Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เมื่อพ้นจากวิปัสนูฯแล้ว จะเจริญวิปัสสนาได้เต็มที่

mp3 for download : เมื่อพ้นจากวิปัสนูฯแล้ว จะเจริญวิปัสสนาได้เต็มที่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิปัสนูฯ (วิปัสนูปกิเลส – ผู้ถอด)เกิดจากความฟุ้งซ่าน หรือส่งจิตออกนอกนั่นเอง ถ้าเมื่อไหร่มีสติรู้ทันว่าฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านดับอัตโนมัติ เพราะความฟุ้งซ่านเป็นกิเลสสู้สติไม่ได้ สติเกิดเมื่อไหร่กิเลสดับเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเมื่อไหร่รู้ทันว่าจิตฟุ้งออกไปนะ ฟุ้งไปอยู่กับความสว่างเนี่ย ความฟุ้งซ่านจะดับนะ จิตจะทวนกระแสเข้ามาหากายหายใจของเราเอง ภาวะแห่งความรู้ตื่นเบิกบานก็จะกลับมาอีก

เนี่ยพอเราฝึกไปจนชำนิชำนาญผ่านตัวนี้ได้ เราจะรู้ว่าอันนี้เป็นวิปัสสนูปฯ ไม่ใช่ทาง ทางคือต้องมีจิตตั้งมั่น ที่หลวงพ่อบอกว่า “จิตถึงฐาน” “จิตถึงฐาน” น่ะนะ คือจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้จริงๆ ไม่งั้นจิตไม่ถึงฐาน จิตไปอยู่ข้างหน้า ไปอยู่กับความว่างความสว่าง อันนั้นเดินต่อไม่ได้ ไม่ใช่ทาง ก็รู้เลยว่าจุดที่เป็นทางนี่นะ จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่หยุดนิ่ง ถ้าปรากฎการณ์ทั้งหลายหยุดนิ่ง นี่เป็นสมถะแล้ว จิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง ปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอย่างสบายๆ จิตเบา จิตนุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่ว ว่องไว แต่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ไหลไป ตั้งมั่นเป็นคนดูสบายๆ เหมือนเรานั่งดูเขาเล่นกีฬา ดูอย่างสบายๆ ไม่ลงไปคลุกกับเขานะ ไม่อินกับเขา ดูสบายๆ

พอมาถึงตรงนี้นะ มีธรรมะอยู่หมวดหนึ่ง ชื่อ “วิสุทธิ” ใครเคยได้อ่านบ้าง “วิสุทธิ ๗” ธรรมะเรื่องวิสุทธิ ๗ นี่นะอยู่ในพระสูตรที่โดดเด่นเป็นหนึ่งเลยนะ สูตรหนึ่งเลย คือ “รถวินีตสูตร” (อ่าน รถวินีตสูตร – ผู้ถอด) “รถ ๗ ผลัด” รถ ๗ ผลัดก็คือวิสุทธิ ๗ ประการนั่นเอง
คนไหนที่ผ่านวิปัสนูฯไปแล้วนะ รู้ว่าวิปัสนูฯไม่ใช่ทาง จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเห็นรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหวเปลี่นยแปลงเกิดดับได้ ตรงนี้ถ้าเทียบในวิสุทธิ ๗ นะ ก็ได้วิสุทธิที่ชื่อว่า “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” ชื่อยาวเป็นปี๊บเลยนะ

“มัคคามัคคะ” มาจากอะไร มาจากคำว่า มรรค กับ อมรรค มรรค อมรรค, มรรค อมรรค จะออกเสียงเป็นคำสนธิ จะออกเสียงกลายเป็นมัคคา มัคคามัคคะ มรรค กับ อมรรค รู้ว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง คนที่ได้ “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” คือคนที่พ้นจากวิปัสนูฯแล้ว ถัดจากนั้นนะ เจริญวิปัสสนาได้เต็มที่แล้ว เรียกว่า “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ”


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วันสุดท้ายแล้วของพวกเข้าคอร์ส รู้เรื่องบ้างมั้ย คนไหนติดสมาธินะ เราก็รู้ทันใจที่ติดสมาธิ ใจที่ติดสมาธินี้เป็นใจที่เราเข้าไปแทรกแซง เราเข้าไปควบคุม ยกตัวอย่างเรากลัวมันหลง เราพยายามไปเฝ้าเอาไว้ เรากลัวจะรู้ไม่ชัด เราก็ไปคอยจ้องคอยดูไม่ให้คลาดสายตา เราก็จะเกิดการเพ่งขึ้นมา บางคนก็มีทฤษฎีที่ผิดๆคิดว่าต้องเพ่งไว้ก่อน ถ้าไม่สงบแล้วเดินปัญญาไม่ได้

ที่คิดอย่างนั้น เพราะแยกไม่ออกว่าสมาธิมี ๒ ชนิด คือ สมาธิชนิดสงบกับสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่เราจะภาวนา เบื้องต้นน้อมใจให้ซึมให้นิ่งๆ แล้วคิดว่านี่คือความสงบเป็นสมาธิ จะได้เดินปัญญา สมาธิที่น้อมเข้าไปนิ่งไปซึมไปทื่ออยู่ ไม่ได้เอาไว้ใช้เดินปัญญาหรอก เอาไว้พักผ่อนเล่น สมาธิที่ใช้เดินปัญญานั้น จิตจะตั้งมั่น จิตจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ผู้ดู

สมัยก่อนหลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ ท่านชอบพูดคำว่า “จิตผู้รู้” หลังๆเราลืมคำว่า “จิตผู้รู้” ไป เรามีแต่จิตผู้เพ่ง ถ้าไม่เป็นจิตผู้เพ่งก็เป็นจิตผู้คิด จิตผู้เพ่งนั้นมันสุดโต่งไปข้างบังคับตนเอง จิตผู้คิดก็สุดโต่งไปข้างฟุ้งซ่าน หลงไปอยู่ในโลกของความคิด จิตผู้รู้นั้นไม่ใช่จิตผู้คิดไม่ใช่จิตผู้เพ่ง เป็นจิตที่หลุดไปในโลกของความคิด และก็เห็นปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

เราจะไม่เพ่งไปที่ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่จิตไปรู้เข้า แล้วเราก็ไม่เพ่งใส่ตัวผู้รู้ด้วย ถ้าเพ่งใส่ตัวผู้รู้ก็เป็นผู้เพ่งนะ ไปเพ่งใส่ปรากฏการณ์ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย รู้ลมหายใจก็ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ นี่ก็เป็นจิตผู้เพ่ง ไม่ใช่จิตผู้รู้

จิตผู้หลง จิตผู้หลงจิตผู้คิด มันถูกกิเลสยั่วก็เลยฟุ้งซ่านออกไป ไม่มีกระทั่งความสงบ ส่วนจิตผู้เพ่งมีความสงบนะแต่ไม่ตั้งมั่น เราจะต้องมาฝึกเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้รู้เนี่ยไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ มันทรงตัวสบายของมัน เป็นผู้รู้ผู้ดูสบายๆ

วิธีที่เราจะพัฒนาจิตผู้รู้ขึ้นมาก็คือหัดรู้ คอยรู้ทัน หาอารมณ์กรรมฐานขึ้นมาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็ได้ จะรู้ลมหายใจก็ได้ แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อจะน้อมจิตให้นิ่ง ไม่ใช่หายใจเพื่อน้อมจิตให้นิ่ง เราพุทโธเพื่อจะรู้ทันจิต เราหายใจเพื่อจะรู้ทันจิต คนไหนไม่ถนัดพุทโธไม่ถนัดรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบหรือทำกรรมฐานอะไรก็ได้ ไม่เลือกกรรมฐานหรอก

ไม่ว่าจะทำกรรมฐานอะไร จะดูท้องพองยุบหรือขยับมือทำจังหวะหรือพุทโธหรือลมหายใจหรือรู้อิริยาบถ ๔ รู้เวทนา บางคนก็เริ่มด้วยการรู้จิตไปเลย สำหรับบางคนดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ อะไรก็ได้นะ แต่ว่าไม่ว่าจะรู้อะไรก็รู้ทันจิต พุทโธแล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน พุทโธจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ทัน ฝึกอย่างนี้เรื่อย พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่งๆอยู่ก็รู้ทัน

ตรงที่พุทโธแล้วหนีไปคิดเนี่ย สุดโต่งไปข้างหลงข้างคิดข้างฟุ้งซ่าน พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่ง สุดโต่งไปข้างบังคับตนเองนะ เป็นความสุดโต่งสองฝั่ง ให้คอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันเราก็จะไม่สุดโต่งไปสองข้าง ก็จะเข้าทางสายกลาง หรือลมหายใจก็ได้ รู้ลมหายใจแล้วก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ หายใจแล้วจิตหนีไปคิดแล้วรู้ หรือหายใจไปแล้วจิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมไหลไปรวมอยู่ที่ลมหายใจไหลไปลงอยู่ที่ท้อง รู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไป ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้แล้วก็รู้ทันจิต บทเรียนอันนี้ชือว่า “จิตตสิกขา”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิต เหมาะกับคนที่ไม่ทรงฌาน

mp3 for download : ดูจิต เหมาะกับคนที่ไม่ทรงฌาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การดูจิตและธรรมานุปัสสนานี้ เหมาะกับวิปัสสนายานิก เดินปัญญาไปเลย สมาธิเกิดทีหลัง แต่ก็ต้องอาศัยสมาธิ เพียงแต่เป็นสมาธิในระดับขณิกสมาธิ ไม่ถึงฌาน

