Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การบรรลุธรรม

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การบรรลุธรรม

ถาม : การที่เรา บรรลุ ธรรม ขั้นโน้น ขั้นนี้ จริง กับ การ เกิด วิปัสสนู กิเลส แตก ต่าง กัน อย่างไร คับ จะมี ข้อสังเกตยังไง ครับ?
อ.สรว : สังเกตตรงที่ ใจเรามีความถือตัวว่าบรรลุธรรมหรือไม่ ใจเร่าร้อนอยากที่จะพูดธรรมะสอนธรรมะหรือไม่ ถ้ามีความถือตัวมีความอยากพูดอยากสอนหรือจิตใจเร่าร้อน หรือจิตฟุ้งๆไปไม่ตั้งมั่นด้วยความเป็นกลาง ก็จะเป็นวิปัสสนูกิเลสครับ
ถาม : ถ้า เรายังไม่มีโอกาส ได้บวช แล้ว เจริญสติ รู้กาย รู้ใจไป เรื่อยๆ ถ้าทำถูกต้อง แล้ว เรามีโอกาสที่ จะบรรลุ ถึงนิพพาน หรือเปล่าครับ ในยุคสมัยนี้ หรือต้องบวช เท่านั้น ถึงมีโอกาสที่จะบรรลุ นิพพานได้?
อ.สรว : ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้วครับที่ฆราวาสก็สามารถบรรลุธรรมได้ แจ้งพระนิพพานได้ ไม่จำเป็นว่าต้องบวชก่อนหรอกครับ มาถึงสมัยนี้ก็ยังเป็นเช่นนี้อยู่ จะต่างกันเพียงคนในยุคนี้ส่วนมากอินทรีย์ไม่แก่กล้าเท่าเมื่อก่อน และสภาพสังคมก็มีสิ่งล่อใจให้เพลิดเพลินมากกว่าก่อน การได้บวชจึงเป็นสิ่งช่วยให้เอื้อต่อการภาวนามากกว่าครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับอ.สุรวัฒน์ : จิตชอบคิดไม่ดี

จิตชอบคิดไม่ดี

เรื่องที่จิตคิดเรื่องไม่ดีขึ้นมาเองนี่ เป็นกันทุกคนแหละครับ

ห้ามไม่ได้ สั่งไม่ให้คิดก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นอนัตตา

จึงไม่ต้องกังวลว่าจะบาปหรอกครับ แค่เราต้องฝึกให้มีสติรู้ทัน

ไม่เผลอทำไม่ดีออกมาทางกายวาจา ไปตามที่คิดเท่านั้นก็พอแล้วครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : กายกับใจนั้นคนละส่วนกัน

กายกับใจนั้นคนละส่วนกัน

ถ้าเราไม่เคยเห็นอาคารในภาพนี้มาก่อน

 เราก็จะคิดว่านี่เป็นภาพของอาคารหลังเดียวกัน

 แต่ถ้าเราได้ไปเห็นจริงๆ ก็จะรู้ว่า

 ภาพนี้เป็นภาพอาคารสองหลังที่อยู่ใกล้ๆกัน

 

 ในทำนองเดียวกัน

ถ้าเราไม่เคยได้ยินได้ฟังธรรมะมาก่อน

 ไม่เคยเรียนรู้กายใจมาก่อน

 ก็จะเห็นว่ากายกับใจเป็นอันเดียวกัน

 แต่พอมาหัดเรียนรู้กายใจ หัดรู้สึกตัวจนเกิดมีจิตตั้งมั่น

 ก็จะเข้าใจความจริงได้ว่า กายกับใจมันคนละส่วนกัน

 

 หัดต่อไปอีกก็จะเข้าใจเพิ่มมากขึ้นว่า

 กระทบสิ่งหนึ่ง กายใจก็ปรากฏอาการอย่างหนึ่งขึ้นแล้วก็ดับไป

 กระทบอีกสิ่งหนึ่ง กายใจก็ปรากฏอาการอีกอย่างหนึ่งขึ้นแล้วก็ดับไป

 กายใจจะปรากฏอาการใด ก็เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ

 อย่างเช่นกายกระทบแสงแดดจัดๆ ก็ปรากฏอาการร้อนที่กาย

 จะบังคับควบคุมให้ปรากฏอาการเย็นที่กายก็ไม่ได้

 พอเกิดอาการร้อนที่กาย ใจจะเป็นอย่างไรก็ได้

 บางทีก็อาจยินดี บางทีก็อาจไม่ชอบ บางทีก็เฉยๆ

 

 แต่ไม่ว่ากายใจจะปรากฏอาการอย่างใด

 อาการที่ปรากฏรวมไปถึงตัวกายใจเอง

 ล้วนแต่ปรากฏขึ้นแล้วย่อมเสื่อมดับไป

 เมื่อมีเหตุให้เกิดก็ต้องเกิด เมื่อหมดเหตุนั้นก็ต้องดับไป

 จนเมื่อความเข้าใจมากถึงที่สุด

 ก็จะไปเห็นแจ้งต่อสภาวะแห่งความ “หลุดพ้น”

