Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

mp3 for download : ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขออนุญาตท่านอาจารย์ครับ หลวงพ่อจะมาเยี่ยมครูบาอาจารย์เฉยๆนะ มาเยี่ยมหลวงพ่อ.. กับหลวงพ่อคำเขียน ๒ องค์ ไม่ได้มาเทศน์หรอก เทศน์ไม่ได้ ผิดธรรมเนียม ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่กว่าอยู่ต้องนิมนต์ท่านเทศน์หรอก แต่นี่ท่านอนุญาตนะ ครูบาอาจารย์อนุญาตให้เราเทศน์ เราก็เทศน์ได้ แต่เทศน์แล้วต้องทำนะ จะให้หลวงพ่อเทศน์เปล่าๆ บาปนะ คือเราให้พระเหนื่อยฟรีๆแล้วขี้เกียจ

อย่าขี้เกียจนะ ความทุกข์มันบีบคั้นเราอยู่ทั้งวันทั้งคืน คนมีปัญญาถึงจะมองเห็น คนไม่มีปัญญาก็จะเห็นแต่มีความสุขนะ หลงระเริงไปเรื่อยๆ วนไปวันหนึ่งๆนะ เดี๋ยวก็เดือนเดี๋ยวก็ปี ไม่นานก็ตาย สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป น่าเสียดายที่สุดเลย

พวกเรามีบุญนะ พวกเราอุตส่าห์มาวัด มาหาครูบาอาจารย์ มาอะไรนี่ ได้รักษาศีล ได้ฟังธรรม ก็ต้องมาปฏิบัติ ธรรมะที่เราจะปฏิบัตินะ ก็มีทานมีศีลมีภาวนานะ ทำทานก็ไม่ใช่ว่าต้องเสียเงินเสียทองนะ ยกตัวอย่างเราโกรธคน คนเขาด่าเรา เราอภัยให้เขาอะไรอย่างนี้ ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง คนเขาไม่มีความรู้ แล้วเราให้ความรู้เขา ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง ทานก็มีหลายอย่าง ไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไร ให้ความรู้เขาให้ความเข้าใจนะ ได้บุญแรง

ต้องรักษาศีล ของเรามาอยู่วัด อุตส่าห์แต่งขาว เรามีสตินะ แต่งชุดขาวๆ ขาดสติเดี๋ยวก็เลอะแล้ว เพราะฉะนั้นท่านให้แต่งขาวๆไว้ก็ดี จะกระดุกกระดิก จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวนะ รู้สึก คอยรู้สึกไว้เรื่อยๆนะ เวลาโมโหใครขึ้นมา รู้ทันที่ใจเรา

มาอยู่วัดมาหาความสุขความสงบ หาความดีให้ตัวเอง ฝึกจิตฝึกใจของเราทุกวันๆนะ ภาวนาไปพุทโธๆไปก็ยังดี หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติ คอยรู้ทันใจตัวเองไว้เสมอๆ ถ้าเรามีสติรู้ทันใจของเราได้บ่อยๆนะ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเราได้นะ กิเลสจะครอบงำใจเราไม่ได้ ถ้ากิเลสมันครอบงำจิตใจของเราไม่ได้นะ เราจะไม่ผิดศีลหรอก คนมันทำผิดศีลนะเพราะมันถูกกิเลสหลอกเอาไป

ยกตัวอย่างมันไปฆ่าเขามันไปตีเขานะ เพราะโทสะมันครอบงำใจ คอยหลอกลวงเขาอะไรอย่างนี้ หรือไปเป็นชู้กับเขาอะไรอย่างนี้ ก็เพราะโลภะครอบงำใจ เพราะฉะนั้นมันมาจากกิเลสทั้งนั้นเลยนะ ทำให้เราทำผิดศีลผิดธรรมเพราะฉะนั้นเรารักษาศีลให้มั่นคงแข็งแรงนะ ทุกคนต้องมีศีล ถ้าเราไม่มีศีลนะ เราเสียความเป็นมนุษย์แล้ว เราจะไปอบาย

ทีนี้เรามีศีลเท่านั้นไม่พอนะ เราต้องมีฝึกใจของเราให้สงบบ้าง ใจของเราร่อนเร่หนีเที่ยวทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยอยู่กับเนื้อกับตัวเลย เรามาฝึกให้จิตใจอยู่กับตัวเอง การฝึกให้ใจอยู่กับตัวเองนี้แหละที่เรียกว่าฝึกให้มีความสงบมีความตั้งมั่นมีสมาธิขึ้นมา เราก็เอาสตินี้แหละมารู้ทันใจ เป็นวิธีที่ง่ายๆนะ ถ้าใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน ใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน รู้อย่างนี้บ่อยๆนะ พอใจเราไหลไปแว้บมันจะรู้สึกขึ้นมา ใจมันจะตื่น มันจะตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิเบื้องต้น สมาธิที่เรามีสติรู้ทีละแว้บๆ เขาเรียกว่าขณิกสมาธินะ สมาธิชั่วขณะเท่านั้นแหละ ได้สมาธิชั่วขณะก็ดีกว่าไม่มีเลย

คนไหนมีบุญมีวาสนานะ ภาวนาทุกวัน รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนะ พุทโธไป ภาวนาไป จิตใจไม่หนีไปที่อื่น จิตสงบอยู่กับลมหายใจ นั่นแหละจะได้สมาธิที่ละเอียดที่ปราณีตขึ้นไป ได้อุปจารสมาธิ ได้อัปนาสมาธิ จิตใจจะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ใจจะเป็นผู้รู้นะ ใจไม่ใช่ผู้หลงคิด ใจที่ไม่มีสมาธิจะเป็นใจผู้หลงคิด ใจที่มีสมาธิมีความตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวจะเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนะ มันจะมีความสุขอยู่ในตัวเอง

เพราะฉะนั้นเราฝึกจิตฝึกใจของเรานะให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ฝึกไปเรื่อย จะอยู่กับพุทโธก็อยู่นะ จะอยู่ในลมหายใจก็อยู่ ถ้าทำได้ก็ดีจะได้ความสุขความสงบที่ปราณีต ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าเสียใจ ให้อาศัยสติคอยรู้ทันจิตเป็นขณะๆไปก็ได้สมาธิเหมือนกัน แต่เป็นสมาธิแค่ขณิกสมาธิชั่วขณะ ดีกว่าไม่มีเลย ก็เหมือนกับคนยากคนจนนะ มีเงินร้อยบาท สองร้อยบาท สิบบาท ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย ไม่มีเงินล้านเงินแสนอย่างคืนอื่นก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้มีฌานมากมายอย่างคนอื่นก็ไม่ต้องเสียใจ ได้ความสงบที่เป็นขณะๆอย่างนี้ก็พอที่จะไปมรรคผลนิพพานได้นะ

ทีนี้พอจิตใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ใจลอยล่องลอยหนีไปเรื่อยแล้วเนี่ย ให้มาคอยเจริญปัญญาต่อ เห็นมั้ยมามีศีลมีสมาธิแล้วมามีปัญญา มีศีลเพราะมีสติรู้ทันกิเลสนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็มีศีลขึ้นมา มีสติที่รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป จิตก็สงบขึ้นมาได้สมาธิ ถัดจากนั้นพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วต้องเดินปัญญา ถ้าเราไม่ได้เจริญปัญญาเราจะไม่ได้คุณค่าของศาสนาพุทธหรอก เพราะการรักษาศีล การทำสมาธิเนี่ย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้านะ นักปราชญ์ทั้งหลายเขาก็สอนกันได้

ต้องมาเจริญปัญญาให้ได้ มาทำวิปัสสนานะ ถึงจะเป็นชาวพุทธแท้ๆได้รับประโยชน์จากพระศาสนาอย่างแท้จริง การเจริญปัญญาคือการเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราเองก็คือกายกับใจนะ เพราะฉะนั้นเราคอยมีสติรู้อยู่ที่กายมีสติรู้อยู่ที่ใจ รู้ไปอย่างสบายๆ รู้ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่มีสมาธิหนุนหลัง เพราะฉะนั้นจิตใจของเราต้องตั้งมั่นนะ สงบ ตั้งมั่น แล้วมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ

เห็นกายทำงานเห็นใจทำงานไปเรื่อย ควรจะเห็นเหมือนเห็นคนอื่นนะ ร่างกายยืนเดินนั่งนอน เหมือนจะรู้สึกเหมือนกับว่าคนอื่นยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เห็นร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า เนี่ยร่างกายมันหายใจไม่ใช่เราหายใจ จะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราจะเห็นเป็นเพียงวัตถุเท่านั้น เป็นก้อนธาตุนะ มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก หายใจเข้าหายใจออก ก็แค่วัตถุเท่านั้นเอง ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา

มาดูจิตดูใจนะ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เฝ้ารู้ไปเรื่อย พวกเราเป็น.. ส่วนใหญ่คนรุ่นนี้เป็นพวกคิดมาก จิตคิดทั้งวันนะ คิดไปแล้วเดียวก็สุข คิดไปแล้วเดี๋ยวก็ทุกข์ มีมั้ยคิดแล้วทุกข์ บางทีเขาด่าเรามาสิบปีแล้วนะมาคิดใหม่ทุกข์ใหม่ เออ.. เป็นมั้ย โกรธใหม่ก็ได้ เรื่องตั้งนานแล้วนะ คิดซ้ำก็เป็นอีกนะ เนี่ยใจของเราชอบหลง หลงๆไปนะ ให้เราคอยมีสติรู้ทันนะ รู้ทันใจ ใจหลงไปคิดเรื่องนี้-รู้ทัน คิดแล้วเกิดความสุขก็รู้ทันว่ามีความสุขแล้ว ความทุกข์เกิดขึ้นในใจเราก็รู้ทันนะ กุศล-อกุศล โลภโกรธหลงอะไรเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ทัน รู้เฉยๆ

ในขั้นของการเดินปัญญา ไม่เหมือนในขั้นของการทำสมาธิ ขั้นการทำสมาธินี่นะ จิตไม่ดีทำให้ดี จิตไม่สุขทำให้สุข จิตไม่สงบทำให้สงบ แต่ในขั้นปัญญาเนี่ย จิตไม่ดีรู้ว่าไม่ดี จิตไม่สุขรู้ว่าไม่สุข จิตไม่สงบรู้ว่าไม่สงบ รู้ลูกเดียวเลย รู้อย่างที่มันเป็นนะ เราจะเห็นเลยความสุขที่เกิดขึ้นในใจเราก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราวนะ โลภโกรธหลงอะไรๆก็ชั่วคราว นี่หัดดูลงไปนะ ทุกอย่างในชีวิตนี้เป็นของชั่วคราว นี่ล่ะคือการการเดินปัญญานะ ดูลงไป ค้นคว้าพิจารณาลงไปนะ

