Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

หัวใจการปฎิบัติและกุญแจสู่ความรู้แจ้ง

MP3 (for download): หัวใจการปฎิบัติและกุญแจสู่ความรู้แจ้ง (21.28น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 18 (16/03/51)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาโดยการดูจิตที่ถูกทำอย่างไร?

MP3 (for download): การภาวนาโดยการดูจิตที่ถูกทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาดูจิตดูสองอย่างนะ (๑) ดูความรู้สึกของจิต (๒) ดูกริยาอาการที่จิตวิ่งไปวิ่งมา

ถ้าเราเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นมา มันมีสติรู้ไปเรื่อยๆ อย่างนี้ดี   ถ้าเรารู้จิตที่ไหลไปไหลมาจิตจะตั้งมั่น คราวนี้จิตจะตั้งมั่นแล้วจะรู้สภาวะด้วยจิตที่ตั้งมั่นปัญญาจะเกิด ไม่ยากหรอกง่ายๆ หลวงพ่อดูอยู่ไม่นาน ดูอยู่เจ็ดเดือน ดูไปเรื่อยๆก็เห็นสภาวธรรมเกิดๆดับๆไปเรื่อยๆ ก็เข้าใจมันขึ้นมา   เราอย่าไปคิดว่าการภาวนายากนะ   รู้ความรู้สึกทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจเรา ถ้าจิตไหลไปอยู่ทางโน้นทางนี้ก็คอยรู้  จิตไหลไปแล้วให้แค่รู้ว่าจิตไหลไป อย่าไปประครองไม่ให้ไหลนะ อย่าไปห้ามไหลนะ ถ้าห้ามไหลจะเป็นการเพ่งจิต เพิ่งจิตก็ใช้ไม่ได้เป็นสมถะอีก เพ่งอารมณ์ เช่น เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง เพ่งลมหายใจก็ป็นสมถะ เพ่งจิตก็เป็นสมถะ เพ่งอะไรก็เป็นสมถะทั้งนั้น ถ้ารู้นะ รู้อยู่ห่างๆ จิตตั้งมั่นอยู่ แล้วเห็นทุกอย่างมันทำงานอยู่ ถึงจะเป็นวิปัสสนา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคืออะไร: ทำอย่างไรสติจึงเกิดได้บ่อย?

MP3 (for download): สติคืออะไร :-ทำอย่างไรสติจึงเกิดได้บ่อย?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์: สติคืออะไร สติคือความระลึกได้ อย่าไปแปลสติว่ากำหนดนะ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด คนรุ่นหลังไปแปลสติว่ากำหนดแล้วภาวนาเพี้ยนไปหมดเลย เวลาเขียนหนังสือก็ไปเติมคำว่ากำหนดลงไปตามใจชอบ อย่าง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยัน ทุกข์เป็นของควรรู้รอบ ก็ไปแปลว่าทุกข์ต้องกำหนดรู้ เติมเอาเอง ไม่มีตัวไหนที่แปลว่ากำหนดเลย ชอบเติมเอง เติมคำว่ากำหนดลงไปเพราะมันรู้สึกว่าได้ทำอะไรซักหน่อย ตรงที่จงใจจะทำนั่นแหละ โลภะเจตนาจะเกิดแล้วสติไม่เกิดหรอก เพราะฉะนั้นสติไม่ได้แปลว่ากำหนด กำหนดคือการกดเอาไว้ การข่มเอาไว้ กำหนดเป็นภาษาเขมร เป็นคำแผลง มาจากคำว่า กด  ข่มไว้กดไว้บังคับไว้ ควบคุมไว้ สติไม่ได้มีหน้าที่ควบคุมบังคับ สติมีหน้าที่ระลึกรู้

เพราะฉะนั้นทำอย่างไรสติจึงจะระลึกได้ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น สติระลึกได้ว่าโกรธแล้ว ความโลภเกิดขึ้น สติระลึกได้ว่าโลภแล้ว ใจลอยไปสติระลึกรู้ได้ว่าใจลอยไปแล้ว นี่ความระลึกได้ สติมันจะระลึกได้นะมันต้องเห็นสภาวะบ่อยๆ เหมือนอย่างเรานี่ เห็นคนเดินมา เหมือนอย่างเห็นชมพูมา ชมพูมาวัดบ่อยๆ พอเห็นชมพูมานะ หลวงพ่อก็นึกได้ อ้อ นี่ชมพูมาแล้ว จำได้ ชมพูนะ ไม่ใช่สุเมธ สุเมธไม่ใช่ชมพู ไม่ใช่อุษา ไม่ใช่แก้ว ไม่ใช่คนโน้นคนนี้ หลายคนอยากให้เอ่ยชื่อแล้ว (โยมหัวเราะ) จะถึงเราไหม จะเรียกชื่อเราไหม นี่เราจะจำได้ถ้าเราเห็นบ่อย

สติจะระลึกได้ว่าความโกรธเกิดขึ้นแล้วถ้าเห็นความโกรธบ่อยๆ สติจะระลึกได้ว่าความโลภเกิดขึ้นแล้วถ้าเห็นความโลภบ่อยๆ สติจะระลึกได้ว่าใจลอยหลงไปแล้ว ถ้ารู้เคยเห็นความใจลอยบ่อยๆ อยู่ที่เห็นบ่อยๆ ภาษาบาลีเรียกว่า มีถิรสัญญา ถิรสัญญา คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นเมื่อจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ  เพราะฉะนั้นเราจะต้องฝึกหัดดูสภาวะ เห็นไหมกรรมฐานของหลวงพ่อไม่ได้เริ่มตรงที่ว่าจะเดินท่าไหน จะนั่งท่าไหน จะกินอย่างไร จะนอนอย่างไร จะกระดุกกระดิกอย่างไร กรรมฐานของหลวงพ่อเริ่มตรงที่ว่า หัดดูสภาวะ จำไว้นะ สิ่งที่สอนมาตลอดเวลาคือพาดูสภาวะ ใจลอยไปแล้ว ใจหลงไปแล้ว เห็นไหม ร่างเคลื่อนไหวแล้ว ร่างกายหยุดนิ่ง ร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นแล้ว เวทนาดับไปแล้ว โลภโกรธหลงเกิดขึ้นแล้ว โลภโกรธหลงดับไปแล้ว ปิติสุขเกิดแล้ว หัดดูสภาวะไป

เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ให้การบ้าน พวกเราทั้งหลายผู้ปฏิบัตินะ ไม่ว่าจะมาจากผาซ่อนแก้ว มาจากบ้านอารีย์ แล้วมีอะไรอีก นครสวรรค์ ไม่ว่าจะมาจากไหน รวมทั้งมาจากที่อื่นด้วย หัดดูสภาวะไป การหัดรู้สภาวะนี่แหละคือต้นทางของการปฏิบัติ ถ้าดูสภาวะไม่เป็น สภาวะคืออะไร คือรูปธรรมนามธรรม คือกายกับใจนี้แหละ ดูสภาวะไม่เป็นจะทำวิปัสสนาไม่ได้ ทำวิปัสสนาต้องรู้สภาวะ รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นาม หัดรู้บ่อยๆ เช่น หายใจออกก็รู้สึกตัว หายใจเข้าก็รู้สึกตัว รู้บ่อยๆ เห็นร่างกายมันหายใจ รู้สึกบ่อยๆ นะ ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกตัว ไม่ไปเพ่ง ไม่ได้เพ่งให้นิ่ง ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกตัวไป ต่อไปเวลาขาดสติ พอร่างกายขยับนิดเดียว สติจะเกิดเอง มันจะระลึกได้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว

หัดรู้ไปเรื่อยๆ บางคนก็หัดดูเวทนา เบื้องต้นหัดอันใดอันหนึ่งก่อนก็ได้ที่เราถนัด คนไหนถนัดที่จะรู้กายนะ ก็เห็นร่างกายมันทำงานไป เห็นร่างกายมันยืนเดินไป เราเป็นคนดู บางทีก็เป็นคนดู บางทีก็เผลอไปที่อื่น ตรงที่เผลอไปที่อื่นเรียกว่าขาดสติ ตรงที่เห็นร่างกายมันยืนเดินนั่งนอนอยู่นี่ เรียกว่ามีสติ แต่ต้องเรียนอีกตัวนะ ตัวสัมมาสมาธิ เพราะมีสติแล้วชอบไปเพ่ง ถ้าเพ่งไม่มีสัมมาสมาธิ จะไม่มีปัญญา จะได้แต่สมถะ

หัดดูสภาวะไป เช่น ใจมันโกรธขึ้นมาก็รู้ ใจมันโลภขึ้นมาก็รู้ ใจมันหลงไปก็รู้ ใจฟุ้งซ่านก็คอยรู้ ใจหดหู่ก็รู้ หัดดูไปเรื่อย เบื้องต้นนะเราจะเห็นว่าแต่ละวันความรู้สึกของเราไม่เหมือนกัน บางวันสุขบางวันทุกข์ บางวันดีบางวันร้าย หัดดูอย่างนี้ ดูเป็นวันๆ ไปเลย เบื้องต้นง่ายที่สุดแล้ว วันนี้อารมณ์แจ่มใส นี่ดูภาพรวม วันนี้อารมณ์ร้าย เห็นเป็นภาพรวมไป ต่อไปเราดูได้ละเอียดขึ้น เราเห็นว่าในวันเดียวกันนะ เช้า สาย บ่าย เย็น ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตอนเช้าความรู้สึกอย่างนี้ ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเย็น ตอนค่ำ ตอนดึก ความรู้สึกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ฝึกดูอย่างนี้จนชำนาญนะ

