Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ทุกอย่างมีเหตุกับผล และเหตุกับผลต้องตรงกัน

mp 3 (for download) : ทุกอย่างมีเหตุกับผล และเหตุกับผลต้องตรงกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ทุกอย่างมีเหตุกับผลนะ อย่าเชื่ออะไรงมงาย อย่างอยู่ๆ เราจะไปไหว้พระ ขอให้เจ้าแม่กวนอิมหรือ เจ้าพ่ออะไร? เห้งเจีย อะไรช่วยเราเนี่ย เจ้าพ่อเจ้าแม่ก็ช่วยไม่ได้ อยู่ที่กรรมของเราเอง อย่างเจ้าแม่กวนอิมเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ความเมตตานั้นมหาศาล แต่ท่านทำอะไรบ้าง ท่านเงี่ยหูฟังเสียงสรรพสัตว์มันร้องไห้ บอกไหมว่าท่านซับน้ำตาให้สัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ทุกตัว มันทำไม่ได้ เนี่ย มันทำไม่ได้ สัตว์ที่ทำกรรมชั่ว เวลากรรมชั่วให้ผลมามันก็ได้รับความทุกข์ ท่านก็เห็นใจ เห็นใจอยากช่วย ช่วยยังไง? ก็ต้องแนะนำให้มันทำดี ทุกอย่างเป็นเรื่องเหตุกับผลทั้งหมดเลยนะ

หลวงพ่อเคยอ่านเรื่องของเจ้าแม่กวนอิม บอกว่าก่อนที่ท่านจะบรรลุ บรรลุของมหายานกับของเราไม่เหมือนกันนะ เขาบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ได้ ท่านสร้างความดีมากมาย จนพระพุทธเจ้าเห็นใจประทานเเจกันหยกให้อันหนึ่ง แล้วก็บอกว่าเอาแจกันเนี้ยไปตั้งบูชาไว้นะ แล้วดู วันไหนมีน้ำเต็มแจกันขึ้นมานะ วันนั้นน่ะจะบรรลุแล้ว จะเข้าถึงธรรมะ เจ้าแม่กวนอิมก็ไปช่วยคนเยอะเลยนะ พยายามช่วย ช่วยๆ กลับมาที่ตำหนักแจกันก็เหมือนเดิม ต้องคอยเช็ดฝุ่นด้วยซ้ำไป ไม่มีน้ำ เนี่ย ทำความดีอยู่นานเลยนะ ใจ เมื่อไหร่จะมีน้ำ เมื่อไหร่จะมีน้ำ มันไม่มี จนกระทั่งลูกศิษย์ของท่านน่ะ ลูกศิษย์ของเจ้าแม่กวนอิมเองสงสาร โถ เจ้าแม่อยากให้มันมีน้ำ เจ้าแม่ไม่อยู่มันเอาน้ำเติมแจกันเต็มเลย มันใส่เข้าไปเต็มเลย นี้เจ้าแม่กลับมานะ โอ้ย น้ำเต็มแล้ว วันนี้จะบรรลุแล้ว ดีใจใหญ่เจ้าแม่จะบรรลุแล้ว ตัวท่านน่ะดีใจ ลูกศิษย์เนี่ยรู้สึกสำนึกผิดเลย ไอ้นี่หลอกอาจารย์ ถึงจะหวังดีนะ แต่ทำให้อาจารย์เข้าใจผิดไปแล้วล่ะ ทีแรกคิดแต่ว่าท่านอยากให้น้ำมันเต็ม ก็เติมให้เต็ม ที่แท้ท่านอยากให้เต็มเพราะว่าท่านจะได้บรรลุธรรม ลูกศิษย์ก็เลยเข้าไปกราบขอขมาท่าน สารภาพว่า ได้เติมน้ำไว้เอง จำไม่ได้ผู้หญิงผู้ชายนะ เนี่ยเอาน้ำไปเติมเอง พอท่านได้ยินนะ ท่านก็บรรลุแล้ว

น้ำ มันก็ต้องมีเหตุสิ มันถึงจะเกิด เมื่อเติมไว้ มันก็มีเหตุใช่ไหมน้ำมันถึงจะเต็ม ไม่มีเหตุมันไม่เต็มหรอก แล้วเหตุกับผลต้องตรงกัน อยากให้มีน้ำก็ต้องเติมน้ำ ไม่ใช่อยากมีน้ำไปช่วยคน เหตุกับผลไม่ตรงกัน งั้นสร้างเหตุกับผลต้องตรงกัน อยากได้ อยากจะกินมะม่วงก็ต้องไปปลูกมะม่วง อยากจะกินข้าวก็ไปปลูกข้าว นี่เรื่องของเหตุกับผลทั้งสิ้นเลย

งั้นชาวพุทธเราต้องดำรงชีวิตด้วยความมีเหตุผล อย่างมงาย ความงมงายนั้นมีทุกระดับ กระทั่งในการปฏิบัติ อย่างเราคิดว่าปฏิบัติอย่างเนี้ย จะพ้นทุกข์ ใครๆ ก็คิดน่ะ ศาสนาอื่นก็คิด เขาก็อยากจะมีความสุขอมตะ อยากมีความสุขที่อมตะ อย่างเช่นนั่งสมาธิเข้าฌานจนจิตเป็นพรหมขึ้นมา พอจิตเป็นพรหมแล้วบอกจิตกลายเป็นพรหมแล้ว จิตรวมเข้ากับพรหมแล้ว เนี่ยจุดสูงสุด ไม่รู้เหตุ ว่าการที่ไปฝึกสมาธิจนเป็นพรหมน่ะ ยังเป็นเหตุเป็นผลในฝ่ายวัฏฏะอยู่ มันทำความดีไปเกิดในที่ดี เมื่อเกิดได้ก็ยังดับได้อีก มันไม่ได้พ้นจากการเกิดจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๗
File: 571206A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๑๕ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กฎแห่งกรรมยุติธรรมที่สุด

mp 3 (for download) : กฎแห่งกรรมยุติธรรมที่สุด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่ออาทิตย์ก่อนก็ไปเทศน์ มีเด็กคนหนึ่ง นักศึกษาแพทย์ ปี ๕ ดูสมบูรณ์พร้อมทุกอย่างเลย พ่อแม่ อะไรต่ออะไร ฐานะความเป็นอยู่นะ รูปร่างหน้าตานะ ดีหมดเลย ไม่สบายอยู่อาทิตย์สองอาทิตย์นะ เกิดเป็นมะเร็งนะ เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแล้วลามเร็วมากเลย ลามแป๊บเดียวลามไปทั่วแล้วนะ แต่เด็กคนนี้ไม่ทุกข์นะ แม่ทุกข์นะ เด็กไม่ทุกข์นะ เด็กคนนี้เขาภาวนา ภาวนาได้ดีเชียวล่ะ

เพราะฉะนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเรานะ ถ้าเรายอมรับความจริงได้ มันต้องเกิดน่ะ สิ่งทั้งหลายที่เราเจอนั้นยุติธรรมที่สุดแล้ว ในกฎของกรรม สิ่งทั้งหลายที่เราเจอไม่มีลูกฟลุ๊คหรอก เราเชื่อมั่นในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่าทุกสิ่งทั้งหลายเป็นด้วยกรรมนะ กรรมอดีต(หมายถึงกรรมที่กระทำในชาติก่อนๆ – ผู้ถอด)ก็มีนะ กรรมปัจจุบัน(หมายถึงกรรมที่กระทำในชาติปัจจุบัน-ผู้ถอด)ก็มีนะ

ยกตัวอย่างบางคนจะมาโทษแต่กรรมในอดีตอย่างเดียวนั้นโง่ละ เป็นมิจฉาทิฎฐิ ยกตัวอย่างเห็นหมาบ้าวิ่งมาทางเรานะ ถ้าไม่มีเวรกรรมมันคงไม่กัดหรอก เราน่ะมีกรรมกำลังโง่อยู่ ทำกรรมปัจจุบันนี้แหละโง่ ไปยืนขวางหมาบ้านะ

เพราะฉะนั้นมีสติมีปัญญานะ ถ้าเรารู้ความจริงว่าทุกอย่างมันเป็นผลจากสิ่งที่เราทำขึ้นมา ไม่ใช่คนอื่นทำหรอก เราก็ไม่เดือดร้อนนะ ไม่เคียดแค้นใคร แล้วก็ค่อยๆตั้งหลักขึ้นมาแก้ปัญหาชีวิตไปด้วยสติด้วยปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521129A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๑ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๕๘

ตัดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ถอดคลิปส์และตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสังสารวัฏฏ์ เพราะชอบส่งจิตออกนอก

mp3 for download : มีสังสารวัฏฏ์ เพราะชอบส่งจิตออกนอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้การที่หวังพึ่งอารมณ์ภายนอกนะ อารมณ์ภายนอกเป็นของแปรปรวน เป็นของบังคับไม่ได้ เป็นของเลือกไม่ได้ กรรมมันเลือกให้เรา เพราะฉะนั้นจิตเนี่ย เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ พอมีความสุขเกิดขึ้น ก็หลงเพลิดเพลินพอใจ นั่นคือราคะแทรก อารมณ์นี้นำความสุขมาให้ ก็เลยหลงรักใคร่อารมณ์นั้น ราคะแทรก อารมณ์นี้นำความทุกข์มาให้ โทสะก็แทรก เกลียดอารมณ์อันนี้ ในใจก็กระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง เดี๋ยวฟูเดี๋ยวแฟ่บ เดี๋ยวฟูเดี๋ยวแฟ่บ ไปเรื่อยๆ

วัฎฎะนี้ไม่มีที่สิ้นสุดเลย (วัฏฏะในที่นี้คือ สังสารวัฎฎ์ หรือ ไตรวัฎฎ์ ได้แก่ วงจรของ กิเลส กรรม วิบาก – ผู้ถอด) เพราะว่า เมื่อเพลิดเพลินตามอารมณ์ หรือปฏิเสธอารมณ์นะ (อารมณ์ คือ สิ่งใดๆที่จิตไปรู้เข้า – ผู้ถอด) จิตก็เกิดการกระทำกรรมขึ้นมา เกิดความดิ้นรนทางใจขึ้นมา ดิ้นรนไปในทางดีบ้าง ทางชั่วบ้าง มันก็สะสมวิบากต่อไปอีก เพราะอย่างนั้น วัฎฎะเนี่ย จึงได้หมุนไปเรื่อยต่อไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด มันมาจากการที่พวกเราชอบส่งจิตออกนอก

นี่ถ้าหากว่าเราเคยได้ยินได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า เราก็ต้องรู้ว่าโอปนยิโก น้อมกลับเข้ามา มาเรียนรู้ตัวเอง ไม่ใช่ว่าไปสนใจรูปแล้วลืมลูกตา ไม่ใช่สนใจเสียงแล้วลืมหู สนใจกลิ่นแล้วลืมจมูก สนใจรสแล้วลืมลิ้น สนใจสิ่งที่มากระทบกับร่างกายแล้วลืมร่างกาย สนใจสิ่งที่มากระทบทางใจแล้วก็ลืมใจของตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907A
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๑ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รูปนามเกาะกลุ่มด้วยกรรม ทำกรรมใหม่

mp3 for download : รูปนามเกาะกลุ่มด้วยกรรม ทำกรรมใหม่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมย์ : พอจับแยกออกไปแล้วด้วยสติด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ก็พบว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรมนามธรรมจำนวนมาก มาประชุมร่วมกันมาทำงานร่วมกัน มีกรรมเป็นตัวผลักดันให้รูปธรรมและนามธรรมเหล่านี้มาเกาะกลุ่มกัน

เมื่อได้รูปธรรมนามธรรมมาแล้วก็ไปทำกรรมใหม่ ทำกรรมดีบ้าง ทำกรรมชั่วบ้าง ก็ส่งเสริมและเป็นปัจจัยให้เกิดรูปธรรมนามธรรมใหม่ในอนาคตต่อไปอีก ดีบ้างร้ายบ้าง ก็หมุนไปอย่างนี้เรื่อยๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๙ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อทำกรรม ก็ต้องรับวิบาก

mp3 for download 550525B.08m32-10m50

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ : อุ๊ย.. แมลงวันมาอีกแล้ว อ๊ะ โมโหแล้วนะ โมโหแล้ว รู้ทันใจที่โมโห นะ ตีขู่ ตีขู่มันนะ อย่าไปโดนตัวมัน บาป เดี๋ยววันหลัง ภาวนา กรรมตามทัน

หลวงพ่อตอนเด็กเคยซน มีลวดสลิงเล็กๆอยู่อันหนึ่ง เอาไว้แกว่งเล่นน่ะ เห็นค้างคาวมาบินอยู่ใกล้ๆระเบียงบ้านทุกวันเลย มากินลูกตะขบ ก็พยายามตีค้างคาวนะ ก็แกว่งๆนะ ไม่เคยถูกค้างคาวเลยสักวัน อีกวันหนึ่งเห็นมันมาแต่ไกล รีบแกว่ง ปรากฎว่ามันบินเร็วมากเลย พอมันมาแล้วเราแกว่ง มันบินไปโน่นทุกทีเลย วันหนึ่งเห็นมันมาแต่ไกลนะ แกว่งทางนี้นะ มันเซ่อมาชนเข้า ตกลงไปที่พื้นนะ ทำปีกอย่างนี้นะ มันเจ็บน่ะ ใจนี้นะ โหย..สลดมากเลย สงสารมันมากเลย อยากจะเข้าไปอุ้มมัน (แต่ไม่กล้า) กลัวมันกัดเอา ขยับๆอย่างนี้นะ สักพักหนึ่งก็บินหนีไป

