Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จริตสำหรับการทำสมถะและวิปัสสนา

mp 3 (for download) : จริตในการทำสมถะและวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ แยก กาย เวทนา จิต ธรรม กายและเวทนา นี่กลุ่มหนึ่ง จิตและธรรม เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง จริตนิสัยของคนเราในเวลาทำสมถะกับวิปัสสนา การแยกจริตจะไม่เหมือนกัน

ถ้าเวลาเราจะทำสมถะ เราดูจริตมี ๖ อย่าง ๑) ราคจริต ๒) โทสจริต ๓) โมหจริต ๔) พุทธิจริต ๕) วิตกจริต ๖ สัทธาจริต

อย่างพวกศรัทธามากๆ เนี่ย ก็คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงอะไรอย่างนี้นะ ใจก็สบาย สงบ พวกฟุ้งมากๆ ก็รู้ลมหายใจไป อะไรอย่างนี้นะ พวกขี้โมโห ก็เจริญเมตตา พวกบ้ากามก็พิจารณาอสุภะอะไรอย่างนี้ พิจารณาความตายอะไรไป แล้วใจก็สงบ

แต่อารมณ์จริตนิสัย จริตที่ใช้ทำวิปัสสนานะ เราแยก ๒ ส่วนเท่านั้นเอง เรียกว่า

๑) ตัณหาจริต พวกรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม

๒) ทิฏฐิจริต พวกเจ้าความคิด เจ้าความเห็น

- พวกตัณหาจริต มีกรรมฐานที่เหมาะคือ การดูกาย หรือ เวทนา

- พวกทิฏฐิจริต เจ้าความคิดเจ้าความเห็น มีกรรมฐานที่เหมาะคือ ดูจิต หรือ ธรรม

ทำไมแต่ละจริตต้องมี ๒ อย่าง

-พวกรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ดูกาย หรือ เวทนา พวกที่ปัญญาแก่กล้าแล้วจะไปดูที่เวทนา พวกที่ยังไม่แก่กล้าดูกาย กายดูง่ายกว่าเวทนา

-พวกเจ้าความคิด เจ้าความเห็นนี่ ดูจิตเอา เห็นจิตเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง นี่ดูง่าย ถ้าปัญญามันแก่กล้าขึ้นไปก็ไปดูธัมมา เจริญธัมมานุปัสสนานะ จะเห็นความละเอียดลึกซึ้งประณีตของสภาวธรรมแต่ละอันๆ อย่างจิตตานุปัสสนาเห็น จิตมีโทสะ รู้ว่ามีโทสะ ดูแค่นี้เอง ถ้าขึ้นไปถึงธัมมานุปัสสนา มันจะประณีตขึ้นไปอีก อย่างจิตมีปฏิฆะ ความไม่พอใจเกิดขึ้น มีพยาบาท พยาปาทะ ไม่พอใจ คิดถึง ตรึกถึงอารมณ์ที่ไม่พอใจเนี่ยเห็นละ ไม่ต้องรอให้โกรธ มันประณีตกว่ากัน เรารู้ด้วยว่าทำไมถึงเกิดจิตที่มีความพยาบาทขึ้น รู้ด้วยว่าทำยังไงความพยาบาทจะไม่เกิดขึ้น เห็นมั้ยจะรู้เหตุ รู้ผล รู้ลึกซึ้งลงไปอีก หรือดูโพชฌงค์ จะเห็นเลยคุณธรรมมันค่อยๆ อัพเกรดขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ดูยากกว่ากัน

พวกเราสันนิษฐานไว้ก่อนก็แล้วกันนะเพื่อความปลอดภัยว่าพวกเราอินทรีย์อ่อน อินทรีย์แข็งคงไปเรียนจากพระพุทธเจ้าแล้วคงบรรลุกันไปหมดแล้วล่ะ สมัยนั้นพวกเราบางคนก็อาจจะเคยเจอพระพุทธเจ้ามาแล้วนะ แต่เราเป็นลูกศิษย์เทวทัตนะก็เลยไม่ได้ธรรมะอะไร แล้วสำคัญผิดอะไรอย่างนี้ หรือตอนเราไปเจอพระพุทธเจ้าแต่ตอนนั้นเราเป็นเดียรถีย์ เราไปแอนตี้พระพุทธเจ้าซะด้วยซ้ำไป งั้นบารมีพวกเรานี่ ตกมาถึงรุ่นนี้ ถือว่าบารมีอ่อนก็แล้วกันนะ

งั้นคนไหนรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ให้ดูกายไว้ เพราะกายนี่จะสอนให้เห็นว่าไม่สุข ไม่สบาย ไม่สวย ไม่งาม

ถ้าคนไหนเจ้าความคิดเจ้าความเห็นให้ดูจิต จิตเดี๋ยวก็ดี จิตเดี๋ยวก็ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายทั้งวัน เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็หายโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหายโกรธ เดี๋ยวหลง เดี๋ยวหายหลง

งั้นเราดูจริตนิสัยของตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๗


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๖
File: 570914A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๕

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

mp3 for download : ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขออนุญาตท่านอาจารย์ครับ หลวงพ่อจะมาเยี่ยมครูบาอาจารย์เฉยๆนะ มาเยี่ยมหลวงพ่อ.. กับหลวงพ่อคำเขียน ๒ องค์ ไม่ได้มาเทศน์หรอก เทศน์ไม่ได้ ผิดธรรมเนียม ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่กว่าอยู่ต้องนิมนต์ท่านเทศน์หรอก แต่นี่ท่านอนุญาตนะ ครูบาอาจารย์อนุญาตให้เราเทศน์ เราก็เทศน์ได้ แต่เทศน์แล้วต้องทำนะ จะให้หลวงพ่อเทศน์เปล่าๆ บาปนะ คือเราให้พระเหนื่อยฟรีๆแล้วขี้เกียจ

อย่าขี้เกียจนะ ความทุกข์มันบีบคั้นเราอยู่ทั้งวันทั้งคืน คนมีปัญญาถึงจะมองเห็น คนไม่มีปัญญาก็จะเห็นแต่มีความสุขนะ หลงระเริงไปเรื่อยๆ วนไปวันหนึ่งๆนะ เดี๋ยวก็เดือนเดี๋ยวก็ปี ไม่นานก็ตาย สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป น่าเสียดายที่สุดเลย

พวกเรามีบุญนะ พวกเราอุตส่าห์มาวัด มาหาครูบาอาจารย์ มาอะไรนี่ ได้รักษาศีล ได้ฟังธรรม ก็ต้องมาปฏิบัติ ธรรมะที่เราจะปฏิบัตินะ ก็มีทานมีศีลมีภาวนานะ ทำทานก็ไม่ใช่ว่าต้องเสียเงินเสียทองนะ ยกตัวอย่างเราโกรธคน คนเขาด่าเรา เราอภัยให้เขาอะไรอย่างนี้ ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง คนเขาไม่มีความรู้ แล้วเราให้ความรู้เขา ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง ทานก็มีหลายอย่าง ไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไร ให้ความรู้เขาให้ความเข้าใจนะ ได้บุญแรง

ต้องรักษาศีล ของเรามาอยู่วัด อุตส่าห์แต่งขาว เรามีสตินะ แต่งชุดขาวๆ ขาดสติเดี๋ยวก็เลอะแล้ว เพราะฉะนั้นท่านให้แต่งขาวๆไว้ก็ดี จะกระดุกกระดิก จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวนะ รู้สึก คอยรู้สึกไว้เรื่อยๆนะ เวลาโมโหใครขึ้นมา รู้ทันที่ใจเรา

มาอยู่วัดมาหาความสุขความสงบ หาความดีให้ตัวเอง ฝึกจิตฝึกใจของเราทุกวันๆนะ ภาวนาไปพุทโธๆไปก็ยังดี หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติ คอยรู้ทันใจตัวเองไว้เสมอๆ ถ้าเรามีสติรู้ทันใจของเราได้บ่อยๆนะ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเราได้นะ กิเลสจะครอบงำใจเราไม่ได้ ถ้ากิเลสมันครอบงำจิตใจของเราไม่ได้นะ เราจะไม่ผิดศีลหรอก คนมันทำผิดศีลนะเพราะมันถูกกิเลสหลอกเอาไป

ยกตัวอย่างมันไปฆ่าเขามันไปตีเขานะ เพราะโทสะมันครอบงำใจ คอยหลอกลวงเขาอะไรอย่างนี้ หรือไปเป็นชู้กับเขาอะไรอย่างนี้ ก็เพราะโลภะครอบงำใจ เพราะฉะนั้นมันมาจากกิเลสทั้งนั้นเลยนะ ทำให้เราทำผิดศีลผิดธรรมเพราะฉะนั้นเรารักษาศีลให้มั่นคงแข็งแรงนะ ทุกคนต้องมีศีล ถ้าเราไม่มีศีลนะ เราเสียความเป็นมนุษย์แล้ว เราจะไปอบาย

ทีนี้เรามีศีลเท่านั้นไม่พอนะ เราต้องมีฝึกใจของเราให้สงบบ้าง ใจของเราร่อนเร่หนีเที่ยวทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยอยู่กับเนื้อกับตัวเลย เรามาฝึกให้จิตใจอยู่กับตัวเอง การฝึกให้ใจอยู่กับตัวเองนี้แหละที่เรียกว่าฝึกให้มีความสงบมีความตั้งมั่นมีสมาธิขึ้นมา เราก็เอาสตินี้แหละมารู้ทันใจ เป็นวิธีที่ง่ายๆนะ ถ้าใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน ใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน รู้อย่างนี้บ่อยๆนะ พอใจเราไหลไปแว้บมันจะรู้สึกขึ้นมา ใจมันจะตื่น มันจะตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิเบื้องต้น สมาธิที่เรามีสติรู้ทีละแว้บๆ เขาเรียกว่าขณิกสมาธินะ สมาธิชั่วขณะเท่านั้นแหละ ได้สมาธิชั่วขณะก็ดีกว่าไม่มีเลย

