Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๔) สรุปการปฏิบัติ : รักษาศีล ๕ ฝึกจิตให้ตั้งมั่น แล้วเจริญปัญญา

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๔) สรุปการปฏิบัติ : รักษาศีล ๕ ฝึกจิตให้ตั้งมั่น แล้วเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สรุปนะ รักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ถ้ามีศีล ๕ จิตใจจะสงบง่าย

ขั้นที่ ๒ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด ทำกรรมฐานซักอย่างนึงได้ยิ่งดี แล้วจิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปเพ่งรู้ทัน เรารู้ทันจิตที่ไหลเนี่ย จิตจะตั้งมั่น โดยเฉพาะการรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จะทำให้จิตตั้งมั่น

เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว มาเจริญปัญญา เห็นกายกับใจเป็นคนละอันกัน เห็นความสุขความทุกข์กับจิตใจเป็นคนละอัน เห็นกุศลกับจิตใจเป็นคนละอัน เห็นจิตใจนั่นแหล่ะเกิดดับ อยู่ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เนี่ยเฝ้าดูอย่างนี้นะ นี่เรียกว่าเจริญปัญญา

ไม่ยากเกินไปหรอก แต่ทำไมที่ผ่านมา หาพระอริยtยาก เพราะเราไม่ได้ยินไม่ได้ฟังธรรมะแบบนี้ ส่วนใหญ่เราก็ได้ยินแต่เรื่องทำทาน ถือศีลอะไรไป นั่งสมาธิให้สงบไป เราไม่ได้ก้าวขึ้นมาฟังธรรมะในขั้นของการเจริญปัญญา ถ้าเจริญปัญญาได้ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์หรอก

เพราะงั้นเราเจริญสติปัฏฐานนะ แล้วก็เกิดปัญญาเห็นความจริง ของกายของใจ ทำอย่างนี้ โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ ค่อยฝึกนะ ค่อยฝึกไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๓) ต้องเห็นจิตเป็นทุกข์ล้วนๆอีกที จึงจะพ้นทุกข์ไม่ต้องเกิดอีก

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๓) ต้องเห็นจิตเป็นทุกข์ล้วนๆอีกที จึงจะพ้นทุกข์ไม่ต้องเกิดอีก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ทั้งๆที่ว่าเราดูจิตๆ นะมันจะแจ้ง แจ้งที่กายนี้ มันแจ้งเองเลย สุดท้ายมันจะรู้เลย ว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ กายนี้ไม่ใช่ว่าสุขบ้างทุกข์บ้าง เหมือนที่เคยเห็น เหมือนที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเค้าเห็นกัน แต่ว่ามันคือทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นอย่างนี้แล้วเนี่ย จิตจะหมดความยึดถือกาย ถ้าเห็นทุกข์นะ จิตจะพ้นความยึดถือเลย

ต่อไปเราก็มาดูจิตต่อ ตรงที่มันไม่ยึดถือกายแล้ว มันเป็นภูมิธรรมของพระอนาคามี มันจะย้อนมาที่จิต แล้วส่วนใหญ่จะมาเสร็จตรงนี้เลย ครูบาอาจารย์สอน หลวงปู่ดูลย์บอกเลย นักปฏิบัติที่ว่าดังๆมีชื่อเสียง ส่วนใหญ่มาตายอยู่ตรงพระอนาคามีนะ ไปไม่รอดหรอก เพราะยึดถือจิตไม่เลิก ต้องเห็นจิตเป็นตัวทุกข์อีกทีนะ ถึงจะปล่อย

เนี่ยหลวงพ่อเพิ่งขึ้นไปสุรินทร์มา หลวงพ่อก็ไปเยี่ยมครูบาอาจารย์องค์นึง แต่ท่านไม่เปิดเผยหรอก ท่านอยู่ของท่านเงียบๆไม่ยุ่งกับใคร ท่านก็เล่าให้ฟัง ว่าท่านก็บวชกับหลวงปู่ดูลย์ ตอนบวชกับหลวงปู่ดูลย์ได้สามพรรษา เข้าไปหาหลวงปู่ หลวงปู่ก็สอนท่าน บอกว่า ไอ้ที่จะปล่อยวางอะไรนะ ไม่ยึดถือ กาย ไม่ยึดถือใจ ไม่ยากหรอกนะ ถ้าเห็นทุกข์ ถ้าเห็นกายเป็นทุกข์ มันก็ปล่อย ถ้าเห็นจิตใจไปทุกข์ มันก็ปล่อย เนี่ยหลวงปู่บอกว่า มันไม่ยากหรอก ขอให้เห็นทุกข์เท่านั้นเอง

เพราะงั้นที่หลวงปู่ดูลย์สอนเนี่ย ตรงเป๊ะกับที่พระพุทธเจ้าสอนเลยนะ พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ทุกข์ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็สอนให้รู้ทุกข์นั่นเอง ทุกข์อยู่ที่กาย รู้ลงไปในกายบ่อยๆ ทุกข์อยู่ที่จิต รู้ลงในจิตบ่อยๆ ถ้าเห็นกายเป็นทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่นะ ก็ได้พระอนาคาฯ ถ้าเห็นจิตเป็นทุกข์ล้วนๆนะ ก็พ้นทุกข์พ้นร้อนนะ ไม่เกิดอีกแล้ว

เนี่ยฝึกทุกวันๆ ธรรมะมันจะมาลงกันหมดนะ ทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ ลงเป็นที่เดียวกันนั่นแหล่ะ ค่อยๆฝึกเอาไม่ยากอย่างที่คิดหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๒) เบื้องต้นจะเห็นก่อนว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๒) เบื้องต้นจะเห็นก่อนว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลังจากนั้นเราก็ภาวนาเหมือนเดิมแหล่ะ ดูกายดูใจไป ปัญญามันจะค่อยพอกพูนไป ถึงจุดนึงมันจะเห็นเลย กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะภายนอก ตาหูจมูกลิ้นกายภายใน ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งนั้นเลย

ถ้าดูจิตไปก็เห็นได้นะ ดูจิตไปก็เห็นได้ ดูกายก็เห็นได้ ที่จะเห็นว่ากายเป็นทุกข์ เพราะดูจิตก็เห็นกาย ดูกายเป็นก็เห็นจิต มันเนื่องกันไปเนื่องกันมา

งั้นเราหัดดูของเราเรื่อยไปนะ ถ้าถนัดดูจิตก็ดูจิตไป วันนึงมันก็ปิ๊งขึ้นมา กายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย พวกเราที่ดูจิตน่ะ ใครไม่เห็นกายบ้าง มีไหม สังเกตไหม พวกเราดูจิตที่ชำนาญนะ นอนหลับอยู่ ร่างกายพลิกตัวยังรู้เลย ใช่ไหม แล้วจะมาบอกว่า ดูจิตแล้วไม่เห็นกาย อันนั้นเข้าใจผิดแล้วล่ะ เราเห็นกายอยู่ แทบทุกขณะจิตด้วยซ้ำไป ขยับเขยื้อนเนี่ย มันรู้สึกตลอดนะ ไม่มีหรอกนะ เผลอๆเดินสะเปะสะปะอะไร ไม่มีหรอก จะเหลียวซ้ายแลขวานะ มันมีแต่ความรู้สึกตัวนะ มันเป็นอัตโนมัติไปหมดเลย