ขณิกสมาธิคือความตั้งมั่น(ของจิต)ชั่วขณะ ความตั้งมั่นชั่วขณะเป็นอย่างไร ความตั้งมั่นชั่วขณะก็คือ ในภาวะที่จิตกำลังหลงไปไหลไปแล้วเรามีสติรู้ทันจิตที่ไหลไป โดยเฉพาะไหลไปคิด ถ้าเรารู้ว่าจิตไหลไปคิด มีสติรู้ทันปั๊บ การไหลไปจะขาดสะบั้นในทันทีเลย และความไหลไปความหลงไปคิดนะ เป็นความฟุ้งซ่าน จิตมันฟุ้งซ่าน ทันทีที่สติระลึกรู้ความฟุ้งซ่านนะ ความฟุ้งซ่านดับอัตโนมัติ ก็จะเกิดจิตผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานขึ้นมา

ใหม่ๆพอรู้ตัวแว้บขึ้นมายังทำอะไรไม่เป็นนะ มันจะหายไป แล้วหนีไปคิดอีก รู้อีก หนีไปคิดอีก รู้อีก ฝึกตรงนี้ให้ชำนาญเลย ในที่สุดสมาธิที่เป็นขณิกะที่ว่าทีละขณะๆ จะเกิดถี่ขึ้นๆ เมื่อมันถี่มากๆนะ มันเหมือนจะทรงตัวอยู่ได้ ความจริงมันไม่ได้ทรงตัวแต่มันเกิดดับอย่างรวดเร็ว แต่มันเกิดดับต่อเนื่องกันแล้วมันเหมือนเดิม มันเป็นตัวรู้ ตัวรู้ๆ ทีละขณะ มันจึงเหมือนทรงตัวเด่นอยู่ได้ มีช่วงเวลาที่ยาวขึ้นแล้วที่จะรู้สึกตัวได้

ถ้ารู้สึกตัวได้อย่างนี้นะ ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไป เดี๋ยวก็เป็นจิตรู้ เดี๋ยวก็เป็นจิตหลง เดี๋ยวเป็นจิตรู้ เดี๋ยวเป็นจิตคิด เดี๋ยวเป็นจิตรู้ เดี๋ยวเป็นจิตเพ่ง เนี่ยจิตเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดดับ เพราะฉะนั้นจิตตานุปัสสนาเนี่ย ไม่ได้เหมาะกับพวกที่ทรงฌานมาก่อนนะ เพราะถ้าหากทรงฌานมาก่อน มันจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงของจิตให้ดู มันจะนิ่งๆ อาศัยอย่างพวกเรานี่แหละ ก็ต้องอาศัยการดูจิตไป แต่ว่าเราต้องมาฝึกให้ได้จิตที่รู้สึกตัวก่อน จิตที่มีตัวรู้ทีละขณะๆ แต่ฝึกบ่อยๆ

วิธีฝึก ให้เกิดตัวรู้เป็นขณะๆบ่อยๆ ก็คือทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ ดูท้องพองยุบก็ได้ ทำจังหวะก็ได้นะ ขยับมือทำจังหวะ ถ้าจังหวะอย่างหลวงพ่อเทียนเราไม่ชอบ เราคิดจังหวะของเราเองก็ได้ หลวงพ่อไม่ได้ทำอย่างหลวงพ่อเทียน

หลวงพ่อเป็นโทสจริต ใจร้อน หลวงพ่อทำแค่นี้เองนะ อากาศร้อน หลวงพ่อทำกรรมฐานอย่างนี้ ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก พัดไป แหม..มันสบายใจ มีความสุขขึ้นมา รู้ว่าสบายใจ พัดไปพัดมา ฮึ แมลงวันมาอีกแล้ว อ๊ะ โมโหแล้วนะ โมโหแล้ว รู้ทันใจที่โมโห ตีขู่ ตีขู่มันนะ อย่าไปโดนตัวมัน บาป…

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
ไฟล์ 550525B
ระหว่างนาที่ ๕ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม เหตุแห่งวิปัสนูปกิเลส

mp 3 (for download) : ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม เหตุแห่งวิปัสนูปกิเลส

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในการปฏิบัติมีตั้งหลายแบบ พระอานนท์สอนเอาไว้มี ๔ แบบ สมาธินำปัญญา ปัญญานำสมาธิ สมาธิและปัญญาควบกัน จริงๆแล้วมี ๓ แบบ แบบที่ ๔ เนี่ย เป็นพวกที่ภาวนาแล้วไปติดความว่าง แบบที่ ๔ ท่านเลยสอนบอกว่า พวกที่มีธัมมุทธัจจะ หมายถึงมีอุทธัจจะในธรรมะ พวกฟุ้งซ่านในธรรมะ

ฟุ้งซ่านในธรรมะนั้นมี ๑๐ แบบ คือ วิปัสนูฯนั่นเอง (วิปัสสนูปกิเลส – ผู้ถอด) วิปัสนูฯพวกหนึ่งที่พวกเราเริ่มเป็นเยอะขึ้นนะ คือไปติดในว่างๆ ติดในความสว่าง ความว่าง ตัวนี้ท่านเรียก โอภาส ติดโอภาส สว่าง ว่าง สบาย มีแต่ความสุขนะ

ท่านบอกว่าเบื้องหลังของมันก็คือ ความฟุ้งของจิต ฟุ้งซ่านแบบไหน เวลาภาวนาไปแล้วว่าง เหมือนจิตสงบนะ ฟุ้งตรงที่จิตไม่อยู่ที่ฐาน จิตส่งออกไปนั่นเอง เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เพราะฉะนั้นพวกเราภาวนาแล้วว่างอยู่อย่างนี้ ใจไปเกาะแล้วว่าง พวกนี้เสร็จเลย

หรือบางคนนะ ไปสอนดูจิต สอนให้ดูแล้วน้อมเข้าหาความว่างเนี่ย เยอะมากนะ ช่วงหลังๆเนี่ย พวกเราเรียนๆไปแล้วเที่ยวไปเรียนที่โน่นที่นี่ เลอะเทอะนะ ไปติดสมถะ ไปติดอยู่ในภพว่างๆ ตัวนี้จริงๆแล้วเป็นวิปัสนูฯอันหนึ่ง เป็น ๑ ใน ๑๐ ของวิปัสนูฯ คือเห็นสภาวะเกิดดับแล้ว แต่เห็นแล้วจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานนี้ หลวงพ่อเรียกว่าจิตไม่ถึงฐาน ในพระไตรปิฎกเรียกว่า อุทธัจจะ หลวงปู่ดูลย์ท่านว่าจิตออกนอก จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปจับความโล่ง ความว่าง ความโปร่ง ความสบาย แล้วก็ไปสบายอยู่อย่างนั้น หลายวันก็ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น ตอนนี้ชักเยอะนะ พวกที่สอนดูจิตน่ะ สอนมาสู่ตรงนี้เยอะมากเลย เพราะตัวเองผ่านไม่เป็น หัดดูเห็นสภาวะเกิดดับได้นิดๆหน่อยๆ แล้วเกิดวิปัสนูฯนะ แล้วมันอยากสอน

นี่ยังค่อยยังชั่ว บางคนเขาก็แก้ผ่านมาได้ บางคนเป็นหนักนะ ถึงขนาดคิดว่าเป็นพระอรหันต์ วันก่อนมาท่านหนึ่ง ก็ใช้ได้แล้ว มาสารภาพกับหลวงพ่อเลยว่า ไม่ใช่แล้ว หลวงพ่อก็บอกว่า หลวงพ่อก็ห่วงอยู่นะ หลวงพ่อก็บอกไปหลายทีแล้วว่าไม่ใช่แล้ว ไปติดอยู่ในว่าง เกาะอยู่อย่างนั้นน่ะ ไม่มีกิเลสเลย

ไม่มีกิเลสเพราะอะไร เพราะว่ามองไม่เห็นกิเลส ทำไมมองไม่เห็นกิเลส จิตขณะนั้นมีอุทธัจจะ จิตมันฟุ้งไปในธรรมะ ฟุ้งไปในหลายอย่างนะ ฟุ้งไปในปีติก็ได้ ปีติมาก วุ้ย..เจอแล้วดื่มด่ำ จิตมันไหลไปเคลิ้มในปีติ นั่นก็เป็นวิปัสนูฯ ๑ ใน ๑๐ นะ

