Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จริตสำหรับการทำสมถะและวิปัสสนา

mp 3 (for download) : จริตในการทำสมถะและวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ แยก กาย เวทนา จิต ธรรม กายและเวทนา นี่กลุ่มหนึ่ง จิตและธรรม เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง จริตนิสัยของคนเราในเวลาทำสมถะกับวิปัสสนา การแยกจริตจะไม่เหมือนกัน

ถ้าเวลาเราจะทำสมถะ เราดูจริตมี ๖ อย่าง ๑) ราคจริต ๒) โทสจริต ๓) โมหจริต ๔) พุทธิจริต ๕) วิตกจริต ๖ สัทธาจริต

อย่างพวกศรัทธามากๆ เนี่ย ก็คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงอะไรอย่างนี้นะ ใจก็สบาย สงบ พวกฟุ้งมากๆ ก็รู้ลมหายใจไป อะไรอย่างนี้นะ พวกขี้โมโห ก็เจริญเมตตา พวกบ้ากามก็พิจารณาอสุภะอะไรอย่างนี้ พิจารณาความตายอะไรไป แล้วใจก็สงบ

แต่อารมณ์จริตนิสัย จริตที่ใช้ทำวิปัสสนานะ เราแยก ๒ ส่วนเท่านั้นเอง เรียกว่า

๑) ตัณหาจริต พวกรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม

๒) ทิฏฐิจริต พวกเจ้าความคิด เจ้าความเห็น

- พวกตัณหาจริต มีกรรมฐานที่เหมาะคือ การดูกาย หรือ เวทนา

- พวกทิฏฐิจริต เจ้าความคิดเจ้าความเห็น มีกรรมฐานที่เหมาะคือ ดูจิต หรือ ธรรม

ทำไมแต่ละจริตต้องมี ๒ อย่าง

-พวกรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ดูกาย หรือ เวทนา พวกที่ปัญญาแก่กล้าแล้วจะไปดูที่เวทนา พวกที่ยังไม่แก่กล้าดูกาย กายดูง่ายกว่าเวทนา

-พวกเจ้าความคิด เจ้าความเห็นนี่ ดูจิตเอา เห็นจิตเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง นี่ดูง่าย ถ้าปัญญามันแก่กล้าขึ้นไปก็ไปดูธัมมา เจริญธัมมานุปัสสนานะ จะเห็นความละเอียดลึกซึ้งประณีตของสภาวธรรมแต่ละอันๆ อย่างจิตตานุปัสสนาเห็น จิตมีโทสะ รู้ว่ามีโทสะ ดูแค่นี้เอง ถ้าขึ้นไปถึงธัมมานุปัสสนา มันจะประณีตขึ้นไปอีก อย่างจิตมีปฏิฆะ ความไม่พอใจเกิดขึ้น มีพยาบาท พยาปาทะ ไม่พอใจ คิดถึง ตรึกถึงอารมณ์ที่ไม่พอใจเนี่ยเห็นละ ไม่ต้องรอให้โกรธ มันประณีตกว่ากัน เรารู้ด้วยว่าทำไมถึงเกิดจิตที่มีความพยาบาทขึ้น รู้ด้วยว่าทำยังไงความพยาบาทจะไม่เกิดขึ้น เห็นมั้ยจะรู้เหตุ รู้ผล รู้ลึกซึ้งลงไปอีก หรือดูโพชฌงค์ จะเห็นเลยคุณธรรมมันค่อยๆ อัพเกรดขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ดูยากกว่ากัน

พวกเราสันนิษฐานไว้ก่อนก็แล้วกันนะเพื่อความปลอดภัยว่าพวกเราอินทรีย์อ่อน อินทรีย์แข็งคงไปเรียนจากพระพุทธเจ้าแล้วคงบรรลุกันไปหมดแล้วล่ะ สมัยนั้นพวกเราบางคนก็อาจจะเคยเจอพระพุทธเจ้ามาแล้วนะ แต่เราเป็นลูกศิษย์เทวทัตนะก็เลยไม่ได้ธรรมะอะไร แล้วสำคัญผิดอะไรอย่างนี้ หรือตอนเราไปเจอพระพุทธเจ้าแต่ตอนนั้นเราเป็นเดียรถีย์ เราไปแอนตี้พระพุทธเจ้าซะด้วยซ้ำไป งั้นบารมีพวกเรานี่ ตกมาถึงรุ่นนี้ ถือว่าบารมีอ่อนก็แล้วกันนะ

งั้นคนไหนรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ให้ดูกายไว้ เพราะกายนี่จะสอนให้เห็นว่าไม่สุข ไม่สบาย ไม่สวย ไม่งาม

ถ้าคนไหนเจ้าความคิดเจ้าความเห็นให้ดูจิต จิตเดี๋ยวก็ดี จิตเดี๋ยวก็ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายทั้งวัน เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็หายโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหายโกรธ เดี๋ยวหลง เดี๋ยวหายหลง

งั้นเราดูจริตนิสัยของตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๗


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๖
File: 570914A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๕

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

mp3 for download : ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขออนุญาตท่านอาจารย์ครับ หลวงพ่อจะมาเยี่ยมครูบาอาจารย์เฉยๆนะ มาเยี่ยมหลวงพ่อ.. กับหลวงพ่อคำเขียน ๒ องค์ ไม่ได้มาเทศน์หรอก เทศน์ไม่ได้ ผิดธรรมเนียม ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่กว่าอยู่ต้องนิมนต์ท่านเทศน์หรอก แต่นี่ท่านอนุญาตนะ ครูบาอาจารย์อนุญาตให้เราเทศน์ เราก็เทศน์ได้ แต่เทศน์แล้วต้องทำนะ จะให้หลวงพ่อเทศน์เปล่าๆ บาปนะ คือเราให้พระเหนื่อยฟรีๆแล้วขี้เกียจ

อย่าขี้เกียจนะ ความทุกข์มันบีบคั้นเราอยู่ทั้งวันทั้งคืน คนมีปัญญาถึงจะมองเห็น คนไม่มีปัญญาก็จะเห็นแต่มีความสุขนะ หลงระเริงไปเรื่อยๆ วนไปวันหนึ่งๆนะ เดี๋ยวก็เดือนเดี๋ยวก็ปี ไม่นานก็ตาย สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป น่าเสียดายที่สุดเลย

พวกเรามีบุญนะ พวกเราอุตส่าห์มาวัด มาหาครูบาอาจารย์ มาอะไรนี่ ได้รักษาศีล ได้ฟังธรรม ก็ต้องมาปฏิบัติ ธรรมะที่เราจะปฏิบัตินะ ก็มีทานมีศีลมีภาวนานะ ทำทานก็ไม่ใช่ว่าต้องเสียเงินเสียทองนะ ยกตัวอย่างเราโกรธคน คนเขาด่าเรา เราอภัยให้เขาอะไรอย่างนี้ ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง คนเขาไม่มีความรู้ แล้วเราให้ความรู้เขา ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง ทานก็มีหลายอย่าง ไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไร ให้ความรู้เขาให้ความเข้าใจนะ ได้บุญแรง

ต้องรักษาศีล ของเรามาอยู่วัด อุตส่าห์แต่งขาว เรามีสตินะ แต่งชุดขาวๆ ขาดสติเดี๋ยวก็เลอะแล้ว เพราะฉะนั้นท่านให้แต่งขาวๆไว้ก็ดี จะกระดุกกระดิก จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวนะ รู้สึก คอยรู้สึกไว้เรื่อยๆนะ เวลาโมโหใครขึ้นมา รู้ทันที่ใจเรา

มาอยู่วัดมาหาความสุขความสงบ หาความดีให้ตัวเอง ฝึกจิตฝึกใจของเราทุกวันๆนะ ภาวนาไปพุทโธๆไปก็ยังดี หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติ คอยรู้ทันใจตัวเองไว้เสมอๆ ถ้าเรามีสติรู้ทันใจของเราได้บ่อยๆนะ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเราได้นะ กิเลสจะครอบงำใจเราไม่ได้ ถ้ากิเลสมันครอบงำจิตใจของเราไม่ได้นะ เราจะไม่ผิดศีลหรอก คนมันทำผิดศีลนะเพราะมันถูกกิเลสหลอกเอาไป

ยกตัวอย่างมันไปฆ่าเขามันไปตีเขานะ เพราะโทสะมันครอบงำใจ คอยหลอกลวงเขาอะไรอย่างนี้ หรือไปเป็นชู้กับเขาอะไรอย่างนี้ ก็เพราะโลภะครอบงำใจ เพราะฉะนั้นมันมาจากกิเลสทั้งนั้นเลยนะ ทำให้เราทำผิดศีลผิดธรรมเพราะฉะนั้นเรารักษาศีลให้มั่นคงแข็งแรงนะ ทุกคนต้องมีศีล ถ้าเราไม่มีศีลนะ เราเสียความเป็นมนุษย์แล้ว เราจะไปอบาย

ทีนี้เรามีศีลเท่านั้นไม่พอนะ เราต้องมีฝึกใจของเราให้สงบบ้าง ใจของเราร่อนเร่หนีเที่ยวทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยอยู่กับเนื้อกับตัวเลย เรามาฝึกให้จิตใจอยู่กับตัวเอง การฝึกให้ใจอยู่กับตัวเองนี้แหละที่เรียกว่าฝึกให้มีความสงบมีความตั้งมั่นมีสมาธิขึ้นมา เราก็เอาสตินี้แหละมารู้ทันใจ เป็นวิธีที่ง่ายๆนะ ถ้าใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน ใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน รู้อย่างนี้บ่อยๆนะ พอใจเราไหลไปแว้บมันจะรู้สึกขึ้นมา ใจมันจะตื่น มันจะตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิเบื้องต้น สมาธิที่เรามีสติรู้ทีละแว้บๆ เขาเรียกว่าขณิกสมาธินะ สมาธิชั่วขณะเท่านั้นแหละ ได้สมาธิชั่วขณะก็ดีกว่าไม่มีเลย

คนไหนมีบุญมีวาสนานะ ภาวนาทุกวัน รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนะ พุทโธไป ภาวนาไป จิตใจไม่หนีไปที่อื่น จิตสงบอยู่กับลมหายใจ นั่นแหละจะได้สมาธิที่ละเอียดที่ปราณีตขึ้นไป ได้อุปจารสมาธิ ได้อัปนาสมาธิ จิตใจจะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ใจจะเป็นผู้รู้นะ ใจไม่ใช่ผู้หลงคิด ใจที่ไม่มีสมาธิจะเป็นใจผู้หลงคิด ใจที่มีสมาธิมีความตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวจะเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนะ มันจะมีความสุขอยู่ในตัวเอง

เพราะฉะนั้นเราฝึกจิตฝึกใจของเรานะให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ฝึกไปเรื่อย จะอยู่กับพุทโธก็อยู่นะ จะอยู่ในลมหายใจก็อยู่ ถ้าทำได้ก็ดีจะได้ความสุขความสงบที่ปราณีต ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าเสียใจ ให้อาศัยสติคอยรู้ทันจิตเป็นขณะๆไปก็ได้สมาธิเหมือนกัน แต่เป็นสมาธิแค่ขณิกสมาธิชั่วขณะ ดีกว่าไม่มีเลย ก็เหมือนกับคนยากคนจนนะ มีเงินร้อยบาท สองร้อยบาท สิบบาท ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย ไม่มีเงินล้านเงินแสนอย่างคืนอื่นก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้มีฌานมากมายอย่างคนอื่นก็ไม่ต้องเสียใจ ได้ความสงบที่เป็นขณะๆอย่างนี้ก็พอที่จะไปมรรคผลนิพพานได้นะ

