Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

กิเลสเหมือนน้ำ ปล่อยให้มันไหลมาแล้วเราเป็นแค่คนดู

mp 3 (for download) : กิเลสเหมือนน้ำ ปล่อยให้มันไหลมาแล้วเราเป็นแค่คนดู

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ศัตรูร้ายของชีวิตเราเลยนะ คือกิเลสทั้งหลายนี่แหละ กิเลสมันย่ำยีหัวใจเราตลอดเวลา แล้วมีสติปัญญานะ ปลดเปลื้องมันออกไปได้ มันก็พ้นทุกข์ไป ถูกกิเลสย่ำยีอยู่ ก็ทุกข์ไปเรื่อย แต่สู้กิเลส ไม่ได้สู้แบบวัวแบบควาย แบบวัวกระทิงไล่ขวิด อย่าไปไล่ขวิดกิเลส กิเลสเหมือนน้ำนะ เหมือนน้ำในแม่น้ำ ถ้ามันไหลไปเรื่อยๆ มันไม่ค่อยทำลายอะไร นานๆ ก็มีน้ำบ่าใหญ่ๆ มาทีนึง อย่างน้ำไหลมาในแม่น้ำ เราไปกั้นเขื่อน เกิดพลังงานมหาศาลเลย

กิเลสเหมือนกันนะ ถ้าปล่อยให้มันไหลมาแล้วเราเป็นแค่คนดูสบายๆ อย่าไปเผลอลืมดูจนมันตัวใหญ่ เหมือนน้ำบ่าใหญ่ๆ มาแล้ว อย่างนั้นก็ยับเยินเหมือนกัน แต่ถ้ากิเลสตัวเล็กตัวน้อยผ่านมาเนี่ยนะ เราคอยมีสติรู้ทันไว้ กิเลสมันก็ไม่มีโอกาสตัวใหญ่ กิเลสตัวใหญ่มันก็มาจากกิเลสตัวเล็กๆ นั่นแหละ

เหมือนไฟไหม้นะ ก่อนมันจะไหม้บ้านไหม้เมืองได้ มาจากไฟนิดเดียว ไม้ขีดก้านเดียว หรือไฟช๊อตอยู่ติ๊ดเดียว เจอทีแรก เอามือตบยังดับเลย กิเลสถ้าเรามีสติไวๆ นะ กิเลสผุดขึ้นมาปุ๊บ รู้ทัน กิเลสก็สลายตัวไป ไม่มีโอกาสตัวโต

เราเฝ้ารู้มันไปนะ เห็นมันไหลไป ไหลไป เราไม่ไปขวางมัน ถ้าเราขวางกิเลสเมื่อไหร่นะ เหมือนเราไปกั้นเขื่อนในแม่น้ำอย่างนี้ มันเกิดแรงดันมหาศาล เขื่อนแตกเมื่อไหร่ก็แย่


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๒


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๒
File: 520903.mp3
ระหว่างวินาทีที่ ๕๕ ถึงนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๓

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

แรกฝึกสติก็เห็นแต่กิเลสหยาบๆ ฝึกมากเข้าๆก็จะเห็นกิเลสที่ละเอียด

mp3 for download : แรกฝึกสติก็เห็นแต่กิเลสหยาบๆ ฝึกมากเข้าๆก็จะเห็นกิเลสที่ละเอียด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :สติก็เหมือนกัน ยิ่งเราขยันภาวนานะ สติก็ยิ่งเร็วขึ้นๆ หัดใหม่ๆเรารู้แต่ของหยาบ ต้องโกรธแรงๆถึงจะรู้ว่าโกรธ ต้องโลภแรงๆถึงจะรู้ว่าโลภ บางทีโกรธแรงยังไม่รู้เลย นี่สติไม่เกิดเลย หัดใหม่ๆก็รู้ของหยาบ พอฝึกมากเข้าๆนะ ของละเอียดก็เริ่มเห็นมากขึ้น

แต่เดิมจะเห็นเมื่อโกรธแรงๆถึงจะเห็น ต่อมานะ แค่เดินออกไปนอกห้องอย่างนี้ แสงแดดกระทบเปลือกตา เกิดความขัดใจ เกิดปฏิฆะแล้ว ขัดใจแล้ว แค่แดดกระทบตานิดเดียวไม่พอใจแล้ว หรือนั่งอยู่ในห้องน้าวหนาวนะ ใครก็ไม่รู้เปิดหน้าต่างแล้วลมหนาวเยือกเข้ามานะ ไม่พอใจ แต่ถ้าเป็นหน้าร้อนลมพัดเข้ามานะ ราคะก็เกิด แค่นิดเดียวแค่นี้นะ

แสงแดด สายลมและแสงแดดนี่แหละ พาให้กิเลสเกิดเพียบเลย รักสายลมและแสงแดดระวังให้ดีนะ จะเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น รักสายลมและแสงแดด รักธรรมชาติและเสียงเพลง รักความยุติธรรม โอ้..เหลวไหล ลมพัดมาก็มีกิเลสมาด้วย แดดมากระทบก็มีกิเลสมาด้วย ไม่ราคะก็โทสะ เห็นมั้ย เล็กๆ เนี่ยค่อยฝึกนะ แม้แต่กิเลสเล็กๆก็มองเห็น

หรือฝึกแต่เดิม เซลฟ์จัด ไม่เห็นเลย พอฝึกมากเข้าๆนะ แค่ทิ้งขยะก็ยังเห็นเลย ประกอบ เบื้องหลังของการโยนขยะไปทิ้งเนี่ย มี Self อยู่ด้วย มีกูเก่ง กูแน่โว้ย กูหนึ่ง นี่แหละกู ซ่อนอยู่ มันละเอียดๆขึ้นนะ

เนี่ยหัดภาวนานะ ทีแรกสติก็เกิดช้า เกิดน้อย รู้สภาวะได้เฉพาะของหยาบ ต่อไปสติเร็วขึ้นๆนะ สภาวะละเอียดๆก็รู้ก็เห็น กิเลสชั้นละเอียดนี้ละเอียด ละเอียดมากนะ กิเลสชั้นสูงๆน่ะ หน้าตาเหมือนกุศลเลย ยิ่งสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ตัว หน้าตาเหมือนกุศลเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
File: 560111A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๙ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่คลุกคลีแม้อยู่ท่ามกลางผู้คน

mp3 for download : ไม่คลุกคลีแม้อยู่ท่ามกลางผู้คน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ได้ ไม่ใช่หนีการกระทบอารมณ์ พอกระทบอารมณ์แล้วนะ ก็รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ เห็นการเปลี่ยนแปลงของกายของใจ นี่อย่างนี้ถึงจะดี ไม่ใช่ไม่คลุกคลี หลับหูหลับตาอยู่คนเดียว ไม่ใช่นะ