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : สถานที่ปฎิบัติธรรมตามแนวของหลวงพ่อปราโมทย์

สถานที่ปฎิบัติธรรมตามแนวของหลวงพ่อปราโมทย์

ถาม : ต้องการทราบรายละเอียดสถานที่ปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงพ่อ  ซึ่งสามารถอยู่ปฏิบัติได้เป็นระยะเวลานานหลายเดือน

ตอบ : หลวงพ่อไม่มีสถานที่ตามที่ต้องการทราบหรอกนะครับ

แต่หลวงพ่อต้องการให้ทุกคนสามารถปฏิบัติภาวนาอยู่ที่บ้านให้ได้

ดังนั้นถ้าเราศึกษาวิธีการปฏิบัติตามที่หลวงพ่อสอนเอาไว้จนเข้าใจ

เราก็จะสามารถปฏิบัติอยู่กับบ้านได้

ไม่จำเป็นต้องไปอยู่ที่อื่นก็ได้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : จิตกับลูกบอล

จิตกับลูกบอล

เคยเห็นลูกบอลลอยน้ำใช่มั้ย

 

 จิตที่ขาดสติเปรียบเหมือนลูกบอลที่ถูกปล่อยให้ลอยไปมาอยู่ในน้ำอย่างไร้ทิศทาง

 

 จิตที่มีสติรู้อารมณ์เดียวต่อเนื่องเปรียบเหมือนลูกบอลที่ลอยนิ่งสงบไม่ไหลไปไหลมาเพราะถูกมือจับเอาไว้

 

จิตที่ถูกกดถูกข่มเอาไว้เปรียบเหมือนลูกบอลที่ถูกจับกดลงในน้ำ จะมีแรงต้านและพร้อมจะดีดกลับเมื่อเลิกกดมัน

 

 จิตที่มีสติ จะเปรียบเหมือนลูกบอลที่ถูกมือแตะไว้อย่างอ่อนโยน ยอมให้ไหลไปมาได้ตามสมควร

มือที่แตะไว้จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวไปตามแรงคลื่นของน้ำที่มากระทบลูกบอล

 

 ถ้านึกไม่ออกก็ลองไปหาลูกบอลมาเล่นในน้ำซิ แล้วจะเข้าใจว่าทำไม เวลาจะเรียนรู้กายใจ ต้องเรียนด้วยจิตที่มีสติ

ไม่ใช่เรียนด้วยจิตที่ขาดสติ สงบนิ่ง หรือถูกกดข่มเอาไว้

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : สำหรับคนที่ทำสมถะไม่เป็น

สำหรับคนที่ทำสมถะไม่เป็น

คนที่ทำสมถะไม่ได้ (หรือยังทำไม่ได้ กำลังหัดทำ) ก็ให้ทำรูปแบบตามที่หลวงพ่อพูดถึง

โดยทำรูปแบบแล้วก็มารู้กายรู้ใจไปสบายๆ พอรู้ว่าเผลอลืมตัวไป ก็มารู้กายรู้ใจต่อใหม่อีก

ทำไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดจิตตั้งมั่น (มีสมาธิ) ขึ้นมาชั่วขณะหนึ่ง

แล้วจะเห็นเจริญปัญญาเห็นไตรลักษณ์ได้เป็นขณะๆ ไปครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : วิธีหัดรู้ว่าเมื่อกี้ลืมตัวไป

วิธีหัดรู้ว่าเมื่อกี้ลืมตัวไป

วิธีหัดรู้ว่าเมื่อกี้ลืมตัวไป ก็ให้หาอะไรมาเป็นสิ่งระลึกถึงเอาไว้สบายๆ

อย่างเช่นเอาลมหายใจเป็นสิ่งระลึกถึงอยู่

ก็ให้รู้สึกถึงร่างกายที่กำลังหายใจเข้าออกไปสบายๆ

อย่าฝืน อย่าห้ามไม่ให้จิตไปนึกคิดเรื่องในอดีต

ซึ่งเมื่อใดที่จิตหลงไปคิด เราก็จะลืมไปว่ามีร่างกายหายใจอยู่

ถ้าสังเกตได้ว่าเมื่อกี้ลมหายใจหายไป เมื่อกี้ลืมตัวไป

ก็คือรู้สึกตัวขึ้นได้แล้ว

 

เวลาทำกิจกรรมอะไรอยู่เช่นกำลังเดินก็เช่นกัน

ก็ให้มารู้สึกมีร่างกายเดินอยู่ รู้สึกไปสบายๆ

ถ้าจิตหลงไปคิดก็จะลืมร่างกายที่กำลังเดินไป

ถ้าสังเกตได้ว่าเมื่อกี้ลืมร่างกาย ลืมตัวไป

ก็จะกลับมารู้สึกตัวพร้อมๆกับความคิดที่มันดับลงไปชั่วขณะ

 