ทีนี้พอจิตใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ใจลอยล่องลอยหนีไปเรื่อยแล้วเนี่ย ให้มาคอยเจริญปัญญาต่อ เห็นมั้ยมามีศีลมีสมาธิแล้วมามีปัญญา มีศีลเพราะมีสติรู้ทันกิเลสนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็มีศีลขึ้นมา มีสติที่รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป จิตก็สงบขึ้นมาได้สมาธิ ถัดจากนั้นพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วต้องเดินปัญญา ถ้าเราไม่ได้เจริญปัญญาเราจะไม่ได้คุณค่าของศาสนาพุทธหรอก เพราะการรักษาศีล การทำสมาธิเนี่ย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้านะ นักปราชญ์ทั้งหลายเขาก็สอนกันได้

ต้องมาเจริญปัญญาให้ได้ มาทำวิปัสสนานะ ถึงจะเป็นชาวพุทธแท้ๆได้รับประโยชน์จากพระศาสนาอย่างแท้จริง การเจริญปัญญาคือการเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราเองก็คือกายกับใจนะ เพราะฉะนั้นเราคอยมีสติรู้อยู่ที่กายมีสติรู้อยู่ที่ใจ รู้ไปอย่างสบายๆ รู้ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่มีสมาธิหนุนหลัง เพราะฉะนั้นจิตใจของเราต้องตั้งมั่นนะ สงบ ตั้งมั่น แล้วมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ

เห็นกายทำงานเห็นใจทำงานไปเรื่อย ควรจะเห็นเหมือนเห็นคนอื่นนะ ร่างกายยืนเดินนั่งนอน เหมือนจะรู้สึกเหมือนกับว่าคนอื่นยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เห็นร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า เนี่ยร่างกายมันหายใจไม่ใช่เราหายใจ จะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราจะเห็นเป็นเพียงวัตถุเท่านั้น เป็นก้อนธาตุนะ มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก หายใจเข้าหายใจออก ก็แค่วัตถุเท่านั้นเอง ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา

มาดูจิตดูใจนะ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เฝ้ารู้ไปเรื่อย พวกเราเป็น.. ส่วนใหญ่คนรุ่นนี้เป็นพวกคิดมาก จิตคิดทั้งวันนะ คิดไปแล้วเดียวก็สุข คิดไปแล้วเดี๋ยวก็ทุกข์ มีมั้ยคิดแล้วทุกข์ บางทีเขาด่าเรามาสิบปีแล้วนะมาคิดใหม่ทุกข์ใหม่ เออ.. เป็นมั้ย โกรธใหม่ก็ได้ เรื่องตั้งนานแล้วนะ คิดซ้ำก็เป็นอีกนะ เนี่ยใจของเราชอบหลง หลงๆไปนะ ให้เราคอยมีสติรู้ทันนะ รู้ทันใจ ใจหลงไปคิดเรื่องนี้-รู้ทัน คิดแล้วเกิดความสุขก็รู้ทันว่ามีความสุขแล้ว ความทุกข์เกิดขึ้นในใจเราก็รู้ทันนะ กุศล-อกุศล โลภโกรธหลงอะไรเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ทัน รู้เฉยๆ

ในขั้นของการเดินปัญญา ไม่เหมือนในขั้นของการทำสมาธิ ขั้นการทำสมาธินี่นะ จิตไม่ดีทำให้ดี จิตไม่สุขทำให้สุข จิตไม่สงบทำให้สงบ แต่ในขั้นปัญญาเนี่ย จิตไม่ดีรู้ว่าไม่ดี จิตไม่สุขรู้ว่าไม่สุข จิตไม่สงบรู้ว่าไม่สงบ รู้ลูกเดียวเลย รู้อย่างที่มันเป็นนะ เราจะเห็นเลยความสุขที่เกิดขึ้นในใจเราก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราวนะ โลภโกรธหลงอะไรๆก็ชั่วคราว นี่หัดดูลงไปนะ ทุกอย่างในชีวิตนี้เป็นของชั่วคราว นี่ล่ะคือการการเดินปัญญานะ ดูลงไป ค้นคว้าพิจารณาลงไปนะ

ถ้าจิตมันไม่ยอมดูของมันเองก็ต้องช่วยมันคิดช่วยมันพิจารณาก่อนในเบื้องต้น ยกตัวอย่างพิจารณาร่างกายนะ เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุเป็นขันธ์ นี่คือช่วยมันคิดก่อน แต่ถ้าจิตมันมีปัญญามีกำลังพอนะ มันจะเห็นเอง ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา จิตใจที่สุขจิตใจที่ทุกข์นั้น ความสุขความทุกข์ นั้นก็ไม่ใช่เรา จิตเป็นธรรมชาติรู้ จิตรู้ว่ามีความสุข จิตรู้ว่ามีความทุกข์ ตัวที่รู้นี้ก็ไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี ฝึกไปเรื่อยๆนะแล้วเราจะเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก

ภาวนาจนล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา มีตัวตน ถ้าตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ล่ะ ก็ขันธ์ ๕ มันทุกข์นะ ไม่ใช่เราทุกข์อีกต่อไปแล้ว เนี่ยเฝ้ารู้เฝ้าดูต่อไปนะ สติปัญญาแก่รอบขึ้นไปเรื่อย มันจะเห็นเลยว่าขันธ์ ๕ มีแต่ทุกข์ล้วนๆ อย่างพวกเราตอนนี้ปัญญาเราไม่พอ ศีลสมาธิปัญญาต้องฝึกให้แก่รอบนะ วันหนึ่งถึงจะพอ ถ้าพอจริงจะเห็นเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ

พวกเราไม่เห็นหรอก พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ใช่ม้้ย เห็นมั้ยว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เห็นอย่างนี้ใช่มั้ย นี่เราไม่รู้จริงหรอก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ท่านไม่ได้บอกว่าทุกข์บ้างสุขบ้างนะ เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนหรอก เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้พ้นทุกข์หรอกนะ เพราะฉะนั้นต้องรู้ลงไปในกายรู้ลงไปในใจบ่อยๆ อย่าใจลอยนะ รู้สึกอยู่ในกายรู้สึกอยู่ในใจบ่อยๆนะ วันหนึ่งเราจะเห็นได้ว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย

ยกตัวอย่างนั่งอยู่ก็ทุกข์นะ เดินอยู่ก็ทุกข์ นอนอยู่ก็ทุกข์ หิวก็ทุกข์ อิ่มก็ทุกข์ ง่วงก็ทุกข์นะ เจ็บป่วยขึ้นมาก็ทุกข์ นั่งอยู่เฉยๆก็คัน มีมั้ยนั่งแล้วไม่คัน คันก็ทุกข์นะ ทีนี้พวกเราพอทุกข์นะ เราก็เปลี่ยนอิริยาบถปับเลย เรายังไม่ทันจะรู้สึกเลยว่าทุกข์ ยกตัวอย่างคันขึ้นมารีบเกาเลย ยังไม่ทันรู้ตัวเลยว่าคันนะ เกาไปก่อนแล้ว เราก็ไม่เห็นทุกข์ มันเมื่อยขึ้นมาเราก็ขยับซ้ายขยับขวานะ เรายังไม่ทันรู้สึกเลยว่าเมื่อยนะ ยังไม่ทันรู้เลยว่ากายนี้เป็นทุกข์ ขยับหนีความทุกข์ไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนที่จะขยับตัวนะ รู้สึกตัวเสียก่อน ก็จะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลยนะ

จิตใจนี้ก็เหมือนกันนะ คอยรู้ทันบ่อยๆจะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ถ้าเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่ก็ข้ามโลกได้แล้วนะ ถ้ายังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้างก็ไปไหนไม่รอดหรอก

ก็ฝึกเอานะ ขั้นแรกเลย รักษาศีล อุตส่าห์แต่งขาวๆน่ะ อย่าปากร้ายนะ ปากร้ายนี้มันมาจากใจร้ายก่อน ใช่ม้้ย แล้วมันลดลงมา เพราะฉะนั้นเรามีศีลไว้ก่อนนะ ต่อไปเราก็มาฝึกใจให้สงบ กายสงบวาจาสงบแล้วด้วยศีล ฝึกให้ใจสงบด้วยสมาธิ แล้วก็ขั้นสุดท้ายฝึกให้จิตเกิดปัญญาด้วยวิปัสสนา กิเลสมี ๓ ขั้นนะ กิเลสอย่างหยาบเนี่ยคือ โลภ โกรธ หลง ของหยาบที่สุด สู้ด้วยศีลนะ กิเลสอย่างกลางชื่อนิวรณ์ สู้ด้วยสมาธิ ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ใจไม่ฟุ้งไป จิตมีสมาธิ นิวรณ์ครอบงำไม่ได้ กิเลสที่ละเอียดที่สุดนะ คือความเห็นผิด คืออวิชา ความเห็นผิด คือมิจฉาทิฎฐิ เราสู้ด้วยความเห็นถูก รู้ลงในกายรู้ลงในใจดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร จริงๆมีแต่ทุกข์นะ ดูไป เอ้า..เท่านี้เนาะ เทศน์แค่นี้ก็ถึงนิพพานแล้วล่ะ เหลือแต่ทำเอา ก่อนจะถึงนิพพาน ศีล ๕ ก่อนเน่อ เดี๋ยวหลวงพ่อต้องไปแล้วล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓

File: 530308
Whole track

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตไม่มีที่ตั้ง

mp3 for download : จิตไม่มีที่ตั้ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ :หลวงพ่อเคยถามหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ครับ จิตมันตั้งอยู่ที่ไหน ตอนนั้นคิดว่าจิตตั้งอยู่ที่หน้าอกนะ เห็นมันไหวๆขึ้นมาเรื่อย หลวงปู่ครับจิตตั้งอยู่ที่ไหน หลวงปู่ตอบซะหงายท้องเลย จิตไม่มีที่ตั้ง มันไม่ตั้งอยู่นานหรอก มันเกิดที่ไหนมันก็ดับตรงนั้นเลย มันไม่ตั้งอยู่อย่างนั้นหรอกนะ ไม่ใช่ว่าจะเอามาตั้งไว้ที่เดียว ถ้าเจตนาจะตั้งเอาไว้ที่เดียว กลายเป็นสมถะเลย เพ่งเอาไว้

เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วถ้าเราเห็นละเอียดนะ สติ สมาธิ เราพอนะ เราจะเห็นว่าจิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับ จิตเกิดที่หูแล้วก็ดับ จิตเกิดที่ใจแล้วก็ดับ

เรามาทดสอบจิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับดู ลองดูพระพุทธรูป ลองดูซิ รู้สึกมั้ย เราเห็นชัดอยู่แว้บเดียว แล้วก็จะเบลอร์ไป เอ้อ.. ดูเข้า เห็นมั้ยเราเห็นได้ชัดแว้บนึงนะ แล้วเราก็ต้องขยับตาใหม่ ดูใหม่ เห็นมั้ยว่าจิตที่เกิดที่ตา เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ อยู่เรื่อยๆนะ ไม่ใช่จิตมีดวงเดียวหรอก เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดที่ตานะ ก็เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง ที่เราบอกว่าเรามองเห็นอะไรได้ชัดนั้น ความจริงมองหลายครั้งต่อกัน แล้วเราไปอาศัยความจำคือสัญญานั้นไปจำ