แล้วมันจะเห็นเลย กายนี้มีแต่ทุกข์นะ ทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลาเลยนะ หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจออกก็ทุกข์ ยืนก็ทุกข์ เดินก็ทุกข์ นั่งก็ทุกข์ นอนก็ทุกข์ มีแต่ทุกข์ตลอดเวลา ทำไมต้องเปลี่ยนอิริยาบท เปลี่ยนอิริยาบทก็เพราะมันทุกข์ หนีทุกข์ ต้องเปลี่ยนอิริยาบท ทำไมคันแล้วต้องเกา มันทุกข์ ต้องเกา ทำไมต้องกินข้าว ก็เพราะมันทุกข์ ต้องกินข้าว ทำไมต้องขับถ่าย ก็เพราะมันทุกข์ (จึง)ต้องขับถ่าย ทำไมเหงื่อต้องออก เพราะมันร้อนนะ มันทุกข์นะ เหงื่อต้องออก เนี่ยมันจะเห็นเลย ในกายนี้นะ มีแต่ความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลาเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๑) ความรู้รวบยอด คือทุกอย่างเกิดแล้วดับทั้งสิ้น

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๑) ความรู้รวบยอด คือทุกอย่างเกิดแล้วดับทั้งสิ้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในขณะที่ฟังหลวงพ่อเทศน์ รู้สึกไหม จิตมันทำงานสลับไปสลับมา เดี๋ยวก็มองหน้าหลวงพ่อ เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง เดี๋ยวก็หนีไปคิด สลับไปสลับมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยจิตมันทำงานได้เอง เนี่ยเฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยไปนะ วันนึงมันจะปิ๊งขึ้นมา ตรงที่มันปิ๊งขึ้นมา เป็นความรู้รวบยอด ตรงที่ว่าได้ดวงตาเห็นธรรมๆ คือจิตมันได้ความรู้รวบยอด ว่าทุกสิ่งที่เกิดน่ะ ดับทั้งสิ้น

เพราะอะไร เพราะมันเห็นอยู่ ร่างกายที่ยิ้ม มันเกิดแล้วก็หายไป ร่างกายที่พยักหน้า เกิดแล้วก็หายไป ร่างกายยืนเดินนั่งนอน เกิดแล้วก็หายไป มีความสุข ความสุขเกิดแล้วก็หาย ความทุกข์เกิดแล้วก็หาย จิตใจมีความสุขความทุกข์ ความเฉยๆขึ้นมา ก็เห็นอีก ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ เกิดขึ้นมาแล้วก็หายไป จิตใจมีกุศล มีอกุศล มีโลภโกรธหลง ก็เห็นอีกนะ กุศลเกิดแล้วก็ดับ โลภโกรธหลงเกิดแล้วก็ดับ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็ไปเกิดที่ตา ไปดูรูป เดี๋ยวไปเกิดที่หู ไปฟังเสียง เดี๋ยวไปเกิดทางใจ คือไปคิด ทางใจก็เกิดได้หลายแบบ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะนั้นเราเห็นจิตเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย มีแต่ของไม่เที่ยง มีแต่ของห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้

เห็นซ้ำๆไปนะ สุดท้ายมันจะรู้เลย ว่าชีวิตที่เรามีอยู่ เราคิดว่าชีวิตเรามีจริงๆนั้นน่ะ แท้จริงแล้วมีชีวิตอยู่ชั่วขณะจิตเดียวนี่เอง พอจิตเกิด แล้วก็ดับไป ก็คือเราตายไปหนึ่งชาติแล้วนะ หนึ่งชีวิตแล้ว เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เราตายอยู่ทุกขณะ แต่ไม่เคยเห็น ต่อไปมาคอยดูนะ เราจะเห็นน่ะ มันมีแต่เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าใจทีแรกก็เห็นโลภโกรธหลง เกิดแล้วดับ สุขทุกข์เกิดแล้วดับ หายใจออก หายใจเข้า เกิดแล้วดับ ต่อไปตอนที่ใจมันแจ้งธรรมะเนี่ย มันจะปิ๊งขึ้นมาเลยว่า ทุกอย่างแหล่ะเกิดแล้วดับ เพราะนั้นตอนที่เข้าใจธรรมะ ไม่ใช่รู้ว่าโลภโกรธหลงเกิดแล้วดับน่ะ แต่รู้ว่า อะไรเกิด อันนั้นแหล่ะดับ everything ทุกอย่างเลย เกิดแล้วดับ เห็นอย่างนี้

ไม่ใช่ว่า อันนี้คืออันนี้ๆ ไม่มีภาษามนุษย์จะมายุ่งด้วยแล้วนะ ไม่ใช่ว่า อ้อ นี่โลภเกิดแล้วดับ โกรธเกิดแล้วดับ อันนี้อยู่ในขั้นของการปฏิบัติ แต่ตอนที่(ถึง)ขั้นใจมันปิ๊ง ใจมีดวงตาเห็นธรรม มันจะสรุปเลยว่า ทุกอย่างนั่นแหล่ะ เกิดแล้วดับ ไม่มีตัวตนถาวร ถ้าเห็นอย่างนี้ได้ เราจะได้ธรรมะแล้ว เรียกว่าตกกระแสธรรมนะ เป็นพระโสดาบัน พึ่งตัวเองได้แล้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๐) อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๐) อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์นะ ให้เค้าแยกของเค้าเอง อย่าไปดึงออกมา ถ้าดึงออกมานะ จิตจะแข็งทื่อเลย จิตจะไม่พอใจนะ มีความขุ่นเคืองลึกๆอยู่ เพราะถูกบังคับ เหมือนติดคุกอยู่เฉยๆ ก็ตั้งอยู่อย่างนี้ เนี่ย พอร่างกายจะเคลื่อนไหว เคลื่อนแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) พยักหน้าแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยอย่างนี้มันเกินไป

ให้รู้สบายๆ ยิ้มรู้สึกไหม ยิ้ม รู้สึกไปตัวอะไรยิ้ม เหมือนเห็นคนอื่นยิ้มเลยนะ คอยรู้สึกอย่างนี้นะ สุดท้ายมันจะเห็นเลย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความสุขความทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศลอกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า  จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา เพราะสั่งไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ แล้วจิตทำงานได้เอง วิ่งไปดูได้เอง วิ่งไปฟังได้เอง วิ่งไปคิดได้เอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๔๖ถึง นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๘) ถ้าขันธ์ไม่แยก ให้ช่วยด้วยการพิจารณาในเบื้องต้นได้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๘) ถ้าขันธ์ไม่แยก ให้ช่วยด้วยการพิจารณาในเบื้องต้นได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้าเคยมีวาสนาเก่าในทางเจริญปัญญานะ ขันธ์จะแยกเอง ถ้าขันธ์ไม่แยก ต้องช่วยให้แยก ด้วยการคิดพิจารณาให้แยก

