Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอรหันต์ส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลนะ ก่อนที่จะบรรลุพระอรหันต์ ก่อนที่จะบรรลุพระโสดาฯอะไรอย่างนี้ ก็ทำฌานไม่ได้เหมือนพวกเรานี้เอง ยกตัวอย่างเมื่อวานนี้ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟัง พวกที่ไม่ได้มา เล่าย่อๆนิดนึง

พระพุทธเจ้าท่านอยู่กับพระ หมู่สงฆ์จำนวนมากนะ แล้วท่านก็อธิบายให้สงฆ์ฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เนี่ย เป็นพระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ๖๐ องค์ อภิญญา ๖ อีก ๖๐ องค์ ได้อุภโตภาควิมุตติ ๖๐ องค์ พระอรหันต์ ๓ จำพวกนี้ต้องทรงฌาน รวมแล้ว ๑๘๐ องค์ อีก ๓๒๐ องค์ คือคนอย่างพวกเรานี่เอง

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราเข้าฌานไม่ได้เราจะสิ้นหวังเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ เราก็ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติที่พอเหมาะพอควรกับสิ่งที่เราเป็นสิ่งที่เรามีอยู่ เรามีความฟุ้งซ่านมาก เราไม่ได้มีสมาธิมาก เข้าฌานไม่เป็น เราก็มาฝึกให้ได้สมาธิชนิดตั้งมั่น แต่มันจะตั้งอยู่ชั่วขณะเท่านั้นเอง ไม่ตั้งนาน ไม่ใช่อัปนาสมาธิ แต่จะตั้งเป็นขณะๆเรียกว่า ขณิกสมาธิ จิตตั้งเป็นขณะๆนะ

ขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสมาธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน

เพราะฉะนั้นๆเราหัดพุทโธๆนะ จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เราหัดรู้ลมหายใจนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา รู้ลมหายใจอยู่ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ถ้ารู้ทันว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นจะต้องทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเสียก่อนนะ ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน เดี๋ยวก็ไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ดูไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นเบื้องต้นทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่งก่อน พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็รู้นะ จิตเคลื่อนไปเมื่อไหร่ให้รู้ทัน

ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เจตนาให้ตั้ง มันตั้งของมันเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๙ ถึงนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยมรรคจะเกิดในอัปนาสมาธิเสมอ

mp3 for download : อริยมรรคจะเกิดในอัปนาสมาธิเสมอ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เห็นความเกิดดับของรูปนาม จนกระทั่งเกิดวิปัสนูฯอะไรอย่างนี้นะ เป็นญาณตัวที่ ๑ นะ วิปัสสนาตัวที่ ๙ อย่าไปกลัวว่ามีหลายตัว เพราะบางคนนะเดินปุ๊บเดียวทะลุ ๙ ตัวเลยนะ บางคนเดินนิดหน่อยนะก็ทะลุไป เกิดความเบื่อ เกิดความเวิ้งว้าง เกิดความกลัวขึ้นมา แทรกขึ้นมาว่าตัวตนหายไป บางทีกระโดดนะ มันผ่านไปอย่างรวดเร็วเลยนะ มันไม่ใช่ไปค้างอยู่นานๆหรอก มีตั้ง ๙ ญาณ ฟังแล้วท้อใจ ญาณที่ ๑ ยังไม่ค่อยจะได้เลย ตั้ง ๙ ญาณเมื่อไหร่จะได้มรรคผล ไม่เป็นอย่างนั้นหรอก

ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง มากๆ ในที่สุดแล้วจะเห็นเลยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกัน พอสุขทุกข์ดีชั่วเสมอกันนะ พอความสุขเกิดขึ้น จิตก็ไม่ปรุงต่อ คือไม่ปรุงว่าทำอย่างไรจะเกิดบ่อยๆ ทำอย่างไรจะเกิดนานๆ ความทุกข์เกิดขึ้นนะ จิตก็เป็นกลางอีก ไม่ปรุงว่าทำอย่างไรจะหายไป ทำอย่างไรจะไม่เกิด จิตเป็นกลาง

พอจิตเป็นกลางจิตไม่ดิ้นรน จิตที่หมดความดิ้นรนนั้นน่ะ จะรวมเข้ากับอัปนาสมาธิ รวมเองเลยคราวนี้ แล้วอริยมรรคจะเกิดขึ้นในอัปนาสมาธิ อริยมรรคไม่เกิดในจิตของมนุษย์ธรรมดาอย่างนี้ จะต้องรวมเข้าอัปนาฯเสมอไป ตั้งแต่ฌานที่ ๑ แต่ถ้าคนไหนรวมเข้าถึงอรูปฌานนะ พวกนี้จะหลุดพ้นด้วยสิ่งที่เรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ ถ้าถึงอรูปฯ ส่วนใหญ่ไม่ถึงอรูปฯ เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ฌาน ๓ ฌาน ๔ อะไรอย่างนี้นะ แล้วก็ตัดกิเลสลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๑๐) ขณิกสมาธิ

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๑๐) ขณิกสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี
เอื้อเฟื้อภาพโดย บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ในขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ

ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆ คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่