ถ้าจิตมันไม่ยอมดูของมันเองก็ต้องช่วยมันคิดช่วยมันพิจารณาก่อนในเบื้องต้น ยกตัวอย่างพิจารณาร่างกายนะ เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุเป็นขันธ์ นี่คือช่วยมันคิดก่อน แต่ถ้าจิตมันมีปัญญามีกำลังพอนะ มันจะเห็นเอง ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา จิตใจที่สุขจิตใจที่ทุกข์นั้น ความสุขความทุกข์ นั้นก็ไม่ใช่เรา จิตเป็นธรรมชาติรู้ จิตรู้ว่ามีความสุข จิตรู้ว่ามีความทุกข์ ตัวที่รู้นี้ก็ไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี ฝึกไปเรื่อยๆนะแล้วเราจะเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก

ภาวนาจนล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา มีตัวตน ถ้าตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ล่ะ ก็ขันธ์ ๕ มันทุกข์นะ ไม่ใช่เราทุกข์อีกต่อไปแล้ว เนี่ยเฝ้ารู้เฝ้าดูต่อไปนะ สติปัญญาแก่รอบขึ้นไปเรื่อย มันจะเห็นเลยว่าขันธ์ ๕ มีแต่ทุกข์ล้วนๆ อย่างพวกเราตอนนี้ปัญญาเราไม่พอ ศีลสมาธิปัญญาต้องฝึกให้แก่รอบนะ วันหนึ่งถึงจะพอ ถ้าพอจริงจะเห็นเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ

พวกเราไม่เห็นหรอก พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ใช่ม้้ย เห็นมั้ยว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เห็นอย่างนี้ใช่มั้ย นี่เราไม่รู้จริงหรอก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ท่านไม่ได้บอกว่าทุกข์บ้างสุขบ้างนะ เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนหรอก เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้พ้นทุกข์หรอกนะ เพราะฉะนั้นต้องรู้ลงไปในกายรู้ลงไปในใจบ่อยๆ อย่าใจลอยนะ รู้สึกอยู่ในกายรู้สึกอยู่ในใจบ่อยๆนะ วันหนึ่งเราจะเห็นได้ว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย

ยกตัวอย่างนั่งอยู่ก็ทุกข์นะ เดินอยู่ก็ทุกข์ นอนอยู่ก็ทุกข์ หิวก็ทุกข์ อิ่มก็ทุกข์ ง่วงก็ทุกข์นะ เจ็บป่วยขึ้นมาก็ทุกข์ นั่งอยู่เฉยๆก็คัน มีมั้ยนั่งแล้วไม่คัน คันก็ทุกข์นะ ทีนี้พวกเราพอทุกข์นะ เราก็เปลี่ยนอิริยาบถปับเลย เรายังไม่ทันจะรู้สึกเลยว่าทุกข์ ยกตัวอย่างคันขึ้นมารีบเกาเลย ยังไม่ทันรู้ตัวเลยว่าคันนะ เกาไปก่อนแล้ว เราก็ไม่เห็นทุกข์ มันเมื่อยขึ้นมาเราก็ขยับซ้ายขยับขวานะ เรายังไม่ทันรู้สึกเลยว่าเมื่อยนะ ยังไม่ทันรู้เลยว่ากายนี้เป็นทุกข์ ขยับหนีความทุกข์ไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนที่จะขยับตัวนะ รู้สึกตัวเสียก่อน ก็จะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลยนะ

จิตใจนี้ก็เหมือนกันนะ คอยรู้ทันบ่อยๆจะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ถ้าเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่ก็ข้ามโลกได้แล้วนะ ถ้ายังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้างก็ไปไหนไม่รอดหรอก

ก็ฝึกเอานะ ขั้นแรกเลย รักษาศีล อุตส่าห์แต่งขาวๆน่ะ อย่าปากร้ายนะ ปากร้ายนี้มันมาจากใจร้ายก่อน ใช่ม้้ย แล้วมันลดลงมา เพราะฉะนั้นเรามีศีลไว้ก่อนนะ ต่อไปเราก็มาฝึกใจให้สงบ กายสงบวาจาสงบแล้วด้วยศีล ฝึกให้ใจสงบด้วยสมาธิ แล้วก็ขั้นสุดท้ายฝึกให้จิตเกิดปัญญาด้วยวิปัสสนา กิเลสมี ๓ ขั้นนะ กิเลสอย่างหยาบเนี่ยคือ โลภ โกรธ หลง ของหยาบที่สุด สู้ด้วยศีลนะ กิเลสอย่างกลางชื่อนิวรณ์ สู้ด้วยสมาธิ ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ใจไม่ฟุ้งไป จิตมีสมาธิ นิวรณ์ครอบงำไม่ได้ กิเลสที่ละเอียดที่สุดนะ คือความเห็นผิด คืออวิชา ความเห็นผิด คือมิจฉาทิฎฐิ เราสู้ด้วยความเห็นถูก รู้ลงในกายรู้ลงในใจดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร จริงๆมีแต่ทุกข์นะ ดูไป เอ้า..เท่านี้เนาะ เทศน์แค่นี้ก็ถึงนิพพานแล้วล่ะ เหลือแต่ทำเอา ก่อนจะถึงนิพพาน ศีล ๕ ก่อนเน่อ เดี๋ยวหลวงพ่อต้องไปแล้วล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓

File: 530308
Whole track

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใจเป็นทุกข์จึงดิ้นรน ใจดิ้นรนเพราะถูกตัณหากิเลสเสียดแทงตลอดเวลา

mp3 for download :ใจหมดหิวก็เป็นพระอรหันต์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีความสุขน่ะ มันมีสันติสุข สันติตัวนี้นะมันเกิดจากใจนะมันพ้นจากความปรุงแต่ง ไม่มีอะไรมาเสียดแทงมันได้ ใจของเราเสียดแทงตลอด รู้สึกมั้ย มีความหิวมีตัณหาเสียดแทงใจของเราตลอดเวลา แล้วก็โลภโกรธหลงเสียดแทงใจเราตลอดเวลาเลย

ใครเคยเห็นใจหิวบ้าง ยกมือสิ มีมั้ย ใจหิว.. สาธุ ใกล้จะเป็นพระอรหันต์แล้ว หมดหิวก็เป็นพระอรหันต์แล้วล่ะ ไม่เป็นไรหรอก

ใจมันหิว หิวก็ดิ้น ใช่มั้ย หิวก็ดิ้นรน ร่างกายหิววันละกี่ครั้ง สองสามครั้ง ร่างกายหิว แต่จิตน่ะหิวอยู่ทุกนาทีเลย เพราะฉะนั้นจิตนั้นทุกข์ๆ ทุกข์มากเลย ถูกความหิวแผดเผาอยู่ตลอดเวลา ถูกกิเลสแผดเผาอยู่ตลอดเวลา ทิ่มแทงอยู่ตลอดเวลา ทิ่มแทงจริงๆนะ จิตเหมือนวัวเหมือนควายนะ กิเลสเหมือนเอาไม้แหลมๆเหมือนปฏักน่ะทิ่มให้วิ่งไปทางโน้นทีทางนี้ที สังเกตมั้ยจิตของเราถูกตัณหาผลักดันให้วิ่ง ถูกกิเลสผลักดันให้วิ่ง ไปทางโน้นทางนี้ วิ่งไปทางตาม วิ่งไปทางหู วิ่งไปทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ วิ่งพล่านๆ พล่านๆ ตลอดเวลา มันมีความสุขเสียที่ไหนที่วิ่งพล่านๆอย่งนั้น เป็นหมาถูกน้ำร้อนเลยนะ วิ่งไปเรื่อย มีแต่ความทุกข์นะ

สติปัญญาแก่รอบนะ โอ้.. ปล่อยวางจิตได้ เขาวางเองนะ อย่าไปอตุริวางนะ บางคนนะ ฮ่า ฮ่า ต่อไปนี้ผมจะวางจิตนะ บ้าไปเลยนะ มีสติไว้ก่อน อย่าเพิ่งปล่อยวางทุกสิ่งที่ทุกอย่าง จิตเขาวางของเขาเอง ห้ามไปจงใจวาง ส่วนเรานั้นมีหนาที่เจริญสติเจริญปัญญาให้มาก..ไป แล้วพอถึงเวลาเขาวางของเขาเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907B
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๗ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ลักษณะของจิตที่เป็นกุศล

mp 3 (for download) : ลักษณะของจิตที่เป็นกุศล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพ่งมากๆนะ ไม่ได้กินหรอก เครียด ปฏิบัติธรรมแล้วเครียด ผิดแน่นอน จิตที่เครียดเป็นอกุศลนะ เป็นโทสะมูลจิต ผิดแน่นอน จิตที่แข็งๆเป็นอกุศลนะ จิตที่เป็นกุศลนะ จะต้องเบา ถ้าหนักๆแน่นๆ ไม่ใช่ จิตที่เป็นกุศลมีลหุตา มีความเบา มีมุทุตา มีความอ่อนโยนนุ่มนวล มีปาคุญญตา คล่องแคล่วว่องไว ถ้าทื่อ…ทื่อทั้งวันนะ ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลมีกัมมัญญัตตา ควรแก่การงาน มีสภาวะอะไรที่ต้องรู้ต้องเห็น ก็รู้ก็เห็น ไม่ใช่แกล้งไม่รู้ไม่เห็น จิตที่เป็นกุศลนะ มีอุชุตา ซื่อตรงในการรู้สภาวธรรมนะ สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็สักว่ารู้ว่าเห็นไป จิตที่เป็นกุศลไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ เนี่ยสำรวจกายใจเรานะ

นักปฏิบัติจำนวนมากเลย ที่ลงมือปฏิบัติแล้วเกิดอกุศลจิต เริ่มตั้งแต่อยากปฏิบัติ เนี่ยจิตมีโลภะ ก็ลงมือปฏิบัตินะ บังคับตัวเองไปเรื่อยเลย ด้วยอำนาจของโลภะ บังคับเดินจงกรมตั้งนาน นั่งสมาธิตั้งนาน จิตไม่สงบสักที มันสงบไม่ได้นะ เพราะจิตยังมีกิเลสรุนแรงย้อมอยู่ผลักดันอยู่ พอไม่สำเร็จนะโทสะก็เกิด หรือมีโลภะอยากปฏิบัติก็ลงมือบังคับตัวเอง บังคับตัวเองแล้วเครียดขึ้นมา โทสะก็เกิด เพราะฉะนั้นลงมือปฏิบัติแล้วพัฒนาโลภะโทสะอุตลุดไปหมดเลยนะ หรือนั่งสมาธิแล้วเคลิ้มขาดสติลืมเนื้อลืมตัวไป นั่นพัฒนาโมหะนะ หรือว่านั่งสมาธิแล้วก็ออกนอก เห็นโน่นเห็นนี่นะ จิตฟุ้งซ่าน นั่นก็เป็นโมหะอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลาลงมือปฎิบัติต้องระวังนะ เพราะจะปฏิบัติจนไปอบายภูมิก็ได้นะ ถ้าปฏิบัติไม่ดี ปฏิบัติไม่ถูก