ลองไปมองหน้าตัวเองในกระจก เราจะพบว่าเราไปมองเป็นจุดเล็กๆนะ มองตาข้างซ้ายที มองตาข้างขวาที มองขยับไปขยับมา อาศัยสัญญาประกอบขึ้นมา จำหน้าขึ้นมา เป็นหน้ารวมๆขึ้นมา อาศัยสัญญาก็เลยเกิดเป็นตัวเราตัวเขา เป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายขึ้นมา ลำพังตาเห็นรูปนั้นไม่มีตัวมีตนอะไรขึ้นมาหรอก

หูได้ยินเสียงก็ได้ยินมาเป็นขณะๆ หูได้ยินเสียง หูไม่ใช่ว่าได้ยินเสียงหมาเสียงแมว เสียงคนเสียงพูด เสียงชมเสียงด่า ไม่ใช่ เสียงพระเสียงมาร ไม่ใช่ หูได้ยินเสียง เป็นเสียงสูงๆต่ำๆ ทุ้มๆแหลมๆอะไรก็แล้วแต่ อาศัยสัญญามาแปลเสียงแต่ละเสียงที่ต่อๆกัน ก็แปลความหมายออกมา หูได้ยินเสียงก็ได้ยินเสียงแล้วดับ ได้ยินเสียงแล้วดับนะ เกิดดับ เกิดดับ อยู่ที่หู กว่าจะฟังได้ประโยคหนึ่งนะ จิตเกิดดับอยู่ที่หูตั้งเยอะแน่ะ อาศัยสัญญาจำไว้ จำไว้พอสมควรแล้วก็ส่งสัญญาณเข้ามาที่ใจ มาประมวลผลที่ใจ การประมวลผลที่ใจนั้นจิตเกิดที่จิต เกิดอยู่ที่จิตใจของเรานี้ ไม่ได้เกิดที่ตาที่หูแล้ว

เนี่ยถ้าเราภาวนานะ แล้วสติสมาธิเราพอเราก็จะเห็นว่า จิตมันเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ไหนดับที่นั่น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๑ ถึงนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เป็นมนุษย์ ภาวนาง่ายที่สุดแล้ว

mp3 for download : เป็นมนุษย์ ภาวนาง่ายที่สุดแล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :เป็นมนุษย์นะ เหมาะแก่การภาวนามากที่สุดแล้ว เราก็อย่าไปทำตนเองให้พ้นจากความเป็นมนุษย์ไป บางคนจะภาวนาก็ไปทำจิตให้เหมือนพรหม นิ่ง…สบายสว่างอยู่อย่างนั้น ถ้าจิตของพรหมดีที่สุดนะ พระพุทธเจ้าคงตรัสรู้ในภูมินั้นไปแล้ว พรหมที่ภาวนาดีก็มีนะ พรหมมิจฉาทิฎฐิก็เยอะ ไปติดนิ่งติดว่าง เทวดาที่ดีที่สนใจธรรมะก็มี เทวดาที่ไม่สนใจธรรมะก็มี เทวดามิจฉาทิฎฐิก็มี คนศาสนาอื่นเขาก็เป็นเทวดาได้ ศาสนาอื่นก็ไม่ได้จำกัดว่า เทวดาต้องมีแต่ชาวพุทธหรอก คนศาสนาอื่นเขาก็เป็นคนดีได้ เป็นเทวดาได้

มนุษย์ก็เหมือนกันนะ มนุษย์ที่เป็นสัมมาทิฎฐิก็มีไม่มากหรอก มนุษย์ที่เป็นมิจฉาทิฎฐิเยอะ ทั้งๆที่ภูมิของเราเหมาะแก่การภาวนา เราอย่าไปน้อมใจให้ไปอยู่ในความนิ่งความว่างความสงบ ไปอยู่ตรงนั้นนะ กายเราเป็นมนุษย์แต่ใจเราเป็นพรหม ภาวนาลำบากหน่อย พรหมที่ภาวนาได้ก็มีนะ แต่ว่าต้องชำนาญในการดูจิตจริงๆ ถ้าชำนาญในการดูจิตได้เนี่ย ถึงจะเจริญปัญญาในพรหมโลกได้ ก็ดูความเปลี่ยนแปลงขององค์ฌานได้ หรือขึ้นไปถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้ในคัมภีร์สอนไว้บอกว่า ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ชำนาญในการดูจิต ถึงแม้ไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนะคือพรหมที่สูงที่สุดแล้ว เป็นอรูปชั้นสูงสุด ก็สามารถทำวิปัสสนาได้ เงื่อนไขเยอะนะ กว่าจะทำได้ ถ้าเป็นปุถุชนขึ้นไปถึงตรงนั้นก็เสร็จเลย เดินปัญญาไม่ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560511A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๐
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กระบวนท่าการดูจิต

mp3 for download : กระบวนท่าการดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตามองเห็นรูปเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน ใจคิดนึกปรุงแต่งไป เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน

รู้ทันแล้วก็จะเห็น เกิดสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ เกิดทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ นี่แหละเรียกว่าการเจริญปัญญา จะเห็นว่าความสุขมีแล้วก็หายไป ความทุกข์มีแล้วก็หายไป ดูอยู่อย่างนี้เรื่อยๆไป

แต่ถ้าดูสุขทุกข์ไม่ทันนะ ต่อไปก็จะเป็นกุศล-อกุศล มีความสุขขึ้นมา บางทีจิตก็มีราคะ มีความทุกข์ขึ้นมา บางทีจิตก็มีโทสะขึ้นมา ดูเวทนาไม่ทัน ดูสุขทุกข์ไม่ทัน ก็มาดูกิเลสเอา ดูง่ายๆ แค่นี้เอง

อย่าไปบังคับจิตให้นิ่ง ถ้าบังคับจิตให้นิ่ง จะไม่มีอะไรให้ดู ให้กระทบอารมณ์ไป บางทีใจคิด คิดเรื่องนี้มีความสุข ให้รู้ว่ามีความสุขเกิดขึ้น ไม่ใช่รู้ว่าคิดเรื่องอะไรนะ คิดเรื่องอะไรไม่สำคัญหรอก แต่ถ้าคิดอะไรขึ้นมาแล้วใจมีความสุข ให้รู้ทัน (รู้ทันว่าใจมีความสุข – ผู้ถอด) คิดอะไรก็ได้ ใจมีความทุกข์ขึ้นมาให้รู้ทัน รู้ทันใจที่สุด ใจที่ทุกข์ ใจที่เป็นกุศล ใจที่เป็นอกุศล ไม่ใช่รู้เรื่องที่คิดนะ

นี่แหละการดูจิตดูใจเขาดูกันอย่างนี้นะ ถึงจะเกิดปัญญา สุดท้ายก็จะเกิดปัญญาขึ้นว่า ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้านี่แหละ เป็นของชั่วคราว ความสุขเกิดขึ้นแล้วก็อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ปีแล้วปีเล่า เห็นจนถึงจุดหนึ่ง จิตจะเกิดความรู้รวบยอดขึ้น ว่าทุกสิ่งที่เกิดนั้น ดับทั้งสิ้น ตรงที่เกิดความรู้รวบยอดนี่แหละที่เรียกว่า “ได้ดวงตาเห็นธรรม” เป็นพระโสดาบัน

พระโสดาบันนั้นมีความรู้รวบยอดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับไปเป็นธรรมดา” something(สิ่งใด) ที่เกิดขึ้น อะไรเป็น something บ้าง สุขก็เป็น something ใช่มั้ย ทุกข์ก็เป็น(something) โลภโกรธหลงก็เป็น(something) จะเห็นแต่ละอันๆนะ จนในที่สุดสรุปออกมาได้ในภาพรวม จิตเขาสรุปของเขาเอง ไม่ใช่เราคิดเอา ตรงที่เราคิดเอาไม่ล้างกิเลส แต่ถ้าจิตสรุปของจิตเอง จะล้างกิเลสได้

เนี่ยฝึกไปเรื่อยนะ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๒๔ ถึงนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกดูจิต ฝึกด้วยจิตของคนธรรมดาๆนี่ล่ะ

mp3 for download : ฝึกดูจิต ฝึกด้วยจิตของคนธรรมดาๆนี่ล่ะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราดูจิตดูใจ แต่เราไม่ชำนาญถึงฌานในอรูปนะ เราจะดูจิตในชีวิตประจำวัน ดูอยู่ข้างนอกอยู่ที่เรามีนี่แหละ

ดูจิตจะยากอะไร ใครรู้จักความสุขมั้ย รู้จักมั้ยความสุข ความสุขเกิดขึ้น ความสุขกำลังมีอยู้ รู้ว่ามีความสุขอยู่ ก็แค่นี้เอง จะยากอะไร ความสุขหายไปก็รู้ว่าความสุขหายไป ความทุกข์มีขึ้นมา รู้ว่ามีขึ้นมา ความทุกข์หายไปรู้ว่าความทุกข์หายไป ก็แค่นั้นเอง ความโลภความโกรธความหลงผุดขึ้นมา รู้ทัน ความโลภความโกรธความหลงหายไป รู้ทัน ก็แค่นั้นเอง

การดูจิตดูใจไม่ใช่เรื่องลึกลับเลย แต่ว่ามันจะตรงกันกับที่พระพุทธเจ้าสอนในสติปัฏฐาน ในจิตตานุปัสสนา “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ” เห็นมั้ยง่ายๆ ท่านไม่เห็นต้องอธิบายมากเลย ก็แค่นั้นเอง จิตมีราคะรู้ว่ามีราคะ จิตไม่มีราคะรู้ว่าไม่มีราคะ จิตมีโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีโทสะให้รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีโทสะให้รู้ว่าไม่มีโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีโมหะ คือมีความหลง ก็รู้ว่ามีโมหะ จิตไม่มีโมหะก็รู้ว่าไม่มีโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน เมื่อจิตหดหู่ให้รู้ว่าหดหู่ ง่ายๆทั้งนั้นเลย

เราดูไป ดูใจของเราไปเรื่อย อย่าไปจ้อง อย่าไปจ้องอยู่ที่จิต เคล็ดลับของการดูจิตก็คือ ห้ามไปจ้อง ห้ามไปรอดู ว่าจะมีอะไรให้ดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้ว่ามีความรู้สึกนั้นเกิดขึ้น อย่าไปเฝ้าดูนะ ถ้าเฝ้าดูจะเป็นการเพ่งจิต แล้วจะว่างๆ จะไม่มีอะไรให้ดูเลย มีแต่ว่างๆ ว่างๆเนี่ยเป็นการเพ่งอรูป ทำได้แล้วจะไปอรูปฌานนะ ไปเป็นอรูปพรหม เป็นพรหมไม่มีรูป ไม่มีตา ไม่มีหู พวกเราตาบอดเอามั้ยล่ะ แต่อยากไปเป็นพรหมชั้นสูง พรหมชั้นสูงไม่มีตา ไม่มีหูด้วย ตาบอดด้วย หูหนวกด้วย เอามั้ยล่ะ ไม่เอาใช่มั้ยล่ะ สัมผัสโลกไม่ได้ เรียนรู้อะไรไม่ได้นะ ยกเว้นที่ชำนาญดูจิตแล้วไปเข้าไปตรงนั้น ทำต่อได้ ไม่มีกาย ไม่มีกาย