ตอนที่หลวงพ่อมาหัดภาวนานะ ยังไม่ได้บวชหรอกตอนนั้น ยังหนุ่มๆ หนุ่มกว่าพวกเราตอนนี้ ส่วนใหญ่หน้าตาชักเก่าๆแล้วล่ะพวกเรา นั่งภาวนาอยู่ วันหนึ่งได้ยินเสียง เฟี้ยวเลยนะ เฟี้ยวเลย มีความรู้สึกเหมือนถูกฟาดด้วยแส้ เคยเห็นหนังมั้ย ที่ใช้แส้ หนังฝรั่งน่ะ แต่นี่เป็นแส้ลวด ฟาดเฟี้ยวมาเลยนะ ควั่บแบบ โหย..เข้าไปเต็มหลังเลยนะ เจ็บ! ใจนี้สั่นริกๆริกๆเลยนะ แทบจะขาดใจ แล้วก็เห็นค้างคาวนะ ขยับอย่างนี้ โอ้..รู้เลยนี่วิบาก นี่แค่เด็กเล่นนะ มันยังไม่ยอมเลยนะ ยังคิดบัญชีคืนเลย

ไม่ใช่ค้างคาวมาแก้แค้นเรา ค้างคาวเป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือ ไม่ใช่นะ ก็จิตของเราเองนี่แหละไปทำกรรมชั่ว วิบากนั้นสะสมไว้ ต้องรับ หนีไม่รอดเลย ต้องรับ

เพราะฉะนั้นเราไม่ทำนะ ความชั่วเล็กๆน้อยๆก็ไม่เอา พยายามหัดดูจิตดูใจไป ทุกวันๆนะ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ พอจิตหนีไปก็รู้ทัน จิตหนีไปก็รู้ทัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
ไฟล์ 550525B
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร มีแต่วิบากจากกรรมที่ทำมา

ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร มีแต่วิบากจากกรรมที่ทำมา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีฝึกให้เกิดตัวรู้เป็นขณะๆบ่อยๆก็คือ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ ดูท้องพองยุบก็ได้ ทำจังหวะเอาก็ได้ ขยับมือทำจังหวะ จังหวะอย่างหลวงพ่อเทียนเราไม่ชอบ เราคิดจังหวะของเราเองก็ได้

หลวงพ่อไม่ได้ทำอย่างหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อเป็นโทสะจริต ใจร้อน หลวงพ่อทำแค่นี้เองนะ อากาศร้อน หลวงพ่อทำกรรมฐานอย่างนี้ ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก พัดไปแหมมันสบายใจ มีความสุขขึ้นมา รู้ว่าสบายใจ พัดไปพัดมา แมลงวันมาอีกแล้ว โมโหแล้ว โมโหรู้ทันใจที่โมโห ตีขู่มัน ตีขู่มันนะ อย่าไปโดนตัวมัน บาป เดี๋ยววันหลัง ภาวนา กรรมตามทัน

หลวงพ่อตอนเด็กๆเคยซน มีลวดสลิงอยู่อันหนึ่ง เล็กๆ แกว่งเล่นนะ เห็นค้างคาวมา บินอยู่ใกล้ๆระเบียงบ้านทุกวันเลย มากินลูกตะขบ ก็พยายามตีค้างคาวนะ เอาลวดสลิงมาแกว่งๆนะ ไม่เคยถูกมันสักวันเลย อีกวันหนึ่งเห็นมันมาแต่ไกลนะ รีบแกว่งลวดสลิง ปรากฎว่ามันบินเร็วมากไง พอมันมานี่ เราแกว่ง มันไปโน่น ทุกทีเลย วันหนึ่งเห็นมันมาแต่ไกลนะ (รีบ)แกว่งทางนี้(รอ)นะ มันเซ่อมาชนเข้า ตกไปที่พื้นนะ มันทำปีกอย่างนี้นะ มันเจ็บน่ะ ใจนี้โอ้โหย.. สลดมากเลย สงสารมากเลย อยากจะเข้าไปอุ้มมัน (แต่ไม่กล้า)กลัวมันกัดเอา มันขยับๆอย่างนี้นะ สักพักหนึ่งก็บินหนีไป

ตอนหลวงพ่อมาหัดภาวนานะ ยังไม่ได้บวชหรอก ตอนนั้น ยังหนุ่มๆ หนุ่มกว่าพวกเราตอนนี้นะ ส่วนใหญ่หน้าตาชักเก่าๆแล้วนะพวกเรา นั่งภาวนาอยู่วันหนึ่ง ได้ยินเสียงเฟี้ยว..เลยนะ เฟี้ยวเลย มีความรู้สึกเหมือนถูกฟาดด้วยแส้ เคยเห็นหนังมั้ยที่ใช้แส้ หนังฝรั่งน่ะ แต่นี่เป็นแส้ลวด ฟาดเฟี้ยวมาเลยนะ ควั่บหนึ่ง โอ้หูย..เข้าไปเต็มหลังเลยนะ เจ็บ! ใจนี้สั่นริกๆริกๆเลย จะขาดใจ แล้วเห็นค้างคาวนะ ขยับอย่างนี้ โอ้ รู้เลย นี่วิบาก

นี่แค่เด็กเล่นนะ มันยังไม่ยอมเลยนะ ยังคิดบัญชีคืนเลย ไม่ใช่ค้างคาวมาแก้แค้นหรอก มีค้างคาวเป็นเจ้ากรรมนายเวร-ไม่ใช่หรอก ก็จิตของเราเองนี่แหละไปทำกรรมชั่ว วิบากนั้นสะสมไว้ ต้องรับ หนีไม่รอดเลย ต้องรับ

เพราะฉะนั้นเราไม่ทำนะ ความชั่วเล็กๆน้อยๆก็ไม่เอา พยายามหัดดูจิตดูใจไป ทุกวันๆนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๕ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๘
File: 550525B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๑

550525B.07m50-10m41.mp3

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำบุญ ทำเพื่อลดละกิเลส

mp3 for download: ทำบุญ ทำเพื่อลดละกิเลส

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นกรรมชั่วแม้แต่เล็กน้อยก็ไม่ควรทำ กรรมดีแม้แต่เล็กน้อยก็ควรทำ

นี่ครูบาอ๊า เดินๆไปเจอรังของปาด ใครเคยเห็นปาดมันออกไข่มั้ย เป็นพวงๆนะ เกาะอยู่ตามใบไม้ แม่มันกะไม่เก่ง เมื่อมันอายุถึงขีดสุด มันควรจะหล่นลงน้ำ มันกะไม่เก่งนะ มันหล่นไปบนบก ครูบาอ๊าไปเก็บลูกอ๊อด เก็บเอาไปปล่อยนะ ทีละตัวๆ ตัวนิดเดียวน่ะ เก็บไปก็ โอ๊ะ มันใกล้จะตายแล้ว เอาน้ำมาใส่ แล้วก็จับอีก จับอยู่เป็นชั่วโมงเลย นี่บุญมั้ย บุญ ดูเล็กน้อยนิดเดียวเอง สัตว์เล็กสัตว์น้อยนะ บุญทั้งนั้นแหละนะ อย่างเราไม่มีเงินไปซื้อปลามาปล่อยนะ ช่วยชีวิตสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยเนี่ย ก็ได้บุญเยอะแยะแล้ว

การทำบุญต้องทำแบบมีสติปัญญา ทำไปเพื่อสงเคราะห์ ทำไปเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น สัตวือื่น ไม่ได้ทำเพื่อจะเอา ทำเพื่อจะเอากิเลสออก ไม่ใช่ทำเพื่อสะสมกิเลส บางคนทำบุญเพื่อสะสมกิเลส ทำแล้วอยากได้โน่นอยากได้นี่นะ บุญนั้นทำไปเพื่อลดละกิเลสนะ ค่อยๆเอากิเลสออกจากใจ ดีที่สุดเลยนะ สงเคราะห์ ช่วยเหลือ อะไรนี่นะ เพื่อลดความเห็นแก่ตัว ทำใจให้กว้าง ทำใจให้อ่อนโยน ทำใจให้มีเมตตากรุณา อะไรอย่างนี้ เป็นการพัฒนาจิตใจ

ทำบุญเพื่อจะเอา เช่น สาธุ..ขอให้ได้โน่น ขอให้ได้นี่ อันนั้นมันลูกชูชกแล้ว ไม่ใช่ลูกพระพุทธเจ้า มันจะเอา อยากได้

เพราะฉะนั้นเราคอยสังเกตใจไป กรรมใดที่ทำแล้วลดละกิเลสได้ก็ทำนะ เล็กๆน้อยๆก็ทำไปเรื่อย อย่างเห็นลูกอ๊อดตกอยู่บนบกอย่างนี้ สงเคราะห์มันได้ก็สงเคราะห์มัน ไม่ใช่เพื่อจะเอาบุญ สาธุ.. ให้..ปล่อยลูกอ๊อดได้กี่ตัวขอให้หวยออกเท่านั้นนะ อะไรอย่างนี้ อย่างนั้นทำเพื่อจะเอา ทำเพื่อพอกพูน

เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ บุญทั้งหลายทำไปเรื่อย แล้วลดละกิเลส ไม่ใช่เพื่อพอกพูนกิเลส ความชั่วทั้งหลายแม้แต่เล็กน้อยก็อย่าไปทำมัน ค่อยๆเลี่ยง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
File: 550519B.mp3[Thai], 550519B.mp3[USA/Europe]

550519B.07m05-09m37

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรม อโหสิกรรม การขอขมาและการให้อภัย

mp3 for download : กรรม อโหสิกรรม การขอขมาและการให้อภัย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ภาวนานะ แล้วก็มีคนเข้าใจมากขึ้นนะ เข้าใจธรรมะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้านะ ชัดเจน ท่านบอกเป้าหมายไว้ชัดเจน เราปฏิบัติเป็นไปเพื่อลดละกิเลส สุดท้ายหมดความยึดถือในธาตุขันธ์ก็พ้นทุกข์ ท่านชี้เป้าไว้คือพ้นจากความทุกข์ จนวันที่ธาตุขันธ์แตกก็เข้าถึงความดับสนิทแห่งทุกข์

การปฏิบัติตอนที่พ้นจากกิเลส ก็พ้นจากทุกข์ทางใจ เรียกว่า “สอุปาทิเสสนิพพาน” ดำรงขันธ์ต่อไปจนขันธ์แตกขันธ์ดับ วันตาย ก็พ้นจากขันธ์ เรียกว่า “อนุปาทิเสสนิพพาน” นิพพานจะมี ๒ อัน เป็นภาวะที่พ้นจากทุกข์อันหนึ่ง เป็นภาวะที่ดับสนิทของทุกข์อีกอันหนึ่ง

ทีนี้พวกเราภาวนานะ ถ้าเมื่อไหร่ชนะกิเลสได้ โดยเฉพาะอวิชา ความไม่รู้อริยสัจจ์ ไม่เห็นจริงว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ถ้าชนะตรงนี้ได้ก็เรียกว่าพระอรหันต์ ยังมีชีวิตอยู่ สัมผัสพระนิพพานนะ แต่ว่าพ้นทุกข์ทางใจ ทางร่างกายยังมีขันธ์อยู่ยังทุกข์อยู่ วิบากที่ดีที่ไม่ดียังให้ผลต่อขันธ์ได้อยู่

ขนาดพระพุทธเจ้าของเราบารมีท่านมากมาย แต่ท่านก็เคยทำบาป ขนาดวันที่ใกล้จะนิพพาน วันที่จะนิพพาน เดินไปกุสินารา กระหายน้ำ อยากดื่มน้ำ ก็มีเกวียนผ่านแม่น้ำไปก่อนทำให้น้ำขุ่น พระอานนท์ไม่ยอมตักน้ำให้ท่านดื่ม ท่านก็ไม่สบายด้วย ชราด้วย ท่านบอกพระอานนท์ให้ไปตักเถอะ ไปตักมาได้น้ำใสมา น้ำขุ่นนั้นมันไหลไปหมดแล้ว

ทำไมต้องกระหายน้ำ ความกระหายน้ำเป็นทุกข์ทางกาย ทุกข์ของขันธ์ พระพุทธเจ้ายังไม่พ้นเลย ท่านถ่ายเป็นโลหิต การถ่ายเป็นโลหิตจนต้องนิพพาน ขันธ์จะแตกด้วยการที่ไม่สบายถ่ายเป็นเลือด ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น ขนาดเป็นพระพุทธเจ้า ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะวิบากของท่านมี ท่านเคยเป็นหมอ พวกเราในห้องนี้เป็นหมอเยอะเลย ท่านโลภ มีความโลภ ท่านไปวางยาคนไข้ ทำให้เขาถ่ายเป็นเลือด ขนาดบำเพ็ญบารมีมาตั้งนาน บรรลุพระอรหันต์แล้ว วิบากยังตามให้ผลท่าน

เพราะฉะนั้นถึงเราพ้นกิเลส จิตเราพ้นความทุกข์ไปแล้ว แต่อกุศลวิบากยังกระทบเข้ามาที่ธาตุที่ขันธ์ที่กายนี้ได้ เพราะฉะนั้นกรรมเล็กกรรมน้อยนะ พวกเราพยายามเลี่ยง อย่าไปทำ ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้บอกว่าให้ทำกรรมใหญ่ๆ กระทั่งกรรมเล็กๆยังเลี่ยงเลย ใหญ่ๆอย่าไปทำนะ ยังไงก็ต้องมีผล ทำกรรมไว้ก็ต้องมีผล

พวกเราบางคนนะเข้าใจผิด คิดว่าไปขออโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร อันนั้นไม่ใช่ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า ที่เราไปขอได้นี่เราไปขอขมา ไปขอโทษ ยกตัวอย่างพระเทวฑัตสำนึกผิดในเวลาที่จะตายแล้ว ถูกแผ่นดินสูบลงไป เอาลูกคางนี่ มือไม่มีแล้วถูกดูดลงไป กระดุกกระดิกไม่ได้แล้ว ยังมีแต่หัวกระดุกกระดิกได้อย่างเดียว เอาลูกคางเกยแผ่นดิน บูชาพระพุทธเจ้าด้วยกระดูกลูกคาง ขอขมาท่าน ได้ล่วงเกินท่านมามากมาย พยายามฆ่าท่านตั้งหลายที ขอขมาเสร็จแล้วนะ แผ่นดินก็สูบลงไป อยู่ในอเวจีมหานรก

