Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

mp3 for download : เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อความมักน้อย(สมถะ – ผู้ถอด) เพื่อความสันโดษ(พอเพียง ยินดีในสิ่งที่ตนมี ในสิ่งที่ตนได้มาตามความชอบธรรม ประกอบด้วยศีลด้วยธรรม ตามกฎหมาย – ผู้ถอด) เพื่อความไม่คลุกคลี(วิเวก – ไม่คลุกคลีด้วยอกุศล ด้วยกิเลส เว้นแต่ทำตามหน้าที่อันสมควรแก่ธรรม สมควรตามความรับผิดชอบ – ผู้ถอด) เป็นเพื่อความพัฒนาของศีล เป็นไปเพื่อความมีสมาธิ

สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ จิตสงบในอารมณ์อันเดียว จิตใจของเราโดยปกตินี้ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา มันวิ่งไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ วิ่งไปหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง อยากจะมีความสุขวิ่งไปดูหนัง ดูแล้วยังไม่หายกลุ้มวิ่งไปฟังเพลง ฟังเพลงแล้วหิวอีกแล้วก็วิ่งไปหาอะไรกินอีก จิตใจนี้จะวิ่งพล่าน พล่าน พล่าน พล่าน ไปตลอดเวลาเลย เรียกว่าใจฟุ้งซ่าน

ถ้าต้องการฝึกสมาธิให้ใจสงบนะ เรามารู้จักเลือกอารมณ์ ถ้าจิตของเราอยู่ในอารมณ์ชนิดไหนที่มันไม่ยั่วกิเลส เป็นอารมณ์ที่ดี อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นแล้วมีความสุข จุดสำคัญอยู่ที่ว่า เลือกอารมณ์ที่มีความสุขมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต เมื่อจิตได้อยู่ในอารมณ์ที่มีความสุขอันเดียวนะ จิตจะไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นๆ จิตก็สงบ นี่คือหลักของสมถกรรมฐาน เคล็ดลับมีเท่านี้เอง ที่นั่งสมาธิกันปางตาย ทำแล้วยังไงก็ไม่สงบ ก็เพราะไม่รู้เคล็ดลับ หลวงพ่อนั่งสมาธิเป็นตั้งแต่ ๗ ขวบ นะ ก็เลยสรุปเคล็ดลับได้ว่าเราต้องอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข

อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กๆเนี่ย หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ อยู่กับลมหายใจนะ มีความสุข หายใจแล้วมีความสุข หายใจแล้วมีความสุข ใจก็ไม่ฟุ้งไปที่อื่นเลย ใจก็จะอยู่สงบอยู่กับลมหายใจ ลมหายใจกลายเป็นแสงไป ลมก็สว่างกลายเป็นแสงสว่าง เป็นดวงสว่างขึ้นมา ก็สงบอยู่กับแสง นี่คือหลักของการทำสมาธิ (หมายถึง สมถกรรมฐษน – ผู้ถอด)

สมาธิบางอย่างไม่มีแสงนะ ไม่มีดวงนิมิตร อย่างการเจริญเมตตาเนี่ย เราแผ่เมตตาไปเรื่อย จะไม่มีดวงปฏิภาคนิมิตรเกิดขึ้น จิตก็ทำความสงบปราณีตได้ คนไหนขึ้โมโห ก็แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ เวลาที่แผ่เมตตาไม่ต้องไปเค้นเมตตาออกจากใจ แผ่ๆอย่างนี้นะ ไม่ไปหรอก เมตตานะ แต่ถ้าจะแผ่ก็นั่งนึกเอา นั่งนึกเอา “สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้สัตว์ทั้งหลายได้รับส่วนบุญที่เราทำแล้วทั้งหมดด้วยเถิด ทุกๆคน ทุกๆคน เลย” เนี่ยนึกไปเรื่อยนะ นึกอย่างนี้เรื่อยๆ บริกรรมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆเย็นขึ้นมา ใจค่อยสงบสบาย พวกขี้โมโหนะ แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ แผ่ทั้งวันเลยก็ได้ ใจมันจะค่อยเย็นๆมีความสุขขึ้นมา

