Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ดูจิต(จิตตานุปัสนา) 2 ขั้น เห็นไตรลักษณ์ของขันธ์

ดูจิต(จิตตานุปัสนา) 2 ขั้น เห็นไตรลักษณ์ของขันธ์

การดูจิตมี ๒ ขั้น
ขั้นแรกดูจิตให้เกิดสติเกิดจิตตั้งมั่น ถ้าทำแค่นี้ปัญญาไม่เกิด

ขั้นที่สอง ดูจิตด้วยความมีสติมีความตั้งมั่น เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ (เจริญปัญญา)
ซึ่งเมื่อมาเจริญปัญญาได้
จิตจะมารู้ขันธ์ห้า (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ด้วยความมีสติมีความตั้งมั่น
ถ้ามารู้รูป(ร่างกาย)จะรู้สึกว่า ร่างกายกับจิตเป็นคนละส่วน
จะเห็นว่าร่างกายมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
ถ้ามารู้เวทนา จะรู้สึกว่า เวทนากับจิตเป็นคนละส่วน
จะเห็นว่าเวทนามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
หรือถ้ามารู้จิต ก็จะเห็นว่า จิตเองก็ไม่เที่ยง บังคับไม่ได้
การเห็นขันธ์แต่ละขันธ์เป็นคนละส่วนกัน เป็นไตรลักษณ์เหมือนๆ กัน
นี่แหละครับคือการหัดแยกขันธ์

การจะแยกขันธ์ เราก็เพียงมีสติรู้สภาวะไปแบบเป็นคนดู
แล้วขันธ์จะแยกให้เห็นเอง เห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ได้เองครับ
:D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำไมภาวนาไม่ก้าวหน้า?

mp 3 (for download) : ทำไมภาวนาไม่ก้าวหน้า?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทำไมภาวนาไม่ก้าวหน้า

ทำไมภาวนาไม่ก้าวหน้า

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาทีหลังอ่านแด่เธอผู้มาใหม่ไว้ยังมีพิมพ์แจกอยู่เปล่าไม่รู้ไม่ได้ แจกแล้วนะที่นี่พวกเก่าๆแล้ว แด่เธอผู้เก่าซ้ำซากอะไรเนี้ยเดี๋ยวต้องแต่งอีกเล่ม แด่เธอผู้ภาวนาเก่าซ้ำซากทำไมไม่ก้าวหน้า ไม่ก้าวหน้านะ อันแรกเลยก็คือไม่ต่อเนื่อง ไม่ต่อเนื่องทำๆหยุดๆนั่นแหล่ะ อีกอันสมาธิไม่ค่อยพอฟุ้งซ่านซะเยอะวันๆนึงนะ งั้นทำในรูปแบบเพิ่มสมาธิขึ้น หากเราทำทุกวันๆนะความต่อเนื่องมันก็มี งั้นทำในรูปแบบสำคัญนะจะแก้จุดอ่อนของฆราวาสได้อย่างดีเลย ฆราวาสจุดอ่อนสำคัญเลยไม่ต่อเนื่องกับสมาธิไม่พอ งั้นทำในรูปแบบไว้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๒
File: 540917B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๔๓ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : พุทโธไว้ตลอดเวลา

พุทโธไว้ตลอดเวลา

ถาม : อยากถามว่าการที่เราพยามบริกรรมพุทโธให้ได้ตลอด เหมือนที่ครูบาอาจารย์บอกให้พุทโธไว้ตลอดเวลายืนเดินนั่งนอน เราแค่บริกรรมส่วนสภาวะไรจะเกิดเราไม่ได้คาดหวัง คือการทําความเพียรใช่ไหมคะ ?

ตอบ : การบริกรรมพุทโธ ต้องดูด้วยครับว่า บริกรรมเพื่ออะไร
ถ้าจะบริกรรมเพื่อเจริญสติเจริญปัญญา
ก็บริกรรมไปสบายๆ บริกรรมแล้วหัดรู้ทันจิตใจไป
เช่นบริกรรมแล้ว เผลอไปคิดก็ให้รู้มันจิตที่เผลอไปคิด
บริกรรมแล้ว จิตหลงออกไปมอง ไปฟัง ฯลฯ ก็รู้ทันว่าจิตหลงไป
บริกรรมแล้ว จิตเกิดกิเลส ก็ให้รู้ทันจิตที่มีกิเลส
ไม่ใช่บริกรรมแบบพยายามจะขังจิตไว้กับคำบริกรรม
สรุปว่า บริกรรมแล้วจิตเป็นอย่างไร มีสภาวะอะไรเกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันจิตไปครับ

ส่วนที่จะพยามบริกรรมพุทโธให้ได้ตลอดเวลายืนเดินนั่งนอน
ก็ต้องดูด้วยนะครับว่า เวลานั้นเหมาะที่จะบริกรรมหรือไม่
อย่างเวลาทำงานที่ต้องคิด ทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก
ก็คงไม่สามารถบริกรรมได้ครับ
ดังนั้นถ้าจะภาวนาให้ได้ตลอดเวลา
ทางที่ดี ก็ควรจะหัดรู้สึกตัวไว้เรื่อยๆ
หรือใช้เครื่องอยู่ที่เหมาะกับกิจกรรมที่กำลังทำ
(ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอยู่เหมือนกันตลอดทั้งวัน)
หัดไปเท่าที่พอจะมีโอกาสทำได้
และเมื่อมีโอกาสภาวนาแล้วก็ภาวนาให้เต็มที่เลยครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

mp 3 (for download) : สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้นแต่ว่าครองโลกเลย เผลอกับเพ่ง ใจจะเผลอๆๆลืมตัวเองไปด้วย อีกอย่างนึงก็นั่งเพ่งเอาไว้ นิ่ง เผลอก็ไม่ได้รู้สึกตัว เพ่งก็ไม่ได้รู้สึกตัว เผลอหย่อนเกินไป เพ่งตึงเกินไป เผลอเป็นกามสุขัลลิกานุโยค เพ่งเป็นอัตตกิลมถานุโยค ความสุดโต่ง ๒ ฝั่ง ตรงกลางที่ไม่เผลอไม่เพ่งก็คือรู้