น้อมไปอยู่ในความสว่าง คือโอภาส โล่ง สบาย ก็เป็นแบบหนึ่ง น้อมไปเดินปัญญานะ ฟุ้งไปในปัญญา นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง มีหลายแบบนะ พวกหนึ่งน้อมไปในทางทำความเพียร เดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ กิเลสไม่เกิดเลย หรือนั่งสมาธิหามรุ่งหามค่ำ นี่ก็เป็นวิป้สนูฯอย่างหนึ่ง

วิปัสนูฯมี ๑๐ อย่าง ไปหาอ่านเอา หลักมีอันเดียวคือจิตไม่ตั้งมั่น เรียกว่า ธัมมุทธัจจะ ธรรมะ-อุทธัจจะ สนธิกันเรียกว่า ธัมมุทธัจจะ ฟุ้งไปในธรรมะ ๑๐ ประการ จิตไม่ตั้งมั่น

พระอานนท์ท่านบอกว่า ถ้ารู้ทันว่าจิตไม่ตั้งมั่น ตรงนี้บอกเป๊ะเลย แต่เดิมหลวงพ่อพูดปาวๆนะ เราพูดจากประสบการณ์ พอไปเจอตำรา เหมือนกันเปี๊ยบ ท่านบอกว่า ถ้ารู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่น แล้วอริยมรรคจะเกิด จะเดินไปสู่อริยมรรคต่อได้ แต่ถ้าลงไปนอนแช่ ฟุ้งไปอยู่ข้างนอกแล้ว จิตไม่ถึงฐาน อริยมรรคไม่เกิดหรอก เนี่ยปริยัติปฏิบัตินะ ตรงกันเด๊ะๆ เป๊ะเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
Track: ๑๗
File: 520611
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ว่าจิตคิด จิตจะตื่น จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

Mp3 for download: รู้ว่าจิตคิด จิตจะตื่น จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิดไว้ จิตไหลไปคิดแล้วรู้ จิตไหลไปคิดแล้วรู้ มันจะเกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เพราะจิตที่หลงไปคิดนั้นคือจิตที่ฟุ้งซ่าน ทันทีที่รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตจะสงบโดยอัตโนมัติ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ไม่ฟุ้งซ่าน จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้นแหละ เฉพาะหน้านะ เห็นความฟุ้งซ่านไหลมา ขาดปั๊บไป จิตก็ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อยู่คนเดียว จิตจะตั้งทีละขณะๆนะ

เพราะฉะนั้นเราหัดไปนะ วันนี้ลองไปดูก็ได้นะจิตแพทย์ จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้ คอยดูเรื่อยๆ บางทีจิตก็ไหลไปดู บางทีจิตก็ไหลไปฟัง บางทีจิตก็ไหลไปคิด ส่วนใหญ่ไหลไปคิด เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทัน ถ้ารู้ทันจิตไหลไปคิดนะ จิตจะตื่นขึ้นมา ตรงทีจิตตื่นขึ้นมานี่แหละ เป็นต้นทางของการที่จะเดินปัญญาล่ะ หลวงพ่อเทียนถึงบอกว่า ตรงที่รู้ว่าจิตคิดนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด เราจะได้สมาธิชนิดที่สอง ที่เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน จิตจะตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้แหละ จะสามารถเห็นลักษณะ คือไตรลักษณ์ ของรูปธรรม นามธรรม ทั้งปวงได้ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นล่ะก็ ไม่เห็นลักษณะ คือความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ถึงได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เห็นลักษณะ นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๘
File: 531211
ระหว่างนาทีที่ ๒๙วินาทีที่
๕๕ ถึงวินาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒๗) ถ้าฝึกด้วยการบริกรรมพุทโธ ให้บริกรรมพุทโธแล้วรู้ทันจิต

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๒๗) ถ้าฝึกด้วยการบริกรรมพุทโธ ให้บริกรรมพุทโธแล้วรู้ทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

โยม : กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ หนูไม่ได้ส่งการบ้านมา ๘ เดือนแล้วค่ะ มันก็เจริญแล้วเสื่อมสลับกันไปค่ะ แต่ว่า ๒-๓ เดือนนี้ กิเลสตัวลังเลสงสัยน่ะค่ะ มันเยอะน่ะค่ะ โดยเฉพาะลังเลสงสัยเกี่ยวกับคำบริกรรมพุทโธของหนูว่า เออ..มันถูกมั้ย (หลวงพ่อปราโมทย์ : หือ? สงสัยยังไง) ว่ามันใช่ทางมั้ย? เพ่งแล้วนะ อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : อ้อ.. สังเกตที่จิตเราสิ พุทโธนี่นะ พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตของเราไป ไม่ใช่พุทโธไปบังคับจิตให้นิ่ง พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตฟุ้งซ่าน รู้ทัน พุทโธ พุทโธ จิตสงบ รู้ทัน นะ ฝึกอย่างนี้ พุทโธแล้วรู้ทันจิต อย่าไปพุทโธแล้วบังคับจิตนะ

โยม : หนูบังคับหรือคะ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าบังคับมันจะแน่น หนูวัดได้ด้วยตัวเอง

โยม : คือ หลังๆมันก็ไม่แน่นน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันฟุ้งหรือเปล่า?

โยม : ค่ะ ค่ะ คือหลวงพ่อคะ คือว่าหนูน่ะ สมมุติว่าหลวงพ่อแนะนำให้น้องคนนี้ไปดูกายใช่มั้ยคะ แต่หนูมีความรู้สึกว่า หนูน่ะมาดูกายไม่เป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่จำเป็น ทางใครทางมัน

โยม : ค่ะ ก็คือทำความสงบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำความสงบนะ แล้วก็รู้ทันจิตไป (โยม : ค่ะ) เช่น พุทโธ พุทโธ ไป จิตสงบรู้ว่าสงบ พุทโธไป จิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน ให้จิตมีบ้านอยู่ อยู่กับพุทโธก็ได้ แต่พุทโธแล้วไม่ได้พุทโธบังคับจิต แต่พุทโธรู้ทันจิต

550409.56m56-58m25

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๕๖ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒๖) ดูจิตไม่ได้ ให้ดูกาย ดูกายไม่ได้ ให้ทำความสงบ

ทางวิปัสสนา (๒๖) ดูจิตไม่ได้ ให้ดูกาย ดูกายไม่ได้ ให้ทำความสงบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

โยม : นมัสการค่ะหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : กลัวมั้ย

โยม : มากเลยค่ะหลวงพ่อ ก็หลวงพ่อเคยให้ไปดูตัวกุกกุจจะน่ะค่ะหลวงพ่อ แล้วสักช่วงประมาณต้นปีน่ะค่ะ หนูมีความรู้สึกว่า เหมือนกับหนูไม่คาดหวัง มันก็ดีขึ้นค่ะ (หลวงพ่อ : ใช่) ปฏิบัติแล้วหนูก็รู้สึก “ดีเนอะ” แต่พักนี้มันกลับมาอีกแล้วค่ะ

หลวงพ่อ :
กลับมาก็รู้ทันมันอีก ห้ามมันไม่ได้ (โยม : ค่ะ) ล้วนแต่ของห้ามไม่ได้

โยม : หนูอยากถามเรื่องรูปแบบน่ะค่ะ (หลวงพ่อ : อือ..) คือ ตอนส่งการบ้านครั้งแรกหลวงพ่อบอกว่า หนูหลงไปนาน แล้วหนูก็พอมาปรับ มันก็เพ่ง ทีนี้สักช่วงประมาณปลายปีต้นปีค่ะ หนูก็ทำในรูปแบบแล้วมัน คือมันเหมือนหลงไปในสมาธิ มันเป็นมิจฉาสมาธิใช่มั้ยคะ (หลวงพ่อ อือ..ใช่) หนูก็เลยไม่รู้ว่า..