ต่อไปดูเป็นขณะ ขณะที่มองเห็นความรู้สึกเป็นอย่างนี้ ขณะที่ได้กลิ่นความรู้สึกเป็นอย่างนี้ ขณะที่รู้รสความรู้สึกเป็นแบบนี้ เช่น กินของอร่อย ความรู้สึกชอบเกิดขึ้น กินของไม่อร่อย ความรู้สึกไม่ชอบเกิดขึ้น ใจเราคิด เรานึก เราปรุง เราแต่ง คิดเรื่องนี้มีความสุข คิดเรื่องนี้มีความทุกข์ คอยรู้ทันใจ หัดรู้อย่างนี้แหละเรียกว่า การหัดรู้สภาวะ รู้กายร่างกายเคลื่อนไหวก็ดูมันไป เห็นกายมันทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอนไป เดี๋ยวก็เผลอ ถ้าเผลอนี่ขาดสติ ถ้ายังเห็นกายเห็นใจอยู่ แต่ไม่ได้จงใจนะ อย่าจงใจแรง ถ้าจงใจแรงเป็นการเพ่ง รู้เล่นๆ รู้สบายๆ ต้องสบายนะ จำไว้นะ กรรมฐานต้องสบาย เพราะประโยคแรกที่หลวงปู่ดูลย์สอนหลวงพ่อนะ ก็คือ การปฏิบัตินั้นไม่ยาก ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ ผู้ไม่ปฏิบัติคือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ผู้บังคับกดข่มตัวเอง ผู้ปฏิบัติคือผู้ตามรู้กายตามรู้ใจ หัดดูกายดูใจ หัดดูสภาวะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจ คอยรู้สึกไปเรื่อย จนจิตมันจำสภาวะแม่นแล้ว สติจะเกิดเอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาผิด!!!เป็นอย่างไร?

MP3 (for download): ภาวนาผิด!!!เป็นอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ภาวนาผิดก็เริ่มตั้งแต่ไม่ได้มีสตินะ ไม่ได้มีสติจริงๆ อยากจะเพ่งเอาๆ  หรือไม่ก็คิดเอาๆ พวกเพ่งเอา พวกคิดเอาไม่มีวันเข้าใจธรรมะ พวกรู้เอาบางคนรู้แล้วก็เข้าไปจ้อง บางคนรู้แล้วก็เข้าไปแทรกแทรง จับหลักให้แม่นๆ สังเกตใจตัวเองไป การภาวนาของเราตอนนี้ เราไปประครองไว้ เราไปแทรกแทรง เราไปควบคุม หรือเราไปเพลิดเพลิน นิ่งๆ ว่างๆ อยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่ง ไม่ได้รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราสังเกตของเรามันก็เอาตัวรอดได้

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภูมิมนุษย์ เหมาะแก่การทำวิปัสสนาที่สุด

mp3 (for download): ภูมิมนุษย์เหมาะแก่การทำวิปัสสนาที่สุด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อ: ใครๆเขาก็ต้องหาของไม่ธรรมดาใช่มั้ย ต้องประเภท Unseen ถึงจะตื่นเต้น พระพุทธเจ้านะ เข้าใจถึงสิ่งซึ่งเห็นต่อหน้าต่อตาทุกวันนั่นแหละ สิ่งที่เราเห็นต่อหน้าต่อตา ก็คือสิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆนี้แหละ กายกับใจนี้ เข้าใจตัวนี้ ตัวเราไม่มี ตัวเราไม่มีนะ เราเห็นตัวเราไม่มี มันก็หมดความเห็นว่ามีตัวเรา เป็นพระโสดาบัน ก็มารู้กายรู้ใจไปอีก รู้กายรู้ใจไปอีก ก็ค่อยๆลดละอนุสัยกิเลสไป สติ สมาธิ ปัญญา ก็แก่รอบขึ้น อนุสัยกิเลสก็ลดละลงไปเรื่อยๆ วันที่ขาดจากกันนี้นะ ไม่ได้ไปขาดที่อนุสัย แต่ขาดที่อาสวะ อาสวะเป็นกิเลสที่ย้อมใจ กิเลสที่ซึมซ่าน มันเป็นคล้ายๆมันเป็นสื่อนะ ที่ทำให้กิเลสนั้นซึมซ่านเข้าสู่จิตได้ พอวันหนึ่งจิตหลุดจากอาสวะนะ คล้ายๆขาดเครื่องมือ ขาดตัวเชื่อมต่อ ไม่มีตัว interface ขาดตัวเชื่อมต่อ กิเลสไหลมาสู่จิตไม่ได้

ฟังเล่นๆนะ ฟังเล่นๆ อากาศเย็นๆสบายๆ ฟังธรรมะสบายๆ ง่ายๆ ง่ายๆนะ ไม่ยากหรอก อย่าปรุงแต่ง อย่าคิดมาก คิดมากก็คือปรุงแต่งมาก ให้รู้เอานะ รู้กายรู้ใจเอา แล้วจะรู้ว่าที่หลวงพ่อพูดนี่ พูดซื่อๆเลย

แต่ไหนแต่ไรมา แต่ก่อนนี้ เวลาพูดธรรมะตั้งแต่อยู่เมืองกาญจน์อยู่อะไร คนจะนึกว่าหลวงพ่อพูดเล่นนะ พูดไปยิ้มไป พูดไปยิ้มไป ต้องยิ้มไว้ก่อนแหละ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวพวกเราตกใจ ยิ้มไว้จะได้มีกำลังใจ คนนึกว่าเราพูดเล่นๆนะ ความจริงเราพูดสภาวธรรมให้ฟังล้วนๆเลย พูดซื่อๆเลย ของที่ซื่อๆบางทีฟังแล้วขำนะ

คอยรู้สึกนะ รู้สึกไป เดี๋ยววันหนึ่งก็เข้าใจ เข้าใจเป็นลำดับๆไปนะ ไม่มีอะไรยากหรอก ไม่มีอะไรเหลือวิสัย ที่มนุษย์ธรรมดาจะทำได้ เพราะธรรมะก็คือธรรมดา ภูมิที่เหมาะที่สุดที่จะรู้ธรรมะก็คือภูมิของมนุษย์นี่เอง ภูมิอื่นๆไม่เหมาะที่จะรู้ธรรมะหรอก เจริญสติยาก

อย่างสัตว์นรกนะมันก็ทุกข์อย่างเดียวเลย จิตมันเต็มไปด้วยโทสะอย่างเดียวเลย ถ้ามันไปดูมันจะรู้สึกโทสะเที่ยง ไม่เห็นเปลี่ยนเลย เหมือนกันทุกวัน พวกเปรตมันก็โลภอย่างเดียวเลย จิตเต็มไปด้วยความโลภ ความหิวกระหาย

สัตว์เดรัจฉานมันก็เหม่อของมันทั้งปีอยู่อย่างนั้นแหละ ใจลอยอยู่ทั้งปี มีแต่หลงกับหลง เป็นอสุรกายนะ เจ้าทิฎฐิเจ้าทฤษฎี อสุรกายเนี่ยส่วนมากจะมีดีกรีนะ ระดับปริญญาโทปริญญาเอก อะไรนี้ ส่วนใหญ่อสุรกาย เจ้าทิฎฐิน่ะ เจ้าทิฎฐิ พวกนี้ก็ยึดแต่ความคิดความเห็น นะ ไม่เหมาะที่จะทำวิปัสสนา

สัตว์นรกก็ทุกข์เกินไปไม่เหมาะที่จะทำวิปัสสนา เปรตนะ ก็กระหายต้องการมากไป ทำวิปัสสนายาก เทวดาก็สบายเกินไป ทำวิปัสสนายากนะ ขืนไปส่องกระจกดู อู๊ยฉันก็สวยนี่ สวยมาแสนปีแล้ว ยังสวยอยู่เหมือนเดิม นะ มีความสุขทุกวันเลย นี่ความสุขเที่ยง หรือพรหมนะ มีแต่ความสงบ มีความสุขสงบบ้าง มีความสงบเฉยๆบ้าง กี่ปีกี่ชาติ แสนชาติแสนกัปป์อะไรอย่างนี้ นะ อยู่ไป อยู่ไปเป็นหมื่นๆกัปป์ หรือพันๆกัปป์อะไรอย่างนี้ โลกแตกแล้วแตกอีก

พรหมเห็นจักรวาลเกิดดับนะ แต่พรหมไม่เห็นตัวเองเกิดดับ เห็นจักรวาลเกิดดับ โน่นมันเกิดขึ้นมานะ แล้วมันก็ดับวับลงไปนะ มันสลายไป ละอองของมันก็กระจายไป เดี๋ยวก็ไปรวมกัน เกิดขึ้นมาอีกละ นะ แล้วก็สลายไปอีกละ อย่างนี้ เห็นแต่จักรวาลเกิดดับ แต่ไม่รู้นะว่าจักรวาลไหลมาจากไหน จักรวาลไหลไปไหน ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ตัวเองมาจากไหน ไม่รู้หรอก รู้สึกผุดขึ้นมาจากความว่างๆ เพราะฉะนั้นเป็นอมตะ ไม่เห็นตายเสียที เห็นแต่คนอื่นตาย ยกเว้นฉันไม่ตายเสียที พวกมิจฉาทิฎฐินะ ไม่เหมาะที่จะทำวิปัสสนาหรอก

ภูมิมนุษย์นี่เหมาะแก่การทำวิปัสสนาที่สุด เพราะมนุษย์นี่สำส่อน จิตใจเรานี่กลับกลอก ยอกย้อน เห็นมั้ย ในหนึ่งนาทีนี่ใจเราเปลี่ยนไปตั้งหลายรอบแล้ว เดี๋ยวก็ดู เดี๋ยวก็ฟัง เดี๋ยวก็คิด นะ เดี๋ยวก็รู้สึก เดี๋ยวก็เผลอ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง ใจมนุษย์นี่กลับกลอกตลอดเวลา ของกลับกลอกนี่แหละเราเห็นความไม่เที่ยงง่าย มันเปลี่ยนแปลงง่าย ของกลับกลอกนี่เราเห็นความทนอยู่ไม่ได้ ง่าย ของกลับกลอกนี่เราเห็นเลย เราบังคับมันไม่ได้ ของเที่ยงเรารู้สึกบังคับได้ ของเที่ยงไม่มีจริงหรอก มันเที่ยงชั่วคราว