เนี่ยแหล่ะ ตรงที่ว่าให้คิดพิจารณาเนี่ย มันมาหยุดตรงจุดตั้งต้นเท่านั้นเองนะ ถ้าเดินวิปัสสนาแล้ว จะไม่คิดหรอก วิปัสสนาแปลว่าเห็นตามความเป็นจริง วิปัสสนาไม่ใช่วิตก วิตกแปลว่าคิด แปลว่าตรึกตรอง คนละอันกันเลย

แต่เบื้องต้น บางคนต้องคิดก่อน เช่น พอทำสมาธิใจตั้งมั่นแล้วก็นิ่ง ไม่กระดุกกระดิกเลย ไม่ยอมดูกาย ไม่ยอมดูใจ ต้องน้อมมาดูกาย รู้สึกอยู่ที่ร่างกาย ที่กำลังนั่งอยู่ ร่างกายที่หายใจอยู่ ค่อยๆสอนมันไป นี่ร่างกายมันนั่งอยู่นะ ใจเป็นคนดูนะ รู้สึกไหม ร่างกายหายใจออกแล้วนะ ใจเป็นคนดู รู้สึกไหม สอนมันไปเรื่อยๆนะ ใจเย็นๆ อย่าไปสอนแบบเคร่งเครียด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๒๗ ถึง นาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๗) ต้องฝึกซ้อมการปฏิบัติในรูปแบบทุกวัน

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๗) ต้องฝึกซ้อมการปฏิบัติในรูปแบบทุกวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเรามาดูให้เห็นของจริงนะ ดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีกไป มีใจตั้งมั่น แต่ใจที่ตั้งมั่นเป็นคนดูเนี่ย อยู่ได้ไม่นาน ประเดี๋ยวเดียวก็จะกลายเป็น ผู้คิดผู้นึก ผู้ปรุงผู้แต่ง ผู้ไปดูผู้ไปฟัง ผู้ไปดมกลิ่นไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกายอีก

สังเกตไหม ใจเรารู้สึกตัวได้ ได้นิดเดียวใช่ไหม เวลาหลง หลงยาว รู้สึกไหม เวลาหลง หลงยาว เวลารู้สึกตัวเนี่ย สั้น ใช่ไหม เวลาหลงเนี่ยยาว

เพราะงั้นเราต้องมาคอยฝึกทุกวันนะ ทำในรูปแบบไป นั่งสมาธิไป เดินจงกรมไป จิตไหลไปแล้วรู้ทัน นั่งสมาธิไป เดินจงกรมไป จิตไหลแล้ว รู้ทัน ซ้อมให้ได้ทุกวันๆนะ อย่างน้อย วันนึง ๑๐ นาที ๑๕ นาที ก็ยังดี

แล้วจะดียิ่งกว่านั้นอีกนะ ถ้ามีวันละหลายๆรอบ รอบละไม่ต้องนาน ถ้านานเดี๋ยวเครียด เดี๋ยวขี้เกียจ รอบละ ๕ นาทีก็ได้

ตื่นนอนมานะ รู้ทันจิตที่ไหลไปคิดเนี่ยซัก ๕ นาที

ไปถึงที่ทำงานแล้ว ก่อนจะลงมือทำงานนะ ไหว้พระซะหน่อย แล้วก็คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิดซัก ๕ นาที แล้วค่อยทำงาน

ก่อนจะกินข้าวนะ เดินไปตัก ไปซื้อข้าวกินอะไรนี้ ก็รู้ทันจิตที่มันไหลไปไหลมา กินข้าวก็รู้ทันจิตที่ไหลไปไหลมา จิตก็ค่อยมีกำลังนะ

ถ้าเราฝึกวันนึงได้หลายๆรอบเนี่ย จิตจะมีพลังมากเลย จิตจะตั้งมั่น เด่นดวงอยู่อย่างนั้นน่ะทั้งวันได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๖) แยกธาตุแยกขันธ์เป็นจึงจะเห็นไตรลักษณ์ได้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๖) แยกธาตุแยกขันธ์เป็นจึงจะเห็นไตรลักษณ์ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเรามาหัดรู้นะ หัดแยกธาตุแยกขันธ์ไปเรื่อย เพื่อจะได้เห็นสภาวะแต่ละอันๆนั้น ไม่ใช่อันเดียวกัน ร่างกายไม่ใช่จิตใจ ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ  กุศลอกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่กายไม่ใช่ใจ ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ด้วย ใจก็อยู่ต่างหาก ไม่ใช่กาย ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่กุศลอกุศล แต่เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์

ถ้าเราแยกได้อย่างนี้แล้ว เราจะเห็นไตรลักษณ์ จำไว้นะ ถ้าแยกได้ ถึงจะเห็นไตรลักษณ์ ถ้าแยกไม่ได้ ทำได้มากที่สุด ก็แค่คิดถึงไตรลักษณ์เท่านั้น

เช่นเราแยกธาตุแยกขันธ์ไม่เป็น ใจกับกายของเรา ยังรวมเป็นปึกแผ่นเดียวกัน เราจะดูกายให้เป็นไตรลักษณ์ ก็ได้แต่นั่งคิด ร่างกายนี้ไม่เที่ยงนะ อย่างเช่น ผมแต่ก่อนดำ เดี๋ยวนี้หงอกแล้ว ผมแต่ก่อนมีมาก เดี๋ยวนี้มีน้อย อันนี้คิดเอา ยังไม่ใช่วิปัสสนา เป็นแค่การคิดเอา

ถ้าจิตตั้งมั่นถึงฐานจริงๆแล้ว แล้วขันธ์มันแยกออก จะเห็นเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเราเลย ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ความจำได้หมายรู้ ไม่ใช่ตัวเรา กุศลอกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา จิตที่เกิดทางตาหูจมูกลิ้น กายใจ เกิดแล้วดับทั้งสิ้น ไม่มีจิตที่เป็นอมตะเลย ถ้าใครเห็นจิตเป็นอมตะ เห็นจิตเป็นของเที่ยง จิตมีดวงเดียว นี่คือมิจฉาทิฏฐิขนานแท้และดั้งเดิม คือเห็นจิตเป็นอัตตา

พระพุทธเจ้าเนี่ยแหล่ะ ลุกขึ้นมาปฏิวัติลัทธิที่ว่าจิตเป็นอัตตา ท่านบอกเลยว่าเป็นอนัตตานะ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๕) วิปัสสนาเบื้องต้นต้องหัดแยกธาตุแยกขันธ์

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๕) วิปัสสนาเบื้องต้นต้องหัดแยกธาตุแยกขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราแยกสิ่งเหล่านี้ได้ ก็เรียกว่า เราแยกธาตุแยกขันธ์เป็น ถ้าเต็มยศนะ แยกธาตุก็คือหมายถึง กายกับใจเนี่ยเป็นคนละอัน นี่แยกขันธ์นะ กายนี่มันก็ขันธ์นึงนะ ใจก็ขันธ์นึงต่างหาก