สัตว์ในอเวจีตัวใหญ่มากนะ ตัวโตมากเลย ไม่ใช่ตัวเล็กๆเท่าพวกเรานี้หรอก ตัวเล็กพวกเรา ตัวน้อยนิดเดียว ถูกไฟเผาทั้งวันทั้งคืนไม่มีหยุดเลย เป็นนรกที่ไม่ยอมหยุดพักเลย ขยันมากนะ

ทำไมขอขมาแล้วยังลงอเวจี เพราะกรรมนั้นมี สำเร็จไปแล้ว อย่างพวกเราบางทีชอบพูดว่าขออโหสิกรรม อโหสิกรรม กรรมมาขอกันไม่ได้ เราขอโทษต่างหาก ขอขมา

อย่างเวลาพระจะเข้าพรรษาพระก็ไปขอขมากัน เป็นผู้น้อยไปขอขมาพระผู้ใหญ่ เรียกว่าไปทำ “สามีจิกรรม” ไปทำกรรมที่ดี เป็นความมีมารยาทอันเรียบร้อย ไปบอกว่ากรรมใดที่ประมาทล่วงเกินนะ สิ่งใดที่ประมาทล่วงเกินพระเถระ ขอให้ท่านอดโทษ ไปขอขมานั่นแหละขอให้อดโทษ คืออย่าโกรธอย่าเคืองอย่ากลั่นแกล้งรังแกตอบ อะไรอย่างนี้นะ ขอโทษน่ะ เพื่อความสำรวมระวังนะ ไม่ทำอีก อะไรอย่างนี้

พระผู้ใหญ่ก็บอกว่า เออ.. ผมให้ขมา ให้อภัย ยกโทษให้ แต่ถ้าผมล่วงเกินท่านผู้น้อย ก็ยกโทษให้ผมด้วยนะ น่ารักนะระบบของพระน่ะ พระผู้ใหญ่จะบอก อะหัง ขมามิ เออ..ผมยกโทษให้ ตุมเหหิ ปิเม ขะมิตัพพัง ถ้าผมมีโทษอะไรท่านก็ยกโทษให้ด้วยนะ ขอขมาซึ่งกันและกัน

การขอขมาโทษนี่ เป็นความกล้าหาญ ยกตัวอย่างเราทำผิดล่วงเกินใคร ไปขอขมาเขาเนี่ย เป็นความกล้าหาญของเรา ที่จะเปิดเผยความไม่ดีของตัวเองได้ คนที่กล้าหาญอย่างนี้ พระพุทธเจ้ายกย่อง

แต่พวกเราชอบไปบอกขออโหสิกรรม กรรมอโหสิไม่ได้ อโหสิกรรมแปลว่ากรรมที่ให้ผลสำเร็จแล้ว ยกตัวอย่างเทวฑัตนะ ขึ้นจากอเวจีมานะ นี่อโหสิกรรมนะ ให้ผลแล้ว เลิกกันไปแล้ว รับผลแล้ว

เพราะฉะนั้นกรรมชั่วแม้แต่เล็กน้อยก็ไม่ควรทำ กรรมดีแม้แต่เล็กน้อยก็ควรทำ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
File: 550519B.mp3(Thai) … 550519B.mp3(USA/Europe)

550519B.00m00-07m11

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง พระเทวฑัต

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมส่งผลให้เราเจออย่างนี้ แต่เราตัดสินใจอย่างไรเป็นกรรมใหม่ของเรา

mp3 for download: 520731B กรรมเก่าส่งมา กรรมใหม่เราสร้าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: แต่ละคนมีกรรมเป็นของตัวเอง ทุกคนที่มาเจอสถานการณ์ต่างๆเนี่ย กรรมส่งผลมา กรรมเก่าส่งผลมาให้เราเจอปรากฎการณ์อย่างนี้ทุกคนแหละ แต่ว่าพอเจอปรากฎการณ์อย่างนี้ ทุกคนทำกรรมใหม่ของตัวเองนะ ไม่ใช่คนอื่นทำให้ เพราะงั้นเราทำกรรมใหม่ของเราเอง กรรมเก่าส่งผลมา ทำให้ต้องเกิดสถานการณ์อย่างนี้ แต่ในสถานการณ์อย่างนี้แต่ละคนตัดสินใจไม่เหมือนกัน บางคนตัดสินใจผิด บางคนตัดสินใจถูก กรรมของเขาเองนะ กรรมของเขาเอง ไม่ใช่เราไปทำให้ใครเขาตัดสินใจเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ
วันศุกร์ ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
File: 520731B
ระหว่างนาทีที่  ๕๔ วินาทีที่ ๕๕ ถึง นาทีที่ ๕๕วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็ทำให้พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

mp3 for download : หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็ทำให้พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็ทำให้พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : มหายานที่ดี เขาก็รักษาเนื้อแท้ของศาสนาพุทธไว้ได้ มหายานไม่ดีก็รักษาไม่ได้ เหมือนเถรวาทเหมือนกันนะ คำสอนที่ดีๆในฝ่ายเถรวาทก็มี แต่คำสอนที่เป็นเนื้องอกก็เยอะมากเลย

อย่างคำสอนนานาชนิดที่มีทุกวันนี้นะ เรื่องแก้กรรมแก้เวร อะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่ชาวพุทธแท้ๆ ไม่ใช่คำสอนอย่างพุทธะแท้ๆ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนแก้กรรมอะไรอย่างนี้

เพราะฉะนั้นในความเป็นจริงก็คือ ตัวเนื้อแท้ของศาสนานะ ของเถรวาทก็มี ของมหายานก็มี ตัวเปลือกที่มาห่อหุ้มจนกระทั่งปิดบังเนื้อแท้ไปเลยก็มี ผู้ใดมีปัญญาก็แหวกเปลือกเข้าไปเห็นเนื้อแท้ได้ เหมือนลูกทุเรียนนะ หน้าตาน่าเกลียดนะ มีหนาม หน้าตาไม่น่าดูเลย แต่เนื้อในดี (จะเข้าถึง-ผู้ถอด)ธรรมะเขาก็ต้องแหวกสิ่งห่อหุ้มเข้าไป เข้าไปในถึงเนื้อใน

ถ้าเข้าไปถึงเนื้อในของธรรมะนะ จะพบว่าไม่มีอะไร กายนี้ว่างเปล่า ใจนี้ว่างเปล่า (ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ – ผู้ถอด) ทุกสิ่งในชีวิตเราเหมือนภาพลวงตา เป็นแค่ภาพลวงตาเท่านั้นเอง คนที่ไม่รู้ความจริงก็คิดว่ามีจริงๆ เหมือนภาพ ภาพลวงตา เดินอยู่ในทะเลทรายแล้วก็เห็นต้นไม้ อะไรอย่างนี้ เป็นภาพที่ไหนก็ไม่รู้ เดินเข้าไปถึงตรงนั้นก็ไม่มี

ที่จริงแล้วเราอยู่ในโลกที่ลวง เต็มไปด้วยภาพลวงตา เรามาหัดเจริญสติ เราหลุดออกจากโลกของความฝัน หลุดออกจากโลกของภาพลวง มาอยู่ในโลกของความเป็นจริง โลกของความเป็นจริงก็คือ ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา สิ่งที่เรียกว่าตัวเราไม่มี ไม่มีความหมายอะไรเลย

*หมายเหตุ ในฝ่ายมหายานมีคำสอนหนึ่งซึ่งศึกษากันมาก คือ “มายา” ซึ่งจะสอดคล้องกับคำสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ในเรื่อง “โลกของความฝัน” – ผู้ถอด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

mp3 for download : ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

โยม : คืออย่าง สมมุติถ้าไปเรียนต่ออย่างนี้ครับ คือต้องทำการทดลองในสัตว์ทดลองครับหลวงพ่อ คือว่า คือจะวางใจอย่างไร หรือว่าจะไม่ต้องทำไปเลยดีล่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าไม่ทำได้ก็ไม่ต้องทำสิ ถ้าต้องทำก็ถือว่าทำหน้าที่ไป เราก็ได้รับบาปเล็กน้อย แต่จะไม่มีบาปเลยไม่ได้นะ กรรมเนี่ยมันขึ้นด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ตัวหลักตัวหนึ่งคือเจตนา เจตนาที่จะทดลองไปตามที่อาจารย์สั่ง หรือเจตนาที่จะฆ่า กิจกรรมอย่างเดียวกันนะ แต่บาปไม่เท่ากัน

เพราะฉะนั้นคนที่ฉลาดก็จะรู้จักการวางจิตให้ถูกแง่ถูกมุมแล้วก็ได้รับโทษน้อย มันเหมือนเราเห็นถ่านไฟแดงๆก้อนหนึ่งเนี่ยนะ สมมุติเราต้องจับ คนโง่ก็ตะปบเข้าไปเลยก็ลวกเยอะ คนฉลาดก็จับอย่างระมัดระวังไฟก็ลวกนิดๆหน่อยไม่ลวกทั้งมือ อะไรอย่างนี้ ถามว่าไฟลวกมั้ย ลวกแต่ไม่มาก เพราะฉะนั้นอยู่ที่เจตนานะ

โยม : แล้วจะทำให้ตกนรกมั้ยครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : กรรมที่ประกอบด้วยเจตนานี่นะ เป็นกรรมที่ส่งผลให้ไปเกิดได้ ส่วนกรรมซึ่งเล็กๆน้อยๆพวกนี้ เราไม่ได้มีเจตนาเนี่ย ถ้ายังมีกรรมตัวอื่นที่แรงกว่านะ ตัวนี้ยังไม่ให้ผลที่ทำให้เราไปเกิด ส่วนมากกรรมที่ไม่ได้เจตนาเนี่ย มันจะมาให้ผลหลังจากที่เราเกิดแล้ว

เช่นเราไปชอบทดลองสัตว์ใช่มั้ย วันดีคืนดีเดินไปชนอะไรหัวแตกอะไรอย่างนี้ สมมุตินะ มันจะให้ผลตอนที่มีชีวิตขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่ให้ผลตอนไปเกิด เพราะกรรมที่แรงกว่าจะให้ผล

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภพ มี ๒ อย่าง

mp 3 (for download) : ภพ มี ๒ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ภพมี ๒ อย่างนะ อย่างหนึ่งเรียก ‘อุปปัตติภพ’ คือ ภพโดยการเกิด อย่างพวกเรานี้มีอุปปัตติภพเป็นมนุษย์ และมี ‘กรรมภพ’ คือการทำงานของใจ ที่ทำอยู่เป็นขณะๆ พวกเรามีกรรมภพ วันหนึ่งมีกรรมภพนับไม่ถ้วน เดี๋ยวก็เป็นภพที่ดี เดี๋ยวก็เป็นภพที่เลว

บางขณะกิเลสครอบงำใจ อย่างโทสะครอบงำใจ ในขณะนั้นเราอยู่ในภพของสัตว์นรก ร่างกายเราเป็นมนุษย์ แต่กายเราเป็นสัตว์นรกในขณะนั้น ขณะใดความโลภครอบงำใจนะ  ร่างกายเราเป็นมนุษย์แต่ใจเราเป็นเปรต มีภพย่อยๆ ที่เป็นเปรต อันนี้เป็นภพย่อยๆ ภพที่เกิดจากจิตมันทำงานขึ้นมา

หรือในขณะใดจิตเรามีศีลมีธรรมขึ้นมา เราอยู่ในภพของมนุษย์ ขณะจิตเรามีหิริโอตตัปปะ ละอายที่จะทำบาป เกรงกลัวผลของการทำบาป เราเป็นเทวดา ขณะใดจิตใจเราสงบ มีความสงบนะ สุขสงบว่าง อุเบกขา แล้วก็สงบบ้าง จิตใจเราเป็นพรหม

เพราะฉะนั้นเราจะมีภพเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ภพใหญ่ๆ นี่ได้มาโดยการเกิด เกิดมาชาติหนึ่ง อุปปัตติภพเป็นมนุษย์ ก็มีภพย่อยๆ มากมายนับไม่ถ้วนในแต่ละวัน


ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๗
File: 530815.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรารักใจมากกว่ารักกาย

เรารักใจมากกว่ารักกาย

เรารักใจมากกว่ารักกาย

mp 3 (for download) : เรารักใจมากกว่ากาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ที่ว่าเรารักคนอื่นนั้นน่ะ ความจริงไม่จริงหรอก สิ่งที่รักที่สุดนะ คือกายกับใจของเราเอง แล้วก็ดูต่อไปให้ถึงที่สุดนะ ที่ว่าเรารักกายก็รักไม่จริงเท่าไหร่ สุดท้ายนะรักที่ใจตัวเอง เวลาเจ็บหนัก รู้สึกมั้ย เคยเห็นคนเจ็บหนัก แต่เดิมหวงร่างกายนะ คนเจ็บหนัก ไม่ค่อยรักกายแล้ว ไม่ค่อยจะรักกายแล้ว เมื่อไหร่มันจะตายเสียได้ก็ดีนะ พ้นทุกข์ พ้นร้อน ตายๆไปพ้นทุกข์พ้นร้อนไป ไม่รักกาย คิดว่าถ้าไม่มีร่างกายแล้วจิตใจจะได้มีความสุขเสียที ไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน

หรือคนบางคนมีปัญหาชีวิตมาก จิตใจไม่มีความสุขเลย แต่จิตใจไม่มีความสุขแทนที่จะฆ่าจิตใจไม่ฆ่าใช่มั้ย ไปฆ่าร่างกายให้ตาย เพราะฉะนั้นเนี่ย ในกายกับใจนะ ก็ยังรักใจมากกว่ากาย ระหว่างกายกับใจของเรา กายกับใจคนอื่น รักของตัวเองมากกว่า นี่ธรรมชาติเลยนะ สัตว์ทั้งหลายรักตัวเอง