คนไหนมีบุญมีวาสนานะ ภาวนาทุกวัน รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนะ พุทโธไป ภาวนาไป จิตใจไม่หนีไปที่อื่น จิตสงบอยู่กับลมหายใจ นั่นแหละจะได้สมาธิที่ละเอียดที่ปราณีตขึ้นไป ได้อุปจารสมาธิ ได้อัปนาสมาธิ จิตใจจะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ใจจะเป็นผู้รู้นะ ใจไม่ใช่ผู้หลงคิด ใจที่ไม่มีสมาธิจะเป็นใจผู้หลงคิด ใจที่มีสมาธิมีความตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวจะเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนะ มันจะมีความสุขอยู่ในตัวเอง

เพราะฉะนั้นเราฝึกจิตฝึกใจของเรานะให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ฝึกไปเรื่อย จะอยู่กับพุทโธก็อยู่นะ จะอยู่ในลมหายใจก็อยู่ ถ้าทำได้ก็ดีจะได้ความสุขความสงบที่ปราณีต ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าเสียใจ ให้อาศัยสติคอยรู้ทันจิตเป็นขณะๆไปก็ได้สมาธิเหมือนกัน แต่เป็นสมาธิแค่ขณิกสมาธิชั่วขณะ ดีกว่าไม่มีเลย ก็เหมือนกับคนยากคนจนนะ มีเงินร้อยบาท สองร้อยบาท สิบบาท ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย ไม่มีเงินล้านเงินแสนอย่างคืนอื่นก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้มีฌานมากมายอย่างคนอื่นก็ไม่ต้องเสียใจ ได้ความสงบที่เป็นขณะๆอย่างนี้ก็พอที่จะไปมรรคผลนิพพานได้นะ

ทีนี้พอจิตใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ใจลอยล่องลอยหนีไปเรื่อยแล้วเนี่ย ให้มาคอยเจริญปัญญาต่อ เห็นมั้ยมามีศีลมีสมาธิแล้วมามีปัญญา มีศีลเพราะมีสติรู้ทันกิเลสนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็มีศีลขึ้นมา มีสติที่รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป จิตก็สงบขึ้นมาได้สมาธิ ถัดจากนั้นพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วต้องเดินปัญญา ถ้าเราไม่ได้เจริญปัญญาเราจะไม่ได้คุณค่าของศาสนาพุทธหรอก เพราะการรักษาศีล การทำสมาธิเนี่ย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้านะ นักปราชญ์ทั้งหลายเขาก็สอนกันได้

ต้องมาเจริญปัญญาให้ได้ มาทำวิปัสสนานะ ถึงจะเป็นชาวพุทธแท้ๆได้รับประโยชน์จากพระศาสนาอย่างแท้จริง การเจริญปัญญาคือการเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราเองก็คือกายกับใจนะ เพราะฉะนั้นเราคอยมีสติรู้อยู่ที่กายมีสติรู้อยู่ที่ใจ รู้ไปอย่างสบายๆ รู้ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่มีสมาธิหนุนหลัง เพราะฉะนั้นจิตใจของเราต้องตั้งมั่นนะ สงบ ตั้งมั่น แล้วมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ

เห็นกายทำงานเห็นใจทำงานไปเรื่อย ควรจะเห็นเหมือนเห็นคนอื่นนะ ร่างกายยืนเดินนั่งนอน เหมือนจะรู้สึกเหมือนกับว่าคนอื่นยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เห็นร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า เนี่ยร่างกายมันหายใจไม่ใช่เราหายใจ จะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราจะเห็นเป็นเพียงวัตถุเท่านั้น เป็นก้อนธาตุนะ มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก หายใจเข้าหายใจออก ก็แค่วัตถุเท่านั้นเอง ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา

มาดูจิตดูใจนะ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เฝ้ารู้ไปเรื่อย พวกเราเป็น.. ส่วนใหญ่คนรุ่นนี้เป็นพวกคิดมาก จิตคิดทั้งวันนะ คิดไปแล้วเดียวก็สุข คิดไปแล้วเดี๋ยวก็ทุกข์ มีมั้ยคิดแล้วทุกข์ บางทีเขาด่าเรามาสิบปีแล้วนะมาคิดใหม่ทุกข์ใหม่ เออ.. เป็นมั้ย โกรธใหม่ก็ได้ เรื่องตั้งนานแล้วนะ คิดซ้ำก็เป็นอีกนะ เนี่ยใจของเราชอบหลง หลงๆไปนะ ให้เราคอยมีสติรู้ทันนะ รู้ทันใจ ใจหลงไปคิดเรื่องนี้-รู้ทัน คิดแล้วเกิดความสุขก็รู้ทันว่ามีความสุขแล้ว ความทุกข์เกิดขึ้นในใจเราก็รู้ทันนะ กุศล-อกุศล โลภโกรธหลงอะไรเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ทัน รู้เฉยๆ

ในขั้นของการเดินปัญญา ไม่เหมือนในขั้นของการทำสมาธิ ขั้นการทำสมาธินี่นะ จิตไม่ดีทำให้ดี จิตไม่สุขทำให้สุข จิตไม่สงบทำให้สงบ แต่ในขั้นปัญญาเนี่ย จิตไม่ดีรู้ว่าไม่ดี จิตไม่สุขรู้ว่าไม่สุข จิตไม่สงบรู้ว่าไม่สงบ รู้ลูกเดียวเลย รู้อย่างที่มันเป็นนะ เราจะเห็นเลยความสุขที่เกิดขึ้นในใจเราก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราวนะ โลภโกรธหลงอะไรๆก็ชั่วคราว นี่หัดดูลงไปนะ ทุกอย่างในชีวิตนี้เป็นของชั่วคราว นี่ล่ะคือการการเดินปัญญานะ ดูลงไป ค้นคว้าพิจารณาลงไปนะ

ถ้าจิตมันไม่ยอมดูของมันเองก็ต้องช่วยมันคิดช่วยมันพิจารณาก่อนในเบื้องต้น ยกตัวอย่างพิจารณาร่างกายนะ เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุเป็นขันธ์ นี่คือช่วยมันคิดก่อน แต่ถ้าจิตมันมีปัญญามีกำลังพอนะ มันจะเห็นเอง ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา จิตใจที่สุขจิตใจที่ทุกข์นั้น ความสุขความทุกข์ นั้นก็ไม่ใช่เรา จิตเป็นธรรมชาติรู้ จิตรู้ว่ามีความสุข จิตรู้ว่ามีความทุกข์ ตัวที่รู้นี้ก็ไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี ฝึกไปเรื่อยๆนะแล้วเราจะเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก

ภาวนาจนล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา มีตัวตน ถ้าตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ล่ะ ก็ขันธ์ ๕ มันทุกข์นะ ไม่ใช่เราทุกข์อีกต่อไปแล้ว เนี่ยเฝ้ารู้เฝ้าดูต่อไปนะ สติปัญญาแก่รอบขึ้นไปเรื่อย มันจะเห็นเลยว่าขันธ์ ๕ มีแต่ทุกข์ล้วนๆ อย่างพวกเราตอนนี้ปัญญาเราไม่พอ ศีลสมาธิปัญญาต้องฝึกให้แก่รอบนะ วันหนึ่งถึงจะพอ ถ้าพอจริงจะเห็นเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ

พวกเราไม่เห็นหรอก พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ใช่ม้้ย เห็นมั้ยว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เห็นอย่างนี้ใช่มั้ย นี่เราไม่รู้จริงหรอก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ท่านไม่ได้บอกว่าทุกข์บ้างสุขบ้างนะ เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนหรอก เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้พ้นทุกข์หรอกนะ เพราะฉะนั้นต้องรู้ลงไปในกายรู้ลงไปในใจบ่อยๆ อย่าใจลอยนะ รู้สึกอยู่ในกายรู้สึกอยู่ในใจบ่อยๆนะ วันหนึ่งเราจะเห็นได้ว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย

ยกตัวอย่างนั่งอยู่ก็ทุกข์นะ เดินอยู่ก็ทุกข์ นอนอยู่ก็ทุกข์ หิวก็ทุกข์ อิ่มก็ทุกข์ ง่วงก็ทุกข์นะ เจ็บป่วยขึ้นมาก็ทุกข์ นั่งอยู่เฉยๆก็คัน มีมั้ยนั่งแล้วไม่คัน คันก็ทุกข์นะ ทีนี้พวกเราพอทุกข์นะ เราก็เปลี่ยนอิริยาบถปับเลย เรายังไม่ทันจะรู้สึกเลยว่าทุกข์ ยกตัวอย่างคันขึ้นมารีบเกาเลย ยังไม่ทันรู้ตัวเลยว่าคันนะ เกาไปก่อนแล้ว เราก็ไม่เห็นทุกข์ มันเมื่อยขึ้นมาเราก็ขยับซ้ายขยับขวานะ เรายังไม่ทันรู้สึกเลยว่าเมื่อยนะ ยังไม่ทันรู้เลยว่ากายนี้เป็นทุกข์ ขยับหนีความทุกข์ไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนที่จะขยับตัวนะ รู้สึกตัวเสียก่อน ก็จะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลยนะ

จิตใจนี้ก็เหมือนกันนะ คอยรู้ทันบ่อยๆจะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ถ้าเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่ก็ข้ามโลกได้แล้วนะ ถ้ายังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้างก็ไปไหนไม่รอดหรอก

ก็ฝึกเอานะ ขั้นแรกเลย รักษาศีล อุตส่าห์แต่งขาวๆน่ะ อย่าปากร้ายนะ ปากร้ายนี้มันมาจากใจร้ายก่อน ใช่ม้้ย แล้วมันลดลงมา เพราะฉะนั้นเรามีศีลไว้ก่อนนะ ต่อไปเราก็มาฝึกใจให้สงบ กายสงบวาจาสงบแล้วด้วยศีล ฝึกให้ใจสงบด้วยสมาธิ แล้วก็ขั้นสุดท้ายฝึกให้จิตเกิดปัญญาด้วยวิปัสสนา กิเลสมี ๓ ขั้นนะ กิเลสอย่างหยาบเนี่ยคือ โลภ โกรธ หลง ของหยาบที่สุด สู้ด้วยศีลนะ กิเลสอย่างกลางชื่อนิวรณ์ สู้ด้วยสมาธิ ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ใจไม่ฟุ้งไป จิตมีสมาธิ นิวรณ์ครอบงำไม่ได้ กิเลสที่ละเอียดที่สุดนะ คือความเห็นผิด คืออวิชา ความเห็นผิด คือมิจฉาทิฎฐิ เราสู้ด้วยความเห็นถูก รู้ลงในกายรู้ลงในใจดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร จริงๆมีแต่ทุกข์นะ ดูไป เอ้า..เท่านี้เนาะ เทศน์แค่นี้ก็ถึงนิพพานแล้วล่ะ เหลือแต่ทำเอา ก่อนจะถึงนิพพาน ศีล ๕ ก่อนเน่อ เดี๋ยวหลวงพ่อต้องไปแล้วล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓

File: 530308
Whole track

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อสติสมาธิปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแล้ว ไม่มีการแบ่งแยกสายของการปฏิบัติอีกต่อไป

mp3 for download :เมื่อสติสมาธิปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแล้ว ไม่มีการแบ่งแยกสายของการปฏิบัติอีกต่อไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ฝึกเอานะ ค่อยๆดูสภาวะ สภาวธรรมนี้แหละของจริง ดูให้เห็นความจริง คือเห็นไตรลักษณ์

การปฏิบัติในเบื้องต้นน่ะ มันมีสายโน้นสายนี้ สายพุทโธ สายอาณาปานสติ สายพองยุบนะ สายโคเอนก้า สายอะไรต่ออะไร สายหลวงพ่อเทียน-ทำจังหวะ เยอะแยะไปหมดเลย นั่นเป็นเบสิคหรอก มีสาย ถ้าทำเป็นแล้วเนี่ย สติตัวจริงเกิด สมาธิตัวจริงเกิด ปัญญา เดินปัญญาได้ สติก็อัตโนมัติ สมาธิก็อัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ สติ-สมาธิ-ปัญญาอัตโนมัติแล้ว ไม่มีสายอีกต่อไปแล้ว

บางทีสติก็ระลึกรู้กาย ก็เห็นความจริงคือไตรลักษณในกาย บางทีสติระลึกรู้ในเวทนา ก็เห็นความจริงในเวทนา-เวทนาคือความสุขทุกข์ทั้งหลาย บางทีสติระลึกรู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลในจิต ก็เห็นไตรลักษณ์ กุศลก็แสดงไตรลักษณ์ อกุศลก็แสดงไตรลักษณ์ บางทีสติระลึกรู้จิตที่เกิดดับทางทวารทั้ง ๖ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ก็เห็นจิตแสดงไตรลักษณ์

เราเลือกไม่ได้ว่าสติจะระลึกรู้กาย หรือระลึกรู้เวทนาคือความสุขทุกข์ ระลึกรู้สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว หรือระลึกรู้วิญญาณ-ความรับรู้-หรือจิตทีเกิดทางทวารทั้ง ๖ คือ เกิดที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ เราเลือกไม่ได้ สติเป็นอนัตตา-สั่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่มีสายอีกต่อไปแล้ว

ถ้าสติระลึกรู้กายก็จะเห็นอะไร เห็นไตรลักษณ์ในกาย สติระลึกรู้เวทนาก็เห็นไตรลักษณ์ในเวทนา สติระลึกรู้สังขารก็เห็นไตรลักษณ์ในสังขาร สติระลึกรู้วิญญาณคือตัวจิตเอง ก็เห็นไตรลักษณ์ในจิต

ถามว่าเห็นอะไร ไม่ว่าระลึกรู้อะไรก็เห็นไตรลักษณ์ นั่นแหละถึงจะเรียกว่า “วิปัสสนา” นะ เห็นกายไม่ใช่วิปัสสนา เห็นจิตไม่ใช่วิปัสสนา เพราะฉะนั้นสายกายสายจิตอะไรก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนานะ ต้องเห็นไตรลักษณ์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907B
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๓ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นตัวภาระ

mp3 for download :ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นตัวภาระ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากวัดพระธาตุโกฏิแก้ว
เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ มโน มยา

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราคอยรู้สึก มีร่างกายแล้วก็คอยรู้สึกไป ร่างกายนั่งอยู่-รู้สึก ร่างกายหยุดนิ่ง-รู้สึก ร่างกายเคลื่อนไหว-รู้สึก ร่างกายหายใจออก-รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า-รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน-รู้สึก รู้สึกสบายๆ แค่รู้สึก รู้สึกไปเรื่อยๆนะ ใจเราเป็นคนดูสบายๆ มันก็จะเริ่มเห็น ร่างกายไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุที่เคลื่อนไหวไปมา เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุที่มีธาตุหมุนเวียนอยู่ตลอด หายใจเข้าหายใจออก กินอาหารเดี่ยวก็ขับถ่าย ดื่มน้ำเข้าไปเดี๋ยวก็เหงื่อออกอะไรอย่างนี้ ธาตุมันหมุนตลอด เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนะ ไม่เที่ยง มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง มีความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

ทำไมพวกเราเกา เกาเพราะสุขหรือว่าเกาเพราะทุกข์ เกาเพราะทุกข์ใช่มั้ย คันน่ะ รำคาญ เอาเสียหน่อย ทำไมต้องเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะว่าทุกข์ใช่มั้ย ทำไมนั่งแล้วต้องกะยุกกะยิกๆ เมื่อยมั้ย อ้อ..มันทุกข์ ใช่มั้ย ถ้าเรารู้สึกอยู่ในกายเรื่อยๆก็จะเห็นเลย มีแต่ทุกข์ทั้งวัน แล้วเป็นภาระเยอะนะ

ตื่นนอนมามีภาระอะไรกับร่างกายบ้าง ไหนลองว่ามาคนละประโยคสิ เยอะแยะเลยนะ ทำอะไรบ้าง ตื่นนอน ลืมตา? หา.. เป็นภาระขนาดว่ายังไม่อยากลืมตาเลย มีมั้ยไม่อยากตื่น ตื่นขึ้นมา.. โอ้ เป็นภาระ ใช่มั้ย บางทีก็ต้องเก็บที่นอน บางคนก็ใช้คนอื่น บางคนก็ทำเอง บางคนไม่ทำเลย ไม่ใช่ใครหรอก กองไว้ตรงนั้นแหละ เดี๋ยวกลางคืนมานอนต่อ หมามันยังทำได้เลย ทำไมเราจะทำไม่ได้ ใช่มั้ย

ภาระเยอะแยะเลยนะ จะเข้าห้องน้ำ เป็นภาระมั้ย พวกเราเข้าห้องน้ำ ขับถ่าย วันละกี่ครั้ง ใคร ๑ ครั้ง ถ่ายหนักๆน่ะนะ ใครวันละครั้ง.. ใครวันละ ๒ ครั้ง.. ใครมากกว่า ๒ ครั้ง.. มีปกติก็มีนะ อย่างนี้ ครั้งหนึ่งใช้เวลาเท่าไหร่ โอ้.. เอาสิเนาะ บางคนใช้เวลาเป็นชั่วโมงเลยนะ ก็นั่งละเลียดอยู่นั่นน่ะ คล้ายๆกินอาหารแล้วละเลียดไปเรื่อย นี่ขับถ่ายก็ละเลียดไปเรื่อยนะ ไม่ยอมออกเสียที เนี่ยเป็นภาระนะ

ใครเคยอาบน้ำ ฟอกสบู่ แล้วต้องล้างสบู่ออกอะไรอย่างนี้เป็นภาระบ้าง รู้สึกมั้ย มันน่าจะมีสบู่แบบที่ทาแล้วไม่ต้องล้าง ใช่มั้ย เนี่ยภาระทั้งนั้นเลยนะ

แต่งตัวแต่งหน้า ภาระมั้ย หวีผม ภาระมั้ย มีภาระตั้งแต่ไหน ตั้งแต่ต้องไปหาหวีมา ก็ไปหาหวีมาใช้นะ ทำผม โอ้.. น่าสงสาร ใช้เวลาเยอะมาก นี่สบ๊าย..สบาย.. อยากสบายก็ลองเอาอย่างดูนะ แล้วจะรู้ว่าสบายจริงๆเลย มีผมเนี่ยเป็นภาระเยอะ สกปรกมั้ย เหม็นนะ เหม็นมากเลย ที่เขาบอกว่าผมคุณสวยผมคุณสลวย ถ้าใครเขาชมนะ พวกเราลองอย่าไปสระผมสักอาทิตย์หนึ่ง แล้วเชิญมาดม..

ภาระตั้งแต่หัวถึงเท้าเลย เล็บเท้าต้องยุ่งกับมันมั้ย หรือตั้งแต่ปลายผมถึงเล็บเท้าเลยนะ ภาระทั้งนั้นเลยนะ เนี่ยเฝ้ารู้สึกอยู่ในกาย จะเห็นเลย ไม่เห็นดีตรงไหนเลย มีแต่ภาระ นี่แหละนะ การปฏิบัติล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907A
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๑๓ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รูปบางอย่างเกิดจากจิตสั่ง รูปบางอย่างไม่ได้เกิดจากจิตสั่ง

mp3 for download : รูปบางอย่างเกิดจากจิตสั่ง รูปบางอย่างไม่ได้เกิดจากจิตสั่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากวัดพระธาตุโกฏิแก้ว
เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ มโน มยา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนนี้พวกเรานั่งอยู่ รู้สึกมั้ย กำลังนั่งอยู่ รู้สึกมั้ย ยากมั้ย รู้สึกเห็นร่างกายนั่ง ไม่ยาก แต่ชอบลืม ใช่มั้ย ชอบไม่รู้สึก ชอบไปคิดเรื่องอื่น ร่างกายนั่งอยู่ ไม่รู้สึก ร่างกายพยักหน้า รู้สึกมั้ย ถ้ารู้สึกจะเห็นเลย ไอ้นี่ไม่ใช่เราแล้ว เป็นอะไรตัวหนึ่ง กระดุ๊กกระดิ๊กๆไป ตามที่จิตสั่ง บางทีก็สั่งได้ บางทีก็สั่งไม่ได้นะ

รูปบางอย่างเกิดจากจิตสั่ง เรียกว่า จิตตชรูป ยกตัวอย่างรูปเคลื่อนไหว จิตเป็นคนสั่ง รูปบางอย่างเคลื่อนไหว แต่จิตไม่ได้สั่ง ยกตัวอย่างเช่นเวลาชักกระแด็กๆนะ จิตไม่ได้สั่งให้ชักเลยนะ มันชักของมันเอง

