Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เมื่อสติสมาธิปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแล้ว ไม่มีการแบ่งแยกสายของการปฏิบัติอีกต่อไป

mp3 for download :เมื่อสติสมาธิปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแล้ว ไม่มีการแบ่งแยกสายของการปฏิบัติอีกต่อไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ฝึกเอานะ ค่อยๆดูสภาวะ สภาวธรรมนี้แหละของจริง ดูให้เห็นความจริง คือเห็นไตรลักษณ์

การปฏิบัติในเบื้องต้นน่ะ มันมีสายโน้นสายนี้ สายพุทโธ สายอาณาปานสติ สายพองยุบนะ สายโคเอนก้า สายอะไรต่ออะไร สายหลวงพ่อเทียน-ทำจังหวะ เยอะแยะไปหมดเลย นั่นเป็นเบสิคหรอก มีสาย ถ้าทำเป็นแล้วเนี่ย สติตัวจริงเกิด สมาธิตัวจริงเกิด ปัญญา เดินปัญญาได้ สติก็อัตโนมัติ สมาธิก็อัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ สติ-สมาธิ-ปัญญาอัตโนมัติแล้ว ไม่มีสายอีกต่อไปแล้ว

บางทีสติก็ระลึกรู้กาย ก็เห็นความจริงคือไตรลักษณในกาย บางทีสติระลึกรู้ในเวทนา ก็เห็นความจริงในเวทนา-เวทนาคือความสุขทุกข์ทั้งหลาย บางทีสติระลึกรู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลในจิต ก็เห็นไตรลักษณ์ กุศลก็แสดงไตรลักษณ์ อกุศลก็แสดงไตรลักษณ์ บางทีสติระลึกรู้จิตที่เกิดดับทางทวารทั้ง ๖ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ก็เห็นจิตแสดงไตรลักษณ์

เราเลือกไม่ได้ว่าสติจะระลึกรู้กาย หรือระลึกรู้เวทนาคือความสุขทุกข์ ระลึกรู้สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว หรือระลึกรู้วิญญาณ-ความรับรู้-หรือจิตทีเกิดทางทวารทั้ง ๖ คือ เกิดที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ เราเลือกไม่ได้ สติเป็นอนัตตา-สั่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่มีสายอีกต่อไปแล้ว

ถ้าสติระลึกรู้กายก็จะเห็นอะไร เห็นไตรลักษณ์ในกาย สติระลึกรู้เวทนาก็เห็นไตรลักษณ์ในเวทนา สติระลึกรู้สังขารก็เห็นไตรลักษณ์ในสังขาร สติระลึกรู้วิญญาณคือตัวจิตเอง ก็เห็นไตรลักษณ์ในจิต

ถามว่าเห็นอะไร ไม่ว่าระลึกรู้อะไรก็เห็นไตรลักษณ์ นั่นแหละถึงจะเรียกว่า “วิปัสสนา” นะ เห็นกายไม่ใช่วิปัสสนา เห็นจิตไม่ใช่วิปัสสนา เพราะฉะนั้นสายกายสายจิตอะไรก็ยังไม่ขึ้นวิปัสสนานะ ต้องเห็นไตรลักษณ์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907B
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๓ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตไม่มีที่ตั้ง

mp3 for download : จิตไม่มีที่ตั้ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ :หลวงพ่อเคยถามหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ครับ จิตมันตั้งอยู่ที่ไหน ตอนนั้นคิดว่าจิตตั้งอยู่ที่หน้าอกนะ เห็นมันไหวๆขึ้นมาเรื่อย หลวงปู่ครับจิตตั้งอยู่ที่ไหน หลวงปู่ตอบซะหงายท้องเลย จิตไม่มีที่ตั้ง มันไม่ตั้งอยู่นานหรอก มันเกิดที่ไหนมันก็ดับตรงนั้นเลย มันไม่ตั้งอยู่อย่างนั้นหรอกนะ ไม่ใช่ว่าจะเอามาตั้งไว้ที่เดียว ถ้าเจตนาจะตั้งเอาไว้ที่เดียว กลายเป็นสมถะเลย เพ่งเอาไว้

เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วถ้าเราเห็นละเอียดนะ สติ สมาธิ เราพอนะ เราจะเห็นว่าจิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับ จิตเกิดที่หูแล้วก็ดับ จิตเกิดที่ใจแล้วก็ดับ

เรามาทดสอบจิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับดู ลองดูพระพุทธรูป ลองดูซิ รู้สึกมั้ย เราเห็นชัดอยู่แว้บเดียว แล้วก็จะเบลอร์ไป เอ้อ.. ดูเข้า เห็นมั้ยเราเห็นได้ชัดแว้บนึงนะ แล้วเราก็ต้องขยับตาใหม่ ดูใหม่ เห็นมั้ยว่าจิตที่เกิดที่ตา เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ อยู่เรื่อยๆนะ ไม่ใช่จิตมีดวงเดียวหรอก เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดที่ตานะ ก็เกิดขึ้นชั่วขณะเท่านั้นเอง ที่เราบอกว่าเรามองเห็นอะไรได้ชัดนั้น ความจริงมองหลายครั้งต่อกัน แล้วเราไปอาศัยความจำคือสัญญานั้นไปจำ

ลองไปมองหน้าตัวเองในกระจก เราจะพบว่าเราไปมองเป็นจุดเล็กๆนะ มองตาข้างซ้ายที มองตาข้างขวาที มองขยับไปขยับมา อาศัยสัญญาประกอบขึ้นมา จำหน้าขึ้นมา เป็นหน้ารวมๆขึ้นมา อาศัยสัญญาก็เลยเกิดเป็นตัวเราตัวเขา เป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายขึ้นมา ลำพังตาเห็นรูปนั้นไม่มีตัวมีตนอะไรขึ้นมาหรอก

หูได้ยินเสียงก็ได้ยินมาเป็นขณะๆ หูได้ยินเสียง หูไม่ใช่ว่าได้ยินเสียงหมาเสียงแมว เสียงคนเสียงพูด เสียงชมเสียงด่า ไม่ใช่ เสียงพระเสียงมาร ไม่ใช่ หูได้ยินเสียง เป็นเสียงสูงๆต่ำๆ ทุ้มๆแหลมๆอะไรก็แล้วแต่ อาศัยสัญญามาแปลเสียงแต่ละเสียงที่ต่อๆกัน ก็แปลความหมายออกมา หูได้ยินเสียงก็ได้ยินเสียงแล้วดับ ได้ยินเสียงแล้วดับนะ เกิดดับ เกิดดับ อยู่ที่หู กว่าจะฟังได้ประโยคหนึ่งนะ จิตเกิดดับอยู่ที่หูตั้งเยอะแน่ะ อาศัยสัญญาจำไว้ จำไว้พอสมควรแล้วก็ส่งสัญญาณเข้ามาที่ใจ มาประมวลผลที่ใจ การประมวลผลที่ใจนั้นจิตเกิดที่จิต เกิดอยู่ที่จิตใจของเรานี้ ไม่ได้เกิดที่ตาที่หูแล้ว

เนี่ยถ้าเราภาวนานะ แล้วสติสมาธิเราพอเราก็จะเห็นว่า จิตมันเกิดดับอยู่ทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ไหนดับที่นั่น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๑ ถึงนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่เนื่องกันหมด

mp3 for download : ไตรลักษณ์ เป็นสิ่งที่เนื่องกันหมด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ :>พวกเรามาหัดดูสภาวะไป ในขั้นของการเจริญปัญญาเนี่ย ดูสภาวธรรม รูปธรรมก็ได้นามธรรมก็ได้ เราดูแล้วจะเห็น สภาวะทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอันเดียวกันนะ มันเนื่องกันหมดแหละ ของไม่เที่ยงก็คือ ของมันมีแล้วมันก็ไม่มี ของที่มันมีอยู่ ก็บีบคั้นให้สลายตัว นี่ล่ะเป็นทุกข์ สิ่งทั้งหลายจะมี จะตั้งอยู่ หรือว่าสลายตัวไป ล้วนแต่บังคับไม่ได้ เป็นอนัตตา มันเนื่องกันหมด