พยายามรู้ตัวรู้สึกตัวเรื่อยๆ พุทโธไปก็ได้ใจหนีไปคิดรู้ทัน หายใจไปใจหนีไปคิดรู้ทัน ดูท้องพองยุบใจหนีไปคิดรู้ทันอันนี้มันเผลอไป พุทโธแล้วก็ไปบังคับจิตให้นิ่งให้รู้ทันอันนี้เพ่งไป หายใจแล้วจิตไปเกาะนิ่งอยู่กับลมหายใจไปเกาะอยู่ที่ท้องอันนี้ก็ตึงเกินไป ให้รู้ทัน เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้าอันนี้ก็ตึงเกินไป เดินจงกรมนะเพ่งกายทั้งกายเห็นร่างกายเดินนะแต่ดูแบบเคร่งเครียดเนี่ยรู้สึกทั้งตัวรู้สึกทั้งตัว อันนี้ก็ตึงเกินไป ไปเพ่งไว้ที่เท้าอันเดียวก็ตึงเกินไป เพ่งร่างกายทั้งร่างกายก็ตึงเกินไป ใจมันตึงเครียด เดินจงกรมจิตหนีไปคิดอันนี้หย่อนเกินไป ให้คอยรู้ทัน จิตหย่อนเกินไปให้รู้ทัน จิตตึงเกินไปให้รู้ทัน แล้วตรงไหนที่พอดี ตรงที่รู้ทันไงง่ายนิดเดียวเห็นมั้ย ไม่ได้บอกว่าห้ามตึงห้ามหย่อนนะ บอกตึงไปก็รู้ทันหย่อนไปก็รู้ทัน แล้วตรงไหนพอดี ตรงที่รู้ทันนั่นแหล่ะพอดี


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๒
File: 540917B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๔๕ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การหัดดูสภาวะ

การหัดดูสภาวะ

สภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้นเพราะมีเหตุ เมื่อหมดเหตุก็จะดับ
ส่วนการหัดดูสภาวะ เป็นการหัดดูเพื่อให้เห็นว่า
ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา
ไม่ใช่หัดดูเพื่อให้สภาวะนั้นหายหรือดับตามที่เราคิดจะให้หายนะครับ
เพราะฉะนั้น เมื่อดูแล้วเห็นว่าโกรธอยู่ก็หัดดูไปสบายๆ
(แต่ให้สำรวมกายวาจาไว้ด้วย)
ดูๆไป อยากหายโกรธก็ให้รู้ว่าอยากหาย (มาดูความอยากแทน)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูรูปนามแสดงละคร

mp 3 (for download) : ดูรูปนามแสดงละคร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูรูปนามแสดงละคร

ดูรูปนามแสดงละคร

หลวงพ่อปราโมทย์ : การเจริญปัญญานั้นจะรู้รูปธรรมนามธรรมว่าเป็น“ไตรลักษณ์” ต้องการเห็นตรงนี้

เราจะเจริญปัญญาได้นะ ถ้าหากเรามีสติรู้รูปรู้นาม รู้ตามความเป็นจริง คือไม่เข้าไปแทรกแซงนะ มันเป็นยังไงรู้ว่าเป็นอย่างนั้น มีสติรู้กายรู้ใจรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ถ้าทำได้อย่างนี้นะปัญญาจะเกิด มันจะเห็นความจริงของรูปของนามได้

จิตมันเป็นแค่คนดู รูปนามนั้นแสดงละครให้จิตดู จิตเหมือนคนดูละคร รูปนามเป็นตัวละครผลัดกันมาแสดง เดี๋ยวตัวดีมาเดี๋ยวตัวร้ายมา เดี๋ยวตัวสุขมาเดี๋ยวตัวทุกข์มา เดี๋ยวรูปธรรมมาเดี๋ยวนามธรรมมา มันแสดงให้เราดู เราเป็นคนดูเฉยๆ ถ้าเราดูได้อย่างนี้ เราก็จะรู้เลยตัวละครทุกตัวเมื่อออกมาแสดงแล้ว ไม่นานก็ต้องไป

มีมั้ยตัวละครที่ไม่ยอมเข้าไปในโรงเลยมีมั้ย เราคงไม่ดูหรอก มันต้องไหลไปเรื่อย เปลี่ยน ตัวนี้มาตัวนี้ไปตัวนี้มาตัวนี้ไป หมุนเวียนไปเรื่อย ดูไปดูไปถึงรู้เลยโลกนี้เป็นโรงละครเท่านั้น ไม่ได้มีจริงหรอก ขันธ์ทั้งหลายที่แสดงละครให้เราดูเป็นแค่ตัวละครหลอกๆ เหมือนเราดูละครเรารู้แล้วละครไม่ใช่เรื่องจริง เราเห็นขันธ์ห้าแสดงละคร เรารู้เลยนี่มันแค่สมมติขึ้นมา แค่ตัวหลอกๆขึ้นมา

