Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ศีลข้อมุสา ไม่ใช่เพียงไม่พูดโกหก

mp3 (for download) :ศีลข้อ 4 รักษาที่ใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศีลข้อมุสานี่ยากนะ มุสาไม่ใช่แค่โกหกนะ พูดเพ้อเจ้อก็เข้าข่ายมุสา พูดเพ้อเจ้อหมายถึงไม่จำเป็นต้องพูดก็พูด พูดคำหยาบ พูดคำหยาบใครพูดคำหยาบบ้าง หลวงพ่อเคยได้ยินนะ ผู้หญิงสวยนะแต่พูดออกมานี่ อื้อหือ หมาหุบหูเลย ฟังไม่ไหวนะ มันหยาบคาย พูดส่อเสียดคือพูดให้เขาทะเลาะกัน นี่ผิดศีลทั้งนั้นนะ แล้วก็พูดโกหก ศีล ๕ นะ ยกตัวอย่างในขณะที่พระกำลังเทศน์เนี่ย เรามีหน้าที่ฟัง แล้วเราก็คุยแข่งกับพระ นี่ศีลข้อ ๔ ด่างพร้อยแล้ว นะ

การรักษาศีลน่ะมันสำคัญอย่างไร เราอย่าไปคิดว่าการรักษาศีลเป็นเรื่องทุกข์ทรมานนะ มันเป็นวิธีการฝึกตนเองขั้นต้นเลย ขั้นเบสิคที่สุดเลยนะ ศีลเนี่ยเป็นเครื่องที่จะคอยควบคุมให้กายให้วาจาของเราเรียบร้อย พฤติกรรมทางกายทางวาจาของเราให้เรียบร้อย ไม่ไประรานคนอื่น การรักษาศีลนั้นไม่ใช่อยู่ๆก็ไปขอที่พระ ศีลนั้นต้องตั้งใจรักษาเอาเอง ถึงไปขอกับพระนะ ขอเสร็จก็ไปคุยแข่งกับพระ ไม่มีศีลหรอก ศีลด่างพร้อยไปหมดแล้ว การรักษาศีลที่ดีต้องรักษาที่ใจของเรา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 551016
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๑ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้หลักแล้วต้องขยัน

mp3 for download : รู้หลักแล้วต้องขยัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :รู้หลักให้แม่น เพื่อเอาไว้สู้กับกิเลสของเรา เพื่อพัฒนาตัวเองไปสู่ความหลุดพ้น ไม่ใช่เพื่อไปเถียงกับคนอื่น

เมื่อก่อนหลวงพ่อมีลูกศิษย์เหลวไหลแบบนี้เยอะ มาเรียนแล้วก็จำนะ แล้วไปว่าอาจารย์อื่นนะ เข้าวัดนี้ก็ว่า สอนผิด เขาถูกอย่างของเขาน่ะ นั่นมันหาศัตรูให้เรา

รุ่นหลังๆนี้ดีหน่อย ลูกศิษย์ประเภทนี้ไปหมดแล้ว เหลือแต่พวกจะเอามรรคผลนิพพาน เอาจริงๆ สู้กับกิเลสของเราเอง แต่เราต้องแม่น แม่นเพื่อที่จะปฏิบัติให้ถูก พอหลักแม่นแล้วลงมือปฏิบัติให้เข้มข้น ไม่ใช่นานๆดูทีหนึ่งแล้วบอกว่าจะเอามรรคผลนิพพาน วันๆกิเลสลากเอาไปหมดเลย สัดส่วนของกุศลแทบไม่มีเลย อย่างนี้จะไปใช้อะไรได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๓ สิงหาคม ๒๕๕๖)

    New Files Updated วันเสาร์ที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖

  • 560421: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕o แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖
  • 560420: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕o แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒o เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖
  • 560414: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕o แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : สภาวะที่แยกธาตุแยกขันธ์ได้เป็นอย่างไร ?

 สภาวะที่แยกธาตุแยกขันธ์ได้เป็นอย่างไร ?

