Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จริตสำหรับการทำสมถะและวิปัสสนา

mp 3 (for download) : จริตในการทำสมถะและวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ แยก กาย เวทนา จิต ธรรม กายและเวทนา นี่กลุ่มหนึ่ง จิตและธรรม เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง จริตนิสัยของคนเราในเวลาทำสมถะกับวิปัสสนา การแยกจริตจะไม่เหมือนกัน

ถ้าเวลาเราจะทำสมถะ เราดูจริตมี ๖ อย่าง ๑) ราคจริต ๒) โทสจริต ๓) โมหจริต ๔) พุทธิจริต ๕) วิตกจริต ๖ สัทธาจริต

อย่างพวกศรัทธามากๆ เนี่ย ก็คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงอะไรอย่างนี้นะ ใจก็สบาย สงบ พวกฟุ้งมากๆ ก็รู้ลมหายใจไป อะไรอย่างนี้นะ พวกขี้โมโห ก็เจริญเมตตา พวกบ้ากามก็พิจารณาอสุภะอะไรอย่างนี้ พิจารณาความตายอะไรไป แล้วใจก็สงบ

แต่อารมณ์จริตนิสัย จริตที่ใช้ทำวิปัสสนานะ เราแยก ๒ ส่วนเท่านั้นเอง เรียกว่า

๑) ตัณหาจริต พวกรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม

๒) ทิฏฐิจริต พวกเจ้าความคิด เจ้าความเห็น

- พวกตัณหาจริต มีกรรมฐานที่เหมาะคือ การดูกาย หรือ เวทนา

- พวกทิฏฐิจริต เจ้าความคิดเจ้าความเห็น มีกรรมฐานที่เหมาะคือ ดูจิต หรือ ธรรม

ทำไมแต่ละจริตต้องมี ๒ อย่าง

-พวกรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ดูกาย หรือ เวทนา พวกที่ปัญญาแก่กล้าแล้วจะไปดูที่เวทนา พวกที่ยังไม่แก่กล้าดูกาย กายดูง่ายกว่าเวทนา

-พวกเจ้าความคิด เจ้าความเห็นนี่ ดูจิตเอา เห็นจิตเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง นี่ดูง่าย ถ้าปัญญามันแก่กล้าขึ้นไปก็ไปดูธัมมา เจริญธัมมานุปัสสนานะ จะเห็นความละเอียดลึกซึ้งประณีตของสภาวธรรมแต่ละอันๆ อย่างจิตตานุปัสสนาเห็น จิตมีโทสะ รู้ว่ามีโทสะ ดูแค่นี้เอง ถ้าขึ้นไปถึงธัมมานุปัสสนา มันจะประณีตขึ้นไปอีก อย่างจิตมีปฏิฆะ ความไม่พอใจเกิดขึ้น มีพยาบาท พยาปาทะ ไม่พอใจ คิดถึง ตรึกถึงอารมณ์ที่ไม่พอใจเนี่ยเห็นละ ไม่ต้องรอให้โกรธ มันประณีตกว่ากัน เรารู้ด้วยว่าทำไมถึงเกิดจิตที่มีความพยาบาทขึ้น รู้ด้วยว่าทำยังไงความพยาบาทจะไม่เกิดขึ้น เห็นมั้ยจะรู้เหตุ รู้ผล รู้ลึกซึ้งลงไปอีก หรือดูโพชฌงค์ จะเห็นเลยคุณธรรมมันค่อยๆ อัพเกรดขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ดูยากกว่ากัน

พวกเราสันนิษฐานไว้ก่อนก็แล้วกันนะเพื่อความปลอดภัยว่าพวกเราอินทรีย์อ่อน อินทรีย์แข็งคงไปเรียนจากพระพุทธเจ้าแล้วคงบรรลุกันไปหมดแล้วล่ะ สมัยนั้นพวกเราบางคนก็อาจจะเคยเจอพระพุทธเจ้ามาแล้วนะ แต่เราเป็นลูกศิษย์เทวทัตนะก็เลยไม่ได้ธรรมะอะไร แล้วสำคัญผิดอะไรอย่างนี้ หรือตอนเราไปเจอพระพุทธเจ้าแต่ตอนนั้นเราเป็นเดียรถีย์ เราไปแอนตี้พระพุทธเจ้าซะด้วยซ้ำไป งั้นบารมีพวกเรานี่ ตกมาถึงรุ่นนี้ ถือว่าบารมีอ่อนก็แล้วกันนะ

งั้นคนไหนรักสุข รักสบาย รักสวย รักงาม ให้ดูกายไว้ เพราะกายนี่จะสอนให้เห็นว่าไม่สุข ไม่สบาย ไม่สวย ไม่งาม

ถ้าคนไหนเจ้าความคิดเจ้าความเห็นให้ดูจิต จิตเดี๋ยวก็ดี จิตเดี๋ยวก็ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายทั้งวัน เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็หายโลภ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวหายโกรธ เดี๋ยวหลง เดี๋ยวหายหลง

งั้นเราดูจริตนิสัยของตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๗


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๖
File: 570914A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๕

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๖) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญานำสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ ถ้าทำวิปัสสนาในฌานไม่ได้ ก็ถอยออกมาจากฌาน มาเดินปัญญาพิจารณากาย ไม่ควรไปดูจิตมาก แต่บางคนก็ดูจิตได้ หลวงพ่อพุธก็สอน ออกจากสมาธิมาแล้วดูจิตที่เปลี่ยนแปลง จิตเมื่อกี้สงบ ตอนนี้ไม่สงบ จิตเมื่อกี้มีปีติ ตอนนี้ไม่มีปีติ จิตตะกี้มีความสุข ตอนนี้ไม่มีความสุข ดูความเปลี่ยนแปลง ดูตอนออกจากสมาธิมาแล้ว อันนี้ก็ถือว่าเป็นสมาธินำปัญญาด้วยการดูจิต ถ้าเป็นสมาธินำปัญญาด้วยการดูกาย ก็เห็นกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ดูมันต่อไปเลย เห็นเลยไม่มีตัวเรา อย่างนี้ก็ได้