ใจไม่ไปหลงยินดียินร้ายในขันธ์ห้าเนี่ย ใจจะคลายความยึดถือในขันธ์ห้าออก ถ้าใจไม่ยึดในขันธ์ห้านะก็ที่สุดแห่งทุกข์อยู่ตรงนั้นเอง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ไม่ยึดตรงนั้น ไม่ยึดเพราะปัญญา ไม่ใช่ไม่ยึดเพราะน้อมใจให้ไม่ยึด ไม่ใช่ไม่ยึดเพราะเจตนาไม่ยึด แต่จิตมันไม่ยึดของมันเองเพราะมันเห็นความจริงแล้วว่า รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เค้าถึงไม่ยึด เค้าไม่ยึดของเค้าเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๖
File: 541008B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : หลวงพ่อปราโมทย์มาแสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน 19 ก.พ. 55

แจ้งข่าว หลวงพ่อปราโมทย์มาแสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน ถ.แจ้งวัฒนะ ในวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 นี้ครับ

ตั้งแต่เวลา 8.30 น. – 10.00 น.

แนะนำให้มาถึงศาลาก่อน 7.30 น. เพื่อจะได้มีที่นั่งครับ

>>> ท่านที่นำรถมา แนะนำให้นำรถจอดเข้าด้านในของทีจอดรถภายในบริเวณของศาลาฯ ที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น หากท่านไม่ต้องการนำรถเข้ามาจอดภายใน ก็ขอให้นำรถไปจอดที่ห้างโลตัส หรือ บิ๊กซี ทั้งนี้ขอความกรุณาอย่าจอดกีดขวางหน้าบ้านของชุมชนใกล้เคียงศาลาฯ <<<

แผนที่ศาลาลุงชิน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ทำยังไงให้ใจไม่คิดถึงแต่เรื่องราวในอดีตที่เศร้า?

ทำยังไงให้ใจไม่คิดถึงแต่เรื่องราวในอดีตที่เศร้า?

จิตชอบนึกคิดเรื่องราวในอดีตก็เช่นกัน
ให้เราหัดดูว่า เมื่อกี้จิตหลงไปคิด จะคิดเรื่องอะไรก็ไม่ต้องใส่ใจเรื่องที่คิด
เพราะแม้จะคิดไม่ดี แต่ก็เป็นการคิดที่เราไม่ได้จงใจจะคิด
จึงไม่ได้เป็นกรรมอะไร แต่อาจมีผลทำให้เรารู้สึกไม่ดีบ้างเท่านั้น
ดังนั้นให้หัดรู้ว่า เมื่อกี้หลงไปคิด เอานะครับ
รู้ว่าหลงไปคิดแล้ว เราทำอะไรอยู่ก็กลับอยู่กับกิจกรรมที่กำลังทำต่อไป
หรือถ้าหลงคิดไปแล้วรู้สึกไม่ชอบไม่อยากคิดอีก
ก็ให้หัดดูจิตที่ไม่ชอบไม่อยากคิดด้วยครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เหตุปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุธรรม

เหตุปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุธรรม

ระยะเวลาเวลาการทำรูปแบบในแต่ละวัน
ไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยให้บรรลุธรรมอะไรหรอกนะ
ดังนั้นจะทำวันละมากน้อยแค่ไหน ก็ทำให้พอเหมาะกับตัวเอง
ที่สำคัญคือ ต้องทำด้วยความรู้สึกตัว มีสติ
ไม่ส่งจิตไปเพ่งจ้อง ไม่ปล่อยจิตให้เคลิ้มไป
ถ้าจะทำเป็นสมถะ ต้องทำให้จิตมีกำลังมีความตั้งมั่นขึ้นมา
ถ้าจะทำเป็นวิปัสสนา ต้องมีความตั้งมั่น
เห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม

ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการจะบรรลุธรรมนั้นคือ
ต้องมาหัดรู้กายรู้จิตในชีวิตประจำวันให้ได้ต่อเนื่อง
และต้องรู้ตามที่เป็นอยู่
ไม่ใช่ทำจิตให้เป็นอย่างที่อยากให้เป็น

เช่น ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นก็แค่รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น
จิตฟุ้งซ่านก็แค่รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
แล้วก็ต้องเข้าใจว่า
เราไม่ได้ภาวนาเพื่อทำให้จิตตั้งมั่นตลอดเวลา
ไม่ได้ภาวนาเพื่อให้จิตสงบอย่างเดียวตลอดเวลา
แต่เราภาวนาเพื่อให้เห็นว่า
จิตจะตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น จิตจะสงบหรือจะฟุ้งซ่าน
ก็ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป
ไม่เป็นไปตามที่เราคิดอยากให้เป็น
เมื่อหัดดูสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์ไปตามจริงบ่อยๆ
ก็จะเกิดปัญญาละสังโยชน์ได้เอง.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามจึงจะเป็นวิปัสสนา

mp 3 (for download) : ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามจึงจะเป็นวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามจึงจะเป็นวิปัสสนา

ต้องเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามจึงจะเป็นวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูขันธ์ห้าทำงานไป เห็นขันธ์แต่ละขันธ์แสดงไตรลักษณ์ไป ทำยังไงเราจะเห็นขันธ์ห้าได้ อันแรกเลยจิตใจต้องอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจไม่ตั้งมั่นไม่อยู่กับเนื้อกับตัวไหลไปในโลกของความคิด ไม่เห็นขันธ์ห้า ถ้าไหลไปเพ่งขันธ์ห้าอยู่ก็ไม่มีปัญญาเห็นไตรลักษณ์​ ถ้าลืมขันธ์ห้าก็ไม่มีอะไรเลยไม่ได้เรื่องเลย ถ้าไม่ลืมขันธ์ห้าแต่เพ่งขันธ์ห้าอยู่ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ ก็ไม่ขึ้นวิปัสสนาอยู่ดี ต้องเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้า