ก็รู้สึกอยู่ว่า กายเป็นส่วนหนึ่งที่มีจิตเป็นผู้รู้อยู่

หรือ รู้สึกอยู่ว่า เวทนาเป็นส่วนหนึ่งที่มีจิตเป็นผู้รู้อยู่

หรือรู้สึกอยู่ว่า กิเลสอารมณ์ทางใจเป็นส่วนหนึ่งที่มีจิตเป็นผู้รู้อยู่

ถ้ารู้สึกแบบนี้ก็เป็นการแยกขันธ์ (บางคนอาจแยกได้ละเอียดกว่านี้)

ส่วนการแยกธาตุ จะรู้สึกว่าร่างกายเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ถูกรู้ถูกดูอยู่ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะ – วิปัสสนา

mp3 for download : สมถะ – วิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ไปประคองจิตให้นิ่งให้ว่างอยู่เฉยๆนะ ไม่ใช่ทำวิปัสสนาหรอก< ไปทำของไม่เที่ยงให้มันดูเที่ยง ไปทำของซึ่งเป็นทุกข์ให้ดูเป็นสุข ไปทำของบังคับไม่ได้ให้บังคับได้ขึ้นมา สวนทางกับวิปัสสนาเลย/strong>

เพราะฉะนั้นถ้าไปได้ยินคำสอนประคองจิตให้นิ่งให้ว่างนิรันดรแล้วบรรลุ บอกเลยว่านั่นน่ะ สมถะ ถ้าเป็นวิปัสสนาต้องเห็นไตรลักษณ์ของจิต ใครจะนั่งสมาธิแล้วบอกว่าจะเอาชนะเวทนา นั่นสมถะ ถ้าจะเดินปัญญาเดินวิปัสสนาไปสู่มรรคผลนิพพานก็ต้องเห็นเวทนานั้นแหละตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์ ต้องอย่างนั้นนะ

นั่งรู้ลมหายใจไม่ใช่นั่งให้จิตสงบ เห็นแสงสว่างแล้วเที่ยวออกไปข้างนอก ไม่ใช่ นั่นเป็นเรื่องของสมถะ นั่งรู้ลมหายใจก็เพื่อให้เห็นเลยว่าร่างกายที่หายใจอยู่นี้ไม่เที่ยง ร่างกายที่หายใจอยู่นี้เป็นทุกข์ ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ก็ต้องเห็นอย่างนี้ ทำวิปัสสนาต้องเห็นไตรลักษณ์ จับหลักให้แม่นนะ

ถ้าเราหลักแม่นเวลาเราฟังใครเราจะรู้เลยว่าเขาพูดอยู่ในระดับ พูดในระดับของสมถะหรือวิปัสสนา ไม่งั้นมั่วนะ สอนสมถะแต่บอกว่าทำวิปัสสนา มันจะทำให้เราหลงทาง

แต่ว่าถึงเรารู้นะ เราไปฟังใครเขาพูด อาจารย์ไหนพูดนะ อย่าไปบอกเขานะว่าผิดนะ เออ!ก็ถูกของเขา เขาถูกอย่างของเขา หัดพูดประโยคนี้ดูบ้าง ใครมาถามหลวงพ่อว่าอาจารย์นั้นทำถูกมั้ย หลวงพ่อก็จะบอกว่า ก็ถูกอย่างของท่านนะ ก็ดีอย่างของท่านนะ อย่าไปบอกว่าถูกเหมือนกัน ดีเหมือนกันนะ ไม่เหมือนหรอก คนละเรื่องกัน เขาก็ดีอย่างของเขาน่ะ ยกตัวอย่างคนที่ไม่มีความสงบแล้วทำความสงบได้ก็ดีใช่มั้ย ก็ดี ดีอย่างของเขา แต่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าหรอก ต้องแยกให้ออกนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๔)

แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๔)

๔. ปัญหาและความผิดพลาดในการภาวนา

จากแนวทางอันเดียวกันข้างต้น

เมื่อแต่ละคนลงมือปฏิบัติธรรมจริงๆ

กลับปรากฏปัญหาปลีกย่อยแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก

ปัญหาหลักก็มาจาก การเจริญสติสัมปชัญญะ ไม่ถูกต้อง

 

พวกเราจำนวนมากในขณะนี้ ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งเกิดความคลาดเคลื่อน

ยิ่งขยัน ยิ่งพลาดไปไกล

จุดที่พากันพลาดมากในช่วงนี้ก็คือ

แทนที่จะ รู้ ตามความเป็นจริง

พวกเรากลับไป สร้าง อารมณ์อันหนึ่งขึ้นมา

แล้วพากันเข้าไปติดอยู่ในอารมณ์อันนั้น

 

ความผิดพลาดนั้นเกิดจากบางคนรู้สึกว่าตนฟุ้งซ่านมากไป

จึงเห็นว่าจำเป็นต้องฝึกสมถกรรมฐานเสียก่อน

แล้วการฝึกสมถกรรมฐานนั้น ก็กระทำอย่างผิดพลาด

คือแทนที่จะกระทำสัมมาสมาธิ

กลับไปทำมิจฉาสมาธิอันไม่ประกอบด้วยความรู้ตัว

โดยการเพ่งเข้าไปที่อารมณ์อันเดียว

กล่อมจิตให้เคลื่อน เคลิ้ม เข้าไปเกาะอารมณ์อันเดียว

แทนที่จะมีสติระลึกรู้อารมณ์อันเดียวไปอย่างสบายๆ

โดยมีความรู้ตัวไม่เผลอ ไม่เพ่ง

จิตแค่ระลึกรู้อารมณ์อันเดียวอย่างสบายๆ เป็นธรรมเอก

 

