Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การภาวนาต้องถึงจิตถึงใจ

mp 3 (for download) : การภาวนาต้องถึงจิตถึงใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ภาวนาต้องถึงจิตถึงใจนะ ภาวนาไม่ถึงจิตถึงใจสู้กิเลสไม่ได้ กิเลสมันอยู่ที่ใจ เพราะฉะนั้นต้องสอดส่องมัน กุศลอะไรยังไม่ทำ หัดทำซะ อกุศลอะไรยังไม่ละ ก็หัดละซะ ละด้วยวิธีไหน ละด้วยการรู้ทันมัน อย่าไปตามใจมัน มันขี้เกียจ มันอยากนอน ดูแล้วนี่ไม่ใช่ร่างกายอ่อนแอ ไม่ใช่ร่างกายอ่อนเพลีย ใจมันขี้เกียจ ไม่นอน ภาวนาต่อ

เดินจงกรมขาบวมฉึ่งเลย เดินไม่ได้แล้ว เดินไม่ได้ทำไงดีล่ะ ครูบาอาจารย์สอนมานะ หลวงพ่อพุธนะเคยสอน เดินไม่ได้ก็คลานสิ พวกเราเอาไหม เดินไม่ได้ก็นอนสิ (หัวเราะ) ครูบาอาจารย์สอน เดินไม่ได้คลาน เอ้า คลานจนมือแตกเข่าแตก ทำไง กลิ้งสิ ยังไม่ได้บอกให้นอนเลยนะ จนกระทั่งสุดท้ายนอนแขม่วๆ ก็ขยับไปสิ เนี่ยสอนขนาดนี้เลยนะ คือไม่ให้เราทิ้งการปฏิบัติเลย ต้องหัดดูเอา ไม่นานก็เป็น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อ วันเสาร์ ที่ ๑๑ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗
File: 571011B
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะมีปัญญา ต้องหัดเจริญปัญญา

Video link : youtu.be/nRfMG5t5-OE

ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันอยู่ที่ว่า.. นักปฏิบัติก็ยังมีจำนวนพอสมควรนะ แต่ว่ามันอยู่ตรงที่ว่าภาวนาผิด ไปเพ่ง ไปจ้อง เพ่งจ้องนิ่งเอาไว้เฉยๆ ไปเพ่งไปจ้องให้จิตมันนิ่ง หรือบังคับร่างกายบังคับจิตใจ ไม่ทำให้เกิดปัญญา ต้องปล่อยให้กายมันทำงานแล้วมีสติตามรู้ไป คอยเห็นว่าร่างกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปล่อยให้จิตมันทำงาน มีสติตามรู้ จิตตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่ เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา มาแล้วก็ไป มาแล้วก็ไป ถ้าดูได้อย่างนี้นะ ก็ใช้เวลาไม่นานหรอก พอเราภาวนาไปถึงจุดหนึ่ง จิตมันจะปิ๊ง ปิ๊งขึ้นมานะ รู้ ไม่มีตัวเรา ตัวเราหายไปแล้ว

นักปฏิบัติสมัยก่อนนะ ติดสมถะกันแทบทั้งนั้นเลย ทำแต่สมาธิ สงบ นิ่ง เฉยเลย หวังว่าทำสมาธิมากๆแล้วจะหลุดพ้น จะเกิดปัญญา ไม่เกิดหรอก นี่หลวงพ่อเห็นเว็บของติกน่ะ พัลวันน่ะ ตึก ไปเอาที่หลวงพ่อเคยพูดบ่อยๆ ที่ไตรภพสัมภาษณ์หลวงตา เอามาลงนะ ไปดูสิ มีพยานแล้วนะ เมื่อแต่ก่อนเราพูด บางคนก็บอกว่าเราแต่งเองหรือเปล่าวะ หลวงตาจะเอามาพูดเหรอ มีหลักฐานแล้วนะ นั่นถอดมาคำต่อคำเลย ถามว่า ถ้ามีศีลมีสมาธิแล้ว มันจะมีปัญญามั้ย ไม่มี คนละเรื่องกัน แล้วทำยังไงจะเกิดปัญญา ก็ต้องเดินปัญญาสิ ต้องพิจารณา พิจารณาเนี่ยไม่ใช่.. แต่เบื้องต้นมันก็คิดเอานะ สำหรับคนที่ติดความสงบก็ต้องคิดเอา เบื้องปลายแล้วการพิจารณาไม่ได้แปลว่าคิดแล้ว หลวงพ่อพุธ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย – ผู้ถอด) ท่านอธิบายดี พิจารณาคือตัววิจารณ์ (พิจารณา เป็นศัพท์ที่มีรากมาจากภาษาสันสกฤต วิจาร เป็นศัพท์ที่มีรากมาจากภาษาบาลี มีความหมายอย่างเดียวกัน – ผู้ถอด) ใจมันเคล้าเคลียเรียนรู้อยุ่อย่างนั้น เรียกว่า พิจารณา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลท่าพระ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๙ – นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๕
youtu.be/vkRxfKOP9P0

หลวงตามหาบัวแสดงธรรมในรายการทไวไลท์โชว์

ไตรภพ : อยู่บนศีล สมาธิ แล้วปัญญามันจะมาเอง?

หลวงตาฯ : หา.. อะไรจะมาเอง?

ไตรภพ : ปัญญาจะมามั้ยขอรับพระคุณเจ้า ถ้ามีศีล มีสมาธิตั้งมั่นแน่วแน่ ปัญญาจะมามั้ยขอรับ

หลวงตาฯ : ไม่มา

ไตรภพ : แล้วปัญญาจะมาได้อย่างไรขอรับ?

หลวงตาฯ : ก็พิจารณาทางด้านปัญญา

ไตรภพ : สาธุ..

หลวงตาฯ : คือศีลต้องเป็นศีล แต่เป็นเครื่องหนุนให้สมาธิเกิดขึ้นได้อย่างง่าย เช่น ผู้ปฏิบัติตัวด้วยศีลอันบริสุทธิ์แล้วนะ จิตจะไม่เป็นกังวลระแคะระคายในตัวของตนว่าเป็นผู้มีศีลด่างพร้อยอะไรๆ เพราะศีลสมบูรณ์แล้วก็มีความอบอุ่น จิตก็ไม่เป็นกังวล เมื่อจิตไม่เป็นกังวลแล้วทำสมาธิก็ลงได้เร็ว ลงได้เร็วแล้วเป็นสมาธิแน่วแน่เข้าไป สมาธิเป็นหลายขั้นหลายภูมิในภาคปฏิบัติ สำหรับทางด้านปริยัติที่เราจดจำมานั้น กับภาคปฏิบัติผิดกันมาก ต้องได้ผ่านทางภาคปริยัติและภาคปฏิบัติแล้วจะพูดได้อย่างฉาดฉาน คนเรานะ…

รายการทไวไลท์โชว์
ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๑
เวลา ๑๖:๐๐ น. – ๑๗:๐๐ น.
นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๕
youtu.be/TXZnYbYbpOg

ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนทำสมาธิ ส่วนใหญ่ไปติดสงบนะ เพ่งลูกแก้ว เพ่งพระพุทธรูป เพ่งไฟ เพ่งอยู่อย่างนั้น จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว นั่นเป็นสมถะ แค่สมถะเท่านั้นเอง ยังไม่ถึงจิตตั้งมั่นด้วยซ้ำไป พอจิตตั้งมั่นแล้วก็ยังต้องมาแยกขันธ์อีก แยกขันธ์แล้วต้องมาดูขันธ์แสดงไตรลักษณ์ ที่ทำกรรมฐานหลายสิบปีแล้วยังไม่ได้ผล ก็เพราะเรื่องนี้แหละ ไปติดความนิ่ง สงบเฉยๆ ว่างๆ เห็นโน่นเห็นนี่นะ นั่งเห็นโน่นเห็นนี่ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลท่าพระ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษกรำลึก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๐ – นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๕
youtu.be/vkRxfKOP9P0

ดูเพิ่มเติม : การแยกขันธ์เป็นขั้นเจริญปัญญา http://wp.me/pNG1y-6gM #หลวงพ่อปราโมทย์ (Re-airing) http://www.dhammada.net/2013/12/06/24104/

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

mp3 for download : วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :เนี่ยพวกเรา จุดสำคัญนะ ก่อนที่พวกเราจะก้าวไปสู่การเจริญปัญญาซึ่งว่ากันเป็นของดีของวิเศษ ในทางพระพุทธศาสนา เราต้องมาปรับจิตใจของเราก่อน ให้พร้อม ต้องมาเตรียมความพร้อมของจิตเสียก่อน จิตที่จะไปเจริญปัญญาได้ต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง

สมาชิกทั้งสองชนิดมีประโยชน์ทั้งคู่ สมาธิเพื่อความสงบก็มีประโยชน์ แต่ประโยชน์ของสมาธิเพื่อความสงบนั้นน่ะ ทำให้จิตใจสดชื่น มีเรี่ยวมีแรงนะ ส่วนสมาธิที่ใช้เจริญปัญญานั้นทำให้จิตใจฉลาด คนละแบบกัน มีประโยชน์ทั้งคู่ ถ้าเราทำสมาธิได้ทั้งสองชนิด ดีที่สุด ถ้าทำชนิดแรกไม่ได้นะ ทำไปเพื่อความสงบไม่ได้ ทำอย่างที่สองได้ ก็ยังเอาตัวรอดได้

ในสมัยพุทธกาลนะ ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านก็อธิบายให้พวกพระฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มี ๖๐ องค์ได้วิชา ๓ วิชา ๓ ก็คือ ระลึกชาติได้ รู้ว่าใครตายแล้วไปเกิดที่ไหน แล้วก็ล้างกิเลสได้ ๓ อย่าง พระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย มี ๖๐ องค์ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ต้องทรงฌานนะ ต้องทรงฌาน ในบรรดา ๕๐๐ องค์

นอกจากวิชา ๓ แล้วนะ ยังมีพวก อภิญญา ๖ นะ เช่นได้หูทิพย์ ตาทิพย์ รู้วาระจิตคนอื่นอะไรอย่างนี้ มีทิพยโสต ทิพยจักษุ เจโตปริยญาณ จำไม่ได้แล้ว มีหลายอัน พระอรหันต์ที่ได้อภิญญา ๖ มี ๖๐ องค์ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้อภิญญา ๖ น่ะ ต้องทรงฌานนะ เพราะฉะนั้นรวม ๒ กลุ่มนี้ ได้ ๑๒๐ จาก ๕๐๐ (รวมเป็นร้อยละ ๒๔ – ผู้ถอด)

ก็ยังมีพระอรหันต์อีกจำพวกหนึ่ง ท่านเรียกว่า อุภโตภาควิมุติ อุภโตภาควิมุตินั้นไม่เหมือนพระอรหันต์ทั่วๆไป คือตอนที่บรรลุมรรคผลเนี่ย ท่านเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์ทั่วๆไปเนี่ย บรรลุมรรคผล เข้ารูปฌาน พวกที่เข้าถึงอรูปฌานก็ดับรูป ดับรูปธรรมด้วยอรูปฌาน ดับนามธรรมทั้งหลายด้วยวิปัสสนาญาณ เลยเรียกว่า “ดับโดยส่วนทั้งสอง” คือ ดับทั้งรูปทั้งนาม ดับทั้งรูปทั้งนามไม่ใช่ไม่มีอะไรเหลือ ว่างเปล่า นะ ไม่มีอะไรเลยเรียกว่าพรหมลูกฟัก ไม่ใช่ ยังมีจิตอยู่ แต่ไม่มีความปรุงแต่งหยาบๆอย่างที่พวกเราเห็น คือท่านปล่อยวางความยึดถือทั้งในรูปธรรมและในนามธรรมได้ แต่ปล่อยรูปธรรมไปเพราะเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์จำพวกนี้มี ๖๐ องค์เหมือนกัน