คนขี้โลภ พวกราคะมากอะไรอย่างนี้ จะพิจารณาร่างกาย ดูร่างกายเป็นส่วนๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ของไม่สวยไม่งาม พิจารณาไปเรื่อย ใจก็สงบจากราคะ ไม่ฟุ้งไป

ใจโกรธก็คือใจมันฟุ้งไป กระทบอารมณ์แล้วไม่พอใจ ในโลภก็คือมันฟุ้งไป ไปกระทบอารมณ์แล้วพอใจ ใจหลงก็คือใจมันฟุ้งไปตามอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้นหากว่าคนไหนขี้หลง ใจลอยบ่อยอะไรบ่อยนะ หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป พอจิตหนีไปแล้วก็รู้เอา ใจก็ค่อยสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขได้ล่ะก็ สมาธิก็เกิด ได้สมาธิชนิดที่ ๑

สมาธิชนิดที่ ๑ เป็นสมาธิที่จิตสงบในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” อารัมณะ ก็คือคำว่า อารมณ์นั่นเอง คนไทยไปตัดไม้หันอากาศออก ถ้าภาษาที่ถูกก็คือ อารัมณะ ยกตัวอย่างพระอานนท์นะ คนไทยเรียกพระอานนท์เนี่ย ถ้าเราย้อนขึ้นไทม์แมชชีนไปวัดเชตวัน ไปถามหาพระอานนท์ จะไม่มีใครรู้จักเลย ต้องถามหาพระอานันท์ เนี่ยเขาตัดไม้หันอากาศออกไป คนไทย

เพราะฉะนั้นอารัมณูปนิชฌานนะ ให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวได้เพราะจิตรู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข ถ้าทำได้นะ จิตใจก็มีความสุข ร่มเย็นเป็นสุข ไม่เครียด ไม่เครียดเลย แต่ว่าไม่เดินปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทุกครั้งที่พูดกับคนอื่น เราจะเสียพลังของจิต

mp 3 (for download) : ทุกครั้งที่พูดกับคนอื่น เราจะเสียพลังของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราคลุกคลีกับคนอื่นเกินจำเป็นมั้ย หลวงพ่อไม่คลุกคลีนะ แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่เป็นโยม ทำงานทำเต็มที่นะ ถ้าหมดเวลางานของเราแล้วนะ ไม่มีธุระต้องไปเลี้ยงต้องไปอะไรอย่างนี้นะ ไม่มีธุระแล้วเนี่ย กลับบ้าน อาบน้ำอาบท่านะ พักผ่อนพอมีเรี่ยวมีแรง ก็ภาวนา มันก็ไม่ช้าหรอก ถ้าคลุกคลีมากก็ช้า

ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น



หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้าเรามี ความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี เราปรารภความเพียร เราพัฒนาสติ พัฒนาสมาธิ พัฒนาปัญญาเรื่อยไป ในที่สุดวิมุุตติก็ต้องเกิด ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจะต้องเกิดขึ้นมา นี่เป็นทางเดินที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้นะ สอนเอาไว้ พวกเราต้องเดินตาม ไม่ใช่ว่ามาฟังหลวงพ่อนะ กลับบ้านไปสติแตกตลอด คลุกคลีตลอด เมาท์แตกตลอดอะไรนี้นะ แล้วผ่านไป ๓ เดือนแล้วบอก ไม่เห็นเปลี่ยนแปลงเลย จะเปลี่ยนอะไรยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติเลย

งั้นปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ แล้วเราถึงจะรู้ว่าธรรมะมีจริง ถ้าเราทำธรรมะที่หลวงพ่อบอกนี้ได้นะ เรามักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา ๗ ประการนี้ได้ เราจะเจอประการที่ ๘ คือไม่เนิ่นช้า ธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของมหาบุรุษประการที่ ๘ ไม่เนิ่นช้า

เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างรวดเร็วมากเลย แล้วเราจะทึ่งว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง เราจะเชื่อแน่นแฟ้น เพราะเราเห็นด้วยตัวของเราเอง ไม่ใช่เชื่อเพราะน้อมใจเชื่อ ศรัทธาที่เกิดจากการน้อมใจเชื่อ ยังแปรปรวนได้เรียกจรสัทธา ศรัทธาที่กลับกลอก แต่ถ้าเราได้เห็นความจริง เราประจักษ์ถึงผลแล้วนะ เป็นตายยังไงเราก็ยังเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าอยู่ เรารู้ว่าธรรมะมีจริงๆ

งั้นพวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๗) ธรรมที่ทำให้ไม่เนิ่นช้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้าเรามี ความมักน้อย มีความสันโดษ มีความไม่คลุกคลี เราปรารภความเพียร เราพัฒนาสติ พัฒนาสมาธิ พัฒนาปัญญาเรื่อยไป ในที่สุดวิมุุตติก็ต้องเกิด ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจะต้องเกิดขึ้นมา นี่เป็นทางเดินที่พระพุทธเจ้าท่านวางไว้นะ สอนเอาไว้ พวกเราต้องเดินตาม ไม่ใช่ว่ามาฟังหลวงพ่อนะ กลับบ้านไปสติแตกตลอด คลุกคลีตลอด เมาท์แตกตลอดอะไรนี้นะ แล้วผ่านไป ๓ เดือนแล้วบอก ไม่เห็นเปลี่ยนแปลงเลย จะเปลี่ยนอะไรยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติเลย

งั้นปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ แล้วเราถึงจะรู้ว่าธรรมะมีจริง ถ้าเราทำธรรมะที่หลวงพ่อบอกนี้ได้นะ เรามักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา ๗ ประการนี้ได้ เราจะเจอประการที่ ๘ คือไม่เนิ่นช้า ธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของมหาบุรุษประการที่ ๘ ไม่เนิ่นช้า

เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างรวดเร็วมากเลย แล้วเราจะทึ่งว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง เราจะเชื่อแน่นแฟ้น เพราะเราเห็นด้วยตัวของเราเอง ไม่ใช่เชื่อเพราะน้อมใจเชื่อ ศรัทธาที่เกิดจากการน้อมใจเชื่อ ยังแปรปรวนได้เรียกจรสัทธา ศรัทธาที่กลับกลอก แต่ถ้าเราได้เห็นความจริง เราประจักษ์ถึงผลแล้วนะ เป็นตายยังไงเราก็ยังเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าอยู่ เรารู้ว่าธรรมะมีจริงๆ

งั้นพวกเราปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๖) เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่เป็นทางที่เราต้องดำเนินต่อ เริ่มจากอะไร มักน้อยใช่มั้ย มักน้อยหมายถึงมีเยอะก็บริโภคน้อย สันโดษก็ยินดีพอใจในสิ่งที่ได้มา จากการที่เราทุ่มเททำงานเต็มที่แล้ว กระทั่งเราภาวนานะ เราทำเต็มที่แล้ว มันได้แค่นี้ก็พอใจแค่นี้ สันโดษ ไม่คลุกคลี ไม่เฮๆฮาๆ ปรารภความเพียร วันๆนึงก็คิดแต่จะสู้กับกิเลส จะล้างกิเลสออกจากใจ จะปลดความทุกข์ออกจากใจ ปรารภความเพียร ฝึกสติ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก ฝึกสมาธิ พุทโธไปหายใจไป จิตไหลไปคิดก็รู้ จิตไหลไปเพ่งก็รู้

พอเราฝึกได้สติ เราฝึกได้สมาธิแล้ว คราวนี้เราต้องเจริญปัญญาต่อ การเจริญปัญญาก็คือการมีสติรู้กายรู้ใจตามที่เค้าเป็น แต่ต้องรู้ด้วยจิตที่ทรงสมาธิ  จิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางอยู่ ถ้าจิตไม่ทรงสมาธิจิตก็ไหลไป ไปรู้ลมหายใจ จิตก็ไหลไปที่ลมหายใจ มันก็ไม่เกิดปัญญา ถ้าสติระลึกรู้ลมหายใจ จิตตั้งมั่นเป็นคนดู มันจะเห็นเลยร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา เห็นเองเลย จะเห็นเลย เห็นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเลย

การเจริญปัญญานั้นต้องเห็นไตรลักษณ์ ในนักธรรมเอกเค้าสอนนะ บอกว่าถ้ามีปัญญานะเห็นความไม่เที่ยงของสังขาร จิตจะเบื่อหน่ายในความทุกข์ นี่คือทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้น ถ้าเรามีปัญญาเห็นความทุกข์ของสังขาร จิตจะเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่คือทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้นเหมือนกัน ถ้าเราเห็นสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา มีปัญญาเห็นสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา จิตก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์อีก นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้น

เพราะงั้นทางแห่งความบริสุทธิ์ ทางแห่งวิสุทธิ คือการที่เรามีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม ของกายของใจนั่นเอง งั้นหลักของวิปัสสนากรรมฐานอยู่ตรงนี้เอง

งั้นเรามีสตินะ รู้กายอย่างที่มันเป็น มันเป็นอะไร มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่เราจะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้นะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นคนดู ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งกายทั้งใจของเรานั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่แล้วแต่ไหนแต่ไร เราจะเห็นหรือเราจะไม่เห็น พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้หรือไม่ตรัสรู้นะ รูปนามกายใจนี้ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่แล้ว แต่ไม่มีวิธีที่จะไปรู้ไปเห็น

เครื่องมือที่จะไปรู้ไปเห็นที่เราพัฒนาขึ้นมา ก็คือมีสตินั่นเอง ตัวนึง เครื่องมือที่ ๑ มีสติคอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจ เครื่องมือตัวที่ ๒ คือมีจิตตั้งมั่น คือมีสมาธิจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคนดู ตั้งมั่นแล้วก็ต้องเป็นกลางด้วยถึงจะดี ตั้งมั่นแล้วบางทีไม่เป็นกลาง งั้นต้องฝึกจนกระทั่งตั้งมั่นด้วย เป็นกลางด้วย

วิธีฝึกให้เป็นกลางก็คือรู้ทันว่ามันไม่เป็นกลาง วิธีฝึกให้ตั้งมั่นก็คือรู้ว่ามันไหลไป อาศัยสติรู้ทันจิตนี้แหล่ะ ถ้าจิตไหลไปเรารู้ทันนะ จิตจะตั้งมั่น ถ้าจิตไปรู้อารมณ์แล้วยินดียินร้ายขึ้นมา เรามีสติไปรู้ทันอีก จิตจะเป็นกลาง

งั้นอาศัยตัวนี้เองนะ เราจะเห็นไตรลักษณ์ จะเห็นเอง ไม่ต้องคิดเลย ไตรลักษณ์จะปรากฎต่อหน้าต่อตา ถ้าเรายังคิดเรื่องไตรลักษณ์นะ ยังไม่ใช่วิปัสสนาแท้ วิปัสสนาแปลว่าเห็น ปัสสนะคือการเห็น ไม่ใช่วิตก วิตกมันตรึกเอาคิดเอา

บางคนไปสอนกันนะ บอกว่าทำวิปัสสนาต้องคิดพิจารณา อันนั้นเป็นอุบายเบื้องต้น เพื่อให้จิตเดินปัญญาเท่านั้นเอง บางคนก็ต้องทำ บางคนไม่จำเป็น บางคนที่เคยเจริญปัญญามาแต่ชาติก่อนแล้วนะ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาปุ๊บ ขันธ์แตกตัวออกไปเลย เห็นขันธ์แสดงไตรลักษณ์เลย ไม่ต้องคิดเลยบางคนพอรู้ตัวขึ้นมาเฉย มีสมาธิแล้วนะ จิตก็เฉยอยู่อย่างนั้นเลย พวกนี้ต้องคิดพิจารณา เป็นการกระตุ้นให้จิตเดินปัญญา