เพราะฉะนั้นต้องรู้ทางสายกลางให้แม่น แล้วการปฏิบัติจะง่าย ถ้าจิตเผลอไป รู้ทัน ถ้าบังคับตัวเองอยู่ เพ่งกายเพ่งใจอยู่ คอยรู้ทัน จิตจะตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่นเนี่ยจะไม่ไหลไปทางเผลอจะไม่ไหลไปทางเพ่ง จิตกลายเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นจะมีความเบา มีความนุ่มนวลอ่อนโยน มีความคล่องแคล่วว่องไว ซึ่อตรงในการรู้อารมณ์ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ ไม่มีราคะไม่มีโทสะนะ เนี่ยค่อยๆสังเกตไปเรื่อย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๙
File: 550722
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้เราฝึกมาสองเรื่องแล้วนะ (หากต้องการอ่านย้อนหลัง กรุณาอ่านเรื่องในหมวด ทางวิปัสสนา) เรื่องแรก ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แล้วรู้ทันจิต พุทโธไปจิตหนีไปคิด-รู้ทัน หายใจจิตหนีไปคิด-รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งลมหายใจ-รู้ทัน ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตก็ตั้งมั่นเป็นคนดู

พอจิตตั้งมั่นเป็นคนดูแล้วค่อยๆดูไป ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ร่างกายที่นั่งอยู่ ร่างกายที่เดิน ร่างกายที่นอน เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ดูร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน จะเป็นคนละอันอย่างอัตโนมัติ ต่อไปก็ดูไป ความปวดความเมื่อย อะไรเกิดขึ้นในร่างกายนะ ก็เป็นคนละส่วนกับร่างกาย เป็นคนละส่วนกับจิต ความกังวลใจที่เกิดขึ้น ก็เป็นคนละอันกับร่างกาย คนละอันกับความปวดเมื่อยเป็นคนละอันกับจิต นี้เราหัดแยกออกเป็นส่วนๆอย่างนี้แหละ

พอเราแยกออกเป็นส่วนๆแล้ว เราจะเห็นความจริงขึ้นมาแล้ว ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ร่างกายนี้มีธาตุไหลเข้าร่างกายนี้มีธาตุไหลออกตลอดเวลา เช่นเรากินอาหารแล้วเราก็ขับถ่าย เราหายใจเข้าแล้วเราก็หายใจออก เพราะฉะนั้นร่างกายนี้มีธาตุหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ร่างกายเป็นเพียงแค่วัตถุเท่านั้นเอง เป็นสมบัติของโลกที่เรายืมโลกมาใช้ เรายืมวัตถุของโลกมาใช้ ถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องคืนวัตถุชิ้นนี้ให้โลกไป เราครอบครองตลอดไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นเราค่อยๆมาดูความจริงของร่างกาย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุอันหนึ่งเท่านั้นเอง มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก เนี่ยเราเริ่มล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเราได้แล้ว ตัวเรานี้ประกอบไปด้วยกลุ่มก้อนของขันธ์ทั้งหลายที่มารวมตัวกันเข้า แต่พอเราแยกออกมาเป็นส่วนๆเราจะเริ่มเห็นความจริงว่ามันไม่ใช่เราหรอก ร่างกายเป็นวัตถุไม่ใช่ตัวเรา ความเจ็บปวดทั้งหลายความปวดเมื่อยทั้งหลาย กระทั่งความสุขทั้งหลาย เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราว

มันจะเห็นชัดๆเลยว่า ความสุขก็ไม่ใช่ตัวเรา ความสุขไม่ใช่ร่างกาย ความสุขไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความสุขเป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง มิใช่คน ใครเห็นว่าคนคือความสุขบ้าง มีมั้ย คนคือความสุขไม่มี ไม่มีใครเห็นอย่างนั้นนะ เห็นอย่างนั้นก็เพี้ยนเลย

เพราะฉะนั้นถ้าเราแยกออกมาได้ เห็นตัวความสุขเห็นตัวความทุกข์ แล้วจะพบว่า ไม่มีคนนะ แต่ว่าคนเป็นสุขได้มั้ย อย่างพวกเราเป็นคน เรามีความสุขได้ ใช่มั้ย แต่พอแยกปั๊บออกไปนะ ความสุขไม่ใช่คน ร่างกายไม่ใช่คน จิตใจก็ไม่ใช่คนนะจิตใจก็ไม่ใช่คน ความปรุงดีปรุงชั่วความโกรธก็ไม่ใช่คน เราจะเห็นแยกออกไป ความกังวลใจก็ไม่ใช่คน พวกนี้เรียกว่าสังขารขันธ์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสังขารขันธ์ เป็นความปรุงของจิต ดูไปเรื่อย ความโกรธไม่ใช่คน ใครเห็นความโกรธเป็นคนได้ ต้องเพี้ยนนะ ความโกรธไม่ใช่คน ความโลภ ความรัก ไม่ใช่คนนะ ความใจลอย ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ไม่ใช่คน

เราหัดรู้หัดดูไปเรื่อยอย่างนี้ ในที่สุดจะเห็นว่า ทุกส่วนที่เราแยกออกมาเป็นส่วนๆแล้วเนี่ย มันสอนให้เราเห็นความจริงว่า ไม่มีคนหรอก ไม่มีตัวเราหรอก

550409.25m04-28m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้สภาวะแล้วให้รู้ทันความไม่เป็นกลางต่อสภาวะนั้น

mp 3 (for download) : รู้สภาวะแล้วให้รู้ทันความไม่เป็นกลางต่อสภาวะนั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้สภาวะแล้วให้รู้ทันความไม่เป็นกลางต่อสภาวะนั้น

รู้สภาวะแล้วให้รู้ทันความไม่เป็นกลางต่อสภาวะนั้น



หลวงพ่อปราโมทย์ :
ให้เรารู้สึกกายรู้สึกใจเรื่อยๆ เมื่อเรารู้สึกนะ ต่อไป พอเห็นสภาวธรรมเกิดขึ้นนะ ทีแรกเราก็เริ่มรู้ตัวสภาวะแล้ว ถัดจากนั้น พอสติปัญญาของเราเชียวชาญขึ้น เราเริ่มเห็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เวลาที่จิตไปรู้สภาวะ เนี่ยบางทีจิตไม่เป็นกลาง แต่จิตแอบยินดียินร้ายต่อสภาวะนะ เนี่ยเราเริ่มพัฒนาการรู้ของเราให้ปราณีตขึ้นไปอีกละ เรารู้(อย่าง)ไม่เป็นกลาง รู้(โดย)ไม่เป็นกลางนะ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิด

เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่าง สมมุติว่า เราขับรถอยู่ มีคนปาดหน้า พอเราโกรธ เรามีสติรู้ว่าโกรธ ถัดจากนั้นเนี่ย ขาดสติอีกละ เราเกิดความโกรธตัวที่สอง ไปเกลียดความโกรธตัวแรก เมื่อไหร่มันจะดับ เมื่อไหร่มันจะหาย หรือเวลาเรามีความทุกข์เกิดขึ้น แทนที่เราจะรู้สภาวะว่า ร่างกายนี้เป็นทุกข์ หรือจิตใจเป็นทุกข์ เราไปเกลียดความทุกข์นั้นเข้า ความยินร้ายเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นถ้าหาก เรารู้สภาวะแล้วนะ (แล้ว)ความยินดียินร้ายเกิดขึ้น ให้มีสติรู้ทันลงไปอีกชั้นหนึ่ง ถ้ารู้ไม่ทันใช้ไม่ได้จริงหรอก ถูกกิเลสครอบงำได้อีกรอบหนึ่ง มันจะซ้อนๆ กิเลสซ้อนๆเข้าไปเรื่อย ทีนี้ถ้าเรารู้ทันนะ อย่างเห็นความโกรธเกิดขึ้น พอเรารู้ปั๊บ รู้อย่างเป็นกลางจริงๆ มันจะดับทันที

บางคนบอกว่าเห็นความโกรธแล้วทำไมมันไม่ดับ ที่มันไม่ดับเพราะจิตเป็นอกุศล จิตในขณะนั้นกำลังเกลียดความโกรธนั้นอยู่ ไม่เห็น เนี่ย กิเลสซ้อนกิเลส สติไม่เกิด

แล้วเราคอยรู้ทันนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์แล้วนะ ก็รู้ทัน อะไรเกิดขึ้นเราก็รู้ทัน ในกายในใจ รู้ทันอารมณ์นั้น แล้วถ้าหากจิตเกิดปฏิกริยาเป็นความยินดียินร้ายขึ้นมา ให้เรารู้ทันจิตลงไปอีกชั้นหนึ่งนะ

แต่อย่างจงใจนะ ฟังหลวงพ่อพูด ฟังเล่นๆนะ ฟังเล่นๆนำร่องให้จิตมันรู้เท่านั้นแหละ ต่อไปเวลาเราไปรู้ไปเห็นสภาวะแล้ว พอความยินดียินร้ายเกิดนะ สติจะระลึกเองนะ สติระลึกเองนะ ไม่ต้องจงใจทำ บางคนจงใจนะ สมมุติมองหน้าคุณอำพล มองปั๊บ ยินดีหรือยินร้าย(วะ) เอ๊ะ!เฉยๆ เอ้ามองคุณมาลีบ้าง สวยกว่าคุณอำพล นะ มอง ฮึ ยินดีหรือยินร้าย(วะ) ดู ก็เฉยๆ เนี่ย..แกล้งมอง

เพราะฉะนั้นไม่ต้องแกล้งนะ หลวงพ่อพูดนำร่อง ให้รู้ว่าต่อไปเราต้องรู้ทัน ความยินดียินร้าย เห็นหน้าตาคุณอำพลนะ หน้าตาน่ายืมเงินหุ่นอาเสี่ย นะ เห็นในใจมีโลภะ เอ๊ะ!แต่แกคงไม่ให้หรอก ใจมีโทสะ เนี่ย พลิกอย่างนี้ก็รู้ทันนะ พอเห็นกิเลสของตัวเอง เดี๋ยวก็มีราคะ เดี๋ยวโทสะ โมโหตัวเอง ตอนนี้ชักไม่เห็นแล้ว โมโหตัวเองนี่ชักไม่เห็นแล้ว เริ่มมีปฏิฆะแล้ว เริ่มมี โทมนัส อภิฌา-ยินดี โทมนัส-ยินร้าย มีความยินร้ายเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นให้เรารู้ทันนะ ความยินดียินร้ายใดๆเกิดขึ้นให้รู้ทัน เนี่ยฝึกอยู่อย่างนี้นะ ถึงจุดหนึ่งอริยมรรคจะเกิดขึ้น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๖
Track: ๑
File: 510717.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะเริ่มด้วยความมักน้อย และ สันโดษ

mp3 (for download) : ธรรมะเริ่มด้วยความมักน้อย และ สันโดษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมะเริ่มด้วยความมักน้อย และ สันโดษ