กายนี้แยกออกไปได้อีก เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ส่วนจิตใจนะ ก็แยกได้เป็นขันธ์อีก ๔ ขันธ์ เป็นเวทนาขันธ์ คือความรู้สึกสุขทุกข์ สัญญาขันธ์ (คือ) ความจำได้หมายรู้ สังขารขันธ์ (คือ) ความปรุงดีปรุงชั่ว วิญญาณขันธ์ (คือ) ความรับรู้อารมณ์ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เนี่ยมันจะแยกออกมา

ถ้าแยกได้แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าแยกได้แล้วจะเห็นไตรลักษณ์ ของแต่ละธาตุแต่ละขันธ์นั้น จะทำลายล้างความเห็นผิด ว่ามีตัวมีตนได้ จะเห็นเลย ว่ารูปไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา

ถ้าใครเห็นความสุขความทุกข์ เป็นตัวเรานะ แสดงว่าขันธ์มันยังไม่แยก แต่ถ้าขันธ์แยกแล้ว มันไม่ใช่เราสุขเราทุกข์แล้วนะ ความสุขความทุกข์ เป็นสิ่งหนึ่ง จิตอยู่ต่างหากนะ ไม่เกี่ยวกัน ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ความจำได้หมายรู้ ไม่ใช่ตัวเรา ความโลภความโกรธความหลง ไม่ใช่ตัวเรา เป็นอีกสิ่งหนึ่ง

ที่จิตไปรู้เข้า จิตปรุงขึ้นมานะ แล้วก็จิตไปรู้เข้า ถ้าจิตไม่รู้ทัน สิ่งที่จิตปรุงขึ้นมา คือ ความโลภความโกรธความหลงนั่นแหล่ะ จะกลับเข้ามาปรุงแต่งจิตอีกทีนึง จิตปรุงแต่งกิเลสขึ้นมาก่อนนะ แล้วสุดท้ายกิเลส กลับมาปรุงแต่งจิตได้อีก พอกิเลสมาปรุงแต่งจิตนะ ก็คือ ขันธ์มันกลับมารวมกันนะ มันมีกูขึ้นมาอีกแล้ว มีตัวเรา ของเรา ขึ้นมาอีก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๔) เมื่อจิตตั้งมั่นถึงฐานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาได้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๔) เมื่อจิตตั้งมั่นถึงฐานแล้วจึงเจริญวิปัสสนาได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเราต้องมาฝึกนะ ให้จิตตั้งมั่นถึงฐานให้ได้ แล้วเราก็มาเจริญปัญญา มาทำวิปัสสนา

พอจิตตั้งมั่นแล้ว สติระลึกรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว มันจะเห็น ว่าร่างกายกับจิตเนี่ย เป็นคนละอันกัน เวลานี้คนที่ทำแบบนี้ได้ นับไม่ถ้วนแล้วนะ มีเยอะมากเลยนะ ที่ใจมันตั้งมั่นขึ้นมา มันเห็นร่างกาย ไม่ใช่ตัวเรา เป็นวัตถุธาตุที่เคลื่อนไหว

แต่มันยังเห็นได้เป็นขณะๆนะ บางทีก็เห็น บางทีก็ไปไหลไปรวมเป็นก้อนเดียวกัน ถ้าจิตกับกายไปรวมกัน จิตบวกกายจะได้อะไรรู้ไหม ได้กู จิตบวกกายจะกลายเป็นกู มันรวมกับขันธ์ มันรวมขึ้นเมื่อไหร่ มันจะเป็นตัวเราขึ้นมา ถ้าขันธ์มันแยกขึ้นมานะ ขันธ์ก็จะเป็นขันธ์เท่านั้นเอง กายก็ส่วนกาย แค่รูปธรรม เวทนา ความสุขทุกข์ กับกาย ก็คนละอันกัน เวทนากับจิต เวทนาคือความสุขความทุกข์ทั้งหลายเนี่ย กับกายก็เป็นคนละอัน กับจิตก็เป็นคนละอัน สัญญาคือความจำได้ ความหมายรู้ ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่จิตด้วย เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความสุขความทุกข์ ไม่ใช่ความจำ ไม่ใช่จิตด้วย “สภาวะธรรมแต่ละอันๆจะกระจายตัวออกไปนะ ถ้าจิตเราตั้งมั่นจริงๆ”

บางคนซึ่งเคยเจริญสติเจริญปัญญา มาดีแล้วในชาติก่อนนะ ทันทีที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ย ขันธ์แตกตัวออกเลย จะเห็นว่ากายกับใจเป็นคนละอันเลย เห็นทันทีเลย แต่ถ้าบางคนถนัดดูจิต ก็จะเห็นว่า ความสุขความทุกข์กับจิต เป็นคนละอันกัน คนบางคนถนัดดูจิต เห็นว่ากุศลอกุศล เช่น ความโลภความโกรธความหลง กับจิต เป็นคนละอันกัน มันจะแยกกันนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะงั้นเรามาฝึกนะ พุทโธไป หายใจไป ดูท้องพองยุบไปตามถนัด แล้วคอยรู้ทันจิต จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตลงมาเพ่งอยู่ที่อารมณ์อันนั้นนะ มาอยู่กับพุทโธ มาอยู่กับลมหายใจ มาอยู่กับท้อง จิตเคลื่อนไปอยู่(กับ)สิ่งเหล่านี้ รู้ทัน

การที่เราคอยรู้ทันจิต ที่เคลื่อนไปเคลื่อนมาเนืองๆเนี่ย ทันทีที่รู้ทัน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ เพราะจิตที่เคลื่อนเนี่ยนะ คือจิตที่มีโมหะ จิตที่เคลื่อนเป็นจิตที่มีโมหะ โมหะชนิดที่เรียกว่า “อุทธัจจะ” ความฟุ้งซ่าน จิตมันฟุ้งไปในความคิดบ้าง ฟุ้งไปที่ลมหายใจบ้าง ฟุ้งไปที่ท้องบ้าง ฟุ้งไปที่เท้าบ้าง

ถ้าเมื่อไหร่เรามีสติ รู้ทันนะ ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้บังคับ ถ้าเราบังคับ จิตจะตึงเครียด ถ้าจิตตึงเครียด จิตเป็นอกุศล ไม่ใช่จิตที่ดีเลย เพราะงั้นอย่าไปข่ม อย่าไปกด อย่าไปบังคับ อย่าไปกดขี่ข่มเหงจิตใจ แล้วให้คอยรู้ทันเท่านั้น ว่าจิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่ง รู้ทัน ให้รู้ทันเฉยๆ

ทันทีที่รู้ทันนะ เราจะเริ่มเก็บคะแนนของความรู้สึกตัวไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจิตไหลไปคิด เคลื่อนไปคิด เรารู้ว่าจิตเคลื่อนไปคิด จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติเลย แต่ถ้าเคลื่อนไปเพ่งนะ เวลาไปดูเนี่ย บางทีถลำตามไปอีก เลยไม่ขึ้นมาเลยก็มี แต่ถ้ารู้ว่าจิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง จิตจะขึ้นมาได้นะ ขึ้นมาเอง แต่ส่วนใหญ่พอไปดูซ้ำนะ มันก็ซ้ำลงไปอีก ไปอยู่ที่ท้องหนักขึ้น ไปอยู่ที่ลมหนักขึ้น

