Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ทางบรรลุธรรม (๕) เมื่อภาวนาเป็นแล้ว ก็ต้องภาวนาให้เต็มที่ เพื่อเข้าถึงภาวะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น

mp3 for download : ทางบรรลุธรรม (๕) เมื่อภาวนาเป็นแล้ว ก็ต้องภาวนาให้เต็มที่ เพื่อเข้าถึงภาวะ “สักว่ารู้ สักว่าเห็น”

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางบรรลุธรรม (๕) เมื่อภาวนาเป็นแล้ว ก็ต้องภาวนาให้เต็มที่ เพื่อเข้าถึงภาวะ 'สักว่ารู้ สักว่าเห็น'

ทางบรรลุธรรม (๕) เมื่อภาวนาเป็นแล้ว ก็ต้องภาวนาให้เต็มที่ เพื่อเข้าถึงภาวะ 'สักว่ารู้ สักว่าเห็น'

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไปเรื่อยๆ จนถึงวันหนึ่งก็พบว่า เอ๊.. ทำยังไง ดีก็ไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวรนะ ตัวผู้รู้เกิดได้ก็กลายเป็นตัวผู้คิดได้ ยังกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย้ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร

ถามใจของพวเราดู ที่เราปฏิบัติ เราอยากได้ตรงนี้ใช่มั้ย อยากได้ มรรค ผล นิพพาน จริงๆเพราะอะไร มรรค ผล นิพพาน มันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้

ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากจะได้ มรรค ผล นิพพาน เพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หาย

ไปอีก ก็ต้องมาทำอีก นี่ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนก็อยากได้มรรค ผล นิพพาน ก็เพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบ นั่นแหละ

ทีนี้ตะเกียกตะกายนะ หาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดี เต็มที่แล้ว วันหนึ่งจิตของเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร แล้วคิดก็ว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำมันให้ดีให้ได้ คิดจะทำมันให้สุขให้ได้ คิดจะทำมันให้สงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว เราก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร

สุดท้ายเนี่ย พากเพียรแทบล้มแทบตายนะ ก็พบว่า ดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวไปหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้นะ จิตก็หมดแรงดิ้นละ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก เนี่ย จิตจะหยุดแรงดิ้นนะ หมดแรงดิ้น แต่จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว

สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้ๆๆ รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว้บๆ แล้วก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง มันจนมุมไปหมดเลย

คือสติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนื่ยจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าจะทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาสุดฤทธิ์สุดเดชแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง มันทำไม่ได้สักทีหนึ่ง

พอจิตหมดแรงดิ้นแล้ว จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา…

540805.08m21-11m22


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 41
File (ประเทศไทย): 540805.mp3
File (สหรัฐอเมริกาและยุโรป): 540805.mp3

นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ ตามความเป็นจริง

mp3 (for download) : รู้ ตามความเป็นจริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้ ตามความเป็นจริง

รู้ ตามความเป็นจริง

โยม : ก็ดูจิตดูกายแต่ก็ยังไม่ได้ละว่ามันเป็นเราเป็นจูนอยู่ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ช่างมันปะไร ก็มันยังรู้สึกอย่างนั้น เราก็ยอมรับความจริงไป เราไม่ได้หลอกตัวเองนี่ว่ามันไม่ใช่ เรายังรู้สึกว่าใช่อยู่ก็ใช่สิ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๔๕ วินาทีที่ ๐๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตเหมือนลูก ให้การศึกษาเขาได้ แต่ดีชั่วเป็นเรื่องเขาเอง

mp3 (for download) : จิตเหมือนลูก ให้การศึกษาเขาได้ แต่ดีชั่วเป็นเรื่องเขาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


โยม​ : เอ่อ อย่างเมื่อคืนตอนดึกๆ อาจจะเป็นว่ากลัวความมืดด้วย ก็เลยแบบว่าจงใจภาวนา มันจะเห็นความเครียดน่ะเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : โลภนะ โลภอยากภาวนาก็ไปบังคับจิต จิตถูกบังคับจิตก็เครียด เหมือนเวลาเราบังคับลูกนะ ลูกก็เครียดนะ จิตเหมือนลูกแหล่ะ ให้การศึกษาเค้าไป ส่วนเค้าจะดีเค้าจะเลว เค้าจะสุขเค้าจะทุกข์ ก็ขึ้นกับกรรมของเค้า เราให้การศึกษากับลูก ลูกเป็นยังไงเค้าก็ต้องเป็นไปตามกรรมของเค้า จิตนี้ก็เหมือนลูกนะ เราให้การศึกษากับเค้าไป พาเค้าดูกายดูใจให้เห็นไตรลักษณ์ไป ส่วนเค้าจะสุขเค้าจะทุกข์ เค้าจะดีเค้าจะชั่ว เรื่องของเค้าแล้ว จัดการจิตเหมือนจัดการลูกนะ ไม่ใช่ตัวเรา

(หลวงพ่อปราโมทย์ มักจะสอนอยู่เนืองๆว่า จิตจะดีหรือจะชั่ว เราจะไปบังคับไม่ได้ เราไม่ได้ภาวนาเพื่อให้จิตดี แต่เราภาวนาเพื่อให้จิตเห็นความจริงว่า ใจนี้ กายนี้ ล้วนแต่อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์  คือ มีเกิดแล้วก็ดับไม่คงทนถาวร แปรเปลี่ยนตลอดเวลา บังคับไม่ได้อย่างแท้จริง แล้วก็ไม่ได้มีตัวตน หรือตัวเราของเราอย่างที่เราคิด แต่แม้จะปล่อยจิตให้ดีชั่วตามธรรมชาติ แต่เราก็ต้อง มีศีล ไม่ไปทำให้ผู้อื่นหรือตนเอง เดือดร้อน แม้ในภาวะที่จิตชั่ว - ผู้เรียบเรียง)

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๕ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

mp3 (for download) : อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าไปกังวลเรื่องปฏิบัติถูก ปฏิบัติผิด พวกเราทุกคนปฏิบัติผิด เวลาถูกมันถูกแว่บเดียว นอกนั้นผิดทั้งนั้นแหละ แค่จงใจปฏิบัติก็ผิดแล้ว ทำไมปฏิบัติจะไม่ผิด ปฎิบัติเมื่อไรก็ผิดเมื่อนั้นแหละ เราต้องไม่ปฏิบัติ คำว่าไม่ปฏิบัติของหลวงพ่อคือเราไม่ทำอะไรนะ เราคอยดูร่างกายมันทำงาน คอยดูจิตใจมันทำงาน เราไม่ทำอะไร อย่างจิตใจของเราเนี่ย เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด รู้สึกไหม เนี่ยเราหน้าที่เราก็คอยรู้ไป มันไปฟังก็รู้ มันไปคิดก็รู้ เราไม่ได้ทำอะไร เราไม่ต้องปฏิบัติอะไรหรอก เราแค่รู้ทันมันเท่านั้นเอง ถ้าฝึกอย่างนี้แล้วจะง่าย ถ้าเราคิดว่าทำยังไงเราจะบรรลุมรรคผลนิพพานนะ เราพยายามจะปฏิบัติ พยายามจะทำยิ่งช้าใหญ่เลย เพราะความโลภมันเข้าไปแทรก สติมันไม่เกิด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

mp3 for download : ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

โยม : เรื่องการปฏิบัติในช่วงนี้ ก็รู้สึกว่าสติปัญญามันทื่อๆ มันจะไม่ค่อยรู้อะไรน่ะครับ มันจะไม่ค่อยรู้อะไรน่ะครับ แต่มันพอจะรู้ได้บ้างครับ

แล้วก็ผมจะรู้สึกว่ารู้สภาวธรรมอื่นๆ มันไม่ค่อยดีครับ เพราะแบบบางทีมันกลัว ถ้าเป็นความคิดแบบชั่วมาก บางทีผมก็กลัวว่าจะเป็นคนชั่ว ก็เลยรีบพยายามไปดับมันน่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เห็นมั้ยอยากเป็นคนดี เห็นมั้ย ไม่ได้อยากเลิกเป็นคน ยังอยากเป็นคนดี พออยากเป็นคนดี ก็ต้องพยายามสร้างความดี ต่อต้านความชั่ว แต่ถ้าเราคิดว่าเราจะไม่เป็นคน เราก็จะเห็นสภาวะของความดีเกิดขึ้นแล้วก็ดับ สภาวะของความชั่วเกิดขึ้นแล้วก็ดับ มันอยู่ที่เป้าหมายในชีวิตของเรานะ ว่าต้องการแค่ไหน

การที่เราต้องการเป็นคนดี ก็คือการต้องการภพภูมิที่ดี ต้องการไปสู่ภพภูมิที่ดี เราจะเวียนว่ายตายเกิดไป แต่ถ้าเราต้องการเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีนี้ จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง มันจะพ้นจากภพภูมิทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นการที่เรารู้ทันใจตัวเองแล้วมันอยากดีมันรักดีมันกลัวชั่วเนี่ย ดูลึกลงไปอีกอย่างหนึ่ง มันก็คือมันรักตัวเอง มันยังสงวนรักษาตัวเองอยู่ เพราะฉะนั้นการดิ้นรนเพื่อจะสร้างความดี ดิ้นรนเพื่อจะต่อต้านความชั่วน้้นน่ะ ทำไปก็เพื่อ Serve อัตตาตัวตนทั้งสิ้น ทำเพื่้อรักษาตัวเรานั่นแหละ

เพราะฉะนั้นการที่เราละชั่วก็ตามทำดีก็ตามเนี่ย ถ้าเราหยุดอยู่เพียงแต่ละชั่วทำดีเนี่ย เราไม่สามารถเข้าถึงนิพพานได้ ไปเรียนต่อนะ ดูลงไป ละชั่วทำดีจนกระทั่งจิตผ่องแผ้ว

