Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

mp3 (for download):วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีที่เราจะฝึก(ให้จิตตั้งมั่น) เราก็ใช้สตินี่แหล่ะ สติเป็นตัวที่คอยรู้ทัน อย่างตอนที่เราฝึกให้มีศีล เราใช้สติรู้ทันจิตที่มีกิเลสนะ กิเลสเกิดกับจิตรู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ศีลก็เกิด ตรงนี้เราก็เหมือนกัน เราก็อาศัยสติรู้ทันจิตนะ จิตไหลไปคิด รู้ทัน จิตไหลไปคิดรู้ทัน หรือจิตไหนไปอยู่ที่เท้า รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องรู้ทัน จิตของเรานะ เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานะ เดี๋ยวเคลื่อนไปทางตา เคลื่อนไปทางหูนะ เคลื่อนไปทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เคลื่อนไปทางใจ ส่วนใหญ่เคลื่อนไปคิด ถ้าเป็นนักปฏิบัติจะเคลื่อนไปเพ่งนะ เคลื่อนนะเคลื่อนไป ๒ แบบ ถ้าไม่เคลื่อนไปคิด ก็เคลื่อนไปเพ่งนิ่ง ๆอยู่ที่เดียวนะ

เบื้องต้นให้เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปเคลื่อนมา ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา ต้องทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่งขึ้นมา จะดูท้องพองยุบก็ได้ จะพุทโธก็ได้ จะหายใจก็ได้นะ แล้วคอยรู้ทันจิตไว้ เช่น เราพุทโธ พุทโธ ไป จิตเราไหลไปคิด ลืมพุทโธแล้วหนีไปคิดเรื่องอื่นแล้ว เรารู้ทันว่าจิตหนีไปคิดแล้ว เรารู้ลมหายใจนะ หายใจเข้า หายใจออก จิตหนีไปคิด เรารู้ทันว่า โอ้ ลืมลมหายใจแล้วหนีไปคิดแล้วนะ

ตรงที่เรารู้ทันว่าจิตไหล หนีไปคิด จิตจะตั้งมั่นขึ้นชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นเอง เรียกว่า “ขณิกสมาธิ”นะ สมาธิจะเกิดขึ้นเป็นขณะ ๆ แต่ตัวนี้สำคัญมาก อย่าดูถูกว่าหนึ่งขณะจิตไม่สำคัญนะ เวลาที่เกิดอริยมรรคเนี่ย เกิดหนึ่งขณะจิตเท่านั้นนะ ไม่มีสองขณะจิตเลย ในขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น เกิดชั่วแว๊บเดียวเท่านั้นเอง งั้นหนึ่งขณะเนี่ยเราอย่าดูถูก เราต้องมาฝึกจิตให้ตั้งมั่นเป็นขณะ ๆ ขึ้นมาไม่ใช่ตั้งแล้วสงบ ซึม ๆ อยู่เฉย ๆนะ ตั้งซึมมา ๓ วัน ๓ คืน ก็ซึมอยู่อย่างนั้นแหละ อย่างนั้นจะไม่ใช่สมาธิที่เอาไว้เดินปัญญานะ สมาธิที่เราจะใช้เดินปัญญาเนี่ย สมาธิธรรมดานี่เองนะ ใจเราไหลไป เรารู้ทัน ใจเราไหลไป เรารู้ทัน เบื้องต้นทำกรรมฐานอย่างหนึ่งก่อน ช่วยให้เรารู้ทันจิตที่ไหลไปได้ง่ายขึ้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ อยุธยาพาร์ค เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๖

File: 560425.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๓

ตัด/ถอดคลิปส์โดยคุณ ok2077
ตรวจทานโดยคุณ พัลวัน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ลักษณะของจิตที่ถึงฐาน

mp 3 (for download) : ลักษณะของจิตที่ถึงฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตที่ถึงฐานนะ จะเบา นุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่ว ว่องไว ถ้ามีลักษณะ หนัก แน่น แข็ง ซึม ทื่อ แสดงว่ายังไม่ใช่จิตที่ถึงฐานจริง ยังไม่ใช่ของจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๙ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
Track: ๘
File: 551209B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

mp3 for download : วิธีการฝึก และประโยชน์ ของสมาธิทั้งสองชนิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :เนี่ยพวกเรา จุดสำคัญนะ ก่อนที่พวกเราจะก้าวไปสู่การเจริญปัญญาซึ่งว่ากันเป็นของดีของวิเศษ ในทางพระพุทธศาสนา เราต้องมาปรับจิตใจของเราก่อน ให้พร้อม ต้องมาเตรียมความพร้อมของจิตเสียก่อน จิตที่จะไปเจริญปัญญาได้ต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง

สมาชิกทั้งสองชนิดมีประโยชน์ทั้งคู่ สมาธิเพื่อความสงบก็มีประโยชน์ แต่ประโยชน์ของสมาธิเพื่อความสงบนั้นน่ะ ทำให้จิตใจสดชื่น มีเรี่ยวมีแรงนะ ส่วนสมาธิที่ใช้เจริญปัญญานั้นทำให้จิตใจฉลาด คนละแบบกัน มีประโยชน์ทั้งคู่ ถ้าเราทำสมาธิได้ทั้งสองชนิด ดีที่สุด ถ้าทำชนิดแรกไม่ได้นะ ทำไปเพื่อความสงบไม่ได้ ทำอย่างที่สองได้ ก็ยังเอาตัวรอดได้

ในสมัยพุทธกาลนะ ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านก็อธิบายให้พวกพระฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มี ๖๐ องค์ได้วิชา ๓ วิชา ๓ ก็คือ ระลึกชาติได้ รู้ว่าใครตายแล้วไปเกิดที่ไหน แล้วก็ล้างกิเลสได้ ๓ อย่าง พระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย มี ๖๐ องค์ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ต้องทรงฌานนะ ต้องทรงฌาน ในบรรดา ๕๐๐ องค์

นอกจากวิชา ๓ แล้วนะ ยังมีพวก อภิญญา ๖ นะ เช่นได้หูทิพย์ ตาทิพย์ รู้วาระจิตคนอื่นอะไรอย่างนี้ มีทิพยโสต ทิพยจักษุ เจโตปริยญาณ จำไม่ได้แล้ว มีหลายอัน พระอรหันต์ที่ได้อภิญญา ๖ มี ๖๐ องค์ (คิดเป็นร้อยละ ๑๒ – ผู้ถอด) คนที่ได้อภิญญา ๖ น่ะ ต้องทรงฌานนะ เพราะฉะนั้นรวม ๒ กลุ่มนี้ ได้ ๑๒๐ จาก ๕๐๐ (รวมเป็นร้อยละ ๒๔ – ผู้ถอด)

ก็ยังมีพระอรหันต์อีกจำพวกหนึ่ง ท่านเรียกว่า อุภโตภาควิมุติ อุภโตภาควิมุตินั้นไม่เหมือนพระอรหันต์ทั่วๆไป คือตอนที่บรรลุมรรคผลเนี่ย ท่านเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์ทั่วๆไปเนี่ย บรรลุมรรคผล เข้ารูปฌาน พวกที่เข้าถึงอรูปฌานก็ดับรูป ดับรูปธรรมด้วยอรูปฌาน ดับนามธรรมทั้งหลายด้วยวิปัสสนาญาณ เลยเรียกว่า “ดับโดยส่วนทั้งสอง” คือ ดับทั้งรูปทั้งนาม ดับทั้งรูปทั้งนามไม่ใช่ไม่มีอะไรเหลือ ว่างเปล่า นะ ไม่มีอะไรเลยเรียกว่าพรหมลูกฟัก ไม่ใช่ ยังมีจิตอยู่ แต่ไม่มีความปรุงแต่งหยาบๆอย่างที่พวกเราเห็น คือท่านปล่อยวางความยึดถือทั้งในรูปธรรมและในนามธรรมได้ แต่ปล่อยรูปธรรมไปเพราะเข้าอรูปฌาน พระอรหันต์จำพวกนี้มี ๖๐ องค์เหมือนกัน

รวมทั้ง ๓ ชนิดนะ ๖๐ + ๖๐ + ๖๐ ได้เท่าไหร่ ๑๘๐ จาก ๕๐๐ (คิดเป็นร้อยละ ๓๖ – ผู้ถอด) พระอรหันต์ที่เหลือ ๓๒๐ (คิดเป็นร้อยละ ๖๔ – ผู้ถอด) คือคนซึ่งธรรมดาๆอย่างพวกเรานี่แหละ ไม่ใช่ว่าทรงฌานอย่างชำนิชำนาญมาก่อน อาจจะเดินปัญญาไป จิตไม่ได้ทรงฌาน เดินปัญญารวดไปเลย แห้งแล้ง พระอรหันต์ที่ปฏิบัติไปนะ บรรลุมรรคผลนิพพานไปด้วยใจที่แห้งแล้ง หมายถึงไม่มีความชุ่มฉ่ำหรอก เห็นแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ภาวนาไปเนี่ย ใจไม่ได้พัก เพราะฉะนั้นจะทุกข์ยากเยอะเลย ทุกข์มากนะ ภาวนาแล้วจะรู้สึกแห้งแล้ง เรียกว่าพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ ไม่ได้ทรงฌาน แต่ตอนที่เป็นพระอรหันตแล้วนะ ตอนที่เป็นพระโสดาบันแล้วน่ะ จะได้ฌานอัตโนมัติ อย่างน้อยจะได้ปฐมฌานขึ้นมา แต่ตอนที่เดินไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลเนี่ย ไม่ได้ทำฌาน

