Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

สิ่งใดที่ถูกรู้ถูกดู จิตจะรู้สึกได้เอง ว่าไม่ใช่ตัวเรา

mp3 for download : สิ่งใดที่ถูกรู้ถูกดู จิตจะรู้สึกได้เอง ว่าไม่ใช่ตัวเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่างที่หลวงพ่อสอนแยกธาตุแยกขันธ์ ก็แยกออกไป รูปส่วนรูป พอแยกรูปออกไปปุ๊บ รูปไม่ใช่เราแล้ว เวทนาแยกออกไป เวทนาไม่ใช่เรา สัญญาแยกออกไป สัญญาไม่ใช่เรา สังขารวิญญาณแยกออกไป ไม่มีเราแล้ว เพราะฉะนั้นความที่ขันธ์ ๕ มารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน หรืออายตนะ ๖ มารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเนี่่ย อยู่ด้วยกันนะ สัญญาจะเข้าไปหมายว่ามีตัวเราขึ้นมา ถ้ามันแตกออกแล้วจะไปหมายว่าเป็นเราไม่ได้

ยกตัวอย่างพัดอันนี้ ใครรู้สึกว่าพัดเป็นตัวเราบ้าง มีมั้ย ไม่มีหรอก เพราะอะไร เพราะพัดเป็นสิ่งที่เราไปรู้เข้า เรายกมือของเราขึ้นมาดู ลองดูมือตัวเราเองซิ รู้สึกมั้ยว่ามือเป็นเรา ถ้าไม่คิดไม่เป็นหรอก ถ้าไม่คิดไม่เป็นหรอก ถ้าเราค่อยๆสังเกต ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู ตัวเราจะหายไปแล้ว ถ้าร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดูเนี่ย ร่างกายจะไม่เป็นเราอีกต่อไปแล้ว เพราะอะไร เพราะว่าอะไรก็ตามที่ถูกรู้ถูกดูเนี่ย จะไม่ถูกรู้สึกว่าเป็นตัวเราอีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่างเห็นพัดเนี่ย พัดเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู พัดไม่ใช่เราแล้ว ร่างกายเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู

แต่ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ ดูไปปุ๊บมันจะกลายเป็นร่างกายของเราแล้ว มันไปรวมเป็นก้อนเดียวกันแล้วก็มีตัวเราขึ้นมา แต่ถ้าไอ้ก้อนนี้แตกออก ขันธ์นี้แตกออกเป็นส่วนๆ ร่างกายก็คือส่วนของร่างกายเป็นส่วนของรูป ความรู้สึกสุขทุกข์ก็ส่วนของความรู้สึกสุขทุกข์ จิตเป็นคนไปรู้สุขรู้ทุกข์เข้า สุขทุกข์ก็ไม่ใช่เรา ความจำได้หมายรู้ จิตก็เป็นคนไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ใช่เรา สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว จิตไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ใช่เรา

จิตที่เกิดดับทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ มีจิตอีกตัวหนึ่ง(ที่เกิดขึ้นตามหลังไปติดๆ – ผู้ถอด)ไปรู้ จะรู้เลยว่าจิตที่เวียนเกิดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ท่านเรียกว่า “วิญญาณ” วิญญาณเป็นการหยั่งรู้อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ท่านเรียกว่าวิญญาณนะ ทำไมเป็นวิญญาณขันธ์ วิญญาณน่ะไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่ถูกรู้อีก มันก็เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ยกตัวอย่างเวลาเราสังเกตกายใจนะ เดี๋ยวก็วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด ดูก็ดูแว้บเดียว แล้วก็มาคิด

คิดก็คิดหน่อยหนึ่ง บางทีก็คิดยาว คิดมากกว่าดูนะ คิดมากกว่าดู คิดมากกว่าฟัง เพราะฉะนั้นที่ว่าพอฟังแล้วเราเข้าใจน่ะ อันนี้คิดเอาเองเกือบทั้งหมดเลย ระหว่างฟังกับคิดเนี่ย คิดมากกว่าฟัง ระหว่างดูกับคิดนะ คิดมากกว่าดูเสียอีก ดูนิดเดียวเอามาคิดตั้งยาว เพราะฉะนั้นมันมี Bias (ความลำเอียงหรืออคติ-ผู้ถอด) อยู่แล้วล่ะ ความรู้ที่เกิดจากการคิดเอา มันมีกิเลสซ่อนอยู่

เนี่ยเราค่อยๆดูนะ เราจะเห็นเลย จิตก็เกิดไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ร่างกายก็ถูกรู้ถูกดู จิตก็ถูกรู้ถูกดู อะไรๆก็ถูกรู้ถูกดู ตัวเราไม่มี


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การพิจารณาไตรลักษณ์เมื่อดูจิตดูนามธรรม

mp3 for download : การพิจารณาไตรลักษณ์เมื่อดูจิตดูนามธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ :เวลาสอนไตรลักษณ์เกี่ยวกับนามธรรมนะ ท่านจะสอนอนิจจังกับอนัตตา ท่านโดด บางทีโดดข้ามทุกขังไปเฉยๆเลย เพราะอะไร เพราะว่านามธรรมนี้ ตัวที่เด่นคือตัวอนิจจังกับอนัตตา แต่ถ้าดูรูปธรรมนะ ตัวที่เด่นคือตัวทุกขัง มันถูกบีบคั้น นั่งอยู่ก็ถูกบีบคั้น ทำให้นั่งต่อไปไม่ได้ เดินอยู่ก็ถูกบีบคั้น ทำให้เดินต่อไปไม่ได้ นอนอยู่ก็ถูกบีบคั้น ทำให้นอนต่อไปไม่ได้ พลิกไปพลิกมา หายใจออกก็ต้องถูกบีบคั้นต้องหายใจเข้า หายใจเข้าก็ถูกบีบคั้นต้องหายใจออก เนี่ยมันถูกบีบคั้นตลอดเลยตัวรูป รูปเป็นของที่แตกสลายได้ ถูกทำลายได้ด้วยดินน้ำไฟลมอะไรพวกนี้ ส่วนนามธรรมนั้นมันเหมือนภาพลวงตา ไหวตัวขึ้นมาแว้บแล้วสลาย ไหวตัวแว้บแล้วสลาย เต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ดูง่าย

ทำทำวัตรเช้าน่าฟังมากเลย เริ่มสอนตั้งแต่ขันธ์ ๕ มีอยู่บทหนึ่ง นึกออกมั้ย ที่สอนจำแนกขันธ์ ๕ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ท่านสอนบอกว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราดูขันธ์นั่นแหละ ก็เห็นว่า รูปังอนิจจัง ก็เห็นตามความเป็นจริงว่า รูปํอนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง รูปํ อนตฺตา ใช่มั้ย โดดข้ามจาก รูปํ อนิจฺจํ ไป รูปํ อนตฺตา รูปังอนัตตา รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ท่านข้ามทุกขังไป

หลวงพ่อมองว่า ที่ท่านข้ามเพราะว่า คำสอนเรื่องขันธ์ ๕ นี้ ไปเน้นกับพวกที่ควรจะดูนาม ตัวนามที่เด่นชัดก็คืออนิจจังกับอนัตตา อันนี้ในตำราไม่มีหรอกนะ หลวงพ่อพิจารณาเอาเอง ในตำราเขาจะอธิบายอีกอย่าง ในอรรถกถาจะอธิบายไปในทำนองว่า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นมันเป็นอันเดียวกัน ดังนั้นเมื่อไม่เที่ยงแล้วก็เลยไปอนัตตา ไม่อธิบายให้จบนี่ พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นก็น่าจะเหลือแต่ไม่เที่ยง อธิบายไม่ได้ อธิบายไม่จบหรอก

ถ้าเราภาวนาเราจะรู้เลย ตัวร่างกายนี้ ตัวทุกข์นี้เด่นมากเลย เราได้อาศัยความเคลื่อนไหวนี่แหละ กลบเกลื่อนความทุกข์ไม่ให้รู้สึก พอนั่งเมื่อยแล้วขยับ นั่งเมื่อยแล้วขยับ ก็ขยับไปเรื่อยนะ นอนเมื่อยก็พลิกไปพลิกมา ไม่ทันจะเห็นทุกข์เลย หายใจออกไปยังไม่ทันจะเห็นทุกข์ก็หายใจเข้า กลบมันไว้ มันเริ่มทุกข์นิดหน่อยก็กลบมันไว้ ท่านจึงสอนบอกว่า อิริยาบถนั้นมันปิดบังทุกข์ไว้ เปลี่ยนท่าทาง หายใจออกก็เปลี่ยนเป็นหายใจเข้า หายใจเข้าก็เปลี่ยนเป็นหายใจออก ยืนแล้วก็เปลี่ยนไปเดิน ไปนั่ง ไปนอน เปลี่ยนอิริยาบถปิดบัง ทำให้ไม่เห็นทุกข์