เนี่ยเราเฝ้าดูของเราง่ายๆนะ ใจเราของคนธรรมดานี่แหละ เราจะเห็นเลยว่าใจของเราเปลี่ยนแปลงทั้งวัน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ใจของเราเปลี่ยนเพราะอะไร เพราะมีผัสสะ คือมีการกระทบอารมณ์ ตาเรามองเห็นรูป เรียกว่า เรากระทบอารมณ์ทางตา ตาไปมองเห็นรูปที่พอใจ จิตก็มีความสุขขึ้นมา จิตมีความสุขขึ้นมา ก็เกิดความพอใจ คือราคะแทรกขึ้น ตาไปเห็นรูปที่ไม่ชอบใจ ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา โทสะก็แทรกนะ โทสะก็จะแทรกเข้ามา

หูได้ยินเสียงที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจอาจจะไม่ไพเราะก็ได้ ยกตัวอย่างเสียงบางคนนะ เสียงฟังไม่ได้เลย แต่เรากำลังคิดถึงคนๆนั้น เป็นเพื่อนเรา แต่เสียงไม่ไพเราะเลย ได้ยินเสียงแหบๆของคนๆนี้แล้วดีใจ เพราะเป็นเสียงที่ชอบใจ อาจจะไพเราะหรือไม่ไพเราะ จะอ่อนหวานหรือไม่อ่อนหวาน ไม่สำคัญหรอก แต่เป็นเสียงที่ชอบใจ พอการกระทบกับเสียงที่ชอบใจเกิดขึ้นนะ ก็จะเกิดความสุขขึ้นมาในใจ เรารู้ว่ามีความสุข พอมีความสุขแล้วเกิดความพอใจในเสียงอันนี้ขึ้นมาเรียกว่ามีราคะ รู้ว่ามีราคะเกิดขึ้น

นี่แหละการปฏิบัติง่ายๆอย่างนี้เอง ให้ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส ให้ใจมันคิดนึกปรุงแต่งไปตามธรรมชาติธรรมดา ไม่ห้ามเลยสักอย่างเดียว ตามองเห็นรูปเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน ใจคิดนึกปรุงแต่งไป เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน รู้ทันแล้วก็เห็น เกิดสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ เกิดทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ นี่แหละเรียกว่าการเจริญปัญญา จะเห็นว่าความสุขมีแล้วก็หายไป ความทุกข์มีแล้วก็หายไป ดูอยู่อย่างนี้เรื่อยๆไป

แต่ถ้าดูสุขทุกข์ไม่ทันนะ ต่อไปก็จะเป็นกุศล-อกุศล มีความสุขขึ้นมา บางทีจิตก็มีราคะ มีความทุกข์ขึ้นมา บางทีจิตก็มีโทสะขึ้นมา ดูเวทนาไม่ทัน ดูสุขทุกข์ไม่ทัน ก็มาดูกิเลสเอา ดูง่ายๆ แค่นี้เอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

mp3 for download : การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : การดูจิตดูใจเรียกว่า จิตตนานุปัสสนา การดูกระบวนการทำงานของสภาวธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนา กรรมฐานเหล่านี้เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมาก เมื่อพวกเราเป็นพวกช่างคิด เรามาดูจิตดูใจตัวเอง การดูจิตนั้นไม่ต้องใช้สมาธิเยอะ ใช้สมาธิเป็นขณะๆไป เรียกว่าขณิกสมาธิ

วิธีทำให้มีสมาธิเมื่อเช้าหลวงพ่อบอกไปแล้วนะ รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไป รู้ทันจิตที่ไหลไป จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ตรงที่จิตตั้งมั่นขึ้นมาเนี่ย อย่าไปบังคับจิตให้นิ่ง จิตมีความสุขให้รู้ว่ามีความสุข จิตมีความทุกข์ให้รู้ว่ามีความทุกข์ จิตสงบให้รู้ว่าสงบ จิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตมีราคะให้รู้ว่ามีราคะ จิตมีโทสะให้รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีราคะก็รู้ จิตไม่มีโทสะก็รู้ จิตหลงไปก็รู้ จิตรู้สึกตัวอยู่ก็รู้ เนี่ยคอยดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อย

การดูความเปลี่ยนแปลงของจิตนั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิลึกๆ คนที่นั่งสมาธิลึกๆเนี่ย ดูจิตยาก มันจะไม่มีอะไรให้เปลี่ยน จะนิ่งๆ เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจเนี่ย เหมาะสำหรับพวกที่เข้าฌานไม่เป็น แต่ถ้าพวกที่ดูจิตแล้วเข้าฌานเป็น จะไปสู่จุดสุดยอดอีกเรื่องหนึ่ง สามารถไปเดินปัญญาในสมาธิได้ พวกดูกายเก่งๆเนี่ย เจริญปัญญาในสมาธิไม่ได้ ต้องดูจิตเก่งๆ ทำสมาธิและปัญญาควบกันได้

ดูกายเก่ง ต้องทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาดูกาย แต่ถ้าจะทำสมาธิและปัญญาควบกัน ถ้าทำสมาธิรู้ลมหายใจแล้วจิตรวมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง มีเอกัคคตา รู้ทันจิตที่เข้าไปจับแสงสว่าง ก็ปล่อย ไม่จับ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร จิตทวนกระแสเข้าหาตัวรู้ และตั้งมั่นอยู่ ปีติเด่นดวงขึ้นมา ในขณะนั้นมีทั้งปีติมีทั้งสุขมีทั้งเอกัคคตาอยู่ด้วยกัน แต่ปีติจะเด่น ใจเนี่ยเด่นดวงตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่ แต่ปีติเด่น สติระลึกรู้ลงไปที่ปีติ เห็นปีติดับไป เนี่ยเขาทำวิปัสสนาในสมาธิ เขาดูองค์ฌานที่เกิดดับ องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยไม่ใช่กาย องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยเป็นเรื่องของนามธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพวกที่ดูจิตได้นะ จะไปเดินปัญญาในฌานได้

แล้วถ้าดูจิตจนชำนิชำนาญจนถึงระดับที่เป็นพระอริยบุคคล แล้วถ้าตายไปนะ ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ไปเกิดในพรหมโลก แล้วเข้าฌานเก่งมากเลย ได้ฌานที่ ๘ ด้วย ไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภูมิเป็นภพของเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภพของพรหมที่สูงที่สุด ในคัมภีร์สอนเอาไว้เลยว่า ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ชำนาญการดูจิตนะ จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ คนอื่นทำไม่ได้ ถ้าเป็นปุถุชนแล้วจะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องการดูจิต จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่เข้าอรูปฌานถึงขีดสุดไม่ได้ก็จะไม่ไปเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิด้วย

เพราะฉะนั้นการที่เราหัดดูจิตดูใจเนี่ยนะ พวกที่สมาธิมากก็ดูได้ พวกนี้จะสามารถไปเจริญปัญญาในฌานได้ ทำสมาธิและวิปัสสนาควบกัน พวกนี้ทำรวดไปได้ ไม่มีข้อจำกัดในภูมิอะไร ยกเว้นอันเดียว ภูมิอสัญญสัตตา ภพของอสัญญสัตตา พรหมลูกฟัก แต่ท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระอริยะทั้งหลายท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะไม่ไปอยู่ในพรหมลูกฟัก เสียเวลา

และถ้าเราดูจิตดูใจแต่ไม่ชำนาญจนถึงอรูป(ฌาน)นะ เราจะดูจิตในชีวิตประจำวัน ดูอยู่ข้างนอกอย่างที่พวกเรามีนี่แหละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศาสนาต้องให้คำตอบของชีวิตได้ ผู้คนจึงจะไม่ทิ้งศาสนา

mp3 for download : ศาสนาต้องให้คำตอบของชีวิตได้ ผู้คนจึงจะไม่ทิ้งศาสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : เห็นคนภาวนาดีๆเนี่ย เยอะเลย เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ที่ตัวเองรู้สึกได้ เคยทุกข์มากนะเหลือทุกข์น้อยลง เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นลง มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนามากขึ้น ยุคของเรานี้เป็นยุคที่คนทิ้งศาสนา คนมุ่งไปเอาความเจริญทางวัตถุกันหมด นี่จะว่าคนทิ้งศาสนาก็พูดยากนะ คือ..ถ้าหากศาสนาตอบคำถามของชีวิตเขาไม่ได้ ก็สมควรทิ้งหรอก เพราะไม่มีประโยชน์ คล้ายๆถ้ามีศาสนาแล้วก็เอาไว้เป็นที่รีดที่ไถนะ ไม่มีประโยชน์ หมดไปก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าหากศาสนาเนี่ยแก้ไขปัญหาชีวิตให้เขาได้ คนเข้าถึงเนื้อหาแท้ๆของศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ถ้าเราเข้าถึงเราเข้าใจ เราพ้นทุกข์ทันตาเห็น ไม่ใช่ทำไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วชาติต่อๆไปค่อยเห็น ต้องเห็นเดี๋ยวนี้ ศาสนาพุทธน่ะเป็นเรื่องปัจจัตตังนะ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ วิญญูชนรู้ด้วยตนเอง รู้ลงขณะปัจจุบันนี้แหละ ไม่ใช่วิญญูชนเชื่อไปเหอะ เชื่อไปก่อน ทำไว้แล้วชาติหน้าดี ไกลไป

นี่หลวงพ่อพยายามประกาศธรรมะที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในเวลาสั้นๆ แท้จริงธรรมะที่ประกาศเนี่ย เป็นธรรมะของเก่า ครูบาอาจารย์สอนต่อๆกันมา ไม่ขาดยุคขาดสมัยนะในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา หลวงพ่อเปลี่ยนบางอย่างไป เปลี่ยนภาษาไป เปลี่ยนภาษาให้คนรุ่นเราฟังรู้เรื่อง นอกจากเปลี่ยนภาษาแล้วก็มาเลือกวิธีการที่คนสมัยเรานี้จะรับได้ พระพุทธเจ้าเป็นธรรมราชา เป็นพระราชาของธรรมะ เป็นภควโต (อ่าน ภะคะวะโต – ผู้ถอด) เป็นผู้จำแนกแจกธรรม ธรรมะที่ท่านให้ไว้นะ มากมายมหาศาลเลย เหมาะกับจริตนิสัยกับคนต่างๆนานา ความกรุณาของท่านแผ่ไพศาล ท่านสอนธรรมะไว้มากมาย เพราะจริตนิสัยของคนนั้นแตกต่างมากมาย หลวงพ่อก็แค่มาดู ว่าธรรมะอะไรที่คนสมัยเราจะทำได้ง่าย

