Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

mp3 for download : วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :เนี่ยพวกเรา จุดสำคัญนะ ก่อนที่พวกเราจะก้าวไปสู่การเจริญปัญญาซึ่งว่ากันเป็นของดีของวิเศษ ในทางพระพุทธศาสนา เราต้องมาปรับจิตใจของเราก่อน ให้พร้อม ต้องมาเตรียมความพร้อมของจิตเสียก่อน จิตที่จะไปเจริญปัญญาได้ต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง

สมาชิกทั้งสองชนิดมีประโยชน์ทั้งคู่ สมาธิเพื่อความสงบก็มีประโยชน์ แต่ประโยชน์ของสมาธิเพื่อความสงบนั้นน่ะ ทำให้จิตใจสดชื่น มีเรี่ยวมีแรงนะ ส่วนสมาธิที่ใช้เจริญปัญญานั้นทำให้จิตใจฉลาด คนละแบบกัน มีประโยชน์ทั้งคู่ ถ้าเราทำสมาธิได้ทั้งสองชนิด ดีที่สุด ถ้าทำชนิดแรกไม่ได้นะ ทำไปเพื่อความสงบไม่ได้ ทำอย่างที่สองได้ ก็ยังเอาตัวรอดได้

ในสมัยพุทธกาลนะ ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านก็อธิบายให้พวกพระฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มี ๖๐ องค์ได้วิชา ๓ วิชา ๓ ก็คือ ระลึกชาติได้ รู้ว่าใครตายแล้วไปเกิดที่ไหน แล้วก็ล้างกิเลสได้ ๓ อย่าง พระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย มี ๖๐ องค์ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ต้องทรงฌานนะ ต้องทรงฌาน ในบรรดา ๕๐๐ องค์

นอกจากวิชา ๓ แล้วนะ ยังมีพวก อภิญญา ๖ นะ เช่นได้หูทิพย์ ตาทิพย์ รู้วาระจิตคนอื่นอะไรอย่างนี้ มีทิพยโสต ทิพยจักษุ เจโตปริยญาณ จำไม่ได้แล้ว มีหลายอัน พระอรหันต์ที่ได้อภิญญา ๖ มี ๖๐ องค์ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้อภิญญา ๖ น่ะ ต้องทรงฌานนะ เพราะฉะนั้นรวม ๒ กลุ่มนี้ ได้ ๑๒๐ จาก ๕๐๐ (รวมเป็นร้อยละ ๒๔ – ผู้ถอด)

ก็ยังมีพระอรหันต์อีกจำพวกหนึ่ง ท่านเรียกว่า อุภโตภาควิมุติ อุภโตภาควิมุตินั้นไม่เหมือนพระอรหันต์ทั่วๆไป คือตอนที่บรรลุมรรคผลเนี่ย ท่านเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์ทั่วๆไปเนี่ย บรรลุมรรคผล เข้ารูปฌาน พวกที่เข้าถึงอรูปฌานก็ดับรูป ดับรูปธรรมด้วยอรูปฌาน ดับนามธรรมทั้งหลายด้วยวิปัสสนาญาณ เลยเรียกว่า “ดับโดยส่วนทั้งสอง” คือ ดับทั้งรูปทั้งนาม ดับทั้งรูปทั้งนามไม่ใช่ไม่มีอะไรเหลือ ว่างเปล่า นะ ไม่มีอะไรเลยเรียกว่าพรหมลูกฟัก ไม่ใช่ ยังมีจิตอยู่ แต่ไม่มีความปรุงแต่งหยาบๆอย่างที่พวกเราเห็น คือท่านปล่อยวางความยึดถือทั้งในรูปธรรมและในนามธรรมได้ แต่ปล่อยรูปธรรมไปเพราะเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์จำพวกนี้มี ๖๐ องค์เหมือนกัน

รวมทั้ง ๓ ชนิดนะ ๖๐ + ๖๐ + ๖๐ ได้เท่าไหร่ ๑๘๐ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๓๖ – ผู้ถอด) พระอรหันต์ที่เหลือ ๓๒๐ (คิดเป็นร้อยละ ๖๔ – ผู้ถอด) คือคนซึ่งธรรมดาๆอย่างพวกเรานี่แหละ ไม่ใช่ว่าทรงฌานอย่างชำนิชำนาญมาก่อน อาจจะเดินปัญญาไป จิตไม่ได้ทรงฌาน เดินปัญญารวดไปเลย แห้งแล้ง พระอรหันต์ที่ปฏิบัติไปนะ บรรลุมรรคผลนิพพานไปด้วยใจที่แห้งแล้ง หมายถึงไม่มีความชุ่มฉ่ำหรอก เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ภาวนาไปเนี่ย ใจไม่ได้พัก เพราะฉะนั้นจะทุกข์ยากเยอะเลย ทุกข์มากนะ ภาวนาแล้วจะรู้สึกแห้งแล้ง เรียกว่าพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ ไม่ได้ทรงฌาน แต่ตอนที่เป็นพระอรหันตแล้วนะ ตอนที่เป็นพระโสดาบันแล้วน่ะ จะได้ฌานอัตโนมัติ อย่างน้อยจะได้ปฐมฌานขึ้นมา แต่ตอนที่เดินไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลเนี่ย ไม่ได้ทำฌาน

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ พวกเราจะไปสรุปตามใจชอบนะว่า ต้องนั่งสมาธิเข้าฌานได้ก่อน ถึงจะเจริญปัญญาได้ บางคนสรุปแบบนี้นะ ใช้ไม่ได้เลยนะ มันขัดกับพระไตรปิฎกเลย คนส่วนน้อยหรอก ที่ทรงฌาน คนส่วนมากก็คือคนอย่างพวกเรานี้แหละ แล้วทำไมถึงไปบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ท่านที่บรรลุมรรคผลโดยทรงฌาน ท่านก็มีสมาธิอย่างที่สองด้วย ถ้ามีสมาธิแต่อย่างแรกน่ะ จะบรรลุมรรคผลไม่ได้หรอก

สมาธิสองชนิดต่างกันอย่างไร สมาธิอย่างแรกที่เป็นไปเพื่อความสุขความสงบนั้นน่ะ มันมีลักษณะที่ว่า มีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตไปรวมสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพราะฉะนั้นไม่เดินปัญญา ยกตัวอย่าง พุทโธ พุทโธ พุทโธ นะ จิตอยู่กับพุทโธไม่หนีไปไหนเลย สงบอยู่กับพุทโธ นี่คือสมาธิชนิดที่หนึ่ง ไปรู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปไหนเลย จิตจับอยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเลย นี่คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปดูท้องพองยุบ เห็นท้องพองท้องยุบ จิตจับเข้าไปที่ท้อง ไม่ไปไหนเลย สงบอยู่กับท้องเท่านั้นเอง นี่เป็นสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า จิตไปเพ่งอยู่ที่เท้า หรือเพ่งอยู่ที่ร่างกายทั้งร่างกาย นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง

ปกติจิตของคนเรานะ จะส่ายตลอดเวลานะ จะวิ่งหาอารมณ์ตลอดเวลา เดี๋ยวก็วิ่งไปทางตา ไปหาอารมณ์ทางตา เรียกว่า รูปารมณ์ คือ อารมณ์คือรูป บางทีก็วิ่งไปหาอารมณ์ทางหู คือเสียงนะ บางทีก็ไปหากลิ่น หารส หาสิ่งที่มาสัมผัสร่างกาย บางทีก็วิ่งไปนึกคิดปรุงแต่งทางใจ ถ้าทางใจเรียกว่า ธรรมารมณ์ จิตของเราจะจับจดในอารมณ์ต่างๆนะ วิ่งไปจับอารมณ์นั้นทีหนึ่ง วิ่งไปจับอารมณ์นี้ทีหนึ่ง มันวิ่งไปเพราะอะไร เพราะมันเที่ยวแสวงหาความสุข มันไปดูรูป มันหวังว่าจะมีความสุข มันไปฟังเสียง มันหวังว่าจะมีความสุข ไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกาย ไปคิดนึกทางใจ หวังว่าจะมีความสุข แล้วมันไม่อิ่ม มันไม่เต็ม มันก็วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นต่อไปอีกนะ คล้ายๆหมาตัวหนึ่งนะ หมาจรจัด ไม่มีใครเลี้ยง ก็วิ่งไปทางนี้ ได้กินอาหารนิดหน่อยนะ คุ้ยขยะได้อาหารมานิดหน่อยนะ ไม่อิ่มน่ะ ก็ต้องวิ่งไปที่อื่นอีก ไปคุ้ยที่อื่นนะ บางทีกินได้หน่อยหนึ่งไม่อิ่มนะ ก็วิ่งต่อไปอีก

จิตของเราที่มันไม่ได้ทรงสมาธินะ ไม่ได้ทรงสมาธิชนิดที่ใช้พักผ่อนน่ะ เป็นจิตที่หิวอารมณ์ จิตของเราเหมือนหมาจรจัด ไม่เต็ม ไม่อิ่ม จะหิวโหยอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แล้วมันจะวิ่งพล่านไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลาเลย

มันก็มีวิธีการที่จะทำให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวนะ ให้เราเลือกอารมณ์กรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แทนที่จะปล่อยให้จิตสะเปะสะปะ เที่ยวหาอารมณ์ร่อนเร่ไปตามยถากรรม เราก็มาดูว่าจริตนิสัยของเรา ควรจะทำกรรมฐานอะไรเพื่อให้จิตมีความสุข เคล็ดลับของการทำสมถกรรมฐาน สมาธิชนิดที่ ๑ สมาธิที่ใจสงบเนี่ย อยู่ที่การเลือกอารมณ์ ว่าเรารู้จักเลือกอารมณ์ที่เหมาะกับจริตนิสัยของเรามั้ย ยกตัวอย่างคนไหนช่างคิดมากก็อาจจะหายใจ รู้ลมหายใจไป คนไหนขี้โมโหมากก็อาจจะเจริญเมตตาไป คนไหนความยึดความคิดความเห็นรุนแรงอะไรมากนะ ทะเลาะกับเขาไปทั่ว อาจจะคิดถึงความตายขึ้นมาก็ได้ คนไหนบ้ากามมากก็มาคิดถึงร่างกาย ที่เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ ไม่สวยไม่งาม อย่างนี้ใจมันได้อารมณ์ที่พอเหมาะ มันจะสงบ