แต่ตรงที่กระตุ้นให้จิตเดินปัญญาด้วยการคิดพิจารณา ยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน ยังเป็นวิตก เป็นการตรึกอยู่ วิปัสสนานั้นต้องเห็นสภาวะแท้ๆ เห็นรูปธรรมแท้ๆ นามธรรมแท้ๆ เช่นเห็นความโกรธมันเกิดขึ้นมาผุดขึ้นมา เห็นความโกรธตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไปให้ดู เห็นอนิจจังของความโกรธ เห็นความทนอยู่ไม่ได้ของความโกรธ เห็นเลยความโกรธมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ นี่เห็นความเป็นอนัตตาของความโกรธ

ถ้าเห็นถึงจะเป็นวิปัสสนา เพราะปัสสนแปลว่าเห็น ไม่ใช่ปัสสนแปลว่าคิด อย่างนี้แหล่ะเรียกว่าเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๒) ไม่คลุกคลี

mp 3 (for download) : หลักการวางตัวของผู้ปฏิบัติธรรม (๒) ไม่คลุกคลี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การประพฤติปฏิบัติอีกตัวหนึ่ง ตัวที่สาม ไม่คลุกคลี วันๆหนึ่งรวมกลุ่มกัน เฮๆ ฮาๆ จะได้เรื่องอะไร บางคนก็รวมกลุ่มกันไปวัดนะ แต่เข้าวัดนี้ แล้วก็ออกจากวัดนี้ไปต่อวัดโน้น สนุกมากเลยวันๆนะ วันหนึ่งไปได้เก้าวัดยิ่งปลื้มใจ รวมกลุ่มกันไป บางทีก็ไปนั่งสมาธิรวมกัน ออกจากสมาธิแล้วก็เล่ากัน คนไหนเห็นอะไรบ้าง อะไรอย่างนี้ นี่คลุกคลีกัน

กระทั่งคลุกคลีกับนักปฏิบัติก็ต้องระวังนะ พากันเฮๆฮาๆ ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็เรียกว่า ไม่วิเวก คลุกคลีมากไป เส้นทางนี้เป็นเส้นทางของคนกล้า เส้นทางของคนเดินคนเดียวได้ ถ้าเดินคนเดียวไม่กล้าไป กลัว ไม่กล้า หรือเหงา ไม่กล้าไป ไม่กล้าปฏิบัติ เนี่ยอ่อนแอมาก

การคลุกคลีกับหมู่คณะ ต้องเลือกคลุกคลี ท่านสอนเรื่องกัลยาณมิตร ท่านสอนไว้หลายอย่างนะ ให้คบบัณฑิต คบบัณฑิตก็ให้เสวนากับบัณฑิต เสวนาไม่ใช่แปลว่าคลุกคลี เข้าไปเรียนเข้าไปรู้นะ หรือเรามีหมู่เพื่อนปฏิบัติ สนทนากันเรื่องปฏิบัติ พอให้มีกำลังใจ ปลุกปลอบใจซึ่งกันและกัน แล้วต่างคนต่างลงมือปฏิบัติ ไม่คลุกคลีกัน

หลวงพ่อสมัยก่อน ไปเรียนจากครูบาอาจารย์ หาหลวงปู่ดูลย์ หาหลวงปู่อะไรก็ตามเถอะ พอเรียนธรรมะเสร็จปุ๊บ ไม่พิรี้พิไรเลย ไม่ขอนั่งชมบารมีนานๆ กราบเลย ผมจะกลับละ จะรีบไปปฏิบัติละ ไม่คลุกคลี มีกัลยาณมิตรนะ เพราะฉะนั้นมีกัลยาณมิตร เราเข้าไปเรียน เข้าไปศึกษา พอรู้แล้วเราก็ไม่ไปวุ่นวายอยู่กับใคร รีบภาวนา ถ้าประเภทตกเย็น ตกบ่าย ก็รีบนัดเพื่อน เฮๆฮาๆ ทุกวันๆ พวกคลุกคลี


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๘
File: 550325.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่