เราต้องมีจิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ไม่ใช่ผู้เพ่ง เราต้องมีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ไม่ใช่ผู้เผลอไป ถ้าเผลอไปลืมขันธ์ห้า ถ้าเพ่งอยู่นะก็จิตไปจ่ออยู่กับขันธ์ห้าแล้วก็นิ่งๆ จะไม่เห็นไตรลักษณ์ งั้นสิ่งที่ทำให้เราไม่เห็นไตรลักษณ์ก็มี ๒ อัน เผลอกับเพ่ง

จิตที่จะเห็นไตรลักษณ์คือเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราต้องพัฒนาจิตดวงนี้ขึ้นมา ก่อนหลวงพ่อบวชนะหลวงพ่อตระเวนไปตามสำนักปฏิบัติเยอะเลย ไปดูเค้าปฏิบัติกัน พบเลยถ้าเค้าถูกหลักนะก็ใช้ได้ สำนักไหนก็ได้ ถ้าผิดหลักสำนักไหนก็ผิดทั้งนั้นน่ะ กระทั่งในสำนักครูบาอาจารย์หลวงพ่อนะก็ไม่ใช่ทุกคนทำถูก น้อยคนหรอกที่ทำได้ ส่วนมากไม่มีจิตที่ถูกต้อง ยังไม่มีจิตที่เป็นตัวรู้

วิปัสสนานั้นเป็นการตามรู้ ตามเห็น รู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะนั้นเราต้องมีจิตผู้รู้ผู้เห็นนั่นแหล่ะ ไม่ใช่ผู้แสดงไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง เราต้องพัฒนาจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมาให้ได้ ถึงจะไปทำวิปัสสนาได้

เพราะงานวิปัสสนาคือการเห็นตามความเป็นจริง เห็นรูปนามตามความเป็นจริง คำว่าปัสสนะแปลว่าการเห็น ปัสสเห็น นะใส่ให้เป็นคำนาม เป็นการเห็น วิปัสสนาเห็นแจ้งเห็นจริงเห็นถูก ก็คือเห็นไตรลักษณ์ วิปัสสนาจึงต้องเห็นรูปนามแสดงไตรลักษณ์ ถ้าเห็นแต่รูปนามเฉยๆไม่เห็นไตรลักษณ์ไม่เป็นวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๖
File: 541008B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : รู้ – เห็น – ดู ในการภาวนา

รู้ – เห็น – ดู ในการภาวนา

ถาม : คำว่ารู้กับคำว่าเห็น ต่างกับคำว่า เห็น ต่างกันอย่างไรคะ ?

ตอบ : คำว่า รู้ – เห็น – ดู นั้น มีความหมายเหมือนกันครับ
แล้วแต่จะเลือกใช้คำไหนเพื่อให้การสื่อความทำได้ชัดเจน
ซึ่งความหมายของสองคำนี้คือ
เป็นการ “รู้สึก” ต่อสิ่งต่างๆที่จิตกำลังรับรู้อยู่อย่างมีสติไม่เพ่งและไม่เผลอหลงไป
(ไม่ใช่ใช้สายตามองดูครับ)
เช่น ถ้าจิตไปรับรู้อารมณ์ทางใจที่เป็นโทสะ โดยไม่เพ่งไม่เผลอหลงไปกับโทสะ
ก็จะพูดว่า “รู้จิตที่มีโทสะ” หรือ “เห็นจิตที่มีโทสะ” หรือ “ดูจิตที่มีโทสะ”
ถ้าจิตกำลังมีสติรับรู้ว่ามีร่างกายเคลื่อนไหว โดยไม่เพ่งไม่เผลอหลงไปกับโทสะ
ก็จะพูดว่า “รู้กายเคลื่อนไหว” หรือ “เห็นกายเคลื่อนไหว” หรือ “ดูกายเคลื่อนไหว” ครับ

ถาม  : โมโหก็รู้ ดีใจก็รู้ เห็นร่างกายยืนนั่ง ใจเราเป็นคนดู(ดูอย่างไรคะ) ?

ตอบ : ก็ดูแบบที่ดูอยู่ตามที่เล่าไว้ว่า
“เวลาโกรธก็รู้สึกตัวว่าโกรธแล้วนะ แล้วต่อมาครู่เดียวมันก็จางหายไป
อย่างเวลาดิฉันเดิน เห็นขาก้าวไปข้างหน้า รู้สึกว่าตัวเองเคลื่อนไปตามจังหวะ
หรือเวลาขับรถยนต์ เห็นมือกำลังหมุนพวงมาลัยอยู่”
ดูแบบนี้แหละครับถูกแล้ว

ถาม : แต่ทำไมดิฉันยังเห็นว่ามันเป็นตัวเราอยู่คะ ?