จิตผ่องแผ้วก็คือ ไม่ว่าอะไรก็ย้อมจิตไม่ติด จิตผ่องแผ้วเป็นสภาวะซึ่งว่า สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่ แต่มันย้อมจิตไม่ได้ จิตเข้าถึงสภาวะที่ไม่มีอะไรย้อมติด เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านอุทานตัณหาสร้างภพอะไรอย่างนี้ ตอนนี้ท่านรู้ทันแล้ว มันสร้างให้ท่านไม่ได้แล้ว จิตของท่านถึงสภาพที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

 mp 3 (for download) : การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

โยม: มันจะเศร้า ๆ เพราะว่ามันกลัวว่าเวลามันมีน้อย

หลวงพ่อปราโมทย์: คือเวลาจะมีน้อย มีมาก มันช่วยไม่ได้ ในการปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด เร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว  มีแต่ว่าต้องรู้ไป ๆ ใจเขาพอ เขาก็ตัดสินความรู้เอง จะเร่งเอาตามใจชอบไม่ได้ ที่เห็นว่าเวลามีน้อยแล้วไม่ประมาท หัดเจริญสติ อย่างนี้ดี แต่พอเจริญสติแล้วรู้สีกเวลามีน้อยลุกลี้ลุกรน อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ยิ่งช้า

ต้องใจถึง ๆ ต้องตั้งหลักแค่ว่าเรารู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะรู้ได้ ผลจะเป็นอย่างไรช่างมันเราเรียนเพื่อจะรู้ว่าวันนึง กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตอนนี้ก็ฟังว่ามันไม่ใช่เราไว้ก่อน ไม่ต้องรีบร้อนให้มันดีหรอก ใจถึง ๆ นะ ถ้าใจไม่ถึงนะก็ช้า ใจไม่ถึงก็จะดิ้นๆๆ ยิ่งดิ้นใหญ่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File:
491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๗ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าภาวนาแล้วอยากได้จะไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

MP3 for download: ภาวนาแล้วอยากได้จะไม่ได้

ภาวนาแล้วอยากได้จะไม่ได้

ภาวนาแล้วอยากได้จะไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตามรู้ตามดูไปเรื่อย แต่ไม่ได้หวังว่าดูแล้วจะได้อะไร พอไม่ได้หวังว่าดูแล้วจะได้อะไร มันจะได้ผลเร็วนะ ถ้าเราฝึกด้วยใจที่เป็นกลางแบบนั้นจริงๆ

แต่ถ้าเราภาวนาทุกวันแล้วก็คิดว่าเมื่อไหร่จะได้ๆ จะไม่ได้หรอก ถ้าอยากได้ของดีนะ มันจะไม่ได้

แต่ว่าถ้าเราภาวนาไปเรื่อย มีสติ ดูจิตดูใจของเราเรื่อยๆไป วันนึงต้องได้ ได้เองแหละ จิตมันเป็นของมันเอง ไม่ใช่ว่าเราทำได้ เราทำไม่ได้ เราบังคับไม่ได้ ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ จิตบรรลุของมันเองเมื่อศีลสมาธิปัญญานี้แก่รอบพอ

เห็นมั้ย เพราะงั้นต้องสะสมนะ ท่านว่าไม่เอาศีลเป็นเป้าหมาย ไม่เอาสมาธิ ไม่เอาปัญญา แต่ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ไม่เอาเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521227
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กลัวภาวนาไม่ดี

Mp3 for download: 500707B_dontbeafraid

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

กลัวภาวนาไม่ดี

กลัวภาวนาไม่ดี

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใจถึงๆหน่อย อย่ากลัวไม่ดี อย่ากลัวไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ความกลัวความกังวลนั้นเป็นโทสะ ถ้าตราบใดที่มันยังครอบครองพื้นที่ในจิตใจของเราอยู่ สติจะไม่เกิด เกิดไม่ได้เลย สติไม่เกิดร่วมกับอกุศล

ถ้าเราไม่กลัวมันนะ เราเห็นใจมันกลัว ไม่ใช่เรากลัว แต่ใจมันกลัว ใจเราเป็นแค่คนดู เราเห็นว่ามันกลัว ความกลัวมันจะแสดงไตรลักษณ์ให้ดู เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเลย เพราะเราไม่เข้าไปแทรกแซง

เพราะฉะนั้น จิตใจจะปรุงแต่งอะไรก็ได้ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ หยาบก็ได้ ละเอียดก็ได้ วิ่งไปข้างใน วิ่งไปข้างนอก หรือเป็นกลางๆก็ได้ ให้รู้ด้วยความเป็นกลางไป รู้สภาวะทุกอย่างตามที่เขาเป็นแหละ ไม่ต้องไปอยากให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ เราจะเห็นสภาวะทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีตัวเราในนั้นเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๑
File: 500707B
ระหว่างนาที่ที่ ๙ วินาที่ที่ ๔๗ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๘

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาไม่ต้องรีบร้อน แต่ต้องสม่ำเสมอ

mp 3 (for download) : การภาวนาไม่ต้องรีบร้อน แต่ต้องสม่ำเสมอ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :พวกเราก็ฝึกไปนะ วันนี้ยังทุกข์อยู่ ไม่เป็นไร อนาคตต้องให้ดีกว่านี้ให้ได้ ต้องเดินใกล้ มรรค ผล นิพพาน เข้าไปทุกวันๆ ไม่ต้องรีบเดินก็ได้นะ ถ้ารีบเดิน รีบจ้ำๆ จะตกถนนทุกรายเลย แต่ต้องทำสม่ำเสมอ รู้สึกกาย รู้สึกใจ ทำทุกวันสม่ำเสมอ ความสม่ำเสมอดีกว่าความรีบร้อน

ต้องสม่ำเสมอ มีวินัยในตัวเอง รักษาศีลไว้ก่อน มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็นที่สุด ถ้าไม่มีศีล จิตจะไม่มีความสงบเลย เพราะฉะนั้นถ้าจิตใจเรามีสุขมีความสงบแล้วนะ มีสติคอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของกาย มีสติรู้ความเปลี่ยนแปลงของใจ วันหนึ่งจะเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ตัวความเข้าใจนั้นแหละเรียกว่า “วิปัสสนาปัญญา” เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เมื่อมันเข้าใจความเป็นจริงนะ จิตจะคลายความยึดถือ ไม่ยึดในกายไม่ยึดถือในใจ พอไม่ยึดถือมันก็หลุดพ้นออกไป ขันธ์ส่วนขันธ์นะ จิตที่พ้นจากความยึดถือขันธ์ก็อยู่ต่างหาก ไม่เกี่ยวข้องกัน ภาวนาแล้ววันหนึ่งพวกเราจะถึงความสิ้นทุกข์ ต้องอดทนนะ วันนี้ยังทุกข์อยู่ไม่เป็นไร ฝึกไปเรื่อย.. วันหนึ่งต้องพ้นทุกข์ให้ได้ ถึงจะสมเป็นลูกพระพุทธเจ้า


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๐
File: 520621.mp3
ระหว่างชั่วโมงที่ ๑ นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๐ ถึง ชั่วโมงที่ ๑ นาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พวกเราต้องอดทน โดยเฉพาะอดทนต่อความอยากได้ผล

mp 3 (for download) : พวกเราต้องอดทน โดยเฉพาะอดทนต่อความอยากได้ผล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พวกเราต้องอดทน

พวกเราต้องอดทน

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเรามีบุญ เกิดในแผ่นดินที่ยังมีธรรมะอยู่ อดทนนะ อดทน พากเพียรเข้า หลวงพ่อไม่ใช่คนเก่งหรอก แต่หลวงพ่อเป็นคนที่ทนมากเลยในการฝึกตัวเอง อาศัยความอดทน ตามรู้ตามดู อดทนที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ ทนต่อความอยากได้ผลสำเร็จ ตัวนี้ยากที่สุดเลยนะ ต้องภาวนาจนวันหนึ่งน่ะมันถอดใจเลยว่า โอ้..ไม่มีปัญญาแล้ว ไม่สามารถทำให้ผ่านด่านอันนี้ได้แล้วนะ ใจมันยอมรับความจริงแล้วว่า ไม่มีทางทำเลยนะ สู้จนหมดสติหมดปัญญาเลยนะ มันถึงจะผ่านได้ เป็นเรื่องแปลกจริงๆนะ

ถ้ายังมีแรงต่อสู้อยู่ ยังไม่ผ่านหรอก แต่อาศัยแรงที่ต่อสู้นั้น มาเจริญสติ มารู้กายรู้ใจไปนี่แหละ ถึงวันที่เขาพอนะ เขาจะหยุดความปรุงแต่งลงชั่วขณะนะ ถ้าหยุดลงได้จริงๆนะ จิตพรากออกจากความปรุงแต่งได้จริงๆ แล้วไม่เข้ามาปนกันอีกนะ ก็หมดธุระกันตรงนั้น ขันธ์ส่วนขันธ์นะ จิตส่วนจิต ไม่เกี่ยวข้องกัน ก็ไม่ได้ยึดถือจิตไว้ด้วย

ไม่ใช่ธรรมะที่เหลือวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งจะทำได้ อดทนนะ อดทน อดทนต่อความขี้เกียจ อดทนต่อความอยากดี อยากบรรลุเร็วๆ คอยรู้ทันเข้า


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน) ครั้งที่ ๓๒
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒
CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๒
File: 520816.mp3
ระหว่างชั่วโมงที่ ๑ นาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๗ ถึง ชั่วโมงที่ ๑ นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๖

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มันไม่ได้เพราะอยาก มันได้เพราะหมดอยากต่างหาก

mp3 for download: มันไม่ได้เพราะอยาก มันได้เพราะหมดอยากต่างหาก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มันไม่ได้เพราะอยาก มันได้เพราะหมดอยากต่างหาก

มันไม่ได้เพราะอยาก มันได้เพราะหมดอยากต่างหาก

โยม: ขอโอกาสส่งการบ้านหลวงพ่อครับผม วันนี้รู้สึกจิตมันจะมีโมหะเยอะครับ และก็ เท่าที่สังเกตการภาวนาช่วง ช่วงหลังๆ มาเนี่ย รู้สึกว่า มันจะรู้ตัวได้บ่อย แล้วก็ชัดกว่าที่ผ่านมา แล้วก็สังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าเกิดว่าผมตัดเรื่องไร้สาระออกไปเนี่ย ช่วงนั้นจะภาวนาดีมากๆ

