Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกมิได้ แต่ได้ด้วยการปฏิบัติโดยลำดับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา”

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร”

อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ หัวข้อ ๒๓๘ 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ภาวนาแล้วเห็นแต่ทุกข์ ต้องทำอย่างไรต่อ?

ภาวนาแล้วเห็นแต่ทุกข์ ต้องทำอย่างไรต่อ?

ถาม : ผมฝึกดูกายดูจิต มาจนถึง เห็นสภาวะ ที่ว่ากายกับจิตไม่ใช่เราแล้ว คราวนี้ก็ฝึกดูไปเรื่อยๆครับ ช่วงนี้ฝึกดูลมหายใจอยู่ แต่รู้สึกว่าจะเห็นแต่ทุกข์ ของลมหายใจ ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ทราบว่าผมควร อดทนดูต่อไปเรื่อยๆ หรือเปลี่ยนเป็นวิธีอื่นดีครับ เพราะเมื่อก่อนเวลาดูลมหายใจส่วนใหญ่ เมื่อดูไปซักพักจะรู้สึกสุข แต่ปัจจุบันเห็นแต่ทุกข์ครับ
สุขไม่เกิด กลัวว่าจิตจะทนไม่ไหวครับ  :'( รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะแนวทางด้วยครับ

ปล.ผมก็ไม่ได้ติดเพ่งที่ลมหายใจนะครับ

ตอบ : ถ้าทุกข์แล้วยังดูได้ว่าทุกข์เป็นส่วนหนึ่ง จิตที่รู้ทุกข์เป็นอีกส่วนหนึ่ง
หรือเห็นทุกข์ด้วยจิตที่ตั้งมั่นรู้อยู่ห่างๆ ได้
ก็แสดงว่าเป็นการเห็นความจริงอย่างหนึ่ง
เห็นทุกข์ได้ก็จะพ้นทุกข์ได้ ให้อดทนดูต่อไปครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : ขอเชิญรับฟังหลวงพ่อ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บางกรวย ในวันที่ 30 พ.ค. 54

ขอเชิญรับฟังหลวงพ่อ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บางกรวย ในวันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2554 เวลา 12.30 – 14.00 น.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บางกรวย

เลขที่ 53 หมู่ 2 ถ.จรัญสนิทวงศ์

ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย

นนทบุรี

โทร : 02-436-0000


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

mp3 (for download): เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตใจของเราเอง โดยตัวมันเองนะ มันก็มีแนวโน้มที่จะดีเหมือนกัน แต่เราเองปิดกั้นมันไว้จากมรรคผลนิพพาน ไปต่อต้านนะ ธรรมะพยามแสดงความจริงให้ดู แต่เราไม่อยากเห็นธรรมะ เราอยากเห็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมะ ยกตัวอย่างธรรมะแสดงให้ดูว่าเราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เราไม่อยากได้ เราอยากได้ที่ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ธรรมะแสดงให้ดูว่าความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง เราอยากให้ความสุขเที่ยง อยากให้ไม่มีความทุกข์ ใจเราเองแหละปฏิเสธธรรมะ ธรรมะก็เลยเข้าสู่ใจเราไม่ได้

การที่เราคอยรู้กาย คอยรู้ใจ มากเข้าๆ ก็เพื่อวันหนึ่ง จิตใจมันจะยอมรับธรรมะ ยอมรับความจริงของกายของใจว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา พอเขายอมรับความจริงเมื่อไหร่ เขาจะเลิกดิ้นรน พอมันไม่ดิ้น มันก็ไม่ทุกข์นะ ไม่ดิ้นไม่ทุกข์หรอก ดิ้นทีไรก็ทุกข์ทุกทีนะ พอทุกข์ก็ยิ่งดิ้น พอยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์อีก ก็เลยดิ้นไปเรื่อย ดิ้นไม่เลิกหรอก

ถ้าเราคอยรู้ไปเรื่อย.. แล้ววันหนึ่ง เกิดปัญญา เห็นกาย เห็นใจ ไม่ใช่เราหรอก เป็นของๆโลก ยืมเขามาใช้ชั่วครั้งชั่วคราว หมดความรักในกายในใจเมื่อไหร่นะ ก็หมดความยึดถือ หมดความทุกข์ กายกับใจก็ดูแลมันไป เหมือนเรายืมของเขามาใช้ ก็มีหน้าที่ดูแล ไม่ใช่ยืมของเขามาใช้ แล้วก็ใช้ให้พังๆไป เรายืมกายยืมใจมาจากโลก เอามาใช้ ก็มาทำประโยชน์ของเราเอง ทำประโยชน์แก่คนอื่น อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๒
File: 491222.mp3
ระหว่างนาทีที่  ๐๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : พุทโธ กับการภาวนาในขณะทำงาน

พุทโธ กับการภาวนาในขณะทำงาน

ถาม : ในชีวิตประจำวันในขณะที่เราทำงานอยู่ เราจะภาวนาพุทโธตลอดเวลาหรือเปล่าค่ะ อย่างเช่นตอนเราพูด เราก็ไม่สามารถภาวนาพุทโธได้ใช่มั๊ยค่ะ?

ตอบ : ใช่แล้วครับที่เราไม่สามารถจะพุทโธได้ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นการบริกรรมพุทโธจึงต้องเอาไว้ใช้เวลาว่างๆ
หรือเวลาที่ไม่ต้องพูดคุย ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำงาน
ส่วนในเวลาที่พุทโธไม่ได้ ก็แล้วแต่ว่าเราจะใช้อะไรแทนพุทโธ
เช่นในขณะทำงาน เราก็มารู้สึกว่ามีร่างกายเคลื่อนไหวแทนพุทโธก็ได้
แล้วพอทำงานเพลินๆ ก็จะลืมตัวไปเลยว่ามีร่างกายกำลังเคลื่อนไหวทำงานอยู่
แต่พอนึกได้ว่าลืมตัวไปแล้ว ก็จะรู้สึกได้ใหม่ว่ามีร่างกายเคลื่อนไหวทำงานอยู่
เหมือนๆกับที่เรารู้ว่าลืมพุทโธนั่นแหละครับ

คุณ wisherkids ลองลุกเดินไปมาดูก็ได้ครับ
เดินไปแล้วก็รู้สึกว่ามีร่างกายกำลังเดินไปสบาย
ไม่ต้องบังคับจิตไม่ต้องเพ่งจ้องให้รู้ว่าเดินตลอดเวลา
ให้รู้สึกมีร่างกายเดินไปสบายๆ แล้วเดี๋ยวจิตก็จะเผลอลืมตัวไปคิด
ซึ่งในขณะที่กำลังคิดอยู่ จะไม่รู้สึกหรอกว่ามีร่างกายกำลังเดิน
พอเผลอลืมตัวไปแล้ว เดี๋ยวก็จะนึกได้เองว่า ลืมตัวไป
แล้วก็กลับมารู้ร่างกายกำลังเดินใหม่

แต่ระวังอย่าพยายามไม่ให้ลืมตัวไปนะครับ
แต่ให้ลืมตัวแล้วนึกได้ว่าลืมตัวไปบ่อยๆนะครับ :D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

mp 3 (for download) : สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เราบอกว่าเราฟังธรรมเข้าใจเนี่ย   ความจริงไม่ได้เข้าใจด้วยการฟัง แต่เข้าใจด้วยการคิดเอาเอง การคิดเอาเองของเราเนี่ย  คิดถูกก็ได้  คิดผิดก็ได้ งั้นธรรมที่ฟัง ๆ เอานะยังใช้ไม่ได้ ฟังเอาพอเป็นแนว เพื่อจะมารู้กาย รู้ใจ  ศัตรูของการรู้กาย รู้ใจ  เบอร์หนึ่งเลยคือการที่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกาย ลืมใจที่เป็นปัจจุบัน รู้สึกไหม ขณะที่เราคิดไปเนี่ย เรานั่งอยู่เราก็ลืมไป จิตใจเราเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล เราก็ไม่รู้ นึกออกไหม   เนี่ยอย่างขณะนี้ลืมกาย ลืมใจแล้ว ตรงที่ไหลแว๊บไป

เพราะฉะนั้นตราบใดที่คุณยังคิดไม่เลิกนะ  คุณไม่ได้ทำวิปัสสนาแน่นอน แล้วมันเป็นศัตรูด้วย   หลวงพ่อเลยไม่ส่งเสริมให้มานั่งคิดนั่งถามนะ ที่สงสัยได้เพราะคิดมาก   คิดมากก็สงสัยมาก สงสัยแล้วอยากถาม ถามไปแล้วก็จำเอาไว้แล้วหรือเอาไปคิดต่อ นะ มันจะเวียนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ  วิปัสสนาจริง ๆ ไม่ใช่การคิด วิปัสสนาจริงๆ ในอภิธรรมสอนนะเริ่มจากตัวอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณเนี่ยมันเห็นความเกิดดับของรูปนามนะ แล้วระบุไว้ด้วยว่า ต้องพ้นจากความคิดด้วย ถ้ายังเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเอา เช่นคิดเอาว่าจิตตะกี้กับจิตเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่าเป็นไตรลักษณ์ นี่ได้แค่สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นยังตราบใดที่ยังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนา

หลวงพ่อพุธเคยสอนนะบอกว่า “สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด” ความคิดเนี่ยคือศัตรูเบอร์หนึ่งเลย   มันทำให้เราลืมกายลืมใจตัวเอง ส่วนศัตรูเบอร์สองคือการที่บังคับกาย บังคับใจ นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับกาย บังคับใจ   เพ่งเอา ๆ นะ กำหนดเอา ๆ กายก็ทื่อ ๆ ใจก็ทื่อ ๆ  ถ้าเราบังคับกาย บังคับใจ จนมันทื่อ ๆ ไปแล้วไตรลักษณ์มันจะไปอยู่ที่ไหน มันไม่แสดงตัวขึ้นมา

ศัตรูของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันแรก  หลงไป เผลอไป ขาดสติ ลืมเนื้อ ลืมตัว ตามใจกิเลสไปนี้เรียกว่า  อกุศลาภิสังขารมั่ง   อปุญญาภิสังขารมั่ง   เรียกว่า  กามสุขัลลิกานุโยคบ้าง มีหลายชื่อ

ศัตรูหมายเลขสองคือการเพ่งกาย เพ่งใจ บังคับกาย บังคับใจ กำหนดกาย กำหนดใจ ควบคุมไว้ ทำกายทำใจให้ลำบากอันนี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร  ความปรุงแต่งฝ่ายที่เป็นบุญ  เรียกว่า กุศลาภิสังขาร ความปรุงแต่งที่เป็นกุศลเรียกว่า  อัตตกิลมถานุโยค  การบังคับตัวเอง

เนี่ยสองทางนี้แหละเป็นทางสุดโต่งสองด้านที่พระพุทธเจ้าห้าม ถ้าเรายังไปทำส่วนใหญ่ไปทำอย่างนั้นเองคือไปเพ่งเอา กำหนดเอา ใจแข็ง  ทื่อ ๆ จ้องเอาไว้ ๆ นั่นไม่ใช่การเจริญสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๖
File: 491106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ถามตอบปัญหา พุทโธในการดูจิต

ถามตอบปัญหา พุทโธในการดูจิต

ถาม : ในขณะที่ภาวนาพุทโธ สงสัยกับตัวเองมานานแล้วค่ะว่า เราภาวนาพุทโธแล้วก็หายใจเข้า แล้วตอนภาวนาพุทโธก็หายใจออก เราบังคับให้ร่างกายหายใจเข้าออกนะค่ะ มันอึดอัดมาก แล้วก็เหนื่อย ต้องทำอย่างไรค่ะ ?