อนิจจังนะ เราดู บางทีสติเราไม่ไวพอ เราก็นึกว่ามันคงที่อยู่ ยกตัวอย่างเราเห็นว่าจิตมีดวงเดียว จิตวิ่งไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตวิ่งไปแล้วก็วิ่งกลับมา วิ่งไปแล้วก็วิ่งกลับมา ใครเห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้บ้าง ยกมือสิยกมือ เห็นจิตวิ่งพรึ่บไปแล้วก็กลับมา วิ่งพรึ่บไปแล้วก็กลับมา เห็นถูกมั้ย เห็นถูก แต่ยังถูกไม่เต็มที่ สันตติไม่ขาด ก็เลยยังเห็นว่าจิตเที่ยงอยู่ ถ้าสันตติขาดเราจะเห็นว่า จิตเกิดที่ตาแล้วก็ดับลงที่ตา จะเกิดจิตอีกดวงหนึ่งขึ้นที่ใจ เกิดที่ใจแล้วก็ดับลงที่ใจ แล้วอาจจะเกิดจิตอีกดวงหนึ่งที่หูก็ได้ ที่ตา ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ จิตคนละดวงกัน เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๖ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานและไตรลักษณ์ ต้องเลือกไปตามความถนัด

mp3 for download : กรรมฐานและไตรลักษณ์ ต้องเลือกไปตามความถนัด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากโรงเรียนรุ่งอรุณ โดย คุณ ปิยมงคล โชติกเถียร

หลวงพ่อปราโมทย์ :เวลาเราพูดถึงรูปนะ เวลาดูรูป ตัวทุกข์เนี่ยจะเด่น รูปธรรมนั้นตัวทุกข์จะเด่น นามธรรมนะ อนิจจัง อนัตตา จะเด่น คนที่ทำกรรมฐานที่เหมาะแก่การดูรูปเนี่ย พระพุทธเจ้าท่านจะสอนเรื่องอายตนะให้ คนที่ทำกรรมฐานที่เหมาะกับการดูนาม พระพุทธเจ้าท่านจะสอน

เรื่องขันธ์ ๕ ให้ มันก็อันเดียวกันนะ เป็นการแยกสิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” ออกเป็นส่วนๆ ถ้าเป็นพวกที่ชำนาญในรูปธรรมนะ ท่านจะแยกออกไปเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาหูจมูกลิ้นกายเป็นรูป มีใจเป็นนามอันเดียว ส่วนใหญ่ที่ให้ดูเป็นรูป แต่ถ้าเป็นพวกถนัดนาม ท่านจะสอนขันธ์ ๕ รูป รูปเป็นตัวรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนามธรรม มีนามมาก มีรูปน้อย ดูนามมาก

เวลาสอนไตรลักษณ์เกี่ยวกับนามธรรมนะ ท่านจะสอนอนิจจังกับอนัตตา ท่านโดด บางทีโดดข้ามทุกขังไปเฉยๆเลย เพราะอะไร เพราะว่านามธรรมนี้ ตัวที่เด่นคือตัวอนิจจังกับอนัตตา แต่ถ้าดูรูปธรรมนะ ตัวที่เด่นคือตัวทุกขัง มันถูกบีบคั้น นั่งอยู่ก็ถูกบีบคั้น ทำให้นั่งต่อไปไม่ได้ เดินอยู่ก็ถูกบีบคั้น ทำให้เดินต่อไปไม่ได้ นอนอยู่ก็ถูกบีบคั้น ทำให้นอนต่อไปไม่ได้ พลิกไปพลิกมา หายใจออกก็ต้องถูกบีบคั้นต้องหายใจเข้า หายใจเข้าก็ถูกบีบคั้นต้องหายใจออก เนี่ยมันถูกบีบคั้นตลอดเลยตัวรูป รูปเป็นของที่แตกสลายได้ ถูกทำลายได้ด้วยดินน้ำไฟลมอะไรพวกนี้ ส่วนนามธรรมนั้นมันเหมือนภาพลวงตา ไหวตัวขึ้นมาแว้บแล้วสลาย ไหวตัวแว้บแล้วสลาย เต็มไปด้วยของไม่เที่ยง ดูง่าย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560315A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๓ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตเรียกว่าวิญญาณขันธ์ เพราะหยั่งรู้ลงใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

mp3 for download :จิตเรียกว่าวิญญาณขันธ์ เพราะหยั่งรู้ลงใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พยายามแยกไป ร่างกายอยู่ส่วนร่างกาย เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์อยู่ส่วนของเวทนา สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็อยู่ส่วนของ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็อยู่ส่วนจิต

จิตก็ไม่ได้เป็นผู้รู้อยู่ตลอดเวลา บางทีก็เป็น ผู้นึก ผู้คิด ผู้ปรุง ผู้แต่ง บางทีจิตก็วิ่งไปดู บางทีจิตก็วิ่งไปฟัง บางทีจิตก็วิ่งไปคิด สลับไปสลับมาทางอายตนะทั้ง ๖ ท่านถึงเรียกว่า ขันธ์ ขันธ์แปลว่ากอง จิตมีดวงเดียวทำไมมีกอง เพราะจิตนี้เกิดดับสารพัดที่นะ เกิดดับได้ ๖ แห่ง เกิดดับทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านเลยเรียกว่า “วิญญาณ”

วิญญาณเป็นความหยั่งรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันมีเยอะแยะ เดี๋ยวไปรู้ที่ตา เดี๋ยวไปรู้ที่หู สลับไปเรื่อยๆ ก็เลยรวมเป็นขันธ์ๆหนึ่งขึ้นมา เป็นวิญญาณขันธ์ ความรับรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ถ้ารับรู้อยู่ในธรรมธาตุอันเดียว ก็ไม่ได้เป็นขันธ์หรอก ก็เป็นธรรมไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เริ่มหัดภาวนา อย่าไปยุ่งหรือดัดแปลงสัญญาขันธ์

mp3 for download : เริ่มหัดภาวนา อย่าไปยุ่งหรือดัดแปลงสัญญาขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่เป็นการหัดแยกขันธ์นะ แยกขันธ์ออกเป็นส่วนๆ รูปขันธ์ก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง สังขารขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง วิญญาณขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง ทำไมหลวงพ่อไม่พูดถึงสัญญาขันธ์ สัญญาอย่าเพิ่งไปยุ่ง สัญญาของเราตอนนี้เป็นสัญญาวิปลาส พวกเราตอนนี้ สัญญาเพี้ยนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปยุ่งกับมัน ตอนนี้

สัญญาเพี้ยนอย่างไร มันเห็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง ยกตัวอย่างนะจิตใจของเราเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไปเห็นว่าในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง คนนี้กับตอนเด็กๆก็คนเดิม คนนี้ในวันนี้กับคนนี้ในวันพรุ่งนี้ก็ยังเป็นคนเดิม เราไปเห็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นของทนอยู่ไม่ได้ว่าทนอยู่ได้ เห็นของบังคับไม่ได้ว่าบังคับได้ รู้สึกมั้ยว่าร่างกายมันเป็นของเรา เราสั่งได้ รู้สึกอย่างนี้ สั่งได้ไม่ตลอดหรอก

เพราะฉะนั้นสัญญาของเรายังเพี้ยนอยู่ ตอนนี้ปล่อยไปก่อน พามันดูในของจริง ในรูป ในเวทนา ในสังขาร ในจิต พามันดูของจริงตัวนี้ให้มากนะ ต่อไปพอจิตมันฉลาดขึ้นมาสัญญามันก็ถูก สัญญาตอนนี้วิปลาส ต่อไปไม่วิปลาส มันยอมรับความจริงว่า เออ.. ขันธ์ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เนี่ยหายวิปลาสแล้ว ขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์ นี่หายวิปลาสแล้ว ขันธ์ทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา หายวิปลาสแล้ว เพราะฉะนั้นสัญญาแขวนมันเอาไว้ก่อน