รวมทั้ง ๓ ชนิดนะ ๖๐ + ๖๐ + ๖๐ ได้เท่าไหร่ ๑๘๐ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๓๖ – ผู้ถอด) พระอรหันต์ที่เหลือ ๓๒๐ (คิดเป็นร้อยละ ๖๔ – ผู้ถอด) คือคนซึ่งธรรมดาๆอย่างพวกเรานี่แหละ ไม่ใช่ว่าทรงฌานอย่างชำนิชำนาญมาก่อน อาจจะเดินปัญญาไป จิตไม่ได้ทรงฌาน เดินปัญญารวดไปเลย แห้งแล้ง พระอรหันต์ที่ปฏิบัติไปนะ บรรลุมรรคผลนิพพานไปด้วยใจที่แห้งแล้ง หมายถึงไม่มีความชุ่มฉ่ำหรอก เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ภาวนาไปเนี่ย ใจไม่ได้พัก เพราะฉะนั้นจะทุกข์ยากเยอะเลย ทุกข์มากนะ ภาวนาแล้วจะรู้สึกแห้งแล้ง เรียกว่าพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ ไม่ได้ทรงฌาน แต่ตอนที่เป็นพระอรหันตแล้วนะ ตอนที่เป็นพระโสดาบันแล้วน่ะ จะได้ฌานอัตโนมัติ อย่างน้อยจะได้ปฐมฌานขึ้นมา แต่ตอนที่เดินไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลเนี่ย ไม่ได้ทำฌาน

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ พวกเราจะไปสรุปตามใจชอบนะว่า ต้องนั่งสมาธิเข้าฌานได้ก่อน ถึงจะเจริญปัญญาได้ บางคนสรุปแบบนี้นะ ใช้ไม่ได้เลยนะ มันขัดกับพระไตรปิฎกเลย คนส่วนน้อยหรอก ที่ทรงฌาน คนส่วนมากก็คือคนอย่างพวกเรานี้แหละ แล้วทำไมถึงไปบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ท่านที่บรรลุมรรคผลโดยทรงฌาน ท่านก็มีสมาธิอย่างที่สองด้วย ถ้ามีสมาธิแต่อย่างแรกน่ะ จะบรรลุมรรคผลไม่ได้หรอก

สมาธิสองชนิดต่างกันอย่างไร สมาธิอย่างแรกที่เป็นไปเพื่อความสุขความสงบนั้นน่ะ มันมีลักษณะที่ว่า มีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตไปรวมสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพราะฉะนั้นไม่เดินปัญญา ยกตัวอย่าง พุทโธ พุทโธ พุทโธ นะ จิตอยู่กับพุทโธไม่หนีไปไหนเลย สงบอยู่กับพุทโธ นี่คือสมาธิชนิดที่หนึ่ง ไปรู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปไหนเลย จิตจับอยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเลย นี่คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปดูท้องพองยุบ เห็นท้องพองท้องยุบ จิตจับเข้าไปที่ท้อง ไม่ไปไหนเลย สงบอยู่กับท้องเท่านั้นเอง นี่เป็นสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า จิตไปเพ่งอยู่ที่เท้า หรือเพ่งอยู่ที่ร่างกายทั้งร่างกาย นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง

ปกติจิตของคนเรานะ จะส่ายตลอดเวลานะ จะวิ่งหาอารมณ์ตลอดเวลา เดี๋ยวก็วิ่งไปทางตา ไปหาอารมณ์ทางตา เรียกว่า รูปารมณ์ คือ อารมณ์คือรูป บางทีก็วิ่งไปหาอารมณ์ทางหู คือเสียงนะ บางทีก็ไปหากลิ่น หารส หาสิ่งที่มาสัมผัสร่างกาย บางทีก็วิ่งไปนึกคิดปรุงแต่งทางใจ ถ้าทางใจเรียกว่า ธรรมารมณ์ จิตของเราจะจับจดในอารมณ์ต่างๆนะ วิ่งไปจับอารมณ์นั้นทีหนึ่ง วิ่งไปจับอารมณ์นี้ทีหนึ่ง มันวิ่งไปเพราะอะไร เพราะมันเที่ยวแสวงหาความสุข มันไปดูรูป มันหวังว่าจะมีความสุข มันไปฟังเสียง มันหวังว่าจะมีความสุข ไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกาย ไปคิดนึกทางใจ หวังว่าจะมีความสุข แล้วมันไม่อิ่ม มันไม่เต็ม มันก็วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นต่อไปอีกนะ คล้ายๆหมาตัวหนึ่งนะ หมาจรจัด ไม่มีใครเลี้ยง ก็วิ่งไปทางนี้ ได้กินอาหารนิดหน่อยนะ คุ้ยขยะได้อาหารมานิดหน่อยนะ ไม่อิ่มน่ะ ก็ต้องวิ่งไปที่อื่นอีก ไปคุ้ยที่อื่นนะ บางทีกินได้หน่อยหนึ่งไม่อิ่มนะ ก็วิ่งต่อไปอีก

จิตของเราที่มันไม่ได้ทรงสมาธินะ ไม่ได้ทรงสมาธิชนิดที่ใช้พักผ่อนน่ะ เป็นจิตที่หิวอารมณ์ จิตของเราเหมือนหมาจรจัด ไม่เต็ม ไม่อิ่ม จะหิวโหยอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แล้วมันจะวิ่งพล่านไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลาเลย

มันก็มีวิธีการที่จะทำให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวนะ ให้เราเลือกอารมณ์กรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แทนที่จะปล่อยให้จิตสะเปะสะปะ เที่ยวหาอารมณ์ร่อนเร่ไปตามยถากรรม เราก็มาดูว่าจริตนิสัยของเรา ควรจะทำกรรมฐานอะไรเพื่อให้จิตมีความสุข เคล็ดลับของการทำสมถกรรมฐาน สมาธิชนิดที่ ๑ สมาธิที่ใจสงบเนี่ย อยู่ที่การเลือกอารมณ์ ว่าเรารู้จักเลือกอารมณ์ที่เหมาะกับจริตนิสัยของเรามั้ย ยกตัวอย่างคนไหนช่างคิดมากก็อาจจะหายใจ รู้ลมหายใจไป คนไหนขี้โมโหมากก็อาจจะเจริญเมตตาไป คนไหนความยึดความคิดความเห็นรุนแรงอะไรมากนะ ทะเลาะกับเขาไปทั่ว อาจจะคิดถึงความตายขึ้นมาก็ได้ คนไหนบ้ากามมากก็มาคิดถึงร่างกาย ที่เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ ไม่สวยไม่งาม อย่างนี้ใจมันได้อารมณ์ที่พอเหมาะ มันจะสงบ

สรุปง่ายๆว่า ถ้าเรารู้จักเลือกอารมณ์ ที่จิตไปรู้แล้วมีความสุข จิตก็มีจะมีความสุขอยู่ในอารมณ์อันนั้นแล้วไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อันอื่น คล้ายๆหมาตัวนี้่วิ่งๆมานะ มาเจอคนใจบุญ คนใจบุญให้อาหารกินเต็มอิ่มเลย หมานี้ไม่ต้องวิ่งพล่านไปที่อื่นแล้ว หมาก็อยู่กับที่นะ เดี๋ยวนอนไป ตื่นขึ้นมา หิวอีกแล้ว คนก็ให้กินอีก ไม่หนีไปไหนเลย สุดท้ายเป็นหมาขี้เกียจ นอนอยู่อย่างนั้แหละ พวกที่ติดสมาธินั้นแหละ เปรียบเทียบรุนแรงไปมั้ย พวกที่หิวอารมณ์นะ ก็เหมือนหมาจรจัดนะ พวกที่ติดสมาธิก็เหมือนหมาที่มีเจ้าของ ได้กินอิ่มก็ไม่ไปไหน มีแต่ความสุขอยู่แค่นั้นเอง

เพราะฉะนั้นอยู่ที่การเลือกอารมณ์นะ ทำได้ ควรจะทำ ถ้าทำแล้วจิตใจะมีเรี่ยวมีแรง มีประโยชน์นะ ไม่ใช่ไม่มี สมถกรรมฐานมีประโยชน์ ถ้าเราได้พักอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นครั้งเป็นคราว และเราไม่ได้ติดอยู่ในอารมณ์อันนั้น จิตจะมีกำลัง แต่ถ้าไปติดสมถะเนี่ย จะไม่เดินปัญญา

ตรงที่บางคนมาหาหลวงพ่อนะ สมัยก่อน ซึ่งพวกเรายังไม่ได้จิตที่รู้ที่ตื่นกันนั้น คนที่มาหาหลวงพ่อยุคแรกๆนะ เป็นพวกติดเพ่งมาแทบทั้งนั้น เพราะสมัยโบราณนะ คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็นั่งเพ่งเอาเมื่อนั้น เหมือนที่เจ้าชายสิทธัตถะท่านทำนั้นแหละ ออกจากวังมา สิ่งแรกที่ท่านทำก็คือ ไปนั่งสมาธิกับฤๅษี พวกเราเมื่อสักสิบปีก่อน มักจะติดเพ่งกันเป็นส่วนใหญ่ พอไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องแก้การที่ติดเพ่งนี่ก่อน บางคนนั้นหลวงพ่อบอกว่าให้หยุดการทำสมาธิไว้ก่อน พอได้ยินอย่างนี้ก็เลยคิดว่าหลวงพ่อไม่ให้ทำสมาธิ ที่จริงก็คือ ทำสมาธิมาผิดนั่นเอง ต้องแก้ก่อน เสร็จแล้วก็ต้องมาฝึกให้ใจมันตื่นขึ้นมา ตรงที่ใจมันตื่นนั้นแหละ เราได้สมาธิอย่างที่สอง เพราะฉะนั้นถ้าพวกเราคนไหนติดเพ่งนิ่งๆว่างๆนะ สบายอยู่แค่นั้น

แค่นั้นไม่พอนะ แค่นั้นมันเหมือนหมาที่เจ้าของใจดีแค่นั้นเอง ต้องมาฝึกสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดแรกน่ะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง จิตรวมเข้ากับอารมณ์อยู่ด้วยกัน พักผ่อนอยู่ในอารมณ์ที่สบาย สมาธิอย่างที่สองเนี่ย จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นแสนเป็นล้านก็ได้ อารมณ์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเลย แต่จิตเป็นหนึ่ง เป็นแค่คนดู ไม่ใช่คนสงบนิ่งนะ เป็นแค่คนดู

คือเราต้องมาฝึกจิตให้เป็นคนดูให้ได้ ถอยออกมาจากปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรม ส่วนใหญ่ของคนเราก็คือ เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมแล้ว จิตจะไหลเข้าไปรวมกับปรากฎการณ์นั้น ยกตัวอย่างเวลาเราดูโทรทัศน์ จิตจะไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ หรือเวลาที่เราคิดถึง ดูโทรทัศน์ ดูข่าว ดูอะไรนะ พูดถึงนายกฯหญิงสวยงามอะไรอย่างนั้นนะ ใจเราไปคิดถึงเขา ใจเราลอยไป ใจเราลอยแล้วลืมตัวเราเอง เนี่ยใจที่มันล่องลอยแล้วมันลืมตัวมันเองเนี่ย คือใจที่ขาดสมาธิชนิดอย่างที่สอง เป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น คนที่ขาดสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นเนี่ย มีร่างกายก็ลืมร่างกายมีจิตใจก็ลืมจิตใจของตัวเอง มัวแต่ไปดูรูป แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปฟังเสียง แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปดมกลิ่นแล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง

ก่อนหลวงพ่อบวชนะ หลวงพ่อก็ไป เป็นฆราวาสนี่ ก็เดินตามศูนย์การค้าอะไรก็ไปบ้าง ไปซื้อของอะไรเนี่ย จะมีที่ขายน้ำหอมน่ะนะ พวกเราเห็นมั้ย พวกผู้หญิงก็จะไปยืนเป็นแถวเลยนะ แล้วก็เอามาทามือนะ ดมๆ ดมๆ ไปเรื่อยนะ ในขณะที่ดมน้ำหอม นึกออกมั้ย รู้อะไร รู้กลิ่นของน้ำหอม ใช่มั้ย ในขณะนั้นเราลืมกายลืมใจของตัวเอง หรือเราเห็นคนโทรศัพท์มั้ย เดินโทรฯ ทำท่าแปลกๆ ขณะที่คุย เม้าธ์ เพลินไปนะ ร่างกายเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ จิตใจของตัวเองเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ มันลืมตัวมันเอง สภาวะที่จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจลืมตัวเอง ลืมกายลืมใจของตัวเอง นี่แหละคือสภาวะที่จิตขาดสมาธิชนิดที่จิตใจตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นสมาธิอย่างที่สองเนี่ยนะ ถ้าจะพูดง่ายๆก็คือสภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ร่อนเร่ไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นจิตเป็นหนึ่ง ไม่ได้มี ๖ คือ วิ่งไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ แต่รู้สึกตัวอยู่ เป็นหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้นเคลื่อนที่ ทั้งที่รูปธรรมนามธรรมนี้ เคลื่อนที่ผ่านความรับรู้ของจิตไปเรื่อยๆ เช่นตามองเห็นรูป ใจก็เป็นคนดู ก็เห็นรูปเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างหาก ใจเป็นคนดู เมื่อไรขาดสติ จิตก็ปรุงแต่ง เห็นรูป โอ้สวย ใจมีราคะ ไม่รู้ทัน ถ้าใจตั้งมั่น ใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ก็จะเห็นว่า ตอนนี้เกิดราคะอยู่ ตอนนี้เกิดโทสะอยู่ เนี่ยใจมันต้องตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจลืมเนื้อลืมตัว มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ จิตใจที่ลืมเนื้อลืมตัว ก็คือจิตใจที่ไม่มีสมาธิอย่างที่สอง ไม่มีความตั้งมั่นของจิต

ปกติจิตของเราร่อนเร่ตลอดเวลานะ ถึงไปทำฌาน จิตก็ไหลไปรวมเข้ากับอารมณ์อันเดียว จิตไม่ได้ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเราต้องมาฝึกให้จิตตั้งมั่น วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น ก็คล้ายๆกับวิธีฝึกให้จิตสงบนั่นแหละ เวลาที่เราจะฝึกให้จิตสงบนะ เราก็เลือกอารมณ์ขึ้นสักอารมณ์หนึ่ง ที่มีความสุข แล้วน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น คนไหนพุทโธแล้วมีความสุขก็พุทโธไปเรื่อยๆ จิตมีความสุขกับพุทโธ จิตไม่หนีไปที่อื่น ได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่นนะ พุทโธไปแล้วรู้ทันจิต ไม่ได้น้อมจิตไปอยู่ที่พุทโธ แต่พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตนะ หรือรู้ลมหายใจ ก็ไม่น้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ใจจะเป็นสมาธิชนิดที่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่ถ้าเราหายใจไปแล้วจิตตั้งมั่นเป็นคนดู รู้ทันจิตอยู่ หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เราจะได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่น คือไม่เคลื่อน

เพราะฉะนั้นสมาธิจึงมีสองชนิดนะ ชนิดหนึ่งเคลื่อนไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ก็ได้สมถะได้ความสงบเฉยๆ เอาไว้พักผ่อน อีกอันนะจิตไม่เคลื่อน แต่อารมณ์นั้นเคลื่อน รูปก็เคลื่อนไหว เสียงก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง กลิ่นก็เปลี่ยนแปลง รสก็เปลี่ยนแปลง สิ่งที่มาสัมผัสร่างกายก็เปลี่ยนแปลง ตาหูจมูกลิ้นกายก็เปลี่ยนแปลง ใจของเราก็เปลี่ยนแปลง ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจนะ ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ก็เปลี่ยนแปลง แต่ใจของเราเป็นคนดู ใจเราเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น ใจเราเป็นคนดูอยู่ ไม่ได้ยากอะไร ถ้ารู้วิธีแล้ว ไม่ได้ยากอะไรเลย ให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทัน ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งแล้วคอยรู้ทันจิตไว้ การที่เราทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา จะทำให้เรารู้ทันจิตได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่ทำกรรมฐานเลย แล้วอยู่ๆจะไปรู้ทันจิต จิตมันจะส่ายไปในอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเราดูไม่ทัน

เพราะฉะนั้นเราก็หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง แต่เราไม่ได้น้อมจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานนั้น หาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่นะ แล้วเมื่อจิตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป มันหนีไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน มันเคลื่อนไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน จิตจะเคลื่อนไป ๒ แบบเท่านั้น ๑ เคลื่อนไปคิด หรือหลงไปทีอื่นซะ อันที่ ๒ เคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเรารู้ลมหายใจอยู่นะ จิตหนีไปคิดก็มีนะ ลืมลมหายใจไป จิตเคลื่อนไปเกาะที่ลมหายใจไป กลายเป็นสมถะกรรมฐาน ก็มีนะ ถ้าเคลื่อนไปเกาะอยู่ในอารมณ์อันเดียว กลายเป็นสมถะ เป็นสมาธิชนิดสงบ ถ้าเคลื่อนหนีไปคิดเลยนะ สมาธิชนิดสงบก็ไม่มีนะ ฟุ้งซ่านอย่างเดียว

แต่ว่าการเคลื่อนไปนั้นมีสองชนิด เคลื่อนไปหาอารมณ์อื่นเคลื่อนไปคิดเรื่องอื่น กับเคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้ารู้ทันว่าจิตเคลื่อน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับให้ตั้งมั่น เขาจะตั้งของเขาเอง แต่ถ้าสมาธิของเรายังไม่แข็งแรงนะ จะเคลื่อนแล้วรู้สึกขึ้นมา ตั้งได้แว็บเดียว แล้วก็เคลื่อนไปอีก บางทีเคลื่อนไปนานเลยนะ แล้วรู้สึกขึ้นมาอีกแล้ว ตั้งขึ้นมาอีกแว้บหนึ่ง จะเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องฝึกให้มากนะ ฝึกเพื่อให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวให้ได้ ถ้าจิตใจยังไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ยังเดินปัญญาไม่ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๗ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ชาวพุทธ ใช่มีเพียงทำทาน รักษาศีล แล้วนั่งสมาธิให้ใจสงบเท่านั้น

mp3 for download : ชาวพุทธ ใช่มีเพียงทำทาน รักษาศีล แล้วนั่งสมาธิให้ใจสงบเท่านั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :ช่วงนี้หลวงพ่อไปต่างจังหวัดบ่อย ได้เห็นพัฒนาการของการปฏิบัติ กว้างขวางมาก คนภาวนาเป็น คนที่รู้หลักของการปฏิบัติเนี่ย มีเยอะแยะไปหมดแล้ว ตอนนี้

แต่ก่อน คนก็คิดว่าศาสนาพุทธมีแค่ทำทาน ถือศีล นั่งสมาธิให้ใจสงบ นี่คิดว่าแค่นั้นก็เป็นชาวพุทธแล้ว มาถึงวันนี้พวกเราจำนวนมากเลยได้รู้แล้วว่า ถ้าเราก้าวมาไม่ถึงขั้นของการเจริญปัญญาแล้ว เรายังห่างไกลกับพระพุทธศาสนา ไม่ได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนาเต็มที่ การเจริญปัญญาเป็นทางเดียวนะที่จะทำให้เราเข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ถ้าต้องการพ้นจากความทุกข์ทางใจ เราหนีการเจริญปัญญาไม่ได้

การทำทาน การรักษาศีล การนั่งสมาธิ เป็นความดีสาธารณะ คือ ศาสนาอื่นเขาก็มี ไม่ใช่มีเฉพาะพระพุทธศาสนา แต่การเจริญปัญญา หัดแยกรูปแยกนาม เห็นความจริงของธาตุขันธ์ กายใจ ของรูปนาม ความจริงคือความเป็นไตรลักษณ์ อันนี้มีเฉพาะในคำสอนของพระพุทธเจ้า


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ได้สมาธิที่มีสติมีจิตตั้งมั่น มาใช้เจริญปัญญา

mp3 for download : ได้สมาธิที่มีสติมีจิตตั้งมั่น มาใช้เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :เมื่อเราได้สมาธิ (ชนิดจิตตั้งมั่น – ผู้ถอด) ใจเราจะเป็นคนดู ใจจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคนดู มันจะเห็นรูปธรรมนามธรรมมันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป ตรงที่เรามีใจเป็นคนดูได้เนี่ย เราถึงจะเจริญปัญญาได้ ถ้าใจยังไม่เป็นผู้ดูแต่เป็นผู้แสดงเสียเองนะ ไม่ได้เรื่องหรอก ยังเจริญปัญญาไม่ได้จริง

ยกตัวอย่างคนที่ยังไม่ได้ภาวนานะ เวลาโกรธเนี่ย จะไม่รู้เลยว่าตัวเองโกรธ พวกนี้ต่ำสุดเลย จะรู้แต่คนที่ทำให้โกรธ ไอ้คนนี้ทำให้โกรธ ไปสนใจเขา นักปฏิบัติเบื้องต้นนี้จะรู้ว่ากำลังโกรธอยู่

พอปฏิบัติเก่งขึ้นมาก็จะรู้เลยว่า ความโกรธกับจิตนั้นเป็นคนละอันกันนะ จะเห็นว่าจิตไม่ได้โกรธหรอก แต่จิตเป็นตัวที่กำลังรู้ว่าโกรธอยู่ เห็นสภาวะความโกรธนั้นแยกออกไปต่างหากน่ะ ถ้าเห็นอย่างนี้ได้นะ มันจะไม่ใช่ “เราโกรธ” แล้ว จะเห็นว่าความโกรธมีอยู่ แต่ไม่ใช่เราโกรธ ความโลภมีอยู่แต่ไม่ใช่เราโลภ ความหลงมีอยู่แต่ไม่ใช่เราหลง ความสุขมีอยู่แต่ไม่ใช่เราสุข ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่ใช่เราทุกข์ ร่างกายมีอยู่แต่ไม่ใช่ร่างกายของเรา จะเห็นแต่ว่า สภาวธรรมทั้งหลาย รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย มีอยู่ แต่ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเราหรอก เป็นแค่สภาวะ ร่างกายก็เป็นแค่สภาวะของรูปธรรม ความสุขความทุกข์ก็เป็นแค่สภาวะอีกอย่างหนึ่งทางนามธรรม เรียกว่าเวทนา ความจำได้หมายรู้ก็เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง ความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่ง (มีชื่อเรียกว่า สังขารขันธ์ – ผู้ถอด) เนี่ยเราฝึกไปเรื่อยนะ ถ้าใจเราตั้งมั่นขึ้นมา เราถึงจะเห็นได้ว่า มันเป็นแค่สภาวะมันไม่ใช่เราหรอก ไม่อินเข้าไป