หลวงพ่อปราโมทย์:
ดี ดี นะ เรื่องไร้สาระไม่ดีหรอก

โยม:
ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์:
อะไรบ้างที่เป็นเรื่องไร้สาระ เรื่องการเมือง เรื่องศาสนา เรื่องนี้คุยแล้วทีไร ตีกันทุกทีน่ะ สองเรื่องนี้ นะ เพราะฉะนั้นห่างๆไว้ ดูของเราไป แต่เรื่องทำมาหากิน เรื่องเรียนหนังสือ ไม่ใช่เรื่องไร้สาระนะ เป็นเรื่องที่มีสาระ แต่เป็นสาระทางโลก เราก็ต้องทำ

โยม: แล้วก็มีบางครั้งที่อย่างเราพูดๆ มาเนี่ย ปกติเวลาพูด มันเหมือนจะพูดออกมาจากความเป็นตัวเราน่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ.. ดี

โยม: แล้วในหลายๆ ครั้งที่ มี มีอยู่สองสามครั้งที่มันพูดออกมาแล้ว มันพูดออกมาจากความไม่มีตัวเรา

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ นั่นแหละ มีคนหนึ่งนะ ชื่อ คุณดังตฤณ บอก เขา เท่าที่เขาสังเกตเนี่ย พระอรหันต์คิดออกมาจากความว่าง ไม่มีเรา ผุดออกมาจากว่างๆ แล้วก็สลายไปในความว่าง ดีที่เห็น

โยม: เพราะฉะนั้น ตอนนี้อีกอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกดีก็คือ ความดิ้นรนที่จะได้มรรคได้ผลเนี่ย มันน้อยลง

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ มันฉลาดขึ้น เพราะถึงอยากได้มันก็ไม่ได้ มันไม่ได้เพราะอยาก มันได้เพราะหมดอยากต่างหาก นะ

โยม: ขอบคุณครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดีนะ ใช้ได้ เนี่ยหลวงพ่อ ใครคุยด้วย ดีหมดเลย ก็รู้สึกมันดีจริงๆน่ะ แต่ถ้านานมาแล้ว หลายเดือนแล้ว ก็เหมือนเดิม ถือว่าไม่ดีละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่แทรกแซงขันธ์

รู้ด้วยความเป็นกลาง

รู้ด้วยความเป็นกลาง

mp 3 (for download) : รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่แทรกแซงขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

 

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตใจนะเค้าทำงานของเค้าทั้งวัน เค้าปรุงดีบ้าง ปรุงร้ายบ้าง ไม่เป็นปัญหานะ จิตจะปรุงกุศล จิตจะปรุงอกุศล ไม่มีปัญหา ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าพวกเรานักปฏิบัติชอบเข้าไปปรุงแต่งจิต เช่น จิตมีอกุศลนะ หาทางละ จิตเป็นกุศลพยายามรักษาหรือพยายามทำให้กุศลเกิดขึ้นมา จิตปรุงแต่งไม่เป็นไร เราอย่าไปปรุงแต่งจิต เพราะฉะนั้นอย่างจิตของเรามีโมหะ มัว ให้รู้ด้วยความเป็นกลาง นี่…คีย์เวิร์ดของมันนะ คือรู้ด้วยความเป็นกลาง ถ้าเรารู้ด้วยความเป็นกลางไม่ได้ เราจะเข้าไปปรุงแต่ง เช่น จิตเป็นอกุศลนะ อยากให้ดี ไม่เป็นกลาง แล้วเราก็พยายามหาทางทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ การที่เราปรุงแต่ง การที่เราพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมานั่นแหละ มันปิดกั้นไว้ ปิดกั้นเอาไว้จากมรรคผลนิพพาน นิพพานคือความไม่ปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นตราบใดที่จิตยังปรุงแต่งอยู่นะ ตราบใดที่ไปหลง ปรุงแต่งจิต ไม่ใช่จิตปรุงแต่ง ตราบใดที่ยังไปหลงปรุงแต่งจิตอยู่จะเห็นนิพพานไม่ได้เลย แต่ถ้าเราเห็นจิตนี้ปรุงแต่งไปทั้งวันทั้งคืน เราไม่ปรุงแต่งจิต ถึงจุดหนึ่งมันจะเห็นเลย จิตมันก็ส่วนจิตนะ ก็ทำงานของมันไป ธรรมชาติที่เป็นคนไปรู้ ก็อยู่ต่างหาก ไม่เกี่ยวกัน ธรรมชาติที่ไปรู้ขันธ์โดยที่ไม่ไปยึดขันธ์นั่นแหละ ธรรมชาติอย่างนี้นะ ถึงจะไปเห็นนิพพานได้

       จริงๆมรรคผลนิพพานไม่ใช่เรื่องยากเลยนะ นิพพานไม่เคยหายไปไหนสักวันเดียวเลย นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรามาแต่ไหนแต่ไร ไม่ได้อยู่ไกลเลยนะ อยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง แต่เราไม่เห็น นิพพานคือความไม่ปรุงแต่ง นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิสังขาร” นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิราคะ” ไม่มีความอยาก ใจของเรามันมีความอยาก อยากปฏิบัติธรรม อยากดี อยากโน่นอยากนี่ขึ้นมา พอมันมีความอยากขึ้นมา มันก็ปรุง คนชั่วก็ปรุงชั่ว คนดีก็ปรุงดี นักปฏิบัติก็ปรุงดีขึ้นมา คอยควบคุมกายคอยควบคุมใจ หาทางทำอย่างนั้นหาทางทำอย่างนี้ การที่พยายามทำอยู่นั่นแหละทำให้ไม่เห็นนิพพาน ฉะนั้นขันธ์ ๕ นะ ขันธ์ ๕ เค้าเป็นธรรมะที่ปรุงแต่งเรียก“สังขตธรรม” ฉะนั้นขันธ์ ๕ ต้องปรุงแต่ง ขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เราไม่ได้ไปฝึกให้ขันธ์ ๕ ไม่ปรุงแต่งนะ เพราะฉะนั้นอย่างจิตเนี่ย จิตอยู่ในขันธ์ ๕ จิตมีหน้าที่คิดนึกปรุงแต่ง เราไม่ได้ฝึกให้มันไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แต่เมื่อเค้าทำงาน ขันธ์ ๕ เค้าทำงานแล้วเนี่ยอย่าหลงเข้าไปแทรกแซงขันธ์ ๕  พวกเรานักปฏิบัติชอบแทรกแซงขันธ์ ๕ นะ เช่น ร่างกายนี้มันจะหายใจ เราก็ไปแทรกแซงการหายใจ ไปเปลี่ยนจังหวะการหายใจ หายใจให้ผิดธรรมดา แล้วก็เหนื่อยนะ ร่างกายเคยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เคยยืน เคยเดิน เคยนั่ง เคยนอน ท่านั้นท่านี้ เราก็เริ่มไปจำกัดมัน ต้องอยู่ท่านั้นต้องอยู่ท่านี้ ต้องเดินอย่างนั้นถึงถูกต้องนั่งอย่างนี้ถึงจะถูก เดินท่านั้นผิดเดินท่านี้ผิด นี่เราพยายามเข้าไปแทรกแซงขันธ์ เวทนาเค้าก็เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง เดี๋ยวเค้าก็สุข เดี๋ยวเค้าก็ทุกข์ เดี๋ยวเค้าเฉยๆ พอเราเห็นทุกข์ขึ้นมาเราไม่ชอบนะ พยายามแทรกแซงให้หายไป ความสุขก็พยายามแทรกแซงให้มันเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วแทรกแซงจะรักษามันไว้ นี่เราเข้าไปหลงแทรกแซงขันธ์ ๕ สัญญามันจะจำได้มันจะหมายรู้ ก็ไปแทรกแซง ที่อู๊ดเคยพลาดเรื่องแทรกแซงสัญญา ตัวนั้น จำได้ใช่มั้ย เห็นโต๊ะไปเรียกว่าเก้าอี้อะไรอย่างนี้นะ ไปแทรกแซงทำให้มันสับสน เสร็จแล้วมันจะอยู่ในโลกสมมุตินี้ไม่ได้ เพราะว่าสัญญา ไม่ตรงกับใครเค้าเลย สังขารก็คือจิตมันต้องปรุงดีบ้างปรุงชั่วบ้าง เราไม่อยากให้ปรุงชั่ว เราอยากให้ปรุงดี เราแทรกแซงนะ อย่างจิตฟุ้งซ่านขึ้นมา เราก็มาพุทโธๆ มาฟุ้งซ่านหนอๆ ให้หายฟุ้งซ่าน นี่แทรกแซง จิตโกรธขึ้นมานะ ก็พยายามแผ่เมตตาใหญ่ แผ่เมตตาให้หายโกรธ อันนี้ก็แทรกแซง แต่ถามว่าดีมั้ย? ก็ดี   เหมือนกันนะ แต่ดีแบบสมถะไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนานี่เราจะให้ขันธ์ทำงานไป โดยเราไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ ใจที่มันสงบตั้งมั่นไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ เห็นขันธ์ไปตามความเป็นจริง ใจดวงนี้เนี่ยใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ที่อาจารย์วัฒนาถาม “สังขารุเปกขาญาณ” เมื่อเช้านี้ จิตที่มันตั้งมั่นด้วยปัญญานะ ตั้งมั่นมีปัญญาอยู่ เห็นขันธ์ทำงานไปส่วนของขันธ์ จิตไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ อย่างนี้เรียกว่า “สังขารุเปกขา” เป็นกลางกับขันธ์ เป็นกลางกับสังขาร กับความปรุงแต่งทั้งหลาย ภาวะแห่งการสักว่ารู้สักว่าเห็นก็จะเกิดขึ้น ใจจะไม่   ดิ้นรน เมื่อใจไม่ดิ้นรน ถึงจุดหนึ่งใจจะเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน ธรรมะที่ไม่มีความอยาก ธรรมะที่ไม่ดิ้นรน คือ “วิราคะ” กับ “วิสังขาร” หรือ “นิพพาน” นั่นเอง