เมื่อทำมิจฉาสมาธิ จิตเคลื่อน ไปเกาะอารมณ์ที่สร้างขึ้นมา

พอหยุดการทำสมาธิ หันมาดูจิต หรือเจริญสติปัฏฐาน

ก็เอาจิตที่เกาะติดอารมณ์นั้นเอง มาใช้ดูจิต

ซึ่งจิตชนิดนี้ ใช้เจริญสติปัฏฐานไม่ได้จริง

เพราะกระทั่งจิตติดอารมณ์อยู่ก็มองไม่เห็นความจริงเสียแล้ว

 

สาเหตุของความผิดพลาดที่เป็นกันมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ

แทนที่จะรู้อารมณ์ไปตามธรรมดา ง่ายๆ สบายๆ

พวกเราจำนวนมากกลัวจะเผลอ กลัวจะหลงมากเกินไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่พบกับผม หรือใกล้จะพบกับผม

จิตจะเกิดการตื่นตัวขึ้น เกิดอาการเกร็ง ระวังตัวแจ

ไม่ผิดอะไรกับนักวิ่ง เวลาเข้าเส้นสตาร์ท

 

สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ การปฏิบัติธรรมด้วยความอยาก

เช่นอยากรู้ธรรมเห็นธรรมเร็วๆ

อยากเป็นคนเก่ง เป็นดาวเด่น อยากได้รับการยอมรับและคำชมเชยจากหมู่เพื่อน

พออยากมาก ก็ต้อง “เร่งความเพียร”

แต่แทนที่จะเจริญสติสัมปชัญญะอย่างเป็นธรรมชาติให้ต่อเนื่องตลอดเวลา

อันเป็นความหมายที่ถูกต้องของการเร่งความเพียร

กลับกลายเป็นการปฏิบัติด้วยความหักหาญ เคร่งเครียด

ดูผิวนอกเหมือนจะดี แต่จิตภายในไม่มีความสงบสุขใดๆ เลย

 

สาเหตุที่นึกได้ในตอนนี้ทั้ง 3 ประการนี้แหละ

ทำให้พวกเราจำนวนมาก หลงไปยึดอารมณ์อันหนึ่งไว้

แล้วคิดว่า สามารถรู้จิตรู้ใจได้อย่างแจ่มชัด

ตอนนี้บางคนพอจะแก้ไขได้บ้างแล้ว

เมื่อเริ่มรู้ทัน การที่จิตไปสร้าง ภพของนักปฏิบัติขึ้นมา

แทนที่จะ รู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง

มีเรื่องขำๆ เรื่องหนึ่งคือน้องคนหนึ่งจิตติดอารมณ์ภายในอยู่

ผมก็แนะนำว่า ให้ดูให้รู้ว่ากำลังติดอยู่

ถ้ารู้แล้วจะได้กลับออกมาอยู่ข้างนอก

และแทนที่จะเพ่งเข้าไปข้างใน

ให้พยายามรู้ตัวออกไปยังภายนอก ออกไปสัมผัสสิ่งแวดล้อมให้ดี

จิตที่ติดอยู่ข้างในจะได้หลุดออกมา

น้องคนนั้นฟังแล้วกลุ้มใจมาก เพราะคิดว่าผมสอนให้ส่งจิตออกนอก

ยังดีว่าสงสัยแล้วถามผมเสียก่อน

ไม่นำไปเล่าถวายครูบาอาจารย์ ว่าผมสอนให้ส่งจิตออกนอก

มิฉะนั้น ถ้าท่านพบผม ท่านคงทุบผมตกกุฏิเลย

 

ความจริงการที่หลงสร้างอารมณ์ออกมาอันหนึ่ง

แล้วตนเองเข้าไปติดอยู่ภายในนั้น

ก็เป็นการส่งจิตออกนอกแล้ว คือออกไปนอกจาก รู้

ผมพยายามแก้การส่งจิตออกไปสร้างภพโดยไม่รู้ตัวให้

ไม่ได้ปรารถนาจะให้หัด ส่งจิตออกนอก แต่อย่างใด

 

