลาดแทนลูกไม่ได้ สอบเก่งแทนลูกไม่ได้ เด็กจะเก่งหรือเด็กจะฉลาดอยู่ที่ตัวมันเอง เราเป็นผู้ปกครองนะเราให้ได้แค่โอกาสในการเรียนรู้ จิตนี้เหมือนกัน เราสั่งให้มันบรรลุมรรคผลไม่ได้ สั่งให้มันดีก็ไม่ได้ห้ามมันชั่วก็ไม่ได้ ทำอะไรกับมันไม่ได้จริงหรอก ให้การเรียนรู้มันได้

งั้นเราพยายามให้การเรียนรู้กับจิต ฝึกฝนมันไปนะ พัฒนาจนมันมีศีล มีสมาธิ มีปัญญาพร้อมแก่รอบแล้ว กระบวนการแห่งอริยมรรคก็จะเกิดขึ้นเอง เราสั่งไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 550122
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๓๑ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติสำคัญมาก ขาดสติก็ขาดศีล ขาดสมาธิ ขาดปัญญา

mp3 (for download) : สติสำคัญมาก ขาดสติก็ขาดศีล ขาดสมาธิ ขาดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ทั้งหมดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา รากเหง้าตัวสำคัญเลยที่ขาดไม่ได้เลยก็คือสติ เมื่อไหร่ขาดสติเมื่อนั้นขาดศีล เมื่อไหร่ขาดสติก็ขาดสมาธิ ขาดสติก็ขาดปัญญา งั้นเราต้องมาพัฒนาสติให้ดี

หลังๆคนลืมเรื่องสติไปพูดแต่เรื่องสมาธิ คิดว่าต้องทำสมาธิมากๆ ทำสมาธิแล้วขาดสติเป็นมิจฉาสมาธิ รักษาศีลไม่มีสติศีลก็กะพร่องกะแพร่งรักษาไม่ได้จริง ไปรักษาศีลด้วยกายด้วยวาจาไม่ได้รักษาที่ใจ สติเป็นเครื่องมือรักษา หน้าที่ของสติคืออารักขา ในตำราบอกไว้ชัดเลย สติมีหน้าที่อารักขาคุ้มครอง คุ้มครองจิตนั่นเองไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว คุ้มครองรักษาให้มันพัฒนาไปสู่คุณงามความดี งั้นตัวสำคัญมากนะที่จะเป็นแกนกลางของการปฏิบัติคือความมีสตินั่นเอง

เราต้องมีสติฝึกให้มาก สติเป็นเครื่องระลึกรู้กายระลึกรู้ใจ ระลึกรู้ธาตุ ระลึกรู้ขันธ์ ระลึกรู้อายตนะ ระลึกรู้ธาตุอย่างเมื่อวานหลวงพ่อสอนเรื่องธาตุ รู้อินทรีย์ รู้ปฏิจจสมุปบาท รู้อริยสัจ ฟังว่ารู้เยอะแยะแต่ย่อลงมาแล้วก็คือรู้รูปกับนาม สติเป็นเครื่องมือรู้ทันรูปนามที่มีอยู่ที่ปรากฎอยู่ งั้นเรามาฝึกสติอยู่เฉยๆสติไม่เกิดหรอก สติเกิดจากจิตจำสภาวะได้แม่น มาหัดดูสภาวะบ่อยๆแล้วสติจะเกิด ไม่ใช่นั่งสมาธิมากๆแล้วสติเกิดนะ คนละเรื่องกันเลย สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ การที่จิตจำสภาวะได้แม่นเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ เหตุกับผลต้องตรงกัน

