Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เคล็ดลับการทำสมถะ

mp 3 (for download) : เคล็ดลับการทำสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเรารู้เคล็ดลับตัวนี้นะ ว่าที่จิตไม่สงบ เพราะจิตวิ่งหาความสุข ถ้าเราอยากให้จิตสงบ เคล็ดลับก็มีนิดเดียว หาอารมณ์ที่มีความสุขมาเป็นเหยื่อล่อจิต จิตเหมือนเด็กซุกซน ชอบวิ่งออกไปเล่นนอกบ้าน ถ้าเรารู้ว่าเด็กคนนี้ชอบกินขนมนะ เราหาขนมมาไว้ที่บ้าน เด็กก็ไม่ซนนาน เดี๋ยวก็กลับมากินขนมอยู่ที่บ้าน กินให้อิ่มๆเดี๋ยวมันก็หลับไปแล้ว หรือเด็กชอบเล่นเกม หาเกมมาให้มันเล่น มันก็ไม่ไปซนนอกบ้าน มันก็อยู่กับเกม

เคล็ดลับการทำสมถะอยู่ตรงนี้เอง เราต้องเลือกอารมณ์ ที่ว่าจิตของเราไปอยู่ด้วยแล้วมีความสุข จิตเหมือนเด็กซุกซน ถ้าจิตพอใจอยู่กับพุทโธแล้วมีความสุข เราอยู่กับพุทโธ รู้ลมหายใจแล้วมีความสุข เรารู้ลมหายใจ ดูท้องพองยุบแล้วมีความสุข เราดูท้องพองยุบไป อะไรก็ได้ซักอย่างนึง หรือสวดมนต์แล้วมีความสุข ก็สวดมนต์ไป

แต่ต้องดูที่มันไม่ยั่วกิเลส ถ้าด่าคนอื่นแล้วมีความสุขเนี่ย ไม่เอา เพราะว่าจิตไม่สงบแน่ ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศล อย่างพุทโธๆเนี่ย เป็นกุศลแน่ รู้ลมหายใจเนี่ย ไม่ไประรานใครแน่ หาอารมณ์ที่ดี หาอารมณ์ที่มีความสุข พอจิตเราได้อารมณ์ที่มีความสุข จิตจะไม่วิ่งไปหาความสุขที่อื่น จิตจะไม่วิ่งพล่านไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตจะสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี่คือเคล็ดลับของการทำสมถะ การทำสมถะเพื่อให้จิตได้พักผ่อน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
File: 550907B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางลัดในการทำสมถะ

mp 3 (for download) : ทางลัดในการทำสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงปู่เทสก์ท่านสอนอันหนึ่ง บอกว่า เวลาที่ฟุ้งซ่านมากๆนะ ทำสมถะแบบเคล็ดลับเลย แบบทางลัดลัดๆน่ะ กลั้นลมหายใจ กลั้นไว้แป๊บนึง ตรงที่กั้นลมหายใจน่ะ คุณรู้สึกมั้ยมันมีความนิ่งๆอยู่ (โยม : รู้สึกครับ) เออ.. เอาจิตไปอยู่กับความนิ่งๆนั่นแป๊บนึงนะ ก็ได้พักละ (โยม : ครับ) แล้วก็ถอยมาเดินปัญญาต่อ (โยม : ครับ)

จิตก็ต้องมีที่พักบ้าง เดินปัญญารวดไป จิตก็ไม่มีแรง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๑๕
File: 550817B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : หัดตามรู้ลมหายใจ (อานาปานสติ) แล้วอึดอัด

หัดตามรู้ลมหายใจ (อานาปานสติ) แล้วอึดอัด

ถาม : จดจ่อกับลมหายใจแล้วรู้สึกอึดอัด

ตอบ : เป็นเพราะใช้กำลังพยายามเอาจิตไปปักแช่ที่ลมหายใจ
เพื่อไม่ให้คลาดจากลมหายใจ ก็เลยเกิดอาการอึดอัดครับ

ถาม : พอจิตตามความคิดไปจะใช้เวลานานมากค่ะกว่าจะกลับมา พอกลับมาแล้วก็หลงต่อเป็นแบบนี้ถือว่าเป็นปกติใช่มั้ยคะ

