Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

นิพพานอะไร มีเข้ามีออก

mp3 for download : นิพพานอะไร มีเข้ามีออก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : บางคนก็น้อมจิตไปสู่ความว่างความนิ่ง แต่จิตนิ่งจิตว่าง เป็นจิตพระอรหันต์ พระอรหันต์อย่างนั้นไม่ใช่ของจริง มีเข้าๆออกๆ วันนี้นิ่งได้ สงบได้ อยู่กับความว่างได้ แต่อีกวันก็ถอยออกมาข้างนอกอีก พระอรหันต์ผลุบเข้าผลุบออกไม่ใช่ของจริง

หลวงพ่อก็เคยทำ ฝึกไปจนกระทั่งเหลือแต่รู้อันเดียวเลย เหลือแต่ธาตุรู้อันเดียวเลย ตอนฝึกทีแรกเรามีผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ มีจิตกับอารมณ์ มีสองอันใช่มั้ย ตัวนี้ไหวยุกยิกอยู่ที่หน้าอกนี่ ตัวนี้เป็นคนดูอยู่ เลยสงสัยว่าจะดูตัวไหน ดูตัวนี้?

พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ทุกข์ ตัวนี้ล่ะทุกข์ ตัวรู้ไม่เห็นจะทุกข์เลย ตัวรู้ไม่เห็นจะทุกข์เลย หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต เอ๊..จิตมันเป็นคนรู้ น่าจะดูตัวนี้ สองตัว มีทั้งสองตัวนี้ จะดูตัวไหน สงสัยนะ ก็พยายามสังเกต

ไปดูที่ตัวไหวๆ ไปดูเป็นเดือนไม่ขาด ไม่มีที่สิ้นสุดเลย วัฏฏะหมุนอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ ไปเพ่งใส่ตัวรู้นะ จะเกิดตัวรู้ซ้อนตัวรู้ไปเรื่อยๆ ดูอยู่เป็นปีก็ไม่ใช่อีก หรือว่ารู้ตรงกลาง นี่..มัชฌิมา ไม่เอาตัวรู้ ไม่เอาตัวถูกรู้ มัชฌิมา เวลากำหนดจิตลงไป นั่งดู จิตเคลื่อนไป สติเนี่ยเคลื่อนไป เข้าไปที่ไหวๆกลางหน้าอก เข้าไปดู พอเคลื่อนไปพอจะแตะอารมณ์ที่กลางหน้าอกนะ ถอนขึ้นเลย ทวนเข้าหาตัวรู้ พอเข้ามาใกล้ตัวรู้นะ ไม่จับเอาตัวรู้นะ ทวนออกอีก ทวนเข้าทวนออก มันวูบลงไปตรงกลางเลย ระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นี่ล่ะมั้งทางสายกลาง

นี่เป็นเรื่องของสมาธิทั้งนั้นเลยนะ ทางสายกลางจริงๆเป็นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ทางสายกลางไม่ใช่เรื่องของสมาธิ ความโง่ ความไม่รู้ ความไม่มีครูบาอาจารย์ การห่างครูบาอาจารย์นะ ใช้ลองเอา ลองอย่างนี้ไม่ใช่ ลองอย่างนี้ไม่ใช่ ลอง choice ที่สาม ไม่จับทั้งผู้รู้ ไม่จับทั้งสิ่งที่ถูกรู้เลยนะ จิตรวมลงไปนะ ว่างไปหมดเลย ไม่มีอะไรเหลือเลย ไม่มีความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มันไม่มีอะไรเลย เหลือแต่ธรรมชาติรู้อันเดียวล้วนๆเลย ดูเข้าออก-เข้าออกอยู่อย่างนี้นะ เสร็จแล้วสงสัย หื้อ..มันใช่หรือเปล่าหนอ?

ไปเจอหลวงปู่เทสก์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี – ผู้ถอด) หลวงปู่เทสก์ท่านก็บอกว่า สมาธิอย่างนี้.. ท่านพูดชัดเลยนะ สมาธิ สมาธิอย่างนี้ตอนนี้ไม่มีคนเล่นนะ ไปเล่นให้ชำนาญไว้ ไปหัดเล่นให้ชำนาญ พอได้ยินว่าสมาธิก็รีบกราบเรียนท่านเลย หลวงปู่ มันเป็นสมาธิ ผมกลัวติด ท่านบอกว่าอย่ากลัวติด ไปซ้อมให้ชำนาญ ถ้าติดอาตมาจะแก้ให้ นี่..ท่านพูดอย่างห้าวหาญเลย เพราะท่านเก่งเรื่องสมาธิไม่มีตัวจับเลย ทำไมหลวงปู่เทสก์เก่งเรื่องสมาธิ ท่านติดสมาธิอยู่ตั้งสิบกว่าปี ตัวท่านน่ะ เพราะฉะนั้นท่านชำนิชำนาญมาก ท่านบอกให้เราเล่น หลวงพ่อก็เล่นอยู่อย่างนั้น ครูบาอาจารย์บอกให้เล่นก็ลองเล่นไปเรื่อย

วันหนึ่งไปเชียงใหม่ เจอหลวงปู่บุญจันทร์ (หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง youtube – ผู้ถอด)เข้า ไม่ได้เจอท่านหรอก ไปวัดสันติธรรม ท่านมาพักอยู่ที่นั่นพอดี ท่านให้ลูกศิษย์ของท่านที่ตามท่านมา มาดักอยู่หน้าวัด มาเรียกเราไปหาท่าน เราไม่รู้จักท่านนะ อยู่ๆก็ให้พระมาดักเรียกตัวไปเลย พอไปถึงท่านก็ถามว่าภาวนาอย่างไร พอบอกท่านว่าเนี่ย รวมลงไปตรงกลางเนี่ยนะ อู๊ย..ท่านตวาดเอา เฮ้ย! นิพพานอะไรมีเข้ามีออก ไง!จะภาวนายังไง เรานึกว่าท่านฟังเราไม่รู้เรื่อง สำเนียงมันไม่เหมือนกันนะ เราก็ฟังท่านไม่ค่อยออกนะ ท่านก็ฟังเรา อื้อ.. คงไม่ออกมั้ง เล่าซ้ำอีกที ครั้งที่สองท่านตวาดดังกว่าเก่าอีก เฮ้ย!! นิพพานอะไรมีเข้ามีออก ใจมันทิ้งเลย ไม่เอา เส้นทางนี้ไม่ใช่เส้นทางที่จะนำไปสู่มรรคผลนิพพานหรอก มันเป็นกลางจริงนะ เป็นมัชฌิมาจริงนะ แต่เป็นมัชฌิมาของสมาธิอันเดียวไม่ใช่ศีลสมาธิปัญญา ทางสายกลางนั้นเป็นทางของศีลสมาธิปัญญา ไม่ใช่แค่สมาธิ เราถูกท่านดุนะ

ตั้งแต่วันนั้นมาใจไม่เอาตรงนี้เลย ใจไม่ยอมเข้าไปที่ตรงนี้ รู้สึกว่าถ้าอยู่ตรงนี้เสียเวลา หลวงปู่เทสก์ท่านอยากให้ฝึกให้เล่นให้ชำนาญเท่านั้นเอง ท่านก็ได้บอกอยู่แล้วว่านี่คือสมาธิ ไม่ใช่ทางพ้นหรอก ที่นี้เรากลัวช้า ใจมันไม่เอาแล้ว พอหลุดจากตรงนี้นะ ท่านหัวเราะเลย เสียดัง ฮ่า ฮ่า ฮ่า หัวเราะสะใจ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่า เสียงดังอย่างนี้ ท่านหัวเราะเราก็หัวเราะตามท่านไปด้วย ฮ่าๆ บ้าง นะ ท่านหยุดกึกเลยนะ พอเราหัวเราะท่านหยุดปุ๊บเลย ใจท่านนิ่งว่าง ท่านหยุดเราก็หยุด ใจเราก็เฉยเลย ท่านบอกว่า เออ! ใช้ได้ นี่ท่านลองนะ ท่านลองเราว่า จิตเราไวขนาดไหน ท่านหัวเราะเราก็หัวเราะ ท่านหยุดเราก็หยุดด้วย ท่านบอกใช้ได้ ไป ไปทำต่อเอา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File 550106
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หมูกระดาษ

mp 3 (for download) : หมูกระดาษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สองวันนี้ หลวงพ่อคุยกับพวกที่มาอยู่วัด บอกเคยเห็น “หมูกระดาษ” ไหม? หมูกระดาษใครเคยเห็นไหม? หมูกระดาษตัวแดงๆ ต้องคนโบราณหน่อยนะถึงจะเคยเห็น  ถ้าเดี๋ยวนี้หมูพลาสติก แต่หมูพลาสติกเอามายกเคสนี้ไม่ได้   หมูํกระดาษนี้มันทำด้วยกระดาษ ค่อยๆปะนะทีละแผ่นๆ ค่อยๆปะขึ้นมา มีแม่พิมพ์สองด้าน ปะทีละด้าน เสร็จแล้วก็เอามาเย็บตรงกลาง ทากาว ทาสี สีที่โปรดคือสีแดง หมูพวกนี้ต้องสีแดง หางก็เอาอะไรทำเป็นพู่ๆหน่อย เขียนตา เขียนหู

แต่ละคนนี้เหมือนหมูกระดาษนะ พวกเราเป็นหมูกระดาษคนละตัว แต่ บางตัวก็เป็นหมากระดาษ เราปั้นขึ้นมา ถ้าเรารู้ตัวจริง มันไม่ได้มีจริง เราค่อยๆลอกเปลือกมันออก ลอกสิ่งที่เราปรุงแต่งออกไป ลอกออกไปเป็นชั้นๆ ลอกออกไปเรื่อยๆ  ถึงจุดหนึ่งจะเข้าไปถึงตัวจริงของมัน ตัวจริงของมันไม่มีอะไรเลย มันมาจากความว่างเปล่า แล้วก็สร้างขึ้นมาจนเป็นตัวเป็นตน  แต่ถ้าเมื่อไหร่เราลอกเปลือกตัวเองไปเรื่อย ลอกความปรุงแต่งไปเรื่อย จนถึงสุดท้าย ลอกชั้นในสุดออกไป ภายในมันก็เป็นความว่างๆใช่ไหม อาจจะขังอากาศอยู่ พอเปลือกกระดาษหลุดออกไปแล้ว  อากาศนั้นกระจายรวมเข้ากับอากาศข้างนอกนั่นเอง