เบื้องต้นก่อนที่เราจะไปพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา เราต้องพัฒนาสติก่อน ขาดสติก็ขาดศีล ขาดสติก็ขาดสมาธิ ขาดสติก็ขาดปัญญา สติจะเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก จิตทุกดวงที่เป็นกุศลต้องประกอบด้วยสติเสมอเลย จิตที่ปราศจากสติไม่เป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลไม่ว่าจะเป็นกุศลอยู่ในโลกธรรมดาอย่างของเรานี่ หรือกุศลในรูปภพอรูปภพก็ตาม ต้องมีสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 550122
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยู่ตรงไหน ก็ปฏิบัติตรงนั้น

mp 3 (for download) : อยู่ตรงไหน ก็ปฏิบัติตรงนั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่จริงการปฏิบัตินะ เราอยู่ตรงไหน เราก็ปฏิบัติตรงนั้น ยกตัวอย่างบางคนค้าขาย บางคนค้าขายแล้ววันนี้ไม่มีลูกค้าเลย โห.. ใจคอไม่ค่อยสบายเลย ไม่มีลูกค้า รู้ว่า(ใจ)ไม่สบายนะ วันนี้ลูกค้ามาเยอะเลย ดีใจ รู้ว่าดีใจ วันนี้ลูกค้ามาเยอะมากเลย จนเหนื่อยแล้วเหนื่อยอีก อยากจะพักแล้ว ไม่รู้จะ โอ๊ย.. มันจะบ้าซื้ออะไรทั้งวันทั้งคืน ชักรำคาญแล้วนะ รู้ว่ารำคาญ

บางคนเลี้ยงลูกก็ปฏิบัติได้นะ เห็นลูกวิ่ง..หัวเราะมา มันน่ารักจังเลย รู้สึกรัก รู้ทันว่าใจมันรัก เห็นลูกเป็นไข้ไม่สบาย เป็นกังวล รู้ว่ากังวล เพราะฉะนั้นทำอะไรเราก็ปฏิบัติได้ ดูหนังดูละครก็ปฏิบัติได้นะ ดูข่าวดูอะไรก็ทำได้ ดูหนังแล้วเห็นนางเอกสวย เห็นพระเอกหล่อ ใจเราชอบ รู้ว่าชอบ เห็นผู้ร้าย เกลียดมัน รู้ว่าเกลียด

เนี่ย มันจะต่างกับคนทั่วๆไปนิดเดียว คนทั่วๆไปดูหนังนะ พระเอกอย่างโน้น นางเอกอย่างนี้ มัวแต่รู้เรื่องหนัง ผู้ปฏิบัติน่ะดูหนังแล้วก็มาดูใจ ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว ดูใจของเราบ้าง

โยม : ทีนี้ก็อยากจะปฏิบัติให้จริงจังอะไรอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์: อันนี้ล่ะจริงจังสุดขึดแล้ว ส่วนอย่างนี้ไม่จริงจังเท่าไหร่.. วันหนึ่งจะนั่งได้กี่ชั่วโมง ปฏิบัติน่ะ ทำตั้งแต่ตื่นจนหลับเลยเนี่ย จริงจังมั้ย? ตั้งแต่สมัยก่อนนะ พวกเก่าๆฟังแล้วฟังอีก รับราชการอยู่ ตื่นนอมาวันจันทร์นะ พอนึกได้ว่าวันจันทร์ ใจกระทบความคิด นึกขึ้นได้ว่าวันนี้วันจันทร์นะ ใจแห้งแล้งเลย พอตื่นมาวันศุกร์ นึกขึ้นได้ว่าวันนี้วันศุกร์นะ ใจมันสดชื่นเลย สดชื่นก็รู้ แห้งแล้งก็รู้ นี่ละปฏิบัติแล้วนะ ยังไม่ได้ลงจากที่นอนเลย อากาศหนาวๆอย่างนี้จะไปอาบน้ำในตุ่ม ตามองเห็นตุ่มน้ำ เนี่ยตาเห็นรูป ตาเห็นตุ่มน้ำ ใจนี้สยองเลย ใจสยองรู้ว่าสยอง จะทานข้าว รู้ว่าอันนี้อร่อย พอใจ อันนี้ของไม่อร่อย ไม่พอใจ เห็นมั้ย ลิ้นกระทบรส ความรู้สึกก็เปลี่ยน เนี่ย ภาวนาตามรู้อย่างนี้