ตอบ : อึดอัดเพราะทำผิดนั่นเองครับ
การปฏิบัติภาวนาไม่ใช่ การหัดบังคับร่างกายนะครับ
แต่เป็นการใช้ร่างกายและจิตใจ เป็นเครื่องอาศัยเรียนรู้ความจริง
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องบังคับตัวเองนะครับ
แค่หายใจ(หรือพุทโธด้วย)ไปแล้ว
เพียงรู้สึกว่ามีลมหายใจเข้าออก หรือรู้พุทโธไปเท่านั้น
จะหายใจสั้นหรือยาวก็ให้เป็นไปตามที่เป็น แล้วเราก็แค่รู้เท่านั้นครับ
ไม่ต้องบังคับจิตใจให้อยู่กับลมหรือพุทโธตลอดเวลา

ถาม : หากว่าในขณะที่ภาวนาพุทโธอยู่ คิดไปเรื่องอื่น ๆ  จะต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : การที่พุทโธอยู่แล้วจิตแอบไปคิดเรื่องอื่น
ก็คือ จิตที่เผลอลืมพุทโธ นั่นเองครับ
พอคิดเรื่องอื่น จิตเองจะลืมพุทโธแล้วไปรู้เรื่องที่คิด
ซึ่งหากสังเกตหรือนึกได้ว่า ลืมพุทโธ หรือรู้ว่าจิตเผลอไปคิด
สติก็จะเกิด พอนึกได้แล้วหรือเกิดสติแล้ว ก็กลับมาพุทโธต่อสบายๆครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

mp 3 (for download) : การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

หลวงพ่อปราโมทย์: พอได้ยินหลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิตตัวเองนะ ก็มาหัดดู ตอนนั้นรับราชการอยู่สำนักนายกฯ อยู่สำนักนายกฯใกล้ๆกับอาจารย์มานิตย์นี้แหละ ตึกใกล้ๆกัน ทุกวันนะ ตั้งแต่ตื่นนอน หัดภาวนา ตื่นนอนมา แค่ตื่นนอนนะ แล้วนึกว่าวันนี้วันอะไรนะ ใจเรายังเปลี่ยนเลย เนี่ยการภาวนาไม่มีอะไรหรอก ฝึกอยู่ในชีวิตจริงๆของเรานี้ ไม่ใช่ต้องนั่งหลับหูหลับตาไปฝึกในป่าในเขาอะไร ไม่ต้องหรอก

การภาวนาคือการเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ อยู่ที่ไหนมันก็มีกายมีใจ ใช่มั้ย ไม่ใช่ว่ามาอยู่ที่นี่ ไม่มีกายไม่มีใจ ต้องไปอยู่ที่วัดถึงจะมีกายมีใจ ไม่ใช่ อยู่ตรงไหนก็มีกายมีใจ เพราะฉะนั้นอยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติได้ เพราะการปฏิบัติคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจ

ทีนี้ตื่นนอนมา หลวงพ่อรับราชการนะ ตื่นมา นึกได้ วันนี้วันจันทร์ ใจแห้งแล้ง นึกได้ว่าวันนี้วันศุกร์ ใจสดชื่น เรารู้ทัน ใจแห้งแล้งเราก็รู้ ใจสดชื่นเราก็รู้ นึกได้ว่าวันศุกร์นะ โอ๊.. ปรีด์เปรมมากเลย นึกได้ไปอีกนะ Long Weekend ด้วย สดชื่นมากกว่าปกติอีก ใครเป็นบ้าง มีมั้ย เป็นทั้งนั้นแหละ เพียงแต่ไม่ยอมยกมือ ทำให้ดูว่าขยันทำงาน พอนึกได้ว่าวันศุกร์นะ จิตใจสดชื่น ดูไปดูมา เฮ้ย..จำวันผิด วันนี้วันพุธ ความสุขพลิกเลย ใจก็ทุกข์ขึ้นมา เห็นเลย ใจเป็นทุกข์ขึ้นมา เนี่ยคอยดูอย่างนี้

เวลากินข้าวเราก็ภาวนาได้นะ เรากินข้าว สมมุติว่าเราเดินไปโรงอาหาร โอ้..วันนี้มีแต่ของโปรด จิตใจมีความสุข รู้สึกมั้ย วันนี้เจอแต่ของที่เราไม่ชอบ แม่ค้าพวกนี้ขาด Innovation ไม่ได้เรื่องเลยนะ ทำอาหารเหมือนกันทุกวันเลย ล้วนแต่ของที่เราไม่ชอบ พอเห็นแล้ว ใจเราก็ไม่ชอบ เนี่ยรู้ทันที่ใจเรานะ ไม่ใช่รู้ว่าวันนี้มีอาหารอะไรนะ ไม่ใช่รู้ว่าวันนี้มี แกงเป็ด แกงไก่ แกงปลาไหล ฉู่ฉี่ อะไรอย่างนี้

ให้รู้ความรู้สึกของเรา เช่น เห็นอย่างนี้ เห็นอาหารอย่างนี้ ใจเรารู้สึกอย่างนี้ ได้กลิ่นอาหารอย่างนี้ ใจเรารู้สึกอย่างนี้ รู้ที่ใจ รู้ความรู้สึกที่ใจ เนี่ย คือการเจริญสติในชีวิตจริงๆ ไม่ใช่นั่งหลับหูหลับตาอยู่ที่ไหนเลยนะ ใช้ชีวิตอยู่ตรงไหนก็ภาวนามันที่นั้นแหละ

เพราะฉะนั้นเราเดินไป เราเห็นอาหารอย่างนี้ ใจเรารู้สึกอย่างไร เรารู้ทันนะ กินเข้าไป โอ๊ย.. นี่ของโปรดทั้งนั้นเลย ตักใส่ปาก ไม่อร่อยเลย นึกว่าจะอร่อย ใครเคยเป็นมั้ย เห็นของโปรด ตักใส่ปากเข้าไปแล้ว มันไม่อร่อย รู้สึกอย่างไร ปลื้มใจ ได้กินของไม่อร่อย ไม่เป็นใช่มั้ย รู้สึกอ๊า..แย่จังเลย แม่ครัวคนนี้ ไม่ได้เรื่อง อะไรอย่างนี้ ใจไม่ชอบ รู้ทันว่าใจไม่ชอบ เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันใจของเรา

ออกจากที่ทำงานของเราไป หรือจะมาที่ทำงาน ตอนเช้าๆ รถติดเยอะ รถติดเยอะแยะ วันนี้ออกจากบ้าน ขับรถออกมา เจอแต่ไฟแดง รู้สึกอย่างไร เจอไฟแดงรู้สึกอย่างไร เซ็งใช่มั้ย เดี๋ยวก็แดงๆ มีแต่ไฟแดงตลอดวันอะไรอย่างนี้ เบื่อมากเลย ถ้าวันไหนเจอแต่ไฟเขียว สดชื่น เห็นไฟเขียวดีใจๆ วิ่งๆวิ่งๆ แหมไฟยังเขียวอยู่ แดงปุ๊บขึ้นมา ไฟเหลืองก็ต้องรีบเร่งต่อไป ใช่มั้ย เกิดแดงขึ้นมาแล้วตำรวจมันยืนอยู่ เราก็ต้องเบรค หันไปดูอีกที อุ๊ยตำรวจตัวปลอม เดี๋ยวนี้คนกรุงเทพฯมันหลอกลวงนะ มันมีตำรวจตัวปลอมเยอะเลยนะ ตำรวจตัวปลอมกับตำรวจตัวจริงต่างกันตรงไหน ดูออกมั้ย ดูที่พุงสิ นะ ตำรวจตัวจริงนะจะอ้วนกว่าตำรวจตัวปลอม ถ้าติดไฟแดงเป็นคันแรกรู้สึกอย่างไร โห..โมโหเลย บางที ใช่มั้ย ถ้าติดเป็นคันที่ ๒๐ รู้สึกอย่างไร สบายกว่า รู้สึกมั้ย ถ้าติดเป็นคันที่ ๘๐ คันที่ ๑๒๐ เฉยๆ ไฟเขียวก็ยังเฉยอยู่ รู้ว่าไม่รอดหรอก เนี่ยเราคอยรู้ความรู้สึกของเรา เนี่ยแหละคือการปฏิบัติธรรมในชีวิตจริงๆ

อย่าไปคิดนะว่าการปฎิบัติธรรมในชีวิตธรรมดาเนี่ย ไม่มีผลอะไร จะแตกหักกันนะ จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้หรือเปล่า อยู่ที่ว่าเราปฎิบัติธรรมในชีวิตจริงๆของเราได้หรือเปล่า คนๆหนึ่งจะไปนั่งสมาธิ จะไปเดินจงกรมได้วันละกี่ชั่วโมง ชีวิตส่วนใหญ่ของเรา ก็คือชีวิตที่อยู่กับโลกธรรมดานี้ต่างหากล่ะ

เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกปฏิบัติได้เฉพาะตอนเข้าวัด เข้าคอร์ส ตอนนั่งสมาธิ ตอนเดินจงกรม โอกาสที่จะปฏิบัติมันมีนิดเดียว ปีหนึ่งจะมีสักกี่ครั้ง วันหนึ่งจะมีสักกี่ชั่วโมง กี่นาที แต่เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน เราโยนทิ้งเสียเปล่าๆ หลวงพ่อไม่โยนทิ้งเลยนะ ยกตัวอย่างแต่ก่อนนี้ ตอนที่รับราชการใหม่ๆ ยังไม่มีรถขับหรอก ขึ้นรถเมล์ พอตอนเช้าออกมาที่ป้ายรถเมล์ปุ๊บ เห็นผู้ร่วมชะตากรรมพอๆกับคนในห้องนี้ สดชื่นมั้ย เพื่อนเยอะ ไม่สดชื่นเลยใช่มั้ย เซ็ง เฮ่อ อย่างนี้จะไปได้ไง เซ็งรู้ว่าเซ็ง เห็นรถเมล์วิ่งมาแล้ว ปุเลงๆ อุ๊ย..คันนี้ว่าง ดีใจ มันไม่จอด เปลี่ยนจากดีใจเป็นโกรธ ความจริงที่มันว่างเพราะมันไม่ชอบจอด ถ้ามันชอบจอดมันคงไม่ว่างหรอก มันก็เรื่องง่ายๆแค่นั้นเอง เนี่ยพอรถเมล์ว่างๆมาดีใจ พอไม่ยอมจอดเปลี่ยนเป็นโมโห โมโหรู้ว่าโมโห เนี่ยคอยรู้ความรู้สึกของตัวเองไป

การหัดเจริญสติในชีวิตประจำวัน ที่ง่ายๆ เหมาะสำหรับคนเมือง คนอย่างพวกเรานี้แหละ คนอยู่ในเมือง ไม่มีเวลานั่งสมาธิ ไม่มีเวลาเดินจงกรมอะไรมากมาย ก็ให้พวกเราคอยรู้ความรู้สึกของตัวเอง ความรู้สึกของเราจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ความรู้สึกจะเปลี่ยนตลอด คอยมีสติรู้มันไปเรื่อยๆ อย่าไปบังคับให้มันสุข ให้มันสงบ ให้มันดีนะ เราดูความเปลี่ยนแปลง ท่องไว้นะ ว่าต่อไปนี้ เราจะคอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก คอยรู้ความรู้สึกที่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ดูเล่นๆไปเรื่อย เราก็จะเห็นเลย จิตใจนี้ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายนะ หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความสุขก็อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป ทุกอย่างอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ฝึกมาอย่างนี้เรื่อยๆนะ ต่อไปปัญญามันแจ้งเลย สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ถ้าพูดภาษาบาลีก็ได้นะ บอกว่า ยํ กิญฺจิ สมุทย ธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธ ธมฺมนฺติ สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ผู้ใดเห็นว่าสิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา ก็เป็นภูมิธรรมของพระโสดาบันนั่นเอง ทุกอย่างมีแต่เกิดแล้วดับ ไม่มีตัวตนถาวร ไม่มีอัตตาตัวตนที่ถาวร

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๗ ถึง นาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เริ่มดูจิตด้วยพุทโธ

เริ่มดูจิตด้วยพุทโธ

ถาม : ถามแบบไม่รู้เลยจริง ๆ นะค่ะว่า ดูจิตไม่เป็นนะค่ะ ดูตรงไหน ดูนานแค่ไหน พอดูเสร็จแล้วให้กลับไปภาวนาพุทโธที่ลมหายใจต่อหรือเปล่าค่ะ?