เพราะฉะนั้นเป็นมนุษย์ดีที่สุดแล้ว สวมหัวใจมนุษย์ไว้ นะ เป็นมนุษย์ธรรมดาไว้ นะ เป็นมนุษย์ธรรมดาเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายอยู่อย่างนี้แหละ นี่แหละเหมาะแก่การทำวิปัสสนาที่สุดเลย จะเห็นได้ง่ายว่าสุขก็ไม่เที่ยงทุกข์ก็ไม่เที่ยง กุศล อกุศล ก็ไม่เที่ยง ทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ อยู่ได้ชั่วคราว ความสุขวิ่งหาแทบตายเลย พอได้มานะ แวบเดียวก็รู้สึกงั้นๆอีกแล้ว ใครเคยรู้สึกมั้ย ความสุขบางอย่างนะ กว่าจะได้มาตั้งนานแหน่ะ…

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๑

CD ศาลาลุงชิน ๒๕
File ๕๑๐๔๒๖
Time: นาทีที่๑๑ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยากรู้จักธรรมให้รู้ตัวเอง

mp3: (for download): อยากรู้ธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: อยากรู้ธรรมไม่ยากอะไร สิ่งที่เรียกว่าธรรมะคือกายกับใจนี่นะ

ให้โยมคอยรู้กาย กายนี้เรียกว่ารูปธรรม ให้คอยรู้จิตใจ เรียกว่านามธรรม

รู้ลงไปเรื่อย ๆ จนเห็นเลยทั้งกายทั้งใจนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก

เราก็จะไปเห็นธรรมะอีกชนิดนึงที่พ้นจากรูปธรรมและนามธรรม จะได้เห็นธรรมแท้ก็ตัวนั้นแหละ

CD ศาลาลุงชิน ๑๙
File ๕๑๐๓๑๖
๓๒.๐๕ – ๓๒.๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กุญแจสู่ความเข้าใจธรรมะ

mp3: (for download) กุญแจสู่การปฎิบัติธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อ: จริง ๆ แล้วหัวใจ สิ่งที่เป็นกุญแจของการปฎิบัติที่จะไขเราไปสู่ความเข้าใจ เปิดประตูของความเข้าใจในธรรมะ คือความรู้สึกตัว

ไม่ว่าเราจะปฎิบัติด้วยกรรมฐานชนิดใดก็ต้องทำด้วยความรู้สึกตัว

ถ้าขาดความรู้สึกตัวเสียแล้วอย่างเดียวเนี่ย ไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพานได้

เพราะฉะนั้นจุดสำคัญนะคือต้องรู้สึกตัวให้เป็นเสียก่อน

CD ศาลาลุงชิน ๑๙
File ๕๑๐๓๑๖
๒.๕๗ – ๓.๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีสำรวจตัวเองว่าภาวนาดีหรือยัง

mp3 (สำหรับ download) สำรวจตัวเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ

โยม: ตอนนี้หนูปฎิบัติต้องปรับปรุงอะไรหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อ: ก็ต้องพัฒนาไปเรื่อยนะ วิธีปฎิบัติที่ดีที่สุดเนี่ย แล้วโอกาสที่จะถามหลวงพ่อมีไม่มาก เพราะฉะนั้นเราต้องรู้หลักที่จะช่วยตัวเองให้ได้ เราคอยสังเกตจิตใจของเราไปนะ กุศลอะไรเรายังไม่ได้ทำ อกุศลอะไรเรายังไม่ได้ละ เราคอยรู้ทันไปเรื่อย อย่างใจมันขี้โมโหก็รู้ทันตัวเองไปว่ามันขี้โมโห รู้ทันบ่อย ๆ ใจมันขี้โลภก็รู้ทันว่ามันโลภนะ ใจมันไปชอบเพลินในความสุข เราก็รู้ทันว่ามันชอบเพลินในความสุข คอยรู้ทันความไม่ดีของเราเองไว้บ่อย ๆ แล้วก็..เราคอยสังเกตไป กุศลอะไรเรายังไม่ค่อยได้ทำ เช่น เราขี้เกียจภาวนา เราก็พัฒนาขยันภาวนาขึ้นมา สำรวจตัวเองนี่แหละดีที่สุดเลย อกุศลใดยังไม่ได้ละ กุศลใดยังไม่ได้เจริญ สังเกตไปแล้วค่อย ๆ พัฒนานะ ถ้าเดินอย่างนี้เราจะเดินด้วยตัวของเราเองได้

CD: ศาลาลุงชิน ๓๔
๕๒๑๑๑๕
๓๘.๑๐ – ๓๙.๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การใช้สติปัฏฐาน 4 เป็นวิหารธรรม: เครื่องช่วยให้มีสติบ่อย ๆ

mp3 (for download) : การใช้สติปัฎฐาน 4 เป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเราหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เรารู้สึกตัวทั้งวันแล้ว ถ้าเรายืนรู้สึกตัว เดินนั่งนอนรู้สึกตัว เรารู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว ถ้าเราเคลื่อนไหวรู้สึกตัว ถ้าเราหยุดนิ่งรู้สึกตัว เราก็รู้สึกตัวทั้งวันแล้ว ถ้าเรามีความสุขเราก็รู้ มีความทุกข์เราก็รู้ เฉยๆ เราก็รู้ แค่นี้ก็รู้ได้ทั้งวันละ ถ้าหลงไปก็รู้ ถ้าไม่หลงก็รู้ ก็รู้ได้ทั้งวันแล้ว ถ้าโลภแล้วก็รู้ ไม่โลภแล้วก็รู้ แค่นี้ก็รู้ได้ทั้งวันแล้ว เพราะฉะนั้นอารมณ์ที่พระพุทธเจ้าท่านเลือกมาในสติปัฏฐานเนี่ย เพียงอันใดอันหนึ่ง รู้อันใดอันหนึ่งเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่นะ เราจะมีสติอยู่ได้ทั้งวันเลย

CD: บ้านอารีย์ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑
File: 25510914.mp3
Time: นาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๕๕ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะควรทำเมื่อไหร่

mp3: (for download) สมถะควรทำเมื่อไหร่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: แล้วทำสมถะจะทำตอนไหนครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: สมถะทำตอนที่ดูกายก็ไม่ได้ ดูใจก็ไม่ได้ ถ้าทำสมถะก็ต้องทำเบาๆ ทำสบายๆ อย่าทำอย่างเคร่งเครียด ทำแบบเคร่งเครียดไม่มีความสุข ต้องทำให้สบายๆ ให้มีความสุข จิตถึงจะสงบ พอจิตสงบแล้ว เราก็รู้ทันว่าจิตสงบ เรามีแรงละ เรากลับมาดูจิตได้ละ เราก็ดูจิตเรื่อย จิตตอนนี้สงบ พอเราออกจากสมาธิมาจิตเริ่มฟุ้งซ่าเรารู้ว่าฟุ้งซ่าน นะ เราก็ดูจิตไปเรื่อยๆ ตอนไหนไปรู้กายก็ไม่ว่ามัน เพราะรู้ไปทั้งกายรู้ทั้งจิต ดูจิตไม่ได้ก็ดูกาย ดูกายไม่ได้ก็รู้จิต รู้ไปเรื่อยๆ ถ้ารู้กายรู้จิตไม่ได้ก็ทำความสงบเข้ามา ทำความสงบก็ยังไม่ไหวอีก ก็พักผ่อน สมมุติว่าเครียดจัดแล้วก็พักผ่อน เพราะฉะนั้นการพักผ่อนก็จำเป็นนะ

โยม: พักผ่อนกับนอน หรืออ่านหนังสือ

หลวงพ่อปราโมทย์: ผ่อนคลายก็ได้นะ อ่านหนังสือก็ได้นะ ทำอะไรก็ได้นะ อย่าหมกมุ่นในการปฎิบัติ เราต้องจริงจังในการปฏิบัติ แต่ไม่หมกมุ่นในการปฎิบัติ จริงจังหมายถึงว่า ฝึกของเราทุกวันเลย ไม่ท้อถอย ดูมากที่สุดเท่าที่จะดูได้ รู้สึกไปเรื่อยๆ แต่ว่าไม่ใช่ดูแบบ เมื่อไหร่จะได้ เมื่อไหร่จะได้ เมื่อไหร่จะได้ ดูแบบนั้นแล้วเครียด เพราะดูด้วยโลภะ ด้วยตัณหา ใช้ไม่ได้ ใจจะเครียดๆ เพราะฉะนั้นดูเล่นๆไป ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ช่างมัน ชาตินี้ไม่ได้ ชาติต่อไปมันคงได้สักชาติหนึ่ง ต้องทำใจขนาดนี้นะ ถ้าทำใจขนาดได้ขนาดนี้แล้วจะได้ในชาตินี้แหละ ถ้าชาตินี้ต้องเอาให้ได้ ต้องเอาให้ได้ กูจะต้องเอาให้ได้…

หลวงพ่อรู้จักพี่คนหนึ่งนะ เพื่อน เพื่อนพี่ไวยนี่แหละ แกบอกนะว่า แกจะทำสามเดือน นี่ผ่านมาเนิ่นนาน… เพราะฉะนั้นอย่างตั้งเป้า หน้าที่ของเราทำเหตุ ส่วนผลจะได้เมื่อไหร่นั้น มันได้สมควรแก่เหตุ หน้าที่เราทำเหตุอย่างเดียว หวังผลไม่มีประโยชน์อะไร หวังผลเนี่ยเลื่อนลอยแล้ว อย่างเราหวังผลว่าเราจะต้องเป็นพระโสดาในวันนี้ เลื่อนลอยไปแล้ว หน้าที่เราทำเหตุให้มากๆ รู้สึกกายรู้สึกใจให้มาก ส่วนว่ามันพอสมควรมันก็ได้ของมันเอง อย่าอยากนะ ภาวนาด้วยความอยากไปไม่รอด