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราส่วนน้อยเป็นกัน

ได้แก่การหลงตามอาการของจิต

เช่นหลงในนิมิต แสง สี เสียง ต่างๆ

หรือหลงในการกระตุกของร่างกาย ฯลฯ

พอเกิดอาการขึ้น บางคนก็ยินดี บางคนก็ยินร้าย

ต้องคอยปลอบคอยแนะให้หันมาสังเกตรู้ความยินดียินร้ายของจิต

จนจิตเข้าถึงความเป็นกลางเอง

แทนการไปเพ่งใส่อาการต่างๆ เหล่านั้น

และมีราคะ โทสะ หรือโมหะ ครอบงำโดยไม่รู้ตัว

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน ศุกร์ ที่ 7 มกราคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดู อย่างเป็นวิปัสสนา

mp3 for download : ดู อย่างเป็นวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ดูกาย เห็นร่างกายหายใจ เพื่อจะได้เกิดปัญญาเห็นว่าร่างกายนี้มันไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็หายใจเข้า เดี๋ยวก็หายใจออก ร่างกายนี้มีแต่ทุกข์บีบคั้น หายใจเข้าก็เพื่อแก้ทุกข์ หายใจออกก็เพื่อแก้ทุกข์ หายใจเข้าหายใจออกก็คือการเปลี่ยนอิริยาบถ ปิดบังทุกข์ไว้ ร่างกายที่หายใจอยู่เป็นวัตถุธาตุนะ ไม่ใช่เราหรอก หายใจก็เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์อย่างนี้ ถึงจะเดินปัญญา

ดูเวทนาก็ไม่ใช่เพื่อฉันจะชนะเวทนา คนที่นั่งสมาธิปวดเมื่อย จะนั่งเอาชนะเวทนา นั่งเอาชนะเวทนาได้ขันติได้อะไรต่ออะไร ได้อธิษฐานบารมีตั้งใจมั่น แต่ไม่ใช่ปัญญา ถ้าจะเอาชนะเวทนาก็นั่งไปจนเห็นว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยงนะ เวทนาเป็นของทนอยู่ไม่ได้ เวทนาเป็นของบังคับไม่ได้ อย่างนี้เป็นการนั่งวิปัสสนาเดินปัญญา

ดูจิตก็ไม่ใช่ไปประคองจิตให้นิ่งให้ว่าง แต่เพื่อให้เห็นว่าจิตเป็นไตรลักษณ์ จิตมันไม่เที่ยงนะ จิตมันเป็นทุกข์นะ มันถูกบีบคั้นด้วยตัณหาตลอดเวลา จิตเป็นของบังคับไม่ได้นะ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ อย่างนี้จิตเป็นอนัตตา อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเดินวิปัสสนาอยู่


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สนทนาธรรมตามประสาเพื่อนนักภาวนา

ขอเชิญร่วมกิจกรรมสนทนาธรรมตามประสาเพื่อนนักภาวนา

ตามแนวทางหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โดย คุณมาลี ปาละวงศ์

วันอาทิตย์ที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

หลังการแสดงธรรมของหลวงพ่อปราโมทย์เสร็จและเดินทางกลับแล้ว

ณ ห้องกรรมฐาน อาคารเจริญธรรม บ้านจิตสบาย

สามารถสอบถามการปฏิบัติตามแนวทางดูจิตกับคุณมาลีได้ถึงเวลาเที่ยงตรง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ดูความปวดดูยังไง?

ดูความปวดดูยังไง?

จะดูความปวดนี่ต้องมีกำลังตั้งมั่นสูงมากพอนะครับ ไม่งั้นจิตจะไหลไปแช่ความปวดจนดูความปวดไม่ได้

ถ้าจิตไหลไปแช่ต้องย้อนมาดูจิตที่ไหลไปแช่ ดูจิตไม่ชอบ ดูจิตที่ดิ้นรนอยากหาย

หรือรวมๆก็ดูจิตที่เกิดสภาวะต่างๆเพราะความปวดครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

mp3 for download : รู้ อย่างเป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ส่วนไม่ยากอะไร เฝ้ารู้ความปรุงไป ดูไป ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็มีแต่รูปกับนาม ให้หาอารมณ์อันใดอันหนึ่งนะ ที่เหมาะกับเรา จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมก็ได้ อะไรก็ได้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต

เรารู้กาย ยกตัวอย่างเช่นเรารู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแบบเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต ไม่ได้ไปเพ่งห้ามจิตเคลื่อนไปจากลมหายใจ ไม่ใช่ อันนั้นไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก รู้ลมหายใจพอเป็นเครื่องอยู่ของจิต รู้ไปเพื่อจะแผดเผากิเลส เรียกว่า อาตาปี ไม่ใช่รู้ไปเพื่อหาความสุขความสบาย รู้ไปเพื่อจะสู้กับกิเลส มีสัมปชัญญะ รู้ว่าเรารู้ลมหายใจนี้เพื่ออะไร มีสติ ไม่หลงลืมลมหายใจนี้

