Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เห็นกรรมฐานใดอัศจรรย์เหมือนอานาปานสติ ลึกล้ำ จนถึงขนาดยอมรับเต็มปากเต็มคำ เต็มหัวใจเลย มันเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ ไม่ใช่กรรมฐานของคนทั่วๆไปจะเล่นได้ชำนิชำนาญหรอก

ทีนี้ พวกเราเล่นไม่ได้ทั้งหมด เราก็เลือกเอาส่วนที่เล่นได้ หายใจแล้วรู้สึกตัวไป หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิด คอยรู้ทัน ทำตรงนี้ให้ได้ หายใจไป จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา พอจิตเป็นผู้รู้แล้วจะดูกายดูใจก็ดูไปเลย ไม่ต้องไปเข้าฌานก็ได้ เอาแค่ว่าหายใจไป เห็นกายมันหายใจ ไม่ใช่ตัวเราหายใจ หายใจไปจิตใจมีความสุขความทุกข์ เห็นมันสุขมันทุกข์ของมันได้เอง หายใจไปแล้วก็เกิดกุศลบ้าง เกิดอกุศลบ้าง เช่น เกิดฟุ้งซ่าน หายใจแล้วมีฟุ้งซ่านมีไหม ส่วนใหญ่นั่นแหละหายใจแล้วฟุ้งซ่าน ใช่ไหม ก็ดูไป จิตมันฟุ้งซ่าน เราเป็นแค่คนดู ดูไปๆมันก็เลิกฟุ้งของมันไปเอง ฟุ้งซ่านมันก็ไม่เที่ยง เห็นแต่ของไม่เที่ยง มีความสงบเกิดขึ้น หายใจสบายๆ มันสงบขึ้นมา มันก็อยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หายไปอีก นี้เราฝึกแค่นี้ก็พอแล้ว

หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้ทัน มันจะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา ถัดจากนั้นเห็นร่างกายหายใจ ไม่ใช่ตัวเรา อันนี้เดินปัญญาด้วยการดูกาย ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิตก็หายใจไป มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ เฉยๆก็รู้ หายใจไปแล้วจิตเป็นกุศลก็รู้ จิตเป็นอกุศลก็รู้ บางทีเห็น ทุกอย่างชั่วคราวไปหมด

ฝึกไปอย่างนี้ เรียกว่า ปัญญานำสมาธิ มันนำสมาธิอย่างไร ความจริงมันมีสมาธิอยู่แล้ว แต่มันมีในขั้นขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล อริยมรรค อริยผล ไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา อริยมรรค อริยผล เกิดในฌานจิตเท่านั้น เกิดในรูปฌานก็ได้ เกิดในอรูปฌานก็ได้ แต่จะไม่เกิดในวิถีจิตปกติของมนุษย์นี้

ทีนี้ ถ้าเราเข้าฌานไม่เป็น ไม่ต้องตกใจ เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ถึงเวลาก็ทำความสงบ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม รู้ทันจิตที่หนีไป หมดเวลาก็มารู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวันต่อไป ถึงวันที่ สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง แล้วเกิด อริยมรรค อริยผล ขึ้น อันนี้เรียกว่า ใช้ปัญญานำสมาธิ

ลึกซึ้งมาก เรื่องอานาปานสติ แต่ว่าเราฝึกง่ายๆอย่างที่หลวงพ่อบอก ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องสนใจถึงขนาด ทำอย่างไรจะเกิดฌานจิต ทำอย่างไรจะไปเดินวิปัสสนาในอุปจาระ เห็นมันไหวๆขึ้นมา แต่ส่วนมากพวกเราก็ทำได้อันนี้ คนจำนวนมากก็ทำได้ นั่งสมาธิแล้วก็เห็น ใจสงบไปเห็นมันปรุงขึ้นมา เกิดดับไป บางทีไม่รู้ว่าอะไรเกิดอะไรดับ ไม่มีชื่อ ถ้ายังมีชื่ออยู่จิตยังฟุ้งซ่านมาก บางทีเห็นแค่สิ่งบางสิ่งเกิด แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที ประเภทหนึ่งในแสน หายาก ส่วนถ้าฝึกในชีวิตประจำวัน เดินปัญญาอยู่นี้ ง่าย พอทำได้สำหรับฆราวาส ที่วันๆเต็มไปด้วยความวุ่นวายนะ หายใจไป อย่าหยุดหายใจ หายใจไว้ก่อน เอ้า ต่อไปส่งการบ้าน