การปฏิบัติธรรมนั้น ถึงอย่างไรก็หนีการปฎิบัติธรรมไม่ได้ เพราะศาสนาพุทธนั้นเป็นกรรมวาที เป็นเรื่องที่ต้องทำ เป็นเรื่องของการกระทำ มีผลของการกระทำ เราอยากพ้นทุกข์เราก็ต้องลงมือปฏิบัติ ไม่มีฟลุ๊ค แต่การปฏิบัตินั้นมีตั้งหลายแบบ ใช้สมาธินำปัญญาก็มี ใช้สมาธิกับปัญญาควบกันก็มี ใช้ปัญญานำสมาธิก็มี

ในสมัยครูบาอาจารย์นั้น ท่านจะใช้สมาธินำปัญญามาก เพราะชีวิตท่านไม่มีความเร่งร้อนอะไร คนสมัยก่อนปีหนึ่งทำนา ก็รอเวลาไปเกี่ยวข้าว ข้าวสุกก็ไปเกี่ยวข้าว ชีวิตของพวกเราทุกวันนี้มีแต่ความเร่าร้อนรีบร้อนตลอดเวลา หาอยู่หากินกันวุ่นวายตลอดเวลา เราจะเอาเวลาที่ไหน เราจะเอากำลังใจที่ไหน มานั่งสมาธินานๆให้จิตมีความสุขความสงบ เพราะฉะนั้นกรรมฐานนั่งสมาธิมากนี้ ไม่เหมาะกับคนยุคเราแล้ว แต่ยังเหมาะกับคนบางคนที่เขาทำได้ เหมาะกับบางคน

เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำลายไปนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะต้องรักษาไว้ให้ครบเลย จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างคนรุ่นเราเป็นพวกคิดมากเยอะ เจริญทางวัตถุรุนแรง สิ่งที่มากระทบกับตาหูจมูกลิ้นกายใจรุนแรง ให้ไปนั่งสมาธิก็ไม่ไหวแล้วนะ คนโบราณไปหว่านข้าวไถนาเสร็จนะ มีเวลาก็นั่งสมาธิได้ทั้งๆวัน นั่งได้หลายๆวัน ไม่มีอะไรทำ คอยดูนกดูหนูไม่ให้มากินข้าวเท่านั้น เดินดูนก ไล่หนู อะไรอย่างนี้ ก็เจริญสติไปได้นะ ถึงเวลาก็เข้าใต้ต้นไม้นั่งสมาธิ ชีวิตไม่ได้เร่งร้อนอะไร

แต่เราทำไม่ได้แล้ว คนส่วนใหญ่ในยุคนี้ทำไม่ได้แล้ว ปากกัดตีนถีบอยู่ตลอดเวลา เราก็มีกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าท่านให้ไว้ที่เหมาะกับคนที่ทำงานที่ต้องใช้ความคิด พวกคิดมาก เรียกว่าพวกทิฎฐิจริต กรรมฐานที่เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต คือการดูจิตดูใจของตนเอง หรือดูสภาวธรรม ดูการทำงานของกระบวนการของธรรมะ ดูการทำงานของธรรมะ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม การดูจิตดูใจนั้นเรียกว่า “จิตตานุปัสสนา” การดูกระบวนการของสภาวธรรมเรียกว่า “ธรรมานุปัสสนา” กรรมฐานเหล่านี้เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เริ่มหัดภาวนา อย่าไปยุ่งหรือดัดแปลงสัญญาขันธ์

mp3 for download : เริ่มหัดภาวนา อย่าไปยุ่งหรือดัดแปลงสัญญาขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่เป็นการหัดแยกขันธ์นะ แยกขันธ์ออกเป็นส่วนๆ รูปขันธ์ก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง สังขารขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง วิญญาณขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง ทำไมหลวงพ่อไม่พูดถึงสัญญาขันธ์ สัญญาอย่าเพิ่งไปยุ่ง สัญญาของเราตอนนี้เป็นสัญญาวิปลาส พวกเราตอนนี้ สัญญาเพี้ยนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปยุ่งกับมัน ตอนนี้

สัญญาเพี้ยนอย่างไร มันเห็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง ยกตัวอย่างนะจิตใจของเราเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไปเห็นว่าในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง คนนี้กับตอนเด็กๆก็คนเดิม คนนี้ในวันนี้กับคนนี้ในวันพรุ่งนี้ก็ยังเป็นคนเดิม เราไปเห็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นของทนอยู่ไม่ได้ว่าทนอยู่ได้ เห็นของบังคับไม่ได้ว่าบังคับได้ รู้สึกมั้ยว่าร่างกายมันเป็นของเรา เราสั่งได้ รู้สึกอย่างนี้ สั่งได้ไม่ตลอดหรอก

เพราะฉะนั้นสัญญาของเรายังเพี้ยนอยู่ ตอนนี้ปล่อยไปก่อน พามันดูในของจริง ในรูป ในเวทนา ในสังขาร ในจิต พามันดูของจริงตัวนี้ให้มากนะ ต่อไปพอจิตมันฉลาดขึ้นมาสัญญามันก็ถูก สัญญาตอนนี้วิปลาส ต่อไปไม่วิปลาส มันยอมรับความจริงว่า เออ.. ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เนี่ยหายวิปลาสแล้ว ขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์ นี่หายวิปลาสแล้ว ขันธ์ทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา หายวิปลาสแล้ว เพราะฉะนั้นสัญญาแขวนมันเอาไว้ก่อน

บางคนไปใจร้อนนะ พยายามไปดัดแปลงสัญญา เคยมีนะ คนหนึ่ง เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ เห็นสีเหลืองเรียกสีแดง สุดท้ายสติแตกเลย ไม่รู้จักสมมุติบัญญัติของโลกนะ ใช้ไม่ได้นะอย่างนั้นเพี้ยน อย่าไปทำอย่างนั้น

เราดูลงไปในสติปัฏฐานใช่มั้ย ท่านสอนเรื่องกาย เรื่องเวทนา เรื่องจิต เรื่องธรรม แต่ในธรรม (หมายถึง ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – ผู้ถอด) จึงค่อยมีตัวสัญญาอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นตอนนี้เว้นไว้ก่อน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

mp3 for download : รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ส่วนไม่ยากอะไร เฝ้ารู้ความปรุงไป ดูไป ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็มีแต่รูปกับนาม ให้หาอารมณ์อันใดอันหนึ่งนะ ที่เหมาะกับเรา จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมก็ได้ อะไรก็ได้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต

เรารู้กาย ยกตัวอย่างเช่นเรารู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแบบเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต ไม่ได้ไปเพ่งห้ามจิตเคลื่อนไปจากลมหายใจ ไม่ใช่ อันนั้นไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก รู้ลมหายใจพอเป็นเครื่องอยู่ของจิต รู้ไปเพื่อจะแผดเผากิเลส เรียกว่า อาตาปี ไม่ใช่รู้ไปเพื่อหาความสุขความสบาย รู้ไปเพื่อจะสู้กับกิเลส มีสัมปชัญญะ รู้ว่าเรารู้ลมหายใจนี้เพื่ออะไร มีสติ ไม่หลงลืมลมหายใจนี้

ถ้ารู้ไปเรื่อย.. ก็จะถอดถอนความยินดียินร้ายในโลกออก เรียกว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสะ ถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก ไม่ยึด

เพราะฉะนั้นเรารู้กายรู้ใจไปนะ รู้แบบเป็นเครื่องอยู่ ไม่ได้อยู่แบบเป็นคุกขังจิต ไม่ได้ห้ามจิตเคลื่อนไปจากร่างกาย ห้ามจิตเคลื่อนไปจากเวทนา ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งให้ว่าง ไม่ใช่ รู้เพียงแต่สักว่าอาศัยรู้เท่านั้นเอง เพื่อที่จะได้เห็นว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คำสอนของหลวงปู่มั่นที่บอกแก่หลวงปู่สุวัจน์

mp3 for download : คำสอนของหลวงปู่มั่นที่บอกแก่หลวงปู่สุวัจน์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไปเจอหลวงปู่สุวัจน์ (พระโพธิธรรมาจารย์ หลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ) หลวงปู่สุวัจน์ก็เคยเล่าว่า หลวงปู่มั่นสอนท่าน ท่านเข้าไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ได้ดูกายก็ไม่ได้ ให้ทำความสงบไว้ ทำสมถะ ทำสมถะก็เพื่อให้มีแรง ดูกายเพื่อให้เห็นจิต ดูจิตเพื่อให้รู้แจ้ง ท่านสอนกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าตัดตรงเข้ามารู้ถึงจิตถึงใจได้ ไม่เสียเวลา

ถามว่าถ้ารู้จิตแล้วจะรู้กายมั้ย จะปล่อยวางกายได้มั้ย ได้แน่นอน เพราะว่าผู้ที่ไปยึดกายก็คือจิต ผู้ที่จะปล่อยวางกายก็คือจิต ทีนี้บางท่าน ท่านดูกายไป ท่านเห็นกายนี้เป็นของไม่ดี เป็นตัวทุกข์อะไรอย่างนี้นะ ก็ปล่อย

แต่ถ้าดูจิตนะ จะเห็นว่าถ้าจิตไปยึดกาย จิตจะทุกข์ อย่างนี้ก็ปล่อยเหมือนกัน ก็เลิกยึดเหมือนกัน มองมาจากคนละด้านนะ เพราะมันอิงอาศัยกัน ใครไปยึดกาย ก็จิตนั่นแหละ เป็นผู้ไปยึด ทำไมจิตไปยึดกาย เพราะจิตมันโง่ มันโง่ได้ ๒ ด้าน

ด้านหนึ่งมันโง่เพราะมันไม่รู้ว่ากายเป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้ามาดูกายจะเห็นแจ้งว่ากายเป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยกาย อีกด้านหนึ่ง มันโง่ มันไม่รู้ว่าถ้ามันไปยึดกายแล้วมันจะทุกข์ ถ้ามันไม่โง่ตรงนี้นะ มันยึดกายหรอก มันก็ปล่อยกาย

เห็นมั้ยมันเดินได้นะ ถ้าภาวนาเป็นแล้วจะรู้เลย การปฏิบัตินั้นทำอะไรก็ถูกน่ะ ถ้าภาวนาไม่เป็นนะ ทำอะไรก็ผิดหมดน่ะ มันผิดหลักผิดเกณฑ์ไปหมด เพราะฉะนั้นจริงๆไม่ใช่ของยากของลึกลับพิศดาร ต้องแนวนี้เท่านั้น ต้องแนวนี้เท่านั้น อย่างนั้นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของอาจารย์แต่ละท่านๆไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พิจารณากายเพื่อให้เข้าถึงจิต

mp3 for download : พิจารณากายเพื่อให้เข้าถึงจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ :ครูบาอาจารย์นะ สมัยท่านหนุ่มๆ ส่วนมากท่านสอนเรื่องกาย พอสุดท้ายปลายทางก็ลงมาที่จิตทั้งนั้นเลย แต่ละองค์ๆที่เคยเจอ

ยกตัวอย่างหลวงปู่เทสก์นะ หลวงปู่เทสก์ท่านอายุมาก หลวงพ่อเข้าไปหาท่าน ท่านสอนแต่เรื่องจิตนะ หลวงปู่ดูลย์สอนแต่เรื่องจิตแล้ว อาจารย์มหาบัว ตอนที่เข้าไปท่านก็ไม่ค่อยสอนแล้ว ไม่ค่อยสอน หลวงปู่เหรียญไปหาท่านทีแรก ท่านพูดแต่กาย พุทโธพิจารณากาย หลังๆไปหาท่าน ท่านพูดแต่เรื่องจิต