ให้หัดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เท่าที่พอจะหัดได้

นึกได้ตอนไหนก็หัดเอาตอนนั้นเลย ไม่นานหรอกครับ

จิตก็จะค่อยๆ สงบลงเพราะมีความรู้สึกตัวได้บ่อยขึ้น

จะรู้ทันจิตที่หลงไปคิดได้บ่อยขึ้น รู้ทันจิตที่เศร้าหมองที่กังวลได้บ่อยขึ้น

เมื่อรู้ทันได้บ่อยขึ้น จิตก็จะสงบมากขึ้น ตั้งมั่นมากขึ้น

ความทุกข์ใจก็จะลดลงไปเองครับ

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : รู้รักษาตัวรอดยามวิบากให้ผล

รู้รักษาตัวรอดยามวิบากให้ผล

ทำกรรมใดไว้ย่อมต้องมีผลกรรมนั้นเสมอ

 แม้ปัจจุบันจะทำดีเป็นปกติ จะทำกุศลอยู่เป็นปกติ

 หากได้โอกาส กรรมไม่ดีที่เคยทำไว้ก็จะให้ผล

 อย่าคิดนะว่าเราทำดีปฏิบัติดีแล้วจะไม่เจอเรื่องไม่ดี

 แต่ให้รู้จักเอาตัวรอดในช่วงที่กำลังรับผลไม่ดีนั้น

 ช่วงเวลาใดที่รู้สึกว่าจะประคองตัวไม่ไหว เหมือนดั่งเรือเล็ก

 ที่ไม่อาจต้านความเชี่ยวกรากของสายน้ำได้ ก็ต้องเอาเรือเข้าฝั่ง

 เก็บรักษาเอาไว้ใช้ต่อเมื่อจำเป็น

 

 ถึงวันนี้ เริ่มรู้สึกว่าจะไม่ไหวแล้ว

 ต้องปลดปล่อยภาระที่เกินจำเป็นออกไปก่อน

 รอให้ความเชี่ยวกรากของวิบากแผ่วเบาลง

 รอให้ใจถึงพร้อมมากกว่านี้

 แล้วค่อยออกเรือกันต่อไป.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : วิธีสังเกตจิตผู้รู้

วิธีสังเกตจิตผู้รู้

ถาม : เมื่อรู้ทันความคิด แล้วความคิดดับเป็นเพราะเรามีจิตผู้รู้แล้วรู้ทันความคิดนั้นใช่หรือไม่ จะสังเกตอย่างไร ?

ตอบ : ความคิดที่ดับไป ไม่ใช่ว่าดับไปเพราะผู้รู้เท่านั้นครับ

อาจดับไปเพราะการเพ่งก็ได้ เพราะจิตไปสนใจรู้อารมณ์อื่นก็ได้

 

ลองสังเกตว่ามีผู้รู้จริงๆ หรือเปล่าด้วยการมาดูกายก็ได้ครับ

ถ้ามาดูกายแล้วรู้สึกว่ากายกับจิตเป็นคนละสิ่งกัน

และจิตไม่ได้ไหลออกไปตั้งแช่ที่จุดใดจุดหนึ่ง ก็แสดงว่ามีจิตผู้รู้

แล้วสังเกตว่าตอนที่รู้ความคิดแล้วความคิดดับไปนั้น

จิตที่รู้เหมือนกับผู้รู้ที่ดู้กายอยู่ห่างๆ หรือไม่

 

แต่ถ้าสังเกตุไม่ออก ก็ไม่ต้องสนใจหรอกครับว่า

ความคิดที่ดับไปนั้น ดับไปเพราะอะไร

ให้แค่รู้ว่าจิตไหลไปคิด รู้ว่าความคิดดับไป รู้เท่านี้ก็พอแล้วครับ

ถ้ารู้แบบนี้ไปบ่อยๆ ต่อไปจะเข้าใจเองว่า

ความคิดขณะนั้นดับไปเพราะเพ่ง หรือเพราะเกิดสติเกิดผู้รู้ขึ้นมา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ทำสมาธิแล้วรู้สึกเกร็ง มึน ตื้อเพราะเพ่ง

ทำสมาธิแล้วรู้สึกเกร็ง มึน ตื้อเพราะเพ่ง

ถาม : มีความรู้สึกว่าพอปฏิบัติไปก็มีความรู้สึกเหมือน เกร็ง หนัก และมึน ๆตื้อ ๆ ส่วนบริเวณหัวค่ะ บางทีสังเกตุตัวเองแล้วรู้สึกว่าเกร็งทั้งที่ไม่ได้ปฏิบัติในรูปแบบด้วยค่ะ  และอาการที่ล่าสุดนี้คือพอหนูนั่งหลับตาทำในรูปแบบที่ไร รู้สึกว่าหนูเกร็ง แข็ง แน่น ชา หนักทุกทีเลยค่ะ บางทีก็รู้สึกจิตมันเบลอ เหม่อ ค่ะ รบกวนขอคำแนะนำด้วยนะคะ ตอนนี้หนูเป็นทุกข์ทั้งกายและใจ รู้สึกท้อแท้สับสนมากค่ะ  ไม่ทราบว่าหนูควรจะทำอย่างไรดีคะ ?