CD: สวนสันติธรรม ๒๕
File: 510420.mp3
Time: นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ประคองใจไว้เพราะยึดถือ

mp3: (for download) ประคองใจไว้เพราะยึดถือ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ ศิษย์สวนสันติธรรม ศรีราชา

โยม: ใจมีความสุขมากกว่าเมื่อวานค่ะ แต่ว่ามันไปประคองค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ.. อย่าไปประคองนะ ให้มันดิ้นไปดิ้นมาอย่าไปรักษามันไว้ ทำไมเราต้องรักษาใจเราไว้ ไม่ยอมให้มันหนีไป เพราะเรายึดถืออย่างเหนียวแน่นว่ามันคือตัวเรา เพราะฉะนั้นเราเห็นจิตนี้ว่าคือตัวเรา เราก็อยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ ถ้าดีถาวร สุขถาวร สงบถาวรได้ยิ่งดีใหญ่ เพราะฉะนั้นภาวนาแทบเป็นแทบตายนะ อยากดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพื่ออะไร เพื่อตัวเราจะได้สบาย สุดท้ายนะ ภาวนาเพื่อตัวเรา ให้รู้ทันลงไปอีก รู้ทัน รู้ทัน ในที่สุดนะ กิเลสจะไม่มาแอบแฝงอยู่ในใจเรา ทนกำลังของสติปัญญาไม่ได้ มันจะว่องไวขึ้นเรื่อยๆ รู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ อะไรแอบแฝงเข้ามานะ สติระลึกปั๊บเลย ปัญญานี่สอดส่องเข้าไป ขาดสะบั้นหมด ความปรุงแต่งใดๆมาสร้างภพสร้างชาติขึ้นในหัวใจของเราไม่ได้อีกแล้ว ค่อยฝึกไป ดีชมพู

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510420.mp3
Time: นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ

MP3 (for download):  ๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ (33.14 น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวพิเศษ จากการแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 30 (21/06/52)

1) หลวงปู่ดูลย์: ให้ดูจิตตัวเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ เพ่ง -> แล้วไปหาทางทำลายมัน คอยระวังให้อกุศลไม่เกิด หวงแหนจิตมากเลย

[ผิด] เพราะไป*แทรกแซงจิต* เราไม่ได้ดูจิตหรอก แต่ไปวุ่นวายอยู่กับอาการของจิต

จงใจปฎิบัติก็ผิดนะ ไปแทรกแซงอาการของจิต ..ให้รู้ตามความเป็นจริงต่างหาก ถึงจะถูก

—–#

ค่อยๆสังเกตนะ กิเลสหยาบๆเกิดมาจากกิเลศละเอียด ก่อนที่กิเลสจะตัวใหญ่เนี่ย กิเสสตัวเล็กมาก่อน

ก่อนจะโมโหแรงๆ ต้องขัดใจเล็กๆก่อน ทีนี้เราคอยดูเลย กิเลสมันมาจากไหน มันผุดขึ้นจากกลางหน้าอก

2) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่

[ผิด] ตรงเรา*ส่งใจเข้าไปดู* แทนที่จะดูด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง เราถลำลงไปดู ถลำไปดูนี่จิตไม่ตั้งมั่นในการรู้ในการดู

สำนวนครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า “ไม่มีจิตผู้รู้” มีแต่จิตผู้หลง ผู้เพ่ง

—–#

ราวปี 2526 ภาวนาแล้วมีอาการแปลกๆ ภาวนาแล้วหลับตลอดเลย จากที่ภาวนามาตั้งแต่ 7 ขวบไม่มีนั่งหลับหรอก ตอนนั้นไม่รู้เป็นอะไรมันหลับเอาหลับเอา

นั่งสมาธิก็หลับ ขัดสมาสเพชรก็หลับ เดินจงกลมก็เดินหลับนะ ทำไงก็หลับ แล้วหลับแบบไม่มีศิลปะเลย ..โอ้ย ไม่มีสภาพของนักปฎิบัติเหลือเลย ขาดสติอย่างร้ายแรง เกิดจากอะไร?

3) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ อย่างสงสัยเลย

ที่จริงไม่มีอะไร พอเราเจริญสติเจริญปัญญาไปมากนะ จิตมันเบื่อหน่าย มันเบื่อโลก เบื่อขันธ์ เบื่อธาตุอย่างร้ายแรงเลย เบื่ออายตนะ

พอมันเบื่อมันตัดการรับรู้ภายนอกออกไป หมดความรู้สึกไปเลยตัดออกไป ตัดลงไปรวมลงไป มันไปพัก

.. เพราะว่าแต่เด็กมาหัดสมาธิ พอเจอหลวงปู่ดูลย์มาหัดวิปัสสนาแล้วเบื่อสมาธิ *ทิ้งสมาถะไป*

[ไม่ถูกนะ] การทิ้งสมาถะไปไม่ถูกต้องเลย พอจิตมันไม่ได้เข้าไปพักในสมาธิ จิตมันก็หลบไปเลยดับไปเฉยๆ เข้าไปพักผ่อน พอมันมีแรงมันก็ถอนออกมา

5 สิงหา 2526 ไปกราบหลวงปู่สิมนะ ท่านบอกจะได้ของดีพรรษานี้แหละ

พอวันที่ 7 มาถึงกรุงเทพ จิตมันก็ถอนออกมาหมดแล้ว จิตใจเราก็เปลี่ยนไปหมดเลย ภาวนาสบาย ต่อไปนี้สบายละ สติมันทันกิเลสไปเรื่อย การภาวนาง๊ายง่ายตอนนี้

—–#

พอภาวนามาถึงจุดนี้จะดูตรงไหนมันชำนาญไปหมด ตัวจิตผู้รู้-สภาวะที่เกิดดับอยู่ในหน้าอกก็ได้ ..เอ๊ จะดูตัวไหนดี ชักสงสัยแล้วจะดูตัวไหนดี

เลยดูทั้งสองตัวกลับไปกลับมา ตัวไหนแน่ แล้วเอาใหม่ ไม่เอาทั้งสองตัว ดูซิจะเกิดอะไรขึ้น

พอเคลื่อนจะแตะ เราไม่เอา ไล่เข้าไล่ออกแล้วมันรวมลงตรงกลาง

หลวงปู่เทสก์: มันเป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่เพ่งรูป ไม่เพ่งอรูป

หลวงปู่ให้ไปซ้อมให้ชำนาญ หลวงพ่อบอกถ้าท่านติดเราจะแก้ให้

มีวันนึงไปเชียงใหม่จะไปเยี่ยมอาจารย์ทองอิ่ม แล้วมีพระท่านมาดักอยู่หน้าวัด แล้วบอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร ถ้ำผาผึ้งมาพักอยู่ที่วัดสันติธรรมนี้ ให้ไปหาท่านหน่อยสิ

4) ท่านอาจารย์บุญจันทร์: เฮ้ย ภาวนายังไง! เฮ่ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

เราเล่าให้ท่านฟังซ้ำ ท่านก็ตวาดซ้ำ นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

ทีนี้ ใจเราโล่งเลย .. ตรงนี้ไม่ใช่ทาง

เห็นไหมเราไปทำอะไรที่ [ผิด]? เราไป*ปรุงแต่งการปฎิบัติขึ้น* เราคิดว่าทำยังไงแล้วจะดี

เราไม่ได้รู้กายรู้ใจซื่อๆไง เราคิดว่าทำยังไงจะดี เอาตรงนี้ล่ะวะ อยู่ตรงโน้นดี ตรงนี้ดี หรืออยู่กลางๆดี หาไอ้ตรงที่ดี

ไม่ต้องหานะว่าตรงไหนถูก ไม่ต้องหาว่าตรงไหนดี สภาวะใดเกิดขึ้นตรงปัจจุบัน รู้อันนั้นแหละ แล้วไม่ผิด

เรามาอัศจรรย์ใจกับท่านอีกที ปี 46 ตอนนั้นบวชละ ลูกศิษย์ท่านมาหาเยอะเลยตอนนั้น บอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์สั่งให้มาหา

ให้วันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ให้มาหาพระชื่อนี้ๆ อยู่ตรงนี้ๆ ท่านสั่งละเอียดเลยนะ เราไม่เคยบอกท่านเลยนะ ตอนนั้นที่ท่านมรณะภาพเรายังไม่ได้บวชเลย

ดูท่านอุตส่าห์แก้ให้เรา ท่านกลัวเราจะไปติด สร้างสภาวะโล่งๆ ว่างๆ..แล้วเราก็จับเอาไว้

แต่นี่โล่งว่างคนละอย่างกับพวกเราที่หลังๆมาติดนะ อันนั้นไหนออกไปข้างนอก อันนี้ไม่มีข้างนอกข้างใน หูววดูปราณีต ดูลึกซึ้งกว่ากันเยอะเลย

—–#

ทีนี้ก็ภาวนาต่อไปนะ เห็นสภาวะทั้งหลายมัน ละเอียดเข้าๆ สบาย ใจมันโล่งมันว่าง เราก็ดูจิตอยู่ทุกวี่ทุกวันนะ แต่ดูมาตั้งหลายปีไม่ผ่านสักที

26533_397695631336_717481336_4768908_1463878_n.jpg

5) หลวงตามหาบัว: ที่ว่าดูจิตนั่นดูไม่ถึงจิตแล้ว

ต้องเชื่อเรานะตรงนี้สำคัญ เราผ่านมาด้วยตัวเราเอง อะไรๆก็สู้บริกรรมไม่ได้

[ผิด] มีกิเลสกุกกุจจะเกิดขึ้น ร้อนใจเมื่อไหร่จะได้สักทีวะ กิเลสเกิดแล้วเราไม่เห็น