ถ้าเข้าฌานไม่ได้นะ ก็ใช้ปัญญานำสมาธิ ฝึกให้จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ทำได้หลายวิธีที่จิตจะเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทันก็ได้ พุทโธไปจิตไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ถ้าเรารู้ลมหายใจอยู่แล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน นี่ ทำอานาปานสติได้จิตผู้รู้ขึ้นมา

หรือหายใจไปเห็นร่างกายมันหายใจไป จิตมันไหลไปอยู่ที่ลม รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน รู้ทันจิตที่ไหล จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ พอจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้แล้ว คราวนี้ก็มาเดินปัญญาต่อ

ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูกาย ก็เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู จะรู้สึกเลยว่าร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา เห็นร่างกายพองยุบ จิตเป็นคนดู ก็รู้ว่าร่างกายที่พองยุบเพราะลมหายใจนั้นไม่ใช่ตัวเรา

ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิต จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาแล้ว หายใจไป หายใจไปแล้วมีความสุขก็รู้ หายใจไปแล้วมีความทุกข์ก็รู้ หายใจแล้วความสุขหายไปก็รู้ ความทุกข์หายไปก็รู้ ความสุขเกิดขึ้นก็รู้ ความสุขดับไปก็รู้ ความทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ ความทุกข์ดับไปก็รู้ อย่างนี้ก็ใช้ได้ ก็เป็น เวทนานุปัสสนา

อย่างตอนที่เรามีสติ เห็นร่างกายหายใจออก หายใจเข้า ใจเป็นผู้รู้ผู้ดู ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา นี่คือ กายานุปัสสนา ที่เป็นวิปัสสนา

หายใจไปแล้วจิตเป็นสุขขึ้นมาก็รู้ หายใจไปความสุขหายไปก็รู้ หายใจไปแล้วจิตมันทุกข์ขึ้นมา ไม่ได้เข้าฌาน หายใจบางทีก็เครียดๆ ไม่มีความสุข ก็รู้ทัน เห็นความสุขความทุกข์เกิดแล้วดับไป นี่คือ ทำอานาปานสติ แล้วก็มาถึงเวทนานุปัสสนา

หายใจไปแล้วจิตสงบก็รู้ หายใจไปแล้วจิตฟุ้งซ่านก็รู้ นี่ขึ้นมา จิตตานุปัสสนา

หายใจไปแล้วเห็นจิตมันปรุงแต่ง มันทำงานได้ เห็นรูปก็ส่วนรูป นามก็ส่วนนาม ขันธ์ ๕ แตกกระจายออกไป อันนี้ขึ้นเป็น ธัมมานุปัสสนา

หรือหายใจไปแล้วเห็นจิตใจเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงต่างๆนานา ก็เป็นธัมมานุปัสสนา

หายใจไปแล้วเวทนาเกิดขึ้น จิตมีความอยาก มีความยึดในเวทนา ความทุกข์ก็เกิดขึ้น เห็นอย่างนี้ก็เป็นธัมมานุปัสสนา

541106B.11m19-14m40

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า

mp3 (for download) : ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า

ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า

หลวงพ่อปราโมทย์ : ค่อยๆฝึกเอานะ ขั้นแรกสุดฝึกรู้สึกตัวให้เป็นก่อน คนในโลกรู้สึกตัวไม่เป็น หลงไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง ตอนหลงไปคิดนึกปรุงแต่งก็ลืมกายลืมใจ เมื่อไรที่ลืมกายลืมใจก็คือไม่ได้ทำวิปัสสนา ไม่ได้ทำสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นให้คอยรู้สึกกายรู้สึกใจ

ขณะเดียวกันไม่เพ่งกายเพ่งใจ ถ้าเพ่งกายเพ่งใจนะเป็นการทำสมถะ หรือบางทีก็เป็นสติปัฏฐานแบบสมถะ ในสติปัฏฐานมีสมถะปนอยู่ด้วยนะ ต้องระวังนิดนึง ทำไมท่านสอนสติปัฏฐานมีสมถะเจืออยู่ด้วย เพราะบางคนต้องทำสมถะก่อน ท่านก็เลยสอนรวมไว้ด้วย เพื่อให้ธรรมอันนี้ครอบคลุมสมบูรณ์ ครอบคลุมทุกๆจริต สำหรับพวกตัณหาจริตต้องทำสมถะก่อน พวกทิฎฐิจริตก็เจริญวิปัสสนารวดไปเลย (หมายเหตุ ทิฎฐิจริตนั้น เมื่อเจริญวิปัสสนาไปช่วงหนึ่งแล้ว ก็ต้องกลับมาทำสมถะ เพราะจิตจะหมดกำลัง ไม่ตั้งมั่นจริง พบในคำสอนของหลวงพ่อในที่อื่นๆ – ผู้ถอด)

ตั้งอกตั้งใจศึกษานะ ศึกษาไป พอเข้าใจในสิ่งที่หลวงพ่อบอกแล้ว เส้นทางนี้สั้นนิดเดียว เพราะว่าพระพุทธเจ้าเคยบอกท่านพระอนุรุทธะว่า ธรรมในพระธรรมวินัยของท่านนี้ เป็นธรรมแห่งความไม่เนิ่นช้า ถ้าทำมาหลายปีแล้วเหมือนเดิม ล้มลุกคลุกคลานเหมือนเดิม วันนี้สงบพรุ่งนี้ฟุ้งซ่าน วันนี้ดีพรุ่งนี้ร้าย คุ้มดีคุ้มร้ายอยู่อย่างนี้ ไม่ถูกแน่ๆ ทำไปได้เดือน 3 เดือน หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือน อย่างนี้ต้องเห็นผล ต้องเห็นความเปลี่ยนแปลงที่รู้สึกได้