สรุปง่ายๆว่า ถ้าเรารู้จักเลือกอารมณ์ ที่จิตไปรู้แล้วมีความสุข จิตก็มีจะมีความสุขอยู่ในอารมณ์อันนั้นแล้วไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อันอื่น คล้ายๆหมาตัวนี้่วิ่งๆมานะ มาเจอคนใจบุญ คนใจบุญให้อาหารกินเต็มอิ่มเลย หมานี้ไม่ต้องวิ่งพล่านไปที่อื่นแล้ว หมาก็อยู่กับที่นะ เดี๋ยวนอนไป ตื่นขึ้นมา หิวอีกแล้ว คนก็ให้กินอีก ไม่หนีไปไหนเลย สุดท้ายเป็นหมาขี้เกียจ นอนอยู่อย่างนั้แหละ พวกที่ติดสมาธินั้นแหละ เปรียบเทียบรุนแรงไปมั้ย พวกที่หิวอารมณ์นะ ก็เหมือนหมาจรจัดนะ พวกที่ติดสมาธิก็เหมือนหมาที่มีเจ้าของ ได้กินอิ่มก็ไม่ไปไหน มีแต่ความสุขอยู่แค่นั้นเอง

เพราะฉะนั้นอยู่ที่การเลือกอารมณ์นะ ทำได้ ควรจะทำ ถ้าทำแล้วจิตใจะมีเรี่ยวมีแรง มีประโยชน์นะ ไม่ใช่ไม่มี สมถกรรมฐานมีประโยชน์ ถ้าเราได้พักอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นครั้งเป็นคราว และเราไม่ได้ติดอยู่ในอารมณ์อันนั้น จิตจะมีกำลัง แต่ถ้าไปติดสมถะเนี่ย จะไม่เดินปัญญา

ตรงที่บางคนมาหาหลวงพ่อนะ สมัยก่อน ซึ่งพวกเรายังไม่ได้จิตที่รู้ที่ตื่นกันนั้น คนที่มาหาหลวงพ่อยุคแรกๆนะ เป็นพวกติดเพ่งมาแทบทั้งนั้น เพราะสมัยโบราณนะ คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็นั่งเพ่งเอาเมื่อนั้น เหมือนที่เจ้าชายสิทธัตถะท่านทำนั้นแหละ ออกจากวังมา สิ่งแรกที่ท่านทำก็คือ ไปนั่งสมาธิกับฤๅษี พวกเราเมื่อสักสิบปีก่อน มักจะติดเพ่งกันเป็นส่วนใหญ่ พอไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องแก้การที่ติดเพ่งนี่ก่อน บางคนนั้นหลวงพ่อบอกว่าให้หยุดการทำสมาธิไว้ก่อน พอได้ยินอย่างนี้ก็เลยคิดว่าหลวงพ่อไม่ให้ทำสมาธิ ที่จริงก็คือ ทำสมาธิมาผิดนั่นเอง ต้องแก้ก่อน เสร็จแล้วก็ต้องมาฝึกให้ใจมันตื่นขึ้นมา ตรงที่ใจมันตื่นนั้นแหละ เราได้สมาธิอย่างที่สอง เพราะฉะนั้นถ้าพวกเราคนไหนติดเพ่งนิ่งๆว่างๆนะ สบายอยู่แค่นั้น

แค่นั้นไม่พอนะ แค่นั้นมันเหมือนหมาที่เจ้าของใจดีแค่นั้นเอง ต้องมาฝึกสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดแรกน่ะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง จิตรวมเข้ากับอารมณ์อยู่ด้วยกัน พักผ่อนอยู่ในอารมณ์ที่สบาย สมาธิอย่างที่สองเนี่ย จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นแสนเป็นล้านก็ได้ อารมณ์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเลย แต่จิตเป็นหนึ่ง เป็นแค่คนดู ไม่ใช่คนสงบนิ่งนะ เป็นแค่คนดู

คือเราต้องมาฝึกจิตให้เป็นคนดูให้ได้ ถอยออกมาจากปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรม ส่วนใหญ่ของคนเราก็คือ เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมแล้ว จิตจะไหลเข้าไปรวมกับปรากฎการณ์นั้น ยกตัวอย่างเวลาเราดูโทรทัศน์ จิตจะไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ หรือเวลาที่เราคิดถึง ดูโทรทัศน์ ดูข่าว ดูอะไรนะ พูดถึงนายกฯหญิงสวยงามอะไรอย่างนั้นนะ ใจเราไปคิดถึงเขา ใจเราลอยไป ใจเราลอยแล้วลืมตัวเราเอง เนี่ยใจที่มันล่องลอยแล้วมันลืมตัวมันเองเนี่ย คือใจที่ขาดสมาธิชนิดอย่างที่สอง เป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น คนที่ขาดสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นเนี่ย มีร่างกายก็ลืมร่างกายมีจิตใจก็ลืมจิตใจของตัวเอง มัวแต่ไปดูรูป แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปฟังเสียง แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปดมกลิ่นแล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง

ก่อนหลวงพ่อบวชนะ หลวงพ่อก็ไป เป็นฆราวาสนี่ ก็เดินตามศูนย์การค้าอะไรก็ไปบ้าง ไปซื้อของอะไรเนี่ย จะมีที่ขายน้ำหอมน่ะนะ พวกเราเห็นมั้ย พวกผู้หญิงก็จะไปยืนเป็นแถวเลยนะ แล้วก็เอามาทามือนะ ดมๆ ดมๆ ไปเรื่อยนะ ในขณะที่ดมน้ำหอม นึกออกมั้ย รู้อะไร รู้กลิ่นของน้ำหอม ใช่มั้ย ในขณะนั้นเราลืมกายลืมใจของตัวเอง หรือเราเห็นคนโทรศัพท์มั้ย เดินโทรฯ ทำท่าแปลกๆ ขณะที่คุย เม้าธ์ เพลินไปนะ ร่างกายเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ จิตใจของตัวเองเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ มันลืมตัวมันเอง สภาวะที่จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจลืมตัวเอง ลืมกายลืมใจของตัวเอง นี่แหละคือสภาวะที่จิตขาดสมาธิชนิดที่จิตใจตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นสมาธิอย่างที่สองเนี่ยนะ ถ้าจะพูดง่ายๆก็คือสภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ร่อนเร่ไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นจิตเป็นหนึ่ง ไม่ได้มี ๖ คือ วิ่งไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ แต่รู้สึกตัวอยู่ เป็นหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้นเคลื่อนที่ ทั้งที่รูปธรรมนามธรรมนี้ เคลื่อนที่ผ่านความรับรู้ของจิตไปเรื่อยๆ เช่นตามองเห็นรูป ใจก็เป็นคนดู ก็เห็นรูปเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างหาก ใจเป็นคนดู เมื่อไรขาดสติ จิตก็ปรุงแต่ง เห็นรูป โอ้สวย ใจมีราคะ ไม่รู้ทัน ถ้าใจตั้งมั่น ใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ก็จะเห็นว่า ตอนนี้เกิดราคะอยู่ ตอนนี้เกิดโทสะอยู่ เนี่ยใจมันต้องตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจลืมเนื้อลืมตัว มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ จิตใจที่ลืมเนื้อลืมตัว ก็คือจิตใจที่ไม่มีสมาธิอย่างที่สอง ไม่มีความตั้งมั่นของจิต

ปกติจิตของเราร่อนเร่ตลอดเวลานะ ถึงไปทำฌาน จิตก็ไหลไปรวมเข้ากับอารมณ์อันเดียว จิตไม่ได้ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเราต้องมาฝึกให้จิตตั้งมั่น วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น ก็คล้ายๆกับวิธีฝึกให้จิตสงบนั่นแหละ เวลาที่เราจะฝึกให้จิตสงบนะ เราก็เลือกอารมณ์ขึ้นสักอารมณ์หนึ่ง ที่มีความสุข แล้วน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น คนไหนพุทโธแล้วมีความสุขก็พุทโธไปเรื่อยๆ จิตมีความสุขกับพุทโธ จิตไม่หนีไปที่อื่น ได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่นนะ พุทโธไปแล้วรู้ทันจิต ไม่ได้น้อมจิตไปอยู่ที่พุทโธ แต่พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตนะ หรือรู้ลมหายใจ ก็ไม่น้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ใจจะเป็นสมาธิชนิดที่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่ถ้าเราหายใจไปแล้วจิตตั้งมั่นเป็นคนดู รู้ทันจิตอยู่ หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เราจะได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่น คือไม่เคลื่อน

เพราะฉะนั้นสมาธิจึงมีสองชนิดนะ ชนิดหนึ่งเคลื่อนไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ก็ได้สมถะได้ความสงบเฉยๆ เอาไว้พักผ่อน อีกอันนะจิตไม่เคลื่อน แต่อารมณ์นั้นเคลื่อน รูปก็เคลื่อนไหว เสียงก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง กลิ่นก็เปลี่ยนแปลง รสก็เปลี่ยนแปลง สิ่งที่มาสัมผัสร่างกายก็เปลี่ยนแปลง ตาหูจมูกลิ้นกายก็เปลี่ยนแปลง ใจของเราก็เปลี่ยนแปลง ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจนะ ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ก็เปลี่ยนแปลง แต่ใจของเราเป็นคนดู ใจเราเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น ใจเราเป็นคนดูอยู่ ไม่ได้ยากอะไร ถ้ารู้วิธีแล้ว ไม่ได้ยากอะไรเลย ให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทัน ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งแล้วคอยรู้ทันจิตไว้ การที่เราทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา จะทำให้เรารู้ทันจิตได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่ทำกรรมฐานเลย แล้วอยู่ๆจะไปรู้ทันจิต จิตมันจะส่ายไปในอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเราดูไม่ทัน