ตอบ : เข้าใจว่าอาการเกร็ง หนัก มึน ตื้อ ที่เป็นนั้น เป็นเพราะการเพ่งหรือฝืนจิตมากจนเกินพอดี และถ้าอาการเร็งยังเกิดได้แม้ไม่ได้นั่งภาวนา ก็แสดงว่าติดเพ่งไปแล้วครับ แต่ไม่ต้องท้อแท้นะครับ เพราะถ้าเราเลิกทำแบบเพ่งมากๆได้ อาการที่เป็นอยู่ก็จะหายไปเองครับ ฉะนั้นช่วงนี้ก็อย่าเพิ่งนั่งสมาธิแบบที่ทำอยู่ไปก่อน แล้วให้มาหัดรู้สึกตัวไปสบายๆ ไม่ต้องฝืนบังคับจิต จิตจะเผลอก็หัดรู้ว่าเมื่อกี้เผลอไป จิตจะมีกิเลสก็หัดดูจิตทีมีกิเลสไป หรือพอร่างกายเคลื่อนไหว ก็หัดรู้สึกร่างกายที่เคลื่อนไหว หัดรู้กาย หัดดูจิต ไปเรื่อยๆ แล้วอาการเพ่งก็จะค่อยๆ หายไปเองครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เทคนิคการดูจิต

 เทคนิคการดูจิต

มองภาพนี้ซิ…

แวบหนึ่งเห็นดอกชัดใช่มั้ย

 อีกแวบหนึ่งเห็นใบชัดใช่มั้ย

 อีกแวบต่อๆไป ก็เห็นส่วนที่ไม่ชัดใช่มั้ย

 แต่จะดูอีกสักกี่แวบก็ไม่เห็นตัวหนอนหรอกนะ

 ไม่เห็นเพราะไม่มีหนอนหรอก

หรือหนอนมีนะ แต่ถูกบังอยู่ ก็เลยไม่เห็น …

 

เวลามาดูจิตก็เหมือนกันคือ

 แวบที่เห็น เห็นอะไรชัดก็ให้ดูอันที่ชัดนั่นแหละ

 แวบที่เห็น เห็นอะไรที่ไม่ชัดก็ให้ดูอันที่ไม่ชัดนั้นแหละ

 แวบที่เห็น แต่ไม่เห็นอะไรที่คิดว่าจะเห็น

 ที่ไม่เห็นเพราะมันไม่มีอยู่ให้เห็น

 หรือมันมีอยู่แต่ยังไม่เห็นมันไม่ได้

 เมื่อไม่เห็นก็ไม่ต้องควานหาให้เห็นมันหรอกนะ

 เพราะการควานหามันคือเผลอ หลง ขาดสติ ลืมตัวไปแล้ว…

 

ใครที่ไปส่งการบ้าน

 แล้วได้ยินครูบาอาจารย์หรือญาติธรรมบอกว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

 แต่ดูยังไงก็ไม่เห็นอันนั้นอันนี้ ก็ให้ภาวนาต่อแบบข้างบนนี้ไปนะ

 แล้ววันหน้าก็จะ อ๋อ… อิอิ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ยามที่เหนื่อยและท้อ

ยามที่เหนื่อยและท้อ

ยามที่เหนื่อยและท้อ …

ต้องเลิกเป็นยาม แล้วไปทำอาชีพอื่นซะ ^_^

 

 ส่วนจิตที่เหนื่อยและท้อต่อการภาวนา …

ยังไงก็ต้องไม่เลิกภาวนา ต้องอดทนดูมันไป

 นึกเอาไว้ก็ได้ว่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไป

อดทนดูจนไม่ไหวแล้วนั่นแหละ

 จึงค่อยพักไปหาอะไรที่เป็นกุศลทำ

 ทำกุศลแล้ว มีแรงแล้วก็กลับมาภาวนากันต่อไป

 