ศีลสมบูรณ์ขึ้น สมาธิจิตตั้งมั่นมากขึ้น เข้าใจความเป็นจริงของรูปนามมากขึ้น ให้รู้กายรู้ใจเอานะ อย่าลืมตัว อย่าหลงไป อย่าเผลอไป (หมายถึง เมื่อลืมตัวแล้วก็รู้ทัน เมื่อหลงไปแล้วก็รู้ทัน เมื่อเผลอไปแล้วก็รู้ทัน ไม่ใช่ห้ามลืมตัว ไม่ใช่ห้ามหลงไป ไม่ใช้ห้ามเผลอไป – ผู้ถอด) แล้วก็อย่าเพ่งกายเพ่งใจ (หมายถึง เมื่อเพ่งกายก็รู้ทัน เมื่อเพ่งใจก็รู้ทัน ไม่ใช่ห้ามเพ่งกาย ไม่ใช่ห้ามเพ่งใจ – ผู้ถอด)

ถ้าเราไม่เผลอเลื่อนลอยไป แล้วก็ไม่เพ่งกายเพ่งใจ เราก็จะเดินสู่ทางสายกลาง ทางสายกลางทำให้เรารู้กายตรงตามความเป็นจริง รู้จิตตรงตามความเป็นจริง เรียกว่าทำสติปัฏฐาน นี้เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นนะ ไม่มีทางสายที่สองให้เลือก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510308
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๑ ถึงนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สภาวะหยาบหรือละเอียด ก็แสดงไตรลักษณ์

mp3 for download : ไม่ต้องเห็นสภาวะละเอียด สภาวะหยาบก็แสดงไตรลักษณ์เหมือนกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สภาวะหยาบหรือละเอียด ก็แสดงไตรลักษณ์

สภาวะหยาบหรือละเอียด ก็แสดงไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : อยู่ที่สติปัญญานะ ค่อยฝึกค่อยรู้ค่อยดูของเราไป ในที่สุดใจก็สักว่ารู้สักว่าเห็นแท้ๆเลย จิตจะขยับไปก็เห็น จิตจะทรงอยู่ก็เห็น เห็นแต่เรื่องบังคับไม่ได้ อันนี้สำหรับพวกปฏิบัติละเอียดนะ

บางคนไม่ต้องละเอียด บางคนแค่เห็นว่าเดี๋ยวจิตก็สุขเดี๋ยวจิตก็ทุกข์เดี๋ยวจิตก็เฉยๆเห็นแค่นี้ก็ได้ บางคนเห็นว่าเดี๋ยวจิตก็โกรธเดี๋ยวจิตก็ไม่โกรธ บางคนเห็นว่าเดี๋ยวจิตก็เผลอเดี๋ยวจิตก็ไม่เผลอ เห็นแค่นี้ก็ได้ ไม่ต้องละเอียดก็ได้

การเห็นละเอียดเนี่ยเหมาะสำหรับคนบางคน เนื่องจากมีจริตนิสัยละเอียด จะเห็นแต่สภาวธรรมล้วนๆเลย จะว่าดูจิตมันก็ไม่เชิงนะ มันเหมือนๆเห็นสภาวธรรมล้วนๆเลย ไม่รู้ว่าคืออะไรหรอก เห็นแต่สภาวธรรมบางอย่างไหววับ ดับวับ ดับไป ไม่รู้ว่าคืออะไร

แต่ไม่จำเป็นต้องละเอียด เพราะฉะนั้นไม่ต้องพยายามทำให้ละเอียด รู้ได้หยาบๆก็รู้หยาบๆไป หลวงพ่อตอนหัดแรกๆก็ไม่ได้ดูละเอียด แค่เห็นว่าจิตนั้นมันไหลเข้าไปแช่ไปรวมกับอารมณ์บ้าง จิตมันแยกออกจากอารมณ์บ้าง เห็นขันธ์กระจายตัวออกไปบ้าง ขันธ์รวมกันมาเป็นตัวเราบ้าง เห็นกิเลสหยาบๆ โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ สงสัย เห็นแต่ของหยาบๆก็ดูของหยาบๆไป ไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้ละเอียด ของหยาบหรือของละเอียดแสดงไตรลักษณ์เท่าๆกัน แล้วแต่จริตนิสัย

แต่บางคนดูของหยาบแล้วไม่สะใจ สติปัญญามันมากไป ดูของหยาบแล้วมันไม่พอ ก็ดูของที่ละเอียดขึ้น แต่ว่าไม่ว่าสภาวะที่หยาบหรือละเอียด สภาวะภายในหรือภายนอกนะ สภาวะที่ใกล้ที่ไกล สภาวะทั้งหลายทั้งปวง เกิดแล้วดับ เห็นแค่ว่าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ นี่ภาวนาเอาตรงนี้เอง เอาแค่นี้ล่ะ เห็นว่าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับไป ซ้ำแล้วซ้ำอีก ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี บางคน ๓ เดือนก็มีนะ แต่ ๓ เดือนหมายถึงดูเป็นแล้ว ดูเป็นแล้วดูลูกเดียวเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510414A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๕ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

mp3 (for download): เลือกอารมณ์การปฎิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

