Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: ภาวนาเพื่ออะไร?

ภาวนาเพื่ออะไร?

ธรรมะในพระพุทธศาสนานี้
ล้วนแต่เพื่อเป็นการนำพาจิตให้พ้นจากกองทุกข์
ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่กับรูปนามใดๆ อีกเลย
และการจะไม่ยึดมั่นถือมั่นรูปนามใดๆได้ ก็ต้องมีสติมีจิตตั้งมั่น
รู้รูปนามไปจนแจ้งต่อความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ของรูปนาม
ซึ่งหากไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปนามได้
ไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
จิตก็จะไม่หลงไปปรุงแต่งกิเลสตัณหาขึ้นมาครอบงำจิตเองครับ
ส่วนปัญหาเรื่องราวต่างๆที่มากระทบในชีวิตประจำวัน
ก็ยังสามารถจัดการแก้ปัญหาไปตามวิถีทางของโลกได้ตามปกติครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: เมื่อนักภาวนาต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ

เมื่อนักภาวนาต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ

ขณะทำงาน กายเคลื่อนไหวก็หัดรู้ไป จิตเป็นอย่างไรก็หัดรู้ไป
ถ้าทำงานเหนื่อยก็ให้หยุดพักตามโอกาสบ้างนะครับ
แต่ถ้าพักไม่ได้ ก็ต้องทนดูไปตามที่เป็นนั่นแหละครับ

เป็นชาวเมืองก็แบบนี้แหละครับ
ไหนจะต้องดูแลครอบครัว ไหนจะต้องทำมาหากิน วันๆเหนื่อยแทบขาดใจ
แต่ถ้ารู้จักที่จะหัดดูร่างกายตัวเองเคลื่อนไหว
หัดดูจิตใจที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตามเรื่องตามราว
ก็พอจะเกิดสติได้ จิตตั้งมั่นได้เป็นขณะ  หากอาศัยจิตที่มีสติตั้งมั่นเป็นขณะ
มาใช้เรียนรู้กายใจที่แสดงความเป็นไตรลักษณ์อยู่ทุกขณะ
ก็สามารถเกิดปัญญาได้ครับ (อดทนภาวนาต่อไปนะครับ)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: ขอเชิญร่วมกิจกรรม “สนทนาประสาฆราวาส”

ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรม “สนทนาประสาฆราวาส” กับ อ.สุรวัฒน์  เสรีวิวัฒนา

ในวันเสาร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.

ณ บ้านหนังสือ ชินเขต ๑

ซอยงามวงศ์วาน ๔๓ (ชินเขต ๑) แยก ๑/๑
ถนนงามวงศ์วาน
เขตหลักสี่ กทม.
(ใกล้เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน)
—————————————————–
บ้านหนังสือ ชินเขต ๑
โทร ๐๒-๕๘๙-๘๔๑๐
http://www.baannungsuea.com/

แผนที่เดินทาง
http://www.baannungsuea.com/map.php

รถประจำทางสาย ๒๔  ๑๓๔  ๖๓  ๕๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: นักภาวนาเลี้ยงลูกกับการดูจิต

นักภาวนาเลี้ยงลูกกับการดูจิต

การที่เราต้องทำหน้าที่ของแม่ ต้องเลี้ยงดูลูก
เราจะมีสภาวะทางใจเกิดขึ้นมากมายให้เราหัดรู้หัดดู
การหัดดูจิตที่เปลี่ยนแปลงเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งเลี้ยงลูก
ก็จะเห็นว่า เดี๋ยวจิตก็เผลอไป เดี๋ยวจิตก็กังวล เดี๋ยวจิตก็หงุดหงิด
เดี๋ยวจิตก็สุข เดี๋ยวจิตก็ทุกข์ ฯลฯ
เมื่อเห็นจิตเกิดดับได้บ่อยๆ ก็ง่ายที่จะเกิดปัญญาได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: การพิจารณา และการหลงดูอาการของจิต

การพิจารณา และการหลงดูอาการของจิต

พิจารณาคือการมีสติ มีความตั้งมั่น ในการ “รู้”สภาวธรรม
เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นตามจริงหรือเห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม (กายใจ)

หลงดูอาการของจิต คือการที่จิตถลำออกไปรู้อาการของจิต
จิตที่ถลำออกไปจะไม่มีความตั้งมั่น ทำให้ไม่สามารถเห็นจิตเป็นไตรลักษณ์ได้
บางคนก็หลงไปดูว่า ลักษณะต่างๆ ของจิตที่ไม่ใช่ไตรลักษณ์
เช่นไปดูว่า ความโกรธเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โกรธแล้วใจสั่น ฯลฯ
ซึ่งการดูอย่างนี้ จะได้ความรู้เรื่องจิต แต่จิตไม่มีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: การดูกายของนักดูจิต

