Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เพ่งขันธ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา

mp3 for download :เพ่งขันธ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นก็เอาแค่แยกขันธ์ก็พอแล้วนะ แยกขันธ์ ดูขันธ์มันทำงานไป ดูรูปทั้งตัวแหละไม่ต้องไปแยกมันมาก ยุ่ง เห็นร่างกายทั้งตัวแหละ ไม่ใช่ตัวเรา ดูเวทนาก็เห็นเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ดูสังขารก็เห็นสังขารไม่ใช่เรา ดูจิตใจก็เห็นเกิดดับอยู่ตามทวารทั้ง ๖ เป็นวิญญาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เกิดดับ

ดูไปๆนะ พอแยกขันธ์ได้ก็จะเห็นว่า ไม่มีตัวเราในแต่ละขันธ์ มีแต่สภาวธรรมที่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ไม่มีตัวเราที่แท้จริงในขันธ์ทั้งหลาย

ไปฝึกเอานะ เพราะฉะนั้นคนไหนที่ยังรู้ตัวไม่ได้ ก็ฝึกรู้สึกตัวให้ได้ คนไหนรู้สึกตัวได้แล้ว ฝึกแยกขันธ์ พอแยกขันธ์ได้แล้วก็มาเรียนเรื่องวิปัสสนาได้ แยกขันธ์ได้ยังไม่ขึ้นวิปัสสนานะ ต้องเห็นไตรลักษณ์ของแต่ละขันธ์ จึงจะเป็นวิปัสสนา หลวงพ่อบอกแล้วนะว่าต้องเห็นไตรลักษณ์จึงจะเป็นวิปัสสนา ไม่ใช่เห็นขันธ์จึงจะเป็นวิปัสสนา ยังไม่ถึง การที่เราเห็นขันธ์ เราเพ่งอยู่ที่ขันธ์ เป็นสมถะนะ

เพราะฉะนั้นกว่าจะขึ้นวิปัสสนาไม่ใช่ง่ายนะ บางคนไม่เข้าใจ ไปเพ่งขันธ์อยู่เรื่อย ไปเพ่งท้อง ดูท้องพองยุบแล้วไปเพ่งอยู่ที่ท้องแล้วบอกว่าทำวิปัสสนา ไม่เป็นหรอก ต้องเรียนอีก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๓ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อยังจนอริยทรัพย์ ก็ต้องขยันภาวนา

mp3 (for download) : เมื่อยังจนอริยทรัพย์ ก็ต้องขยันภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราก็ต้องขยันหน่อย เพราะว่าจน บางคนเขาประเภทคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด เขาฟังธรรมะประโยค สองประโยค เขาปิ๊งแล้ว เราไม่ปิ๊ง เราแป๊ก ฟังแล้วแป๊ก แป๊ก

เกิดมาจนต้องขยัน ถ้าเรายังจนด้วยอริยทรัพย์เราก็ต้องขยันภาวนาเอา เดี๋ยววันหนึ่งเราก็รวยขึ้นมาได้ ส่วนท่านที่รวยไปก่อนแล้วท่านก็นิพพานไปหมดแล้ว ทิ้งสมบัติไว้กับโลกไม่ได้เอาไปด้วยหรอก อยู่ที่เราไปเก็บเกี่ยวเอา สมบัติเป็นของกลาง ธรรมะก็ของกลางของโลก ไม่ได้เอาไปนิพพานด้วยหรอก

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องอดทนให้มากนะ พยายามดูไปเรื่อย ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ ทุกวันต้องฝึกให้ใจอยู่กับตัว วิธีฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็คือ อย่าใจลอยนาน ถ้าใจลอยเมื่อไหร่ก็ลืมกายลืมใจ อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสมาธิ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

วิธีที่จะไม่ให้ใจลอยนานก็ต้องซ้อมต้องฝึก ทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา พุทโธก็ได้ รู้ลมหายใจก็ได้ อะไรก็ได้นะ สักอย่างหนึ่งขึ้นมา เลือกที่ทำแล้วสบายใจ วิธีที่ทำแล้วเครียดไม่ต้องไปทำ

ยกตัวอย่างบางคนไปดูท้องพองยุบแล้วเครียด เกร็ง เครียด โรคจิตจะกินแล้วนะ ก็ไม่ต้องเอา กรรมฐานมีตั้งเยอะแยะ เราก็เลือกกรรมฐานที่ทำแล้วสบายใจ บางคนรู้ลมหายใจแล้วขาดสติ เคลิ้ม เห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็ไม่เอา

เอาสมาธิที่มันรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ให้เคลิ้มไม่ให้หลงไป ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน แล้วคอยรู้ทันจิต ไม่ใช่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้จิตสงบ ปรับนิดนึง เราคุ้นเคยแต่ว่าจะทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเพื่อให้จิตสงบ อย่างนั้นมันสมถกรรมฐาน ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญานะ ต้องคอยรู้ทันจิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะ – วิปัสสนา

mp3 for download : สมถะ – วิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ไปประคองจิตให้นิ่งให้ว่างอยู่เฉยๆนะ ไม่ใช่ทำวิปัสสนาหรอก< ไปทำของไม่เที่ยงให้มันดูเที่ยง ไปทำของซึ่งเป็นทุกข์ให้ดูเป็นสุข ไปทำของบังคับไม่ได้ให้บังคับได้ขึ้นมา สวนทางกับวิปัสสนาเลย/strong>

เพราะฉะนั้นถ้าไปได้ยินคำสอนประคองจิตให้นิ่งให้ว่างนิรันดรแล้วบรรลุ บอกเลยว่านั่นน่ะ สมถะ ถ้าเป็นวิปัสสนาต้องเห็นไตรลักษณ์ของจิต ใครจะนั่งสมาธิแล้วบอกว่าจะเอาชนะเวทนา นั่นสมถะ ถ้าจะเดินปัญญาเดินวิปัสสนาไปสู่มรรคผลนิพพานก็ต้องเห็นเวทนานั้นแหละตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์ ต้องอย่างนั้นนะ

นั่งรู้ลมหายใจไม่ใช่นั่งให้จิตสงบ เห็นแสงสว่างแล้วเที่ยวออกไปข้างนอก ไม่ใช่ นั่นเป็นเรื่องของสมถะ นั่งรู้ลมหายใจก็เพื่อให้เห็นเลยว่าร่างกายที่หายใจอยู่นี้ไม่เที่ยง ร่างกายที่หายใจอยู่นี้เป็นทุกข์ ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ก็ต้องเห็นอย่างนี้ ทำวิปัสสนาต้องเห็นไตรลักษณ์ จับหลักให้แม่นนะ

ถ้าเราหลักแม่นเวลาเราฟังใครเราจะรู้เลยว่าเขาพูดอยู่ในระดับ พูดในระดับของสมถะหรือวิปัสสนา ไม่งั้นมั่วนะ สอนสมถะแต่บอกว่าทำวิปัสสนา มันจะทำให้เราหลงทาง

แต่ว่าถึงเรารู้นะ เราไปฟังใครเขาพูด อาจารย์ไหนพูดนะ อย่าไปบอกเขานะว่าผิดนะ เออ!ก็ถูกของเขา เขาถูกอย่างของเขา หัดพูดประโยคนี้ดูบ้าง ใครมาถามหลวงพ่อว่าอาจารย์นั้นทำถูกมั้ย หลวงพ่อก็จะบอกว่า ก็ถูกอย่างของท่านนะ ก็ดีอย่างของท่านนะ อย่าไปบอกว่าถูกเหมือนกัน ดีเหมือนกันนะ ไม่เหมือนหรอก คนละเรื่องกัน เขาก็ดีอย่างของเขาน่ะ ยกตัวอย่างคนที่ไม่มีความสงบแล้วทำความสงบได้ก็ดีใช่มั้ย ก็ดี ดีอย่างของเขา แต่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าหรอก ต้องแยกให้ออกนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะที่จะทำให้ถึงฌานได้ มี ๒๒ อย่าง

mp3 for download : สมถะที่จะทำให้ถึงฌานได้ มี ๒๒ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ :กรรมฐานในตำรามีตั้ง ๔๐ อย่าง เวลาปฏิบัติก็มีอย่างนั้นแหละ แต่ว่าอารมณ์แต่ละชนิดเนี่ย ให้ความสงบที่ไม่เท่ากัน อารมณ์บางอย่าง อย่างพุทโธๆได้ความสงบระดับต้นๆ ตื้นๆ แต่อารมณ์ที่ถึงปฏิภาคนิมิตร มี ๒๒ อย่าง