โยม : มีคนถามอยู่บ่อยๆว่า ในการปฏิบัติธรรม เวลาทำในรูปแบบนี่น่ะครับ รูปแบบมันมีเยอะแยะไปหมดเลย นั่งสมาธิ บางคนก็พุทโธ บางคนก็ดูลมหายใจ ดูท้องพองยุบ อะไรกันอย่างนี้ครับ หรือกระทั่งบทสวดมนต์ก็มีเยอะแยะ เราจะเลือกอย่างไรครับ อันไหนเหมาะกับตัวเราหรือไม่เหมาะอย่างไรครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : รูปแบบของการปฏิบัตินั้นต้องดูก่อน ปฏิบัติมี ๒ ส่วนนะ ส่วนของสมถกรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้จิตสงบ แต่ส่วนของวิปัสสนากรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้เกิดปัญญา เราก็ดูเลือกอารมณ์เอา ถ้ายกตัวอย่างบางคนขี้โมโหนะ กรรมฐานที่เหมาะกับเราก็คือ จะให้จิตสงบก็เจริญเมตตานะ บางคนขี้โลภ โลภมาก ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะเจริญมรณสติก็ได้ ก็ใช้ได้ บางคนก็งก อยากตลอดเวลานะ หรือรักสวยรักงามมากนะ วันๆหนึ่งเสริมสวยลูกเดียวเลย เคยเห็นนกหงษ์หยกมั้ย สมัยก่อนเขาเลี้ยงกันเยอะนะ ต้องมีกระจกให้มันด้วยนะ มันจะเสริมสวย อย่างนี้อาจจะพิจารณาอสุภะนะ อย่างนี้ค่อยดูเอา คนไหนฟุ้งซ่านมากอาจทำอานาปานสติ อันนี้เป็นการเลือกสมถะนะ จิตสงบ

อีกอย่างหนึ่งก็ดู นิสัยของเราเป็นแบบไหน เป็นพวกรักสุขรักสบายรักสวยรักงามนะ หรือเป็นพวกคิดมาก ถ้าเรารักสุขรักสบายรักสวยรักงามนี่นะ ถ้าเราจะเจริญปัญญานะ เรามาดูกาย ร่างกายนี้ไม่สุขไม่สบายไม่สวยไม่งาม ถ้าเราเป็นพวกคิดมาก จิตใจว่อกแว่กๆตลอดเวลา คอยรู้ทันจิตไป

เพราะฉะนั้นเราก็เลือกเอานะ ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ ไม่มีดีไม่มีเลวแตกต่างกันหรอกนะ ใครถนัดพุทโธก็พุทโธไป พุทโธแล้วได้อะไร ถ้าพุทโธแล้วจิตสงบอยู่กับพุทโธก็ได้สมถะ ถ้าพุทโธแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทันก็จะได้จิตที่ตั้งมั่น

ก็จะดูลมหายใจก็ได้ ดูลมหายใจไป ถ้าจิตไปรวมเข้ากับลมหายใจนิ่งก็ได้ความสงบได้สมถะ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจรู้ทัน จะได้จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ขึ้นมา แล้วดูร่างกายหายใจต่อไปอีกก็ได้ เจริญปัญญาไปเลย เห็นเลยร่างกายที่หายใจอยู่นี้เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา นี่เดินวิปัสสนาเลยนะ อย่างนี้ก็ได้ อย่างอานาปานสตินี่น่ะทำได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาเลยนะ

ก็ดูเอาแต่ละคนไม่ดีไม่เลวแตกต่างกัน ชอบทะเลาะกันนะ แต่ละสำนักๆนะ แล้วก็ชอบเถียงกันว่าแบบไหนดีกว่าแบบไหน ไม่มีแบบอมตะถาวรสำหรับทุกๆคน ไม่มีหรอก ทางใครทางมัน ใครถนัดอะไรเอาอันนั้นแหละ แต่ถนัดนอนไม่เอานะ ยกเว้นสักอย่างเถอะ คนนอนบรรลุมรรคผลนิพพานมีมั้ย มี แต่ตามสถิติมีน้อยนะ เว้นไว้สักอิริยาบถหนึ่งก็แล้วกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๕๓ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

mp 3 (for download) : หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเรามาเรียนกับหลวงพ่อนะ ถ้าถามว่าหลวงพ่อสอนอะไร บางทีงงนะ ถามว่าหลวงพ่อปราโมทย์สอนดูจิตเหรอ หรือสอนดูกาย หรือสอนดูเวทนา สอนให้ทำสมาธิก่อนหรือเปล่า หรือว่าให้เจริญปัญญาก่อน ถ้าใครไปตอบอันใดอันหนึ่งนะ ผิดเลยนะ หลวงพ่อไม่ได้สอนอย่างนั้น หลวงพ่อสอนหลักของการปฏิบัติให้ เพราะฉะนั้นคนไหนควรทำสมาธิก่อน เดินปัญญาทีหลัง (หลวงพ่อ)ก็(ให้)ทำ คนไหนควรเดินปัญญาก่อนสมาธิ ความสงบในขั้นลึกเกิดขึ้นทีหลัง (หลวงพ่อ)ก็(ให้)ทำ คนไหนควรทำสมาธิกับปัญญาควบกัน เหมาะที่ทำอย่างนั้น (หลวงพ่อ)ก็(ให้)ทำ เห็นมั้ย ไม่ใช่มีอันใดอันหนึ่งหรอก

คนไหนเหมาะที่จะดูกาย ดูกายแล้วเกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ก็ดูกายเอาเป็นหลัก แต่เวลาดูกายไม่ใช่ไม่ดูจิตนะ คนไหนควรดูเวทนานะ ดูเวทนาแล้วมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ก็ดูเวทนา เห็นมั้ย ดูตัวเองน่ะ ไม่ใช่ดูคนอื่นหรอก คนไหนดูจิตแล้วก็ มีสติ มีสมาธิ มีปัญญาขึ้นมา ก็ดูจิตไป

เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าหลวงพ่อสอนอะไรนะ สอนหลักนะ แล้วทุกคนต้อง apply ของตัวเอง เลียนแบบกันไม่ได้ด้วย ทางใครทางมันเลย


แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
Track: ๗
File: 531031.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา แต่มีทางขึ้นได้หลายทางสำหรับแต่ละบุคคล

mp3 (for download) : สติปัฎฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา แต่มีทางขึ้นได้หลายทาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติปัฏฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา

สติปัฏฐาน ๔ เหมือนทางเดินขึ้นเขา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เป็นแต่ทางปฎิบัติไม่มีทางที่สอง มีทางเดียวแค่นี้เอง ที่นี้ทางแต่ละคนเนี่ย ทาง main (หลัก) นี้มีอันเดียวนะ อย่างสมมุติว่าเราจะขึ้นยอดเขา ขึ้นภูเขา ทางมีทางเดียวต้องสูงขึ้นไป ไม่ใช่ลงมาต่ำ แต่ทางขึ้นภูเขามีรอบทิศทางเลย ทางเดินเฉพาะของแต่ละคน ไม่เหมือนกัน เลียนแบบกันไม่ได้