รูปเกิดได้หลายอย่าง เกิดจากกรรมก็ได้ เกิดจากสิ่งแวดล้อมก็ได้ เกิดจากอาหารก็ได้ เกิดจากจิตก็ได้

หายใจออกหายใจเข้า รู้สึกมั้ย รู้สึกไปอย่างสบายๆนะ ไม่ใช่รู้สึกแบบแปลกพิศดาร รู้สึกแบบเคร่งเครียด ไร้สาระ รู้สึกสบายๆ เกาแล้วรู้สึกมั้ย เกา เกายุกยิกๆ ผู้หญิงสาวๆสวยๆแต่งตัวดีๆนะ บางทีแคะขี้ฟันเฉยเลย นั่งฟังเทศน์ก็แคะไปเรื่อย ไม่รู้หรอก ร่างกายเคลื่อนไหวก็ไม่รู้สึก เคยเห็นคนโทรศัพท์มั้ย เดินโทรฯไป ทำท่าทางแปลกๆไปด้วย เคยเห็นมั้ย ทำท่าแปลกๆ มีร่างกายแต่เขาไม่รู้สึก

พวกเราคอยรู้สึก มีร่างกายแล้วก็คอยรู้สึกไป ร่างกายนั่งอยู่-รู้สึก ร่างกายหยุดนิ่ง-รู้สึก ร่างกายเคลื่อนไหว-รู้สึก ร่างกายหายใจออก-รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า-รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน-รู้สึก รู้สึกสบายๆ แค่รู้สึก รู้สึกไปเรื่อยๆนะ ใจเราเป็นคนดูสบายๆ มันก็จะเริ่มเห็น ร่างกายไม่ใช่ตัวเราหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907A
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๐ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เริ่มหัดภาวนา อย่าไปยุ่งหรือดัดแปลงสัญญาขันธ์

mp3 for download : เริ่มหัดภาวนา อย่าไปยุ่งหรือดัดแปลงสัญญาขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่เป็นการหัดแยกขันธ์นะ แยกขันธ์ออกเป็นส่วนๆ รูปขันธ์ก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง สังขารขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง วิญญาณขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง ทำไมหลวงพ่อไม่พูดถึงสัญญาขันธ์ สัญญาอย่าเพิ่งไปยุ่ง สัญญาของเราตอนนี้เป็นสัญญาวิปลาส พวกเราตอนนี้ สัญญาเพี้ยนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปยุ่งกับมัน ตอนนี้

สัญญาเพี้ยนอย่างไร มันเห็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง ยกตัวอย่างนะจิตใจของเราเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไปเห็นว่าในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง คนนี้กับตอนเด็กๆก็คนเดิม คนนี้ในวันนี้กับคนนี้ในวันพรุ่งนี้ก็ยังเป็นคนเดิม เราไปเห็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นของทนอยู่ไม่ได้ว่าทนอยู่ได้ เห็นของบังคับไม่ได้ว่าบังคับได้ รู้สึกมั้ยว่าร่างกายมันเป็นของเรา เราสั่งได้ รู้สึกอย่างนี้ สั่งได้ไม่ตลอดหรอก

เพราะฉะนั้นสัญญาของเรายังเพี้ยนอยู่ ตอนนี้ปล่อยไปก่อน พามันดูในของจริง ในรูป ในเวทนา ในสังขาร ในจิต พามันดูของจริงตัวนี้ให้มากนะ ต่อไปพอจิตมันฉลาดขึ้นมาสัญญามันก็ถูก สัญญาตอนนี้วิปลาส ต่อไปไม่วิปลาส มันยอมรับความจริงว่า เออ.. ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เนี่ยหายวิปลาสแล้ว ขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์ นี่หายวิปลาสแล้ว ขันธ์ทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา หายวิปลาสแล้ว เพราะฉะนั้นสัญญาแขวนมันเอาไว้ก่อน

บางคนไปใจร้อนนะ พยายามไปดัดแปลงสัญญา เคยมีนะ คนหนึ่ง เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ เห็นสีเหลืองเรียกสีแดง สุดท้ายสติแตกเลย ไม่รู้จักสมมุติบัญญัติของโลกนะ ใช้ไม่ได้นะอย่างนั้นเพี้ยน อย่าไปทำอย่างนั้น

เราดูลงไปในสติปัฏฐานใช่มั้ย ท่านสอนเรื่องกาย เรื่องเวทนา เรื่องจิต เรื่องธรรม แต่ในธรรม (หมายถึง ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – ผู้ถอด) จึงค่อยมีตัวสัญญาอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นตอนนี้เว้นไว้ก่อน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

mp3 for download : รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ส่วนไม่ยากอะไร เฝ้ารู้ความปรุงไป ดูไป ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็มีแต่รูปกับนาม ให้หาอารมณ์อันใดอันหนึ่งนะ ที่เหมาะกับเรา จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมก็ได้ อะไรก็ได้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต

เรารู้กาย ยกตัวอย่างเช่นเรารู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแบบเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต ไม่ได้ไปเพ่งห้ามจิตเคลื่อนไปจากลมหายใจ ไม่ใช่ อันนั้นไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก รู้ลมหายใจพอเป็นเครื่องอยู่ของจิต รู้ไปเพื่อจะแผดเผากิเลส เรียกว่า อาตาปี ไม่ใช่รู้ไปเพื่อหาความสุขความสบาย รู้ไปเพื่อจะสู้กับกิเลส มีสัมปชัญญะ รู้ว่าเรารู้ลมหายใจนี้เพื่ออะไร มีสติ ไม่หลงลืมลมหายใจนี้

ถ้ารู้ไปเรื่อย.. ก็จะถอดถอนความยินดียินร้ายในโลกออก เรียกว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสะ ถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก ไม่ยึด

เพราะฉะนั้นเรารู้กายรู้ใจไปนะ รู้แบบเป็นเครื่องอยู่ ไม่ได้อยู่แบบเป็นคุกขังจิต ไม่ได้ห้ามจิตเคลื่อนไปจากร่างกาย ห้ามจิตเคลื่อนไปจากเวทนา ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งให้ว่าง ไม่ใช่ รู้เพียงแต่สักว่าอาศัยรู้เท่านั้นเอง เพื่อที่จะได้เห็นว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คำสอนของหลวงปู่มั่นที่บอกแก่หลวงปู่สุวัจน์

mp3 for download : คำสอนของหลวงปู่มั่นที่บอกแก่หลวงปู่สุวัจน์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไปเจอหลวงปู่สุวัจน์ (พระโพธิธรรมาจารย์ หลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ) หลวงปู่สุวัจน์ก็เคยเล่าว่า หลวงปู่มั่นสอนท่าน ท่านเข้าไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ได้ดูกายก็ไม่ได้ ให้ทำความสงบไว้ ทำสมถะ ทำสมถะก็เพื่อให้มีแรง ดูกายเพื่อให้เห็นจิต ดูจิตเพื่อให้รู้แจ้ง ท่านสอนกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าตัดตรงเข้ามารู้ถึงจิตถึงใจได้ ไม่เสียเวลา

ถามว่าถ้ารู้จิตแล้วจะรู้กายมั้ย จะปล่อยวางกายได้มั้ย ได้แน่นอน เพราะว่าผู้ที่ไปยึดกายก็คือจิต ผู้ที่จะปล่อยวางกายก็คือจิต ทีนี้บางท่าน ท่านดูกายไป ท่านเห็นกายนี้เป็นของไม่ดี เป็นตัวทุกข์อะไรอย่างนี้นะ ก็ปล่อย

แต่ถ้าดูจิตนะ จะเห็นว่าถ้าจิตไปยึดกาย จิตจะทุกข์ อย่างนี้ก็ปล่อยเหมือนกัน ก็เลิกยึดเหมือนกัน มองมาจากคนละด้านนะ เพราะมันอิงอาศัยกัน ใครไปยึดกาย ก็จิตนั่นแหละ เป็นผู้ไปยึด ทำไมจิตไปยึดกาย เพราะจิตมันโง่ มันโง่ได้ ๒ ด้าน

ด้านหนึ่งมันโง่เพราะมันไม่รู้ว่ากายเป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้ามาดูกายจะเห็นแจ้งว่ากายเป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยกาย อีกด้านหนึ่ง มันโง่ มันไม่รู้ว่าถ้ามันไปยึดกายแล้วมันจะทุกข์ ถ้ามันไม่โง่ตรงนี้นะ มันยึดกายหรอก มันก็ปล่อยกาย

เห็นมั้ยมันเดินได้นะ ถ้าภาวนาเป็นแล้วจะรู้เลย การปฏิบัตินั้นทำอะไรก็ถูกน่ะ ถ้าภาวนาไม่เป็นนะ ทำอะไรก็ผิดหมดน่ะ มันผิดหลักผิดเกณฑ์ไปหมด เพราะฉะนั้นจริงๆไม่ใช่ของยากของลึกลับพิศดาร ต้องแนวนี้เท่านั้น ต้องแนวนี้เท่านั้น อย่างนั้นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของอาจารย์แต่ละท่านๆไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พิจารณากายเพื่อให้เข้าถึงจิต

mp3 for download : พิจารณากายเพื่อให้เข้าถึงจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ :ครูบาอาจารย์นะ สมัยท่านหนุ่มๆ ส่วนมากท่านสอนเรื่องกาย พอสุดท้ายปลายทางก็ลงมาที่จิตทั้งนั้นเลย แต่ละองค์ๆที่เคยเจอ

ยกตัวอย่างหลวงปู่เทสก์นะ หลวงปู่เทสก์ท่านอายุมาก หลวงพ่อเข้าไปหาท่าน ท่านสอนแต่เรื่องจิตนะ หลวงปู่ดูลย์สอนแต่เรื่องจิตแล้ว อาจารย์มหาบัว ตอนที่เข้าไปท่านก็ไม่ค่อยสอนแล้ว ไม่ค่อยสอน หลวงปู่เหรียญไปหาท่านทีแรก ท่านพูดแต่กาย พุทโธพิจารณากาย หลังๆไปหาท่าน ท่านพูดแต่เรื่องจิต