หลวงพ่อ : พยายามรู้สึกตัวบ่อยๆนะ พยายามรู้สึกร่างกายไว้ให้มาก ร่างกายขยับเขยื้อน ร่างกายยิ้ม ร่างกายทำอะไรให้รู้สึกบ่อยๆ จิตจะมีพลังขึ้นมา

โยม : เพราะฉะนั้นหมายความว่า ช่วงเวลาช่วงนี้ หนูเหมาะจะดูกายมากกว่าดูจิต

หลวงพ่อ : ใช่ หนูคอยรู้สึกร่างกายที่กระดุกกระดิกไว้ เพราะจิตของหนูกำลังฟุ้งซ่าน มันสับสนนะ พอมันฟุ้งซ่านอยู่อย่างนี้ เราดูจิตดูใจ ดูไม่ออกแล้ว เมื่อดูจิตไม่ออกให้ดูกายไว้ก่อน

โยม : แล้วเวลาอย่างไหนที่เหมาะจะดูจิตคะ เพราะหนูก็สังเกตเหมือนกับที่หลวงพ่อเคยบอก คือบางเวลาเรารู้สึกกายดีกว่า บางเวลาเรารู้สึกกับจิตดีกว่า

หลวงพ่อ : ใช่ คือช่วงไหนดูจิตได้ให้ดูจิต (โยม : ค่ะ) ช่วงไหนดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ช่วงไหนดูจิตก็ไม่ได้ ดูกายก็ไม่ได้ ให้ทำสมถะ มันมีแนวรุกแนวรับของมันนะ

โยม : เพราะฉะนั้นหนูทำแบบเดิมที่หลวงพ่อเคยสอนได้ใช่มั้ยคะ อีกสองเรื่องนะคะ คือหนูป่วยบ่อยน่ะค่ะ พักนี้หนูปวดหัวมาก แล้วเวลาหนูปวดหัวปุ๊บ มันดูไม่ออกน่ะค่ะ

หลวงพ่อ : หนูคอยหัดแยก แยกตั้งแต่ยัปวดน้อยๆน่ะนะ เช่น กำลังปวดนิดหน่อย อะไรอย่างนี้ ให้ดูไป ร่างกายก็เป็นอันหนึ่ง ความปวดเป็นอันหนึ่ง จิตเป็นอันหนึ่ง หัดแยก ตัวนี้ทุกคนควรทำนะ เพราะวันหนึ่ง เวลาจะตายเนี่ย ไม่แน่นี่ว่าอาจจะเจ็บมาก ถ้าเจ็บมากแล้วภาวนาไม่ไหวนะ สติแตกเนี่ย แย่เลย

โยม : ใช่ค่ะ หนูก็กลัว บางทีปวดมากๆ หนูก็กลัวไปเลย

หลวงพ่อ : เพราะฉะนั้นต้องซ้อม ต้องซ้อม

โยม : แล้วจะซ้อมได้ยังไงคะ คือ หนูปวดหัวแล้วไปบังคับไม่ได้ว่า ให้แก้ปวดหัวตอนนี้หน่อยสิ

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ๆ ไม่ได้ฝึกให้หายปวดหัว เราปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาชนะขันธ์นะ ร่างกายก็ส่วนร่างกาย ความปวดก็ส่วนความปวด จิตที่เป็นคนดู อะไรอย่างนี้ สังเกตอย่างนี้ เวลาปวดหัวขึ้นมาเนี่ย จิตไม่พอใจ รู้ ว่าจิตไม่พอใจ แค่นี้ก็หัดแยกแล้ว (โยม : แค่นี้ก็พอเลย) ให้หัดอย่างนี้ก็ได้ จิตจะสงบ พอรู้ว่าจิตไม่พอใจนะ ความไม่พอใจะดับ จิตจะสงบ พอจิตสงบแล้วจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ความปวดหัวอยู่อีกส่วนหนึ่ง

โยม : ก็อีกเรื่อง เรื่องสุดท้ายค่ะ คือ หนูก็ฝึกกับหลวงพ่อมาพักหนึ่งแล้วล่ะค่ะ พักนี้มันรักตัวเองมากค่ะ (หลวงพ่อ : อือ) หนูกลัวแก่ค่ะ แบบครีมมีกี่ตัวในตู้เย็น หนูก็เอามาโปะบนหน้าตลอดเลยค่ะ แล้วแบบ พอโปะเสร็จหนูก็จะรู้สึกผิดกับตัวเอง เหมือนมันเผลอไปน่ะค่ะ รู้สึก…

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อถึงบอกว่า ให้หนูดูกายให้เยอะ (โยม : ค่ะ) เพราะช่วงนี้หนูรักกาย ถ้าหนูดูกายมากๆนะ หนูจะเห็นว่าร่างกายนี้ ไม่สุข ไม่สบาย ไม่สวย ไม่งาม นะ แล้วจิตจะค่อยคลายตัวที่ติดอยู่นั้นแหละ นี่แหละที่ทำให้หลวงพ่อบอกว่า ต้องดูกายนะ ช่วงนี้

โยม : เพราะฉะนั้นช่วงนี้ดูกาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูกายเยอะๆ แล้วต่อไปจะเห็นจิตชัด

โยม :
ขอบคุณมากค่ะ

550409.53m11-56m56

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๕๒ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๕๖ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๘) สมาธิสงบทำเพื่อพักผ่อน สมาธิจิตตั้งมั่นทำเพื่อเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๘) สมาธิสงบทำเพื่อพักผ่อน สมาธิจิตตั้งมั่นทำเพื่อเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตนั้นล่ะ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติธรรมดานะ เดี๋ยวมันก็วิ่งไปดู เดี๋ยวมันก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวมันก็วิ่งไปคิด เราไม่ห้ามมัน แต่ว่าเมื่อจิตวิ่งไปดูวิ่งไปฟังวิ่งไปคิด โดยเฉพาะการวิ่งไปคิดเกิดบ่อยที่สุด นั่งอยู่นี่รู้สึกมั้ยขณะที่ฟังหลวงพ่อพูดเนี่ย บางทีก็มองหน้าหลวงพ่อนิดนึงใช่มั้ย มองแล้วก็ตั้งใจฟัง ฟังได้นิดเดียวนะ แล้วก็สลับไปคิด สังเกตมั้ยทุกคนในห้องนี้ ฟังแล้วก็คิด ฟังแล้วก็คิด สลับกันอยู่ตลอดเวลา เราไม่เคยเห็นนะสิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติธรรม อย่างบางคนคิดมากไปเลย สงสัยเลยว่า หลวงพ่อพูดเรื่องอะไร งงไปเลย

สังเกตตัวเองดู ฟังแล้วก็คิด ฟังแล้วก็คิดนะ จิตหนีตลอด จิตไหลตลอด จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด โดยเฉพาะจิตไหลไปคิดเกิดบ่อยที่สุด เกิดมากที่สุด เกิดนานที่สุด วันๆหนึ่งเผลอไปคิดนานมั้ย นั้นแหละนานมากนะ บางคนเผลอตั้งแต่ตื่นจนหลับเลย เผลอทั้งวันเลย เผลอวันละครั้งเดียวเผลอตั้งแต่ตืนจนหลับ เรามาหัดปฏิบัตินะ จนกระทั่งเผลอได้วันละร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง เผลอไปแว้บรู้สึก แว้บรู้สึก แว้บรู้สึก เผลอเนี่ยสั้นลงแต่เผลอบ่อยๆเผลอสั้นๆ เนี่ยคนปฏิบัตินะ ต้องคอยสังเกตจิต

พุทโธไป พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดแว้บรู้ทันว่าจิตหนีไปคิด หายใจไปจิตหนีไปคิดแว้บรู้ทันว่าจิตหนีไปคิด ดูท้องพองยุบไปจิตหนีไปคิดรู้ว่าจิตหนีไปคิด การที่เรารู้ทันว่าจิตมันไหลมันเคลื่อนไปนั้นน่ะ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา จิตตั้งมั่นก็คือจิตทรงสมาธินั่นเอง จิตที่ไม่มีสมาธิก็คือจิตที่ฟุ้งซ่าน นั่นก็คือจิตที่วิ่งออกไปนั่นเอง หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก

เพราะฉะนั้นเรามาฝึกนะ ขั้นต้น พวกเราทำกรรมฐานอะไรให้ได้สักอย่างหนึ่ง แต่ไมได้ทำเพื่อการบังคับให้จิตนิ่ง เราทำเพื่อจะคอยรู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตไหลไปเพ่งที่ลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า รู้ทัน คอยรู้ทันจิตของตัวเองเนืองๆ นี่ล่ะบทเรียนที่เรียกว่า จิตตสิกขา เรียนเรื่องจิต ถ้าเราเรียนเรื่องจิตได้ถ่องแท้ เราจะได้สมาธิชนิดที่พร้อมสำหรับการเจริญปัญญา สมาธิสงบนั้นเอาไว้พักผ่อนให้มีเรี่ยวมีแรง สมาธิตั้งมั่่นเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่หลงไป ไม่ไหลไป เอาไว้เจริญปัญญา คนละงานกันนะ คนละชนิดของสมาธิ

550409.17m25-20m04

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : กรรมฐานของคนชอบฟุ้งซ่านในธรรม

กรรมฐานของคนชอบฟุ้งซ่านในธรรม

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

mp3 (for download) : ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

โยม : ตอนนี้สภาวะจิตหนูเป็นยังไงบ้างคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนนี้เหรอบ อกหลวงพ่อได้มั้ยเป็นยังไง ทื่อๆรู้สึกมั้ย ทื่อๆไปข่มไว้ ตื่นเต้น ตื่นเต้นแล้วก็กดเอาไว้นะ แล้วก็ฟุ้งซ่านหน่อยๆรู้สึกมั้ย ใจวิ่งยุกยิกยุกยิกดูออกเปล่า เนี่ยหลงไปอีกแล้วเห็นมั้ย สงสัยทราบมั้ย เอ้อ อ๋อแล้ว หัดรู้สภาวะ