ทีนี้พอรักใจ แต่ว่า รักไปอย่างนั้นแหละ ปฏิบัติต่อจิตใจอย่างไม่ถูกต้อง รักใจแต่่ว่าชอบตามใจกิเลส ชอบตอบสนองกิเลส กิเลสนั้นน่ะเป็นยาพิษของใจ กิเลสนั้นทำลายความสงบสุขของจิตใจ เรารักจิตใจที่สุดเลย รักมากกว่าร่างกายอีก ร่างกายยอมแตกสลายได้ ยอมตายได้ ฆ่าตัวตายก็ได้ ขอให้จิตใจมันมีความสุขเถอะ หลายคนอกหัก ใช่มั้ย เห็นมีข่าวเรื่อยๆ อกหัก จิตใจเสียอกเสียใจ ฆ่าตัวตาย กะว่าจิตใจจะมีความสุข เฉลยให้เลยนะว่าไม่พ้นหรอกนะ พอร่างกายตายไป ไม่ใช่จิตใจพ้นนะ

เคยมีนักปฏิบัติคนหนึ่ง วันหนึ่งแกนอนอยู่ที่บ้าน กลางดึกแล้ว นอนอยู่นะ จิตมันไว ไหวแวบออกไปเห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินผ่านหน้าบ้านไป เดินผ่านถนนหน้าบ้าน เป็นหมู่บ้าน ในหมู่บ้าน เดินผ่านไป ผู้หญิงคนนี้เดินลอยเหนือพื้นอยู่คืบหนึ่ง เดินร้องไห้ไปเรื่อยๆเลย เศร้าโศกเสียใจมากเลย ก็ไม่รู้ว่าไปทำอะไรนะ แต่เดินร้องห่มร้องไห้ไป ไม่ยอมหันหลังกลับไปมองบ้านตัวเองเลย

พอตอนเช้า ชาวบ้านแตกตื่นในหมู่บ้าน วิ่งไปมุงบ้านนี้นะ มีผู้หญิงคนนี้แหละ ผูกคอตายไปแล้ว ที่ผูกคอตายก็เพราะว่า ไปส่งบ้าน สามีห้ามแล้ว บ้านอย่างนี้ ซื้อไม่ไหวหรอก ไม่เอาจะเอา อยากได้ อยากได้เพื่อว่าจะได้มีความสุข อยากเกินฐานะ ส่งไม่ได้ ธนาคารจะยึดแล้ว สามีก็โมโหนะ เอาเงินไปดาวน์บ้านหมดแล้ว สามีเลยทิ้งไปเลย สามีก็ทิ้ง บ้านก็ถูกยึดเลยนะ ไม่รู้จะทำยังไง ผูกคอตาย กะว่าจะพ้นทุกข์ ไม่พ้นหรอก จะต้องเดินร้องไห้อย่างนั้นไปอีกนานแสนนาน

นรก มันไม่ใช่นรกที่ต้องอยู่กับที่เสมอไปนะ นรกเคลื่อนที่ก็มี พวกนี้เหมือนนรกเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆนะ ไม่มีที่หมาย ไม่มีที่พักพิง น่ากลัวนะ เพราะชีวิตของพวกนี้ยืนยาวกว่าคนธรรมดามาก นี่ถ้าแกอดทนนะ ลำบากลำบนไป ลำบากลำบนไปไม่กี่ปี ชีวิตมันก็เปลี่ยน

เนี่ย รักจิตใจ อยากให้จิตใจพ้นทุกข์ แล้วโง่ ไม่พ้นหรอก หรือเรารักจิตใจนะ อยากให้มันมีความสุขแต่เราตามใจกิเลส ซึ่งเป็นศ้ัตรูของจิตใจ รักคนโน้น เกลียดคนนี้ อยากอันโน้น อยากอันนี้ จิตใจหาความสุขไม่ได้ที่แท้จริง จิตใจก็ดิ้นรนอยู่อย่างนั้น หาความสุขไม่ได้


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
Track: ๑๑
File: 500527.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

mp 3 (for download) : ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจเราอยากให้หาย ทำไมใจเราอยากให้หาย เพราะมันอยากดี อยากสุข อยากสงบ จิตใต้สำนึกนี้มันรักตัวเอง มันรักกาย รักใจนี้เหนียวแน่น คิดว่ากายกับใจเป็นเราเหนียวแน่นมาก อยากให้ดี อยากให้สุข อยากให้สงบ แล้วหาทางทำ มีความอยากเกิดขึ้น กับมีความหลงผิดว่ากายกับใจเป็นเรา ก็ไปหลงรักมันเข้า ไปยึดถือมันเข้า เสร็จแล้วก็เลยอยาก เกิดตัณหา เกิดอยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ เกิดการกระทำกรรมการสร้างภพ กำหนดโน้นกำหนดนี้หาทางแก้ไขหาทางรักษาไปเรื่อย สิ่งที่เกิดขึ้นมา คือ ทุกข์นั่นเอง ทุกข์แต่เกิด คือ อวิชชามีอยู่ ไม่รู้ความจริงของกายของใจ คิดว่าเป็นตัวเรา ยึดถือเหนียวแน่นว่าเป็นเรา ก็เกิดตัณหา มีอวิชชาก็เลยมีตัณหาขึ้นมา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราสงบ อยากให้ตัวเราดี อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ อยากให้ตัวเราบรรลุมรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่า อยาก กับคำว่า ตัวเรา พอมีความอยากเกิดขึ้นจิตใจก็ดิ้นรนทำงาน ทำอย่างนี้น่าจะดีๆ ทำอย่างนี้น่าจะไม่ดี จิตใจจะทำงานดิ้นไปเรื่อยๆ

จิตใจที่ทำงาน จิตใจที่ดิ้นรน จิตใจที่เกิดภาระทางใจขึ้นมา มีความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์ทางใจก็เกิดเพราะว่าใจมันดิ้น พอยิ่งดิ้นแล้วก็ทุกข์นะ พอทุกข์ก็ยิ่งดิ้นอีก อยากให้หาย นี้เข้าวงจรของมัน ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้นนะ ใครๆก็พยายาม ทำอย่างไรมันจะดี ทำอย่างไรมันจะสุข ทำอย่างไรจะสงบ ดิ้นไปเรื่อยๆน่าสงสารนะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ละความเห็นผิดได้ ละอวิชชาได้ ตัณหาจะดับเอง ละความเห็นผิดในว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษนะ

พวกเราไม่สามารถจะเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์ได้ ไม่ใช่ภูมิที่พวกเราจะเห็นได้ สิ่งที่พวกเราเห็นได้ขณะนี้ก็คือ กายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นได้แค่นี้แหล่ะนะ เกินกว่านี้เห็นไม่เป็น เห็นไม่ได้ รู้ไม่ได้ด้วยใจ ตราบใดที่ยังเห็นว่า กายเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง จิตเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันก็ยังมีการดิ้นรนต่อไปอีก เรียกว่า ตราบใดไม่รู้ว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เรียกว่า ไม่รู้ทุกข์นะ ตัณหา คือ ตัวสมุทัยก็ยังมีอีก ใจมันดิ้นหาความสุข ดิ้นหนีความทุกข์ไปเรื่อยๆ เพราะยังมีทางเลือกอยู่ ถ้ามารู้กายรู้ใจมากเข้าๆ วันหนึ่งรู้แจ้งแทงตลอดลงในขันธ์ ๕ ในกายในใจ ในรูปในนามอันนี้ นี่ทุกข์ล้วนๆนะ เห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่ใช่ตัวเราเลย ใจจะวาง มันจะไม่อยากให้กายนี้ใจนี้มีความสุขอีกต่อไปแล้ว เพราะกายนี้ใจนี้ทำอย่างไรก็ไม่สุขหรอก มันเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ล้วนๆ มันรู้ด้วยปัญญาแล้วทำให้สุขไม่ได้ พอรู้ว่าทำให้สุขไม่ได้ มันจะวางจะปล่อยวาง แต่ถ้ายังมีทางเลือก มีสุขกับมีทุกข์ มันจะเลือกเอาสุขจะเลือกหนีทุกข์ ใจก็ดิ้นไปเรื่อยๆ

นั้นอยู่ที่ความเข้าใจของเรานี่เอง ถ้าเมื่อใดเราสามารถเข้าใจรูปนามกายใจ ขันธ์ ๕ อะไรของเรานี้ ว่ามันไม่เที่ยงนะ มันเป็นตัวทุกข์แท้ๆนะ มันบังคับไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่อาศัยเกิดขึ้นมาชั่วคราวแล้วก็แตกสลายไป ทั้งรูปทั้งนามเป็นอย่างนี้แล้ววาง ใจจะหมดความดิ้นรน เรียกว่า ตัณหาถูกละไป รู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อใด สมุทัย คือ ตัณหาถูกละโดยอัตโนมัติ อัตโนมัติแล้วไม่ขึ้นมาอีกแล้ว เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว

ของพวกเรา ภาวนาที่อยู่ครึ่งๆกลางๆนะไม่ใช่ปุถุชนธรรมดาๆ เราจะเห็นว่าถ้ามีความอยากแล้วมีความทุกข์ ถ้าเกิดความอยากนะใจก็ดิ้นรน ใจเป็นทุกข์ เราเห็นได้แค่นี้นะ เรายังไม่เห็นหรอกว่าที่ดิ้นรนก็เพราะว่า มันรักตัวเองๆ เพราะมันเห็นว่า กายนี้ใจนี้เป็นของดีของวิเศษ ถ้าเมื่อใดมันเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานะ มันเลิกรักตัวเอง มันก็จะเลิกดิ้นรน หมดตัณหาที่จะเที่ยวหาความสุข เที่ยวหนีความทุกข์ ตัณหาพูดย่อๆเลยนะ จริงๆแล้วก็คือ การวิ่งหาความสุข วิ่งหนีความทุกข์นั่นเอง ดิ้นรนไป พอดิ้นรนแล้วก็ทุกข์มากกว่าเก่า ใจเป็นทุกข์อึดอัดขัดข้องขึ้นมา

นั้นหน้าที่เรามีนิดเดียวนะ รู้กายรู้ใจๆ อย่างที่เขาเป็น รู้ไปเรื่อยๆ รู้จนวันหนึ่งมันอิ่ม รู้จนวันหนึ่งมันพอนะ มันพอ มันพอของมันเอง ตรงที่มันพอของมันเอง มันวางของมันเองๆ  ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ ไม่มีใครทำได้เลยสักคนเดียวในโลกนี้ จิตเขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เมื่อเขามีปัญญาแก่รอบในกองทุกข์จริงๆ ต้องเห็นขันธ์ ๕ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เมื่อไหร่เขาวางของเขาเองแหล่ะ

นี่พวกเราเห็นไม่ได้ เราก็เห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เราเห็นได้แค่นี้ เห็นแค่นี้ก็ยังดี รู้สึกปัญญามันก็เกิดเป็นลำดับๆไป มันก็จะเห็นเลย ความสุขก็ชั่วคราวนะ ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วคราว พอชั่วคราวๆไปเรื่อยในที่สุด จิตหยุดความดิ้นรน นี่พอจิตหยุดความดิ้นรน จิตจะไปเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน เห็นนิพพาน นิพพานนี่ไม่มีตัวมีตนอะไร มีความสงบ สันติ ถ้าฝึกลำดับๆไปนะ วันหนึ่งมันรู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจแล้วก็พ้นแล้ว มันรู้ทุกข์นั่นแหล่ะ ละสมุทัย ทำนิโรธ คือ นิพพานให้แจ้งขึ้นมาต่อหน้าต่อตา การรู้ทุกข์จนละสมุทัย แจ้งนิโรธนี่แหล่ะ เรียกว่า มรรค เรียกว่า การเจริญมรรค การเจริญมรรคจริงๆ ก็คือ การรู้ทุกข์นั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491124B.mp3
Time: 1.54 – 8.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทุกข์ทางกายนั้นห้ามไม่ได้ แต่ความทุกข์ทางจิตใจเป็นสิ่งที่เราหามาเอง

mp3 (for download) : ความทุกข์ทางกายนั้นห้ามไม่ได้ แต่ความทุกข์ทางใจนั้นเป็นสิ่งที่เราหามาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การศึกษาธรรมะนี่คือการเรียนรู้ตัวเองจนเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ความทุกข์มันอยู่ที่ตัวเราเองนี่เอง ความทุกข์อยู่ที่กาย ความทุกข์อยู่ที่ใจ ถ้าเราเรียนรู้ลงมาอย่างถ่องแท้นี่นะ เราจะรู้เลย ความทุกข์ทางกายนี่ห้ามไม่ได้ เป็นผลพลอยได้จากการมีร่างกาย แต่ความทุกข์ทางจิตใจนี่เป็นเรื่องที่หามาเอง หาเอาใหม่ในปัจจุบันนี่เอง เพราะฉะนั้น ความทุกข์ทางกายเป็นผลของกรรมเก่านะ ผลของกรรมเก่า ได้ร่างกายมาแล้ว แข็งแรงบ้าง ไม่แข็งแรงบ้าง แล้วแต่กรรมหล่อเลี้ยงไว้