ตอบ : เป็นปกติของคนที่หัดใหม่ๆ ครับ
ให้หัดต่อไปสบายๆ จะหลงตามความคิดไปนานหน่อยก็ไม่เป็นไร
พอรู้ว่าหลงไปก็ให้กลับมารู้สึกตัวไปสบายๆ
หัดมากขึ้น ชำนาญมากขึ้นก็จะหลงตามความคิดสั้นลงเอง
แต่อย่าพยายามทำเพื่อไม่ให้หลงตามความคิดจนกลายเป็นเพ่งลมหายใจแบบข้อแรกนะครับ

ถาม : มีคนบอกมาว่าถ้าตามลมหายใจแล้วเพ่ง ให้ดูความรู้สึกกว้างๆแทน แต่พอดูแล้วตรงหน้าผากจะเกร็งค่ะ จะแก้ยังไงดีคะ

ตอบ : ถ้ายังพยายามทำจิตให้นิ่งให้สงบตามที่อยากให้เป็น
ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปดูอะไรก็จะเพ่งทั้งนั้นแหละครับ
ดังนั้นอย่าตั้งใจว่าทำแล้วต้องนิ่งต้องสงบต้องไม่หลงตามความคิด
แต่ให้ตั้งใจว่า จะไม่ฝืนบังคับจิต จะรู้ไปตามที่เป็น
ส่วนจิตจะเป็นอย่างไรก็ได้ หลงไปก็ได้ นิ่งก็ได้ ฟุ้งก็ได้
หลงก็รู้ นิ่งก็รู้ ฟุ้งก็รู้ไปตามที่จะเป็น
เพราะฉะนั้นให้เอาสิ่งที่ชอบดูมาใช้เป็นเครื่องอยู่
เช่นถ้าชอบดูลมหายใจ ก็ให้หัดดูไปสบายๆ จิตจะหลงไปคิดก็ไม่เป็นไร
รู้ว่าหลงคิดไปเมื่อใด ก็กลับมาเริ่มดูลมหายใจเอาใหม่ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

mp3 (for download): ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

โยม : ค่ะ อย่างเรื่องสติปัฏฐานนี่นะคะ อย่างบางคนจิตฟุ้งซ่าน ไม่ยอมมีวิหารธรรม ไม่ว่าจะอยู่กับกายหรืออะไร แต่ว่าจะสามารถรู้ในขณะปัจจุบันอันนั้นได้ว่าตอนนี้รู้กายตอนนี้รู้สภาวธรรมทางใจที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจจะคิดตรึกนึกถึงหัวข้อธรรมอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ จะใช้ได้มั้ยคะ คือแทนที่พุทโธๆจิตมันไม่ยอม อย่างนี้เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : พุทโธแล้วจิตไม่ยอม ก็หาอย่างอื่นให้จิตมันยอมนะ คือยังไงก็ต้องมีจิตที่อยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตมันฟุ้งๆไปเรื่อยถึงไปคิดธรรมะนะ เป็นความฟุ้งซ่านในธรรมะนะ

ต้องให้จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ต้องให้จิตถอนตัวออกจากโลกของความคิดโลกของความปรุงแต่ง มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว มันจะถอนตัวเหมือนคนดูฟุตบอลนะ ถอยขึ้นมาอยู่บนอัฒจรรย์เห็นนักฟุตบอลวิ่งอยู่โน่น หรือเห็นเขาแข่งเรือกันในแม่น้ำ เราอยู่บนบกไม่กระโดดลงไปอยู่ในแม่น้ำ ถ้าจิตมันถอนตัวจิตมันตั้งมั่น แยกตัวออกมาได้ ก็จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวไปมา สักว่ารู้สักว่าเห็น อย่างนี้ถึงจะเดินปัญญาต่อได้นะ