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ พวกเราจะไปสรุปตามใจชอบนะว่า ต้องนั่งสมาธิเข้าฌานได้ก่อน ถึงจะเจริญปัญญาได้ บางคนสรุปแบบนี้นะ ใช้ไม่ได้เลยนะ มันขัดกับพระไตรปิฎกเลย คนส่วนน้อยหรอก ที่ทรงฌาน คนส่วนมากก็คือคนอย่างพวกเรานี้แหละ แล้วทำไมถึงไปบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ท่านที่บรรลุมรรคผลโดยทรงฌาน ท่านก็มีสมาธิอย่างที่สองด้วย ถ้ามีสมาธิแต่อย่างแรกน่ะ จะบรรลุมรรคผลไม่ได้หรอก

สมาธิสองชนิดต่างกันอย่างไร สมาธิอย่างแรกที่เป็นไปเพื่อความสุขความสงบนั้นน่ะ มันมีลักษณะที่ว่า มีจิตเป็นหนึ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตก็เป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง จิตไปรวมสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพราะฉะนั้นไม่เดินปัญญา ยกตัวอย่าง พุทโธ พุทโธ พุทโธ นะ จิตอยู่กับพุทโธไม่หนีไปไหนเลย สงบอยู่กับพุทโธ นี่คือสมาธิชนิดที่หนึ่ง ไปรู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปไหนเลย จิตจับอยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเลย นี่คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปดูท้องพองยุบ เห็นท้องพองท้องยุบ จิตจับเข้าไปที่ท้อง ไม่ไปไหนเลย สงบอยู่กับท้องเท่านั้นเอง นี่เป็นสมาธิอย่างที่หนึ่ง ไปเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า จิตไปเพ่งอยู่ที่เท้า หรือเพ่งอยู่ที่ร่างกายทั้งร่างกาย นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิอย่างที่หนึ่ง

ปกติจิตของคนเรานะ จะส่ายตลอดเวลานะ จะวิ่งหาอารมณ์ตลอดเวลา เดี๋ยวก็วิ่งไปทางตา ไปหาอารมณ์ทางตา เรียกว่า รูปารมณ์ คือ อารมณ์คือรูป บางทีก็วิ่งไปหาอารมณ์ทางหู คือเสียงนะ บางทีก็ไปหากลิ่น หารส หาสิ่งที่มาสัมผัสร่างกาย บางทีก็วิ่งไปนึกคิดปรุงแต่งทางใจ ถ้าทางใจเรียกว่า ธรรมารมณ์ จิตของเราจะจับจดในอารมณ์ต่างๆนะ วิ่งไปจับอารมณ์นั้นทีหนึ่ง วิ่งไปจับอารมณ์นี้ทีหนึ่ง มันวิ่งไปเพราะอะไร เพราะมันเที่ยวแสวงหาความสุข มันไปดูรูป มันหวังว่าจะมีความสุข มันไปฟังเสียง มันหวังว่าจะมีความสุข ไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกาย ไปคิดนึกทางใจ หวังว่าจะมีความสุข แล้วมันไม่อิ่ม มันไม่เต็ม มันก็วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อื่นต่อไปอีกนะ คล้ายๆหมาตัวหนึ่งนะ หมาจรจัด ไม่มีใครเลี้ยง ก็วิ่งไปทางนี้ ได้กินอาหารนิดหน่อยนะ คุ้ยขยะได้อาหารมานิดหน่อยนะ ไม่อิ่มน่ะ ก็ต้องวิ่งไปที่อื่นอีก ไปคุ้ยที่อื่นนะ บางทีกินได้หน่อยหนึ่งไม่อิ่มนะ ก็วิ่งต่อไปอีก

จิตของเราที่มันไม่ได้ทรงสมาธินะ ไม่ได้ทรงสมาธิชนิดที่ใช้พักผ่อนน่ะ เป็นจิตที่หิวอารมณ์ จิตของเราเหมือนหมาจรจัด ไม่เต็ม ไม่อิ่ม จะหิวโหยอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แล้วมันจะวิ่งพล่านไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลาเลย

มันก็มีวิธีการที่จะทำให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวนะ ให้เราเลือกอารมณ์กรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แทนที่จะปล่อยให้จิตสะเปะสะปะ เที่ยวหาอารมณ์ร่อนเร่ไปตามยถากรรม เราก็มาดูว่าจริตนิสัยของเรา ควรจะทำกรรมฐานอะไรเพื่อให้จิตมีความสุข เคล็ดลับของการทำสมถกรรมฐาน สมาธิชนิดที่ ๑ สมาธิที่ใจสงบเนี่ย อยู่ที่การเลือกอารมณ์ ว่าเรารู้จักเลือกอารมณ์ที่เหมาะกับจริตนิสัยของเรามั้ย ยกตัวอย่างคนไหนช่างคิดมากก็อาจจะหายใจ รู้ลมหายใจไป คนไหนขี้โมโหมากก็อาจจะเจริญเมตตาไป คนไหนความยึดความคิดความเห็นรุนแรงอะไรมากนะ ทะเลาะกับเขาไปทั่ว อาจจะคิดถึงความตายขึ้นมาก็ได้ คนไหนบ้ากามมากก็มาคิดถึงร่างกาย ที่เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ ไม่สวยไม่งาม อย่างนี้ใจมันได้อารมณ์ที่พอเหมาะ มันจะสงบ

สรุปง่ายๆว่า ถ้าเรารู้จักเลือกอารมณ์ ที่จิตไปรู้แล้วมีความสุข จิตก็มีจะมีความสุขอยู่ในอารมณ์อันนั้นแล้วไม่วิ่งพล่านไปหาอารมณ์อันอื่น คล้ายๆหมาตัวนี้่วิ่งๆมานะ มาเจอคนใจบุญ คนใจบุญให้อาหารกินเต็มอิ่มเลย หมานี้ไม่ต้องวิ่งพล่านไปที่อื่นแล้ว หมาก็อยู่กับที่นะ เดี๋ยวนอนไป ตื่นขึ้นมา หิวอีกแล้ว คนก็ให้กินอีก ไม่หนีไปไหนเลย สุดท้ายเป็นหมาขี้เกียจ นอนอยู่อย่างนั้แหละ พวกที่ติดสมาธินั้นแหละ เปรียบเทียบรุนแรงไปมั้ย พวกที่หิวอารมณ์นะ ก็เหมือนหมาจรจัดนะ พวกที่ติดสมาธิก็เหมือนหมาที่มีเจ้าของ ได้กินอิ่มก็ไม่ไปไหน มีแต่ความสุขอยู่แค่นั้นเอง

เพราะฉะนั้นอยู่ที่การเลือกอารมณ์นะ ทำได้ ควรจะทำ ถ้าทำแล้วจิตใจะมีเรี่ยวมีแรง มีประโยชน์นะ ไม่ใช่ไม่มี สมถกรรมฐานมีประโยชน์ ถ้าเราได้พักอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นครั้งเป็นคราว และเราไม่ได้ติดอยู่ในอารมณ์อันนั้น จิตจะมีกำลัง แต่ถ้าไปติดสมถะเนี่ย จะไม่เดินปัญญา

ตรงที่บางคนมาหาหลวงพ่อนะ สมัยก่อน ซึ่งพวกเรายังไม่ได้จิตที่รู้ที่ตื่นกันนั้น คนที่มาหาหลวงพ่อยุคแรกๆนะ เป็นพวกติดเพ่งมาแทบทั้งนั้น เพราะสมัยโบราณนะ คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็นั่งเพ่งเอาเมื่อนั้น เหมือนที่เจ้าชายสิทธัตถะท่านทำนั้นแหละ ออกจากวังมา สิ่งแรกที่ท่านทำก็คือ ไปนั่งสมาธิกับฤๅษี พวกเราเมื่อสักสิบปีก่อน มักจะติดเพ่งกันเป็นส่วนใหญ่ พอไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องแก้การที่ติดเพ่งนี่ก่อน บางคนนั้นหลวงพ่อบอกว่าให้หยุดการทำสมาธิไว้ก่อน พอได้ยินอย่างนี้ก็เลยคิดว่าหลวงพ่อไม่ให้ทำสมาธิ ที่จริงก็คือ ทำสมาธิมาผิดนั่นเอง ต้องแก้ก่อน เสร็จแล้วก็ต้องมาฝึกให้ใจมันตื่นขึ้นมา ตรงที่ใจมันตื่นนั้นแหละ เราได้สมาธิอย่างที่สอง เพราะฉะนั้นถ้าพวกเราคนไหนติดเพ่งนิ่งๆว่างๆนะ สบายอยู่แค่นั้น