541106B.17m57-22m17

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สุกขวิปัสสกะเหมือนซำเหมาทัวร์

mp 3 (for download) : สุกขวิปัสสกะเหมือนซำเหมาทัวร์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สุกขวิปัสสกะเหมือนซำเหมาทัวร์

สุกขวิปัสสกะเหมือนซำเหมาทัวร์

หลวงพ่อปราโมทย์: เจริญปัญญารวดเดียว จิตจะแห้งแล้ง ไม่มีความสุขหรอก ไปไม่ไหว ไปยาก ลำบาก ถ้าไปเจริญปัญญารวดนะ คล้ายๆคนเดินทางไกลนะ แต่ไปแบบยากจน ซำเหมาทัวร์ มีเป้ใบหนึ่งแล้วเดินไปเรื่อยนะ รองเท้าขาดก็ปะเอา แล้วก็เดินต่อไป มืดที่ไหนก็ไปนอนแถวนั้นน่ะ ดูซิ มีลำห้วย ลำธาร บ่อน้ำมั้ย หาอะไรกินไป ไปเจอกล้วยก็กิน อะไรอย่างนี้ ก็พออยู่นะ พอไปได้ ไปลำบาก

ถ้าเป็นคนที่มีสมาธิเป็นที่พักผ่อนนะ เที่ยวแบบเจ้าสัว นั่งรถไปเที่ยวนะ ตรงนี้ก็ขึ้น ฮ. (เฮลิคอปเตอร์) ตรงนี้นั่งเครื่องร่อนนะ ไปเรื่อย ถึงเวลาพักผ่อน มีโรงแรมให้นอน มีอาหารมาเสิร์ฟ ก็ไม่เหมือนกัน

แต่เราจะไปอิจฉาเศรษฐีไม่ได้นะ ถ้าเราจนน่ะ เพราะฉะนั้นเราภาวนา ถ้าเราได้แค่จนๆ เราก็เอาจนๆนี้แหละ ไปแบบคนจนนะ ไม่ต้องง้อเศรษฐี ถ้าทำความสงบได้ก็สบาย ภาวนาเหมือนเศรษฐี มีความสุข

แต่อาจจะช้าก็ได้นะ ไม่ได้บอกว่าภาวนามีความสุขแล้วจะเร็วกว่าพวกที่ภาวนาลำบากนะ แล้วก็ไม่ใช่ว่าพวกภาวนาลำบากแล้วจะเร็วกว่าพวกที่ภาวนาแล้วมีความสุข คนละเรื่องกัน คนละพวกกัน ไม่เกี่ยวกันสองเรื่องนี้ ระหว่างช้าเร็วนะ กับมีความสุขหรือมีความทุกข์ในการปฏิบัติเนี่ย เป็นคนละประเด็น พวกไหน กิเลสหนาหน่อยก็ภาวนาลำบาก พวกกิเลสเบาบางก็ภาวนามีความสุขหน่อย พวกไหนอินทรีย์แก่กล้าแล้วก็บรรลุเร็ว อินทรีย์ไม่แก่กล้าก็บรรลุช้า คนละประเด็นกัน

เพราะฉะนั้นภาวนาแบบแห้งแล้ง สุกขวิปัสสกะ ไม่จำเป็นต้องช้า ไม่ช้า พวกที่ทำสมาธิมากอาจจะช้าก็ได้ เพราะมัวแต่ไปนั่งสมาธิเพลินไป ไม่ยอมเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๑๖
File: 530917B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตปุถุชนไม่ตั้งมั่น

mp3 for download : จิตปุถุชนไม่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตปุถุชนไม่ตั้งมั่น

จิตปุถุชนไม่ตั้งมั่น

โยม : ครับ หลวงพ่อ เห็นจิตมันไหลไปคิดเร็วขึ้นบ้างครับ

หลวงพ่อ : ดีสิ เห็นมั้ยไหลทั้งวัน แว้บๆๆๆ เนี่ยปุถุชนใช่มั้ย จิตไม่มีสมาธิ ไม่ตั้งมั่น ไหลแว้บๆ แล้วพอกิเลสหลอกนะ ก็ผิดศีลง่าย เพราะฉะนั้นให้เรามีสตินะ เราคอยรู้ ใจไหลแว้บๆคอยรู้ไปเรื่อยๆ สติมันเร็วขึ้นๆ เก๊ารู้สึกมั้ย แล้วใจมันมีแรงมากขึ้น มีกำลัง สมาธินี้ก็ดีขึ้น ใจก็มีแรงมากขึ้น ดีแล้วไปฝึกต่อนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการภาวนาของผู้ที่ทำฌานไม่ได้ (สุกขวิปัสสกะ)

mp3 for download : วิธีการภาวนาของผู้ที่ทำฌานไม่ได้ (สุกขวิปัสสกะ)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราส่วนใหญ่ให้เข้าฌาน เข้าไม่ได้ แล้วทำอย่างไรดีเข้าฌานไม่ได้?