ทำไมหลวงพ่อพาให้ดูอย่างนี้ หลวงพ่อพาให้ดูสภาวะนะ ถ้าเมื่อใดดูสภาวะได้แล้ว เราปฏิบัติได้ด้วยตนเองเมื่อนั้นเลย งั้นสิ่งที่หลวงพ่อสอนเนี่ย หลวงพ่อจะไม่ใช่ว่าขยักความรู้อะไรไว้นะ หลวงพ่อสอนเพื่อให้พวกเราเนี่ยพึ่งตัวเองได้ ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตัวเองได้นะ เรียนธรรมะไปเนี่ยวันนึงต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องพึ่งหลวงพ่อตลอดไป ต้องมาคอยถามหลวงพ่อว่าจะทำอย่างโง้นทำอย่างงี้ ถ้าเราเห็นสภาวะไปเรื่อยๆ แล้วสภาวะน่ะสอนเองสภาวะจะแสดงไตรลักษณ์ อย่างเมื่อกี้ดูออกมั้ย จิตเดี๋ยวก็หนีไป เดี๋ยวก็รู้สึก เดี๋ยวก็หนีไป เดี๋ยวก็รู้สึก เนี่ยหัดรู้สึกอย่างนี้แหล่ะ ไม่ได้ฝึกเพื่อจะรู้สึกตัวตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นความจริงว่า เดี๋ยวจิตก็เผลอ เดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็เผลอ เดี๋ยวจิตก็รู้ บางคนเดี๋ยวจิตก็เผลอ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง มีหลายแบบ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๓
File:
510817.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง รู้ใจตัวเองพอแล้ว

mp3 (for download) : ไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง รู้ใจตัวเองพอแล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

ไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง รู้ใจตัวเองพอแล้ว

โยม : อยากถามหลวงพ่อว่า ไม่เข้าใจคำว่า ซึม กด ทื่อ อะไรอย่างนี้น่ะค่ะ จะไม่เข้าใจความหมายที่ชัดเจน

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอาอย่างนี้ ในใจเรารู้สึกมั๊ย บางวันก็ปลอดโปร่ง บางวันก็หนักๆ เคยรู้สึกมั้ย ไม่ต้องเข้าใจ ซึม ทื่อ อะไรก็ได้นะ ใจเราปลอดโปร่งรู้ว่าปลอดโปร่ง ใจมันหนักๆขึ้นมารู้ว่าหนักๆ ดูอย่างนี้ก็ได้

โยม : แล้วคำว่า น้อมใจ น่ะค่ะ หมายถึงยังไงคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ช่างมันเถอะ หลวงพ่อพูดกับคนอื่นนะ บอก เค้าน้อมใจไปแล้ว เค้ารู้เรื่อง เห็นมั้ยเป็นธรรมะเฉพาะตัว ดังนั้นเราไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง เราแค่รู้ใจของเรา เดี๋ยวก็สุขเดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย รู้เท่านี้พอแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๐๓ ถึงนาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

mp3 (for download): ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

โยม : ค่ะ อย่างเรื่องสติปัฏฐานนี่นะคะ อย่างบางคนจิตฟุ้งซ่าน ไม่ยอมมีวิหารธรรม ไม่ว่าจะอยู่กับกายหรืออะไร แต่ว่าจะสามารถรู้ในขณะปัจจุบันอันนั้นได้ว่าตอนนี้รู้กายตอนนี้รู้สภาวธรรมทางใจที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจจะคิดตรึกนึกถึงหัวข้อธรรมอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ จะใช้ได้มั้ยคะ คือแทนที่พุทโธๆจิตมันไม่ยอม อย่างนี้เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : พุทโธแล้วจิตไม่ยอม ก็หาอย่างอื่นให้จิตมันยอมนะ คือยังไงก็ต้องมีจิตที่อยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตมันฟุ้งๆไปเรื่อยถึงไปคิดธรรมะนะ เป็นความฟุ้งซ่านในธรรมะนะ

ต้องให้จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ต้องให้จิตถอนตัวออกจากโลกของความคิดโลกของความปรุงแต่ง มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว มันจะถอนตัวเหมือนคนดูฟุตบอลนะ ถอยขึ้นมาอยู่บนอัฒจรรย์เห็นนักฟุตบอลวิ่งอยู่โน่น หรือเห็นเขาแข่งเรือกันในแม่น้ำ เราอยู่บนบกไม่กระโดดลงไปอยู่ในแม่น้ำ ถ้าจิตมันถอนตัวจิตมันตั้งมั่น แยกตัวออกมาได้ ก็จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวไปมา สักว่ารู้สักว่าเห็น อย่างนี้ถึงจะเดินปัญญาต่อได้นะ

แต่ถ้าจิตเราฟุ้งๆ แล้วเราจับอะไรไม่ถูกเลยนะ เดี๋ยวก็ว่อกแว่กไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ ดูไม่ได้จริงหรอก อย่างน้อยก็ต้องมีสมาธิรองรับนะ จิตต้องตั้งมั่น จะตั้งได้ชั่วขณะก็ยังดี ตั้งได้ชั่วขณะเขาเรียกว่าขณิกสมาธิ ยกตัวอย่างใจไหลแว้บแล้วรู้สึกขึ้นมา ตรงที่รู้สึกขึ้นมาแล้วเกิดเห็นร่างกายสติเกิดระลึกรู้ร่างกายปุ๊บเนี่ย เห็นร่างกายไม่ใช่เรา ได้เห็นในแว้บเดียว แค่นี้ก็ยังดี ใช้ได้ ขนาดนี้ แต่ถ้าจิตไม่ได้ตั้งมั่นเลยแล้วไปพิจารณากาย ไปคิดหัวข้อธรรมะ อันนี้เป็นความฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้นต้องใช้หลักที่หลวงพ่อพุธท่านบอก ที่เล่าให้ฟังตะกี้นะ ใจเราต้องมีสมาธิหนุนหลัง คือมันต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมามันถึงจะเกิดปัญญา ถ้าจิตไม่มีสมาธิรองรับเนี่ยจะไม่มีปัญญา สมาธิคือความตั้งมั่นไม่ใช่ความสงบอย่างเดียว ในอภิธรรมท่านก็สอนนะ บอกว่าสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา เห็นมั้ย ถ้าขาดสมาธิความตั้งมั่นของจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้ดู เห็นปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนะ ถ้าไม่มีจิตตัวนี้ก็เดินปัญญาไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๖๖ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๖๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

mp3 for download : เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : การเพ่งตัวอารมณ์ ภาษาปริยัติเรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” อารัมณู อารัมณะนะ แล้วก็ ปนิชฌาน คือการเพ่งตัวอารมณ์ นี่คือการทำสมถกรรมฐาน เกือบทั้งหมดนะ ตัววิปัสสนากรรมฐานมีชื่อว่า “ลักขณูปนิชฌาน” การที่เราไปเห็นลักษณะ เห็นไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นจะเห็นไตรลักษณ์ก็อย่าไปเพ่งเอา ถ้าเพ่งตัวอารมณ์แล้วมันจะนิ่งๆ อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว

เหมือนสมมุตินี้เป็นกระต่ายสักตัวหนึ่งนะ หรือแมวสักตัวหนึ่งนะ มันวิ่งไปวิ่งมานะ เราไปเพ่งมันก็คล้ายๆเราไปกดไว้อย่างนี้ มันกระดุกกระดิกไม่ได้ มันแสดงไตรลักษณ์ไม่ได้ ทีนี้พอเราไม่เพ่ง อะไรจะเกิดขึ้น ไอ้ตัวนี้เคยถูกกดมานาน พอเลิกกดนี่นะจะหนีๆหนีๆหนีๆไป เพราะฉะนั้นพวกที่เพ่งเก่งๆน่ะ พอเลิกเพ่งนะจะฟุ้งซ่านสุดๆเลย จะรู้สึกตัวยาก มันคิดดอกเบี้ยนะเพราะไปบังคับมันไว้นานแล้ว หน้าที่เราก็คือพยายามรู้สึกตัวไป

อาจจะมีเครื่องอยู่อะไรสักอันหนึ่งถ้าเราไม่ได้ติดเพ่งรุนแรงมาก่อนนะ จะรู้อะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวตั้ง สมมุติว่าบางคนท่องพุทโธ เอาพุทโธเป็นตัวตั้ง พุทโธแล้วไม่ใช่บังคับจิตให้ไปอยู่ที่พุทโธ พุทโธแล้วจิตไปอยู่กับพุทโธนี่ก็รู้ จิตหนีไปที่อื่นก็รู้ พุทโธแล้วก็รู้ทันนะ เห็นจิตหนีไปหนีมา เห็นจิตสุขจิตทุกข์ จิตดีจิตร้าย พุทโธไว้เป็นตัวตั้งเพื่อที่จะดูจิต