เวลาเราพูดถึงรูปนะ เวลาดูรูป ตัวทุกข์เนี่ยจะเด่น รูปธรรมนั้นตัวทุกข์จะเด่น นามธรรมนะ อนิจจัง อนัตตา จะเด่น คนที่ทำกรรมฐานที่เหมาะแก่การดูรูปเนี่ย พระพุทธเจ้าท่านจะสอนเรื่องอายตนะให้ คนที่ทำกรรมฐานที่เหมาะกับการดูนาม พระพุทธเจ้าท่านจะสอนเรื่องขันธ์ ๕ ให้ มันก็อันเดียวกันนะ เป็นการแยกสิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” ออกเป็นส่วนๆ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

mp3 for download : การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : การดูจิตดูใจเรียกว่า จิตตนานุปัสสนา การดูกระบวนการทำงานของสภาวธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนา กรรมฐานเหล่านี้เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมาก เมื่อพวกเราเป็นพวกช่างคิด เรามาดูจิตดูใจตัวเอง การดูจิตนั้นไม่ต้องใช้สมาธิเยอะ ใช้สมาธิเป็นขณะๆไป เรียกว่าขณิกสมาธิ

วิธีทำให้มีสมาธิเมื่อเช้าหลวงพ่อบอกไปแล้วนะ รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไป รู้ทันจิตที่ไหลไป จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ตรงที่จิตตั้งมั่นขึ้นมาเนี่ย อย่าไปบังคับจิตให้นิ่ง จิตมีความสุขให้รู้ว่ามีความสุข จิตมีความทุกข์ให้รู้ว่ามีความทุกข์ จิตสงบให้รู้ว่าสงบ จิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตมีราคะให้รู้ว่ามีราคะ จิตมีโทสะให้รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีราคะก็รู้ จิตไม่มีโทสะก็รู้ จิตหลงไปก็รู้ จิตรู้สึกตัวอยู่ก็รู้ เนี่ยคอยดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อย

การดูความเปลี่ยนแปลงของจิตนั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิลึกๆ คนที่นั่งสมาธิลึกๆเนี่ย ดูจิตยาก มันจะไม่มีอะไรให้เปลี่ยน จะนิ่งๆ เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจเนี่ย เหมาะสำหรับพวกที่เข้าฌานไม่เป็น แต่ถ้าพวกที่ดูจิตแล้วเข้าฌานเป็น จะไปสู่จุดสุดยอดอีกเรื่องหนึ่ง สามารถไปเดินปัญญาในสมาธิได้ พวกดูกายเก่งๆเนี่ย เจริญปัญญาในสมาธิไม่ได้ ต้องดูจิตเก่งๆ ทำสมาธิและปัญญาควบกันได้

ดูกายเก่ง ต้องทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาดูกาย แต่ถ้าจะทำสมาธิและปัญญาควบกัน ถ้าทำสมาธิรู้ลมหายใจแล้วจิตรวมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง มีเอกัคคตา รู้ทันจิตที่เข้าไปจับแสงสว่าง ก็ปล่อย ไม่จับ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร จิตทวนกระแสเข้าหาตัวรู้ และตั้งมั่นอยู่ ปีติเด่นดวงขึ้นมา ในขณะนั้นมีทั้งปีติมีทั้งสุขมีทั้งเอกัคคตาอยู่ด้วยกัน แต่ปีติจะเด่น ใจเนี่ยเด่นดวงตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่ แต่ปีติเด่น สติระลึกรู้ลงไปที่ปีติ เห็นปีติดับไป เนี่ยเขาทำวิปัสสนาในสมาธิ เขาดูองค์ฌานที่เกิดดับ องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยไม่ใช่กาย องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยเป็นเรื่องของนามธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพวกที่ดูจิตได้นะ จะไปเดินปัญญาในฌานได้

แล้วถ้าดูจิตจนชำนิชำนาญจนถึงระดับที่เป็นพระอริยบุคคล แล้วถ้าตายไปนะ ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ไปเกิดในพรหมโลก แล้วเข้าฌานเก่งมากเลย ได้ฌานที่ ๘ ด้วย ไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภูมิเป็นภพของเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภพของพรหมที่สูงที่สุด ในคัมภีร์สอนเอาไว้เลยว่า ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ชำนาญการดูจิตนะ จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ คนอื่นทำไม่ได้ ถ้าเป็นปุถุชนแล้วจะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องการดูจิต จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่เข้าอรูปฌานถึงขีดสุดไม่ได้ก็จะไม่ไปเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิด้วย

เพราะฉะนั้นการที่เราหัดดูจิตดูใจเนี่ยนะ พวกที่สมาธิมากก็ดูได้ พวกนี้จะสามารถไปเจริญปัญญาในฌานได้ ทำสมาธิและวิปัสสนาควบกัน พวกนี้ทำรวดไปได้ ไม่มีข้อจำกัดในภูมิอะไร ยกเว้นอันเดียว ภูมิอสัญญสัตตา ภพของอสัญญสัตตา พรหมลูกฟัก แต่ท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระอริยะทั้งหลายท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะไม่ไปอยู่ในพรหมลูกฟัก เสียเวลา

และถ้าเราดูจิตดูใจแต่ไม่ชำนาญจนถึงอรูป(ฌาน)นะ เราจะดูจิตในชีวิตประจำวัน ดูอยู่ข้างนอกอย่างที่พวกเรามีนี่แหละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศาสนาต้องให้คำตอบของชีวิตได้ ผู้คนจึงจะไม่ทิ้งศาสนา

mp3 for download : ศาสนาต้องให้คำตอบของชีวิตได้ ผู้คนจึงจะไม่ทิ้งศาสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : เห็นคนภาวนาดีๆเนี่ย เยอะเลย เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ที่ตัวเองรู้สึกได้ เคยทุกข์มากนะเหลือทุกข์น้อยลง เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นลง มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนามากขึ้น ยุคของเรานี้เป็นยุคที่คนทิ้งศาสนา คนมุ่งไปเอาความเจริญทางวัตถุกันหมด นี่จะว่าคนทิ้งศาสนาก็พูดยากนะ คือ..ถ้าหากศาสนาตอบคำถามของชีวิตเขาไม่ได้ ก็สมควรทิ้งหรอก เพราะไม่มีประโยชน์ คล้ายๆถ้ามีศาสนาแล้วก็เอาไว้เป็นที่รีดที่ไถนะ ไม่มีประโยชน์ หมดไปก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าหากศาสนาเนี่ยแก้ไขปัญหาชีวิตให้เขาได้ คนเข้าถึงเนื้อหาแท้ๆของศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ถ้าเราเข้าถึงเราเข้าใจ เราพ้นทุกข์ทันตาเห็น ไม่ใช่ทำไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วชาติต่อๆไปค่อยเห็น ต้องเห็นเดี๋ยวนี้ ศาสนาพุทธน่ะเป็นเรื่องปัจจัตตังนะ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ วิญญูชนรู้ด้วยตนเอง รู้ลงขณะปัจจุบันนี้แหละ ไม่ใช่วิญญูชนเชื่อไปเหอะ เชื่อไปก่อน ทำไว้แล้วชาติหน้าดี ไกลไป

นี่หลวงพ่อพยายามประกาศธรรมะที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในเวลาสั้นๆ แท้จริงธรรมะที่ประกาศเนี่ย เป็นธรรมะของเก่า ครูบาอาจารย์สอนต่อๆกันมา ไม่ขาดยุคขาดสมัยนะในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา หลวงพ่อเปลี่ยนบางอย่างไป เปลี่ยนภาษาไป เปลี่ยนภาษาให้คนรุ่นเราฟังรู้เรื่อง นอกจากเปลี่ยนภาษาแล้วก็มาเลือกวิธีการที่คนสมัยเรานี้จะรับได้ พระพุทธเจ้าเป็นธรรมราชา เป็นพระราชาของธรรมะ เป็นภควโต (อ่าน ภะคะวะโต – ผู้ถอด) เป็นผู้จำแนกแจกธรรม ธรรมะที่ท่านให้ไว้นะ มากมายมหาศาลเลย เหมาะกับจริตนิสัยกับคนต่างๆนานา ความกรุณาของท่านแผ่ไพศาล ท่านสอนธรรมะไว้มากมาย เพราะจริตนิสัยของคนนั้นแตกต่างมากมาย หลวงพ่อก็แค่มาดู ว่าธรรมะอะไรที่คนสมัยเราจะทำได้ง่าย