ความทุกข์ทางจิตใจในปัจจุบันนี่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ ถ้าหากเราภาวนาเป็นนี่ เราจะขจัดต้นเหตุของความทุกข์ทางใจออกไปได้ ให้เราคอยสังเกตลงที่จิตที่ใจ การปฏิบัติ ถ้าหากเอาสั้นๆ แบบโตแล้วเรียนลัดนะ เอาแบบสั้นๆ ให้คอยสังเกตที่ใจของเราไว้ ดูซิ ความทุกข์มันมาได้อย่างไร สังเกตเข้าไปในความทุกข์มันมาได้อย่างไร เราจะเห็นเลยว่า บางทีเรานั่งอยู่เฉยๆ นะ ใจเราก็คิดถึงคนๆ หนึ่งขึ้นมา ไม่ได้เจตนาจะคิดนะ อยู่ๆ หน้าคนๆ นี้ก็โผล่ขึ้นมา พอโผล่ขึ้นมาปุ๊บ นึกได้ นังคนนี้โกงแชร์เราเมื่อสิบปีก่อนนะ สมมติ พอนึกได้ เห็นไหม ไม่ได้เจตนาจะนึกนะ มันนึกขึ้นได้เอง ทีแรก หน้ายายคนนี้โผล่ขึ้นมา ไม่ได้เจตนาที่จะนึกถึง อยู่ๆ ก็โผล่แล้วก็จำเรื่องราวขึ้นมาได้ ไม่ได้เจตนาจะจำ มันจำได้ขึ้นมา พอจำได้ปั๊บ มันโมโหขึ้นมาอีกแล้ว ความโกรธเกิดขึ้น มันก็โกรธของมันเองนะ จิตมันโกรธของมันเอง ตรงนี้ไม่เป็นไรนะ ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตั้งแต่ใจมันนึกขึ้นมา ใจมันคิดขึ้นมานะ จนกระทั่งกิเลสเกิดขึ้นมาก็ยังไม่มีปัญหาอะไร ตรงนี้เป็นเรื่องกระบวนการทำงานปกติของจิตใจนั่นเอง จิตใจมันคุ้นเคยที่จะปรุงกิเลส มันก็ปรุงกิเลส มันคุ้นเคยจะปรุงกุศลมันก็ปรุงกุศล มันปรุงของมันเอง ตรงนี้ยังไม่ใช่ปัญหาของนักปฏิบัติ เพราะฉะนั้นให้คอยดูต่อไป พอจิตใจมีความโกรธเกิดขึ้น ตรงนี้แหละที่เริ่มเป็นปัญหา คือเราจะเริ่มเกิดความยินดียินร้ายนะ เกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา เช่น รู้สึกเกลียดนังคนนี้มากเลย เกลียดมากกว่าเก่าอีก ยิ่งคิดยิ่งแค้น แล้วก็ปรุงแต่งต่อไปว่าทำอย่างไรจะไปแก้แค้นมันได้ นี่ตัวนี้ตัวเริ่มปัญหาแล้ว จิตใจจะเริ่มมีความทุกข์ขึ้นมา

เพราะฉะนั้น ในขณะที่สภาวธรรมใดๆ เกิดขึ้น จะเป็นความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล สภาวธรรมที่เกิดขึ้นนี่ยังไม่ใช่ปัญหา อย่างเช่นเราเดินช้อปปิ้งไป ไปเห็นของสวยๆ อยากได้ขึ้นมา ใจมันมีโลภะขึ้นมา ตัวนี้ยังไม่ใช่ปัญหา แต่พอเกิดโลภะขึ้นมาใจมันจะดิ้น ตรงที่ใจมันเริ่มดิ้นนี่แหละเกิดปัญหา มีกิเลสขึ้นมาแล้วเกิดการกระทำกรรม เกิดการกระทำกรรม คือเกิดการดิ้นรนทางใจ ใจมันจะดิ้นๆๆ ตรงที่ใจมันดิ้นรนนี่แหละเป็นตัวปัญหาในปัจจุบันล่ะ

ทันทีที่จิตใจมันเริ่มดิ้นนะ จิตใจมันจะมีความทุกข์ จิตใจที่ดิ้นนี่เรียกว่า “ภพ” นะ ภาษาบาลีเรียกว่า ภพ (ภ-พ) ชื่อเต็มๆ ว่า กรรมภพ คือการทำงานของจิต เมื่อไรที่จิตทำงานนี่ จิตจะเกิดความทุกข์ขึ้นโดยอัตโนมัติ นักปฏิบัตินี่มีหน้าที่คอยมีสติไว้ พอตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์นะ กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พอกระทบปั๊บ มันจะเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา พอมีความยินดีมีความยินร้ายขึ้นมาแล้ว จิตจะเกิดการทำงาน ตอนนี้ทำงานในปัจจุบันหรือสร้างภพในปัจจุบัน การที่รูป เสียง กลิ่น รส อะไรพวกนี้มากระทบ โผฏฐัพพะมากระทบนะ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เป็นผลของกรรมเก่า กรรมเก่าไม่ดี สิ่งที่มากระทบไม่ดี กรรมเก่าดีสิ่งที่มากระทบก็ดี แต่พอกระทบแล้วจิตเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา พอจิตเกิดความยินดียินร้ายนี่จิตจะทำกรรมใหม่ ตัวนี้ ตัวนี้ตัวสำคัญนะ ต้องคอยรู้ทัน

อย่างพอมันนึกถึงคนนี้ มันเกลียด อยากฆ่าเขา วางแผนฆ่าเขา นี่ใจปรุงแต่งแล้ว ใจปรุงแต่งหรือว่าโทสะเกิดขึ้นมา พอจิตไปเห็นโทสะ เสร็จแล้วไม่ชอบโทสะ อยากให้โทสะหาย รีบพิจารณาอะไรต่ออะไรใหญ่เลยนะ รีบเจริญเมตตาอะไร นี่คือการปรุงแต่งใหม่ คือกรรมใหม่ หรือว่าราคะเกิด จิตใจก็ทำงานปรุงแต่ง อะไรๆ เกิดขึ้นในใจมันจะคอยปรุงแต่งต่อ เพราะฉะนั้น ถ้าตัวสภาวธรรมเกิดขึ้นแล้ว นี่ยังไม่ใช่ตัวปัญหา ห้ามมันไม่ได้ สภาวธรรมจะเกิดนี่ ห้ามมันไม่ได้ แต่ถ้าสภาวธรรมเกิด พอจิตไปรู้เข้าแล้วนะ ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พอจิตไปรู้เข้าแล้ว จิตจะเกิดความยินดียินร้ายแล้วจิตทำงาน ทันทีที่จิตทำงาน จิตจะมีความทุกข์ ให้เรามีสติรู้ทันความยินดียินร้าย พอตามองเห็นเกิดความยินดียินร้ายมีสติรู้ทัน หูได้ยินเสียงนะ เช่น เค้าชมเรานี่ เรายินดี ให้รู้ท้นนะ ถ้ารู้ไม่ทัน เราจะปรุงแต่งทางใจของเราเอง ปรุงใหม่ ถ้าได้ยินคำด่า เราก็เกิดโมโหขึ้นมา มันก็ปรุงแต่งอีก ให้รู้ทันที่ความปรุงแต่งอันใหม่ ความยินดียินร้ายแล้วก็เกิดความปรุงแต่ง นี่คอยรู้ไปอย่างนี้เรื่อย มีสติรู้ไปเรื่อย จิตใจมันจะไม่ดิ้นรน จิตใจมันจะไม่ทำงาน จิตใจมันจะมีความสงบสุขในปัจจุบัน อันนี้เราสงบสุขด้วยการมีสตินะ นี่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

ทีนี้พอสภาวธรรมเกิดแล้วจิตยินดียินร้ายเรารู้ทัน จิตมันจะเป็นกลาง พอจิตมันเป็นกลางมันจะสามารถรู้สภาวธรรม ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดี ทั้งชั่ว มันจะรู้ได้อย่างเป็นกลางจริงๆ มันจะเห็นความจริงของสภาวธรรมเลย สุขก็เกิดชั่วคราว แล้วก็หายไป ความทุกข์เกิดชั่วคราวแล้วก็หายไป แต่เดิมความสุขเกิดขึ้นมาก็หลงยินดี เกิดการทำงานอยากรักษาเอาไว้ หรือดิ้นรนค้นคว้าอยากให้ได้ความสุขมาอีก แต่เดิมความทุกข์เกิดขึ้นก็ยินร้าย หาทางขจัดหาทางทำลายมัน หรือหาทางป้องกันไม่ให้มันเกิดอีก มันจะเกิดการทำงานอย่างนี้ เพราะว่ายินดียินร้าย แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันนะ จิตกระทบไปรู้ว่าความสุขเกิดขึ้น ความยินดีเกิดขึ้นรู้ทันมัน ความยินดีจะดับไป จิตจะเป็นกลางต่อความสุข มีปัญญาเห็นว่าความสุขก็เป็นของชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมา จิตยินร้าย ไม่ชอบมัน มีสติรู้ทัน จิตใจที่ไม่ชอบความทุกข์ ปฏิเสธความทุกข์นี่ ความไม่ชอบนี่มันจะดับไป เราก็รู้ความทุกข์ตามที่มันเป็น สักพักหนึ่งก็จะเห็นเลย ความทุกข์เกิดขึ้นได้ก็ดับได้

กุศล อกุศลทั้งหลายก็เหมือนกันนะ เกิดขึ้นมาได้ ก็ดับได้ นักปฏิบัตินี่ รักกุศล พอสติระลึกได้ว่ากุศลเกิดขึ้นมาก็ยินดี อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้เกิดนานๆ หาทางรักษาเอาไว้ เกิดการทำงานทางใจ จะรักษาความดีก็ทุกข์นะ ทุกข์แบบคนดี หรืออกุศลเกิดขึ้นมานี่ใจไม่ชอบนี่ นักปฏิบัติไม่ชอบก็หาทางขจัดมัน จิตใจเราก็ต้องทำงานมากขึ้นกว่าเก่าอีก แทนที่เราจะรู้ตามความเป็นจริงแล้วไม่ปรุงแต่งไม่ทำงานนะ กลายเป็นว่าเราทำงานมากกว่าเก่า ความทุกข์ก็มากกว่าเก่า คนชั่วก็ทุกข์อย่างคนชั่ว คนดีก็ทุกข์อย่างคนดี เพราะว่ายึดถือในสภาวธรรมทั้งหลายนั้น แต่ถ้าเรามีสตินะ ความเป็นกลางเกิดขึ้นกับใจเรา จิตใจเป็นกลาง เห็นความสุขก็เป็นกลาง ความทุกข์ก็เป็นกลาง กุศล อกุศลก็เป็นกลาง ในที่สุดมันจะมีปัญญาขึ้นมา เห็นว่าความสุขก็ของชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศล อกุศลก็ชั่วคราว คือพอมีปัญญาเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาในชีวิตของเราล้วนแต่ของชั่วคราวทั้งหมดเลย ต่อไปจิตมันจะไม่มีความยินดียินร้าย พอสภาวธรรมอันนั้นเกิดขึ้นมา จิตจะเป็นกลาง จิตไม่ยินดียินร้ายแล้ว แต่เดิมนี่จิตไม่มีปัญญา พอเห็นสภาวธรรมแล้วจิตจะเกิดความยินดียินร้าย เราต้องมีสติไว้สู้ มีสติไว้รู้ทัน จิตจะเป็นกลาง พอจิตเป็นกลางเราก็รู้สภาวธรรมต่อไปจนเกิดปัญญา เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลายเป็นของชั่วคราว ต่อไปพอสภาวธรรมเกิดขึ้นมานะ จิตเป็นกลางเองเลย ไม่มีความยินดียินร้ายเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเราเข้าใจสภาวธรรมแจ่มแจ้งนะ จิตจะเป็นกลางมากขึ้นๆ นะ จนกระทั่งหมดความปรุงแต่งอย่างแท้จริง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๗

491217

3.20 – 12.19

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติอัตโนมัติจะช่วยเราตอนที่จะตาย

mp 3 (for download) : สติอัตโนมัติจะช่วยเราตอนที่จะตาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าคนไหนไม่สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ยังไกลต่อมรรคผลนิพพาน เพราะว่าเวลาเราทำกรรมฐาน วันหนึ่งๆ มีไม่มากเท่าไหร่หรอกที่ทำในรูปแบบ เวลาส่วนใหญ่อยู่ข้างนอกนี่แหละ ถ้าเราสามารถยืนเดินนั่งนอนอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วก็มีสติตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเองได้เป็นระยะๆ นะ สติเกิดได้ทั้งวันเลย คือปฏิบัติทั้งวัน หลวงพ่อเป็นฆราวาสหลวงพ่อก็ปฏิบัติด้วยวิธีนี้เอง คือดูจิตใจตัวเอง จะมานั่งสมาธิทั้งวันอย่างตอนอยู่ไปบวชแล้วมานั่งอยู่ในวัดนะ นั่งสมาธิได้นานๆ เดินจงกรมนานๆ อยู่แต่ในรูปแบบ เป็นฆราวาสมันทำไม่ได้ ทำไม่ได้ งั้นต้องฝึกให้สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้เฉพาะตอนทำสมาธิ ทำในรูปแบบอะไรอย่างนี้ ชีวิตเราจะแยกเป็นสองส่วน ชีวิตส่วนหนึ่งเป็นเวลาปฏิบัติ ชีวิตส่วนใหญ่เป็นเวลาไม่ได้ปฏิบัติ งั้นเหมือนเราพายเรือนะทวนน้ำไป เราพายไปห้านาทีแล้วก็นอนด้วย ชั่วโมงหนึ่งนะ มันจะไม่อยู่ที่เก่าเอา มันจะไหลลงไปต่ำกว่าเดิม