       เพราะฉะนั้นไม่มีใครกีดกั้นเราไว้จากนิพพานเลย ไม่มีใครกีดกั้นเราจากมรรคผล เรากีดกั้นตัวเอง ด้วยความอยากจะได้มรรคผลนิพพานนั่นแหละ พออยากจะได้ขึ้นมาก็ดิ้นรนใหญ่เลย หาทางทำยังไงจะได้      ทำยังไงจะถูก เวลาเรียนธรรมะก็ชอบถามนะ “จะวางจิตไว้ตรงไหนถึงจะถูก?” “จะทำยังไงถึงจะดี? ” “ทำ ยังไงจะมีสติได้ทั้งวัน?” อะไรอย่างนี้ เราคิดแต่จะทำน่ะแทนที่เราจะรู้ทันการกระทำนะ แล้วหยุดการกระทำของใจเราเอง ส่วนขันธ์ไม่หยุดนะ ไม่ไปแทรกแซงให้ขันธ์หยุดการเคลื่อนไหวนะ หลายคนไปแทรกแซงขันธ์ เช่น ไม่ยอมเดิน นั่งอย่างเดียว นั่งไปเรื่อยๆนะ คิดว่าถ้ามันอยากกระดุกกระดิกขึ้นมาเนี่ย กิเลสมันจะแทรก ก็เลยทรมานนั่งอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน คือเราชอบทำอะไรที่เป็นการแทรกแซงขันธ์ นักปฏิบัติน่ะ  ไม่ได้ทำอย่างอื่นหรอก ชอบแทรกแซงขันธ์ แทรกแซงไปเรื่อยเลย บังคับไป กระทั่งทำสมถะนะ ก็คือพยายามบังคับให้ใจนิ่ง แต่ว่ามีประโยชน์นะ สมถะ ไม่ใช่หลวงพ่อว่าไม่ให้ทำนะ เพียงแต่ว่าทำสมถะ บังคับใจไปเรื่อยๆ ไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพพาน อยากได้มรรคผลนิพพานต้องปล่อยให้ขันธ์ ๕ ทำงานไป แล้วมีสติตามรู้ไปเรื่อยๆ จนเห็นความจริง ว่ามันทำงานของมันเอง มันไม่ใช่ตัวเรา ใจเป็นกลาง ใจไม่ดิ้นรน ตรงที่ใจไม่ดิ้นรนนั่นแหละ ใจจะเข้าไปถึงธรรมะ ไม่ใช่ทำให้ขันธ์สงบแล้วเข้าถึงธรรมะนะ ขันธ์ก็ต้องเป็นขันธ์ ขันธ์ก็ต้องปรุงแต่ง เพราะขันธ์เป็น “สังขตธรรม” ธรรมที่ต้องปรุงแต่ง

   ถ้าเราวางเป้าหมายของการปฏิบัติผิด เราจะเข้าถึงธรรมะไม่ได้ นักปฏิบัติเกือบทั้งหมดนะตั้ง         เป้าหมายของการปฏิบัติผิด อยากดี อยากดี อยากจะพ้นจากความชั่ว อยากจะดี  อยากได้รับความสุขนะ พ้นจากความทุกข์ อยากได้ความสงบ พ้นจากความฟุ้งซ่าน แท้จริงแล้วไม่มีใครทำขันธ์นี้ให้สุขถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้สงบถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้ดีถาวรได้ เพราะขันธ์เป็นของไม่ถาวร สุขได้ก็ทุกข์ได้ ดีได้ก็ชั่วได้นะ แต่ความพ้นจากขันธ์ต่างหากล่ะ คือความพ้นจากทุกข์ เราไม่เข้าใจนะ ว่าความพ้นจากขันธ์คือความพ้นจากทุกข์ พ้นจากขันธ์ไม่ต้องรอให้ตายก่อนนะ จิตนี้แหละมันไม่ยึดถือขันธ์ มันถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ เป็นอิสระจากขันธ์ เมื่อไรจิตเป็นอิสระจากขันธ์ ถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ ในพระไตรปิฎกมีคำหนึ่งด้วย สำรอกออกมา สำรอกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์นะ ขันธ์ก็เป็นทุกข์ตามธรรมดาของขันธ์ แต่จิตที่หลุดออกมาจากขันธ์ จิตที่พ้นจากขันธ์ ตัวนี้ต่างหากที่ไม่ทุกข์ ไม่ใช่พยายามไปปฏิบัติเพื่อให้ขันธ์เป็นสุขนะ พวกเราพยายามปฏิบัติจะให้ขันธ์เป็นสุข เช่น อยากให้จิตสุขถาวร ถ้าตั้งเป้าผิด การปฏิบัติผิดแน่นอนเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ ชาวพุทธทำเนี่ย ไม่ใช่ว่าทำยังไงจะดี ทำยังไงจะสุข ทำยังไงจะสงบ อันนั้นศาสนาอื่นเค้าก็ทำ สิ่งที่ชาวพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ ก็อยู่ที่ตัวปัญญานั่นเอง สิ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธต่างจากคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องศีล ไม่ใช่เรื่องสมาธินะ ศาสนาอื่นก็มีศีล มีสมาธิ แตกต่างก็แตกต่างในรายละเอียด อย่างคริสต์เนี่ยกินไวน์ได้ใช่มั้ย? ประเทศเค้าหนาวเค้าก็กินได้สิ แตกต่างกันไป ส่วนสมาธิก็หลักอันเดียวกันหมดล่ะ จะศาสนาไหนก็มีเรื่องของสมาธิ มุสลิมละหมาดวันละ ๕ ครั้ง เหมือนเราสวดมนต์นั่นเอง ใจจดจ่อ เค้าจดจ่อกับพระเจ้า จิตใจเค้าสงบ จิตใจเค้ามีความสุข เห็นมั้ย สมถะเป็นของสาธารณะนะ สมาธิเป็นของสาธารณะ ศีลก็เป็นของสาธารณะ นักปราชญ์ทั้งหลายยกย่องการมีศีลเหมือนๆกัน ศีลแตกต่างกันบ้างเล็กๆน้อยๆ แต่ปัญญาต่างหากที่ไม่เหมือนกัน คนอื่นเนี่ยสอนเพื่อมุ่งความสุขถาวรความเป็นอมตะ แต่พระพุทธเจ้าค้นพบว่าไม่มีทางทำขันธ์ให้เป็นสุขถาวรได้หรอก ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์

       เคยได้ยินอริยสัจ ๔ ใช่มั้ย? อริยสัจ ๔ ข้อแรกคือ ทุกข์ ทุกข์คืออะไร? ทุกข์คือขันธ์ ๕ นะ ขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ไม่มีใครทำขันธ์ ๕ ให้เป็นตัวสุขได้ แต่ว่าพวกเราที่ลงมือปฏิบัติเนี่ย มักจะมุ่งหวังให้ขันธ์ ๕ มีความสุข ตั้งเป้าผิดนะ ยังไงก็ผิด ทำไมเราอยากให้ขันธ์ ๕ มีสุข? เราคิดว่าขันธ์ ๕ นี้คือตัวเรา เราจะเสียดายมากเลยถ้าตัวเราหายไป เพราะเราจะรักเหนียวแน่นที่สุดเลยว่ามันคือตัวเรา พอมันเป็นตัวเรา เราก็อยากให้มันมีความสุข เพราะไม่รู้ความเป็นจริง คือมีอวิชชา ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ คิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวดี คิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวเรา ก็เกิดตัณหาเกิดความอยากจะให้ขันธ์ ๕ มีความสุข อยากให้ขันธ์ ๕ นี้พ้นจากทุกข์ พอมีความอยากขึ้นมาจิตใจก็ยิ่งดิ้นรน ดิ้นรนแสวงหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์ ที่ปฏิบัติธรรมกันแทบเป็นแทบตาย รู้สึกมั้ย? พอลงมือปฏิบัติแล้วความทุกข์เกิดขึ้นตั้งเยอะแยะเลย ความจริงต้องการพ้นทุกข์นะ แต่ยิ่งดิ้นมันยิ่งทุกข์ ยิ่งดิ้นมันยิ่งทุกข์ พอยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้นนะ นี่วัฏสงสารหมุนเวียนอยู่ตรงนี้เอง สังสารวัฏหมุนอยู่ตรงนี้เอง ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้น เวียนไปเรื่อยๆ ไม่มีทางสิ้นสุดเลย แล้วก็ดิ้นเลย ทำยังไงจะพ้นทุกข์ ทำยังไงจะพ้นทุกข์ ทำยังไงกายนี้ใจนี้จะพ้นทุกข์ พ้นไม่ได้เด็ดขาด แต่ถ้าปัญญาแก่กล้าขึ้นมานะ เห็นขันธ์ก็ส่วนขันธ์นะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย คืนขันธ์ให้กับโลกไป คืนขันธ์ให้ธรรมชาติไป คือคืนก้อนทุกข์ให้โลกไปนั่นเอง โลกนี้เป็นทุกข์นะ ขันธ์เป็นทุกข์ คำว่าโลกกับขันธ์ก็คำเดียวกันนั่นแหละ บางทีก็บอกโลกคือหมู่สัตว์ บางทีในพระไตรปิฎกบอก โลกคือขันธ์ ๕ คือรูปกับนาม ก็อันเดียวกัน มันเป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นหน้าที่เราเรียนรู้ทุกข์ รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจไปด้วยจิตใจที่เป็นกลาง นี่…คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้เอง คือรู้ด้วยความเป็นกลาง รู้แล้วไม่แทรกแซง พวกเราตั้งหน้าแทรกแซงลูกเดียวเลย แทรกแซง บังคับ เคี่ยวเข็ญ อยากให้ได้มรรคผลนิพพาน อยากให้ดี อยากให้สุข อยากให้สงบ มีแต่แทรกแซง พอแทรกแซงมันก็คือการกระทำกรรม ก็มีวิบากมีความทุกข์ขึ้นมาอีก มีกิเลสคืออยากพ้นทุกข์  เกิดการกระทำกรรม เรียกว่า “กรรมฐาน” เกิดวิบากมีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเรามีกิเลสอยากปฏิบัติ มีสติรู้ทัน รู้ทันความอยากดับลงไป ไม่มีความอยากปฏิบัติ แต่รูปเคลื่อนไหว รู้สึก จิตเคลื่อนไหวรู้สึก รู้สึกเองไม่ได้จงใจรู้สึก รู้สึกแล้วไม่ทำอะไร ไม่แทรกแซง ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่เข้าไปทำอะไรกับรูปกับนามกับกายกับใจ รู้ลูกเดียว รู้อย่างเป็นกลาง ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางก็ไม่ดิ้นรน ใจที่ไม่ดิ้นรนนี่แหละจะเห็นนิพพาน เพราะฉะนั้น พรากออกจากขันธ์เมื่อไหร่ ก็เห็นนิพพานเมื่อนั้น พรากออกจากขันธ์ไม่ใช่ตายนะ อยู่ต่อหน้าต่อตานี่