แต่ไหนแต่ไร ไปที่อื่นๆก็จะได้ยินครูบาอาจารย์พูดเรื่องกายเยอะ จนวันหนึ่งหลวงพ่อก็เข้าไปถามหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ครับผมควรจะกลับไปพิจารณากายมั้ย เพราะไปที่ไหนๆนะ มีแต่ได้ยินครูบาอาจารย์พูด พุทโธพิจารณากายอยู่ตลอด ส่วนมากก็สอนอย่างนี้

หลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่า ที่เขาพิจารณากายก็เพื่อให้เข้าถึงจิต วัตถุประสงค์ของการพิจารณากาย ก็เพื่อให้เข้าถึงจิต ถ้าเข้าถึงจิตแล้วจะไปยุ่งอะไรกับกาย กายเป็นของทิ้ง จิตมันทิ้งไปเอง มันเห็นเลย กายนี้เป็นทุกข์ล้วน มันทิ้งของมันเอง นี่คือคำตอบ ที่หลวงปู่ดูลย์ท่านบอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File 550106
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนรุ่นนี้ฟุ้งซ่าน เหมาะกับการดูจิต

mp3 for download : คนรุ่นนี้ฟุ้งซ่าน เหมาะกับการดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : หน้าตาอย่างรุ่นพวกเรานี้ทำฌานยาก วันๆมีแต่ความฟุ้งซ่าน ระหว่างฟุ้งซ่านกับสงบ ระหว่างฟุ้งซ่านกับสงบ พวกเราเป็นแบบไหนมากกว่ากัน ใครฟุ้งซ่านมาก ยก(มือ)ซิ มีใครสงบมาก มีที่ไม่ยกมือเพราะกำลังหลับอยู่ กำลังนั่งฟังหลวงพ่อแล้วศรัทธาเลื่อมใส น้อมใจตามกระแสธรรม ตามไปไหนก็ไม่รู้…

เพราะฉะนั้นธรรมชาติของพวกเรารุ่นนี้ ฟุ้งซ่าน โอกาสที่จะนั่งสมาธิให้จิตสงบ เพื่อว่าจิตสงบแล้วจะมาดูกาย ยากมากเลย เป็นขั้นตอนที่ยาว ขั้นแรกเราไม่ผ่านเสียแล้ว แล้วถ้าสมาธิไม่พอ ดูกายไม่ได้ เพราะกายานุปัสสนา และเวทนานุปัสสนา เหมาะกับสมถยานิก เหมาะกับคนเล่นฌาน

ก็เมื่อพวกเรามันอัตคัดขาดแคลนสมาธิ จิตของเราฟุ้งซ่านมาก ก็ยังไม่ใช่ว่าสิ้นโอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน พระพุทธเจ้าไม่ใช่ธรรมดา ไม่ใช่สอนกรรมฐานอย่างเดียวเพื่อคนบางกลุ่ม ท่านเป็นสัพพัญญู ท่านเป็นภะคะวะโต ผู้จำแนกแจกธรรม ท่านก็มองคนจำนวนหนึ่งเหมือนกัน อย่างพวกเรานี้ก็อยู่ในสายตาของท่าน พวกฟุ้งซ่านนี่ พวกนี้จะให้นั่งสมาธิจนจิตได้ฌานแล้วมาดูกาย แล้วบรรลุมรรคผล ยากที่จะทำได้ ท่านก็มีกรรมฐานอย่างอื่นให้กับพวกเรานะ คือจิตตานุปัสสนา และธรรมานุปัสสนา

จิตตานุปัสสนาเนี่ย ดูความปรุงแต่งของจิต จิตเดี๋ยวก็โกรธเดี๋ยวก็ไม่โกรธ เดี๋ยวก็โลภเดี๋ยวก็ไม่โลภ เดี๋ยวก็หลงเดี๋ยวก็ไม่หลง เดี๋ยวฟุ้งซ่านเดี๋ยวหดหู่ เดี๋ยวมีสมาธิเดี๋ยวไม่มีสมาธิ ดูไป เดี๋ยวก็เข้าไปยึดอารมณ์เดี๋ยวก็ปล่อยออก อะไรอย่างนี้ ก็ดูไป

หรือธรรมานุปัสสนา เห็นกระบวนการของรูปธรรมและนามธรรม เช่น เห็นว่านิวรณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร โภชชงค์เกิดได้อย่างไร อริยสัจจ์ทำงานแบบไหน ปฏิจจสมุปบาททำงานอย่างไร เนี่ยเฝ้าดู เห็นกระบวนการทำงานของมัน

จิตตานุปัสสนา กับธรรมานุปัสสนา เหมาะสำหรับพวกวิปัสสนายานิก วิปัสสนายานิกหมายถึงว่า เราไม่ได้ทำฌานก่อน เราใช้จิตว่อกแว่กนี้ล่ะ มาปฏิบัติธรรม แทนที่จะไปบังคับจิตให้นิ่งแล้วไปดูกาย ให้เรารู้ทันความฟุ้งซ่านของจิตไป ถ้าเราคอยรู้ทันความฟุ้งซ่านของจิต ความฟุ้งซ่านจะดับ จิตจะสงบอัตโนมัติเลย ถ้าจิตไม่ฟุ้งซ่านจิตจะสงบ ก็มีเท่านั้น

ถ้าเรามีสติ รู้ทันจิตที่กำลังมีความฟุ้งซ่านอยู่ เมื่อใดสติเกิดเมื่อนั้นอกุศลจะดับ นี่เป็นกฎของธรรมะ เมื่อไรสติเกิดเมื่อนั้นอกุศลต้องดับ เพราะความฟุ้งซ่านเป็นอกุศล ถ้าสติเกิด คือเราระลึกได้ว่าในขณะนี้กำลังฟุ้งซ่านอยู่ ความฟุ้งซ่านจะดับทันทีเลย ทันทีที่ความฟุ้งซ่านดับ สมาธิก็จะเกิดขึ้น แต่ประเดี๋ยวก็จะฟุ้งใหม่ ฟุ้งใหม่รู้ใหม่ แล้วก็เกิดสมาธิอีกแว้บหนึ่ง สมาธิอันนี้ไม่ทรงอยู่นาน แต่มี มีสั้นๆเรียกว่า ขณิกสมาธิ

เพราะฉะนั้นเมื่อพวกเรานั่งสมาธิ ทำอัปนาสมาธิ ที่เข้าฌานไม่เป็น อุปจารสมาธิก็ทำไม่ได้ เราก็อาศัยสมาธิที่พวกเราพอจะทำได้ คือ ขณิกสมาธินี้แหละ อาศัยขณิกสมาธิมาเจริญปัญญา มาเห็นความจริงของจิตใจ มาเห็นการทำงานของจิตใจของเราเอง ดูมันไปเรื่อย สุดท้ายก็บรรลุมรรคผลนิพพานได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๕ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ทันกิเลส ต้องรู้ทันกิเลสที่กำลังครอบงำใจ

mp 3 (for download) : รู้ทันกิเลส ต้องรู้ทันกิเลสที่กำลังครอบงำใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : ของ(ชื่อโยม)สบายๆค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนนี้เป็นไง ขณะนี้สบาย?

โยม : มันสบายๆค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้ตัวเต็มที่หรือยัง?

โยม : ไม่เต็มที่ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไปกดไว้นะ มันคือการหัดรู้สภาวะนั่นแหล่ะ ถ้าเราเห็นสภาวะตรงตามความเป็นจริงก็ใช้ได้ เราเห็นถูกตัวก็ใช้ได้ เพราะในแต่ละขณะๆเนี่ย มีสภาวะธรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่มันมีตัวหลัก มีตัวเอกที่บงการพฤติกรรมของเรา

งั้นถ้าเรารู้ ก็รู้ตัวหัวโจกมัน แต่ละขณะๆจะมีหัวโจกของมัน หัวโจกนี้ถ้าแบบอภิธรรมเค้าจะเรียกว่าอธิปติปัจจัย ตัวซึ่งมันมีกำลังครอบงำตัวอื่นๆ งั้นเราหัดรู้ ถ้าเรารู้ตรง รู้ถูกนะ แล้วรู้ด้วยใจที่เป็นกลางนี่ ใจเราจะพัฒนาไป ถ้าเรารู้ผิดตัวก็ใช้ไม่ได้ เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้น ขณะนั้นจิตเกลียดความโกรธ ไม่เห็นว่าจิตกำลังเกลียดความโกรธ เห็นแต่ความโกรธ นี่ดูผิดตัวแล้ว ไม่ได้ดูตัวหลักที่กำลังบงการพฤติกรรมใจเรา คือความเกลียดไอ้ความโกรธตัวแรก ความเกลียดนั่นแหล่ะที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆเนี่ย ตัวนี้มีกำลังกล้า เราไปดูตัวเก่าซึ่งเป็นอดีตไปแล้ว นี่ดูผิดตัว หรือดูแล้วใจไม่ตั้งมั่น ดูแล้วไปเพ่งใส่มัน

เช่น พอเห็นความโกรธนะก็ไปจ้องมันด้วยความเกลียดชังนะ จ้องๆๆถลำลงไปรู้ ก็ใช้ไม่ได้ รู้แล้วไม่เป็นกลางก็ใช้ไม่ได้ งั้นพวกเราที่มาหัดเนี่ย หัดรู้สภาวะนะ ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้สภาวะถูกตัว ตัวที่กำลังมีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน แต่ละคนก็ต้องฝึกอย่างนี้แหล่ะ ที่หลวงพ่อคอยถามคอยอะไรนี้ ก็เพื่อจะดูว่าพวกเราดูถูกตัวไหม หลายคนดูผิดตัว เลยต้องถามว่าจิตขณะนี้เป็นยังไง อยากรู้ว่า(โยม)รู้ไหม ถ้ารู้ถูกต้องว่าจิตขณะนี้เป็นยังไง ดีหรือไม่ดีเนี่ย หลวงพ่อไม่ว่าซักคำ ใช้ได้ทั้งนั้นแหล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอังคารที่ ๑๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๒
File: 510415B.mp3
ระหว่างวินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูกิเลสเหมือนเห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน

mp 3 (for download) : ดูกิเลสเหมือนเห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : ช่วงหลังๆนี่ ผมรู้สึกว่าผมเพ่งจนแข็งเลยครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันเกิดจากอะไรดูออกไหม   

โยม : ไม่ทราบครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันอยากปฏิบัติ พอมันอยากปฏิบัตินะ มันลงมือจ้องเอาๆ อยากรู้ให้ชัดๆ

โยม : แล้วจะแก้ยังไงละครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้รู้ทันว่าอยาก อยากปฏิบัติขึ้นมานะ รีบรู้เลยว่าอยาก อยากปฏิบัติก็ผิดแล้วนะ แล้วไง คือถ้าเมื่อไหร่เราอยากปฏิบัติ เราจะลงมือทำ สิ่งที่เราทำนะเพราะความอยากคือการเพ่ง คือเราอยากรู้ให้ชัดๆ อยากรู้ให้ชัดต้องดูไม่ให้คลาดสายตา กลายเป็นการเพ่ง เพราะฉะนั้นให้มันเผลอไปก่อน แล้วรู้ว่าเผลอ ให้มันโลภไปก่อน แล้วรู้ว่าโลภ ให้มันโกรธไปก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้ความรู้สึกเกิดก่อน อย่าไปดักดูอย่าไปรอดู ถ้าดักดูรอดูจะกลายเป็นการเพ่ง