แต่ไหนแต่ไร ไปที่อื่นๆก็จะได้ยินครูบาอาจารย์พูดเรื่องกายเยอะ จนวันหนึ่งหลวงพ่อก็เข้าไปถามหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ครับผมควรจะกลับไปพิจารณากายมั้ย เพราะไปที่ไหนๆนะ มีแต่ได้ยินครูบาอาจารย์พูด พุทโธพิจารณากายอยู่ตลอด ส่วนมากก็สอนอย่างนี้

หลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่า ที่เขาพิจารณากายก็เพื่อให้เข้าถึงจิต วัตถุประสงค์ของการพิจารณากาย ก็เพื่อให้เข้าถึงจิต ถ้าเข้าถึงจิตแล้วจะไปยุ่งอะไรกับกาย กายเป็นของทิ้ง จิตมันทิ้งไปเอง มันเห็นเลย กายนี้เป็นทุกข์ล้วน มันทิ้งของมันเอง นี่คือคำตอบ ที่หลวงปู่ดูลย์ท่านบอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File 550106
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของวิปัสสนา

mp3 for download : เคล็ดลับของวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : เคล็ดลับของวิปัสสนานะ ถึงแม้ว่าคำสอนมีมากมายมหาศาล ย่อลงมาก็เหลือแต่ว่า มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง เท่านี้เอง แต่จะรู้ตามความเป็นจริงได้ ต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

เมื่อเรารู้หลักแล้วก็เอาไปขยันทำ ไม่รู้หลักก็ทำไม่ได้หรอก ล้มลุกคลุกคลานไปเรื่อย บางคนมั่ว ระหว่างสมถะกับวิปัสสนา แยกไม่ออก แยกไม่ออกแล้วก็ไปทำแล้วนึกว่าทำวิปัสสนาอยู่ เป็นสมถะ

ยกตัวอย่างบางท่านก็บอกว่า พุทโธแล้วไปพิจารณากาย แล้วก็บอกว่า พุทโธเป็นสมถะ คิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา จริงๆแล้วยังไม่เป็นหรอก คิดพิจารณากาย

การคิดเอา พิจารณาเอา มีวิตก-วิจารณ์ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน กายานุวิตกสติปัฏฐาน ไม่มีเลย มีแต่กายานุปัสสนา คำว่า “วิปัสสนา” คำว่า “อนุปัสสนา” ปัสสนะแปลว่าการเห็น ไม่ใช่วิตก ไม่ใช่การคิด (วิตกในภาษาบาลีแปลว่าคิด – ผู้ถอด) ไม่ใช่การพิจารณา วิจารณ์ (วิจารณ์ในภาษาบาลีแปลว่าการคลอเคลียอยู่ – ผู้ถอด) แต่ให้เห็นเอา เห็นตามความเป็นจริง คำว่า “วิ” แปลว่าแจ้ง เห็นแจ้ง เห็นจริง เห็นถูกต้อง เห็นไตรลักษณ์ ของกายของใจ ของรูปของนาม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File 550106
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๖ ถึงนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูกาย ดูว่าแปรปรวน จนเห็นว่ากายไม่ใช่เรา

mp3 for download : ดูกาย ดูว่าแปรปรวน จนเห็นว่ากายไม่ใช่เรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ทีนี้ถ้าเราค่อยๆดูไปนะ ตัวร่างกายเอง ธาตุก็แปรปรวน อิริยาบถก็แปรปรวน ดูธาตุดูยากที่สุด ก็ลดลงมาดูอิริยาบถ ดูการหายใจ ดูอะไรอย่างนี้ไป ก็เห็นเลยว่าร่างกายที่หายใจไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอนไม่ใช่ตัวเรา มีแต่ของเปลี่ยนแปลง นั่นแหละ เฝ้ารู้ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วันสุดท้ายแล้วของพวกเข้าคอร์ส รู้เรื่องบ้างมั้ย คนไหนติดสมาธินะ เราก็รู้ทันใจที่ติดสมาธิ ใจที่ติดสมาธินี้เป็นใจที่เราเข้าไปแทรกแซง เราเข้าไปควบคุม ยกตัวอย่างเรากลัวมันหลง เราพยายามไปเฝ้าเอาไว้ เรากลัวจะรู้ไม่ชัด เราก็ไปคอยจ้องคอยดูไม่ให้คลาดสายตา เราก็จะเกิดการเพ่งขึ้นมา บางคนก็มีทฤษฎีที่ผิดๆคิดว่าต้องเพ่งไว้ก่อน ถ้าไม่สงบแล้วเดินปัญญาไม่ได้

ที่คิดอย่างนั้น เพราะแยกไม่ออกว่าสมาธิมี ๒ ชนิด คือ สมาธิชนิดสงบกับสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่เราจะภาวนา เบื้องต้นน้อมใจให้ซึมให้นิ่งๆ แล้วคิดว่านี่คือความสงบเป็นสมาธิ จะได้เดินปัญญา สมาธิที่น้อมเข้าไปนิ่งไปซึมไปทื่ออยู่ ไม่ได้เอาไว้ใช้เดินปัญญาหรอก เอาไว้พักผ่อนเล่น สมาธิที่ใช้เดินปัญญานั้น จิตจะตั้งมั่น จิตจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ผู้ดู

สมัยก่อนหลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ ท่านชอบพูดคำว่า “จิตผู้รู้” หลังๆเราลืมคำว่า “จิตผู้รู้” ไป เรามีแต่จิตผู้เพ่ง ถ้าไม่เป็นจิตผู้เพ่งก็เป็นจิตผู้คิด จิตผู้เพ่งนั้นมันสุดโต่งไปข้างบังคับตนเอง จิตผู้คิดก็สุดโต่งไปข้างฟุ้งซ่าน หลงไปอยู่ในโลกของความคิด จิตผู้รู้นั้นไม่ใช่จิตผู้คิดไม่ใช่จิตผู้เพ่ง เป็นจิตที่หลุดไปในโลกของความคิด และก็เห็นปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

เราจะไม่เพ่งไปที่ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่จิตไปรู้เข้า แล้วเราก็ไม่เพ่งใส่ตัวผู้รู้ด้วย ถ้าเพ่งใส่ตัวผู้รู้ก็เป็นผู้เพ่งนะ ไปเพ่งใส่ปรากฏการณ์ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย รู้ลมหายใจก็ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ นี่ก็เป็นจิตผู้เพ่ง ไม่ใช่จิตผู้รู้

จิตผู้หลง จิตผู้หลงจิตผู้คิด มันถูกกิเลสยั่วก็เลยฟุ้งซ่านออกไป ไม่มีกระทั่งความสงบ ส่วนจิตผู้เพ่งมีความสงบนะแต่ไม่ตั้งมั่น เราจะต้องมาฝึกเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้รู้เนี่ยไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ มันทรงตัวสบายของมัน เป็นผู้รู้ผู้ดูสบายๆ

วิธีที่เราจะพัฒนาจิตผู้รู้ขึ้นมาก็คือหัดรู้ คอยรู้ทัน หาอารมณ์กรรมฐานขึ้นมาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็ได้ จะรู้ลมหายใจก็ได้ แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อจะน้อมจิตให้นิ่ง ไม่ใช่หายใจเพื่อน้อมจิตให้นิ่ง เราพุทโธเพื่อจะรู้ทันจิต เราหายใจเพื่อจะรู้ทันจิต คนไหนไม่ถนัดพุทโธไม่ถนัดรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบหรือทำกรรมฐานอะไรก็ได้ ไม่เลือกกรรมฐานหรอก

ไม่ว่าจะทำกรรมฐานอะไร จะดูท้องพองยุบหรือขยับมือทำจังหวะหรือพุทโธหรือลมหายใจหรือรู้อิริยาบถ ๔ รู้เวทนา บางคนก็เริ่มด้วยการรู้จิตไปเลย สำหรับบางคนดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ อะไรก็ได้นะ แต่ว่าไม่ว่าจะรู้อะไรก็รู้ทันจิต พุทโธแล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน พุทโธจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ทัน ฝึกอย่างนี้เรื่อย พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่งๆอยู่ก็รู้ทัน

ตรงที่พุทโธแล้วหนีไปคิดเนี่ย สุดโต่งไปข้างหลงข้างคิดข้างฟุ้งซ่าน พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่ง สุดโต่งไปข้างบังคับตนเองนะ เป็นความสุดโต่งสองฝั่ง ให้คอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันเราก็จะไม่สุดโต่งไปสองข้าง ก็จะเข้าทางสายกลาง หรือลมหายใจก็ได้ รู้ลมหายใจแล้วก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ หายใจแล้วจิตหนีไปคิดแล้วรู้ หรือหายใจไปแล้วจิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมไหลไปรวมอยู่ที่ลมหายใจไหลไปลงอยู่ที่ท้อง รู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไป ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้แล้วก็รู้ทันจิต บทเรียนอันนี้ชือว่า “จิตตสิกขา”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๔) เมื่อจิตตั้งมั่นถึงฐานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาได้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๔) เมื่อจิตตั้งมั่นถึงฐานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเราต้องมาฝึกนะ ให้จิตตั้งมั่นถึงฐานให้ได้ แล้วเราก็มาเจริญปัญญา มาทำวิปัสสนา

พอจิตตั้งมั่นแล้ว สติระลึกรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว มันจะเห็น ว่าร่างกายกับจิตเนี่ย เป็นคนละอันกัน เวลานี้คนที่ทำแบบนี้ได้ นับไม่ถ้วนแล้วนะ มีเยอะมากเลยนะ ที่ใจมันตั้งมั่นขึ้นมา มันเห็นร่างกาย ไม่ใช่ตัวเรา เป็นวัตถุธาตุที่เคลื่อนไหว

แต่มันยังเห็นได้เป็นขณะๆนะ บางทีก็เห็น บางทีก็ไปไหลไปรวมเป็นก้อนเดียวกัน ถ้าจิตกับกายไปรวมกัน จิตบวกกายจะได้อะไรรู้ไหม ได้กู จิตบวกกายจะกลายเป็นกู มันรวมกับขันธ์ มันรวมขึ้นเมื่อไหร่ มันจะเป็นตัวเราขึ้นมา ถ้าขันธ์มันแยกขึ้นมานะ ขันธ์ก็จะเป็นขันธ์เท่านั้นเอง กายก็ส่วนกาย แค่รูปธรรม เวทนา ความสุขทุกข์ กับกาย ก็คนละอันกัน เวทนากับจิต เวทนาคือความสุขความทุกข์ทั้งหลายเนี่ย กับกายก็เป็นคนละอัน กับจิตก็เป็นคนละอัน สัญญาคือความจำได้ ความหมายรู้ ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่จิตด้วย เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ความจำ ไม่ใช่จิตด้วย “สภาวะธรรมแต่ละอันๆจะกระจายตัวออกไปนะ ถ้าจิตเราตั้งมั่นจริงๆ”