       ถ้าใครภาวนากับหลวงพ่อไปช่วงหนึ่งจะเห็น ตื่นเช้าขึ้นมานะสิ่งแรกที่พวกเรานักปฏิบัติทำนะ คือหยิบฉวยจิตขึ้นมาก่อน หยิบฉวยขึ้นมาก่อน ดูออกมั้ย พวกที่ฝึกมาช่วงหนึ่งแล้ว พอตื่นเช้าขึ้นมานะ คว้าปั๊บเลย กลัวไม่ได้ปฏิบัติ กลัวหาย กลัวจะหลงไป คว้าเอาไว้ แล้วก็มาดูใหญ่ ดู ศึกษา นี่นึกว่านี่คือการปฏิบัติธรรมนะ นี่กำลังหลงอยู่แท้ๆเลย และไม่ได้ดูเฉยๆนะ บีบด้วยนะ เค้นมันทั้งวันเลย เค้นมันทั้งวันเลย เวลาตัณหาเกิดทีหนึ่ง เค้นทีหนึ่ง ตัณหาเกิดทีหนึ่ง เค้นทีหนึ่ง ตัวมันเองก็เป็นตัวทุกข์อยู่แล้ว เป็นภาระ มันเป็นทุกข์เพราะมันเป็นภาระนะ ไปหยิบฉวยขึ้นมา มันก็เป็นภาระ เลยเป็นทุกข์ขึ้นมา แถมยังไปบีบไปเค้นมันด้วยตัณหาอีก มีทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงกลนะ ให้รู้ลงไป รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจตามที่เค้าเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง บางครั้งรู้แล้วใจไม่เป็นกลาง ห้ามไม่ได้ เพราะจิตใจก็เป็นอนัตตา เช่น พอมันเห็นความทุกข์เกิดขึ้น มันอยากให้หาย ไม่เป็นกลาง ก็ไม่ว่ามันนะ ไม่เป็นกลางให้รู้ว่าไม่เป็นกลาง ให้     รู้ทันความไม่เป็นกลางนะ ความไม่เป็นกลางดับไปมันจะเป็นกลางของมันเอง เราก็จะรู้ทุกข์ด้วยความเป็นกลาง หรือความโกรธเกิดขึ้นมา มันอยากหายโกรธ ให้รู้ทันความอยากหายโกรธ ตัวนี้ไม่เป็นกลาง พอรู้ทันนะ ความอยากนี้ดับไป ใจเป็นกลาง ท่านบอก “ให้รู้ทุกข์ ให้ละสมุทัย” ใช่มั้ย “รู้ทุกข์” ก็คือสภาวะของรูปธรรมนามธรรมปรากฏขึ้นมาให้รู้ ใจเราไม่เป็นกลาง มันอยากให้เป็นอย่างนั้นอยากให้เป็นอย่างนี้ ตัวนี้ให้ละเสีย ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ ละความอยากที่จะแทรกแซงขันธ์นั่นเอง แล้วใจก็จะเป็นกลางกับขันธ์ ดูขันธ์ทำงานไป ถึงวันหนึ่ง ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นความจริงเลย ขันธ์ส่วนขันธ์นะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา เราไม่มี มีแต่ธรรมชาติอันหนึ่งไปรู้ขันธ์เข้า ไม่มีความเป็นตัวเป็นตนตรงไหนเลย พอวางลงไปนะ มันจะวางเป็นลำดับๆไป ขั้นแรก มันวางกายก่อน วางความยึดถือกายก่อน เพราะว่ากายนี่ดูง่ายว่าเป็นตัวทุกข์ เห็นว่ากายนี้มันทุกข์ นี่ดูง่าย มันยอมวาง เวลาเจ็บหนักๆ เคยเห็นมั้ยตามโรงพยาบาล คนไข้เจ็บหนักนะอยากตาย เมื่อไหร่จะตายโว้ย เมื่อไหร่จะตายโว้ย เห็นไหม ไม่รักกายแล้วนะ เพราะกายนี้ทุกข์ อย่างนี้เห็น แต่ไม่รู้สึกว่าจิตเป็นทุกข์ มองไม่เห็น เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ พวกเราดูเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตัวเองนะ มันไม่อ้อมค้อม วันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราจะได้โสดาบัน วันใดไม่ยึดถือจิต วันนั้นแหละเป็นพระอรหันต์ เพราะสิ่งที่ยึดที่สุดเลยคือจิตนั่นเอง เพราะฉะนั้นเรียนรู้นะ เรียนรู้เข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตนเอง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๒
File: 491022B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

mp 3 (for download) : การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เคยมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านหลงป่าเข้าพม่าไป แล้วก็เปียกฝนสามวันสามคืน เดินหลงทาง ข้าวก็ไม่มีจะฉัน ปอดบวม เข้าไปหลบฝนอยู่ในถ้ำ ก็ยังภาวนา แล้วรู้สึกว่าคราวนี้ต้องตายแน่ๆเลย ถึงแข็งแรงนะ จะรอดออกจากป่าหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะหลงทาง

ท่านก็ภาวนาของท่านไปเรื่อย กะว่าถ้าตายแล้วจิตใจจะห่วงอะไรมั้ย ร่างกายนี้ไม่ห่วงแล้ว ดูจิตดูใจก็ไม่ห่วงแล้ว ใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง พร้อมจะตายแล้ว จิตใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง ท่านก็ดูไปเรื่อยๆ เอ๊ะ! ไม่ยึดอะไรเลย ทำไมมันมีอะไรก็ไม่รู้ แปลกๆ สังเกตไปเรื่อยๆ ยึดความไม่ยึดอะไร ท่านเห็นว่าท่านยึดความไม่ยึดอะไร ยึดความว่างไว้ ตรงนี้ขาดปั๊บลงไป จิตท่านสว่างจ้าขึ้นมา

ท่านก็นึกว่า ในถ้ำ อยู่ในถ้ำมืดๆนะ กลางคืนนะ นึกว่าสว่างแล้ว ดูนาฬิกา ก็ยังไม่สว่างนะ ยังกลางคืนอยู่ มองข้างนอกก็มืดตึ๊ดตื๋อเลย ในถ้ำทั้งถ้ำนี่สว่าง แล้วท่านก็หายป่วย เสร็จแล้วตอนเช้า ฝนหยุดแล้ว ออกไปจากถ้ำ หิวนะ หิว ไม่มีอะไรฉันหลายวัน เจอลิงมันถือมะละกอ แล้วมันทำมะละกอตกลงมาที่พื้น แล้วมันก็มองหน้าท่านนะ มองมะละกอ มองหน้า

ท่านก็นึกว่า เอ๊… มันไม่กล้าหยิบกระมัง คงกลัวท่านว่า พอก้มลงหยิบเดี๋ยวท่านเล่นงาน ท่านเลยกลับเข้าถ้ำ เป็นเรา เราจะแย่งลิงกินใช่มั้ย เราก็จะมีเหตุผลเราต้องเอาตัวรอดไว้ก่อน จะได้มีแรงภาวนาต่อไปอีก ใช่มั้ย ท่านไม่เอา ท่านกลับเข้าถ้ำไป ลิงถึงได้มาเก็บมะละกอคืนไป

เข้าไปพักหนึ่งถึงได้ออกมา ปรากฎว่าลิงมาอยู่ที่พื้นดินละ ถือมะละกอ คราวนี้มันกลิ้งมาให้ท่านแล้วก็หนีขึ้นต้นไม้ไปเลย ลองดูมะละกอลูกนี้นะ มีรอยนกเจาะๆไว้ด้วย อุตส่าห์ไปเก็บมาให้นะ ท่านบอกว่าตั้งแต่เกิดมาไม่เคยฉันอะไรอร่อยเท่านั้นเลย ฉันเสร็จแล้วเลยเดินกลับมาเมืองไทยได้ หลงเข้าป่าพม่าไป

ที่หลงเพราะท่านไปเดินตามลำห้วยไป นึกว่าลำห้วยนี้จะไหลเข้าฝั่งไทย กลายเป็นลำห้วยนี้ไหลไปพม่า ตามไป ตามไป ต้นไม้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เลยรู้ว่าไม่ใช่เมืองไทยแน่ เมืองไทยเข้ามาต้องเหลือแต่ต้นมันสำปะหลัง

ภาวนานะ ภาวนา ต้องทำ ฝึกไปเรื่อยๆ มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ไม่ใช่ภาวนาแล้วเคร่งเครียดนะ ถ้าภาวนาแล้วเคร่งเครียดแสดงว่าทำิผิด ถ้าภาวนาถูกจะมีแต่ความสุข มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน นั่งอยู่เฉยๆก็มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา คุณมนเคยเป็นใช่มั้ย มันมีความสุข