อ.สุรวัฒน์ ไขปัญหาดูจิต : การดูกายของนักดูจิต

อ.สุรวัฒน์ ไขปัญหาดูจิต : การดูกายของนักดูจิต

การดูกายของนักดูจิต
การดูกาย ก็คือการหัดรู้สึกว่ามีร่างกายกำลังขยับเขยื่อนเคลื่อนไหว
ไม่ใช่เพ่งจ้องลงไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นการรู้สึกโดยรวม
เช่นขณะกำลังยกแขน ก็ให้รู้สึกว่าร่างกายมีการเคลื่อนไหว
ไม่ใช่ไปคอยจ้องดูแขนที่ยกครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: หัดรู้สภาวะ

หัดรู้สภาวะ

การหัดรู้สภาวะ รู้รูปรู้นาม (รู้กายรู้ใจ)
ก็ต้องให้มีสภาวะเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงหัดรู้สภาวะที่กำลังเกิดหรือที่เพิ่งดับไป
อย่างเช่น ต้องเกิดสภาวะจิตไหลไปคิดก่อน
แล้วจึงจะรู้ว่า เมื่อกี้จิตไหลไปคิด
ส่วนถ้าจิตนิ่งๆอยู่ จิตที่นิ่งๆ นั่นแหละที่เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น
ก็ให้หัดดูจิตที่นิ่งๆ ไปครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: ความรู้สึกตัว

ความรู้สึกตัว

รู้สึกตัว ก็คือรู้สึกว่ามีตัวเองอยู่ในโลกนี้ รู้สึกว่าจิตใจตัวเองเป็นอย่างไร
ไม่หลงลืมร่างกาย ไม่หลงลืมเพลิดเพลินไปตามอารมณ์ทางใจ

ถ้าไม่รู้สึกตัวก็จะไม่รู้สึกเลยว่ามีตัวเองอยู่
แม้จะเดินอยู่ก็ไม่รู้สึกเลยว่ามีตัวเองกำลังเดิน
พอนึกได้ก็จะกลับมารู้สึกว่ามีตัวเองได้อีก

ที่ว่ารู้สึกตัวอยู่ตลอดนั้น จริงๆก็ไม่ตลอดเวลา
แต่จะรู้สึกตัวสลับกับไม่รู้สึกตัวไปเรื่อยๆ
พอรู้สึกตัวก็รู้สึกมีร่างกายเคลื่อนไหว มีร่างกายในอิริยาบทต่างๆ
รู้สึกได้ว่ามีร่างกายกำลังยืน เดืน นั่ง นอน กิน ดื่ม  ฯลฯ
หรือพอรู้สึกตัวก็มารู้สึกว่าจิตใจยินดี ไม่ยินดี มีโทสะ ไม่มีโทสะ ฯลฯ
ส่วนตอนที่ไม่รู้สึกตัวก็แล้วไป นึกได้ว่าเมื่อกี้ไม่รู้สึกตัวได้เมื่อไหร่
ก็มาหัดรู้สึกตัวเอาเมื่อนั้นครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: เมื่อจิตไม่ตั้งมั่นและไม่สามารถเดินปัญญาได้

เมื่อจิตไม่ตั้งมั่นและไม่สามารถเดินปัญญาได้

หากดิ้นรนทำให้จิตเป็นไปตามที่อยากให้เป็น ก็ผิดแล้วครับ
ให้หัดรู้สึกตัวไป หัดปฏิบัติตามรูปแบบไป (นั่งไม่ได้ก็เดินหรือจะนั่งเก้าอี้ก็ได้)
ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆสังเกตไปว่า รู้อย่างไรแล้วจิตเกิดสติง่าย มีกำลังตั้งมั่น
ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆสังเกตไปว่า รู้อย่างไรเดินปัญญาได้
ไม่ใช่อยากให้จิตตั้งมั่น อยากเดินปัญญา แล้วก็ดิ้นรนหาทางทำนะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: การเดินจงกรม

การเดินจงกรม

เดินจงกรม หมายถึง เดินอย่างมีสติ รู้สึกถึงร่างกายที่กำลังเดินอยู่ครับ
เวลาเดินก็เดินไปตามปกติเหมือนที่เดินในชีวิตประจำวันนั่นแหละครับ
แล้วก็แค่หัดรู้สึกไปสบายๆ ว่า
มีร่างกายกำลังเดิน แล้วก็สลับกับรู้สึกว่าเผลอลืมกายไป
เดินแบบนี้เป็นการเดินแบบทำวิปัสสนาครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: ช่วงโดนกิเลสกระหน่ำ ดูจิตอย่างไร