ของเรา เวลาทำอะไรใจยังอินมั้ย เช่นดูหนังดูอะไรเนี่ยนะ ยังมีลุ้นมั้ย เชียร์คนนี้ ไม่เชียร์คนนี้ มีมั้ย ดูบอลล์ ใครชอบดูบอลล์บ้าง ใครดูบอลล์ แล้วต้องเลือกข้างมั้ย ถ้าไม่เลือกข้างไม่สนุกนะ ต้องเลือกข้าง แล้วอย่าไปเลือกข้างที่เก่งมากนะ เลือกข้างที่เก่งมากก็จืดชืดนะ ต้องลุ้นหน่อยๆ แบบสูสีอะไรอย่างนั้นถึงจะสนุก ผิดกันมากดูไม่สนุก เราเนี่ยไม่มีการดูอะไรทุกอย่าง อย่างที่เป็นกลาง เราจะต้องเอียงข้าง มีอคตินะ แล้วก็ใส่อารมณ์ลงไป แล้วก็ลุ้นอันนี้ เกลียดอันนี้ ชอบอันนี้ เกลียดอันนี้ ชอบอันนี้ เกลียดอันนี้ อยู่อย่างนี้เรื่อยๆนะ ไม่เป็นกลางหรอก เราจะไม่สามารถเห็นความจริงได้

ยกตัวอย่างเวลาเราเห็นเขาชกมวยนะ ถ้าเราเชียร์ข้างไหนนะ เราจะรู้สึกเองแหละว่านักมวยของเราชกเก่ง ชกถูกนะ แต่กรรมการไม่เห็น อะไรอย่างนี้ หรือเชียร์บอลล์ เราเชียร์ฝั่งหนึ่งนะ อีกข้างหนึ่งแฮนด์บอลล์แล้วแต่กรรมการไม่เห็นน่ะ แหมเราเห็นชัดกว่ากรรมการอีก อยู่ห่างตั้งหลายสิบเมตรนะ แหมเห็นได้ใกล้เคียงได้ชัดเจน อะไรอย่างนี้ เนี่ยอคติล่ะ

เพราะฉะนั้นถ้าใจของเราเป็นกลางจริงๆ เราจะเห็นทุกอย่างตรงตามความจริง ถ้าใจเราไม่เป็นกลางเราจะเห็นแบบมีอคติ ลำเอียงเพราะรักก็ได้ เพราะชอบคนนี้ ลำเอียงเพราะเกลียดก็ได้ ลำเอียงเพราะกลัวก็ได้ ลำเอียงเพราะหลงก็ได้ หลงก็ทำให้ลำเอียงได้

ยกตัวอย่างบางยุคนะ บ้านเมืองมีหลายอุดมการณ์ เราลำเอียงเพราะหลง คือเราชอบอันนี้ ชอบอุดมการณ์นี้ ไม่ชอบอุดมการณ์นี้ ไอ้ข้างนี้พูดอะไรเราเห็นด้วยหมดเลย ไอ้ข้างนี้พูดอะไรเราไม่เห็นด้วยหมดเลย ทั้งๆที่เราไม่สนใจเลยว่า ข้อมูลที่แท้จริงคืออะไร นี่ล่ะ ลำเอียง ความลำเอียงมันเกิดขึ้นตลอดเวลา

ใจของเราต้องถอนตัวออกมาให้ได้นะ จากสถานการณ์ตอนนั้น ถอนตัวออกมาเป็นแค่คนดู เราไม่ใช่คู่ชกของนักมวย เราไม่ใช่คู่แข่งขันของนักฟุตบอล เราเป็นคนดู เป็นกรรมการ เป็นคนดูเฉยๆ ใครจะแพ้ใครจะชนะ ไม่สำคัญ เราเป็นแค่คนดู เนี่ยถ้าถอนตัวออกมาเป็นคนดูที่ซื่อตรงได้นะ เราจะเห็นความจริงทุกอย่างได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุดนะ เพราะฉะนั้นตัวใจที่ถอนตัวออกมาเป็นคนดูได้เนี่ยสำคัญมากเลย เนี่ยแหละคือสมาธิที่แท้จริง สมาธิที่ใช้เดินปัญญา

ส่วนสมาธิที่เขาฝึกกันส่วนใหญ่ ที่นั่งแล้วเห็นโน้นเห็นนี้นะ อันนั้นมีมาก่อนพระพุทธเจ้า สมาธิอย่างนั้นไม่ได้เอาไว้เดินปัญญา หลวงพ่อก็ทำเป็น ตั้งแต่เจ็ดขวบก็ทำได้แล้ว นั่งสมาธินะ แล้วออกเที่ยวสวรรค์เที่ยวอะไรนะ แต่นรกไม่ไป เรื่องอะไรจะไป ไปก็ไปดูของสวยสิ ใช่มั้ย ไปดูของไม่สวยไปดูทำไม นั่งสมาธิทีแรกก็ไม่ได้ไปไหนหรอก นั่งสมาธิรู้ลมหายใจนะ ลมยาว.. หายใจอยู่ไม่นาน ลมก็ตื้นๆตื้นๆ ละเอียดนะ ถ้าไม่สองสามวันก็อาทิตย์หนึ่ง จำไม่ได้แล้ว ลมหายใจกลายเป็นแสงสว่าง แต่แสงสว่างนั้นแทนที่ใจจะอยู่กับแสงนะ แล้วก็สงบเข้าฌงเข้าฌาน ไม่ไปหรอก มีแสงขึ้นมาแล้วเกิดสนใจ อยากดูสวรรค์อะไรอย่างนี้ ฉายแสงออกไปเหมือนสป็อตไลต์ จิตก็ตามแสงออกไปเลย แล้วนิมิตรมันเกิดน่ะ เห็น เห็นจริงๆ แต่ของที่ถูกเห็นนั้น จริงหรือไม่จริง ไม่รู้หรอก จิตของเราอาจจะหลอนเอาทั้งหมดเลยก็ได้ เชื่อถือไม่ได้หรอกนะ ใจไหลออกไป สมาธิอย่างนี้ ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานเลย เป็นสมาธิที่ออกไปข้างนอก ไปเพลิดเพลินกับโลกภายนอก หรือโลกในจินตนาการของตนเอง

ฝันไปเห็นนางกินรอย่างนี้ สังเกตมั้ยคนไทยเวลาเห็นเทวดานะ ก็แต่งตัวแบบคนไทย ไม่เห็นมีเทวดาใส่สูทมาเยี่ยมเลยนะ ทำไมเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่ามันชินอย่างนั้น ทีนางฟ้าที่ไปวาดในโบสถ์นะ นางฟ้าไม่เคยใส่เสื้อเลย อะไรอย่างนี้ ถ้าฝรั่งมีนางฟ้าแต่งตัวแบบนั้นต้องทุกข์ทรมาณมากเลย เพราะมันหนาว ต้องแต่งตัวเยอะๆ ถึงจะเป็นนางฟ้าได้ ผ้ารุงรังอะไรอย่างนี้ มีอะไรเยอะแยะ เนี่ยมันเป็นโลกของจินตนาการนะ จริงเท็จไม่สำคัญหรอก สำคัญคือจิตออกนอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๒ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกสมาธิ สำคัญที่มีสติรู้ทันจิต ไม่ใช่ท่าทางร่างกาย

mp3 for download : ฝึกสมาธิ สำคัญที่มีสติรู้ทันจิต ไม่ใช่ท่าทางร่างกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :ทำสมาธิ ไม่ถนัดนั่งก็เดิน ไม่ถนัดเดินก็นั่ง ตัวสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ท่านั่งท่าเดิน ไม่ใช่เดินท่าไหนถูก นั่งท่าไหนถูก จะเอามือไว้ตรงไหน เรื่องไร้สาระเลย อันนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว คนไหนจะถนัดเอามือไว้ตรงไหนก็เอาไป จุดสำคัญคือรู้ทันจิต เพราะฉะนั้นบทเรียนในการทำสมาธิท่านถึงเรียกว่า “จิตตสิกขา” ไม่ใช่ให้เรียนเรื่องกายเรื่องจะเอามือเอาไม้ไว้ที่ไหนหรอก ใครจะถนัดเอามือไว้อย่างไรก็เอาไว้อย่างนั้นแหละ

มีคราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปหินหมากเป้ง ตอนนั้นหลวงปู่เทสก์ยังอยู่ ท่านสรางมณฑปใหม่แล้วท่านไปอยู่ในมณฑป กุฏิเก่ายังไม่รื้อ เป็นไม้ ท่านให้หลวงพ่อไปพักที่กุฏิเก่าของท่าน กุฏิเก่ากับมณฑปนี้ห่างกันนิดเดียว จากกุฎิเก่ามองเข้าไปทะลุ ผนังเป็นกระจก มณฑปนั้นเป็นกระจกนะ มองเห็นท่านได้ทั้งคืนเลย เราไปถึงก็เนื้อยเหนื่อยนะ ไปถึงแต่มืดเลยเดินทางมาทั้งคืนแล้ว ไปถึงหินหมากเป้งตอนเช้า ไม่ได้พักนะ ภาวนาไปอะไรไป กะว่าค่ำๆจะนอน หลวงปู่ให้ไปอยู่กุฏิเก่าของท่าน มองเห็นท่านอยู่ ท่านเดินจงกรมอยู่เราไม่กล้านอนน่ะ ครูบาอาจารย์ยังไม่นอนเลย ลูกศิษย์นอนก่อน เสียสถาบันนักปฏิบัติ ก็นั่งสมาธิ เดินก็ไม่ไหวแล้ว หนาวพิลึกพิลั่นเลย คอยนั่งสมาธิ คอยลืมตา หลวงปู่ยังเดินอยู่ กะว่าสี่ทุ่มท่านคงพักมั้ง ปลอบใจตัวเอง เปล่าสี่ทุ่มก็ไม่พักนะ ห้าทุ่ม ห้าทุ่มแล้วหลวงปู่ พอเสร็จแล้วดึกๆมากนะ เห็นท่านพัก ท่านพักเราก็รีบนอนเลย นอนไปจนถึงตีหนึ่งกว่าๆ ตีสองอะไรอย่างนี้ อู๊ยมันหนาวจัดนะ ตื่นมา ชะโงกดู อุ๊ย..หลวงปู่มาเดินอยู่อีกแล้ว ต้องลุกขึ้นนั่ง หนาวแทบตายเลย

เห็นท่านเดินจงกรม เป็นเงาตะคุ่มๆนะ มืดๆ ท่านไม่ได้เปิดไฟอะไรไว้ ในห้องที่ท่านอยู่มืดๆ แต่พอมองเห็น เพราะผนังมันเป็นกระจก ด้านหนึ่งพระจันทร์มันก็ส่องอะไรอย่างนี้ เห็นท่านเดินตะคุ่มๆ ใจก็สงสัยขึ้นมา เอ๊..หลวงปู่ หลวงปู่เดินจงกรมเนี่ย หลวงปู่เอามือไว้ตรงไหน ไว้อย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าเอาไว้อย่างนี้ แต่ละสำนักเขาสอนไม่เหมือนกัน นึกถามท่านนะ ถามจบปุ๊บท่านก็.. เนี่ย เดินอย่างนี้เลยนะ อ๋อเข้าใจแล้วครับ พอใจบอกว่าเข้าใจแล้วครับ ท่านก็เอามือเก็บ