ไม่ใช่ว่าคนตาบอดภาวนาดีกว่าคนตาดี ไม่ใช่คนหูหนวกภาวนาดีกว่าคนตาดี ไม่ใช่คนที่ซื่อบื้อคิดอะไรก็ไม่เป็น จะภาวนาดีกว่าคนที่คิดเป็น ไม่ใช่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำงานไปตามปกตินั้นแหละ แต่ว่าใจของเรานั้นมีสติ คอยรู้รับรู้ คอยรู้เท่าทันไว้ มันจะไม่เตลิด

เพราะฉะนั้นคำว่าไม่คลุกคลีนี่นะ เริ่มมาจากข้างในใจของเราเองเป็นหลัก เราอยู่กับคนตั้งพันนะ เราก็ไม่คลุกคลีได้ เราอยู่กับคนตั้งพันคนเราก็ไม่คลุกคลีได้ถ้าใจเรามีสติอยู่

วันๆหนึ่ง เราคุยกับลูกค้าร้อยคน เราก็ไม่คลุกคลีได้ ใจเราไม่ฟุ้งซ่าน ใจเราคอยรู้ทันความรู้สึกนึกคิดของตัวเองอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ลักษณะธรรมะของพระพุทธเจ้า

mp3 for download : ลักษณะธรรมะของพระพุทธเจ้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า ถ้าหลายปีเหมือนเดิม ไม่ใช่หรอก ทำผิดแน่นอน หรือไม่ก็ไม่ทำ ถ้าทำถูกแล้วขยันทำนะ ทำถูกหลักที่พระพุทธเจ้าสอน แล้วปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม เราจะเปลี่ยนตัวเองได้ในเวลาอันสั้น

เพราะธรรมะของท่านเรียกได้ว่า “ไม่เนิ่นช้า” ลักษณะธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่เป็นไปเพื่อความมักน้อย เป็นไปเพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี เป็นไปเพื่อความมีศีล เพื่อความมีสมาธิ เพื่อการเจริญปัญญา แล้วก็เห็นผลในเวลาอันสั้น นี่คือลักษณะธรรมะของพระพุทธเจ้า

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๖ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

mp3 (for download) : มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราพยายามตั้งใจรักษาศีล ๕ ใครมันจะหัวเราะก็ช่างมัน ตั้งใจฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนั้นแหละ คือสภาวะที่จิตทรงสมาธิที่ถูกต้องอยู่ ความรู้เนื้อรู้ตัวนี่ขาดไม่ได้เด็ดขาดเลย บางคนนั่งสมาธิจนกระทั่งโลกธาตุดับนะ ร่างกายหายไป โลกหายไป เหลือจิตดวงเดียว ก็ยังไม่ขาดความรู้สึกตัว จิตไม่ขาดสติ มีสติรักษาจิตอยู่ เพราะฉะนั้นสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ ขาดสติเคลิ้มไป เป็นมิจฉาสมาธิทันทีเลย

มีศีล ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา มาฝึกจิตให้อยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิที่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ทรงสมาธิอยู่เฉยๆ ต้องน้อมจิต มีสติระลึกรู้ เห็นความเปลี่ยนแปลงของกาย เห็นความเปลี่ยนแปลงของใจเรื่อยไป มาดูความเปลี่ยนแปลง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราปฏิบัติธรรมได้ตามที่พระพุทธเจ้าสอน เราจะพ้นทุกข์ในเวลาที่ไม่ช้าเกินไป เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ไม่เนิ่นช้า มันอยู่ที่ตัวเราเองว่าจะเนิ่นช้าหรือไม่ช้า

ถ้าเราไม่อยากจะเนิ่นช้านะ อันแรกคือ ก็มาปรับพฤติกรรมของตัวเอง ปรับจิตใจของเราเองนะ ให้มันเหมาะกับการปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักคำว่ามักน้อย ต้องรู้จักคำว่าสันโดษ ต้องรู้จักคำว่าวิเวก ไม่คลุกคลี ต้องรู้จักการปรารภความเพียร ต้องรู้จักการเจริญสติ การเจริญสมาธิ การเจริญปัญญา ถ้าเรารู้จักในสิ่งเหล่านี้แล้ว เราจะไม่ช้าหรอกนะ

มักน้อยเป็นอย่างไร มักน้อยหมายถึง มีความต้องการน้อย ยกตัวอย่างพระ พระต้องมักน้อย พระมีอาหารมากเฉพาะวัดนี้นะ บางวัดอาหารไม่ถูกปาก คือไม่มีอะไรเข้าปากเลย อดๆอยากๆ มักน้อยหมายถึงว่า ฉันเท่าที่ร่างกายจะอยู่ได้ อย่างนี้เรียกว่ามักน้อย มักมากหมายถึงว่า เท่าไหร่ก็ไม่พอใจ อยากได้เยอะไม่มีที่สิ้นสุดเลย

สันโดษหมายถึงอะไร สันโดษหมายถึงว่า ยินดีพอใจ ในสิ่งที่ได้มา ฆราวาสเนี่ย สันโดษ แต่อาจจะไม่ต้องมักน้อยแต่ต้องสันโดษ ตัวพระนี่ต้องมักน้อย ต้องสันโดษ

มักน้อย มีความปราถนาน้อย คือ ต้องการอะไร ต้องการแค่ Basic Minimum Need เท่านั้นเอง ที่คนเราต้องการ พวกเราอาจจะมากกว่านั้นนิดหน่อย ที่ในหลวงพูดคำว่า “พอๆ” นะ ก็คือคำว่ามักน้อย

ทีนี้ฆราวาสอยากรวยได้มั้ย อยากรวยได้ ไม่ต้องมักน้อยแบบพระ อยากรวยก็ได้ แต่อยากมีเมียหลายคนไม่ได้ ผิดศีล อยากรวยได้ เช่นตั้งเป้าหมายว่าปีนี้เราจะทำกำไรสัก ๕ ล้านบาท ตั้งใจไว้อย่างนี้ แล้วลงมือทำเต็มที่เลย ได้ ๑๐ ล้านบาท เราก็พอใจแล้ว เราได้ทำเต็มที่แล้ว ได้มา ๑๐ ล้านบาท หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ทำเต็มที่สุดฝีมือแล้ว ได้มา ๕ ล้านบาท พอใจแล้ว ยินดีพอใจมีความสุขแล้ว ที่ได้ทำงานนะ ก็พอใจ หรือตั้งเป้าไว้ ๕ ล้านบาท ได้ ๑ ล้านบาท หรือขาดทุน พอใจแล้ว มีความพอใจแล้ว คือ ได้ทำเต็มทีทำสุดฝีมือแล้ว มีความสุขที่ได้ทำงานแล้ว นี่เรียกว่าสันโดษนะ มีความสุขพอใจแล้ว ที่ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเต็มที่เต็มฝีมือแล้ว ไม่ได้ละเลย แต่มันได้แค่นี้แหละ