การปฏิบัติธรรมนั้น ถึงอย่างไรก็หนีการปฎิบัติธรรมไม่ได้ เพราะศาสนาพุทธนั้นเป็นกรรมวาที เป็นเรื่องที่ต้องทำ เป็นเรื่องของการกระทำ มีผลของการกระทำ เราอยากพ้นทุกข์เราก็ต้องลงมือปฏิบัติ ไม่มีฟลุ๊ค แต่การปฏิบัตินั้นมีตั้งหลายแบบ ใช้สมาธินำปัญญาก็มี ใช้สมาธิกับปัญญาควบกันก็มี ใช้ปัญญานำสมาธิก็มี

ในสมัยครูบาอาจารย์นั้น ท่านจะใช้สมาธินำปัญญามาก เพราะชีวิตท่านไม่มีความเร่งร้อนอะไร คนสมัยก่อนปีหนึ่งทำนา ก็รอเวลาไปเกี่ยวข้าว ข้าวสุกก็ไปเกี่ยวข้าว ชีวิตของพวกเราทุกวันนี้มีแต่ความเร่าร้อนรีบร้อนตลอดเวลา หาอยู่หากินกันวุ่นวายตลอดเวลา เราจะเอาเวลาที่ไหน เราจะเอากำลังใจที่ไหน มานั่งสมาธินานๆให้จิตมีความสุขความสงบ เพราะฉะนั้นกรรมฐานนั่งสมาธิมากนี้ ไม่เหมาะกับคนยุคเราแล้ว แต่ยังเหมาะกับคนบางคนที่เขาทำได้ เหมาะกับบางคน

เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำลายไปนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะต้องรักษาไว้ให้ครบเลย จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างคนรุ่นเราเป็นพวกคิดมากเยอะ เจริญทางวัตถุรุนแรง สิ่งที่มากระทบกับตาหูจมูกลิ้นกายใจรุนแรง ให้ไปนั่งสมาธิก็ไม่ไหวแล้วนะ คนโบราณไปหว่านข้าวไถนาเสร็จนะ มีเวลาก็นั่งสมาธิได้ทั้งๆวัน นั่งได้หลายๆวัน ไม่มีอะไรทำ คอยดูนกดูหนูไม่ให้มากินข้าวเท่านั้น เดินดูนก ไล่หนู อะไรอย่างนี้ ก็เจริญสติไปได้นะ ถึงเวลาก็เข้าใต้ต้นไม้นั่งสมาธิ ชีวิตไม่ได้เร่งร้อนอะไร

แต่เราทำไม่ได้แล้ว คนส่วนใหญ่ในยุคนี้ทำไม่ได้แล้ว ปากกัดตีนถีบอยู่ตลอดเวลา เราก็มีกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าท่านให้ไว้ที่เหมาะกับคนที่ทำงานที่ต้องใช้ความคิด พวกคิดมาก เรียกว่าพวกทิฎฐิจริต กรรมฐานที่เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต คือการดูจิตดูใจของตนเอง หรือดูสภาวธรรม ดูการทำงานของกระบวนการของธรรมะ ดูการทำงานของธรรมะ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม การดูจิตดูใจนั้นเรียกว่า “จิตตานุปัสสนา” การดูกระบวนการของสภาวธรรมเรียกว่า “ธรรมานุปัสสนา” กรรมฐานเหล่านี้เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

mp3 for download : รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ส่วนไม่ยากอะไร เฝ้ารู้ความปรุงไป ดูไป ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็มีแต่รูปกับนาม ให้หาอารมณ์อันใดอันหนึ่งนะ ที่เหมาะกับเรา จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมก็ได้ อะไรก็ได้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต

เรารู้กาย ยกตัวอย่างเช่นเรารู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแบบเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต ไม่ได้ไปเพ่งห้ามจิตเคลื่อนไปจากลมหายใจ ไม่ใช่ อันนั้นไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก รู้ลมหายใจพอเป็นเครื่องอยู่ของจิต รู้ไปเพื่อจะแผดเผากิเลส เรียกว่า อาตาปี ไม่ใช่รู้ไปเพื่อหาความสุขความสบาย รู้ไปเพื่อจะสู้กับกิเลส มีสัมปชัญญะ รู้ว่าเรารู้ลมหายใจนี้เพื่ออะไร มีสติ ไม่หลงลืมลมหายใจนี้

ถ้ารู้ไปเรื่อย.. ก็จะถอดถอนความยินดียินร้ายในโลกออก เรียกว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสะ ถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก ไม่ยึด

เพราะฉะนั้นเรารู้กายรู้ใจไปนะ รู้แบบเป็นเครื่องอยู่ ไม่ได้อยู่แบบเป็นคุกขังจิต ไม่ได้ห้ามจิตเคลื่อนไปจากร่างกาย ห้ามจิตเคลื่อนไปจากเวทนา ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งให้ว่าง ไม่ใช่ รู้เพียงแต่สักว่าอาศัยรู้เท่านั้นเอง เพื่อที่จะได้เห็นว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการรู้นามธรรม (ดูจิต)

mp3 for download : วิธีการรู้นามธรรม (ดูจิต)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมย์ : หัดดูจิตดูใจ ก็จะเห็นเลย จิตมันเปลี่ยน เพราะตามันมองเห็นรูป จิตมันเปลี่ยนเพราะหูได้ยินเสียง เช่นตามองเห็นรูปอย่างนี้เกิดสุขเกิดทุกข์ เกิดกุศล-อกุศล หูได้ยินเสียงอย่างนี้เกิดสุขเกิดทุกข์เกิดกุศล-อกุศล จมูกได้กลิ่นจิตก็เกิดความรู้สึกสุขทุกข์กุศล-อกุศลได้

ยกตัวอย่างได้กลิ่นธูปกลิ่นอะไรอย่างนี้ รู้สึกอย่างไรได้กลิ่นธูป ต้องดูสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้ามาที่วัดได้กลิ่นธูปก็แหมเลื่อมใสศรัทธาอะไรอย่างนี้ แต่ถ้าอยู่บ้านแล้วอยู่ดีๆได้กลิ่นธูปก็ชักคิดหนักนะ ความรู้สึกมันเปลี่ยน

ให้คอยรู้ จะเห็นเลย ความรู้สึกทั้งหลายเกิดแล้วดับ ความรู้สึกทั้งหลายเกิดแล้วดับ นี่คือการรู้นามธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วันสุดท้ายแล้วของพวกเข้าคอร์ส รู้เรื่องบ้างมั้ย คนไหนติดสมาธินะ เราก็รู้ทันใจที่ติดสมาธิ ใจที่ติดสมาธินี้เป็นใจที่เราเข้าไปแทรกแซง เราเข้าไปควบคุม ยกตัวอย่างเรากลัวมันหลง เราพยายามไปเฝ้าเอาไว้ เรากลัวจะรู้ไม่ชัด เราก็ไปคอยจ้องคอยดูไม่ให้คลาดสายตา เราก็จะเกิดการเพ่งขึ้นมา บางคนก็มีทฤษฎีที่ผิดๆคิดว่าต้องเพ่งไว้ก่อน ถ้าไม่สงบแล้วเดินปัญญาไม่ได้