..พอเราได้ไอเดีย เรามาพิจารณาดูว่าทำไมท่านให้บริกรรม ทำไมท่านว่าเราดูจิตแล้วไม่ถึงจิต

มาดูไปดูมา อ๋อ.. ใจเราไม่ตั้งมั่น ใจมันเคลื่อนออกไปข้างนอกนะ มันไปอยู่ในความโล่งความว่าง

พวกเรารุ่นหลังๆที่ไปดูจิต ไปติดอยู่ที่ตัวนี้เยอะแยะเลย เพราะว่าเวลาดูไปๆ แล้วไปเห็นสภาวะเกิดดับๆนะ

เช่น เห็นกิเลส เกิด-ดับ ๆ กิเลสมันหนีออกไปๆ ไม่เหมือนกับตอนที่ไปถามหลวงปู่สิม อันนั้นกิเลสหนีเข้าข้างใน อันนี้กิเลสหนีออกข้างนอก

เราฟุ้งก็คือ.. จิตไม่ตั้งมั่นเหมือนกัน จิตฟุ้งเข้าไปข้างใน จิตฟุ้งออกไปข้างนอก จิตไม่ตั้งมั่น

จิตไม่ตั้งมั่นแล้วจิตไปหลงในความโล่ง ความว่าง ความสุขความสบาย ..ตรงนี้แหละคือ วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โอภาส

” วิปัสสนู ” นี่เกิดในทุกขั้นตอนของการปฎิบัติ ขั้นพระโสดา สกทาคา อนาคา พระอรหันต์ เพียงแต่ขั้นที่เลยพระโสดา ไม่เรียกวิปัสสนู เค้าเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

ขั้นต้น ปุถุชน จะมีวิปัสสนู

(http://th.wikipedia.org/wiki/วิปัสสนูปกิเลส)

—–

- วิปัสสนูปกิเลส -

โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)

ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้

ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ

ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น

สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ

อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ

ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี

อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด

อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง

นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ

—–

ที่หลวงพ่อบอกพวกเรา จิตไม่ถึงฐาน พระอานนท์ สอนตรงนี้ไว้ว่า

สานุศิษย์ท่านที่พยากรณ์มรรคผลมี 4 จำพวก

พวกที่ 1 ใช้ สมาธินำปัญญา : คือทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน

พวกที่ 2 ใช้ ปัญญานำสมาธิ : คือเจริญสติในชีวิตประจำวันนี่แหละ แล้วจิตรวมเข้าสมาธิ

พวกที่ 3 ใช้ สมาธิและปัญญาควบกัน : พวกนี้ทำสมาธิอยู่ในชาญ (ไม่ใช่อย่างที่ครูบาอาจจารย์วัดป่าทำนะ ส่วนมากท่านทำความสงบก่อนแล้วถอนออกมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน อันนี้คือแบบที่ 1)

แบบที่ 3 มีเหมือนกันแต่มีน้อย ต้องชำนาญในชาญจริงๆ จะเห็นองค์ชาญเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ แต่ดูยาก ต้องชำนาญทั้งชาญ ต้องชำนาญทั้งการดูจิต จึงจะดูได้

พวกที่ 4 พระอานนท์บอกว่า : จิตมีความฟุ้งซ่านในธรรมะ ไปอยู่ในธรรมะ 10 ประการ (หลวงพ่อกล่าวถึงวิปัสสนูปกิเลส) มีโอภาสเป็นหมายเลข 1 ถ้าเมื่อไหร่รู้ทัน อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่านของจิตที่ไหลออกไป อุทธัจจะดับนะ ก็จะหลุดจากโอภาส

หลวงปูเทสก์เคยบอกว่า เวลาเกิดวิปัสสนูเกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้ยังไม่เก็ตนะ เวลามันเกิดจริงๆ ค่อยมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ความสบาย ความเย็น ..หลงไปสารพัดรูปแบบเลย

จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไหร่จิตมัน มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห้นมาด้วยการปฎิบัติอย่างนี้ เสร็จแล้วเพิ่งมาเจอพระสูตร เนี่ยที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย

วิปัสสนูมันเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไม่ถึงฐานนั่นแหละ หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน

เพราะงั้นพวกเราเวลาภาวนา ค่อยๆ สังเกต เวลาดูจิตดูใจ รึว่าดูกายก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไร เกิดวิปัสสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสสนู-ดูกายไม่มีวิปัสสนู เข้าใจผิด

หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ หรือเพิ่งเริ่มวิปัสสนา ยังไม่ชำนิชำนาญพอ สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับ แล้วก้ถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไปว๊าบ มันโล่งมันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็ไปค้างอยู่ตรงนี้ แล้วคิดว่านิพพาน คราวนี้คิดว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้วตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนาตรงนี้คิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์มีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้วบางคนก็แก้ไม่ได้ บางคนไม่ยอมมาเจอเราเลย

..

ทีนี้ มันเดินปัญญาต่อไปไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้น

แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานจะหลุดออกมาเลย

พวกนี้จะน่าสงสารแล้วน่ากลัว น่ากลัวตรงที่จะเที่ยวเผยแพร่คำสอนออกไปอีก ..จะไปบอกว่าไม่ต้องดูกายไม่ต้องดูใจ ไปดูความว่าง พวกนี้ผิดนะ! ต้องดูกายต้องดูใจ

—–#

เสร็จแล้วภาวนามาอีกหลายปีเลย ตอนนั้นใกล้จะบวชแล้ว ไปเจอหลวงพ่อพุธเข้า หลวงพ่อพุธกับหลวงพ่อนี่นะเคยมีข้อตกลงกันเมื่อปี 2526

หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์แล้วกลับมากราบหลวงพ่อพุธที่โคราช ท่านถามว่าหลวงปู่สอนอะไร กราบเรียนท่านว่าหลวงปู่สอนว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธ์อย่างแท้จริง

..บางคนภาวนาไม่มีผู้รู้นะ ถ้าคนไหนเดินมาทางสมถมันจะมีผู้รู้ ถ้าเดินมาทางวิปัสสนามันจะไม่ตั้งตัวผู้รู้..แค่รู้สึกแล้วก็ดับ รู้สึกแล้วก็ดับ เป็นขณะๆ คนละแบบกัน

คนไหนที่มีผู้รู้อยู่แล้วไปประคองรักษาตัวผู้รู้ตรงนี้ใช้ไม่ได้แล้ว พ้นทุกข์ไม่ได้จริงหรอก ไปเห็นว่าตัวผู้รู้เที่ยงผู้รู้เป็นสุข ตัวผู้รู้บังคับได้

หลวงพ่อพุธท่านก็บอกว่า ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มาเหมือนกันก่อนหน้าหลวงพ่อ 7 วัน หลวงปู่สอนอย่างเดียวกัน

..บอกเจ้าคุณ การปฎิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จจริง เนี่ย เราจะต้องทำลายผู้รู้ ท่านบอกอย่างนี้นะ

ทำลายผู้รู้คือไม่ยึดผู้รู้นั่นแหละ ท่านเฉลยมานิดนึง ..คุณกับอาตนามาตกลงกัน ใครทำลายได้ก่อนให้มาบอกกัน ท่านสั่งอย่างนี้ แล้วเราก็ไม่เจอท่านอีกเลยตั้งแต่นั้น

จนกระทั่งก่อนท่านมรณภาพไม่นานได้กราบท่าน บอกหลวงพ่อ เรายังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย

6) หลวงพ่อพุธ: จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง

[บทเรียน] ภาวนาอย่าใจร้อนนะ มีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าไม่คลาดเคลื่อนด้วยการมีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ล่ะก็อย่าใจร้อน เดินไปเรื่อยๆ วันนึงจิตใจมันเติบโตเต็มที่มันทำลายเปลือกออกมาเอง

นี่ 5 องค์แล้วนะครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อ แต่ 6 คำถาม

—–#

ก่อนไปกราบหลวงปู่สุวัฒน์ เราภาวนา เรายังไม่ได้บวชนะ จิตเราหลุดออกมา เรารู้สึกสบายเลยเราคิดว่าพระอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ จิตไม่เกาะอะไรจิตไม่เกาะขันธ์

เราไปหาท่าน ปรากฎว่าพอใกล้ถึงจิตดันเข้าไปเกาะกัน ดันเข้าไปยึด(ขันธ์)อีก เราก็เลยคิดนี่ล่ะน้าาา มันเป็นอนัตตา .. มันเป็นไตรลักษณ์

พอคิดว่าเป็นไตรลักษณ์นะ ใจเราไม่ดิ้น ก็หลุดออกมา

7) หลวงปู่สุวัฒน์: นี่แหละ บางทีจิตมันก็หลุดออกมา บางทีจิตมันก็เข้าไปจับอารมณ์ พอมันจับอารมณ์แล้วเราเห็นว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันก็หลุดออกมา

เราก็ อ๋อ..จิตนี่ก็เป็นไตรลักษณ์นะ เราจะไปบังคับให้จิตหลุดพ้นไม่ได้หรอก ถึงเวลาถ้าเค้าพอ เค้าหลุดเอง แต่เราไม่รู้ว่าเค้าขาดอะไรที่ยังไม่พอ

[เฉลย] คือ ขาดอริยสัจ ขาดความรู้แจ้งอริยสัจนะ ถ้าแจ้งอริยสัจก็คือพอ

ถ้าไม่แจ้งอริยสัจ ยังเห็นว่ากายนี้ ใจนี้เป็นตัว สุขบ้าง ทุกข์บ้างอยู่ ไม่มีทางเลย ยังไม่พอที่จะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