เพราะฉะนั้นเราก็หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง แต่เราไม่ได้น้อมจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานนั้น หาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่นะ แล้วเมื่อจิตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป มันหนีไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน มันเคลื่อนไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน จิตจะเคลื่อนไป ๒ แบบเท่านั้น ๑ เคลื่อนไปคิด หรือหลงไปทีอื่นซะ อันที่ ๒ เคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเรารู้ลมหายใจอยู่นะ จิตหนีไปคิดก็มีนะ ลืมลมหายใจไป จิตเคลื่อนไปเกาะที่ลมหายใจไป กลายเป็นสมถะกรรมฐาน ก็มีนะ ถ้าเคลื่อนไปเกาะอยู่ในอารมณ์อันเดียว กลายเป็นสมถะ เป็นสมาธิชนิดสงบ ถ้าเคลื่อนหนีไปคิดเลยนะ สมาธิชนิดสงบก็ไม่มีนะ ฟุ้งซ่านอย่างเดียว

แต่ว่าการเคลื่อนไปนั้นมีสองชนิด เคลื่อนไปหาอารมณ์อื่นเคลื่อนไปคิดเรื่องอื่น กับเคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้ารู้ทันว่าจิตเคลื่อน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับให้ตั้งมั่น เขาจะตั้งของเขาเอง แต่ถ้าสมาธิของเรายังไม่แข็งแรงนะ จะเคลื่อนแล้วรู้สึกขึ้นมา ตั้งได้แว็บเดียว แล้วก็เคลื่อนไปอีก บางทีเคลื่อนไปนานเลยนะ แล้วรู้สึกขึ้นมาอีกแล้ว ตั้งขึ้นมาอีกแว้บหนึ่ง จะเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องฝึกให้มากนะ ฝึกเพื่อให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวให้ได้ ถ้าจิตใจยังไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ยังเดินปัญญาไม่ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๗ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ได้สมาธิที่มีสติมีจิตตั้งมั่น มาใช้เจริญปัญญา

mp3 for download : ได้สมาธิที่มีสติมีจิตตั้งมั่น มาใช้เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :เมื่อเราได้สมาธิ (ชนิดจิตตั้งมั่น – ผู้ถอด) ใจเราจะเป็นคนดู ใจจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคนดู มันจะเห็นรูปธรรมนามธรรมมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป ตรงที่เรามีใจเป็นคนดูได้เนี่ย เราถึงจะเจริญปัญญาได้ ถ้าใจยังไม่เป็นผู้ดูแต่เป็นผู้แสดงเสียเองนะ ไม่ได้เรื่องหรอก ยังเจริญปัญญาไม่ได้จริง

ยกตัวอย่างคนที่ยังไม่ได้ภาวนานะ เวลาโกรธเนี่ย จะไม่รู้เลยว่าตัวเองโกรธ พวกนี้ต่ำสุดเลย จะรู้แต่คนที่ทำให้โกรธ ไอ้คนนี้ทำให้โกรธ ไปสนใจเขา นักปฏิบัติเบื้องต้นนี้จะรู้ว่ากำลังโกรธอยู่

พอปฏิบัติเก่งขึ้นมาก็จะรู้เลยว่า ความโกรธกับจิตนั้นเป็นคนละอันกันนะ จะเห็นว่าจิตไม่ได้โกรธหรอก แต่จิตเป็นตัวที่กำลังรู้ว่าโกรธอยู่ เห็นสภาวะความโกรธนั้นแยกออกไปต่างหากน่ะ ถ้าเห็นอย่างนี้ได้นะ มันจะไม่ใช่ “เราโกรธ” แล้ว จะเห็นว่าความโกรธมีอยู่ แต่ไม่ใช่เราโกรธ ความโลภมีอยู่แต่ไม่ใช่เราโลภ ความหลงมีอยู่แต่ไม่ใช่เราหลง ความสุขมีอยู่แต่ไม่ใช่เราสุข ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่ใช่เราทุกข์ ร่างกายมีอยู่แต่ไม่ใช่ร่างกายของเรา จะเห็นแต่ว่า สภาวธรรมทั้งหลาย รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย มีอยู่ แต่ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเราหรอก เป็นแค่สภาวะ ร่างกายก็เป็นแค่สภาวะของรูปธรรม ความสุขความทุกข์ก็เป็นแค่สภาวะอีกอย่างหนึ่งทางนามธรรม เรียกว่าเวทนา ความจำได้หมายรู้ก็เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง ความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง (มีชื่อเรียกว่า สังขารขันธ์ – ผู้ถอด) เนี่ยเราฝึกไปเรื่อยนะ ถ้าใจเราตั้งมั่นขึ้นมา เราถึงจะเห็นได้ว่า มันเป็นแค่สภาวะมันไม่ใช่เราหรอก ไม่อินเข้าไป

ของเรา เวลาทำอะไรใจยังอินมั้ย เช่นดูหนังดูอะไรเนี่ยนะ ยังมีลุ้นมั้ย เชียร์คนนี้ ไม่เชียร์คนนี้ มีมั้ย ดูบอลล์ ใครชอบดูบอลล์บ้าง ใครดูบอลล์ แล้วต้องเลือกข้างมั้ย ถ้าไม่เลือกข้างไม่สนุกนะ ต้องเลือกข้าง แล้วอย่าไปเลือกข้างที่เก่งมากนะ เลือกข้างที่เก่งมากก็จืดชืดนะ ต้องลุ้นหน่อยๆ แบบสูสีอะไรอย่างนั้นถึงจะสนุก ผิดกันมากดูไม่สนุก เราเนี่ยไม่มีการดูอะไรทุกอย่าง อย่างที่เป็นกลาง เราจะต้องเอียงข้าง มีอคตินะ แล้วก็ใส่อารมณ์ลงไป แล้วก็ลุ้นอันนี้ เกลียดอันนี้ ชอบอันนี้ เกลียดอันนี้ ชอบอันนี้ เกลียดอันนี้ อยู่อย่างนี้เรื่อยๆนะ ไม่เป็นกลางหรอก เราจะไม่สามารถเห็นความจริงได้

ยกตัวอย่างเวลาเราเห็นเขาชกมวยนะ ถ้าเราเชียร์ข้างไหนนะ เราจะรู้สึกเองแหละว่านักมวยของเราชกเก่ง ชกถูกนะ แต่กรรมการไม่เห็น อะไรอย่างนี้ หรือเชียร์บอลล์ เราเชียร์ฝั่งหนึ่งนะ อีกข้างหนึ่งแฮนด์บอลล์แล้วแต่กรรมการไม่เห็นน่ะ แหมเราเห็นชัดกว่ากรรมการอีก อยู่ห่างตั้งหลายสิบเมตรนะ แหมเห็นได้ใกล้เคียงได้ชัดเจน อะไรอย่างนี้ เนี่ยอคติล่ะ

เพราะฉะนั้นถ้าใจของเราเป็นกลางจริงๆ เราจะเห็นทุกอย่างตรงตามความจริง ถ้าใจเราไม่เป็นกลางเราจะเห็นแบบมีอคติ ลำเอียงเพราะรักก็ได้ เพราะชอบคนนี้ ลำเอียงเพราะเกลียดก็ได้ ลำเอียงเพราะกลัวก็ได้ ลำเอียงเพราะหลงก็ได้ หลงก็ทำให้ลำเอียงได้

ยกตัวอย่างบางยุคนะ บ้านเมืองมีหลายอุดมการณ์ เราลำเอียงเพราะหลง คือเราชอบอันนี้ ชอบอุดมการณ์นี้ ไม่ชอบอุดมการณ์นี้ ไอ้ข้างนี้พูดอะไรเราเห็นด้วยหมดเลย ไอ้ข้างนี้พูดอะไรเราไม่เห็นด้วยหมดเลย ทั้งๆที่เราไม่สนใจเลยว่า ข้อมูลที่แท้จริงคืออะไร นี่ล่ะ ลำเอียง ความลำเอียงมันเกิดขึ้นตลอดเวลา

ใจของเราต้องถอนตัวออกมาให้ได้นะ จากสถานการณ์ตอนนั้น ถอนตัวออกมาเป็นแค่คนดู เราไม่ใช่คู่ชกของนักมวย เราไม่ใช่คู่แข่งขันของนักฟุตบอล เราเป็นคนดู เป็นกรรมการ เป็นคนดูเฉยๆ ใครจะแพ้ใครจะชนะ ไม่สำคัญ เราเป็นแค่คนดู เนี่ยถ้าถอนตัวออกมาเป็นคนดูที่ซื่อตรงได้นะ เราจะเห็นความจริงทุกอย่างได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนะ เพราะฉะนั้นตัวใจที่ถอนตัวออกมาเป็นคนดูได้เนี่ยสำคัญมากเลย เนี่ยแหละคือสมาธิที่แท้จริง สมาธิที่ใช้เดินปัญญา

ส่วนสมาธิที่เขาฝึกกันส่วนใหญ่ ที่นั่งแล้วเห็นโน้นเห็นนี้นะ อันนั้นมีมาก่อนพระพุทธเจ้า สมาธิอย่างนั้นไม่ได้เอาไว้เดินปัญญา หลวงพ่อก็ทำเป็น ตั้งแต่เจ็ดขวบก็ทำได้แล้ว นั่งสมาธินะ แล้วออกเที่ยวสวรรค์เที่ยวอะไรนะ แต่นรกไม่ไป เรื่องอะไรจะไป ไปก็ไปดูของสวยสิ ใช่มั้ย ไปดูของไม่สวยไปดูทำไม นั่งสมาธิทีแรกก็ไม่ได้ไปไหนหรอก นั่งสมาธิรู้ลมหายใจนะ ลมยาว.. หายใจอยู่ไม่นาน ลมก็ตื้นๆตื้นๆ ละเอียดนะ ถ้าไม่สองสามวันก็อาทิตย์หนึ่ง จำไม่ได้แล้ว ลมหายใจกลายเป็นแสงสว่าง แต่แสงสว่างนั้นแทนที่ใจจะอยู่กับแสงนะ แล้วก็สงบเข้าฌงเข้าฌาน ไม่ไปหรอก มีแสงขึ้นมาแล้วเกิดสนใจ อยากดูสวรรค์อะไรอย่างนี้ ฉายแสงออกไปเหมือนสป็อตไลต์ จิตก็ตามแสงออกไปเลย แล้วนิมิตรมันเกิดน่ะ เห็น เห็นจริงๆ แต่ของที่ถูกเห็นนั้น จริงหรือไม่จริง ไม่รู้หรอก จิตของเราอาจจะหลอนเอาทั้งหมดเลยก็ได้ เชื่อถือไม่ได้หรอกนะ ใจไหลออกไป สมาธิอย่างนี้ ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานเลย เป็นสมาธิที่ออกไปข้างนอก ไปเพลิดเพลินกับโลกภายนอก หรือโลกในจินตนาการของตนเอง