ถ้ารู้ไปเรื่อย.. ก็จะถอดถอนความยินดียินร้ายในโลกออก เรียกว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสะ ถอดถอนความยินดียินร้ายในโลก ไม่ยึด

เพราะฉะนั้นเรารู้กายรู้ใจไปนะ รู้แบบเป็นเครื่องอยู่ ไม่ได้อยู่แบบเป็นคุกขังจิต ไม่ได้ห้ามจิตเคลื่อนไปจากร่างกาย ห้ามจิตเคลื่อนไปจากเวทนา ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งให้ว่าง ไม่ใช่ รู้เพียงแต่สักว่าอาศัยรู้เท่านั้นเอง เพื่อที่จะได้เห็นว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๓)

แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๓)

๓. การเจริญสติปัฏฐาน

 เมื่อพวกเรามีเครื่องมือ หรืออาวุธในการปฏิบัติธรรมแล้ว

ขั้นตอนต่อไปผมจะแนะนำให้พวกเราเจริญสติปัฏฐาน

คือมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ กาย  เวทนา จิต และ/หรือ ธรรม

ตามความถนัดของแต่ละบุคคล

 

เช่นให้รู้อิริยาบถ รู้ความเคลื่อนไหวระหว่างการเดินจงกรม รู้ลมหายใจเข้าออก

เบื้องต้นถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ก็ให้รู้ไปอย่างสมถะ

คือเอาสติจดจ่อสบายๆ ลงในกายที่ถูกรู้นั้น

เมื่อจิตมีกำลังขึ้นแล้ว ก็ให้เห็นว่า อิริยาบถ ความเคลื่อนไหวกาย หรือลมหายใจนั้น

เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น ไม่ใช่จิต

มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานั้นเอง

 

เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว จิตจะมีกำลังสติสัมปชัญญะมากขึ้นอีก

หากนามธรรมใดปรากฏกับจิต ก็สามารถจะรู้เท่าทันได้

เช่นเกิดความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เกิดกุศล อกุศล ต่างๆ

ก็ให้รู้ทันนามธรรมนั้น ในลักษณะสิ่งที่ถูกรู้ เช่นเดียวกับการรู้รูปนั่นเอง

 

อนึ่ง คนไหนมีกำลังรู้นามธรรมได้เลย ผมมักแนะให้รู้นามธรรมไปเลย

หรือผู้ไม่ถนัดจะระลึกรู้นามธรรม

สมัครใจจะรู้รูปธรรมอย่างเดียว ก็ได้

 

เมื่อจิตรู้ รูปธรรม หรือนามธรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว

พอมีกำลังสติปัญญามากขึ้น ก็จะเห็นว่า

เมื่อจิตไปรู้รูปธรรมหรือนามธรรมต่างๆ แล้ว

จิตจะมีความยินดี ยินร้าย หรือเป็นกลางขึ้นมา

ผมมักแนะนำหมู่เพื่อน ให้ระลึกรู้ความยินดี ยินร้าย หรือความเป็นกลางนั้น

เมื่อจิตรู้ความเป็นยินดี ยินร้ายแล้ว ก็จะเห็นความยินดี ยินร้ายนั้น

เกิดดับเช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวงนั้นเอง

แล้วจิตปล่อยวางความยินดียินร้าย เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิต

 

ตอนแรกความเป็นกลางๆ จะมีสั้นๆ แล้วก็มีความยินดี ยินร้ายเกิดขึ้นอีก

ต่อมาชำนิชำนาญขึ้น จิตจะเป็นกลางมากขึ้นตามลำดับ

ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้อยู่ที่ความเป็นกลางของจิต

เมื่อจิตมีกำลังขึ้น ก็จะสามารถจำแนกขันธ์ละเอียดต่อไปจนเข้าถึง ใจ ได้

 

ในขั้นที่จิตเฝ้าระลึกรู้ความเป็นกลางนั้น

ปัญญาชนจะเกิดโรคประจำตัว  2 ประการเป็นส่วนมาก

คือ (1) เกิดความเบื่อหน่าย แล้วเลิกปฏิบัติ

หรือ (2) เกิดความลังเลสงสัย ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปอีกหรือไม่

แล้วเลิกปฏิบัติโดยการ รู้

หันมาคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วยการคิดเอา

 

แท้จริงเมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ที่ความเป็นกลางแล้ว ก็ให้รู้อยู่อย่างนั้น