บางคนทำบริษัทฯ กำลังดีๆ ค้าขายกำลังดีๆ เขาเผาบ้านเผาเมือง เผาบริษัทฯเราไปด้วยอะไรอย่างนี้ ทำอย่างไรล่ะ ทำอะไรไม่ได้ ถูกเผาไปแล้วนะ ก็ยังพอใจ ยังเหลือชีวิตรอดอยู่กับประสบการณ์ หมดเนื้อหมดตัวแล้ว ไม่มีอะไรเหลือแล้ว ก็ยังเหลือชีวิตอยู่กับประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์ชีวิตแพงนะ เป็นทรัพยากรที่แพงมากเลย พวกเราบางคน ลำบากยากจนลงอะไรเนี่ย อย่าไปนึกว่าเรากลับไปที่ศูนย์ เราไม่ได้กลับไปที่จุดตั้งต้นที่ศูนย์หรอก ตราบใดเรายังมีชีวิตอยู่ ทุกคราวที่เกิดปัญหาชีวิตนะ ก็คือการได้ประสบการณ์มาแล้วนะ

มีความมักน้อยนะ คือปราถนาน้อย มีความสันโดษ ยินดีพอใจตามมีตามได้


ไม่คลุกคลี กายวาจาใจของเรานะอย่าไปคลุกคลีกับคนอื่นมาก วุ่นวายอยู่กับคนอื่นมากเนี่ย เสียเวลา เนิ่นช้าแน่นอน บางคนภาวนานะ ห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ อย่างนิสัยพระโพธิสัตว์ถึงได้เนิ่นช้า อย่างนั้นต้องเป็นอสงไขยแสนมหากัปป์อะไรอย่างนี้นะ หลายๆอสงไขย มันห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ มันก็คลุกคลไปเรื่อย มันอยากไปช่วยเขานะ

เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากพ้นทุกข์เร็วๆนะ อย่าคลุกคลีมาก คลุกคลีเท่าที่จำเป็น ไปกินเลี้ยง เลี้ยงลูกค้า เป็นการคลุกคลีมั้ย ไม่ใช่นะ เป็นการทำหน้าที่ พาลูกน้องไปเลี้ยง ไม่ได้เรียกว่าคลุกคลีนะ เป็นการทำหน้าที่ คลุกคลีหมายถึง ไม่จำเป็นอะไรเลยก็ไปยุ่งกับคนอื่นตลอดเวลา ว่างๆไม่มีอะไรนะก็ขับรถไปคุยกับเขา รถติดมากก็โทรฯไปคุยกับเขา อะไรอย่างนี้ อยู่ไม่ได้ อยู่เฉยไม่ได้ ไม่มีใครคุยด้วยก็เข้าห้องแชต คุยกับหมากับแมวที่ไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน วุ่นวายอยู่กับคนอื่น วุ่นวายอยู่กับสิ่งอื่นตลอดเวลา ใจออกนอกตลอดนะ อย่างนี้ภาวนาอย่างไรก็เนิ่นช้า

นี่พวกเรามาสำรวจตัวเองนะ เรามักน้อยมั้ย เราสันโดษมั้ย เราคลุกคลีกับคนอื่นเกินจำเป็นมั้ย หลวงพ่อไม่คลุกคลีนะ แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่เป็นโยม ทำงานทำเต็มที่นะ ถ้าหมดเวลางานของเราแล้วนะ ไม่มีธุระต้องไปเลี้ยงต้องไปอะไรอย่างนี้นะ ไม่มีธุระแล้วเนี่ย กลับบ้าน อาบน้ำอาบท่านะ พักผ่อนพอมีเรี่ยวมีแรง ก็ภาวนา มันก็ไม่ช้าหรอก ถ้าคลุกคลีมากก็ช้า

ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น

 

เพราะฉะนั้นมักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ต่อมาต้องปรารภความเพียร ต้องคิดนะว่าชีวิตเราเกิดมาเพื่ออะไร ชีวิตเราเกิดมาเนี่ย ไม่ยาวนานเท่าไหร่หรอก ไม่นานเราก็ต้องจากโลกนี้ไป จากทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารักนะ ลูกเมีย ครอบครัว ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ ต้องสูญเสียไปหมดเลย ไม่มีอะไรเหลือเลย

เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราว เราจะเที่ยวแสวงหาแต่สิ่งชั่วคราวรึ สิ่งชั่วคราวก็เช่น หาครอบครัว หาเงินทอง หาชื่อเสียงเกียรติยศตำแหน่งหน้าที่ นี่คือของชั่วคราว อาศัยอยู่กับโลกก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้นะ แต่ก็มีพอประมาณก็พอแล้ว

งานหลักของเราจริงๆคืองานยกระดับจิตใจขึ้นไป ชีวิตของเราเนี่ยสั้นนิดเดียว มีเวลาไม่มาก โดยเฉลี่ยของคนยุคนี้ก็อายุประมาณสามหมื่นวัน สามหมื่นวันเนี่ยฟังแล้วเยอะนะ จริงๆไม่เยอะเท่าไหร่ สามหมื่นวันเนี่ยเราเอาไปนอนเสียหมื่นวันแล้วๆ เหลือสองหมื่นวัน สองหมื่นวันเนี่ยเราเอาไปทำมาหากินเสียเกินครึ่ง เหลือนิดเดียวแล้วนะ แล้วยังจะเอาเวลาที่เหลืออีกนิดเดียวเนี่ยเอาไปเที่ยวไปเล่นเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่เหลือเวลาที่จะเอาไปพัฒนาตัวเองแล้วนะ

เพราะฉะนั้นเราต้องตั้งเป้าเอาไว้ให้ดีเลย ชาตินี้ต้องได้พระโสดาบัน ตั้งเอาไว้อย่างนี้ ใครว่าโลภก็โลภล่ะวะ เอาไว้ก่อนแหละ ตั้งเป้าไว้ก่อน ชาตินี้ขอเป็นพระโสดาบันให้ได้นะ ชาวพุทธต้องเอาอย่างนั้นเลยนะ ไม่ใช่ขอทำบุญทำทาน นั่งภาวนาทำสมาธิ อีกแสนๆชาติข้างหน้าค่อยให้ได้ธรรมะ โง่น่ะสิ ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เนิ่นช้าปานนั้นนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าให้ผลรวดเร็วมากเลย ถ้ารู้จักปฏิบัติที่ถูกต้อง ปฏิบัติได้สมควรแก่ธรรม ทำให้ถูกต้องก่อน แล้วก็ทำให้พอ แค่นี้เอง ไม่เนิ่นช้าเท่าไหร่หรอก

มันจะยากอะไรในการเรียนรู้ความจริงของกายของใจตัวเอง การปฏิบัติธรรมจริงๆก็คือการเรียนรู้กายรู้ใจของตัวเองเท่านั้นเองถ้ารู้เห็นความจริงแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี แค่นี้ก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ถ้าเห็นความจริงนะว่า กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ หมดความยึดถือในกาย ก็ได้พระอนาคาฯ หมดความยึดถือในจิต เขาก็สมมุติเรียกว่า “พระอรหันต์” มันมีแต่เรื่องเรียนรู้กายเรียนรู้ใจตั้งแต่ต้นจนจบเลยของการปฏิบัติ