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเลยสอนธรรมะเอาไว้เยอะแยะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพราะคนมันเยอะ จริตนิสัยต่างๆกัน บางคนต้องรู้กาย บางคนต้องรู้เวทนา บางคนต้องรู้จิต บางคนรู้ธรรม

ทิศทางใหญ่ๆจะขึ้นเขาเนี่ย ทิศทางใหญ่ๆมันก็ ๔ ทิศ เวลาเดินจริงๆไม่ได้เดินทีละทิศหรอกนะ เดินสะเปะสะปะ เดี๋ยวก็ขยับหลบซ้าย เดี๋ยวหลบขวา เดี๋ยวหมดแรงก็นั่งพัก ขึ้นเขาไปเหนื่อยนั่งพัก นั่งพักคือสมถะ มีแรงแล้วเดินขึ้นไปอีก อย่าท้อถอย วันหนึ่งก็ถึงยอดเขา

แต่ถ้าทิศทางไม่ถูกต้อง ไม่รู้ว่าเราจะต้องรู้กายรู้ใจตนเองนะ คิดแต่ว่าจะต้องทำจิตให้ดี ทำจิตให้สงบ เรียกว่าไม่รู้จักเป้าหมายละ ยิ่งเดินยิ่งไปไกลนะ ไปพรหมโลก เพราะฉะนั้นรู้ทิศทาง ว่าเราปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ทุกข์ก็คือกายกับใจนี่แหละตัวทุกข์ เรียนรู้กายรู้ใจ หันหน้ามาเผชิญความจริงของกายของใจ เรียนรู้มัน จนเข้าใจมัน เข้าใจมันแล้วจิตเขาปล่อยวางของเขาเอง


CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๓
File: 480618A
นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๐ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๐๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

สมถะตามรูปแบบ

สมถะตามรูปแบบ

mp 3 (for download) : เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: งานเยอะ แล้วก็มันวุ่นๆ ยุ่งๆ แล้วรู้สึกว่าเหมือนมันไม่ได้ทำอะไรไปเลยน่ะค่ะ หลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องทำนะ อย่าทิ้งการทำในรูปแบบ เป็นเครื่องช่วย ถ้าเราจะเจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เจริญไปเรื่อยๆ นะ ถึงวันหนึ่งกำลังก็ไม่พอ ครูบาอาจารย์วัดป่าจะสอน อย่างสายวัดป่านี่ การปฏิบัติมี ๓ สเต็ป ต้องทำทั้งสามอัน

อันแรกเลยทำความสงบให้จิตตั้งมั่น จิตสงบ มีกำลังขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ที่นี้คนส่วนมากพอจิตสงบตั้งมั่นแล้วขี้เกียจ ขี้เกียจนี่ครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณากาย อันนี้ก็เป็นสมถะอีกแบบหนึ่ง ให้คิดพิจารณากาย พอหมดเวลาปฏิบัติในรูปแบบแล้ว คราวนี้ต้องมีสติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นสติในชีวิตประจำวันนี่ตัวสำคัญที่สุด แต่การที่ทำใจสงบตั้งมั่น ทำใจให้ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน อันนั้นก็เป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญมาก

ที่นี้ถ้าพวกเราทำฌานไม่ได้ แต่ละวันนะ แบ่งเวลาไว้หน่อย ไหว้พระไว้ สวดมนต์ไว้นะ ได้สมถะ สวดมนต์แล้วจิตใจสงบได้สมถะ ถ้าสวดมนต์แล้วขี้เกียจให้รู้ว่าขี้เกียจ เราไหว้พระสวดมนต์แล้วเราก็แบ่งเวลาปฏิบัติในรูปแบบ ห้านาที สิบนาที สิบห้านาทีอะไรอย่างนี้ ต้องทำ อย่างที่หลวงพ่อพูดตั้งแต่ต้นแล้วนะ แบ่งเวลาไว้แล้วก็ทำในรูปแบบไว้หน่อย แล้วหัดรู้สภาวะไป การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง สติมันจะมีกำลังที่จะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราทิ้งการทำในรูปแบบไปเลยนะ มันจะไม่มีกำลังจริง มันเหมือนรู้นะ แต่ใจจะกระจายๆ รู้อย่างนี้ ผึ้งรู้สึกไหม รู้แบบไม่มีแรง รู้แบบป้อแป้ๆ ไม่มีแรง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑
File: 491022A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานที่เหมาะสมของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับจริตนิสัยและวาสนาบารมี

mp 3 (for download) : กรรมฐานที่เหมาะสมของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับจริตนิสัยและวาสนาบารมี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กรรมฐานนี่ถ้าเราเรียนให้ดีนะเราจะใจกว้าง เราไม่ได้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิดนะ อย่างหลวงพ่อเรียนมาด้วยการดูจิตนะ ดูจิตมาเยอะ แต่หลวงพ่อก็ได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า ดูจิตไม่ใช่ solution ไม่มีกรรมฐานอะไรหรอกที่สำเร็จรูปสำหรับคนทุกคน จำไว้นะ แต่ละคนเหมาะกับกรรมฐานที่ไม่เหมือนกันเพราะจริตนิสัยวาสนาบารมีแตกต่างกัน ใช้คำสองคำนะ จริตนิสัย กับ วาสนาบารมี ไม่เหมือนกัน

‘จริตนิสัย’ มีสองกลุ่ม พวกตัณหาจริต กับ พวกทิฏฐิจริต พวกคิดมากกับพวกโลภมาก พวกคิดมากให้ดูจิตดูธรรม จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา พวกโลภมากนะ ดูกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา อันนี้เป็นเรื่องจริตนิสัย