มันไม่ได้อยู่ที่ท่าทาง อยู่ที่สติ พออีกวันไปหาท่าน ท่านก็พูดเรื่องการปฏิบัติ ให้ทำด้วยความมีสติ เพราะฉะนั้นอิริยาบถท่าทางอะไร ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ บางคนแกว่งแขนแล้วสติกระเด็นไปหมดเลยใช่มั้ย ก็เลยชอบให้นิ่งๆ มือเคลื่อนไหวมากๆนะจิตใจกระเจิดกระเจิงไป บางคนเดินเร็ว บางคนเดินช้า นั่นไม่สำคัญหรอก สำคัญที่รู้ทันจิต เพราะฉะนั้นเดินไปแล้วให้มีสติรักษาจิตอยู่ จิตหนีไปแล้วรู้ทัน จิตไปคิดแล้วรู้ทัน จิตไปเพ่งรู้ทัน เนี่ยจะได้สมาธิขึ้นมา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องฝึกทุกวัน

mp3 for download : ต้องฝึกทุกวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ :ใจเราก็ต้องมีสมาธินะ ค่อยๆฝึก สมาธิให้ใจมันตั้งมั่นออกมา สมาธิไม่ใช่แปลว่าสงบ สมาธิแปลว่าใจตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต ให้คอยรู้ทันเวลาจิตมันไหลไป จิตมันเคลื่อนไป

ยกตัวอย่างเราหัดไป ทุกวันต้องซ้อมนะ พุทโธพุทโธไป หายใจไป ทุกวันต้องทำ ทำวันหนึ่ง ๑๐ นาทีก่อนก็ยังดี ต่อไปจะเพิ่มได้เอง พอเห็นผลของการปฏิบัติแล้ว มันจะเพิ่มเวลาปฏิบัติเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ

ทุกวันทำในรูปแบบนะ พุทโธไป หายใจไป อะไรอย่างนี้ แล้วคอยรู้ทัน จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตเคลื่อนไป รู้ทัน จิตจะเคลื่อนไปได้ ๒ แบบนะ จิตเคลื่อนไปคิดเนี่ย จิตจะไหลสะเปะสะปะไป กับเคลื่อนไปเพ่ง อย่างรู้ลมหายใจนะ ก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจบ้าง พุทโธพุทโธนะ ก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งจิตไว้บ้าง จะเคลื่อน ดูท้องพองยุบ จิตก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งท้องบ้าง ไปเดินจงกรมนะ ก็เคลื่อนไปคิดบ้าง เคลื่อนไปเพ่งเท้าบ้าง บางคนเพ่งร่างกายทั้งร่างกาย บางคนไปแปลคำว่า “รู้ตัวทั่วพร้อม” เป็นการเพ่งทั้งตัวเลย เพ่งร่างกายทั้งตัวเลยนะ เนี่ย อย่างนี้เรียกว่าเพ่งทั้งตัว ทำอะไรรู้หมดเลยนะ แต่ใจมันจะแข็งๆ อย่างนี้ใช้ไม่ได้จริง

เพราะฉะนั้นเราฝึกไปให้สบาย ถึงเวลาไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ ไม่ถนัดนั่งก็เดิน ไม่ถนัดเดินก็นั่ง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๕ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเดินปัญญาเหมือนการทำศึกในขั้นตะลุมบอน

mp3 for download : การเดินปัญญาเหมือนการทำศึกในขั้นตะลุมบอน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ :ทีนี้พวกเราบางคนที่อินทรีย์ยังอ่อนนะ ได้ยินว่าจะไม่มีตัวมีตัน ทนไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาสอนธรรมะเนี่ย พระท่านก็เลยนิยมสอนมาตามลำดับ ให้ทำทานรักษาศีลอะไรอย่างนี้ เขยิบขึ้นมาให้ทำสมาธิ นั่งสมาธิทำยากกว่ารักษาศีลอีกนะ แล้วก็ทำทานทำง่่าย รักษาศีลทำยากกว่าทำทานอีก รู้สึกมั้ย

เจริญปัญญายากกว่านั่งสมาธิ ถ้านั่งสมาธินะ นั่งไปแล้วมันมีความสุข นั่งแล้วมันสบาย มันเพลิน เราไปติดใจ ไม่ทำอะไรแล้ววันๆหนึ่งเอาแต่นั่งสมาธิ ไม่เดินปัญญา เดินปัญญายากกว่ามากเลยนะ เดินปัญญาเนี่ยมันเป็นขั้นเข้ามาดูความจริง มันเหมือนทำศึกในขั้นตะลุมบอนเลยนะ ประชิดตัวแล้ว ทำสงครามแบบถึงเนื้อถึงตัวกันเลย จะสู้กิเลสได้หรือว่าแพ้กิเลสก็แตกหักกันตรงนี้แหละ ตรงที่มาเจริญปัญญานี่แหละ

นอกนั้นยังฉาบฉวยอยู่นะ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะนะ รักษาศีลได้บ้าง ศีลขาดบ้าง อะไรอย่างนี้ ทำสมาธิได้บ้างขี้เกียจบ้าง สมาธิแตกไปหมดแล้วบ้าง อะไรอย่างนี้ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะเรื่อยๆไป ทำทานได้บ้างตระหนี่ได้บ้างอะไรอย่างนี้ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ

แต่ตรงขั้นเจริญปัญญาเนี่ย คล้ายศึกขั้นตะลุมบอนกันแล้ว จะชิงเมืองหลวงกันแล้วนะ ชิงเมืองหลวงก็คือ ชิงจิตชิงใจกันนี่แหละว่า จิตใจนี้จะให้ธรรมะครอบครองหรือว่าจะให้กิเลสครอบครอง ถึงขั้นแตกหักกันแล้ว

เนี่ยพวกเราก็ค่อยๆฝึกมาเป็นลำดับนะ ใจน่ะ ใจฝึกใจ อย่าเห็นแก่ตัว ฝึกไปเรื่อย…


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกดูจิต ฝึกด้วยจิตของคนธรรมดาๆนี่ล่ะ

mp3 for download : ฝึกดูจิต ฝึกด้วยจิตของคนธรรมดาๆนี่ล่ะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราดูจิตดูใจ แต่เราไม่ชำนาญถึงฌานในอรูปนะ เราจะดูจิตในชีวิตประจำวัน ดูอยู่ข้างนอกอยู่ที่เรามีนี่แหละ

ดูจิตจะยากอะไร ใครรู้จักความสุขมั้ย รู้จักมั้ยความสุข ความสุขเกิดขึ้น ความสุขกำลังมีอยู้ รู้ว่ามีความสุขอยู่ ก็แค่นี้เอง จะยากอะไร ความสุขหายไปก็รู้ว่าความสุขหายไป ความทุกข์มีขึ้นมา รู้ว่ามีขึ้นมา ความทุกข์หายไปรู้ว่าความทุกข์หายไป ก็แค่นั้นเอง ความโลภความโกรธความหลงผุดขึ้นมา รู้ทัน ความโลภความโกรธความหลงหายไป รู้ทัน ก็แค่นั้นเอง

การดูจิตดูใจไม่ใช่เรื่องลึกลับเลย แต่ว่ามันจะตรงกันกับที่พระพุทธเจ้าสอนในสติปัฏฐาน ในจิตตานุปัสสนา “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ” เห็นมั้ยง่ายๆ ท่านไม่เห็นต้องอธิบายมากเลย ก็แค่นั้นเอง จิตมีราคะรู้ว่ามีราคะ จิตไม่มีราคะรู้ว่าไม่มีราคะ จิตมีโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีโทสะให้รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีโทสะให้รู้ว่าไม่มีโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีโมหะ คือมีความหลง ก็รู้ว่ามีโมหะ จิตไม่มีโมหะก็รู้ว่าไม่มีโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน เมื่อจิตหดหู่ให้รู้ว่าหดหู่ ง่ายๆทั้งนั้นเลย

เราดูไป ดูใจของเราไปเรื่อย อย่าไปจ้อง อย่าไปจ้องอยู่ที่จิต เคล็ดลับของการดูจิตก็คือ ห้ามไปจ้อง ห้ามไปรอดู ว่าจะมีอะไรให้ดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้ว่ามีความรู้สึกนั้นเกิดขึ้น อย่าไปเฝ้าดูนะ ถ้าเฝ้าดูจะเป็นการเพ่งจิต แล้วจะว่างๆ จะไม่มีอะไรให้ดูเลย มีแต่ว่างๆ ว่างๆเนี่ยเป็นการเพ่งอรูป ทำได้แล้วจะไปอรูปฌานนะ ไปเป็นอรูปพรหม เป็นพรหมไม่มีรูป ไม่มีตา ไม่มีหู พวกเราตาบอดเอามั้ยล่ะ แต่อยากไปเป็นพรหมชั้นสูง พรหมชั้นสูงไม่มีตา ไม่มีหูด้วย ตาบอดด้วย หูหนวกด้วย เอามั้ยล่ะ ไม่เอาใช่มั้ยล่ะ สัมผัสโลกไม่ได้ เรียนรู้อะไรไม่ได้นะ ยกเว้นที่ชำนาญดูจิตแล้วไปเข้าไปตรงนั้น ทำต่อได้ ไม่มีกาย ไม่มีกาย

เนี่ยเราเฝ้าดูของเราง่ายๆนะ ใจเราของคนธรรมดานี่แหละ เราจะเห็นเลยว่าใจของเราเปลี่ยนแปลงทั้งวัน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ใจของเราเปลี่ยนเพราะอะไร เพราะมีผัสสะ คือมีการกระทบอารมณ์ ตาเรามองเห็นรูป เรียกว่า เรากระทบอารมณ์ทางตา ตาไปมองเห็นรูปที่พอใจ จิตก็มีความสุขขึ้นมา จิตมีความสุขขึ้นมา ก็เกิดความพอใจ คือราคะแทรกขึ้น ตาไปเห็นรูปที่ไม่ชอบใจ ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา โทสะก็แทรกนะ โทสะก็จะแทรกเข้ามา

หูได้ยินเสียงที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจอาจจะไม่ไพเราะก็ได้ ยกตัวอย่างเสียงบางคนนะ เสียงฟังไม่ได้เลย แต่เรากำลังคิดถึงคนๆนั้น เป็นเพื่อนเรา แต่เสียงไม่ไพเราะเลย ได้ยินเสียงแหบๆของคนๆนี้แล้วดีใจ เพราะเป็นเสียงที่ชอบใจ อาจจะไพเราะหรือไม่ไพเราะ จะอ่อนหวานหรือไม่อ่อนหวาน ไม่สำคัญหรอก แต่เป็นเสียงที่ชอบใจ พอการกระทบกับเสียงที่ชอบใจเกิดขึ้นนะ ก็จะเกิดความสุขขึ้นมาในใจ เรารู้ว่ามีความสุข พอมีความสุขแล้วเกิดความพอใจในเสียงอันนี้ขึ้นมาเรียกว่ามีราคะ รู้ว่ามีราคะเกิดขึ้น

นี่แหละการปฏิบัติง่ายๆอย่างนี้เอง ให้ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส ให้ใจมันคิดนึกปรุงแต่งไปตามธรรมชาติธรรมดา ไม่ห้ามเลยสักอย่างเดียว ตามองเห็นรูปเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน ใจคิดนึกปรุงแต่งไป เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน รู้ทันแล้วก็เห็น เกิดสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ เกิดทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ นี่แหละเรียกว่าการเจริญปัญญา จะเห็นว่าความสุขมีแล้วก็หายไป ความทุกข์มีแล้วก็หายไป ดูอยู่อย่างนี้เรื่อยๆไป