มันไม่ใช่เรื่องยากอะไร กายของเราก็มีอยู่แล้ว จิตใจของเราก็มีอยู่แล้ว เราก็แค่คอยรู้คอยดูบ่อยๆ ว่าจริงๆกายนี้เป็นตัวเราหรือไม่เป็น จิตนี้เป็นตัวเราหรือไม่เป็น คอยรู้คอยดูอยู่บ่อยๆ ความจริงมันจะแสดงตัวให้ดูอยู่แล้ว ไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก ฆราวาสก็ทำได้นะ ไม่ใช่ฆราวาสทำไม่ได้ สมัยพุทธกาลฆราวาสได้ธรรมะเยอะแยะเลยนะ ถมเถไป

เพราะฉะนั้นพวกเรานะ ตอนนี้ปรารภความเพียร ต้องรู้ว่าเราจะต้องปฏิบัตินะ ถ้าชีวิตของเราไม่ปฏิบัติ ชีวิตของเราไร้คุณค่า เราไม่ได้ต่างกับหมากับแมวอะไรนะ มีชีวิตอยู่ กินแล้วก็สืบพันธุ์ แล้วก็นอน แล้วก็เที่ยวเล่นเห่าหอนสนุกสนานอะไรอย่างนั้น จะได้อะไรขึ้นมา ชีวิตมันควรจะมีคุณค่ากว่านั้น

พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้นะ บอกว่า อดีตก็ล่วงไปแล้วนะ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ให้มีสติอยู่กับปัจจุบันนี้ ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนอยู่กับปัจจุบัน ท่านบอกว่าอย่าตามอาลัยอาวรณ์ไปถึงอดีตนะ อย่ากังวลไปถึงอนาคต ให้อยู่กับปัจจุบัน เพราะว่าอดีตก็ล่วงไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันน่ะมันมีจริง ให้เรามีสติอยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มีสติอยู่กับปัจจุบันไม่หลงเพลินไป ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึกนะ เรียกว่าเราไม่ประมาท เรามีสติอยู่ มีสติเป็นไปในกาย มีสติเป็นไปในจิตใจ ตามรู้อยู่ในกาย ตามรู้อยู่ในใจ

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า คนที่ทำได้อย่างนี้นะ แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวหรือคืนเดียวเนี่ย ก็ควรชมแล้ว มีชีวิตร้อยปี แต่หลงร้อยปี ไม่ควรชมเลยนะ คนส่วนใหญ่มีชีวิตเท่าไหร่ กี่ปี มันก็หลงอยู่เท่านั้นปีแหละนะ เพราะฉะนั้นพวกเรามาหัดให้มามีสติรู้สึกกายมีสติรู้สึกใจนะ ถ้ามีชีวิตอยู่ได้วันเดียว พระพุทธเจ้าก็ชมแล้ว ให้พระพุทธเจ้าชมดีกว่าให้คนอื่นชมนะ คนอื่นชมบางทีมันแกล้งชม พระพุทธเจ้าชมเนี่ย ของดีของวิเศษแน่นอนเลย พวกเราก็มีโอกาสได้รับคำชมของพระพุทธเจ้าทุกๆคนนะ เพราะเรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบันเรื่อยไป แค่วันเดียวท่านก็ชมแล้ว

เพราะฉะนั้นเรามีโอกาสนะที่จะได้รับคำชมของพระพุทธเจ้า มีโอกาสที่จะได้ชื่อว่าเป็นลูกแท้ๆของพระพุทธเจ้า
 ไม่ใช่ลูกแบบหลอกๆมาเกาะกินพระพุทธเจ้าอยู่นะ ลูกเกาะกินพระพุทธเจ้าเยอะนะ หาผลประโยชน์จากพระศาสนาอะไรพวกนี้ มีเยอะแยะ เพราะฉะนั้นเราต้องปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ปรารภความเพียรนะ

 

ชีวิตอย่าปล่อยให้ล่วงเปล่าๆ ต้องปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ ปฎิบัติอะไร ก่อนจะลงมือปฏิบัติ ฝึกสติเสียก่อน ถ้ามีสติก็จะมีศีล มีสติก็จะมีสมาธิ มีสติก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญญา มีสติ ต้องฝึกสติ ถ้าขาดสติซะตัวเดียวเนี่ย ศีลสมาธิปัญญาหายหมดเลย งั้นต้องมาให้มีสติ

นี้ท่านสอนมาเป็นลำดับเลยนะ ที่จะไม่เนิ่นช้า มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เจริญสติ วิธีเจริญสติ สติเป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกาย เป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ สติเกิดจากถิรสัญญา “ถิร” คนไทยใช้คำว่า เสถียร คือมันมั่นคง มันหนักแน่น แน่วแน่นะ คือรู้อย่างถิรสัญญาหมายถึงว่า มันรู้อยู่ถี่ๆ รู้อยู่บ่อยๆนะ รู้จนรู้อัตโนมัติ รู้จนจิตจำสภาวะได้แม่น เรียกว่ามีถิรสัญญา

สัญญาเป็นตัวความจำ ถิรสัญญาคือจำได้แม่นยำ จำได้แม่นยำในสภาวะของกาย จำได้แม่นยำในสภาวะของใจ พอสภาวะทางกายเกิดขึ้น สติจะเกิดขึ้น พอจำสภาวะทางจิตได้แม่น เช่นจำได้ว่าโลภเป็นยังไง โกรธเป็นไง หลงเป็นไง พอความโลภเกิดขึ้น สติจะเกิดเอง จะระลึกขึ้นได้แล้วว่า ความโลภเกิดแล้ว ถ้าจิตจำความโกรธได้แม่น พอความโกรธเกิด สติก็จะเกิดเอง อ้อ ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว

พวกเราหัดรู้สภาวะให้มาก ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้สึกไป ร่างกายหายใจออก รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า รู้สึก ร่างกายคู้ ร่างกายเหยียด รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก ความสุขความทุกข์ในกายหายไป ก็คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์ความเฉยๆเกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก ความสุขความทุกข์ความเฉยๆดับไปจากจิตใจของเรา ก็รู้สึก มีกุศลเกิดในใจ ก็คอยรู้สึกนะ มีอกุศลเกิด โลภโกรธหลงเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ก็คอยรู้สึก แล้วจิตวิ่งไปที่ตา คอยรู้สึก จิตวิ่งไปที่หู คอยรู้สึก จิตวิ่งไปคิด คอยรู้สึก จิตวิ่งไปเพ่ง คอยรู้สึก