บางคนถนัดรู้ลมหายใจ ถ้าไม่ไปเพ่งใส่ลมหายใจนะ เรารู้จิต เอาลมหายใจเป็นตัวตั้งแล้วมารู้จิต เช่น จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเราก็รู้ จิตหนีไปอยู่ที่อื่นเราก็รู้ จิตไปคิดเราก็รู้ จิตไปทำอะไรเราก็รู้ จิตสุขจิตทุกข์ จิตดีจิตร้าย เราก็รู้ไปเรื่อย รู้จิต เอาลมหายใจเป็นแบ็คกราวด์ไว้

เอาพุทโธเป็นแบ็คกราวด์ เอาลมเป็นแบ็คกราวด์ คนไหนถนัดพองยุบโดยที่ไม่ได้เข้าไปเพ่งท้องนะ ก็เอาพองยุบเป็นแบ็คกราวด์ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป เนี่ยไม่ว่ากรรมฐานอะไรนะ ถ้ามันเนืองด้วยกายด้วยใจของเราล่ะก็ เอามาใช้เป็นเครื่องมือในการปฎิบัติได้ทั้งหมด ถ้าเรามีเครื่องมือเครื่องสังเกตไว้อันหนึ่ง คล้ายๆเป็นที่สังเกต เป็นที่หมาย ถ้าจิตไหลมาที่นี่ก็รู้ จิตไหลไปก็รู้เนี่ยนะ ในที่สุดเราจะเห็นจิตได้ชัดเจน ต้องฝึกอย่างนี้นะมันจะไม่เผลอนาน แต่ถ้าอยู่ๆก็ปล่อยทิ้งทั้งหมดเลยนะ อย่างนี้ เรากดไว้นานนะ คราวนี้เตลิดเปิดเปิงไป หลงไปตั้งวัน ค่อยฝึกเอา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

mp 3 (for download) : ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

โยม : ก็เพิ่งเริ่มปฎิบัตินะครับ ก็รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง แต่ก็รู้ตัวว่าเหม่อ เหม่อคิดบ่อย

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละเก่ง

โยม : ด้วยภาระหน้าที่ที่มี

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเราไม่ต้องไปให้เหตุผลอธิบายอะไรหรอก เราแค่รู้ว่ามันเผลอไปแล้ว เราคอยรู้ไปเรื่อย รู้ลงปัจจุบันไปเรื่อยๆนะ ใช้ได้ ของคุณน่ะดีแล้ว แต่หลวงพ่อบอกอะไรอย่างหนึ่งนะ ถ้าเราบอกว่า เรามีงานเยอะ ไม่มีเวลาภาวนาเนี่ย พูดไม่ได้นะ หลวงพ่อเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตพิมพ์ คือประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก

มีหลวงพ่อเกษมคุยกับพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวท่านเล่า ท่านเวลาน้อย งานท่านเยอะ ใช่มั้ย ท่านซอยชีวิตของท่านเป็นช่วงเล็กๆ ท่านมีเวลานาที สองนาที ท่านก็ดูแล้ว งานท่านเยอะกว่าเราแน่ๆเลย เพราะฉะนั้นเราอย่าอ้างว่างานเยอะ ไม่มีเวลาดูนะ ตอนไหนที่ไม่ต้องคิดเรื่องงาน เราก็รู้เอา

หลายคน พอไม่คิดเรื่องงานแล้ว พอหมดเวลางาน โอ๊ยเหนื่อย ขอพักผ่อนก่อน เดี๋ยวมีแรงแล้วจะดู นี่ช้าไป ถ้าปฏิบัติเก่งๆนะ ทำงานเสร็จแล้วเหนื่อย หัวหมุนติ้วๆเลย รู้ว่าหัวหมุนติ้วๆเลย เหนื่อยรู้ว่าเหนื่อยอยู่ รู้สึกว่ารู้อะไรก็ไม่ชัดเจน-รู้ว่ารู้ไม่ชัดเจน นี้เรียกว่าปฏิบัติทั้งหมดเลย ไม่ต้องรอให้ใสปิ๊งๆแล้วค่อดูหรอกนะ อะไรๆมีอยู่ต่อหน้าต่อตา รู้ลงต่อหน้าต่อตาเลย จะได้ไม่เสียเวลา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๖
ระหว่างนาทีที่ ๕๒ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การรักษาศีล ๕ สำคัญมาก จะทำให้จิตตั้งมั่น มีสมาธิได้ง่าย

mp 3 (for download) : การรักษาศีล ๕ สำคัญมาก จะทำให้จิตตั้งมั่น มีสมาธิได้ง่าย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การรักษาศีล ๕ สำคัญมาก จะทำให้จิตตั้งมั่น มีสมาธิได้ง่าย

การรักษาศีล ๕ สำคัญมาก จะทำให้จิตตั้งมั่น มีสมาธิได้ง่าย

หลวงพ่อปราโมทย์ : กิเลสแรงๆนะ มันจะทำให้เราผิดศีล เนี่ยความโลภแรงๆเกิดขึ้นแล้ว ก็ไปลักไปขโมยเขา อะไรอย่างนี้ กามราคะแรงๆก็ไปเป็นชู้กันอะไรอย่างนี้ ทำให้เราผิดศีลผิดธรรม ความโกรธแรงๆก็ไปฆ่ากัน ไปตีกัน ไปด่ากัน กิเลสอย่างหยาบๆนะ

กิเลสหยาบๆต้องสู้ด้วยศีล กิเลสอย่างหยาบๆไม่ได้ไปสู้ด้วยปัญญานะ ไม่ได้ไปสู้ด้วยสมาธิ เวลากิเลสหยาบๆเกิดนะ สมาธิแตกกระเจิงหมดน่ะ สู้ไม่ไหว เพราะฉะนั้นเราตั้งใจไว้ก่อนนะ ถึงอย่างไรเราจะไม่ผิดศีล ๕

หลวงพ่อไม่เรียกร้องมากนะ ไม่เรียกร้องว่าต้องศีล ๘ ศีล ๑๐ อะไรหรอก ขอศีล ๕ ให้ได้ก็แล้วกันนะ เอาให้ได้จริงๆเถอะ ศีล ๕ นั้นสำคัญมากนะ เวลาไปดูองค์มรรคนะ องค์มรรค องค์มรรคจริงๆอยู่ในศีล ๕ นั่นแหละ สัมมาวาจา-ศีลข้อ ๔, สัมมากัมมันตะ-ศีลข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓, สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็อยู่ในศีลในธรรม เพราะฉะนั้นศีล ๕ สำคัญที่สุดนะ อย่างพระมีศีล ๒๒๗ มีเยอะ ฟังว่าพระมีเยอะ แต่ว่าศีลจำเป็นที่สุดเลย ศีล ๕ ข้อนั้นแหละ

ถ้าพวกเราทิ้งศีล ๕ เสียแล้วนะ เราจะฟุ้งซ่าน ยกตัวอย่าง เราคิดจะขโมยเขา จิตใจไม่สงบน่ะ หากเราคิดทำทาน จิตใจเราสงบ ใช่มั้ย คิดจะไปเอาของคนอื่นน่ะ จิตใจไม่สงบ เราคิดจะฆ่าเขา คิดจะตีเขาเนี่ย จิตใจไม่สงบ เราคิดอภัยให้คนอื่นได้ จิตใจสงบ

เนี่ย ถ้าเรารู้จัก อย่างน้อยเรารักษาศีล ๕ ไว้ก่อน กิเลสที่รุนแรงเกิดขึ้น ห้ามมันไม่ได้หรอก กิเลสจะเกิดน่ะ อยู่ๆไปสั่งบอกกิเลส กิเลสอย่าเกิดนะ มันไม่เชื่อหรอก กิเลสจะเกิดห้ามมันไม่ได้ แต่กิเลสเกิดแล้วเนี่ย อย่าให้ผิดศีล ๕ มันจะเข้ามาในใจเรา จะย่ำยีจิตใจเราขนาดไหน อย่าให้ล้นออกไปทางปาก อย่าให้ล้นออกไปทางมือทางเท้านะ รักษาศีล ๕ ไว้ก่อน

ถ้ากิเลสชั่วหยาบเกิดขึ้นในใจเราแล้วครอบงำนะ เราขาดสติน่ะ เราก็จะไปทำผิดศีล ไปโกรธเขาก็ไปด่าเขา ไปตีเขา ไปใส่ร้ายเขา อะไรอย่างนี้ ชอบขึ้นมา รักขึ้นมา ก็ไปแย่งชิงเขา ไม่ถูกต้องทำนองคลองธรรม