แล้วจิตเขาจะพัฒนาของเขาไปเองเมื่อกำลังของ สติ สมาธิ ปัญญาสมบูรณ์เต็มที่

 

นี้เป็นข้อสรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมโดยสังเขป

ที่ขอฝากไว้ให้กับหมู่เพื่อนเพื่อประกอบการพิจารณาปฏิบัติต่อไป

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน ศุกร์ ที่ 7 มกราคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สังขารขันธ์

mp3 for download : สังขารขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ส่วนสังขารในขันธ์ ๕ เรียกว่า สังขารขันธ์ เป็นอีกอย่างหนึ่ง เป็นความปรุงของจิต ปรุงดีปรุงชั่ว

สังขารนั้นมีหลายอย่าง สังขารบางอย่าง อย่างกายสังขารคือลมหายใจ แยกแยะไป จิตตสังขารคืออะไร คือสัญญากับเวทนา จิตตสังขาร วจีสังขารคือวิตกวิจาร จะแยกสังขารอย่างนี้ แยกอย่างนี้เพื่อจะพูดเรื่องฌานสมาบัติ ถ้าแยกสังขารแบบนี้ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นี่เป็นการแยกเพื่อเป็นเรื่องของฌานสมาบัติ

ยกตัวอย่างเวลาเข้านิโรธสมาบัติ วจีสังขารดับก่อน คือหยุดความตรึกความตรองได้ก่อน ถัดจากนั้นลมหายใจดับ มันเข้าถึงฌานที่ ๔ ถัดจากนั้นสัญญาและเวทนาดับ เข้าสัญญาเวทนยิตนิโรธ สังขารที่แยกชนิดอย่างนี้นะ อย่าไปใช้ผิดที่นะ สังขารถ้าแยกแบบนี้จะนำไปใช้เพื่อฌานสมาบัติ อธิบายเรื่องการเข้านิโรธสมาบัติ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ทาน ศีล ภาวนา

ทาน ศีล ภาวนา

ทาน ศีล ภาวนา ล้วนเป็นสิ่งที่ควรทำตามโอกาสครับ

ทำแล้วก็มีผลต่างกันแต่ก็เกื้อกูลกันไปจนพ้นทุกข์

ถ้าไม่ทำทานเลยจิตใจก็แห้งแล้งรักษาศีลยากภาวนายาก

ถ้าทำทานแต่ไม่รักษาศีลไม่ภาวนาก็ไม่พ้นทุกข์

ถ้าทำทานรักษาศีลแต่ไม่ภาวนาก็ไม่พ้นทุกข์

การทำทานที่ดีคือการทำเพื่อฝึกจิตใจให้รู้จะเสียสละ

เมื่อมีโอกาสทำทาน ก็พิจารณาเอานะครับว่าควรทำหรือไม่ควรทำ

อย่างเช่นทานอะไรที่เรารู้สึกว่าทำแล้วไม่มีความสุขไม่ได้ประโยชน์ (แก่ผู้รับหรือผู้อื่น - ผู้เรียบเรียง) เราก็ไม่ต้องทำหรอกครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สังขารในปฏิจจสมุปบาท คือตัวเจตนา

mp3 for download : สังขารในปฏิจจสมุปบาท คือตัวเจตนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :บางคนถนัดแยกรูปนามเป็นอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์ ๒๒ ฟังแล้วเยอะ จริงๆแล้วไม่มีอะไรเท่าไหร่หรอก ตาหูจมูกลิ้นกายใจก็เป็นอินทรีย์ ศรัทธาวิริยะสติสมาธิปัญญาก็เป็นอินทรีย์ ภาวะแห่งความเป็นผู้หญิงภาวะแห่งความเป็นผู้ชายก็เป็นอินทรีย์ แยกๆไปก็ไม่มีอะไร มีแต่รูปกับนามนั่นแหละ มีแต่รูปกับนาม

ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นรูปกับนาม อวิชาเป็นนามธรรม สังขารเป็นตัวนามธรรม สังขารในตัวปฏิจจสมุปบาทคือตัวเจตนา ถ้าใครเขาถามเรานะว่าสังขารในปฏิจจสมุปบาทคืออะไร คือเจตนา เจตนาที่เป็นบุญบ้าง เจตนาที่เป็นบาปบ้าง เจตนาที่ไปสู่ความว่างบ้าง เป็นเจตนาที่ปรุงจิตไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เกร็ดธรรมคุณสันตินันท์ : แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๒)

แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๒)

๒. เครื่องมือในการปฏิบัติธรรม

ผู้ที่เข้าใจแล้วว่าพระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์และการดับทุกข์