ตอบ : เพราะยังมีปัญญาไม่มากพอที่จะละความเห็นผิดว่ามีตัวเราครับ
ต้องเพียรเจริญสติเจริญปัญญาต่อไปอีกจนมีปัญญามากพอที่จะละความเห็นผิดได้ครับ

และในเมื่อตั้งใจไว้ดีแล้วว่า
“จะมุ่งสู่ทางแห่งการรู้แจ้งจริงๆ”
ก็ขออนุโมทนาด้วยครับ
แล้วก็ขอให้รู้แจ้งได้ตามที่ตั้งใจไว้นะครับ :D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

โยม : โยมรู้สึกว่าสรุปว่าตัวเองในช่วงที่ผ่านมามีแต่อกุศลมากมาย (หลวงพ่อปราโมทย์ : ดีสิ) มีตัณหา อยากสารพัดจนว่ามันเกิดโทสะรุนแรง แล้วก็ลังเลสงสัยมาก แล้วก็วิตกกังวล (หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้ม เก่งนี่เห็นกิเลสตั้งเยอะแน่ะ) แล้ว เอ่อ มันมีตัวยืนที่ดูมานานแล้วก็ไม่ทราบว่าเพราะที่เรียนหลวงพ่อเมื่อกี๊น่ะมันทำให้เกิดอาการจิตที่ต่อต้านไม่ยอมให้ทำตามรูปแบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหล่ะ ไปดูจิตมันมีโทสะนะ ภาวนาแล้วมันมีโทสะแทรกเข้ามา เราคอยรู้ทันเอา รูปแบบจำเป็นนะจำเป็น แต่ว่าอย่าไปคิดว่ารูปแบบทำแล้วจะลำบาก ทำลำบากใจจะไม่เอา แล้วไงล่ะ  

โยม : แทบจะว่าที่ผ่านมานี่ทำตามรูปแบบแทบไม่ได้เลย มันจะต่อต้านตลอดเวลาเหมือนว่ามันขัดขืนน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราดูใจที่ต่อต้านนะ เท้าก็เดินไป ใจดูใจที่ต่อต้านไป เดินเล่นๆไป (โยม : อันนี้ไม่ใช่เพ่งใช่มั้ยคะ)ไม่ได้เพ่งหรอกนะ ถ้าเพ่งไว้ไม่เห็นกิเลสเยอะอย่างงั้นหรอก เพ่งแล้วเรารู้สึกว่าเราเป็นคนดี นี่กิเลสเยอะแยะเลย รู้สึกมั้ย (โยม : ค่ะ) นี่เราเห็นกิเลสแล้วเนี่ยใจเราไม่เป็นกลาง ปัญหามันอยู่ตรงนี้ ใจมันมีโทสะแทรกไม่ชอบเลย อยากจะดีๆอยากจะสุขๆขึ้นมานะ ไม่ชอบกิเลส ถ้ากิเลสเกิดแล้วก็ให้รู้ว่ากิเลสเกิด กิเลสเกิดแล้วไม่ชอบให้รู้ว่าไม่ชอบนะ มันไม่ยอมเดินจงกลมจิตใจไม่ยอมเดิน เราก็รู้ว่ามันไม่เดิน ขาเราก็เดินไปเรื่อยๆ เดินเล่นๆ ไม่ได้เดินหวังว่าจะดีจะสุขจะสงบอะไร เดินเล่นๆแกล้งมันบ้าง

โยม : คือจริงๆแล้วมันอยากทำตามรูปแบบมากแล้วติดที่จะทำรักที่จะทำ แต่ว่าพอเริ่มจะลงมือปั๊บมันก็เข้ามาทันที

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่เดิมเราเพ่งไว้มากไง พอมันหลุดออกมาเราขยาดมันเรากลัวมัน ไม่กล้า กลัวมันจะกลับไปติดเพ่งอีกอะไรงี้ ใจมันจะไม่เอา ตอนนี้ทำได้นะถึงช่วงนี้แล้ว ทำสมถะได้แล้วเพราะเรารู้แล้วว่าเพ่งเป็นยังไง คนที่ทำสมถะไม่ได้คือพวกที่ไม่รู้ว่าเพ่งเป็นยังไง ไปลงมือทำสมถะแล้วก็เพ่งลูกเดียว พวกนี้ใช้ไม่ได้ ตอนนี้เรารู้ว่าการเพ่งคืออะไร งั้นเราก็รู้ไป เห็นร่างกายมันเดินไป เห็นร่างกายมันหายใจไป ดูมันเล่นๆไป อย่าไปคาดหวังว่าจะสุขจะสงบจะดี ดูเล่นๆน่ะ ถือว่าเราทำเล่นก็แล้วกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
File: 520710
ระหว่างนาทีที่  ๑๖ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ข้ามเวทนา(ความปวด)ไม่ได้เสียที

ข้ามเวทนา(ความปวด)ไม่ได้เสียที

ถาม : สัปดาห์นี้กำหนดนั่งในรูปแบบ 1 ชั่วโมงแต่ทำไม่ได้ค่ะ ยังข้ามความปวดนาทีที่ 45 ไม่ได้ (ไม่ได้เดินจงกรมก่อนค่ะ) กำหนดเมื่อยหนอ ปวดหนอ ทั้งกลัวปวดหนอ ปวดมากหนอ ฯลฯ ก็ยังผ่านไม่ได้ค่ะ ได้แต่อยากขยับหนอ ขยับแล้วหนอ (วันนี้ว่าจะลอง60นาทีอีกครั้ง) ช่วยแนะนำให้ด้วยค่ะ