ในตำราเขาละเอียดนะ ตำราเขามี ๒๒ อย่างเนี่ยมีกสิณ ๑๐ อย่าง พิจารณาอสุภะ ๑๐ อย่าง พิจารณาศพ เพ่งศพไปเรื่อย จะได้ปฏิภาคนิมิตรได้ อย่างเราดูศพ หาศพคนไม่ได้ ศพหมาศพแมวก็ยังดี ดู ดูไปเรื่อยๆ ศพจะค่อยๆใสขึ้นนะ ศพ ใสๆใสๆขึ้นไป กลายเป็นดวงสว่างขึ้นมาได้ ได้ปฏิภาค ได้ปฏิภาคนิมิตรก็ได้ถึงอุปจารสมาธิ แล้วทำต่อไปก็เข้าอัปนาฯ (อัปนาสมาธิ)

ก็มีกสิณ ๑๐ อย่าง อสุภะ ๑๐ อย่าง กายคตาสติอีก ๑ นะ อานาปานสติอีก ๑ ถ้าใครอยากเล่นฌานนะ ต้องเล่นพวกนี้ ได้ฌาน ต่ำกว่านี้ไม่ได้ฌาน รวมอย่างอื่น ไม่ถึงฌาน พุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่ถึงฌาน

ไม่ยากอะไร รู้จักเลือกอารมณ์ ที่จิตเราชอบ ต้องเป็นอารมณ์ที่ไม่ยั่วกิเลส อย่างชอบเล่นไพ่ อย่างนี้ หรือชอบเล่นอินเตอร์เน็ต จิตมีอารมณ์อันเดียวก็คือมีอินเตอร์เน็ต โลกนี้ไม่มีแล้ว อย่างนี้ไม่สงบหรอก ฟุ้งซ่าน แล้วก็ฟุ้งอยู่ข้างใน ไหลๆเรื่อยๆไป เคล็ดลับของสมถะก็นิดเดียวเท่านี้เอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File 550106
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของการทำสมถะ

mp3 for download : เคล็ดลับของการทำสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ :ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ตอนนี้เขาเรียนนักธรรมโท หลวงพ่อเอาหนังสือมาอ่านบ้าง อ่านไปถึงนักธรรมเอกแล้ว พบว่าในตำรานักธรรมเอกนั้นสอนเหมือนที่หลวงพ่อสอนนี่แหละ มีหมดเลย กระทั่งตัณหาจริตทิฎฐิจริตยังมีเลย ละเอียดยิบเลย พระน่าจะเรียน แต่ถ้าจะเรียนแล้วจับเคล็ดไม่ได้นะ มีคัมภีร์อยู่ จับเคล็ดวิชา วิธีปฏิบัติไม่ได้ ทำไม่เป็น

เคล็ดของการปฏิบัติมีนิดเดียว อย่างละประโยคเท่านั้นเอง ถ้าจะทำสมถะ ให้น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง มีเงื่อนไขว่า อารมณ์นั้นต้องไม่ยั่วกิเลส เป็นอารมณ์ทีจิตชอบ จิตของเราแต่ละคนชอบอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางคนชอบพุทโธ อยู่กับพุทโธแล้วมีความสุข ก็น้อมจิตไปอยู่กับพุทโธอย่างเดียว จิตไม่หนีไปที่อื่น ก็มีความสุข จิตสงบ คนไหนชอบลมหายใจนะ น้อมจิตไปอยู่กับลมหายใจ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็สงบ

เคล็ดลับของสมถะอยู่ที่ รู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข น้อมจิตไปสู่อารมณ์นั้น แค่นั้นเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File 550106
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๒๘ ถึงนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตไม่ใช่วิปัสสนาเสมอไป

mp3 for download : ดูจิตไม่ใช่วิปัสสนาเสมอไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หัดดูจิตดูใจไป ทุกวันๆนะ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ เมื่อจิตหนีไปแล้ว ให้รู้ทัน จิตหนีไปแล้วรู้ทัน ต่อไปเวลาจิตมันขยับตัวกริ๊กเดียว มันหนีกริ๊กเดียว มันจะเห็นเอง มันจะดีดตัวตั้งมั่นขึ้นมา

ถามว่าถ้าดูจิตแบบนี้จะได้อะไร ดูจิตชนิดนี้จะได้สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นนะ เพราะฉะนั้นดูจิตไม่ใช่วิปัสสนาเสมอไปนะ ดูจิตที่จิตไปเพ่งอยู่ที่จิต อันนี้เป็นสมาธิชนิดทำสมถะนะ ตายไปแล้วก็จะไปเป็นอรูปพรหม

ถ้าดูจิตนะ เห็นจิตไหลไปแล้วรู้ทัน จิตไหลไปแล้วรู้ทัน จะได้สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู พอมีสมาธิที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้แล้วนะ ให้ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา

เวลาที่เราทำในรูปแบบ เราก็ทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วจิตหนีไปรู้ทัน จิตไปเพ่งรู้ทัน ฝึกตัวนี้ไว้ เวลามาอยู่ในชีวิตจริง เมื่อตามองเห็น หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส หรือใจคิดนึกขึ้นมา ความรู้สึกแปลกปลอมใดๆเกิดขึ้นที่จิต มันจะรู้ทันขึ้นมานะ

เพราะจิตขยับตัวกริ๊กเราเคยเห็น จิตขยับตัวกริ๊กเคยเห็น โธ่ความโกรธไหวตัวขึ้นมาทำไมจะไม่เห็น หยาบกว่าจิตที่ขยับตัวกริ๊กๆเสียอีก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
ไฟล์ 550525B
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขา คือต้องรู้เท่าทันจิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขาคือต้องรู้เท่าทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสมาธินั้นมี ๒ ชนิด เราต้องเรียนให้ชัดเจนนะ ส่วนมากนะ คนที่ทำสมาธินะ รุ่นก่อนนี้นะ เกือบทั้งหมดเลย ทำสมาธิออกนอก ไปพุทโธ จิตไปอยู่ที่พุทโธ ไปรู้ลมหายใจ จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ จิตไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกลม จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่เคยรู้ทันจิตตนเองเลย การที่ไม่รู้ทันจิตตนเองนี่ เรียกว่า ข้ามบทเรียนสำคัญของพระพุทธเจ้าไปบทนึง ชื่อ “จิตตสิกขา” เราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา

เพราะงั้นต่อไปนี้ เราทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา เคยพุทโธก็ใช้พุทโธได้นะ เคยหายใจ ก็ใช้ลมหายใจได้ เคยดูท้องพองยุบ ก็ใช้ท้องพองยุบได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าทำแล้วมันสบายใจนะ เพียงแต่กลับนิดนึง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่กับพุทโธ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ท้อง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่มือ ที่เท้า “ให้คอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป” พุทโธๆจิตเคลื่อนไปที่อื่น เช่น เคลื่อนไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน

จิตมันจะเคลื่อนไปใน ๒ ลักษณะเท่านั้นเอง คือเคลื่อนหลงไปในโลกของความคิด กับเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ ถ้าจิตเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ นั่นคือ การทำสมถะกรรมฐาน จะได้ความสงบเฉยๆ จะไม่มีปัญญา ถ้าจิตเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด อันนั้นหลงไปเลย สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ ใช้ไม่ได้เลย เวลาที่จิตหลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สัมมาสมาธิ

mp 3 (for download) : สัมมาสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ตัวสัมมาสมาธิเนี่ย เป็นสิ่งที่หลวงพ่อเห็นว่าพวกเราพลาดมากที่สุดเลย สติอีกตัวนึงพลาดมาก นี้สติยังไปเพ่งๆอะไรขึ้นมา สติยังเกิดได้นะ แต่สัมมาสมาธินี่เกิดยากมากเลย

เพราะพวกเราคุ้นเคยกับมิจฉาสมาธิ สมาธิที่เพ่งเอา เราไม่คุ้นเคยกับสมาธิที่จิตตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ เราคุ้นเคยแต่สมาธิที่จิตเข้าไปตั้งแช่อยู่ในตัวอารมณ์ จิตที่ไปตั้งแช่นิ่งอยู่กับอารมณ์นะ เรียกว่า “อารัมมณูปนิชฌาน” เป็นจิตที่ใช้ทำสมถะนะ มีการทำสมถะ เพราะงั้นเราไปดูท้องพองยุบ แล้วเราเพ่งจิตไปเกาะที่ท้องเนี่ย สมถะ รู้ลมหายใจแล้วจิตไปเกาะนิ่งอยู่กับลมหายใจนี่ สมถะ ค่อยๆฟังนะ ฟัง ค่อยๆเรียน ค่อยๆฟังไป

จิตที่เป็นสัมมาสมาธิเกิดแล้วเนี่ย ปัญญาถึงจะเกิดได้ เพราะปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ปัญญาไม่ใช่เกิดจากการคิดนะ ปัญญาที่เกิดจากการคิดเรียก “จินตามยปัญญา” ไม่ใช่  “ภาวนามยปัญญา” ภาวนามยปัญญาเนี่ย เกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ เป็นแค่ผู้รู้ ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ปรากฏขึ้นมา เกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป เห็นสภาวะธรรมทั้งหลายในแต่ละปรากฎการณ์ ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเราทั้งสิ้น ใจมันจะเห็นอย่างนี้นะ มันถึงมีปัญญา

งั้นตัวนี้ต้องเรียนนะ หลวงพ่อก่อนจะบวชเนี่ย หลวงพ่อตระเวนไปตามสำนักต่างๆมากมาย หลวงพ่อไปดูว่าเราจะไปบวชสำนักไหนดี บางแห่งสำนักดีนะ ครูบาอาจารย์ดี แต่ครูบาอาจารย์ไม่มีเวลาเลย ครูบาอาจารย์ไม่อยู่วัดน่ะ รับนิมนต์ไปทุกวันๆนะ หายไปเลย หรือบางแห่งมีแต่รูปแบบ หลายแห่งเพ่งลูกเดียว กระทั่งในสำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนานะ จริงๆแล้วติดสมถะ เกือบทั้งหมดน่ะติดสมถะ นักปฏิบัติ

เพราะว่าอะไร เพราะว่าเวลาเราเรียนธรรมะ เราเรียนข้ามขั้น เราถือศีล พอเรามีศีลสิกขาใช่มั้ย แล้วเราก็ไปกำหนดรูปนามเลย เราไปเจริญปัญญาสิกขา เราข้ามจิตสิกขาไปบทเรียนนึง

เพราะงั้นถ้าเราไม่ได้เรียนจิตสิกขาให้ถ่องแท้ซะก่อนเนี่ย จิตจะไม่มีสัมมาสมาธิ งั้นจิตจะไปเพ่ง ไปรู้ท้องก็เพ่งท้อง รู้เท้าเพ่งเท้า รู้ลมเพ่งลม รู้มือเพ่งมือ รู้อะไรก็เพ่งอันนั้น จะไม่สักว่ารู้สักว่าเห็น พวกเราเรียนข้ามขั้นนะ

เนี่ยเที่ยวตระเวนไปนะ บางที่ก็ส่วนใหญ่จะไปแอบดูเค้านะ ถ้าไปนั่งเรียนเนี่ยมันยาวใช่มั้ย หลายชั่วโมงหลายวัน ส่วนมากหลวงพ่อเป็นคนใจเราว่องไวหน่อย เราไปแอบดู ดูตัวอาจารย์นั่นแหล่ะดีที่สุดเลย ดูเวลาอาจารย์เค้าภาวนานะ ก็จะโอ้ เข้าใจรวดเร็ว

นี้ไปเห็นหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อเทียนนี้เนี้ยบจริงๆ ลูกศิษย์หลวงพ่อเทียนที่เยี่ยมมากๆก็หลวงพ่อคำเขียนนี่แหล่ะ

งั้นถ้าใจเรามีสัมมาสมาธิ มันจะตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าเห็น ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นเลย ทุกอย่างเนี่ยไม่ใช่ตัวเรา แต่ถ้าใจเราไม่มีสัมมาสมาธิ ไม่ตั่งมั่น ไปดูอะไรมันก็จะเป็นเราไปหมดเลย เห็นความโกรธเกิดขึ้น มันก็เป็นเราโกรธ เห็นขามันเมื่อย ก็เป็นขาของเราเมื่อย จะเป็นอย่างนี้ตลอด

เพราะนั้นเวลาที่เราใจเราไม่ตั้งมั่น ไปรู้สิ่งต่างๆนะ เราจะสะสมความรู้สึกผิดๆ ความเห็นผิดๆตลอดเวลาเลย สะสมว่ามันมีตัวเรา มันมีตัวเรา แต่ถ้าเรามีสติถูกต้องที่เรียกว่า”สัมมาสติ” มีสมาธิถูกต้องเรียกว่า”สัมมาสมาธิ”นี่ ปัญญาที่เกิดขึ้นจะเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นปัญญาที่ถูกต้อง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันวันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๑
File: 500520.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิชนิดลืมเนื้อลืมตัวไม่ใช่ทาง พ้นทุกข์ไม่ได้จริง

mp 3 (for download) :  สมาธิชนิดลืมเนื้อลืมตัวไม่ใช่ทาง พ้นทุกข์ไม่ได้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมัยพุทธกาลนะ เจ้าชายสิทธัตถะออกจากวังมา สิ่งแรกที่ท่านไปทำ ก็ไปเรียนกับฤาษี ทำสมาธิให้จิตนิ่งๆว่างๆนี้แหล่ะ แล้วท่านก็พบว่ามันไม่ใช่ทาง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์จริง วันนี้สงบ อีกวันก็ฟุ้งซ่านอีกแล้วนะ วันนี้ไม่มีกิเลส อีกวันนึงก็กิเลสมาอีกแล้ว ท่านก็พบว่ามันไม่ใช่ทาง ท่านก็ไปทรมานร่างกาย แล้วก็พบว่าไม่ใช่ทางอีก

สุดท้ายท่านก็พบทางสายกลางนะ เป็นสมาธิธรรมชาติที่ท่านมีมาตั้งแต่เด็ก เมื่อตอนท่านอายุ ๓ ขวบ มีพิธีแรกนาขวัญ พี่เลี้ยงเอาท่านไปไว้ใต้ต้นหว้า แล้วพี่เลี้ยงก็ไปดูพระเจ้าสุทโธทนะไถนา ขณะนั้นท่านอยู่คนเดียว ไม่มีใครกวนท่าน ท่านก็ลุกขึ้นนั่งสมาธิ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ไม่ได้หายใจแล้วให้จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไม่ได้หายใจแล้วก็จิตเคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว หายใจแล้วรู้สึกตัว จิตท่านตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมานะ ได้ปฐมฌานขึ้นมา