แค่นั้นไม่พอนะ แค่นั้นมันเหมือนหมาที่เจ้าของใจดีแค่นั้นเอง ต้องมาฝึกสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดแรกน่ะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง จิตรวมเข้ากับอารมณ์อยู่ด้วยกัน พักผ่อนอยู่ในอารมณ์ที่สบาย สมาธิอย่างที่สองเนี่ย จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นแสนเป็นล้านก็ได้ อารมณ์เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเลย แต่จิตเป็นหนึ่ง เป็นแค่คนดู ไม่ใช่คนสงบนิ่งนะ เป็นแค่คนดู

คือเราต้องมาฝึกจิตให้เป็นคนดูให้ได้ ถอยออกมาจากปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรม ส่วนใหญ่ของคนเราก็คือ เวลาที่เกิดปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมแล้ว จิตจะไหลเข้าไปรวมกับปรากฎการณ์นั้น ยกตัวอย่างเวลาเราดูโทรทัศน์ จิตจะไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ หรือเวลาที่เราคิดถึง ดูโทรทัศน์ ดูข่าว ดูอะไรนะ พูดถึงนายกฯหญิงสวยงามอะไรอย่างนั้นนะ ใจเราไปคิดถึงเขา ใจเราลอยไป ใจเราลอยแล้วลืมตัวเราเอง เนี่ยใจที่มันล่องลอยแล้วมันลืมตัวมันเองเนี่ย คือใจที่ขาดสมาธิชนิดอย่างที่สอง เป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น คนที่ขาดสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นเนี่ย มีร่างกายก็ลืมร่างกายมีจิตใจก็ลืมจิตใจของตัวเอง มัวแต่ไปดูรูป แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปฟังเสียง แล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง มัวแต่ไปดมกลิ่นแล้วก็ลืมกายลืมใจของตัวเอง

ก่อนหลวงพ่อบวชนะ หลวงพ่อก็ไป เป็นฆราวาสนี่ ก็เดินตามศูนย์การค้าอะไรก็ไปบ้าง ไปซื้อของอะไรเนี่ย จะมีที่ขายน้ำหอมน่ะนะ พวกเราเห็นมั้ย พวกผู้หญิงก็จะไปยืนเป็นแถวเลยนะ แล้วก็เอามาทามือนะ ดมๆ ดมๆ ไปเรื่อยนะ ในขณะที่ดมน้ำหอม นึกออกมั้ย รู้อะไร รู้กลิ่นของน้ำหอม ใช่มั้ย ในขณะนั้นเราลืมกายลืมใจของตัวเอง หรือเราเห็นคนโทรศัพท์มั้ย เดินโทรฯ ทำท่าแปลกๆ ขณะที่คุย เม้าธ์ เพลินไปนะ ร่างกายเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ จิตใจของตัวเองเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ มันลืมตัวมันเอง สภาวะที่จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจลืมตัวเอง ลืมกายลืมใจของตัวเอง นี่แหละคือสภาวะที่จิตขาดสมาธิชนิดที่จิตใจตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นสมาธิอย่างที่สองเนี่ยนะ ถ้าจะพูดง่ายๆก็คือสภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ร่อนเร่ไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นจิตเป็นหนึ่ง ไม่ได้มี ๖ คือ วิ่งไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ แต่รู้สึกตัวอยู่ เป็นหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าอารมณ์ทั้งหลายนั้นเคลื่อนที่ ทั้งที่รูปธรรมนามธรรมนี้ เคลื่อนที่ผ่านความรับรู้ของจิตไปเรื่อยๆ เช่นตามองเห็นรูป ใจก็เป็นคนดู ก็เห็นรูปเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างหาก ใจเป็นคนดู เมื่อไรขาดสติ จิตก็ปรุงแต่ง เห็นรูป โอ้สวย ใจมีราคะ ไม่รู้ทัน ถ้าใจตั้งมั่น ใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ก็จะเห็นว่า ตอนนี้เกิดราคะอยู่ ตอนนี้เกิดโทสะอยู่ เนี่ยใจมันต้องตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจลืมเนื้อลืมตัว มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ จิตใจที่ลืมเนื้อลืมตัว ก็คือจิตใจที่ไม่มีสมาธิอย่างที่สอง ไม่มีความตั้งมั่นของจิต

ปกติจิตของเราร่อนเร่ตลอดเวลานะ ถึงไปทำฌาน จิตก็ไหลไปรวมเข้ากับอารมณ์อันเดียว จิตไม่ได้ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเราต้องมาฝึกให้จิตตั้งมั่น วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น ก็คล้ายๆกับวิธีฝึกให้จิตสงบนั่นแหละ เวลาที่เราจะฝึกให้จิตสงบนะ เราก็เลือกอารมณ์ขึ้นสักอารมณ์หนึ่ง ที่มีความสุข แล้วน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น คนไหนพุทโธแล้วมีความสุขก็พุทโธไปเรื่อยๆ จิตมีความสุขกับพุทโธ จิตไม่หนีไปที่อื่น ได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่นนะ พุทโธไปแล้วรู้ทันจิต ไม่ได้น้อมจิตไปอยู่ที่พุทโธ แต่พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตนะ หรือรู้ลมหายใจ ก็ไม่น้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ใจจะเป็นสมาธิชนิดที่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่ถ้าเราหายใจไปแล้วจิตตั้งมั่นเป็นคนดู รู้ทันจิตอยู่ หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เราจะได้สมาธิชนิดที่ตั้งมั่น คือไม่เคลื่อน

เพราะฉะนั้นสมาธิจึงมีสองชนิดนะ ชนิดหนึ่งเคลื่อนไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ก็ได้สมถะได้ความสงบเฉยๆ เอาไว้พักผ่อน อีกอันนะจิตไม่เคลื่อน แต่อารมณ์นั้นเคลื่อน รูปก็เคลื่อนไหว เสียงก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง กลิ่นก็เปลี่ยนแปลง รสก็เปลี่ยนแปลง สิ่งที่มาสัมผัสร่างกายก็เปลี่ยนแปลง ตาหูจมูกลิ้นกายก็เปลี่ยนแปลง ใจของเราก็เปลี่ยนแปลง ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจนะ ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ก็เปลี่ยนแปลง แต่ใจของเราเป็นคนดู ใจเราเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น ใจเราเป็นคนดูอยู่ ไม่ได้ยากอะไร ถ้ารู้วิธีแล้ว ไม่ได้ยากอะไรเลย ให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทัน ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งแล้วคอยรู้ทันจิตไว้ การที่เราทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา จะทำให้เรารู้ทันจิตได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่ทำกรรมฐานเลย แล้วอยู่ๆจะไปรู้ทันจิต จิตมันจะส่ายไปในอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเราดูไม่ทัน

เพราะฉะนั้นเราก็หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง แต่เราไม่ได้น้อมจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานนั้น หาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นเครื่องรู้เครื่องอยู่นะ แล้วเมื่อจิตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป มันหนีไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน มันเคลื่อนไปเมื่อไหร่เราคอยรู้ทัน จิตจะเคลื่อนไป ๒ แบบเท่านั้น ๑ เคลื่อนไปคิด หรือหลงไปทีอื่นซะ อันที่ ๒ เคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นเรารู้ลมหายใจอยู่นะ จิตหนีไปคิดก็มีนะ ลืมลมหายใจไป จิตเคลื่อนไปเกาะที่ลมหายใจไป กลายเป็นสมถะกรรมฐาน ก็มีนะ ถ้าเคลื่อนไปเกาะอยู่ในอารมณ์อันเดียว กลายเป็นสมถะ เป็นสมาธิชนิดสงบ ถ้าเคลื่อนหนีไปคิดเลยนะ สมาธิชนิดสงบก็ไม่มีนะ ฟุ้งซ่านอย่างเดียว

แต่ว่าการเคลื่อนไปนั้นมีสองชนิด เคลื่อนไปหาอารมณ์อื่นเคลื่อนไปคิดเรื่องอื่น กับเคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้ารู้ทันว่าจิตเคลื่อน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบังคับให้ตั้งมั่น เขาจะตั้งของเขาเอง แต่ถ้าสมาธิของเรายังไม่แข็งแรงนะ จะเคลื่อนแล้วรู้สึกขึ้นมา ตั้งได้แว็บเดียว แล้วก็เคลื่อนไปอีก บางทีเคลื่อนไปนานเลยนะ แล้วรู้สึกขึ้นมาอีกแล้ว ตั้งขึ้นมาอีกแว้บหนึ่ง จะเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องฝึกให้มากนะ ฝึกเพื่อให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวให้ได้ ถ้าจิตใจยังไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ยังเดินปัญญาไม่ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๗ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจ้าชายสิทธัตถะ ฝึกสมาธิชนิดที่เกื้อกูลให้เกิดปัญญามาจนชำนาญก่อนแล้ว

mp3 for download : เจ้าชายสิทธัตถะ ฝึกสมาธิชนิดที่เกื้อกูลให้เกิดปัญญามาจนชำนาญก่อนแล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ทางสายกลางเนี่ย ไม่ใช่ท่านพบในวันเดียว (หมายความว่า ท่านเคยเดินทางสายกลางนี้มาก่อนแล้ว ก่อนมาเกิดในชาตินี้ – ผู้ถอด) หลักฐานที่สำคัญก็คือ ตอนที่ท่านอายุ ๓ ขวบเนี่ย ท่านนั่งสมาธิอยู่ที่ใต้ต้นหว้า นั่งเอง ไม่มีอาจารย์สอน แล้วตอนนั้นเป็นเด็ก ไม่มีมารยา ลุกขึ้นนั่งสมาธิก็นั่งไปด้วยความเคยชินของจิตที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว

หายใจออก หายใจเข้า ด้วยความรู้สึกตัว จุดสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัว ไม่ใช่หายใจเอาเคลิ้ม เอาสุข เอาสงบ แต่หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว ท่านได้เอามาสอนสาวกในชั้นหลังนะ ที่ท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้วท่านก็เอามาสอน บอกว่า ภิกษุทั้งหลายให้เธอคู้บัลลังก์ คู้บัลลังก์ก็คือนั่งขัดสมาธิ ทำไมต้องนั่งขัดสมาธิ เพราะว่าไม่มีเก้าอี้จะนั่ง คนหรือนั่งบวชอะไรต่ออะไร สมัยนั้น เขาก็นั่งกับพื้น นั่งกับพื้น ท่านั่งที่นั่งได้ทนก็คือนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบก็นั่งได้ไม่ทน

ท่านบอกว่า ภิกษุทั้งหลายให้เธอนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เห็นมั้ย มีสติ (คำว่า “เฉพาะหน้า” หมายถึง “ปัจจุบัน” – ผู้ถอด) หายใจออกยาว รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้ายาว รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้น รู้ว่าหายใจออกสั้น หายใจเข้าสั้น รู้ว่าหายใจเข้าสั้น ลมหายใจระงับ รู้ว่าลมหายใจระงับ จิตตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา ไม่ขาดสติ มีสติตลอด

เนี่ยสมาธิชนิดนี้แหละ คือสมาธิชนิดที่จะเอาไปเดินปัญญาต่อ ส่วนสมาธิที่มุ่งไปหาความสุข ความสงบ ความสบาย หรือมุ่งไปหาความดีต่างๆ เป็นสมาธิสาธารณะ ฤๅษีชีไพรเขาก็ทำมาก่อน แต่ไม่ทำให้เกิดปัญญา พวกเราต้องแยกให้ออกนะ สมาธิมี ๒ อย่าง สมาธิที่เป็นไปเพื่อความพักผ่อน เพื่อความสงบ ความสบาย เพื่อความสุข เป็นแบบหนึ่ง สมาธิที่มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีสติอยู่ ไม่เผลอ ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นสมาธิมี ๒ ชนิด

พวกเรามักจะได้ยินได้ฟังเสมอนะว่า ต้องมีสมาธิจึงจะเกิดปัญญา อันนั้นน่ะพูดถูก แต่ไม่ถูกเต็มที่ ต้องมีสมาธิที่ถูกต้องถึงจะเกิดปัญญาได้ ถ้ามีสมาธิที่สงบ สบาย เพลิดเพลิน นิ่งๆไป ไม่เกิดปัญญาหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๘ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

mp3 for download : เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :หน้าที่ของเรา เจริญสติปัฏฐาน มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง คือจิตที่มีสมาธิที่ถูกต้อง จิตตั้งมั่น อารมณ์นั้นเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย จิตเป็นคนดู จิตเป็นคนดู ไม่เข้าไปอิน ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่ไปหลงยินดียินร้ายกับอารมณ์ที่กำลังปรากฎขึ้นต่อหน้าต่อตา ความสุขเกิดขึ้นก็รู้ทันว่ามีความสุขเกิดขึ้น ก็จะเห็นว่าความสุขเกิดได้ ความสุขก็ไปได้ ความทุกข์เกิดขึ้นก็มีสติรู้ทันนะ จิตเป็นคนดูอยู่ ก็จะเห็นความทุกข์มาได้ ความทุกข์ก็ไปได้ จะเห็นอย่างนี้

กิเลสมา จิตจะตั้งมั่นเป็นคนดูอยู่ ก็จะเห็นเลยว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง มาแล้วก็ไป ทุกอย่างมาแล้วก็ไปหมดเลย เนี่ยหัดเจริญสติเจริญปัญญามากๆนะ วันหนึ่งใจมันรู้ความจริงเลยว่า รูปนาม ขันธ์ ๕ กายใจของเรา ไม่ใช่ของดีของวิเศษอะไรหรอก เป็นของที่ไม่เอาไหนเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะไม่เที่ยง ทุกข์เพราะบีบคั้น ทุกข์เพราะว่าไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามใจอยาก

ไม่อยู่ในอำนาจไม่เป็นไปตามใจอยาก ทุกข์เพราะเราเห็นอนัตตา ตรงที่เห็นไม่เที่ยงหมายถึงของเคยมีแล้วมันก็ไม่มี ยกตัวอย่างเคยมีความสุขแล้วมันก็ไม่มี เคยมีความเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วมันก็ไม่มี อย่างนี้เรียกว่ามันไม่เที่ยง หายใจ ลมหายใจออกแล้วก็มาหายใจเข้า แสดงว่าลมหายใจออกก็ไม่เที่ยง ของที่เคยมีแล้วไม่มี เคยโกรธแล้วไม่โกรธ เคยรักแล้วไม่รัก นี่ล่ะไม่เที่ยง คำว่าเป็นทุกข์หมายถึงมันบีบคั้น ถูกบีบคั้น ยกตัวอย่างความสุขเกิดขึ้น ความสุขถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลาที่จะให้สลายตัวไป ร่างกายของเราเกิดขึ้นมาแล้วก็ถูกบีบคั้นตลอดเวลาเพื่อให้สลายตัวไป แต่บีบคั้นอย่างนี้เรียกว่าเป็นตัวทุกขัง แล้วก็ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากเหตุ ไม่ใช่เกิดตามที่เราสั่ง มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ นี่เรียกว่าเป็นอนัตตา

ถ้าเราเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเพียงมุมใดมุมหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง เราจะรู้เลยว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ไม่ใช่ของที่น่ารักน่าหวงแหน มันเป็นภาระทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ถ้าเราได้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนใจเรายอมรับความจริงได้ ความยึดถือจะหมดไป พระพุทธเจ้าจึงสอนบอกว่า “เพราะเห็นตามความเป็นจริง จึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด คือคลายความรักใคร่ยึดถือ เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
File: 551208B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๒๗ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จะได้สมาธิที่ใช้เจริญปัญญา

mp3 for download : ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จะได้สมาธิที่ใช้เจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย
retouched by Dhammada.net

หลวงพ่อปราโมทย์ :ถ้าไหว้พระสวดมนต์แล้วสงบได้ ก็ไหว้พระสวดมนต์ ถ้ามันไม่ไหวจริงๆนะ หาหนังสือมาอ่านก็ได้ ให้ใจมันคลาย พอใจมันคลายแล้วก็มาไหว้พระสวดมนต์ มารู้ลมหายใจแล้วก็มารู้ทันจิตไป ใจไหลแล้วรู้ ใจไหลแล้วรู้ ต่อไปจากนี้นะ จะง่าย ไม่ต้องเริ่มต้นไกลเลย คิดถึงพระพุทธเจ้านิดหน่อยก็พอแล้ว ใจสบาย มีความสุข คิดถึงพระพุทธเจ้าแล้ว แค่นะโมตัสสะ ยังไม่ทันภะคะวะโต จิตก็สงบแล้วนะ ค่อยๆฝึก

จิตสงบเพราะว่าอะไร เพราะว่าชำนาญในการรู้ทันจิตที่เคลื่อน พอรู้ทันจิตที่เคลื่อนปุ๊บ จิตก็ตั้งมั่นเลย เคล็ดลับอยู่ตรงที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนนะ การทำสมาธิชนิดที่ถูกต้องน่ะ ไม่ใช่เคล็ดลับอยู่ที่น้อมใจไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขเป็นสมาธิชนิดที่เป็นสมถะ ถ้าจะใช้สมาธิชนิดที่สองที่เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน” เนี่ย ให้รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป ไม่ห้าม พุทโธๆไปก็ได้ จิตเคลื่อนแล้วรู้ ไม่ใช่ว่าพุทโธไปแล้วห้ามจิตเคลื่อน จิตแข็งๆอย่างนั้นผิดนะ