ฝันไปเห็นนางกินรอย่างนี้ สังเกตมั้ยคนไทยเวลาเห็นเทวดานะ ก็แต่งตัวแบบคนไทย ไม่เห็นมีเทวดาใส่สูทมาเยี่ยมเลยนะ ทำไมเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่ามันชินอย่างนั้น ทีนางฟ้าที่ไปวาดในโบสถ์นะ นางฟ้าไม่เคยใส่เสื้อเลย อะไรอย่างนี้ ถ้าฝรั่งมีนางฟ้าแต่งตัวแบบนั้นต้องทุกข์ทรมาณมากเลย เพราะมันหนาว ต้องแต่งตัวเยอะๆ ถึงจะเป็นนางฟ้าได้ ผ้ารุงรังอะไรอย่างนี้ มีอะไรเยอะแยะ เนี่ยมันเป็นโลกของจินตนาการนะ จริงเท็จไม่สำคัญหรอก สำคัญคือจิตออกนอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๒ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกสมาธิ สำคัญที่มีสติรู้ทันจิต ไม่ใช่ท่าทางร่างกาย

mp3 for download : ฝึกสมาธิ สำคัญที่มีสติรู้ทันจิต ไม่ใช่ท่าทางร่างกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :ทำสมาธิ ไม่ถนัดนั่งก็เดิน ไม่ถนัดเดินก็นั่ง ตัวสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ท่านั่งท่าเดิน ไม่ใช่เดินท่าไหนถูก นั่งท่าไหนถูก จะเอามือไว้ตรงไหน เรื่องไร้สาระเลย อันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว คนไหนจะถนัดเอามือไว้ตรงไหนก็เอาไป จุดสำคัญคือรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนในการทำสมาธิท่านถึงเรียกว่า “จิตตสิกขา” ไม่ใช่ให้เรียนเรื่องกายเรื่องจะเอามือเอาไม้ไว้ที่ไหนหรอก ใครจะถนัดเอามือไว้อย่างไรก็เอาไว้อย่างนั้นแหละ

มีคราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปหินหมากเป้ง ตอนนั้นหลวงปู่เทสก์ยังอยู่ ท่านสรางมณฑปใหม่แล้วท่านไปอยู่ในมณฑป กุฏิเก่ายังไม่รื้อ เป็นไม้ ท่านให้หลวงพ่อไปพักที่กุฏิเก่าของท่าน กุฏิเก่ากับมณฑปนี้ห่างกันนิดเดียว จากกุฎิเก่ามองเข้าไปทะลุ ผนังเป็นกระจก มณฑปนั้นเป็นกระจกนะ มองเห็นท่านได้ทั้งคืนเลย เราไปถึงก็เนื้อยเหนื่อยนะ ไปถึงแต่มืดเลยเดินทางมาทั้งคืนแล้ว ไปถึงหินหมากเป้งตอนเช้า ไม่ได้พักนะ ภาวนาไปอะไรไป กะว่าค่ำๆจะนอน หลวงปู่ให้ไปอยู่กุฏิเก่าของท่าน มองเห็นท่านอยู่ ท่านเดินจงกรมอยู่เราไม่กล้านอนน่ะ ครูบาอาจารย์ยังไม่นอนเลย ลูกศิษย์นอนก่อน เสียสถาบันนักปฏิบัติ ก็นั่งสมาธิ เดินก็ไม่ไหวแล้ว หนาวพิลึกพิลั่นเลย คอยนั่งสมาธิ คอยลืมตา หลวงปู่ยังเดินอยู่ กะว่าสี่ทุ่มท่านคงพักมั้ง ปลอบใจตัวเอง เปล่าสี่ทุ่มก็ไม่พักนะ ห้าทุ่ม ห้าทุ่มแล้วหลวงปู่ พอเสร็จแล้วดึกๆมากนะ เห็นท่านพัก ท่านพักเราก็รีบนอนเลย นอนไปจนถึงตีหนึ่งกว่าๆ ตีสองอะไรอย่างนี้ อู๊ยมันหนาวจัดนะ ตื่นมา ชะโงกดู อุ๊ย..หลวงปู่มาเดินอยู่อีกแล้ว ต้องลุกขึ้นนั่ง หนาวแทบตายเลย

เห็นท่านเดินจงกรม เป็นเงาตะคุ่มๆนะ มืดๆ ท่านไม่ได้เปิดไฟอะไรไว้ ในห้องที่ท่านอยู่มืดๆ แต่พอมองเห็น เพราะผนังมันเป็นกระจก ด้านหนึ่งพระจันทร์มันก็ส่องอะไรอย่างนี้ เห็นท่านเดินตะคุ่มๆ ใจก็สงสัยขึ้นมา เอ๊..หลวงปู่ หลวงปู่เดินจงกรมเนี่ย หลวงปู่เอามือไว้ตรงไหน ไว้อย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าเอาไว้อย่างนี้ แต่ละสำนักเขาสอนไม่เหมือนกัน นึกถามท่านนะ ถามจบปุ๊บท่านก็.. เนี่ย เดินอย่างนี้เลยนะ อ๋อเข้าใจแล้วครับ พอใจบอกว่าเข้าใจแล้วครับ ท่านก็เอามือเก็บ

มันไม่ได้อยู่ที่ท่าทาง อยู่ที่สติ พออีกวันไปหาท่าน ท่านก็พูดเรื่องการปฏิบัติ ให้ทำด้วยความมีสติ เพราะฉะนั้นอิริยาบถท่าทางอะไร ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ บางคนแกว่งแขนแล้วสติกระเด็นไปหมดเลยใช่มั้ย ก็เลยชอบให้นิ่งๆ มือเคลื่อนไหวมากๆนะจิตใจกระเจิดกระเจิงไป บางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า นั่นไม่สำคัญหรอก สำคัญที่รู้ทันจิต เพราะฉะนั้นเดินไปแล้วให้มีสติรักษาจิตอยู่ จิตหนีไปแล้วรู้ทัน จิตไปคิดแล้วรู้ทัน จิตไปเพ่งรู้ทัน เนี่ยจะได้สมาธิขึ้นมา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องฝึกทุกวัน

mp3 for download : ต้องฝึกทุกวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ :ใจเราก็ต้องมีสมาธินะ ค่อยๆฝึก สมาธิให้ใจมันตั้งมั่นออกมา สมาธิไม่ใช่แปลว่าสงบ สมาธิแปลว่าใจตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต ให้คอยรู้ทันเวลาจิตมันไหลไป จิตมันเคลื่อนไป

ยกตัวอย่างเราหัดไป ทุกวันต้องซ้อมนะ พุทโธพุทโธไป หายใจไป ทุกวันต้องทำ ทำวันหนึ่ง ๑๐ นาทีก่อนก็ยังดี ต่อไปจะเพิ่มได้เอง พอเห็นผลของการปฏิบัติแล้ว มันจะเพิ่มเวลาปฏิบัติเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ

ทุกวันทำในรูปแบบนะ พุทโธไป หายใจไป อะไรอย่างนี้ แล้วคอยรู้ทัน จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตเคลื่อนไป รู้ทัน จิตจะเคลื่อนไปได้ ๒ แบบนะ จิตเคลื่อนไปคิดเนี่ย จิตจะไหลสะเปะสะปะไป กับเคลื่อนไปเพ่ง อย่างรู้ลมหายใจนะ ก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจบ้าง พุทโธพุทโธนะ ก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งจิตไว้บ้าง จะเคลื่อน ดูท้องพองยุบ จิตก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งท้องบ้าง ไปเดินจงกรมนะ ก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งเท้าบ้าง บางคนเพ่งร่างกายทั้งร่างกาย บางคนไปแปลคำว่า “รู้ตัวทั่วพร้อม” เป็นการเพ่งทั้งตัวเลย เพ่งร่างกายทั้งตัวเลยนะ เนี่ย อย่างนี้เรียกว่าเพ่งทั้งตัว ทำอะไรรู้หมดเลยนะ แต่ใจมันจะแข็งๆ อย่างนี้ใช้ไม่ได้จริง

เพราะฉะนั้นเราฝึกไปให้สบาย ถึงเวลาไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ ไม่ถนัดนั่งก็เดิน ไม่ถนัดเดินก็นั่ง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๕ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอรหันต์ส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลนะ ก่อนที่จะบรรลุพระอรหันต์ ก่อนที่จะบรรลุพระโสดาฯอะไรอย่างนี้ ก็ทำฌานไม่ได้เหมือนพวกเรานี้เอง ยกตัวอย่างเมื่อวานนี้ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟัง พวกที่ไม่ได้มา เล่าย่อๆนิดนึง

พระพุทธเจ้าท่านอยู่กับพระ หมู่สงฆ์จำนวนมากนะ แล้วท่านก็อธิบายให้สงฆ์ฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เนี่ย เป็นพระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ๖๐ องค์ อภิญญา ๖ อีก ๖๐ องค์ ได้อุภโตภาควิมุตติ ๖๐ องค์ พระอรหันต์ ๓ จำพวกนี้ต้องทรงฌาน รวมแล้ว ๑๘๐ องค์ อีก ๓๒๐ องค์ คือคนอย่างพวกเรานี่เอง

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราเข้าฌานไม่ได้เราจะสิ้นหวังเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ เราก็ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติที่พอเหมาะพอควรกับสิ่งที่เราเป็นสิ่งที่เรามีอยู่ เรามีความฟุ้งซ่านมาก เราไม่ได้มีสมาธิมาก เข้าฌานไม่เป็น เราก็มาฝึกให้ได้สมาธิชนิดตั้งมั่น แต่มันจะตั้งอยู่ชั่วขณะเท่านั้นเอง ไม่ตั้งนาน ไม่ใช่อัปนาสมาธิ แต่จะตั้งเป็นขณะๆเรียกว่า ขณิกสมาธิ จิตตั้งเป็นขณะๆนะ

ขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสมาธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน

เพราะฉะนั้นๆเราหัดพุทโธๆนะ จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เราหัดรู้ลมหายใจนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา รู้ลมหายใจอยู่ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ถ้ารู้ทันว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นจะต้องทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเสียก่อนนะ ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน เดี๋ยวก็ไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ดูไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นเบื้องต้นทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่งก่อน พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็รู้นะ จิตเคลื่อนไปเมื่อไหร่ให้รู้ทัน

ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เจตนาให้ตั้ง มันตั้งของมันเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๙ ถึงนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ความจริงของกายของใจได้ด้วยการรู้ด้วยความเป็นกลาง

mp3 for download : รู้ความจริงของกายของใจได้ด้วยการรู้ด้วยความเป็นกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สำหรับชาวพุทธเรา มาสังเกตการณ์ร่างกาย มาสังเกตการณ์จิตใจ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย ว่ามันเป็นอย่างไร มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตา อันนี้ไม่ต้องไปคิดถึงมัน ถึงเวลามันจะเห็นเองหรอก เพราะว่าความจริงมันไม่เที่ยง ความจริงมันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เราไปดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร

แต่จะไปดูได้นะ ใจต้องถอยออกมาเป็นคนดู ไม่มี Bias (อคติ – ผู้ถอด) ไม่มี Bias เพราะว่าชอบมัน ไม่มี Bias เพราะว่าเกลียดมัน ไม่มี Bias เพราะว่ามีความเชื่อเก่าๆแฝงอยู่ในใจของตัวเองแล้วนำความเชื่อเก่าๆนั้นไปตัดสิน แต่ต้องถอยตัวออกมาเป็นคนดู มาเป็นกรรมการ คล้ายเราเป็นผู้พิพากษานะ เราไม่ชี้ผิดชี้ถูกใคร (หมายถึง เป็นผู้พิพากษาในช่วงที่ฟังการไต่สวนคดีความ – ไม่มี Bias แต่ไม่ต้องถึงกับชี้ถูกชี้ผิดใคร – ผู้ถอด) แต่ใจเราต้องเป็นกลางจริงๆ หรือเป็นกรรมการห้ามมวยนะ ใจต้องเป็นกลางจริง แต่ถ้าหากไปเล่นมวยไว้ข้างหนึ่งนะ มันไม่เป็นกลางแล้ว มีส่วนได้เสียแล้ว

เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่มีส่วนได้เสียกับกายกับใจของเราเองนะ เราถึงจะเห็นความจริงของกายของใจได้ วิธีการก็คือ ต้องมาฝึกจิตให้ได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่นออกมา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

mp3 for download : เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อความมักน้อย(สมถะ – ผู้ถอด) เพื่อความสันโดษ(พอเพียง ยินดีในสิ่งที่ตนมี ในสิ่งที่ตนได้มาตามความชอบธรรม ประกอบด้วยศีลด้วยธรรม ตามกฎหมาย – ผู้ถอด) เพื่อความไม่คลุกคลี(วิเวก – ไม่คลุกคลีด้วยอกุศล ด้วยกิเลส เว้นแต่ทำตามหน้าที่อันสมควรแก่ธรรม สมควรตามความรับผิดชอบ – ผู้ถอด) เป็นเพื่อความพัฒนาของศีล เป็นไปเพื่อความมีสมาธิ

สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ จิตสงบในอารมณ์อันเดียว จิตใจของเราโดยปกตินี้ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา มันวิ่งไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ วิ่งไปหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง อยากจะมีความสุขวิ่งไปดูหนัง ดูแล้วยังไม่หายกลุ้มวิ่งไปฟังเพลง ฟังเพลงแล้วหิวอีกแล้วก็วิ่งไปหาอะไรกินอีก จิตใจนี้จะวิ่งพล่าน พล่าน พล่าน พล่าน ไปตลอดเวลาเลย เรียกว่าใจฟุ้งซ่าน

ถ้าต้องการฝึกสมาธิให้ใจสงบนะ เรามารู้จักเลือกอารมณ์ ถ้าจิตของเราอยู่ในอารมณ์ชนิดไหนที่มันไม่ยั่วกิเลส เป็นอารมณ์ที่ดี อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นแล้วมีความสุข จุดสำคัญอยู่ที่ว่า เลือกอารมณ์ที่มีความสุขมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต เมื่อจิตได้อยู่ในอารมณ์ที่มีความสุขอันเดียวนะ จิตจะไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นๆ จิตก็สงบ นี่คือหลักของสมถกรรมฐาน เคล็ดลับมีเท่านี้เอง ที่นั่งสมาธิกันปางตาย ทำแล้วยังไงก็ไม่สงบ ก็เพราะไม่รู้เคล็ดลับ หลวงพ่อนั่งสมาธิเป็นตั้งแต่ ๗ ขวบ นะ ก็เลยสรุปเคล็ดลับได้ว่าเราต้องอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข

อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กๆเนี่ย หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ อยู่กับลมหายใจนะ มีความสุข หายใจแล้วมีความสุข หายใจแล้วมีความสุข ใจก็ไม่ฟุ้งไปที่อื่นเลย ใจก็จะอยู่สงบอยู่กับลมหายใจ ลมหายใจกลายเป็นแสงไป ลมก็สว่างกลายเป็นแสงสว่าง เป็นดวงสว่างขึ้นมา ก็สงบอยู่กับแสง นี่คือหลักของการทำสมาธิ (หมายถึง สมถกรรมฐษน – ผู้ถอด)

สมาธิบางอย่างไม่มีแสงนะ ไม่มีดวงนิมิตร อย่างการเจริญเมตตาเนี่ย เราแผ่เมตตาไปเรื่อย จะไม่มีดวงปฏิภาคนิมิตรเกิดขึ้น จิตก็ทำความสงบปราณีตได้ คนไหนขึ้โมโห ก็แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ เวลาที่แผ่เมตตาไม่ต้องไปเค้นเมตตาออกจากใจ แผ่ๆอย่างนี้นะ ไม่ไปหรอก เมตตานะ แต่ถ้าจะแผ่ก็นั่งนึกเอา นั่งนึกเอา “สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้สัตว์ทั้งหลายได้รับส่วนบุญที่เราทำแล้วทั้งหมดด้วยเถิด ทุกๆคน ทุกๆคน เลย” เนี่ยนึกไปเรื่อยนะ นึกอย่างนี้เรื่อยๆ บริกรรมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆเย็นขึ้นมา ใจค่อยสงบสบาย พวกขี้โมโหนะ แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ แผ่ทั้งวันเลยก็ได้ ใจมันจะค่อยเย็นๆมีความสุขขึ้นมา

คนขี้โลภ พวกราคะมากอะไรอย่างนี้ จะพิจารณาร่างกาย ดูร่างกายเป็นส่วนๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ของไม่สวยไม่งาม พิจารณาไปเรื่อย ใจก็สงบจากราคะ ไม่ฟุ้งไป

ใจโกรธก็คือใจมันฟุ้งไป กระทบอารมณ์แล้วไม่พอใจ ในโลภก็คือมันฟุ้งไป ไปกระทบอารมณ์แล้วพอใจ ใจหลงก็คือใจมันฟุ้งไปตามอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้นหากว่าคนไหนขี้หลง ใจลอยบ่อยอะไรบ่อยนะ หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป พอจิตหนีไปแล้วก็รู้เอา ใจก็ค่อยสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขได้ล่ะก็ สมาธิก็เกิด ได้สมาธิชนิดที่ ๑

สมาธิชนิดที่ ๑ เป็นสมาธิที่จิตสงบในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” อารัมณะ ก็คือคำว่า อารมณ์นั่นเอง คนไทยไปตัดไม้หันอากาศออก ถ้าภาษาที่ถูกก็คือ อารัมณะ ยกตัวอย่างพระอานนท์นะ คนไทยเรียกพระอานนท์เนี่ย ถ้าเราย้อนขึ้นไทม์แมชชีนไปวัดเชตวัน ไปถามหาพระอานนท์ จะไม่มีใครรู้จักเลย ต้องถามหาพระอานันท์ เนี่ยเขาตัดไม้หันอากาศออกไป คนไทย

เพราะฉะนั้นอารัมณูปนิชฌานนะ ให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวได้เพราะจิตรู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข ถ้าทำได้นะ จิตใจก็มีความสุข ร่มเย็นเป็นสุข ไม่เครียด ไม่เครียดเลย แต่ว่าไม่เดินปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

mp3 (for download) : มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราพยายามตั้งใจรักษาศีล ๕ ใครมันจะหัวเราะก็ช่างมัน ตั้งใจฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนั้นแหละ คือสภาวะที่จิตทรงสมาธิที่ถูกต้องอยู่ ความรู้เนื้อรู้ตัวนี่ขาดไม่ได้เด็ดขาดเลย บางคนนั่งสมาธิจนกระทั่งโลกธาตุดับนะ ร่างกายหายไป โลกหายไป เหลือจิตดวงเดียว ก็ยังไม่ขาดความรู้สึกตัว จิตไม่ขาดสติ มีสติรักษาจิตอยู่ เพราะฉะนั้นสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ ขาดสติเคลิ้มไป เป็นมิจฉาสมาธิทันทีเลย

มีศีล ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา มาฝึกจิตให้อยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิที่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ทรงสมาธิอยู่เฉยๆ ต้องน้อมจิต มีสติระลึกรู้ เห็นความเปลี่ยนแปลงของกาย เห็นความเปลี่ยนแปลงของใจเรื่อยไป มาดูความเปลี่ยนแปลง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เข้าฌานไม่ได้ ก็อาศัยสมาธิทีละขณะ เจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เข้าฌานไม่ได้ ก็อาศัยสมาธิทีละขณะ เจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ในความเป็นจริงแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พระอรหันต์ส่วนใหญ่นี่แหละ ไม่ได้มีฤทธิ์มีเดชอะไร ไม่ได้มีฌานสมาบัติยอดเยี่ยม เข้าฌานคล่องแคล่วว่องไว ส่วนน้อยเท่านั้นแหละที่ทำฌานได้ ส่วนใหญ่ก็คือคนอย่างพวกเรานี่แหละ

ในสมัยพุทธกาลมีครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านนั่งอยู่ ก็มีพระกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่กับท่าน และมีพระอีก ๕๐๐ องค์ แล้วท่านก็ชี้ให้พระ ท่านก็บอกพวกพระว่า ในพวกพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มีพระอรหันต์ที่ได้วิชาสาม ระลึกชาติได้ รู้ว่าคนไหนตายแล้วไปเกิดที่ไหน แล้วก็ล้างกิเลสได้ เรียกว่าวิชา ๓ มีอยู่ ๖๐ องค์ จาก ๕๐๐ องค์ คือ ๑๒% พวกที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ต้องทรงฌาน

อีก ๖๐ องค์ คืออีก ๑๒% ได้อภิญญา ๖ แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ มีตาทิพย์ มีเจโตปริยายญาณรู้จิตผู้อื่นได้ ทำอะไรได้หลายอย่าง นี่ก็แค่ ๑๒% คนที่ได้อภิญญา ๖ เนี่ย ต้องได้ฌาน อีกพวกหนึ่ง ๖๐ องค์ เป็นอุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุติเนี่ย คือท่านผู้บรรลุพระอรหันต์ด้วยการที่เข้าถึงอรูปฌาน พระอรหันต์ส่วนใหญ่ที่บรรลุเนี่ย ไม่ใช่อุภโตภาควิมุติ แต่เข้าฌานในระดับรูปฌาน ฌาน ๑ – ๒ – ๓ – ๔ แล้วไปบรรลุพระอรหันต์ในฌาน ๑ – ๒ – ๓ – ๔ มีพระอรหันต์เพียง ๖๐ องค์เท่านั้นที่เข้าถึงอรูป จาก ๕๐๐ องค์ ก็ ๑๒% เหมือนกัน

ทำไมเรียกว่าอุภโตภาควิมุติ อุภโตภาควิมุติแปลว่าหลุดโดยส่วนทั้งสอง หลุดจากรูปธรรมด้วยการเข้าอรูปฌาน หลุดจากนามธรรม ปล่อยวางนามธรรม ได้ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้นเป็นพระอรหันต์ที่แปลกออกไปอีกพวกหนึ่ง พวกนี้มีฌานเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นพวกที่มีฌาน คือพวกวิชาสาม ๖๐ องค์ พวกอภิญญา ๖ ๖๐ องค์ แล้วก็พวกอุภโตภาควิมุติอีก ๖๐ องค์ รวมเป็น ๑๘๐ องค์ คือ ๓๖% ที่เหลือคือคนอย่างพวกเรานี่แหละ อีกเท่าไหร่ ๖๔ %

ถ้ามาถึงวันนี้นะ คนที่ทรงฌานได้มีไม่ถึง ๓๐ กว่าเปอร์เซนต์หรอก ยิ่งน้อยหนักเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าได้น้อยเนื้อต่ำใจว่าเราเข้าฌานไม่เป็น กระทั่งในสมัยพุทธกาล พระอรหันต์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทรงฌานขนาดนั้น มาได้ฌานทีหลีงเมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว อย่างน้อยก็ได้ปฐมฌานเป็นของแถม

เพราะฉะนั้นพวกเราอาศัยสมาธิที่เรามีเล็กๆน้อยๆนี่ล่ะ อย่าดูถูกมัน น้ำหยดทีละหยดก็เต็มตุ่มได้ เราก็มีสมาธิทีละขณะ ทีละขณะ นี้แหละ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำๆหยุดๆ จิตจะไม่เห็นไตรลักษณ์

mp 3 (for download) : ทำๆหยุดๆ จิตจะไม่เห็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : ช่วงนี้เวลาที่สมาธิมันลดลงก็จะยังพอเห็นได้บ้าง แต่คุณภาพการเห็นมันยังไม่ดีเท่าไหร่

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ๆ ขาดสมาธิไม่ได้หรอก มันจะเดินปัญญาไม่ได้จริง

โยม : แต่ว่าเวลามันวุ่นวายมากๆ สมาธิมันก็ดร็อปลงไปเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..นะ เราก็ต้องฝึก สมาธิเป็นของไม่เที่ยง ต้องซ้อม ซ้อมให้ใจตั้งมั่น ใจไหลไปแล้วคอยรู้ อะไรอย่างนี้ ซ้อมเรื่อยๆนะ สมาธิจะดี

โยม : ต้องปรับอะไรเป็นพิเศษมั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ทำอยู่ดีแล้วล่ะนะ เพราะฉะนั้นช่วงไหนมันเสื่อมลง ก็ภาวนาของเราไปตามปกตินั่นแหละ ทุกวันทำให้สม่ำเสมอ อย่าทำๆหยุดๆก็แล้วกัน (โยม : ครับ) ถ้าทำๆหยุดๆแล้วเนี่ย จิตจะไม่เห็นไตรลักษณ์ มันจะรู้สึกว่าช่วงนี้ทำแล้วก็เจริญ พอหยุดแล้วก็เสื่อม เนี่ย มันเสื่อมเพราะฉันไม่ได้ทำ ถ้าฉันทำก็เก่ง อะไรอย่างนี้ แต่ถ้าทั้งๆที่เราทำสม่ำเสมอแล้วเสื่อมให้ดูนะ อันนี้ดีมากเลย หายซ่าเลยล่ะ

โยม : คือปัจจุบันนี้ก็ยังทำสม่ำเสมออยู่ แต่มันก็ แต่ผมรู้สึกว่ามันเสื่อมไปตามเหตุการณ์ภายนอกด้วยครับ พอภายนอกวุ่นวาย มันก็จะเสื่อมลงไปล

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..นะ แสดงว่าข้างนอกยังมีอิทธิพล ก็ฝึกไปอีก ทำต่อ จนวันหนึ่งข้างนอกก็ไม่มีอิทธิพล ข้างในก็ไม่มีอิทธิพล จิตเป็นอิสระ ตอนนี้จิตเราไม่มีอิสระ รู้สึกมั้ย มีสิ่งเร้าจิตก็แกว่งตามมัน เอานะ ต้องฝึกอีก ยังไม่พอ ถ้าฝึกพอแล้ว มันเร้าก็เร้า เรื่องของมันนะ ใจเราก็อยู่สบาย สว่างอยู่อย่างนั้น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๓
File: 550630B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้าเรามี ความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี เราปรารภความเพียร เราพัฒนาสติ พัฒนาสมาธิ พัฒนาปัญญาเรื่อยไป ในที่สุดวิมุุตติก็ต้องเกิด ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจะต้องเกิดขึ้นมา นี่เป็นทางเดินที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้นะ สอนเอาไว้ พวกเราต้องเดินตาม ไม่ใช่ว่ามาฟังหลวงพ่อนะ กลับบ้านไปสติแตกตลอด คลุกคลีตลอด เมาท์แตกตลอดอะไรนี้นะ แล้วผ่านไป ๓ เดือนแล้วบอก ไม่เห็นเปลี่ยนแปลงเลย จะเปลี่ยนอะไรยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติเลย

งั้นปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ แล้วเราถึงจะรู้ว่าธรรมะมีจริง ถ้าเราทำธรรมะที่หลวงพ่อบอกนี้ได้นะ เรามักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา ๗ ประการนี้ได้ เราจะเจอประการที่ ๘ คือไม่เนิ่นช้า ธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของมหาบุรุษประการที่ ๘ ไม่เนิ่นช้า

เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างรวดเร็วมากเลย แล้วเราจะทึ่งว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง เราจะเชื่อแน่นแฟ้น เพราะเราเห็นด้วยตัวของเราเอง ไม่ใช่เชื่อเพราะน้อมใจเชื่อ ศรัทธาที่เกิดจากการน้อมใจเชื่อ ยังแปรปรวนได้เรียกจรสัทธา ศรัทธาที่กลับกลอก แต่ถ้าเราได้เห็นความจริง เราประจักษ์ถึงผลแล้วนะ เป็นตายยังไงเราก็ยังเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าอยู่ เรารู้ว่าธรรมะมีจริงๆ

งั้นพวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้าเรามี ความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี เราปรารภความเพียร เราพัฒนาสติ พัฒนาสมาธิ พัฒนาปัญญาเรื่อยไป ในที่สุดวิมุุตติก็ต้องเกิด ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจะต้องเกิดขึ้นมา นี่เป็นทางเดินที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้นะ สอนเอาไว้ พวกเราต้องเดินตาม ไม่ใช่ว่ามาฟังหลวงพ่อนะ กลับบ้านไปสติแตกตลอด คลุกคลีตลอด เมาท์แตกตลอดอะไรนี้นะ แล้วผ่านไป ๓ เดือนแล้วบอก ไม่เห็นเปลี่ยนแปลงเลย จะเปลี่ยนอะไรยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติเลย

งั้นปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ แล้วเราถึงจะรู้ว่าธรรมะมีจริง ถ้าเราทำธรรมะที่หลวงพ่อบอกนี้ได้นะ เรามักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา ๗ ประการนี้ได้ เราจะเจอประการที่ ๘ คือไม่เนิ่นช้า ธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของมหาบุรุษประการที่ ๘ ไม่เนิ่นช้า

เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างรวดเร็วมากเลย แล้วเราจะทึ่งว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง เราจะเชื่อแน่นแฟ้น เพราะเราเห็นด้วยตัวของเราเอง ไม่ใช่เชื่อเพราะน้อมใจเชื่อ ศรัทธาที่เกิดจากการน้อมใจเชื่อ ยังแปรปรวนได้เรียกจรสัทธา ศรัทธาที่กลับกลอก แต่ถ้าเราได้เห็นความจริง เราประจักษ์ถึงผลแล้วนะ เป็นตายยังไงเราก็ยังเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าอยู่ เรารู้ว่าธรรมะมีจริงๆ