ก็จะได้รับการแนะนำให้รู้จักเครื่องมือสำหรับการปฏิบัติธรรม

ได้แก่ สติ และ สัมปชัญะ

ผมมักจะพยายามแนะนำให้พวกเรา รู้ทัน สิ่งที่กำลังปรากฏกับจิต

เช่นความลังเลสงสัย ความอยาก ความกังวล ความสุข ความทุกข์ ฯลฯ

เป็นการหัดให้มี สติ ซึ่งเป็นเครื่องมือรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ

 

และเฝ้ากระตุ้นเตือนพวกเราให้ทำความรู้ตัว ไม่เผลอ

ไม่ว่าจะเผลอส่งจิตไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ

ส่วนมากก็จะเผลอกันทางตา กับ ทางใจคือหลงเข้าไปอยู่ในโลกของความคิด

กับเผลอไปเพ่งจ้องอารมณ์ เอาสติจ่อแน่นเข้าไปที่อารมณ์ที่กำลังปรากฏ

การกระตุ้นความไม่เผลอ และไม่เผลอเพ่ง

ก็คือการพยายามให้พวกเรามี สัมปชัญญะคือความรู้ตัวไว้เสมอๆ

โดยคุณ สันตินันท์ (นามปากกาของหลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)

เมื่อวัน ศุกร์ ที่ 7 มกราคม 2543

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐาน กับ วิปัสสนาภูมิ

mp3 for download : สติปัฏฐาน กับ วิปัสสนาภูมิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :อาจารย์บางท่านก็สอน ต้องรักษาจิตให้ว่างเท่านั้นถึงจะเป็นทางลัด พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้รักษาจิตให้ว่าง มีแต่บอกให้มารู้ทุกข์ เมื่อรู้ทุกข์ก็รู้ธรรม ไม่รู้ทุกข์ก็ไม่รู้ธรรมหรอก บางท่านก็ต้องบอกว่าให้พิจารณากายก่อน นั่นก็วาทะของอาจารย์แต่ละอาจารย์ บางท่านก็บอกว่าอย่าไปพุทโธต้องขยับมือถึงจะดี ก็ถูกของท่าน อย่างหลวงพ่อเทียนท่านพุทโธไม่ได้ ท่านก็ขยับมือแล้วท่านทำได้ (หมายถึงภาวนาเจริญสติปัฏฐานได้ – ผู้ถอด)

แต่ในความเป็นจริงแล้วคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นหลากหลาย มีหลายแง่หลายมุม ยกตัวอย่างสติปัฏฐาน ๔ เนี่ย สติปัฏฐานเป็นเรื่องของวิธีเจริญวิปัสสนา สติปัฏฐานเป็นเรื่องวิธีเจริญวิปัสสนานะ เป็นตัววิธี แต่ตัวอารมณ์ที่เราใช้ทำวิปัสสนาเรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ก็มีเรื่องขันธ์ เรื่องธาตุ เรื่องอายตนะ เรื่องอินทรีย์ เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องอริยสัจจ์ ๖ เรื่อง นี้ แต่ ๖ เรื่องนี้ถ้าย่อลงมาแล้วก็คือเรื่องรูปกับนามนั่นแหละ

สติปัฏฐานเป็นวิธีปฏิบัติ ทำอย่างไรจะรู้รูป ทำอย่างไรจะรู้นาม วิธีจะพัฒนาให้รู้รูปรู้นามตามหลักของสติปัฏฐาน สติปัฏฐานมี ๒ ระดับ ระดับที่ ๑ พัฒนาให้เกิดสติ ระดับที่ ๒ พัฒนาให้เกิดปัญญา เพราะฉะนั้นตัวสติปัฏฐานเนี่ย ไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนานะ วัตถุประสงค์ที่ท่านสอนเนี่ย ท่านสอนวิธีปฏิบัติ สอนว่าทำอย่างไรเกิดสติ ทำอย่างไรเกิดปัญญา ตรงที่เกิดปัญญานั่นแหละ เป็นวิปัสสนา

แต่ตัวอารมณ์ของวิปัสสนานั้นคือ รูป-นาม ซึ่งแยกแยะออกไปได้ แบ่งรูปแบ่งนามนะ พวกเรามีรูปนามกันทุกคนแหละ บางคนถนัดที่จะแยกรูปแยกนามออกไปเป็นขันธ์ ๕ บางคนถนัดแยกรูปนามออกไปเป็นอายตนะ ๖ บางคนถนัดแยกรูปนามออกไปเป็นธาตุ ๑๘ บางคนถนัดแยกรูปนามออกไปเป็นอินทรีย์ ๒๒