ออกมาจากบ้านจะไปขึ้นรถเมล์ เห็นรถเมล์ไม่มาสักที มีแต่คนรอเยอะแยะเลย ไม่สบายใจ รู้ว่าไม่สบายใจ นี่ก็ปฏิบัตินะ รถเมล์มาดีใจ รถเมล์ไม่ยอมจอด ชักโมโหอะไรอย่างนี้ เฝ้ารู้ความรู้สึก เนี่ยทำอย่างนี้ทั้งวันเลย ตั้งแต่ตื่นจนหลับนั่นแหละ ยกเว้นเวลาที่ทำงานที่ต้องคิด เวลาทำงานที่ต้องคิด ต้องรู้เรื่องงาน เพราะรู้เรื่องงานเป็นการรู้อารมณ์บัญญัติ ไม่ใช่เวลาเจริญวิปัสสนา รู้เรื่องงานก็มีสมาธิในการทำงาน จดจ่อในงานไป ทีนี้ทำงานไปสักช่วงหนึ่ง ชักเบื่อแล้ว เบื่อไม่ใช่งานแล้ว เบื่อเป็นกิเลสแล้ว มีสติรู้ว่ามันเบื่อ หรือทำงานไป วันนี้ คนเขาชม present งาน คนเขาชมเราดีใจ รู้ว่าดีใจ เสนองานไปไม่ผ่าน ชักหงุดหงิด รู้ว่าหงุดหงิด ส่วนเวลาคิดงานนั้นต้องคิดนะ ไม่ใช่เวลาเจริญสติ

เนี่ย อาตมาทำอยู่อย่างนี้ กลับมาบ้านตอนเย็นน่ะ ก่อนจะนอนนั้นแหละ ถึงจะได้ไหว้พระ สวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม นิดๆหน่อยๆ เพราะเป็นฆราวาสใช่มั้ย เดินจงกรมทั้งวัน ใครเขาจะให้เงินเดือนเรานะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๗
Track: ๗
File: 480116B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

mp3 for download: สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติ แปลว่า “ความระลึกได้” พวกเรารุ่นหลังๆเริ่มคลาดเคลื่อน เราไปแปลสติว่า “กำหนด” กำหนดลมหายใจเรียกว่ามีสติ กำหนดมือ กำหนดเท้า กำหนดท้อง นะ กำหนดจิตให้สงบ เรียกว่า มีสติ แค่นั้นไม่พอนะ

สติคือความระลึกได้ หมายถึงว่า สภาวะใดๆเกิดขึ้นที่กาย สติระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก อะไรเกิดขึ้นที่ใจ สติระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก ถ้าจงใจระลึกนะ เจือปนด้วยความอยาก เจือปนด้วยโลภะ ไม่ใช่สติตัวจริงหรอก

ทำอย่างไรสติที่แท้จริงจึงจะเกิด ในพระอภิธรรมสอนบอกว่า ถิรสัญญา ถอถุง สระอิ รอเรือ ถิรสัญญา การที่จิตจำสภาวะได้แม่น เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ ทำไมจิตถึงได้จำสภาวะได้แม่น สภาวะคืออะไร สภาวะคือรูปธรรมนามธรรม รูปธรรม เช่น ร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน เป็นสภาวะที่เป็นรูปธรรม สภาวะที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ ความโลภ ความไม่โลภ ความโกรธ ความไม่โกรธ ความหลง ความไม่หลง ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความดีใจเสียใจ นี่เป็นสภาวะที่เป็นนามธรรม จิตจะเกิดสติได้ ถ้าจิตจำสภาวะได้แม่น

เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา ไม่ต้องทำอะไรมากๆ อย่าไปคิดนะว่าจะบังคับสติให้เกิดได้ สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งให้เกิดได้ แต่ถ้าสติมีเหตุ คือ จิตจำสภาวะได้แม่น สติจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจให้เกิด