บางคนซึ่งเคยเจริญสติเจริญปัญญา มาดีแล้วในชาติก่อนนะ ทันทีที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ย ขันธ์แตกตัวออกเลย จะเห็นว่ากายกับใจเป็นคนละอันเลย เห็นทันทีเลย แต่ถ้าบางคนถนัดดูจิต ก็จะเห็นว่า ความสุขความทุกข์กับจิต เป็นคนละอันกัน คนบางคนถนัดดูจิต เห็นว่ากุศลอกุศล เช่น ความโลภความโกรธความหลง กับจิต เป็นคนละอันกัน มันจะแยกกันนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๖) ทุกอย่างในกายในใจเกิดแล้วก็ดับ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๖) ทุกอย่างในกายในใจเกิดแล้วก็ดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะเป็นพระโสดาฯ หรือจะเป็นพระอรหันต์ มาจากจุดตั้งต้นอันเดียวกัน จุดตั้งต้นก็คือ เราต้องมาเรียนรู้ความจริง ของกายของใจตนเอง ถ้าไม่สามารถเรียนรู้ความจริง ของกายของใจได้ โสดาฯก็ไม่ได้ อย่าว่าแต่พระอรหันต์เลย

พระโสดาบันท่านเห็นแล้วว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงมาก็คือ รูปธรรมกับนามธรรมทั้งหลาย กายกับใจของเรานี้แหล่ะ เต็มไปด้วยของที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไปทั้งสิ้น เนี่ยท่านเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ใจยอมรับ ก็เห็นทั้งกายทั้งใจเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ร่ายกายหายใจเข้าก็ดับไป เกิดร่างกายหายใจออก ร่างกายหายใจออกเกิดแล้วดับ ไป กลายเป็นร่างกายหายใจเข้า ร่างกายยืนเกิดแล้วก็ดับ ร่างกายเดินเกิดแล้วก็ดับ ร่างกายนั่ง ร่างกายนอน เกิดแล้วดับ ดูความจริงเรื่อยๆไป

ในใจก็ดูง่าย ไม่มีอะไรหรอก พอตาเรามองเห็นรูป ใจเราก็เปลี่ยน เห็นรูปที่พอใจ ใจก็มีความสุขขึ้นมา ให้รู้ทัน ว่าใจมีความสุข เห็นรูปที่ไม่พอใจ ใจมีความทุกข์ขึ้นมา รู้ทัน ว่าใจมีความทุกข์ ได้ยินเสียงที่พอใจ ใจมีความสุข รู้ว่าใจมีความสุข ไม่ใช่รู้ว่าเสียงอะไรนะ เสียงนกเสียงคน เสียงบ่นเสียงด่า เสียงชม ไม่จำเป็นต้องรู้ตรงนั้นหรอก ให้คอยรู้ที่ใจของเราอันเดียวนี่แหล่ะ ตามองเห็น ก็รู้ทันที่ใจ ตามองเห็น ใจก็เปลี่ยน หูได้ยินเสียง ใจก็เปลี่ยน ให้รู้ความเปลี่ยนแปลงที่ใจ ใจนี้เดี๋ยวก็สุข ใจนี้เดี๋ยวก็ทุกข์ ใจนี้เดี๋ยวก็ดี ใจนี้เดี๋ยวก็ร้าย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว ร้ายก็ชั่วคราว ดูซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ดูกันเป็นแรมเดือนแรมปีเลยล่ะ กว่าใจจะยอมรับความจริง ว่าทุกอย่างมันชั่วคราว เราดูจนใจยอมรับนะ ไม่ใช่เราแกล้งยอมรับเอาเอง (แกล้ง)ยอมรับเอาเอง ฆ่ากิเลสไม่ตาย ถ้าจิตเห็นความจริง จิตยอมรับความจริง ถึงจะฆ่ากิเลสตาย

เรื่องมันง่ายๆแค่นี้แหล่ะ แต่ว่าทำไมคนทั่วไป ไม่สามารถที่จะดูกายดูใจ ตามความเป็นจริงได้ มันแปลกไหม ร่างกายของเรามีมาแต่เกิดใช่ไหม ทำไมเราไม่เคยดูความจริงของกาย จิตใจของเราก็มีมาตั้งแต่เกิด ทำไมเราไม่เคยดูความจริงของจิตใจ ไม่เฉพาะเรานะ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษเราก็ไม่ได้ดู หมูหมากาไก่อะไรก็ไม่ได้ดู หาคนที่จะมาดูความจริงของกาย หาคนที่จะมาดูความจริงของใจได้เนี่ย หายากที่สุดเลย งั้นพระอริยฯเลยขาดแคลน ทั้งๆที่ไม่ได้ยากเลยนะ ที่จะพัฒนาจิตใจ ให้บรรลุอริยธรรมเนี่ย ไม่ได้ยากเลย แค่เราเห็นความจริง แค่จิตยอมรับความจริงนะ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับไป ทุกอย่างในกาย เกิดแล้วดับ ทุกอย่างในใจ เกิดแล้วดับ แค่นี้เอง ทำไมทำไม่ได้ ที่ทำไม่ได้ ก็เพราะว่า เราลืมกายลืมใจของเราทั้งวัน เราไปหลงโลกภายนอกนะ เรามัวแต่สนใจสิ่งภายนอก เราไม่ย้อนมาที่ตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฎฐานคืออะไร

mp 3 (for download) : สติปัฎฐานคืออะไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
ขอขอบคุณ ภาพจากงาน “ธรรมะกลางเมือง”

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราที่บอกว่าเป็นชาวพุทธๆ เราเคยได้ยินคำว่าสติปัฏฐานบ้างมั้ย ใครเคยรู้จักสติปัฏฐานยก(มือ)ซิ มีมั้ย มีคนบางส่วนไม่รู้จักนะ น่าเสียดายมากเลย

    สติปัฏฐานเนี่ยเป็นการที่เรามีสติ เรียนรู้ความจริงของกายของใจนั่นแหล่ะ สติปัฏฐานมี ๔ อย่าง

  • กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีสติเรียนรู้ความจริงของร่างกาย ของกาย
  • เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน มาเรียนรู้ความจริงของเวทนา คือความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ทางกาย ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆ ทางใจ
  • จิตตานุปัสสนา มาเรียนรู้ความจริงของจิต ที่เป็นกุศลและอกุศล อย่างจิตโลภจิตโกรธจิตหลง จิตดีจิตร้ายอะไรพวกนี้ มาเรียนรู้ความจริงเหล่านี้
  • ธัมมานุปัสสนาเนี่ย เป็นการเรียนรู้ความจริง ของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย ว่ามันมาได้ยังไง ทำไงมันไม่มาหรือทำไงมันจะมา อย่างนิวรณ์ทั้งหลายเนี่ย ทำไงมันจะไม่มา กิเลสทั้งหลายทำยังไงจะไม่มา กุศลอย่างโพชฌงค์ ๗ ทำยังไงจะเกิด อริยสัจทำยังไงจะรู้แจ้ง เป็นเรื่องของการเรียนรู้รูปธรรมนามธรรมทั้งหมดเลย เรียนรู้กายเรียนรู้ใจทั้งหมดในสติปัฏฐาน ๔ เนี่ย

การที่เราจะมาเรียนรู้สติปัฏฐาน ๔ นะ เราก็ต้องคอยรู้สึกตัวไว้ก่อน สติปัฏฐานเป็นเรื่องการเรียนรู้ความจริงของกาย เรียนรู้ความจริงของจิตใจ ถ้าเราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่ได้เรียนรู้ความจริงของกายของใจ

เพราะนั้นก่อนที่เราจะมาเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ ต้องรู้สึกตัวให้เป็น ต้องให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวซะก่อน ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวเรียกว่าขาดสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่นไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เมื่อ วันพุธที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

CD: แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
File: 551128
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๑๒) ดูกายดูลงปัจจุบันขณะ ดูจิตดูลงปัจจุบันสันตติ

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค (๑๒) ดูกายดูลงปัจจุบันขณะ ดูจิตดูลงปัจจุบันสันตติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี
เอื้อเฟื้อภาพโดย บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๗ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ชีวิตอย่าปล่อยให้ล่วงเปล่าๆ ต้องปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ ปฎิบัติอะไร ก่อนจะลงมือปฏิบัติ ฝึกสติเสียก่อน ถ้ามีสติก็จะมีศีล มีสติก็จะมีสมาธิ มีสติก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญญา มีสติ ต้องฝึกสติ ถ้าขาดสติซะตัวเดียวเนี่ย ศีลสมาธิปัญญาหายหมดเลย งั้นต้องมาให้มีสติ

นี้ท่านสอนมาเป็นลำดับเลยนะ ที่จะไม่เนิ่นช้า มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เจริญสติ วิธีเจริญสติ สติเป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกาย เป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ สติเกิดจากถิรสัญญา “ถิร” คนไทยใช้คำว่า เสถียร คือมันมั่นคง มันหนักแน่น แน่วแน่นะ คือรู้อย่างถิรสัญญาหมายถึงว่า มันรู้อยู่ถี่ๆ รู้อยู่บ่อยๆนะ รู้จนรู้อัตโนมัติ รู้จนจิตจำสภาวะได้แม่น เรียกว่ามีถิรสัญญา

สัญญาเป็นตัวความจำ ถิรสัญญาคือจำได้แม่นยำ จำได้แม่นยำในสภาวะของกาย จำได้แม่นยำในสภาวะของใจ พอสภาวะทางกายเกิดขึ้น สติจะเกิดขึ้น พอจำสภาวะทางจิตได้แม่น เช่นจำได้ว่าโลภเป็นยังไง โกรธเป็นไง หลงเป็นไง พอความโลภเกิดขึ้น สติจะเกิดเอง จะระลึกขึ้นได้แล้วว่า ความโลภเกิดแล้ว ถ้าจิตจำความโกรธได้แม่น พอความโกรธเกิด สติก็จะเกิดเอง อ้อ ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว

พวกเราหัดรู้สภาวะให้มาก ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้สึกไป ร่างกายหายใจออก รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า รู้สึก ร่างกายคู้ ร่างกายเหยียด รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก ความสุขความทุกข์ในกายหายไป ก็คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์ความเฉยๆเกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก ความสุขความทุกข์ความเฉยๆดับไปจากจิตใจของเรา ก็รู้สึก มีกุศลเกิดในใจ ก็คอยรู้สึกนะ มีอกุศลเกิด โลภโกรธหลงเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ก็คอยรู้สึก แล้วจิตวิ่งไปที่ตา คอยรู้สึก จิตวิ่งไปที่หู คอยรู้สึก จิตวิ่งไปคิด คอยรู้สึก จิตวิ่งไปเพ่ง คอยรู้สึก

เนี่ยเราคอยรู้สึกอยู่ในกาย คอยรู้สึกอยู่ในใจอย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอร่างกายขยับ อย่างเรากำลังเผลออยู่ ขยับตัวปั๊บ ไม่ได้เจตนาขยับ เพราะร่างกายเราขยับอยู่ทั้งวันอยู่แล้ว กำลังเผลอๆอยู่ เกิดขยับตัวกริ๊กเดียวเท่านั้นเอง สติมาแล้ว รู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว รู้เลยเห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวอยู่ จิตมันเป็นคนดูขึ้นมา ตรงที่เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู ได้สมาธิมาแล้ว การมีสติฝึกให้มาก จำสภาวะให้แม่น แล้วสติจะเกิดเอง สตินั้นเป็นอนัตตา เช่นเดียวกับสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง จิตก็เป็นอนัตตา สั่งให้มีสติไม่ได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด สติไม่มีเหตุ สติไม่เกิด

เพราะงั้นเราต้องทำเหตุของสติ คือการหัดรู้สภาวะเนืองๆ จะจำสภาวะได้แม่น เช่นความสุขเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความทุกข์เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความโลภความโกรธความหลง เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย คอยรู้ ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหายใจ คอยรู้ คอยรู้สึกอยู่เรื่อยๆ แล้วสติจะเกิดเอง

ทันทีที่สติเกิดจิตจะเป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศล อย่างเรารู้ว่าความโกรธมา พอสติระลึกได้ปุ๊บนะ ความโกรธจะดับทันทีเลย ความโกรธหรือกิเลสทั้งหลายเนี่ย จะเกิดร่วมกับสติไม่ได้ กุศลกับอกุศลไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เหมือนแสงสว่างกับความมืดนั้น ไม่เกิดด้วยกัน แสงสว่างดับไป ความมืดก็ปรากฎขึ้น แสงสว่างปรากฎขึ้น ความมืดก็ดับไป อันนี้ก็เหมือนกุศลอกุศลทั้งหลาย กิเลสเหมือนความมืดนะ สติเหมือนแสงสว่าง ทันทีที่แสงสว่างเกิด ความมืดก็ดับไป มันจะไม่เกิดร่วมกัน

งั้นพอเราฝึกสติบ่อยๆเนี่ย กิเลสเกิดอะไรขึ้นที่จิต สติจะรู้ทันอัตโนมัติเลย โกรธแล้วนะ รู้ทันเลย โกรธ ความโกรธจะดับ เมื่อความโกรธดับ ศีลจะเกิดขึ้น เราจะไม่ทำผิดศีลเพราะความโกรธ ผิดศีลเพราะความโกรธทำอะไรได้บ้าง ไปฆ่าเค้าไปตีเค้าใช่มั้ย ไปทำลายทรัพย์สินเค้า ไปแกล้งขโมยของเค้า ไปลักขโมยเค้าเนี่ยไม่ใช่เกิดจากโลภอย่างเดียวนะ เกิดจากโกรธก็ได้ ทำลายทรัพย์สินเค้า ขโมยเค้า ไปเป็นชู้กับเค้าเพราะความโกรธก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพราะราคะ เกลียดไอ้คนนี้มาก ไปหลอกจีบลูกสาวมันจีบเมียมันอะไรงี้ เนี่ยทำผิดศีลได้ โกรธขึ้นมาก็ไปด่าเค้า หรืิอไม่ก็ไปพูดเพราะๆ หลอกให้เค้าเหลิง เสียผู้เสียคนไปเลยอย่างนั้นก็ได้ พูจเท็จด้วยความโกรธก็ได้ โกรธขึ้นมาไปกินเหล้าได้มั้ย กินเหล้าเนี่ยเป็นตัวรองแล้วนะ ตัวนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ขาดสติมากขึ้น

เพราะงั้นถ้าโกรธจริงๆ มันจะไปผิดศีล ๔ ข้อแรกนะ โลภขึ้นมาก็ผิดศีล ๔ ข้อได้ หรือโลภขึ้นมาไปกินเหล้าได้ ก็ผิดศีล ๕ ได้ หลงขึ้นมาก็ผิดศีลได้ทุกข้ออีกแหล่ะ เพราะงั้นถ้าเมื่อไหร่ กิเลสเกิดที่จิต เรารู้ไม่ทัน กิเลสครอบงำจิตได้ โอกาสทำผิดศีลเนี่ยจะมี ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทัน กิเลสดับไป โอกาสทำผิดศีลนั้นไม่มี เพราะงั้นถ้ามีสติ จะมีศีล


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฏิบัติลำบากหรือปฏิบัติสบาย

mp 3 (for download) : ปฏิบัติลำบากหรือปฏิบัติสบาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ปฏิบัติลำบากหรือปฏิบัติสบาย

ปฏิบัติลำบากหรือปฏิบัติสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนน่ะปฏิบัติยากต้องใช้วิธีที่โหดๆ บางคนใช้วิธีที่สบายๆได้ ทุกขาปฏิปทา พวกรู้กายก็มีทั้งทุกขาปฏิปทา-สุขาปฏิปทานะ พวกดูจิตก็มีทั้งทุกขาปฏิปทา=สุขาปฏิปทา

คือคนไหนเนี่ยกิเลสหนาราคะโทสะโมหะรุนแรงนะ ก็ต้องปฏิบัติขัดกันแรงๆ คนไหนอัธยาศัยกิเลสเบาบางแล้วก็ทำด้วยวิธีที่ง่ายๆ งั้นเราก็ไม่ได้เลือกอีกนะ อย่างบางคนเนี่ยเป็นคนที่ปราณีตกิเลสบางแล้วไปใช้วิธีโหดๆเข้า จิตก็ฟุ้งซ่านขึ้นมาอีก นี้บางคนกิเลสเยอะไปใช้วิธีปราณีตนะ กิเลสยิ่งเยอะใหญ่เลย งั้นบางคนต้องอดข้าว บางคนอดนอน บางคนเดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ บางคนนั่งๆนอนๆ มีนะนั่งๆเล่นๆอะไรงี้บรรลุก็มีเหมือนกันแต่ว่าท่านนั่งเจริญสติของท่าน ท่านบอกเห็นอัตตาตัวตนกระโดดหนีลงจากกุฏิไปเฉยๆ บางองค์ก็ทำลำบาก อยู่ตามถ้ำตามเขาอดข้าวอดนอนอะไรงี้ เดินหามรุ่งหามค่ำหรือนั่งทั้งวันทั้งคืน คือแค่ไหนถึงจะพอเหมาะพอดีกับตัวเรา คอยสังเกตเอา

อย่างช่วงไหนกิเลสรุนแรงมากนี้ อย่างหนุ่มๆ(เอ่ยชื่อโยม)ราคะแรงๆ ช่วงนี้ไปนั่งดูง่ายๆชักไม่ไหว อาจจะต้องเดินต้องอะไรที่หนักขึ้น ไปดูจังหวะของเราเอง เพราะงั้นถ้ากิเลสรุนแรงนะเราก็ต้องใช้วิธีที่รุนแรงหน่อย กิเลสเบาบางลงกิเลสนุ่มๆก็ใช้วิธีนุ่มๆ เพราะงั้นการปฏิบัติก็ไม่ใช่หักโหมตลอดเวลา รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาเอา เนอะ(เอ่ยชื่อโยม) ผ่อนแบบไหนเยอะ ผ่อนหนักหรือผ่อนเบาเยอะ ผ่อนเบาเยอะนะ

คือมันต้องมีจังหวะเหมือนกัน นี้บางคนทำลำบากก็รู้เร็วก็ได้นะ บางคนลำบากก็รู้ช้า บางคนสบายรู้เร็วก็มี บางคนสบายรู้ช้าก็มี ไม่ใช่ว่าลำบากแล้วต้องรู้เร็วนะ ลำบากหรือไม่ลำบากอยู่ที่ว่า ราคะโทสะโมหะมีกำลังกล้ามั้ย ถ้ากิเลสมีกำลังกล้าก็ต้องปฏิบัติด้วยวิธีโหดๆหน่อย

อย่างกายานุปัสสนาเนี่ยถ้ากิเลสอ่อนๆไม่รุนแรงนะก็รู้อิริยาบถ ๔ เคลื่อนไหวยืนเดินนั่งนอนคู้เหยียดอะไรนี้ สัมปชัญญะรู้ไปเรื่อยๆ ถ้ากิเลสแรงกล้าก็ต้องใช้กายที่รุนแรงหน่อย อย่างดูปฏิกูลอสุภะ ดูกายเป็นอสุภะดูอะไรพวกนี้ ปฏิกูลสัญญาดูเป็นซากศพนานาชนิด ไปพิจารณาศพไปนั่งดูศพ เดี๋ยวนี้หาดูไม่ได้น้อ(เอ่ยชื่อโยม)

หรือบางคนกิเลสรุนแรงดูเวทนา เวทนาก็มีทั้งแบบอ่อนแบบเบาแบบหนัก ดูเวทนาเบาๆก็ดูเวทนาทางใจ กิเลสมันรุนแรงก็ดูเวทนาทางกายมันของหนักๆด้วยกัน

ดูจิตก็เหมือนกัน ถ้ากิเลสเราเยอะเราก็ดูจิตมีราคะโทสะโมหะฟุ้งซ่านหดหู่  ถ้าจิตเรากิเลสน้อยเราก็ดูจิตที่สงบจิตที่ไม่สงบ