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๗ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คำสอนของหลวงปู่มั่นที่บอกแก่หลวงปู่สุวัจน์

mp3 for download : คำสอนของหลวงปู่มั่นที่บอกแก่หลวงปู่สุวัจน์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไปเจอหลวงปู่สุวัจน์ (พระโพธิธรรมาจารย์ หลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ) หลวงปู่สุวัจน์ก็เคยเล่าว่า หลวงปู่มั่นสอนท่าน ท่านเข้าไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตก็ไม่ได้ดูกายก็ไม่ได้ ให้ทำความสงบไว้ ทำสมถะ ทำสมถะก็เพื่อให้มีแรง ดูกายเพื่อให้เห็นจิต ดูจิตเพื่อให้รู้แจ้ง ท่านสอนกันอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าตัดตรงเข้ามารู้ถึงจิตถึงใจได้ ไม่เสียเวลา

ถามว่าถ้ารู้จิตแล้วจะรู้กายมั้ย จะปล่อยวางกายได้มั้ย ได้แน่นอน เพราะว่าผู้ที่ไปยึดกายก็คือจิต ผู้ที่จะปล่อยวางกายก็คือจิต ทีนี้บางท่าน ท่านดูกายไป ท่านเห็นกายนี้เป็นของไม่ดี เป็นตัวทุกข์อะไรอย่างนี้นะ ก็ปล่อย

แต่ถ้าดูจิตนะ จะเห็นว่าถ้าจิตไปยึดกาย จิตจะทุกข์ อย่างนี้ก็ปล่อยเหมือนกัน ก็เลิกยึดเหมือนกัน มองมาจากคนละด้านนะ เพราะมันอิงอาศัยกัน ใครไปยึดกาย ก็จิตนั่นแหละ เป็นผู้ไปยึด ทำไมจิตไปยึดกาย เพราะจิตมันโง่ มันโง่ได้ ๒ ด้าน

ด้านหนึ่งมันโง่เพราะมันไม่รู้ว่ากายเป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นถ้ามาดูกายจะเห็นแจ้งว่ากายเป็นตัวทุกข์ ก็ปล่อยกาย อีกด้านหนึ่ง มันโง่ มันไม่รู้ว่าถ้ามันไปยึดกายแล้วมันจะทุกข์ ถ้ามันไม่โง่ตรงนี้นะ มันยึดกายหรอก มันก็ปล่อยกาย

เห็นมั้ยมันเดินได้นะ ถ้าภาวนาเป็นแล้วจะรู้เลย การปฏิบัตินั้นทำอะไรก็ถูกน่ะ ถ้าภาวนาไม่เป็นนะ ทำอะไรก็ผิดหมดน่ะ มันผิดหลักผิดเกณฑ์ไปหมด เพราะฉะนั้นจริงๆไม่ใช่ของยากของลึกลับพิศดาร ต้องแนวนี้เท่านั้น ต้องแนวนี้เท่านั้น อย่างนั้นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของอาจารย์แต่ละท่านๆไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑o เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
File: 531010B
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จิตหมดแรงภาวนา

จิตหมดแรงภาวนา

ถาม : เวลาที่จิตหมดแรงภาวนา แล้วไม่ได้ไปฟังเทศน์หลวงพ่อ เหมือนใจมันอ่อนแอลงค่ะ

อันนี้พอจะมีวิธีไหนที่สามารถประคับประคองเวลาไม่ได้ไปพบครูบาอาจารย์ได้บ้างไม๊คะ?

ตอบ : ต้องอาศัยการทำในรูปแบบให้ได้ทุกวัน

แล้วก็ไม่ดิ้นรนที่จะให้จิตมีแรง

แม้จะไม่มีแรงก็ต้องหัดดูไป จะมีแรงแค่ไหนก็ดูไปแค่นั้น

จริงๆ แล้วแค่รู้ว่าจิตไม่มีแรงก็ใช้ได้แล้วครับ

อย่าไปทำอะไรให้ยุ่งยากเกินจำเป็นเพราะอยากให้จิตมีแรง

แล้วก็อย่าแค่คิดจะไปฟังหลวงพ่อเพื่อจะให้มีแรง

เพราะเราต้องพัฒนาจิตเราเองให้ได้

ไม่ใช่ต้องคอยติดครูบาอาจารย์ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Video: ศาลาลุงชิน กรกฎาคม ๒๕๕๖

Link : http://www.youtube.com/watch?v=ddQlV6mbdXo

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
แสดงธรรมที่‏ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
หมู่บ้านเมืองทอง ถนนแจ้งวัฒนะ 14 เขตหลักสี่
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖)

    New Files Updated วันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖

  • 560721: ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน) ครั้งที่ ๖o แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 30 of 178« First...1020...2829303132...405060...Last »