หลวงพ่อนี่นะเคยกราบครูบาอาจารย์มานับไม่ถ้วน หลายสิบองค์ แต่ครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อรวมทั้งหมด 7 ครั้งเท่านั้น

ถ้าคนไหนถามหลวงพ่อเกิน 7 ครั้งถือว่าเป็น อวชาตศิษย์ ..มากไป

ถ้าถาม 7 ครั้งเค้าเรียก อนุชาตศิษย์ ..พอๆกัน

ถ้าไม่ต้องถามเลยนะ แล้วก็ผ่านไปเลย เป็น อภิชาตศิษย์

..งั้นพวกไหนถามมากนะ พวกโหลยโท่ยนะ :D

อย่าถามเยอะเลย หัดรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง หลักมีเท่านี้เอง ที่ผิดน่ะผิดจากหลักนี้ทั้งสิ้นเลย

พวกที่ติดว่าง นี่ใช้ไม่ได้นะ มันติดหมด

บางคนก็ฟุ้งในธรรมะ อยากพูดธรรมะ ใครเป็นบ้าง? รู้ตัวไว้นะเป็น วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ..เจอใครอยากจะสะกิดมาฟังธรรมะก่อนนะ (55)

เคยมีพระองค์หนึ่งนะ ท่านติดฟุ้งในธรรมะนี่แหละ ท่านเกิดวิปัสสนูชนิดหนึ่งนะ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์นะ เคารพหลวงปู่ดูลย์มากเลย

ท่านเดินลุยป่ามากจากบุรีรัมย์(พนมรุ้ง) เดินมาสุรินทร์นะคิดดู (55) มาถึงวัดตอนดึก มาเรียกหลวงตาดูลย์มาฟังเทศน์ พระอรหันต์มาโปรดแล้ว ไปเคาะประตูเรียกพระทั้งวัดเลยนะ

ตอนเช้าขึ้นมา หลวงปู่ แก้ แก้ไม่ตกนะ สุดท้ายหลวงปู่ดูลย์ใช้ไม้ตายเลย ด่า สัตว์นรก ไอ้บ้า ไอ้สัตว์นรก ..โอ้โห พระอรหันต์นะโกรธ เลือดขึ้นหน้า.. ตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู กูไปแล้ว คว้าไม้กวาดได้นะเอาพาดบ่า นึกว่าเป็นกลดนะ เดินออกไป 3 ก.ม. แล้วเพิ่งนึกได้ เอ๊ะ เราขาดสติอย่างร้ายแรกเลย ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก

มันเกิดขึ้นได้เสมอนะ หากเราไม่ปราณีตพอ จิตมันฟุ้งซ่านไป ไปอยู่ในความว่าง ฟุ้งซ่านไปอยู่ในธรรมะ ฟุ้งซ่านไปอยู่ในปิติ ..ฟุ้งซ้านไปอยู่ในการขยันภาวนา ภาวนาได้ทั้งวันไม่เคยพักเลย เจริญสติอย่างเดียวไม่มีเบรคเลย เนี่ย เป็นอาการที่เพี้ยนๆ ทั้งสิ้นเลย

ถ้าภาวนาถูกต้องแล้วจะเจอนะ ถ้าภาวนาผิดแล้วจะไม่เจอ จะเจอนิมิตแทนนะ

งั้นวันนี้หลวงพ่อก็เทศน์เรื่องวิปัสสนูให้ฟังด้วย แล้วเทศน์ให้ฟัง สิ่งที่ทำผิดมาเนี่ยมีตั้งหลายแบบ

โดยสรุปเลยก็คือ เราไม่ได้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงนะ ไม่รู้ลงปัจจุบันตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าเราสามารถรู้กายรู้ใจที่ปรากฎในปัจจุบันเนี่ย..ต้องเป็นปัจจุบันนะมันถึงจะเป็นของจริง อดีตไม่ใช่ของจริง อนาคตไม่ใช่ของจริง

ต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ต้องเห็นไตรลักษณ์ของมัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเดี๋ยวจิตไหลออกไป จิตฟุ้งไปแช่กับอารมณ์ใช้ไม่ได้นะ จะเป็นวิปัสสนู และที่ผ่านมามันจะผิดอยู่ในหลักนี้ทั้งหมดเลย

เริ่มตั้งแต่ ไปหัดดูจิต แล้วก็ไปแก้อาการของจิต ใช่ไหม? นี่ไม่ใช่รู้ นี่เป็นการเข้าไปแก้ไข

หรือ ถลำลงไปดู นี่จิตไม่ตั้งมั่น หลวงปู่สิมท่านแก้ให้ จิตถลำลงไปดู

หรือ จิตเจริญสติไปรวดเลย ไม่ยอมทำความสงบ ไม่พักผ่อนเลยนะ จิตหมดเรี่ยวหมดแรงไป เห็นไหมจิตไม่มีแรง จิตไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลาง จิตหมดแรง

หรือ จิตไหลออกไปข้างนอก สว่างว่างออกไป แล้วไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง ..อย่างตอนนี้มีคนวิจารณ์บอกหลวงพ่อสอนผิด เพราะมีคนไปส่งการบ้านที่วัดอื่นนะ บอกว่า ไปเรียนดูจิตมา ..ท่านอาจารย์ท่านก็สอนถูกนะ ท่านบอกมันผิดนี่หว่า มันไปดูในความว่าง ..แต่ท่านเข้าใจผิด คิดว่าดูจิตแล้วจะเป็นอย่างนี้ทุกคน ไอ้นี่มันเป็นวิปัสสนูนะ งั้นไม่ใช่บางคน สงสัยทำไมหลวงพ่อไม่ไปทะเลาะกับองค์อื่น ไม่ทะเลาะหรอก นะ ท่านก็พูดของท่านก็ถูกของท่านแหละ พวกเราภาวนาโหลยโท่ยเองอ่ะ (ฮึฮึ) จิตไปติดในความว่าง ภาวนาผิดอ่ะ นะ งั้นถ้าจิตไม่ไปติดในความว่าง เรารู้ทันก็หลุดออกมา นะ งั้นการภาวนานะ ถ้าเข้าใจหลักปฎิบัติที่แท้จริงแล้วไม่มีปัญหาอะไรเลย ภาวนาของเราเองก็สะดวกสบาย เข้าไปหาครูบาอาจารย์ก็ไม่เคยมีปัญหาเลย

.. อย่างหลวงพ่อนะ มีพระทางอีสานลูกศิษย์หลวงพ่อทุย (วัดป่าด่านวิเวก) หลวงพ่อทุยที่ครูบาอาจารย์รับรองท่านนะ คุณธรรมท่านสูงมากเลย ลูกศิษย์ท่านมาเรียนที่หลวงพ่อ แล้วก็เอาหนังสือหลวงพ่อ เอาซีดีหลวงพ่อเนี่ยไปถวายท่านอาจารย์ทุย ท่านฟังจริงๆนะ ท่านฟังจนหมดเลย ท่านอ่านทั้งเล่มเลย อ่านทางเอกทั้งเล่มอ่ะ หน่ะ เสร็จแล้วท่านก็บอกกับลูกศิษย์ท่าน ที่อาจารย์ปราโมทย์สอนมาเนี่ยนะ เราเห็นด้วยทุกอย่างเลย เราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียวเอง ..เห็นมะ ความเห็นต่างได้ ..ท่านบอกเราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียว ข้ออื่นเห็นด้วยหมดอ่ะ อาจารย์ปราโมทย์บอกการภาวนาง่าย เราว่ามันยากนะ .. :D มันยาก ถูกของท่านนะ

มันยากที่คนทั่วๆไปเนี่ย จะตื่นขึ้นมา จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่ถ้าจิตของเราเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ไม่ยากหรอกที่จะบรรลุมรรผล นิพพานในชีวิตนี้ นะ ..งั้นพวกเราภาวนาไปนะ หัดดูกาย หัดดูใจ มีสติรู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบันเรื่อยไป นะ รู้ไปถึงจุดนึง นะ ต้องระวัง “วิปัสสนู” นะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่เป็นกลาง จิตไม่ถึงฐาน อย่างที่อาจารย์มหาบัวเคยบอกหลวงพ่อ ..ภาวะที่ว่าดูจิตดูไม่ถึงจิตแล้วลงอยู่ในว่างๆ ถ้าเรารู้ทันตรงนี้ก็ผ่านไปได้

ไม่ว่าจะทำวิปัสสนาด้วยวิธีใดนะ หนีวิปัสสนูไม่พ้นหรอก เจอทุกราย จะมากจะน้อยเท่านั้นเอง ..งั้นเราไม่ต้องกลัวนะ วิปัสสนูไม่ได้แปลว่าบ้า วิปัสสนูเป็นความที่ใจมันลำพองไป ทะยานไป หลงไปในธรรมะ ไม่ใช่หลงในอธรรมนะ หลงไปในธรรมะ เผลอเพลินไปในธรรมะ

ถ้ารู้ทัน จิตตั้งมั่นขึ้นมาก็หลุดเลย ไม่ยากเท่าไหร่หรอก อ่ะวันนี้เทศน์เท่านี้พอ

ขอบคุณ คุณ Supakorn Gift ผู้ถอดคลิปรับเชิญ

พระสูตรจากคลิป: ยุคนัทธสูตร

ส่วนที่อธิบายไว้ในอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 35  หน้าที่ 402

๑๐. ยุคนัทธสูตร

:- [๑๗๐]    สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ  โฆสิตารามกรุงโกสัมพี

ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมาฯลฯ  แสดงธรรมว่าอาวุโสทั้งหลาย

สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตามพยากรณ์การบรรลุ

พระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค  ๔  โดยประการทั้งปวงหรือว่าด้วย

มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔  นั้น  มรรค ๘ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็น

เบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น   เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ

ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่     มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก

ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้  อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้วสมัยนั้น

จิตนั้นย่อมตั้งมั่นหยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่

ภิกษุนั้น  เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ

กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น  ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อาวุโสทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตาม   มาพยากรณ์การ

บรรลุพระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ นี้    โดยประการทั้งปวง  หรือ

ด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน  ๔  มรรคนั้น.