เนี่ยท่านระลึกถึงสมาธิชนิดนี้ขึ้นมาได้ ตอนท้ายๆของการปฏิบัติของท่าน ท่านก็มานั่งหายใจนะ หายใจด้วยความรู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เห็นร่างกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ใจค่อยสงบนะ แล้วก็ไม่ลืมเนื้อลืมตัว รู้สึกตัวอยู่ตลอดเลย สมาธิชนิดที่รู้สึกตัวเนี่ย กระทั่งบางทีภาวนาไปจนร่างกายหายนะ โลกธาตุดับนะ พายุกำลังตึงตังๆเนี่ย จิตเข้าสมาธิ รู้สึกตัวอยู่เนี่ย โลกดับไปเลย ไม่มีเลยพายุฟ้าผ่าอะไรเนี่ย ไม่มีรู้สึกเลยนะ แต่ความรู้สึกตัวไม่หายไป ยังรู้สึกตัวอยู่ตลอดสายของการปฏิบัติเลย ต้องมีสมาธิอย่างนี้ ถึงจะใช้ได้

ถ้าสมาธิที่ทำไป แล้วก็ลืมกายลืมใจ เคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว มันจะไปเจริญปัญญาได้ไง เพราะเจริญปัญญา คือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจ

งั้นพวกเราต้องมาฝึกนะ ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ ถ้าพูดถึงคำว่าสมาธินะ ที่จะใช้สมาธิที่ดีๆ พูดภาษาไทยง่ายๆ ก็คือฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว จะยืนเดินนั่งนอน ก็รู้สึกตัว จะหายใจออก จะหายใจเข้า ก็รู้สึกตัว มีความสุข ก็รู้สึกตัว มีความทุกข์ ก็รู้สึกตัว ใจมันโลภ ใจมันโกธรธ ใจมันหลง ก็รู้สึกอยู่ เห็นใจมันโกรธนะ เราเป็นคนดูเอง จิตใจเป็นคนรู้ ว่าความโกรธมันเกิดขึ้น จิตใจเป็นคนรู้ ว่าความโลภมันเกิดขึ้น ความหลงมันเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่านความหดหู่ มันเกิดขึ้น ใจเราเป็นแค่คนดูเอง ใจเราเป็นคนดู เห็นความสุขเกิดขึั้น เห็นความทุกข์เกิดขึ้น เห็นความสุขหายไป (เห็น)ความทุกข์หายไป

ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ คอยรู้สึกตัว แล้วก็ดูความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ของกายของใจเรื่อยไป นี่แหล่ะวิธีที่เราจะเรียนรู้ ความจริงของกายของใจได้นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เมื่อ วันพุธที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

CD: แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
File: 551128
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตั้งมั่นสำคัญมาก จิตไม่ตั้งมั่นเจริญปัญญาไม่ได้จริง

mp 3 (for download) : สมาธิแบบจิตตั้งมั่นสำคัญมาก จิตไม่ตั้งมั่นเจริญปัญญาไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิมี ๒ อย่าง สมาธิอย่างที่ ๑ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่น เราไปพุทโธๆ จิตไปอยู่กับพุทโธ ไม่ไปไหนเลย จิตก็สงบ มีความสุขมีความสงบ จะไม่เกิดปัญญาหรอก จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เพราะจิตใจไปอยู่กับพุทโธ หรือเรารู้ลมหายใจออก รู้ลมหายใจเข้านี้ จิตใจเราวิ่งไปอยู่กับลมหายใจ หรือวิ่งไปคิด”ตอนนี้หายใจออก…ตอนนี้หายใจเข้า” วิ่งไปคิดบ้างนะ วิ่งไปเพ่งอยู่กับลมหายใจบ้าง อย่างนั้นก็ไม่ใช่จิตใจที่อยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจมันไหลไปอยู่ที่ลมต่างหาก ไปดูท้องพองยุบนะ จิตก็ไหลไปอยู่ที่ท้อง หรือไม่ก็หนีไปคิด “ตอนนี้ท้องพอง…ตอนนี้ท้องยุบ” จิตใจก็ไม่ได้อยู่กับเนื้อกับตัว สมาธิแบบนี้ทำได้ ก็จะได้แต่ความสุขความสงบชั่วครั้งชั่วคราว หรือบางคนก็น้อมจิตไปอยู่ในความว่าง บอกว่าจะไม่ยึดอะไรเลยนะ นึกๆเอาเอง ว่าจะไม่ยึดอะไรเลย น้อมใจให้ว่าง ไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง ความจริงก็คือแต่งความว่างๆขึ้นมา แล้วไปจับอยู่ที่ความว่าง อันนี้ใจมันก็ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวนะ มันไปอยู่ที่ความว่าง

เพราะงั้นสมาธิที่จะใช้ในการเจริญปัญญา มาเรียนรู้ความจริงของกายของใจ เป็นสมาธิอีกชนิดนึง เป็นสมาธิที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นสมาธิที่วิเศษที่สุดเลย แต่อาภัพที่สุดเลย ไม่มีใครเรียนเท่าไหร่หรอก ส่วนมากก็คิดแต่ทำสมาธิแบบฤาษีชีไพรไป ทำใจให้สงบนิ่งๆว่างๆไป ไม่เกิดปัญญาหรอก คนละเรื่องกันเลย

งั้นสมาธิมันมีหลายแบบ เราต้องเข้าใจ อย่างสมาธิเราเป็นจักษุแพทย์ใช่มั้ย เวลาทำงานต้องมีสมาธิ สมาธิอย่างนั้นเอาไว้ทำงาน จดจ่ออยู่กับงาน จดจ่อกับลูกตาของคนไข้ เราลืมกายลืมใจของตัวเองใช่มั้ย ไม่สามารถมารู้กายรู้ใจตัวเองได้ มัวแต่รู้ลูกตาของคนไข้ สมาธิอย่างนั้นไม่ใช่จิตที่ตั้งมั่น สมาธิอย่างนั้นมีเอาไว้ทำงานทางโลก หรือไม่ก็เอาไว้ทำสมถะ ทำความสงบจิตเฉยๆ

ตัวนี้เป็นตัวสำคัญมากเลย ถ้าเราไม่รู้จักสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นนะ จิตไม่สามารถหลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัวได้ เราจะไม่สามารถเรียนรู้ความจริง ของกายของใจได้เลย เพราะใจเราจะหลงไปอยู่ในความคิด ความคิดไม่ใช่ความจริง ความจริงกับความคิดมันคนละเรื่องกัน ถ้าเมื่อไหร่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด เราไม่สามารถรู้สึกกายรู้สึกใจได้ พวกเรารู้จักใจลอยมั้ย รู้จักมั้ยใจลอย เหม่อๆ ในขณะที่เหม่อ เราก็คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ไป สังเกตมั้ย ว่าเราลืมตัวเราเอง เรามีร่างกาย เราก็ลืมร่างกายของเรานะ เรามีจิตใจ เราก็ลืมจิตใจของตัวเราเอง อย่างนั้นแหล่ะเรียกว่าไม่มีสมาธิ ถึงจะไหลไปอยู่กับพุทโธ ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปอยู่กับท้องพองยุบ ไปเดินจงกรมอยู่ที่เท้า อยู่ที่ตรงโน้นตรงนี้ จิตก็เคลื่อนไปหมดเลย จิตไม่ได้ตั้งมั่น จิตไม่ได้มีสมาธิ ที่จะใช้เจริญปัญญาจริง มันจะลืมตัวเอง ยิ่งโดยเฉพาะการหลงไปคิด เวลาที่เราหลงไปคิด เราจะลืมร่างกายของเรา มีร่างกายแต่ลืมมัน เวลาเราหลงไปคิดนะ เรามีจิตใจนะ จิตใจเราสุข จิตใจเราทุกข์ จิตใจเราเป็นกุศล จิตใจเราโลภโกรธหลงอะไรเนี่ย มันมีอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่เห็น เพราะเราลืมร่างกาย ลืมจิตใจของตัวเอง