ความสุขมันเกิดจากการมีสติ รู้ลงในกาย รู้ลงในใจ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆนะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้น มากขึ้น เป็นเรื่องประหลาดนะ รู้ทุกข์แล้วมีความสุข รู้ทุกข์แล้วพ้นทุกข์ มีแต่ความสุขล้วนๆ

ใครๆก็อยากละทุกข์ทั้งนั้นเลย พระพุทธเจ้ากลับสอนให้รู้ทุกข์ ทุกข์อยู่ที่กายรู้ลงในกาย ทุกข์อยู่้ที่จิตใจรู้ลงในใจ รู้ไปเรื่อย จนวันหนึ่งไม่ยึดถือในกายในใจ ไม่ยึดถืออะไรเลย รวมทั้งไม่ยึดถือความไม่ยึดถือด้วยนะ เหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อเล่า เสร็จแล้วท่านไปยึดความไม่มีอะไร พอท่านผ่านตรงนี้นะ จิตใจของท่านก็เปลี่ยนไปเยอะแยะ

ท่านกลับเข้ามาในเมืองนะ พอดีมีโยมคนหนึ่งรู้จักท่าน นิมนต์ท่านไปฉัน ก็มีคนรู้จักกับหลวงพ่อบอกว่าเนี่ย ท่านมาจากป่าละ เลยไปหาท่าน ไปที่บ้านเขานั่นแหละ เป็นตึกแถวนะ ไม่เจอหลายปี นานๆเจอทีหนึ่ง

ท่านก็เล่า การภาวนานะ เวลานักปฏิบัติเจอกัน สนทนาธรรมด้วยเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ น่าฟังมากเลย น่าฟัง มันเป็นเรื่องของการต่อสู้กับกิเลสของตัวเองนั้นแหละ ไม่ใช่สู้คนอื่นนะ สู้กิเลสของเราเอง ล้มลุกคลุกคลาน ตอนสู้นะ ปางตาย

แต่ตอนสู้ขาดมาแล้ว มันขำนะ มันขำว่า แต่ก่อนทำไมมันโง่นะ ของง่ายๆเท่านี้เอง ไม่เข้าใจ สอบผ่านได้แล้วมันจะขำตัวเอง บางทีรู้สึกสมเพชตัวเองนะ ทำไมมันโง่หลายนะ โง่หลาย ของง่ายเท่านี้ไม่เห็น เห็นแล้วรู้ เห็นแล้วนะ ยังไม่เข้าใจ ง่ายกว่าที่นึกนะ

การภาวนา ถ้าเมื่อไรภาวนาแล้วรู้สึกยาก สังวรไว้เลยว่าผิดแน่นอน การภาวนาถ้าถูกต้อง จะต้องง่าย จิตใจมีสติ จิตใจมีสัมมาสมาธิ รู้ตื่น เบิกบาน เห็นกายตามความเป็นจริง เห็นใจตามความเป็นจริง มีแต่ความสุขล้วนๆเลย ค่อยๆภาวนา มันไม่ได้ยากเย็นเหมือนที่เราวาดภาพไว้ เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้ผิดธรรมดา ธรรมะคือธรรมดานั่นเอง

เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ ธรรมดาของกาย ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมดาของใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน เรียนจนเห็นธรรมดา เรียนไปเรื่อย เห็นไปเรื่อย จนใจยอมรับความเป็นธรรมดาของกายของใจ ยอมรับแล้วมันไม่เที่ยงนี่ จะไปยินดียินร้ายอะไรกับมัน มันเป็นทุกข์นะ มันไม่ใช่เป็นสุข มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่บังคับได้

หลายคนภาวนาแทนที่จะมุ่งมาให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกือบทั้งหมดที่ภาวนาแล้วล้มลุกคลุกคลานนะ ภาวนาเื่พื่อจะให้มันเที่ยง เพื่อจะให้มันสุข เพื่อจะบังคับมันให้ได้

ยกตัวอย่างภาวนาแล้วอยากให้จิตใจสงบถาวร ให้สุขถาวร ให้ดีถาวร อะไรอย่างนี้ ภาวนาแล้วจะเอา อยากได้ อยากได้ความสุข อยากได้ความสงบ อยากได้ความดี สุข สงบ ดี ธรรมดาก็ไม่ได้นะ อยากถาวรด้วย ลืมไปว่าถาวรไม่มี มีแต่อนิจจัง ไม่ถาวร มีแต่ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีความสุขที่แท้จริงในกายในใจนี้

ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ภาวนาไปแล้ว ร่างกายมีความสุขนะ ไม่ใช่นะ จิตใจก็ยังทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด ธรรมดานั่นเอง ความสุขมันอยู่ตรงที่ ไม่ได้ยึดถือขันธ์ต่างหาก ไม่ยึดถือในกาย ไม่ยึดถือในใจ เป็นอิสระ อิสระจากกายจากใจ ความสุขมันอยู่ที่พ้นขันธ์ ไม่ใช่ความสุขอยู่ที่ดัดแปลงขันธ์สำเร็จแล้ว

พวกเราภาวนา รู้สึกมั้ย อยากดี อยากสุข อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่าอยากนะ มีแต่คำว่าอยาก ลืมไปว่าความอยากเกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดทีนั้น พอความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้น จิตก็ดิ้น จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีความอยากจิตก็ไม่ดิ้น จิตไม่ดิ้นจิตก็ไม่ทุกข์

แต่ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้แจ้งในกายในใจนี้ว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ มันยังรักกายรักใจ มันคิดว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา คิดอย่างนี้ มันอยากให้เรามีความสุข อยากให้เรามีความสงบ อยากให้เราดี อยากให้เราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมีความอยากแล้วใจก็ดิ้น ใจก็ดิ้นแล้วใจก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังละอวิชาไม่ได้นะ ตัณหาคือความอยากก็จะไม่หมดไป

จะหมดเป็นคราวๆพอมีสติรู้ทันนะ ก็ดับไป พอขาดสตินะ ก็กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเลยต้องมีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา แต่พอภาวนาจนถึงที่สุดแ้ล้วนี่ มีปัญญา มีวิชาเกิดแล้ว มันไม่ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมา ไม่ต้องรักษาจิตน่ะ แล้วถามว่ามีสติมั้ย มีก็มีไปอย่างนั้นล่ะ ไม่ได้มีเพื่อรักษาจิต เพราะจิตนั้นไม่ต้องรักษา เพราะคืนโลกคืนธรรมชาติเขาไปแล้ว

เนี่ยธรรมะนะ เป็นสิ่งที่เราึนึกไม่ถึง นึกไม่ถึง เราภาวนา เราก็หวังว่าวันหนึ่งจิตของเราจะดี จะสุข จะสงบ ถาวร วาดภาพพระอรหันต์ไว้อย่างนั้น จริงๆไม่ได้เป็นอย่างที่นึกหรอก คนที่วางขันธ์ไปแล้ว กับคนที่มีขันธ์อยู่ ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน ของเราคิดแต่ว่าทำอย่างไรจะดี ของท่านรู้ว่าวางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว วางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาอะไรต่อไป

ถามว่ากิเลสเกิดขึ้นมาครอบงำจิตใจได้มั้ย ไม่ได้นะ จิตใจเข้าถึงภาวะที่อะไรก็ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะว่ามีปัญญารู้ทุกข์นี่แหละ สำคัญ ใช่รู้อย่างอื่นนะ ในขณะที่เราต่อสู้ ตะลุมบอนไป จิตใจเกิดปัญญา เกิดสติ เกิดสมาธินะ เกิดคุณงามความดีแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง มันอิ่มอกอิ่มใจ แต่สักพักหนึ่งมันก็พบว่าไม่ใช่นะ มันเสื่อมไปอีก

มีสติก็ขาดสติได้นะ มีสมาธิก็ขาดสมาธิได้ มีปัญญาก็โง่ได้อีก เนี่ยยังของกลับกลอก ยังของแปรปรวนอยู่ จิตใจก็ถูกกิเลสย้อมได้อีก แ้ล้วมันยังรู้สึกลึกๆว่ายังขาดอะไรอย่างหนึ่งที่ยังไม่ีรู้แจ้ง ตราบใดที่ยังขาดอันนี้อยู่เนี่ย จิตยังไม่เลิกดิ้นรนค้นคว้า จนวันหนึ่งจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์ พอจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตคืนกายคืนจิตให้โลก มันคืนกายไปก่อนนะ สุดท้ายมันหวงอยู่ที่จิตอันเดียวนี่แหละ พอคืนจิตให้โลกไปแล้ว ไม่ียึดถืออะไรในโลกอีก งานตรงนั้นก็หมดลงตรงนั้นเอง เข้าถึงความสุขที่นึกไม่ถึง

สวนสันติธรรม
CD: 19
File: 500310A.mp3
Time: 4.02 – 14.47

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

mp3 for download : สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติเป็นความระลึกได้ ไม่ได้เจตนาระลึก นะ ถ้าเจตนาระลึกอยู่ล่ะก็ ไม่เจอของจริงหรอก ไปเพ่งเอา ปัญญาจะไม่เกิด เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่าง เจตนาระลึกรู้กาย เจตนาระลึกรู้ใจ อะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่เจตนาธรรมดา มันเป็นโลภเจตนา มันเจือด้วยความอยากด้วย เช่นอยากปฏิบัติแล้วมาคอยรู้กาย อยากปฎิบัติแล้วมาคอยรู้ใจ เนี่ยความอยากมันนำหน้า ถ้ามีความอยากนำหน้าอยู่ เจตนาตัวนั้นไม่บริสุทธิ์แล้ว เรียกโลภเจตนา นะ