จบยุคนันธสูตรที่  ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวอย่างนักภาวนาที่ดี

Mp3 (for download): ตัวอย่างนักภาวนาที่ดี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : เมื่อครู่เห็นแมลงวันเกาะอาหารก็เลยโกรธ สติเกิดเหมือน SPOTLIGHT ส่อง มันดับลงไปเลยครับ พอไปนั่งทานข้าวนึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อก็ปิติ น้ำตาไหลก็ไม่ไปแทรกแทรง ก็ปล่อยให้มันไหล สักพักมันก็ดับไปเองครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ภาวนาอยู่ดีเลยนะ รู้ลูกเดียวเลย เห็นไหมทุกอย่างมันทำงานได้เอง ปิติมันเกิดขึ้นมาเอง ปิติมันก็ดับได้เอง

โยม : ผมต้องขออนุญาตแจ้งหลวงพ่อ ผมขอไรท์ซีดีแจกลูกศิษย์ลูกหาครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เป็นไรหรอกนะ เอาไปแจก เดี๋ยวนี้บางวัดเอาไปขายด้วย เดี๋ยวนี้งานหนังสือ มีหนังสือเรียนธรรมคู่เพื่อรู้ธรรมหนึ่ง เอาไปขายเล่มละ 30 บาท แต่ไม่เป็นไรขายถูกไม่ว่า

โยม : ขอแนวทางปฏิบัติต่อไปครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ทำอยู่ดีแล้วนะ

โยม : ไม่ต้องไปแทรกแทรง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่แทรกแทรง ถึงเวลามีข้อวัตรเป็นของตัวเอง ตอนนี้ต้องการความมีวินัยละ ทุกวันมีเวลาแบ่งไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาภาวนา

โยม : ผมขออนุญาตนิดนึงครับ เมื่อสองเดือนที่แล้วไปกดมันไว้ หลวงพ่อบอกว่าเพ่ง สงบมากกลางวัน พอกลางคืนฝันอุตลุดเลยครับ เสร็จแล้วพอหลวงพ่อบอกว่าอย่าไปเพ่ง เดี๋ยวนี้พอฝันจิตมันห่างๆ สติมันเกิดใขณะฝัน มันเห็น มันจ้อง แต่ไม่เข้าไปแทรงแทรง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าคุณตายตอนนี้ก็ไม่กลัวแล้ว เวลานิมิตไม่ดีเกิดสติจะทำงานเอง

โยม : เมื่อวันที่ 5 มกราคม ขออนุญาตนิดนึงครับ นั่งอยู่แล้วหายใจไม่ออก รู้สึกว่ากำลังจะตาย จิตมันหลุดออกไปแล้วดูมาที่กาย เห็นว่าไม่เอาแล้ว สักพักนึงมันหลบเข้ามา เกิดลมหายใจ ผมบอกว่าให้กดจุด ก็เลยอยู่ครึ่งขั่วโมง หลักจานั้นก็หน้าซีดเกือบจะตาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าตายก็ไม่เสียทีแล้ว เวลาหลวงพ่อไปเยี่ยมคนไข้นะ บางทีหลวงพ่อให้กำลังใจนะ ไปเยี่ยมท่านวันชัย “อาจารย์ตายแน่รอบนี้ ยังไงก็ไม่รอดหรอก ดูมันตายไปเลย” นั่นแหละของคุณภาวนาได้ดีมากเลยนะ ภาวนาถูกเป๊ะเลย จิตของคุณมันรู้มันตื่นแล้วมันเป็นกลาง เราภาวนาแทบเป็นแทบตายเพื่อให้มันรู้มันตื่น แล้วรู้ทุกอย่างอย่างเป็นกลาง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สงสัยในอาการของจิต

mp3: สงสัยในอาการของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์

ปัญหาในการปฎิบัตินี้เกิดจากการหลงกับอาการของจิตทั้งสิ้นเลย

อาการต่าง ๆ นา ๆ จิตไปหลงกับอาการ แล้วก็คิดจะแก้อาการ หรือคิดสงสัยในอาการ

เช่น จิตของผมทำไมมันส่ายไปสายมา ส่ายขึ้นข้างบนแล้วไหลลงข้างล่างสามขยัก ถอยไปข้างหลังอีกสองที อะไรอย่างนี้นะ

อาการอะไรก็ได้ก็แค่รู้เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจะไม่มีความสงสัยอะไร

ถ้าสงสัยก็รู้ไป ความสงสัยก็เป็นอาการของจิตอีกอย่างหนึ่ง จิตมันไปคิดมากมันก็สงสัยขึ้นมา

อาการชนิดนี้ก็เกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกับอาการอย่างอื่น ๆ นั้นแหละ

CD: ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๙
File: 510316

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความทุกข์กับปัญหาไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

mp3: (for download)ความทุกข์กับปัญหาไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: ของโยมนะ ไปแยกกันนะ ระหว่างทุกข์กับปัญหาน่ะเอาไปปนกัน ความทุกข์มันเกิดจากเราไม่อยากมีปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นแล้วอยากให้ปัญหาหายไป ขั้นแรกเลยให้รู้ทันใจซึ่งมันไม่ชอบปัญหา ใจมันมีโทสะเกิดขึ้นให้รู้ทันลงไปเลย พอใจเราปราศจากโทสะแล้ว ใจเราสงบ ใจเราตั้งมั่น ใจเราเป็นกลางแล้วไปคิดแก้ปัญหาเอา ปัญหาต้องแก้นะ ไม่ใช่ปัญหาก็ปล่อยสักว่ารู้สักว่าเห็น

CD: บ้านอารีย์ วันที่ ๑๔ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑
File: 25510914.mp3
Time: ตั้งแต่นาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๗ ถึงนาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต

MP3 (for download): ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต (๓๓ นาที ๕๖ วินาที)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ ๒๒
File: 510615
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำสมาธิแล้วฟุ้งและดูจิตจะทำให้มีสมาธิได้ไหม?

MP3 (for download): ทำสมาธิแล้วฟุ้งและดูจิตจะทำให้มีสมาธิได้ไหม?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: รู้สึกนั่งสมาธิมันจะฟุ้งครับ มันจะกระวนกระวาย

หลวงพ่อปราโมทย์: ให้รู้ว่ากระวนกระวาย ไม่ใช่นั่งเพื่อให้สงบ เรานั่งเพื่อรู้ความจริง การปฎิบัติมีสองแบบนะ ถ้าทำสมถะเนี่ยเราทำไปเพื่อความสงบ ถ้าจะเจริญปัญญาทำไปเพื่อเห็นความจริง

เพราะฉะนั้นตอนไหนที่จิตมันไม่สงบนะ รู้มันไปซื่อๆ รู้ว่าจิตไม่สงบ ความไม่สงบก็ไม่เที่ยง เห็นมั้ย ถ้าเรารู้ด้วยจิตซื่อๆนะ ความไม่สงบจะต้องดับให้ดูแน่นอน จิตจะสงบ นี่ง่ายๆ เพราะฉะนั้นเวลาจะทำสมาธินะ บางคนบอกว่าดูจิตแล้วจะทำสมาธิไม่ได้ ต้องไปรู้ลมหายใจ เข้าใจผิด

จิตจะมีสมาธิหรือไม่ อยู่ที่ว่ามีนิวรณ์หรือไม่ ถ้าไปนั่งสมาธิแล้วหายใจด้วยโลภะ อยากสงบ ไม่มีวันสงบ ถ้านั่งแล้วบีบเค้นใจไปเรื่อยนะ บังคับใจ กดข่มใจไปเรื่อย ไม่มีวันสงบหรอก ถ้านั่งแล้วคิดไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีวันสงบหรอก นั่งแล้วสงสัยไปเรื่อยๆก็ไม่สงบหรอก นั่งแล้วซึมไปเรื่อยๆก็ไม่สงบหรอก

แต่ถ้าเราไม่ได้นั่งนะ จิตเรามีกามฉันทะเราก็รู้ มีพยาบาทเราก็รู้ มีความลังเลสงสัย มีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ มีความหดหู่อะไรขึ้นมาเรารู้ลูกเดียวเลย สิ่งเหล่านี้มันจะดับไปเอง

ทันทีที่สติเกิดนะอกุศลทั้งหลายมันจะดับเอง เมื่อนิวรณ์ทั้งหลายดับไปจิตจะมีสมาธิขึ้นมาเอง เห็นมั้ย เป็นวิธีที่ง่ายๆ วิธีนี้พระพุทธเจ้าสอนพระเจ้าอชาตศัตรู อยู่ในพระสูตรที่สอง ชื่อ สามัญผลสูตร สูตรที่สอง

ทำไมท่านแทนที่จะสอนหายใจไปก่อน แล้วค่อยมีสมาธิ แล้วมาเจริญปัญญา เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะให้นั่งสมาธิจนเข้าฌานก็คงไม่ได้ภาวนาหรอก ท่านเลยสอนให้รู้ทันเลย จิตมีนิวรณ์ขึ้นมารู้ทัน สมาธิมันจะเกิด นี่ใช้ปัญญานำสมาธินะ ท่านบอกน่าเสียดายอชาตศัตรูไปฆ่าพ่อเสียก่อน ถ้าไม่งั้นฟังธรรมวันนี้จะได้เป็นพระโสดาบันละ เลยไม่ได้เป็น

อ้างอิง: สามัญญผลสูตร[๑๒๕]