ที่คิดอย่างนั้น เพราะแยกไม่ออกว่าสมาธิมี ๒ ชนิด คือ สมาธิชนิดสงบกับสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่เราจะภาวนา เบื้องต้นน้อมใจให้ซึมให้นิ่งๆ แล้วคิดว่านี่คือความสงบเป็นสมาธิ จะได้เดินปัญญา สมาธิที่น้อมเข้าไปนิ่งไปซึมไปทื่ออยู่ ไม่ได้เอาไว้ใช้เดินปัญญาหรอก เอาไว้พักผ่อนเล่น สมาธิที่ใช้เดินปัญญานั้น จิตจะตั้งมั่น จิตจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ผู้ดู

สมัยก่อนหลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ ท่านชอบพูดคำว่า “จิตผู้รู้” หลังๆเราลืมคำว่า “จิตผู้รู้” ไป เรามีแต่จิตผู้เพ่ง ถ้าไม่เป็นจิตผู้เพ่งก็เป็นจิตผู้คิด จิตผู้เพ่งนั้นมันสุดโต่งไปข้างบังคับตนเอง จิตผู้คิดก็สุดโต่งไปข้างฟุ้งซ่าน หลงไปอยู่ในโลกของความคิด จิตผู้รู้นั้นไม่ใช่จิตผู้คิดไม่ใช่จิตผู้เพ่ง เป็นจิตที่หลุดไปในโลกของความคิด และก็เห็นปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

เราจะไม่เพ่งไปที่ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่จิตไปรู้เข้า แล้วเราก็ไม่เพ่งใส่ตัวผู้รู้ด้วย ถ้าเพ่งใส่ตัวผู้รู้ก็เป็นผู้เพ่งนะ ไปเพ่งใส่ปรากฏการณ์ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย รู้ลมหายใจก็ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ นี่ก็เป็นจิตผู้เพ่ง ไม่ใช่จิตผู้รู้

จิตผู้หลง จิตผู้หลงจิตผู้คิด มันถูกกิเลสยั่วก็เลยฟุ้งซ่านออกไป ไม่มีกระทั่งความสงบ ส่วนจิตผู้เพ่งมีความสงบนะแต่ไม่ตั้งมั่น เราจะต้องมาฝึกเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้รู้เนี่ยไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ มันทรงตัวสบายของมัน เป็นผู้รู้ผู้ดูสบายๆ

วิธีที่เราจะพัฒนาจิตผู้รู้ขึ้นมาก็คือหัดรู้ คอยรู้ทัน หาอารมณ์กรรมฐานขึ้นมาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็ได้ จะรู้ลมหายใจก็ได้ แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อจะน้อมจิตให้นิ่ง ไม่ใช่หายใจเพื่อน้อมจิตให้นิ่ง เราพุทโธเพื่อจะรู้ทันจิต เราหายใจเพื่อจะรู้ทันจิต คนไหนไม่ถนัดพุทโธไม่ถนัดรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบหรือทำกรรมฐานอะไรก็ได้ ไม่เลือกกรรมฐานหรอก

ไม่ว่าจะทำกรรมฐานอะไร จะดูท้องพองยุบหรือขยับมือทำจังหวะหรือพุทโธหรือลมหายใจหรือรู้อิริยาบถ ๔ รู้เวทนา บางคนก็เริ่มด้วยการรู้จิตไปเลย สำหรับบางคนดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ อะไรก็ได้นะ แต่ว่าไม่ว่าจะรู้อะไรก็รู้ทันจิต พุทโธแล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน พุทโธจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ทัน ฝึกอย่างนี้เรื่อย พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่งๆอยู่ก็รู้ทัน

ตรงที่พุทโธแล้วหนีไปคิดเนี่ย สุดโต่งไปข้างหลงข้างคิดข้างฟุ้งซ่าน พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่ง สุดโต่งไปข้างบังคับตนเองนะ เป็นความสุดโต่งสองฝั่ง ให้คอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันเราก็จะไม่สุดโต่งไปสองข้าง ก็จะเข้าทางสายกลาง หรือลมหายใจก็ได้ รู้ลมหายใจแล้วก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ หายใจแล้วจิตหนีไปคิดแล้วรู้ หรือหายใจไปแล้วจิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมไหลไปรวมอยู่ที่ลมหายใจไหลไปลงอยู่ที่ท้อง รู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไป ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้แล้วก็รู้ทันจิต บทเรียนอันนี้ชือว่า “จิตตสิกขา”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ชีวิตอย่าปล่อยให้ล่วงเปล่าๆ ต้องปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ ปฎิบัติอะไร ก่อนจะลงมือปฏิบัติ ฝึกสติเสียก่อน ถ้ามีสติก็จะมีศีล มีสติก็จะมีสมาธิ มีสติก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญญา มีสติ ต้องฝึกสติ ถ้าขาดสติซะตัวเดียวเนี่ย ศีลสมาธิปัญญาหายหมดเลย งั้นต้องมาให้มีสติ

นี้ท่านสอนมาเป็นลำดับเลยนะ ที่จะไม่เนิ่นช้า มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เจริญสติ วิธีเจริญสติ สติเป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกาย เป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ สติเกิดจากถิรสัญญา “ถิร” คนไทยใช้คำว่า เสถียร คือมันมั่นคง มันหนักแน่น แน่วแน่นะ คือรู้อย่างถิรสัญญาหมายถึงว่า มันรู้อยู่ถี่ๆ รู้อยู่บ่อยๆนะ รู้จนรู้อัตโนมัติ รู้จนจิตจำสภาวะได้แม่น เรียกว่ามีถิรสัญญา

สัญญาเป็นตัวความจำ ถิรสัญญาคือจำได้แม่นยำ จำได้แม่นยำในสภาวะของกาย จำได้แม่นยำในสภาวะของใจ พอสภาวะทางกายเกิดขึ้น สติจะเกิดขึ้น พอจำสภาวะทางจิตได้แม่น เช่นจำได้ว่าโลภเป็นยังไง โกรธเป็นไง หลงเป็นไง พอความโลภเกิดขึ้น สติจะเกิดเอง จะระลึกขึ้นได้แล้วว่า ความโลภเกิดแล้ว ถ้าจิตจำความโกรธได้แม่น พอความโกรธเกิด สติก็จะเกิดเอง อ้อ ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว

พวกเราหัดรู้สภาวะให้มาก ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้สึกไป ร่างกายหายใจออก รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า รู้สึก ร่างกายคู้ ร่างกายเหยียด รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก ความสุขความทุกข์ในกายหายไป ก็คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์ความเฉยๆเกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก ความสุขความทุกข์ความเฉยๆดับไปจากจิตใจของเรา ก็รู้สึก มีกุศลเกิดในใจ ก็คอยรู้สึกนะ มีอกุศลเกิด โลภโกรธหลงเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ก็คอยรู้สึก แล้วจิตวิ่งไปที่ตา คอยรู้สึก จิตวิ่งไปที่หู คอยรู้สึก จิตวิ่งไปคิด คอยรู้สึก จิตวิ่งไปเพ่ง คอยรู้สึก

เนี่ยเราคอยรู้สึกอยู่ในกาย คอยรู้สึกอยู่ในใจอย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอร่างกายขยับ อย่างเรากำลังเผลออยู่ ขยับตัวปั๊บ ไม่ได้เจตนาขยับ เพราะร่างกายเราขยับอยู่ทั้งวันอยู่แล้ว กำลังเผลอๆอยู่ เกิดขยับตัวกริ๊กเดียวเท่านั้นเอง สติมาแล้ว รู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว รู้เลยเห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวอยู่ จิตมันเป็นคนดูขึ้นมา ตรงที่เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู ได้สมาธิมาแล้ว การมีสติฝึกให้มาก จำสภาวะให้แม่น แล้วสติจะเกิดเอง สตินั้นเป็นอนัตตา เช่นเดียวกับสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง จิตก็เป็นอนัตตา สั่งให้มีสติไม่ได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด สติไม่มีเหตุ สติไม่เกิด

เพราะงั้นเราต้องทำเหตุของสติ คือการหัดรู้สภาวะเนืองๆ จะจำสภาวะได้แม่น เช่นความสุขเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความทุกข์เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความโลภความโกรธความหลง เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย คอยรู้ ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหายใจ คอยรู้ คอยรู้สึกอยู่เรื่อยๆ แล้วสติจะเกิดเอง