เพราะฉะนั้นนะ เบื้องต้นเลย ถ้ากิเลสมันรุนแรง ห้ามมันไม่ได้ในใจเรา กิเลสรุนแรงก็ตั้งใจไว้ก่อน รักษาศีล ๕ ไว้ ทุกวันนะ หลวงพ่อแนะนำนะ ตื่นนอนขึ้นมาเนี่ย ตั้งใจไว้เลย วันนี้จะไม่ทำผิดศีล ๕ แต่ละคราวนี้ศีล ๕ ได้มั้ย ครบมั้ย ศีลข้อไหนรักษายาก [ข้อสี่..] โอ๊..ข้อสี่ ตอบเหมือนกันทั้งประเทศเลย ไปที่ไหนแล้วถามนะ ศีลข้อไหนรักษายาก ข้อสี่รักษายาก พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเท็จ ส่วนมากก็เริ่มจากพูดเพ้อเจ้อ

เราตั้งใจรักษาศีลนะ ตื่นนอนขึ้นมาก็คิดเลย วันนี้เราจะมีศีล ๕ เกิดเราตายไปตอนนั้นนะ ไปสู่สุคตินะ เราตายไปกับศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวกลางวัน เราตั้งใจไว้อย่างนี้ วันนี้จะรักษาศีล ๕ ตอนเย็นก่อนจะนอนอะไรอย่างนี้ ก่อนไหว้พระสวดมนต์ ตั้งใจเรารักษาศีล ๕ ก่อนนอนตั้งใจอีก จะรักษาศีล ๕ เผื่อนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา ไม่ตื่น ตายตอนกลางคืน ก็ตายไปกับศีล ๕ ต้องตั้งใจอย่างนี้นะ สู้เอาจริงๆ

พวกเราอย่าไปดูถูก บางคนรู้สึก ศีลเป็นธรรมะต่ำเกินไป ถ้ามีศีลก็มีธรรม ไม่มีศีลก็ไม่มีธรรมหรอกนะ เพราะฉะนั้นมันเป็นเบื้องต้นที่สำคัญมากเลย ผู้คนทุกวันนี้ เบียดเบียนกันตลอดเวลาเลย เราละทิ้งศีล ๕ ไปนะ สังคมก็เร่าร้อน จิตใจของเราเองก็เร่าร้อน คนไม่มีศีล จิตจะไม่มีสมาธิหรอก เพราะจิตใจว้าวุ่น ยกตัวอย่างคนคิดจะลักเขาขโมยเขาเนี่ย จิตใจว้าวุ่น ไม่มีสมาธิ คนที่คิดให้ คิดทำทาน คิดอะไรอย่างนี้ จิตใจสงบ มีสมาธิง่าย คนที่จะไปฆ่าเขา ไปตีเขา ไม่สงบหรอก คนอภัยเขา เมตตาเขา สงบ

เพราะฉะนั้นถ้าเรามีศีลนะ จะได้ธรรมะอีกตัวหนึ่งขึ้นมา เราจะได้สมาธิง่าย ถ้ามีศีลนะก็มีสมาธิง่าย จิตใจมันสงบ จิตมีสมาธิแล้วค่อยมาหัดเดินปัญญา มาเรียนรู้ความจริง ของธาตุของขันธ์ ของกาย ของใจ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดประชาสันติ จ.พังงา
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: วัดประชาสันติ จ.พังงา วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
File: 540123.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔๔ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๕๙

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

mp 3 (for download) : การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ๆบ้าง จะช่วยกระตุ้นให้จิตใจคึกคักเข้มแข็ง

โยม:  เวลาทำงานน่ะค่ะหรือว่าเวลาที่อยู่กับคนอื่น มีสติดูกายดูใจน้อย ไม่เหมือนกับอยู่คนเดียว หรือว่ามาอยู่ต่อหน้าหลวงพ่อ หรือว่าอยู่ในบรรยากาศที่มันสัปปายะน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตใจเรายังไม่แข็งแกร่ง เราต้องเลือกสิ่งที่สัปปายะ

บุคคลสัปปายะ ถ้าเราไปเจอพวก toxic ก่อกวนประสาท  ภาวนายาก

มีสภาพแวดล้อมสัปปายะ บางคนชอบอยู่ในเมืองนะ นั่งรถไปรถติด ๆ เนี่ยภาวนาดี อย่างนี้เรียกว่ารถติดเป็นสัปปายะของเขา มีนะพวกชาวเมืองน่ะให้ไปอยู่ป่านะฟุ้งซ่านหนักเลย พวกเราที่อยู่ในเมืองมาจนชินนะลองไปอยู่ป่าวันแรกเนี่ยมันจะฟุ้งสุดๆ เลย แล้วเราจะนึกไม่ถึงว่าป่านี้เสียงดัง กลางคืนเสียงดังมากเลย เสียงประหลาด ๆ เยอะ ใจจะฟุ้งได้ง่าย มันอยู่ที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน

อาหารก็สัปปายะนะ อาหารบางอย่างไม่เหมาะกับเรากินแล้วไม่สบาย จิตใจซึมกะทืออย่างนี้ใช้ไม่ได้

สภาพแวดล้อมที่อยู่ ที่อยู่ก็ต้องสัปปายะ บางทีเรามาอยู่วัดไม่มีธุระอะไร อยู่บ้านมันมีธุระนะ มันมีความรับผิดชอบ มาอยู่วัดมันเหมือนไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก มาอาศัยอยู่ ไม่ต้องไปดูแลอะไรมากมาย อยู่บ้านมันยังมีรายการเต็มทุกวัน ตอนนี้ทำอันนี้ ตอนนี้ทำอันนี้นะ คอยคิดล่วงหน้าไป แต่พออยู่วัดนานๆ ก็จะเหมือนอยู่บ้าน เริ่มคุ้น

เพราะฉะนั้น พระเวลาอยู่ที่ไหนนานๆ บางทีก็ต้องเปลี่ยนบรรยากาศ ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านก็ให้ไปธุดงค์ บางทีท่านไม่ไว้ใจให้ไปธุดงค์ ท่านพาไปเที่ยวยังมีเลย  พาไปเที่ยวสวนเสืออะไรอย่างนี้ก็มี หลวงพ่อไม่ได้พาพระไปสวนเสือ บางองค์ก็พาไปดูน้ำตก แต่คงไม่พาไปดิสโก้เธค

สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ จะกระตุ้นให้ใจคึกคักเข้มแข็ง เฉื่อยๆเนือยๆนะบางทีก็ต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบ้าง จะ Active ขึ้น เหมือนเราทำงานที่เดิมหลายๆ ปีรู้สึกไหมชักเฉื่อย อะไรๆ ก็รู้หมดแล้วไม่ค่อยยอมคิดอะไรใหม่ๆ พอเปลี่ยนงานแล้ว Active นะต้องคิดใหม่เยอะแยะเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File: 491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตเคล้ากับความฟุ้งซ่านให้รู้ทัน

mp3 for download : จิตเคล้ากับความฟุ้งซ่านให้รู้ทัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตเคล้ากับความฟุ้งซ่านให้รู้ทัน

จิตเคล้ากับความฟุ้งซ่านให้รู้ทัน

โยม : คือนึกว่าจะไม่ส่งการบ้าน ช่วงนี้เห็นกิเลสไหลมาไหลไป เหมือนน้ำไหลมาไหลไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : อยู่บนบกมั้ย หรือว่าอยู่ในน้ำ

โยม : อยู่บนบกค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. ต้องอยู่บนบกนะ เราอยู่บนบกนะ เห็นกิเลสไหลมาไหลไป เหมือนเห็นน้ำไหล ตัวเราอยู่บนบก อยู่บนบกคือใจเราเป็นคนดู ดูอยู่ห่างๆ หลงไปคิดนะ หลงไปแล้ว ก็ดีนะพี่ไวย แต่ใจยังฟุ้งซ่านอยู่ คือความฟุ้งซ่านยังครอบงำจิตอยู่ ตอนนี้รู้สึกมั้ย

โยม : ฟุ้ง มันฟุ้งเล็กๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. นะ แล้วจิตมันเคล้าอยู่กับความฟุ้ง ให้รู้ทันอีกที จนกระทั่งมันขาดออกจากกัน แต่ว่าขาดเอง ไม่ได้ดึงไว้ ไม่ได้ดึงให้ขาด

เอ้า..เชิญโยมไปทานข้าวไป

นิมนต์เลยครับ นิมนต์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๐ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ส่งการบ้าน: นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน

mp3 for download : ส่งการบ้าน: นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ส่งการบ้าน: นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน

ส่งการบ้าน: นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน

โยม นมัสการค่ะหลวงพ่อ คือเวลานั่งสมาธิมันฟุ้งซ่านน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันเป็นอะไรนะ

โยม: ฟุ้งซ่านค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ :ฟุ้งซ่านก็ไม่เห็นเป็นไร ถ้าไม่ฟุ้งซ่านก็เห็นไม่ต้องนั่งสมาธิน่ะสิ เพราะมันฟุ้งซ่านแหละเราถึงไปนั่งสมาธิ แต่ว่ามันมีวิธีการนะ เวลาที่จิตฟุ้งซ่านเนี่ย เราไปสั่งมันให้สงบเนี่ย มันไม่สงบหรอก เราต้องทำใจถึงๆหน่อย ใจกล้าๆหน่อย นั่งดูมันฟุ้งซ่านไป เราก็ท่องพุทโธๆ เล่นๆไปนะ จะสงบหรือไม่สงบก็ช่างมัน แต่จิตใจเราฟุ้งซ่าน เราพุทโธไปแล้วเราก็รู้ทันไป ใจมันฟุ้งซ่าน ดูมันเล่นๆไปน่ะ