               พระพุทธเจ้าถึงบอกธรรมชาติของจิตไหลลงต่ำ อย่าประมาทเชียวนะ ไหลลงต่ำเร็วมากเลย เรานึกว่าเราแน่ๆ เราแน่ เผลอแวบเดียวลงต่ำ ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้ มีสติในชีวิตประจำวัน ตามดูกายตามดูใจ ตื่นนอนตอนเช้าหรือว่าก่อนนอนตอนค่ำ มีเวลาเนี่ยต้องทำในรูปแบบอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ต้องทำให้ได้ ชาวพุทธนะไหว้พระสวดมนต์ทำสมาธิเดินจงกรมวันละครั้งนะ ทำไมทำไม่ได้ มุสลิมละหมาดวันละห้าครั้งเขายังทำได้เลย วันละห้าครั้งนะ ของเราหนึ่งครั้ง ไม่ได้ ต้องสู้นะ กิเลสมันจะพาขี้เกียจ ถ้าเราทำในรูปแบบทำความสงบมาดูกายดูใจนะ หัดดูสภาวะไป จิตใจหนีไปก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตสงบจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นสุขเป็นทุกข์ จิตโลภโกรธหลง คอยตามรู้เรื่อยๆ การทำในรูปแบบนี่เราตัดการกระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายไปก่อน มาเหลือแต่การทำงานทางใจอันเดียวนะ เช่นเรามาหายใจเข้าหายใจออกเนี่ย ใจเราหนีไปเรารู้ทัน ใจไปเพ่งรู้ทัน เรารู้ทันการทำงานทางใจอยู่ที่เดียวเลย แต่อย่าไปเพ่งใส่จิตนะ อย่าไปเพ่งใส่จิตใส่ใจ ให้เขาทำงานไป เรามีหน้าที่แค่ตามดูไปเรื่อยๆ ดูท้องพองยุบไปก็ดูจิตใจเขาทำงานไป เดี๋ยวเขาก็ไปคิดนะ คิดกระทั่งคำบริกรรมนะ บริกรรมว่าพองหนอยุบหนอ นี่ก็คือการคิดนั่นเอง ก็ให้รู้ทันว่าจิตหนีไปคิด หนีไปคิดเรื่องอื่นเราก็รู้ทัน แล้วก็ไปเพ่งใส่ท้องเราก็รู้ทัน หัดรู้สภาวะนะ ต่อไปเวลาเราอยู่ในชีวิตธรรมดา จิตจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอะไรเนี่ย เห็นหมดเลย เห็นอัตโนมัตินะ

      พวกเราเมื่อวานไม่ได้มา เมื่อวานหรือ อ้อ… ไม่ใช่ ก่อนที่จะปิด ก่อนวานซืนอีกวันหนึ่ง วันสุดท้ายที่หลวงพ่อเปิดแล้วหยุดมาสองวัน มีผู้หญิงคนหนึ่งมา ชื่อโอ่งนะ ชื่อโอ่ง หุ่นก็เหมือนโอ่งจริงๆ ภาวนาเก่งมากเลย บอกเขาไม่ได้ทำอะไร แต่กระทั่งเขานอนหลับนะ จิตมันฝันเขายังรู้เลย แล้วเขาพบว่าความฝันก็คือความคิดนั่นเอง พอไม่ดีปุ๊บ ขาดสะบั้นเลยนะ เขาจะนอนพลิกซ้ายพลิกขวาเขารู้ทั้งคืนเลย ใจเขาไหลไปคิดในความฝันนะ ไหลแวบรู้สึกเลย มีแต่ขาดปั๊บๆ ปั๊บๆ นี่แค่กลางคืนนะ ไม่ต้องพูดถึงกลางวันเลย ทำได้ทั้งวันทั้งคืนเลย ฝึกหัดมีสติอย่างที่หลวงพ่อบอกนี่แหละ ถึงจุดหนึ่งนะจะมีสติได้ทั้งวันทั้งคืน ตรงที่นอนไปแล้วยังช่วยตัวเองได้ มีสติขึ้นมาช่วยตัวเองได้นี่สำคัญนะ มันเป็นเหตุมันเป็นผลจากการที่เราฝึกเจริญสติตอนกลางวัน เราจะเอาไว้ใช้ตอนจะตายเนี่ย ความรู้อันนี้จะใช้ตอนจะตาย เวลาที่เราจะตาย จิตมันจะตัดความรับรู้กายออกไปก่อนนะ แล้วมันจะไปรู้ที่ใจอันเดียว จะมาทำกรรมฐานที่กายอันเดียว ระวังก็แล้วกันนะ กายหายไปแล้ว นาทีสุดท้ายไม่มีกายนะ จะทำยังไงทำกรรมฐานอะไร ต้องฝึกจนชำนิชำนาญ เข้ามาที่จิตอัตโนมัติให้ได้ เวลาคนเราจะตายมันจะเกิดนิมิต อันหนึ่งเรียกว่ากรรมนิมิต นิมิตถึงสิ่งที่เคยทำนะ อีกอันหนึ่งเรียกว่ากรรมอารมณ์ กรรมนิมิตเนี่ยมันจะไปนิมิตถึงเรื่องราวที่เคยทำ อีกอันหนึ่งเรียกคตินิมิตจะเห็นที่ไปข้างหน้า มีสามอัน มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ มีสามอัน รวมความแล้วก็คือมันฝันนั่นเอง ฝันไปถึงเรื่องราวที่เคยทำมาในอดีต เช่น คนหนึ่งนะหลวงพ่อเคยรู้จัก เป็นพ่อของเพื่อน ใจดีนะ ตอนหนุ่มๆ เพื่อนมาบ้านทุกวันเลยมาสีซอกัน เล่นปี่พาทย์ เล่นสีซอ ทุกวันจะสั่งลูกน้องเชือดไก่วันละตัวเลี้ยงเพื่อน เวลาจะตายเนี่ยเกิดนิมิตเห็นไก่นะ เห็นไก่มารออยู่ข้างหน้าแล้ว บางทีก็เห็นที่ไปข้างหน้าที่จะไปเกิด เกิดเห็นไฟท่วมขึ้นมาเลย จะไปเกิดแล้วในที่ไม่ดี แต่ถ้าหากฝึกสติไว้จนชำนาญนะ พอเห็นไก่ปุ๊บใจมันย้อนดูจิตเลย มันเคยชินที่จะฆ่าไก่ พอเห็นไก่ปุ๊บ แหมมันอยากเชือดคอขึ้นมา สติเกิดวับเลย มันอยากฆ่าไก่แล้ว เห็นปั๊บนิมิตนั้นดับ ไม่ไปเกิดเป็นตรงนั้นแล้ว หรือฝันไปเห็นนรก นิมิตไปเห็นนรกปุ๊บกลัว สติระลึกถึงความกลัวปุ๊บขาดเลย นรกดับไปเลยนะ ทุกคนสร้างนรกของตัวเองนะ ทางใครทางมัน เพราะฉะนั้นนรกไม่เคยเต็ม อย่าเล่นๆ นะไม่ใช่ของหลอกเด็กนะ อย่าเล่นๆ นะ ตอนยังไม่รู้ไม่เห็น ผยอง พอรู้เห็นก็คร่ำครวญ ช่วยอะไรก็ไม่ได้ เป็นภูมิที่ช่วยไม่ได้แล้วนะ เป็นภูมิที่ช่วยไม่ได้ ไม่มีใครเข้าไปช่วยได้เลย ถ้าเป็นเปรตยังช่วยได้ ถ้าเราฝึกสติไว้ดีนะ พอนิมิตไม่ดีเกิดปุ๊บ ขาด เราจะตื่นขึ้นมาจะไปสู่สุคติ งั้นสำคัญนะ ฝึกสติในชีวิตประจำวันนี่จนมันอัตโนมัตินะ กระทั่งหลับมันก็ทำงานได้ สติปัญญาต้องฝึกเอา ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยนะ 

 

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116B.mp3
Time: 8.14 – 15.21

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ชาวพุทธไม่กังวลถึงกรรมเก่า แต่อยู่กับปัจจุบันด้วยสติและปัญญา

mp 3 (for download) : ชาวพุทธไม่กังวลถึงกรรมเก่า แต่อยู่กับปัจจุบันด้วยสติและปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โยม : กราบนมัสการเจ้าคะ ลูกแก้วมีวิบากกรรมมาก แล้วก็มาที่นี่เป็นครั้งแรกเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไมรู้ละวิบากกรรมมาก อย่าไปเชื่อมันนะ กรรมเก่าเนี่ยมันผ่านไปแล้ว ไม่ว่ากรรมเก่าจะส่งผลมาให้เราต้องเผชิญอะไร เราทำกรรมใหม่ที่ดีไว้ ชาวพุทธเราไม่ไปกังวลถึงกรรมเก่านะ พระพุทธเจ้าบอกอดีตก็ผ่านไปแล้ว เราไม่เอาแล้ว ไม่ต้องไปคิดถึงมัน กรรมเก่าส่งผลให้เราต้องมาเผชิญกับสถานะการณ์ปัจจุบัน เราเผชิญกับสถานะการณ์ปัจจุบันด้วยสติด้วยปัญญา นี่เรากำลังทำกรรมใหม่ที่ดี แล้วอนาคตเราจะดีขึ้น เราจะมีความสุขมากขึ้นนะ แต่ถ้าเราไปภะวงถึงกรรมเก่าเรื่อย ใจเราจะท้อแท้ หดหู่ เราไม่สามารถสู้พัฒนาชีวิตตัวเองให้ดีขึ้นได้ ลืมกรรมเก่าไปสะนะ แล้วก็มีสติอยู่ คอยรู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน การมีสติรู้กายรู้ใจลงปัจจุบันเป็นการทำกรรมใหม่ที่เป็นบุญอย่างยิ่งเลย บุญใดก็ไม่ประเสริฐเท่าบุญที่ประกอบด้วยสติด้วยปัญญา บุญที่ประกอบด้วยสติด้วยปัญญาเนี่ยจะพาให้เราพ้นทุกข์อย่างถาวรได้

งั้นหนูอยู่กับปัจจุบันนะ อย่าไปกังวลถึงอดีต อะไรเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราทุกวันนี้ยอมรับไป สิ่งทั้งหลายที่เราเผชิญทุกวันนี้มันมีเหตุมาทั้งสิ้น มันยุติธรรมแล้ว มันสมควรที่เราต้องเจอสิ่งเหล่านี้ แต่ทุกสิ่งที่เราเจอกำลังเป็นบทเรียนสอนธรรมะเราทั้งสิ้น มันอยู่ที่เราวางใจถูกไหม ถ้าเราเจอสิ่งต่าง ๆ แล้วเราก็ท้อแท้ใจ บอกกรรมเก่าไม่ดี ใจเราผ่อนะ ก็เท่ากับเรากำลังทำกรรมใหม่ที่ไม่ดึ คือฝึกใจให้ท้อแท้ งั้นถ้ามีสภาวะที่ไม่ดึเกิดขึ้นในปัจจุบันเนี่ย อะไรไม่ดีเกิดขึ้นนะ ให้เรามีสตินะ ให้เรารู้ทัน จิตใจของเรากังวล รู้ว่ากังวล จิตใจเราอยากให้หาย รู้ว่าอยากให้หาย อยากให้มันพ้นไปเร็ว ๆ รู้ว่าอยาก ความอยากอะไรเกิดขึ้น รู้ให้ทันไปเรื่อยนะ พอความอยากดับเนี่ย เราจะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยที่เราไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับมันอีกแล้ว ทุกอย่างเหมือนความฝันผ่าน ๆ  มาเท่านั้น ไม่มีสาระหรอก ความทุกข์ทั้งหลายมันจะหลุดลอยไปจากใจเรา

เชื่อหลวงพ่อนะ ฝึกนะ คนที่เรียนตามหลวงพ่อสอนเนี่ย ความทุกข์หล่นหายไปเยอะแยะเลย ชีวิตจิตใจเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเลย ในเวลาเดือนเดียวก็เปลี่ยนแล้ว เพราะฉะนั้นมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันนะ

CD สวนสันติธรรม 28

520103B

30.19 – 32.54

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิจจสมุปบาทและอริยสัจจ์

mp 3 (for download) : ปฎิจจสมุปบาท และอริยสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเราเห็นจิตใจตัวเองอยู่นะ เราจะเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจที่จะปรุงแต่งความทุกข์ขึ้นมา ไปเห็นปฏิจจสมุปบาท แต่โดยธรรมชาติของปุถุชนจะเห็นได้ไม่ตลอดสาย จะเห็นท่อนปลายๆก่อน เช่นว่าเห็นว่ามีผัสสะ แล้วก็เลยเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมาเพราะการกระทบอารมณ์ ถ้ากระทบทางตาหูจมูกลิ้น สี่ทวารนี้ กระทบแล้วเฉยๆ  ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ตรงที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์เนี่ย โมหะแทรกง่าย ตรงกระทบทางกายกับทางใจเนี่ย มีสุขมีทุกข์ขึ้นมา นะ พอมีความสุขเกิดขึ้นราคะก็แทรก มีความทุกข์เกิดขึ้นโทสะก็แทรก มันจะแทรกเข้ามา

พอราคะ โทสะ โมหะ มันแทรกตัวเข้ามาในจิตแล้วเนี่ย มันจะผลักดันให้จิตทำงาน นะ เช่น โทสะเกิดขึ้น มันก็อยากให้สภาวะอันนี้หายไป เกิดตัณหาขึ้นมา โลภะเกิดขึ้นก็อยากให้สภาวะนี้คงอยู่นานๆ โมหะเกิดขึ้นนะมันก็อยากรู้ให้ชัดๆ หรือถ้าจิตฟุ้งซ่านก็อยากให้สงบ ความอยากเกิดขึ้น ทันทีที่ความอยากเกิดขึ้นนะ ใจเกิดการดิ้นรน มันจะเข้าไปจับอารมณ์ให้มั่นๆ เข้าไปเกาะ

เพราะฉะนั้นเวลาใจเกิดความอยากขึ้นมานะ ใจจะทะยานเข้าไปเกาะอารมณ์ ไปเกาะอย่างแรงๆเลย ตรงที่จิตไปเกาะอารมณ์อย่างรุนแรงเรียกว่ามีตัณหา มีตัณหาอย่าแรงเนี่ย ตัณหาอย่างแรงนี่ล่ะเรียกว่าอุปาทาน เพราะฉะนั้นองค์ธรรมของอุปาทาน องค์ธรรมของตัณหาเป็นอันเดียวกัน คือโลภะ คือตัณหานั่นเอง แต่อุปาทานเป็นตัณหาที่มีกำลังแรงกล้า ไม่ใช่อยากเฉยๆหรอก แต่อยากแล้วกระโดดใส่เลย พอมันกระโดดเข้าไป จิตก็เกิดการทำงานขึ้นมา การทำงาน เช่น ไปดึงอันนี้ไว้ ไปผลักอันนี้ไว้ ไปค้นคว้าหาทางทำอย่างไรจะรู้ชัด ทำอย่างไรจิตจะตั้งมั่น นี่เรียกว่าการทำงานของจิต การทำงานของจิตนี่แหละเรียกว่าภพ ชื่อเต็มๆคือคำว่า “กรรมภพ”