ธรรมะเริ่มด้วยความมักน้อย และ สันโดษ

หลวงพ่อปราโมทย์​ : เริ่มต้นต้องมักน้อยนะ อันที่สองสันโดษ มักน้อยกับสันโดษไม่เหมือนกัน สันโดษนี่ยินดีตามมีตามได้ ได้มากก็ยินดี ถ้าเราจะไปนิพพานนี่ต้องเติมมักน้อยเข้าไป แต่มักน้อยเนี่ยเป็นธรรมะสำหรับพระนะ ฆราวาสเริ่มที่สันโดษก็พอแล้ว ถ้าเป็นนักบวชต้องเริ่มต้นด้วยมักน้อย มักน้อยหมายถึงว่าถึงมีเยอะก็ปรารถนาน้อย อย่างวัดหลวงพ่อนะพวกเราเอาของมาให้เยอะ ปีหนึ่งปีหนึ่งเยอะมากเลย หรือไปเทศน์ที่โน่นที่นี่นะก็คนก็ให้ของมาเยอะ หลวงพ่อก็ใช้ในวัดดูพระที่อยู่นานๆนะจีวรผืนนึงให้ใช้อย่างน้อยซักสองสามปีนะซักสามปี มันจะมีส่วนที่เหลือเยอะเนี่ยส่งไปให้ที่เค้ายากจน ส่วนใหญ่ส่งไปทางสุรินทร์ทางอะไรนี้ ทางคนทางนั้นจนกว่าพวกเราเยอะเลย บวชเนี่ยนะเดินตัวเปล่าๆเข้ามา มาบอกอุปัชฌาย์จะบวช ผ้าก็ไม่มีบาตรก็ไม่มีไม่มีอะไรซักอย่างนะ เนี่ยเราได้ข้าวของแล้วก็ส่งไป เนี่ยพอเราปรารถนาน้อยมักน้อยเนี่ยจะมีส่วนเกินที่เหลือ นี่คนในโลกนี้ปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุดมักมาก เท่าไหร่ทรัพยากรเท่าไหร่ก็ไม่พอ อยู่ลำบาก นี่ฆราวาสไม่ชอบมักน้อยก็ไม่เป็นไรเอาแค่สันโดษ สันโดษหมายถึงว่าทำงานให้เต็มที่เลย แต่ว่าผลงานได้เท่าไหร่นะพอใจ ไม่เหมือนกันนะ มักน้อยเนี่ยมีมากก็เอาน้อยๆเท่าที่จำเป็น อันเนี้ยเข้าไปจุดที่เรียกว่า basic minimum need เลย เอาเท่าที่จำเป็น ฆราวาสไม่ถึงขนาดต้องเป็น basic minimum need หรอก ฆราวาสสันโดษทำมาหากินให้เต็มที่เลย แล้วก็ผลสมมติว่าตั้งเป้าว่าปีนี้จะกำไรร้อยล้านมันเกิดกำไรสิบล้าน พอใจได้ทำเต็มที่แล้ว พอใจที่ได้ทำสุดฝีมือแล้ว นั้นมีความสุขตามมีตามได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรม ณ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: พระธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
File: 541125
ระหว่างนาทีที่  ๒ วินาทีที่ ๐๖ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะจะสามัคคีโค่นล้มกิเลสได้ ต้องอาศัยสมาธิ

mp3 (for download) : ธรรมะจะสามัคคีโค่นล้มกิเลสได้ ต้องอาศัยสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมะจะสามัคคีโค่นล้มกิเลสได้ ต้องอาศัยสมาธิ

ธรรมะจะสามัคคีโค่นล้มกิเลสได้ ต้องอาศัยสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตัวที่จะทำให้ธรรมะสามัคคีกันคือตัวสมาธิ สมาธิเนี่ยเป็นภาชนะเป็นที่รองรับองค์ธรรมฝ่ายกุศลทั้งหมดเลย ให้รวมเข้ามาในจุดเดียวกันคือรวมลงมาที่จิต ไปรวมที่อื่นก็ไม่ได้นะ นั่นสมาธิออกนอกจิตไปรวมอยู่ที่อื่นนะธรรมะไม่สามัคคีกัน

ธรรมะจะสามัคคีได้เนี่ยอาศัยพลังของสมาธิในระดับฌานขึ้นไป ตั้งแต่ปฐมฌานเลยจิตรวมลงที่จิต งั้นฌานแท้ๆนี่จิตไม่ไปรวมอยู่ที่อื่นนะ จิตรวมลงที่จิต แล้วสติสมาธิปัญญาอะไรต่ออะไรนะ คุณงามความดี โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อิทธิบาท อะไรต่ออะไรนะ มันจะเกิดร่วมกันที่จิต เกิดพร้อมๆกันที่จิต เพราะธรรมะสามัคคีกันได้ถึงจะโค่นล่มกิเลสได้

กิเลสนะสามัคคีกันมาตลอดเลยรักกันเหนียวแน่นนะ มีหมัดตามมาเป็นชุดๆเลยเวลากิเลสมา อย่างเป็นต้นว่าวันไหนเราฟุ้งซ่านตามใจกิเลสนะ ไปเดินห้างเล่นฟุ้งซ่านดูอะไรเพลินไป เดี๋ยวราคะก็เกิดแล้ว เห็นอันนู้นก็อยากได้เห็นอันนี้ก็อยากได้ พออยากได้แล้วไม่มีสตางค์จะซื้อนะ โทสะก็เกิดแล้ว ไม่สบายใจ กิเลสเล่นเป็นทีมเลยนะ อาศัยความฟุ้งซ่านของจิตนะมายืนพื้นเลย กุศลก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นตัวยืนพื้นไว้ถึงจะประชุมลงได้ เนี่ยธรรมะกับอธรรมนะมันสู้กันมาอย่างนี้ตลอดเวลา

แต่คนในโลกนี้มันแพ้ไม่ภาวนาปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม จิตเลยไม่รวมลงที่จิต ศีลสมาธิปัญญาและธรรมฝ่ายดีทั้งหลายไม่ประชุมพร้อมๆกัน ต่างคนต่างมา ไม่สามัคคี อกุศลเนี่ยโอ้โหสามัคคีกันมากเลย สังเกตมั้ยช่วงไหนฟุ้งซ่านมากนะ ราคะอะไรงี้แรง ช่วงไหนราคะมากสังเกตมั้ยต่อไปโทสะแรง สังเกตมั้ยโทสะแรงอีกหน่อยเซื่องซึมถัดจากนั้น หมดแรงแล้วซึมๆไปหน่อย พอซึมได้ที่มีเรี่ยวมีแรงฟุ้งซ่านอีกแล้ว โอ้ เล่นไม่มีเลิกเลยนะ มันวางแผนพร้อมๆกันนะ วนเวียนผลัดกันชกก็มีนะ รุมกันชกก็มีนะ

งั้นพวกเราต้องมาพัฒนากุศลของเราให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท เห็นมั้ยท่านไม่ได้บอกให้พัฒนากุศลนะ ท่านไม่ได้กำหนดไว้แค่นั้น ท่านบอกให้เราเนี่ยพัฒนากุศลให้ถึงพร้อม ถึงพร้อมคือกุศลต้องมีครบเลย ทุกชนิดเลย คือความไม่ประมาท ถ้าประมาทคือขาดสติ ต้องมีสติ ถ้าไม่มีสติไม่มีกุศลหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรม ณ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: พระธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 541205

ระหว่างนาทีที่  ๓ วินาทีที่ ๓๖ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสติรักษาใจ จะมีศีลโดยอัตโนมัติ

mp3 (for download) : มีสติรักษาใจ จะมีศีลโดยอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


มีสติรักษาใจ จะมีศีลโดยอัตโนมัติ

มีสติรักษาใจ จะมีศีลโดยอัตโนมัติ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใครๆก็บอกว่าตัวเองมีสติ ในความเป็นจริงแล้วคนในโลกนี้ไม่ค่อยมีสติหรอก มีแต่คนหลงคนลืมตัวเอง ใจลอยทั้งวัน ใจฟุ้งซ่านทั้งวัน จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว มีร่างกายแล้วก็ลืมมัน มีจิตใจแล้วก็ลืมมัน

เราไม่เคยรู้สึกนะในร่างกายของเรา เราลืมมันทั้งวันเลย เรารู้หมดเลยใครเค้าเดินยังไง เคลื่อนไหวยังไง ใครเค้าไปไหนมาไหน เรารู้หมดเลย แต่เราหายใจออกหรือหายใจเข้าเรายังไม่ค่อยจะรู้เลย เราจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอะไรนี้ เราไม่ค่อยรู้ตัวของเราเอง จิตใจของเราจะสุขจิตใจเราจะทุกข์ จิตใจเราจะดีจิตใจเราจะเลว เราก็ไม่เคยรู้ทันมันเลย นี่เรียกว่าเราขาดสติ

สตินั้นเป็นเครื่องมือรู้ทันกายรู้ทันใจของตัวเอง โดยเฉพาะการที่เรามีสติรู้ทันจิตใจของตนเองนั่นแหล่ะจะทำให้เรารักษาศีลง่าย เพราะว่าคนทำผิดศีลนะมันผิดมาเพราะกิเลสครอบงำจิตได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้มันทำผิดศีลไม่ได้ เพราะงั้นเรามามีสตินะคอยรู้ทัน กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่จิตเราคอยรู้ทัน กิเลสอะไรเกิดที่จิตเราคอยรู้ทัน การที่เราคอยรู้ทันมีสติ คอยรู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นที่จิตนี่แหล่ะ จะทำให้เรามีศีลอัตโนมัติเกิดขึ้น

เช่นโทสะเกิดขึ้นเรารู้ทันนะ เราก็ไม่ไปฆ่าใคร ไม่ไปตีใครไม่ไปด่าใคร ไม่ไปทำลายทรัพย์สินของใคร อยู่แค่รู้ทันโทสะที่เกิดที่จิตนี่แหล่ะ เนี่ยการรักษาศีลที่ดีรักษากันที่จิตนี่ รักษาที่มือที่เท้าที่ปากนะเดี๋ยวๆก็ขาดแล้วเพราะจิตมันไม่ดี ถูกกิเลสลากเอาไป ราคะเกิดที่จิตเราก็มีสติรู้ทันนะ ถ้าเรารู้ทันราคะมันจะดับ เราจะไม่ทำผิดศีลเพราะว่าราคะ ทำผิดศีลเพราะราคะอย่างไปฆ่าเค้าเพราะราคะมีมั้ย ฆ่าเค้าเพราะอยากได้สมบัติของเค้าก็ไปฆ่าเค้า ไปขโมยเค้า ไปประพฤติผิดในกามอันนี้ก็เพราะราคะ ไปปลิ้นปล้อนหลอกลวง ผิดศีลข้อ ๔ ก็เพราะราคะ อาศัยราคะอาศัยโทสะที่เกิดขึ้นแล้วเราไม่มีสติรู้ทันนั่นแหล่ะเราถึงทำผิดศีล ๕ ได้

ถ้าเรามีสติรู้ทันนะอย่างใจฟุ้งซ่านขึ้นมารู้ทัน ใจฟุ้งซ่านรู้ทัน กิเลสหยาบๆมันจะเกิดไม่ได้ นี่เป็นวิธีรักษาศีลที่เราจะรักษาได้ตลอดรอดฝั่ง คนที่เรียนกับหลวงพ่อนะไปส่งการบ้านที่วัดก็เยอะแยะนะ เค้าก็ไปเล่าว่าแต่เดิมรักษาศีลไม่ค่อยสำเร็จหรอก เพราะว่าพยายามรักษาที่กายที่วาจา แป๊บเดียวพอใจมันเผลอนะกายวาจามันก็ทำผิดไปด้วย แต่พอมาหัดเจริญสตินะ มาคอยรู้ทันมาคอยรู้ทัน ศีลมันเกิดเอง ไม่ต้องเจตนารักษาเลย ศีลมันมาเองเลย งั้นเราจะรักษาศีลให้ดีเนี่ยนะ รักษาที่จิต กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่จิต รู้ทัน กิเลสอะไรเกิดที่จิต รู้ทัน แล้วศีลมันจะมาเอง ถ้าเราไม่รู้ทันกิเลสที่เกิดที่จิต ศีลมันไปเองมันไปอย่างรวดเร็วเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลราชบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ธรรมเทศนานอกสถานที่ โรงพยาบาลราชบุรี
File:
541207
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๐ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะละกิเลสตัวไหนก่อนดี?

mp 3 (for download) : จะละกิเลสตัวไหนก่อนดี?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จะละกิเลสตัวไหนก่อนดี?