โยม : ผมกลัวจะโกรธแรงไปครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นน่ะเห็นไหมเราปฏิเสธ เราไม่อยากโกรธ แต่หลวงพ่อจะบอกให้อย่างนึง ถ้าคุณกดอยู่อย่างนี้เรื่อยๆนะ วันใดที่หมดแรงกด คุณจะโกรธอย่างรุนแรงเลย หรืออย่างบางคนข่มราคะไว้ตลอดเลย ราคะเกิดแล้วเพ่งเอาไว้ๆให้นิ่งเลยนะ ไม่ให้มีราคะ วันใดหมดแรงเพ่งนะ จะราคะรุนแรงกว่าคนธรรมดา คนใดจิตจะฟุ้งซ่านก็น้อมเข้าหาความสงบลูกเดียวเลย วันใดที่หมดแรงน้อม จิตจะฟุ้งซ่านมากกว่าคนทั่วๆไป มันคิดดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นการที่คุณภาวนา แล้วรู้สึกว่าความโกรธมันรุนแรง คุณลองสังเกตเถอะ ส่วนใหญ่รากเหง้ามันมาจากการที่เรากลัวว่าจะโกรธ เราก็เลยไปข่มเอาไว้ พอหมดแรงข่มมันก็โกรธแรง พอโกรธแรงเราก็ตกใจกลัว เราก็ยิ่งข่มให้มากขึ้นไปอีก งั้นการปฏิบัติเราก็จะข่มไปเรื่อยๆ เครียด งั้นคุณต้องใจถึงๆนะ เพราะงั้นที่คุณภาวนาอยู่โดยพื้นฐานใช้ได้แล้ว ใจมันเริ่มรู้ตื่นขึ้นมาได้แล้ว คุณอย่ากลัวไม่ดี ให้คอยรู้ไป คุณแค่ถือศีล ๕ ไว้ก่อน โกรธก็ได้นะ แต่ไม่ล้นออกมาทางกายและวาจา โกรธอยู่ในใจไม่กดมันเอาไว้ ดูความโกรธที่มันผุดขึ้นมา เหมือนหมาบ้าเหมือนเสือร้ายขึ้นมากระโชกโฮกฮากอยู่ในใจ ข้างนอกเราไม่ออกมา ออกมาแล้วผิดศีล เราถือศีลไว้ก่อน

โยม : ด่าก็ไม่ได้ใช่ไหมครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ด่าก็ผิดศีลสิ หลวงพ่อถึงบอกว่าศีล ๕ จำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัตินะ ถ้าเราทำแค่สมถะเนี่ย ศีลไม่เท่าไหร่หรอก เพราะว่าเราข่มจิตเอาไว้นิ่งๆ เราไม่ทำผิดศีลหรอก แต่ถ้าเราทำวิปัสสนาต้องถือศีลก่อน ต้องมีศีลรักษาไว้ก่อน เพื่อว่าเราจะไม่ทำผิดทางกายและวาจา แต่ในขณะที่ทางใจเนี่ย มันทำอะไรเราจะตามรู้ไปเรื่อยๆ เราไม่เก็บกดแล้วก็ไม่คล้อยตาม เก็บกดหมายถึงเราไปต่อต้านกิเลส คล้อยตามหมายถึงว่าเราถูกกิเลสครอบงำ เช่นมันโกรธขึ้นมาแล้วเราก็ไปด่าเค้า อันนี้เพราะถูกกิเลสครอบงำจิต จิตถูกโทสะครอบงำไปเรียบร้อยแล้ว หรือความโกรธเกิดขึ้นไปกดมันใหญ่เลย อันนี้เราปฏิเสธมัน เราไม่ชอบมัน เราต่อต้านมัน อย่าต่อต้านกิเลส แล้วก็อย่าคล้อยตามกิเลส ให้รู้กิเลส ทำใจของเราให้เหมือนเรือลำใหญ่ๆ จอดทอดสมออยู่ในแม่น้ำหรือในทะเล น้ำไหลผ่านเรือไปนะ เรือไม่ขวางน้ำ เหมือนใจไม่ขวางกิเลส ในขณะเดียวกัน เรือไม่ลอยตามน้ำ คือใจเราก็ไม่ลอยตามกิเลสไป เรามีสมอที่ทอดอยู่นะ คือมีสติอยู่ มีสติรู้กิเลสไหลผ่านมาก็รู้ กิเลสไหลผ่านไปก็รู้ เรารู้อยู่อย่างนี้ สติจะทำหน้าที่อารักขา คือสติจะทำหน้าที่คุ้มครองรักษาจิต ไม่ให้ถูกอกุศลครอบงำ เพราะฉะนั้นกิเลสเกิดขึ้น ให้คุณรู้ไป กิเลสมันมาแล้ว ดูเหมือนดูคนอื่น ดูเหมือนเห็นกิเลสของคนอื่น ดูเหมือนดูคนเดินผ่านหน้าบ้าน ดูเหมือนเห็นน้ำไหลผ่านข้างเรือไป ดูสบายๆไม่ใช่ไปต่อต้าน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันอังคารที่ ๑๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๒
File: 510415B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การรู้รูปปรมัตถธรรม ดูยาก ต้องทรงฌาน

mp3 for download : การรู้รูปปรมัตถธรรม ดูยาก ต้องทรงฌาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : การรู้รูปธรรมนั้นยากมากนะ ถ้าจิตไม่ทรงสมาธิพอนะ จะเห็นธาตุไม่ได้ ไม่มีกำลังที่จะเห็นธาตุ สมาธิอ่อนไป ก็เลยต้องเลี่ยงๆ ไปดูรูปยืนรูปนั่งรูปนอน รูปหายใจออกรูปหายใจเข้า รูปพวกนี้ไม่ถือว่าเป็นรูปแท้ด้วยซ้ำไป สิ่งที่เป็นรูปแท้ๆคือ ธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม ถ้าสมาธิไม่พอ ดูยาก จะดูเข้าถึงปรมัตถธรรมแท้ๆเลย ที่ถึงของแท้ๆเลย ที่เป็นรูปธรรม ดูยากมาก

นามธรรมนั้นดูง่าย ความโกรธเนี่ยเป็นนามธรรมอยู่อย่างชัดเจนแล้ว ไม่มีอะไรเคลือบแฝง ไม่มีอะไรปิดบัง ความโลภความหลง ความสุขความทุกข์ เป็นนามธรรมแท้ๆเป็นปรมัตถธรรม คนไทยโกรธกับคนจีนโกรธ ความรู้สึกอย่างเดียวกัน แต่อาการที่แสดงออกอาจไม่เหมือนกัน หรือฝรั่งโกรธ ก็ความรู้สึกอย่างเดียวกันกับคนไทยโกรธนั่นแหละ ความรู้สึกเหมือนๆกัน เป็นสากล หมาโกรธก็ความรู้สึกอย่างเดียวกัน แมวโกรธก็ความรู้สึกอย่างเดียวกัน ยักษ์มารโกรธก็ความรู้สึกอย่างเดียวกัน นั่นล่ะมันเป็นของจริง เป็นปรมัตถธรรมที่มีอยู่จริงๆ เราเฝ้ารู้รูปธรรมจริงๆก็ได้ รู้นามธรรมก็ได้

นามธรรมนั้นดูง่าย ลูกเล็กเด็กแดงก็รู้ว่าโกรธเป็นอย่างไร ก็รู้ว่าอยากเป็นอย่างไร รู้ว่าอิจฉาเป็นอย่างไร ดีใจเสียใจ มีศัพท์ทั้งหมดนะ ราวๆสามร้อยกว่าคำที่สะท้อนถึงความรู้สึก สามร้อยกว่าคำ กังวล กังวลกับกลุ้มเหมือนกันมั้ย ไม่เหมือนใช่มั้ย มีความเหลื่อมกันอยู่ใช่มั้ย ท้อแท้กับเบื่อเหมือนกันมั้ย มันจะมีดีกรีที่ต่างกันนะ เด็กๆยังรู้เลย เด็กๆยังรู้เลย เพราะฉะนั้นการรู้นามธรรมเป็นเรื่องเบสิคมากเลยนะ เขาเรียกอะไร ชิลด์ๆนะ ง่ายมากเลยนะ เรื่องเด็กๆ

แต่รู้รูปที่แท้จริง รู้ยาก ยากที่เราจะเห็นรูปที่แท้จริง เห็นธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลมไม่ใช่ง่ายนะ ในผม ๑ เส้น เนี่ย มีธาตุดินน้ำไฟลมครบเลย แถมยังตั้งอยู่ใน space ในอากาสธาตุ อากาสก็ไม่ใช่ air อากาสธาตุคือ space ช่องว่าง ที่บรรจุดินน้ำไฟลมเอาไว้ ดูยากนะถ้าสมาธิไม่พอ ในการที่จะดูกายจะทำได้ดีนั้น ต้องทำฌานเสียก่อน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๙ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการรู้นามธรรม (ดูจิต)

mp3 for download : วิธีการรู้นามธรรม (ดูจิต)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมย์ : หัดดูจิตดูใจ ก็จะเห็นเลย จิตมันเปลี่ยน เพราะตามันมองเห็นรูป จิตมันเปลี่ยนเพราะหูได้ยินเสียง เช่นตามองเห็นรูปอย่างนี้เกิดสุขเกิดทุกข์ เกิดกุศล-อกุศล หูได้ยินเสียงอย่างนี้เกิดสุขเกิดทุกข์เกิดกุศล-อกุศล จมูกได้กลิ่นจิตก็เกิดความรู้สึกสุขทุกข์กุศล-อกุศลได้

ยกตัวอย่างได้กลิ่นธูปกลิ่นอะไรอย่างนี้ รู้สึกอย่างไรได้กลิ่นธูป ต้องดูสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้ามาที่วัดได้กลิ่นธูปก็แหมเลื่อมใสศรัทธาอะไรอย่างนี้ แต่ถ้าอยู่บ้านแล้วอยู่ดีๆได้กลิ่นธูปก็ชักคิดหนักนะ ความรู้สึกมันเปลี่ยน

ให้คอยรู้ จะเห็นเลย ความรู้สึกทั้งหลายเกิดแล้วดับ ความรู้สึกทั้งหลายเกิดแล้วดับ นี่คือการรู้นามธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วันสุดท้ายแล้วของพวกเข้าคอร์ส รู้เรื่องบ้างมั้ย คนไหนติดสมาธินะ เราก็รู้ทันใจที่ติดสมาธิ ใจที่ติดสมาธินี้เป็นใจที่เราเข้าไปแทรกแซง เราเข้าไปควบคุม ยกตัวอย่างเรากลัวมันหลง เราพยายามไปเฝ้าเอาไว้ เรากลัวจะรู้ไม่ชัด เราก็ไปคอยจ้องคอยดูไม่ให้คลาดสายตา เราก็จะเกิดการเพ่งขึ้นมา บางคนก็มีทฤษฎีที่ผิดๆคิดว่าต้องเพ่งไว้ก่อน ถ้าไม่สงบแล้วเดินปัญญาไม่ได้