เนี่ยเราคอยรู้สึกอยู่ในกาย คอยรู้สึกอยู่ในใจอย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอร่างกายขยับ อย่างเรากำลังเผลออยู่ ขยับตัวปั๊บ ไม่ได้เจตนาขยับ เพราะร่างกายเราขยับอยู่ทั้งวันอยู่แล้ว กำลังเผลอๆอยู่ เกิดขยับตัวกริ๊กเดียวเท่านั้นเอง สติมาแล้ว รู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว รู้เลยเห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวอยู่ จิตมันเป็นคนดูขึ้นมา ตรงที่เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู ได้สมาธิมาแล้ว การมีสติฝึกให้มาก จำสภาวะให้แม่น แล้วสติจะเกิดเอง สตินั้นเป็นอนัตตา เช่นเดียวกับสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง จิตก็เป็นอนัตตา สั่งให้มีสติไม่ได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด สติไม่มีเหตุ สติไม่เกิด

เพราะงั้นเราต้องทำเหตุของสติ คือการหัดรู้สภาวะเนืองๆ จะจำสภาวะได้แม่น เช่นความสุขเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความทุกข์เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความโลภความโกรธความหลง เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย คอยรู้ ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหายใจ คอยรู้ คอยรู้สึกอยู่เรื่อยๆ แล้วสติจะเกิดเอง

ทันทีที่สติเกิดจิตจะเป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศลอย่างเรารู้ว่าความโกรธมา พอสติระลึกได้ปุ๊บนะ ความโกรธจะดับทันทีเลย ความโกรธหรือกิเลสทั้งหลายเนี่ย จะเกิดร่วมกับสติไม่ได้ กุศลกับอกุศลไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เหมือนแสงสว่างกับความมืดนั้น ไม่เกิดด้วยกัน แสงสว่างดับไป ความมืดก็ปรากฎขึ้น แสงสว่างปรากฎขึ้น ความมืดก็ดับไป อันนี้ก็เหมือนกุศลอกุศลทั้งหลาย กิเลสเหมือนความมืดนะ สติเหมือนแสงสว่าง ทันทีที่แสงสว่างเกิด ความมืดก็ดับไป มันจะไม่เกิดร่วมกัน

งั้นพอเราฝึกสติบ่อยๆเนี่ย กิเลสเกิดอะไรขึ้นที่จิต สติจะรู้ทันอัตโนมัติเลย โกรธแล้วนะ รู้ทันเลย โกรธ ความโกรธจะดับ เมื่อความโกรธดับ ศีลจะเกิดขึ้น เราจะไม่ทำผิดศีลเพราะความโกรธ ผิดศีลเพราะความโกรธทำอะไรได้บ้าง ไปฆ่าเค้าไปตีเค้าใช่มั้ย ไปทำลายทรัพย์สินเค้า ไปแกล้งขโมยของเค้า ไปลักขโมยเค้าเนี่ยไม่ใช่เกิดจากโลภอย่างเดียวนะ เกิดจากโกรธก็ได้ ทำลายทรัพย์สินเค้า ขโมยเค้า ไปเป็นชู้กับเค้าเพราะความโกรธก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพราะราคะ เกลียดไอ้คนนี้มาก ไปหลอกจีบลูกสาวมันจีบเมียมันอะไรงี้ เนี่ยทำผิดศีลได้ โกรธขึ้นมาก็ไปด่าเค้า หรืิอไม่ก็ไปพูดเพราะๆ หลอกให้เค้าเหลิง เสียผู้เสียคนไปเลยอย่างนั้นก็ได้ พูจเท็จด้วยความโกรธก็ได้ โกรธขึ้นมาไปกินเหล้าได้มั้ย กินเหล้าเนี่ยเป็นตัวรองแล้วนะ ตัวนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ขาดสติมากขึ้น

เพราะงั้นถ้าโกรธจริงๆ มันจะไปผิดศีล ๔ ข้อแรกนะ โลภขึ้นมาก็ผิดศีล ๔ ข้อได้ หรือโลภขึ้นมาไปกินเหล้าได้ ก็ผิดศีล ๕ ได้ หลงขึ้นมาก็ผิดศีลได้ทุกข้ออีกแหล่ะ เพราะงั้นถ้าเมื่อไหร่ กิเลสเกิดที่จิต เรารู้ไม่ทัน กิเลสครอบงำจิตได้ โอกาสทำผิดศีลเนี่ยจะมี ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทัน กิเลสดับไป โอกาสทำผิดศีลนั้นไม่มี เพราะงั้นถ้ามีสติ จะมีศีล

 

มีสติแล้วก็มีสมาธิได้ ถ้าคอยรู้ทันความฟุ้งซ่าน

สมาธิกับความฟุ้งซ่านเป็นสิ่งตรงข้ามกัน ความฟุ้งซ่านเป็นกิเลส สมาธิเป็นธรรมที่เป็นกลางๆ จิตที่มีกิเลสมีสมาธิก็มี จิตที่เป็นกุศลมีสมาธิก็มีสมาธิไม่ใช่กุศลเสมอไป แต่สติเป็นกุศลเสมอไปนะ

ความฟุ้งซ่านเป็นอกุศลแน่นอน ถ้าเวลาใจฟุ้งซ่าน ใจฟุ้งซ่านคือใจวิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู เปลี่ยนอารมณ์ไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็วนะ แส่ส่ายหาอารมณ์ไปเรื่อย เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ถ้าเรามีสติรู้ทันว่าจิตกำลังฟุ้งซ่านอยู่ จิตจะสงบอัตโนมัติ

การที่จิตแส่ส่ายออกไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนั้นตลอดเวลาเนี่ย แทบจะเป็นอยู่ตลอดเวลา มันแส่ส่ายทางไหนมากที่สุดรู้มั้ย แส่ส่ายทางใจมากที่สุด คือหนีไปคิดมากที่สุด วันหนึ่งๆเนี่ย จิตหลงไปคิดเนี่ยเกิดบ่อยที่สุด จิตหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกายเนี่ย มีเป็นคราวๆ จิตหลงไปคิดเนี่ยแทบจะยืนพื้นเลย พอหลงไปดูก็ต่อด้วยหลงคิด หลงไปฟังก็ต่อด้วยหลงคิด ไม่มีอะไรเลยก็หลงคิดด้วยตัวของตัวเองได้ จิตที่หลงคิดก็คือจิตฟุ้งซ่านนั่นแหล่ะ เป็นจิตฟุ้งซ่านที่เกิดบ่อยที่สุด

เพราะงั้นให้้เรามีสติ รู้ทันจิตที่หลงคิดเนี่ย ดีที่สุดเลย ถ้าจิตหลงไปคิดปุ๊บ เรารู้ทันนะ ความหลงคิดดับ จิตจะตั้งมั่นขึ้นอัตโนมัติ สมาธิเกิดอัตโนมัติเลย ไม่จำเป็นต้องไปนั่งทำฌาน ทำกสิณอะไรนะ เสียเวลา ถ้าทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ไม่จำเป็นเลย แค่รู้ทันว่าจิตหลงไปคิด สมาธิก็เกิดแล้ว งั้นมีสติก็จะได้สมาธินะ