หน้าที่ของเราตอนนี้ไม่มีอะไรมาก ของเราตอนนี้ หัดรู้สภาวะที่กำลังเกิดขึ้นในกายในใจบ่อยๆ หายใจออกก็คอยรู้สึกตัว อย่าใจลอย อย่าไปเพ่งอยู่ที่ร่างกาย แค่รู้สึก หายใจเข้าก็รู้สึกตัวนะ ไม่ใจลอย แล้วก็ไม่เพ่งอยู่ที่ร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็คอยรู้สึกตัว แต่ก็ไม่เพ่งร่างกาย จิตใจเป็นสุข จิตใจเป็นทุกข์ จิตใจเฉยๆ ก็แค่รู้ ไม่เพ่งจิตใจนะ แล้วก็ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ถ้าลืมตัวไปก็ลืมกายลืมใจ ถ้าไม่ลืมตัวก็รู้กายรู้ใจในขณะเดียวกันอย่าไปเพ่ง ถ้าเพ่งแล้วมันนิ่ง แค่รู้ แค่ระลึก แค่ระลึก นะ

เพราะฉะนั้น อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้ไปเล่นๆ รู้เล่นๆ ถึงจุดหนึ่งสติแท้ๆจะเกิดขึ้น เช่น นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้สึกมั้ย ขณะที่ฟังหลวงพ่อพูด ฟังแล้วก็คิด ฟังแล้วก็คิด สลับกัน ดูออกมั้ย ไม่ใช่ฟังอย่างเดียว ไม่มีใครหรอกที่ฟังอย่างเดียว ที่เราบอกว่าตั้งใจฟัง ตั้งใจฟัง จริงเราฟังสลับกับคิดตลอด แต่เราไม่เคยเห็นต่างหากล่ะ

ต่อไปนี้เราค่อยสังเกต ฟังหลวงพ่อพูด สังเกตมั้ย ฟังไป คิดไป ฟังไป คิดไป เนี่ยเราหัดดูไปนะ จิตไปฟังเราก็รู้ทัน จิตกำลังไปคิดเราก็รู้ทัน หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอจิตไหลไปคิดปั๊บ สติจะเกิดเอง มันจะระลึกขึ้นได้เลยว่า อ้อ.. หลงไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วนะ อ้อ.. หลงไปคิดแล้ว มันโกรธขึ้นมา สติระลึกได้ จะรู้เลย อ้อ.. หลงไปโกรธแล้ว มีคำว่าแล้ว หมายถึงว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นก่อน แล้วเราก็่ค่อยรู้ว่ามันเกิด อย่าไปดักดูนะ

เมื่อตะกี้นี้มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า เขาภาวนาแล้วมันผิดตรงไน ผิดตรงที่ไปดักดู ไปรอดู จะไปดูจิตนะ ก็ไปรอดู เมื่อไหร่จะมีอะไรเกิดขึ้น อย่างนี้กลายเป็นการเพ่งจิต ไม่มีอะไรให้ดูหรอก ต้องรอให้สภาวะมันเกิดก่อน เช่น มันมีปีติขึ้นมารู้ว่ามีปีติ มีความสุขขึ้นมารู้ว่ามีความสุข มันเฉยๆรู้ว่าเฉยๆ มันโลภ มันโกรธ มันหลัง ค่อยรู้เอา สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้ สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

File: cp tower 520724
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๑๔วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยากเจริญมรรคทำอยางไร ?

mp3 (for download) : อยากเจริญมรรคทำอยางไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อยากเจริญมรรคทำอยางไร ?

อยากเจริญมรรคทำอยางไร ?

โยม : แต่ตอนนี้อยากจะเจริญมรรคค่ะ แต่อยากจะทราบวิธีค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มรรคเนี่ย ก็คือพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาไปเรื่อยนะ มีสติมันก็มีศีลเพิ่มขึ้น มีสติก็มีสมาธิ มีสติก็แยกธาตุแยกขันธ์ก็เกิดปัญญา ไม่รีบร้อนนะ เราต้องฝึกจนสติอัตโนมัติ สมาธิอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ อริยมรรคถึงจะเกิดได้ ถ้ายังไม่ถึงขั้นอัตโนมัติยังไม่เกิดหรอก