แต่ถ้าจิตเราฟุ้งๆ แล้วเราจับอะไรไม่ถูกเลยนะ เดี๋ยวก็ว่อกแว่กไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ ดูไม่ได้จริงหรอก อย่างน้อยก็ต้องมีสมาธิรองรับนะ จิตต้องตั้งมั่น จะตั้งได้ชั่วขณะก็ยังดี ตั้งได้ชั่วขณะเขาเรียกว่าขณิกสมาธิ ยกตัวอย่างใจไหลแว้บแล้วรู้สึกขึ้นมา ตรงที่รู้สึกขึ้นมาแล้วเกิดเห็นร่างกายสติเกิดระลึกรู้ร่างกายปุ๊บเนี่ย เห็นร่างกายไม่ใช่เรา ได้เห็นในแว้บเดียว แค่นี้ก็ยังดี ใช้ได้ ขนาดนี้ แต่ถ้าจิตไม่ได้ตั้งมั่นเลยแล้วไปพิจารณากาย ไปคิดหัวข้อธรรมะ อันนี้เป็นความฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้นต้องใช้หลักที่หลวงพ่อพุธท่านบอก ที่เล่าให้ฟังตะกี้นะ ใจเราต้องมีสมาธิหนุนหลัง คือมันต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมามันถึงจะเกิดปัญญา ถ้าจิตไม่มีสมาธิรองรับเนี่ยจะไม่มีปัญญา สมาธิคือความตั้งมั่นไม่ใช่ความสงบอย่างเดียว ในอภิธรรมท่านก็สอนนะ บอกว่าสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา เห็นมั้ย ถ้าขาดสมาธิความตั้งมั่นของจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้ดู เห็นปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนะ ถ้าไม่มีจิตตัวนี้ก็เดินปัญญาไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๖๖ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๖๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

mp3 for download : ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

โยม : หลวงพ่อคะ แม่ชีจะเห็นแว้บไปแว้บมา เดี๋ยวก็เห็นอิริยาบถ เดี๋ยวก็เห็นจิต เดี๋ยวก็เห็นลมหายใจ ถูกต้องแล้วนะคะ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นถูกต้องแล้ว เพราะเวลาสติจะเกิดนี้ เราเลือกไม่ได้ว่าสติจะระลึกรู้อะไร สติเป็นอนัตตา นึกออกหรือยัง

โยม : ดูเหมือนคนไม่มีสมาธิ ดูเหมือนไม่มีหลักน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรามีสมาธิ แต่มีทีละขณะเดียว ขณะใดที่ว่าขณะเดียว ขณะปัจจุบันไง ไม่ใช่ขณะยาวๆ

โยม : ค่ะ กราบขอบพระคุณ

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกที่บอกว่าสมาธิสั้น ไม่เห็นแปลกอะไร หลวงพ่อก็สมาธิสั้น ก็สั้นทีละขณะจิตหนึ่ง มันจะยาวไปได้อย่างไร

โยม : เคยถามหลวงพ่อตอนมาครั้งแรก ก็อย่างนี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๑๐ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

mp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์: สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต วิธีฝึกมี ๒ วิธี วิธีหนึ่งทำฌานสำหรับคนที่ทำฌานได้ ทำฌานไปจนถึงฌานที่ ๒ ละวิตก ละวิจารณ์ได้ วิตกคือการตรึกถึงอารมณ์ วิจารณ์คือการตรอง เคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ มีความจงใจที่จะตรึกนะ แต่ตรงวิจารณ์มันเคล้าเคลียไม่ได้จงใจเคล้าแล้ว

แต่ตรงนี้ วิตกวิจารณ์นี้ ยังปนอยู่กับการคิดอยู่ ยังมีการหยิบยกอารมณ์ จงใจหยิบยกอารมณ์ขึ้นมา ใจไปจงใจเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์ ใจจะยังไม่ตื่น เพราะยังเพ่งเล็งอยู่ที่ตัวอารมณ์

พอพ้นจากฌานที่ ๑ ไปนะ ดับวิตกดับวิจารณ์ไป มีปีติ มีความสุข มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะมีสภาวธรรมตัวหนึ่ง เรียกว่า “เอโกทิภาวะ” ภาวะแห่งความตื่นเกิดขึ้น จิตจะเป็นผู้ตื่นขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้