บางคนไปใจร้อนนะ พยายามไปดัดแปลงสัญญา เคยมีนะ คนหนึ่ง เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ เห็นสีเหลืองเรียกสีแดง สุดท้ายสติแตกเลย ไม่รู้จักสมมุติบัญญัติของโลกนะ ใช้ไม่ได้นะอย่างนั้นเพี้ยน อย่าไปทำอย่างนั้น

เราดูลงไปในสติปัฏฐานใช่มั้ย ท่านสอนเรื่องกาย เรื่องเวทนา เรื่องจิต เรื่องธรรม แต่ในธรรม (หมายถึง ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – ผู้ถอด) จึงค่อยมีตัวสัญญาอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นตอนนี้เว้นไว้ก่อน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คำว่า “อารมณ์” ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้

mp3 (for download) : คำว่า “อารมณ์” ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันจะมีสองอย่างเกิดร่วมกัน ก็คือจิต ซึ่งเป็นผู้รู้ กับอารมณ์ คำว่าอารมณ์เนี่ยเป็นศัพท์เฉพาะเป็นเทคนิคอลเทอมของพระพุทธเจ้านะ คำว่าอารมณ์ไม่ใช่ Emotion อารมณ์หมายถึง Objective หมายถึงสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

เพราะฉะนั้นมันจะมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ มี Ojectvie กับ Subjective จะมี ๒ ตัว เกิดร่วมกันเสมอ ไม่เกิดตัวเดียวหรอก เราพยายามแยก ๒ ตัวนี้ออกจากกัน ร่างกายยืนเดินนั่งนอนนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จิตซึ่งเป็นคนที่ไปรู้ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอนนั้น เป็นคนละส่วนกับร่างกาย ค่อยๆหัดอย่างนี้

นั่งไปนานมันปวดมันเมื่อยก็เห็นอีก ความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความปวดความเมื่อยไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายมันนั่งมาก่อน ความปวดความเมื่อยมันมาทีหลัง เพราะฉะนั้นเป็นคนละอันกัน ความปวดความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก และความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า พอมันปวดก็อย่าเพิ่งขยับ นั่งดูมันไปเรื่อย หัดแยกไป ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งความปวดความเมื่อยอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ส่วนหนึ่ง อย่าเพิ่งเปลี่ยนอิริยาบถ อดทนไว้ก่อน อยากได้ของดีเบื้องต้นทนไว้หน่อย

พอนั่งไปนานมันปวดมากนะ ใจมันเริ่มทุรนทุราย ใจมันเริ่มกระสับกระส่าย เริ่มกังวล นั่งนานๆจะเป็นอัมพาตมั้ย นั่งนานๆถ้าจะไม่ดี อะไรอย่างนี้ เปลี่ยนอิริยาบถเสียเถิด หลวงพ่อปราโมทย์บอกให้ทางสายกลาง นั่งนานไปทรมานเป็นอัตตกิลมถานุโยค นี่กิเลสหลอกทั้งนั้นเลย จิตมันดิ้นรนแล้ว ความฟุ้งซ่านของจิตมันเกิด พอมันเจ็บปวดมากๆนะ จิตมันฟุ้งซ่าน เราก็ดูลงไป ความฟุ้งซ่านเนี่ย ไม่ใช่ความเจ็บปวด ความเจ็บปวดมันอยู่ที่ร่างกาย ความฟุ้งซ่านมันอยู่ที่ใจเรา เพราะฉะนั้นความเจ็บปวดกับความฟุ้งซ่านเป็นคนละขันธ์กัน คนละอันกัน ความฟุ้งซ่านไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความเจ็บปวด ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่จิต แต่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระโสดาบันจะเห็นว่าไม่อะไรที่เป็นตัวเราถาวร

mp3 (for download) : 551208A.26m03-27m57

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอาให้ได้โสดาฯก่อนนะ อย่าใจร้อน จะได้โสดาฯ โสดาฯเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก เห็นแต่ของที่เกิดแล้วดับ ไม่มีอะไรที่เป็นอมตะถาวรที่จะเป็นตัวเราที่แท้จริง

ำว่าตัวเราๆ หมายถึงตัวเราที่ถาวร ความรู้สึกว่าเป็นตัวเรา มีเป็นแว้บๆ เกิดแล้วก็ดับไป แต่ว่าความสำคัญมั่นหมาย สัญญาที่ผิดๆ สำคัญมั่นหมายว่ามีตัวเราถาวร ถ้าเป็นพระโสดาฯก็ล้างความสำคัญมั่นหมายผิดๆนี้ได้ เพราะได้เห็นความจริงแล้วว่าไม่มีอะไรถาวรเลย

รูปธรรมทั้งหลายก็ไม่ถาวร เวทนาความสุขความทุกข์ทั้งหลายก็ไม่ถาวร ความจำได้หมายรู้ทั้งหลายก็ไม่ถาวร ความปรุงดีปรุงชั่ว กิเลสทั้งหลาย ก็ไม่ถาวร จิตใจก็ไม่ถาวร เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยววิ่งไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ จะเห็นอยู่อย่างนี้นะ

เวลาที่เราดูจิตดูใจเรานะ ถ้าคนไหนชำนาญ ชอบดูขันธ์ ถ้าชอบดูขันธ์ก็จะเห็นเลยว่า เวทนาเกิดดับ สัญญาเกิดดับ สังขารเกิดดับ จิตอยู่ต่างหาก เราก็จะเห็นว่าจิตนี้ไม่เที่ยง เพราะจิตที่สุขเกิดแล้วดับ จิตที่ทุกข์เกิดแล้วดับ จิตที่โลภโกรธหลงเกิดแล้วดับ อย่างนี้สำหรับพวกที่ถนัดดูขันธ์นะ

ถ้าพวกที่ชำนาญดูอายตนะนั้นก็จะเห็นเลย จิตที่เกิดที่ตาเกิดแล้วก็ดับ จิตที่เกิดที่หูเกิดแล้วก็ดับ จิตที่เกิดที่จมูกที่ลิ้นที่กายที่ใจเกิดแล้วก็ดับ พวกนี้เห็นจิตเกิดดับโดยอิงเข้ากับอายตนะ แต่ว่าส่วนมากก็จะดูแค่เห็นกิเลสเห็นอะไรอย่างนั้นไป ดูไม่ค่อยถึงอายตนะเท่าไหร่ ไม่จำเป็นหรอก เอาไว้ให้คนที่เขาชอบเล่นอายตนะเขาดู


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๓ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สังขารขันธ์

mp3 for download : สังขารขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ส่วนสังขารในขันธ์ ๕ เรียกว่า สังขารขันธ์ เป็นอีกอย่างหนึ่ง เป็นความปรุงของจิต ปรุงดีปรุงชั่ว

สังขารนั้นมีหลายอย่าง สังขารบางอย่าง อย่างกายสังขารคือลมหายใจ แยกแยะไป จิตตสังขารคืออะไร คือสัญญากับเวทนา จิตตสังขาร วจีสังขารคือวิตกวิจาร จะแยกสังขารอย่างนี้ แยกอย่างนี้เพื่อจะพูดเรื่องฌานสมาบัติ ถ้าแยกสังขารแบบนี้ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นี่เป็นการแยกเพื่อเป็นเรื่องของฌานสมาบัติ

ยกตัวอย่างเวลาเข้านิโรธสมาบัติ วจีสังขารดับก่อน คือหยุดความตรึกความตรองได้ก่อน ถัดจากนั้นลมหายใจดับ มันเข้าถึงฌานที่ ๔ ถัดจากนั้นสัญญาและเวทนาดับ เข้าสัญญาเวทนยิตนิโรธ สังขารที่แยกชนิดอย่างนี้นะ อย่าไปใช้ผิดที่นะ สังขารถ้าแยกแบบนี้จะนำไปใช้เพื่อฌานสมาบัติ อธิบายเรื่องการเข้านิโรธสมาบัติ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวเรา แท้จริงคือรูปธรรมนามธรรมจำนวนมาก มาประชุมกัน

mp3 for download : ตัวเรา แท้จริงคือรูปธรรมนามธรรมจำนวนมาก มาประชุมกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : การที่เราหัดแยกธาตุแยกขันธ์เนี่ย เป็นวิธีการที่พระพุทธเจ้าท่านค้นพบ เป็นวิธีเรียนรู้ความจริง เพื่อจะมาดูว่า จริงๆแล้วตัวเราไม่มี เป็นวิธีการที่ท่านพบน่ะ ถ้าเดินตามวิธีที่ท่านบอกแล้ว เราจะรู้ว่าตัวเราไม่มี บางคนไม่เดินตามวิธีนี้ พอจิตมีสมาธิแล้วไปนั่งคิดพิจารณาร่างกาย ผมไม่ใช่เรา ขนไม่ใช่เรา เล็บไม่ใช่เรา ฟันไม่ใช่เรา หนังไม่ใช่เรา เนื้อเอ็นกระดูกไม่ใช่เรา นั่งคิดๆเอา ไม่ใช่วิธีการของพระพุทธเจ้า

วิธีของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า วิภัชวิธี วอแหวนสระอิ ภอสำเภา ไม้หันอากาศ ชอช้าง วิภัชชะ วิภัชชะแปลว่าแยก คล้ายๆว่าเราเห็นรถยนต์ ๑ คัน เราคิดว่ารถยนต์มีจริงๆ เราจับรถยนต์มาถอดเป็นชิ้นๆ เราจะพบว่าลูกล้อไม่ใช่รถยนต์ พวงมาลัยไม่ใช่รถยนต์ ตัวถังไม่ใช่รถยนต์ เบาะไม่ใช่รถยนต์ ถังน้ำมันไม่ใช่รถยนต์ กันชนไม่ใช่รถยนต์ เครื่องยนต์เองก็ไม่ใช่รถยนต์ แต่รถยนต์ต้องประกอบด้วยสิ่งทั้งหมดเหล่านี้มารวมกัน

สิ่งที่เรียกว่าตัวเราก็เหมือนกัน ถ้าเราแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกไป รูปไม่ใช่ตัวเราละ เวทนาไม่ใช่ตัวเรา สัญญาไม่ใช่ตัวเรา สังขารไม่ใช่ตัวเรา วิญญาณ-ความรับรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่ใช่ตัวเรา คล้ายๆเราถอดรถยนต์เป็นชิ้นๆ แต่นี่เราถอดสิ่งที่เรียกว่าตัวเราเป็นชิ้นๆ เป็นส่วนๆ ส่วนของรูปธรรม ส่วนของนามธรรม รูปธรรมก็แยกออกไปได้อีก นามธรรมก็แยกออกไปได้อีก เราจะพบว่าแต่ละอย่างๆนั้นไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเรา อันนี้ดูจากของจริงๆ

ถอดรถยนต์ก็มีรถยนต์จริงๆเอามาถอด นึกว่ามีรถยนต์อยู่ เราถอดเป็นชิ้นๆ พบว่ารถยนต์หายไป พบว่ารถยนต์นั้นเป็นการประกอบกันของวัตถุจำนวนมาก สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ที่เราคิดว่ามีอยู่จริงๆ พอจับแยกออกไปแล้ว ด้วยสติด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ก็พบว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรมนามธรรมจำนวนมากมาประชุมร่วมกัน มาทำงานร่วมกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อจิตตื่นแล้ว ให้แยกธาตุแยกขันธ์

mp3 for download : เมื่อจิตตื่นแล้ว ให้แยกธาตุแยกขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ในขั้นของการเดินปัญญานั้นคือขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นเสพสุข พอใจเรามีความสุข ใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้ว ต้องเจริญปัญญา วิธีเจริญปัญญา ขั้นแรกสุดเลย ต้องแยกธาตุแยกขันธ์ให้เป็น ให้เห็นเลยว่า ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง รูปกับนามเป็นคนละอันกัน

ถ้าสมาธิเรามาก และเราชำนาญในการดูกาย แยกกายต่อไปอีก ร่างกายก็แยกเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำไฟลม แยกธาตุออกไป

ถ้าเราชำนาญการดูจิต เรามาแยกขันธ์ จิตใจของเราไม่ใช่อยู่ลำพัง จิตใจประกอบด้วย ความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ ความจำได้หมายรู้เรียกว่าสัญญาขันธ์ ความปรุงดีปรุงชั่วปรุงไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่าสังขารขันธ์

จิตที่เกิดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณทางตาคือจิตที่ไปรับรู้รูป วิญญาณทางหูคือจิตที่ไปรับรู้เสียง วิญญาณทางทวารทั้ง ๖ ไม่ได้มีจิตดวงเดียว คือจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ เรียกจักขุวิญญาณจิต โสตวิญญาณจิต เป็นมโนวิญญาณ จิตเกิดทางใจ รับรู้อารมณ์ทางใจ เช่นเรื่องราวที่เราคิด

เพราะฉะนั้นจิตไม่ได้มีดวงเดียว เป็นกลุ่มเป็นกองเหมือนกัน เรียกว่า วิญญาณขันธ์ เป็นกองของวิญญาณ กลุ่มของวิญญาณ แต่เวลามันเกิด มันเกิดทีละตัว เกิดทีละดวง เรามาแยก

พอใจเราเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้ว แยกร่างกายกับใจออกจากกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๘ ถึงนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๕) วิปัสสนาเบื้องต้นต้องหัดแยกธาตุแยกขันธ์

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๕) วิปัสสนาเบื้องต้นต้องหัดแยกธาตุแยกขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราแยกสิ่งเหล่านี้ได้ ก็เรียกว่า เราแยกธาตุแยกขันธ์เป็น ถ้าเต็มยศนะ แยกธาตุก็คือหมายถึง กายกับใจเนี่ยเป็นคนละอัน นี่แยกขันธ์นะ กายนี่มันก็ขันธ์นึงนะ ใจก็ขันธ์นึงต่างหาก

กายนี้แยกออกไปได้อีก เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ส่วนจิตใจนะ ก็แยกได้เป็นขันธ์อีก ๔ ขันธ์ เป็นเวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์ สัญญาขันธ์ (คือ) ความจำได้หมายรู้ สังขารขันธ์ (คือ) ความปรุงดีปรุงชั่ว วิญญาณขันธ์ (คือ) ความรับรู้อารมณ์ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เนี่ยมันจะแยกออกมา

ถ้าแยกได้แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าแยกได้แล้วจะเห็นไตรลักษณ์ ของแต่ละธาตุแต่ละขันธ์นั้น จะทำลายล้างความเห็นผิด ว่ามีตัวมีตนได้ จะเห็นเลย ว่ารูปไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา

ถ้าใครเห็นความสุขความทุกข์ เป็นตัวเรานะ แสดงว่าขันธ์มันยังไม่แยก แต่ถ้าขันธ์แยกแล้ว มันไม่ใช่เราสุขเราทุกข์แล้วนะ ความสุขความทุกข์ เป็นสิ่งหนึ่ง จิตอยู่ต่างหากนะ ไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ความจำได้หมายรู้ ไม่ใช่ตัวเรา ความโลภความโกรธความหลง ไม่ใช่ตัวเรา เป็นอีกสิ่งหนึ่ง

ที่จิตไปรู้เข้า จิตปรุงขึ้นมานะ แล้วก็จิตไปรู้เข้า ถ้าจิตไม่รู้ทัน สิ่งที่จิตปรุงขึ้นมา คือ ความโลภความโกรธความหลงนั่นแหล่ะ จะกลับเข้ามาปรุงแต่งจิตอีกทีนึง จิตปรุงแต่งกิเลสขึ้นมาก่อนนะ แล้วสุดท้ายกิเลส กลับมาปรุงแต่งจิตได้อีก พอกิเลสมาปรุงแต่งจิตนะ ก็คือ ขันธ์มันกลับมารวมกันนะ มันมีกูขึ้นมาอีกแล้ว มีตัวเรา ของเรา ขึ้นมาอีก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๖) ทุกอย่างในกายในใจเกิดแล้วก็ดับ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๖) ทุกอย่างในกายในใจเกิดแล้วก็ดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะเป็นพระโสดาฯ หรือจะเป็นพระอรหันต์ มาจากจุดตั้งต้นอันเดียวกัน จุดตั้งต้นก็คือ เราต้องมาเรียนรู้ความจริง ของกายของใจตนเอง ถ้าไม่สามารถเรียนรู้ความจริง ของกายของใจได้ โสดาฯก็ไม่ได้ อย่าว่าแต่พระอรหันต์เลย