 จำไว้นะ … เหนื่อยได้ท้อได้แต่อย่าเลิกภาวนา ^_^

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ใช้ชีวิตด้วยการเจริญสติ

ใช้ชีวิตด้วยการเจริญสติ

ในการปฏิบัติเจริญสติปัฏฐาน  หรือเจริญสติสัมปชัญญะนั้น

ผมใช้วิธีการปฏิบัติไปพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ

ไม่ว่าจะอาบน้ำ  ทานอาหาร  ทำงาน  ยืน  เดิน  นั่ง  พูด  คิด  ขับถ่าย ฯลฯ

ซึ่งสาเหตุที่ผมเจริญสติปัฏฐานในลักษณะนี้ก็เพราะว่า

ผมเป็นคนที่มีจิตไม่ยอมอ่อนลงให้กับการปฏิบัติที่เป็นรูปแบบตายตัว

เช่นนั่งทำจังหวะแบบหลวงพ่อเทียนก็ไม่ได้  นั่งเคาะนิ้วก็ไม่ได้  เดินจงกรมก็ไม่ได้

ตามรู้ลมหายใจก็ไม่ได้  ทำทีไรจิตเป็นอันต้องหนักตึง มีโมหะครอบงำ

ฟุ้งซ่านและง่วงนอนเสียทุกที  และที่แย่ที่สุดก็คือการปฏิบัติแบบหลับตา

เพราะจะโดนโมหะและความฟุ้งซ่านเล่นงานเอาอย่างรุนแรง

(ฝืนทำมาร่วม 10 ปีก็ไม่ก้าวหน้าเลย)

แต่พอฝึกรู้ตัวและเจริญสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวัน  จิตกลับอ่อนลงได้โดยง่าย

 

นอกจากนี้ผมยังปฏิบัติด้วยความพยายามทำอย่างเต็มกำลังเท่าที่จะทำได้

หากทำเต็มกำลังแล้ว ทำได้เท่าไรก็เท่านั้น

ผมจะไม่พยายามทำให้เหมือนครูบาอาจารย์ทุกอย่าง

ผมจะให้จิตเขาเป็นไปตามที่ควรเป็น  แล้วคอยรู้สิ่งที่ปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลางไปเรื่อยๆ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : การเจริญสติสัมปชัญญะกับการเรียนรู้ธรรม

การเจริญสติสัมปชัญญะกับการเรียนรู้ธรรม

ผมมีความตั้งใจที่จะเล่าถึง เรื่องของการเจริญสติสัมปชัญญะ

ที่เกี่ยวเนื่องอยู่กับการเรียนรู้ธรรมะ (ศึกษาธรรมะ) ตามที่ได้ประสบมา

เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครบ้าง  เรื่องก็มีอยู่ว่า………..

 

ในการศึกษาธรรมะแรกๆ  ส่วนใหญ่แล้วผมจะศึกษาจากการอ่านและฟัง

จนจับใจความได้ว่า ธรรมะนั้นต้องลงมือปฏิบัติจึงจะเข้าถึงได้

แล้วจึงได้ลงมือปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจที่มี

แต่มักเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน  ทำให้ต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่เสมอๆ

แม้จะพยายามค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอๆ

จนที่บ้านมีกองหนังสือธรรมะนักหลายสิบกิโลอยู่

ซึ่งก็พอทำให้มีความรู้เล็กๆ ไว้คุยธรรมะกับคนอื่นเขาได้บ้าง

หากแต่เมื่อย้อนสังเกตลงในตัวเองคราวใด กลับพบว่า

แท้ที่จริงเราหาได้มีธรรมะใดๆเลยที่เป็นเครื่องรักษาจิตใจได้

 

จนเมื่อผมได้เริ่มปฏิบัติการเจริญสติปัฏฐาน ด้วยคำแนะนำจากครู(คุณสันตินันท์ – หลวงพ่อปราโมทย์ก่อนบวช)โดยตรง

ประมาณ 8 เดือนมานี้  ผมก็ปฏิบัติไปแบบเรื่อยๆ

คือ รู้อะไรต่อมิอะไรตามที่จิตจะรู้ได้ไปเรื่อยๆ

ประกอบกับการอ่านกระทู้และสนทนาธรรมกับญาติมิตรตามสมควร

แต่พอเมื่อเจริญสติปัฏฐานไปได้ไม่นาน  กลับเห็นว่า

ความรู้ที่อุตสาห์พากเพียรศึกษามานับสิบปีนั้น

แท้ที่จริงแล้วไม่อาจช่วยอะไรในยามที่เป็นทุกข์ได้เลย

อีกทั้งยังทำให้การปฏิบัติพลอยยากเย็นแสนเข็ญไปด้วย

เพราะความรู้ที่มีอยู่  นั้นเป็นความรู้ที่เกิดมาจากการอ่านการฟัง

และเป็นความรู้ที่ผ่านกระบวนการ คิดและคาดคะเนเอาตามหลักการ

เท่าที่ปุถุชนทั่วไปจะกระทำได้  จึงเป็นความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

 

เมื่อเกิดความเห็นอย่างนี้ขึ้น  การอ่านธรรมะใดๆก็ไม่ถึงใจ

สู้การเจริญสติสัมปชัญญะตามที่ครูสอนให้ไม่ได้เลย

จิตช่วงนั้นจึงไม่สนใจศึกษาหาความรู้ เอาแต่เจริญสติสัมปชัญญะอย่างเดียว

จนกระทั่งพบเห็นการพัฒนาของจิตไปได้ระดับหนึ่ง

จึงได้เข้าใจว่า  การศึกษาธรรมะโดยจิตที่ปราศจากสภาวะธรรมในเรื่องนั้นๆ

เป็นเครื่องรองรับ  ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้และไม่คลาดเคลื่อน