ทันทีที่สติเกิดจิตจะเป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศล อย่างเรารู้ว่าความโกรธมา พอสติระลึกได้ปุ๊บนะ ความโกรธจะดับทันทีเลย ความโกรธหรือกิเลสทั้งหลายเนี่ย จะเกิดร่วมกับสติไม่ได้ กุศลกับอกุศลไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เหมือนแสงสว่างกับความมืดนั้น ไม่เกิดด้วยกัน แสงสว่างดับไป ความมืดก็ปรากฎขึ้น แสงสว่างปรากฎขึ้น ความมืดก็ดับไป อันนี้ก็เหมือนกุศลอกุศลทั้งหลาย กิเลสเหมือนความมืดนะ สติเหมือนแสงสว่าง ทันทีที่แสงสว่างเกิด ความมืดก็ดับไป มันจะไม่เกิดร่วมกัน

งั้นพอเราฝึกสติบ่อยๆเนี่ย กิเลสเกิดอะไรขึ้นที่จิต สติจะรู้ทันอัตโนมัติเลย โกรธแล้วนะ รู้ทันเลย โกรธ ความโกรธจะดับ เมื่อความโกรธดับ ศีลจะเกิดขึ้น เราจะไม่ทำผิดศีลเพราะความโกรธ ผิดศีลเพราะความโกรธทำอะไรได้บ้าง ไปฆ่าเค้าไปตีเค้าใช่มั้ย ไปทำลายทรัพย์สินเค้า ไปแกล้งขโมยของเค้า ไปลักขโมยเค้าเนี่ยไม่ใช่เกิดจากโลภอย่างเดียวนะ เกิดจากโกรธก็ได้ ทำลายทรัพย์สินเค้า ขโมยเค้า ไปเป็นชู้กับเค้าเพราะความโกรธก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพราะราคะ เกลียดไอ้คนนี้มาก ไปหลอกจีบลูกสาวมันจีบเมียมันอะไรงี้ เนี่ยทำผิดศีลได้ โกรธขึ้นมาก็ไปด่าเค้า หรืิอไม่ก็ไปพูดเพราะๆ หลอกให้เค้าเหลิง เสียผู้เสียคนไปเลยอย่างนั้นก็ได้ พูจเท็จด้วยความโกรธก็ได้ โกรธขึ้นมาไปกินเหล้าได้มั้ย กินเหล้าเนี่ยเป็นตัวรองแล้วนะ ตัวนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ขาดสติมากขึ้น

เพราะงั้นถ้าโกรธจริงๆ มันจะไปผิดศีล ๔ ข้อแรกนะ โลภขึ้นมาก็ผิดศีล ๔ ข้อได้ หรือโลภขึ้นมาไปกินเหล้าได้ ก็ผิดศีล ๕ ได้ หลงขึ้นมาก็ผิดศีลได้ทุกข้ออีกแหล่ะ เพราะงั้นถ้าเมื่อไหร่ กิเลสเกิดที่จิต เรารู้ไม่ทัน กิเลสครอบงำจิตได้ โอกาสทำผิดศีลเนี่ยจะมี ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทัน กิเลสดับไป โอกาสทำผิดศีลนั้นไม่มี เพราะงั้นถ้ามีสติ จะมีศีล


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

mp 3 (for download) : การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

การทำวิปัสสนา จะแยกโดยธาตุ โดยขันธ์ โดยอายตนะ ก็ได้

โยม : หลวงพ่อครับ รู้อย่างที่มันเป็น ครับ รู้อย่างที่มันเป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อกี๊ดี ตอนนี้ไม่ดี ตอนนี้กดแล้ว

โยม: แล้วก็ผมรู้สึกได้ว่าแต่ละส่วนของกายมันทำงานแตกต่างกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่

โยม : เวลาตาทำงานก็จะไม่เกี่ยวกับส่วนอื่น ท้องพองยุบก็จะไม่เกี่ยวกับแขนขา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงนี้ถึงเรียกว่าอินทรีย์ แต่ละตัวนะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตัวเอง ในขณะที่ทำงานด้วยตา ในขณะที่ตาดูตัวอื่นก็ไม่ใหญ่ ตาใหญ่ตัวเดียว ในขณะที่หูฟังใช่มั้ย หูก็เป็นใหญ่ ถึงเรียกว่าอินทรีย์มันเป็นใหญ่ในตัวของมันในกิจของมัน ขณะที่มันทำกิจของมันคนอื่นไม่เกี่ยว

โยม : แล้วมันก็แยกแต่ละส่วนออกไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูอย่างนั้นได้ การภาวนาน่ะนะจะแยกแบบไหนก็ได้ จะแยกเป็นขันธ์ก็ได้ เป็นธาตุก็ได้ เป็นอายตนะก็ได้ ของคุณมันจะแยกอายตนะ ตามันทำงานหูมันก็ทำงานใช่มั้ย จมูกลิ้นกายก็ทำงานอันนี้เราเรียกว่าแยกด้วยอายตนะ การทำวิปัสสนานะจะแยกเป็นขันธ์ก็ได้ เป็นธาตุก็ได้ เป็นอายตนะก็ได้คือแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นชิ้นๆ บางคนก็แยกเป็นขันธ์ เป็นขันธ์ ๕ เป็นรูป รูปนี่เป็นรูปเป็นตัววัตถุ เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเป็นฝ่ายนามธรรม มีรูปอยู่ ๑ อันแต่มีนามธรรม ๔ อัน งั้นคนไหนที่ชำนาญเรื่องดูจิตนะ มันจะไปแยกขันธ์ ๕ จะแยกสิ่งที่เป็นตัวเราออกมาเป็นลักษณะของขันธ์ ๕

โยม : แยกขันธ์ ๕ กับอายตนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนละอันกัน อายตนะมีตาหูจมูกลิ้นกาย อันนี้เป็นวัตถุใช่มั้ย มีใจเป็นนามธรรมอันเดียว อันนี้เหมาะกับพวกที่ถนัดที่จะรู้กาย มันจะไปแยกอายตนะออกมา ธรรมะแต่ละบทแต่ละบทท่านสอนคนที่แตกต่างกัน ขันธ์น่ะสอนกับพวกที่ชำนาญเรื่องดูจิต อายตนะสอนกับพวกชำนาญดูกาย มีอีกตัวนึงธาตุ ธาตุมี ๑๘ ธาตุ ตาหูจมูกลิ้นกายใจรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์ ความรับรู้หรือจิตหรือวิญญาณทางตาวิญญาณทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจเห็นมั้ย มีอย่างละ ๖,๖,๖ รวมแล้วเป็น ๑๘ เรียกว่าธาตุ ธาตุ ๑๘ ถ้าลองดูสิ จะมีรูปธรรมจำนวนมาก รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะเป็นตัวรูปธรรมใช่มั้ย ธรรมารมณ์มีทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม ตาหูจมูกลิ้นกายเป็นตัวรูปธรรม ใจเป็นนามธรรม วิญญาณคือการรับรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ๖ อันนี้เป็นนามธรรม งั้นแยกด้วยธาตุเนี่ยนะจะมีรูปจำนวนมากมีนามจำนวนมากเหมาะกับพวกที่เรื่องมาก พวกที่อยากรู้เยอะๆ งั้นกรรมฐานขอให้เราแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆได้ก็ใช้ได้แล้วล่ะ จะแยกโดยขันธ์ จะแยกโดยความเป็นธาตุ จะแยกโดยความเป็นอายตนะก็ใช้ได้