เพราะงั้นบางทีบอก ดูแล้วทำไมก็ไม่หายเพ่ง ก็(เพราะว่า)ดูแบบเพ่งๆ ยิ่งดูยิ่งเพ่ง แต่เวลาเผลอไปคิดเนี่ย ทันทีที่รู้ ว่าจิตเผลอไปคิด จิตจะดีดตัวผางขึ้นมา เป็นผู้รู้ทันทีเลย ทันทีที่จิตเป็นผู้รู้แล้ว มันจะรู้สึกกายได้ มันจะรู้สึกใจได้ มันจะกลับมาอยู่กับตัวเอง เรียกว่า จิตใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขา คือต้องรู้เท่าทันจิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขาคือต้องรู้เท่าทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสมาธินั้นมี ๒ ชนิด เราต้องเรียนให้ชัดเจนนะ ส่วนมากนะ คนที่ทำสมาธินะ รุ่นก่อนนี้นะ เกือบทั้งหมดเลย ทำสมาธิออกนอก ไปพุทโธ จิตไปอยู่ที่พุทโธ ไปรู้ลมหายใจ จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ จิตไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกลม จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่เคยรู้ทันจิตตนเองเลย การที่ไม่รู้ทันจิตตนเองนี่ เรียกว่า ข้ามบทเรียนสำคัญของพระพุทธเจ้าไปบทนึง ชื่อ “จิตตสิกขา” เราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา

เพราะงั้นต่อไปนี้ เราทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา เคยพุทโธก็ใช้พุทโธได้นะ เคยหายใจ ก็ใช้ลมหายใจได้ เคยดูท้องพองยุบ ก็ใช้ท้องพองยุบได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าทำแล้วมันสบายใจนะ เพียงแต่กลับนิดนึง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่กับพุทโธ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ท้อง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่มือ ที่เท้า “ให้คอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป” พุทโธๆจิตเคลื่อนไปที่อื่น เช่น เคลื่อนไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน

จิตมันจะเคลื่อนไปใน ๒ ลักษณะเท่านั้นเอง คือเคลื่อนหลงไปในโลกของความคิด กับเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ ถ้าจิตเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ นั่นคือ การทำสมถะกรรมฐาน จะได้ความสงบเฉยๆ จะไม่มีปัญญา ถ้าจิตเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด อันนั้นหลงไปเลย สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ ใช้ไม่ได้เลย เวลาที่จิตหลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๙) เบื้องต้นทำกรรมฐานที่ทำแล้วมีความสุข

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๙) เบื้องต้นทำกรรมฐานที่ทำแล้วมีความสุข

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีฝึก ต้องหากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำ เบื้องต้น ต้องทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง กรรมฐานอะไรก็ได้ ที่เราทำแล้วมีความสุข ถ้าทำแล้วเครียด ไม่เอาเลยนะ

อย่างบางคน ไปเดินจงกรมแล้วเครียด เดินแล้วเครียดนะ เดินแล้วตึงไปหมดเลย เครียดไปหมด หลังยอก-คอยอก แขนขาตึงไปหมดนะ อย่างนั้นแสดงว่า ไม่เหมาะกับจริตของเรา

กรรมฐานต้องดูตัวเอง ว่าเราอยู่กับกรรมฐานชนิดไหน แล้วจิตใจมีความร่มเย็นเป็นสุข ให้เอากรรมฐานอย่างนั้นแหล่ะ แต่ว่า ไม่ใช่น้อมจิต ไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน แล้วให้จิตร่มเย็นเป็นสุขอยู่เฉยๆ การน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งนะ เป็นการทำสมถะกรรมฐาน เพื่อพักผ่อนเท่านั้นเอง จิตใจมีความสุข มีความสงบ มีความดี แต่จะไม่เดินปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๘) ถ้าย้อนเข้ามาถึงใจได้ จะเข้าถึงศูนย์กลางของชีวิตเลย

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๘) ถ้าย้อนเข้ามาถึงใจได้ จะเข้าถึงศูนย์กลางของชีวิตเลย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีที่จะมาฝึกใจ ให้กลับเข้ามาอยู่ที่ตัวเอง ไม่ใช่หลงไปที่รูป ที่เสียง ที่กลิ่น ที่รส ที่สัมผัส ที่เรื่องราวที่คิด แต่ย้อนกลับมา ที่ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าย้อนเข้าถึงจิตถึงใจได้เนี่ย เข้าถึงแกนกลางของชีวิตเลย ตาหูจมูกลิ้นกายนะ ยังเป็นแค่ใกล้กลางเท่านั้น ใกล้ศูนย์กลางเท่านั้นเอง สิ่งที่เป็นศูนย์กลางของชีวิตเรา ก็คือใจของเรานี่เอง

ธรรมทั้งหลายใจเป็นใหญ่ ใจเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยใจ เพราะนั้นใจเนี่ย เป็นตัวหลัก เป็นตัวประธานเลย ถ้าใจของเราถูกอวิชชาครอบงำ ก็คือชีวิตเราถูกอวิชชาครอบงำแล้ว ถ้าใจเราล้างอวิชชาได้นะ เราก็เป็นอิสระ จากกิเลสทั้งหมดแล้ว แตกหักอยู่ที่ใจนี่เอง เพราะนั้นถ้าการทวนเข้ามาถึงใจได้ ก็ดีที่สุด

ถ้ายังถึงใจไม่ได้ อย่างน้อยก็อยู่ที่กาย สิ่งที่เป็นกายเราก็คือ ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย อันนี้คือกายทั้งหมดนั่นแหล่ะ เราต้องมาฝึก ที่ให้มันย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง คือกายกับใจนี้นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๗) ฝึกจิตให้ย้อนกลับมารู้สึกตัวให้ได้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๗) ฝึกจิตให้ย้อนกลับมารู้สึกตัวให้ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะงั้นก่อนที่เราจะมารู้กายรู้ใจตัวเองได้ เราต้องมาฝึกจิต ให้มันย้อนกลับมารู้ตัวให้ได้ก่อน ต้องรู้สึกตัวให้ได้ก่อน ถึงจะดูกายได้ ต้องรู้สึกตัวให้ได้ก่อน ถึงจะดูจิตใจของตัวเองได้ ถ้าเรารู้สึกตัวไม่ได้ มีร่างกายนะ ก็เหมือนไม่มี เราลืมมันทั้งวัน