ฉะนั้นการภาวนานี้ก็เหมือนกันนะ ถ้าจิตพ้นจากความห่อหุ้มแล้ว จิตไม่มีเปลือกห่อหุ้ม ไม่ได้สร้างภพใดๆมาห่อหุ้มมันแล้ว มันจะกลืนเข้ากับอากาศข้างนอกนั่น จะกลืนเข้ากับโลก ฉะนั้นเราภาวนาจนถึงจุดสุดท้าย จิตกับธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ จะกลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน

หลวงปู่ดูลย์เคยสอนหลวงพ่อ บอกว่า ถ้าวันใดเธอเห็นจิตกับสิ่งที่แวดล้อมอยู่เป็นสิ่งเดียวกันนะ เธอจะแจ่มแจ้งฉับพลันนั้นเลย เราฟังเราก็นึกว่าเป็นวิธีปฏิบัตินะ แต่ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร ก็ดูจิตของเราไปเรื่อย ดูไป จนกระทั่งวันหนึ่ง พอเราไม่ยึดถือจิตซะอย่างเดียว เราสลัดคืนจิต จิตกับโลกนี้กลืนเข้าด้วยกัน เป็นอันเดียวกัน  คนไหนเป็นนักดูจิตคนอื่น ไม่ใช่นักดูจิตตัวเอง  นักดูจิตคนอื่นที่ชำนาญ พอไปเจอท่านที่ภาวนาที่ปล่อยวางจิตแล้ว จะพบว่าจิตของท่านเหล่านี้กลมกลืนเข้ากับโลก กลมกลืนเป็นอันเดียวกันกับโลก แต่อันนี้เขาไม่สามารถเห็นจิตที่พ้นโลกได้ เขาเห็นแต่จิตที่กลมกลืนเข้ากับโลก เหมือนอากาศในหมูกระดาษนี้ที่รวมเข้ากับอากาศ กับโลกข้างนอก เป็นอันเดียวกันนั่นเอง  อันนี้เล่าให้ฟังเล่นๆนะ เพื่อยั่วน้ำลาย

วันหนึ่งถ้าพากเพียรไป ดูกายดูใจของเราไป เราปอกเปลือกของตัวเองออกไปจนล้อนจ้อนไม่มีอะไรเหลือเลย เราจะพบตัวจริง ของเราซึ่งไม่มีอะไรเลย  เพราะฉะนั้น เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย

จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย  เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย  กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ  ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์”  จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ”  พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
File: 501229B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้

mp 3 (for download) : จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คำสอนของพระพุทธเจ้านะให้ประโยชน์ให้ความสุข ทั้งปัจจุบันนะ อนาคต อนาคตพวกเรายังไปไม่ถึง เราดูครูบาอาจารย์ หลวงพ่อแต่ก่อนก็เหมือนพวกเราอย่างนี้แหละ เป็นฆราวาส ทำงานหัวปักหัวปำ แต่ว่าภาวนานะ มีเวลามีโอกาสก็ไปกราบครูบาอาจารย์ผู้เฒ่าทั้งหลาย แต่ละองค์ๆทำไมดูท่านงดงาม ท่านผ่องใส ท่านงดงาม ท่านร่มเย็น เหมือนต้นโพธิ์ต้นไทรนะ พอเข้าใกล้ก็เย็นฉ่ำ

บางองค์พิการ เข้าไปกราบ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ชอบท่านเป็นอัมพาต ลุกไม่ได้ นอนอยู่ คนก็เยอะนะ พระก็เยอะนะ เข้าไปก็มุดๆๆเข้าไป ไปเห็นองค์ท่านนอนอยู่ เขาเอาผ้าคลุมไว้นะ โผล่หน้าออกมา นึกกราบท่าน ขอกราบพระอรหันต์ ท่านลืมตาขึ้นมา พยักหน้า ดูท่านแล้วผ่องใสจังเลย สดใสจังเลย

ยกตัวอย่างเราเห็นคนเฒ่าคนแก่นะ เจ็บไข้ได้ป่วยดูไม่ได้เลยนะ เฉา เข้าใกล้ก็เฉาไปด้วยแล้ว หรืออย่างหลวงปู่สุวัจน์ก็เป็นอัมพาตนั่งอยู่บนรถเข็นไปอยู่ริมน้ำ ท่านก็พูด “โอ้ สุขแท้น้อ สุขแท้น้อ” อะไรอย่างนี้ มีความสุข ไปเจอท่านตอนที่ท่านเป็นอัมพาตแล้วท่านกลับมาจากอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง ครั้งแรกที่เจอหลังจากท่านเป็นอัมพาต ไปที่ใกล้ๆวัดกู้ เขาเรียกว่าอะไรนะ สวนทิพย์ ก็ไปนั่งรอนะ เขาเข็นรถท่านออกมาจากห้อง โห..ดูหลวงปู่ผ่องใสจังเลย เรายังอยู่กว่าตั้งเยอะนะ แข็งแรงด้วย ยังดูมอมแมม

เนี่ย ตอนนี้เรายังมองไม่เห็นนะว่า อนาคตเราจะมีประโยชน์อย่างไร แต่ว่าเราไปเห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านศึกมาโชกโชนแล้วเนี่ย โอ้..งามจริงๆเลย ท่านมีชีวิตอยู่อย่างที่โปร่ง เบา ผ่องใส ร่มเย็น เป็นที่พึ่งของลูกเล็กเด็กแดง นกกาทั้งหลาย มาพึ่งกัน ทำไมมีความสุขได้มากขนาดนั้น ทั้งๆที่แก่ ทั้งๆที่เจ็บ เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้ เรารู้เลย โอ้..ถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆนะ วันหนึ่งเราก็ได้ความสุขอย่างนี้มา แก่ก็สุข เจ็บก็สุข ตายก็สุขนะ

ในตำราชอบพูดถึงพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้า ว่าเวลาที่ท่านจะปรินิพพานท่านจะผ่องใสเป็นพิเศษเลย อันนี้ครูบาอาจารย์ที่ท่านภาวนาดีก็เป็นอย่างนั้นนะ วันที่จะมรณภาพเนี่ย จะผ่องมากเลย งามมากเลย กระทั่งหลวงปู่ดูลย์ งามจนคนรู้สึก โอ้โห..ท่านแข็งแรงอย่างนี้นะ เนี่ย ท่านจะตายท่านก็ตายอย่างมีความสุข ไมได้ตายอย่างทุรนทุราย จมความทุกข์ตายไป

เนี่ยมีประโยชน์นะ มีความสุข ตั้งแต่ปัจจุบันที่เราเริ่มลงมือปฏิบัติ แค่รักษาศีลก็มีความสุข แค่ฝึกจิตให้สงบก็มีความสุข ฝึกจิตให้ตั้งมั่นก็มีความสุข หัดแยกธาตุแยกขันธ์ไปเรื่อย ตรงนี้เห็นทุกข์แล้ว เห็นทุกข์ไปเรื่อย ใจยิ่งโปร่งโล่งเบา มีความสุข ยิ่งเห็นทุกข์ยิ่งมีความสุข พอผ่านวางขันธ์ไปแล้ว โอ้.. ยิ่งมีความสุข สุขมาก กลางวันก็สุข กลางคืนก็สุข หลับอยู่ก็สุข ตื่นอยู่ก็สุข อยู่จนแก่จนเฒ่า แต่ละองค์ๆ ดูมีความสุขมาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๑๕
File: 550817B
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๕ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิมี ๒ ชนิด ความตั้งมั่นมี ๓ ระดับ

mp 3 (for download) : สมาธิมี ๒ ชนิด ความตั้งมั่นมี ๓ ระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จุดที่แตกหักจุดแรกเลย ว่าชาตินี้จะมีโอกาสได้มรรคผลนิพพานหรือไม่ ถ้าจิตมีแต่ความสงบนะ ไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่สามารถเจริญปัญญาได้จริง มรรคผลนิพพานนะเป็นเรื่องฝันเอาเลย ไม่มีทาง อันนี้ครูบาอาจารย์แต่ก่อนก็สอนไว้ แต่คนลืมไป

หลวงปู่เทศก์ท่านสอนสมาธิ ๒ ชนิด หลวงปู่เทศก์สมัยที่ท่านภาวนา ท่านเคยติดสมาธิอยู่สิบกว่าปี สิบสองสิบสามปี ใครก็แก้ให้ท่านไม่ได้ ขนาดท่านอาจารย์สิงห์ก็แก้ให้ท่านไม่ได้ ต้องไปหาหลวงปู่มั่น ตามไปทางเหนือ หลวงปู่มั่นแก้ให้ได้ การที่ท่านติดสมาธิอยู่นาน ทำให้ท่านแตกฉานเรื่องสมาธิมากเลย ท่านสามารถแยกสมาธิออกเป็น ๒ ส่วนได้ สมมติบัญญัติของท่าน ท่านเรียกว่าฌานอันนึง เรียกว่าสมาธิอันนึง

ฌานเนี่ยเป็นการเพ่งอารมณ์ ให้จิตนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นิ่งๆ สมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิต ให้้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา ถ้าตั้งมั่นก็มี ๓ ระดับ ระดับตั้งมั่นชั่วขณะเป็น”ขณิกสมาธิ” ตั้งมั่นยาวหน่อยเป็น”อุปจารสมาธิ” ตั้งมั่นลึกเลยก็ยังตั้งมั่นอยู่ในฌานเป็น”อัปปนาสมาธิ” ท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิตัวสมาธิที่ถูกต้องเนี่ย ท่านแยกเป็น “ขณิกสมาธิ” “อุปจารสมาธิ” “อัปปนาสมาธิ” ส่วนการเพ่งให้จิตหลบในนิ่งๆอยู่ท่านแยก ๓ ส่วน มีอย่างละ ๓ เหมือนกัน

ไม่มีใครสอนนะเรื่องเหล่านี้ แต่ท่านไปยืมศัพท์ของทางอภิธรรมมาใช้ ว่าการเพ่งแบบนึงเนี่ย ท่านเรียกภวังคุบาท จิตรวมลงไปวูบเดียวแล้วก็ถอนขึ้นมาเลย วูบนึงหมดสติไปงั้น วูบลงไปแล้วถอนขึ้นมา อันนึงท่านเรียกภวังคจารณะ มันไหลลงไปแล้วมันไปเคลื่อนๆอยู่ข้างใน สติอ่อนจิตอ่อน มันเคลื่อนอยู่ข้างในจิตไม่ตั้งมั่น ท่านเรียกภวังคจารณะ อีกอันนึงท่านเรียกภวังคุบาท ดับไปเลย อันนี้ท่านไปยืมศัพท์ทางอภิธรรมมาใช้นะ คือเจ้าของศัพท์เค้าจะยอมรับไม่ได้เพราะว่าเค้าแปลไม่ตรงกับท่าน แต่ว่ามันเห็นเลยว่า ความแตกฉานของท่านมีมากในเรื่องสมาธิเนี่ย เก่งจริงๆ