จะละกิเลสตัวไหนก่อนดี?

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่มีอะไรดี ไม่มีอะไรวิเศษ สะอาดหมดจดเหมือนธรรมะหรอก

ในโลกเต็มไปด้วยของสกปรกโสมมนานาชนิด เกิดจากกิเลสทั้งหมดเลย เรามาภาวนาเนี่ย ช่วยตัวเองได้ คนไหนภาวนาก็ช่วยตัวเองได้ คนไหนไม่ภาวนาไม่เปิดใจให้ธรรมะ ธรรมะก็เข้าไปช่วยไม่ได้ ไปล้างกิเลสให้ใครไม่ได้ เราต้องล้างกิเลสของตัวเราเอง

วิธีจะล้างกิเลสก็สำรวจดู สำรวจใจ กิเลสไม่ได้อยู่ที่อื่นหรอก กิเลสอยู่ที่ใจเรานี่เอง เพราะฉะนั้นคอยรู้ทันใจของเราไป กิเลสอะไรโผล่ขึ้นมารู้ทัน กิเลสอะไรโผล่ขึ้นมารู้ทัน

พระเจ้าอยู่หัวเคยถามหลวงปู่ดูลย์ ว่าจะละกิเลสอันไหนก่อน ตัวไหนก่อน ถ้าเป็นพวกเราเราก็จะคิดว่า ต้องละโทสะก่อนอย่างนี้ เพราะโทสะมีโทษมาก ค่อยไปละราคะ ราคะมีโทษน้อย แล้วค่อยไปละโมหะ โมหะดูยากที่สุด มีโทษมากที่สุดเลยแต่ว่าดูยากที่สุด เราคิดว่ามี sequence จริงๆไม่ เวลาปฏิบัติจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น

ถ้าล้างโดยมรรคเนี่ย มีลำดับ เป็นขั้นๆไป ล้างสังโยชน์มีเป็นลำดับ แต่ว่าเวลาเราเจริญสติเจริญปัญญาอยู่ในชีวิตธรรมดาของเรานี่ กิเลสตัวไหนเกิดก่อนก็เอาตัวนั้นแหละ ตัวไหนเกิดขึ้นสดๆร้อนๆก็เอาตัวนั้นแหละ

(หมายเหตุ กิเลสใดเกิดขึ้นสดๆร้อนๆ ก็เอาตัวนั้น เบื้องต้น เพื่อฝึกให้เกิดสติโดยไม่ต้องจงใจ คือ คุ้นเคยที่จะมีสติระลึกรู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆไปอย่างอัตโนมัติ เบื้องกลางคืออาศัยสติที่ระลึกรู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆทำให้จิตปราศจากนิวรณ์เป็นสมาธิชนิดจิตตั้งมั่น เบื้องปลายคืออาศัยกิเลสที่เกิดขึ้นสดๆนั้นมีสติมีสมาธิเพื่อเจริญปัญญา คือ รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกิเลสด้วยใจที่เป็นกลาง จนถึงที่สุด จิตจะระลึกรู้ที่จิตได้เอง เกิดสติเกิดสมาธิเกิดปัญญา เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิตเอง กระบวนแห่งอริยมรรคจะเกิดขึ้นที่ตรงนั้น – ผู้ถอด)


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๐
Track: ๑
File: 540417.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่สนใจธรรมะ โอกาสชีวิตจะดีขึ้นไม่มีจริงหรอก

mp 3 (for download) : ไม่สนใจธรรมะ โอกาสชีวิตจะดีขึ้นไม่มีจริงหรอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่สนใจธรรมะ โอกาสชีวิตจะดีขึ้นไม่มีจริงหรอก

ไม่สนใจธรรมะ โอกาสชีวิตจะดีขึ้นไม่มีจริงหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่คนเค้าสนใจธรรมะก็โอกาสที่ชีวิตจะดีขึ้นมันก็มี ไม่สนใจธรรมะโอกาสที่ชีวิตจะดีขึ้นไม่มีหรอก ธรรมชาติของจิตถูกกิเลสลากลงต่ำตลอดเวลา ถ้าไม่สู้กับมันก็ถูกมันลากไปเรื่อยๆ จะดีวิเศษแค่ไหนแต่ประมาทปล่อยกายปล่อยใจตามกิเลสเรื่อยไปก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ โดยธรรมชาติเหมือนน้ำไหลลงที่ต่ำ งั้นต้องรู้จักทดน้ำเหมือนกัน ทดน้ำให้มันสูงขึ้น

มีศีลสมาธิปัญญาเป็นเครื่องมือ พระพุทธเจ้าก็สอนเครื่องมือมาให้หมดแล้ว
สามต่อสาม กิเลส ราคะโทสะโมหะสามตัว ธรรมะ ศีลสมาธิปัญญาสามตัว ใครจะชกใครหมอบยังไม่แน่ อยู่ที่พวกเราเอง พระพุทธเจ้าให้ของดีของวิเศษไว้แต่โดยธรรมชาติคนไม่เอา

คนเอาอธรรมเอาความไม่มีศีลมีธรรม เอากิเลส   เพราะใจธรรมชาติของใจไหลตามกิเลสไปเรื่อย ตามกิเลสไปเพราะมันเที่ยวหาความสุขสนุกสนานเพลิดเพลินทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เที่ยวเพลินเล่นไปเรื่อย สนุก หาความสุข ทั้งรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะอะไรพวกนี้ เครื่องมือของกิเลสมันหลอกให้เราติดอยู่ในโลก ก็ยากที่คนๆนึงจะพ้นโลกได้

งั้นธรรมะก็มีหลายระดับ คนไหนมีบุญบารมีพอพระพุทธเจ้าก็สอนธรรมะวิธีที่จะพ้นโลกไป คนไหนบุญบารมีไม่พอท่านก็สอนธรรมะที่จะอยู่กับโลกแบบไม่ทุกข์มากนัก ทุกข์พอประมาณ วันนึงข้างหน้ามีเรี่ยวมีแรงก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป งั้นธรรมะก็เลยมีสองระดับ ธรรมะอยู่กับโลกเรียกโลกียธรรม ธรรมะที่จะพ้นจากโลกไปสู่โลกุตรธรรม มีสองแบบไม่เหมือนกันหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

CD: แสดงธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
File: 540819A
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ 0๒ ถึงนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีหัดเรียนรู้จิต

mp3 (for download) : วิธีหัดเรียนรู้จิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีหัดเรียนรู้จิต

วิธีหัดเรียนรู้จิต

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนรู้จิตนี่ใช้วิธีสังเกตเอานะ สังเกตเอา จิตใจของเราแต่ละวันแต่ละเวลาไม่เคยเหมือนกัน แรกๆหัดดูเป็นวันๆก่อน วันนี้ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นแล้ว วันนี้เป็นวันที่แจ่มใส อีกวันเป็นวันที่เซ็ง อีกวันหงุดหงิดทั้งวันเลย นะ หัดดูอย่างนี้ก่อน หัดดูเป็นวันๆ ดูเป็นวันๆได้แล้วก็มาดูเป็นเวลา วันเดียวนี้แหละ เช้า สาย บ่าย เย็น ตอนกลางคืน จิตไม่เหมือนกัน ดูเป็นเวลา

ต่อไปชำนาญขึ้น ดูเป็นขณะ ขณะที่ตามองเห็นจิตเป็นอย่างหนึ่ง ขณะที่หูได้ยินเสียงจิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง จมูกได้กลิ่นลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจคิดนึกปรุงแต่ง จิตเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ เนี่ยดูความเปลี่ยนแปลง ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไป หัดรู้หัดดูไปเรื่อยนะ ค่อยๆสังเกตไปเรื่อย

ต่อไปก็แยกออกน่ะ จิตที่เป็นกุศลมันเป็นยังไง จิตที่เป็นอกุศลมันเป็นยังไง จิตที่เป็นอกุศลก็มีความโลภ ความโกรธ ความหลง แทรกอยู่ แรกๆก็จะเห็นแต่ว่า กิเลสหยาบๆถึงจะรู้ กิเลสละเอียดไม่รู้ หัดรู้หัดดูบ่อยๆ ต่อไปกิเลสละเอียดเกิดขึ้นก็เห็น อย่างแต่เดิมต้องโกรธแรงๆถึงเห็น ต่อมาหัดรู้หัดดูบ่อยๆ ขัดใจเล็กๆก็เห็น ตอนนี้ใครเห็นความขัดใจเล็กๆบ้าง ยกมือซิ มีมั้ย เอ่อ ดีนะ ดี จะไม่ตกนรกนะ เพราะว่าเรารู้ทันโทสะแล้ว ถ้ารู้ไม่ทันโทสะนะ ตกนรกนะ

แต่เดิมต้องโลภแรงๆนะ ต้องโลภแรงๆ อยากได้อย่างรุนแรงถึงจะเห็น เดี๋ยวนี้ใจอยากได้นิดหน่อยก็เห็นแล้ว อย่างอากาศร้อนจัดๆนะ ลมโชยมา เย็นสบาย เกิดความยินดีพอใจ เนี่ยราคะแทรกแล้วนะ ยินดีพอใจในความสุข ลมมันโชยมา ตอนนี้ใครเห็น ลมโชยมาแล้วเห็นราคะบ้าง มีมั้ย ยกมือซิ นี่น้อยกว่าโทสะนะ แต่ก็ยังเยอะอยู่

โมหะๆ โมหะนี้เป็นความฟุ้งซ่านกับความสงสัยเป็นตัวหลัก ความฟุ้งซ่าน ใครรู้จักฟุ้งซ่าน แต่เดิมต้องฟุ้งแรงๆถึงรู้นะ ต่อมาเนี่ย ใจเคลื่อนไปนิดเดียวก็เห็นแล้ว ใจไหลออกไปนิดเดียวก็เห็นแล้ว เช่น เวลาจะดูอะไรใจก็เคลื่อนไปดู เวลาฟังอะไรใจก็เคลื่อนไปฟัง มันไม่ตั้งมั่นนะ มันไหลไป มันฟุ้งซ่าน มันเคลื่อน ตอนนี้ใครเห็นจิตที่เคลื่อนได้บ้าง ยกมือซิ โอ้..ก็ยังเยอะอยู่นะ แสดงว่าเก่งเข้าขั้นแล้ว