โยม : ก็ฝึกโดยการรู้ใช่มั้ยคะ ใช้แนวทางอะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขั้นแรกนะ จงใจรักษาศีล ๕ ไว้ก่อน อันที่สองทำในรูปแบบทุกวัน ไหว้พระสวดมนต์ทำสมาธิเดินจงกลมอะไรงี้ ทำทุกวัน ใจจะได้มีกำลังนะ ถัดจากนั้นเจริญสติในชีวิตประจำวัน วิธีเจริญสติในชีวิตประจำวันก็คือ ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ทำอารมณ์ไปตามธรรมชาติ กระทบแล้วก็ปล่อยให้ใจมันทำงานไป ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วขึ้นมา แล้วเราก็เห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว เนี่ยฝึกเดินปัญญาไป

โยม : ก็ฝึกแบบนี้ไปใช่มั้ยคะ โดยอาศัยการรู้ใช่มั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้รวดเดียวไม่ได้นะ ต้องรู้จักรวมพลังจิตเข้ามาด้วย ไม่งั้นมันจะกระจายกว้างๆไม่มีแรง ขาดแรง

โยม : ตอนนี้รู้สึกเหมือนไม่มีแรง

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหล่ะปัญหาแล้ว ไม่มีแรง พุทโธไป พุทโธไป ตอนไหนที่ไม่มีแรงทำสมถะ เพราะสมถะทำให้มีแรง พอมีแรงแล้วนะก็พัฒนาจิตขึ้นมาเป็นคนดู แล้วก็แยกธาตุแยกขันธ์เดินปัญญา ต้องเดินอย่างนี้นะอยู่ๆทิ้งสมถะไปเลยไม่ได้

หลวงพ่อทำสมถะ ๒๒ ปีนะ แล้วไปเจอหลวงปู่ดุลย์แล้วมาหัดเดินปัญญา ดูจิตดูใจดูได้ ๒ ปีเอง กำลังของสมาธิหมดแล้วที่ฝึก ๒๒ ปี วันนึงไปหาอาจารย์มหาบัวไปถามท่าน ท่านอาจารย์ครับพ่อแม่ครูอาจารย์สอนให้ผมดูจิตดูใจผมก็ดูอยู่ทำไมไม่พัฒนา ท่านบอก ต้องเชื่อเรานะไอ้ที่ว่าดูจิตนั่นดูไม่ถึงจิตแล้ว ต้องเชื่อเรานะตรงนี้สำคัญนะเราผ่านมาด้วยตัวเอง อะไรก็สู้บริกรรมไม่ได้ ท่านว่างี้นะ

หลวงพ่อก็กลับมาบริกรรมพุทโธๆ โอ๊ย ใจไม่เอา ใจเหมือนจะแตกเลย แล้วก็นึกขึ้นได้ เอ๊ะ ทำไมท่านให้บริกรรม ให้บริกรรมเพราะจิตของเราไม่ตั้งมั่น ไม่มีพลัง หลวงพ่อก็หายใจ เราถนัดอานาปานสติ หายใจแล้วใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา มันเดินต่อได้ ของคุณนะต้องให้ใจมันกลับเข้ามาในบ้านก่อน ไม่งั้นใจไม่มีแรง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลราชบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ธรรมเทศนานอกสถานที่ โรงพยาบาลราชบุรี
File:
541207
ระหว่างนาทีที่ ๕๑ วินาทีที่ ๒๖ ถึงนาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จงใจแยกธาตุขันธ์ไม่ได้ ต้องปฎิบัติมาตามลำดับ

mp3 (for download) : จงใจแยกธาตุขันธ์ไม่ได้ ต้องปฎิบัติมาตามลำดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จงใจแยกธาตุขันธ์ไม่ได้ ต้องปฎิบัติมาตามลำดับ

จงใจแยกธาตุขันธ์ไม่ได้ ต้องปฎิบัติมาตามลำดับ

โยม : กราบนมัสการค่ะ โยมฝึกแยกขันธ์ แต่ว่าทำไมรู้สึกว่ากำลังมันน้อยลงๆค่ะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิต้องทำนะ ถ้าอยู่ๆไปแยกเฉยๆแล้วก็ไม่ทำในรูปแบบไม่อะไรงี้นะ ไม่มีแรง ต้องทำ