เรื่อง ‘บารมี’ ก็แตกต่างกัน คนที่บารมีแก่กล้านะ โดยเฉพาะมีปัญญากล้า ถึงจะเป็นพวกตัณหาจริต ดูกายเวทนานี่ ท่านจะสอนให้ดูไปที่เวทนา เวทนานี่เหมาะกันคนที่บารมีกล้าแล้ว คนที่บารมียังอ่อน อินทรีย์ยังอ่อนนะ ก็ดูกาย จิตกับธรรมก็เหมือนกัน คนที่อินทรีย์ยังอ่อน บารมียังอ่อนนะ ดูจิต อินทรีย์แก่กล้า บารมีแก่กล้าดูธรรม

เพราะฉะนั้น กรรมฐานนี่มันแยกตามจริตนิสัยกับตามวาสนาบารมี แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก อย่างดูกายดูได้ตั้งหกแบบ บางแบบเป็นสมถะนะ ทำสมถะก่อนแล้วมาเจริญปัญญาทีหลัง อย่างดูปฏิกูล อาหารปฏิกูล พิจารณาอาหารเป็นปฏิกูลนี่สมถะ รู้ลมหายใจได้ทั้งสมถะทั้งวิปัสสนา ถ้ารู้อิริยาบถสี่ถูกต้องก็เป็นวิปัสสนา แต่ถ้าเพ่งกายก็เป็นสมถะ

เพราะฉะนั้น ไม่ว่ากรรมฐานอะไรนะ ดูกายหรือดูจิตมันอยู่ที่วิธีดูด้วย ดูผิดมันก็เป็นสมถะไปหมดแหละ แต่ถ้าเราจะทำสมถะเราก็ดูแบบสมถะก็เรียกว่าดูถูก แต่ถ้าเราจะทำวิปัสสนาแล้วไปดูด้วยวิธีแบบสมถะก็ผิด วิธีการไม่เหมือนกัน

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File:  530228B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สัปปายะสี่

mp 3 (for download) : สัปปายะสี่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2010/07/500314-sappaya-dd.mp3

โยม: สังเกตอย่างหนึ่งค่ะหลวงพ่อว่า การทำกิจกรรมบางอย่าง หรือว่าการกินอาหารอะไรบางอย่างอะไรพวกนี้ มันมีผลกับการเกิดสติบ่อยหรือไม่บ่อยด้วยหรือคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์:
แล้วกินอะไรเกิดสติล่ะ

โยม: คือหนูสังเกตว่า ถ้ากินอาหารที่มันหนักมากๆเนี่ย มันก็จะทำให้โมหะมัน กิเลสมันเกิดง่ายกว่า

หลวงพ่อปราโมทย์: อ๋อ นั่นมันหลักวิชาการแพทย์ธรรมดานะ เลือดมันไปเลี้ยงกระเพาะหมด

โยม: อย่างนี้เราไม่สามารถจะทำให้สติเกิดได้ บังคับไม่ได้ แต่เราจัดปัจจัยที่กระตุ้น เกื้อหนุนสติได้

หลวงพ่อ: ได้ มันเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยกับการมีสติ เพราะฉะนั้น อย่างการภาวนาจะดีไม่ดีอย่างนี้ อาหารสัปปายะมั้ย สำคัญ เรื่องอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องนี่พระพุทธเจ้าก็สอนมาตั้งแต่นู้นแล้ว

อาหารที่ไม่สัปปายะ บางคน ทานอาหารอย่างนี้แล้วภาวนาไม่ไหว บางคนถ้าไปทานอาหารไม่ถูกน่ะนะ ไม่เข้าถึงธรรมเลยก็มีนะ ในธรรมบทพูดถึง มีพระกลุ่มหนึ่งภาวนาอย่างไรก็ไม่ได้ แล้วอุบาสิกาผู้รู้วาระจิต พิจารณาดูว่าทำไมพระไม่บรรลุเสียที พบว่าอาหารไม่สัปปายะ ก็หาอาหารที่สัปปายะกับพระแต่ละองค์ แต่ละองค์ไปให้ ท่านก็บรรลุทั้งหมดเลย ประมาณ 60 องค์

ที่อยู่ก็ต้องสัปปายะนะ ที่อยู่ ก็ บางที่ภาวนาไปแรกๆดี พออยู่ไปนานๆแล้วจิตใจเฉื่อยชาอย่างนี้ ไม่ดี หรือที่ๆกำลังก่อสร้าง วุ่นวายไม่ดี ที่เก่ามากต้องซ่อมละ เนี่ยไม่ดี

บุคคลต้องสัปปายะ ต้องมีกัลยาณมิตร ไปอยู่กับเพื่อน นักปฏิบัติที่กวนประสาทนะ วันๆก็เครียดอยู่ใกล้กับพวกเครียดๆ ก็เครียดตามไปด้วย บุคคลไม่สัปปายะ

ธรรมะต้องสัปปายะ ธรรมะที่เราใช้สำหรับเราต้องเหมาะกับเรา ไม่ใช่ไปลอกแบบการปฎิบัติของคนอื่นเขา

เพราะฉะนั้นสัปปายะ ๔ อย่างนี้ จำเป็นนะ เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการปฏิบัติของเรา เราก็อาศัยการสังเกตเอา ว่าเราทำอะไรแล้วสติ สัปชัญญะเกิดบ่อยเราเอาอันนั้น เราอยู่ใกล้คนนี้แล้วสติเกิดบ่อยเราก็ไปอยู่ใกล้คนนี้ ถ้าเราไปอยู่ใกล้เขาแล้วเราสติเกิดบ่อย แต่เขาสติพังพาบไปเลยนะ ก็ต้องสงสารเขาเหมือนกัน บางคนไปลากเขาเสีย ตัวเองดีขึ้น

หรืออาหาร บางท่านอดอาหารแล้วภาวนาดี ท่านก็อดกันทีนึงหลายๆวัน บางท่านก็ต้องทานข้าวก่อนแล้วภาวนาดี ต้องดูเอา