ตอบ : จะนั่งข้ามความปวดทำไมละครับ
การภาวนาเพื่อพ้นทุกข์นั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกให้เอาชนะเวทนา
ด้วยการนั่งจนข้ามความปวดได้นะครับ
แต่พระองค์บอกไว้ตามสติปัฏฐานสูตรว่า
ให้รู้เวทนา ให้เห็นเวทนามีความเกิดขึ้นแล้วเสื่อมดับไปเป็นธรรมดา
ถ้านั่งแล้วเกิดความปวด และไม่สามารถทนนั่งไปจนความปวดดับได้
ก็ไม่จำเป็นต้องทนนั่งให้ได้หรอกครับ ปวดมากทนไม่ไหวก็เปลี่ยนท่านั่งก็ได้
แค่เพียงมาดูเวทนาดูจิตที่ทุรนทุรายเพราะเวทนาก่อนที่จะเปลี่ยนท่านั่ง
และหัดดูกายที่กำลังขยับเปลี่ยนท่านั่ง
ขยับเปลี่ยนท่านั่งแล้ว ก็มาดูเวทนาที่ค่อยๆ ลดลง
และดูจิตที่เปลี่ยนเป็นมีความสงบมากขึ้นมีความสุขมากขึ้น
เท่านี้ก็เห็นเวทนาไม่เที่ยงเกิดดับได้
เห็นจิตไม่เที่ยงเกิดดับได้
การเห็นความไม่เที่ยงของกาย เวทนา จิต ธรรม นี่แหละครับที่
ตรงตามสติปัฏฐานสูตร อัยเป็นการเจริญมรรคที่เป็นองค์ของสัมมาสมติ
เมื่อเจริญสติปัฏฐานได้ถูกต้อง ก็ย่อมเกิดปัญญา พ้นทุกข์ได้

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตมีกิเลสให้รู้ทัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download:จิตมีกิเลสให้รู้ทัน

จิตมีกิเลสให้รู้ทัน

จิตมีกิเลสให้รู้ทัน

โยม : เมื่อเราไปปฏิบัติที่ไหนแล้วเรารู้สึกว่าเรามีแต่อกุศลเกิด แล้วความลังเลสงสัยเกิด เราน่าจะตัดสินตรงนั้นได้มั้ยคะว่าตรงนั้นนี่ไม่ใช่แล้วสำหรับเรา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราดูตรงนี้นะว่ากิเลสเกิดแล้วเรารู้ทันนะ ตรงนั้นดี อยู่ที่เรารู้ทันต่างหากล่ะ ไม่ใช่ว่ามีกิเลสแล้วไม่ดีนะ

พระพุทธเจ้าท่านแยกดีแยกเลวอยู่ที่รู้หรือไม่รู้ ท่านบอกว่า จิตคนนะคนมันมี ๔ พวก พวกนึงจิตเป็นกุศลรู้ว่าเป็นกุศล นี่ดีเลิศ พวกนึงเป็นกุศลไม่รู้ว่าเป็นกุศล ใช้ไม่ได้ พวกนึงเป็นอกุศลรู้ว่ามีอกุศล

อย่างคุณไปภาวนาแล้วอกุศลเกิดคุณรู้เนี่ย ท่านบอกว่าดีนะ แต่ถ้าอกุศลเกิดแล้วไม่รู้ว่าอกุศลเกิด แบบคนในโลกเนี่ยอกุศลทั้งวันแหล่ะ แล้วคิดว่าไม่มีอกุศลน่ะ พวกนี้ใช้ไม่ได้เลย ไม่ดี

เวลาที่หลวงพ่อภาวนาดีที่สุดนะสมัยนู้นเป็นฆราวาสเกือบ ๓๐ ปีมาแล้ว ภาวนาเนี่ยในบรรยากาศที่แย่มากๆเลย ทำงานที่เครียดมากๆเลย เจ้านายก็เครียด ใครๆก็เครียดไปหมดเลย ในเวลานั้นน่ะจิตมีแต่อกุศลเกิดบ่อยๆ เราสติตามรู้ได้บ่อยๆ ช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่กระปรี้กระเปร่าในการปฏิบัติที่สุดเลย แต่ถ้ามันไม่ไหวจริงๆก็เลี่ยงซะ แต่ถ้ายังเห็นกิเลสเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปได้นะ เราก็ภาวนาอยู่ตรงนั้นแหล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
File: 520710
ระหว่างนาทีที่  ๑๙ วินาทีที่ ๓๐ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๐๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : หลงนาน

หลงนาน

ถาม  : ถ้าไม่มีความเพียร ไม่ทำในรูปแบบมันจะหลงนานใช่ไหมค่ะ ?

ตอบ : ถ้าไม่ขยันรู้สึกตัว ไม่ขยันรู้กายรู้ใจ ก็จะหลงนานครับ
ส่วนการทำรูปแบบถ้าทำแล้วไม่รู้สึกตัว เพ่งๆ เอา เพลิดเพลินไป
ถึงจะทำรูปแบบมากก็ยังหลงนานอยู่ดีแหละครับ
ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรทั้งในชีวิตประจำวันและทำตามรูปแบบ
ก็ต้องทำด้วยความรู้สึกตัวเนืองๆ (รู้ว่าเผลอให้ได้บ่อยๆ)
แต่อย่าประคองฝืนไม่ให้หลงนาน หลงไปแล้วรู้ให้บ่อยๆ เท่าที่จะรู้ได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะตั้งมั่น

mp3 (for download) : รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะตั้งมั่น

รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะตั้งมั่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่การที่เราคอยมีสติรู้ทันใจของเราเองเรื่อยๆเนี่ย นอกจากศีลแล้วสมาธิยังจะเกิดขึ้นได้ง่าย อย่างคนที่มาเรียนกับหลวงพ่อแต่เดิมรักษาศีลไม่ได้เดี๋ยวนี้รักษาง่าย แต่เดิมทำสมาธิไม่ได้เดี๋ยวนี้ทำสมาธิง่าย