หัดดูไป ทีแรกจะเห็นของหยาบก่อน ต่อมาก็รู้ของละเอียดขึ้นนะ ถ้าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ อยู่ล่ะก็ จิตเป็นอกุศล ถ้าจิตไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ จิตมันจะเบา มันจะนุ่ม มันจะสบาย มันโปร่ง มันโล่ง มันปราดเปรียวว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง ไม่ซึม ไม่ทื่อ นะ เนี่ยหัดรู้จักไปเรื่อย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๖ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

mp3 (for download) : อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าไปกังวลเรื่องปฏิบัติถูก ปฏิบัติผิด พวกเราทุกคนปฏิบัติผิด เวลาถูกมันถูกแว่บเดียว นอกนั้นผิดทั้งนั้นแหละ แค่จงใจปฏิบัติก็ผิดแล้ว ทำไมปฏิบัติจะไม่ผิด ปฎิบัติเมื่อไรก็ผิดเมื่อนั้นแหละ เราต้องไม่ปฏิบัติ คำว่าไม่ปฏิบัติของหลวงพ่อคือเราไม่ทำอะไรนะ เราคอยดูร่างกายมันทำงาน คอยดูจิตใจมันทำงาน เราไม่ทำอะไร อย่างจิตใจของเราเนี่ย เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด รู้สึกไหม เนี่ยเราหน้าที่เราก็คอยรู้ไป มันไปฟังก็รู้ มันไปคิดก็รู้ เราไม่ได้ทำอะไร เราไม่ต้องปฏิบัติอะไรหรอก เราแค่รู้ทันมันเท่านั้นเอง ถ้าฝึกอย่างนี้แล้วจะง่าย ถ้าเราคิดว่าทำยังไงเราจะบรรลุมรรคผลนิพพานนะ เราพยายามจะปฏิบัติ พยายามจะทำยิ่งช้าใหญ่เลย เพราะความโลภมันเข้าไปแทรก สติมันไม่เกิด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: 530522_suffe bc of wants

ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก

ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก มีความอยากขึ้นเมื่อไหร่ มีความทุกข์ขึ้นเมื่อนั้น ให้เราสังเกตใจของเราไป ใจมีความอยากขึ้นมารู้ทัน ใจมีความอยากขึ้นมารู้ทัน ถ้าคอยรู้ความอยากของใจบ่อยๆ เราจะรู้เลยว่าใจอยากในสิ่งที่ไร้สาระนี่เยอะมากเลยวันๆ นึง อยากในสิ่งที่มีสาระไม่มากนะ อยากในสิ่งไร้สาระนี้เยอะ อยากดูหนัง อยากฟังเพลง อยากไปเที่ยว อยากกินโน่นอยากกินนี่ อยากคุยกับคนโน้น อยากไม่เห็นหน้าคนนี้ อะไรอย่างนี้นะ อยากให้อากาศเย็นๆ พอร้อนแล้วก็อยากให้เย็น พอเย็นมากแล้วก็ โอ๊ย เย็นมากไป อยากให้อุ่นๆ อะไรอย่างนี้นะ ฝนตกก็โมโห ว้า มาตกทำไม ลำบาก ฝนไม่ตกเลยก็กลุ้มใจ

ใจนั้นมันเต็มไปด้วยความอยากนะ อยากได้ฝนหรือไม่อยากได้ฝนไรงี้นะ ความอยากเรามีตลอดเวลา พอความอยากเกิดขึ้นนะ ใจจะเครียดละ ความอยากเกิดขึ้นเมื่อไหร่ใจจะเครียดเมื่อนั้น ไปสังเกตนะ ว่าจริงหรือไม่จริง มันกลัวไม่ได้ หรือได้แล้วไม่ได้เหมือนที่อยาก อะไรอย่างนี้นะ ได้มาแล้วกลัวมันหายไป

หรือบางอย่างนะ ตอนยังไม่ได้อยากได้นะ พอได้มาแล้วอยากให้มันหายเร็วๆ ถามดูผู้ชายที่แต่งงาน ลองถามดู แต่เวลาคุยกับเพื่อน เขาจะคุยแบบนี้นะ อยู่ที่บ้านก็คุยอีกอย่างนึง ใครจะไปพูด คนยังไม่แต่งงานอยากแต่ง คนแต่งงานแล้วอยากเลิก อะไรอย่างนี้

เพราะงั้นนะ ความอยากเกิดตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดเมื่อไหร่ ใจก็เครียดเมื่อนั้น ทำยังไง ห้ามความอยากไม่ให้เกิดได้มั้ย ห้ามไม่ได้เพราะจิตเป็นอนัตตา แต่ให้เรามีสตินะ ความอยากเกิดขึ้นในจิต เราคอยรู้ทันไว้

อย่างเขาจะตีกันนะ เราโอ๊ยเมื่อไหร่เขาจะกลับบ้านกันไปให้หมดน้า เลิกมายุ่งในกรุงเทพฯ สักที นี่เราอยาก ความอยากเกิดขึ้นก็กลุ้มใจนะ หลวงพ่ออยู่เมืองชลนะ เขาไปตีกันในกรุงเทพ หลวงพ่อไม่กลุ้มเท่าไหร่หรอก แต่สงสารพวกเรา

เมื่อไหร่ความอยากเกิดขึ้น ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้น ความอยากจะเกิดเนี่ยห้ามไม่ได้ แต่ถ้าความอยากเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน จิตจะไม่ถูกความอยากบีบคั้น ความอยากจะบีบคั้นจิตใจไม่ได้ มันจะอยากขึ้นมา พอรู้ทันก็สลายตัวไป หายไป คราวนี้จะเหลือเหตุผลละ ไอ้สิ่งที่อยากนั้นสมควรอยากมั้ย ถ้าสมควรอยากนะ สมควรที่จะต้องทำอย่างนั้น เราก็ทำด้วยเหตุด้วยผล

ยกตัวอย่าง จิตมันอยากกินโน่นอยากกินนี่ พอเรารู้ทันความอยาก ความอยากดับไป เราก็เหลือเหตุผล สมควรกินก็กินนะ ไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่อยากแล้วจะต้องไม่กิน ถ้าทุกครั้งอยากแล้วไม่กิน คงไม่ได้กินอะไรเลย เพราะว่าใจมันอยากตลอดเวลา หรืออยากได้เสื้อใหม่ มีเสื้อตัวใหม่อยากได้ พอสติรู้ทันใจที่อยากนะ ความอยากดับไป เหลือเหตุผลละ สมควรจะไปซื้อมั้ย สมควรซื้อก็ซื้อ อะไรอย่างนี้ ไม่สมควรก็ไม่ซื้อ จะเหลือเหตุผล เราดำรงชีวิตด้วยเหตุผลนะ ไม่ใช่ดำรงชีวิตด้วยความอยาก

งั้นง่ายๆนะ มีสติรู้ทันใจตัวเองไป ใจเกิดความอยากขึ้นมารู้ทัน ๆ ความอยากไม่บีบคั้นนะ ไม่จนหรอกนะ ฐานะไม่ค่อยดีเท่าไหร่แต่ความอยากน้อยไม่จนนะ มีเงินมากแต่ความอยากมาก จนนะ เท่าไหร่ก็ไม่พอ ไม่เต็มตามความอยากหรอก นี่หัดดูใจนะ ถ้าใจมีความอยากขึ้นมา ใจก็มีความทุกข์ ถ้ารู้ทัน ความอยากหายไป เหลือเหตุผล ดำรงชีวิตด้วยเหตุผลนะ ก็ทุกข์น้อยหน่อย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
ลำดับที่ ๓
File: 530522
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

mp3 for download : หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

โยม : เห็นสภาวธรรมเป็นอนัตตา แล้วทำไมจิตจึงยังไปหลงยึดอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราเห็นแต่จิตไม่เห็น อย่างเราไปดูนะ เอ้อ..กายนี้เป็นทุกข์นะ เอ้อ..ทุกข์จริงๆแหละ จิตไม่รู้สึก จิตยังไม่รู้สึกว่ามันทุกข์จริง อะไรอย่างนี้ คือเราเห็นโน้นเห็นนี้เราบอกว่าเราเห็นแล้วนะ พอแล้วนะ ฉันบรรลุได้แล้วนะ จิตไม่ยอม

โยม : เอ๋อ… มันเป็นสภาวธรรมที่.. อธิบายยังไงดี คือมันเกิดขึ้นกับ คือวันหนึ่งผมคัน เสร็จแล้วเกิดขึ้นในชั่ววินาทีเดียว ตรงนั้น มันอยู่เหนือความควบคุมของเรา มันเกิดความรู้สึกตรงนั้นขึ้นมา

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละ ปัญญามันเกิด

โยม : ช่วงอาทิตย์หนึ่ง ช่วงตรงนั้นน่ะ มันทิ้งทุกอย่าง คือสภาวธรรมอะไรที่ปรากฎขึ้นมา ก็ไม่ไปแทรกแซงมันได้ แต่พอพ้นช่วงหลังสัปดาห์นั้นไปแล้วเนี่ย มันก็ค่อยๆยึดกลับมาเหมือนเดิม

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละ ไม่ว่าอะไรนะ เจริญไม่เกินอาทิตย์หนึ่งหรอก เดี๋ยวก็เสื่อม เพราะมันไม่ใช่ของจริง ยังไม่ใช่ของจริงของเรานะ

โยม : ทีนี้ผมไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงกลับเข้าไปช่วยกันปรุงอยู่เหมือนเดิมล่ะครับ ทำไมไม่รู้เหมือนเดิมตอนที่ช่วงสัปดาห์นั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะมันอยากไง พอมันเคยเห็นสภาวะนี้แล้วมันก็อยากเห็นอีกแล้ว ก็ดิ้นรนหาทางจะดูให้เกิดสภาวะอย่างนี้อีก เลยไม่เกิดเลย ตราบใดที่ยังดิ้นรนอยู่ก็จะไม่เห็นหรอก

โยม : แล้วผมต้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขอะไรอีกมั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ต้องลดลงสิ อย่าไปเพิ่มเติม ใจมันแอบไปปรุงแต่งอะไร รู้ทันมันเรื่อยๆ อย่าไปช่วยมันปรุง ไม่้ใช่ไปช่วยมันปรุงว่าทำอย่างไรถึงจะเห็นอย่างนั้นอีก

โยม : ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันอยู่ที่เลิกไปนะ เลิกปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปปรุงแต่งให้ดีๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

mp3 (for download): อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราหัดสังเกตใจตัวเองเนี่ย เราจะได้ตั้งแต่การดำรงชีวิตอยู่ในโลก หรือการอยู่กับเพื่อนร่วมงาน อยู่กับคนในครอบครัว ถ้าเราไม่สังเกตใจตนเองนะ ก็จะมีปัญหากระทบกระทั่งกันอยู่ตลอดเวลา

หลายคนเลยที่.. ยกตัวอย่างเราอยู่กับลูกค้าใช่มั้ย เราถูกฝึก เราถูกสอน ว่าต้องยิ้มไว้ก่อน ลูกค้าร้ายแค่ไหนก็ต้องยิ้มไว้ก่อน มันเครียดนะ บางคนเราเห็นหน้ามันขับรถเข้ามาจอดใกล้ๆ เราก็เกลียดหน้ามันแล้ว มีมั้ย บางคนหน้ามันมีพรสวรรค์นะ เห็นแล้วอยากเอาอะไรยันมันออกไป