งั้นการที่เราจะมาเรียนรู้ความจริงของชีวิต ชีวิตก็คือกายกับใจของเรานี้เอง ถ้าเราจะมาเรียนรู้ความจริง ของร่างกายของจิตใจได้ เราก็ต้องไม่ลืมตัวเอง ต้องรู้สึกตัว งั้นความรู้สึกตัว การที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวเนี่ย เป็นจุดตั้งต้น ที่ทำให้เราเรียนรู้ความจริง ของกายของใจได้

 

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เมื่อ วันพุธที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

CD: แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
File: 551128
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๐๙ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความอยากของเรา กีดกั้นเราจากมรรคผลนิพพาน

mp 3 (for download) : ความอยากของเรา กีดกั้นเราจากมรรคผลนิพพาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
ขอขอบคุณ ภาพจากงาน “ธรรมะกลางเมือง”

หลวงพ่อปราโมทย์ : จริงๆมรรคผลนิพพานไม่ใช่เรื่องยากเลยนะ นิพพานไม่เคยหายไปไหนสักวันเดียวเลย นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรามาแต่ไหนแต่ไร ไม่ได้อยู่ไกลเลยนะ อยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง แต่เราไม่เห็น นิพพานคือความไม่ปรุงแต่ง นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิสังขาร” นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิราคะ” ไม่มีความอยาก

ใจของเรามันมีความอยาก อยากปฏิบัติธรรม อยากดี อยากโน่นอยากนี่ขึ้นมา พอมันมีความอยากขึ้นมา มันก็ปรุง คนชั่วก็ปรุงชั่ว คนดีก็ปรุงดี นักปฏิบัติก็ปรุงดีขึ้นมา คอยควบคุมกายคอยควบคุมใจ หาทางทำอย่างนั้นหาทางทำอย่างนี้ การที่พยายามทำอยู่นั่นแหละทำให้ไม่เห็นนิพพาน ฉะนั้นขันธ์ ๕ นะ ขันธ์ ๕ เค้าเป็นธรรมะที่ปรุงแต่งเรียก“สังขตธรรม” ฉะนั้นขันธ์ ๕ ต้องปรุงแต่ง ขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เราไม่ได้ไปฝึกให้ขันธ์ ๕ ไม่ปรุงแต่งนะ เพราะฉะนั้นอย่างจิตเนี่ย จิตอยู่ในขันธ์ ๕ จิตมีหน้าที่คิดนึกปรุงแต่ง

เราไม่ได้ฝึกให้มันไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แต่เมื่อเค้าทำงาน ขันธ์ ๕ เค้าทำงานแล้วเนี่ยอย่าหลงเข้าไปแทรกแซงขันธ์ ๕  พวกเรานักปฏิบัติชอบแทรกแซงขันธ์ ๕ นะ เช่น ร่างกายนี้มันจะหายใจ เราก็ไปแทรกแซงการหายใจ ไปเปลี่ยนจังหวะการหายใจ หายใจให้ผิดธรรมดา แล้วก็เหนื่อยนะ ร่างกายเคยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เคยยืน เคยเดิน เคยนั่ง เคยนอน ท่านั้นท่านี้ เราก็เริ่มไปจำกัดมัน ต้องอยู่ท่านั้นต้องอยู่ท่านี้ ต้องเดินอย่างนั้นถึงถูกต้องนั่งอย่างนี้ถึงจะถูก เดินท่านั้นผิดเดินท่านี้ผิด นี่เราพยายามเข้าไปแทรกแซงขันธ์ เวทนาเค้าก็เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง เดี๋ยวเค้าก็สุข เดี๋ยวเค้าก็ทุกข์ เดี๋ยวเค้าเฉยๆ พอเราเห็นทุกข์ขึ้นมาเราไม่ชอบนะ พยายามแทรกแซงให้หายไป ความสุขก็พยายามแทรกแซงให้มันเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วแทรกแซงจะรักษามันไว้

นี่เราเข้าไปหลงแทรกแซงขันธ์ ๕ สัญญามันจะจำได้มันจะหมายรู้ ก็ไปแทรกแซง ที่อู๊ดเคยพลาดเรื่องแทรกแซงสัญญา ตัวนั้น จำได้ใช่มั้ย เห็นโต๊ะไปเรียกว่าเก้าอี้อะไรอย่างนี้นะ ไปแทรกแซงทำให้มันสับสน เสร็จแล้วมันจะอยู่ในโลกสมมุตินี้ไม่ได้ เพราะว่าสัญญา ไม่ตรงกับใครเค้าเลย สังขารก็คือจิตมันต้องปรุงดีบ้างปรุงชั่วบ้าง เราไม่อยากให้ปรุงชั่ว เราอยากให้ปรุงดี เราแทรกแซงนะ อย่างจิตฟุ้งซ่านขึ้นมา เราก็มาพุทโธๆ มาฟุ้งซ่านหนอๆ ให้หายฟุ้งซ่าน นี่แทรกแซง จิตโกรธขึ้นมานะ ก็พยายามแผ่เมตตาใหญ่ แผ่เมตตาให้หายโกรธ อันนี้ก็แทรกแซง แต่ถามว่าดีมั้ย? ก็ดี   เหมือนกันนะ แต่ดีแบบสมถะไม่ใช่วิปัสสนา

วิปัสสนานี่เราจะให้ขันธ์ทำงานไป โดยเราไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ ใจที่มันสงบตั้งมั่นไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ เห็นขันธ์ไปตามความเป็นจริง ใจดวงนี้เนี่ยใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ที่อาจารย์วัฒนาถาม “สังขารุเปกขาญาณ” เมื่อเช้านี้ จิตที่มันตั้งมั่นด้วยปัญญานะ ตั้งมั่นมีปัญญาอยู่ เห็นขันธ์ทำงานไปส่วนของขันธ์ จิตไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ อย่างนี้เรียกว่า “สังขารุเปกขา” เป็นกลางกับขันธ์ เป็นกลางกับสังขาร กับความปรุงแต่งทั้งหลาย ภาวะแห่งการสักว่ารู้สักว่าเห็นก็จะเกิดขึ้น ใจจะไม่   ดิ้นรน เมื่อใจไม่ดิ้นรน ถึงจุดหนึ่งใจจะเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน ธรรมะที่ไม่มีความอยาก ธรรมะที่ไม่ดิ้นรน คือ “วิราคะ” กับ “วิสังขาร” หรือ “นิพพาน” นั่นเอง

เพราะฉะนั้นไม่มีใครกีดกั้นเราไว้จากนิพพานเลย ไม่มีใครกีดกั้นเราจากมรรคผล เรากีดกั้นตัวเองด้วยความอยากจะได้มรรคผลนิพพานนั่นแหละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๒
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับการทำสมถะ

mp 3 (for download) : เคล็ดลับการทำสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเรารู้เคล็ดลับตัวนี้นะ ว่าที่จิตไม่สงบ เพราะจิตวิ่งหาความสุข ถ้าเราอยากให้จิตสงบ เคล็ดลับก็มีนิดเดียว หาอารมณ์ที่มีความสุขมาเป็นเหยื่อล่อจิต จิตเหมือนเด็กซุกซน ชอบวิ่งออกไปเล่นนอกบ้าน ถ้าเรารู้ว่าเด็กคนนี้ชอบกินขนมนะ เราหาขนมมาไว้ที่บ้าน เด็กก็ไม่ซนนาน เดี๋ยวก็กลับมากินขนมอยู่ที่บ้าน กินให้อิ่มๆเดี๋ยวมันก็หลับไปแล้ว หรือเด็กชอบเล่นเกม หาเกมมาให้มันเล่น มันก็ไม่ไปซนนอกบ้าน มันก็อยู่กับเกม