บางท่านก็ชอบอยู่ในถ้ำ มีน้องของหลวงพ่อคนหนึ่ง เหมือนกับพี่น้องกันนะ ความจริงไม่ได้เป็นญาติอะไรกันหรอก คือ อ๋องน่ะ ที่สัปปายะของอ๋องนะคือที่มืดๆทึบๆอับๆ แล้วภาวนาดี ชอบแบบอยู่ในถ้ำอยู่อะไรอย่างนี้ บวชอยู่ในกรุงเทพฯนะ ไม่มีถ้ำให้อยู่ ไปอยู่ในโบสถ์ โบสถ์วัดโสมฯน่ะ โบสถ์เขาไม่โตนะโบสถ์เล็กๆ ปิดประตูหน้าต่างเรียบเลยนะ กลางวันนะร้อน อบแบบคล้ายๆห้องซาวน่าอย่างนั้นแหละ อย่างนั้นภาวนาดี

อย่างหลวงพ่อที่อยู่ที่โล่งๆ ที่กว้างๆโล่งๆ แล้วก็ภาวนาดี นี้เราต้องดูตัวเราเอง

เวลาก็มีส่วนนะ ต้องสังเกตเอา บางคนภาวนาดีตอนเช้า บางคนตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเย็น ตอนค่ำ ตอนดึก

อย่างหลวงพ่อหัดภาวนาแรกๆนะสังเกตเลย ซักสี่โมงเย็นไปแล้วจะภาวนาดี อาจจะเพราะเลิกงานก็ได้นะ มันใกล้เวลาเลิกงานแล้ว จิตใจเลยตัดเรื่องงานทิ้งเลย พอเลิกงานปุ๊บดูลูกเดียวเลย แล้วจะดูอย่างขยันขันแข็ง แล้วพอค่ำพอดึกนี่นะ มันเหนื่อยจากการทำงานทั้งวันแล้ว เป็นฆราวาสมันเหนื่อย มันดูไม่ค่อยจะไหวแล้ว ตอนค่ำตอนดึกอย่างนี้

เพราะฉะนั้นมาช่วงเวลาที่สดใสอยู่ไม่นาน ตอนเช้าสดใสจริงนะ แต่ต้องตาลีตาลานไปทำงาน แย่งชิงกันใช้ถนนใช้รถ เพราะฉะนั้นช่วงที่ปลอดโปร่งจริงๆนะ กลายเป็นช่วงเย็นๆเลิกงานแล้วหมดธุระ หมดภาระ มีช่วงเวลานิดเดียวเท่านั้นล่ะ ตอนนั้นเป็นนาทีทองของเรานะ

เพราะฉะนั้นเราต้องสังเกตตัวเอง อะไรที่ทำแล้วเกื้อกูลให้เกิดสติ ก็เอาอันนั้น อย่าไปลอกแบบกัน หลวงพ่อเลยไม่ชอบจัดคอร์สนะ จัดคอร์สมันบังคับทุกคนให้ทำในสิ่งเดียวกัน เหมือนๆกัน พร้อมๆกัน

ถ้ามันไม่ถูกจริตมันทำไปก็เหนื่อยเปล่า หรือเหนื่อยมาก ได้ผลน้อย อย่างคนนี้เป็นเวลานี้เขาควรจะเดิน พาเขานั่ง เพราะทุกคนจะต้องนั่ง ตอนนี้เป็นเวลาที่เขาควรจะหลับแล้ว ก็เรียกเขาให้ฟังธรรมะ อะไรอย่างนี้

คือ จริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน บางคนไม่ถนัดเดินเลยก็ได้ ถนัดนั่งลูกเดียวเลย บางคนไม่ถนัดนั่งเลย นั่งแล้วหลับ ต้องเดิน เนี่ยต้องศึกษานะ ต้องสังเกตตัวเองเอา แต่เคสที่ถนัดนอนเนี่ย มีคนเดียว มีองค์เดียว ท่านภาวนาด้วยการนอน หลวงพ่อจำชื่อท่านไม่ได้ เป็นรุ่นผู้ใหญ่แล้วลูกศิษย์หลวงปู่มั่น อยู่ทางศรีสะเกษ ท่านภาวนาท่านถนัดนอน เราต้องดูตัวเอง อย่าไปลอกแบบใคร ทางใครทางมัน

แต่คำว่าทางใครทางมันเนี่ย ในหลักของการปฎิบัตินะ ต้องเป็นอันเดียวกัน คือหลักที่พระพุทธเจ้าสอน

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
File: 5oo314.mp3
Time: นาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญสติทำให้อนุสัยเหี่ยวแห้งไปเรื่อยๆ

mp 3 (for download) : การเจริญสติทำให้อนุสัยเหี่ยวแห้งไปเรื่อยๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ขอความเมตตาช่วยกรุณาแยกความแตกต่างระหว่างคำว่า อนุสัย กับ จริต ทีค่ะ ได้ทราบมาว่า อนุสัย นี่คือความเคยใจ และ จริต ก็คือความเคยใจ ก็มีปัญหาทั้งสองอย่างค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: คือ จริตนิสัย ‘อนุสัย’ นี่เป็นการสะสมของกิเลสไว้ สันดานที่ไม่ดีน่ะ เรียกว่า อนุสัย นะ ‘จริต’ เป็นเรื่องของความคุ้นเคย เป็นความคุ้นเคย อย่างใจเราคุ้นเคยที่จะโมโห คุ้นเคยที่จะโมโห ก็เรียกว่ามีจริตขี้โมโห มีโทสะจริต แต่มันจะมีโทสะจริตได้นี่ มันต้องมีสันดานขี้โมโหด้วย มีอนุสัยขี้โมโหด้วย เพราะฉะนั้น ตัวอนุสัยนี่จะเป็นตัวของกิเลส จริตเป็นตัวปรากฏขึ้นมาของกิเลส