สมาธิไม่ใช่เรื่องยากอะไร จิตมันฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปในอารมณ์โน้นฟุ้งไปในอารมณ์นี้ ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านจะดับโดยอัตโนมัติ มันมีกฎของธรรมะข้อนึงก็คือ กิเลสกับกุศลเนี่ยจะไม่เกิดร่วมกัน สติเป็นตัวกุศลนะ เพราะนั้นถ้าเมื่อไหร่เรามีสติอยู่ จิตฟุ้งซ่านเรามีสติรู้ทันปั๊บ จิตสงบอัตโนมัติ

งั้นวิธีที่เราจะทำจิตให้สงบเนี่ยไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราไม่รู้วิธีแล้วมันก็ยาก เช่นเราอุตสาห์ไปนั่งสมาธินะ นั่งกันเป็นวันๆพุทโธไปหายใจไป ฝึกกันแรมปีนะกว่าจะค่อยๆสงบได้บ้าง บางทีสงบมากๆไปอีกซึมไปเลย ออกจากสมาธิมานะใจก็ซึมๆเซื่องๆ หรือเวลาอยู่ในสมาธิมีความสุขมาก ออกมากระทบอารมณ์ข้างนอกนะ ใจทนไม่ไหว มันคล้ายๆเรามีชีวิตอยู่แต่ในห้องปลอดเชื้อ พอออกมาสู่อากาศข้างนอกโดนเชื้อโรคแป๊บเดียวตายเลย เวลาติดอยู่ในสมาธินะใจสงบสบายมีความสุขนึกว่าไม่มีกิเลส พอออกมากระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเท่านั้น กิเลสระเบิดเปรี้ยงปร้างเลย งั้นสมาธิอย่างนั้นไม่ค่อยได้เรื่องอะไรหรอก

เราลองมาฝึกสมาธิชนิดใหม่นะ สมาธิ วิธีการไม่ได้ยากอะไร ความจริงหลวงพ่อไม่ได้คิดเองหรอกนะ มีคำสอนอันนี้อยู่ตั้งแต่ในพระไตรปิฎกก็มี ในสามัญญผลสูตรนะพระพุทธเจ้าสอนอชาตศตรู รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นที่จิต นิวรณ์มันจะดับอัตโนมัติ อย่างความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นที่จิตนะเรารู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่านปุ๊บ ความฟุ้งซ่านดับ ทันทีที่นิวรณ์ดับสมาธิเกิด มันง่ายแค่นี้เอง

ครูบาอาจารย์สอนหลวงพ่อภาวนามานะ ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลราชบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ธรรมเทศนานอกสถานที่ โรงพยาบาลราชบุรี
File: 541207
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๕๕ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News : โปรแกรมธรรมะที่น่าสนใจจากบ้านจิตสบาย วันที่ 11 -12 ก.พ. 2555

ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังพระธรรมเทศนาจาก พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

ในวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 10.00-11.30 น.

ณ ศาลาไตรสิกขา บ้านจิตสบาย พุทธมณฑลสาย 2

และ

จิตใสใจสบาย กับ ธรรมะยามบ่าย

โดยคุณมาลี ปาละวงศ์

เป็นการสอนปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ในวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. – 16.00 น.

เหมาะสำหรับผู้สนใจในการเจริญสติตามแนวทางของการดูจิต (จิตตานุปัสสนา) เป็นรูปแบบการเสวนาธรรมแบบสบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง เน้นให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้อง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ณ ห้องกรรมฐาน อาคารเจริญธรรม บ้านจิตสบาย พุทธมณฑลสาย 2

รถประจำทางที่ผ่าน สาย 157, 123, ปอ.พ.79

สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 02-448-3392 เวลาทำการ 9.00 – 18.00 น. หยุดวันพุธ

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง, การเดินทางและแผนที่  >>

Dhammada News : แนะนำบ้านจิตสบาย แหล่งเรียนรู้และภาวนาโดยการเจริญสติ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : หมูกระดาษ

หมูกระดาษ

หมูกระดาษ เป็นคำเปรียบเทียบสภาวะจิตที่ปรุงแต่งกับหมูกระดาษ
ซึ่งถูกทำขึ้นจากการเอากระดาษมาแปะๆขึ้นเป็นตัวหมู
คนเราก็จะมีการปรุงแต่งลักษณะท่าทางและจิตใจขึ้นมาตามสภาพปัจจัยต่างๆ
อย่างเช่นเวลาอยู่คนเดียวก็เป็นคนหนึ่ง
พอเจอเพื่อนก็เป็นอีกคนหนึ่ง พอเจอครูบาอาจารย์ก็เป็นอีกคนหนึ่ง
หลวงพ่อจึงเปรียบเทียบเพื่อให้เราหัดดูตัวเองที่มีสภาวะแตกต่างกันไป
เมื่อเห็นสภาวะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ จิตก็จะพัฒนาสติปัญญาขึ้นมาได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยากมีสมาธิง่าย ต้องสำรวมอินทรีย์

mp 3 (for download) : อยากมีสมาธิง่าย ต้องสำรวมอินทรีย์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อยากมีสมาธิง่าย ต้องสำรวมอินทรีย์