เคล็ดลับการทำสมถะอยู่ตรงนี้เอง เราต้องเลือกอารมณ์ ที่ว่าจิตของเราไปอยู่ด้วยแล้วมีความสุข จิตเหมือนเด็กซุกซน ถ้าจิตพอใจอยู่กับพุทโธแล้วมีความสุข เราอยู่กับพุทโธ รู้ลมหายใจแล้วมีความสุข เรารู้ลมหายใจ ดูท้องพองยุบแล้วมีความสุข เราดูท้องพองยุบไป อะไรก็ได้ซักอย่างนึง หรือสวดมนต์แล้วมีความสุข ก็สวดมนต์ไป

แต่ต้องดูที่มันไม่ยั่วกิเลส ถ้าด่าคนอื่นแล้วมีความสุขเนี่ย ไม่เอา เพราะว่าจิตไม่สงบแน่ ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศล อย่างพุทโธๆเนี่ย เป็นกุศลแน่ รู้ลมหายใจเนี่ย ไม่ไประรานใครแน่ หาอารมณ์ที่ดี หาอารมณ์ที่มีความสุข พอจิตเราได้อารมณ์ที่มีความสุข จิตจะไม่วิ่งไปหาความสุขที่อื่น จิตจะไม่วิ่งพล่านไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตจะสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี่คือเคล็ดลับของการทำสมถะ การทำสมถะเพื่อให้จิตได้พักผ่อน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
File: 550907B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๓) ภาวนาให้ “รู้สึกตัว”

mp 3 (for download) : ปฏิบัติเพื่ออะไร? (๓) ภาวนาให้ “รู้สึกตัว”

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคย ได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรื่องของสมถะและวิปัสสนา

mp 3 (for download) : เรื่องของสมถะและวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาเข้าคอร์ส ๓ วัน สรุปได้มั้ย สมถะกับวิปัสสนาต่างกันอย่างไร จิตจะไม่เหมือนกันนะ สมถะนั้นจิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง หนึ่งต่อหนึ่ง one by one เวลารวมนะ จิตก็ไปรวมเข้ากับอารมณ์ นิ่งๆอยู่อย่างนั้น ถ้าวิปัสสนานะ จิตเป็นหนึ่งเป็นคนดู อารมณ์เท่าไหร่ก็ได้ อารมณ์ทั้งหลายมาแล้วก็ไปนะ ทุกอย่างผ่านมาผ่านไปใจเราเป็นคนดูอยู่

เพราะฉะนั้นจิตจะไม่เหมือนกัน ถ้าจิตไปแนบสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” เป็นสมถะ ถ้าจิตตั้งมั่น เห็นความเป็นไตรลักษณ์ ของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย เกิดดับหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย จิตเป็นแค่คนดูอยู่นะ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เนี่คือการเดินปัญญา เดินวิปัสสนา และปัญญาก็จะค่อยๆแก่รอบเป็นลำดับไป

เวลาที่เราเดินวิปัสสนา ไม่ใช่เราเดินวิปัสสนารวดเดียว ไม่มีม้วนเดียวจบนะ ยกเว้นท่านที่อินทรีย์ท่านแก่กล้าจริงๆ มีไม่มาก ในสมัยพุทธกาลก็มีอย่างพระพาหิยะอะไรอย่างนี้นะ บางท่านท่านฟังธรรมะทีเดียวก็บรรลุละ มีไม่มากเท่าไหร่กระทั่งในสมัยพุทธกาล สมัยเราคงหายาก ถ้าบารมีเยอะคงไม่มานั่งตาแป๋วๆอยู่แถวนี้นะ

เราค่อยๆเรียนไป ค่อยๆฝึก วันไหน..ทุกวันล่ะ ทุกวัน ช่วงไหนจิตใจฟุ้งซ่าน ดูจิตไม่ออกให้ดูกายไป ช่วงไหนดูจิตก็ไม่ได้ดูกายก็ไม่ได้ ก็ทำสมถะ พุทโธไป หายใจไป ให้จิตสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตจะได้มีแรง จิตเหมือนคนทำงาน ถ้าทำงาานอย่างเดียวไม่เคยได้พักเลย ก็หมดแรง ที่พักของจิตก็คือสมถะนั่นเอง เป็นที่พักสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ :
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๔ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๙
File: 540424B
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่  ๐๑ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑๐

ดาวน์โหลดไฟล์เสียงแสดงธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ทั้งหมดได้ที่นี่

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเข้าใจหลักการปฏิบัติ จะไม่ปฏิเสธเส้นทางอื่นที่แตกต่างกัน

mp 3 (for download) : ถ้าเข้าใจหลักการปฏิบัติ จะไม่ปฏิเสธเส้นทางอื่นที่แตกต่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครูบาอาจารย์เคยสอนหลวงพ่อนะ อาจารย์มหาบัว สอนมาดีมากเลย ประทับใจมากเลย การปฏิบัติไม่มีอะไรมากหรอกนะ การปฏิบัติไม่มีอะไรมากหรอก ให้มีสติ รู้ลงที่กายที่ใจอย่างเป็นปัจจุบัน ท่านสอนอย่างนี้ โอ้..คำสอนของท่านนะ ครอบคลุมการปฏบัติไว้ทั้งหมดเลย

เวลาเรารู้ลงที่กายที่ใจนะ ถ้าจิตฟุ้งซ่านเราก็รู้ กับให้จิตลงไปแนบที่กายที่ใจเป็นการเพ่งกายเพ่งใจ เป็นสมถะ เพ่งกายก็เรียกว่ารูปฌานนะ เพ่งใจเรียกว่าอรูปฌาน เพ่งรูปเพ่งอรูปเป็น “สมถะ” ถ้าใจเรามีเรี่ยวมีแรงแล้ว เราดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงาน เห็นแต่ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ อันนี้เรียกว่า “วิปัสสนา” นะ เพราะฉะนั้นการภาวนานะ ให้วนเวียนอยู่ในกายในใจนี้ละ

เมื่อวานก็มีคนมาบอก ชอบเล่นกสิณไฟ เราดูๆแล้ว คนนี้ดูจิตไม่ได้หรอก คนนี้ชอบเล่นกสิณนะ กสิณไฟของเขา เขาดูออกข้างนอก แล้วเปลี่ยนใหม่ เอาไฟเข้ามาเผาตัวเองแทน คิดว่าตัวเองนี้เป็นเชื้อเพลิง เผา ใช้กสิณเผาร่างกายนี้ เผาไปเรื่อยให้มันติดไฟขึ้นมา เอาให้ไหม้ไปให้หมดเลย พอไฟไหม้หมดแล้วนะ จะเหลือตัวรู้ขึ้นมา แล้วก็มารู้ตัวรู้ต่ออีกนะ ก็เดินได้เหมือนกัน