ช่วงโดนกิเลสกระหน่ำ ดูจิตอย่างไร

จริงๆก็ไม่มีอะไรหรอก การภาวนาก็เป็นแบบนี้เอง
บางครั้งก็มีสติรู้สภาวะได้ดี บางครั้งก็ถูกกิเลสลากไปลงทะเลซะงั้น
ไม่มีใครภาวนาแล้วมีแต่ดี ดี ดี ได้ทุกๆวันหรอกครับ
ที่สำคัญคือ พอไม่ดีก็ไม่ต้องดิ้นรนทำให้ดี แค่ให้รู้ไปตามที่เป็น
แล้วก็หัดดูจิตที่ดิ้นรน ไม่ชอบ ไม่อยากให้จิตมีกิเลส
หัดดูมากเข้า จิตก็จะเป็นกลางต่อกิเลสได้มากขึ้นเองแหละครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: จิตผู้รู้ในการดูจิต

จิตผู้รู้ในการดูจิต

การที่จิตแยกออกมาเป็นผู้รู้นั้น ต้องแยกออกมาเองนะครับ
ไม่ใช่ว่าเราจะไปจงใจหรือเจตนาที่จะทำขึ้นมา
ถ้าแยกออกมาแบบจงใจทำให้แยก จะเป็นผู้รู้ตัวปลอม
ผู้รู้ตัวปลอมนี้ใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้ครับ

เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปพยายามแยกจิตออกมา
แต่ให้มีสติ หัดรู้กายหัดรู้ใจไป แล้วเมื่อจิตมีกำลังตั้งมั่นจิตจะแยกออกมาเป็นผู้รู้เอง

สำหรับผู้ที่ใช้การเจริญสติโดยไม่ได้ทำสมถะเต็มรูปแบบจนได้ฌาน

จิตจะแยกออกมาเป็นผู้รู้ได้เองเพียงชั้วขณะเท่านั้น จะไม่แยกออกมาตั้งมั่นได้นานๆ

แต่ก็เพียงพอที่จะเดินปัญญาได้

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: เมื่อจะเริ่มฝึกสติ

เมื่อจะเริ่มฝึกสติ

เมื่อจะเริ่มฝึกสติ หรือเริ่มหัดเจริญสติ
ให้ตั้ง “เจตจำนง” ว่า จะรู้ว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งปรากฏอยู่ในความรู้สึก
(เช่น ลมหายใจ กายเคลื่อนไหว จิตที่เผลอหลงไป ฯลฯ)

นี่แหละคือ การเเริ่มฝึกเจริญสติด้วยรูปแบบต่างๆ

การตั้ง “เจตจำนง” ว่า จะรู้ว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งปรากฏอยู่ในความรู้สึก นี้เอง
ที่จะทำให้ หลังจากลืมรู้สึกถึงสิ่งนั้นไป
(อาจเพราะมัวไปสนใจสิ่งอื่นๆทั้งแบบเจตนาหรือไม่เจตนา)
ไม่นานก็จะนึกขึ้นได้ ระลึกขึ้นได้ รู้สึกขึ้นได้ว่า
มีสิ่งที่ได้ตั้งเจตจำนงที่จะรู้ กลับมาปรากฏขึ้นในความรู้สึกอีกครั้ง

“เจตจำนง” นี้เอง คือจุดเริ่มต้นของการเจริญสติ
เมื่อสติเจริญขึ้นจนมีกำลังมากพอ ต่อไปการระลึกรู้ก็จะเกิดบ่อยขึ้นๆ
แล้วก็ขยายขอบเขตไปสู่การระลึกรู้สิ่งอื่นๆ
อะไรๆ ที่เกิดขึ้นทางกายทางใจนอกเหนือจากที่เคยตั้งเจตจำนงไว้ ก็จะระลึกรู้ได้
แต่ต้องแค่รู้เท่านั้น จึงจะเข้าใจว่า
อะไรๆ ที่เกิดขึ้นทั้งทางกายทางใจ รวมถึงกายและจิตใจเอง
ก็ไม่เที่ยง เกิดดับ เปลี่ยนแปลง คงทนอยู่ไม่ได้
หาอะไรในกายและจิตใจ ที่จะเป็นตัวตนโดยตัวมันเองไม่ได้เลย

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: การบ้าน…หัดธรรม

การบ้าน…หัดธรรม

ในเมื่อทั้งชีวิตคือการเรียนรู้ ทั้งชีวิตจึงต้อง “ทำการบ้าน”
แต่มีการบ้านข้อหนึ่ง ที่เรามักจะลืมทำกัน
ซึ่งหากคิดเป็นตัวเลขอัตราส่วนออกมา
ก็คงจะได้อัตราส่วนของคนที่ทำการบ้านข้อนี้
ต่อคนที่ไม่ได้ทำการบ้าน ออกมาเป็นตัวเลขเข้าใกล้ศูนย์
การบ้านข้อที่ว่านี้ ก็คือ การบ้าน “หัดธรรม” นั่นเอง

ถ้าถามหาเหตุที่คนไม่สนใจจะทำการบ้าน “หัดธรรม” นี้
ก็คงไม่มีใครตอบได้ดีเท่ากับ เราตอบด้วยตัวเอง
ถามตัวเองซิว่า ทำไมเราละเลยที่จะทำการบ้านข้อนี้ไป?