โยม : แล้วเวลาฝึกแยกธาตุแยกขันธ์ ทำไมรู้สึกว่ามันหนักๆทุกข์ๆมากเลยค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันไม่ได้แยกมาตามลำดับ  อยู่ๆเราจะไปแยกมันนะ มันต้องออกแรงแยก เหนื่อย แยกผิดวิธีนะ ถ้าแยกถูกวิธีก็หัดพุทโธไป หัดหายใจไป จิตนี้ไปคิดแล้วรู้นะ จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตมันตั้งมั่นเป็นคนดูได้แล้วก็ดูลงไปในธาตุในขันธ์ มันแยกของมันเอง อยู่ๆจงใจแยก ดึงๆๆ เหนื่อยตายเลย (โยม : เคยทำแบบนั้นแล้วค่ะ แล้วก็ทำไปๆแล้วมันก็ออกเป็นแบบนี้เจ้าค่ะ) ใจร้อนน่ะสิ มันเคยแยกได้ มันกะจะแยกเอาเอง (โยม : เจ้าค่ะ ขอการบ้านเพิ่มค่ะ) กลับไปทำตาม step นะ ตาม step พุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปคิดแล้วรู้จนจิตตั้งมั่น แล้วขันธ์มันจะแยก อยู่ๆไปสั่งให้ขันธ์แยก ไม่แยกหรอก แน่นเปล่าๆ เหนื่อย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลราชบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ธรรมเทศนานอกสถานที่ โรงพยาบาลราชบุรี
File:
541207
ระหว่างนาทีที่ ๔๙ วินาทีที่ ๔๙ ถึงนาทีที่ ๕๑ วินาทีที่ ๐๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปัญหาไม่ได้ทำให้ทุกข์ เราทุกข์เพราะไม่ยอมรับกับความจริง

mp 3 (for download) : ปัญหาไม่ได้ทำให้ทุกข์ เราทุกข์เพราะไม่ยอมรับปัญหา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ปัญหาไม่ได้ทำให้ทุกข์ เราทุกข์เพราะไม่ยอมรับกับความจริง

ปัญหาไม่ได้ทำให้ทุกข์ เราทุกข์เพราะไม่ยอมรับกับความจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราสังเกตมั้ยเวลาน้ำท่วม ตัวที่ทำให้ความทุกข์เข้ามาสู่ใจเราไม่ใช่น้ำแต่เป็นความอยาก น้ำมาแล้วอยากให้ไม่มา ใช่มั้ย อยากให้น้ำไม่มา ก็น้ำจะต้องมาอย่าให้น้ำไปไหน น้องทรายก็กั้นน้องน้ำไม่ได้หรอกน้ำมันจะมา ความอยากของเรามันไร้เดียงสา น้ำมาแล้วน้ำมันขังอยากให้น้ำไปเร็วๆ ที่เราต่ำน้ำก็ไปช้า เรามีความอยากซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เยอะแยะเลย

ถ้าของที่มันเป็นไปตามใจเราต้องการ เราก็ไม่มานั่งอยาก เราก็ไม่ต้องอยาก ไอ้ที่อยากเพราะมันไม่เป็นอย่างที่ต้องการ นี่ความต้องการของเรามันไม่ยอมรับความจริงฝืนความจริง น้ำจะท่วมอยากให้ไม่ท่วม เราจะต้องแก่อยากให้ไม่แก่ เราจะต้องเจ็บไข้อยากให้ไม่เจ็บไข้ เราจะต้องตายอยากให้มันไม่ตาย เราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักจากคนที่เรารักเราไม่อยากพลัดพราก เราต้องเจอสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบใจเราไม่อยากเจอ ใจที่ไม่อยากนี้เองทำให้ใจดิ้นรน หาความสุขหาความสงบไม่ได้