เนี่ยถ้าเข้าใจหลักของการปฏิบัตินะ มันจะไม่ปฏิเสธเส้นทางเดินซึ่งแตกต่างกัน คนที่เข้าใจหลักการปฏิบัติแล้วไม่ปฏิเสธ คนอื่นเขาก็เดินได้ด้วยเส้นทางของเขา แต่ละคนเดินไม่เหมือนกัน คนที่ขึ้นภูเขานะ ถ้าขึ้นถึงยอดเขาแล้วจะรู้เลยว่า เส้นทางขึ้นภูเขามีเยอะแยะเลย ไม่ใช่มีทางเดียวที่เราเดิน แต่ถ้ายังจะบอกว่ามีแต่เส้นทางของฉันเนี่ย เข้าใจผิดแล้ว แสดงว่ายังขึ้นไม่ถึงยอดเขาจริงหรอก อาจจะยังลงเหวไปอีกนะ เพราะคิดว่าเนี่ยทางหลุดพ้นอยู่ในเหวนี้ มุดลงไปในเหวอีก แต่ถ้าเข้าใจหลักของการปฏิบัตินะ มีสติวนเวียนอยู่ในกายในใจนี้ อย่าทิ้งมัน กายก็สอนธรรมะเราคือสอนไตรลักษณ์ จิตก็สอนธรรมะคือสอนไตรลักษณ์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๘
File: 520726
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๔๔ ถึง นาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางลัดในการทำสมถะ

mp 3 (for download) : ทางลัดในการทำสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงปู่เทสก์ท่านสอนอันหนึ่ง บอกว่า เวลาที่ฟุ้งซ่านมากๆนะ ทำสมถะแบบเคล็ดลับเลย แบบทางลัดลัดๆน่ะ กลั้นลมหายใจ กลั้นไว้แป๊บนึง ตรงที่กั้นลมหายใจน่ะ คุณรู้สึกมั้ยมันมีความนิ่งๆอยู่ (โยม : รู้สึกครับ) เออ.. เอาจิตไปอยู่กับความนิ่งๆนั่นแป๊บนึงนะ ก็ได้พักละ (โยม : ครับ) แล้วก็ถอยมาเดินปัญญาต่อ (โยม : ครับ)

จิตก็ต้องมีที่พักบ้าง เดินปัญญารวดไป จิตก็ไม่มีแรง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๑๕
File: 550817B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๖/๖) : หากทิ้งสมถะ จะดูไม่ถึงจิต

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๖/๖) : หากทิ้งสมถะ จะดูไม่ถึงจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ช่วงแรกๆพลาดไปเรื่องนึงนะ คือทิ้งสมถะไป อาศัยว่าทำสมถะมาตั้งแต่เด็ก สะสมพลังของจิตใจมา ๒๒ ปี มาดูจิตพรวดๆๆไป มันไปได้รวดเร็ว พอผ่านมาสองสามปีนะ ทิ้งสมถะไปนานๆจิตไม่มีแรงแล้ว พอไม่มีกำลังแล้วจะเหมือนที่พวกเราหลายคนดู จิตมันจะไปอยู่ข้างนอก มันจะไปนิ่งๆ สว่างอยู่ข้างนอก นิ่งๆไปพักอยู่เฉยๆอยู่ เรานึกว่าเราดูจิตอยู่ แต่ดูไม่ถึงจิตหรอกงั้นที่หลวงพ่อบอกดูไม่ถึงฐาน ดูไม่ถึงฐาน จิตไม่ตั้งมั่น จิตไปอยู่ข้างนอก สำนวนเดียวกันนะ หลายๆสำนวนแต่ว่าเนื้อหาอันเดียวกัน ใจไม่ตั้งมั่น หลวงพ่อเคยเป็นมาแล้ว

ตอนนั้นไปติดอยู่ตรงนี้ตั้งนาน ครูบาอาจารย์ก็ไม่ค่อยอยู่แล้ว มรณภาพไปมากแล้ว เอ๊ ทำไมเราภาวนาหลายปี จิตมันคงที่อยู่แค่นี้เอง จิตมันไม่พัฒนา ครูบาอาจารย์ก็บอกมาทุกองค์ๆนะ ว่าไม่มีวิธีปฏิบัติที่ยิ่งกว่านี้แล้ว ถ้าภาวนาพอเข้าถึงจิตถึงใจตนเองแล้ว ไม่มีวิธีที่ยิ่งกว่านี้แล้ว ทุกองค์เลยพูดอย่างนี้เหมือนกันหมดเลย บางองค์ท่านก็ปลอบใจว่า อย่าใจร้อนนะ เหมือนผลไม้ต้องรอเวลาสุกงอม เอ๊ะ เราก็รอมานานแล้วนะ มันไม่งอมซักที

ตอนนั้นมีโอกาสขึ้นไปกราบอาจารย์มหาบัวที่บ้านตาด ขึ้นไปท่านยังเทศน์อยู่บนศาลา ยังแข็งแรงหนุ่มกว่านี้เยอะ ไปกราบท่านบอกว่า ท่านอาจารย์ครับ ทำไมผมภาวนาแล้วมันไม่พัฒนาเลย ครูบาอาจารย์ให้ดูจิตดูใจอยู่ ก็ดูมาตลอดนะ ทำไมมันไม่พัฒนา ท่านหันมามองหน้าวับท่านก็บอกเลย จิตท่านเร็ว (ท่าน)บอก ที่ว่าดูจิตนั้นดูไม่ถึงจิตแล้ว ดูไม่ถึงจิต ตอนนั้นยังไม่เข้าใจนะ ว่าทำไมดูไม่ถึงจิต เหมือนที่หลวงพ่อบอกพวกเรานี่ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันไม่ถึงจิต มันไม่ย้อนเข้ามาดูกายดูใจ ท่านบอกที่ว่าดูจิตนั้นดูไม่ถึงจิตแล้ว ต้องเชื่อเรานะตรงนี้สำคัญนะ เราผ่านมาด้วยตัวของเราเอง อะไรๆก็สู้บริกรรมไม่ได้ ท่านบอกงี้

พอท่านสอนอย่างนี้นะเราก็กราบท่านเลย มาบริกรรมพุทโธๆๆไปเรื่อย โอ๊ยพุทโธไปเหมือนโลกจะแตกเลย มันทุกข์มันทุรนทุรายนะ จิตมันกระสับกระส่ายไปหมดเลย จิตมันไปติดความว่างๆมานาน ไปอยู่ในความว่าง เนี่ยนักดูจิตต้องระวังนะ สิ่งที่อันตรายมากเลย คือไปติดความว่าง ดูไปๆแล้วก็ว่างอยู่อย่างนั้นเป็นปีๆ ว่างอยู่อย่างนั้น เสียเวลา พอท่านให้พุทโธๆนะ จิตมันต้องทำงาน จิตมันเคยว่างงานมานานนะ พอจิตมันทำงานนะ มันมีทุกข์ทุรนทุรายไปหมดเลย ทุรนทุรายจนเอาไม่อยู่เลย ฟุ้งซ่านแบบดูไม่ไหวเลย

ในที่สุดก็มานึก เอ๊ ทำไมครูบาอาจารย์ว่าเราดูไม่ถึงจิต ค่อยๆสังเกตนะ ทำไมท่านว่าเราดูไม่ถึงจิต ค่อยๆสังเกตลองทวนจะมาดูจิต ปรากฎทวนเข้ามาไม่ได้ มันไม่ทวนเข้ามา ทวนเข้ามาก็ไม่ถึงที่ อ๋อจิตไม่ตั้งมั่น อ๋อขึ้นมาเลย ไปเห็นสภาวะที่มันทวนเข้ามาไม่ได้ นึกว่าจิตไม่ตั้งมั่น เราไม่ถนัดบริกรรม เราถนัดลมหายใจ เรารู้ลมหายใจ หายใจๆ หายใจไปจิตมันก็ตั้งขึ้นมานะ มันก็เดินต่อได้

เพราะนั้นจิตที่ตั้งมั่นก็สำคัญนะ ไม่ใช่ไม่สำคัญ งั้นดูจิตไป บางคนที่หลวงพ่อบอกว่าอย่าเพิ่งทำสมถะ อันนั้นติดสมถะมาติดมางอมแงมเลย ต้องเลิกซะก่อน ทิ้งไปซะก่อนของที่ติด มาเริ่มต้นเอาใหม่ มาหัดเจริญสติ พอมีสติแล้วนะยังไงก็ทิ้งสมถะไม่ได้หรอก ก็ต้องทำอยู่ดีแหล่ะ แต่จะทำง่าย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗
Track: ๔
File: 511023
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๕/๖) : มีจิตผู้รู้แล้วต้องเดินปัญญา