อยากมีสมาธิง่าย ต้องสำรวมอินทรีย์

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเรารู้สึกมั้ยวันๆหนึ่งเรารับข้อมูลทางตาทางหูอะไรนี้เยอะแยะเลยใช่มั้ย รับข้อมูล หลวงพ่อนั่งรถไปเทศน์ไปอะไรนะบางวันก็ไปนั่งฉันข้าวแกงริมถนนอะไรงี้ เค้ามีโทรทัศน์เราก็พลอยดูไปด้วยก็มันมีตาน่ะไม่ได้เจตนาจะดูนะไม่ได้อยากดู เห็นเค้าออกข่าวนะแล้วก็มีตัววิ่งด้วยเราเอ๊ะทำไมต้องวิ่งเราก็ดู เอ้าเอ๊ะตัววิ่งนะเป็นอีกข่าวนึง เนี่ยมันอ่านอีกข่าวนึงยังมีตัววิ่งอีกข่าวแล้วจะดูอะไร สับสนมากเลยดูไม่รู้เรื่องเลย เพราะสติเราเร็วมากนะเราดูนี้ตัวนู้นดับ

คนเราเสพมากเหลือเกินกระทั่งเสพข่าวนะ เสพมาก ความหวังที่จิตจะสงบเนี่ยยากเต็มที คนรุ่นเราเนี่ยนะหวังว่าจะทำสมาธิยากเต็มทีเลย เราเสพจนคุ้นชินเคยชินที่จะเสพอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ใจก็ชอบคิดฟุ้งไปเรื่อย พอตาหูจมูกลิ้นกายมันกระทบมากนะ ใจมันก็ฟุ้งก็คิดไปในเรื่องของรูปเรื่องเสียงเรื่องกลิ่นเรื่องรสเรื่องสัมผัส คิดเยอะแยะเลยวันๆนึง สมาธิไม่มี

เพราะงั้นถ้าอยากมีสมาธินะลองสำรวมดู สำรวมในตาสำรวมหูจมูกลิ้นกาย มีอินทรียสังวรไว้นะสมาธิค่อยเกิดง่ายหน่อย ไม่จำเป็นต้องดูก็อย่าไปดูมัน ถ้าดูมันแล้วยินดียินร้ายขึ้นมาก็รู้ทันมันอย่างนี้เรียกว่ามีความสังวรในการดู ไม่จำเป็นต้องฟังก็อย่าไปฟังมัน จำเป็นต้องฟังนะก็มันมีหูมันมีเสียงได้ยินจำเป็นต้องฟังมันนะจิตยินดียินร้ายขึ้นมารู้ทันมันนี่เรียกว่าอินทรียสังวร

ไม่ถึงขนาดว่าต้องตาบอดหูหนวกไม่ได้ยินไม่ได้ฟัง ไม่ใช่ แต่ถ้าได้ยินได้ฟังแล้วไม่ใช่ขอโทษนะแส่อยู่ดีๆนะเที่ยวไปแสวงหาอยากดูอยากฟังอยากได้กลิ่นอยากได้รสเนี่ยใจมันแส่ส่าย ไม่ใช่คำหยาบคายนะ ถ้าพูดแส่คำเดียวฟังไม่เพราะถ้าแส่ส่ายฟังเพราะกว่ารู้สึกมั้ย ความจริงทั้งแส่ทั้งส่ายไม่แส่ก็ไม่ส่ายหรอก รู้สึกมั้ยมันอยากใช่มั้ยมันก็ส่ายเที่ยวหาแสวงหาอารมณ์ไป จิตที่แส่ส่ายไม่มีสมาธิหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๙
File: 541015A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๕๕ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : พระโสดาบัน

พระโสดาบัน

ถาม  : โสดาบันมีลักษณะพิเศษยังไงคะ เราจะทราบได้อย่างไรว่าใครเป็นแล้ว และมีไหมที่ได้โสดาบัน โดยที่ไม่รู้ตัวเอง ?

ตอบ : พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระโสดาบัน คือผู้ที่ละสังโยชน์ 3 ได้คือ
ละสักกายทิฏฐิได้ คือหมดความเห็นผิดว่ามีตัวตน
ละวิจิกิจฉาได้ คือละความลังเลสงสัยต่อพระรัตนตรัยได้
ละสีลัพพตปรามาสได้ คือละการยึดถือในศีลในวัตรปฏิบัติที่ผิดๆได้
ลักษณะของพระโสดาบันอื่นที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก็คือ
เป็นผู้ไม่ไปเกิดในอบายอีก จะพ้นทุกข์ได้ในอีกไม่เกิน 7 ชาติ
ซึ่งจากลักษณะดังกล่าว จะเป็นการยากมากที่คนทั่วไปจะรู้ว่าใครเป็นโสดาบัน
นอกจากผู้นั้นจะมีความแตกฉานในสภาวธรรมจริงๆ
จึงจะแยกแยะออกว่า สามารถละสังโยชน์ ๓ ได้หรือยัง
แต่ถึงกระนั้น หากไม่ใช่พระพุทธเจ้า ก็จะไม่สามารถรู้ได้อย่างแม่นยำจริงๆ
ดังนั้นหากสงสัยว่าใครเป็นหรือไม่เป็น
โดยเฉพาะถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นหรือไม่เป็นละก็
ขอให้รู้ทันจิตที่สงสัยไปเลยนะครับ
อย่าไปยึดถือว่าใครเป็นไม่เป็น เราเป็นไม่เป็น
แล้วก็เพียรภาวนาต่อไป เพราะแม้ใครจะเป็นหรือเราจะเป็นก็ตาม
เราเองก็ยังต้องเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ต่อไปอีกจนกว่าจะพ้นทุกข์ :D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 41234