แล้วท่านก็พบว่าจิตก็มี ๒ แบบ จิตอันนึงเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง จิตอันนึงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ท่านก็มีศัพท์เฉพาะ ยืมศัพท์มาใช้อีกแล้ว จิตที่เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ท่านเรียกว่า”จิต” อันนี้เอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้ จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ท่านเรียกว่า”ใจ” ท่านบอกว่าจิตอันใดใจอันนั้น ก็เป็นตัวรู้เหมือนกัน แต่ตัวรู้นึงมันเข้าไปคลุกอารมณ์ ไปหลงอารมณ์ ตัวรู้อันนึงที่เป็นใจ ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทรงสมาธิอยู่

นี่ท่านสอนมาก่อนหลวงพ่อนะ แต่ว่าภาษาท่านคนรุ่นโน้นก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอก เพราะท่านพูดเรื่องนี้ขึ้นมาในท่ามกลางวงกรรมฐาน ซึ่งมีแต่เรื่องพุทโธพิจารณากาย คนก็นึกว่าท่านภาวนาไม่เป็นซะด้วยซ้ำไป ที่จริงท่านก็ภาวนาเก่ง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๗
File: 550317.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใจที่เป็นกลาง ไม่ปฏิเสธสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ

mp 3 (for download) : ใจที่เป็นกลาง ไม่ปฏิเสธสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงพ่อปราโมทย์ : ร้อนมั้ย ร้อน ไม่ร้อน จริงน่ะ ไม่จริงมั้ง มีครูบาอาจารย์หลวงปู่บุดดา น่ารัก อะไรๆท่านพอดีหมดเลย ร้อนก็ร้อนพอดี หนาวก็หนาวพอดี คนทำน้ำปานะไปถวายท่าน เห็นว่าท่านแก่แล้วต้องการวิตามินซีสูง ทำให้เปรี้ยวสุดๆเลย ตัวเองไม่ได้ชิมนะ เอาไปถวายท่าน เหลืออยู่หน่อยนึงนะแอบไปชิม โห เปรี้ยว อีกวันแก้ตัวทำให้หวาน ไปถามท่านว่าเมื่อวานน้ำปานะเปรี้ยวไปมั้ย ท่านบอกเปรี้ยวพอดี ถวายอันใหม่ไปนะท่านก็ฉันตัวเองเอามาชิมทีหลังนะ โห หวานไป ไปถามท่านนะหวานไปปล่าว ท่านบอกหวานพอดี เอากับท่านสิ

ถ้าใจพอดี คือใจไม่ปฏิเสธสิ่งแวดล้อม ใจท่านไม่ปฏิเสธ สิ่งแวดล้อมจะเป็นรูปเป็นเสียงเป็นกลิ่นเป็นรสเป็นโผฏฐัพพะ สิ่งที่มากระทบร่างกายความร้อนความหนาวความอ่อนความแข็ง สิ่งแวดล้อมที่มากระทบนี้ ใจท่านเป็นกลาง

ใจเป็นกลางใจไม่ดิ้นไม่ปรุงแต่ง ถ้าใจไม่ดิ้นใจไม่ปรุงแต่งใจก็ไม่ทุกข์ มันทุกข์ขึ้นมาเพราะใจมันดิ้นรนปรุงแต่ง เกิดจากมันไม่ยอมรับความจริงของสิ่งแวดล้อม สิ่งที่มากระทบทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ยอม เช่นสิ่งที่มากระทบมันไม่ดี อยากให้ดี สิ่งที่มากระทบมันไม่ดี อยากให้หายไป อยากให้หาย อยากให้สิ่งที่ดีๆมากระทบ ถ้าสิ่งดีๆมากระทบแล้วอยากให้อยู่ตลอด ไม่ยอมรับความจริงว่าทุกอย่างมันก็มาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป ทุกอย่างจะมาหรือไม่มาเพราะมันมีเหตุ สิ่งที่มากระทบเรานั้นจะชั่วหรือจะดีนะ มันมีเหตุ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๐
Track: ๒
File: 540501A.mp3
ระหว่างวินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

mp 3 (for download) : ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเราต้องใช้อะไรช่วย ใช้โยนิโสมนสิการช่วย สังเกตตัวเองเอากรรมฐานอะไรที่เหมาะกับเรา อย่างหลวงพ่อสอนสังเกตมั้ยหลวงพ่อไม่ได้สอนบอกว่า กรรมฐานต้องแบบนี้ต้องแบบนี้ นึกออกมั้ย จะสอนหลักให้นะเสร็จแล้วเราต้องไปสังเกตเอาว่าเราใช้กรรมฐานอะไรแล้วเหมาะกับตัวเราเอง ทำแบบไหนจิตเราจะสงบได้สมถะกรรมฐาน หลวงพ่อสอนหลักให้ว่าถ้าจะทำสมถะกรรมฐานนะ ศีลต้องมีนะไม่มีไม่ได้ ต้องมีศีลรองรับไว้ก่อน ต้องรู้จักเลือกอารมณ์ที่ว่าอยู่กับอารมณ์อันนั้นแล้วจิตใจมีความสุข อารมณ์นั้นต้องไม่ยั่วกิเลส นี่อยู่อย่างมีความสุขแต่อยู่กับกิเลสอย่างนั้นใช้ไม่ได้ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์​อันเดียว รู้ไปอย่างสบายๆ เคล็ดลับอยู่ที่สบายๆ

สอนหลัก ส่วนพวกเราก็ต้องไปดูเอาเอง คนนี้ไปดูไฟดูด้วยใจที่สบายๆ ถือศีลไว้ก่อนแล้วก็ไปดูไฟ ดูด้วยใจสบาย ดูแล้วชอบเห็นไฟนี้ชอบ ความจริงคนจำนวนมากชอบดูไฟนะ ยิ่งไฟไหม้นี่ชอบมากเลย พวกนี้ควรจะหัดกสิณไฟไว้นะ ใครเวลาไฟไหม้ชอบไปดูมีมั้ย ในห้องนี้มีมั้ย ยกมือให้หลวงพ่อดูซิ ไม่มีเลยเหรอ แปลก เห็นเวลาไฟไหม้ทีคนแน้นแน่นชอบดูไฟ ดูไฟมันสะบัดนะ ทำกสิณไฟก็ดูเปลวไฟนะมันไหวๆ มันจะเร้าใจสนใจ ถ้าใจชอบนะใจก็จดจ่อมีความสุข บางคนไม่ชอบดูไฟ ไปดูอย่างอื่น อย่างอาจารย์มหาวิบูลย์อยู่แม่สอด แรกๆดูไฟนะเล่นกสิณไฟ ทำกสิณไฟไว้วันนึงนะนั่งไปนั่งไป นั่งหลับตาเนี่ย โหวันนี้กสิณดีจังเลยนะได้กลิ่นไฟไหม้แล้วก็ร้อนขึ้นเรื่อยๆจนเอ่ะใจลืมตานะ ไฟกำลังจะไหม้กุฏิแล้วเทียนมันล้มไปนะ หลัังจากนั้นท่านเปลี่ยนเป็นกสิณน้ำ ท่านเลยเก่งกสิณน้ำ หลวงปู่คำพันธ์ ใครเคยได้ยินชื่อหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย เก่งปฐวีกสิณเก่งกสิณดิน

เห็นมั้ยครูบาอาจารย์แต่ละองค์นะ ลูกศิษย์อาจารย์เดียวกันแล้วนะ ครูบาอาจารย์ลงมาในรายละเอียดการปฏิบัติไม่เหมือนกันหรอก ต้องไปสำรวจตัวเองนะว่ากรรมฐานอะไรแล้วเหมาะกับตัวเอง อยู่แล้วมีความสุข อยู่แล้วรู้สึกตัวมีความสุขอยู่แล้วไม่ยั่วกิเลส ก็อยู่กับอารมณ์อันนั้นแหล่ะ ก็จะได้สมาธิได้สมถะกรรมฐาน นั้นหลวงพ่อจะสอนหลักนะ พวกเราต้องไปดูเอาเองว่าเราใช้กรรมฐานอะไรแล้วเหมาะกับตัวเอง อย่าเที่ยวเชื่อคนง่ายนะและอย่าตามอาจารย์​ หลวงพ่อทำอานาปานสติ ไม่ใช่ทุกคนต้องทำสมถะด้วยอานาปานสติ ไม่ใช่ หลวงพ่อเจริญวิปัสสนาโดยใช้จิตตานุปัสสนา ไม่ใช่ทุกคนต้องทำจิตตานุปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

CD: แสดงธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
File: 540820
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเก่งแค่ไหนจิตก็ต้องเสื่อม (เป็นอกุศล)

Mp3 for download: 451117B_decay

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: มาเล่าบอกกรรมฐานมันเสื่อม  เคาะๆไปแล้วจิตมันเสื่อมไปเนี่ยนะ หาทางแก้มาเป็นปีๆ แก้ไม่ตกหรอก บอกอ๋อ แก้ยังไงก็ไม่ตกหรอก ที่จริงเนี่ยเคาะไปเนี่ยนะ เคาะกระทบๆไป จิตตื่นขึ้นมาละ ต่อมากระทบอยู่อย่างเก่าเนี่ย จิตเสื่อม จิตแสดงธรรมะให้ดูแล้วว่าจิตเป็นของที่บังคับไม่ได้ เจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ว่าเราไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง พอเจริญแล้วเราก็ดีใจใช่มั้ย ทั้งๆที่ทำอย่างเดิมมันเสื่อมได้นี่ เสื่อมคราวนี้ไม่พอใจละ หาทางแก้ไขจะไม่ให้เสื่อม นี่กำลังทำอะไร เหมือนคนที่หาทางจะไม่ตายน่ะ เกิดแล้วจะไม่ตายน่ะ พอมันแก่ลง ตีนกาขึ้น โอ๊ยทำยังไง  ทำอะไรไม่ได้ก็ไปหลอก ดึงเอา แก้จากข้างในไม่ได้แล้วนี่