งั้นพวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๖) เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่เป็นทางที่เราต้องดำเนินต่อ เริ่มจากอะไร มักน้อยใช่มั้ย มักน้อยหมายถึงมีเยอะก็บริโภคน้อย สันโดษก็ยินดีพอใจในสิ่งที่ได้มา จากการที่เราทุ่มเททำงานเต็มที่แล้ว กระทั่งเราภาวนานะ เราทำเต็มที่แล้ว มันได้แค่นี้ก็พอใจแค่นี้ สันโดษ ไม่คลุกคลี ไม่เฮๆฮาๆ ปรารภความเพียร วันๆนึงก็คิดแต่จะสู้กับกิเลส จะล้างกิเลสออกจากใจ จะปลดความทุกข์ออกจากใจ ปรารภความเพียร ฝึกสติ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก ฝึกสมาธิ พุทโธไปหายใจไป จิตไหลไปคิดก็รู้ จิตไหลไปเพ่งก็รู้

พอเราฝึกได้สติ เราฝึกได้สมาธิแล้ว คราวนี้เราต้องเจริญปัญญาต่อ การเจริญปัญญาก็คือการมีสติรู้กายรู้ใจตามที่เค้าเป็น แต่ต้องรู้ด้วยจิตที่ทรงสมาธิ  จิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางอยู่ ถ้าจิตไม่ทรงสมาธิจิตก็ไหลไป ไปรู้ลมหายใจ จิตก็ไหลไปที่ลมหายใจ มันก็ไม่เกิดปัญญา ถ้าสติระลึกรู้ลมหายใจ จิตตั้งมั่นเป็นคนดู มันจะเห็นเลยร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา เห็นเองเลย จะเห็นเลย เห็นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเลย

การเจริญปัญญานั้นต้องเห็นไตรลักษณ์ ในนักธรรมเอกเค้าสอนนะ บอกว่าถ้ามีปัญญานะเห็นความไม่เที่ยงของสังขาร จิตจะเบื่อหน่ายในความทุกข์ นี่คือทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้น ถ้าเรามีปัญญาเห็นความทุกข์ของสังขาร จิตจะเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่คือทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้นเหมือนกัน ถ้าเราเห็นสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา มีปัญญาเห็นสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา จิตก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์อีก นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้น

เพราะงั้นทางแห่งความบริสุทธิ์ ทางแห่งวิสุทธิ คือการที่เรามีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม ของกายของใจนั่นเอง งั้นหลักของวิปัสสนากรรมฐานอยู่ตรงนี้เอง

งั้นเรามีสตินะ รู้กายอย่างที่มันเป็น มันเป็นอะไร มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่เราจะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้นะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นคนดู ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งกายทั้งใจของเรานั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่แล้วแต่ไหนแต่ไร เราจะเห็นหรือเราจะไม่เห็น พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้หรือไม่ตรัสรู้นะ รูปนามกายใจนี้ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่แล้ว แต่ไม่มีวิธีที่จะไปรู้ไปเห็น

เครื่องมือที่จะไปรู้ไปเห็นที่เราพัฒนาขึ้นมา ก็คือมีสตินั่นเอง ตัวนึง เครื่องมือที่ ๑ มีสติคอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจ เครื่องมือตัวที่ ๒ คือมีจิตตั้งมั่น คือมีสมาธิจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคนดู ตั้งมั่นแล้วก็ต้องเป็นกลางด้วยถึงจะดี ตั้งมั่นแล้วบางทีไม่เป็นกลาง งั้นต้องฝึกจนกระทั่งตั้งมั่นด้วย เป็นกลางด้วย

วิธีฝึกให้เป็นกลางก็คือรู้ทันว่ามันไม่เป็นกลาง วิธีฝึกให้ตั้งมั่นก็คือรู้ว่ามันไหลไป อาศัยสติรู้ทันจิตนี้แหล่ะ ถ้าจิตไหลไปเรารู้ทันนะ จิตจะตั้งมั่น ถ้าจิตไปรู้อารมณ์แล้วยินดียินร้ายขึ้นมา เรามีสติไปรู้ทันอีก จิตจะเป็นกลาง

งั้นอาศัยตัวนี้เองนะ เราจะเห็นไตรลักษณ์ จะเห็นเอง ไม่ต้องคิดเลย ไตรลักษณ์จะปรากฎต่อหน้าต่อตา ถ้าเรายังคิดเรื่องไตรลักษณ์นะ ยังไม่ใช่วิปัสสนาแท้ วิปัสสนาแปลว่าเห็น ปัสสนะคือการเห็น ไม่ใช่วิตก วิตกมันตรึกเอาคิดเอา

บางคนไปสอนกันนะ บอกว่าทำวิปัสสนาต้องคิดพิจารณา อันนั้นเป็นอุบายเบื้องต้น เพื่อให้จิตเดินปัญญาเท่านั้นเอง บางคนก็ต้องทำ บางคนไม่จำเป็น บางคนที่เคยเจริญปัญญามาแต่ชาติก่อนแล้วนะ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาปุ๊บ ขันธ์แตกตัวออกไปเลย เห็นขันธ์แสดงไตรลักษณ์เลย ไม่ต้องคิดเลยบางคนพอรู้ตัวขึ้นมาเฉย มีสมาธิแล้วนะ จิตก็เฉยอยู่อย่างนั้นเลย พวกนี้ต้องคิดพิจารณา เป็นการกระตุ้นให้จิตเดินปัญญา

แต่ตรงที่กระตุ้นให้จิตเดินปัญญาด้วยการคิดพิจารณา ยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน ยังเป็นวิตก เป็นการตรึกอยู่ วิปัสสนานั้นต้องเห็นสภาวะแท้ๆ เห็นรูปธรรมแท้ๆ นามธรรมแท้ๆ เช่นเห็นความโกรธมันเกิดขึ้นมาผุดขึ้นมา เห็นความโกรธตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไปให้ดู เห็นอนิจจังของความโกรธ เห็นความทนอยู่ไม่ได้ของความโกรธ เห็นเลยความโกรธมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ นี่เห็นความเป็นอนัตตาของความโกรธ

ถ้าเห็นถึงจะเป็นวิปัสสนา เพราะปัสสนแปลว่าเห็น ไม่ใช่ปัสสนแปลว่าคิด อย่างนี้แหล่ะเรียกว่าเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๕) เจริญสมาธิ

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๕) เจริญสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ต้องทำอีกตัวนึงก็คือการฝึกให้จิตตั้งมั่น ให้จิตสงบ ให้จิตตั้งมั่น เป็นสิ่งที่ควรฝึกควรทำ ควรปฏิบัติ

เห็นมั้ยสิ่งที่ทางดำเนินนะ ไม่ใช่แค่รู้ทฤษฎีแล้วก็ไม่ได้ดำเนินต่อเลย รู้หลักปฏิบัติแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ไม่รู้จะปฏิบัติยังไง พระพุทธเจ้าก็สอนทางดำเนินของจิตให้ มีความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เนี่ยสิ่งที่ท่านสอน ท่านสอนทุกสิ่งทุกอย่างมาเพื่อนำมาสู่การเจริญปัญญานั่นเอง

ให้มีสติก็รู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจ รู้ความมีอยู่ ของกายของใจ รู้ความเคลื่อนไหวของกายของใจไป ในขณะที่รู้ความเคลื่อนไหวของกายของใจนั้นน่ะ ต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นคือจิตที่ทรงสมาธิอยู่

จิตของเราปกติไม่มีสมาธิ จิตของเราจะไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจตลอดเวลา จิตฟุ้งซ่านตลอด ไม่มีสมาธิ แล้วมาฝึกให้จิตมีสมาธิ โดยการรู้ทันจิตที่ไหลไป หรือจะทำสมาธิก็ได้ ทำฌาน ทำฌานที่ถูกต้อง ซึ่งคนยุคเราเนี่ยทำยาก แค่อุปจารสมาธิก็ยากแล้ว อุปจารฯยกตัวอย่างให้ฟัง เช่น เราหายใจเข้าหายใจออกนะ ลมหายใจจะตื้นขึ้นๆนะ จนกลายเป็นแสงสว่าง สว่างอยู่กับที่ตรงนี้ เราเห็นแสงสว่างนะ แล้วย่อให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้นะ ตามใจชอบนะ ตรงนี้แหล่ะได้อุปจารฯ

ยังทำไม่ถึงเลยใช่มั้ย เล่นยังไม่ได้เลย ไม่ชำนาญ อย่าว่าแต่อัปปนาฯเลย อุปจารฯยังทำไม่ค่อยได้เลยคนรุ่นเรา แต่ไม่ต้องท้อใจ เอาขณิกสมาธิ สมาธิเป็นขณะๆก็พอแล้ว ที่พอสำหรับการบรรลุมรรคผลนิพพาน แม้แต่คนในครั้งพุทธกาลนะ ส่วนใหญ่ของพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาล ท่านก็ใช้ขณิกสมาธินี้แหล่ะ ท่านไม่ได้มีฌานมีฤทธิ์มีเดชอะไรเลย ก็เป็นคนธรรมดาเหมือนพวกเรานี้เอง พระอรหันต์ส่วนใหญ่ก็เป็นคนอย่างพวกเรานี่แหล่ะ ๖๐ กว่าเปอร์เซนต์

งั้นเรามีสมาธิเป็นขณะๆนี่ก็พอแล้ว วิธีฝึกสมาธิเป็นขณะนะ หาเครื่องอยู่ให้จิตไว้ พุทโธก็ได้ รู้ลมหายใจก็ได้ ดูท้องพองยุบก็ได้ ขยับมือทำจังหวะก็ได้ ไปเดินจงกรมก็ได้ แต่ไม่ใช่พุทโธให้จิตนิ่ง ไม่ใช่หายใจให้จิตนิ่ง ไม่ใช่ดูท้องให้จิตนิ่ง ไม่ใช่ขยับมือให้จิตนิ่ง ไม่ได้ไปเดินให้จิตนิ่ง แต่พุทโธเพื่อรู้ทันจิต หายใจเพื่อรู้ทันจิต ดูท้องพองยุบเพื่อรู้ทันจิต เดินจงกรมก็เพื่อรู้ทันจิต พุทโธไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน เดินจงกรม จิตหนีไปคิด รู้ทัน ดูท้องพองยุบ จิตหนีไปคิด ก็รู้ทัน พุทโธอยู่ จิตไหลไปเพ่งพุทโธ ดูลมหายใจ จิตไหลไปเพ่งลมหายใจ ดูท้องพองยุบ จิตไหลไปเพ่งท้อง รู้ทัน