โยม : เราไม่ได้สร้างขึ้นมาเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราไม่ได้สร้าง ของคุณจิตมันเห็นจริงๆ ให้คุณเดินต่อไปนะ แต่ว่าใจตอนนี้มันล็อกมากไป นิ่งเกินไปถ้าปล่อยกว่านี้ได้มันจะพอดีเป๊ะเลย ดูไปแล้ววันนึงก็เห็นแล้วมันไม่มีตัวเรา ตาหูจมูกลิ้นกายไม่ใช่เราเห็นมั้ย มันทำงานเอง รู้สึกมั้ย เวลาที่มันทำงานมันก็ข่มขี่คนอื่นหายไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗
Track: ๑๑
File: 511108B .mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๒ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ ถ้าทำวิปัสสนาในฌานไม่ได้ ก็ถอยออกมาจากฌาน มาเดินปัญญาพิจารณากาย ไม่ควรไปดูจิตมาก แต่บางคนก็ดูจิตได้ หลวงพ่อพุธก็สอน ออกจากสมาธิมาแล้วดูจิตที่เปลี่ยนแปลง จิตเมื่อกี้สงบ ตอนนี้ไม่สงบ จิตเมื่อกี้มีปีติ ตอนนี้ไม่มีปีติ จิตตะกี้มีความสุข ตอนนี้ไม่มีความสุข ดูความเปลี่ยนแปลง ดูตอนออกจากสมาธิมาแล้ว อันนี้ก็ถือว่าเป็นสมาธินำปัญญาด้วยการดูจิต ถ้าเป็นสมาธินำปัญญาด้วยการดูกาย ก็เห็นกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ดูมันต่อไปเลย เห็นเลยไม่มีตัวเรา อย่างนี้ก็ได้

ถ้าเข้าฌานไม่ได้นะ ก็ใช้ปัญญานำสมาธิ ฝึกให้จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ทำได้หลายวิธีที่จิตจะเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทันก็ได้ พุทโธไปจิตไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ถ้าเรารู้ลมหายใจอยู่แล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน นี่ ทำอานาปานสติได้จิตผู้รู้ขึ้นมา

หรือหายใจไปเห็นร่างกายมันหายใจไป จิตมันไหลไปอยู่ที่ลม รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน รู้ทันจิตที่ไหล จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ พอจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้แล้ว คราวนี้ก็มาเดินปัญญาต่อ

ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูกาย ก็เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู จะรู้สึกเลยว่าร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา เห็นร่างกายพองยุบ จิตเป็นคนดู ก็รู้ว่าร่างกายที่พองยุบเพราะลมหายใจนั้นไม่ใช่ตัวเรา

ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิต จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาแล้ว หายใจไป หายใจไปแล้วมีความสุขก็รู้ หายใจไปแล้วมีความทุกข์ก็รู้ หายใจแล้วความสุขหายไปก็รู้ ความทุกข์หายไปก็รู้ ความสุขเกิดขึ้นก็รู้ ความสุขดับไปก็รู้ ความทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ ความทุกข์ดับไปก็รู้ อย่างนี้ก็ใช้ได้ ก็เป็น เวทนานุปัสสนา

อย่างตอนที่เรามีสติ เห็นร่างกายหายใจออก หายใจเข้า ใจเป็นผู้รู้ผู้ดู ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา นี่คือ กายานุปัสสนา ที่เป็นวิปัสสนา

หายใจไปแล้วจิตเป็นสุขขึ้นมาก็รู้ หายใจไปความสุขหายไปก็รู้ หายใจไปแล้วจิตมันทุกข์ขึ้นมา ไม่ได้เข้าฌาน หายใจบางทีก็เครียดๆ ไม่มีความสุข ก็รู้ทัน เห็นความสุขความทุกข์เกิดแล้วดับไป นี่คือ ทำอานาปานสติ แล้วก็มาถึงเวทนานุปัสสนา

หายใจไปแล้วจิตสงบก็รู้ หายใจไปแล้วจิตฟุ้งซ่านก็รู้ นี่ขึ้นมา จิตตานุปัสสนา

หายใจไปแล้วเห็นจิตมันปรุงแต่ง มันทำงานได้ เห็นรูปก็ส่วนรูป นามก็ส่วนนาม ขันธ์ ๕ แตกกระจายออกไป อันนี้ขึ้นเป็น ธัมมานุปัสสนา

หรือหายใจไปแล้วเห็นจิตใจเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงต่างๆนานา ก็เป็นธัมมานุปัสสนา

หายใจไปแล้วเวทนาเกิดขึ้น จิตมีความอยาก มีความยึดในเวทนา ความทุกข์ก็เกิดขึ้น เห็นอย่างนี้ก็เป็นธัมมานุปัสสนา

541106B.11m19-14m40

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

mp 3 (for download) : ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูอายตนะ ผิดได้ ๔ แบบ

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์: เราชอบตีความเพี้ยน ตีความเพี้ยนนะ ยกตัวอย่างบางคนหัดภาวนา เมื่อตามองเห็นรูป ท่านสอนอย่างนี้นะ เมื่อตามองเห็นรูป ความรู้สึกเกิดที่จิตน่ะ ความยินดียินร้ายเกิดที่จิต ให้มีสติรู้ทันนะ หน้าที่ของเราก็รู้ทันอย่างนี้นะ ไม่ใช่เมื่อตามองเห็นรูป เอาสติกำหนดไว้ที่จักษุประสาท จักขุประสาท เฉยๆ กำหนดอยู่ที่จักขุประสาท รู้จักมั้ย คือตัวที่รับภาพน่ะ ตัวเส้นประสาทที่รับภาพน่ะ

ถ้าจิตไปกำหนดไว้ที่จักขุประสาทเนี่ย ทุกอย่างจะนิ่งหมดเลย ไม่มีกิเลส เพราะอะไร เพราะจักขุประสาทเป็นรูป กิเลสไม่ได้อยู่ที่รูป แล้วก็จิตที่เกิดที่ตาที่เรียกว่าจักขุวิญญาณจิต จักขุวิญญาณจิตเป็นวิบากจิต เป็นจิตอัตโนมัติเกิดขึ้นธรรมดา หมาก็มี พระอรหันต์ก็มีนะ ไม่ได้ว่าท่านเทียบกับหมาหรอกนะ แต่หมายถึงว่าสัตว์ที่มีตาทั้งหมดน่ะ มันก็มีจักขุวิญญาณจิต แล้วจักขุวิญญาณจิตนี้ไม่มีกิเลสสักตัวเดียว ในขณะที่หมามองเห็นก็ไม่เกิดกิเลส ในขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมมองเห็นก็ไม่ได้เกิดกิเลส กิเลสเกิดตามหลังนั้นมาต่างหาก ถ้าเราเอาสติไปจ้องอยู่ที่ตานะ เอาสติไปจ้องอยู่ที่ประสาทหู จ้องอยู่ที่ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย กายะประสาท ทุกอย่างจะนิ่ง ไม่มีกิเลส

ไม่มีกิเลสไม่ใช่เพราะว่าไม่มีกิเลส ไม่ใช่เพราะว่าไม่มีอนุสัย แต่อนุสัยไม่มีโอกาสทำงาน เพราะไปเพ่งไว้เฉยๆ เพราะฉะนั้นมันคือการเพ่งรูปนะ มันคือการเพ่งรูป ถ้าเพ่งเข้าไปเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็ไม่มีกิเลสเกิดแล้วแหละ ในขณะที่เพ่งอยู่ไม่มีกิเลสหยาบๆขึ้นมาได้หรอก แต่มีกิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่ง กิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่งนั้นคือโลภะ และทิฏฐิ โลภะก็คือ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ ทิฎฐิก็คือคิดว่าทำอย่างนี้แล้วจะดี ทำอย่างนี้แล้วจะถูก เพราะฉะนั้นในขณะนั้นกิเลสครอบงำจิตอยู่แท้ๆเลย แต่ไม่รู้ไม่เห็นเลย

เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังมากนะในการเรียนกรรมฐานเนี่ย แค่ตามองเห็นรูปเนี่ยทำผิดได้ ๔ แบบ อย่างนี้จะมากกว่านี้ก็คงมีนะ แต่ภูมิปัญญาของหลวงพ่อรู้ได้แค่ ๔ แบบ ที่เห็นทำผิดอยู่