จิตก็เหมือนกัน มันเจริญได้ก็เสื่อมได้ ถ้าเข้าใจธรรมชาติตรงนี้ปั๊บนะ ไม่ยึดมั่นในความเสื่อม จิตก็ผ่านไปเลย ง่ายนิดเดียว ทีนี้พอมาเสื่อม ตกใจ ตกใจหาทางแก้กรรมฐานใหญ่ ยิ่งแก้ยิ่งไปสิ เพราะยิ่งปรุงแทนที่จะรู้ ก็เลยไม่ตื่นเลย เพราะฉะนั้นนักปฏิบัตินะ ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนนะ จิตก็ต้องเสื่อม

รู้จักหลวงตามหาบัวมั้ย เรอะ เป็นเพื่อนกับท่านเรอะถึงรู้จัก หรือว่าแค่เคยเห็น อ้อเคยเห็นท่าน บอกว่ารู้จัก หึๆ หลวงตานะ ท่านจะเป็นพระอรหันต์หรือไม่เป็นอะไรนี่ก็เรื่องของท่าน ไม่ต้องวิพากษ์วิจารณ์ เดี๋ยวท่านเป็นจะเดือดร้อน ท่านบอกว่าตอนที่ท่านอาจารย์มั่นสิ้นเนี่ย  ท่านไม่มีอาจารย์ละต้องช่วยตัวเอง ท่านก็ไปปฏิบัติอยู่บนดอยธรรมเจดีย์

จิตของท่านเนี่ยเป็นผู้รู้ รู้ตัวอยู่ได้ตลอดเลย ท่านก็พยายามรักษาความรู้สึกตัวนี้้ไว้ รักษาตัวรู้ไว้ รู้ตัวไปเรื่อยไม่ให้เผลอไม่ให้หลงน่ะ จิตใจไม่เศร้าหมองเลย รู้หมด อะไรกิเลสอะไรมา เห็นหมดเลย รู้มาแล้วดับไปหมด ท่านก็พยายามจะรักษาจิตผู้รู้ให้มันอยู่ตลอดไป

วันหนึ่งท่านเริ่มสังเกตว่าจิตผู้รู้มันไม่เที่ยง มันหมองๆได้อีก พยายามทำยังไงมันก็ยังเสื่อมได้ พอรู้ว่ามันเสื่อมได้นะ หาทางแก้ยังไงก็ไม่สำเร็จนะ วันนึงก็เฉลียวใจขึ้นมาว่า โอ้ จิตมันเป็นอนัตตานี่ บังคับมันไม่ได้นี่ พอเห็นว่าจิตเป็นของบังคับไม่ได้ เลิกคิดที่จะบังคับมัน เลิกคิดที่จะให้มันดีตลอด มันจะเป็นยังไงเรื่องของมันต่างหากล่ะ ท่านปล่อยวางจิตนะ ท่านบอกว่า ตอนนั้นท่านหลุดพ้นเลย

เพราะฉะนั้น ความหลุดพ้นเนี่ยไม่ได้เกิดจากการที่เราฝึกจิตของเราให้ดี ดีจนเที่ยง ดีถาวร ไม่ใช่ แต่เกิดจากการที่เราเข้าไปเห็นความจริงของธรรมชาติ ของขันธ์น่ะ ขันธ์ห้าทั้งหมด รวมทั้งจิตด้วย มันอยู่ในวิญญาณขันธ์น่ะ ว่ามันเจริญแล้วเสื่อมๆ พอเห็นความจริงแล้วปล่อยวาง แล้วถึงจะหลุดพ้น ความหลุดพ้นเกิดจากการปล่อยวาง ความหลุดพ้นไม่ได้เกิดจากการทำสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เที่ยง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑

File: 451117B
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

งานทางโลกและงานทางธรรม คือ งานเดียวกัน

mp3 (for download): งานทางโลกและงานทางธรรม คืองานเดียวกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

งานทางโลกและงานทางธรรม คืองานเดียวกัน

งานทางโลกและงานทางธรรม คืองานเดียวกัน

โยม : กราบเรียนถามหลวงพ่อนะครับ คือ สมมุติว่ามี ๒ เส้นทางนะครับ สำหรับการดำเนินชีวิตของเรา เส้นทางแรกคือเส้นทางทางโลกน่ะครับ เป้าหมายก็คือ การงานอาชีพ กับอีกเส้นทางหนึ่งก็คือ เส้นทางทางธรรมนะครับ ซึ่งเป้าหมายก็คือนิพพาน คือทั้งสองเส้นนี้จะมีทางมาบรรจบกันหรือมีทางขนาน..

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันต้องไปด้วยกันนะ ต้องไปด้วยกันนั้นแหละ ไม่ใช่ต้องเลือกหรอก ตอนนี้เรามีฐานะเป็นฆราวาส เราก็ทำงานทำหน้าที่ไป เพื่อเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว ทำตามหน้าที่ของเรา ไม่ทิ้งหน้าที่นะนักปฏิบัติ อย่างเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เลี้ยงครอบครัว อะไรอย่างนี้ ต้องทำตามหน้าที่

ในขณะเดียวกันก็ไม่มีใครห้ามเราถือศีล ไม่มีใครเขาห้ามเราเจริญสมาธิ ไม่มีใครเขาห้ามเรามีสติรู้กายรู้ใจ เจริญปัญญา เราก็ทำควบไปได้ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง.. ตอนนี้เราก็ทำมาหากินไป มีเวลาเราก็ภาวนาไป ทำไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งซึ่งภาระทางโลกเราหมดแล้ว เราอยากจะไปให้เร็วกว่านั้นเราก็ไปภาวนาเอา ไปมุ่งภาระทางธรรมเป็นหลัก แต่ไม่ใช่อยู่ๆก็ทิ้งภาระทางโลกนะ ทิ้งพ่อทิ้งแม่ ไปบวช ไม่ใช่หรอก

โยม : ตัวเวลานี่น่ะครับ ตัวสำคัญ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : หือ.. ถ้าเข้าใจการปฏิบัตินี่นะ จะพบว่าการปฏิบัติธรรมไม่เบียดบังเวลาทำมาหากินนะ คือเราอย่าไปวาดภาพการปฏิบัตินะ เป็นแบบฤๅษีชีไพรอย่างเดียว ต้องนั่งสมาธิเป็นวันๆนะ นั่งไปจนกระทั่งหนวดยาวนะ นกกระจอกมาทำรังได้ อย่างนั้นถึงจะเก่ง ไม่ใช่

เมื่อใดมีสติ เมื่อนั้นมีการปฏิบัติ เมื่อไรขาดสติเมื่อนั้นขาดการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ในทาง โลกนี่นะ สมมุติว่าเรารับเงินอยู่นะ แค่มองเห็นหน้าลูกค้า เราก็เกิดความชอบบ้าง ความไม่ชอบบ้าง ใจเราไม่เท่ากันแล้ว นี่นะให้เรารู้ทัน บางคนจะจ่ายค่าผ่านทางนิดเดียว เอาแบงก์พันมาให้อะไรอย่างนี้นะ เราหงุดหงิดมั้ย หรือปลื้มวันนี้ได้จับแบงก์พัน มันไม่ใช่แบงก์ของเรามันไม่ปลื้มหรอก เนี่ย ให้ดูใจของเรา มันไม่ได้เบียดบังเวลาทำมาหากินของเรานะ

การปฏิบัติธรรมเนี่ย ไม่ได้เบียดบังเวลาทำมาหากิน ยกเว้นการทำมาหากิน การทำงาน ที่ใช้ความคิดเท่านั้น ถ้าไม่ต้องใช้ความคิดมากๆเนี่ย เราเจริญสติรู้กายรู้ใจได้ตลอดเลย ยกตัวอย่างงานแม่บ้านนะ กวาดบ้านไป กวาดบ้านไปด้วยความรู้สึกตัว เนี่ยไม่ได้เบียดบังเวลาปฏิบัติเลยนะ ไม่ได้เบียดบังเวลาทำงานด้วย ทำไปด้วยกันได้

หัดมีสติให้มากไว้ แล้วจะเข้าใจแก่นของการปฏิบัติ ไม่ยากเท่าที่คิดหรอก ไม่ใช่ว่าเราต้องแบ่งเวลานี้เป็นเวลาทำงาน หมดเวลาทำงานแล้วถึงจะเป็นเวลาภาวนา ถ้าเรายังแบ่งชีวิตเราเป็นสองส่วน มรรคผลยังอยู่ห่าง แต่ถ้าเมื่อไรเรารู้เลยว่าชีวิตนี้เรามีแต่งานหลักกับงานรอง ไม่ใช่งานสองอย่างนะ มีงานหลักกับงานรอง

งานหลักของเราแต่ละคนก็คือ เราจะต้องยกระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้นไป ให้พ้นความทุกข์ออกไปเรื่อยๆ นี่งานหลักของชีวิต งานรองคือการทำมาหากินตามหน้าที่ เพื่อจะเลี้ยงชีวิตอยู่กับโลกเท่านั้นเอง อยู่ไปได้ไม่นานใช่มั้ย เดี๋ยว ๖๐ เขาก็ไม่ให้ทำแล้วอะไรอย่างนี้ แต่งานหลักของเรายังมีอยู่

ที่นี้เราไม่ให้งานรองเบียดบังงานหลักของเรานะ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราทำงานทางโลกนี่นะ เราคอยมีสติเอาไว้ กิเลสเกิดเราคอยรู้ไว้ เราได้ปฏิบัติธรรมทั้งวัน หลวงพ่อปฏิบัติตอนทำงานนะ ตอนแรกอยู่สภาความมั่นคง งานหนักนะ คิดหนักทั้งวันเลย วิเคราะห์วิจัยอะไรอย่างนี้นะ หนัก ก็คอยดูเอา นั่งทำงานนะหัวหมุนเลย คิดมาก ไม่สามารถดูจิตได้หรอก เวลาเดินไปห้องน้ำนี่นะ เห็นร่างกายเดินไปห้องน้ำ ดูกายเลย ไปห้องน้ำเสร็จนะ ก็เดินกลับมานะ ใจสบายขึ้นละ ดูจิตที่สบายออกมา ไม่ได้ทิ้งการปฏิบัติเลย จะกินข้าวก็ปฏิบัติ จะอาบน้ำก็ปฏิบัติ จะขึ้นรถก็ปฏิบัติ ทำอะไรๆก็ปฏิบัติ ไม่ได้แยกชีวิตออกเป็นสองส่วนหรอก