ตอบ : ถ้าถนัดที่จะบริกรรม พุทโธ ก็ดูจิตไม่ยากครับ
แค่พุทโธไปสบายๆ ไม่ต้องพุทโธให้จิตสงบ ไม่ต้องพุทโธได้นานๆ
จะพุทโธได้กี่คำแล้วจิตเผลอลืมไปก็ได้
พอเผลอลืมพุทโธไปแล้ว ไม่นานก็จะนึกได้ว่า อ้าว…ลืมพุทโธไปแล้ว
พอนึกได้ก็กลับมาพุทโธสบายๆใหม่
ตรงที่นึกได้ว่า จิตเผลอลืมพุทโธไปแล้วนั่นแหละครับ
ที่เป็นการดูจิตอย่างหนึ่งแล้ว คือ ดูจิตที่เผลอลืมพุทโธนั่นเอง

ตอนนี้หัดรู้ว่าเผลอลืมพุทโธไปก่อนนะครับ
แล้วต่อไปก็จะดูจิตอย่างอื่นได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทศชาติชาดก : ชาติที่ 6 พระภูริทัต (ศีลบารมี)

“คนจะข้ามภพข้ามชาติได้ บารมีต้องเต็ม บารมีต้องครบ บารมีมีสิบตัว”

(หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช)


พระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า “พรหมทัต” ครอง ราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี พระโอรสทรงดำรง ตำแหน่งอุปราช อยู่ต่อมาพระราชาทรงระแวงว่า พระโอรสจะคิดขบถ แย่งราชสมบัติ จึงมีโองการให้ พระโอรสออกไปอยู่ให้ไกลเสียจากเมือง จนกว่าพระราชา จะสิ้นพระชนม์จึงให้กลับมารับราชสมบัติ พระโอรสก็ปฏิบัติ ตามบัญชา เสด็จไปบวชอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชื่อว่า “ยุมนา”

มีนางนาคตนหนึ่งสามีตาย ต้องอยู่แต่เพียงลำพัง เกิดความ ว้าเหว่จนไม่อาจทนอยู่ในนาคพิภพได้ จึงขึ้น มาจากน้ำ ท่องเที่ยวไปตามริมฝั่งมาจนถึงศาลาที่พักของพระราชบุตร นางนาคประสงค์จะลองใจดูว่า นักบวชผู้พำนักอยู่ในศาลานี้ จะเป็นผู้ที่บวชด้วยใจเลื่อมใสอย่างแท้จริงหรือไม่ จึงจัดประดับ ประดาที่นอนในศาลานั้นด้วยดอกไม้หอม และของทิพย์จาก เมืองนาค ครั้นพระราชบุตรกลับมา เห็นที่นอนจัดงดงาม น่าสบายก็ยินดีประทับนอนด้วยความสุขสบายตลอดคืน รุ่งเช้าก็ออกจากศาลาไป นางนาคก็แอบดู พบว่าที่นอน มีรอยคนนอน จึงรู้ว่านักบวชผู้นี้มิได้บวชด้วยความศรัธรา เต็มเปี่ยม ยังคงยินดีในของสวยงาม ตามวิสัยคนมีกิเลส จึงจัดเตรียมที่นอนไว้ดังเดิมอีก ในวันที่สาม พระราชบุตรมีความสงสัยว่า ใครเป็นผู้จัด ที่นอนอันสวยงามไว้ จึงไม่เสด็จออกไปป่า แต่แอบดูอยู่บริเวณ ศาลานั่นเอง เมื่อนางนาคเข้ามาตกแต่งที่นอน

พระราชบุตร จึงไต่ถามนางว่า นางเป็นใครมาจากไหน นางนาคตอบว่า นางเป็นนาคชื่อมาณวิกา นางว้าเหว่าที่สามีตาย จึงออกมา ท่องเที่ยวไป พระราชบุตรมีความยินดีจึงบอกแก่นางว่า หากนางพึงพอใจจะอยู่ที่นี่ พระราชบุตรก็จะอยู่ด้วยกับนาง นางนาคมาณวิกาก็ยินดี ทั้งสองจึงอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา จนนางนาคประสูติโอรสองค์หนึ่ง ชื่อว่า “สาครพรหมทัต” ต่อมาก็ประสูติพระธิดาชื่อว่า “สมุทรชา” ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต บรรดาเสนาอำมาตย์ ทั้งหลายไม่มีผู้ใดทราบว่าพระราชบุตรประทับ อยู่ ณ ที่ใด บังเอิญพรานป่าผู้หนึ่งเข้ามาแจ้งข่าวว่า ตนได้เคยเที่ยวไปแถบ แม่น้ำยมุนา และได้พบพระราชบุตรประทับอยู่บริเวณนั้นอำมาตย์ จึงได้จัดกระบวนไปเชิญเสด็จพระราชบุตรกลับมาครองเมือง พระราชบุตรทรงถามนางนาคมาณวิกาว่า จะไปอยู่ เมืองพาราณสีด้วยกันหรือไม่

นางนาคทูลว่า “วิสัยนาค นั้นโกรธง่ายและมีฤทธิ์ร้าย หากหม่อมฉันเข้าไปอยู่ในวัง แล้วมีผู้ใดทำให้โกรธ เพียงหม่อมฉัน ถลึงตามอง ผู้นั้นก็จะ มอดไหม้ไป พระองค์พาโอรสธิดากลับไปเถิด ส่วนหม่อมฉัน ขอทูลลากลับไปอยู่เมืองนาค ตามเดิม”

พระราชบุตรจึงพา โอรสธิดากลับไปพาราณสีอภิเษกเป็นพระราชา อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่โอรสธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ เกิดตกใจกลัวเต่า ตัวหนึ่ง พระบิดาจึงให้คนจับเต่านั้นไป ทิ้งที่วันน้ำวนในแม่น้ำ ยมุนา เต่าจมลงไปถึงเมืองนาค เมื่อถูกพวกนาคจับไว้

เต่าก็ออก อุบาย บอกแก่ นาคว่า “เราเป็นทูตของพระราชาพาราณสี พระองค์ ให้เรามาเฝ้าท้าวธตรฐ พระราชทานพระธิดาให้เป็นพระชายา ของท้าวธตรฐ เมืองพาราณสีกับนาคพิภพจะได้เป็นไมตรีกัน” ท้าวธตรฐทรงทราบก็ยินดี สั่งให้นาค 4 ตนเป็นทูตนำ บรรณาการไปถวายพระราชาพาราณสีและขอรับตัว พระธิดามาเมืองนาค พระราชาทรงแปลกพระทัย จึงตรัสกับ นาคว่า “มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่าพันธุ์กัน จะแต่งงานกัน นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้”

เหล่านาคได้ฟังดังนั้น จึงกลับไปกราบทูลท้าวธตรฐว่า พระราชาพาราณสีทรงดูหมิ่นว่านาคเป็นเผ่าพันธุ์งู ไม่คู่ควรกับพระธิดา ท้าวธตรฐทรงพิโรธ ตรัสสั่งให้ฝูงนาค ขึ้นไปเมืองมนุษย์ ไปเที่ยวแผ่พังพานแสดง อิทธิฤทธิ์อำนาจ ตามที่ต่างๆ แต่มิให้ทำอันตรายชาวเมือง ชาวเมืองพากันเกรงกบัวนาคจนไม่เป็นอันทำมาหากิน ในที่สุดพระราชาก็จำพระทัยส่ง นางสมุทรชา ให้ไปเป็นชายา ท้าวธตรฐ นางสมุทรชาไปอยู่เมืองนาคโดยไม่รู้ว่าเป็นเมืองนาค เพราะท้าวธตรฐให้เหล่า บริวารแปลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด นางอยู่นาคพิภพด้วยความสุขสบาย จนมีโอรส 4 องค์ ชื่อว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ และ อริฏฐะ

อยู่มาวันหนึ่ง อริฏฐะได้ฟังนาคเพื่อนเล่นบอกว่า พระมารดาของตนไม่ใช่นาค จึงทดลองดูโดยเนรมิต กายกลับเป็นงู ขณะที่กำลังกินนมแม่อยู่ นางสมุทรชาเห็นลูก กลายเป็นงูก็ตกพระทัย ปัดอริฏฐะตกจากตัก เล็บของนาง ไปข่วนเอานัยน์ตาอรฏฐะบอกไปข้างหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา นางจึงรู้ว่าได้ลงมาอยู่เมืองนาค ครั้นเมื่อพระโอรสทั้ง 4 เติบโตขึ้น ท้าวธตรฐก็ทรงแบ่งสมบัติ ให้ครอบครองคนละเขต

ทัตตะผู้เป็นโอรส องค์ที่สองนั้น มาเฝ้าพระบิดามารดาอยู่เป็นประจำ ทัตตะเป็นผู้มีปัญญา เฉลียวฉลาดได้ช่วยพระบิดาแก้ไข ปัญหาต่างๆอยู่เป็นนิตย์ แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเทวดา ทัตตะก็แก้ไขได้จึงได้รับการยกย่อง สรรเสริญว่า เป็นผู้ปรีชาสามารถ ได้รับขนานนามว่า ภูริทัตต์ คือ ทัตตะผู้เรืองปัญญา ภูริทัตต์ได้เคยไปเห็นเทวโลก ว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์จึงตั้งใจว่า จะรักษาอุโบสถศีลเพื่อจะได้ไปเกิดใน เทวโลก จึงทูล ขออนุญาตพระบิดา ก็ได้รับอนุญาต แต่ท้าวธตรฐสั่งว่า มิให้ออกไปรักษาอุโบสถนอก เขตเมืองนาค เพราะอาจ เป็นอันตราย

ครั้นเมื่อรักษาศีลอยู่ในเมืองนาค ภูริทัตต์ รำคาญว่าพวกฝูงนาคบริวาร ได้ห้อมล้อม ปรนนิบัติเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา ภูริทัตต์ก็ขึ้นไปรักษาอุโบสถศีลอยู่ที่จอมปลวก ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา ภูริทัตต์ตั้งจิต อธิษฐานว่า แม้ผู้ใดจะต้องการหนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้ได้ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ครั้งนั้นมีนายพรานชื่อ เนสาท ออกเที่ยวล่าสัตว์ เผอิญได้ พบภูริทัตต์เข้า สอบถามรู้ว่าเป็นโอรสของ ราชาแห่งนาค

ภูริทัตต์เห็นว่าเนสาทเป็นพรานมีใจบาปหยาบช้า อาจเป็น อันตรายแก่ตน จึงบอกแก่ พรานเนสาทว่า “เราจะพาท่าน กับลูกชาย ไปอยู่เมืองนาคของเรา ท่านทั้งสองจะมีความสุข สบายในเมือง นาคนั้น”

พรานเนสาทลงไปอยู่เมืองนาค ได้ไม่นาน เกิดคิดถึงเมืองมนุษย์จึงปรารภกับภูริทัตต์ว่า “ข้าพเจ้าอยากจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้อง แล้วจะออกบวช รักษาศีลอย่างท่านบ้าง” ภูริทัตต์รู้ด้วยปัญญาว่าพรานจะเป็นอันตรายแก่ตน แต่ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี จึงต้องพาพรานกลับไป เมืองมนุษย์ พรานพ่อลูกก็ออกล่าสัตว์ต่อไปตามเดิม

มีพญาครุฑตนหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ทางมหาสมุทรด้านใต้ วันหนึ่งขณะออกไปจับนาคมากิน นาคเอาหางพันกิ่งไทรที่อยู่ ท้ายศาลาพระฤาษี จนต้นไทรถอนรากติดมาด้วย ครั้นครุฑ ฉีกท้องนาคกินมันเหลว แล้วทิ้งร่างนาคลงไป จึงเห็นว่า มีต้นไทรติดมาด้วย ครุฑรู้สึกว่าได้ทำผิด คือถอนเอา ต้นไทรที่พระฤาษี เคยอาศัยร่มเงา จึงแปลงกายเป็นหนุ่ม น้อยไปถามพระฤาษีว่า เมื่อต้นไทรถูกถอนเช่นนี้ กรรมจะตก อยู่กับใคร

พระฤาษีตอบว่า “ทั้งครุฑและนาคต่างก็ไม่มี เจตนาจะถอนต้นไทรนั้น กรรมจึงไม่มีแก่ผู้ใดทั้งสิ้น” ครุฑดีใจจึงบอกกับพระฤาษีว่าตนคือครุฑ เมื่อพระฤาษี ช่วยแก้ปัญหาให้ตนสบายใจขึ้นก็จะสอนมนต์ชื่อ อาลัมพายน์ อันเป็นมนต์สำหรับครุฑใช้จับนาค ให้แก่พระฤาษี อยู่มาวันหนึ่ง มีพราหมณ์ซึ่งเป็นหนี้ชาวเมืองมากมาย จนคิด ฆ่าตัวตาย จึงเข้าไปในป่า เผอิญได้พบพระฤาษี จึงเปลี่ยนใจ อยู่ปรนนิบัติพระฤาษีจนพระฤาษีพอใจ สอนมนต์อาลัมพายน์ ให้แก่พราหมณ์นั้น พราหมณ์เห็นทางจะเลี้ยงตนได้ จึงลา พระฤาษีไป เดินสาธยายมนต์ไปด้วย นาคที่ขึ้นมาเล่นน้ำ ได้ยินมนต์ก็ตกใจ นึกว่าครุฑมา ก็พากันหนีลงน้ำไปหมด ลืมดวงแก้วสารพักนึกเอาไว้บนฝั่ง พราหมณ์หยิบ ดวงแก้วนั้นไป

ฝ่ายพรานเนสาทก็เที่ยวล่าสัตว์อยู่ เห็นพราหมณ์เดินถือ ดวงแก้วมา จำได้ว่าเหมือนดวงแก้วที่ภูริทัตต์ เคยให้ดู จึงออกปากขอ และบอกแก่พราหมณ์ว่า หากพราหมณ์ ต้องการอะไรก็จะหามาแลกเปลี่ยน พราหมณ์บอกว่าต้องการ รู้ที่อยู่ของนาค เพราะตนมีมนต์จับนาค พรานเนสาทจึงพา ไปบริเวณที่รู้ว่า ภูริทัตต์เคยรักษาศีลอยู่ เพราะความโลภ อยากได้ดวงแก้ว โสมทัตผู้เป็นลูกชาย เกิดความละอายใจที่บิดาไม่ซื่อสัตย์ คิดทำร้ายมิตร คือภูริทัตต์ จึงหลบหนีไป ระหว่างทาง เมื่อไปถึงที่ภูริทัตต์รักษาศีลอยู่ ภูริทัตต์ลืมตาขึ้นดูก็รู้ว่า พราหมณ์คิดทำร้ายตน แต่หากจะตอบโต้ ถ้าพราหมณ์เป็น อันตรายไป ศีลของตนก็จะขาด ภูริทัตต์ปรารถนาจะรักษาศีล ให้บริสุทธิ์จึงหลับตาเสีย ขดกายแน่นิ่งไม่เคลื่อนไหว พราหมณ์ก็ร่ายมนต์อาลัมพายน์ เข้าไปจับภูริทัตต์ไว้กด ศีรษะอ้า ปากออก เขย่าให้สำรอกอาหารออกมา และทำร้าย จนภูริทัตต์เจ็บปวดแทบสิ้นชีวิต แต่ก็มิได้โต้ตอบ

พราหมณ์จับ ภูริทัตต์ใส่ย่ามตาข่าย แล้วนำไปออกแสดงให้ประชาชนดูเพื่อหาเงิน พราหมณ์บังคับให้ภูริทัตต์แสดงฤทธิ์ต่างๆ ให้เนรมิตตัวให้ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ให้ขด ให้คลาย แผ่พังพาน ให้ทำสีกายเป็น สีต่างๆ พ่นไฟ พ่นควัน พ่นน้ำ ภูริทัตต์ก็ยอมทุกอย่าง ชาวบ้าน ที่มาดูเวทนาสงสาร จึงให้ ข้าวของเงินทอง พราหมณ์ก็ยิ่งโลภ พาภูริทัตต์ไปเที่ยวแสดง จนมาถึงเมืองพาราณสี จึงกราบทูล พระ ราชาว่าจะให้นาคแสดงฤทธิ์ถวายให้ทอดพระเนตร ขณะนั้นสมุทรชา ผิดสังเกตที่ภูริทัตต์หายไป ไม่มาเฝ้า จึงถามหา ในที่สุดก็ทราบว่า ภูริทัตต์หายไป พี่น้องของภูริทัตต์ จึงทูลว่าจะออกติดตาม สุทัศนะจะไปโลกมนุษย์ สุโภคะไป ป่าหิมพานต์ อริฏฐะไป เทวโลกส่วนนางอัจจิมุข ผู้เป็นน้องสาว ต่างแม่ของภูริทัตต์ของตามไปกับสุทัศนะพี่ชายใหญ่ด้วย เมื่อติดตามมาถึงเมืองพาราณสี สุทัศนะก็ได้ข่าวว่ามีนาค ถูกจับมาแสดงให้คนดู จึงตามไปจนถึงบริเวณที่แสดง ภูริทัตต์เห็นพี่ชาย จึงเลื้อยไข้าไปหาซบหัวร้องไห้อยู่ที่เท้า ของสุทัศนะแล้วจึงเลื้อยกลับไปเข้าที่ขัง ของตนตามเดิม

พราหมณ์จึงบอกกับสุทัศนะว่า “ท่านไม่ต้องกลัว ถึงนาคจะ กัดท่านไม่ช้าก็จะหาย”

สุทัศนะตอบว่า “เราไม่กลัวดอก นาคนี้ไม่มีพิษ ถึงกัดก็ไม่มีอันตราย”

พราหมณ์หาว่าสุทัศนะ ดูหมิ่นว่าตน เอานาคไม่มีพิษมาแสดง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุทัศนะจึงท้าว่า “เขียดตัวน้อยของเรานั้นยังมีพิษมากกว่า นาคของท่านเสียอีก จะเอามาลองฤทธิ์กันดูก็ได้”

พราหมณ์ กล่าวว่าหากจะให้สู้กัน ก็ต้องมีเดิมพันจึงจะสมควร สุทัศนะจึง ทูลขอพระราชาพาราณสีให้เป็นผู้ประกันให้ตน โดยกล่าวว่า พระราชาจะได้ทอด พระเนตรการต่อสู้ระหว่างนาคกับเขียด เป็นการตอบแทน พระราชาก็ทรงยอมตกลงประกันให้แก่ สุทัศนะ สุทัศนะเรียก นางอัจจิมุข ออกมาจากมวยผมให้คายพิษ ลงบนฝ่ามือ 3 หยด แล้วทูลว่า “พิษของเขียดน้อยนี้แรงนัก เพราะนางเป็นธิดาท้าวธตรฐ ราชาแห่งนาค หากพิษนี้หยดลง บนพื้นดิน พืชพันธุ์ไม้จะตายหมด หากโยนขึ้นไปในอากาศ ฝนจะไม่ตกไป 7 ปี ถ้าหยดลงในน้ำสัตว์น้ำจะตายหมด”

พระราชาไม่ทราบจะทำอย่างไรดี สุทัศนะจึงทูลขอให้ ขุดบ่อ 3 บ่อบ่อแรกใส่ยาพิษ บ่อที่สองใส่โคมัย บ่อที่สามใส่ยาทิพย์ แล้วจึงหยดพิษลงในบ่อแรก ก็เกิดควันลุกจนเป็นเปลวไฟ ลามไปติดบ่อที่สองและสาม จนกระทั่งยาทิพย์ไหม้หมด ไฟจึงดับ พราหมณ์ตัวร้าย ซึ่งยืนอยู่ข้างบ่อ ถูกไอพิษจนผิวหนังลอก กลายเป็นขี้เรื้อน ด่างไปทั้งตัว จึงร้องขึ้นว่า “ข้าพเจ้ากลัวแล้ว ข้าพเจ้าจะ ปล่อยนาคนั้นให้เป็นอิสระ”

ภูริทัตต์ได้ยินดังนั้น ก็เลื้อยออกมาจากที่ขัง เนรมิตกาย เป็นมนุษย์ พระราชาจึงตรัสถามความเป็นมา ภูริทัตต์จึงตอบว่า “ข้าพเจ้าและพี่น้องเป็นโอรสธิดาของท้าวธตรฐราชาแห่งนาคกับ นางสมุทรชา ข้าพเจ้ายอมถูกจับมา ยอมให้พราหมณ์ทำร้ายจน บอบช้ำ เพราะปราถนาจะรักษาศีล บัดนี้ข้าพเจ้าเป็น อิสระแล้ว จึงขอลากลับไปเมืองนาคตามเดิม”

พระราชาทรงดีพระทัยเพราะทราบว่าภูริทัตต์เป็นโอรสของ นางสมุทรชา น้องสาวของพระองค์ที่บิดายกให้แก่ราชานาคไป จึงเล่าให้ภูริทัตต์และพี่น้องทราบว่า เมื่อนางสมุทรชาไปสู่ เมืองนาคแล้ว พระบิดาก็เสียพระทัย จึงสละราชสมบัติ ออกบวช พระองค์จึงได้ครองเมืองพาราณสีต่อมา พระราชาประสงค์จะให้ นางสมุทรชาและบรรดาโอรสได้ไป เฝ้าพระบิดา จะได้ทรงดีพระทัย สุทัศนะทูลพระราชาว่า “ข้าพเจ้าจะ กลับไปทูลให้พระมารดาทราบ ขอให้พระองค์ ไปรออยู่ที่อาศรมของพระอัยกาเถิด ข้าพเจ้าจะพา พระมารดาและพี่น้องตามไปภายหลัง”

ทางฝ่ายพรานเนสาท ผู้ทำร้ายภูริทัตต์เพราะหวังดวงแก้ว สารพัดนึก เมื่อตอนที่พราหมณ์โยนดวงแก้วให้ นั้น รับไม่ทัน ดวงแก้วจึงตกลงบนพื้นและแทรกธรณีกลับไปสู่เมืองนาค พรานเนสาทจึงสูญเสียดวงแก้ว สูญเสียลูกชาย และเสียไมตรี กับภูริทัตต์ เที่ยวซัดเซพเนจรไป ครั้นได้ข่าวว่าพราหมณ์ผู้จับ นาคกลายเป็น โรคเรื้อนเพราะพิษนาค ก็ตกใจกลัว ปราถนา จะล้างบาป จึงไปยังริมน้ำยมุนา ประกาศว่า “ข้าพเจ้าได้ ทำร้ายมิตร คือ ภูริทัตต์ ข้าพเจ้าปราถนาจะล้างบาป” พรานกล่าวประกาศอยู่ หลายครั้ง เผอิญขณะนั้น สุโภคะกำลังเที่ยวตามหาภูริทัตต์อยู่ ได้ยินเข้าจึงโกรธแค้น เอาหางพันขาพราน ลากลงน้ำให้จมแล้ว ลากขึ้นมาบนดินไม่ให้ถึงตาย ทำอยู่เช่นนั้นหลายครั้งพราน จึงร้องถามว่า “นี่ตัวอะไรกัน ทำไมมาทำร้าย เราอยู่เช่นนี้ ทรมาณเราเล่นทำไม”