 

พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว ก็เจริญปัญญาต่อ เห็นกายมันทำงาน ร่างกายยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่เรายืนเดินนั่งนอนนะ เห็นเป็นรูปธรรมอันนึง เห็นเหมือนหุ่นยนต์ตัวนึงมันทำงาน จิตใจเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เห็นแต่สภาวะธรรม ความสุขก็เป็นสภาวะธรรม จิตใจที่ไปรู้ความสุขเข้าก็เป็นสภาวะธรรม ความทุกข์ก็เป็นสภาวะธรรม จิตใจที่รู้ความทุกข์เข้าก็เป็นสภาวะธรรม เห็นแต่สภาวะธรรม ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ไม่มีเราไม่มีเขานะ เห็นไปเรื่ิอยๆ แล้วสภาวะธรรมทั้งหลาย เราก็จะเห็นไปอีก ในที่สุดก็เข้าใจเลย สภาวะธรรมทั้งหลาย จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้นะ

เกิดดับไปนี่ก็เป็นอนิจจัง สิ่งซึ่งยังมีอยู่ยังไม่ดับไปนะ ยังมีอยู่นะ ก็ถูกบีบคั้นเพื่อจะให้ดับไป นี่เรียกว่าทุกขัง แล้วสิ่งทั้งหลายจะเกิดหรือจะดับ เป็นไปตามเหตุ ไม่ใช่ตามสั่ง นี่เรียกว่าอนัตตา ก็ฝึกอย่างนี้

การที่เราคอยเห็นกายเห็นใจเนี่ย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์้ เป็นอนัตตา นั่นเรียกว่าการเจริญปัญญา หรือการทำวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าเราทำได้ ๗ ประการนี้ มักน้อย สันโดษ วิเวกไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เจริญปัญญาอยู่ ธรรมะตัวที่ ๘ จะมา ความไม่เนิ่นช้า เราจะไม่เนิ่นช้า

แต่ถ้าขาด(๗ ข้อ)ข้างหน้านี้ เนิ่นช้าแน่นอน เพราะงั้นบางคนทำไมภาวนาเร็ว บางคนภาวนาช้า ยุ่งกับคนอื่นทั้งวัน ยังไงก็ช้า ขี้เกียจไม่เคยภาวนาเลย ยังไงก็ช้า วันๆเอาแต่โลภนะ อยากโน่นอยากนี่ไปเลย ไม่เคยควบคุมความอยากของตัวเองเลย ยังไงก็ช้า ไม่ยอมเจริญสติเลย ยังไงก็ช้า จิตฟุ้งซ่านตลอดเลย ยังไงก็ช้า ไม่แยกรูปแยกนาม ไม่เห็นกายเห็นใจแสดงไตรลักษณ์ ยังไงก็ช้า

เพราะงั้นถ้าเราทำธรรมะ ๗ ประการนี้ได้ มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา เราจะได้ธรรมะในเวลาอันไม่เนิ่นช้า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี มีจริงๆ ไม่ใช่ไม่มี งั้นพวกเราไปทำเอานะ ไปทำ ปรับพฤติกรรมที่ถ่วงตัวเองให้ไม่เจริญน่ะ เลิกๆไป แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาภาวนาไป เจริญสติไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๗) สติเป็นต้นทางของกุศล

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๗) สติเป็นต้นทางของกุศล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี
เอื้อเฟื้อภาพโดย บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๖) สมาธิในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๖) สมาธิในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี
เอื้อเฟื้อภาพโดย บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา แต่เราไม่เห็นเอง

mp 3 (for download) : นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา แต่เราไม่เห็นเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราได้ฟังธรรมะนะ มีบุญแล้วล่ะ หัดเจริญสติ หัดรู้กายหัดรู้ใจไป อย่าท้อถอย บางคนจะได้ในชีวิตนี้ หลายคนจะได้ในชีวิตนี้ แต่อีกหลายคนจะยังไม่ได้ในชีวิตนี้ ต้องสะสมไปอีกนะ อย่าท้อถอย ถ้าท้อถอยก็คือไม่ได้ตลอดไป เดินไปเรื่อยๆนะ วันละก้าวสองก้าว ก็มีสติรู้กายรู้ใจเรื่อยๆไป วันหนึ่งมันต้องได้

เส้นทางนี้นะ มันเป็นเส้นทางที่ไม่ได้ยาวไกลเท่าที่คิดหรอก เส้นทางนี้ไม่ได้ไกลเท่าไหร่ คล้ายๆจากที่นี่ไปศรีราชาเอง เพราะจริงๆนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตานี่ล่ะ ศรีราชายังไกลไปนะ ศรีราชาไกลเกินไป นี่เป็นการเทียบให้ฟัง สมมุติว่าอยู่ศรีราชา สมมุติว่านิพพานอยู่ศรีราชา เดินทุกวัน วันละก้าว แต่ต้องเดินให้ถูกทาง เดินไปทางนี้ก็ไม่เจอ ใช่มั้ย เดินไปทางนี้ก็ไม่เจอ เดินไปทางนี้ก็ไม่เจอ ต้องเดินไปทางนี้ ข้ามเขาไปข้ามห้วยไป เดี๋ยวก็เจอ

ถ้าเดินผิดทางจะไม่เจอ ถ้าเดินถูกทางคือมีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อย วันหนึ่งก็เจอ ไม่ยาวไกลเท่าที่คิดหรอก เพราะนิพพานอยู่ใกล้ตัวนะ นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานอยู่กระทั่งในใจเราตอนนี้ แต่เราไม่เห็นเองน่ะ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนทรงนิพพานอยู่แล้วนะ คนละเรื่องกันนะ ไม่เห็นนิพพาน ไม่อาจทรงนิพพานอยู่ได้หรอก มันไม่ได้ยากเท่าที่คิดเลย

อะไรมันปิดบังนิพพานไว้ล่ะ สมมติบัญญัติปิดบังรูปนามไว้ รูปนามก็ยังปิดบังนิพพานไว้อีกทีหนึ่ง สมมติบัญญัติก็เลยปิดบังนิพพานไว้อีกทีหนึ่ง มันถูกซ้อนปิดบังไว้หลายหน