แต่ถ้าดูสุขทุกข์ไม่ทันนะ ต่อไปก็จะเป็นกุศล-อกุศล มีความสุขขึ้นมา บางทีจิตก็มีราคะ มีความทุกข์ขึ้นมา บางทีจิตก็มีโทสะขึ้นมา ดูเวทนาไม่ทัน ดูสุขทุกข์ไม่ทัน ก็มาดูกิเลสเอา ดูง่ายๆ แค่นี้เอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอรหันต์ส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลนะ ก่อนที่จะบรรลุพระอรหันต์ ก่อนที่จะบรรลุพระโสดาฯอะไรอย่างนี้ ก็ทำฌานไม่ได้เหมือนพวกเรานี้เอง ยกตัวอย่างเมื่อวานนี้ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟัง พวกที่ไม่ได้มา เล่าย่อๆนิดนึง

พระพุทธเจ้าท่านอยู่กับพระ หมู่สงฆ์จำนวนมากนะ แล้วท่านก็อธิบายให้สงฆ์ฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เนี่ย เป็นพระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ๖๐ องค์ อภิญญา ๖ อีก ๖๐ องค์ ได้อุภโตภาควิมุตติ ๖๐ องค์ พระอรหันต์ ๓ จำพวกนี้ต้องทรงฌาน รวมแล้ว ๑๘๐ องค์ อีก ๓๒๐ องค์ คือคนอย่างพวกเรานี่เอง

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราเข้าฌานไม่ได้เราจะสิ้นหวังเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ เราก็ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติที่พอเหมาะพอควรกับสิ่งที่เราเป็นสิ่งที่เรามีอยู่ เรามีความฟุ้งซ่านมาก เราไม่ได้มีสมาธิมาก เข้าฌานไม่เป็น เราก็มาฝึกให้ได้สมาธิชนิดตั้งมั่น แต่มันจะตั้งอยู่ชั่วขณะเท่านั้นเอง ไม่ตั้งนาน ไม่ใช่อัปนาสมาธิ แต่จะตั้งเป็นขณะๆเรียกว่า ขณิกสมาธิ จิตตั้งเป็นขณะๆนะ

ขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสมาธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน

เพราะฉะนั้นๆเราหัดพุทโธๆนะ จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เราหัดรู้ลมหายใจนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา รู้ลมหายใจอยู่ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ถ้ารู้ทันว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นจะต้องทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเสียก่อนนะ ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน เดี๋ยวก็ไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ดูไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นเบื้องต้นทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่งก่อน พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็รู้นะ จิตเคลื่อนไปเมื่อไหร่ให้รู้ทัน

ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เจตนาให้ตั้ง มันตั้งของมันเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๙ ถึงนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ความจริงของกายของใจได้ด้วยการรู้ด้วยความเป็นกลาง

mp3 for download : รู้ความจริงของกายของใจได้ด้วยการรู้ด้วยความเป็นกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สำหรับชาวพุทธเรา มาสังเกตการณ์ร่างกาย มาสังเกตการณ์จิตใจ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย ว่ามันเป็นอย่างไร มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์มันเป็นอนัตตา อันนี้ไม่ต้องไปคิดถึงมัน ถึงเวลามันจะเห็นเองหรอก เพราะว่าความจริงมันไม่เที่ยง ความจริงมันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เราไปดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร

แต่จะไปดูได้นะ ใจต้องถอยออกมาเป็นคนดู ไม่มี Bias (อคติ – ผู้ถอด) ไม่มี Bias เพราะว่าชอบมัน ไม่มี Bias เพราะว่าเกลียดมัน ไม่มี Bias เพราะว่ามีความเชื่อเก่าๆแฝงอยู่ในใจของตัวเองแล้วนำความเชื่อเก่าๆนั้นไปตัดสิน แต่ต้องถอยตัวออกมาเป็นคนดู มาเป็นกรรมการ คล้ายเราเป็นผู้พิพากษานะ เราไม่ชี้ผิดชี้ถูกใคร (หมายถึง เป็นผู้พิพากษาในช่วงที่ฟังการไต่สวนคดีความ – ไม่มี Bias แต่ไม่ต้องถึงกับชี้ถูกชี้ผิดใคร – ผู้ถอด) แต่ใจเราต้องเป็นกลางจริงๆ หรือเป็นกรรมการห้ามมวยนะ ใจต้องเป็นกลางจริง แต่ถ้าหากไปเล่นมวยไว้ข้างหนึ่งนะ มันไม่เป็นกลางแล้ว มีส่วนได้เสียแล้ว

เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่มีส่วนได้เสียกับกายกับใจของเราเองนะ เราถึงจะเห็นความจริงของกายของใจได้ วิธีการก็คือ ต้องมาฝึกจิตให้ได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่นออกมา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

mp3 for download : เคล็ดลับของสมถกรรมฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นไปเพื่อความมักน้อย(สมถะ – ผู้ถอด) เพื่อความสันโดษ(พอเพียง ยินดีในสิ่งที่ตนมี ในสิ่งที่ตนได้มาตามความชอบธรรม ประกอบด้วยศีลด้วยธรรม ตามกฎหมาย – ผู้ถอด) เพื่อความไม่คลุกคลี(วิเวก – ไม่คลุกคลีด้วยอกุศล ด้วยกิเลส เว้นแต่ทำตามหน้าที่อันสมควรแก่ธรรม สมควรตามความรับผิดชอบ – ผู้ถอด) เป็นเพื่อความพัฒนาของศีล เป็นไปเพื่อความมีสมาธิ

สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ จิตสงบในอารมณ์อันเดียว จิตใจของเราโดยปกตินี้ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา มันวิ่งไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ วิ่งไปหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ กลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนัง อยากจะมีความสุขวิ่งไปดูหนัง ดูแล้วยังไม่หายกลุ้มวิ่งไปฟังเพลง ฟังเพลงแล้วหิวอีกแล้วก็วิ่งไปหาอะไรกินอีก จิตใจนี้จะวิ่งพล่าน พล่าน พล่าน พล่าน ไปตลอดเวลาเลย เรียกว่าใจฟุ้งซ่าน

ถ้าต้องการฝึกสมาธิให้ใจสงบนะ เรามารู้จักเลือกอารมณ์ ถ้าจิตของเราอยู่ในอารมณ์ชนิดไหนที่มันไม่ยั่วกิเลส เป็นอารมณ์ที่ดี อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นแล้วมีความสุข จุดสำคัญอยู่ที่ว่า เลือกอารมณ์ที่มีความสุขมาเป็นเครื่องอยู่ของจิต เมื่อจิตได้อยู่ในอารมณ์ที่มีความสุขอันเดียวนะ จิตจะไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นๆ จิตก็สงบ นี่คือหลักของสมถกรรมฐาน เคล็ดลับมีเท่านี้เอง ที่นั่งสมาธิกันปางตาย ทำแล้วยังไงก็ไม่สงบ ก็เพราะไม่รู้เคล็ดลับ หลวงพ่อนั่งสมาธิเป็นตั้งแต่ ๗ ขวบ นะ ก็เลยสรุปเคล็ดลับได้ว่าเราต้องอยู่กับอารมณ์ที่มีความสุข

อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กๆเนี่ย หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ อยู่กับลมหายใจนะ มีความสุข หายใจแล้วมีความสุข หายใจแล้วมีความสุข ใจก็ไม่ฟุ้งไปที่อื่นเลย ใจก็จะอยู่สงบอยู่กับลมหายใจ ลมหายใจกลายเป็นแสงไป ลมก็สว่างกลายเป็นแสงสว่าง เป็นดวงสว่างขึ้นมา ก็สงบอยู่กับแสง นี่คือหลักของการทำสมาธิ (หมายถึง สมถกรรมฐษน – ผู้ถอด)

สมาธิบางอย่างไม่มีแสงนะ ไม่มีดวงนิมิตร อย่างการเจริญเมตตาเนี่ย เราแผ่เมตตาไปเรื่อย จะไม่มีดวงปฏิภาคนิมิตรเกิดขึ้น จิตก็ทำความสงบปราณีตได้ คนไหนขึ้โมโห ก็แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ เวลาที่แผ่เมตตาไม่ต้องไปเค้นเมตตาออกจากใจ แผ่ๆอย่างนี้นะ ไม่ไปหรอก เมตตานะ แต่ถ้าจะแผ่ก็นั่งนึกเอา นั่งนึกเอา “สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้สัตว์ทั้งหลายได้รับส่วนบุญที่เราทำแล้วทั้งหมดด้วยเถิด ทุกๆคน ทุกๆคน เลย” เนี่ยนึกไปเรื่อยนะ นึกอย่างนี้เรื่อยๆ บริกรรมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆเย็นขึ้นมา ใจค่อยสงบสบาย พวกขี้โมโหนะ แผ่เมตตาไปเรื่อยๆ แผ่ทั้งวันเลยก็ได้ ใจมันจะค่อยเย็นๆมีความสุขขึ้นมา

คนขี้โลภ พวกราคะมากอะไรอย่างนี้ จะพิจารณาร่างกาย ดูร่างกายเป็นส่วนๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ของไม่สวยไม่งาม พิจารณาไปเรื่อย ใจก็สงบจากราคะ ไม่ฟุ้งไป

ใจโกรธก็คือใจมันฟุ้งไป กระทบอารมณ์แล้วไม่พอใจ ในโลภก็คือมันฟุ้งไป ไปกระทบอารมณ์แล้วพอใจ ใจหลงก็คือใจมันฟุ้งไปตามอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้นหากว่าคนไหนขี้หลง ใจลอยบ่อยอะไรบ่อยนะ หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป พอจิตหนีไปแล้วก็รู้เอา ใจก็ค่อยสงบสบายอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขได้ล่ะก็ สมาธิก็เกิด ได้สมาธิชนิดที่ ๑

สมาธิชนิดที่ ๑ เป็นสมาธิที่จิตสงบในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” อารัมณะ ก็คือคำว่า อารมณ์นั่นเอง คนไทยไปตัดไม้หันอากาศออก ถ้าภาษาที่ถูกก็คือ อารัมณะ ยกตัวอย่างพระอานนท์นะ คนไทยเรียกพระอานนท์เนี่ย ถ้าเราย้อนขึ้นไทม์แมชชีนไปวัดเชตวัน ไปถามหาพระอานนท์ จะไม่มีใครรู้จักเลย ต้องถามหาพระอานันท์ เนี่ยเขาตัดไม้หันอากาศออกไป คนไทย

เพราะฉะนั้นอารัมณูปนิชฌานนะ ให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวได้เพราะจิตรู้จักเลือกอารมณ์ที่มีความสุข ถ้าทำได้นะ จิตใจก็มีความสุข ร่มเย็นเป็นสุข ไม่เครียด ไม่เครียดเลย แต่ว่าไม่เดินปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มักน้อย(สมถะ)และสันโดษ

mp3 for download : มักน้อย(สมถะ)และสันโดษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มักน้อย สันโดษ มักน้อยกับสันโดษไม่เหมือนกัน มักน้อยเนี่ยมีความต้องการน้อย มีดีมานด์ (Demand) น้อย มีความต้องการน้อย อันนี้เหมาะกับนักบวช เหมาะกับพระ พระมีมาก เดี๋ยวนี้อาหารมาก แต่ว่าต้องการน้อย บริโภคเพียงส่วนน้อย ส่วนเกินก็แจกจ่ายไป