เมื่อเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวความตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้ มันจะทรงอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ก็เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ แต่ว่าตอนที่ยังไม่เสื่อม ก็อาศัยมีใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา คอยรู้กายที่เคลื่อนไหวไป ดูกายไปเรื่อย อย่าไปดูจิตนะ ถ้าทำสมาธิออกมา แล้วก็จิตมันติดความนิ่งความเฉยนะ ต้องระวัง ถ้าไปดูจิตเดี๋ยวจะไปนิ่งใหญ่

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ชอบสอนว่า ออกจากสมาธิแล้วคอยรู้กาย แต่คนไหนถนัดดูจิต ออกจากสมาธิแล้วก็ดูจิตต่อไปได้เลย ก็ไม่มีข้อห้ามหรอก แต่ส่วนใหญ่แล้วควรจะมารู้กาย เห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นของถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเรา นี่ จิตมันแยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู เรียกว่ามีจิตผู้รู้

อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารมณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าจะให้เป็นสัมมาสมาธิ จิตต้องตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้อารมณ์ จิตอยู่ต่างหาก เห็นร่างกายอยู่ต่างหาก ร่างกายกับจิตมันแยกกัน เห็นเวทนากับจิตมันแยกกัน เห็นความปรุงแต่ง เช่นโลภ โกรธ หลง กับจิตเนี่ย มันแยกกัน

เห็นจิตเกิดดับไปทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ตาดับที่ตา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่ใจดับที่ใจ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็หลงไป มันเกิดดับให้ดู

แล้วถ้าใจเราคอยรู้นะ รู้ทันใจที่มันไหลไปไหลมาเนี่ย ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พอใจตั้งมั่นขึ้นเอง ที่หลวงพ่อชอบใช้คำว่า จิตมันถึงฐานแล้ว มันรู้ตัวเต็มที่แล้ว มันตื่นเต็มที่แล้ว ตรงนี้ ตรงนี้ จิตตรงนี้น่ะสำคัญ ถ้าจิตยังไหลตามอารมณ์ไปนะ ไม่สามารถทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงได้ แต่ถ้าจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะเห็นเลย ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีเลยนะ เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เห็นสังขาร โลภ โกรธ หลง อะไรพวกนี้ไม่ใช่เรา แล้วก็เห็นจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ นี้เป็นการเจริญปัญญา เพราะการเจริญปัญญาต้องเห็นไตรลักษณ์นะ ไม่ใช่เห็นอย่างอื่น


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๖
File: 511221.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

สมถะตามรูปแบบ

สมถะตามรูปแบบ

mp 3 (for download) : เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: งานเยอะ แล้วก็มันวุ่นๆ ยุ่งๆ แล้วรู้สึกว่าเหมือนมันไม่ได้ทำอะไรไปเลยน่ะค่ะ หลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องทำนะ อย่าทิ้งการทำในรูปแบบ เป็นเครื่องช่วย ถ้าเราจะเจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เจริญไปเรื่อยๆ นะ ถึงวันหนึ่งกำลังก็ไม่พอ ครูบาอาจารย์วัดป่าจะสอน อย่างสายวัดป่านี่ การปฏิบัติมี ๓ สเต็ป ต้องทำทั้งสามอัน

อันแรกเลยทำความสงบให้จิตตั้งมั่น จิตสงบ มีกำลังขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ที่นี้คนส่วนมากพอจิตสงบตั้งมั่นแล้วขี้เกียจ ขี้เกียจนี่ครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณากาย อันนี้ก็เป็นสมถะอีกแบบหนึ่ง ให้คิดพิจารณากาย พอหมดเวลาปฏิบัติในรูปแบบแล้ว คราวนี้ต้องมีสติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นสติในชีวิตประจำวันนี่ตัวสำคัญที่สุด แต่การที่ทำใจสงบตั้งมั่น ทำใจให้ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน อันนั้นก็เป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญมาก

ที่นี้ถ้าพวกเราทำฌานไม่ได้ แต่ละวันนะ แบ่งเวลาไว้หน่อย ไหว้พระไว้ สวดมนต์ไว้นะ ได้สมถะ สวดมนต์แล้วจิตใจสงบได้สมถะ ถ้าสวดมนต์แล้วขี้เกียจให้รู้ว่าขี้เกียจ เราไหว้พระสวดมนต์แล้วเราก็แบ่งเวลาปฏิบัติในรูปแบบ ห้านาที สิบนาที สิบห้านาทีอะไรอย่างนี้ ต้องทำ อย่างที่หลวงพ่อพูดตั้งแต่ต้นแล้วนะ แบ่งเวลาไว้แล้วก็ทำในรูปแบบไว้หน่อย แล้วหัดรู้สภาวะไป การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง สติมันจะมีกำลังที่จะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราทิ้งการทำในรูปแบบไปเลยนะ มันจะไม่มีกำลังจริง มันเหมือนรู้นะ แต่ใจจะกระจายๆ รู้อย่างนี้ ผึ้งรู้สึกไหม รู้แบบไม่มีแรง รู้แบบป้อแป้ๆ ไม่มีแรง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑
File: 491022A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติธรรมคล้ายขับรถ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก

mp 3 (for download) : การปฏิบัติธรรมคล้ายขับรถ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านสอนสมาธินะ พอจิตใจเราสงบ เช่น เราพุทธโธ หรือ หายใจ จิตใจสงบแล้วมักจะขี้เกียจขี้คร้าน เพราะมีความสุข ท่านจะไล่ให้ออกมาพิจารณากาย หรือ ออกมาเจริญสติข้างนอกนี้ คนที่ติดในความสุข ความสงบ พอตัวเองออกมาทำงาน ไม่ชอบนะ มันเหนื่อย เหนื่อย มันคล้ายๆเรานอนมานานแล้วเลยขี้เกียจออกจากบ้าน พอออกมาแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก รู้สึกร้อนมาก แต่พอเราออกมาทำงานไปเรื่อยๆ บางทีทำงานไปช่วงหนึ่ง เพลินกับงาน ไม่ยอมพักแล้ว คราวนี้เพลินกับงาน ครูบาอาจารย์ก็จะบอกว่า “ไปเพิ่มสมถะหน่อยช่วงนี้ ทำความสงบบ้าง พักบ้าง ให้จิตทำงานทั้งวันทั้งคืนไม่ดี ไม่มีแรง”

การปฏิบัติธรรมคล้ายๆขับรถนะ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก ขาที่เหยียบคันเร่งกับขาที่เหยียบเบรกขาเดียวกัน ใช่ไหม ไม่ใช่เหยียบคันเร่งพร้อมกับเหยียบเบรก บางเวลาเราก็ต้องทำความสงบเข้ามา บางวันสงบมากแล้วนะ ก็ต้องออกมารู้กายรู้ใจ ฝืนๆมัน มันไม่อยากดู ไม่อยากรู้ เพราะว่ามันไม่สบาย

เคยอ่านประวัติท่านอาจารย์มหาบัว ท่านเล่า เคยอ่านไหม ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น บอกว่า ช่วงแรกๆไปอยู่กับหลวงปู่มั่นนะ เช้าๆหลวงปู่มั่นจะถามว่า “ท่านมหาท่านภาวนาเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า มีความสุข ความสงบ” ทุกวันรายงานอย่างนี้ นานๆไป หลวงปู่มั่นท่านก็ดุเอานะว่า เอาแต่ความสุข ความสงบไม่ได้ ให้ออกมาพิจารณา ออกมารู้กายรู้ใจ ก็รู้ไปเถอะ พอท่านออกมาพิจารณา ท่านเริ่มต้นด้วยพิจารณากาย พิจารณาไปเรื่อย แล้วก็เพลิดเพลิน เช้าๆหลวงปู่มั่นมาถามอีก ท่านก็บอก หมู่นี้มีปัญญาดี เจริญปัญญา ทุกวันพูดแต่เจริญปัญญานะ ลืมสมถะอีก ท่านบอกจิตของท่านมันโลดโผน

เพราะฉะนั้น เราต้องดูตัวเองนะ ช่วงไหนควรเจริญปัญญา ช่วงไหนควรทำสมถะ สมถะเป็นที่พักผ่อนนะ ที่ดีไม่ใช่ไม่ดีนะ บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด เจริญสติในชีวิตประจำวัน นึกว่าหลวงพ่อบอกไม่ต้องทำสมถะ เราทำเท่าที่เราทำได้ บางคนทำอย่างไรมันก็ทำไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้เลย ก็ไหว้พระสวดมนต์ไว้ก็ยังดีนะ ได้สมถะนิดๆหน่อยๆ

สวนสันติธรรม CD: 16
File: 25491104.mp3
Time: 25.55-28.33

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนไม่มีฌานทำให้จิตตั้งมั่น(มีสมาธิ)ได้อย่างไร?