โลภเจตนาเป็นความจงใจทางใจที่จะทำสิ่งบางสิ่ง ภาษาปริยัติมีทรัพย์อีกคำหนึ่งชื่อ มโนสัญญเจตนา เป็นมโนสัญญา มโนสัญญเจตนา หมายรู้ทางใจ มันจะจงใจไปหมายรู้ทางใจ เบื้องหลังมันจริงๆส่วนใหญ่ก็โลภะนั้นแหละ มันก็เลยจงใจไปหมายรู้ พอจงใจไปหมายรู้นะ โลภะแทรก สติแท้ๆมันไม่เกิดหรอก เนี่ยเราต้องค่อยๆพัฒนาจนสติอัตโนมัติเกิดขึ้นมา นะ ถ้าสติอัตโนมัติเกิดขึ้นมาเนี่ย ไม่ได้จงใจจะรู้ แต่มันรู้ของมันเอง แต่อยู่ดีๆจะให้มันรู้ของมันเองน่ะรู้ไม่ได้ ต้องฝึก ต้องทำเหตุ เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิด คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น เพราะฉะนั้นให้หัดรู้สภาวะบ่อยๆ

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
CD แผ่นที่  ๓๓
ลำดับที่ ๑๒
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๑๒ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พอไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมจะพ้นจากความเสื่อม

mp3 for download: ไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมจะพ้นจากความเสื่อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กว่าจะเข้าใจว่าการปฏิบัติจริงๆนะคือการรู้ ไม่ใช่การทำ ใช้เวลา… ใช้เวลา…ค่อยๆเรียนไป จนภาวนาเป็นแล้วนะ บางครั้งก็ยังหลงไปทำอีก มันจะอดไม่ได้หรอกนะ..อดไม่ได้ จนมาบวชอยู่สวนโพธิ์พรรษาแรกเนี่ย ยังทำอยู่เลย มันอดไม่ได้ มันกลัวไม่ดี ทำไมมันกลัวไม่ดี มันรักตัวเอง เราไม่เห็นน่ะ เบื้องหลังมันคือมันรักตัวเอง เราก็รู้อยู่อย่างเดียวว่างานเราไม่เสร็จ…งานเราไม่เสร็จ ทำไปเรื่อยนะ หาทาง เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์…เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์

วันนึงไปเห็นเข้า เราทำอะไรไม่ได้ มันเจริญแล้วก็เสื่อม มันเจริญแล้วก็เสื่อมอยู่ เอ้าช่างมันเถอะ มันได้แค่นี้ก็แค่นี้เนาะ ไม่ดิ้นเลย ไม่ดิ้นต่อละ ใจจะหมองๆรู้ว่าหมอง ไม่ดิ้นต่อว่าทำยังไงจะหายอีกละ พอเราไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมนะ เราจะพ้นจากความเสื่อม จำไว้นะ

ถ้าเรายังหวั่นไหวกับความเจริญและความเสื่อม ความเจริญและความเสื่อมก็จะเวียนมาให้ดูเรื่อยๆ ถ้าเราหมดความหวั่นไหวต่อความเจริญและความเสื่อม เข้าถึงความเป็นกลางที่แท้จริงเนี่ย คำว่าเสื่อมจะไม่มีอีกละ ค่อยหัดไปนะ หัดไป

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๑
File: 500708A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าภาวนาอย่างไม่มีส่วนได้เสียจะสบาย

mp3 (for download) : ถ้าภาวนาอย่างไม่มีส่วนได้เสียจะสบาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราเรียนรู้แบบไม่มีส่วนได้เสียจะสนุกมากเลย ถ้าเรียนรู้แบบมีส่วนได้เสียไม่สนุกเลย เหนื่อยยากและก็เหน็ดเหนื่อยที่สุดเลย

มีส่วนได้เสียเนี่ย อยากให้สุข อยากให้ดี อยากให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานไวๆ มีส่วนได้เสีย

กิเลสเกิดขึ้นอยากให้มันหายเร็วๆ มีส่วนได้เสีย

ถ้าเราดูกิเลสเกิดขึ้นในใจนะ เหมือนเห็นกิเลสของคนอื่น เหมือนคนอื่นเกิดกิเลส เราไม่เกี่ยวอะไรด้วย ใจเราไม่เข้าไปพัวพัน ดูกายก็เหมือนเห็นเป็นกายคนอื่น ดูจิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกุศลอกุศล เหมือนเห็นคนอื่นมีสุขมีทุกข์ มีกุศลอกุศล จิตใจเราจะเป็นอิสระขึ้นมา สบาย เพราะเราจะไม่ได้มีกิเลสในใจเรา แต่กิเลสมันเข้ามาสู่ใจใครก็ไม่รู้ซึ่งไม่ใช่ตัวเรา

เอาเข้าจริงตัวเราไม่มีหรอก ตัวเราเกิดจากความสำคัญผิด

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๒
File: 490702B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

mp 3 (for download) : ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจเราอยากให้หาย ทำไมใจเราอยากให้หาย เพราะมันอยากดี อยากสุข อยากสงบ จิตใต้สำนึกนี้มันรักตัวเอง มันรักกาย รักใจนี้เหนียวแน่น คิดว่ากายกับใจเป็นเราเหนียวแน่นมาก อยากให้ดี อยากให้สุข อยากให้สงบ แล้วหาทางทำ มีความอยากเกิดขึ้น กับมีความหลงผิดว่ากายกับใจเป็นเรา ก็ไปหลงรักมันเข้า ไปยึดถือมันเข้า เสร็จแล้วก็เลยอยาก เกิดตัณหา เกิดอยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ เกิดการกระทำกรรมการสร้างภพ กำหนดโน้นกำหนดนี้หาทางแก้ไขหาทางรักษาไปเรื่อย สิ่งที่เกิดขึ้นมา คือ ทุกข์นั่นเอง ทุกข์แต่เกิด คือ อวิชชามีอยู่ ไม่รู้ความจริงของกายของใจ คิดว่าเป็นตัวเรา ยึดถือเหนียวแน่นว่าเป็นเรา ก็เกิดตัณหา มีอวิชชาก็เลยมีตัณหาขึ้นมา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราสงบ อยากให้ตัวเราดี อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ อยากให้ตัวเราบรรลุมรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่า อยาก กับคำว่า ตัวเรา พอมีความอยากเกิดขึ้นจิตใจก็ดิ้นรนทำงาน ทำอย่างนี้น่าจะดีๆ ทำอย่างนี้น่าจะไม่ดี จิตใจจะทำงานดิ้นไปเรื่อยๆ

จิตใจที่ทำงาน จิตใจที่ดิ้นรน จิตใจที่เกิดภาระทางใจขึ้นมา มีความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์ทางใจก็เกิดเพราะว่าใจมันดิ้น พอยิ่งดิ้นแล้วก็ทุกข์นะ พอทุกข์ก็ยิ่งดิ้นอีก อยากให้หาย นี้เข้าวงจรของมัน ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้นนะ ใครๆก็พยายาม ทำอย่างไรมันจะดี ทำอย่างไรมันจะสุข ทำอย่างไรจะสงบ ดิ้นไปเรื่อยๆน่าสงสารนะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ละความเห็นผิดได้ ละอวิชชาได้ ตัณหาจะดับเอง ละความเห็นผิดในว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษนะ

พวกเราไม่สามารถจะเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์ได้ ไม่ใช่ภูมิที่พวกเราจะเห็นได้ สิ่งที่พวกเราเห็นได้ขณะนี้ก็คือ กายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นได้แค่นี้แหล่ะนะ เกินกว่านี้เห็นไม่เป็น เห็นไม่ได้ รู้ไม่ได้ด้วยใจ ตราบใดที่ยังเห็นว่า กายเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง จิตเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันก็ยังมีการดิ้นรนต่อไปอีก เรียกว่า ตราบใดไม่รู้ว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เรียกว่า ไม่รู้ทุกข์นะ ตัณหา คือ ตัวสมุทัยก็ยังมีอีก ใจมันดิ้นหาความสุข ดิ้นหนีความทุกข์ไปเรื่อยๆ เพราะยังมีทางเลือกอยู่ ถ้ามารู้กายรู้ใจมากเข้าๆ วันหนึ่งรู้แจ้งแทงตลอดลงในขันธ์ ๕ ในกายในใจ ในรูปในนามอันนี้ นี่ทุกข์ล้วนๆนะ เห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่ใช่ตัวเราเลย ใจจะวาง มันจะไม่อยากให้กายนี้ใจนี้มีความสุขอีกต่อไปแล้ว เพราะกายนี้ใจนี้ทำอย่างไรก็ไม่สุขหรอก มันเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ล้วนๆ มันรู้ด้วยปัญญาแล้วทำให้สุขไม่ได้ พอรู้ว่าทำให้สุขไม่ได้ มันจะวางจะปล่อยวาง แต่ถ้ายังมีทางเลือก มีสุขกับมีทุกข์ มันจะเลือกเอาสุขจะเลือกหนีทุกข์ ใจก็ดิ้นไปเรื่อยๆ

นั้นอยู่ที่ความเข้าใจของเรานี่เอง ถ้าเมื่อใดเราสามารถเข้าใจรูปนามกายใจ ขันธ์ ๕ อะไรของเรานี้ ว่ามันไม่เที่ยงนะ มันเป็นตัวทุกข์แท้ๆนะ มันบังคับไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่อาศัยเกิดขึ้นมาชั่วคราวแล้วก็แตกสลายไป ทั้งรูปทั้งนามเป็นอย่างนี้แล้ววาง ใจจะหมดความดิ้นรน เรียกว่า ตัณหาถูกละไป รู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อใด สมุทัย คือ ตัณหาถูกละโดยอัตโนมัติ อัตโนมัติแล้วไม่ขึ้นมาอีกแล้ว เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว

ของพวกเรา ภาวนาที่อยู่ครึ่งๆกลางๆนะไม่ใช่ปุถุชนธรรมดาๆ เราจะเห็นว่าถ้ามีความอยากแล้วมีความทุกข์ ถ้าเกิดความอยากนะใจก็ดิ้นรน ใจเป็นทุกข์ เราเห็นได้แค่นี้นะ เรายังไม่เห็นหรอกว่าที่ดิ้นรนก็เพราะว่า มันรักตัวเองๆ เพราะมันเห็นว่า กายนี้ใจนี้เป็นของดีของวิเศษ ถ้าเมื่อใดมันเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานะ มันเลิกรักตัวเอง มันก็จะเลิกดิ้นรน หมดตัณหาที่จะเที่ยวหาความสุข เที่ยวหนีความทุกข์ ตัณหาพูดย่อๆเลยนะ จริงๆแล้วก็คือ การวิ่งหาความสุข วิ่งหนีความทุกข์นั่นเอง ดิ้นรนไป พอดิ้นรนแล้วก็ทุกข์มากกว่าเก่า ใจเป็นทุกข์อึดอัดขัดข้องขึ้นมา