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตใจมนุษย์เหมาะที่สุดสำหรับการทำวิปัสสนา เพราะมันแสดงไตรลักษณ์

mp3 (for download): จิตใจของมนุษย์เหมาะที่สุดสำหรับการทำวิปัสสานา เพราะมันแสดงไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตใจธรรมดาๆ ของมนุษย์ดีที่สุด(มนุษย์ แปลว่า ผู้ที่มีจิตใจสูง) พวกเราชอบทิ้งจิตมนุษย์ที่สูงที่ดีนี้ ไปสร้างจิตของพรหมขึ้นมา เวลาเราคิดถึงการปฏิบัติก็ไปทำใจให้นิ่ง ไปสร้างจิตของพรหม พระพุทธเจ้าไม่เคยยกย่องจิตของพรหมเลยนะ ท่านบอกว่า เกิดเป็นมนุษย์ยากนะ ไม่ได้บอกว่าเกิดเป็นพรหมยากด้วย

จิตของมนุษย์ผู้ที่ได้ชื่อว่ามนุษย์มีใจสูง ใจของเราดีอยู่แล้ว มันสูงยังไง มันเหมาะที่สุดสำหรับการทำวิปัสสนา ใจของพรหมเหมาะที่จะทำสมถะ ใจของเทวดาเหมาะจะเสพย์สุข เพราะฉะนั้นใจมนุษย์ดีที่สุด ใจมนุษย์เปลี่ยนแปลงทั้งวัน เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวสงสัย เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ เดี๋ยวอิจฉาริษยา เดี๋ยวอาฆาตรพยาบาท เดี๋ยวกังวล เดี๋ยวกลัว เดี๋ยวเครียด เดี๋ยวอยากโน่น เดี๋ยวอยากนี่ ใจมนุษย์นี่ดีวิเศษ เห็นไหม เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเร็ว

เราทำวิปัสสนาก็เพื่อจะเห็นความจริง ว่ากายและใจไม่เที่ยง ทั้งกายทั้งใจเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ ทั้งกายทั้งใจบังคับไม่ได้ ใจของมนุษย์เหมาะมากเลยที่จะเห็นไตรลักษณ์ เพราะใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุดเลย แสดงความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา จิตใจของมนุษย์ดีมากเลย เพราะแสดงทุกขัง แสดงการทนอยู่ไม่ได้ของสภาวะอันใดอันหนึ่ง สบายอยู่สักครู่ก็ไม่สบายแล้ว สุขอยู่สักครู่ก็ไม่สุขแล้ว เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ใจของมนุษย์ สูง ดี วิเศษมากเลย มันทำงานได้เอง เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด โดยที่เราบังคับไม่ได้ ใจของพรหมบังคับได้นะ ใจของพรหมฝึกไปเรื่อยๆ สามารถบังคับได้เป็นกัปป์ๆ ให้นิ่งอยู่ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ใจที่ดีที่วิเศษ เป็นใจที่เห็นอนัตตาอยากที่สุดเลย จะรู้สึกว่ากูเก่งๆ กูบังคับใจได้ ให้นิ่งนานๆ หลายๆปี ให้นิ่งอยู่ ใจของมนุษย์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่เที่ยง แสดงความเที่ยงตลอด แสดงความเป็นทุกข์ตลอด คือ ทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนี่งไม่ได้ ถูกเสียดแทง ใจของมนุษย์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มันเปลี่ยนแปลงได้เองโดยที่เราไม่ได้บังคับมัน สั่งมันไม่ได้ หากเราสั่งจะมีความทุกข์นะ มันไม่เชื่อ ดีนะ ดีตรงมันแสดงการไม่เชื่อให้เราดู จงมีแต่ความสุข ไม่มีหรอก มันไม่เชื่อ ห้ามชั่วนะ จงดีนะ ไม่เชื่อสักอย่าง ความโกรธอย่ามานะ ฉันจะมา ความโลภอย่ามานะ ฉันจะมา ความหลงอย่ามานะ ฉันจะหลงฉันจะเผลอ โกรธแล้วหายไวๆนะ ฉันจะไม่หาย ฉันจะแกล้งแกอยู่อย่างนี้ เห็นไหมใจมนุษย์มันดีอย่างนี้นะ ดีตรงที่มันแสดงการบังคับไม่ได้ให้เราดู

บางคนเริ่มงงแล้ว ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้แล้วดียังไง มันดีตรงที่เราจะหมดความยึดถือในกายในใจนี้ได้ มันจะเห็นเลยว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของวิเศษอีกต่อไปแล้ว มันเป็นของที่เป็นภาระเป็นของที่มีความทุกข์มาก เป็นของที่ไม่คงที่เลย ความวิเศษของจิตใจมนุษย์อยู่ที่ตรงนี้เอง คือ มันแสดงไตรลักษณ์

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
File: 500610A.mp3
Time: นาทีที่ ๓๐ ถึง นาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อัตตวาทุปาทาน

mp3: (for download) อัตตวาทุปาทาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: หลวงพ่อครับ อยากให้หลวงพ่อช่วยอธิบายครับว่า การบังคับ หมายถึงว่ามีตัวตนที่บังคับได้ และก็ตัวตนที่บังคับไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์: ตัวตนไม่มีนะ ไม่มีสักอย่างเดียว ทั้งตัวตนที่บังคับได้ ตัวตนที่บังคับไม่ได้ ตัวตนไม่มี มีแต่ขันธ์

โยม: บางครั้งเราไม่เข้าใจว่า อย่างเช่น บางเรื่องเราเข้าใจว่ามันบังคับไม่ได้ อย่างสมมุติว่าเราสั่งให้มือขยับอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์: อันนี้ เพราะว่ารูปมันเคลื่อนไหวได้เพราะจิตสั่ง การที่จิตสั่งเป็นเหตุอันหนึ่งให้เกิดรูป รูปบางอย่างเกิดจากจิตเรียก ‘จิตตชรูป’ รูปที่เกิดจากจิต เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่ารูปทุกอย่างที่สั่งได้

โยม: ขออีกคำถามครับ ก็คือว่า บางครั้ง ไปดูว่า บางครั้งจิตเป็นผู้รู้ จิตเป็นผู้นึก บางครั้งเป็นผู้จำ ระหว่างที่ดู บางครั้งเราเห็นว่าหลังจากเกิดกิเลสแล้ว ก็จะมี… มองไปดูอีกทีหนึ่งมันมีตัวตน เห็นตัวตนแทรกมาเป็นระยะๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่ๆ

โยม: ครับ คราวนี้บางทีก็เป็นตัวตนใหญ่ ตัวตนเล็ก บางทีก็มองไม่ชัดไม่เห็น บางครั้งก็ตั้งใจเข้าควานๆเพื่อไปหามันว่ามันอยู่ตรงไหน

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าควานอยู่ไม่เห็นหรอกเพราะว่าเราเอาตัวตนเที่ยวหาตัวตน มองไม่เห็น ถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นตัวตนจริงๆไม่มีหรอก จิตเราไปสำคัญว่ามีขึ้นมาเอง เป็นทิฎฐิ เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่มีจริง เหมือนภาพฝัน เหมือนภาพลวงตา

โยม: ตัวนี้เป็นทิฎฐิหรืออุปาทานครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใจมันไปสำคัญผิดว่ามีตัวตน มันอุปาทานในสิ่งต่างๆ แลัวมันก็ยึดในวาทะว่ามีตัวตน เพราะฉะนั้นไม่มีนะ ว่า ความยึดอุปาทานในตัวตน ไม่มี มีแต่คำว่า ‘อัตตวาทุปาทาน’ อัตตะ วาทะ มีวาทะว่ามีตัวตน แล้วไปยึดในวาทะอันนี้ เพราะฉะนั้นตัวตนจริงๆไม่มีให้ยึดหรอก แต่เราไปยึดในความคิดความเห็นว่ามีตัวตน แล้วไปสำคัญมั่นหมาย เอาสภาวธรรมซึ่งเราไปรวบมาแล้ว แล้วไปสำคัญหมายว่าเป็นตัวเป็นตน เรียกว่า ‘สัญญาวิปลาส‘ วิปลาสไป ทั้งๆที่ไม่มี

โยม: คือ มันเป็นสภาวะที่ผุดขึ้นมาเท่านั้นเอง

หลวงพ่อ: ใช่ มันผุดขึ้นมาตามหลังความคิดมา พอเราคิดนะ โดยเฉพาะถ้าคิดแล้วกิเลสเจือนะ จะโผล่ได้เร็วและแรง ถ้าคิดไปในทางเป็นกุศลนะ ก็โผล่เหมือนกันนะ โผล่มานุ่มนวล เบาๆ แหม ฉันเป็นคนดี นี่ฉันทำบุญใส่บาตร ฉันดี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรี่ราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510415B
Time: นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อหลวงพ่อสอนเด็กภาวนา

mp3: (for download) เมื่อหลวงพ่อสอนเด็กภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ โยมอยากให้หลวงพ่อกรุณาลูกของโยมหน่อยเจ้าค่ะ อยากให้หลวงพ่อแนะนำลูกของโยมเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : แล้วลูกเขาอยากจะเรียนหรือเปล่าล่ะ เด็กอายุเท่าไรแล้ว

โยม : อีกคน7 ขวบ กับอีกคน 9 ขวบ เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : 9 ขวบ เป็นอย่างไร เขินน่ะ อย่าไปเข็ญเด็ก อย่าไปบังคับเด็ก ให้เราคอยรู้ทันใจของเราไป เด็กๆยังไม่ต้องคุยกับหลวงพ่อก็ได้ ยังตื่นเต้นอยากกินขนมให้รู้ทัน อยากดูทีวีให้รู้ทัน อยากอ่านการ์ตูนให้รู้ทัน ให้คอยรู้ทันก่อนแล้วค่อยกินค่อยดู เด็กเรียนเร็วกว่าผู้ใหญ่ เราไม่ต้องบังคับให้เขาฟังนะ เพียงเปิดให้เขาได้ยิน เขาจะรู้เร็วกว่าเราอีก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 512345