เมื่อจิตมันทำกรรมขึ้นนะ มันจะรู้สึกว่า “เรามีอยู่” จะรู้สึกว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ นะ เพราะฉะนั้นอาศัยการทำกรรมนี้ก็เลยรู้สึกว่าเรามีอยู่ ตัวเรา เป็นความรู้สึก ตัวเราจริงๆไม่มี พอมันมีอยู่นะ มันก็รู้สึกว่า “กายนี้เป็นตัวเรา ใจนี้เป็นตัวเรา” ขึ้นมา มันก็เลยมีที่รองรับความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์มีที่ตั้งแล้ว เนี่ยเราจะเห็นอย่างเก่งที่สุดเห็นได้เท่านี้แหละ เราจะไม่สามารถทวนลงไปเห็น เช่นว่า วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป เริ่มดูยากแล้ว หลวงพ่อยังไม่เจอ ว่าปุถุชนเห็นตรงนี้ วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป เราจะคิดเรื่องแต่ว่า เกิดปฏิสนธิจิต ลงในภพใหม่ อันนี้ปุถุชนเห็นได้ แต่ว่าจิตที่หยั่งลงไป แล้วก็เกิดกายเกิดใจขึ้นมา มองไม่เห็น ตัวนี้ไม่เห็น จะเห็นตรงนี้ได้ต้องทำจิตเข้าไปอัปนาเลยนะ แล้วดับลงไปเลย ดับความรู้สึกลงไปให้ได้

หรืออย่างน้อยๆนะ เข้าไปถึงเนวสัญญา แล้วตอนที่จิตที่หยาบผุดขึ้นมานะ มันจะเห็น มันจะ ความปรุงแต่งผุดขึ้นมาก่อน พอความปรุงแต่งผุดขึ้นมาแล้ว ก็เกิดจิตขึ้นมา มีจิตขึ้นมา ที่ไปรับรู้ความปรุงแต่งนั้น ทีนี้ความปรุงแต่งนี้ พอปรุง ปรุงจิตขึ้นมา จริงๆมันเกิดร่วมกันแหละ พอจิตนี้หยั่งลงไปรู้กาย กายก็ปรากฏ หยั่งลงไปรู้จิต จิตก็ปรากฏ รู้นามธรรมที่ปรากฏขึ้นมา ตรงนี้เห็นยากมากแล้ว ตรงที่ยากสุดๆเลย อวิชา อวิชาเนี่ยสุดยอดแล้ว อย่าว่าแต่ปุถุชนไม่เห็นเลย พระอนาคามีก็ไม่เห็น เพราะถ้าเห็นถึงอวิชานะ วิชาก็เกิดขึ้นมา ก็ทำลายความปรุงแต่ง จิตจะไม่หยั่งลงในภพใดๆ จิตจะไม่ทำงานขึ้นมา

การภาวนาไม่ใช่ อย่างเราอ่านพุทธประวัตินะ ว่าพระพุทธเจ้าพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ก็นึกว่าท่านคิดๆเอา หลายคนคิดว่า คนอื่นคิดไม่ได้ ต้องพระพุทธเจ้าแล้วคิดแล้วบรรลุพระอรหันต์ได้ เข้าใจผิด ถ้าหากคิดเอาเองแล้วบรรลุพระอรหันต์ได้นะ ทางสายเอก ทางสายเดียวก็จะไม่มี มันจะมีทางสองสาย เป็นทางสำหรับคนทั่วๆไป สายหนึ่งคือการเจริญสติปัฏฐานกับทางเฉพาะพระพุทธเจ้า คือ คิดๆเอาเอง แท้จริงไม่ได้มีอย่างนั้นนะ ทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้นมีอยู่ทางเดียวเท่านั้น คือ สติปัฏฐาน

พระพุทธเจ้าบารมีแก่กล้า ท่านทำสติปัฏฐานในหมวดสุดท้าย ในบรรพสุดท้าย หมวดสุดท้ายเลยก็คือ ธรรมานุปัสสนา บรรพสุดท้ายเลยคือเรื่องอริยสัจจ์ ท่านเห็นอริยสัจจ์นั่นเอง ทีนี้กระบวนการเห็นอริยสัจจ์ของท่านนะ ท่านเห็นละเอียดละออ ท่านเห็นมาไล่มา มีสภาวะรองรับมาตั้งแต่ มีทุกข์ขึ้นมา มีทุกข์เพราะมีชาติ มีชาติเพราะมีภพ มีภพเพราะมีอุปาทาน มีอุปาทานเพราะมีตัณหา มีตัณหาเพราะมีเวทนา ความจริงนี่อย่างย่อนะ อย่างละเอียดอย่างที่หลวงพ่อกระจายให้ฟังตะกี้นี้  อย่างก่อนที่เวทนาจะแปรสภาพเป็นตัณหา มีกระบวนการทำงานตั้งเยอะแยะ มันจะมีกิเลสแทรกเข้าในเวทนาก่อน มีกิเลสแทรกเข้ามา  แล้วก็จิตนั้นแหละมันเลยเกิดความอยากไปด้วยอำนาจของกิเลส

นี้เราค่อยภาวนาไปนะ เท่าที่เห็นได้ก่อน ไม่จำเป็นต้องเห็นปฏิจจสมุปบาททั้งสาย พระโสดาบันเหมือนๆจะเห็นทั้งสายนะ พระโสดาบันรู้สึกว่าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทจริงๆไม่เข้าใจหรอก อย่างพระอานนท์นะเคยไปทูลพระพุทธเจ้า บอกว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นของตื้น เหมือนเป็นของตื้น ตรงนี้ก็เกิดตีความกันใหญ่ว่าทำไมพระอานนท์ว่าตื้น ก็บอกว่าพระอานนท์ Genious มาก ฉลาด ก็เลยรู้สึกตื้นๆ ถ้าพระอานนท์ท่านเห็นแจ่มแจ้งจริงๆ ท่านจะเป็นพระอรหันต์น่ะสิ พระพุทธเจ้าถึงห้ามบอกว่าอย่าพูดอย่างนั้นนะพระอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกนัก ตราบใดที่ไม่เห็นแจ้งปฎิจจสมุปบาทนี้ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก คำว่าเห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาทก็คือ เห็นลงมาถึงอวิชาเลย ไม่ใช่เห็นอยู่ผิวๆบนๆหรอก

พวกเราจะเห็นผิวๆ เห็นท่อนปลายๆ เห็นที่เป็นผลๆมาแล้วนะ เราไม่เห็นรากเห็นเหง้ามัน เพราะฉะนั้นอาศัยความพากเพียรรู้กาย พากเพียรรู้ใจไปเรื่อยนะ ไม่ท้อถอย รู้ทุกวี่ทุกวัน รู้ไปเรื่อยๆ เมื่อไรเข้าใจความเป็นจริงของกายแจ่มแจ้ง เข้าใจความเป็นจริงของจิตใจแจ่มแจ้ง นั่นแหละเรียกว่าวิชา จะละอวิชาลงไป

อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ไม่รู้ทุกข์เนี่ยตัวต้นตอ ไม่รู้ทุกข์คือ ไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษ พอไม่รู้ทุกข์อย่างนี้ก็เกิดสมุทัย เห็นมั้ย เนี่ย เพราะไม่รู้ทุกข์จึงเกิดสมุทัย ส่วนที่พวกเราเรียนกันได้เนี่ย เห็นภาวนาเบื้องต้นเราจะเห็นว่า ถ้ามีสมุทัยแล้วจะเกิดทุกข์ มีตัณหาขึ้นมาแล้วใจถึงจะมีความทุกข์ รู้สึกมั้ย เกิดความอยาก คนทั่วๆไปยังไม่เห็นด้วยนะ แค่นี้ยังไม่เห็นแล้ว คนทั่วๆไปเห็นว่า ไม่สมอยากถึงจะทุกข์ ส่วนนักภาวนาเนี่ยจะเห็นเลย แค่มีความอยากเกิดขึ้น จะสมอยากหรือไม่สมอยาก จิตก็ทุกข์แล้วเพราะจิตต้องทำงาน เนี่ยนึกว่าเข้าใจอริยสัจจ์ ไม่เข้าใจหรอก

ลำพังเห็นว่าเพราะมีสมุทัยจึงเกิดทุกข์นี้ยังตื้น ต้องเห็นว่า เพราะไม่รู้ทุกข์จึงเกิดสมุทัย นี่ถึงจะลึกซึ้งจริง ไม่รู้ทุกข์คือไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นก้อนทุกข์นะ เป็นตัวทุกข์ เป็นธาตุ ธาตุที่มันเป็นทุกข์ พอไม่รู้ว่าเป็นตัวทุกข์ เป็นตัวดีตัววิเศษ คิดว่ามันเป็นตัวเรา เนี่ย เพราะความไม่รู้แท้ๆเลย มันก็เกิดความอยาก ที่จะให้กายนี้ใจนี้มีความสุข อยากให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มีความอยากขึ้นมา

พอเกิดความอยากใจก็เกิดการดิ้นรน พอใจดิ้นรนเกิดความทุกข์อีกชนิดหนึ่งขึ้นมา ความทุกข์เพราะตัณหาไม่ใช่ความทุกข์เพราะขันธ์ ในขณะที่ตัวอริยสัจจ์นี้นะ ความทุกข์คือทุกข์ของขันธ์นะ ขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ ท่านถึงสอนว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ทำไมต้องมีคำว่า อุปาทาน ทำไม่บอกว่า ว่าโดยย่อขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ เพราะขันธ์ ๕ บางตัวไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ ๕ ยังมีสองส่วนนะ ส่วนที่เป็นตัวทุกข์กับส่วนที่ไม่ใช่ตัวทุกข์ ส่วนที่ไม่ใช่ตัวทุกข์คือบรรดาโลกุตรจิตทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจะไม่เอาโลกุตรจิตมาทำวิปัสสนานะ แล้วก็ไม่มีจะทำด้วย

ให้เราใช้จิตธรรมดนี่แหละ จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล จิตที่เป็นวิบากพื้นๆนี่แหละ ให้คอยรู้คอยดูมันเรื่อยๆไป แต่ถ้าภาวนาไปจนถึง เห็นมหากริยาจิต จิตของพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องทำวิปัสสนาอีก เพราะฉะนั้นวิปัสสนาเราใช้จิตพื้นๆนี่ล่ะ จิตมนุษย์ธรรมดานี่ล่ะ เพราะฉะนั้นการที่เป็นมนุษย์ถึงดีที่สุด วิเศษที่สุดเลย เพราะเรามีจิตที่เหมาะแก่การทำวิปัสสนามากเลย

จิตของพรหมไม่ค่อยเหมาะนะ มันนิ่งเกินไป มันคงที่มากไป แต่จิตมนุษย์เนี่ยกลับกลอกรวดเร็ว เปลี่ยนไปเปลี่ยนมารวดเร็วมากเลย แสดงไตรลักษณ์อย่างรวดเร็วเลย พอเราเห็นไตรลักษณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ตลอดเวลาอยู่นั้น ไม่นานใจก็ยอมรับความจริงได้ ว่าจิตนี้ก็ไม่ใช่เราหรอก ได้โสดาฯ แล้วก็ดูกายดูใจไปเรื่อยนะ ถึงวันหนึ่งแจ่มแจ้งเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ยึดกาย ได้พระอนาคาฯ ดูลงไปอีกนะ ถึงจิตถึงใจแล้วปล่อยวางจิตได้ ไม่ยึดจิตน่ะ ถึงจะจบกิจทางศาสนาแล้วยังไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว ใจจะร่อนอยู่ตลอดเวลาเลยนะ ใจจะไม่เข้าไปเกาะไปเกี่ยวอะไรโดยที่ไม่ต้องระวังรักษาเลย ทั้งหลับทั้งตื่นเลยนะ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน มันจะมีแต่ความเป็นอิสระ เบิกบาน อยู่ล้วนๆอยู่อย่างนั้นเอง

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ลงมานะ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ จนรู้แล้ว กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มันจะสลัดคืน ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจ คืนกายคืนใจให้โลกเขาไป ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจเนี่ย สมุทัยจะดับอัตโนมัติ เพราะสมุทัยมันคือความอยากให้กายให้ใจมีความสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ทำไมต้องอยาก อยากเพราะว่ามันเป็นตัวเรา พอมันไม่เป็นตัวเราแล้ว สลัดคืนสลัดทิ้งไปแล้วจะอยากทำไม เห็นมั้ย สมุทัยดับเองนะ เพราะว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยจะดับอัตโนมัติเลย

ทันทีที่สมุทัยดับเนี่ย นิโรธจะปรากฎในขณะนั้นเลย คือนิพพานจะปรากฎขึ้นต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่มีสภาวะที่ต้องเข้าๆออกๆ นิพพานที่ต้องเข้าๆออกๆไม่ใช่นิพพานตัวจริง อย่างต้องนั่งสมาธิแล้วก็เคลิ้มๆดับลงไป หมดความรู้สึก บอกว่าเข้านิพพาน ไม่ใช่ นิพพานไม่อนาถาอย่างนั้นนะ นิพพานไม่ได้เกิดไม่ได้ดับ นิพพานเต็มบริบูรณ์อยู่อย่างนี้เอง ครอบโลกธาตุทั้งหมดอยู่อย่างนี้เอง ไม่มีความเกิดไม่มีความดับ เที่ยง มีแต่สันติสุข มีความสุขมหาศาลนะ จิตที่ไปรู้นิพพาน ก็ได้รับความสุขของนิพพานนั้นมหาศาลเลย