ค่อยๆฝึกนะ เอาสมาธิขึ้นมาให้ได้ พอได้สมาธิแล้วก็ดูไป ร่างกายก็อยู่ส่วนร่างกาย ใจเป็นคนดู จิตที่ตั้งมั่นแล้วมันจะกลายไปเป็นคนดูได้ เขาถึงเรียกว่า “ผู้รู้” ไง มันเป็น “ผู้รู้” มันไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง เพราะฉะนั้นเรามาฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ให้ได้นะ จิตของคนในโลกของสัตว์ทั้งหลายนั้น เป็นผู้นึกผู้คิดผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน วิธีที่จะทำให้เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธ หายใจ อะไรก็ได้ แล้วพอจิตเคลื่อนไปแล้วรู้ เคลื่อนไปคิด รู้ เคลื่อนไปเพ่ง รู้ ต่อไปจิตพอเคลื่อนเรารู้ปุ๊บ สมาธิจะเกิด จะรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จะรู้ จะตื่น จะเบิกบานเลย พอจิตเป็นผู้รู้ได้ คราวนี้ก็มารู้อะไร ก็รู้กายมันทำงาน รู้ใจมันทำงาน ก็เห็นความจริงของกายของใจ เกิดปัญญาได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า
File: 551231A
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๘
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น

mp3 for download : ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาจะมีลักษณะที่เบา มีลักษณะที่นุ่มนวลอ่อนโยน มีลักษณะที่ปราดเปรียวว่องไว ไม่หนักไม่แน่นไม่แข็งไม่ซึมไม่ทื่อ

ถ้านั่งสมาธิแล้วจิตแน่นจิตแข็งจิตซึมจิตทื่อ ให้รู้เลยว่าเป็นมิจฉาสมาธิแล้วล่ะนะ นอกรีตนอกรอยแล้ว ไม่ใช่สมาธิในทางศาสนาพุทธแล้ว หรือนั่งแล้วเคลิ้มง่อกๆแง่กๆขาดสตินะ ใช้ไม่ได้เลย จิตไม่ได้มีความคล่องแคล่วว่องไวควรแก่การงาน จิตสะลึมสะลือ หรือจิตเที่ยวเห็นโน้นเห็นนี่ออกข้างนอกไป จิตไม่อยู่กับฐาน สิ่งเหล่านี้ใช้ไม่ได้ทั้งสิ้นเลย

ถ้าเรามีสมาธิที่ถูกต้องเนี่ย จิตจะมีความตั้งมั่นอยู่กับตัวเอง จิตตั้งมั่นอยู่กับจิต เรียกว่าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ จิตหนีไปเมื่อไหร่มันก็ลืมกายลืมใจ มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ แต่ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จิตจะเบาสบาย นุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว มีความสุขความสงบอยู่ในตัวเอง จิตจะถอยตัวออกมาจากรูปธรรมนามธรรม เพราะไม่ไหลเข้าไปในปรากฏการณ์ทั้งหลาย จิตจะถอยตัวออกมาเป็นคนดู

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิชนิดที่ตั้งมั่น มีวิธีฝึก ๒ วิธี เนี่ยไม่มีใครสอนละเอียดเท่าหลวงพ่อหรอกนะ ส่วนมากท่านก็สอนให้พุทโธเอา จบแล้วไม่พูดอะไรแล้ว สอนตั้งหลายปีก็สอนสั้นๆแค่นี้เอง ต้องตั้งใจทำเอามากเลย หลวงพ่อสอนละเอียดยิบเลยนะ สอนให้แทบจะครบทุกแง่ทุกมุมเลย

วิธีที่จะฝึกให้ได้ลักขณูปนิชฌาน หรือสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย มี ๒ วิธี วิธีที่ ๑ ทำฌาน พวกเราถ้าทำฌานไม่ได้ วิธีนี้ก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธีที่สอง (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓))

วิธีทำฌาน อันนี้จะยาวไปนิดนึงนะ ก็คือ ต้องถึงฌานที่ ๒ ละวิตกละวิจารณ์ก่อน มีวิตกคือการตรึกอยู่ในอารมณ์ มีวิจารณ์คือจิตส่งออกไปเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ อารมณ์นั้นเป็นปฏิภาคนิมิตร เป็นแสงสว่าง เวลาที่จิตเข้าไปจับที่แสงอยู่นี่นะ ยังไม่มีตัวรู้นะ ถ้ารู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไปอยู่กับปฏิภาคนิมิตร รู้ทันว่าจิตได้ไปตรึกอยู่กับปฏิภาคนิมิตร รู้ทันว่าจิตไปเคล้าเคลียหรือไปตรองในปฏิภาคนิมิตร อาการที่จิตส่งออกไปอยู่กับปฏิภาคนิมิตรจะขาดสะบั้นลง จิตจะทวนกระแสกลับมาตั้งมั่นอยู่ที่จิต

เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎกจะพูดถึงสภาวะชนิดหนึ่ง ชื่อ เอโกทิภาวะ เอโกทิภาวะเกิดขึ้นในฌานที่สอง เอโกทิภาวะก็คือความตั้งมั่นของจิตนั่นเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๖วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๗๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อยังจนอริยทรัพย์ ก็ต้องขยันภาวนา

mp3 (for download) : เมื่อยังจนอริยทรัพย์ ก็ต้องขยันภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราก็ต้องขยันหน่อย เพราะว่าจน บางคนเขาประเภทคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด เขาฟังธรรมะประโยค สองประโยค เขาปิ๊งแล้ว เราไม่ปิ๊ง เราแป๊ก ฟังแล้วแป๊ก แป๊ก

เกิดมาจนต้องขยัน ถ้าเรายังจนด้วยอริยทรัพย์เราก็ต้องขยันภาวนาเอา เดี๋ยววันหนึ่งเราก็รวยขึ้นมาได้ ส่วนท่านที่รวยไปก่อนแล้วท่านก็นิพพานไปหมดแล้ว ทิ้งสมบัติไว้กับโลกไม่ได้เอาไปด้วยหรอก อยู่ที่เราไปเก็บเกี่ยวเอา สมบัติเป็นของกลาง ธรรมะก็ของกลางของโลก ไม่ได้เอาไปนิพพานด้วยหรอก

เพราะฉะนั้นพวกเราต้องอดทนให้มากนะ พยายามดูไปเรื่อย ตั้งใจรักษาศีล ๕ ไว้ ทุกวันต้องฝึกให้ใจอยู่กับตัว วิธีฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวก็คือ อย่าใจลอยนาน ถ้าใจลอยเมื่อไหร่ก็ลืมกายลืมใจ อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสมาธิ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว

วิธีที่จะไม่ให้ใจลอยนานก็ต้องซ้อมต้องฝึก ทำกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา พุทโธก็ได้ รู้ลมหายใจก็ได้ อะไรก็ได้นะ สักอย่างหนึ่งขึ้นมา เลือกที่ทำแล้วสบายใจ วิธีที่ทำแล้วเครียดไม่ต้องไปทำ

ยกตัวอย่างบางคนไปดูท้องพองยุบแล้วเครียด เกร็ง เครียด โรคจิตจะกินแล้วนะ ก็ไม่ต้องเอา กรรมฐานมีตั้งเยอะแยะ เราก็เลือกกรรมฐานที่ทำแล้วสบายใจ บางคนรู้ลมหายใจแล้วขาดสติ เคลิ้ม เห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็ไม่เอา

เอาสมาธิที่มันรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ให้เคลิ้มไม่ให้หลงไป ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน แล้วคอยรู้ทันจิต ไม่ใช่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้จิตสงบ ปรับนิดนึง เราคุ้นเคยแต่ว่าจะทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเพื่อให้จิตสงบ อย่างนั้นมันสมถกรรมฐาน ถ้าจะเอาสมาธิชนิดที่ใช้เจริญปัญญานะ ต้องคอยรู้ทันจิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกรู้สึกตัว ฝึกดูจิต ก็เพื่อให้เห็นว่าจิตไม่เที่ยง

mp3 for download : ฝึกรู้สึกตัว ฝึกดูจิต ก็เพื่อให้เห็นว่าจิตไม่เที่ยง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : สุดท้ายปัญญามันเกิด มันจะรู้เลยว่า “สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับเป็นธรรมดา” เพราะเราเห็นจิตน่ะ จิตที่รู้สึกตัวเกิดแล้วก็ดับ จิตที่ไหลไปเกิดแล้วก็ดับ แต่ถ้าเราไม่มีจิตที่รู้สึกตัวนะ มีแต่จิตที่ไหล คนในโลกมีแต่จิตที่ไหลอย่างเดียวไม่มีจิตที่รู้สึกตัวเลย มันจะไม่เห็นหรอกนะว่าจิตที่ไหลเกิด-ดับ แต่ถ้าเรามีจิตที่รู้สึกตัวขึ้นมานะ จะเห็นเลยจิตที่รู้สึกตัวเกิดแล้วก็ดับ จิตที่ไหลไปเกิดแล้วก็ดับ

เพราะฉะนั้นการที่หลวงพ่อฝึกให้พวกเรามีจิตที่รู้สึกตัว ให้จิตตั้งมั่นมีสมาธิขึ้นมา ไม่ใช่มีสมาธิเพื่อที่จะมีสมาธินะ เรามีสมาธิเนี่ยเพื่อจะตัดตอนความหลงให้ขาดตอนเป็นช่วงๆ มันจะเห็นเลยว่าจิตที่หลงไป หลงไปช่วงหนึ่งแล้วก็ดับ เกิดรู้สึกตัวนิดหนึ่งแล้วก็หลงอีกยาวๆแล้วก็ดับ เกิดรู้สึกตัว สุดท้ายก็จะเห็นว่าจิตที่หลงเกิดแล้วก็ดับ จิตที่รู้สึกเกิดแล้วก็ดับ ไม่ใช่จะเอาจิตที่รู้สึกตัวนะ ไม่ได้ฝึกเพื่อจะเอาอะไรเลย แต่ฝึกเพื่อให้เห็นความจริงว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา” ฝึกเพื่อให้เห็นตรงนี้