พระโสดาบันท่านเห็นแล้วว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงมาก็คือ รูปธรรมกับนามธรรมทั้งหลาย กายกับใจของเรานี้แหล่ะ เต็มไปด้วยของที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไปทั้งสิ้น เนี่ยท่านเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ใจยอมรับ ก็เห็นทั้งกายทั้งใจเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ร่ายกายหายใจเข้าก็ดับไป เกิดร่างกายหายใจออก ร่างกายหายใจออกเกิดแล้วดับ ไป กลายเป็นร่างกายหายใจเข้า ร่างกายยืนเกิดแล้วก็ดับ ร่างกายเดินเกิดแล้วก็ดับ ร่างกายนั่ง ร่างกายนอน เกิดแล้วดับ ดูความจริงเรื่อยๆไป

ในใจก็ดูง่าย ไม่มีอะไรหรอก พอตาเรามองเห็นรูป ใจเราก็เปลี่ยน เห็นรูปที่พอใจ ใจก็มีความสุขขึ้นมา ให้รู้ทัน ว่าใจมีความสุข เห็นรูปที่ไม่พอใจ ใจมีความทุกข์ขึ้นมา รู้ทัน ว่าใจมีความทุกข์ ได้ยินเสียงที่พอใจ ใจมีความสุข รู้ว่าใจมีความสุข ไม่ใช่รู้ว่าเสียงอะไรนะ เสียงนกเสียงคน เสียงบ่นเสียงด่า เสียงชม ไม่จำเป็นต้องรู้ตรงนั้นหรอก ให้คอยรู้ที่ใจของเราอันเดียวนี่แหล่ะ ตามองเห็น ก็รู้ทันที่ใจ ตามองเห็น ใจก็เปลี่ยน หูได้ยินเสียง ใจก็เปลี่ยน ให้รู้ความเปลี่ยนแปลงที่ใจ ใจนี้เดี๋ยวก็สุข ใจนี้เดี๋ยวก็ทุกข์ ใจนี้เดี๋ยวก็ดี ใจนี้เดี๋ยวก็ร้าย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว ร้ายก็ชั่วคราว ดูซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ดูกันเป็นแรมเดือนแรมปีเลยล่ะ กว่าใจจะยอมรับความจริง ว่าทุกอย่างมันชั่วคราว เราดูจนใจยอมรับนะ ไม่ใช่เราแกล้งยอมรับเอาเอง (แกล้ง)ยอมรับเอาเอง ฆ่ากิเลสไม่ตาย ถ้าจิตเห็นความจริง จิตยอมรับความจริง ถึงจะฆ่ากิเลสตาย

เรื่องมันง่ายๆแค่นี้แหล่ะ แต่ว่าทำไมคนทั่วไป ไม่สามารถที่จะดูกายดูใจ ตามความเป็นจริงได้ มันแปลกไหม ร่างกายของเรามีมาแต่เกิดใช่ไหม ทำไมเราไม่เคยดูความจริงของกาย จิตใจของเราก็มีมาตั้งแต่เกิด ทำไมเราไม่เคยดูความจริงของจิตใจ ไม่เฉพาะเรานะ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษเราก็ไม่ได้ดู หมูหมากาไก่อะไรก็ไม่ได้ดู หาคนที่จะมาดูความจริงของกาย หาคนที่จะมาดูความจริงของใจได้เนี่ย หายากที่สุดเลย งั้นพระอริยฯเลยขาดแคลน ทั้งๆที่ไม่ได้ยากเลยนะ ที่จะพัฒนาจิตใจ ให้บรรลุอริยธรรมเนี่ย ไม่ได้ยากเลย แค่เราเห็นความจริง แค่จิตยอมรับความจริงนะ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับไป ทุกอย่างในกาย เกิดแล้วดับ ทุกอย่างในใจ เกิดแล้วดับ แค่นี้เอง ทำไมทำไม่ได้ ที่ทำไม่ได้ ก็เพราะว่า เราลืมกายลืมใจของเราทั้งวัน เราไปหลงโลกภายนอกนะ เรามัวแต่สนใจสิ่งภายนอก เราไม่ย้อนมาที่ตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการเจริญสติปัฏฐาน (๒) รู้กาย รู้ใจ ในปัจจุบัน

mp 3 (for download) : หลักการเจริญสติปัฏฐาน (๒) รู้กาย รู้ใจ ในปัจจุบัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: สติต้องเกิดเองจากการที่จิตจำสภาวะได้แม่น สติที่เจริญวิปัสสนาต้องเป็นสติที่รู้กายรู้ใจตัวเอง ถ้าไปรู้ของอื่นทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะวิปัสสนาทำไปเพื่อถอดถอนความเห็นผิดว่า กายนี้ใจนี้คือตัวเรา วิปัสสนาทำไปเพื่อให้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรม มีแต่นามธรรม ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ถาวรนั้นไม่มี วิปัสสนามุ่งมาตรงนี้ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาต้องคอยรู้กายรู้ใจ อย่างบางคนไปเดินจงกรม เท้ากระทบพื้นนะ พื้นเย็นพื้นร้อน พื้นอ่อนพื้นแข็ง รู้หมดเลย รู้เรื่องพื้น ไม่มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเราอยู่แล้ว มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเรา ที่กำลังนั่งทับนี่ เรากำลังโดนนั่งทับ มีใครรู้สึกไหม มีแต่เราไปนั่งทับมันใช่ไหม

เรารู้สึกกายนี้ใจนี้คือตัวเรา เพราะฉะนั้นดูลงมาในกายในใจนี้ ตัวเราอยู่ที่ไหน ดูลงไปที่นั่น ความรู้สึกว่าตัวเราอยู่ที่ไหน รู้ลงไป ตัวเราอยู่ที่กาย รู้ลงที่กาย ตัวเราอยู่ในใจ นี่ รู้ลงไปที่ใจ ดูลงไปซิ จริงๆ มีตัวเราไหม กายกับใจที่เราจะใช้รู้ ก็ต้องกายกับใจในปัจจุบันด้วย ไม่ใช่กายกับใจในอดีต เพราะกายกับใจในอดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความจำ และก็ไม่ใช่กายกับใจในอนาคต กายในอนาคต ใจในอนาคตยังไม่มี เป็นแค่ความคิด ในอดีตก็เป็นแค่ความจำ อนาคตก็เป็นแค่ความคิด ไม่ใช่ความจริง ความจริงอยู่กับปัจจุบันต่อหน้าต่อตานี่

เพราะฉะนั้น พยายามอยู่กับปัจจุบันนะ รู้สึกกาย รู้สึกใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน รู้ต้องรู้ตามความเป็นจริงของเขา ไม่ใช่รู้แล้วเข้าไปแทรกแซง พวกเราเวลารู้กายก็แทรกแซง รู้ใจก็แทรกแซง เช่น เวลาจะเดินตงกรม เราเคยเดินสบายๆ เดินทั้งวัน เดินทุกวันอยู่แล้ว เดินมาตั้งแต่เดินได้ จะว่าเดินแต่เกิดไม่ได้ใช่ไหม เพราะคนเกิดมามันยังไม่เดิน ไม่ใช่ลูกวัวลูกควาย ลูกวัวควายนะ ชั่วโมงสองชั่วโมงมันเดินได้แล้ว ลูกคนนี่นอน เอาตั้งแต่เดินได้นี่ เราก็เดินอยู่ทุกวันๆ แต่เราเดินไม่เป็น เดินแล้วไม่มีสติ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติ รู้ลงปัจจุบันไป ยืน เดิน นั่ง นอน รู้ลงปัจจุบัน เห็นกายเห็นใจที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน รู้ไปเรื่อยๆ ของจริงมันอยู่ตรงนี้ก็ดูจากของจริง ไม่ได้ดูจากความคิดความฝันในอนาคต หรือความจำในอดีต เอาของจริงมาดู ดูซิ เป็นตัวเราจริงไหมนี่ ถ้าไปคิดถึงตัวตนในอดีต นั่งนึกถึงหน้าตาของเราตอน ๓ ขวบ เห็นไหมคนนั้นไม่มีแล้ว นี่ ไม่เที่ยง อย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนาต้องเห็นตัวนี้อยู่ทนโท่ อยู่นี่เลยนี่ เห็นตัวนี้ล่ะ มันไม่ใช่ตัวเรา ถึงจะเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นต้องดูลงปัจจุบัน

 

หมายเหตุ: การเจริญวิปัสสนา ต้องรู้กาย รู้ใจ ในปัจจุบัน โดยการดูกาย จะดูเป็นปัจจุบันขณะ ส่วนการดูจิต จะดูเป็นปัจจุบันสันตติ

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เวลาเจริญปัญญา ดูกายเป็นปัจจุบันขณะ ดูจิตเป็นปัจจุบันสันตติ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๑