เพราะฉะนั้นเรามีสตินะ ขั้นแรกรู้ตัวขึ้นมา เราหลุดออกจากสมมติบัญญัติก่อน มารู้กายมารู้ใจ เมื่อไรเห็นความจริงของกายของใจนะ จิตวางกายวางใจปั๊บลงไปนะ ก็จะเห็นนิพพานเลย ไม่ได้ไปอยู่ที่อื่นเลยนะ เพราะเวลาเราภาวนาเรามารู้อยู่ที่กายที่ใจนี้ เวลาปล่อยวางกายปล่อยวางใจก็ปล่อยวางอยู่ตรงนี้เอง นิพพานก็ปรากฎอยู่ตรงนี้เอง ไปเทียบกับศรีราชานี้ไกลมาก จริงๆจะว่าปลายจมูกก็ยังไกลเกินไป อยู่ที่ใจเรา พ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความอยากขึ้นเมื่อไหร่ ก็จะเห็น อยู่ตรงนั้นเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
Track: ๑๘
File: 520612
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๕) เจริญสมาธิ

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๕) เจริญสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสติแล้วก็มีสมาธิได้ ถ้าคอยรู้ทันความฟุ้งซ่าน

สมาธิกับความฟุ้งซ่านเป็นสิ่งตรงข้ามกัน ความฟุ้งซ่านเป็นกิเลส สมาธิเป็นธรรมที่เป็นกลางๆ จิตที่มีกิเลสมีสมาธิก็มี จิตที่เป็นกุศลมีสมาธิก็มี สมาธิไม่ใช่กุศลเสมอไป แต่สติเป็นกุศลเสมอไปนะ

ความฟุ้งซ่านเป็นอกุศลแน่นอน ถ้าเวลาใจฟุ้งซ่าน ใจฟุ้งซ่านคือใจวิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู เปลี่ยนอารมณ์ไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็วนะ แส่ส่ายหาอารมณ์ไปเรื่อย เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ถ้าเรามีสติรู้ทันว่าจิตกำลังฟุ้งซ่านอยู่ จิตจะสงบอัตโนมัติ

การที่จิตแส่ส่ายออกไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนั้นตลอดเวลาเนี่ย แทบจะเป็นอยู่ตลอดเวลา มันแส่ส่ายทางไหนมากที่สุดรู้มั้ย แส่ส่ายทางใจมากที่สุด คือหนีไปคิดมากที่สุด วันหนึ่งๆเนี่ย จิตหลงไปคิดเนี่ยเกิดบ่อยที่สุด จิตหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกายเนี่ย มีเป็นคราวๆ จิตหลงไปคิดเนี่ยแทบจะยืนพื้นเลย พอหลงไปดูก็ต่อด้วยหลงคิด หลงไปฟังก็ต่อด้วยหลงคิด ไม่มีอะไรเลยก็หลงคิดด้วยตัวของตัวเองได้ จิตที่หลงคิดก็คือจิตฟุ้งซ่านนั่นแหล่ะ เป็นจิตฟุ้งซ่านที่เกิดบ่อยที่สุด

เพราะงั้นให้้เรามีสติ รู้ทันจิตที่หลงคิดเนี่ย ดีที่สุดเลย ถ้าจิตหลงไปคิดปุ๊บ เรารู้ทันนะ ความหลงคิดดับ จิตจะตั้งมั่นขึ้นอัตโนมัติ สมาธิเกิดอัตโนมัติเลย ไม่จำเป็นต้องไปนั่งทำฌาน ทำกสิณอะไรนะ เสียเวลา ถ้าทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ไม่จำเป็นเลย แค่รู้ทันว่าจิตหลงไปคิด สมาธิก็เกิดแล้ว งั้นมีสติก็จะได้สมาธินะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ชีวิตอย่าปล่อยให้ล่วงเปล่าๆ ต้องปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ ปฎิบัติอะไร ก่อนจะลงมือปฏิบัติ ฝึกสติเสียก่อน ถ้ามีสติก็จะมีศีล มีสติก็จะมีสมาธิ มีสติก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญญา มีสติ ต้องฝึกสติ ถ้าขาดสติซะตัวเดียวเนี่ย ศีลสมาธิปัญญาหายหมดเลย งั้นต้องมาให้มีสติ

นี้ท่านสอนมาเป็นลำดับเลยนะ ที่จะไม่เนิ่นช้า มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เจริญสติ วิธีเจริญสติ สติเป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกาย เป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ สติเกิดจากถิรสัญญา “ถิร” คนไทยใช้คำว่า เสถียร คือมันมั่นคง มันหนักแน่น แน่วแน่นะ คือรู้อย่างถิรสัญญาหมายถึงว่า มันรู้อยู่ถี่ๆ รู้อยู่บ่อยๆนะ รู้จนรู้อัตโนมัติ รู้จนจิตจำสภาวะได้แม่น เรียกว่ามีถิรสัญญา

สัญญาเป็นตัวความจำ ถิรสัญญาคือจำได้แม่นยำ จำได้แม่นยำในสภาวะของกาย จำได้แม่นยำในสภาวะของใจ พอสภาวะทางกายเกิดขึ้น สติจะเกิดขึ้น พอจำสภาวะทางจิตได้แม่น เช่นจำได้ว่าโลภเป็นยังไง โกรธเป็นไง หลงเป็นไง พอความโลภเกิดขึ้น สติจะเกิดเอง จะระลึกขึ้นได้แล้วว่า ความโลภเกิดแล้ว ถ้าจิตจำความโกรธได้แม่น พอความโกรธเกิด สติก็จะเกิดเอง อ้อ ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว

พวกเราหัดรู้สภาวะให้มาก ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้สึกไป ร่างกายหายใจออก รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า รู้สึก ร่างกายคู้ ร่างกายเหยียด รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก ความสุขความทุกข์ในกายหายไป ก็คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์ความเฉยๆเกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก ความสุขความทุกข์ความเฉยๆดับไปจากจิตใจของเรา ก็รู้สึก มีกุศลเกิดในใจ ก็คอยรู้สึกนะ มีอกุศลเกิด โลภโกรธหลงเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ก็คอยรู้สึก แล้วจิตวิ่งไปที่ตา คอยรู้สึก จิตวิ่งไปที่หู คอยรู้สึก จิตวิ่งไปคิด คอยรู้สึก จิตวิ่งไปเพ่ง คอยรู้สึก

เนี่ยเราคอยรู้สึกอยู่ในกาย คอยรู้สึกอยู่ในใจอย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอร่างกายขยับ อย่างเรากำลังเผลออยู่ ขยับตัวปั๊บ ไม่ได้เจตนาขยับ เพราะร่างกายเราขยับอยู่ทั้งวันอยู่แล้ว กำลังเผลอๆอยู่ เกิดขยับตัวกริ๊กเดียวเท่านั้นเอง สติมาแล้ว รู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว รู้เลยเห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวอยู่ จิตมันเป็นคนดูขึ้นมา ตรงที่เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู ได้สมาธิมาแล้ว การมีสติฝึกให้มาก จำสภาวะให้แม่น แล้วสติจะเกิดเอง สตินั้นเป็นอนัตตา เช่นเดียวกับสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง จิตก็เป็นอนัตตา สั่งให้มีสติไม่ได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด สติไม่มีเหตุ สติไม่เกิด