ตอบได้กี่ข้อกันบ้างละ หนึ่ง สาม ห้า หรือเกินสิบ
ซึ่งใครจะตอบได้กี่ข้อก็ตามแต่ ก็ให้ทราบเถิดว่า
นั่นแหละคือ ข้ออ้างของกิเลส ข้ออ้างของตัณหา ข้ออ้างของอวิชชา
หาใช่ข้ออ้างของจิตใจตัวเองแต่อย่างใด
ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจตัวเองของแต่ละคนนั้น
ล้วนแต่ปรารถนาที่จะพ้นทุกข์กันทั้งนั้น
แต่กลับถูกกิเลส ถูกตัณหา ถูกอวิชชา มาครอบงำ มาปิดบังเอาไว้
จนไม่รู้เลยว่า จิตใจจริงๆของตัวเองนั้น เป็นอย่างไรกันแน่
ไม่รู้เลยว่า จิตใจกำลังถูกกิเลส ถูกตัณหา ถูกอวิชชา
ชวนให้ไหลไปหากองทุกข์ ชวนให้หลงถือ
หลงกอดกองทุกข์ ด้วยเข้าใจผิดว่าคือกองสุข
ไม่รู้เลยว่า จิตใจกำลังถูกชวนให้สนองตอบกิเลส
ให้สนองตอบตัณหา ให้ดิ้นรน ให้แสวงหา
ในสิ่งที่เป็นอาหารหล่อเลี้ยงกิเลส ตัณหา อวิชชา ให้มีกำลัง
ครอบงำจิตใจไปตราบนานเท่านาน

แต่ด้วยความเป็นจริงของทุกสรรพสิ่ง
กิเลส ตัณหา อวิชชา จึงยังไม่ได้เก่งถึงขนาด
ที่จะครอบงำจิตใจสรรพสัตว์เอาไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จถาวร
เพราะทุกสรรพสิ่งรวมทั้งกิเลส ตัณหา อวิชชา
ก็ล้วนมีลักษณะที่เหมือนกันคือ
ไม่ได้เป็นตัวเป็นตนอย่างสมบูรณ์แบบโดยตัวเอง
หากแต่ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ มาปรุงแต่งประกอบกันขึ้นมา
ซึ่งเมื่อปรากฏตัวขึ้นมาแล้ว ก็จะไม่อาจคงทนอยู่ได้อย่างถาวร
แต่จะถูกบีบคั้นในตัวเองให้ต้องเสื่อม ให้ต้องสลายดับไปในที่สุด

ด้วยความจริงของสรรพสิ่งนี้เอง
ที่ทำให้จิตใจมีโอกาสที่จะรู้ความจริงว่า
แท้จริงแล้ว ความพ้นจากกิเลส พ้นจากตัณหา
พ้นจากอวิชชา พ้นจากกองทุกข์ นั้นมีอยู่
และยิ่งไปกว่านี้ ยังปรากฏว่ามีผู้ที่สามารถฝึกหัดจิตใจจนพ้นไปได้จริงๆ
แล้วก็ได้ทิ้งร่องรอยบอกทางให้ผู้อื่นว่า จะพ้นไปได้อย่างไร
ดังปรากฏเป็น ทางสายเอก ทางสายที่จะพาให้พ้นไปจากองทุกข์ได้
หรือที่เรียกกันว่า “สติปัฏฐาน ๔” นั่นเอง

แต่การจะพ้นไปจากกองทุกข์ได้นั้น
จิตใจนี้จะต้องผ่านการฝึกหัด จากจิตที่ไม่มีศีล เป็นจิตที่มีศีล
จากจิตที่ไม่ตั้งมั่น ( ไม่มีสมาธิ ) เป็นจิตที่ตั้งมั่น ( มีสมาธิ )
จากจิตที่ไม่มีปัญญา เป็นจิตที่มีปัญญา
สามารถรู้เท่าทันเล่ห์เพทุบายของกิเลส ตัณหา อวิชชา ที่ครอบงำจิตอยู่
จนในที่สุดด้วยกำลังของ ศีล สมาธิ ปัญญา
ก็จะรวบรวม ธรรม มารวมเป็นหนึ่ง
มีผลให้ละกิเลส ละตัณหา ละอวิชชา ออกจากจิตได้อย่างหมดจด
จิตที่เคยเศร้าหมอง เคยทะยานอยาก เคยถูกครอบงำ
ก็จะเป็นอิสระ พ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง

ด้วยร่องรอยของผู้ที่พ้นไปได้แล้ว
ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาถึงพระอรหันตสาวกทั้งหลาย
ดังปรากฏอยู่ให้หมู่มวลสรรพสัตว์ได้เห็นนี้
จะมีเหตุผลอะไรอีกหรือ ที่เราผู้มีโอกาสได้เห็นร่องรอยเหล่านี้แล้ว
จะพากันไม่ใส่ใจที่จะตามร่องรอยนี้ไป
นอกเสียจากจะยินดีให้ข้ออ้างที่แสนจะหลอกลวงของกิเลส ตัณหา อวิชชา
มาสนตะพายร้อยเชือดสอดจมูก
จูงจิตใจให้เดินตามทางของมันไปเรื่อยๆ ตราบนานเท่านาน

แต่หากมีเจตจำนง ปรารถนาจะเดินตามร่องรอยของพระพุทธเจ้า
ก็ต้องทำการบ้านกันอย่างจริงจัง
และการบ้านนี้ก็มีเพียงข้อเดียวคือ “หัดธรรม”
โดยเจตจำนง ของการบ้านข้อ “หัดธรรม” นี้มีอยู่เพียงว่า
ให้หัดมีศีล ให้หัดมีความตั้งมั่น (หัดมีสมาธิ) และ ให้หัดที่จะมีปัญญา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: ช่วยจิตให้เดินปัญญา

ช่วยจิตให้เดินปัญญา

หลายคนที่มาฝึกสติ ฝึกรู้สึกตัว ฝึกรู้กายรู้ใจ
แล้วจิตยังเดินปัญญาไม่ได้ ยังได้แค่รู้สึกไปเฉยๆ
หรือจิตยังเอาแต่สนใจต่อลักษณะเฉพาะของสภาวะ
เช่น ยังสนใจว่าโกรธเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
โกรธแล้วหน้าร้อน ใจเต้นเร็ว
หรือบางคนรู้สึกตัวได้แล้ว แต่ก็ยังไปคาอยู่กับ
ความเฉยๆ ต่อสภาวะ ยังไม่ยอมสนใจมาสังเกต
ความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะ

แล้วจะทำอย่างไร? จิตจึงจะเดินปัญญาต่อได้

วิธีหนึ่งที่พอจะช่วนให้จิตเดินปัญญาได้ ก็คือ
ให้ตั้งเจตจำนงที่จะหาคำตอบจากการสังเกตว่า
“รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
หรือจะพูดอีกสำนวนหนึ่งได้ว่า
กระตุ้นให้จิตเดินปัญญาเดินปัญญา ด้วยการตั้งคำถาม
อย่างที่พระพุทธเจ้าตั้งคำถาม
เพื่อให้ปัญจวัคคีย์สังเกตสภาวะ
แล้วตอบพระพุทธเจ้า นั่นเอง

(พระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งคำถามให้คิดๆหาคำตอบ
หรือจำมาตอบจากการได้ยินได้ฟังได้อ่านมา
โดยไม่ได้เห็นสภาวะนั้นจริงๆ)

“รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง”
เลือกเอาสักอย่างหนึ่งมาตั้งคำถามกับตัวเอง
เพื่อจะสังเกตหาคำตอบก่อนก็ได้ คือ

ใครถนัดเห็นกาย
ก็เลือกสังเกตรูปก่อนว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง

ใครถนัดเห็นเวทนา
ก็เลือกสังเกตเวทนาก่อนก่อนว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง

ใครถนัดเห็นสัญญาทำงาน
ก็เลือกสังเกตสัญญาก่อนก่อนว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง

ใครถนัดเห็นความปรุงแต่งทางใจ (สังขาร)
ก็เลือกสังเกตสังขารก่อนก่อนว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง

ใครถนัดเห็นจิตที่ไปรับอารมณ์ทาวทวารต่างๆ (วิญญาณ)
ก็เลือกสังเกตวิญญาณก่อนก่อนว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง

หรือถ้าใครถนัดเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ในมุมของความที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถูกบีบคั้นให้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
(มุมมองนี่คือ ทุกขัง ในไตรลักษณ์ นั่นเอง)
ก็เลือกสังเกตในมุมมองนี้ก็ได้ว่า
“เป็นทุกข์(ทุกขัง)หรือเป็นสุข”
(สุข ในที่นี้หมายถึงตรงข้ามกับ ทุกขัง)