สุโภคะตอบว่าตนเป็นลูกราชานาค พรานจึงรู้ว่าเป็นน้องภูริทัตต์ ก็อ้อนวอนขอให้ปล่อยและกล่าว แก่สุโภคะว่า “ท่านรู้หรือไม่ เราเป็นพราหมณ์ ท่านไม่ควร ฆ่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์เป็นผู้บูชาไฟ เป็นผู้ทรงเวทย์ และเลี้ยงชีพด้วยการขอ ท่านไม่ควรทำร้ายเรา”

สุโภคะไม่ทราบจะตัดสินใจอย่างไร จึงพาพรานเนสาทลงไป เมืองนาค คิดจะไปขอถามความเห็นจากพี่น้อง เมื่อไปถึงประตู เมืองนาค ก็พบอริฏฐะนั่งรออยู่ อริฏฐะนั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ ครั้นรู้ว่าพี่ชายจับพราหมณ์มา จึงกล่าวสรรเสริญคุณของพราหมณ์ สรรเสริญความยิ่งใหญ่แห่งพรหม และกล่าวว่าพราหมณ์เป็นบุคคล ที่ไม่สมควรจะถูกฆ่า ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ การฆ่าพราหมณ์ซึ่ง เป็นผู้บูชาไฟนั้นจะทำ ให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง สุโภคะกำลังลังเลใจ ไม่ทราบจะทำอย่างไร พอดีภูริทัตต์กลับมาถึง ได้ยินคำของอริฏฐะจึงคิดว่า อริฏฐะ นั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ และการบูชายัญของพราหมณ์ จำเป็นที่จะต้องกล่าววาจาหักล้าง มิให้ผู้ใด คล้อยตามในทางที่ผิด

ภูริทัตต์จึงกล่าวชี้แจงแสดง ความเป็นจริง และในที่สุดได้กล่าวว่า “การบูชาไฟนั้น หาได้เป็น การบูชาสูงสุดไม่ หากเป็นเช่นนั้น คนเผาถ่าน คนเผาศพ ก็สมควรจะได้รับยกย่องว่าเป็นผู้บูชา ไฟยิ่งกว่าพราหมณ์ หากการบูชาไฟเป็นสูงสุด การเผาบ้านเมืองก็คงได้บุญสูงสุด แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ หากการบูชายัญจะเป็นบุญสูงสุดจริง พราหมณ์ก็น่าจะเผาตนเองถวายเป็นเครื่องบูชา แต่พราหมณ์กลับ บูชาด้วยชีวิตของผู้อื่น เหตุใดจึงไม่เผาตนเองเล่า”

อริฏฐะกล่าวว่า “พรหมเป็นผู้ทรงคุณยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลก”

ภูริทัตต์ตอบว่า “หากพรหมสร้างโลกจริง ไฉนจึงสร้างให้โลก มีความทุกข์ ทำไมไม่สร้างให้โลกมีแต่ความสุข ทำไมพรหม ไม่สร้างให้ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน เหตุใดจึงแบ่งคนเป็น ชั้นวรรณะ คนที่อยู่ในวรรณะต่ำ เช่น ศูทร จะไม่มีโอกาสมี ความสุข เท่าเทียมผู้อื่นได้เลย พราหมณ์ต่างหากที่พยายาม ยกย่องวรรณะของตนขึ้นสูง และเหยียดหยามผู้อื่นให้ต่ำกว่า โดยอ้างว่าพราหมณ์เป็นผู้รับใช้พรหม เช่นนี้จะถือว่าพราหมณ์ ทรงคุณยิ่งใหญ่ได้อย่างไร”

ภูริทัตต์กล่าววาจาหักล้างอริฏฐะด้วยความเป็นจริง ซิ่งอริฏฐะ ไม่อาจโต้เถียงได้ ในที่สุดภูริทัตต์จึงสั่งให้ นำพรานเนสาทไปเสีย จากเมืองนาค แต่ไม่ให้ทำอันตรายอย่างใด จากนั้นภูริทัตต์ก็พา พี่น้องและนางสมุทรชาผู้เป็นมารดา กลับไปเมืองมนุษย์ เพื่อไป เฝ้าพระบิดา พระเชษฐาของนางที่รอคอยอยู่แล้ว เมื่อญาติพี่น้องทั้งหลายพากันแยกย้ายกลับบ้านเมือง ภูริทัตต์ขออยู่ที่ศาลากับพระอัยกา บำเพ็ญเพียร รักษาอุโบสถศีล ด้วยความสงบ ดังที่ได้เคยตั้งปณิธานไว้ว่า “ข้าพเจ้าจะมั่นคงในการ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ จะไม่ให้ศีลต้องมัวหมอง ไม่ว่าจะต้องเผชิญความ ทุกข์ยากอย่างไร ข้าพเจ้าจะอดทน อดกลั้น ตั้งมั่นอยู่ ในศีลตลอดไป”

คติธรรม : บำเพ็ญศีลบารมี
ความโลภนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเช่นเดียวกับการเนรคุณ แต่ความอดทนย่อมประเสริฐยิ่งนักแล้ว

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

mp3 (for download): ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

หลวงพ่อปราโมทย์: คือ ตรงที่เราเห็นโทสะเนี่ย ดีแล้วนะ ตรงที่ข่มไว้เนี่ย เป็นส่วนเกิน แต่ว่าโดยที่เรายังไม่ชำนิชำนาญการปฏิบัติ ข่มไว้ก่อนก็ดี จะได้ไม่ทำอะไรผิดทางกายทางวาจา แต่ถ้าเราเจริญสติชำนิชำนาญขึ้น พอจิตมีโทสะ เรารู้ว่ามีโทสะ เราจะเห็นเลย จิตที่มีโทสะมันไม่ใช่ตัวเรา มันมีของมันเอง ใจของเราเป็นแค่คนดู เป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เห็นจิตมีโทสะเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ ก็ดับไป

ต่อไปสภาวะอย่างอื่น นอกเหนือจากโทสะ เช่น ราคะ โมหะ อะไรต่ออะไรนะ อิจฉา กังวล อะไรเกิดขึ้นมา เราก็ดูแบบเดียวกัน คือเห็นว่า มันเกิดขึ้นมาแล้วมันก็ดับไป เราไม่ได้ไปแก้ไขมัน ทีนี้การปฏิบัติเนี่ย มันมี ส่วนมากพวกเราชอบเก็บกด เราไปกดมัน พอสภาวธรรม ยกตัวอย่างกิเลสอะไรเกิดขึ้นมา เราไปพยายามเพ่ง ไปกดๆมัน มันจะไปซ่อนตัวไว้ อย่างนี้ไม่ดี

ถ้าเราเห็นกิเลสโผล่ขึ้น เราสักว่ารู้ สักว่าเห็นนะ จะเห็นมันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จะไม่ไปกดมันไว้ ต่อไปใจเราจะนิ่ง เบา สบาย ยิ่งภาวนาดี จะยิ่งสบาย แต่ถ้าเราฝืน เราต่อต้านกิเลสนะ เราจะเหนื่อย

เราจะทำกับจิตใจเรา ให้คล้ายเรือลำใหญ่ๆ จอดอยู่ในแม่น้ำ ในทะเล จอดทอดสมออยู่ น้ำไหลมา เรือนี้ไม่ไหลตามน้ำ คือใจเราไม่ไหลไปตามกิเลส ในขณะเดียวกัน เรือไม่เคยต้านน้ำ เรือก็จะปล่อยให้น้ำไหลผ่านไป ใจเราจะสักว่ารู้สักว่าเห็น ไม่ต้าน ถ้าเราไปพยายามแก้ พยายามเก็บกด พยายามอะไรอย่างนี้ เราไปต้านมัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๒
File: 491222
ระหว่างนาทีที่  ๐๓ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๐๕ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปัญญา มี ๓ ระดับ

mp 3 (for download) : ปัญญา มี ๓ ระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ปัญญา มี ๓ ระดับ

ปัญญา มี ๓ ระดับ

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเราหัดภาวนานะ ต่อไป ทีแรกเราก็คอยรู้สึกกายรู้สึกใจไปเรื่อย เห็นเลย กายมันทำงาน กายมันยืน กายมันเดิน กายมันนั่ง กายมันนอน มิใช่เรา ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นร่างกายมันไม่ใช่ตัวเรา เห็นจิตมันทำงานไปนะ จิตมันสุข จิตมันทุกข์ จิตมันดี จิตมันร้าย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เราโกรธนะ จิตมันโกรธ ไม่ใช่เราโกรธ มันจะรู้สึกอย่างนี้เลย ฝึกไปๆจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวเราในกายในใจนี้ ไม่มีตัวเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ ได้พระโสดาบัน นี่มีปัญญาขั้นต้น

ถัดจากนั้น รู้กายรู้ใจ มีสติรู้กายรู้ใจต่อไปอีกนะ ฝึกไปเรื่อย วันหนึ่งปัญญามันแจ้งขึ้นมา เห็นเลยกายนี้ทุกข์ล้วนๆนะ หมดความยึดถือในกาย ก็หมดความยึดถือใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย หมดความยึดถือใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ไปด้วย ความยินดียินร้ายในกายก็จะไม่มี กามและปฏิฆะก็ขาดไป นี้เป็นปัญญาขั้นกลาง

ต่อไปการปฏิบัติจะบีบวงเข้ามาที่จิต เราจะเห็นว่าจิตนี้เป็นตัวที่มีความสุขมากเลย จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีความสุขมาก จิตที่เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง มีความทุกข์มาก จะเห็นจิตเป็นสองส่วนอยู่ เพราะฉะนั้นงานยังไม่เสร็จ ต้องภาวนาต่อไปอีกนะ วันหนึ่งเห็นแจ้งเลย จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย จิตมันจะสลัดคืนจิตให้โลกไป เป็นเรื่องอัศจรรย์นะ จิตสลัดคืนจิตให้โลก ฟังไปก่อนนะ ภาวนาไปเดี๋ยววันหนึ่งเห็นเองแหละ จิตมันสลัดคืนจิตให้โลกได้ เมื่อมันคืนจิตให้โลกไปแล้วมันจะไม่ยึดถืออะไรขึ้นมาอีกแล้ว สิ่งที่มันยึดถือเหนียวแน่นที่สุด ว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นของเรา ก็คือจิตนี้เอง ค่อยๆฝึกเป็นลำดับๆไปนะ การที่เห็นว่าจิตเป็นทุกข์ล้วนๆนะ เป็นปัญญาขั้นสูง

เพราะฉะนั้นเบื้องต้น ฝึกไปเพื่อให้เห็นว่า “ตัวเราไม่มี” เบื้องกลาง ฝึกไปให้เห็นว่า “กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ” เบื้องปลายเราจะฝึกไปจนเห็นว่า “จิตเป็นทุกข์ล้วนๆ” ค่อยๆฝึก ไม่ยากเท่าที่คิดหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ดูกาย, เพ่งกาย และวิปัสสนา

ดูกาย, เพ่งกาย และวิปัสสนา

ถาม : เรียนถามครับ ผมเคยฟังเอ็มพีสามของหลวงพ่อปราโมทย์ครั้งหนึ่ง ไม่ทราบว่าจับประเด็นถูกหรือเปล่า แต่จำได้ว่าท่านสอนว่าการเพ่งกายแบบดูเป็นส่วนๆ ไปนั้นไม่ถูกต้อง (เช่น เวลามือขยับ ก็จับจ่อกับมือที่ขยับ) แต่ต้องรู้สึกทั้งกายไปในเวลาเดียวกัน (เช่น เวลามือขยับ ก็รู้สึกทั้งกายและรู้สึกว่ามือขยับ) แบบนี้เข้าใจถูกไหมครับ?