แบบที่ ๑ ไปกำหนดอยู่ที่รูป (ที่ตาเห็น) อันนี้ออกนอกเลย ไปกำหนดอยู่ที่รูป

อย่างที่ ๒ ไปกำหนดอยู่ที่จักขุประสาท ถามว่าตรงนี้จิตออกนอกมั้ย ออกนอกเรียบร้อยแล้ว จิตเคลื่อนไปที่จักขุประสาท จิตส่งออกนอกไปเรียบร้อยแล้ว ไปเพ่งจักขุประสาท

อย่างที่ ๓ นะ เอาสติไปจ่ออยู่ตรงผัสสะ ตรงที่มีการกระทบระหว่างตา รูป และความรู้สึก สิ่งที่เรียกว่าผัสสะนะ คือการประชุมกันของธรรมะ ๓ อย่าง คือ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน แล้วก็จิต เพราะฉะนั้นไปดักดูตรงการกระทบของสิ่งสามสิ่งนี้ ก็นิ่งเหมือนกัน

อย่างที่ ๔ ก็ไปเพ่งจิตที่เกิดขึ้นทางอายตนะ เพ่งจิตที่ไปเห็นรูป

เพราะฉะนั้นตรงนี้เพ่งได้ตั้ง ๔ แบบ เห็นมั้ย ทางที่ผิดนี้ละเอียดละออเลย ยิบยับไปหมดเลย ถ้าไม่เรียนให้ดีจะนึกว่าดี ว่าทำอยู่ตรงนี้แล้วเหมือนไม่มีกิเลส กิเลสไม่มีโอกาสเกิดต่างหาก แต่ว่ามันเกิดไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ส่งจิตไปดู แค่นั้นก็ส่งจิตออกนอกแล้ว คือเมื่อไรออกนอกจากการรู้นะ รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เมื่อนั้นออกนอกทั้งนั้นล่ะ แต่หลวงปู่ดูลย์ไม่ได้ห้าม

หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ธรรมดาจิตต้องออกนอกเพื่อจะไปรู้อารมณ์ เพียงแต่ออกนอกแล้วนะ พระอริยเจ้าทั้งหลายเนี่ย จิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ต่างกันตรงนี้เท่านั้นเอง ส่วน พระอริยเจ้า คำว่าพระอริยเจ้าของท่านเนี่ย หมายถึงพระอรหันต์ พระอนาคาฯก็ยังกระเพื่อมหวั่นไหวได้นะ หวั่นไหวในอะไรพระอนาคาฯ หวั่นไหวในรูปฌาน อรูปฌาน ยังยินดีพอใจในรูปฌาน อรูปฌาน ถ้าต่ำกว่าพระอนาคาฯนี้ จะยินดีในกาม ยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินดีในการคิดเรื่องกาม และก็ยินร้ายในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินร้ายในการคิดเรื่องกาม เพราะฉะนั้นจะมีความยินดียินร้ายเกิดขึ้นทั้งสิ้น

เพราะธรรมชาติของจิตต้องออกไปรู้อารมณ์ แต่เมื่อรู้อารมณ์แล้วเนี่ย เฉพาะพระอรหันต์จิตไม่ยินดียินร้ายไม่กระเพื่อมหวั่นไหว นอกนั้นกระเพื่อมหวั่นไหวอยู่ กระเพื่อมหวั่นไหวอยู่มีสติรู้ทันมัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ภาวนาดูจิตแล้วห้ามกระเพื่อมหวั่นไหวนะ เข้าใจผิดอย่างร้ายแรงเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๘
File: 530829B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

mp 3 (for download) : ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านสอนนะ รู้แล้วจบลงที่รู้นะ เราก็ฟังก็เพลินๆไปอย่างงั้นแหละ มันไม่จบหรอก รู้แล้วก็ปรุงแต่ง รู้แล้วหยุดไม่ได้หรอก มันยังไงก็ต้องปรุงแต่ง เพราะปัญญามันไม่พอ

บางคนก็อยากจะไม่ปรุงแต่งต่อ พอรู้อะไรแล้วก็รีบกำหนดลงไปเลย เช่น ตามองเห็นรูปกำหนดอยู่ที่ตาบ้าง กำหนดอยู่ที่รูปบ้าง กำหนดอยู่ที่ผัสสะบ้าง กำหนดอยู่ที่จิตทางตาบ้าง จิตก็นิ่งๆไปเลย เพราะจิตที่เกิดที่ตาก็เป็นอุเบกขา ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์อะไรอยู่แล้วโดยตัวมันเอง ก็คิดว่าดี จิตที่เกิดที่ตาเป็นวิบากจิต ไม่มีกุศล อกุศล ก็คิดว่าอยู่ตรงนี้แล้วดี ไปเพ่งอยู่ที่ตาบ้าง เพ่งอยู่ที่หูบ้าง เพ่งอยู่ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กายบ้าง เพ่งอยู่ จิตก็เฉยๆแล้วคิดว่าดี ตรงที่จงใจเพ่งนั่นแหละทำต่อเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่รู้แล้วจบลงที่รู้ รู้แล้วมีการแทรกแซง คือตามองเห็นรูปปุ๊บ เห็นหนอ นี่ แทรกแซงนะ คิดละ นี่คิดฟุ้งซ่านไปละ หรือไปเพ่งอยู่ที่จิตที่เกิดที่ตา ตอนที่ตากระทบรูปนี่เพ่งได้สี่แบบ นี่ไม่มีใครสอนนะ สอนเอง เพ่งอะไรได้บ้าง

อันหนึ่งเพ่งรูป อันที่หนึ่งนะ  เพ่งรูปที่ตาไปเห็น

อันที่สองเพ่งจักขุประสาท ประสาทตา เพ่งได้นะ เพ่งประสาทตา เพ่งรูปออกข้างนอก เพ่งประสาทตาอยู่ข้างใน เพ่งอายตนะ

เพ่งที่สามคือ จดจ่ออยู่ที่การกระทบ อยู่ตรงจุดกระทบ ตรงที่กระทบสัมผัสทางตา

อีกอันนึงเพ่งอยู่ที่จิตที่เกิดที่ตา ทำได้สี่แบบ

บรรดานักเพ่งทั้งหลายนะ หนีไม่รอดสี่อย่างเนี้ย  นี่หลวงพ่อสรุปมาจากการสังเกตตัวอย่างมากมายของผู้ปฏิบัติ มันก็ผิดอยู่อย่างนี้แหละ ซ้ำๆซากๆเหมือนๆกันหมดแหละ ตรงที่ไปเพ่งไว้นะก็คือแทรกแซงเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่รู้แล้วจบลงที่รู้ ถ้ารู้แล้วจบลงที่รู้ทำยังไง เช่น ตามองเห็นรูป ใจมันพิจารณาเลย ใจมันพิจารณารูปนี้ อุ๊ยนี่ผู้หญิงสวย จิตก็ทำงานตอนมีราคะ

นี่มันทำของมันเองนะ เราไม่ได้ทำ นี่แหละเรียกว่ารู้แล้วจบลงที่รู้ ไม่ใช่ตามองเห็นรูปปุ๊บ จ้องเลย ไม่รู้ว่ารูปอะไร นี่รูปเฉยๆ ไม่มีผู้หญิงผู้ชาย นี่แทรกแซง เพราะงั้นตามองเห็นรูป จิตรู้ว่านี่รูปผู้หญิงสวย จิตเกิดราคะ รู้ว่ามีราคะ รู้ว่ามีราคะแล้วทำยังไง ไม่ทำอะไร ก็ดูมันไปสิ ถ้าตามดูทุกอย่างที่กำลังปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตา นี่้แหละสักว่ารู้ ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง ถ้าเข้าไปแทรกแซงเมื่อไหร่ ไปพยายามล็อคมัน ไปพยายามห้ามมัน ไปพยายามรักษามัน

ผู้ปฏิบัตินะ อดแทรกแซงไม่ได้หรอก ชอบมาถามหลวงพ่อว่า “ทำยังไงแล้วหนูจะดี” ทำนั่นแหละแทรกแซง ทำไมไม่รู้เอาล่ะ “หนูควรจะยังไง ห้ามอะไรบ้าง อันไหนไม่ควร อันไหนควร” คิดมาก คิดมากยากนาน รู้ลงสิ รู้ลงปัจจุบันไป รู้ไปเรื่อยเลย จนปัญญามันแก่รอบขึ้นมา มันเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราว จิตมันเป็นกลางเอง