ถ้าดูเล่นๆได้นะ ใจสบาย ใจสบายใจก็สงบ แต่ถ้ามันฟุ้งซ่านอยู่ อยากสงบนะ ยิ่งบังคับมัน ยิ่งไม่สบาย ยิ่งไม่สบายยิ่งไม่สงบ เพราะตัวที่ทำให้จิตสงบนะคือความสุข ถ้าจิตมีความสุขจิตจะสงบ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
ลำดับที่ ๑๒
File: 530905B
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๒๕วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ของอะไรที่ยังตกอยู่ในความเป็นคู่นะ ของนั้นยังแปรปรวนได้อยู่อีก

mp3 for download : ของอะไรที่ยังตกอยู่ในความเป็นคู่นะ ของนั้นยังแปรปรวนได้อยู่อีก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ของอะไรที่ยังตกอยู่ในความเป็นคู่นะ ของนั้นยังแปรปรวนได้อยู่อีก

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในที่สุดมันก็ต้องผ่านไป ไม่มีอะไรที่มาแล้วไม่ไป ไม่มี คือถ้าเราเข้าใจความจริงของโลกของชีวิต มันก็ไม่ทุกข์เท่าไหร่ คือถ้าเราเข้าใจโลกอย่างที่มันเป็น เห็นว่าทุกอย่างมันเป็นของชั่วคราว เราจะไม่หลงโลก ความสุขเกิดขึ้นนะเราก็รู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นเราก็รู้ว่าชั่วคราว ปัญหาทั้งหลายเกิดขึ้นก็ของชั่วคราวอีก ตัวเราเองมาอาศัยอยู่ในโลก ก็มาอาศัยชั่วคราว เอาเข้าจริงโลกก็เป็นของชั่วคราว อะไรๆมันก็ชั่วคราวหมดเลย

ทีนี้เราไม่ค่อยยอมรับความจริงตัวนี้ เรามองไม่เห็น เราก็อยากให้มันถาวร เวลามีความสุขนะ เราอยากให้มีความสุขถาวร ส่วนความทุกข์เราก็อยากให้หายไปถาวร ไม่มาอีกแล้ว ถ้าคนดีๆหน่อยก็เกลียดกิเลส อยากให้กิเลสหายถาวร จะเอาแต่กุศลถาวร

อะไรที่ยังเป็นความปรุงแต่ง ยังเป็นคู่ๆอยู่นี่นะ เป็นของที่ไม่ถาวรแน่นอน จะพลิกไปพลิกมาตลอดเวลา ยังมีกุศลได้ก็มีอกุศลได้ มีโลภก็มีไม่โลภ มีโกรธก็มีไม่โกรธ มีหลงก็มีไม่หลง เป็นคู่ๆกัน มีสุขก็มีทุกข์ เนี่ยเป็นคู่ๆ มีดีก็มีชั่ว เป็นคู่ๆ ของอะไรที่ยังตกอยู่ในความเป็นคู่นะ ของนั้นยังแปรปรวนได้อยู่อีก ยกตัวอย่างเราเป็นคนใช่มั้ย ก็ยังมีสิ่งที่เป็นคู่ๆ อย่างเป็นเด็กกับเป็นผู้ใหญ่ นี่ก็เป็นคู่ๆ เป็นผู้ใหญ่แล้วเป็นคนแก่ ก็เป็นคู่ๆ สิ่งที่เป็นคู่แปรปรวน บางทีแปรปรวนข้ามไปข้ามมานะ

ยกตัวอย่างถ้าเราสังเกตให้ดี ใจเราเอง หัตสังเกตเรื่อยๆ ช่วงไหนไปทำความสงบมากนะ มาแบบสงบ แบบเพ่งเข้าไป สะกดน้อมเข้าไปให้นิ่งให้ว่างให้สงบ อีกช่วงหนึ่งพอหมดแรงเพ่งหมดแรงอะไรไว้ หมดแรงประคอง มันดีดกลับนะ มันเป็นฟุ้งซ่าน มันฟุ้งมากกว่าคนทั่วไปอีก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
ลำดับที่ ๗
File: 530606A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิต ที่ฟุ้งซ่าน

mp3 for download: ดูจิต ที่ฟุ้งซ่าน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูจิต ที่ฟุ้งซ่าน

ดูจิต ที่ฟุ้งซ่าน

โยม: นมัสการครับ ขอโอกาสครับ คือ รู้สึกว่าจิตไม่ค่อยมีกำลังครับ ก็เลยไปนั่งสมาธิเพิ่มน่ะครับ แล้วก็เวลานั่ง ก็ปรากฎว่า คือ จิตมันเดี๋ยวก็ไปดูท้องพองยุบ เดี๋ยวก็มาขึ้นมาพุทโธ ดูลมหายใจน่ะครับ แล้วก็คราวนี้ พอจิตมันไหลไป ก็รู้ แล้วคราวนี้พอ พอรู้เสร็จปุ๊บ ก็จะเข้า เข้าสู่ เข้าสู่วิหารธรรมเดิมน่ะครับ ก็ จิตมันก็ไม่รู้ว่าจะไปจับตัวไหนว่า คือจับไม่ถูกว่าจะไปท้อง หรือว่าจะไปลมหายใจ หรือว่าจะไปพุทโธอะไรพวกนี้ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้ามันส่ายไปทางโน้นทางนี้นะ เรารู้ทันจิตเข้าไปเลย ว่าจิตกำลังฟุ้งซ่านอยู่ จิตก็จะสงบลงมา ทีนี้พอสงบลงมาแล้ว มันจะไปอยู่ที่ท้อง เราก็รู้ทัน มันหนีไปอีกก็รู้ทัน แต่บางทีเปลี่ยนเร็ว หนีตรงโน้น ปุ๊บปั๊บๆ ถ้าเวลามันเปลี่ยนเร็วนี่นะ ให้รู้ทันในภาพรวม ไม่ต้องไปดูทีละอัน รู้ทันในภาพรวมว่าจิตกำลังฟุ้งซ่านอยู่ มันก็จะสงบลงมา พอสงบลงมานะ มันก็จะค่อยๆเปลี่ยนช้าๆ จะค่อยไหลเนิบๆมา ไม่เปลี่ยนวุบวับวุบวับดูไม่ทันหรอก

โยม: ผมต้อง ต้องเลือกเอาอย่างไหนอย่างหนึ่งหรือเปล่าครับ หรือว่า

หลวงพ่อปราโมทย์: เบื้องต้นก็เอาไว้อย่างหนึ่งก่อน นะ แต่ว่าจุดหลัก ถ้าฟังอย่างที่คุณว่าเนี่ย คุณใช้อะไรเป็นวิหารธรรมรู้เปล่า? คุณใช้จิตเป็นวิหารธรรม คุณเห็นจิตมันเคลื่อนไปเคลื่อนมาตลอด คุณก็รู้ทันจิตที่เคลื่อนไปเคลื่อนมา นะ แต่อย่าไปไหลตามมันไป เห็นจิตมันเคลื่อน ใจเราเป็นคนดูอยู่นะ

โยม: ครับ แต่ว่า บางทีพอจิตมันรวมนิดนึงครับหลวงพ่อ แล้วก็มันสบายกว่าเดิม แต่ว่าตอนนี้ไม่แน่ใจว่าไปสร้างภพอะไรอยู่ เพิ่มหรือเปล่า

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าไปกลัวนะ การภาวนาทั้งหลายเนี่ย เป็นภพทั้งสิ้นล่ะ แต่เป็นภพที่จะทำให้เกิดสติเกิดปัญญา เพื่อจะพ้นจากภพนะ เพราะฉะนั้นอย่าไปกลัวภพเลย ถึงเราไม่ไปจงใจปฏิบัติเป็นภพขึ้นมา จิตก็มีภพอยู่ดี เดี๋ยวก็เป็นภพมนุษย์ ภพสัตว์ ภพเปรต ภพอสุรกาย เป็นไปเรื่อย จิตเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลาแล้ว การที่เราลงมือปฏิบัติก็เป็นภพเหมือนกันนะ ไม่ต้องกลัวหรอก แต่เป็นภพที่เกื้อกูลให้มีสติมีปัญญา ภพส่วนใหญ่เกื้อกูลให้หลงนะ

โยม: ขอบคุณครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ไปฝึกนะ จิตดีขึ้นแล้วล่ะ รู้สึกตัวมั้ย เห็นความเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า เมื่อก่อนเครียดกว่านี้เยอะเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๓
 
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่