งั้นกรรมฐานก็เลยมีหลายแบบ ทั้งแบบปฏิบัติลำบากกับแบบปฏิบัติสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๗
Track: ๑
File: 471121A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒๖) ดูจิตไม่ได้ ให้ดูกาย ดูกายไม่ได้ ให้ทำความสงบ

ทางวิปัสสนา (๒๖) ดูจิตไม่ได้ ให้ดูกาย ดูกายไม่ได้ ให้ทำความสงบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

โยม : นมัสการค่ะหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : กลัวมั้ย

โยม : มากเลยค่ะหลวงพ่อ ก็หลวงพ่อเคยให้ไปดูตัวกุกกุจจะน่ะค่ะหลวงพ่อ แล้วสักช่วงประมาณต้นปีน่ะค่ะ หนูมีความรู้สึกว่า เหมือนกับหนูไม่คาดหวัง มันก็ดีขึ้นค่ะ (หลวงพ่อ : ใช่) ปฏิบัติแล้วหนูก็รู้สึก “ดีเนอะ” แต่พักนี้มันกลับมาอีกแล้วค่ะ

หลวงพ่อ :
กลับมาก็รู้ทันมันอีก ห้ามมันไม่ได้ (โยม : ค่ะ) ล้วนแต่ของห้ามไม่ได้

โยม : หนูอยากถามเรื่องรูปแบบน่ะค่ะ (หลวงพ่อ : อือ..) คือ ตอนส่งการบ้านครั้งแรกหลวงพ่อบอกว่า หนูหลงไปนาน แล้วหนูก็พอมาปรับ มันก็เพ่ง ทีนี้สักช่วงประมาณปลายปีต้นปีค่ะ หนูก็ทำในรูปแบบแล้วมัน คือมันเหมือนหลงไปในสมาธิ มันเป็นมิจฉาสมาธิใช่มั้ยคะ (หลวงพ่อ อือ..ใช่) หนูก็เลยไม่รู้ว่า..

หลวงพ่อ : พยายามรู้สึกตัวบ่อยๆนะ พยายามรู้สึกร่างกายไว้ให้มาก ร่างกายขยับเขยื้อน ร่างกายยิ้ม ร่างกายทำอะไรให้รู้สึกบ่อยๆ จิตจะมีพลังขึ้นมา

โยม : เพราะฉะนั้นหมายความว่า ช่วงเวลาช่วงนี้ หนูเหมาะจะดูกายมากกว่าดูจิต

หลวงพ่อ : ใช่ หนูคอยรู้สึกร่างกายที่กระดุกกระดิกไว้ เพราะจิตของหนูกำลังฟุ้งซ่าน มันสับสนนะ พอมันฟุ้งซ่านอยู่อย่างนี้ เราดูจิตดูใจ ดูไม่ออกแล้ว เมื่อดูจิตไม่ออกให้ดูกายไว้ก่อน

โยม : แล้วเวลาอย่างไหนที่เหมาะจะดูจิตคะ เพราะหนูก็สังเกตเหมือนกับที่หลวงพ่อเคยบอก คือบางเวลาเรารู้สึกกายดีกว่า บางเวลาเรารู้สึกกับจิตดีกว่า

หลวงพ่อ : ใช่ คือช่วงไหนดูจิตได้ให้ดูจิต (โยม : ค่ะ) ช่วงไหนดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ช่วงไหนดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้ ให้ทำสมถะ มันมีแนวรุกแนวรับของมันนะ

โยม : เพราะฉะนั้นหนูทำแบบเดิมที่หลวงพ่อเคยสอนได้ใช่มั้ยคะ อีกสองเรื่องนะคะ คือหนูป่วยบ่อยน่ะค่ะ พักนี้หนูปวดหัวมาก แล้วเวลาหนูปวดหัวปุ๊บ มันดูไม่ออกน่ะค่ะ

หลวงพ่อ : หนูคอยหัดแยก แยกตั้งแต่ยัปวดน้อยๆน่ะนะ เช่น กำลังปวดนิดหน่อย อะไรอย่างนี้ ให้ดูไป ร่างกายก็เป็นอันหนึ่ง ความปวดเป็นอันหนึ่ง จิตเป็นอันหนึ่ง หัดแยก ตัวนี้ทุกคนควรทำนะ เพราะวันหนึ่ง เวลาจะตายเนี่ย ไม่แน่นี่ว่าอาจจะเจ็บมาก ถ้าเจ็บมากแล้วภาวนาไม่ไหวนะ สติแตกเนี่ย แย่เลย

โยม : ใช่ค่ะ หนูก็กลัว บางทีปวดมากๆ หนูก็กลัวไปเลย

หลวงพ่อ : เพราะฉะนั้นต้องซ้อม ต้องซ้อม

โยม : แล้วจะซ้อมได้ยังไงคะ คือ หนูปวดหัวแล้วไปบังคับไม่ได้ว่า ให้แก้ปวดหัวตอนนี้หน่อยสิ

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ๆ ไม่ได้ฝึกให้หายปวดหัว เราปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาชนะขันธ์นะ ร่างกายก็ส่วนร่างกาย ความปวดก็ส่วนความปวด จิตที่เป็นคนดู อะไรอย่างนี้ สังเกตอย่างนี้ เวลาปวดหัวขึ้นมาเนี่ย จิตไม่พอใจ รู้ ว่าจิตไม่พอใจ แค่นี้ก็หัดแยกแล้ว (โยม : แค่นี้ก็พอเลย) ให้หัดอย่างนี้ก็ได้ จิตจะสงบ พอรู้ว่าจิตไม่พอใจนะ ความไม่พอใจะดับ จิตจะสงบ พอจิตสงบแล้วจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ความปวดหัวอยู่อีกส่วนหนึ่ง

โยม : ก็อีกเรื่อง เรื่องสุดท้ายค่ะ คือ หนูก็ฝึกกับหลวงพ่อมาพักหนึ่งแล้วล่ะค่ะ พักนี้มันรักตัวเองมากค่ะ (หลวงพ่อ : อือ) หนูกลัวแก่ค่ะ แบบครีมมีกี่ตัวในตู้เย็น หนูก็เอามาโปะบนหน้าตลอดเลยค่ะ แล้วแบบ พอโปะเสร็จหนูก็จะรู้สึกผิดกับตัวเอง เหมือนมันเผลอไปน่ะค่ะ รู้สึก…

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อถึงบอกว่า ให้หนูดูกายให้เยอะ (โยม : ค่ะ) เพราะช่วงนี้หนูรักกาย ถ้าหนูดูกายมากๆนะ หนูจะเห็นว่าร่างกายนี้ ไม่สุข ไม่สบาย ไม่สวย ไม่งาม นะ แล้วจิตจะค่อยคลายตัวที่ติดอยู่นั้นแหละ นี่แหละที่ทำให้หลวงพ่อบอกว่า ต้องดูกายนะ ช่วงนี้

โยม : เพราะฉะนั้นช่วงนี้ดูกาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูกายเยอะๆ แล้วต่อไปจะเห็นจิตชัด

โยม :
ขอบคุณมากค่ะ

550409.53m11-56m56

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๕๒ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๕๖ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๑) เมื่อแยกกายกับจิตได้ ให้อดทนฝึกต่อไปจะแยกเวทนาและสังขารได้

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๑) เมื่อแยกกายกับจิตได้ ให้อดทนฝึกต่อไปจะแยกเวทนาและสังขารได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถัดจากนั้นเรามาฝึกแยกต่อไปอีก เรานั่งต่อไปอย่างเพิ่งกระดุกกระดิก นั่งไปสักพักเราปวดเราเมื่อย ค่อยๆสังเกตอีก ความปวดความเมื่อยเมื่อตะกี้นี้ไม่มี ตอนนี้เกิดมีความปวดความเมื่อยขึ้นมา เพราะฉะนั้นความปวดความเมื่อยเนี่ย ไม่ใช่ร่างกายหรอก ร่างกายมันนั่งอยู่ก่อนนะ ความปวดความเมื่อยมันมาทีหลัง เนี่ยเราค่อยๆดูไปอย่างนี้ เราจะเห็น ความปวดความเมื่อยกับร่างกายนั้นเป็นคนละอันกัน แล้วก็ไม่ใช่จิตใจด้วย จิตใจเป็นคนดู จะเห็นเลยว่าความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า นี่หัดอย่างนี้นะเราแยกได้ ๓ ชิ้นแล้ว มีร่างกาย มีเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ อย่างรู้สึกที่เราฝึกกันก็คือดูความเมื่อย อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นนั่งอยู่เดี๋ยวก็เมื่อย พอเมื่อยแล้วดูไป ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา ความเมื่อยไม่ใช่ร่างกาย ความเมื่อยไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

ทีนี้พอนั่งไป พอมันเมื่อย ก็อย่าเพิ่งขยับ เราจะฝึกต่อ ขั้นต้นอดทนไว้ก่อน อดทนหน่อย อย่าเพิ่งกระดุกกระดิก นั่งไปแล้วพอมันปวดมากๆนะ จิตใจมันจะเริ่มทุรนทุราย กระสับกระส่าย พอนั่งมากๆนั่งปวดมากๆนะ เป็นเหน็บเป็นอะไรนะ ชักกลุ้มใจ เอ๊..นั่งนานจะเป็นอัมพาตหรือเปล่า? จะเดินได้อีกมั้ย อะไรอย่างนี้นะ ความกลุ้มใจเกิดที่ใจเกิดที่จิต ความปวดเมื่อยเกิดที่ร่างกาย ความกลุ้มใจเกิดที่จิต เพราะฉะนั้นความปวดเมื่อยกับความกลุ้มใจเนี่ย คนละอันกัน

ความปวดเมื่อยนั้นเรียกว่า เวทนาขันธ์ เป็นเวทนาขันธ์ ความกลุ้มใจความกังวลใจอะไรอย่างนี้ เรียกว่าสังขารขันธ์ คนละขันธ์ คนละกลุ่มกัน เนี่ย ค่อยๆหัดแยก แล้วความกลุ้มใจก็ไม่ใช่จิต จิตทีแรกไม่กลุ้มใจ แต่จิตตอนนี้กลุ้มใจ เพราะฉะนั้นมันเป็นคนละอันกัน หัดฝึกไปเรื่อยนะ ให้ชำนิชำนาญ

550409.23m13-25m04

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212