คราวนี้กระบวนการที่จิตทำงาน มันทำของมันเองนะ แต่พอตากระทบแล้วจิตพิจารณาแล้วแทนที่อกุศลจะเกิดนะ กุศลมันจะเกิดแทน สติปัญญามันจะเกิดขึ้นมาแทน ในชวนจิตมันจะกลายเป็นจิตที่เป็นกุศลขึ้นมา แต่บางทีก็อกุศลเกิด พออกุศลเกิดก็มีสติรู้ทันอีก จิตก็ขึ้นวิถีอันใหม่ ขึ้นวิถีใหม่ที่เป็นกุศล จิตก็หมุนๆๆๆไปเรื่อย

ดูเขาทำงานไปนะ ดูเขาทำงานไปเรื่อยๆ ดูเล่นๆไป วันนึงปัญญาก็แก่กล้าขึ้นมา เห็นทุกอย่างมันไหลไปเรื่อยๆ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไหลไปเรื่อยๆเหมือนดวงดาวโคจรอยู่ในท้องฟ้า ไหลไปเรื่อยๆ ไหลไปตามเหตุของมัน ไหลไปแง่ใดมุมใด ก็ไปตามหลักของมัน ตามกฎของมัน จิตใจก็ทำงานไปเคลื่อนไหวไป เราทำหน้าที่แค่รู้นะ รู้ไปเรื่อยไปวันนึงเห็นเลย มันไม่ใช่เราหรอก มันทำงานของมันได้เอง เห็นว่ามันไม่ใช่เราก็ได้โสดา เป็นพระโสดาบัน กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๙
Track: ๑
File: 520210A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

mp3 for download : ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นภาวนาไปนะ อย่าไปเพ่งใส่จิต ภาวนาแล้วก็รู้จิตแต่ละดวงๆนะ รู้โดยอาศัยรู้ผ่านเจตสิกบ้าง อาศัยผ่านอายตนะที่จิตมันเกิดดับอยู่บ้าง เราจะเห็นว่าจิตเองก็เกิดดับ ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ อาศัยรู้เจตสิก อาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ ก็จะเห็นจิตเกิดดับได้ ถึงวันหนึ่งก็จะแจ้ง จิตมันก็เกิดดับเหมือนกัน จิตก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน จิตก็เป็นทุกข์เหมือนกัน จิตก็เป็นอนัตตาเหมือนกัน

จิตจะเกิดที่ตา หรือเกิดที่หู หรือเกิดที่ใจ เราก็สั่งไม่ได้ ยกตัวอย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้สึกมั้ย บางทีมองหน้าหลวงพ่อ บางทีก็ตั้งใจฟัง บางทีก็สลับไปคิด ฟังไปคิดไปๆ เห็นมั้ยว่าจิตมันฟังบ้างจิตมันคิดบ้าง เลือกได้มั้ย เลือกไม่ได้ เนี่ยดูของจริงลงไปอย่างนี้ เห็นเลยมันเลือกไม่ได้ มันสั่งไม่ได้ จิตมันสุข หรือจิตมันทุกข์ ก็เลือกไม่ได้ใช่มั้ย จิตมันดีหรือจิตมันชั่วก็เลือกไม่ได้ ดูลงไปอย่างนี้ เราจะเห็นว่าแต่ละอันๆ มันเลือกไม่ได้เลย จิตมันเกิดดับ

เนี่ยเฝ้ารู้ลงไปนะ อย่างนี้เรียกว่าเราดูจิตตัวเองอยู่ ไม่ได้ดูลอยๆ เฉยๆ เป็นผู้รู้อยู่เฉยๆ แต่ดูโดยมันร่วมอยู่กับเจตสิก มันร่วมกับอายตนะ ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้มาช่วย ถึงจะเห็นว่าจิตแต่ละดวงนั้นเกิดแล้วดับทั้งสิ้น

เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ดูไปสบายๆ ดูไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็แจ้งขึ้นมานะ จิตไม่ใช่เรา ถ้าจิตไม่ใช่เรา จะไม่มีอะไรเป็นเราอีกแล้ว เพราะในบรรดาขันธ์ ๕ ทั้งหลายเนี่ย กายไม่ใช่เราดูง่ายที่สุดเลย ฝึกกับหลวงพ่อเดือนเดียวก็เริ่มเห็นแล้วว่า กายไม่ใช่เรา ฝึกว่าจิตไม่ใช่เรา ดูกันแรมปีนะ ดูกันไปเรื่อย อย่าไปท้อถอยนะ วันนี้ยังไม่เห็นไม่เป็นไร ดูไปเรื่อย

ต่อมามันจะเริ่มเห็นน่ะ บางวันก็เป็นเรา บางขณะเป็นเรา บางขณะไม่เป็นเรา เริ่มเห็นแว้บๆแล้ว ตัวเราเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วก็แว้บ..ก็หายไป แต่พอเผลอเมื่อไหร่นะ ก็รู้สึกว่าจิตเป็นเราขึ้นมาอีกนะ ต้องดูไปเรื่อยจนวันหนึ่งเกิดอริยมรรค โสดาปัตติมรรคตัดฉับเข้าให้ หลังจากนั้นจิตไม่เป็นเราอีกแล้ว ไม่มีเงาแห่งความเป็นเราเกิดขึ้นในจิตอีกต่อไป นี่ละแล้วเป็นสมุจฺเฉทปหานฺ* ฝึกเอานะ ฝึกเอา ไม่ได้ยากหรอก ง่ายสุดๆเลย ถูกเขาด่าแล้วโมโห รู้ว่าโมโหไป เห็นจิตมันโมโหไม่ใช่เราโมโห ดูอย่างนี้ เห็นร่างกายมันยืนไม่ใช่เรายืน แต่ไม่ใช่คิดเอานะ

หลวงพ่อพูดให้ฟังเนี่ยไม่ใช่พูดให้คิด แต่พูดนำร่องให้จิตของพวกเรา พวกเราเองมีหน้าที่ฝึกรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ อย่าเผลออย่าเพ่ง รู้สึกเรื่อยๆ รู้กายบ้างรู้ใจบ้าง รู้เล่นๆไป เดี๋ยววันหนึ่งจะเห็นเลย ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่เรายืนเดินนั่งนอน จิตที่สุขที่ทุกข์ที่ดีที่ชั่วไม่ใช่เราดีเราชั่วเราสุขเราทุกข์อะไร เห็นกายเห็นใจมันทำงาน

ที่พูดเนี่ยพูดนำร่องให้จิตมันฟัง มิใช่พูดให้พวกเราจำใส่สมองนะ จำใส่สมองไปแล้วกิเลสจะเอาไปกินหมดเลย พูดให้ฟังเล่นๆไปอย่างนั้นไม่ต้องซีเรียส ให้หัดมีสติรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ ดูมันทำงานไป ดูกายดูใจไป แล้วจิตที่มันเคยได้ยินธรรมะนำร่องไว้อย่างนี้ เดี๋ยววันหนึ่งมันจะเฉลียวมาเห็นเอง มันเฉลียวนะ ไม่ใช่ฉลาด มันเฉลียวมาเห็นเองว่า กายนี้ที่กำลังเคลื่อนไหวไม่ใช่เราหรอก จิตที่กำลังทำงานอยู่นี้ไม่ใช่เรา มันเห็นเองนะ

พวกเราก็มีหน้าที่รู้สึกตัว รู้กายรู้ใจ ไม่ลืมมันนาน ไม่เพ่งมันไว้ รู้สึกไป ส่วนธรรมะนี้หลวงพ่อก็พูดนำร่องให้จิตมันรู้ไว้นะ เดี๋ยววันหนึ่งมันจะเห็นด้วยตัวของเราเอง

เอ้า.. เชิญไปทานข้าว นิมนต์เลยครับ

*สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค
อ้างอิงจาก : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520418.mp3
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่