ฆราวาสเนี่ยไม่ต้องถึงขนาดมักน้อยนะ ฆราวาสรวยได้ แต่ฆราวาสควรจะสันโดษ คำว่าสันโดษหมายถึงว่า เมื่อทำเต็มที่แล้ว ได้ผลเท่านี้แหละ ก็ยินดพอใจในผลของเรา ภูมิใจนะ ยกตัวอย่างทำงานแทบตายทั้งเดือนนะ ได้ ๕ พันบาทนะ เต็มฝีมือ ก็อิ่มอกอิ่มใจนะ ภูมิใจ เราทำของเราได้นะ น้ำพักน้ำแรงเรา ไม่ได้โกงใคร พอใจตามมีตามได้ ทั้งๆที่ทุ่มเทเต็มที่แล้ว ไม่ใช่ขี้เกียจแล้วก็บอกว่าพอใจตามมีตามได้

มักน้อยหมายถึงมีมากก็บริโภคน้อย เท่าที่จำเป็น อันนี้ใช้ Basic Minumum Need สันโดษเนี่ย ขยันทำงานให้เต็มที่เลยนะ แต่ได้ผลแค่ไหนก็อิ่มใจในผลที่เราทำแล้ว ภูมิใจที่ได้ทำน่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๖ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องซ้อมแยกธาตุแยกขันธ์

mp3 for download : ต้องซ้อมแยกธาตุแยกขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ต้องซ้อมนะ ต้องซ้อม ฝึกของเราไปเรื่อยๆ มาเข้าคอร์ส มีเวลา ก็ซ้อมไป หาเครื่องอยู่ให้จิตอยู่ จิตหนีไปแล้วรู้ จิตไปเพ่งแล้วรู้ ก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา คนไหนได้ตัวรู้ขึ้นมาก็มาซ้อมต่อ มาซ้อมแยกธาตุแยกขันธ์ ร่างกายอยู่ส่วนร่างกายจิตอยู่ส่วนจิต ร่างกายอยู่ส่วนร่างกายเวทนาอยู่ส่วนเวทนาจิตอยู่ส่วนจิต ร่างกายอยู่ส่วนร่างกายเวทนาอยู่ส่วนเวทนาสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่วทั้งหลายกับจิตก็อยู่แยกกัน ต่างคนต่างแยกกันออกไป

นี่เป็นการหัดแยกขันธ์นะ แยกขันธ์ออกเป็นส่วนๆ รูปขันธ์ก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง สังขารขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง วิญญาณขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๕ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

mp3 (for download) : มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราพยายามตั้งใจรักษาศีล ๕ ใครมันจะหัวเราะก็ช่างมัน ตั้งใจฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนั้นแหละ คือสภาวะที่จิตทรงสมาธิที่ถูกต้องอยู่ ความรู้เนื้อรู้ตัวนี่ขาดไม่ได้เด็ดขาดเลย บางคนนั่งสมาธิจนกระทั่งโลกธาตุดับนะ ร่างกายหายไป โลกหายไป เหลือจิตดวงเดียว ก็ยังไม่ขาดความรู้สึกตัว จิตไม่ขาดสติ มีสติรักษาจิตอยู่ เพราะฉะนั้นสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ ขาดสติเคลิ้มไป เป็นมิจฉาสมาธิทันทีเลย

มีศีล ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา มาฝึกจิตให้อยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิที่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ทรงสมาธิอยู่เฉยๆ ต้องน้อมจิต มีสติระลึกรู้ เห็นความเปลี่ยนแปลงของกาย เห็นความเปลี่ยนแปลงของใจเรื่อยไป มาดูความเปลี่ยนแปลง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เข้าฌานไม่ได้ ก็อาศัยสมาธิทีละขณะ เจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เข้าฌานไม่ได้ ก็อาศัยสมาธิทีละขณะ เจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ในความเป็นจริงแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พระอรหันต์ส่วนใหญ่นี่แหละ ไม่ได้มีฤทธิ์มีเดชอะไร ไม่ได้มีฌานสมาบัติยอดเยี่ยม เข้าฌานคล่องแคล่วว่องไว ส่วนน้อยเท่านั้นแหละที่ทำฌานได้ ส่วนใหญ่ก็คือคนอย่างพวกเรานี่แหละ

ในสมัยพุทธกาลมีครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านนั่งอยู่ ก็มีพระกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่กับท่าน และมีพระอีก ๕๐๐ องค์ แล้วท่านก็ชี้ให้พระ ท่านก็บอกพวกพระว่า ในพวกพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มีพระอรหันต์ที่ได้วิชาสาม ระลึกชาติได้ รู้ว่าคนไหนตายแล้วไปเกิดที่ไหน แล้วก็ล้างกิเลสได้ เรียกว่าวิชา ๓ มีอยู่ ๖๐ องค์ จาก ๕๐๐ องค์ คือ ๑๒% พวกที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ต้องทรงฌาน

อีก ๖๐ องค์ คืออีก ๑๒% ได้อภิญญา ๖ แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ มีตาทิพย์ มีเจโตปริยายญาณรู้จิตผู้อื่นได้ ทำอะไรได้หลายอย่าง นี่ก็แค่ ๑๒% คนที่ได้อภิญญา ๖ เนี่ย ต้องได้ฌาน อีกพวกหนึ่ง ๖๐ องค์ เป็นอุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุติเนี่ย คือท่านผู้บรรลุพระอรหันต์ด้วยการที่เข้าถึงอรูปฌาน พระอรหันต์ส่วนใหญ่ที่บรรลุเนี่ย ไม่ใช่อุภโตภาควิมุติ แต่เข้าฌานในระดับรูปฌาน ฌาน ๑ – ๒ – ๓ – ๔ แล้วไปบรรลุพระอรหันต์ในฌาน ๑ – ๒ – ๓ – ๔ มีพระอรหันต์เพียง ๖๐ องค์เท่านั้นที่เข้าถึงอรูป จาก ๕๐๐ องค์ ก็ ๑๒% เหมือนกัน

ทำไมเรียกว่าอุภโตภาควิมุติ อุภโตภาควิมุติแปลว่าหลุดโดยส่วนทั้งสอง หลุดจากรูปธรรมด้วยการเข้าอรูปฌาน หลุดจากนามธรรม ปล่อยวางนามธรรม ได้ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้นเป็นพระอรหันต์ที่แปลกออกไปอีกพวกหนึ่ง พวกนี้มีฌานเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นพวกที่มีฌาน คือพวกวิชาสาม ๖๐ องค์ พวกอภิญญา ๖ ๖๐ องค์ แล้วก็พวกอุภโตภาควิมุติอีก ๖๐ องค์ รวมเป็น ๑๘๐ องค์ คือ ๓๖% ที่เหลือคือคนอย่างพวกเรานี่แหละ อีกเท่าไหร่ ๖๔ %

ถ้ามาถึงวันนี้นะ คนที่ทรงฌานได้มีไม่ถึง ๓๐ กว่าเปอร์เซนต์หรอก ยิ่งน้อยหนักเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าได้น้อยเนื้อต่ำใจว่าเราเข้าฌานไม่เป็น กระทั่งในสมัยพุทธกาล พระอรหันต์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ทรงฌานขนาดนั้น มาได้ฌานทีหลีงเมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว อย่างน้อยก็ได้ปฐมฌานเป็นของแถม

เพราะฉะนั้นพวกเราอาศัยสมาธิที่เรามีเล็กๆน้อยๆนี่ล่ะ อย่าดูถูกมัน น้ำหยดทีละหยดก็เต็มตุ่มได้ เราก็มีสมาธิทีละขณะ ทีละขณะ นี้แหละ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๔) สรุปการปฏิบัติ : รักษาศีล ๕ ฝึกจิตให้ตั้งมั่น แล้วเจริญปัญญา

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๔) สรุปการปฏิบัติ : รักษาศีล ๕ ฝึกจิตให้ตั้งมั่น แล้วเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สรุปนะ รักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ถ้ามีศีล ๕ จิตใจจะสงบง่าย

ขั้นที่ ๒ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด ทำกรรมฐานซักอย่างนึงได้ยิ่งดี แล้วจิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปเพ่งรู้ทัน เรารู้ทันจิตที่ไหลเนี่ย จิตจะตั้งมั่น โดยเฉพาะการรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จะทำให้จิตตั้งมั่น

เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว มาเจริญปัญญา เห็นกายกับใจเป็นคนละอันกัน เห็นความสุขความทุกข์กับจิตใจเป็นคนละอัน เห็นกุศลกับจิตใจเป็นคนละอัน เห็นจิตใจนั่นแหล่ะเกิดดับ อยู่ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เนี่ยเฝ้าดูอย่างนี้นะ นี่เรียกว่าเจริญปัญญา

ไม่ยากเกินไปหรอก แต่ทำไมที่ผ่านมา หาพระอริยtยาก เพราะเราไม่ได้ยินไม่ได้ฟังธรรมะแบบนี้ ส่วนใหญ่เราก็ได้ยินแต่เรื่องทำทาน ถือศีลอะไรไป นั่งสมาธิให้สงบไป เราไม่ได้ก้าวขึ้นมาฟังธรรมะในขั้นของการเจริญปัญญา ถ้าเจริญปัญญาได้ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์หรอก

เพราะงั้นเราเจริญสติปัฏฐานนะ แล้วก็เกิดปัญญาเห็นความจริง ของกายของใจ ทำอย่างนี้ โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ ค่อยฝึกนะ ค่อยฝึกไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๙) ถ้าจิตดื้อมาก ต้องค่อยๆปลอบไปสอนไป

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๙) ถ้าจิตดื้อมาก ต้องค่อยๆปลอบไปสอนไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตไม่ชอบให้ใครบังคับนะ ชอบโอ้โลมปฏิโลม จิตน่ะ ค่อยๆปลอบค่อยๆสอน อย่าไปเคี่ยวเข็ญมากนัก มันไม่พอใจ แล้วมันจะดื้อเลย จิตนี้ดื้อ เวลาดื้อแล้ว ดื้อมากๆเลยนะ แบบเอาไม่อยู่เลยนะ เพราะงั้นต้องค่อยๆปลอบ ค่อยๆพูดดีๆกับเค้า

เมื่อก่อนเคยอ่านประวัติครูบาอาจารย์องค์นึง หลวงปู่ขาว ความจริงหลวงพ่อเข้าวัดทันหลวงปู่ขาวนะ แต่ไม่ได้ไปหาท่าน เพราะตอนนั้นรู้ว่าท่านอยู่ในห้องกระจกแล้ว ท่านสอนไม่ได้แล้ว ต้องไปเลือกหาครูบาอาจารย์ที่สอนได้

ในประวัติหลวงปู่ขาวเนี่ย ท่านไปภาวนาอยู่กับหลวงปู่มั่น ท่านอยู่บนเขานะ แล้วจิตท่านดื้อมากนะ ท่านด่าจิตอยู่เรื่อยๆ พอเช้าลงจากเขามา หลวงปู่มั่นก็สอน อย่าไปด่าจิตนะ จิตนั่นแหล่ะคือพุทธะ จิตเป็นของดีของวิเศษ อย่าไปด่าเค้า ค่อยๆปลอบเค้า พูดดีๆกับเค้า อ่อนโยนกับเค้า ท่านเลยหันมาเจริญเมตตา แล้วใจของท่านก็สงบ ใจสงบแล้วท่านเดินปัญญาต่อได้