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ต้องปฏิบัติ เวลาของชีวิตนี้ทั้งหมดนั้นแหละคือเวลาของการปฏิบัติ งานหลักของเราคือการปฏิบัติธรรม ยกระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้นไป จนพ้นจากความทุกข์ การทำมาหากินนั้นเป็นงานสนับสนุน ทำให้เราพออยู่กับโลกได้ ไม่ใช่สองงานที่เท่าๆกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๓๕ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๔๐ วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฎิบัติธรรมข้ามภพข้ามชาติ ไม่หายไปไหน

mp 3 (for download) : การปฎิบัติธรรมข้ามภพข้ามชาติ ไม่หายไปไหน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การปฎิบัติธรรมข้ามภพข้ามชาติ ไม่หายไปไหน

การปฎิบัติธรรมข้ามภพข้ามชาติ ไม่หายไปไหน

หลวงพ่อปราโมทย์: คำว่าอานาปานสติมันไม่ได้แปลว่ารู้ลมหายใจอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก อานาปานสติถ้าจะแปลให้ถูกนะคือมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก แต่ก่อนยังไม่เข้าใจตัวนี้ ก็เข้าใจว่าให้เรารู้ลมหายใจ อย่าให้เผลอไปที่อื่น เพราะงั้นเวลามาภาวนาอยู่บ้าน ยังเด็กเล็กๆ 7 ขวบ นั่งหายใจอยู่บ้าน หายใจอยู่วันสองวันเท่านั้น จิตก็รวมละ เพราะเด็กๆเนี่ยมันซื่อๆ มันภาวนา ครูบาอาจารย์ให้ทำก็ทำลูกเดียวเลย ไม่ได้คิดนะว่าทำแล้วจะได้อะไร จิตรวมลงไปก็ออกไปเที่ยวข้างนอกได้นะ อยากรู้อยากเห็นนะ ก็เที่ยวๆไป เที่ยวไปหลายวันนะ

วันนึงเกิดเฉลียวใจ เนี่ยของเก่าเราเคยสร้างมา เวลามันเดินผิดทางนะ มันจะมาเตือนเรา มันจะมาเตือนเรา รู้สึกว่าเอ๊ เราออกไปเห็นเทวดา เราก็ไม่ใช่เทวดา เราจะไปอยู่กับเทวดา เขาก็ไม่่ให้อยู่นะ เนี่ย เพราะงั้นมันจะมีประโยชน์อะไร เราไปดูสมบัติชาวบ้าน อย่างเนี้ยแล้วใจเคลิ้มๆออกไป เที่ยวรู้เที่ยวเห็น ถ้าเกิดไปเจอผีละจะทำยังไง เป็นคนกลัวผีนะ หลวงพ่อนะกลัวผีสุดๆ เลย ขนาดแมวที่บ้านตายนะ กลางคืนไม่กล้านอนหลับ กลัวผีแมวมาเข้าฝัน ผีลูกแมวด้วย ไม่ใช่ผีแมวตัวโตนะ กลัว ยังนึกเอ๊ ยังคิดว่าถ้าเราส่งออกนอกเราไปเจอผีจะทำยังไง สู้มันไม่ได้นะ กลัว ต่อไปนี้จะต้องไม่ให้เคลิ้ม เพราะฉะนั้นนั่งรู้ลมหายใจแล้วไม่ให้เคลิ้มนะ

เนี่ยเริ่มเปลี่ยนการหายใจละ หายใจไปก็เห็นไอ้ตัวนี้มันหายใจไปด้วย ได้แต่ความสงบอย่างเดียว ไม่ออกเที่ยวข้างนอกเท่านั้นแหละ หลวงพ่อทำอานาปานสติเพื่อความสงบมา 22 ปี ไม่ขาดเลยนะ มันมีอุปนิสัยที่จะปฏิบัติ นี่ครูบาอาจารย์ไม่ต้องมาเตือนไม่ต้องมาเร่งรัด ภาวนา ทุกวันหายใจเข้าหายใจออก นับพุทโธไป เข้าพุทออกโธนับหนึ่ง เข้าพุทออกโธนับสอง นับไปเรื่อยๆ ท่านพ่อลีให้นับถึงสิบแล้วลงมาเก้าใหม่ ลงมาแปดอะไรอย่างนี้ หลวงพ่อรู้สึกว่านับแค่สิบมันน้อยไป จิตมันรำคาญ ไม่ชอบ นับมันถึงร้อยเลย เราก็ปรับให้เข้ากับจริตนิสัยของเรา จิตใจก็ได้แต่ความสงบ

ทีนี้อยู่มาเรื่อยๆวันนึงสิบขวบ กำลังนั่งเล่นลูกหินอยู่หน้าบ้าน บ้านเป็นตึกแถว เล่นลูกหินอยู่นะ ไฟไหม้ข้างๆบ้านห่างไปสี่ห้าห้อง พอเห็นไฟไหม้ ตกใจ ตกใจเนี่ยนะรีบกระโดดคว้าลูกหินไว้ก่อน ของของเราเราไม่ทิ้งนะ เห็นมั้ยไม่ขาดสติถึงวิ่งทิ้งของ เรียกว่างกนั่นแหละ คว้าลูกหินมาได้ก็วิ่งเลย จะไปบอกพ่อ วิ่งเข้าบ้าน วิ่งไปฉับๆๆ สามก้าวเท่านั้น สติเกิดขึ้นอัตโนมัติเลย มันย้อนกลับมาเห็นความตกใจ เห็นความกลัวโดยอัตโนมัติ เรื่องนี้เคยไปเล่าถวายหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธท่านก็บอกว่าของเคยทำมาแต่ชาติก่อนๆ ในเวลาที่เรากระทบอารมณ์ที่รุนแรงมันจะกลับมาเอง สติเนี่ยมันจะกลับมาเอง

มีพระองค์นึงท่านมาเรียนกับหลวงพ่อ ท่านเรียนอยู่หกเดือนนะเข้าใจธรรมะ องค์นี้ท่านก็เล่าให้ฟัง พอท่านเข้าใจธรรมะแล้วท่านก็เล่าให้ฟังว่า พอเข้าใจขึ้นมาแล้ว จำได้เลยว่านี่ของเก่า ความรู้สึกตัวอย่างนี้ ความมีสติอย่างนี้ เป็นของซึ่งเคยมีมาแล้วในอดีต ตอนท่านเด็กๆเป็นวัยรุ่นโตกว่าหลวงพ่อนะ หลวงพ่อสิบขวบเห็นไฟไหม้ ท่านเป็นวัยรุ่นไปเที่ยวลอยกระทง เดินเพลินๆอยู่ เขาจุดพลุเปรี้ยงขึ้นมาข้างๆ ตกใจ สะดุ้งสุดตัวเลย เห็นจิตที่ตกใจ ความตกใจก็ขาดสะบั้นลงตรงนั้นเลย  เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมาแทน เนี่ยสภาวะอย่างเนี้ย สังเกตมั้ยว่ามันจะเป็นสภาวะที่เจือด้วยโทสะ ความกลัว ความตกใจอะไรเนี่ย หรือถ้าโกรธแรงๆนะ ตระกูลโทสะเนี่ยมันดูง่าย

งั้นอย่างเวลาเราฝึกปฏิบัติไว้ ชาตินี้ยังไม่ได้ ชาติหน้าข้ามภพข้ามชาติไปนะ เวลาเราไปกระทบอารมณ์ที่รุนแรงสติจะเกิดขึ้นเอง เพราะงั้นไม่หายไปนะ ไม่ใช่เหมือนเรียนปรัยัติ เรียนปริยัติแล้วพอแก่ก็ลืมละ หรือพอสอบเสร็จก็ลืมหมดละ แต่เรียนปฏิบัติเนี่ย ฝังเข้าถึงจิตถึงใจ ไม่ลืม นี่ ตอนสิบขวบนะ มันมาดูจิตได้ แต่ว่าลืมไปอีก ไม่เข้าใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ไม่มีครูบาอาจารย์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๒
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

mp 3 (for download) : วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ  จิตไม่ตั้งมั่น

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อก่อนที่หลวงพ่อเคยไปเรียนจากหลวงปู่เทสก์ ท่านสอนบอกว่า เวลาเกิดวิปัสนู*เนี่ย เกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้เรายังไม่ get นะ เวลามันเกิดขึ้นมาจริงๆถึงได้ค่อยๆมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่างความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ในความสบาย ความเย็น ความโล่ง ความว่าง หลงไปสารพัดรูปแบบเลย จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไรจิตตั้งมั่น มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห็นมาด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

เสร็จแล้ว เพิ่งมาเจอพระสูตรนี้ ที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย วิปัสนูเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไหลออกไป จิตไม่ถึงฐานนั่นแหละ ที่หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน

เพราะฉะนั้นเวลาพวกเราภาวนานะ ค่อยๆสังเกต เราดูจิตดูใจ หรือว่าดูกาย ก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไรเนี่ย เกิดวิปัสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสนู ดูกายไม่มีวิปัสนู เข้าใจผิด หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี

ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ แต่เพิ่งเริ่ม เพิ่งเริ่มวิปัสสนาได้ไม่นานนะ ยังไม่ชำนิชำนาญพอเนี่ย สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานเนี่ย มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับแล้วถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไป วับไป มันโล่ง มันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็เลยไปค้างอยู่ตรงนี้เลย คิดว่านิพพาน เอาละเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนามาถึงตรงนี้แล้วคิดว่าเป็นพระอรหันต์นั้นมีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้ว บางคนก็แก้ไม่ได้เพราะไม่ยอมมาเจอเราเลย

มีบางคนไม่ได้มาเจอนะ หลวงพ่อบอกว่าไม่ถูกหรอก โมโหไปเลยนะหายไป หายไปนานๆกลับมาใหม่ บอกว่าสติแตกมาแล้ว ไม่ใช่แล้ว รู้แล้วว่าไม่ใช่ ก็บอกไปว่าใช่ มันไม่ใช่หรอก เพราะจิตไม่ถึงฐาน จิตมันไปอยู่นอกๆ

ทีนี้คนที่ไปเจอวิปัสนูว่างๆ ก็จะเกิดความสำคัญผิดว่าบรรลุพระอรหันต์ แล้วจะคิดว่า โอ้..เอาใจไปอยู่ในความว่างนี้แหละ คืออยู่กับนิพพาน อยู่กับสุญญตา นี่เป็นทางลัด ไม่ต้องมามีสติรู้กายรู้ใจก็ได้ ไปดูความว่างเอาไว้ นี่พวกนี้เป็นวิปัสนูนะ