เราต้องเครียดน่ะ เราต้องเจอสิ่งที่ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ทั้งวัน ใจมันเครียด พอเครียดแล้วเราไม่มีทางระบายใช่มั้ย อยู่ในตู้.. ไปว่าเขา แป๊บเดียวก็ไปแล้ว ไม่ทันจะว่า กลับบ้านแล้ว เราก็มาระบายใส่คนที่บ้าน พ่อบ้านผู้น่าสงสารก็ต้องรับฟัง เราจะระบายอารมณ์ใส่ ระบายของสกปรกที่เราเก็บมาในแต่ละวัน หรือคุณพ่อบ้านก็ระบายของโสโครกใส่คุณแม่บ้าน

เนี่ย.. เราทำความเดือดร้อนให้กับคนใกล้ตัวของเรา แทนที่เราต้องทำอย่างนั้นนะ เรามามีสติไว้ สติสำคัญมากนะ มีสติ คอยรู้ทันจิตใจตนเอง ใจมันเครียดขึ้นมาคอยรู้ทัน ความเครียดมันจะหายไปเอง เป็นเรื่องแปลกนะ ความเครียดความทุกข์ทั้งหลายนี้ ไม่ต้องไปไล่มันหรอก แค่เรามีสติรู้ทันมันก็หายไปเองละ

ค่อยๆลองฝึกดู คอยมีสติรู้ทัน กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่ใจคอยรู้ทัน ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะ เราก็จะบริโภคน้อยลง เราจะไประบายอารมณ์ใส่คนใกล้ตัวน้อยลง คนใกล้ตัวเราเป็นคนที่น่าสงสารที่สุดเลย เพราะว่าเราระบายอารมณ์ได้อย่างปลอดภัย หลายคน กับคนอื่น คนนอกบ้าน คนไกลตัวนะ เราพูดกับเขาดีๆ คนในบ้านเรา เราพูดร้ายๆได้ เรารู้สึกปลอดภัย

เราก็มาแก้ตรงนี้เสีย เราอย่าไปทำบ้านให้ร้อน อย่าไปทำคนที่เรารักให้เดือดร้อนนะ ด้วยการมาฝึกจิตฝึกใจของเรา มีสติ รู้ทันจิตของตัวเองไว้ เราก็จะไม่เก็บขยะเข้าบ้าน ชีวิตจะดีขึ้น ในทุกๆด้านเลย ลูกหลานเกเรอะไรอย่างนี้

หลวงพ่อเคยเจอนะ ผู้หญิงคนหนึ่ง ไปจับลูกมา พาลูกมาหา บอกให้หลวงพ่อช่วยอบรมลูกหน่อย เด็กคนนี้เลวที่สุดเลย เนี่ย ไม่เคยเจอเรามาก่อนเลยนะ มาถึงก็ด่าลูกต่อหน้าเราเลย เลวอย่างโน้น ฉอดๆ ฉอดๆ ฉอดๆ เราดูแล้วๆ จะแก้ปัญหาที่ลูกต้องแก้ปัญหาที่แม่ก่อนแล้วล่ะ เรามานึกดูนะ แม่อย่างนี้เราก็ไม่อยากอยู่ด้วย เลยบอกให้แม่ลองดูใจของตัวเองสิ ใจมันเครียดนะ ใจของแกวันๆหนึ่งเป็นที่ปรึกษาวัยรุ่น คอยแก้ปัญหาให้พวกวัยรุ่น แล้วเครียดน่ะ ในที่สุดเอาความเครียดมาระบายทีบ้าน ลูกเลยมีปัญหาวัยรุ่นเสียเองเลย

นี่นะ ถ้าเราไม่อยากให้ชีวิตของเราย่ำแย่ ย่ำแย่แบบนี้ เราลองมาฝึกมีสติรู้ทันจิตใจตัวเอง เห็นมั้ยหลวงพ่อวนเวียนอยู่แต่ในเรื่องให้มีสติรู้ทันใจของตัวเองนี่แหละ มีสติรู้ทันใจตัวเองนะ แล้วหนี้สินก็จะลดลง เพราะเราจะไม่บริโภคฟุ่มเฟือยไร้สาระ การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว คนในที่ทำงาน หรือคนที่บ้าน ก็จะดีขึ้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๗ วินาทีที่ ๐๔ ถึง นาทีที่ ๑๐วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

แก้ความอยาก แก้ที่ต้นทาง

mp3 (for download): แก้ความอยากที่ต้นทาง ด้วยการรู้ทันใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

แก้ความอยาก แก้ที่ต้นทาง

แก้ความอยาก แก้ที่ต้นทาง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไมเราเป็นหนี้เยอะ รายได้เราก็ไม่ใช่น้อยหรอกนะ อยู่การทางฯ (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย : ผู้ถอด) เพราะใจเรามันมีความอยากเยอะ ดีมานด์ (demand : ความต้องการ) มันเยอะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนนะว่า ตัณหายิ่งกว่ามหาสมุทรอีก “นัตถิ ตัณหา สมา นที” ห้วงน้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี เท่าไหร่ก็ไม่เต็ม นี่ถ้าเราไม่มีธรรมะคุ้มครองรักษาจิตเรานะ เราก็จะมีชีวิตที่ไม่อิสระเท่าไหร่ เป็นหนี้เป็นสิน ลำบาก

เราจะไปแก้ที่ปลายทางนะ ลดละความอยาก ละไม่ได้ ลดไม่ได้ งั้นถ้าเราจะมาฝึกจิตฝีกใจให้แก้ปัญหาชีวิตเราให้ดีขึ้นจริงๆ มันแก้ที่ต้นทาง เรามารู้ทันจิตใจของเราเอง ความอยากอะไรเกิดขึ้นในใจ เราคอยรู้ทัน ความอยากอะไรเกิดขึ้นในใจ เราคอยรู้ทัน ถ้าเราคอยรู้ทันใจตัวเองได้ ความอยากมันจะดับโดยอัตโนมัติ เช่น เรามีมือถืออยู่แล้วนะ เราเห็นเค้ามีบีบี มี ไอโฟนสี่ มีอะไรขึ้นมา อยากได้ อยากได้มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอซื้อ มันเปลี่ยนเร็ว ถ้าเรารู้ทันใจที่อยาก ความอยากมันจะหายไปโดยอัตโนมัติ พอความอยากดับไปแล้ว ที่นี่เราจะเหลือความมีเหตุผล ถ้าสมควรจะซื้อเราก็ซื้อ ไม่สมควรเราก็ไม่ซื้อ

นี่ธรรมะนะ ธรรมะจะช่วยเราตั้งแต่เรื่องพื้นๆ การดำรงชีวิตอย่างโลกๆ ธรรมะนะมีหลายระดับ ถ้าหากชีวิตทางโลกเรายังกระพร่องกระแพร่ง เต็มไปด้วยความเครียดนะ เราจะหวังพัฒนาจิตใจเราไปสู่ธรรมะขั้นสูงนะไปยาก พื้นฐานเราไม่ดีพอ งั้นเรามาฝึกจิตฝึกใจเราตั้งแต่ขั้นต้นๆ นี้ไป เราคอยมามีสตินะ รู้ทันใจที่มีความอยาก ความอยากอะไรเกิดขึ้นคอยรู้เรื่อยๆ ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๑ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๓วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีรับมือกับกิเลสอย่างหยาบ

mp3 (for download): วิธีรับมือกับกิเลสอย่างหยาบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีรับมือกับกิเลสอย่างหยาบ

วิธีรับมือกับกิเลสอย่างหยาบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระพุทธเจ้าสอนธรรมะที่แสนอัศจรรย์ อัศจรรย์มากเลย สามารถถอดถอนกิเลสได้ กิเลสนั้นมีตั้งแต่หยาบๆ กิเลสอย่างหยาบๆเรียกว่า ราคะ โทสะ โมหะ ใครรู้จักมั้ย

ราคะเป็นกิเลสตระกูลไหน ตระกูลที่ดึงเข้าตัว ยกตัวอย่างเรารักผู้หญิงคนหนึ่ง เราอยากให้เขามาอยู่กับเรา

โทสะเป็นกิเลสชนิดที่ผลักออกจากตัว ไม่ชอบหน้าคนนี้อยากผลักให้กระเด็นให้หายไป

โมหะ
เป็นกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ที่ลังเล สงสัย หมุนไปหมุนมา หมุนซ้ายหมุนขวา ตัดสินใจไม่ได้ เป็นประเภทรักพี่เสียดายน้อง พวกโมหะนะ ไม่รู้จะเอาอะไรดี จับอะไรไม่ถูก งงไปหมดแล้ว นี่พวกตระกูลโมหะ

กิเลสนะมันมี อย่างหยาบๆเนี่ย มีราคะ โทสะ โมหะ กิเลสอย่างหยาบๆเนี่ย ถ้าเกิดขึ้นในใจเราแล้ว ครอบงำจิตใจได้ เราจะทำผิดศีล คนทำผิดศีลได้ เมื่อตะกี้นี้ขอศีล ขอด้วยปาก ขอตามประเพณี แต่จะรักษาศีลได้หรือเปล่าเนี่ย ยากมากที่เราจะรักษาศีลได้ เราจะรักษาศีลไม่ได้เพราะอะไร เพราะกิเลสมันมาครอบงำจิต คนไหนที่กิเลสครอบงำจิตก็ผิดศีลง่าย ถ้ากิเลสไม่ครอบงำก็ไม่ผิดศีลหรอก

ยกตัวอย่าง คนเราจะฆ่าเขาจะตีเขา หรือจะด่าเขา ใจมันต้องมีโทสะ เห็นมั้ย ใจมีโทสะ ถ้าจิตมีโทสะเกิดขึ้นมา เรามีสติรู้ทันนะ โทสะครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใคร ศีลอัตโนมัติมันจะเกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นการรักษาศีลนะ จะรักษาได้ดี ถ้าเรารักษาที่ใจนะ ไม่ใช่รักษาด้วยปากนะ ไม่ใช่รักษาที่กาย ที่วาจา ร่างกายไม่ทำผิดศีล วาจาไม่ทำผิดศีล แต่ใจยังทำผิดศีลอยู่ กิเลสครอบงำใจอยู่เรื่อยๆ แป๊บเดียวก็เผลอไปทำผิดศีลทางกายทางวาจาได้

ยกตัวอย่างราคะเกิดขึ้นที่ใจ เราไม่มีสติรู้เท่าทันมัน ราคะมันครอบงำจิตได้ เดี๋ยวเราก็อาจไปเป็นลักขโมยเขา มันโลภขึ้นมาแล้วมันลักขโมยเขาก็ได้ ไปผิดศีลเป็นชู้กับเขาก็ได้ มีก๊งมีกิ๊กอะไรขึ้นมาก็ได้ เพราะราคะครอบงำใจ

ถ้าเรามีสติรู้ทันนะ มีสติรู้ทัน ราคะเกิดขึ้นที่จิต ราคะไม่ได้เกิดที่อื่น ราคะไม่ได้เกิดที่มือที่เท้าที่ปาก มัวแต่ระวังที่มือที่เท้า ไม่ระวังที่ใจ สู้กิเลสไม่ไหว เพราะฉะนั้นถ้าอยากสู้กิเลสได้นะ มีศีลจริงๆนะ รักษาจิตไว้ ไม่ใช่รักษาแค่กายวาจา