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๕
File: 511116
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความปรุงแต่งมี ๓ อย่าง

mp 3 (for download) : ความปรุงแต่งมี ๓ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ความปรุงแต่งมี ๓ อันเคยเรียนมั้ย อวิชชาปัจจยาสังขารา สังขารคือความปรุงแต่งมี ๓ อย่าง ปรุงแต่งฝ่ายชั่วปรุงแต่งอกุศลนะ ปรุงแต่งฝ่ายดีเช่นปรุงแต่งการปฏิบัติธรรมขึ้นมา ทำโน้นทำนี้ขึ้นมา เพื่อให้จิตมันดีให้จิตมันสุขมันสงบ เนี่ยปรุงแต่งฝ่ายดี รากเหง้าของมันก็คืออวิชชานั่นแหล่ะ

ถามว่าปรุงแต่งฝ่ายดีแล้วได้อะไร ได้เป็นคนดีได้เป็นเทวดาได้เป็นพรหม ได้มรรคผลมั้ย ไม่ได้ เพราะอวิชชาไม่กระเทือนเลย อวิชชาสอนให้เราปรุงแต่ง อวิชชาคือความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ไม่ใช่ตัวเรา เราคิดว่าเป็นตัวเราเป็นตัวสุขเป็นตัวดี งั้นเราก็เลยปรุงแต่งต่างๆขึ้นมาเพื่อหาความสุขมาให้ตัวเอง

คนชั่วก็ไปเที่ยวหาแสวงหาอารมณ์ต่างๆ วิ่งแย่งอันโน้นแย่งอันนี้ อยากโน้นอยากนี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าได้อารมณ์ที่ดีมาละก็จะมีความสุข อย่างหมากัดกันแย่งตัวเมีย คิดว่าได้ตัวเมียมามีความสุขอะไรนี้ หรือคนแย่งกัน ตีกันแย่งผลประโยชน์กันกะว่าได้มาแล้วมีความสุข นี่ปรุงแต่งอย่างโลกๆเลย

พวกเข้าวัดพวกนี้จะปรุงแต่งการปฏิบัติ คือเห็นว่าลำพังการเที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจเนี่ยยังไม่ให้ความสุขที่แท้จริง ถ้าเราบังคับกายบังคับใจควบคุมมันไว้ได้แล้วเราจะมีความสุข เพราะงั้นพวกเราจะเริ่มมาปฏิบัติธรรมด้วยการเริ่มบังคับตัวเอง จิตไม่สงบบังคับให้สงบ จิตไม่ดีจะทำให้มันดีให้ได้ นี่ปรุงแต่งฝ่ายดีจะได้เป็นคนดี ไม่นิพพานหรอก

อีกพวกนึงฉลาดไปอีกเห็นว่าตราบใดที่ยังต้องรู้อารมณ์อยู่นะจิตยังกระเทือนอยู่ ถ้ายังกระทบแล้วต้องกระเทือน พวกนี้ฝึกเข้าอรูปเรียกอาเนญชาภิสังขาร ฝึกหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์

เพราะนั้นเนี่ยวิธีหาความสุขมันเลยมี ๓ แบบ อันนึงกระโจนเข้าไปคลุกกับโลกเลย อันที่สองรักษาจิตใจของเราไว้ อันที่สามหลีกเลี่ยงการกระทบไม่รับรู้อะไรซักอย่างเลย เนี่ยเป็นวิธีหาความสุขของคนในโลก รากเหง้าของมันคืออวิชชา คิดว่าตัวเรามีจริงๆจะหาความสุขมาให้ตัวเรา

ถ้าเราเจริญสติเจริญปัญญารู้ลงที่กายรู้ลงที่ใจ กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราเนี่ย ล้างความเห็นผิดไป ล้างอวิชชาไป มันก็หมดความปรุงแต่ง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๔๘ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๙
Track: ๘
File: 480709B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๘ ถึง ชั่วโมงที่ ๑ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๕) สิ่งที่พระอรหันต์เห็น

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๕) สิ่งที่พระอรหันต์เห็น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอรหันต์ท่านไม่คิดนะ ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ท่านมีปัญญาแจ่มแจ้งว่า พระอรหันต์ไม่มี คนไม่มีน่ะ คนไม่มี สัตว์ไม่มี เราไม่มี เขาไม่มี มีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ นั้น ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้น นี่ล่ะที่พระอรหันต์ท่านเห็นกัน ท่านก็เห็นกันอย่างนี้นะ

550409.30m-56-31m18

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๓๐ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามต่อหน้าต่อตา จึงจะเป็นวิปัสสนา

mp 3 (for download) : โสฬสญาณ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : อย่างนี้ถ้าเกิดเราแยกธาตุแยกขันธ์ได้ ถือว่าเป็นการวิปัสสนามั้ยครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์  :แยกธาตุแยกขันธ์ได้แล้วยังไม่ถึงวิปัสสนา แยกธาตุแยกขันธ์ได้แล้วต้องเห็นเลยแต่ละขันธ์แต่ละขันธ์ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ถึงจะเป็นวิปัสสนา

มันมีธรรมะอยู่เรื่องนึงชื่อโสฬสญาณ เคยได้ยินมั้ยโสฬสญาณ โสฬสญาณเนี่ยไม่ใช่พระพุทธวจนะ เป็นตำราที่พระรุ่นหลังท่านแต่งขึ้นมา แต่ท่านก็เอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแจกแจงให้ละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา

ในโสฬสญาณนี้ ญาณที่ ๑ ชื่อนามรูปปริจเฉทญาณแยกรูปกับนาม แยกรูปแยกนามนั่นแหล่ะ พอแยกรูปกับนามแล้วรูปยังแยกออกไปได้อีกนะ ตัวรูปแยกออกเป็นอะไร แยกได้ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ตัวนามแยกออกได้ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกรูปแยกนามนามรูปปริจเฉทญาณเนี่ย ยังไม่ใช่วิปัสสนา

ก็จะเห็นอีกรูปอย่างนี้ก็มีเหตุให้เกิด นามอย่างนี้ก็มีเหตุให้เกิด ตรงที่รู้ว่าแต่ละอย่างเกิดจากเหตุ เกิดจากเหตุไม่ได้ลอยๆมานะ อันนี้เรียกว่าปัจจยปริคคหญาณ ปัจจยปริคคหญาณเนี่ยก็ยังไม่ใช่วิปัสสนา

ต่อไปก็จะเห็นเลยแต่ละอย่างเนี่ยมันไม่คงที่นะ อย่างหน้าตาของเราตอนนี้กับหน้าตาของเราตอนเด็กๆไม่เหมือนกัน หน้าตาของเราตอนตื่นนอนกับหน้าตาตอนที่ตื่นแล้วก็ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่ารูปไม่เที่ยง อันนี้รูปไม่เที่ยงด้วยการเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน อันนี้ก็ยังไม่ใช่วิปัสสนา เรียกว่าสัมมสนญาณ

แต่ตรงที่เป็นวิปัสสนานี่เห็นต่อหน้าต่อตาเนี่ย เช่นความโกรธผุดขึ้นมาแล้วความโกรธก็ดับไปต่อหน้าต่อตา ความโลภผุดขึ้นมาแล้วก็ดับไปต่อหน้าต่อตานะ ความสุขผุดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ตรงที่เห็นว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ตัวนี้เรียกว่าอุทยัพพยญาณ เนี่ยขึ้นวิปัสสนาตรงนี้

เพราะงั้นตรงที่คุณบอกว่ารู้สึกตัวเนี่ยเป็นวิปัสสนาหรือยัง ไม่เป็น แยกรูปนามเป็นวิปัสสนาหรือยัง ยังไม่เป็น ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามก่อนถึงจะเป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๑๘
File: 541118B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้เราฝึกมาสองเรื่องแล้วนะ (หากต้องการอ่านย้อนหลัง กรุณาอ่านเรื่องในหมวด ทางวิปัสสนา) เรื่องแรก ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แล้วรู้ทันจิต พุทโธไปจิตหนีไปคิด-รู้ทัน หายใจจิตหนีไปคิด-รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งลมหายใจ-รู้ทัน ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตก็ตั้งมั่นเป็นคนดู