หัดง่ายๆทีว่าอย่างทีแรกนะ หัดดูจิต พุทโธๆไป แล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน ไม่ได้ฝึกไม่ให้จิตหนี แต่จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตจะตั้งมั่น แต่ตั้งชั่วขณะ เรียกว่ามี “ขณิกสมาธิ”

แค่ขณิกสมาธินี้ใช้เดินปัญญาได้แล้ว จิตมันตั้งขึ้นมาเป็นขณะๆ ต่อไปสติมันเลยระลึกรู้กาย จิตยังตั้งอยู่ได้นะ ระลึกอยู่ ตัวจิตตั้งอยู่แว้บเดียว มันเห็นเลย กายนี้ไม่ใช่เรา เหมือนที่พวกเราหลายคนอาบน้ำ มีมาเล่าเรื่อยๆนะก่อนนี้ อาบน้ำ ถูสบู่ ถูไปๆรู้สึกแว้บขึ้นมา ไอ้นี่ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เป็นท่อนๆอะไรท่อนหนึ่ง นี่จิตมันตั้งชั่วขณะนะ มันเห็นอย่างนั้นเลย

ถ้าตั้งแบบมีตัวผู้รู้ผ่านการทำฌานมา จะเห็นทั้งวัน ที่ยืนเดินนั่งนอนตลอดวันนั้น ไม่มีเรา แต่พวกขณิกสมาธิก็จะเห็นชั่วเวลาที่มีสมาธิชั่วขณะ ชั่วขณะเห็นแว้บหนึ่ง ไม่มีเรา เห็นบ่อยๆ ค่อยฝึกไป ต่อไปก็จะเห็นบ่อยขึ้น สุดท้ายจิตก็ยอมรับความจริงว่าไม่มีเราได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลนะ ไม่ใช่ทุกคนต้องเข้าฌานให้ได้ ถ้าทุกคนต้องเข้าฌานให้ได้นะ คนสมัยพุทธกาลเขาก็ภาวนาไม่ได้

มีสถิตินะ คนที่บอกสถิตินี้คือพระพุทธเจ้า วันหนึ่งพระพุทธเจ้าก็บอกกับพระสาวก บอกว่า ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ สมัยพุทธกาลชอบเลข ๕๐๐ มากเลย ในพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มีพระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ นี้ ๖๐ องค์ คนได้วิชา ๓ ต้องได้สมาธินะ มีพระอรหันต์ที่ได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ องค์ รวมเป็น ๑๒๐ แล้วนะ พวกอภิญญาก็ต้องเล่นสมาธิเชี่ยวชาญยิ่งกว่าพวกวิชา ๓ เสียอีก ในพวกนี้ มีทั้งสมาธิและปัญญาอีก ๖๐ องค์ เพราะฉะนั้นได้สมาธิด้วย ได้ปัญญาด้วย อีก ๖๐ องค์ รวมเป็น ๑๘๐ จาก ๕๐๐

พวกที่เหลือ (๓๒๐ องค์ – ผู้ถอด) คือคนอย่างพวกเรานี่เอง พวกที่ทำสมาธิไม่ได้จริงน่ะ คนธรรมดาๆนี่เอง พวก “สุกขวิปัสสกะ” พวกที่เดินโดยอาศัยปัญญาเป็นหลัก มีสมาธิเป็นตัวประกอบ แต่ว่าไม่ใช่ว่าพวกที่เดินด้วยปัญญาไม่มีสมาธินะ ต้องมีสมาธิ แต่ว่ามีสมาธิเป็นขณะๆนะ ใจไหลไปแล้วรู้ๆ ซ้อมทุกวัน ทำในรูปแบบเข้า แล้วซ้อมดู