ตัวอย่างเช่น ถ้าผมจะศึกษาเรื่องของ  จิตว่าง จิตอวิชชา ตามที่ครูเขียนไว้

โดยที่ผมเองไม่มีสภาวะของจิตว่าง จิตอวิชชา เกิดขึ้นกับตัว

การศึกษาของผมก็ทำได้เพียง จดจำ คิด คาดคะเนเอาตามหลักการ

และเข้าใจเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เท่านั้น

(ตรงนี้แหละครับที่ครูบอกว่า ฟังธรรมแล้วให้ทิ้ง หรือรู้อะไรแล้วให้ทิ้ง

เพราะครูไม่ต้องการให้พวกเราเสียเวลากับการคิดค้นความรู้ต่างๆ)

 

ทั้งหมดที่เขียนมานี้  มีวัตถุประสงค์ที่จะบอกว่า

อย่ามัวแต่หาความรู้ตามคำสมมุติบัญญัติอยู่เลยครับ

เอาเวลามาเจริญสติสัมปชัญญะตามที่ครูแนะนำไว้จะดีกว่า

แต่หากยังสนใจในการศึกษาคำสมมุติบัญญัติแล้วละก็

ขอให้อดใจรอไว้จนกว่า จิตพัฒนาขึ้นไปได้บ้างแล้ว

การศึกษาหาความรู้ต่างๆ จึงจะง่ายขึ้นมาก

อีกทั้งยังไม่รบกวนการเจริญสติสัมปชัญญะด้วย

หรือจะพูดว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ก็ได้ครับ

ไม่งั้นแล้ว นกสักตัวก็ไม่ได้  ที่ได้มาดูเหมือนนกก็จริง

แต่เป็นนกติดเชื้อ กินไปก็ตายเปล่าครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร

แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร

สมัยที่ยังเป็นเด็ก เมื่อถูกคนอื่นแกล้งจนทำอะไรเค้าไม่ได้

 ก็จะชอบพูดออกไปว่า “แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร”

แล้วก็อาจลากเสียงยาวต่ออีกว่า “โว้ย”

ตอนนี้เริ่มแก่แล้ว มานั่งนึกย้อนไปดูก็รู้สึกขำๆ อยู่ว่า

 ตอนนั้นเราพูดออกไปก็เพื่อปลอบใจตัวเอง

 เพื่อระบายความอึดอัดใจ

 หรือไม่ก็เป็นการเอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนไปซะ

 เพราะไม่รู้หรอกนะว่า จริงๆ แล้วที่ว่า

“แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” เค้าหมายถึงอะไร

 

 แล้วตอนนี้ละ รู้หรือเปล่าว่า

“แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” เค้าหมายถึงอะไร

 เปล่า ไม่รู้หรอก

 ว่าแล้วไปค้นความหมายดูดีกว่า….

 

ไปดูหลายๆ ที่ ก็ได้ความหมายมาเหมือนๆ กัน

 เช่นจาก http://www.suphasitthai.com/ มีนำเสนอไว้ว่า

 สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการยอมคู่กรณีเพื่อไม่ให้มีเรื่องราวใหญ่โต

 แต่ถ้าหากไม่ยอมแพ้ก็จะมีปัญหาและเรื่องราวอาจจะบานปลาย

 ที่มาของสํานวน เป็นธรรมเทศนาที่มีกุศโลบายสอนให้คนรู้จักระงับความโกรธ

 โดยหากใช้ความอดกลั้นและยอมถอย ไม่ทะเลาะด้วย เรื่องราวร้ายๆก็จะไม่เกิด

 ถึงแม้จะเป็นฝ่ายแพ้ในการโต้เถียง แต่ก็ขึ้นชื่อได้ว่าประเสริฐนัก

 

 ได้ความหมายแล้ว รู้สึกว่า

“แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร” ในทางโลกได้ประโยชน์แค่นี่เอง

 ด้วยจริตเป็นคนชอบคิดมาก

 ก็เลยหลงคิดปรุงแต่งต่อไปเองอีกจนได้เรื่องว่า…

 

คนทั่วไป แม้จะเป็นคนดีสักแค่ไหน

 แม้จะยอมอะไรๆ เพื่อไม่ให้เรื่องราวใหญ่โตขึ้นได้

 ก็ยังไม่ใช่พระจริงๆ หรอก

 ส่วนนักภาวนา แม้จะรักษาศีลได้ดีแค่ไหน

 ถ้ายังคิดอยากจะเอาชนะกิเลสตัณหาด้วยอุบายต่างๆนาๆ

 ก็ยังไม่ใช่พระจริงๆ เหมือนกัน

 เพราะผู้ที่มีจิตใจเป็นพระจริงๆนั้น จะไม่คิดเอาชนะสิ่งใด

 มีแต่มารนั่นแหละที่มันคิดแต่จะเอาชนะทุกสิ่งอย่าง

 ฉะนั้นหากเรายังคิดอยากเอาชนะกิเลสตัณหาต่างๆ ล่ะก็

 เราเองนั่นแหละที่กำลังเป็นมารอยู่

 