อย่างเวลาที่เราหลงไปคิด เวลาที่เราหลงไปคิด รู้สึกไหม ร่างกายเราก็ยังอยู่นะ แต่เราลืมมัน จิตใจของเราสุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างร้ายบ้าง เวลาที่เราหลงไปคิดนี่ จิตใจก็สุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างร้ายบ้าง แต่เราไม่เห็น เรามัวแต่ไปรู้เรื่องราวที่คิด หรือไม่ก็สนใจออกนอก ไปดูคนอื่น ไปฟังเสียงข้างนอกนะ ไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส เนี่ยใจเราออกนอก ไปอยู่ที่รูปที่เสียง ที่กลิ่นที่รส ไปอยู่ที่สิ่งที่มาสัมผัสร่างกาย หรือไปอยู่กับเรื่องราวที่คิดนึกนั้น เรียกว่าธรรมารมณ์ทางใจ ใจไปคิดไปนึก ไปปรุงไปแต่ง ใจมันไม่ย้อนเข้ามา ที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ มันไม่สนใจตาหูจมูกลิ้นกายใจ มันสนใจที่รูปที่เสียง ที่กลิ่นที่รส ที่สัมผัส เรียกว่าโผฏฐัพพะ สัมผัสทางกาย และก็เรื่องราวที่คิดนึกทางใจ

เนี่ยมันสนใจออกนอกทั้งหมดเลย มันสนใจรูป มันไม่สนใจตา มันสนใจเสียง มันไม่สนใจหู มันสนใจกลิ่น มันไม่สนใจจมูก มันสนใจรส มันไม่สนใจลิ้น มันสนใจความเย็นความร้อน ความอ่อนความแข็ง ที่มากระทบร่างกาย ไม่สนใจร่างกาย สนใจแต่เรื่องราวที่คิดนึกปรุงแต่ง ไม่สนใจว่าจิตใจของตนเป็นอย่างไร

เนี่ยใจมันออกนอกอย่างนี้ตลอดเวลานะ เรียกว่าใจไม่ตั้งมั่น ใจไม่ถึงฐาน ใจไม่มีสมาธิ ใจมันออกไปหมด งั้นมันจะไปอยู่ที่รูปที่เสียง ที่กลิ่นที่รส ที่โผฎฐัพพะ ที่ธรรมารมณ์คือเรื่องราวต่างๆ ที่ใจไปคิดไปนึกขึ้นมา เราต้องกลับข้างให้ได้นะ อย่าปล่อยให้ใจไหลออกไปทางตา แล้วลืมตัวเอง อย่าปล่อยให้ใจไหลไปทางหู แล้วลืมตัวเอง อย่าปล่อยให้ใจไหลไปคิด แล้วลืมตัวเอง พยายามรู้สึกตัวให้มากที่สุด พยายามรู้สึก รู้สึกไป เราต้องมาฝึกที่จะรู้สึกตัว เพราะตั้งแต่เกิดมานั้น ใจเราคุ้นเคยกับความไม่รู้สึกตัว ใจเราคุ้นเคยที่จะไหลออก ไปทางตาทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ไหลไปคิดนึกทางใจ ใจเคยไหลออกนอกตลอดเวลา เราไม่คุ้นเคยนะ ที่จะย้อนกลับเข้ามา แล้วมารู้สึกตัวอยู่

งั้นต้องฝึก ธรรมชาติของจิตนั้น เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้  สั่งไม่ได้ แต่จิตเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ งั้นไม่ใช่ว่าจิตเป็นอนัตตา แล้วก็ต้องปล่อยตามเวรตามกรรม ไม่ใช่ จิตเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ มันถูกฝึกให้ออกนอกมาตลอดตั้งแต่เกิด สนใจสิ่งภายนอกมาตลอด สังเกตไหม เราไปเยี่ยมเด็กเล็กๆ เราชอบเอามือไปล่อมัน รู้สึกไหม เห็นเด็กมันเกิดใหม่ๆนะ มือไปแกว่งหน้ามัน ล่อมันให้ออกนอกนะ เวรกรรมนะเนี่ย สอนให้เด็กส่งจิตออกนอก ตั้งแต่เล็กๆขนาดนั้นเลย เห็นไหม ใครเคยเป็นบ้าง ไปเจอเด็กแล้วต้องไปแหย่ๆ ยกมือซิ เออ เนี่ยมีกรรมนะ ไปพาเด็กส่งจิตออกนอก เห็นไหม เราถูกสอนอย่างนี้ตั้งแต่เกิดเลย เล็กๆก็ถูกสอน นี่พ่อนะนี่แม่นะ สอนไหม นี่ตัวเธอเองนะ เธอย้อนมาดูนะ มีใครสอนไหม มีแต่นี่พ่อนะนี่แม่นะ ส่วนมากจะแม่ก่อน แม่ เรียกแม่สิลูก แม่ๆๆ ให้ออกนอก ทุกอย่างมีแต่เรื่องออกนอก สมัยก่อนไม่มีอะไรให้เด็กดูนะ เอาปลาตะเพียนมาห้อยไว้ ใครเคยเห็นบ้าง ปลาตะเพียนใบลานน่ะ ใครเคยนอนดูปลาตะเพียนใบลานบ้าง มีไหม เหลือน้อยเต็มทีแล้ว ต้องรุ่นเก๋ากึ้กอย่างหลวงพ่อเลย นอนดูปลาตะเพียน ออกนอกไหม

เห็นไหมว่าเราถูกฝึก ให้ออกนอกตลอดเวลา เราไม่เคยถูกฝึก ให้ย้อนกลับมาที่ตัวเราเองเลย เพราะงั้นเราต้องฝึกนะ อยู่ๆมันไม่ย้อนเข้ามาหรอก ต้องฝึก มันเคยชินที่จะไปข้างนอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๖) ทุกอย่างในกายในใจเกิดแล้วก็ดับ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๖) ทุกอย่างในกายในใจเกิดแล้วก็ดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะเป็นพระโสดาฯ หรือจะเป็นพระอรหันต์ มาจากจุดตั้งต้นอันเดียวกัน จุดตั้งต้นก็คือ เราต้องมาเรียนรู้ความจริง ของกายของใจตนเอง ถ้าไม่สามารถเรียนรู้ความจริง ของกายของใจได้ โสดาฯก็ไม่ได้ อย่าว่าแต่พระอรหันต์เลย

พระโสดาบันท่านเห็นแล้วว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงมาก็คือ รูปธรรมกับนามธรรมทั้งหลาย กายกับใจของเรานี้แหล่ะ เต็มไปด้วยของที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไปทั้งสิ้น เนี่ยท่านเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ใจยอมรับ ก็เห็นทั้งกายทั้งใจเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ร่ายกายหายใจเข้าก็ดับไป เกิดร่างกายหายใจออก ร่างกายหายใจออกเกิดแล้วดับ ไป กลายเป็นร่างกายหายใจเข้า ร่างกายยืนเกิดแล้วก็ดับ ร่างกายเดินเกิดแล้วก็ดับ ร่างกายนั่ง ร่างกายนอน เกิดแล้วดับ ดูความจริงเรื่อยๆไป