ทุกวันต้องทำในรูปแบบนะ พวกเราไม่ใช่พวกทรงฌาน เพราะฉะนั้นพวกเราถ้าไม่ซ้อมทุกวันนะ วันไหนไม่ซ้อมอีกวันหนึ่งก็ไม่มีแรงแล้ว แรงของพวกเรามีน้อยมากเลย คล้ายๆคนยากคนจนนะ เติมน้ำมันทีหนึ่ง ๕๐ บาท อะไรอย่างนี้ วิ่งได้นิดเดียวแหละ ไม่ใช่เติมทีละพันกว่าแล้ววิ่งไปทั้งวัน เพราะฉะนั้นเราต้องเติมน้ำมันบ่อยๆ เพราะน้ำมันเราน้อย

เพราะฉะนั้นทุกวันนะ ทำในรูปแบบไว้ วิธีทำในรูปแบบ ไหว้พระสวดมนต์ไป จิตใจหนีไปแล้วรู้ทัน ไหว้พระเสร็จแล้วจะพบว่า กว่าจะสวดมนต์จบ หนีไปเกือบร้อยครั้งแล้ว หนีแว้บๆๆ ตลอดเลย

พอสวดจบแล้วมานั่งดูจิตดูใจ หรือมาเดินจงกรม ทำในรูปแบบนะ หายใจเข้ารู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว ใจหนีไปคิดแล้วรู้ทัน หายใจเข้ารู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว ใจไปเพ่งลมหายใจ ไปเพ่งท้องแล้ว รู้ทัน หรือพุทโธๆไป พุทโธไปรู้สึกตัวไป พุทโธไปแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน พุทโธแล้วจิตไปเพ่งคำว่าพุทโธ เพ่งจิตเฉยๆ จนจิตนิ่งทื่อๆขึ้นมา ก็รู้ทัน พุทโธแล้วจิตเป็นอย่างไรก็รู้ว่าจิตเป็นอย่างนั้น

คนไหนถนัดดูท้องพองยุบก็ดูไป ไม่ได้ผิด เหมือนกันหมด เท่าเทียมกันหมดเลย กรรมฐานทั้งหลายนี้ อย่าดูถูกของคนอื่นเขา ว่าของเขาไม่ดี ของเราเท่านั้นที่ดี มันดีสำหรับเรา มันไม่ได้ดีสำหรับคนอื่นเสมอไป เพราะฉะนั้นเราดูท้องพองยุบไป จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้ เหมือนกันเห็นไหม ใช้หลักเดียวกัน ขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ ขยับไปแล้วรู้สึกตัว จิตหนีไปก็รู้ จิตเพ่งใส่มือก็รู้

รู้ทันจิตไปเรื่อย ในที่สุดจิตขยับนิดเดียวเราเห็น จิตขยับแล้วเห็น จิตจะเริ่มสงบ จิตจะเริ่มตั้งมั่นขึ้นมา ได้สมาธิเหมือนกัน เพราะฉะนั้นดูจิตนี้ ระวังให้ดีนะ บางคนนึกว่าดูจิตแล้วจะเป็นปัญญา ไม่เป็นหรอก ดูจิตแล้วได้สมาธินะ เดินปัญญาต้องทำอีกอย่างหนึ่ง เดินปัญญาต้องแยกธาตุแยกขันธ์

ถ้าแยกธาตุแยกขันธ์ ดูกาย ก็เห็นกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ ดูไปเรื่อย กายนี้ประกอบด้วยก้อนธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

ถ้าดูจิตก็แยกขันธ์ต่อไปอีก เวทนาก็ส่วนหนึ่ง จิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง นี่ต้องแยกขันธ์นะ อย่ามัวแต่หลงตามดูเวทนาจนลืมจิตนะ เช่น ความสุขเกิดขึ้นมัวแต่ดูความสุข ลืมจิตแล้ว จิตมีราคะ พอใจในความสุขแล้วไม่เห็น (ไม่เห็นราคะความพอใจ – ผู้ถอด) นี่เรียกว่าดูจิตไม่เป็น ภาวนาไม่ถึงจิตถึงใจ ใช้ไม่ได้

เพราะฉะนั้นเวทนาเกิดขึ้น เวทนาไม่ใช่จิต แยกไปเลย เวทนาไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่แปลกปลอม มาแล้วก็ไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ แต่ไม่ประคองตัวผู้รู้ผู้ดูนะ ต้องระวัง อย่าประคอง อย่ารักษา มันมีอยู่ก็มี มันหายไปก็หาย ถ้ารักษาอยู่จะเป็นสมถะอีกชนิดหนึ่ง เป็นอรูปฌาน ทางผิดนี่เต็มไปหมดเลยนะ แยกขันธ์ต่อไปอีก เวทนาแยกแล้ว สุขทุกข์เกิดขึ้นทางใจเรารู้ทัน ใจเป็นคนดู