 ทางที่จะทำให้เราเป็นพระขึ้นมาจริงๆ นั้น

 เราต้องไม่คิดอยากจะเอาชนะกิเลสตัณหาต่างๆ

 แต่ก็ไม่ใช่จะยอมแพ้ยอมอยู่ใต้อำนาจมันตลอดไป

 เพราะการยอมแพ้กิเลสตัณหาก็ยังไม่ใช่ว่าแพ้แล้วจะเป็นพระ

 เราต้องฝึกฝนตัวเอง หัดที่จะมีสติ หัดที่จะรู้สึกตัว

 แล้วหัดแค่รู้แค่ดูกิเลสตัณหามันไป จนเกิดปัญญาเห็นความจริงว่า

 กิเลสตัณหาต่างๆ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

 เป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้

 เป็นสิ่งไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นของตน

 ด้วยความเข้าใจเพียงเท่านี้เอง

 ที่จะทำให้เราสามารถเป็นพระขึ้นมาจริงๆ ได้.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : อริยสัจจ์สี่คือกรอบในการปฎิบัติ(ภาวนา)

อริยสัจจ์สี่คือกรอบในการปฎิบัติ(ภาวนา)

วันหนึ่งผมได้เปิดอ่านพระไตรปิฎกเล่มที่ 4

เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนหลังจากตรัสรู้ไม่นาน

เป็นเรื่องเกี่ยวกับอริยสัจจ์ที่พอสรุปความได้ว่า

 

พระพุทธองค์ทรงรู้อริยสัจจ์ใน 3 ลักษณะคือ

รู้ว่า อะไรคือทุกข์ (ทุกข์)

รู้ว่า อะไรคือเหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)

รู้ว่า อะไรคือการพ้นจากทุกข์ (นิโรธ)

รู้ว่า อะไรคือทางให้พ้นจากทุกข์ (มรรค)

(ผมเห็นว่า นี่คือสิ่งที่ควรรู้ในด้าน ปริยัติ)

 

รู้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้

รู้ว่า สมุทัยควรละ

รู้ว่า นิโรธควรทำให้แจ้ง

รู้ว่า มรรคควรเจริญให้มาก

(ผมเห็นว่า นี่คือสิ่งที่ควรรู้ในด้าน ปฏิบัติ)

 

รู้ว่า ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว

รู้ว่า สมุทัยได้ละแล้ว

รู้ว่า นิโรธได้ทำให้แจ้งแล้ว

รู้ว่า มรรคได้เจริญให้มากแล้ว

(ผมเห็นว่า นี่คือสิ่งที่ควรรู้ในด้าน ปฏิเวธ)

 

เมื่อเกิดความเห็นต่ออริยสัจจ์ดังนี้แล้ว การปฏิบัติก็อยู่ในกรอบของอริยสัจจ์

ทั้งในด้านปริยัติและโดยเฉพาะด้านการปฏิบัติ

หากสิ่งใดอยู่นอกกรอบอริยสัจจ์ผมก็จะไม่สนใจ

สำหรับด้านปฏิเวธนั้น ผมเข้าใจแล้วว่า

การศึกษาและปฏิบัติตามหลักของพุทธศาสนานั้น

เราทำเพียงสองด้านเท่านั้นคือด้านปริยัติกับด้านปฏิบัติ โดยเน้นด้านปฏิบัติเป็นหลัก

ส่วนของด้านปฏิเวธเราไม่ต้องทำเพราะปฏิเวธนั้นจะเป็นผลที่จะเกิดจากการปฏิบัตินั่นเอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : อ.สุรวัฒน์ดูจิตตลอดเวลาได้หรือไม่

อ.สุรวัฒน์ดูจิตตลอดเวลาได้หรือไม่?

ดูจิตตลอดเวลาได้หรือไม่  ขอตอบว่า

ดูไม่ได้ตลอดเวลาครับ  และการพยายามบังคับจิตให้ดูจิตก็ทำไม่ได้

ผมทำได้เพียง ใช้ชีวิตไปตามปกติธรรมดา ด้วยความตั้งใจว่า จะดูจิต เท่านั้น

ส่วนจะดูหรือเผลอก็เป็นเรื่องของเขา ถ้าเผลอไปจะนานแค่ไหนก็ตาม

เมื่อหายเผลอ ก็ให้รู้ว่า เมื่อตะกี้เผลอไปแล้ว เผลอแล้วก็แล้วไปครับ

แต่ถ้าดูจิตแล้วไม่ค่อยเห็นอะไร  ก็ใช้วิธีดูการเคลื่อนไหวแทน

เช่นเดินก็ให้รู้ว่าเดิน ไม่ต้องเจาะจงว่าต้องรู้การกระทบของเท้า

แค่รู้ว่าเดินก็พอแล้วครับ

ผมทำเพียงเท่านี้เอง ส่วนจิตจะพัฒนาไปอย่างไรก็ตามรู้ไปเรื่อยๆ

 การจะทำตนให้พึ่งตนเองได้ ด้วยการมีฐานของสติเป็นวิหารธรรม ก็ต้องรู้จักการเจริญสติให้ถูกต้อง 