หรือถ้าใครถนัดเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ในมุมของความบังคับให้เป็นไปตามที่ต้องการไม่ได้
ไม่ได้เป็นตัวตนโดยตัวของมันเอง
ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาเป็นปัจจัยให้ปรากฏขึ้น
(มุมมองนี่คือ อนัตตา ในไตรลักษณ์ นั่นเอง)
ก็เลือกสังเกตในมุมมองนี้ก็ได้ว่า
“เป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา”
(อัตตา ในที่นี้หมายถึง ตรงข้ามกับอนัตตา)

^_^

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์: ดูจิต ไม่ใช่ไปยุ่งกับอาการของจิต ไม่ใช่ดูอาการของจิต

ดูจิต ไม่ใช่ไปยุ่งกับอาการของจิต ไม่ใช่ดูอาการของจิต

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “จิต” ในที่นี้
คือจิตที่ยังไม่หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น
แต่จิตจะเป็นธาตูรู้ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีมิติใดๆ ดังนั้น
การ “ดูจิต” ในที่นี้ จึงไม่ใช่การดูตัวจิตจริงๆ
แต่เป็นการ “รู้สึก”ว่าจิตเป็นอย่างไร
เช่น จิตมีราคะ-จิตไม่มีราคะ จิตมีโทสะ-จิตไม่มีโทสะ ฯลฯ

การดูจิต เบื้องต้นจึงเป็นการหัดที่จะ “รู้สึก”ว่าจิตเป็นอย่างไร
ซึ่งเมื่อมีรู้สึกได้ว่าจิตเป็นอย่างไรแล้ว
ก็ต้องหัดรู้สึกต่อไปโดยไม่จงใจที่จะไปทำอะไรขึ้นมา (เรียกว่า ดู)

เช่น เมื่อรู้สึกว่า จิตมีโทสะ ก็ไม่ต้องจงใจที่จะทำอะไรขึ้นมา
ไม่ต้องจงใจที่จะทำให้โทสะดับลงไป
ไม่ต้องจงใจที่จะทำให้ปราศจากโทสะ
เพียงแค่รู้สึก เหมือนเป็นคนดูอีกคนที่กำลังดูจิตที่มีโทสะไป
หากรู้สึกว่าจิตมีโทสะได้จริงๆ จิตที่มีโทสะจะดับลงไปเอง
แล้วเกิดจิตทีมีสติ มีความรู้สึกตัว หรือมีจิตที่ไม่มีโทสะเกิดขึ้นแทน

แต่ถ้ารู้สึกได้ว่าจิตเป็นอย่างไรแล้ว ไม่ได้เพียงแค่รู้สึก
แล้วก็จงใจไปทำ จงใจไปจัดการอะไรบางอย่างต่อจิตในขณะนั้น
เช่นพอรู้สึกว่าจิตมีโทสะ ก็พยายามปัดความโกรธออกไปด้วยวิธีการต่างๆ
ก็จะไม่ใช่การ “ดูจิต” แต่เป็นการ “ไปยุ่งกับอาการของจิต”

หรือบางคน แทนที่จะ “ดูจิต” หรือ “ดูไตรลักษณ์ของจิต”
ก็ไปพยายามที่จะ “ดูลักษณะเฉพาะของตัวสภาวะ”
เช่น พอรู้สึกว่าจิตมีโทสะ(โกรธ) แทนที่จะมีสติรู้สึกไปว่าจิตมีความโกรธ
แทนที่จะดูว่า จิตที่โกรธก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ก็ไปพยายามที่จะดูว่า ความโกรธเป็นอย่างไร โกรธแล้วร่างกายเป็นอย่างไร
ความโกรธต่างกับความหงุดหงิดอย่างไร
หากดูแบบนี้ก็เป็นการไป “ดูลักษณะเฉพาะของตัวสภาวะ”
หรือบางทีก็เรียกว่า “ดูอาการของจิต”
ซึ่งก็ไม่ใช่การ “ดูจิต” เพราะการดูจิตนั้นมีเป้าหมายที่
เห็นไตรลักษณ์ของจิต

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อ.สุรวัฒน์ไขปัญหาดูจิต

คำถาม

1. การดูจิตที่ หลวงพ่อปราโมทย์ สอนมานั้น คือ การดูลักษณะต่างๆที่จิตไปรับรู้ใช่ไหมครับ เช่น จิตฟุ้งซ่าน โกรธ พอใจ ยินดียินร้าย อะไรต่าง?

2. เหล่านี้ หลวงพ่อปราโมทย์ ท่านเรียกว่า เจตสิก หรือเปล่าครับ แล้วเจตสิก มันต่างกับ อาการของจิต หรือเปล่าครับ?