ตอบ : การดูกายเคลื่อนไหวในการเจริญสติหรือวิปัสสนานั้น
มีหลักว่า ให้ดูโดยไม่เพ่งจ้อง โดยที่จิตไม่ไหลไปแช่อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง
ถ้าจิตเพ่งจ้องหรือไหลไปแช่ที่จุดใดจุดหนึ่ง เช่นเพ่งหรือไหลไปแช่ที่มือ
จะรู้สึกเหมือนร่างกายมีเฉพาะมือ ไม่รู้สึกมีกายโดยรวมอยู่
การเพ่งดูแบบนี้ สามารถใช้ทำความสงบได้ แต่ยังไม่ใช่การทำวิปัสสนาครับ
ถ้าจะทำวิปัสสนา หากจิตเพ่งหรือไหลไปแช่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ก็ให้รู้ว่าเพ่งรู้ว่าจิตไหลไป
แล้วหัดดูไปแบบรู้สึกกายโดยรวมที่มีมือกำลังเคลื่อนไหวอยู่ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุน การสร้าง พระธาตุเจดีย์ ฐานสโม

>>>>> Download โบรชัวร์ <<<<<

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

mp 3 (for download) : วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเรารู้สึกมั้ย จิตของพวกเราส่ายตลอดเวลา ดูออกมั้ย ยกตัวอย่างมานั่งฟังหลวงพ่อเนี่ย บางทีจิตก็วิ่งมาที่หลวงพ่อ บางทีจิตก็วิ่งมาตั้งใจฟ้ง ไม่ได้ดูหน้าหลวงพ่อแล้ว แต่มาตั้งใจฟัง ฟังอยู่ ๒ – ๓ คำ นะ จิตก็จะสวิตช์ตัวเองไป ไปคิด ฟังไปคิดไป เห็นมั้ยว่าจิตมันส่ายตลอดเวลา จิตมันเปลี่ยนตลอดเวลา ถ้าเรารู้ทันนะ เราจะเห็นเลยจิตเกิดดับ เดี๋ยวจิตเกิดที่ตา เดี๋ยวจิตเกิดที่หู เดี๋ยวจิตเกิดที่ใจ จิตไปคิด เปลี่ยนๆ ปั๊บๆ ปั๊บๆ ไป คอยรู้สึกนะ คอยรู้สึกอยู่ที่กาย คอยรู้สึกอยู่ที่ใจนะ ค่อยๆฝึก ไม่ยากๆ มันง่าย ง่ายกว่าที่คิดไว้เยอะเลย

ขั้นแรกนะ อยากจะให้เกิดสติที่แท้จริงเนี่ย ทำกรรมฐานอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่งก่อน เราจะมาฝึกรู้สึกตัวก่อน ก่อนที่เราจะเห็นความเป็นจริงของกายของใจได้ อันแรกเลย เราต้องเห็นกายเห็นใจเสียก่อน ถ้าเราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเห็นความเป็นจริงของกายของใจได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้สึกกายรู้สึกใจให้ได้เสียก่อน การรู้สึกตัว คือการรู้สึกกายรู้ใจนี้ จึงเป็นจุดตั้งต้นของการปฏิบัติ การเจริญวิปัสสนา เป็นจุดตั้งต้นเลย

จิตของเราจะหลงตลอดเวลา เดี๋ยวหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกาย เช่นนั่งๆอยู่แล้วคัน เราก็เกาใช่มั้ย ขณะที่เราเกานะ เราสบายใจละ เราไม่รู้เลยว่าร่างกายกำลังเกาอยู่ ใจกำลังสบาย เราเกาอัตโนมัติ ในขณะนั้นลืมกายลืมใจ ทำอะไรเราก็ลืมกายลืมใจตลอดเวลา เรียกว่าขาดสติ สติที่หลวงพ่อพูด หมายถึง สติปัฏฐาน เป็นสติที่รู้กายรู้ใจ ถ้าเมื่อไหร่ลืมกายลืมใจ เมื่อนั้นเรียกว่าขาดสติ เราลองมาวัดใจของตัวเองดู ว่าเราลืมกายลืมใจบ่อยแค่ไหน สังเกตมั้ย เวลาที่เราไปคิด รู้สึกมั้ย ใจจะเหมือนไหลไปนะ ความรู้สึกอยู่ที่กายที่ใจนี้จะหายไป มีร่างกาย ร่างกายก็หายไป มีจิตใจ จิตใจก็หายไป ไม่รู้ รู้แต่เรื่องที่คิด

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ วิธีง่ายๆ พวกเราหาอารมณ์กรรมฐานมาสักอย่างหนึ่ง มาเป็นเครื่องสังเกตจิตใจ เช่น คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ ก็ไปนั่งรู้ลมหายใจ รู้เล่นๆ ไม่ใช่รู้เพื่อให้สงบ คนไหนชอบไหว้พระสวดมนต์ ก็ไปไหว้พระสวดมนต์ สวดเล่นๆนะ ไม่ใช่สวดให้สงบ คนไหนชอบดูท้องพองยุบก็ดูไป คนไหนชอบเดินจงกรมก็เดินไป คนไหนชอบอิริยาบถ ๔ ก็ดูยืนเดินนั่งนอน คนไหนชอบขยับมือทำจังหวะ ก็ทำไป แต่ทำไปเพื่อจะรู้ทันใจตนเอง

ยกตัวอย่างเช่น เราหายใจ หายใจไป หายใจเล่นๆ จิตเราวิ่งไปอยู่ที่ลมหายใจนะ เราก็รู้ทัน จิตเราวิ่งไปคิด เราก็รู้ทัน จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตดีจิตร้ายอะไรขึ้นมา คอยรู้ไปเรื่อยๆ หายใจไปแล้วคอยรู้ทันจิตใจไป

หรือสวดมนต์ก็ได้นะ อรหังสัมมา.. อะไรอย่างนี้ พอสวดมนต์ไป พอใจไหลไปคิดแว้บ หนีไปคิดเรื่องอื่นแล้ว รู้ทันว่าจิตไหลไปแล้ว สวดมนต์ไปแล้วจิตสงบ รู้ว่าสงบ สวดไปแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน สวดมนต์ไปแล้วก็คอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ นี่เป็นการฝึกให้มีสติ

ดูท้องพองยุบก็ได้นะ ดูท้องพองยุบไปแล้วจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ก็รู้ทัน จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไปทำอะไรก็รู้ทัน

นี่เราเข้ามาถึงการฝึกหัดแล้วนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้น ทุกคนหาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งก่อน อารมณ์อะไรก็ได้ที่เราถนัด ที่ทำแล้วสบายใจ รู้อารมณ์อันนั้นไป เช่นรู้พุทโธก็ได้นะ สัมมาอรหังก็ได้ หายใจก็ได้ รู้ท้องพองยุบก็ได้ เดินจงกรมก็ได้ ขยับมือทำจังหวะก็ได้ อะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตนิ่ง เราทำกรรมฐานไปแล้วเราคอยเห็นความเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวของจิตไปเรื่อยๆ เช่น เรา พุทโธๆ แล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าจิตนี้ไปคิดแล้ว พุทโธๆแล้วจิตสงบ รู้ว่าสงบ พุทโธๆแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจไป หายใจเข้าหายใจออกไป จิตวิ่งไปอยู่ที่ลมหายใจ เรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเรื่องอื่นเรารู้ทัน จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตมีปีติจิตมีความสุขอะไรขึ้นมา เราคอยรู้ทัน

ทำอะไรก็ได้นะ เบื้องต้น ทำกรรมฐานมาสักอันหนึ่งก่อน เป็นเครื่องสังเกต ปกติจิตเราจะร่อนเร่ตลอดเวลา วิ่งตลอด ดูยาก เราก็ทำกรรมฐานขึ้นมาเป็นตัวสังเกต สมมุติว่านี่เป็นพุทโธ นี่เป็นลมหายใจ เราพุทโธหรือหายใจอยู่ แล้วจิตเราวิ่งมาที่นี่ วิ่งมาที่พุทโธ วิ่งมาที่ลมหายใจ วิ่งมาที่ท้อง รู้ทันว่าจิตวิ่งมา จิตวิ่งไปที่อื่น รู้ทัน เนี่ยเราจะเห็นได้ชัด ถ้าเราไม่มีเครื่องสังเกตเลย จิตมันส่ายไปตลอด ดูยาก เพราะฉะนั้น เบื้องต้น หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งนะ อะไรก็ได้ ทำอะไรไม่เป็นเลย สวดมนต์ไปเรื่อยๆก็ได้ หรือฟังซีดีหลวงพ่อก็ได้ ฟังไปแล้วใจลอยไป รู้ ฟังไปแล้วขำขึ้นมา รู้ ฟังแล้วงงขึ้นมา รู้ หัดรู้ทันใจตัวเองบ่อยๆ

การที่เราหัดรู้สภาวะบ่อยๆนี้แหละจะทำให้เกิดสติ เพราะสติไม่ได้เกิดจากการบังคับ สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด เหตุของสติคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นเพราะจิตเห็นสภาวะบ่อยๆ เราหัดดูสภาวะไปนะ ทำกรรมฐานมาอันหนึ่ง แล้วคอยสังเกตความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตใจเราไปเรื่อย..

เช่นพุทโธๆ จิตไหลไปคิดก็รู้ หรือสวดมนต์ อรหังสัมมา.. จิตไหลไปคิดแล้ว ก็รู้ สัมพุทโธ ภควา.. อ้าวหนีไปอีกแล้ว เราก็คอยรู้ ฝึกแบบนี้บ่อยๆ ต่อไปพอจิตเคลื่อนตัวไปนะ จิตหลงไปคิดแว้บ..เดียว สติจะเกิดเองเลย สติไม่ได้เกิดจากการสั่งให้เกิด สติเกิดขึ้นเพราะว่าจิตจำสภาวะได้แม่น ในพระอภิธรรมถึงบอกว่า ถิรสัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ เพราะฉะนั้นเราหัดดูสภาวะไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งสติเกิด

พอสติที่แท้จริงเกิดนะ คอยสังเกตไป พอมันจะรู้สึกตัวขึ้นมา พอรู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว คราวนี้ไม่มีแล้วว่ากรรมฐานของเราจะทำสายไหน สายกายสายจิตอะไรอย่างนี้ไม่มีอีกต่อไปแล้ว เบื้องต้นอาจจะดูมาจากกาย บางคนดูจากเวทนา บางคนดูจากจิต อันนั้นแค่จุดตั้งต้นเท่านั้นเอง คือทำกรรมฐานมาอันหนึ่งเป็นเครื่องสังเกต พอรู้ทันจิตมามากๆเข้า สติเกิดเองแล้วเนี่ย ถัดจากนั้นไม่มีสายไหนๆแล้ว มีแต่ว่าขณะนี้มีสติ หรือว่าขณะนี้ขาดสติ ขณะนี้มีสติ บางทีสติระลึกรู้กาย บางทีสติระลึกรู้เวทนา บางทีสติระลึกรู้จิต เลือกไม่ได้หรอกว่าจะรู้กายหรือรู้จิต ถ้าใครยังเลือกว่าจะรู้กายอันเดียว หรือจะรู้จิตอันเดียว จะตกไปสู่สมถกรรมฐาน เพราะฉะนั้นสติที่แท้จริงเกิดเมื่อไหร่นะ เลือกไม่ได้หรอก บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้เวทนา บางทีก็รู้จิต