ที่คิดอย่างนั้น เพราะแยกไม่ออกว่าสมาธิมี ๒ ชนิด คือ สมาธิชนิดสงบกับสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่เราจะภาวนา เบื้องต้นน้อมใจให้ซึมให้นิ่งๆ แล้วคิดว่านี่คือความสงบเป็นสมาธิ จะได้เดินปัญญา สมาธิที่น้อมเข้าไปนิ่งไปซึมไปทื่ออยู่ ไม่ได้เอาไว้ใช้เดินปัญญาหรอก เอาไว้พักผ่อนเล่น สมาธิที่ใช้เดินปัญญานั้น จิตจะตั้งมั่น จิตจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ผู้ดู

สมัยก่อนหลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ ท่านชอบพูดคำว่า “จิตผู้รู้” หลังๆเราลืมคำว่า “จิตผู้รู้” ไป เรามีแต่จิตผู้เพ่ง ถ้าไม่เป็นจิตผู้เพ่งก็เป็นจิตผู้คิด จิตผู้เพ่งนั้นมันสุดโต่งไปข้างบังคับตนเอง จิตผู้คิดก็สุดโต่งไปข้างฟุ้งซ่าน หลงไปอยู่ในโลกของความคิด จิตผู้รู้นั้นไม่ใช่จิตผู้คิดไม่ใช่จิตผู้เพ่ง เป็นจิตที่หลุดไปในโลกของความคิด และก็เห็นปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

เราจะไม่เพ่งไปที่ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่จิตไปรู้เข้า แล้วเราก็ไม่เพ่งใส่ตัวผู้รู้ด้วย ถ้าเพ่งใส่ตัวผู้รู้ก็เป็นผู้เพ่งนะ ไปเพ่งใส่ปรากฏการณ์ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย รู้ลมหายใจก็ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ นี่ก็เป็นจิตผู้เพ่ง ไม่ใช่จิตผู้รู้

จิตผู้หลง จิตผู้หลงจิตผู้คิด มันถูกกิเลสยั่วก็เลยฟุ้งซ่านออกไป ไม่มีกระทั่งความสงบ ส่วนจิตผู้เพ่งมีความสงบนะแต่ไม่ตั้งมั่น เราจะต้องมาฝึกเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้รู้เนี่ยไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ มันทรงตัวสบายของมัน เป็นผู้รู้ผู้ดูสบายๆ

วิธีที่เราจะพัฒนาจิตผู้รู้ขึ้นมาก็คือหัดรู้ คอยรู้ทัน หาอารมณ์กรรมฐานขึ้นมาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็ได้ จะรู้ลมหายใจก็ได้ แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อจะน้อมจิตให้นิ่ง ไม่ใช่หายใจเพื่อน้อมจิตให้นิ่ง เราพุทโธเพื่อจะรู้ทันจิต เราหายใจเพื่อจะรู้ทันจิต คนไหนไม่ถนัดพุทโธไม่ถนัดรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบหรือทำกรรมฐานอะไรก็ได้ ไม่เลือกกรรมฐานหรอก

ไม่ว่าจะทำกรรมฐานอะไร จะดูท้องพองยุบหรือขยับมือทำจังหวะหรือพุทโธหรือลมหายใจหรือรู้อิริยาบถ ๔ รู้เวทนา บางคนก็เริ่มด้วยการรู้จิตไปเลย สำหรับบางคนดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ อะไรก็ได้นะ แต่ว่าไม่ว่าจะรู้อะไรก็รู้ทันจิต พุทโธแล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน พุทโธจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ทัน ฝึกอย่างนี้เรื่อย พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่งๆอยู่ก็รู้ทัน

ตรงที่พุทโธแล้วหนีไปคิดเนี่ย สุดโต่งไปข้างหลงข้างคิดข้างฟุ้งซ่าน พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่ง สุดโต่งไปข้างบังคับตนเองนะ เป็นความสุดโต่งสองฝั่ง ให้คอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันเราก็จะไม่สุดโต่งไปสองข้าง ก็จะเข้าทางสายกลาง หรือลมหายใจก็ได้ รู้ลมหายใจแล้วก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ หายใจแล้วจิตหนีไปคิดแล้วรู้ หรือหายใจไปแล้วจิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมไหลไปรวมอยู่ที่ลมหายใจไหลไปลงอยู่ที่ท้อง รู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไป ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้แล้วก็รู้ทันจิต บทเรียนอันนี้ชือว่า “จิตตสิกขา”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิต เหมาะกับคนที่ไม่ทรงฌาน

mp3 for download : ดูจิต เหมาะกับคนที่ไม่ทรงฌาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การดูจิตและธรรมานุปัสสนานี้ เหมาะกับวิปัสสนายานิก เดินปัญญาไปเลย สมาธิเกิดทีหลัง แต่ก็ต้องอาศัยสมาธิ เพียงแต่เป็นสมาธิในระดับขณิกสมาธิ ไม่ถึงฌาน

ขณิกสมาธิคือความตั้งมั่น(ของจิต)ชั่วขณะ ความตั้งมั่นชั่วขณะเป็นอย่างไร ความตั้งมั่นชั่วขณะก็คือ ในภาวะที่จิตกำลังหลงไปไหลไปแล้วเรามีสติรู้ทันจิตที่ไหลไป โดยเฉพาะไหลไปคิด ถ้าเรารู้ว่าจิตไหลไปคิด มีสติรู้ทันปั๊บ การไหลไปจะขาดสะบั้นในทันทีเลย และความไหลไปความหลงไปคิดนะ เป็นความฟุ้งซ่าน จิตมันฟุ้งซ่าน ทันทีที่สติระลึกรู้ความฟุ้งซ่านนะ ความฟุ้งซ่านดับอัตโนมัติ ก็จะเกิดจิตผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานขึ้นมา

ใหม่ๆพอรู้ตัวแว้บขึ้นมายังทำอะไรไม่เป็นนะ มันจะหายไป แล้วหนีไปคิดอีก รู้อีก หนีไปคิดอีก รู้อีก ฝึกตรงนี้ให้ชำนาญเลย ในที่สุดสมาธิที่เป็นขณิกะที่ว่าทีละขณะๆ จะเกิดถี่ขึ้นๆ เมื่อมันถี่มากๆนะ มันเหมือนจะทรงตัวอยู่ได้ ความจริงมันไม่ได้ทรงตัวแต่มันเกิดดับอย่างรวดเร็ว แต่มันเกิดดับต่อเนื่องกันแล้วมันเหมือนเดิม มันเป็นตัวรู้ ตัวรู้ๆ ทีละขณะ มันจึงเหมือนทรงตัวเด่นอยู่ได้ มีช่วงเวลาที่ยาวขึ้นแล้วที่จะรู้สึกตัวได้

ถ้ารู้สึกตัวได้อย่างนี้นะ ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไป เดี๋ยวก็เป็นจิตรู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตหลง เดี๋ยวเป็นจิตรู้ เดี๋ยวเป็นจิตคิด เดี๋ยวเป็นจิตรู้ เดี๋ยวเป็นจิตเพ่ง เนี่ยจิตเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดดับ เพราะฉะนั้นจิตตานุปัสสนาเนี่ย ไม่ได้เหมาะกับพวกที่ทรงฌานมาก่อนนะ เพราะถ้าหากทรงฌานมาก่อน มันจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงของจิตให้ดู มันจะนิ่งๆ อาศัยอย่างพวกเรานี่แหละ ก็ต้องอาศัยการดูจิตไป แต่ว่าเราต้องมาฝึกให้ได้จิตที่รู้สึกตัวก่อน จิตที่มีตัวรู้ทีละขณะๆ แต่ฝึกบ่อยๆ

วิธีฝึก ให้เกิดตัวรู้เป็นขณะๆบ่อยๆ ก็คือทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ ดูท้องพองยุบก็ได้ ทำจังหวะก็ได้นะ ขยับมือทำจังหวะ ถ้าจังหวะอย่างหลวงพ่อเทียนเราไม่ชอบ เราคิดจังหวะของเราเองก็ได้ หลวงพ่อไม่ได้ทำอย่างหลวงพ่อเทียน

หลวงพ่อเป็นโทสจริต ใจร้อน หลวงพ่อทำแค่นี้เองนะ อากาศร้อน หลวงพ่อทำกรรมฐานอย่างนี้ ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก พัดไป แหม..มันสบายใจ มีความสุขขึ้นมา รู้ว่าสบายใจ พัดไปพัดมา ฮึ แมลงวันมาอีกแล้ว อ๊ะ โมโหแล้วนะ โมโหแล้ว รู้ทันใจที่โมโห ตีขู่ ตีขู่มันนะ อย่าไปโดนตัวมัน บาป…

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
ไฟล์ 550525B
ระหว่างนาที่ ๕ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๔) เมื่อจิตตั้งมั่นถึงฐานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาได้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๔) เมื่อจิตตั้งมั่นถึงฐานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเราต้องมาฝึกนะ ให้จิตตั้งมั่นถึงฐานให้ได้ แล้วเราก็มาเจริญปัญญา มาทำวิปัสสนา

พอจิตตั้งมั่นแล้ว สติระลึกรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว มันจะเห็น ว่าร่างกายกับจิตเนี่ย เป็นคนละอันกัน เวลานี้คนที่ทำแบบนี้ได้ นับไม่ถ้วนแล้วนะ มีเยอะมากเลยนะ ที่ใจมันตั้งมั่นขึ้นมา มันเห็นร่างกาย ไม่ใช่ตัวเรา เป็นวัตถุธาตุที่เคลื่อนไหว

แต่มันยังเห็นได้เป็นขณะๆนะ บางทีก็เห็น บางทีก็ไปไหลไปรวมเป็นก้อนเดียวกัน ถ้าจิตกับกายไปรวมกัน จิตบวกกายจะได้อะไรรู้ไหม ได้กู จิตบวกกายจะกลายเป็นกู มันรวมกับขันธ์ มันรวมขึ้นเมื่อไหร่ มันจะเป็นตัวเราขึ้นมา ถ้าขันธ์มันแยกขึ้นมานะ ขันธ์ก็จะเป็นขันธ์เท่านั้นเอง กายก็ส่วนกาย แค่รูปธรรม เวทนา ความสุขทุกข์ กับกาย ก็คนละอันกัน เวทนากับจิต เวทนาคือความสุขความทุกข์ทั้งหลายเนี่ย กับกายก็เป็นคนละอัน กับจิตก็เป็นคนละอัน สัญญาคือความจำได้ ความหมายรู้ ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่จิตด้วย เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ความจำ ไม่ใช่จิตด้วย “สภาวะธรรมแต่ละอันๆจะกระจายตัวออกไปนะ ถ้าจิตเราตั้งมั่นจริงๆ”

บางคนซึ่งเคยเจริญสติเจริญปัญญา มาดีแล้วในชาติก่อนนะ ทันทีที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ย ขันธ์แตกตัวออกเลย จะเห็นว่ากายกับใจเป็นคนละอันเลย เห็นทันทีเลย แต่ถ้าบางคนถนัดดูจิต ก็จะเห็นว่า ความสุขความทุกข์กับจิต เป็นคนละอันกัน คนบางคนถนัดดูจิต เห็นว่ากุศลอกุศล เช่น ความโลภความโกรธความหลง กับจิต เป็นคนละอันกัน มันจะแยกกันนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212