ถ้าใจเรายอมรับสภาวะทุกสิ่งทุกอย่างได้ ใจจะไม่ทุกข์ อย่างยอมรับได้ว่าต้องแก่ แก่ขึ้นมาก็ไม่ทุกข์ ยอมรับได้ว่าต้องเจ็บ เจ็บขึ้นมาก็ไม่ทุกข์ ยอมรับว่าต้องตาย ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ต้องเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจเป็นครั้งเป็นคราว ยอมรับได้ก็ไม่ทุกข์ ยอมรับไม่ได้ก็ทุกข์ นี่ทำไงใจเราจะยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างได้

ตัวนี้แหละที่พระพุทธเจ้าสอนเรา สอนเราว่าทำยังไงเราจะยอมรับปรากฎการณ์ทั้งหลายทั้งปวงได้ งั้นน้ำท่วมก็ไม่ทุกข์นะ อะไรเกิดขึ้นก็ไม่ทุกข์ถ้าใจยอมรับได้ใจไม่ดิ้น วิธีการที่จะฝึกจิตฝึกใจให้ยอมรับความจริงที่ต้องเผชิญได้ก็คือวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เรามาเรียนรู้ความจริงของชีวิตนะ วิธีเรียนไม่จำเป็นต้องไปเรียนอะไรไกลตัว เรียนที่ง่ายๆเลย เรียนอยู่ที่ใจของเรานี่เอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๔๖
File: 541218
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๑๑ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

mp3 (for download) : จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

โยม: แล้วสำหรับมือใหม่ที่เวลาฝึกไปเนี่ยค่ะ ตอนมีสติรู้เนี่ย ก็จะพากย์ไปอยู่เรื่อยๆอย่างนี้ค่ะผิดมั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ผิดหรอกห้ามไม่ได้นะ แต่ว่าตอนที่จิตมันพากย์นะ ก็แค่รู้เห็นว่ามันพากย์ได้เอง เดินปัญญาไปเลย นี่ เอ็งพูดได้เองเอ็งไม่ใช่ข้าหรอก ข้าไม่ได้พูดเอ็งพูด ดูไปเลยอย่าไปกลัวมัน แต่ว่าตราบใดที่มันยังพูดอยู่นะยังไม่เจอของจริง เจ้าคุณนรฯบอกของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง ท่านเจ้าคุณนรฯสอนเก่ง งั้นในสภาวะธรรมที่จะแตกจะหักกันไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่ความปรุงแต่งแต่ไม่มีคำพูดนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๗๓ วินาทีที่ ๒๐ ถึง นาทีที่ ๗๔ วินาทีที่ ๐๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีหัดเรียนรู้จิต

mp3 (for download) : วิธีหัดเรียนรู้จิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีหัดเรียนรู้จิต

วิธีหัดเรียนรู้จิต

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนรู้จิตนี่ใช้วิธีสังเกตเอานะ สังเกตเอา จิตใจของเราแต่ละวันแต่ละเวลาไม่เคยเหมือนกัน แรกๆหัดดูเป็นวันๆก่อน วันนี้ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นแล้ว วันนี้เป็นวันที่แจ่มใส อีกวันเป็นวันที่เซ็ง อีกวันหงุดหงิดทั้งวันเลย นะ หัดดูอย่างนี้ก่อน หัดดูเป็นวันๆ ดูเป็นวันๆได้แล้วก็มาดูเป็นเวลา วันเดียวนี้แหละ เช้า สาย บ่าย เย็น ตอนกลางคืน จิตไม่เหมือนกัน ดูเป็นเวลา

ต่อไปชำนาญขึ้น ดูเป็นขณะ ขณะที่ตามองเห็นจิตเป็นอย่างหนึ่ง ขณะที่หูได้ยินเสียงจิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง จมูกได้กลิ่นลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจคิดนึกปรุงแต่ง จิตเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ เนี่ยดูความเปลี่ยนแปลง ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไป หัดรู้หัดดูไปเรื่อยนะ ค่อยๆสังเกตไปเรื่อย