- ตอบคำถาม

การดูจิตนั้น แรกๆก็จะเห็นว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีความยินดี ฯลฯ
ซึ่งเป็นการเห็นแบบที่รู้สึกว่า จิตกับเจตสิก เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เห็นเป็นคนละส่วน
(ความฟุ้งซ่าน ราคะ โทสะ ความยินดี ฯลฯ เหล่านี้เป็นเจตสิกจิตที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง)
เมื่อหัดดูไปจนจำสภาวะต่างๆได้ จิตเองก็จะมีสติมีความตั้งมั่น (สติ ความตั้งมั่นก็เป็นเจตสิกเช่นกัน)
แล้วจะค่อยๆเกิดความเข้าใจว่า เจตสิกกับจิตเป็นคนละส่วนกัน
จะค่อยๆเข้าใจว่า จิตจะเป็นตัวทำหน้าที่รู้ ส่วนเจตสิกเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง
เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถเห็นจิตล้วนๆได้
เนื่องจากจิตย่อมต้องมีเจตสิกต่างๆเกิดร่วมด้วยเสมอนั่นเอง
และจิตจะมีอาการปรากฏต่างๆกันไป ตามแต่ว่าจิตดวงนั้นจะมีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย

การดูจิต ไม่ว่าจะมองว่าเป็นการดูอาการของจิต หรือดูเจตสิก
จึงเท่ากับว่า เป็นการดูจิตที่มีอาการต่างๆ เป็นการดูจิตที่มีเจตสิกต่างๆเกิดร่วมอยู่
เพราะฉะนั้น ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า เป็นการดูอะไร
แต่ต้องเข้าใจว่า เราดูไปทำไม ดูไปเพื่ออะไร
ซึ่งการดูจิต ที่ไม่ว่าจะมีอาการอย่างไร มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมอยู่
เราดูไปเพื่อให้เห็นว่า
จิตที่มีอาการต่างๆ จิตที่มีเจตสิกต่างๆเกิดร่วมอยู่ในแต่ละขณะนั้น
ล้วนแต่มีลักษณะที่เหมือนๆกันทุกดวงทุกขณะคือ
ล้วนแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน (เป็นไตรลักษณ์ เหมือนๆกันทุกดวง)

เมื่อเข้าใจแจ่มแจ้งในความเป็นไตรลักษณ์
ก็จะเกิดมรรค เกิดผล ปล่อยวางความเห็นผิด ปล่อยวางความยึดขันธ์ว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา
หากสามารถปล่อยวางความยึกขันธ์ได้หมดสิ้นจริงๆ
ก็จะมีสภาวะของการดำรงอยู่ของขันธ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม
(จากที่ได้อ่านได้ฟังมา) คือขันธ์ก็ทำงานของขันธ์ไป แต่จิตจะไม่เกาะเกี่ยวอยู่กับขันธ์อีกต่อไป
หรือเป็นจิตที่พ้นจากทุกข์ (ทุกข์ก็ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน)
จิตที่พ้นจากทุกข์นี่เองที่มีชื่อเรียกกันไปว่า จิตหนึ่งบ้าง จิตเดิมแท้บ้าง
ตามแต่จะตั้งชื่อบัญญัติว่าอย่างไร

*********************************************************************

1. การจะดูจิตให้ถูกจริงๆนะ ต้องไม่จงใจใช่มั้ยครับ คือ ตอนฝึกแรกๆ ก็ต้องจงใจไปก่อน แต่ตอนหลัง ที่รู้สึกได้เองเนี่ย ต้องรู้แบบไม่จงใจเลยใช่มั้ยรับ

- ใช่ครับ

2. ได้ยินมาว่า ถ้ารู้แบบไม่จงใจได้แล้ว ก็คือ เตรียมเปิดประตูอริยมรรคแล้ว ใช่มั้ยครับ

- การรู้ได้เองโดยไม่จงใจ เป็นเบื้องต้นขอการมีสติ
มีสติได้แล้วต่อไปต้องหัดดูสภาวะด้วยความมีสติและตั้งมั่น เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ ให้เกิดปัญญา
ส่วนจะเป็นการเตรียมเปิดประตูอริยมรรคนั้น ไม่ต้องสนใจหรอกครับ
หัดมีสติรู้กายรู้ใจไปเถอะครับ สติปัญญาถึงพร้อมเมื่อไหร่แล้วก็จะเกิดอริยมรรคได้

***********************************************************************

1. โดยปกติแล้ว  สมถะ จำเป็นขนาดไหนครับ ผมเคยศึกษาจากหนังสือของ อ. (เพราะมันอ่านง่ายดี อ่านของหลวงพ่อแล้วมีศัพท์เยอะ) อ. บอกว่า ไม่ต้องทำสมาธิเลย แต่หลวงพ่อบอกว่า ต้องทำวันละนิดวันละหน่อย เลยชักไม่แน่ใจครับ