อันนั้นเป็นเรื่องว่าเราอย่าไปเค้นจิตมาก เพราะนั้นเราค่อยๆสอนจิตไป เออร่างกายมันนั่งนะ เห็นไหม ใจเราเป็นคนดูอยู่ เนี่ย พูดกับมันเพราะๆนะ แต่ไม่ต้องเพราะมาก พ่อเจ้าประคุณเอ๋ยอะไรอย่างนี้ ไม่ต้องขนาดนั้นนะ มันเวอร์ไป เอาสบายๆ เห็นไหม ร่างกายกำลังยิ้ม รู้สึกไหม เนี่ย ง่ายแค่นี้เอง เห็นไหมร่างกายพยักหน้า ง่ายแค่นี้เอง ทำใจให้สบาย แล้วมันก็เห็นเอง เห็นไหมร่างกายกำลังพัด เห็นไหมร่างกายดมยาดม เห็นไหมร่างกายยิ้มอีกแล้ว เนี่ยคอยรู้สึกนะ เห็นไหมร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่ ใจเราไปรู้มันนะ ใจเราเป็นคนรู้ แค่นี้แหล่ะ ค่อยๆฝึกอย่างนี้แหล่ะ ส่วนความรู้สึกทางใจ ขณะนี้บางคนสงสัย รู้สึกไหมบางคนสงสัยอยู่ แล้วใจมันสงสัยขึ้นมา เราเห็นเลย ความสงสัยเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ความสุขเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ความทุกข์เป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า อารมณ์อะไรเกิดขึ้นนะ ค่อยๆสอนมันไป

แต่ถ้ามันแยกแล้วนะ ไม่ต้องสอนนะ อย่าพูดมาก ธรรมดาจิตพูดมากอยู่แล้ว เราไม่ต้องไปช่วยมันพูด กว่าจิตจะหยุดพูดได้ นานนะ นาน

เมื่อก่อนหลวงพ่อภาวนานะ โอ้ จิตทำไมมันพากย์ไม่เลิก ใครเคยเห็นจิตพากย์ได้บ้าง นี่ เออ เห็นไหม ยกมือแล้ว (เห็น)จิตพากย์(ว่า) โกรธแล้ว โลภแล้ว หลงแล้ว ฟุ้งซ่านแล้วนะ จิตพากย์ บ่นมันนะ เมื่อไหร่จะเลิกพากย์ซะที รำคาญ ปรากฎมันไม่เลิกหรอก ภาวนาหลายปีนะ กว่าจิตจะเลิกพูด ต้องค่อยๆฝึกไป

อย่าไปว่ามันนะ ยิ่งว่ามันยิ่งดื้อนะ จิตน่ะ ค่อยๆปลอบ ค่อยๆให้กำลังใจ เชียร์มันบ้าง ชมมันบ้าง แต่อย่าให้มันเหลิง เชียร์มากนะ กิเลสมาแล้วก็หลง ตามใจกิเลสไป อย่างนั้นเรียกว่า พาจิตเหลิงไปแล้ว ไม่เอา ขนาดนั้นไม่เอา แค่ทะนุถนอมมันหน่อย ค่อยๆปลอบมัน เออเห็นไหม ความโกรธกับจิตมันคนละอันกันนะ เวลาคนทั่วไปโกรธนะ ก็จะไปดู คนที่ทำให้โกรธ

ของเราเวลามันมีความโกรธเกิดขึ้นมานะ รู้ทัน ว่าใจมันโกรธ จะเห็นว่าโกรธกับใจเป็นคนละอันกัน แต่ถ้ายังไม่เห็น ก็ค่อยๆสอนมันไป เออ ดูสิความโกรธ เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้านะ ค่อยๆหัดอย่างนี้นะ แล้วต่อไปมันจะแยกกัน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าย่อท้อ ธรรมะพระพุทธเจ้าของจริง อยู่ที่ว่าเราเป็นคนจริงแค่ไหน

mp 3 (for download) : อย่าย่อท้อ ธรรมะพระพุทธเจ้าของจริง อยู่ที่ว่าเราเป็นคนจริงแค่ไหน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใครเคยเห็นความสุขความทุกข์บ้าง เห็นมั้ยว่ามาแล้วก็ไป เห็นมั้ย มันไม่ยากอะไรเลย ของง่ายๆนี่เอง เรียนรู้ไปเรื่อยนะ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงวันนึงจิตมันก็ปิ๊งขึ้นมา ยอมรับ ว่าทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเรานี่ เป็นของชั่วคราว ยอมรับตรงนี้ได้นะ ความทุกข์หายไปเยอะมากเลย

ถัดจากนั้น เราก็ภาวนาของเราต่อไปนะ จนกระทั่งวันนึง มันเห็นแจ้งขึ้นไปอีก มีปัญญาเห็นจริงขึ้นไปอีก ร่างกายจิตใจเราไม่ใช่เป็นแค่ของชั่วคราว เกิดแล้วก็ดับหรอก แต่ว่าเอาเข้าจริงนะ เราบังคับมันไม่ได้ ไม่ใช่ของที่อยู่ในอำนาจเลย แล้วมันเป็นตัวอะไร มันไม่ใช่ตัวเรา เป็นตัวทุกข์ ถ้าเมื่อไหร่วันใด ที่จิตของเราเห็นแจ้งแล้ว ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ มันจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลก

มันเป็นปรากฎการณ์ที่อัศจรรย์นะ จิตนี่มันสลัดความยึดถือในกายในใจ คืนให้โลกได้นะ มันเหมือนต่อไปนี้ ร่างกายกับตัวเรานี่ คนละเรื่องกันเลย จิตใจก็ไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา มันคืนให้โลกไปหมดเลยนะ เป็นอัศจรรย์มากเลย เป็นเรื่องที่ประหลาด ถ้าเราศึกษาปฏิบัตินะ อย่าย่อท้อซะก่อน คนที่เค้าไม่ได้ยินได้ฟัง เค้าไม่รู้วิธีปฏิบัติ ก็ส่วนนึงนะ(เป็น)ส่วนใหญ่ พวกเราเมื่อได้ยินได้ฟังได้รู้วิธีปฏิบัติแล้ว เป็นคนส่วนน้อยเต็มที

คนที่ได้ยินธรรมะแท้ๆของพระพุทธเจ้าเนี่ย เป็นคนส่วนน้อยนะ ในโลกนี้คนตั้งเยอะแยะ ในเมืองไทยคนตั้งเยอะแยะ มีคนซักกี่คน ที่เคยได้ยินเรื่องการเจริญสติรู้กายรู้ใจ ทำสติปัฏฐานอะไรนี้ พระพุทธเจ้าสอนนะ ถ้าตราบใดยังมีผู้เจริญสติปัฏฐานอยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์

สติปัฏฐานนี่แหล่ะ เป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น จากความทุกข์ทั้งปวง ท่านสอนถึงขนาดนี้

ถ้าพวกเราเป็นชาวพุทธ เราไม่รู้วิธีเจริญสติปัฏฐาน ไม่รู้วิธีรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ก็เรียกว่าเรายังไม่ได้ประโยชน์ จากพระพุทธศาสนาเท่าที่ควรหรอก นี่หลวงพ่อพึ่งไปอินเดียมานะ เห็นวัดวาอารามสมัยก่อน สร้างกันไว้ใหญ่โตมโหฬารนะ พังทลายไม่มีคนดูแล ทำไมมันสูญไปอย่างนั้น เพราะมันไม่มีชาวพุทธ

ของเรานี่ก็เหมือนกันนะ นับวันชาวพุทธแท้ๆร่อยหรอเต็มทีแล้ว มีแต่พุทธแต่ชื่อ พระพุทธเจ้าสอนอะไร ก็ไม่รู้ บอกเป็นชาวพุทธได้ยังไง คิดว่าศาสนาพุทธเป็นเรื่องพิธีกรรม ถึงปีทำบุญใส่บาตรอะไรงี้นะ นิมนต์พระมาสวด เวลาตายก็เอาศพไปวัดไปสวด คิดว่านี่คือศาสนาพุทธเหรอ คนละเรื่องเลยนะ ด้อยเกินไปนะ

งั้นเราต้องเรียน ให้ได้หลักของการปฏิบัติจริงๆ เรียนให้ได้แก่นสารของการปฏิบัติจริงๆ แล้วความทุกข์จะออกจากใจเราได้จริงๆ ธรรมะของท่านน่ะของจริงนะ อยู่ที่เราเป็นคนจริงแค่ไหน เราเป็นคนจริง ความทุกข์ออกจากใจเราจริงๆ เห็นต่อหน้าต่อตาเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เมื่อ วันพุธที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

CD: แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
File: 551128
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บุญที่ใหญ่ที่สุดคืออะไร?

mp 3 (for download) : บุญที่ใหญ่ที่สุดคืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
ขอขอบคุณ ภาพจากงาน “ธรรมะกลางเมือง”

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความดีทั้งหลายนะ มีหลายระดับ การทำทานก็เป็นความดี รักษาศีลก็เป็นความดีนะ เห็นคนอื่นเขาทำดีแล้วดีใจกับเขาก็เป็นความดี เรียกว่าอนุโมทนา อนุโมทนาดีตรงไหน ดีตรงแก้ริษยาได้ เห็นเขาดีแล้วอิจฉาเขา แต่ถ้าดีใจกับเขาด้วยเขาดี อะไรอย่างนี้ เป็นบุญ

ฟังธรรมก็เป็นบุญนะ ฟังธรรมก็เป็นบุญ แสดงธรรมก็เป็นบุญ อุทิศส่วนบุญก็เป็นบุญ อนุโมทนาส่วนบุญของคนอื่นก็เป็นบุญ บุญนั้นมี ๑๐ อย่างนะ มีชื่อเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง มีทาน มีศีล มีอะไรอย่างนี้เป็นบุญทั้งนั้นนะ ทำสมาธิอะไรอย่างนี้นะ

แต่บุญที่เหนือบุญธรรมดานะ บุญที่เลิศที่สุดเลย คือบุญที่ประกอบด้วยสติปัญญา เป็นบุญใหญ่ บุญที่ไม่ประกอบด้วยสติปัญญาเนี่ย เป็นบุญธรรมดา พาเราเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิที่ดี แต่บุญจากการเจริญสติปัญญานั้นน่ะ จะพาเราข้ามภพข้ามชาติได้ นั่นเป็นบุญที่ใหญ่ที่สุด

เพราะฉะนั้นการที่เราจะมาฝึกวิปัสสนากรรมฐานนั้น มาแยกรูปแยกนาม เห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม นี่คือบุญที่ใหญ่ที่สุดเลยนะ ที่มนุษย์อย่างพวกเราจะทำได้

บางคนหวังว่าวันหนึ่งจะมีพระเข้านิโรธสมาบัติ ใครเคยคิดเรื่องนี้บ้าง ถ้าพระเข้านิโรธนะ ออกจากนิโรธเราจะมาดักทำบุญ ดีมั้ย ดี ผลบุญจะให้ผลเร็วมากเลย ในวันนั้นจะให้ผลรวดเร็วเลย แต่บุญอย่างนั้นนะเป็นบุญอยู่กับโลก เราต้องมาทำบุญข้ามโลกให้ได้ เหนือโลกให้ได้ โลกนี้มันทุกข์ เราต้องเจริญสติเจริญปัญญาให้มาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
Track: ๖
File: 550909B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๑๓ ถึง ๘ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 3123