ทีนี้บางคนเข้าใจผิดคิดว่าจะต้องฝึกให้รู้สึกตัว ๒๔ ชั่วโมง ฝึกเอาความรู้สึกตัว นั่นคือการฝึกจะเอา ไม่ใช่การฝึกเพื่อที่จะให้เห็นความจริง ฝึกได้มั้ย ฝึกได้ ถ้าทรงฌานนะ จิตผู้รู้เนี่ยตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ได้นาน แต่ไม่เกิน ๗ วันหรอก ในภูมิของเรา ในกามาวจร จิตที่ร่อนเร่ไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตไม่สงบนาน อย่างมากก็ไม่เกิน ๗ วัน ทั้งๆที่ทรงฌาน ก็เสื่อม เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ฝึกเอาจิตเที่ยง แต่เราฝึกให้เห็นว่าจิตไม่เที่ยง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๕๕ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อจิตตื่นแล้ว ให้แยกธาตุแยกขันธ์

mp3 for download : เมื่อจิตตื่นแล้ว ให้แยกธาตุแยกขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ในขั้นของการเดินปัญญานั้นคือขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นเสพสุข พอใจเรามีความสุข ใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้ว ต้องเจริญปัญญา วิธีเจริญปัญญา ขั้นแรกสุดเลย ต้องแยกธาตุแยกขันธ์ให้เป็น ให้เห็นเลยว่า ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง รูปกับนามเป็นคนละอันกัน

ถ้าสมาธิเรามาก และเราชำนาญในการดูกาย แยกกายต่อไปอีก ร่างกายก็แยกเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำไฟลม แยกธาตุออกไป

ถ้าเราชำนาญการดูจิต เรามาแยกขันธ์ จิตใจของเราไม่ใช่อยู่ลำพัง จิตใจประกอบด้วย ความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ ความจำได้หมายรู้เรียกว่าสัญญาขันธ์ ความปรุงดีปรุงชั่วปรุงไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่าสังขารขันธ์

จิตที่เกิดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณทางตาคือจิตที่ไปรับรู้รูป วิญญาณทางหูคือจิตที่ไปรับรู้เสียง วิญญาณทางทวารทั้ง ๖ ไม่ได้มีจิตดวงเดียว คือจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ เรียกจักขุวิญญาณจิต โสตวิญญาณจิต เป็นมโนวิญญาณ จิตเกิดทางใจ รับรู้อารมณ์ทางใจ เช่นเรื่องราวที่เราคิด

เพราะฉะนั้นจิตไม่ได้มีดวงเดียว เป็นกลุ่มเป็นกองเหมือนกัน เรียกว่า วิญญาณขันธ์ เป็นกองของวิญญาณ กลุ่มของวิญญาณ แต่เวลามันเกิด มันเกิดทีละตัว เกิดทีละดวง เรามาแยก

พอใจเราเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้ว แยกร่างกายกับใจออกจากกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๘ ถึงนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนา ต้องเดินปัญญาให้ได้

mp3 for download : 550701.00m00-01m37

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : ตอนนี้เห็นทุกข์มากขึ้นมั้ย หรือภาวนามีแต่ความสุข การภาวนามี ๒ ขั้นนะ ขั้นแรก ทำให้จิตตั้งมั่นก่อน เรียกว่าจิตตสิกขา จิตตั้งมั่นมีสมาธิ มีความสุข ไม่ได้ทำอะไร แค่รู้สึกตัวขึ้นมา จิตมันไหลไป เรารู้สึกตัวขึ้นมา จิตก็ตั้งมั่น ก็มีความสุขผุดขึ้นมา

เพราะฉะนั้นหัดกับหลวงพ่อใหม่ๆนะ จะมีความสุขเยอะมากนะ ไม่ได้ทำอะไรก็มีความสุข มีความสุขผุดขึ้นมา ตรงนั้นเราฝึกในขั้นที่เรียกว่า จิตตสิกขา เรารู้ทันจิต ในการภาวนาเนี่ย ถ้าไม่รู้ทันจิต ใช้ไม่ได้จริง

เพราะฉะนั้นเรื่องจิตตสิกขาเป็นเรื่องใหญ่ ก็เรียนจนกระทั่งจิตมันตั้งมั่น ถึงฐานของมันจริงๆ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยไม่ได้เจตนา ยังเจตนาอยู่ ยังไม่ใช่ของจริง

เพราะฉะนั้นบางที เราหัดใหม่ๆ จิตเราไหลไปเผลอไป เรารู้ทัน เรารู้สึกตัว จิตตั้งมั่นขึ้นมา จิตตื่นขึ้นมา ก็มีความสุข เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ดีๆก็มีความสุขโชยขึ้นมาเป็นระยะๆ ทั้งวันเลย มีความสุขเยอะเลย

แต่ทีนี้การภาวนาไม่ได้ไปหยุดอยู่แค่การทำสมาธิ ต้องเดินปัญญาให้ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
File 550701
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ทำอะไรมากกว่าการรู้

mp 3 (for download) : ไม่ทำอะไรมากกว่าการรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : หลวงพ่อครับ มีคำถามอย่างนึงครับ คือดูจิตดูใจมาแล้วรู้สึกว่า ความคิดอกุศลมันเกิดขึ้นเยอะในแต่ละวัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่เดิม มันก็คิดนะ แต่เราไม่เคยเห็น งั้นเราก็เลยจมอยู่ในอกุศล ต่อไปนี้จิตคิดอกุศลขึ้นมา เราก็จะเห็นแล้ว เราก็จะไม่จมอยู่กับอกุศล

โยม : แต่บางที ไม่รู้สึกว่ามันเป็นกลาง เราควรจะทำยังไงดีครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้รู้ว่าไม่เป็นกลาง เราไม่ทำอะไรมากกว่าการรู้ ลองไปดูในมหาสติปัฏฐานสูตรนะ มีกริยาหลักอยู่คำเดียวคือคำว่ารู้ หายใจออกหายใจเข้าก็รู้ใช่ไหม ยืนเดินนั่งนอนก็รู้ เป็นสุขเป็นทุกข์เฉยๆก็รู้ โลภโกรธหลงก็รู้ ไม่โลภไม่โกรธไม่หลงก็รู้ รู้ลูกเดียว รู้ไปเรื่อยๆ ส่วนมันไม่เป็นกลาง รู้แล้วมันยินดี รู้แล้วมันยินร้าย ก็ให้รู้ว่ายินดียินร้าย ยินดียินร้ายเป็นอารมณ์ปัจจุบัน เกิดขึ้นใหม่ๆสดๆร้อนๆ เราก็รู้ไปอีก ในที่สุดวันนึงก็เป็นกลาง

การเป็นกลางเนี่ย เกิดจากมีปัญญา มันเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ทุกสิ่งเกิดแล้วก็ดับ ทุกสิ่งชั่วคราว ไม่มีอะไรดีกว่าอันไหน ไม่มีอะไรเลวกว่าอันไหน เนี่ยปัญญาขนาดนี้เกิดนะ ถึงจะเป็นกลางอย่างแท้จริง ถึงจะสักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๘
File: 510427B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๑ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๕๒ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บทสรุป สำหรับการภาวนา

mp3 for download :บทสรุป สำหรับการภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นพวกเราไปเรียนนะ รักษาศีล ๕ ไว้ รู้สึกตัวบ่อยๆ ฝึกไป จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้ จิตก็จะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู พอจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว ก็ดูกายมันทำงานดูใจมันทำงาน แยกธาตุแยกขันธ์ไป เห็นคนอื่นทำงานไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งปัญญาแจ้ง เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกันด้วยไตรลักษณ์ จิตไม่ดิ้นรนต่อ มรรคผลก็จะเกิดขึ้น ไปเดินต่อนะ ไปทำเอา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อพ้นจากวิปัสนูฯแล้ว จะเจริญวิปัสสนาได้เต็มที่

mp3 for download : เมื่อพ้นจากวิปัสนูฯแล้ว จะเจริญวิปัสสนาได้เต็มที่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิปัสนูฯ (วิปัสนูปกิเลส – ผู้ถอด)เกิดจากความฟุ้งซ่าน หรือส่งจิตออกนอกนั่นเอง ถ้าเมื่อไหร่มีสติรู้ทันว่าฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านดับอัตโนมัติ เพราะความฟุ้งซ่านเป็นกิเลสสู้สติไม่ได้ สติเกิดเมื่อไหร่กิเลสดับเมื่อนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเมื่อไหร่รู้ทันว่าจิตฟุ้งออกไปนะ ฟุ้งไปอยู่กับความสว่างเนี่ย ความฟุ้งซ่านจะดับนะ จิตจะทวนกระแสเข้ามาหากายหายใจของเราเอง ภาวะแห่งความรู้ตื่นเบิกบานก็จะกลับมาอีก