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

>> วันเพ็ญเดือนวิสาขะ มหัศจรรย์เหนือโลกธาตุ <<

ความหมาย คำว่า “วิสาขบูชา” หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก ” วิสา – ขบุรณมีบูชา ” แปลว่า ” การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ” ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค

กิจในอริยสัจ 4

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ – สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา – มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
วะยะธัมมา สังขารา สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมาวาจา นี่เป็นพระวาจาครั้งสุดท้ายของเราตถาคต

ธรรมะเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ที่ขอแนะนำสำหรับ วันวิสาขะบูชา

>> อริยสัจจ์ ๔ ความจริงของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เริ่มด้วยการรู้ทุกข์ <<

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักของการปฎิบัติ อันแรกสุดเลย ท่านบอกให้รู้ทุกขฺ์ หลักของอริยสัจจ์ ความจริงของพระอริยะทั้งหลาย ความจริงข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ให้รู้ อะไรคือทุกข์ ขันธ์ ๕ คือ ทุกข์ คือ กายกับใจเราเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นรู้ลงที่กายที่ใจนี้

รู้ไปเพื่ออะไร เพื่อวันหนึ่งเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ เรารู้เลยกายกับใจนี้จริงๆ เป็นของโลกนะ เป็นสมบัติของโลก ยกตัวอย่างร่างกายของเรานี้เป็นแค่วัตถุธาตุเท่านั้นเอง อาศัยธาตุของพ่อแม่เป็นจุดเริ่มต้น อาศัยอาหาร อาศัยน้ำ อาศัยอากาศ อะไรอย่างนี้ หล่อเลี้ยง ตัวโตขึ้นมา แต่ละวันก็มีธาตุไหลเข้าไหลออก กินอาหารแล้วขับถ่าย หายใจเข้าแล้วหายใจออก อะไรอย่างนี้ เฝ้ารู้เฝ้าดู

วันหนึ่งแจ่มแจ้ง ร่างกายของเรานี่กับวัตถุทั้งหลายนี่ อันเดียวกันนั่นแหละ ความไม่รู้มันทำให้เราแบ่งแยกเอา มาเป็นกายของเรา นี่เป็นใจของเรา มันมีตัวเราขึ้นมา มันก็อยากหาความสุขให้ตัวเรา อยากจะสุขถาวร อยากจะอย่างโน้น อยากอย่างนี้ เกิดการดิ้นรน เกิดการปรุงแต่งตั้งมากมาย เพื่อที่จะหาความสุขมาให้ต้วเรา

ถ้าเฝ้ารู้ ลงไปที่กาย เฝ้ารู้ลงไปที่ใจ วันหนึ่งเห็น ตัวเราไม่มี ตัวเราไม่มี การที่ ถ้ามันมีตัวเรานี่คือ ‘อวิชชา’ นั่นเอง ความไม่รู้ทุกข์ อวิชชาข้อที่ ๑ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวเราจริงๆเป็นแค่ รูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ หรือเป็นวิญญาณธาตุ เป็นธาตุรู้ เป็นของโลก ไม่ใช่ของเรา

เนี่ย เฝ้ารู้กาย เฝ้ารู้ใจ มันจะเห็นความจริงนะ มันจะสลัดคืนความยึดถือกาย ยึดถือใจ มันหวง มันรัก มันอยากให้ดี อยากให้สุขถาวร เฝ้ารู้ พอไม่ใช่ของเรา เห็น เบื้องต้นเห็นไม่ใช่ของเราก่อน ไม่ใช่ของเรานี้เรียกว่าพระโสดาบัน พระโสดาบันเห็น กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เป็นของโลก แต่ว่า คล้ายๆเป็นสมบัติคนอื่นนะ แต่งกนะ ไม่คืนหรอก

มาเฝ้ารู้เฝ้าดู เราคิดว่าเป็นของดีของวิเศษ กายนี้ ใจนี้ เป็นของดีของวิเศษ เฝ้ารู้เฝ้าดู นานไป นานไป ปัญญาแจ้งนะ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษ มันเป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย กายนี้หาความสุขตรงไหนก็ไม่เจอ จิตนี้หาความเที่ยง หาการบังคับได้สักนิดหนึ่งก็ไม่มี มีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย พอเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆเนี่ย เห็นตรงที่พระพุทธเจ้าบอกล่ะ เห็นทุกข์ละ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

พวกเราไม่มีทางเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เลย เราเห็นว่ามันทุกข์บ้าง สุขบ้าง กายนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง จิตนี้ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ถ้าเจริญสติเข้มข้นขึ้นจริงๆ เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆ แล้วมันจะสลัดคืน มันจะเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันคล้ายๆเรา หยิบของมาอันหนึ่ง เรานึกว่านี่ของวิเศษเลย วันหนึ่งมาหัดสังเกตมัน อ้าว.. มันไม่ใช่ของดีหรอกนี่ นะ อาจจะเป็นจิ้งจก ตุ๊กแก อะไรนี่ มันเห็นว่าไม่ใช่ของดี มันจะสลัดทิ้ง

คำว่า ‘สลัดทิ้ง’ ภาษาบาลีเรียกว่า ‘ปฏินิสสัคคะ’ การสลัดคืน จะสลัด ใจเราจะหมดภาระทางใจนะ มันจะโล่งไปหมดเลย ความทุกข์มันจะเข้ามาไม่ถึงใจอีกแล้ว คือความอยาก การดิ้นรนทางใจทั้งหลายไปหมดเลย เป็นเพราะรู้ความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราจริงๆนะ แบกเอาไว้ก็เป็นทุกข์ล้วนๆ

ท่านจึงสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คนทั้งหลายนี้แบกภาระ แบกทุกข์นี้ไปเรื่อยๆ คนยังต้องแบกของหนัก ไม่พ้นจากความทุกข์ แต่พระอริยะเจ้าทั้งหลายเนี่ย วางภาระ วางของหนักลงแล้ว คือวางความยึดถือกายยึดถือใจลงแล้ว แล้วไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงอยู่ที่ตรงนี้

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งนะ ก็จะละสมุทัยไปโดยอัตโนมัติ ที่ท่านสอนอริยสัจจ์ บอกว่า ให้รู้ทุกข์ ให้ละสมุทัย ถ้าเรารู้ทุกขฺ์แจ่มแจ้งเลย เห็นกายเห็นใจนี้ เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ นะ มันปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความดิ้นรน ความทะยานอยากของใจ ที่จะอยากให้จิตใจเรามีความสุข จิตใจเราดี อย่างโน้นอย่างนี้นะ ความดิ้นรน ความทะยานอยาก พวกนี้ถูกทำลายไปหมด จิตใจมันจะมีอิสรภาพ ทุกวันนี้เราตกเป็นทาสของความอยาก ความอยากเป็นเจ้านายตัวจริง สั่งให้เราทำอะไรต่ออะไรทั้งวันเลย เพื่อจะให้มันมีความสุข เพื่อจะหาความสุข

เฝ้ารู้ลงมาเห็นจริง จิตใจนี้ทุกข์ ไม่ใช่ตัวดี ปล่อยวางได้ ความอยากที่จะให้จิตใจนี้ดี อยากให้จิตใจนี้สุข ก็หมดไป สมุทัยเป็นอันถูกละไป การดิ้นรนต่างๆก็หมดไป ภาระทางใจ การงานทางใจ ก็หมดไปเลย จิตใจเข้าถึงภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง พ้นจากภาระ ภาวะแห่งความพ้นความปรุงแต่งนั้นแหละเรียกว่านิโรธ นิโรธ หรือ นิพพาน

เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยก็เป็นอันถูกละไป นิโรธก็แจ้งขึ้นตรงนั้นเลย เพราะฉะนั้นการรู้ทุกข์นี้แหละ คือการเจริญอริยมรรค นี่คืออริยสัจจ์ ๔ นะ อริยสัจจ์ ๔

รู้ทุกข์ รู้กาย รู้ใจ รู้จนเห็นความจริง กายนี้ ใจนี้ ไม่ใช่ตัวดี เป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยวาง พอปล่อยวาง ความอยากจะให้กายนี้ ใจนี้ มีความสุขถาวร ก็หมดไป หมดการดิ้นรน หมดความอยาก สมุทัยถูกละ จิตใจเข้าถึงความสงบสุข พ้นจากการดิ้นรน แผดเผา ของความอยาก พ้นจากการยึดถือทุกข์ เรียกว่า ‘นิโรธ’ หรือ ‘นิพพาน’

นิพพานมีหลายนัยยะ อันหนึ่งก็คือ ‘วิสังขาร’ พ้นการปรุงแต่ง พ้นจากรูปนาม พ้นจากตัวทุกข์ อีกอันหนึ่งคือ ‘วิราคะ’ พ้นจากความอยาก ก็คือ พ้นจากตัณหา พ้นจากตัวสมุทัย

เพราะฉะนั้น การรู้ทุกข์ สำคัญที่สุด ถ้าพวกเราละเลย เราไม่เรียน เรื่องการรู้ทุกข์ หรือ การรู้กาย รู้ใจ จะห่างไกลจากศาสนาพุทธมากเลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สวนโพธิญาณ
หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๑๕
File: 480821A
นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๑

อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/อริยสัจ_4

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/budda/theme_2.html

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ถามตอบเรื่องจิตถึงฐาน

ถามตอบเรื่องจิตถึงฐาน

ถาม 1.จิตถึงฐานเหมือนจิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูมั๊ยคะ?

ตอบ : เหมือนกันครับ  ส่วนจิตที่ไม่ถึงฐานจะหมายถึงจิตที่ส่งออกไปรู้อยู่ที่ความนิ่งๆ ว่างๆ ไม่ได้ตั้งมั่นอยู่

ถาม : 2.เวลาที่จิตตั้งมั่นจะรู้สึกเบาสบายมีความสุข รู้สภาวะได้ขาดเหมือนรู้แล้วตัดง่ายๆ เป็นกลางกับสภาวะ อย่างนี้เรียกถึงฐานรึปล่าวคะ?

ตอบ : ถ้าจิตรู้สึกตัวเห็นความสุขสบายถูกรู้อยู่ห่างๆ ก็ถึงฐานครับ

ถาม : 3.มีบางช่วงก็รู้สึกจิตตั้งมั่นนะคะ เห็นสภาวะเยอะถี่เหมือนกัน แต่ก็เป๊นกลางบ้างไม่เป็นบ้าง ตัวจิตเองรู้สึกว่ามันมีอกุศลเคลือบเคลือบยืนพื้นอยู่ บางที่ก็โมหะบางที่ก็โทสะ อย่างนี้คือไม่ถึงฐานใช่มั๊ยคะ?