ในใจก็ดูง่าย ไม่มีอะไรหรอก พอตาเรามองเห็นรูป ใจเราก็เปลี่ยน เห็นรูปที่พอใจ ใจก็มีความสุขขึ้นมา ให้รู้ทัน ว่าใจมีความสุข เห็นรูปที่ไม่พอใจ ใจมีความทุกข์ขึ้นมา รู้ทัน ว่าใจมีความทุกข์ ได้ยินเสียงที่พอใจ ใจมีความสุข รู้ว่าใจมีความสุข ไม่ใช่รู้ว่าเสียงอะไรนะ เสียงนกเสียงคน เสียงบ่นเสียงด่า เสียงชม ไม่จำเป็นต้องรู้ตรงนั้นหรอก ให้คอยรู้ที่ใจของเราอันเดียวนี่แหล่ะ ตามองเห็น ก็รู้ทันที่ใจ ตามองเห็น ใจก็เปลี่ยน หูได้ยินเสียง ใจก็เปลี่ยน ให้รู้ความเปลี่ยนแปลงที่ใจ ใจนี้เดี๋ยวก็สุข ใจนี้เดี๋ยวก็ทุกข์ ใจนี้เดี๋ยวก็ดี ใจนี้เดี๋ยวก็ร้าย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว ร้ายก็ชั่วคราว ดูซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ดูกันเป็นแรมเดือนแรมปีเลยล่ะ กว่าใจจะยอมรับความจริง ว่าทุกอย่างมันชั่วคราว เราดูจนใจยอมรับนะ ไม่ใช่เราแกล้งยอมรับเอาเอง (แกล้ง)ยอมรับเอาเอง ฆ่ากิเลสไม่ตาย ถ้าจิตเห็นความจริง จิตยอมรับความจริง ถึงจะฆ่ากิเลสตาย

เรื่องมันง่ายๆแค่นี้แหล่ะ แต่ว่าทำไมคนทั่วไป ไม่สามารถที่จะดูกายดูใจ ตามความเป็นจริงได้ มันแปลกไหม ร่างกายของเรามีมาแต่เกิดใช่ไหม ทำไมเราไม่เคยดูความจริงของกาย จิตใจของเราก็มีมาตั้งแต่เกิด ทำไมเราไม่เคยดูความจริงของจิตใจ ไม่เฉพาะเรานะ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษเราก็ไม่ได้ดู หมูหมากาไก่อะไรก็ไม่ได้ดู หาคนที่จะมาดูความจริงของกาย หาคนที่จะมาดูความจริงของใจได้เนี่ย หายากที่สุดเลย งั้นพระอริยฯเลยขาดแคลน ทั้งๆที่ไม่ได้ยากเลยนะ ที่จะพัฒนาจิตใจ ให้บรรลุอริยธรรมเนี่ย ไม่ได้ยากเลย แค่เราเห็นความจริง แค่จิตยอมรับความจริงนะ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับไป ทุกอย่างในกาย เกิดแล้วดับ ทุกอย่างในใจ เกิดแล้วดับ แค่นี้เอง ทำไมทำไม่ได้ ที่ทำไม่ได้ ก็เพราะว่า เราลืมกายลืมใจของเราทั้งวัน เราไปหลงโลกภายนอกนะ เรามัวแต่สนใจสิ่งภายนอก เราไม่ย้อนมาที่ตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๕) ในกายในใจนี้มีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๕) ในกายในใจนี้มีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์  : เนี่ยเฝ้าดูลงไป ในกายนี้ก็มีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในจิตก็มีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ถ้าเราดูได้ ใจยอมรับความจริงได้เมื่อไหร่ ก็เรียกว่าเราได้ดวงตาเห็นธรรม คือเรารู้ความจริงแล้ว ทุกอย่างในชีวิตเราชั่วคราวไปหมดเลย ถ้ายอมรับได้นะ ว่าทุกอย่างในชีวิตเราชั่วคราวเนี่ย ความทุกข์จะหายไปเยอะเลย พระโสดาบันไม่ได้เห็นอะไรมากนะ พระโสดาบันท่านเห็นแค่ว่า ทุกอย่างมันชั่วคราว สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับไป

แล้วหลังจากนั้นก็ภาวนาให้มากขึ้นๆไปนะ จนปัญญามันมากขึ้นไปอีก มันจะเห็นเลย ว่ากายนี้ใจนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ถ้ามันเห็นความจริง ว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆนะ มันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ พอมันไม่ยึดถือกายนะ มันก็ไม่ทุกข์เพราะกาย ไม่ยึดถือจิตใจ ก็จะไม่ทุกข์เพราะจิตใจอีกต่อไปแล้ว ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นในกาย ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นในใจ จะไม่ทุกข์อีกต่อไปแล้ว เนี่ยเป็นความพ้นทุกข์สิ้นเชิง เราเรียกว่าพระอรหันต์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๔) มาฝึกเรียนรู้ความจริงของตัวเรา

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๔) มาฝึกเรียนรู้ความจริงของตัวเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :เนี่ยสิ่งที่เราต้องฝึกนะ ก็คือการมาหัดรู้ความจริง ของตัวเราเอง

ความจริงของร่างกาย มีแต่ของไม่เที่ยง มีแต่ของเป็นทุกข์ มีแต่ของบังคับไม่ได้ เป็นแค่วัตถุที่ไหลเข้าไหลออก จิตใจก็มีแต่ความไม่เที่ยง จิตใจมีแต่ความทุกข์บีบคั้น ถูกความอยากเกิดขึ้นทีไรนะ ก็บีบคั้นจิตใจทุกทีไปเลย อยากจะอยู่นานๆ มันไม่นาน อยากจะสาวนานๆ มันไม่นาน อยากให้แฟนรักเยอะๆ มันไม่รัก อะไรนี้นะ อยากให้ลูกไม่ดื้อ มันดื้อ ความอยากเกิดขึ้นทีไรนะ มันก็บีบคั้นใจเราทุกครั้งไป

เนี่ยมาเฝ้าดูนะ จิตใจมีแต่ของไม่เที่ยง ความสุขก็ไม่เที่ยง ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป แต่พอความทุกข์(มา)นะ เรารู้สึกว่าเที่ยง ความทุกข์ไม่รู้จักหายซักที ทีความสุขละก็ไม่เที่ยงเร็ว อันนั้นเพราะใจเราอยาก อยากให้ความสุขอยู่นานๆ มันก็เลยรู้สึกสั้น

นี้เรามาคอยดูนะ ในจิตใจมีแต่ของไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง จริงๆแล้วทุกข์ก็ไม่เที่ยง กุศลก็ไม่เที่ยง อกุศลเช่น โลภโกรธหลงทั้งหลาย ไม่เที่ยง ความฟุ้งซ่านไม่เที่ยง ความหดหู่ไม่เที่ยง ความดีใจความเสียใจ ไม่เที่ยง ความอิจฉาพยาบาท ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เที่ยง