ถ้าไปดูความว่างอยู่เนี่ย มันเดินปัญญาต่อไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่นะว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะหลุดออกมาเลยนะ

*หมายเหตุ ‘วิปัสนู’ เป็นการเรียก วิปัสนูปกิเลส อย่างย่อๆ ซึ่งมาจากคำว่า วิปัสสนา กับคำว่า อุปกิเลส แปลว่า กิเลสละเอียดที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๐
File: 520621.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

โยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยภายในที่สำคัญ

mp 3 (for download) : โยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยภายในที่สำคัญ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ

หลวงพ่อปราโมทย์: มีอยู่ช่วงหนึ่ง ตอนนั้น หลวงปู่ดูลย์ไม่อยู่ หลวงปู่เทสก์ย้ายไปอยู่ถ้ำขาม หาครูบาอาจารย์ที่คุ้นเคยไม่เจอนะ สงสัยว่าเราภาวนา เราเห็นสภาวะเกิดดับอยู่ทั้งวันเลย เห็นอยู่ตรงนี้นะ ครูบาอาจารย์ทุกๆองค์บอกว่าไม่มีทางเดินมากกว่านี้แล้ว เมื่อจิตเราสามารถมีสติ รู้สภาวธรรมที่ปรากฏตรงตามความเป็นจริง ลงเป็นปัจจุบัน ไม่มีอะไรที่จะต้องทำมากกว่านี้ แต่สงสัยว่าทำไมมันค้างอยู่ตรงนี้เป็นปีๆ ไม่เห็นมีพัฒนาการอะไรให้ชื่นอกชื่นใจเลย ก็แค่มีสติ รู้ๆ รู้อยู่ทุกวันนะ รู้อยู่อย่างนั้นน่ะ

สงสัยมากๆเข้านะ วันหนึ่งไปหาอาจารย์มหาบัว ที่บ้านตาด ตอนนั้นคนไม่มากขนาดนี้หรอก ท่านยังอยู่ที่ข้างบน ศาลาของท่านเป็นไม้นะ นั่งข้างบน คลานเข้าไปข้างหลังท่านนะ ไปบอกท่าน ขอโอกาสครับ ท่านหันมามอง แว้บ.. ท่านบอกว่า “เดี๋ยวเรายังไม่ว่าง นั่งรอไปก่อน” ก็รอท่านพูดกับพระ พูดอะไรนะ เสร็จแล้วท่านก็ฉันข้าวจนเสร็จ ท่านก็หันมา คราวนี้

“ว่ายังไง ว่าไป” ก็บอกว่า นี่ผมดูจิตอยู่นะ ดูอยู่ทุกวันๆเลย ทำไมมันไม่ผ่านตรงนี้เสียที เหมือนๆเดิมมาเป็นปีๆแล้ว เห็นแต่เกิดดับอยู่อย่างนี้แหละ ไม่เห็นมีอะไรให้ชื่นอกชื่นใจขึ้นมาเลย ท่านบอกว่า ที่ดูจิตอยู่นั้นน่ะ ดูไม่ถึงจิตที่แท้จริงหรอก ต้องเชื่อเรานะ เราผ่านตรงนี้มาได้ด้วยตัวของเราเอง อะไรๆก็สู้บริกรรมไม่ได้หรอก เราก็กราบท่านนะ ท่านพูดแค่นี้ มาพิจารณา เอ.. ท่านให้บริกรรม เราลองกลับมาบริกรรมใหม่ ตอนนั้นหลวงพ่อทิ้งสมถะไปนาน เจริญวิปัสสนาจนลืมสมถะไป มาพุทโธ พุทโธ นะ พุทโธ สองสามคำนะ รู้สึก โห.. ความทุกข์มันท่วมขึ้นมานะ จิตใจนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ กระสับกระส่าย วุ่นวายไปหมดเลย จิตมันไม่เอาพุทโธ จิตมันรู้สึกว่า การบริกรรมนี้เป็นการสร้างภาระ เอ๊..จิตไม่ยอมเอาพุทโธ เนี่ยแต่ละคนไม่เหมือนกันนะ ไม่ใช่ครูบาอาจารย์บอก ก็ต้องซื่อบื้ออย่างนั้นนะ เราก็มาสังเกตว่าทำไมท่านบอก ให้เรามาบริกรรม สังเกตไป สังเกตไป จิตเราไม่ตั้งมั่นนั่นเอง

เวลาเราไปรู้สภาวะนะ มันรู้ไปอยู่นอกๆโน่น ไปอยู่ข้างนอกอย่างนี้ ไปดูอย่างนี้ ก่อนที่มันจะไปอยู่นอกๆน่ะนะ ไปเจอหลวงปู่สิม หลวงปู่สิมท่านบอกว่า “เข้าไปข้างในมากไป ออกมาอยู่้นอกๆนี่” ก็เลยมาอยู่ข้างนอกนะ ตอนที่จะเข้าไปข้างในน่ะ ไปเรียนกับหลวงปู่ดุลย์ “อย่าส่งจิตออกนอก” เราก็ส่งเข้าข้างใน ส่งเข้าข้างในนะ หลวงปู่สิมบอก เอ๊..ออกมาอยู่นอกๆนี่ เราก็ออกไปอยู่ข้างนอก นอกมากไปอีกละ อาจารย์มหาบัวบอกให้บริกรรมเข้าไป ให้มันถึงฐาน หลวงปู่เทสก์ท่านก็บอกให้เป็นกลางไว้

จริงๆไม่ใช่ครูบาอาจารย์แต่ละองค์สอนผิดนะ เรามันโง่เอง คือท่านบอกสภาวะที่เรากำลังติดตอนนั้นให้ เราไปทำตามที่ท่านบอกมันก็พ้นแล้ว เรายังทำเว่อร์ไปเรื่อย ทำไม่เลิกนั่นแหละ ท่านบอกเข้าข้างในมากไป เราก็ออกข้างนอก ออกไปเรื่อยๆไม่รู้จักเลิก เราก็ทำผิดเองแหละ เพราะฉะนั้นบางที ถ้าไม่มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเองไม่ออก ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตร อาศัยครูบาอาจารย์บอกให้ แต่อาศัยครูบาอาจารย์อย่างเดียวไม่พอ ครูบาอาจารย์เป็นแค่ปัจจัยภายนอกนะ โยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยภายใน สองอันนี้สำคัญมากเลย ถ้ามีทั้งสองอย่างได้ก็ดีที่สุด ถ้ามีอย่างเดียว มีโยนิโสมนสิการเถิด สำคัญ ลำพังครูบาอาจารย์บอก ก็พร้อมหลงผิดได้เรื่อยๆแหละ สำคัญมากนะ โยนิโสมนสิการ ช่วยตัวเอง ด้วยการสังเกต ใช้การสังเกตเอา จิตใจของเราไปติดไปข้องอะไร ไปค้างไปคาอะไรอยู่ ให้รู้ทันไปเรื่อย


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
Track: ๘
File: 510309.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

mp3 for download: ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: สมาธิก็จะเกิดขึ้นถ้ามีสติที่แท้จริง ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ มิจฉาสติเช่น รู้ท้องพองยุบก็เพ่งอยู่ที่ท้องใจนิ่งๆทื่อๆนะ หรือเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้าไปเรื่อยๆ ใจนิ่งๆทื่อๆ เพ่งไปเรื่อยในที่สุดเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอยตัวเบาตัวโคลงตัวใหญ่ นะ มีหลายแบบ เกิดขนลุกซู่ซ่า เกิดรู้สึกเหมือนฟ้าแล่บวูบๆวาบๆอะไรอย่างนี้ พวกนั้นยังไม่ใช่ตัวสัมมาสมาธิ

หรือบางคนภาวนาแล้วขาดสตินะ เคลิ้ม..ลืมเนื้อลืมตัว ชอบกันมากนะนั่งสมาธิแล้วเคลิ้มเนี่ย สมัยก่อนหลวงพ่ออยู่ตามวัดป่า กลางค่ำกลางคืนบางทีเขาไปภาวนารวมกัน นั่งรวมกันเยอะๆเปิดเทปครูบาอาจารย์ไปด้วย เพราะครูบาอาจารย์แก่แล้วเทศน์ไม่ไหว ครูบาอาจารย์บางองค์เสียงท่านนุ่มนวลมากนะ อย่างหลวงปู่เทสก์นะ

หลวงปู่เทสก์ หลวงพ่อไปอยู่กับท่านบ่อยๆแต่ก่อน กลางค่ำกลางคืนคนภาวนา เปิดเทปท่านไปนะแล้วก็สบาย . . . . หลวงพ่อก็ทำเป็นนะ ไม่ยากหรอก เคลิ้มไปนะ พอหมดชั่วโมง สมัยก่อนมันเป็นเทปนี่ พอครึ่งชั่วโมงมันดีดแป๊ก.. อ้า..ตื่น เดี๋ยวเปิดอีกหน้าหนึ่ง.. แป๊ก.. อ้า.. ตื่น แผ่นส่วนกุศลได้แล้วหมดเวลาละ.. ฝึกอะไร? ฝึกโมหะ ฝึกอะไร? ฝึกโลภะ ไม่ได้ฝึกสติ อย่างนั้นใช้ไม่ได้เลย

หลวงพ่อไปเห็นเขาภาวนานะ ใจเราก็นึก โอ้.. นี่ไม่ได้ภาวนา นี่ขาดสติ ไม่ได้ภาวนา พอตอนเช้า ตามพวกคุณป้านะเข้าไปถวายดอกไม้ท่าน หลวงปู่ก็หันมามองหน้าเรายิ้มๆนะ “วัดนี้เขาไม่ได้ภาวนากันแล้วล่ะ” อูย.. ใจเรานี้แวบ.. แป้วเลย แหมนินทาอยู่ที่โบสถ์นะ นินทาในใจอยู่ในโบสถ์นะ เช้าโดนท่านเฉาะเข้าให้แล้ว ท่านก็พูดยิ้มๆนะ กับโยมท่านใจดี ส่วนมากครูบาอาจารย์จะใจดีกับโยมนะ จะดุกับพระ เหมือนกันแทบทั้งนั้นเลย