ต่อไปก็แยกออกน่ะ จิตที่เป็นกุศลมันเป็นยังไง จิตที่เป็นอกุศลมันเป็นยังไง จิตที่เป็นอกุศลก็มีความโลภ ความโกรธ ความหลง แทรกอยู่ แรกๆก็จะเห็นแต่ว่า กิเลสหยาบๆถึงจะรู้ กิเลสละเอียดไม่รู้ หัดรู้หัดดูบ่อยๆ ต่อไปกิเลสละเอียดเกิดขึ้นก็เห็น อย่างแต่เดิมต้องโกรธแรงๆถึงเห็น ต่อมาหัดรู้หัดดูบ่อยๆ ขัดใจเล็กๆก็เห็น ตอนนี้ใครเห็นความขัดใจเล็กๆบ้าง ยกมือซิ มีมั้ย เอ่อ ดีนะ ดี จะไม่ตกนรกนะ เพราะว่าเรารู้ทันโทสะแล้ว ถ้ารู้ไม่ทันโทสะนะ ตกนรกนะ

แต่เดิมต้องโลภแรงๆนะ ต้องโลภแรงๆ อยากได้อย่างรุนแรงถึงจะเห็น เดี๋ยวนี้ใจอยากได้นิดหน่อยก็เห็นแล้ว อย่างอากาศร้อนจัดๆนะ ลมโชยมา เย็นสบาย เกิดความยินดีพอใจ เนี่ยราคะแทรกแล้วนะ ยินดีพอใจในความสุข ลมมันโชยมา ตอนนี้ใครเห็น ลมโชยมาแล้วเห็นราคะบ้าง มีมั้ย ยกมือซิ นี่น้อยกว่าโทสะนะ แต่ก็ยังเยอะอยู่

โมหะๆ โมหะนี้เป็นความฟุ้งซ่านกับความสงสัยเป็นตัวหลัก ความฟุ้งซ่าน ใครรู้จักฟุ้งซ่าน แต่เดิมต้องฟุ้งแรงๆถึงรู้นะ ต่อมาเนี่ย ใจเคลื่อนไปนิดเดียวก็เห็นแล้ว ใจไหลออกไปนิดเดียวก็เห็นแล้ว เช่น เวลาจะดูอะไรใจก็เคลื่อนไปดู เวลาฟังอะไรใจก็เคลื่อนไปฟัง มันไม่ตั้งมั่นนะ มันไหลไป มันฟุ้งซ่าน มันเคลื่อน ตอนนี้ใครเห็นจิตที่เคลื่อนได้บ้าง ยกมือซิ โอ้..ก็ยังเยอะอยู่นะ แสดงว่าเก่งเข้าขั้นแล้ว

หัดดูไป ทีแรกจะเห็นของหยาบก่อน ต่อมาก็รู้ของละเอียดขึ้นนะ ถ้าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ อยู่ล่ะก็ จิตเป็นอกุศล ถ้าจิตไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ จิตมันจะเบา มันจะนุ่ม มันจะสบาย มันโปร่ง มันโล่ง มันปราดเปรียวว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง ไม่ซึม ไม่ทื่อ นะ เนี่ยหัดรู้จักไปเรื่อย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๖ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าหลอกตัวเองว่าเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวพอแล้ว

mp3 (for download) : อย่าหลอกตัวเองว่าเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวพอแล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าหลอกตัวเอง

อย่าหลอกตัวเอง

โยม : หลังๆ ขยันทำในรูปแบบมากขึ้น รู้สึกว่าการภาวนามันเริ่มก้าวหน้าครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อืม ต้องทำ ถ้าเราไม่ทำในรูปแบบนะ หลอกตัวเองว่าเราเจริญสติในชีวิตประจำพอแล้ว ไม่พอหรอก เจริญไปพักดียวจิตไม่มีแรง เหมือนๆเจริญแต่ไม่เจริญ

โยม : มีอะไรแนะนำเพิ่มไหมครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไปทำในรูปแบบทุกวันนะ แล้วพอจิตมีกำลังนะ ดูกายทำงานดูใจทำงานไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๐๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 612345...Last »