ตอบ : ที่เห็นอกุศลอยู่ถ้าเห็นโดยไม่ส่งออกไป ไม่แทรกแซง ก็เป็นการหัดรู้สภาวะที่ถูก ไม่ต้องไปกังวลเรื่องถึงฐานไม่ถึงฐานนะครับ
เรื่องถึงฐานไม่ถึงฐาน จะเป็นการพูดถึงตอนที่จิตว่างๆ สบายๆ ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีที่ใดจะรักษาศาสนาได้ดีเท่าที่ใจของเรา

mp 3 (for download) : ไม่มีที่ใดจะรักษาศาสนาได้ดีเท่าที่ใจของเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หอพระไตรปิฎก

หอพระไตรปิฎก

หลวงพ่อปราโมทย์ : สามเดือนก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ไม่ได้เทศน์เรื่องอื่นเท่าไรหรอกนะ ในพระไตรปิฏกบอกสามเดือนก่อนปรินิพพานเนี่ย เทศน์อริยสัจจ์เป็นส่วนมาก เทศน์แต่อริยสัจจ์ เพราะฉะนั้นอริยสัจจ์ เนี่ยสำคัญ ตราบใดที่อริยสัจจ์ยังอยู่ ศาสนาพุทธก็ยังอยู่ ถ้าอริยสัจจ์หายไปก็คือศาสนาพุทธหายไปแล้ว

งั้นพวกเรามีหน้าที่เรียนอริยสัจจ์นะ เรียนเพื่อความพ้นทุกข์ของตนเองด้วย เรียนเพื่อจะสืบทอดศาสนาไว้ด้วย ไม่มีที่ใดจะรักษาศาสนาได้ดีเท่าที่ใจของเรานะ ถ้าธรรมะเข้ามาสู่ใจของเราแล้วเนี่ย ใจของเรานี่แหละเป็นที่รักษาธรรมะเอาไว้ ทรงธรรมเอาไว้ จิตเนี่ยแหละที่ทรงธรรมเอาไว้ ธรรมะไปใส่ตู้ไว้หายนะหาย วันนึงก็หมด เอาธรรมะไปฝากไว้กับพระวันนึงก็หมดนะ วันนึงพระก็ต้องหมดไป

พระพุทธเจ้าเลยไม่ได้ฝากธรรมะ ฝากศาสนาไว้กับพระนะ ฝากไว้กับบริษัท ๔ ถือว่าเป็นบริษัทเดียวกันนะ ทุกคนมีหน้าที่ ชาวพุทธมีหน้าที่ ๒ อัน หนึ่งเรียนธรรมะให้รู้เรื่องให้เข้าใจ ให้ธรรมะมาสู่ใจของเราให้ได้ อันที่สองทรงไว้ซึ่งธรรมะ เจอคนที่ควรบอกก็บอก ไม่เจอคนที่ควรบอกก็ไม่บอก นี้เป็นหลักที่ผู้รู้ทั้งหลายเค้าใช้กัน

อย่างพระปัจเจกพระพุทธเจ้าทั้งหลายพอตรัสรู้แล้ว ไม่มีคนสมควรบอก ท่านก็ไม่ได้บอกอะไร ไม่ใช่ท่านสอนไม่ได้นะ เรามักจะคิดว่าพระปัจเจกสอนไม่เป็น มันไม่มีคนที่ควรจะเรียนน่ะ ภูมิความรู้ของท่านมากกว่าพระสารีบุตรอีก อย่างน้อยท่านก็บอกได้ว่าที่ท่านทำมาเนี่ย ท่านเดินมาได้อย่างไร ท่านก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าเส้นทางเดิน ของท่าน ท่านเดินมาได้ยังไง อย่าว่าแต่พระปัจเจกเลย สาวกทั่ว ๆ ไปเนี่ยแหละ พอเดินไปได้แล้ว ก็ย่อมจะรู้ว่าเดินมาได้ยังไงเป็นเรื่องธรรมดา คือถ้าไม่มีคนควรบอกก็ไม่บอกนะเฉย ๆ ดีกว่า

หลวงปู่ดูลย์ก็สอนนะ บอกว่า มีเวลาบอกได้นะสมควรบอกก็บอกไป ถ้าบอกไม่ได้นะอยู่เฉย ๆ ดีกว่า ธรรมะไม่ใช่สินค้าแบกะดิน ไม่ใช่เที่ยวยัดเยียดต่อใครต่อใคร มันไม่ใช่ของยัดเยียด ธรรมะนั้นถ้าไม่เปิดใจขึ้นมารับนะ รับไม่ได้หรอก ถ้าใจของเราปิดซะอย่างเดียวนะ รับไม่ได้ พวกเด็ก ๆ บางทีเรียนธรรมะได้ง่ายใจมันเปิด แต่ผู้ใหญ่ยิ่งโตนะ ใจยิ่งปิดนะ ใจยิ่งปิด คับแคบเพราะว่ามีของที่เคยเชื่อถือเอาไว้เยอะแล้ว ใจปิด ฟังสิ่งใหม่ ๆ ฟังยาก พอฟัง สิ่งใหม่ ๆ นะจะเอาไปเทียบกับของเก่าตลอดเวลาเลย นึกว่าของเก่าดีวิเศษ ถ้าดีวิเศษจริงนะมันหลุดพ้นไปแล้วหละ มันไม่ต้องทุกข์อยู่จนวันนี้หรอก คือถ้าใจของเราเปิดนะเปิดรับธรรมะก็รับง่าย ใส ๆ ซื่อ ๆ นะ ค่อยเรียนรู้ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๖
File: 491106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : สู้กับกิเลสไม่ไหว เมื่อทำในรูปแบบ

สู้กับกิเลสไม่ไหว เมื่อทำในรูปแบบ

ถาม : ปกติจะนั่งปฎิบัติในรูปแบบประมาณหนึ่งชั่วโมง แต่จะมีบางช่วงที่เบื่อ ขี้เกียจ เมื่อพยายามฝืนนั่งต่อไปก็จะรู้สึกอึดอัดอยากเลิก บางทีถึงกับหงุดหงิด หรือไม่ก็นั่งแบบไม่มีสติ หลับ สัปหงก วันไหนพอนั่งแล้วเกิดอาการแบบนี้รุนแรงก็จะเลิกปฎิบัติในรูปแบบไปเลยค่ะ ขอถามอาจารย์ค่ะว่าควรทำอย่างไรดีค่ะ?  สู้กับกิเลสไม่ไหวเลยค่ะ

ตอบ : นั่งแล้วสู้กิเลสไม่ไหว ก็ลุกไปเดินจงกรมดีกว่าครับ
หรือจะเปลี่ยนไปใช้รูปแบบอื่นๆ เช่นลุกไปกวาดบ้านก็ยังได้เลยครับ
ลุกไปเดินหรือทำอะไรแล้วก็หัดรู้สึกตัว
หัดรู้กายเคลื่อนไหว หัดรู้จิตเผลอไปคิด
ไม่ควรเลิกทำก่อนครบเวลาที่ตั้งใจไว้นะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้ามภพข้ามชาติต้องมีบารมี ๑๐ ประการ

MP3 for download ข้ามภพข้ามชาติต้องมีบารมี ๑๐ ประการ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บุญมีตั้ง ๑๐ อย่างแน่ะ การเจริญสตินี่แหละ เป็นยอดของบุญเลย บุญบารมี ๑๐ อย่างต้องทำนะ ต้องทำ ตอนนี้ยังไม่รู้หรอกว่าต้องใช้ ในนาทีที่จะแตกหักข้ามภพข้ามชาติเนี่ย ไม่มีใครจะช่วยเราเลย หันไปรอบๆตัวเหลือแต่บารมีอยู่ ๑๐ ตัวนี่แหละที่จะช่วยเรา สู้กับมาร ๕ ตัว มารมี ๕ นะ บารมีมี๑๐ แต่มารมันน่ากลัว ตัวมันใหญ่

มารหัวโจกที่เรียกว่าเทวปุตรมาร คือ จิตของเรานี่เอง จิตที่จะลากตัวเองลงต่ำนี่เอง เลิกเหอะๆ ถอยเหอะ เอาตัวรอดเหอะ

อภิสังขารมาร คือ ความคิดปรุงของเราเอง คิดในทางจะบั่นทอนตัวเอง คิดในทางล้างผลาญคุณงามความดีของตัวเอง

กิเลสมาร กิเลสทั้งหลายจะหลอกล่อเราให้เลิกการปฏิบัติ ให้ลุกซะเถอะ อย่านั่งต่อไปเลย นั่งต่อไป ถ้าไม่บ้าก็ตาย ให้หนีซะเถอะ แล้วกลับไปอยู่กับโลกเขาอย่างมีความสุขมากกว่าคนทั้งโลก ถ้าเทียบกันสมัยโบราณก็คือไปเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเหอะ อย่าเป็นพระอรหันต์เลย

ขันธมารนะ จิตเนี่ยแปรสภาพเป็นก้อนทุกข์ล้วนๆเลย ทุกข์ ทุกข์ไม่มีอะไรเหมือนเลย มัจจุมารเนี่ยเหมือนความตายมารออยู่ข้างหน้าละ ถ้าไม่ถอนออกจากอาสนะนี้นะ ไม่ลุกออกจากอาสนะนี้นะ ไม่บ้าก็ตาย ในขณะนั้นนะ ไม่มีใครช่วยเราได้ละ เหลือตัวคนเดียวล้วนๆเลย บารมีทั้่งหลายที่เคยศึกษาอบรมฝึกฝนมาเนี่ยมาช่วยเรา

ยกตัวอย่างนะ ทานบารมี อย่าดูถูกนะ ทานบารมี กล้าสละ กล้าสละได้ถึงชีวิตน่ะ กล้ามั้ย กล้าสละชีวิต นั่งต่อไปนี่ตายแน่ๆเลย แล้วก็ไม่บรรลุอะไรด้วย แต่ตายแหงๆละ กล้าสละชีวิตนี้มั้ย หรือยังหวงแหนชีวิตนี้อยู่ เห็นมั้ย ต้องฝึกนะ ต้องฝึกทานบารมีจนเข้มงวดเลย ถึงขนาดกล้าสละตัวเองได้เลย นาทีสุดท้ายที่จะข้ามภพข้ามชาติน่ะมันถึงจะกล้าทิ้ง

ขันติมีมั้ย ขันติบารมี อดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ที่ประดังขึ้นมาบีบคั้นจิต เหมือนภูเขาทั้งลูกถล่มลงมาทับ ไม่ทับเฉยๆนะ หมุนๆด้วยนะ บดๆๆลงไปด้วย ใครรู้จักโม่บ้าง โม่สมัยโบราณ บดๆอย่างนั้นเลย มีแต่ทุกข์ทุกอณูเลย มีขันติมั้ยที่จะสู้กับมัน

มีสัจจะมั้ย ตั้งสัจจะแล้ว จะต้องเรียนรู้ความจริงของมันให้ได้แม้กระทั่งจะเสียชีวิตก็จะเรียนรู้ความจริง จะตามรู้กายรู้ใจนี้ต่อไป จะต้องตายก็ไม่เป็นไร ขอให้เห็นความจริงของกายของใจนี้เถอะ

มีอธิษฐานบารมีมั้ย มุ่งมั่นมั้ย หรือว่าจะถดถอย ตั้งใจแล้วว่าจะสู้ตาย ถึงเวลาความตายมารอต่อหน้าแล้ว จะถอยหรือไม่ถอย

มีปัญญามีบารมีนะ ตามรู้ทุกอย่างเลย

มีเนกขัมมะบารมีนะ ยังจะติดใจพัวพันในความสุขทางโลกอยู่อีกมั้ย ความสุขในตาหูจมูกลิ้นกายใจ กล้าสละมั้ย ต่อไปนี้ถ้าไม่ตายนะ ถ้าตายไปก็ คือ สูญเสียความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายไปหมดเลย ถ้ารอดอยู่ก็รอดแบบคนบ้าเลย ไม่สามารถเสพสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายต่อไปได้ละไม่รู้เรื่องละ สติแตก เนี่ย กล้าสละมั้ย มันเป็นเรื่องที่ต้องเสียสละอย่างสูงทั้่งสิ้นเลยนะ ต้องฝึกนะ

เพราะฉะนั้นถ้าจะข้ามภพข้ามชาติให้ได้ในชีวิตนี้นะ ต้องพากเพียรจริงๆ อย่ามาทำเล่นๆ ทำเหยาะๆแหยะๆเล่นๆ อย่างมากก็ได้แค่โสดา สกิทาคา

เพราะฉะนั้นต้องฝึกนะ ต้องฝึก ฝึกตัวเองไว้ คุณงามความดีทุกอย่างต้องทำ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
Track: ๑๑
File: 500324B
ระหว่างนาทีที่  ๕๗ วินาทีที่ ๒ ถึง นาทีที่ ๖๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 2 of 41234