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510427A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๘ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พอไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมจะพ้นจากความเสื่อม

mp3 for download: ไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมจะพ้นจากความเสื่อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กว่าจะเข้าใจว่าการปฏิบัติจริงๆนะคือการรู้ ไม่ใช่การทำ ใช้เวลา… ใช้เวลา…ค่อยๆเรียนไป จนภาวนาเป็นแล้วนะ บางครั้งก็ยังหลงไปทำอีก มันจะอดไม่ได้หรอกนะ..อดไม่ได้ จนมาบวชอยู่สวนโพธิ์พรรษาแรกเนี่ย ยังทำอยู่เลย มันอดไม่ได้ มันกลัวไม่ดี ทำไมมันกลัวไม่ดี มันรักตัวเอง เราไม่เห็นน่ะ เบื้องหลังมันคือมันรักตัวเอง เราก็รู้อยู่อย่างเดียวว่างานเราไม่เสร็จ…งานเราไม่เสร็จ ทำไปเรื่อยนะ หาทาง เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์…เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์

วันนึงไปเห็นเข้า เราทำอะไรไม่ได้ มันเจริญแล้วก็เสื่อม มันเจริญแล้วก็เสื่อมอยู่ เอ้าช่างมันเถอะ มันได้แค่นี้ก็แค่นี้เนาะ ไม่ดิ้นเลย ไม่ดิ้นต่อละ ใจจะหมองๆรู้ว่าหมอง ไม่ดิ้นต่อว่าทำยังไงจะหายอีกละ พอเราไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมนะ เราจะพ้นจากความเสื่อม จำไว้นะ

ถ้าเรายังหวั่นไหวกับความเจริญและความเสื่อม ความเจริญและความเสื่อมก็จะเวียนมาให้ดูเรื่อยๆ ถ้าเราหมดความหวั่นไหวต่อความเจริญและความเสื่อม เข้าถึงความเป็นกลางที่แท้จริงเนี่ย คำว่าเสื่อมจะไม่มีอีกละ ค่อยหัดไปนะ หัดไป

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๑
File: 500708A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เบื้องต้นหากสติ สมาธิ ปัญญายังไม่อัตโนมัติ ต้องอดทน ต้องฝึกซ้อม

mp3 : (for download) : สติ สมาธิ ปัญญายังไม่อัตโนมัติ ต้องอดทน ต้องฝึกซ้อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องสู้นะ ต้องสู้ ต้องอดทนน่ะ อยู่ๆมันจะได้ง่ายๆ ไม่ได้หรอก จริงๆที่หลวงพ่อบอกว่าการปฏิบัติมันง่ายๆ ครูบาอาจารย์ท่านก็บอกนะ หลายองค์เวลาไปอยู่ด้วยท่านก็ปรารภขึ้นมา โอ้..การภาวนาง่ายนะ ปราโมทย์ ง่ายนะ เสร็จแล้วจะเงียบๆไปพักหนึ่งแล้วจะพูดต่อ แต่มันก็ยากเหมือนกันน่ะ

มันง่ายนะ ถ้าเราตื่นขึ้นมาแล้ว ใจเราตื่นแล้วเราดูกายทำงานดูใจทำงาน เราไม่ต้องทำอะไร  เราทำตัวเป็นคนดู มันไม่ยากเพราะเราไม่ต้องทำอะไรดูอย่างที่มันเป็น แต่ว่ามันยากมากเลยกว่าที่เราจะตื่นขึ้นมา ในโลกนะมันมีแต่คนหลงคนหลับ ยากเหลือเกินที่คนๆหนึ่งจะตื่นขึ้นมาได้ แต่ไม่ยากนะที่คนที่ตื่นขึ้นมาแล้ว คอยรู้กายรู้ใจเนืองๆ จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ เพราะฉะนั้นที่ครูบาอาจารย์บางองค์ว่ายากๆ ยากเพราะว่ามันไม่ตื่น บางองค์ท่านก็ว่ามันง่ายนะ ง่ายเพราะอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรเลย

พอสติ สมาธิ ปัญญา มันอัตโนมัติขึ้นมานะ สติมันก็รู้กายรู้ใจเองนะ สมาธิก็ตั้งมั่นโดยไม่ต้องรักษา ปัญญาก็หยั่งรู้ความจริงของกายของใจ ทำงานของมันเอง ไม่เห็นมีอะไรยากเลย แต่ก่อนที่สติจะอัตโนมัติ ก่อนที่สมาธิจะอัตโนมัติ ก่อนที่ปัญญาจะอัตโนมัติ ตรงนี้ยากสุดๆเลย ตรงที่ใจเราตื่นขึ้นมาเนี่ยเราได้สมาธินะ แล้วก็มีสติรู้กายรู้ใจเขาทำงานไปเรื่อยในที่สุดปัญญามันจะเกิด

แรกๆสติก็ไม่อัตโนมัติหรอก ต้องฝึกต้องซ้อม วิธีฝึกวิธีซ้อมก็หัดดูสภาวะเรื่อยไปนะ ความโลภเกิดขึ้นก็รู้ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความดีใจเสียใจ ความสุขความทุกข์อะไรเกิดขึ้นในจิตใจก็คอยรู้ไป ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในร่างกายก็คอยรู้นะ ร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า ร่างกายยืนเดินนั่งนอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด นะ ทั้งกายทั้งใจทำงานนะ คอยมีสติตามดูมันเรื่อยๆไป

ดูมากๆนะ ต่อไปจิตจะจำสภาวะได้แม่น พอจิตจำสภาวะได้แม่น สติจะเกิดเอง ไม่ได้เจตนาให้เกิด อย่างเราหัดเบื้องต้นนะ เราต้องจงใจไว้ก่อนนะ ค่อยๆสังเกตไป จิตใจเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ แรกๆก็ดู วันนี้กับเมื่อวานไม่เหมือนกัน แต่ละวันจิตใจไม่เคยเหมือนกันเลย หัดดูอย่างนี้ พอดูแต่ละวันไม่เหมือนกันได้ก็ดูให้ละเอียดขึ้น ในวันเดียวกันเนี่ย เช้า สาย บ่าย เย็น ก็ไม่เหมือนกัน ดูอย่างนี้นะ ในที่สุดต่อไปก็จะเห็นว่า ในแต่ละขณะ แต่ละขณะ ก็ไม่เหมือนกัน ดูมันจะละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น

ดูไปเรื่อยๆเราจะเห็นเลย มีแต่ความเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ถ้าดูจนชำนิชำนาญนะ ต่อไปไม่เจตนาจะดู พอมีอะไรเกิดขึ้นในกายเกิดขึ้นในใจ สติระลึกได้เอง เนี่ยต้องฝึกจนสติระลึกเองนะ

อย่างหลวงพ่อไปหัดจากหลวงปู่ดูลย์มา ท่านสอนให้ดูจิต มาหัดดูเรื่อย มันสุขก็รู้ มันทุกข์ก็รู้ มันโลภ มันโกรธ มันหลงนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นก็รู้ มันดับไปก็รู้ เนี่ยหัดรู้ไปเรื่อย ต่อมาไม่ได้เจตนาจะรู้นะ มันรู้เอง วันที่มันรู้เองนะวันนั้นพายุใหญ่มา ๒๓ กันยายน ๒๕๒๕ มีพายุเข้ามา กางร่มออกจากที่ทำงาน พายุมันตีร่มเนี่ยพับขึ้นไป ในที่สุดเราเลยต้องเก็บร่มนะ เดี๋ยวร่มเราหักอีกอันหนึ่งแย่เลย เก็บร่มไปแล้วเดินตากฝนไป เข้าไปที่วัด วัดโสมฯนี่แหละ ใกล้ๆที่ทำงาน เข้าไปในกุฏิเก่าของท่านเจ้าคุณ สมเด็จพระวันรัตน์ พระวันรัตน์(ทับ) เจ้าอาวาสองค์แรกเลยเป็นกุฏิกรรมฐานของท่าน อยู่ข้างโบสถ์ เดี๋ยวนี้ท่านรื้อไปแล้ว ไปนั่งกอดเข่าอยู่นั่น นั่งกอดเข่า แล้วใจมันกังวลขึ้นมาว่าเปียกฝนเนี่ยนะคงจะเป็นหวัด ทีนี้เราเคยหัดรู้สภาวะจนชินนะ พอใจกังวลปุ๊บนี่นะ สติมันระลึกโดยไม่เจตนาจะระลึก มันรู้ของมันเอง ใจมันระลึกได้เอง

หรืออย่างสมาธิเราก็ต้องฝึก สติเนี่ยเราหัดดูสภาวะไปเรื่อย โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ หัดรู้ไปเรื่อย ถึงจุดหนึ่งพอสภาวะเกิดแล้วสติรู้เองโดยไม่ต้องเจตนาจะรู้ แต่ก่อนจะรู้ได้เองก็ต้องซ้อมนะ ต้องฝึก ไม่ใช่อยู่ก็เอาละ หลวงพ่อปราโมทย์บอกไม่ต้องทำอะไรงั้นก็นอนมันทั้งวัน ไม่ได้กินหรอกนะ ต้องฝึก หัดดูสภาวะไปจนสติเกิด

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530423.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

mp 3 (for download) : ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง

จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง

ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501020A.mp3
Time: 25.10 – 32.06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อไม่เคยเถลไถลจนลืมการปฏิบัติ

mp3 (for download) : หลวงพ่อปฎิบัติอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราส่งการบ้านนะ ไปหาอย่างหลวงปู่เทสก์นี่ ส่งการบ้านท่าน ออกจากท่านมานะ บทสนทนาธรรมหมดแล้ว ออกมา มีพระตามออกมานะ พระเคยมาถามหลายองค์เลย หลายครั้งด้วย ”โยมทำได้ยังไง พระทำสิบปียี่สิบปีไม่ได้เท่าโยม” (หลวงพ่อปราโมทย์) บอก “ผมทำทั้งวันนะ” ทำตั้งแต่ตื่นจนหลับนะ มีบ้างน่ะ เถลไถล ไปเที่ยวไปเล่น มีบ้าง ไม่ไช่ว่าซีเรียส ปฏิบัติตลอดเวลา แต่ไม่เคยไปเถลไถลจนกระทั่งลืมการปฏิบัติเลย ตามรู้กายตามรู้ใจของเราไปเรื่อยๆนะ

CDสวนสันติธรรมแผ่นที่ ๓๑

ไฟล์ 520718

เวลา 11min35-12min16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

mp 3 (for download) : ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจมันจะปรุงแต่งเนี่ย ถ้าเมื่อไรเรารู้ทันการปรุงแต่งของเขาแล้ว มันจะหยุดไปเลย ขาดไป  งั้นอย่างหลวงพ่อจะบอกเรื่อยๆเลยว่า ตอนที่เราตื่นนอนใหม่ๆเนี่ย ตอนนี้เป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ ตื่นนอนแล้ว ตื่นปุ๊บเนี่ย คนทั่วไปชอบซึมๆ ต่อไปอีกช่วงนึง แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติจริงๆ ตอนตื่นนอนแล้วให้ีรีบรู้ทันเลย ให้รีบสังเกต จิตมันจะทำงาน