- ผมว่าผมไม่เคยเขียนหรือบอกนะครับว่า “ไม่ต้องทำสมาธิเลย”
แต่เคยบอกว่า ผมทำสมาธิไม่ได้ ทำแล้วฟุ้ง ง่วง หลับ
จึงต้องมาหัดรู้สึกตัวในชีวิตประจำวันเอา
:D
ซึ่งพอรู้สึกตัว จิตก็จะมีสมาธิ(ตั้งมั่น)ได้ชั่วขณะ
แต่ก็พอจะทำให้เห็นจิตเกิดดับได้
ส่วนหลวงพ่อจะบอกว่า อย่าทิ้งสมถะ
และบอกว่า ทุกวันให้ทำตามรูปแบบด้วย เพื่อให้จิตมีกำลังครับ

2. ในขั้นตอนของการทำสมถะนั้น มีหลักอย่างไรกันแน่ครับ ตอนที่หลวงตาท่านจิตเสื่อม ท่านว่า “จะให้จิตแนบกับคำบริกรรม ไม่ให้เผลอเลย เหมือนนักมวยบนเวที เผลอเมื่อไหร่ โดนน็อคเมื่อนั้น” อันนี้ มันจะไม่ขัดกับที่หลวงพ่อบอกว่า ใ้ห้รู้ตามความเป็นจริงเหรอครับ

- ถ้าจะทำสมถะก็ต้องจิตไปแนบอารมณ์ เพื่อให้จิตเกิดกำลังตั้งมั่นขึ้นมา
ซึ่งหากใครทำสมถะได้และต้องการทำสมถะ ก็ต้องทำไปตามขั้นตอนของการทำสมถะ
ส่วนที่หลวงพ่อบอกให้รู้ตามจริง (เช่นกรณีจิตไม่ตั้งมั่นก็ให้รู้ว่าไม่ตั้งมั่น)
เป็นการปฏิบัติสำหรับคนที่ทำสมถะไม่ได้ หรือเวลานั้นไม่เหมาะจะทำสมถะนะครับ
เช่นถ้าขับรถอยู่แล้วจะให้ทำสมถะก็คงไม่ได้
แต่สามารถรู้ได้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น ซึ่งถ้ารู้ได้อย่างถูกต้องว่าจิตไม่ตั้งมั่น
จิตก็จะเกิดตั้งมั่นขึ้นมาชั่วขณะได้เช่นกัน

3. ถ้าทำแล้วอึดอัด ให้เลิกทำ หรือให้ทำต่อไปกันแน่ครับ เพราะเคยอ่านประวัติครูบาอาจารย์มา อย่างหลวงตา และ หลวงพ่อพุธท่านถามตอบปัญหาธรรมะ คล้ายๆกับว่า ระยะแรก มันต้องอึดอัด เป็นเรื่องปกติ คล้ายๆกับว่า เราปล่อยเด็ก(จิต)ให้มันไปตามสบายของมัน จะมาบังคับให้มันอยู่กับคำบริกรรม มันก็อึดอัดในช่วงแรกๆ หรือบางทีเราไปคาดหวังผลมากไปว่าจิตต้องสงบ หลวงพ่อพุธท่านเคยบอกว่า บางคนจิตมันจะลงเนี่ย เหมือนจะขาดใจตายก็มี ถ้าใครสติไม่พอ กลัวตายจิตมันก็ไม่รวมลง

- คุณ student ชอบแบบไหนละครับ
ถ้าชอบที่จะเห็นความอึดอัดแล้วจิตรวมลงไปเกิดสัมมาสมาธิได้
ก็ให้ทำไปแบบที่ครูบาอาจารย์ท่านทำมา
แต่ถ้าอึดแล้วจิตไม่รวมลงไป แต่กลายเป็นยิ่งเครียดมากขึ้น ยิ่งฟุ้งซ่านมากขึ้น
อันนี้ก็ไม่เหมาะที่จะทำต่อแล้วครับ เพราะจะไม่เกิดสัมมาสมาธิ
และยังเกิดอกุศลมากขึ้นไปอีก

รายละเอียดของการภาวนาของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกันนะครับ
แต่หลักต้องเหมือนกันคือ
ทำแล้วต้องเกิดสติ เกิดสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่น) เห็นไตรลักษณ์ของรูปนามได้ครับ
เพราะฉะนั้นใครถนัดจะตามรอยครูบาอาจารย์ใด ก็เดินตามรอยท่านไปเถอะครับ
หากลังเลสงสัยในแนวทางก็ต้องศึกษาให้รอบคอบ แล้วก็ลองปฏิบัติดู
แนวไหนที่เราเห็นว่าถูกและสามารถปฏิบัติตามได้ ก็เลือกเอาอันนั้นแหละครับ
ไม่จำเป็นต้องมาดูจิตทุกคนหรอกครับ

**********************************************************************************

อ้างอิง : http://wimutti.net/forum/index.php?topic=2796.0

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 38 of 38« First...102030...3435363738