นั้นหน้าที่เรามีนิดเดียวนะ รู้กายรู้ใจๆ อย่างที่เขาเป็น รู้ไปเรื่อยๆ รู้จนวันหนึ่งมันอิ่ม รู้จนวันหนึ่งมันพอนะ มันพอ มันพอของมันเอง ตรงที่มันพอของมันเอง มันวางของมันเองๆ  ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ ไม่มีใครทำได้เลยสักคนเดียวในโลกนี้ จิตเขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เมื่อเขามีปัญญาแก่รอบในกองทุกข์จริงๆ ต้องเห็นขันธ์ ๕ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เมื่อไหร่เขาวางของเขาเองแหล่ะ

นี่พวกเราเห็นไม่ได้ เราก็เห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เราเห็นได้แค่นี้ เห็นแค่นี้ก็ยังดี รู้สึกปัญญามันก็เกิดเป็นลำดับๆไป มันก็จะเห็นเลย ความสุขก็ชั่วคราวนะ ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วคราว พอชั่วคราวๆไปเรื่อยในที่สุด จิตหยุดความดิ้นรน นี่พอจิตหยุดความดิ้นรน จิตจะไปเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน เห็นนิพพาน นิพพานนี่ไม่มีตัวมีตนอะไร มีความสงบ สันติ ถ้าฝึกลำดับๆไปนะ วันหนึ่งมันรู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจแล้วก็พ้นแล้ว มันรู้ทุกข์นั่นแหล่ะ ละสมุทัย ทำนิโรธ คือ นิพพานให้แจ้งขึ้นมาต่อหน้าต่อตา การรู้ทุกข์จนละสมุทัย แจ้งนิโรธนี่แหล่ะ เรียกว่า มรรค เรียกว่า การเจริญมรรค การเจริญมรรคจริงๆ ก็คือ การรู้ทุกข์นั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491124B.mp3
Time: 1.54 – 8.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

mp 3 (for download) : ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

พักนี้นะก็คือ ขี้เกียจขี้คร้าน ปล่อยตัวปล่อยใจตามโลกไป ความเพียรนี้มันเกิดจากความโลภก่อน อยากได้ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ อยากได้มรรคผลนิพพาน เสร็จแล้วก็เกิดความดิ้นรนในใจเรา พยายามที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดานะ ดิ้นรน ส่วนมากก็จะดิ้นรนบังคับตัวเองเท่านั้นแหล่ะ ดิ้นรนบังคับกาย บังคับใจ จะให้มันเรียบร้อย เพราะฉะนั้นตรงที่พักอยู่กับเพียรอยู่นี้ เป็นความสุดโต่ง ๒ ด้านนะ อันนี้มันมาจากพระสูตรอันหนึ่ง มีเทวดาองค์หนึ่ง รู้สึกจะพระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ มั้ง ไม่รู้นะ จำไม่ได้ถนัดแล้ว นานแล้วนะ มีเทวดาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปถามพระพุทธเจ้า บอกข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร ข้ามห้วงกิเลสได้อย่างไร พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ อันนี้แกล้งชมนะ ให้กำลังใจ ความจริงเทวดามันก็ทุกข์นั่นแหล่ะนะ แต่ว่าเทวดาองค์นี้ท่านสำคัญตนว่าเป็นพระอริยะ ก็เลยมาถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ข้ามได้อย่างไร ในใจก็ว่า ฉันข้ามมาแบบนี้ พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้โดยไม่พักอยู่ และไม่เพียรอยู่ เทวดาฟังแล้วงงเลย ไม่พักอยู่เทวดาเข้าใจ พัก หมายถึง ขี้เกียจขี้คร้านไม่ภาวนา แต่พระพุทธเจ้าบอก ท่านข้ามโอฆะได้โดยไม่เพียรด้วย เทวดางงนะ ก็เลยถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ให้พระองค์ช่วยขยายความ พระพุทธเจ้าก็ขยายความบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราข้ามโอฆะได้ โดยไม่พัก และไม่เพียร นี้เทวดาฟังเท่านี้ได้พระโสดาบัน มีใครได้หรือยัง ฟังเหมือนเทวดาแล้วนะ ได้มั้งไหม ยังไม่ได้ ไม่ได้ต้องขยายอีกนะ เผื่อจะได้

คำว่า พักอยู่ นี้หมายถึง การที่ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส หมายถึงอะไร หมายถึง กามสุขัลลิกานุโยค เพลิดเพลินไปในอารมณ์ทางโลกๆ เพลินไปในการดู ในการฟัง ในการดมกลิ่นลิ้มรส ในการสัมผัสต่างๆนะ เพลินอยู่กับโลก นี่เรียกว่า พักอยู่ แล้วจมลงใช่ไหม ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่แล้วจะจมลง ก็คือ ถ้าเราหลงตามโลก ตามกิเลสไป จิตใจเราจะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ลงถึงอบายจนได้ แล้วก็เพียร แปลว่าอะไร เพียร หมายถึง การบังคับตัวเองนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ นี่พูดแบบสุภาพนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย ทันทีที่คิดถึงการปฏิบัตินี้ ถ้าไม่บังคับกาย ก็บังคับใจ ยกตัวอย่าง สมมุติเราจะนั่งสมาธิ เราจะต้องเริ่มด้วยการบังคับกายก่อน ต้องนั่งให้มันเท่ๆ เสร็จถัดจากนั้นบังคับใจ เนี้ยนั่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆนะ ท่านบอกทำแล้วจะลอยขึ้น ลอยไปไหน ลอยไปพรหมโลก เพราะฉะนั้นทำไปๆ ก็ไปสร้างภพสร้างชาติขึ้นอีก

ทางสายกลางนั้น ไม่พักอยู่ คือ ไม่หลงตามกิเลสไป ไม่เพียร คือ ไม่เอาแต่นั่งเพ่งตัวเอง อย่างบางคนดูท้อง พอง ยุบ ก็ไปเพ่งท้อง เดินจงกรมก็ไปเพ่งเท้า ไปรู้ลมหายใจก็ไปเพ่งลมหายใจ นั่นเรียกว่า เพียรอยู่ เพียรอยู่แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไร ได้ความดี ถ้าพักอยู่ได้ความชั่ว ทั้งดีและชั่วก็นำไปสู่ภพภูมิใหม่ ภพความชั่วก็นำไปสู่อบายภูมิ ภูมิที่ตกต่ำ ความดีก็นำไปสู่ สุขคติภูมิ ไม่ได้นำไปสู่นิพพาน แต่เราทำชั่วไม่ได้นะ ถ้าทำชั่วเราจะไปอบายภูมิ หน้าที่ของเราเดินในทางสายกลาง ทางสายกลาง ก็คือ การมีสติรู้กายตามที่มันเป็น มีสติรู้จิตใจ ตามที่จิตใจเขาเป็น ดูเข้าไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: 27
File: 511018B.mp3
Time: 29.57 – 34.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เข้าถึงธรรมเพราะใจเลิกดิ้นรน

mp3 (for download) : รู้จนหมดแรงดิ้นรนก็จะเข้าถึงธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้น รู้ไปนะ รู้ไป รู้จนกระทั่งหมดแรงดิ้น คนไหนจิตมีกำลังมาก ดิ้นมาก ก็ทุกข์มากหน่อย ต้องทรมาน ทุกข์จนกระทั่งจิตมันเข็ดขยาด มันก็จะหาทางหนีตลอดเวลานะ หนีอย่างไรก็หนีไม่รอดนะ ถึงวันหนึ่งมันจะยอม เออ ช่างมันเถอะ เป็นอะไรก็เป็นไป ตรงที่มันยอมนะมันจะเข้าถึงธรรมเพราะใจมันเลิกดิ้น เพราะฉะนั้น ตอนนี้ทุกข์ต่อไป ดิ้นไปเถอะ อย่างไรก็ช่วยไม่ได้ บางคนโดนอะไรนิดหน่อย ทุกข์นิดหน่อยก็เข็ดขยาดแล้วยอม บางคนมันดื้อต้องทรมาน

พระพุทธเจ้าเคยสอน การฝึกคนท่านบอกเหมือนกับฝึกม้า ม้าบางตัวเชื่อง คือจิตบางคนนี่อ่อนโยน เชื่อง ม้าอย่างนี้ท่านก็ให้กินหญ้า ให้น้ำ ให้อะไรนะ ให้พักผ่อน ถึงเวลาพาไปวิ่งก็ฝึกได้ดี ม้าบางตัวพยศมากให้อดน้ำอดหญ้าพาไปตรากตรำจนมันเข็ดขยาด เราเลือกไม่ได้นะ จิตของเราน่ะ มันจะเป็นม้าดื้อหรือมันจะเป็นม้าเชื่องเลือกไม่ได้หรอก ไม่ยอม มันไม่ยอม เพราะฉะนั้นมันต้องสู้กันเลยจนสุดฤทธิ์สุดเดช ถ้าใจถึงก็สู้ไปวันหนึ่งก็พ้น

CD สวนสันติธรรม 10

481002A

15.25 – 16.55



เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำอย่างไรจะรู้สึกตัว?

mp3 (for download) : ทำอย่างไรจะรู้สีกตัว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หรือบางคนอยากรู้สึกตัว ทำอย่างไรจะรู้สึกตัว ทำยังไงก็ไม่รู้สึกหรอก ให้รู้สิว่าหลงเป็นอย่างไร ถ้าเมื่อไหร่ไม่หลงเมื่อนั้นก็รู้สึกตัว

CD สวนสันติธรรม 23

510126

13.52 – 14.03

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212