กุศล-อกุศลเป็นสังขารขันธ์ กุศล-อกุศลเกิดขึ้น กุศล-อกุศลไม่ใช่จิต ความโกรธไม่ใช่จิต ความโลภไม่ใช่จิต ศรัทธา วิริยะ สติ อะไรพวกนี้ไม่ใช่จิตทั้งนั้นเลย จิตเป็นธรรมชาติรู้เท่านั้น องค์ธรรมแต่ละอย่างๆ แยกออกไป มีหน้าที่ของตัวเอง มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เช่น ปีติก็มีลักษณะของปีติ ความโกรธก็มีลักษณะเฉพาะของความโกรธ เราดูไปนะ เราไม่ถลำตามสังขาร ความปรุงแต่งทั้งหลาย

ไม่ใช่ความโกรธเกิดขึ้น ไปดูความโกรธ ความโกรธหดลงไปอยู่ข้างใน ตามลึกลงไปในข้างใน อย่างนี้ไม่ถูก หรือว่าความปรุงแต่งไหวๆอยู่ตรงนี้ พอไปดูนะ มันเคลื่อนไปอยู่ข้างหน้า เราก็ส่งจิตตามไปอยู่ข้างหน้า พอมันดับไปปุ๊บเรากลับบ้านไม่เป็นแล้ว ใจโล่งว่างอยู่ข้างหน้า อันนี้ก็ผิดอีก

ประคองตัวผู้รู้ไว้ก็ผิดนะ จิตไหลออกไปก็ผิด ดูสิ ทางผิดเต็มไปหมดเลย ประคองจิตเอาไว้ รักษาจิตเอาไว้ สุดโต่งในข้างบังคับ จิตไหลออกไป จิตหลงออกไป จิตไม่ตั้งมั่นในการดู สุดโต่งในข้างหลงตามกิเลส

เพราะฉะนั้นตรงกลางนี้ รู้ด้วยความเป็นกลางนะ ไม่ได้ประคองรักษาจิต แต่รู้ทันจิต ไม่รักษาจิตนะ แต่รู้ทันจิต เพราะฉะนั้นราคะเกิดขึ้น จิตยินดีพอใจ รู้ทัน หรือจิตเกลียดกิเลส เห็นกิเลสแล้วเกลียดมันขึ้นมา รู้ว่าเกลียด ความสุขเกิดขึ้น จิตยินดี รู้ทัน ความทุกข์เกิดขึ้น จิตยินร้าย รู้ทัน รู้ทันกลับเข้ามาที่จิตนี่ (หมายถึง รู้ทันความยินดียินร้ายของจิต ไม่ต้องส่งจิตกลับเข้ามา จิตจะกลับมาได้ด้วยจิตเอง – ผู้ถอด) จิตมันยินดี จิตมันยินร้าย อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า “ดูจิต” นะ ไม่ใช่เพ่งจิตให้นิ่ง เพ่งจิตให้นิ่งไม่ได้เรียกว่าดูจิต

แต่ดูกิเลสนี้ ก็ไม่ใช่ดูจิต กิเลสไม่ใช่จิต ความสุขความทุกข์มันไม่ใช่จิต เราอาศัยการแยกขันธ์นะ แยกเวทนา ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ แยกสังขารที่เป็นกุศล-อกุศล แยกออกไป จิตเป็นคนดู เมื่อจิตไปรู้เวทนา จิตไปรู้สังขารแล้ว จิตเกิดปฏิกิริยายินดียินร้ายอะไรขึ้นมา รู้ทัน อย่างนี้เรียกว่ารู้ทันจิต

ถ้าประคองอยู่อย่างนี้ จะไม่มียินดียินร้ายเกิดขึ้น จะรู้สึกกูเก่งด้วยซ้ำไป การประคองจิตเป็นการทำอรูปฌานนะ เป็นความปรุงแต่งที่เรียกว่า “อเนญชาภิสังขาร” รากเหง้าของมันคือ “อวิชา” เช่นเดียวกับความปรุงแต่งฝ่ายชั่วทั้งหลาย หรือก็คือความปรุงแต่งฝ่ายดีนั่นเอง ความปรุงแต่งทุกชนิดมีรากเหง้าอันเดียวกัน คืออวิชา เรียนแค่นี้พอแล้ว วันนี้…


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
ลำดับที่ ๑๑
File: 530424.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๑ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่