แต่เมื่อเรารักษาจิตได้ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ กายวาจาเราจะเรียบร้อย เรียกว่ามีศีล เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาจิตนะ คนทำผิดศีลเพราะว่ากิเลสมันครอบงำจิตได้ ก็ค่อยๆสังเกตเอา เพราะฉะนั้นวิธีรักษาศีลได้ดีที่สุดก็คือ รักษาจิตของตนเอง คอยรู้ทัน กิเลสอะไรเกิดคอยรู้ทัน กิเลสเกิดคอยรู้ทัน

มันมีความจริงอยู่ข้อหนึ่ง ความจริงอันนี้ เป็นกฎของธรรมะ เรียกธรรมนิยาม กฎของธรรมะก็คือ กุศลกับอกุศลจะเกิดพร้อมกันไม่ได้ ถ้าเมื่อไหร่จิตเรามีสติ เมื่อนั้นจิตจะไม่มีอกุศลแน่นอน ราคะโทสะ โมหะ เกิดขึ้นไม่ได้ในขณะที่เรามีสติอยู่

แต่เราขาดสติบ่อย นึกออกมั้ย วันๆหนึ่งเรามีสตินิดเดียว แต่ขาดสติมาก เพราะฉะนั้นโอกาสที่กิเลสจะเกิดเนี่ย เกิดได้ทั้งวันเลย เราต้องมาต่อสู้นะ อย่ายอมแพ้มัน ต้องตั้งใจรักษาศีล ไม่ใช่อาราธนาแต่ปาก ต้องมีสติรู้ทันใจของเราเองไป กิเลสอะไรเกิด รู้ทัน กิเลสอะไรเกิด รู้ทัน

ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะรู้ทันกิเลส ความโลภ ใครไม่รู้จักว่าความโลภเป็นอย่างไร มีมั้ย ใครไม่เคยโลภมีมั้ย ใครไม่เคยโกรธมีมั้ย ใครไม่เคยฟุ้งซ่าน ใครไม่เคยหดหู่ ใครไม่เคยลังเลสงสัยมีมั้ย ไม่มีหรอก ทุกคนเคยเจอมาแล้วทั้งนั้น นี่กิเลสนานาชนิดเรารู้จักอยู่แล้วทั้งนั้น เพียงแต่เราละเลยที่จะรู้มัน

เราปล่อยให้มันเกิดแล้วมันครอบงำจิตใจของเราได้ มันก็มาครอบงำพฤติกรรมทางกายทางวาจา ทำผิดศีลขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นเราอาศัยสตินี่ล่ะ คอยรู้ทันใจของตัวเองบ่อยๆนะ ศีลอัตโนมัติจะเกิดขึ้น ศีลจะเกิดขึ้นเอง ถ้าศีลเกิดขึ้น กิเลสชั่วหยาบ คือ ราคะ โทสะ โมหะ เนี่ย ครอบงำใจไม่ได้ นี่เราสู้ไปได้ยกหนึ่งแล้วนะ

กิเลสหยาบๆสู้ด้วยศีล จะมีศีลได้ดีต้องมีสติรักษาจิต

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่บริษัท ดอกบัวคู่
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดอกบัวคู่
File: 540409A
ระหว่างนาทีที่  ๙ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีอะไรเป็นศัตรูของเราเท่ากับกิเลสในใจเราเอง

mp3 (for download): ไม่มีอะไรเป็นศัตรูของเราเท่ากับกิเลสในใจของเราเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่มีอะไรเป็นศัตรูของเราเท่ากับกิเลส

ไม่มีอะไรเป็นศัตรูของเราเท่ากับกิเลส

หลวงพ่อปราโมทย์: เราคอยมารู้กายรู้ใจนะ รู้เข้ามาให้ถึงใจจริงๆ กิเลสจะเคลือบแฝงเข้ามาในใจเราไม่ได้ ถ้ารู้ไม่ทันนะ กิเลสจะแฝงเข้ามาในใจนะ ใจก็ตกเป็นทาสของกิเลส หาความสุขไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นศัตรูของเราเท่ากับกิเลสเลย มันทำใจเราให้เร่าร้อนขึ้นมา แผดเผานะ พระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็นไฟ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ โลภขึ้นมา รักขึ้นมา ก็ทุกข์นะ ทุกข์เพราะความรัก โกรธขึ้นมาก็ทุกข์เพราะความโกรธ หลงไปนั้นไม่ค่อยจะรู้ทุกข์หรอก หลง.. หลงเผลอๆเพลินๆ อันนี้ดูยาก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๑
File: 491129
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความเป็นตัวเราเป็นแค่ภาพลวงตา ไม่มีจริงหรอก

mp3 for download : ความเป็นตัวเราเป็นแค่ภาพลวงตา ไม่มีจริงหรอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความเป็นตัวเราเป็นแค่ภาพลวงตา ไม่มีจริงหรอก

ความเป็นตัวเราเป็นแค่ภาพลวงตา ไม่มีจริงหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราเห็นสภาวะ กระจายสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกมา มันจะเป็นตัวสภาวะ

ทุกวันนี้เราคิดว่า “ตัวเรา” มีอยู่จริงๆ นี่ อันนี้คือตัวเรา นี่ความรู้สึกของเรา นั่นอะไรต่ออะไรของเรา พอมีตัวเรา มันมีตัวเขา มีของๆเราขึ้นมาด้วย มีของๆเขาขึ้นมาด้วย มันมีตัวเราจริงๆ พอตัวเรานี้แปรปรวนไป ไม่ได้อย่างใจ ก็มีความทุกข์ขึ้นมา

แต่ถ้าแยกออกไป สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ก็คือสภาวะนั่นเอง สภาวะที่เป็นรูปธรรม ที่เป็นนามธรรม เราจะเห็นเลยว่ารูปธรรมก็ไม่ใช่ตัวเรา นามธรรมก็ไม่ใช่ตัวเรา มันจะแยกออกไป มันจะเห็นว่าไม่มีตัวเรา

คล้ายๆรถยนต์ มีรถยนต์อยู่คันหนึ่ง เราคิดว่ามีรถยนต์จริงๆ เรามาถอดออกเป็นชิ้นๆ อันนี้ลูกล้อ ลูกล้อก็ไม่ใช่รถยนต์ ใช่ไหม พวงมาลัยก็ไม่ใช่รถยนต์ ตัวถังก็ไม่ใช่รถยนต์นะ เบาะก็ไม่ใช่รถยนต์ เบรคก็ไม่ใช่รถยนต์ กันชนก็ไม่ใช่รถยนต์ หลอดไฟสายไฟ ไม่ใช่รถยนต์สักอันเดียว เห็นไหม ถังน้ำมันก็ไม่ใช่รถยนต์ ดูไปๆเราก็รู้ อ๋อ..รถยนต์เป็นแค่ภาพลวงตา

นี่ถ้าเราสามารถแยกกายแยกใจออกไป เราก็จะเห็น ความเป็นตัวเราเป็นแค่ภาพลวงตา ไม่มีจริงหรอก ทุกวันนี้เราสำคัญมั่นหมายว่ามันมีตัวเราจริงๆ พอตัวนี้มันแก่ ร่างกายมันแก่ เราก็ว่าเราแก่ ร่างกายมันเจ็บ เราก็ว่าเราเจ็บ ร่างกายมันตาย เราก็ว่าเราตาย มันมีเราขึ้นมา

พอมีเรา เรารักมัน หวงแหนมัน อยากให้มันดีตลอด อยากให้มันสุขตลอด มันอยู่ไม่ได้เราก็กลุ้มใจ ใจก็มีความทุกข์ขึ้นมา เนี่ย เพราะไม่เห็นความจริงว่ามันไม่ใช่เรา ไปคิดว่ามันเป็นเราขึ้นมา ก็มีความทุกข์

จิตใจก็เหมือนกันนะ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เราก็สำคัญผิด ยกตัวอย่างจิตมันโกรธ เราก็สำคัญผิดว่าเราโกรธ จิตมันโลภเราก็สำคัญผิดว่าเราโลภ จิตมันหลงนะ จิตมันไปคิด เราก็สำคัญผิดว่าเราคิด นี่สำคัญผิด

พอมันเป็นเราขึ้นมา เราก็อยากให้จิตนี้มันเป็นเราขึ้นมา เราก็อยากให้จิตมีแต่ความสุขความสบาย มีแต่กุศลอะไรอย่างนี้ คนดีก็อยากให้เป็นกุศลทั้งวัน พอมันไม่เป็นอย่างที่ต้องการนะ มันก็ทุกข์แล้ว มันเป็นไปไม่ได้ที่มันจะดีตลอด เป็นไปไม่ได้ที่จะสุขตลอด เป็นไปไม่ได้ที่จะสงบตลอด พอมันแปรปรวนขึ้นมา เราก็ทุกข์

แต่ถ้าเราเห็นความจริง จิตก็เป็นแค่สภาวะอันหนึ่ง ไม่ใช่เราหรอก จิตมันโลภไม่ใช่เราโลภ จิตมันโกรธไม่ใช่เราโกรธ จิตมันหลงไม่ใช่เราหลง เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ต่อไปมันโกรธขึ้นมาก็ไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับเรา จิตมันโกรธต่างหาก ไปยุ่งอะไรกับมัน จิตมันโลภไปยุ่งอะไรกับมัน จิตมันสุขไปยุ่งอะไรกับมัน จิตมันทุกข์ไปยุ่งอะไรกับมัน จะเห็นว่ามันไม่ใช่เรา เห็นขันธ์มันไม่ใช่เรา

ฝึกมากเข้าๆ เห็นขันธ์มันทำงานของมันเอง ไม่ใช่เราเลย เพราะฉะนั้นเมื่อมันไม่ใช่เรานะ ขันธ์มันจะแก่ ขันธ์มันจะเจ็บ ขันธ์มันจะตาย ขันธ์มันจะพลัดพรากจากสิ่งที่มันรัก ขันธ์มันจะเจอสิ่งที่มันไม่รัก ขันธ์มันจะอยากแล้วมันไม่สมอยาก ขันธ์มันจะเหี่ยวแห้งใจ เศร้าโศกเสียใจ เป็นเรื่องของขันธ์ทั้งหมดเลยนะ เราไม่เกี่ยว เราค่อยๆฝึกไปนะจนกระทั่งเราสามารถไม่เกี่ยวกับมันได้

เบื้องต้นจะไม่เกี่ยวกับกายก่อน พวกเราที่ฝึกกับหลวงพ่อสักช่วงหนึ่ง สักเดือนหนึ่ง บางคนเริ่มเห็นแล้ว ร่างกายมันแยกออกไปต่างหาก ร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ร่างกายเป็นสภาวะอันหนึ่ง ร่างกายไม่ใช่ตัวเราหรอก ต่อไปเวลาจะเจ็บจะแก่จะตายอะไรขึ้นมา จะเห็นร่างกายมันแก่มันเจ็บมันตาย ไม่ใช่เราแล้ว หัดดูอย่างนี้เรื่อยๆ มีสติ รู้สึกตัว เห็นสภาวะมันทำงาน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520418.mp3
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๕ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 3123