เพราะฉะนั้นนิพพานไม่ใช่ว่าแปลว่าไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเลยเป็นมิจฉาทิฎฐิ เรียก นัฏฐิกทิฎฐิ ไม่มีอะไรเลย หรือสูญไปหมดเลย เรียก อุจเฉทิกทิฎฐิ แต่นิพพานไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าเป็นภพอันใดอันหนึ่ง ที่มีขันธ์อยู่ อันนั้นเป็นสัสสตทิฎฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกชนิดหนึ่ง

นิพพานเป็นอะไร นิพพานก็เป็นนิพพานน่ะสิ ถามว่านิพพานเที่ยงมั้ย เที่ยง นิพพานเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ นิพพานมีความสุข นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา เป็นอนัตตานะ ไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครจะเป็นเจ้าของครอบครองนิพพาน
นิพพานไม่เคยเต็มนะ หมายถึงว่าไม่เคยมีเจ้าของไปจับจองพื้นที่จนเต็มพื้นที่ได้ จริงๆนรกก็ไม่เต็มเหมือนกัน เพราะทุกคนสร้าง(นรก)ของตัวเองได้ พอนรกตรงนี้คับแคบแล้วนะ เราทำชั่วมากๆมันก็สร้างขึ้นมาอีก สร้างของตัวเองได้

การที่เรา รู้กายรู้ใจ จนเราเห็นความจริงของกายของใจ แล้วก็หมดความอยากให้กายให้ใจมีความสุข หมดความดิ้นรน เข้าถึงสันติสุขคือนิพพาน การรู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจชนิดนี้เรียกว่า การดำเนินอริยมรรค คืออริยมรรคนะ เพราะฉะนั้นอริยมรรค บอก พวกเราเจริญมรรค เจริญมรรค มรรคที่พวกเราเจริญ ยังมิใช่อริยมรรค มรรคที่พวกเราเจริญเรียกว่า บุพภาคมรรค มรรคเบื้องต้น ไม่ถือว่าเป็นอริยมรรค แต่อาศัยบุพภาคมรรค รู้กายรู้ใจมากเข้าๆเนี่ย วันหนึ่งอริยมรรคจะเกิดขึ้น เวลาที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ย รู้อริยสัจจ์ อริยสัจจ์ แต่รู้ตามชั้นตามภูมิ โสดาฯก็รู้เหมือนกัน รู้สิ่งเดียวกันนั่นเอง เสร็จแล้วก็ไปเห็นนิพพานอย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ความเข้าใจไม่เท่ากัน นี้ครูบาอาจารย์เคยสอนหลวงพ่อมานะ หลวงปู่สุวัจน์น่ะ เราภาวนาแล้วไปถามท่านนะ ท่านก็บอก สงสัยอะไร พระสกิทาคาฯ พระอนาคาฯ พระอรหันต์ นะ ก็เห็นของเดียวกัน เห็นสิ่งเดียวกัน แต่ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ไม่มีอะไรยิ่งกว่านี้แล้ว นะ ไม่มีอะไรยิ่งกว่านี้แล้ว

เพราะฉะนั้นสิ่งที่แตกต่างกันของพระอริยเจ้าแต่ละชั้นก็คือ ความเข้าใจ ไม่เท่ากัน แต่พระอริยเจ้าชั้นเดียวกันก็เข้าใจไม่เท่ากันนะ ถึงความบริสุทธิ์อย่างเดียวกัน แต่ความรู้ความเข้าใจความแตกฉานจะไม่เท่ากันแล้วแต่ว่าจะสร้างบารมีมาทางไหน

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
File:  500615A.mp3
ระหว่างนาที่ ๓ วินาทีที่ ๓ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อนุสัย และบารมี

mp 3 (for download) : อนุสัย และบารมี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ภาษามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะ แต่กิเลสคนมันเหมือนเดิม   กี่ยุคกี่สมัยนะกิเลสมันก็ยังหน้าตาเหมือนๆเดิมเลยก็มีแค่ ราคะ,โทสะ,โมหะ มีอยู่สามตัวนี้เท่านั้นแหละ หมุนเวียนกันอยู่ครองจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลา   ทำอย่างไรเราจึงจะรู้ทัน  ถ้ารู้ไม่ทันกิเลสครอบงำใจเรา เราจะหาความสุขไม่ได้  ถ้าเรารู้เท่าทันกิเลสที่หมุนเวียนเข้ามาอยู่ในใจ กิเลสครอบงำใจไม่ได้จิตใจก็มีความสุข

กิเลสหมุนเวียนเข้ามาอยู่ในใจได้อย่างไร ห้ามมันได้ไหม?ห้ามมันไม่ได้  เพราะอะไรใจเพราะใจนั่นแหละเป็นคนปรุงกิเลสขึ้นมา ใจของเราสร้างกิเลสขึ้นมานะ   เราหัดภาวนาดูจิตดูใจของเราไปจนถึงช่วงหนึ่งเราจะเห็นเลย เวลาตามองเห็นรูปใจเราคิดว่าไอ้นี่ไม่ดี นี่คือศัตรูเรา โทสะก็เกิดเห็นไหม เราคิดขึ้นมาเอง ใจมันปรุงกิเลสขึ้นมาเอง มันปรุงโทสะขึ้นมา หรือเรามองเห็นสาวมันสวยจังเลย เราก็คิดนะว่ามันสวยจังเลย ใจมันก็ปรุงราคะขึ้นมา ตามหลังความคิดของเราขึ้นมาเอง

พระพุทธเจ้าจึงเคยตอบคำถาม มีคนถามท่านว่าพระองค์มีกามราคะไหม ท่านบอกว่าท่านไม่มีถามราคะเพราะท่านไม่มีกามวิตก ท่านไม่คิด ทำนองเดียวกันถ้าถามท่านว่าจะมีพยาบาทโทสะไหม ท่านไม่มีเพราะท่านไม่มีพยาบาทวิตก ตรงที่ใจเราหลงไปคิดมันมีโมหะ พอหลงไปคิดแล้วมันก็เกิดราคะบ้างเกิดโทสะขึ้นมาบ้าง ใจเราเองปรุงมันขึ้นมา พอปรุงมันขึ้นมาแล้ว ราคะ,โทสะ,โมหะ ทั้งหลายนั่นเองกลับมาย้อมใจเรา กลับมาปรุงใจเรา เช่นใจเราปรุงโทสะขึ้นมา โทสะมาครอบงำเราทำให้เกิดพฤติกรรมทางใจขึ้นก่อน เช่นอยากด่าเขา ก็เกิดพฤติกรรมทางวาจาไปด่าเขา เกิดพฤติกรรมทางใจอยากชกเขา ก็เกิดพฤติกรรมทางกายไปชกเขา เกิดการกระทำขึ้นมา เพราะอำนาจกิเลสมันมาครอบงำเอง แปลกดีไหมเราสร้างกิเลสขึ้นมาเองแล้วก็ถูกมันครอบงำซะเอง น่าสงสารน่าสลดสังเวชใจที่สุด

ทำอย่างไรจึงจะไม่ตกเป็นทาสของมัน   ขั้นแรกเลยจะไม่ให้ปรุงไม่ได้ เพราะเรามีอนุสัย เราเคยปรุงมาจนชำนาญ อนุสัยเป็นความเคยชินฝ่ายชั่ว เราเคยถูกกิเลสครอบงำมานาน จนใจเราคุ้นเคยกับความชั่ว เพราะงั้นมันมีอนุสัยสะสมอยูในจิตใต้สำนึกของเรา จริงๆมันถูกเก็บไว้ในภวังคจิต ภาษาสมัยใหม่ชอบไปเรียนจิตใต้สำนึก เพราะตอนนั้นไม่ขึ้นมาวิถีมาสำนึกของมัน พออนุโลมนะ   พอ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ กระทบอารมณ์แล้ว อนุสัยทำงาน มันกระทบอารมณ์ ซึ่งจิตใจมันวิเคาะห์แล้วว่านี่อารมณ์ดี ราคะก็ผุดขึ้นมาผุดขึ้นมาจากราคานุสัย ราคานุสัยที่เป็นราคะสะสมมานาน ชำนาญที่จะมีราคะราคะก็เกิด   กระทบทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ จิตมันพิจารณาแล้วว่านี่ไม่ดี อนุสัยคือปฏิฆานุสัย อนุสัยคือความขี้โมโหก็ผุดขึ้นมากลายเป็นโทสะ   พอกิเลสผุดขึ้นมาแล้วมันครอบงำจิต จิตทำงานตามอำนาจบงการของกิเลส กิเลสจะยิ่งมีแรง พอกิเลสตัวนั้นดับไปมันไม่ได้ดับไปเปล่าๆมันได้เซฟข้อมูลลงในภวังคจิตอีก ตรงที่จิตขึ้นมารับอารมณ์ ตรงที่จิตขึ้นมาเสพย์อารมณ์อีก ขึ้นมากระทำกรรมทั้งหลาย จิตกลุ่มนี้เรียกว่า ชวนจิต(อ่านว่า ชะ-วะ-นะ-จิด) พอมันทำกรรมตามสมควรแล้ว แล้วมันเริ่มเซฟตัวเองตัวนี้เรียกว่า ตทาลัมพนจิต (อ่านว่า ตะ-ทา-ลัม-พะ-นะ-จิด)   เราไม่จำเป็นต้องจำชื่อนะ มันคล้ายๆตอนเราปิดคอมพิวเตอร์ตอน shutdown ตอน turn off   เห็นไหมมันจะทำงานอยู่ช่วงหนึ่งก่อนที่มันจะปิดตัวเองลงไป จิตก็ทำแบบนั้นพอจิตมันขึ้นวิถีขึ้นมาทำงานขึ้นมาเสพย์อารมณ์เต็มที่แล้วมันจะเริ่มสะสมเริ่มสรุปต่างๆสะสมเอาไว้ สะสมเอาไว้เป็นวิบาก    วิบากนั้นถ้าเป็นฝ่ายเคยชินทำชั่วเรียกว่าอนุสัย หรือถ้าเป็นความเคยชินทางดีก็เรียกว่าบารมี มันเก็บหมดนะทั้งความดีความชั่ว สะสมไปเรื่อยๆ ต่อไปเวลามันกระทบอารมณ์ใหม่ ถ้ามีบารมีมากคุณงามความดีมันทำงานขึ้นมา ถ้าอนุสัยมันรุนแรงอนุสัยมันก็จะทำงานขึ้นมา   ทำไมบางคนขี้โมโหบ่อยๆ ทำไมบางคนถูกด่าเท่าๆกันมันเกิดสงสารคนที่มาด่าเราเพราะมันสะสมมาไม่เหมือนกัน

เราเป็นหรือเราทำอย่างที่เราทำของเราเอง ไม่มีใครมาบงการเรา   จิตใจของเราเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ จิตเป็นอนัตตานะ แต่จิตเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้   เราสั่งให้จิตดีไม่ได้ แต่เราฝึกฝนให้จิตดีได้ เราห้ามจิตเราไม่ให้ชั่วไม่ได้ แต่เราฝึกตัวเองได้เราฝึกจิตได้   วิธีฝึกจิตที่จะไม่ให้หลงไปตามความชั่ว วิธีฝึกจิตที่จะให้มันมีคุณงามความดี ก็คือการมีสตินั่นเอง ทันทีที่เรามีสติอกุศลที่มีอยู่มันจะดับทันที ทันทีที่เรามีสติอยู่อกุศลใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ในขณะนั้น ทันทีที่เรามีสติกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะสตินั่นแหละเป็นตัวกุศล ทันทีที่เรามีสตินะ สติเกิดแล้วเกิดอีกเกิดแล้วเกิดอีก จิตจะคุ้นเคยที่จะมีสติคุ้นเคยที่จะรู้สึกตัว มันจะรู้สึกตัวบ่อย   พวกเราหัดใหม่ๆสังเกตไหมว่านานมากเลยกว่าจะรู้สึกตัวได้ครั้งหนึ่ง เพราะสติไม่คุ้นเคยที่จะเกิด ต่อมาเราฝึกไปเรื่อยฝึกไปเรื่อยนะสติจะเกิดบ่อย ขยับตัวแว้บสติก็เกิด เวทนาเกิดแว้บสติก็เกิด กุศล,อกุศลเกิดแว้บสติก็เกิด จิตเคลื่อนไหวปั๊บสติก็เกิด เพราะอะไรเพราะมันคุ้นเคย งั้นอยู่ที่เราสร้างความเคยชินที่ดีๆขึ้นมานะ   พยายามรู้สึกตัวอย่าเอาแต่หลงอย่างเดียว หลงมานานแล้ว หลงมานานแล้วไม่เห็นว่ามันจะมีความสุขแท้จริงเลย เราแต่ละคนปรารถนาความสุขด้วยกันทุกคน ตะเกียกตะกายหาความสุขด้วยกันทุกคน แต่ความสุขเหมือนภาพลวงตา ความสุขมันปรากฏอยู่ข้างหน้าเหมือนๆจะหยิบเอาไว้ได้ แต่พอเอื้อมมือไปหยิบมันก็เลื่อนหนีไปแล้ว มันไปลอยอยู่ข้างหน้าหลอกให้เราวิ่งต่อไปอีก งั้นเราเที่ยวหาความสุขไปเรื่อยๆ โดยที่เราไร้ทิศทาง   เราต้องฝึกสตินะฝึกสติ รู้ทันลงไป ถ้ากิเลสเกิดเรามีสติรู้ทันกิเลสดับทันทีเลย จิตใจก็มีความสุขทันทีเลย ง่ายขนาดนั้น

ศาลาลุงชิน
CD: 24
File: 510921.mp3
Time: 2.16 – 9.36

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212