ซึ่งการเจริญสติให้ถูกต้อง ก็ต้องพึ่งตนเองเช่นกันครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ดูกาย

ดูกาย

ดูกาย ต้องดูลงในกาย

 ดูลงในกายก็ต้องเห็นกายในกาย

 ไม่ใช่เห็นต้นไม้ในกาย ไม่ใช่เห็นภูเขาในกาย

 

 เห็นกายในกายแล้ว

 ก็ให้เห็นกายนั้นมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมดับไปเป็นธรรมดา

 ไม่ใช่เห็นกายเที่ยงถาวร

 

 

 เห็นกายในกายแล้ว

 ก็ให้มีสติมีความตั้งมั่นรู้กายอยู่ สักว่าเป็นเพียงที่อาศัยระลึกรู้อยู่

 ไม่ใช่ให้ส่งจิตไปสำรวจกายตรงนั้นตรงนี้

 

 

 ต่อเมื่อเห็นกายในกายมากพอแล้ว

 ก็จะเป็นผู้ไม่มีตัณหาอาศัยอยู่ เป็นผู้ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

 ไม่ใช่ดูแล้วอยากให้กายเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

 ไม่ใช่ดูแล้วก็หวงแหนยึดถือเอาไว้ว่าเป็นตัวตนเป็นของตน

 

 เมื่อจะดูเวทนา ดูจิต ดูธรรม ก็ให้ดูแบบเดียวกับดูกายอย่างนี้แล.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : ควรเพ่งให้เห็นกิเลสไหม?

ควรเพ่งให้เห็นกิเลสไหม?

ถาม : กิเลสที่ละเอียดเบานี่ถ้าไม่เพ่งดูก็ไม่รู้นะครับ ถ้าเพ่งดูก็จะรู้ว่า ติดอารมณ์อยู่ตลอดเวลาเลย

เพ่งไปมาก็กระจุกตัวที่หัวใจแน่นอยู่ตรงนั้น หายไม่หายก็ช่างมันถ้ามีเวลาก็เพ่งไป ถ้าทำอย่างอื่นก็ลืมมันไป พอได้หรือเปล่า ?

 

ตอบ : อะไรที่ไม่เห็นเองแต่ต้องไปเพ่งดู อันนั้นไม่จำเป็นต้องไปเพ่งดูจนแน่นหรอกครับ

ให้ดูสภาวะที่ปรากฏให้เห็นได้เองก็เพียงพอแล้ว

การไปเพ่งอะไรจนแน่น จะไม่ใช่การเจริญปัญญา แล้วก็ไม่ใช่สมถะด้วยครับ

สำหรับสภาวะที่ดูแล้วไม่หาย ก็ไม่ต้องพยายามดูให้หาย

เพราะเราไม่ได้ดูให้หาย ดูแล้วไม่หายก็แค่ดูมันไปสบายๆ

เพื่อให้จิตจำสภาวะได้แล้วต่อไปก็จะเกิดสติเจริญปัญญาได้

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับอ.สุรวัฒน์ : คำแนะนำสำหรับคนทำงานหนัก

คำแนะนำสำหรับคนทำงานหนัก

ถาม : รู้สึกว่าพอทำงานหนักๆ ใช้ความคิดเยอะจะทำให้จิตฟุ้งซ่านมาก  และไม่สามารถที่จะทำในรูปแบบให้จิตสงบได้ เพราะเนื่องจากความเหนื่อยล้า 

นั่งสมาธิทีไรเคลิ้มหลับทุกที เวลาเคลิ้มๆผมก็จะเลิกทำและนอน และถ้าผมยังต้องทำงานหนักๆอยู่แต่ยังอยากภาวนา อ.สุรวัฒน์ มีคำแนะนำให้ผมควรจะต้องภาวนาอย่างไรดีครับ ?

ตอบ : ให้พักผ่อนให้เพียงพอก่อนภาวนาตามรูปแบบครับ อย่างตอนค่ำๆ เหนื่อยเกินไป ก็อย่าเพิ่งภาวนาตามรูปแบบ ให้เข้านอนเร็วนิดนึง แล้วตื่นเร็วนิดนึง

ตื่นแล้วก็ค่อยภาวนาตามรูปแบบ อย่างนี้จะดีกว่าไปฝืนทนทำทั้งที่ง่วงแล้วก็หลับไปครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 3112345...102030...Last »