จิตมันไหลไป ไหลไปสองแบบ ไหลไปคิดนี่หลงไปเลย กับไหลไปเพ่ง ถ้าจิตไหลไปแล้วเรารู้ทัน ว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น ไม่ไหล ตั้งมั่นขึ้นมาจะได้เป็นขณิกสมาธิขึ้นมา เป็นขณะๆ แต่เดิมนั้นนานกว่าจะได้ขณิกสมาธิขึ้นมาสักขณะหนึ่งนะ หลงมาตั้งชั่วโมงแล้วค่อยรู้ว่าหลงไป ได้สมาธิขึ้นมาแว้บหนึ่ง ฝึกทุกวันไม่ท้อถอย พุทโธไป หายใจไ แล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตหนีไปเพ่ง รู้ทัน ต่อไปพอจิตขยับตัวกริ๊กเดียวก็รู้แล้ว จิตก็ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา

การที่จิตตั้งมั่นทีละขณะ ทีละขณะ ทีละขณะ แต่ตั้งบ่อยๆนะ มันจะเกิดสภาวะความรู้สึกขึ้นมาว่า เหมือนมันตั้งอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นคนที่ออกจากฌานมา มาอยู่ในโลกธรรมดาเนี่ย ในความเป็นจริงแล้วตั้งเป็นขณะเหมือนกัน แต่มันเกิดซ้ำๆ เกิดบ่อยๆ มันเคยชินที่จะเกิดความรู้สึกตัว

ทีนี้พวกเราไม่ได้ทรงฌาน ก็ฝึกทีละขณะๆนี้แหละ ต่อไปมันจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ เคยหลงวันละครั้ง(ตั้งแต่ตื่นจนหลับ – ผู้ถอด)ก็กลายเป็นชั่วโมงละครั้ง นี่ก็รู้สึกตัวได้ถี่ขึ้นแล้ว ชั่วโมงหนึ่งเคยหลงครั้งเดียว ต่อมาหลง ๖๐ ครั้ง รู้สึกตัวขึ้นมาได้ถี่ขึ้นมาแล้ว ต่อไปวินาทีหนึ่งเนี่ย เห็นเลย จิตเดี๋ยวก็รู้เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้เดี๋ยวก็หลง วินาทีหนึ่งก็เห็นความเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามันถี่มากๆเข้า จะรู้สึกเหมือนรู้ตัวอยู่ทั้งวันเลย คราวนี้ จะเป็นอาการเดี่ยวกันกับพวกที่ทรงฌาน แต่มันทำยาก จะอยู่ได้ช่วงหนึ่งเดี๋ยวก็หมดแรงแล้ว หมดแรงแล้วจะฟุ้งไป ส่วนพวกทรงฌาน จะทรงอยู่ได้เป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วันหรอก ก็จะต้องไปทำฌานใหม่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๕) เจริญสมาธิ

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๕) เจริญสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ต้องทำอีกตัวนึงก็คือการฝึกให้จิตตั้งมั่น ให้จิตสงบ ให้จิตตั้งมั่น เป็นสิ่งที่ควรฝึกควรทำ ควรปฏิบัติ

เห็นมั้ยสิ่งที่ทางดำเนินนะ ไม่ใช่แค่รู้ทฤษฎีแล้วก็ไม่ได้ดำเนินต่อเลย รู้หลักปฏิบัติแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ไม่รู้จะปฏิบัติยังไง พระพุทธเจ้าก็สอนทางดำเนินของจิตให้ มีความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เนี่ยสิ่งที่ท่านสอน ท่านสอนทุกสิ่งทุกอย่างมาเพื่อนำมาสู่การเจริญปัญญานั่นเอง

ให้มีสติก็รู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจ รู้ความมีอยู่ ของกายของใจ รู้ความเคลื่อนไหวของกายของใจไป ในขณะที่รู้ความเคลื่อนไหวของกายของใจนั้นน่ะ ต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นคือจิตที่ทรงสมาธิอยู่

จิตของเราปกติไม่มีสมาธิ จิตของเราจะไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจตลอดเวลา จิตฟุ้งซ่านตลอด ไม่มีสมาธิ แล้วมาฝึกให้จิตมีสมาธิ โดยการรู้ทันจิตที่ไหลไป หรือจะทำสมาธิก็ได้  ทำฌาน ทำฌานที่ถูกต้อง ซึ่งคนยุคเราเนี่ยทำยาก แค่อุปจารสมาธิก็ยากแล้ว อุปจารฯยกตัวอย่างให้ฟัง เช่น เราหายใจเข้าหายใจออกนะ ลมหายใจจะตื้นขึ้นๆนะ จนกลายเป็นแสงสว่าง สว่างอยู่กับที่ตรงนี้ เราเห็นแสงสว่างนะ แล้วย่อให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้นะ ตามใจชอบนะ ตรงนี้แหล่ะได้อุปจารฯ

ยังทำไม่ถึงเลยใช่มั้ย เล่นยังไม่ได้เลย ไม่ชำนาญ อย่าว่าแต่อัปปนาฯเลย อุปจารฯยังทำไม่ค่อยได้เลยคนรุ่นเรา แต่ไม่ต้องท้อใจ เอาขณิกสมาธิ สมาธิเป็นขณะๆก็พอแล้ว ที่พอสำหรับการบรรลุมรรคผลนิพพาน แม้แต่คนในครั้งพุทธกาลนะ ส่วนใหญ่ของพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาล ท่านก็ใช้ขณิกสมาธินี้แหล่ะ ท่านไม่ได้มีฌานมีฤทธิ์มีเดชอะไรเลย ก็เป็นคนธรรมดาเหมือนพวกเรานี้เอง พระอรหันต์ส่วนใหญ่ก็เป็นคนอย่างพวกเรานี่แหล่ะ ๖๐ กว่าเปอร์เซนต์

งั้นเรามีสมาธิเป็นขณะๆนี่ก็พอแล้ว วิธีฝึกสมาธิเป็นขณะนะ หาเครื่องอยู่ให้จิตไว้ พุทโธก็ได้ รู้ลมหายใจก็ได้ ดูท้องพองยุบก็ได้ ขยับมือทำจังหวะก็ได้ ไปเดินจงกรมก็ได้ แต่ไม่ใช่พุทโธให้จิตนิ่ง ไม่ใช่หายใจให้จิตนิ่ง ไม่ใช่ดูท้องให้จิตนิ่ง ไม่ใช่ขยับมือให้จิตนิ่ง ไม่ได้ไปเดินให้จิตนิ่ง แต่พุทโธเพื่อรู้ทันจิต หายใจเพื่อรู้ทันจิต ดูท้องพองยุบเพื่อรู้ทันจิต เดินจงกรมก็เพื่อรู้ทันจิต พุทโธไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน เดินจงกรม จิตหนีไปคิด รู้ทัน ดูท้องพองยุบ จิตหนีไปคิด ก็รู้ทัน พุทโธอยู่ จิตไหลไปเพ่งพุทโธ ดูลมหายใจ จิตไหลไปเพ่งลมหายใจ ดูท้องพองยุบ จิตไหลไปเพ่งท้อง รู้ทัน

จิตมันไหลไป ไหลไปสองแบบ ไหลไปคิดนี่หลงไปเลย กับไหลไปเพ่ง ถ้าจิตไหลไปแล้วเรารู้ทัน ว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น ไม่ไหล ตั้งมั่นขึ้นมาจะได้เป็นขณิกสมาธิขึ้นมา เป็นขณะๆ แต่เดิมนั้นนานกว่าจะได้ขณิกสมาธิขึ้นมาสักขณะหนึ่งนะ หลงมาตั้งชั่วโมงแล้วค่อยรู้ว่าหลงไป ได้สมาธิขึ้นมาแว้บหนึ่ง ฝึกทุกวันไม่ท้อถอย พุทโธไป หายใจไ แล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตหนีไปเพ่ง รู้ทัน ต่อไปพอจิตขยับตัวกริ๊กเดียวก็รู้แล้ว จิตก็ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา

การที่จิตตั้งมั่นทีละขณะ ทีละขณะ ทีละขณะ แต่ตั้งบ่อยๆนะ มันจะเกิดสภาวะความรู้สึกขึ้นมาว่า เหมือนมันตั้งอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นคนที่ออกจากฌานมา มาอยู่ในโลกธรรมดาเนี่ย ในความเป็นจริงแล้วตั้งเป็นขณะเหมือนกัน แต่มันเกิดซ้ำๆ เกิดบ่อยๆ มันเคยชินที่จะเกิดความรู้สึกตัว

ทีนี้พวกเราไม่ได้ทรงฌาน ก็ฝึกทีละขณะๆนี้แหละ ต่อไปมันจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ เคยหลงวันละครั้ง(ตั้งแต่ตื่นจนหลับ – ผู้ถอด)ก็กลายเป็นชั่วโมงละครั้ง นี่ก็รู้สึกตัวได้ถี่ขึ้นแล้ว ชั่วโมงหนึ่งเคยหลงครั้งเดียว ต่อมาหลง ๖๐ ครั้ง รู้สึกตัวขึ้นมาได้ถี่ขึ้นมาแล้ว ต่อไปวินาทีหนึ่งเนี่ย เห็นเลย จิตเดี๋ยวก็รู้เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้เดี๋ยวก็หลง วินาทีหนึ่งก็เห็นความเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามันถี่มากๆเข้า จะรู้สึกเหมือนรู้ตัวอยู่ทั้งวันเลย คราวนี้ จะเป็นอาการเดี่ยวกันกับพวกที่ทรงฌาน แต่มันทำยาก จะอยู่ได้ช่วงหนึ่งเดี๋ยวก็หมดแรงแล้ว หมดแรงแล้วจะฟุ้งไป ส่วนพวกทรงฌาน จะทรงอยู่ได้เป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วันหรอก ก็จะต้องไปทำฌานใหม่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่