มาดูจิตใจต่อไป จิตใจนี้ ถูกความอยากบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา อยากดูก็ทุกข์ อยากฟังก็ทุกข์ อยากได้กลิ่นก็ทุกข์ อยากได้รสก็ทุกข์นะ อยากสัมผัสอะไรที่ดีๆก็ทุกข์ อยากคิดอยากนึกเรื่องที่ดีนะ มันไม่ยอมคิด มันชอบไปคิดเรื่องไม่ดี เรื่องความทุกข์ เรื่องอะไรนี้นะ ใจชอบไปวนเวียน อย่างเวลาอกหักนะ เพื่อนๆชอบปลอบ ว่าอย่าไปคิดมันเลย ห้ามไม่ได้ ใจจะคิด ยิ่งเรื่องไม่ดียิ่งชอบคิด ยิ่งเรื่องทุกข์ยิ่งชอบคิด ห้ามไม่ได้ นี่คือคำว่า”อนัตตา”นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๓) ชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๓) ชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระพุทธเจ้ายังมาสอน ให้เรามาดูความจริงของชีวิต เราอย่าไปหลอกตัวเอง ให้เรามาคอยดูความจริงของชีวิต

ชีวิตนี้เต็มไปด้วยของไม่แน่นอน ไม่ต้องไปดูอื่นดูไกล ให้มาดูที่ตัวเราเอง ไม่จำเป็นต้องไปเรียนออกข้างนอก ให้ย้อนมาเรียนที่ตัวเราเอง มาดูที่กายของเรานี้แหล่ะ ถ้าเราเห็นความจริง ว่ากายของเราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย กายคนอื่นมันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเหมือนกันแหล่ะ

ไม่ต้องไปดูของคนอื่น ดูของคนอื่นแล้วเกิดกิเลสง่าย มาดูของเราเองนะ กิเลสจะลดลงอย่างรวดเร็วเลย เพราะมันไม่ค่อยน่าดูหรอก มันมีแต่ความไม่สวยไม่งาม มีแต่ความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เป็นแค่วัตถุ มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก ธาตุไหลเข้าไปก็สวยๆงามๆ ธาตุไหลออกมาไม่สวยไม่งามแล้ว ไม่หอม

เนี่ยมาดูของจริงในตัวเรานะ วันนึงก็เห็น ว่ากายนี้มันใช้อะไรไม่ได้ ถ้าใจยอมรับตรงนี้ได้นะ กายจะแก่เราไม่ทุกข์ กายจะเจ็บเราไม่ทุกข์ กายจะตายเราไม่ทุกข์ เพราะตัวไม่ดีมันจะตาย ตัวไม่ดีมันแก่ ตัวไม่ดีมันเจ็บ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๕ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒) ทุกข์เกิดจากการไม่ยอมรับความจริงของชีวิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒) ทุกข์เกิดจากการไม่ยอมรับความจริงของชีวิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราได้สัมผัสของจริงของแท้แล้วเนี่ย ชีวิตเราจะมีความสุขมากเลย ที่เราจมอยู่ในความทุกข์ไม่รู้จักเลิก เพราะใจเราไม่ยอมรับความจริง ใจเราไม่เห็นความจริง

อย่างความจริงของชีวิตเนี่ย มีแต่ของไม่เที่ยง มีแต่ความทุกข์ ที่บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ในกายในใจนี้ มีแต่ของที่ควบคุมไม่ได้ บังคับไม่ได้ ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา นี่คือความจริงของชีวิต ร่างกายต้องแก่ ร่างกายต้องเจ็บ ร่างกายต้องตาย จิตใจของเราต้องพลักพรากจากสิ่งที่รัก ต้องเจอสิ่งที่ไม่รัก ต้องมีความผิดหวัง มีความโศกเศร้าร่ำไรรำพัน มีความไม่สบายกาย มีความไม่สบายใจ มีความคับแค้นใจ สิ่งเหล่านี้เป็นความจริง ที่วนเวียนอยู่ในชีวิตของเราตลอดเวลา

ถ้าเราเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตได้ จิตใจยอมรับความจริงได้ เช่น ยอมรับได้ว่าเราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ต้องประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ต้องสมปรารถนาบ้าง ไม่สมปรารถนาบ้าง มีความปรารถนานั้นไม่มีที่สิ้นสุดเลย สุดท้ายก็คือไม่สมปรารถนานั่นแหล่ะ เพราะว่า พอได้อย่างนี้ ก็ขยายความต้องการไปเรื่อยๆ ชีวิตก็จมในความทุกข์

เรามาเรียนให้เห็นความจริงของชีวิตนะ ถ้าใจเรายอมรับความจริงของชีวิตได้ ใจจะไม่ทุกข์ ร่างกายมันแก่ ไม่ใช่ต้องทุกข์เลย ร่างกายแก่เป็นเรื่องธรรมดา ร่างกายเจ็บป่วย อย่างพวกเราไม่ได้เตรียมใจ เราเตรียมใจแต่ว่า ต่อไปเราจะแก่ ถ้าคนหลงโลกเลย ไม่เคยเตรียมใจว่าจะแก่ด้วยซ้ำไป อย่างพวกเราอาจจะเตรียมใจ ว่าอีกหน่อยเราต้องแก่แล้วล่ะ แต่เราไม่เคยคิดเตรียมใจ เรื่องว่าจะเจ็บไข้อัตโนมัติ แบบฉับพลันทันทีอย่างนี้ ไปตรวจร่างกายประจำปี ปีนี้อาจจะเจอมะเร็งก็ได้ ไม่แน่นอนเลย เนี่ยถ้าใจเรายอมรับความจริงไม่ได้ ว่าเราแก่ลงมา เราก็ทนไม่ได้ ทุกข์ทรมานใจ เจ็บขึ้นมาก็ทนไม่ได้ ทุกข์ทรมานใจ จะตาย ใกล้จะตายแล้ว ทุรนทุรายเสียดาย อาลัยอาวรณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตสร้างมาตั้งนาน อยู่ๆจะต้องทิ้งไปแล้ว กลายเป็นของคนอื่นไปแล้ว ใจก็มีแต่ความทุกข์ หรือการที่เราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักนี้ เป็นเรื่องปกติเลย

อย่างพวกเราคนไหนพ่อแม่ตายแล้วบ้าง มีไหม ลองยกมือซิ เยอะนะ แสดงว่า ได้เห็นสัจธรรมไปบางส่วนแล้ว คนที่เรารักนะตาย บางคนพ่อแม่ตายตั้งแต่เด็กก็มี คนไหนคู่ครองของเราตายแล้วบ้าง มีไหมในห้องนี้ ก็มีอีกนะ คนไหนลูกตาย มีไหมในนี้ มี มีสองสามคน การตายนะไม่มีลำดับ เด็กก็ตายได้ ผู้ใหญ่ก็ตายได้ เนี่ยถ้าเราไม่เคยทำใจไว้ก่อนนะ เราจะทุกข์มาก อย่างพ่อแม่ตายเนี่ย คนทั่วๆไปจะทุกข์นะ แต่ว่าไม่มาก เพราะทำใจไว้แล้ว ว่าพ่อแม่ควรจะตายก่อน แต่พอลูกตายก่อนนะ ไม่เคยทำใจไว้เลย ว่าลูกจะตายก่อน คิดว่ามันต้องตายตามลำดับไหล่  ตามอาวุโส มันไม่เป็นอย่างนั้นนะ ใจยอมรับไม่ได้ ใจจะทุกข์มาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212