โยม: หลวงพ่อคะ แล้วในกรณีนี้นะคะ คำว่า ได้ยินมาจากพระภิกษุนะคะบอกว่า การที่เราจะดับอนุสัยนี่ คงจะเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนอนุสัย โดยการเอาศีล สมาธิ ปัญญา เปลี่ยนอนุสัยที่เป็นกิเลสลงไปแทนใช่ไหมคะ ซึ่งเป็นลักษณะของพระอริยะขั้นสูงสุดใช่ไหมคะ คือการเปลี่ยนอนุสัยตรงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์: อนุสัยเหรอ อนุสัยเป็นแค่กิเลสชั้นกลางๆ เท่านั้นเอง

โยม: เหรอคะ แล้วอะไรที่เป็นกิเลสที่สุด

หลวงพ่อปราโมทย์: ตัวสังโยชน์นะ ละเอียดยิ่งกว่าอนุสัยอีก ที่พระอริยะไปละ นี่ละสังโยชน์ สังโยชน์เป็นกิเลสที่ผูกมัดเราไว้ในโลก ผูกมันสัตว์ไว้ในภพ

โยม: ไม่ใช่ว่าอนุสัยเป็นส่วนที่นอนเนื่อง แล้วสังโยชน์เป็นตัวปรากฏของอนุสัย ไม่ใช่แบบนั้นเหรอคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: โอย อย่าเรียนอย่างนั้นนะ เดี๋ยวเวียนหัวตายเลย คืออย่างนี้ ในการปฏิบัติธรรมนี่ พอกิเลสผุดขึ้นมาเรามีสติรู้ทัน กิเลสก็ดับไป ทันทีที่เกิดสติไม่มีกิเลส เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมนี่ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อละกิเลส แต่แค่มีสติกิเลสก็ดับ ทีนี้พอกิเลสดับไปเราก็ไม่ทำตามความเคยชินเก่าๆ ที่กิเลสสอนให้ทำ ความเคยชินของเราก็ค่อยๆ เปลี่ยน อนุสัยก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไป อย่างแต่เดิมเราด่าไวมากเลย ใครมากระทบนะ เราโมโห เราด่าเลยนี่ พอกิเลสเกิดขึ้นมา โทสะเกิด เราก็ด่า อนุสัยนี่มันปรุงกิเลสหยาบขึ้นมา พอมันปรุงกิเลสหยาบขึ้นมาแล้วครอบงำใจเราได้ เราทำกรรมใหม่ มันจะสะสมอนุสัยให้มากขึ้น หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ สมมติสาวๆ คนหนึ่งนี่บ่นไม่เป็นนะ พอแต่งงานแล้วจะบ่นเก่งขึ้นเรื่อยๆ ใช่ไหม เพราะต้องดูแลบ้าน ดูแลสามี ดูแลลูก ทีแรกก็อบรมสั่งสอนนะ ในที่สุดกลายเป็นยายแก่ขี้บ่น มันเคยชิน มันเคยชินไปเรื่อย

เพราะฉะนั้น ถ้าหากอนุสัยมันทำงานขึ้นมา แล้วเราก็ตอบสนองกิเลสไป อนุสัยจะยิ่งตัวใหญ่ขึ้น แต่ถ้าอนุสัยปรุงกิเลสขึ้นมา เรามีสติรู้ทันปั๊บ กิเลสดับไป อนุสัยลงทุนแล้วขาดทุน มันจะค่อยๆ ฝ่อไป เพราะฉะนั้นเราเจริญสตินี่ อนุสัยจะค่อยๆ เหี่ยวแห้งไปเรื่อยๆ

โยม: เพราะฉะนั้น คำว่า การเปลี่ยนอนุสัยนี่ โดยการเอาศีล สมาธิ ปัญญา ลงไปใส่นี่

หลวงพ่อปราโมทย์: มันเป็นสำนวน เป็นสำนวนนะ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้เปลี่ยนอนุสัย

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 25500105.mp3
Time: 49.54 – 53.24

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรื่องของจริต: ดูกายหรือจิต?

mp3: จริต: ดูกายหรือจิต?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนเริ่มต้นปฏิบัติไม่ใช่ต้องดูกายก่อนนะ รู้อะไรแล้วสติเกิดก็เอาอันนั้นแหละ   รู้กายก็ได้ รู้เวทนาก็ได้ รู้จิตก็ได้

ไม่ใช่รู้อันใดอันหนึ่ง ไม่ใช่มีขั้นมีตอนว่าทุกคนต้องเริ่มเหมือนกันหมด จริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเริ่มดูกายเหมือนกันหมด หรือมาเรียนกับหลวงพ่อก็ไม่ใช่ว่าหลวงพ่อสอนให้ทุกคนต้องดูจิตเหมือนกันหมด กรรมฐานต้องเลือกให้ถูกกับจริตถูกกับนิสัยของเรา

ถ้าเรามีจริตนิสัยรักสุขรักสบายรักสวยรักงามรักความสงบอะไรพวกนี้   ทำความสงบขึ้นมาก่อน ทำสมาธิมา ทำความสงบ พอใจตั้งมั่นแล้วก็ดูกายไป   เห็นกายที่ยืนเดินนั่งนอนไม่ใช่เรา   เห็นกายที่หายออกเข้าหายใจเข้าไม่ใช่เรา   ดูไปกายไม่มีตัวเรา  จะเห็นว่าจิตเป็นแค่คนดูจิตจะแยกออกมา  จิตจะแยกออกมาเป็นคนดู   นี่ก็ได้

หรือคนไหนเป็นพวกคิดมากเป็นพวกทิฐิจริต   คิดมากให้ดูจิตไปเลย   ทำสมาธิไม่ลงหรอก    เพราะว่าคิดมากฟุ้งซ่าน   ให้ดูจิตไป   จิตเป็นสุขก็รู้   จิตเป็นทุกข์ก็รู้ จิตเฉยๆก็รู้ จิตดีก็รู้ จิตร้ายก็รู้ จิตโกรธ จิตโลภ จิตหลงก็รู้ รู้ไปเรื่อย ดูไป

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่