พอจิตตั้งมั่นเป็นคนดูแล้วค่อยๆดูไป ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ร่างกายที่นั่งอยู่ ร่างกายที่เดิน ร่างกายที่นอน เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ดูร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน จะเป็นคนละอันอย่างอัตโนมัติ ต่อไปก็ดูไป ความปวดความเมื่อย อะไรเกิดขึ้นในร่างกายนะ ก็เป็นคนละส่วนกับร่างกาย เป็นคนละส่วนกับจิต ความกังวลใจที่เกิดขึ้น ก็เป็นคนละอันกับร่างกาย คนละอันกับความปวดเมื่อยเป็นคนละอันกับจิต นี้เราหัดแยกออกเป็นส่วนๆอย่างนี้แหละ

พอเราแยกออกเป็นส่วนๆแล้ว เราจะเห็นความจริงขึ้นมาแล้ว ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ร่างกายนี้มีธาตุไหลเข้าร่างกายนี้มีธาตุไหลออกตลอดเวลา เช่นเรากินอาหารแล้วเราก็ขับถ่าย เราหายใจเข้าแล้วเราก็หายใจออก เพราะฉะนั้นร่างกายนี้มีธาตุหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ร่างกายเป็นเพียงแค่วัตถุเท่านั้นเอง เป็นสมบัติของโลกที่เรายืมโลกมาใช้ เรายืมวัตถุของโลกมาใช้ ถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องคืนวัตถุชิ้นนี้ให้โลกไป เราครอบครองตลอดไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นเราค่อยๆมาดูความจริงของร่างกาย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุอันหนึ่งเท่านั้นเอง มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก เนี่ยเราเริ่มล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเราได้แล้ว ตัวเรานี้ประกอบไปด้วยกลุ่มก้อนของขันธ์ทั้งหลายที่มารวมตัวกันเข้า แต่พอเราแยกออกมาเป็นส่วนๆเราจะเริ่มเห็นความจริงว่ามันไม่ใช่เราหรอก ร่างกายเป็นวัตถุไม่ใช่ตัวเรา ความเจ็บปวดทั้งหลายความปวดเมื่อยทั้งหลาย กระทั่งความสุขทั้งหลาย เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราว

มันจะเห็นชัดๆเลยว่า ความสุขก็ไม่ใช่ตัวเรา ความสุขไม่ใช่ร่างกาย ความสุขไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความสุขเป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง มิใช่คน ใครเห็นว่าคนคือความสุขบ้าง มีมั้ย คนคือความสุขไม่มี ไม่มีใครเห็นอย่างนั้นนะ เห็นอย่างนั้นก็เพี้ยนเลย

เพราะฉะนั้นถ้าเราแยกออกมาได้ เห็นตัวความสุขเห็นตัวความทุกข์ แล้วจะพบว่า ไม่มีคนนะ แต่ว่าคนเป็นสุขได้มั้ย อย่างพวกเราเป็นคน เรามีความสุขได้ ใช่มั้ย แต่พอแยกปั๊บออกไปนะ ความสุขไม่ใช่คน ร่างกายไม่ใช่คน จิตใจก็ไม่ใช่คนนะจิตใจก็ไม่ใช่คน ความปรุงดีปรุงชั่วความโกรธก็ไม่ใช่คน เราจะเห็นแยกออกไป ความกังวลใจก็ไม่ใช่คน พวกนี้เรียกว่าสังขารขันธ์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสังขารขันธ์ เป็นความปรุงของจิต ดูไปเรื่อย ความโกรธไม่ใช่คน ใครเห็นความโกรธเป็นคนได้ ต้องเพี้ยนนะ ความโกรธไม่ใช่คน ความโลภ ความรัก ไม่ใช่คนนะ ความใจลอย ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ไม่ใช่คน

เราหัดรู้หัดดูไปเรื่อยอย่างนี้ ในที่สุดจะเห็นว่า ทุกส่วนที่เราแยกออกมาเป็นส่วนๆแล้วเนี่ย มันสอนให้เราเห็นความจริงว่า ไม่มีคนหรอก ไม่มีตัวเราหรอก

550409.25m04-28m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๑) เมื่อแยกกายกับจิตได้ ให้อดทนฝึกต่อไปจะแยกเวทนาและสังขารได้

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๑) เมื่อแยกกายกับจิตได้ ให้อดทนฝึกต่อไปจะแยกเวทนาและสังขารได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถัดจากนั้นเรามาฝึกแยกต่อไปอีก เรานั่งต่อไปอย่างเพิ่งกระดุกกระดิก นั่งไปสักพักเราปวดเราเมื่อย ค่อยๆสังเกตอีก ความปวดความเมื่อยเมื่อตะกี้นี้ไม่มี ตอนนี้เกิดมีความปวดความเมื่อยขึ้นมา เพราะฉะนั้นความปวดความเมื่อยเนี่ย ไม่ใช่ร่างกายหรอก ร่างกายมันนั่งอยู่ก่อนนะ ความปวดความเมื่อยมันมาทีหลัง เนี่ยเราค่อยๆดูไปอย่างนี้ เราจะเห็น ความปวดความเมื่อยกับร่างกายนั้นเป็นคนละอันกัน แล้วก็ไม่ใช่จิตใจด้วย จิตใจเป็นคนดู จะเห็นเลยว่าความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า นี่หัดอย่างนี้นะเราแยกได้ ๓ ชิ้นแล้ว มีร่างกาย มีเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ อย่างรู้สึกที่เราฝึกกันก็คือดูความเมื่อย อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นนั่งอยู่เดี๋ยวก็เมื่อย พอเมื่อยแล้วดูไป ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา ความเมื่อยไม่ใช่ร่างกาย ความเมื่อยไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

ทีนี้พอนั่งไป พอมันเมื่อย ก็อย่าเพิ่งขยับ เราจะฝึกต่อ ขั้นต้นอดทนไว้ก่อน อดทนหน่อย อย่าเพิ่งกระดุกกระดิก นั่งไปแล้วพอมันปวดมากๆนะ จิตใจมันจะเริ่มทุรนทุราย กระสับกระส่าย พอนั่งมากๆนั่งปวดมากๆนะ เป็นเหน็บเป็นอะไรนะ ชักกลุ้มใจ เอ๊..นั่งนานจะเป็นอัมพาตหรือเปล่า? จะเดินได้อีกมั้ย อะไรอย่างนี้นะ ความกลุ้มใจเกิดที่ใจเกิดที่จิต ความปวดเมื่อยเกิดที่ร่างกาย ความกลุ้มใจเกิดที่จิต เพราะฉะนั้นความปวดเมื่อยกับความกลุ้มใจเนี่ย คนละอันกัน

ความปวดเมื่อยนั้นเรียกว่า เวทนาขันธ์ เป็นเวทนาขันธ์ ความกลุ้มใจความกังวลใจอะไรอย่างนี้ เรียกว่าสังขารขันธ์ คนละขันธ์ คนละกลุ่มกัน เนี่ย ค่อยๆหัดแยก แล้วความกลุ้มใจก็ไม่ใช่จิต จิตทีแรกไม่กลุ้มใจ แต่จิตตอนนี้กลุ้มใจ เพราะฉะนั้นมันเป็นคนละอันกัน หัดฝึกไปเรื่อยนะ ให้ชำนิชำนาญ

550409.23m13-25m04

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒) การรักษาศีลการทำสมาธิเป็นแค่ต้นทางของการปฏิบัติ

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๒) การรักษาศีลการทำสมาธิเป็นแค่ต้นทางของการปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา



หลวงพ่อปราโมทย์ :
เพราะตัวเรานี้เป็นสิ่งที่รักที่หวงแหนที่สุด แล้วพบว่า มันไม่มีจริง

มันมี เมื่อมันมีเหตุ เหตุที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวเราก็คือขันธ์ ๕ นั้นเอง มันมารวมตัวกันเข้า สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ก็ประกอบด้วยอะไร ก็มีร่างกายใช่มั้ย ตัวนี้เป็นตัวรูปขันธ๋์ เรียกว่ารูป แล้วก็มีส่วนที่เป็นนามธรรม นามธรรมที่มาประกอบกันเป็นตัวเรา ก็คือ ความรู้สึกนึกคิด ความรับรู้ ความรู้สึกสุขความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆ การนึกก็คือ จำได้หมายรู้ การคิดนะก็คือการปรุงแต่งปรุงดีปรุงชั่ว ปรุงโลภปรุงโกรธปรุงหลง แล้วก็ความรับรู้ ตัวนี้ล่ะตัวที่เรียกว่าจิตหรือวิญญาณ