เวลาที่เราเข้าไปติดในสภาวะอะไรที่เราดูไม่ออก อย่างเราติดทั้งวันเลยนะ ติดอยู่อย่างนั้นน่ะ ตอนตื่นนอนให้รีบรู้เลย มันจะเห็นเลย มันไหลกระดึ๊บๆ เข้าไปช่องเดิมนั่นแหล่ะ พอเรารู้ทันว่ามันจะเข้าทางนี้นะ ต่อไปมันจะไม่เข้า ไม่เข้าเองละ อย่างใจเรา มันจะไหลเข้าไปถูกโมหะครอบ มันจะไหลเข้าไป  ถ้ารู้ทัน มันก็จะไม่เข้า  งั้นตรงตื่นนอนปุ๊บเีนี่ยนะ เป็นนาทีทองเลย คอยรู้สึกเอา

หลวงพ่อก็ใช้วิธีนี้สังเกตนะ เราไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้ๆ  หลวงพ่อปฏิบัติเนี่ย ไปเรียนกับครูบาอาจารย์ไม่มากหรอก แต่ใช้การสังเกตเอา  เราไม่มีโอกาสใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากนัก สามเดือนสี่เดือนไปหนนึง  อย่างตอนหลังๆเนี่ย ตอนมาภาวนาที่สวนบัวนะ ครูบาอาจารย์ตายไปหมดแล้ว ไม่เหลือละ องค์สุดท้ายที่เรียนกับท่าน คือหลวงปู่สุวัฒน์ ก็ไม่อยู่แล้ว  สิ่งที่ช่วยเราได้ คือ การสังเกตเอา  ฉนั้นถ้าขาดกัลยาณมิตรคือครูบาอาจารย์  โยนิโสมนสิการสำคัญที่สุดเลย  แล้วจุดที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดนะ คือตอนตื่นนอน  ตอนที่จิตมันเพิ่งเริ่มทำงานน่ะ  พอมันขึ้นจากภวังค์นะ เราคิดถึงการปฏิบัติปั๊บ มันจะเข้าช่องเดิมเลย

อย่างบวชปีแรก ปีแรกๆเนี่ย เช้าขึ้นมาจิตมันสว่างจ้าเลย แล้วสบายอยู่อย่างนั้นน่ะนะ  อยู่ไปหลายวันแล้ว อืม ไม่ใช่น่ะ นิพพานอะไรหมองๆได้  นิพพานจอมปลอม มีเข้าๆออกๆ ได้นะ   ครูบาอาจารย์เคยสอนว่า นิพพานไม่ใช่เข้าๆ ออกๆ นะ  เราสังเกต เอ มันไปหลงตรงไหนเนี่ย ไปเดินผิดตรงจุดไหนเนี่ย มองไม่ออก  งั้นค่อยๆสังเกตตั้งแต่ตื่นเลย อ๋อ มันผิดตั้งแต่ตื่น พอตื่นนอน ทันที่ที่คิดเรื่องปฏิบัติปุ๊บนะ มันจะไปหยิบฉวยจิตขึ้นมาดู กุ๊กกิ๊กๆ สองสามทีนะ แล้วก็ทำเป็นวางไป นี่ แกล้งวางได้ด้วยนะ โอ๊ย เจ้าเล่ห์แสนกลนะกิเลสน่ะ   มีการไปหยิบมาพลิกซ้ายพลิกขวาสองทีนะแล้ววาง  เราไม่เห็นตรงที่ไปหยิบฉวยขึ้นมาแล้วก็จงใจวางลงไป เราก็ โอ ว่างตลอด ๆ ของเก๊แท้ๆเลย  สภาวะอะไรที่รู้ทัน แล้วถึงจะผ่านได้  ถ้ารู้ไม่ทันก็ไปติดกับมันอยู่

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 491229A.mp3
Time: 1.00 – 4.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่ไม่ตั้งมั่นจะไม่เกิดอริยมรรค

mp3 (for download): จิตที่ไม่ตั้งมั่นนั้นจะไม่เกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

เมื่อสองสามวันก่อนมีพระองค์หนึ่ง ท่านเป็นพระผู้ใหญ่นะ ท่านเข้าไปเยี่ยมหลวงพ่อที่วัด ที่เมืองชล ท่านก็ไปเล่าว่า ท่านอยู่ในป่า แล้วท่านก็รู้อะไรต่ออะไรเยอะแยะไปหมดเลยนะ กระทั่งเสียงของสัตว์นี้ ท่านฟังได้ ของเราก็ฟังเสียงสัตว์ได้ ใช่ไหม แต่ท่านแปลได้ ของเราก็ฟังได้นะ เสียงสัตว์ ตุ๊กแกร้องเราก็รู้นะ แต่เราไม่รู้ว่ามันร้องว่าอะไร

ท่านทำสมาธิเยอะ ท่านรู้ ท่านบอกท่านรู้อะไรต่ออะไร รู้เยอะแยะเลย วันหนึ่งไม่สบายมาก เป็นมาลาเรีย ท่านก็นอนดูร่างกายนี้ มีใจอยู่ต่างหากด้วยนะ ในขณะมีใจอยู่ต่างหาก ใจก็ไปดู เห็นร่างกายมันเจ็บป่วย ดูกาย ดูเวทนาไป เสร็จแล้วดูไปเรื่อยๆนะ จนกระทั่งความรู้สึกนี้ ทุกขเวทนาดับ หายนะ หายเจ็บ หายป่วยไปได้ แต่ท่านสงสัยว่า ท่านดูลงไปในเวทนาอะไรนี้ ก็ไม่เห็นว่ามันเป็นตัวเป็นตน แต่ทำไมไม่เกิดอริยมรรค

ที่จิตมันไม่ตัดเพราะว่าจิตไม่ตั้งมั่น ในขณะที่รู้กายนี้ จิตไหลไปอยู่ที่กาย ในขณะที่รู้เวทนานั้น จิตถลำลงไปแช่อยู่กับเวทนา จิตที่ถลำลงไปนี้จะไม่มีกำลัง ไม่มีแรงที่จะตัดสินความรู้ เพราะว่าอะไร เพราะว่าสัมมาสมาธิ หรือ จิตที่ตั้งมั่นนี้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าเกิดปัญญาขึ้นมาแท้ๆแล้ว ถึงจะละวางความยึดถือในกายในใจลงไป ถ้าใจไม่ตั้งมั่นจะไม่ตัดหรอก จะไปดูก็เห็นนะ เห็นเกิดดับไปงั้นนะ แต่ใจไม่มีกำลัง มันถลำลงไป งั้นใจที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้สำคัญมาก

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ 9

500218

6.48 – 8.39

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พวกเราเรียนกับหลวงพ่อ สวมหัวใจอย่างหลวงพ่อไว้

mp3 (for download) : พวกเราเรียนกับหลวงพ่อสวมหัวใจอย่างหลวงพ่อไว้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ค่อยให้ฝึกเอานะ ไม่ยากหรอก แต่ถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่ได้ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ต้องเดินด้วยตัวเอง ต้องสู้ด้วยตัวเอง ต้องทำเอาเอง

หลวงพ่อภาวนานะ พวกเรามาเรียนกับหลวงพ่อพยายามสวมหัวใจอย่างหลวงพ่อไว้ หลวงพ่อภาวนาหลวงพ่อมีความอดทนสูงมากเลย พากเพียรอดทน ไม่เลิก ตั้งแต่เจ็ดขวบหัดทำสมถะ หัดทำสมถะทุกวันไม่เลิกเลย ไม่ต้องมีครูบาอาจารย์มาสั่ง ทำน่ะๆ ทำไปนะ โถหมดกำลังใจแล้ว โถๆทำเถอะได้โปรดเถอะ หลวงพ่อไม่มีกำลังใจให้ รู้สึกไหม ถ้ามีใครมาขอหลวงพ่อขอกำลังใจ ไม่ให้หรอก ด่าเลย อะไรมันจะโง่ปานนั้น ความทุกข์ท่วมหัวแล้วยังขี้เกียจ ต้องอดทนนะ ต้องพากเพียร หลวงพ่อภาวนามา ไม่ต้องให้ครูบาอาจารย์สั่ง ท่านบอกวิธีแล้วทำเลย

หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนอยู่สองสามประโยคเองไปหาครั้งแรก ท่านสอนว่า การปฏิบัตินั้นไม่ยาก ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ อ่านหนังสือมามากแล้วต่อไปนี้ให้อ่านจิตตัวเองสอนเท่านี้เอง ตั้งแต่วันนั้นมาไม่ใช่นะตั้งแต่วันนั้น ตั้งแต่ตอนนั้นมาหัดดูจิตมาเรื่อยๆ ไม่มีวันใดที่ไม่ดูเลย เว้นแต่ตอนทำงานที่ต้องคิดกับตอนเผลอแล้วก็ตอนหลับ เวลาที่เหลือดูลูกเดียวเลย ดูมาเรื่อยๆ จิตใจก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ พัฒนารวดเร็ว เร็วเพราะเราขยันดู ดูมากๆเหมือนคนทำการบ้านมากมันก็พัฒนาเร็ว ฝึกไปเรื่อย

หลวงพ่ออดทนมากเลยในการที่จะฝึกตัวเอง ไม่มีขี้เกียจนะ ไม่มีท้อแท้ ท้อแท้มีบ้างเบื่อมีบ้างไม่ใช่ไม่มีเลยไม่ใช่มนุษย์วิเศษ เบื่อรู้ว่าเบื่อ ดูมันไปเลย ขี้เกียจก็มีนะขี้เกียจก็ไม่เลิกขี้เกียจรู้ว่าขี้เกียจ สงสัยก็มีนะสงสัยรู้ว่าสงสัย ดูลงไปเลยดูจนเห็นว่า ทุกสิ่งมันชั่วคราวทุกสิ่งมันเกิดแล้วก็ดับ ดูอย่างนี้ ในที่สุดเห็นเลยสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับ ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หลวงพ่ออดทนมากเลยอดทนต่อการปฏิบัติ อดทนต่อการฝึกฝนตัวเอง ไม่ต้องให้ครูบาอาจารย์เคี่ยวเข็ญ.

CD สวนสันติธรรม 26

File 510808

นาที 26.33 – 28.46

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212