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๕/๖) : มีจิตผู้รู้แล้วต้องเดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเรามีจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ก็ถึงขั้นของการเจริญปัญญา

บางคนก็มาโง่อยู่ตรงนี้อีก บอกว่าพอได้จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้วรักษามันไว้เฉยๆ ประคองจิตให้นิ่งให้ว่าง รู้สึกตัวอยู่เฉยๆนะ รักษาความคิดเกิดขึ้นให้ปัดทิ้ง ความปรุงแต่งเกิดขึ้นให้ปัดทิ้ง ไอ้นั่นคือการทำสมถะอีกแหล่ะ ไม่ได้เดินปัญญาจริง

การเดินปัญญานั้น จิตเป็นหนึ่งนะ อารมณ์เป็นหมื่นเป็นแสน แต่อารมณ์จะมีกี่หมื่นกี่แสน ทุกๆอารมณ์แสดงไตรลักษณ์อันเดียวกัน การเรียนวิปัสสนานั้นนะ เรียนเพื่อให้เห็นตัวร่วม ลักษณะร่วมของทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นมาในรูปธรรมนามธรรมนี้ สิ่งที่เป็นตัวร่วมเรียกว่าสามัญญลักษณะ “สามัญ”เห็นมั้ย ไม่ใช่วิสามัญ

วิสามัญนี่เป็นลักษณะเฉพาะ สภาวะธรรมแต่ละชนิดๆ ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมนี่ มีลักษณะ ๒ ชนิด ลักษณะชนิดที่ ๑ ชื่อวิเสสลักษณะ ลักษณะเฉพาะ คำว่าวิเสสก็คือคำว่าพิเศษนั่นเอง คนไทยใช้คำว่าพิเศษ ลักษณะพิเศษ เช่นความโลภมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ไม่เหมือนความโกรธ ความโกรธก็มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนความโลภ อย่างความโกรธเกิดขึ้น มันมีอาการที่จิตจะผลักอารมณ์ทิ้ง อาการมันไม่เหมือนกัน ความโลภมีอาการที่จิตจะดึงอารมณ์เข้ามาหาตัวเอง หวงแหนรักใคร่ ดึงเข้ามา ความโกรธนี้จะผลักออกไป โมหะเป็นความหมุนมน จับอะไรไม่ค่อยจะถูก วนไปวนมา รีๆรอๆ แต่ละตัวมีอาการไม่เหมือนกัน กุศลก็มีอาการไม่เหมือนอกุศล สติมีอาการไม่เหมือนสมาธิ สติก็มีอาการไม่เหมือนปัญญา สมาธิกับปัญญาก็ไม่เหมือนกัน แต่ละตัวๆที่เราเรียกชื่อแยกจากกันได้ เพราะมันมีลักษณะเฉพาะตัว ทำให้เราแยกได้ ไอ้นี้คือความโลภ พวกเรารู้จักความโลภมั้ย มันไม่เหมือนความโกรธนึกออกมั้ย เนี่ยแต่ละตัวของสภาวะนะ จะมีลักษณะเฉพาะชื่อวิเสสลักษณะ ลักษณะพิเศษ

แต่ทุกๆตัวนั้นมีลักษณะร่วมกัน ลักษณะร่วมนั้นเรียกว่าสามัญญลักษณะ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่  ๐๐ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๔/๖) : เจริญปัญญาได้ต้องเรียนเรื่องจิตมาก่อน

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๔/๖) : เจริญปัญญาได้ต้องเรียนเรื่องจิตมาก่อน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนบอก แอนตี้การดูจิต นี้โง่ที่สุดเลย เพราะบทเรียนของพระพุทธเจ้านะ บทเรียนที่ ๑ ชื่อ สีลสิกขา บทเรียนที่ ๒ ชื่อ จิตตสิกขา ถ้าเรียนเรื่องจิตแล้วเราจะได้จิตที่ตั้งมั่น เพื่อจะเอาไปใช้ในบทเรียนที่ ๓ คือปัญญาสิกขา

บางทีพูดมักง่ายว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (ความจริงแล้ว)ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นเป็นผล เหตุของศีลคือ สีลสิกขา เหตุของสมาธิคือ จิตตสิกขา เรียนเรื่องจิต เหตุของปัญญาก็มี ปัญญาสิกขา เจริญปัญญา รู้วิธีเจริญปัญญาแล้วลงมือเจริญปัญญา ก็จะได้ปัญญามา

บางทีไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล พูดแล้วก็มั่วๆ ไปคิดว่าต้องไปนั่งสมาธิ เพื่อจะได้มี ศีล สมาธิ ปัญญา หารู้ไม่ว่า สมาธิได้มาจากการเรียนเรื่องจิต จิตตสิกขานั่นแหละทำให้เราได้สมาธิสองชนิด เรารู้เลยว่าถ้าจิตเราสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราได้สมาธิชนิดพักผ่อน เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ถ้าจิตของเราตั้งมั่น รู้ตื่นเบิกบานอันเนื่องมาจากเรารู้ทันจิตที่ไหลไป เราจะได้สมาธิอีกชนิดหนึ่งที่เอาไว้เดินปัญญาชื่อ ลักขณูปนิชฌาน

เพราะฉะนั้นการเรียนเรื่องจิตนี่แหละ จะทำให้เราได้สมาธิ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่  ๓๕ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๐๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๓/๖) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๓/๖) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เบื้องต้น ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นกรรมฐานอย่างเดิมที่เคยทำเพื่อให้เกิดความสงบก็ได้

ยกตัวอย่างหลวงพ่อ หายใจนะ หายใจแล้วจิตมีความสุขอยู่กับลมหายใจ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งก็คือลมหายใจ รู้ลมหายใจอันเดียวจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง นี่คือทำสมถะ ทีนี้ต่อมาเรามาฝึก หายใจแล้วจิตเคลื่อนไป เรารู้ทัน เราไม่ได้รู้ที่ลมหายใจ แต่หายใจแล้วรู้จิต นี่มันต่างกันตรงนี้ ถ้าเราทำกรรมฐานแล้วเรารู้อยู่ในอารมณ์ของกรรมฐานนั้นๆนะ จะได้สมถะ จะได้ความสงบ ถ้าเราทำกรรมฐานแล้วเรารู้ทันจิต จะได้จิตที่ตั้งมั่น

เพราะฉะนั้น พุทโธเหมือนเดิม ใครเคยพุทโธแล้วสงบนะ จิตอยู่กับพุทโธ ก็ปรับนิดเดียว พุทโธต่อไป แต่พุทโธไม่ใช่เพื่อให้จิตไปอยู่กับพุทโธ ไม่ใช่พุทโธให้จิตสงบ แต่พุทโธแล้วรู้ทันว่าจิตไหลไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไปเพ่งพุทโธไปเพ่งจิตเอาไว้ ก็รู้ทัน

คนไหนเคยฝึกอานาปานสติ จิตไปรวมกับลมหายใจแล้วมีความสงบขึ้นมา ก็ปรับนิดนึง ก็หายใจเหมือนเดิมแหละ แต่แทนที่จะรู้ลมหายใจ ก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจก็รู้ทัน อย่างนี้จะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา เพราะจิตผู้รู้ กับจิตผู้ไหลไปผู้หลงไปผู้ส่งออกไป จะตรงข้ามกัน จิตผู้รู้นั้นไม่ส่งไป ตั้งมั่น เด่นดวง อยู่

ใครเคยดูท้องพองยุบก็ดูไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน ใช้หลักเดียวกัน แต่ถ้าจิตเราไหลไปเกาะนิ่งอยู่ที่ท้อง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะ เอาไว้พักผ่อน

เพราะฉะนั้นปรับนิดเดียวเท่านั้นเอง คือเปลี่ยนการรู้อารมณ์มาเป็นการรู้จิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่  ๒๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 612345...Last »