สิ่งที่มาประกอบเป็นตัวเราก็คือขันธ์ ๕ นั้นเองนะ ประกอบด้วยร่างกาย ประกอบด้วยความรู้สึกสุขทุกข์ ประกอบด้วยความจำ ประกอบด้วยความคิดปรุงแต่ง ประกอบด้วยความรับรู้ นี่ล่ะองค์ประกอบของชีวิตเราคือสิ่งเหล่านี้ ถ้าเราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าสิ่งเหล่านี้นะ เป็นสิ่งที่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ถ้าเราเข้าใจได้แจ่มแจ้งอย่างนี้ ขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ แตละองค์ประกอบของชีวิตแต่ละอย่างๆนั้น ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง

อย่างร่างกายเราก็เป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นรูปธรรม ความรู้สึกสุขทุกข์ก็เป็นนามธรรมแบบหนึ่ง ความจำก็เป็นนามธรรมแบบหนึ่ง ความคิดก็เป็นนามธรรมแบบหนึ่ง ความรู้สึกความรับรู้ต่างๆก็เป็นนามธรรมแบบหนึ่ง ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมทั้งหลายเนี่ย ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา แต่ว่า ถ้าพอมันมารวมตัวกัน รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายมารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เราก็รู้สึกว่านี่คือตัวเรา ถ้าเราแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ เราก็แยกได้ ๕ ส่วน และแต่ละส่วนนั้นไม่ใช่ตัวเรา

นี่เป็นวิธีการของพระพุทธเจ้านะ ที่จะช่วยเราให้เข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ การที่จะเข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นได้นั้นต้องเข้าด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าสอนไว้ชัดเจน บอกว่า บุคคลเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยสมาธินะ ไม่ใช่ด้วยสมาธิไม่ใช่ด้วยการรักษาศีลเท่านั้น การรักษาศีลการทำสมาธิเป็นแค่ต้นทางของการปฏิบัติ งานจริงๆ งานหลักจริงๆของการปฏิบัติ คือการเรียนรู้ความจริง ของสิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” เพราะฉะนั้นเรา หน้าที่ของเราจริงๆ ถ้าเราอยากพ้นทุกข์จริงๆนะ เราต้องมาเรียน ถึงสิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” “ตัวเรา”

550409.04m41-7m22

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๔ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑) มิจฉาทิฎฐิที่ปลอมปนในพุทธบริษัทฯ

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา (๑)

ทางวิปัสสนา (๑)

หลวงพ่อปราโมทย์ : เจริญพรทุกท่าน บางทีการฟังธรรมเข้าใจยาก นิดหน่อย แต่ไม่เหนือความพยายามที่พวกเราจะเข้าใจหรอก ธรรมะแท้ๆนั้นถ่ายทอดสืบทอดกันมาจนถึงยุคของเราเนี่ย มันมีธรรมะที่ไม่แท้เนี่ยเข้ามาปลอมปนอยู่เป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างพวกการปฏิบัติ ที่ออกนอกแนวทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้เนี่ย มันปลอมปนเข้ามาอยู่ในแวดวงพระพุทธศาสนาเนี่ย เยอะมาก

อย่างบางคนก็เชื่อว่าตายแล้วเกิด ส่วนใหญ่เชื่ออย่างนี้ ตายแล้วเกิด นี่ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอย่างหนึ่ง บางพวกเชื่อว่าตายแล้วสูญ นี่ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอีกอย่างหนึ่ง บางคนก็เชื่อบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีเหตุมีผลอะไร คล้ายๆฟลุ๊ค คล้ายๆทฤษฎีที่ว่า พระเจ้าทอดลูกเต๋าน่ะ แล้วแต่ฟลุ๊ค (แนวคิดของทฤษฎีควอนตั้มในปัจจุบัน – ผู้ถอด) หรือบางคนก็เชื่อว่าหลังจากนิพพานแล้ว ยังมีตัวมีตนอยู่ พระพุทธเจ้าก็ยังดำรงชีวิตอยู่ ความเชื่อแปลกพวกนี้ ปลอมปนมาอยู่ในพระพุทธศาสนานานมากแล้ว จนบางทีเรา คนรุ่นหลังเนี่ย เราแยกไม่ออกว่า อะไรคือคำสอนของพระพุทธเจ้า อะไรไม่ใช่

ในสมัยพุทธกาลเนี่ย การแยกแยะคำสอน ว่าอันนี้ของพระพุทธเจ้า อันนี้ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าเนี่ย ทำง่าย เพราะพระพุทธเจ้ายังดำรงชีวิตอยู่ แต่ถึงขนาดนั้นบางครั้ง พระแท้ๆนี่แหละ พระทีใฝ่ดีแท้ๆนี่แหละ ปฎิบัติไปแล้วก็เกิดความเห็นผิดขึ้นได้ ก็ยังดี มีพระผู้ใหญ่ มีพระพุทธเจ้าอะไรอย่างนี้ แก้ให้

อย่างมีพระองค์หนึ่ง ท่านภาวนาไปแล้วท่านก็เกิดความเห็นผิดว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ คิดว่าตายแล้วสูญ ประกาศสัจจะ ประกาศความเห็นอันนี้ออกมา พระทั้งหลายก็กลุ้มใจว่า โอ้..เข้าใจผิดนะ ก็พยายามจะแก้ไขให้ท่านเข้าใจถูก ท่านก็ไม่เข้าใจ ในที่สุดก็ต้องไปเชิญพระสารีบุตรมาช่วยแก้ให้ พระสารีบุตรท่านก็แสดงธรรมเรื่องขันธ์ ๕ ใครเคยได้ยินคำว่าขันธ์ ๕ มั้ย ขันธ์ ๕ ใครไม่เคยได้ยิน ที่นี่เป็นอนัตตาจริงๆ ได้ยินก็เงียบๆนะ (หัวเราะ)ไม่ได้ยินก็เงียบๆ

พระสารีบุตรสอนว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สอนอย่างนี้ พระองค์นี้ปิ๊งขึ้นมา ท่านบรรลุพระอรหันต์ พระสารีบุตรถามว่า ต่อไปถ้ามีคนมาถามท่านว่า พระอรหันต์ตายแล้วไปไหน ท่านจะตอบว่าอะไร ที่จะไม่เป็นมิจฉาทิฎฐิ ท่านตอบบอกว่า ถ้าใครมาถามท่านนะ ท่านจะตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ปรากฎว่าสอบผ่าน เราฟังไม่รู้เรื่อง ใช่มั้ย ไม่แปลก เราไม่ใช่พระอรหันต์ ทำข้อสอบนี้ไม่ผ่าน

ตรงนี้ หลวงพ่อพูดให้ฟังน่ะ หมายถึงว่า กระทั่งในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่นะ มิจฉาทิฎฐิก็มีอยู่แล้ว แล้วมันปลอมปนมันเจือปนเข้ามา ทั้งที่ตั้งใจและโดยไม่ตั้งใจ บางทีก็ไม่ได้ตั้งใจ หวังภาวนาให้ดี แต่ก็ยังหลงผิดไปได้ หลงผิดตรงที่คิดว่าพระอรหันต์มีจริงๆ มีตัวมีตนอยู่ พอตายแล้ว ตายแล้วสูญก็มี ตายแล้วยังอยู่ก็มี มันไม่ได้ผิดตรงที่ตายแล้วสูญหรือตายแล้วยังอยู่นะ มันเริ่มตั้งแต่ว่ามีตัวมีตน มีคนจริงๆมีพระอรหันต์จริงๆ ท่านจึงตอบว่า คำตอบที่ถูกนั้นคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่มีพระอรหันตหรอก ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสัตว์ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเราว่าเขา

เนี่ย ตัวเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาเข้าใจยาก ถ้าเราเข้าใจแล้วเราจะรู้ว่า ตัวเราไม่มี นี่เป็นเรื่องที่คนทั้งหลายทนไม่ไหว คนทั้งหลายนั้นรักในสิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆนี้ รักที่สุดเลย หวงแหนที่สุด ถ้ามาหัดภาวนาแล้วมาเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ แรกๆนะ จะทนไม่ได้สักรายหนึ่ง กลัวบ้างนะ บางทีก็สยดสยอง บางคนก็ขวัญหนีดีฝ่อ บางคนก็เซ็งไปเลยนะ เหี่ยวเฉาไปเลย เพราะตัวเรานี้เป็นสิ่งที่รักที่หวงแหนที่สุด แล้วพบว่า มันไม่มีจริง

550409.00m00-04m46

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)

เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212