เพราะงั้นเราต้องทำเหตุของสติ คือการหัดรู้สภาวะเนืองๆ จะจำสภาวะได้แม่น เช่นความสุขเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความทุกข์เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความโลภความโกรธความหลง เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย คอยรู้ ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหายใจ คอยรู้ คอยรู้สึกอยู่เรื่อยๆ แล้วสติจะเกิดเอง

ทันทีที่สติเกิดจิตจะเป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศล อย่างเรารู้ว่าความโกรธมา พอสติระลึกได้ปุ๊บนะ ความโกรธจะดับทันทีเลย ความโกรธหรือกิเลสทั้งหลายเนี่ย จะเกิดร่วมกับสติไม่ได้ กุศลกับอกุศลไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เหมือนแสงสว่างกับความมืดนั้น ไม่เกิดด้วยกัน แสงสว่างดับไป ความมืดก็ปรากฎขึ้น แสงสว่างปรากฎขึ้น ความมืดก็ดับไป อันนี้ก็เหมือนกุศลอกุศลทั้งหลาย กิเลสเหมือนความมืดนะ สติเหมือนแสงสว่าง ทันทีที่แสงสว่างเกิด ความมืดก็ดับไป มันจะไม่เกิดร่วมกัน

งั้นพอเราฝึกสติบ่อยๆเนี่ย กิเลสเกิดอะไรขึ้นที่จิต สติจะรู้ทันอัตโนมัติเลย โกรธแล้วนะ รู้ทันเลย โกรธ ความโกรธจะดับ เมื่อความโกรธดับ ศีลจะเกิดขึ้น เราจะไม่ทำผิดศีลเพราะความโกรธ ผิดศีลเพราะความโกรธทำอะไรได้บ้าง ไปฆ่าเค้าไปตีเค้าใช่มั้ย ไปทำลายทรัพย์สินเค้า ไปแกล้งขโมยของเค้า ไปลักขโมยเค้าเนี่ยไม่ใช่เกิดจากโลภอย่างเดียวนะ เกิดจากโกรธก็ได้ ทำลายทรัพย์สินเค้า ขโมยเค้า ไปเป็นชู้กับเค้าเพราะความโกรธก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพราะราคะ เกลียดไอ้คนนี้มาก ไปหลอกจีบลูกสาวมันจีบเมียมันอะไรงี้ เนี่ยทำผิดศีลได้ โกรธขึ้นมาก็ไปด่าเค้า หรืิอไม่ก็ไปพูดเพราะๆ หลอกให้เค้าเหลิง เสียผู้เสียคนไปเลยอย่างนั้นก็ได้ พูจเท็จด้วยความโกรธก็ได้ โกรธขึ้นมาไปกินเหล้าได้มั้ย กินเหล้าเนี่ยเป็นตัวรองแล้วนะ ตัวนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ขาดสติมากขึ้น

เพราะงั้นถ้าโกรธจริงๆ มันจะไปผิดศีล ๔ ข้อแรกนะ โลภขึ้นมาก็ผิดศีล ๔ ข้อได้ หรือโลภขึ้นมาไปกินเหล้าได้ ก็ผิดศีล ๕ ได้ หลงขึ้นมาก็ผิดศีลได้ทุกข้ออีกแหล่ะ เพราะงั้นถ้าเมื่อไหร่ กิเลสเกิดที่จิต เรารู้ไม่ทัน กิเลสครอบงำจิตได้ โอกาสทำผิดศีลเนี่ยจะมี ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทัน กิเลสดับไป โอกาสทำผิดศีลนั้นไม่มี เพราะงั้นถ้ามีสติ จะมีศีล


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๖) เจริญปัญญา

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๖) เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว ก็เจริญปัญญาต่อ เห็นกายมันทำงาน ร่างกายยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่เรายืนเดินนั่งนอนนะ เห็นเป็นรูปธรรมอันนึง เห็นเหมือนหุ่นยนต์ตัวนึงมันทำงาน จิตใจเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เห็นแต่สภาวะธรรม ความสุขก็เป็นสภาวะธรรม จิตใจที่ไปรู้ความสุขเข้าก็เป็นสภาวะธรรม ความทุกข์ก็เป็นสภาวะธรรม จิตใจที่รู้ความทุกข์เข้าก็เป็นสภาวะธรรม เห็นแต่สภาวะธรรม ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ไม่มีเราไม่มีเขานะ เห็นไปเรื่ิอยๆ แล้วสภาวะธรรมทั้งหลาย เราก็จะเห็นไปอีก ในที่สุดก็เข้าใจเลย สภาวะธรรมทั้งหลาย จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้นะ

เกิดดับไปนี่ก็เป็นอนิจจัง สิ่งซึ่งยังมีอยู่ยังไม่ดับไปนะ ยังมีอยู่นะ ก็ถูกบีบคั้นเพื่อจะให้ดับไป นี่เรียกว่าทุกขัง แล้วสิ่งทั้งหลายจะเกิดหรือจะดับ เป็นไปตามเหตุ ไม่ใช่ตามสั่ง นี่เรียกว่าอนัตตา ก็ฝึกอย่างนี้

การที่เราคอยเห็นกายเห็นใจเนี่ย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์้ เป็นอนัตตา นั่นเรียกว่าการเจริญปัญญา หรือการทำวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าเราทำได้ ๗ ประการนี้ มักน้อย สันโดษ วิเวกไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เจริญปัญญาอยู่ ธรรมะตัวที่ ๘ จะมา ความไม่เนิ่นช้า เราจะไม่เนิ่นช้า

แต่ถ้าขาด(๗ ข้อ)ข้างหน้านี้ เนิ่นช้าแน่นอน เพราะงั้นบางคนทำไมภาวนาเร็ว บางคนภาวนาช้า ยุ่งกับคนอื่นทั้งวัน ยังไงก็ช้า ขี้เกียจไม่เคยภาวนาเลย ยังไงก็ช้า วันๆเอาแต่โลภนะ อยากโน่นอยากนี่ไปเลย ไม่เคยควบคุมความอยากของตัวเองเลย ยังไงก็ช้า ไม่ยอมเจริญสติเลย ยังไงก็ช้า จิตฟุ้งซ่านตลอดเลย ยังไงก็ช้า ไม่แยกรูปแยกนาม ไม่เห็นกายเห็นใจแสดงไตรลักษณ์ ยังไงก็ช้า

เพราะงั้นถ้าเราทำธรรมะ ๗ ประการนี้ได้ มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา เราจะได้ธรรมะในเวลาอันไม่เนิ่นช้า ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี มีจริงๆ ไม่ใช่ไม่มี งั้นพวกเราไปทำเอานะ ไปทำ ปรับพฤติกรรมที่ถ่วงตัวเองให้ไม่เจริญน่ะ เลิกๆไป แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาภาวนาไป เจริญสติไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่