MP3: คนไม่มีฌานทำให้จิตตั้งมั่น(มีสมาธิ)ได้อย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: ให้เราสังเกตจิตของเราไป   ทำฌานไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

ให้มีสติรู้ทัว่าตอนนี้กำลังหลงไปหาแล้วว่าจะดูอะไรดี ตอนนี้ถลำลงไปเพ่งแล้ว ตอนนี้เข้าไปแทรกแทรงด้วยความยินดียินร้ายแล้ว

ถ้ารู้ทันอย่างนี้นะจิตจะตั้งมั่นขึ้นมาได้ นี่เป็นวิธีที่สำหรับคนที่ทำฌานไม่ได้นะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา

รู้ว่ามันไหลไปมันจะตั้งมั่นขึ้นมาเริ่มต้นไหลอยากเห็นอยากปฏิบัติ   จิตไหลไปค้นคว้าแสวงหาว่าจะดูอะไรดี จิตไม่ตั้งมั่น พอไปเจออะไรจิตก็ไปถลำลงไปจ้อง จิตไม่ตั้งมั่น

ถ้าเรามีสติรู้ทันว่ากำลังหาอยู่ จิตก็จะตั้งมั่น

รู้ว่ากำลังถลำไปแช่ไปจ้องอยู่ รู้ทันจิตก็จะตั้งมั่น

รู้ว่ากำลังหลงไปแทรกแทรงอยู่ จิตก็จะตั้งมั่น

ถ้าเรามี ที่หลวงพ่อบอก หลวงพ่อสอนสองอัน (๑)รู้สภาวะ (๒)รู้สภาวะให้เป็น

การรู้สภาวะ คือ มีสติ   การรู้สภาวะเป็น คือ มีสัมมาสมาธิ มีความจิตตั้งมั่น

ที่รู้ผิดคือจิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไป บางคนดูพองยุบจิตก็ไหลไปอยู่ที่ท้อง เดินจงกรมจิตก็ไหลไปอยู่ที่เท้า รู้ลมหายใจจิตไหลไปอยู่ที่ลมจิตไม่ตั้งมั่น

อันนี้เป็นวิธีสำหรับคนทำฌานไม่ได้นะ

พวกเรายุคนี้หาคนที่ทำฌานได้จริงมีน้อย มีแต่ชานที่แปลว่าพื้น ลงไปแล้วลงไปเลี้อยไปคานนั่งแล้วขาดสติ

ฌานจริงๆไม่ค่อยมี ลูกศิษย์หลวงพ่อที่ทำฌานได้มีอยู่คนสองคนเอง นอกนั้นก็โม้ไปอย่างนั้นเอง ผมทำฌานได้ ไม่ได้เรื่อง!

ทำฌานไม่ได้ไม่เป็นไรนะ ให้รู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเอง

เรามีสองตัวแล้วเราจะได้สติ หัดรู้หัดดูสภาวะไปเรื่อยแล้วสติจะเกิดนะ รู้จิตที่ไม่ตั้งมั่น รู้ให้เป็น ถ้ารู้ไม่เป็นจิตไม่ตั้งมั่น ถ้ารู้เป็นจิตจะตั้งมั่นขึ้น ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วจะตั้งมั่นยิ่งกว่า

คราวนี้รู้แล้วจะเกิดปัญญาถ้าจิตตั้งมั่น จะเห็นเลยร่างกายที่กำลังปรากฏอยู่ไม่ใช่เรา รูปที่ปรากฎอยู่ไม่ใช่เรา นามธรรมทั้งหลายที่ปรากฎอยู่ไม่ใช่เรา ไม่ยากอะไรหรอก

ง่ายๆ หลวงพ่อไม่เห็นว่ามันจะยากเลย

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่