เนี่ยพอเราฝึกไปจนชำนิชำนาญผ่านตัวนี้ได้ เราจะรู้ว่าอันนี้เป็นวิปัสสนูปฯ ไม่ใช่ทาง ทางคือต้องมีจิตตั้งมั่น ที่หลวงพ่อบอกว่า “จิตถึงฐาน” “จิตถึงฐาน” น่ะนะ คือจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้จริงๆ ไม่งั้นจิตไม่ถึงฐาน จิตไปอยู่ข้างหน้า ไปอยู่กับความว่างความสว่าง อันนั้นเดินต่อไม่ได้ ไม่ใช่ทาง ก็รู้เลยว่าจุดที่เป็นทางนี่นะ จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่หยุดนิ่ง ถ้าปรากฎการณ์ทั้งหลายหยุดนิ่ง นี่เป็นสมถะแล้ว จิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง ปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอย่างสบายๆ จิตเบา จิตนุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่ว ว่องไว แต่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ไหลไป ตั้งมั่นเป็นคนดูสบายๆ เหมือนเรานั่งดูเขาเล่นกีฬา ดูอย่างสบายๆ ไม่ลงไปคลุกกับเขานะ ไม่อินกับเขา ดูสบายๆ

พอมาถึงตรงนี้นะ มีธรรมะอยู่หมวดหนึ่ง ชื่อ “วิสุทธิ” ใครเคยได้อ่านบ้าง “วิสุทธิ ๗” ธรรมะเรื่องวิสุทธิ ๗ นี่นะอยู่ในพระสูตรที่โดดเด่นเป็นหนึ่งเลยนะ สูตรหนึ่งเลย คือ “รถวินีตสูตร” (อ่าน รถวินีตสูตร – ผู้ถอด) “รถ ๗ ผลัด” รถ ๗ ผลัดก็คือวิสุทธิ ๗ ประการนั่นเอง
คนไหนที่ผ่านวิปัสนูฯไปแล้วนะ รู้ว่าวิปัสนูฯไม่ใช่ทาง จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเห็นรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหวเปลี่นยแปลงเกิดดับได้ ตรงนี้ถ้าเทียบในวิสุทธิ ๗ นะ ก็ได้วิสุทธิที่ชื่อว่า “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” ชื่อยาวเป็นปี๊บเลยนะ

“มัคคามัคคะ” มาจากอะไร มาจากคำว่า มรรค กับ อมรรค มรรค อมรรค, มรรค อมรรค จะออกเสียงเป็นคำสนธิ จะออกเสียงกลายเป็นมัคคา มัคคามัคคะ มรรค กับ อมรรค รู้ว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง คนที่ได้ “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” คือคนที่พ้นจากวิปัสนูฯแล้ว ถัดจากนั้นนะ เจริญวิปัสสนาได้เต็มที่แล้ว เรียกว่า “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ”


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใช้จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เจริญวิปัสสนา

mp3 for download : ใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หยุดคิดถึงรู้ ยังไม่ใช่วิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด “รู้” หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนาอยู่ดีแหละ ต้องรู้ความจริง ความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ด้วยจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน นี่ล่ะถึงจะเป็นวิปัสสนาแท้

ถ้าไม่มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้วไประลึกรู้อะไรนะ จิตจะถลำลงไปจ้อง พอรู้ลมหายใจจิตจะจ้องลมหายใจ เพราะจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู รู้อิริยาบถ ๔ จิตจะไหลไปจ้องอิริยาบถ จ้องร่างกายทั้งร่างกายเลย ยกตัวอย่างรู้ลมหายใจ จิตจะจ้องอยู่ที่ลม จ้องอยู่ที่ท้อง นี่เป็นการจ้องบางพื้นที่ รู้อิริยาบถ ๔ นะ รู้มันทั้งตัวเลย แต่บางคนก็ยังอุตส่าห์บีม (Beam) ความรับรู้ลงไปอยู่ที่จุดเล็กๆนะ เช่นเดินอยู่ก็ไปรู้อยู่ที่เท้า อะไรอย่างนี้นะ จิตมันจะไปคับแคบอยู่นะ อย่างนั้นไม่ใช่จิตผู้รู้

ถ้ามีจิตผู้รู้ก็จะเห็นร่างกายมันเดิน จิตเป็นคนดู ร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน ตรงที่เห็นร่างกายกับจิตเป็นคนละอัน นี่ล่ะ แยกรูปแยกนามได้แล้ว เป็นปัญญาขั้นที่ ๑ ใน ๑๖ ขั้น (ญาณขั้นที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ – ผู้ถอด) พวกเราตอนนี้คนไหนแยกรูปแยนามได้บ้าง มีมั้ย ยกมือให้ดูซิ เห็นกายอยู่ส่วนกาย จิตอยู่ส่วนจิต ไม่เห็นทั้งวันนะ เห็นเป็นคราวๆนะ เห็นทั้งวันไม่ได้หรอกไม่ใช่ภูมิ(ธรรมของเรา – ผู้ถอด) ไหน ยกมือ ยกให้มันโดดเด่นหน่อย โอ้..เยอะนะ พวกนี้ก็เริ่มเดินปัญญาละ

เห็นมั้ย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ใครเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราบ้าง เห็นเป็นคราวๆ ยกมือซิ โอ้..เห็นด้วยการคิดหรือว่าเห็นจริงๆ ถ้าเห็นด้วยการคิดนะ เป็นญาณที่ ๓ เรียกว่า สัมมสนญาณ ถ้าเห็นจริงๆเป็นญาณที่ ๔ ชื่อ อุทยัพพยญาณ (ตรงกันกับอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณที่ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙ -ผู้ถอด) ถ้าเห็นด้วยญาณที่ ๔ นี้ ขึ้นวิปัสสนาแล้ว วิปัสสนากรรมฐานนี่น่ะขึ้น(วิปัสสนา-ผู้ถอด)ตรงญาณที่ ๔ ใน ญาณ ๑๖ นะ

ญาณที่ ๑ แยกรูปกับนามออกจากกันได้ (ญาณขั้นที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ – ผู้ถอด) เห็นกายอยู่ส่วนกายจิตอยู่ส่วนจิตนะ เป็นคนละอันกัน มีช่องว่างมาคั่น ไม่ใช่อันเดียวกัน ไม่ใช่เนื้อเดียวกัน ร่างกายเคลื่อนไหวนี่นะเป็นอันเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า แยกอย่างนี้ได้ ได้ญาณที่ ๑

ญาณที่ ๒ เรียกว่า ปัจจัยปริคคหญาณ รู้เลยว่ารูปธรรมต้องมีเหตุถึงจะเกิด นามธรรมต้องมีเหตุถึงจะเกิด สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ไม่ได้เกิดลอยๆ เช่นร่างกายมันจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอน เพราะจิตมันสั่งนะ ถ้าจิตไม่สั่งมันไม่เป็น แต่ก็มีเหมือนกันนะ กะจะเดินนะ ไปเหยียบเปลือกกล้วยเข้า ลงไปนอน อันนั้นจิตไม่ได้สั่งนะ แต่ซุ่มซ่าม เนี่ยไปคอยรู้เอา รู้เข้าไปเลย เห็นร่างกายส่วนร่างกาย จิตส่วนจิต เห็นเลยว่าร่างกายเคลื่อนไหวได้เพราะจิตมันสั่ง อะไรอย่างนี้ ร่างกายอ้าปากพะงาบๆได้ เพราะจิตมันสั่งนะ

จิตล่ะ มันเกิดได้อย่างไร มีการกระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนะ ไปกระทบอารมณ์ขึ้นมานะ จิตก็เกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ได้นะ มีหลายอย่างนะ องค์ประกอบของมัน เพราะฉะนั้นมันอิงอาศัยกันระหว่างรูปธรรมนามธรรม ทำงานร่วมกันอยู่

ต่อไปเราก็จะเริ่มเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน เห็นเลย เออ.. ทุกอย่างตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์นะ หน้าตาของเราวันนี้หน้าตาของเราตอนเด็กๆก็ไม่เหมือนกัน นี่เห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเปรียบเทียบ นี่เป็นญาณที่ ๓ นะ ชื่อ สัมมสนญาณ

ต่อมาไม่คิดแล้ว เห็นสภาวะสดๆร้อนๆเลย เห็นสภาวะสดๆร้อนๆ เห็นรูปธรรมที่หายใจออกเห็นรูปธรรมทีหายใจเข้าเป็นคนละอันกันนะ เห็นจิตใจเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์เดี๋ยวดีเดี๋ยวชั่ว หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยนะ เกิดดับหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย การที่เห็นการเกิดดับของรูปธรรมนามธรรมนั้นแหละเรียกว่า อุทยัพพยญาณ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตั้งมั่น : ลักษณะและวิธีฝึกฝนจิต

mp3 for download : จิตตั้งมั่น : ลักษณะและวิธีฝึกฝนจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์

อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน

จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย

เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนาอยู่ดีแหละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตสิกขา สิกขาที่มักถูกละเลย

mp3 for download : จิตตสิกขา สิกขาที่มักถูกละเลย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้แล้วรู้ทันจิต บทเรียนอันนี้ชื่อว่าจิตตสิกขา บทเรียนของพระพุทธเจ้า ๓ บท บทที่อาภัพที่สุดนั้นคือจิตตสิกขา พวกหนึ่งทำสมาธิแต่ไม่เรียนเรื่องจิต อันนี้ก็น้อม..จิตไปเกิดนิมิตเกิดอะไรอุตลุดไป อีกพวกหนึ่งดูถูกการทำสมาธิ ไม่เอาสมาธิจะเอาแต่ปัญญา ไม่รู้หรอกว่า ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด แต่ไม่ใช่สมาธิชนิดเซื่องซึม ไม่ใช่สมาธิชนิดนิ่งๆ

สมาธิโดยตัวศัพท์ของสมาธินั้นแปลว่าความตั้งมั่น เราชอบไปแปลว่าสงบนะ ชอบไปแปลสมาธิว่าสงบ ความจริงสมาธิแปลว่าความตั้งมั่น ถ้าจิตมีความตั้งมั่น จิตจะเป็นผู้รู้ผู้ดู ไม่หลงไปคิดแล้วก็ไม่เพ่งเอาไว้ ถ้ายังสุดโต่งไปข้างหลงไป หลงไปในโลกของความคิดเนี่ยเป็นหลักเลย แล้วก็หลงไปเพ่ง..คอยจ้องเพ่งๆอยู่ ก็ไม่ใช่ผู้รู้

เนี่ยคอยรู้ไป หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน หรือหายใจแล้วจิตไหลไปเพ่งลมหายใจ หายใจแล้วจิตไหลลงไปอยู่ที่ท้อง ก็รู้ทันจิต จะขยับมือก็ได้ตามอย่างหลวงพ่อเทียน ขยับก็ไม่ใช่เพื่อบังคับจิต แต่จะขยับมือเพื่อรู้ทันจิต นี่คือบทเรียนชื่อจิตตสิกขา สิ่งที่จะได้มาก็คือสมาธิ

ถ้าไม่มีสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่นแล้ว อย่ามาคุยเรื่องเดินปัญญา ไม่มีทางเลย สมาธิต้องฝึกนะ ฝึกให้จิตใจตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว นั่นแหละเรียกว่า มันมีสมาธิขึ้นมา

คนในโลกลืมตัวทั้งวัน หลงไปอยู่ในความคิดทั้งวัน เดี๋ยวคิดไปในอดีต เดี๋ยวคิดไปในอนาคต ร่างกายมีอยู่ในปัจจุบันก็ไม่เคยรู้สึกถึงมัน จิตใจมีอยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างมันสุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างร้ายบ้าง ไม่เคยรู้ทันมันเลย หรือบางทีจิตวิ่งไปดู เดี๋ยวจิตวิ่งไปฟัง บางทีจิตวิ่งไปคิด ก็ไม่เคยรู้ทันมันเลย

เพราะฉะนั้นเราคอยมารู้ทันจิตนะ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แล้วมาคอยรู้ทันจิตไว้ สิ่งที่ได้ขึ้นมาก็คือความตั้งมั่นของจิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๔) สรุปการปฏิบัติ : รักษาศีล ๕ ฝึกจิตให้ตั้งมั่น แล้วเจริญปัญญา

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๔) สรุปการปฏิบัติ : รักษาศีล ๕ ฝึกจิตให้ตั้งมั่น แล้วเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สรุปนะ รักษาศีล ๕ ไว้ก่อน ถ้ามีศีล ๕ จิตใจจะสงบง่าย

ขั้นที่ ๒ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด ทำกรรมฐานซักอย่างนึงได้ยิ่งดี แล้วจิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปเพ่งรู้ทัน เรารู้ทันจิตที่ไหลเนี่ย จิตจะตั้งมั่น โดยเฉพาะการรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จะทำให้จิตตั้งมั่น

เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว มาเจริญปัญญา เห็นกายกับใจเป็นคนละอันกัน เห็นความสุขความทุกข์กับจิตใจเป็นคนละอัน เห็นกุศลกับจิตใจเป็นคนละอัน เห็นจิตใจนั่นแหล่ะเกิดดับ อยู่ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เนี่ยเฝ้าดูอย่างนี้นะ นี่เรียกว่าเจริญปัญญา

ไม่ยากเกินไปหรอก แต่ทำไมที่ผ่านมา หาพระอริยtยาก เพราะเราไม่ได้ยินไม่ได้ฟังธรรมะแบบนี้ ส่วนใหญ่เราก็ได้ยินแต่เรื่องทำทาน ถือศีลอะไรไป นั่งสมาธิให้สงบไป เราไม่ได้ก้าวขึ้นมาฟังธรรมะในขั้นของการเจริญปัญญา ถ้าเจริญปัญญาได้ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์หรอก

เพราะงั้นเราเจริญสติปัฏฐานนะ แล้วก็เกิดปัญญาเห็นความจริง ของกายของใจ ทำอย่างนี้ โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ ค่อยฝึกนะ ค่อยฝึกไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๑) ความรู้รวบยอด คือทุกอย่างเกิดแล้วดับทั้งสิ้น

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๑) ความรู้รวบยอด คือทุกอย่างเกิดแล้วดับทั้งสิ้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในขณะที่ฟังหลวงพ่อเทศน์ รู้สึกไหม จิตมันทำงานสลับไปสลับมา เดี๋ยวก็มองหน้าหลวงพ่อ เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง เดี๋ยวก็หนีไปคิด สลับไปสลับมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยจิตมันทำงานได้เอง เนี่ยเฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยไปนะ วันนึงมันจะปิ๊งขึ้นมา ตรงที่มันปิ๊งขึ้นมา เป็นความรู้รวบยอด ตรงที่ว่าได้ดวงตาเห็นธรรมๆ คือจิตมันได้ความรู้รวบยอด ว่าทุกสิ่งที่เกิดน่ะ ดับทั้งสิ้น

เพราะอะไร เพราะมันเห็นอยู่ ร่างกายที่ยิ้ม มันเกิดแล้วก็หายไป ร่างกายที่พยักหน้า เกิดแล้วก็หายไป ร่างกายยืนเดินนั่งนอน เกิดแล้วก็หายไป มีความสุข ความสุขเกิดแล้วก็หาย ความทุกข์เกิดแล้วก็หาย จิตใจมีความสุขความทุกข์ ความเฉยๆขึ้นมา ก็เห็นอีก ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ เกิดขึ้นมาแล้วก็หายไป จิตใจมีกุศล มีอกุศล มีโลภโกรธหลง ก็เห็นอีกนะ กุศลเกิดแล้วก็ดับ โลภโกรธหลงเกิดแล้วก็ดับ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็ไปเกิดที่ตา ไปดูรูป เดี๋ยวไปเกิดที่หู ไปฟังเสียง เดี๋ยวไปเกิดทางใจ คือไปคิด ทางใจก็เกิดได้หลายแบบ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะนั้นเราเห็นจิตเนี่ยเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย มีแต่ของไม่เที่ยง มีแต่ของห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้

เห็นซ้ำๆไปนะ สุดท้ายมันจะรู้เลย ว่าชีวิตที่เรามีอยู่ เราคิดว่าชีวิตเรามีจริงๆนั้นน่ะ แท้จริงแล้วมีชีวิตอยู่ชั่วขณะจิตเดียวนี่เอง พอจิตเกิด แล้วก็ดับไป ก็คือเราตายไปหนึ่งชาติแล้วนะ หนึ่งชีวิตแล้ว เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เราตายอยู่ทุกขณะ แต่ไม่เคยเห็น ต่อไปมาคอยดูนะ เราจะเห็นน่ะ มันมีแต่เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าใจทีแรกก็เห็นโลภโกรธหลง เกิดแล้วดับ สุขทุกข์เกิดแล้วดับ หายใจออก หายใจเข้า เกิดแล้วดับ ต่อไปตอนที่ใจมันแจ้งธรรมะเนี่ย มันจะปิ๊งขึ้นมาเลยว่า ทุกอย่างแหล่ะเกิดแล้วดับ เพราะนั้นตอนที่เข้าใจธรรมะ ไม่ใช่รู้ว่าโลภโกรธหลงเกิดแล้วดับน่ะ แต่รู้ว่า อะไรเกิด อันนั้นแหล่ะดับ everything ทุกอย่างเลย เกิดแล้วดับ เห็นอย่างนี้

ไม่ใช่ว่า อันนี้คืออันนี้ๆ ไม่มีภาษามนุษย์จะมายุ่งด้วยแล้วนะ ไม่ใช่ว่า อ้อ นี่โลภเกิดแล้วดับ โกรธเกิดแล้วดับ อันนี้อยู่ในขั้นของการปฏิบัติ แต่ตอนที่(ถึง)ขั้นใจมันปิ๊ง ใจมีดวงตาเห็นธรรม มันจะสรุปเลยว่า ทุกอย่างนั่นแหล่ะ เกิดแล้วดับ ไม่มีตัวตนถาวร ถ้าเห็นอย่างนี้ได้ เราจะได้ธรรมะแล้ว เรียกว่าตกกระแสธรรมนะ เป็นพระโสดาบัน พึ่งตัวเองได้แล้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 712345...Last »